ปักหมุด 20 สิ่งห้ามพลาด เมื่อมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 9 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    [​IMG]
    วัดวาอารามและสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้นมีอยู่มากมายหลายแห่งในประเทศไทย แต่ละสถานที่ย่อมมีเรื่องราวและประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน อย่างที่ “องค์พระปฐมเจดีย์” หรือที่ชาวนครปฐมมักเรียกกันติดปากว่า “องค์พระ” ตั้งอยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ต.องค์พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญที่มีชื่อเสียงอย่างยาวนาน

    ภายในองค์พระปฐมเจดีย์มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่มากมาย วันนี้จึงได้รวบรวม “20 สิ่งห้ามพลาด เมื่อมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์” มาให้ทุกคนได้ชมกัน

    [​IMG]
    องค์พระปฐมเจดีย์
    “องค์พระปฐมเจดีย์” ถือเป็นพระมหาเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เดิมมีชื่อเรียกว่า “พระธมเจดีย์” ประวัติความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์มีมาอย่างยาวนานย้อนกลับไปถึงยุคสุวรรณภูมิ คาดว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ องค์พระปฐมเจดีย์นั้นเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ รูปทรงระฆังคว่ำ โครงสร้างเดิมเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ก่อนจะได้รับการปฏิสังขรณ์ในครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์และพบองค์พระปฐมเจดีย์ที่อยู่ในสภาพเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรม

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-2.jpg
    พระร่วงโรจนฤทธิ์
    “พระร่วงโรจนฤทธิ์” เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว และพระบาทไม่เสมอกัน เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดนครปฐมและพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มของพระร่วงโรจนฤทธิ์ก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ แต่ประชาชนทั่วไป จะเรียกว่า “หลวงพ่อพระร่วง” หรือ “พระร่วงโรจนฤทธิ์”

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-3.jpg
    พระบรมสารีริกธาตุ
    “พระบรมสารีริกธาตุ” ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านทิศตะวันออก หรือ พระวิหารหลวง โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะอัญเชิญมาประดิษฐานด้านหน้าองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสรงน้ำสักการะ

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-4.jpg
    ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
    ในวิหารแต่ละหลังของวัดแห่งนี้ จะมี “ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง” ที่งดงามอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่วาดให้เห็นด้านในขององค์พระเจดีย์ที่หาชมได้ยากในวิหารหลวงด้านทิศใต้ ตั้งแต่ในอดีตที่เป็นสถูปมียอดปรางค์ จนเป็นทรงระฆังอย่างในปัจจุบัน หรือจะเป็นภาพเทพชุมนุมที่มีรูปร่างหน้าตา สรีระ และท่าทางที่มีความสมจริง ก็มีความงดงามไม่แพ้กัน

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-5.jpg
    ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง
    “ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง” ตั้งอยู่ด้านนอกพระระเบียงคด บริเวณทางลงมีลักษณะคล้ายถ้ำที่สร้างขึ้นเมื่อเดินลงมาจะพบศาลเจ้าพ่อปราสาททองที่เป็นศาลเจ้าจีน ประดับด้วยเครื่องบูชาเพื่ออานิสงส์การถวายดอกบัวและธงชัย


    ศาลเจ้าพ่อเสือ
    “ศาลเจ้าพ่อเสือ” ตั้งอยู่ด้านนอกพระระเบียงคด บริเวณใกล้กับศาลเจ้าพ่อปราสาททอง

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-6.jpg
    พระแม่อุมามหาเทวี
    บริเวณใกล้กับศาลเจ้าพ่อปราสาททองและศาลเจ้าพ่อเสือ จะพบกับ “พระแม่อุมามหาเทวี” สามารถเดินเข้ากราบไหว้ขอพรกันได้

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-7.jpg
    ถ้ำตะเคียนทอง
    “ถ้ำตะเคียนทอง” นั้นจะมีทางเดินที่ค่อนข้างกว้าง เมื่อเข้าไปด้านในแล้วจะมีทางเดินแยกเป็นสองทางคือ ถ้ำมหาโชคและถ้ำน้ำทิพย์

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-8.jpg
    สมเด็จพุทธาจารย์โต
    ภายในถ้ำตะเคียนทองยังเป็นที่ประดิษฐานของ “สมเด็จพุทธาจารย์โต” ด้วย ใครที่ไปเยือนองค์พระปฐมเจดีย์แล้วก็อย่าลืมเข้าไปกราบสักการะขอพรกัน

