ผู้มีปัญญาละ มารยา และ มานะ และผู้สุตตะ เพื่อเห็นอริยะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 3 มีนาคม 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    [​IMG]
    [​IMG]
    ปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ
    ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.ว่าด้วยผู้มีปัญญา
    [๑๐๑] คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา
    ในที่ไหนๆ ในโลก มีความว่า ปัญญา เรียกว่าโธนา ได้แก่ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น
    ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดความดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้า
    ไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญา
    เครื่องจำแนก ปัญญาเครื่องคิด ปัญญาเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญา
    เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเครื่องเจาะแทง
    ปัญญาเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท
    ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง
    ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา. เพราะปัญญานั้น
    เป็นเครื่องกำจัดล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ
    ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง
    ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท
    กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน
    ทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง. เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงเรียกว่า โธนา. อีกอย่างหนึ่ง
    สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ล้างชำระ ซักฟอกมิจฉาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ... ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา ... ซึ่งมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะ ... ซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ... ซึ่งมิจฉาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ ... ซึ่งมิจฉาวายามะ สัมมาสติ ... ซึ่งมิจฉาสติ สัมมาสมาธิ ... ซึ่งมิจฉาสมาธิ
    สัมมาญาณะ ... ซึ่งมิจฉาญาณะ สัมมาวิมุตติเป็นเครื่องกำจัด ล้างชำระ ซักฟอก ซึ่งมิจฉาวิมุตติ.
    อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ กำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
    ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรม
    ทั้งปวง พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าชิด เข้าชิดพร้อม ประกอบ
    แล้วด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำจัดเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญา.
    พระอรหันต์นั้น กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญา.
    คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ใดที่หนึ่ง ทุกๆ แห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้ง
    ภายในทั้งภายนอก. คำว่าในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก. คำว่า กำหนด ได้แก่
    ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า
    ความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. คำว่า ในภพน้อยและในภพใหญ่
    ได้แก่ในภาพน้อยและภาพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
    ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง
    เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความ
    เกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันบังเกิดขึ้น
    แห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่าทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา
    ในที่ไหนๆ ในโลก คือ ทิฏฐิที่กำหนด กำหนดทั่ว ปรุงแต่ง ตั้งมั่น ในภพน้อยและภพใหญ่ทั้งหลาย
    ย่อมไม่มี มิได้มีไม่ปรากฏไม่เข้าไปได้ แก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก คือ ย่อมเป็นทิฏฐิ
    อันบุคคลผู้มีปัญญานั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้ว
    ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มี
    แก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก.
    ว่าด้วยมารยาและมานะ
    [๑๐๒] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว มีความว่าความประพฤติลวง
    เรียกว่ามารยา. บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
    ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาอันลามก เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือย่อม
    ปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา (ว่าเราประพฤติทุจริต) ดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ย่อมกล่าว
    วาจาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ใครๆ อย่ารู้เรา. ความลวง ความเป็น
    ผู้มีความลวง ความไม่นึกถึง ความอำพราง ความปิด ความปิดบัง ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน
    ความซ่อนเร้น ความปิด ความปกปิด ความไม่ทำให้ตื้น ความไม่เปิดเผย ความปิดด้วยดี
    ความกระทำชั่วเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความลวง.
    คำว่า มานะ ได้แก่
    ความถือตัวอย่าง ๑ คือความที่จิตใฝ่สูง. ความถือตัว ๒ อย่างคือ
    ความยกตน ๑ ความข่มผู้อื่น ๑. ความถือตัว ๓ อย่าง คือความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑
    เราเลวกว่าเขา ๑. ความถือตัว ๔ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ ๑ ยังความถือตัวให้
    เกิดเพราะยศ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความ
    สุข ๑. ความถือตัว ๕ อย่างคือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑ ยังความ
    ถือตัวให้เกิด ว่าเราได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ยังความ
    ถือตัวให้เกิดว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. ความ
    ถือตัว ๖ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิดด้วยความถึงพร้อมแห่งจักษุ ... ความถึงพร้อมแห่ง
    หู ... ความถึงพร้อมแห่งจมูก ... ความถึงพร้อมแห่งลิ้น ... ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อม
    แห่งใจ. ความถือตัว ๗ อย่างคือ ความถือตัว ๑ ความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวและความถือตัวจัด ๑
    ความถือตัวเลว ๑ ความถือตัวยิ่ง ๑ ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑ ความถือตัว ๘ อย่าง
    คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิด เพราะลาภ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ยัง
    ความถือตัวให้เกิดเพราะยศ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ยังความถือตัวให้
    เกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะนินทา ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะสุข ๑
    ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะทุกข์ ๑ ความถือตัว ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ๑
    ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี ๑ ความถือตัวว่า
    เราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า
    เราเป็นผู้เลวกว่าคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้
    เสมอกับคนเลว ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนเลว ๑. ความถือตัว ๑๐ อย่าง คือ บุคคล
    บางคนในโลกนี้ยังความถือตัวให้เกิดเพราะชาติ ๑ เพราะโคตร ๑ เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุล ๑
    เพราะความเป็นผู้มีรูปงาม ๑ เพราะทรัพย์ ๑ เพราะการเชื้อเชิญ ๑ เพราะหน้าที่การงาน ๑ เพราะ
    หลักแหล่งศิลปศาสตร์ ๑ เพราะวิทยฐานะ ๑ เพราะการศึกษา ๑ เพราะปฏิภาณ ๑ เพราะวัตถุ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ (เกิดเป็น ๑๒) ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความที่จิตถือตัว ความใฝ่สูง
    ความฟูขึ้น ความทนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใคร่สูงดุจธง นี้เรียกว่า ความถือตัว.

    คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว คือบุคคลผู้มีปัญญา ละ เว้น บรรเทา
    ทำให้หมด ทำให้ไม่มีซึ่งมารยาและมานะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ
    ได้แล้ว.
    ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง
    [๑๐๓] คำว่า (บุคคลผู้มีปัญญานั้น) เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลส
    อะไรเล่า มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง ได้แก่กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเครื่องเข้าถึง
    คือตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลส
    เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ บุคคลผู้มีปัญญานั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่อง
    เข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ จึงชื่อ
    ว่า ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง. บุคคลผู้มีปัญญานั้นจะพึงไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
    อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึงความ
    ฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันผู้มีปัญญานั้นละ
    แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว จะพึงไปสู่คติทั้งหลายด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็น
    สัตว์เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์
    มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญาหรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
    สัญญาก็มิใช่. บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะอันเป็นเครื่องไป เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า

    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    ทิฏฐิ ที่กำหนด เพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญา
    ละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงจะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.


    [๑๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย
    ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไร
    อย่างไรเล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคล
    ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง สลัดเสียแล้ว
    ซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ.

    [๑๐๕] คำว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย
    มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง ได้แก่ กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเครื่องเข้าถึง
    คือตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อ
    ว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ บุคคลนั้นไม่ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ไม่สละคืนกิเลสเครื่อง
    เข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ไม่ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ไม่สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ
    จึงเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลายว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึง
    ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันบุคคล
    นั้นไม่ละแล้ว เพราะเป็นผู้ไม่ละกิเลสเครื่องปรุงแต่ง จึงย่อมเข้าถึง คือเข้าไปถึง รับ ถือมั่น ยึด
    มั่นวาทะติเตียนโดยคติว่า เป็นสัตว์เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็น
    มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
    หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้า
    ถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย.
    [๑๐๖] คำว่า ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไร
    อย่างไรเล่า มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงได้แก่ กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเครื่องเข้าถึง
    คือตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า
    กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ. บุคคลนั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนซึ่งกิเลสเครื่องเข้าถึง
    คือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ใครๆ
    จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ
    วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน
    ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งอันบุคคลเหล่านั้นละแล้ว เพราะเป็น
    ผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว ใครๆ จะพึงกล่าวคติของบุคคลนั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิด
    ในนรก ฯลฯ หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น
    ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะเครื่องกล่าว บอก พูด แสดง แถลงได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า.
    ว่าด้วยทิฏฐิ
    [๑๐๗] คำว่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลส
    เครื่องเข้าถึงนั้น มีความว่า ทิฏฐิถือว่ามีตน