    0b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-9.jpg
    ถ้ำมหาโชค
    หากใครเข้าไปภายในถ้ำตะเคียนทองและเดินเลี้ยวไปทางด้านซ้ายจะเป็นถ้ำมหาโชค จะเป็นที่ประดิษฐานของเจ้าแม่ตะเคียนทอง

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-10.jpg
    ถ้ำน้ำทิพย์
    และเมื่อเข้าไปในถ้ำตะเคียนทองแล้วเดินเลี้ยวไปทางขวาจะเป็น ถ้ำน้ำทิพย์ มีแม่พระธรณีอยู่ภายในถ้ำ

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-11.jpg
    พิพิธภัณฑ์
    “พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์” ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถ และนอกจากโบราณวัตถุต่างๆ ที่เก็บรักษาและจัดแสดงไว้ ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเป็นที่เก็บหีบศพของย่าเหลซึ่งเป็นสุนัขที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดปราน และโต๊ะหมู่บูชาซึ่งในพิธีศพ

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-12.jpg
    ตุ๊กตาจีน
    “ตุ๊กตา” จีนได้เข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 โดยชาวจีนได้โล้สำเภานำสินค้ามาขายที่ประเทศไทย โดยตุ๊กตาจีนจะใช้ในการถ่วงเรือสินค้าไม่ให้โคลงเคลงเมื่อเจอลมพายุ จนเมื่อพ่อค้ามีมาก ตุ๊กตาจีนจึงมีมากตามไปด้วย รัชกาลที่ 3 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นำไปประดับไว้ตามวัดต่างๆ

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-13.jpg
    พระพุทธรูปปางต่างๆ
    โดยรอบขององค์พระปฐมเจดีย์จะมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ตั้งอยู่ล้อมรอบ ซึ่งจะมีป้ายข้อมูลติดไว้บริเวณพระพุทธรูปทุกปาง เพื่อให้อ่านละเข้าใจง่ายขึ้น

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-14.jpg
    สถูปจำลองพระปฐมเจดีย์องค์เก่า
    พระปฐมเจดีย์ถูกสร้างและบูรณะใหม่แล้วถึง 4 ครั้ง โดยได้สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นเจดีย์ในรูปแบบปัจจุบันในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเราจะเห็นรูปทรงของเจดีย์ในยุคก่อนได้จากเจดีย์จำลององค์นี้ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-15.jpg
    อุโบสถหลวง/หลวงพ่อประทานพร
    พระอุโบสถหลวง เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่บูรณะในรัชกาลที่ 7 โดยสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ภายในมีพระประธานที่มีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปทางด้านทิศใต้ มีพระนามว่า “หลวงพ่อประทานพร” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำมาจากศิลาขาวขนาดใหญ่

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-16.jpg
    ระเบียงคด
    รอบฐานเจดีย์มี “ระเบียงคด” ล้อมรอบเป็นวงกลม ที่ระเบียงคตตรงทิศทั้งสี่ มีวิหารประจำทิศ ถัดเข้าไปเป็นลานประทักษิณ แล้วเป็นฐานเป็นชั้นขึ้นไปจนถึงฐาน

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-17.jpg
    ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
    ด้านข้างของวิหารหลวงมี ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประดิษฐานอยู่

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-18.jpg
    พระพุทธรูปศิลาขาว
    พระพุทธรูปศิลาขาว เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีปางปฐมเทศนา ประทับนั่งห้วยพระบาท มีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาสามเท่า ขุดพบสี่องค์ที่วัดพระเมรุ ซึ่งเป็นวัดเก่าสมัยทวารวดี มีอายมากว่าหนึ่งพันปี ตั้งอยู่ที่สวนนันทอุทยาน ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง ฯ ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ไม่ไกลนัก

    b894-20-e0b8aae0b8b4e0b988e0b887e0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-e0b980e0b8a1-19.jpg
    พระพุทธไสยาสน์
    พระพุทธไสยาสน์ ยาว 17 เมตร ที่มีความงดงามมากองค์นี้ รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านตะวันตก

    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline

    [embedded content]

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9640000067011
     

แชร์หน้านี้

Loading...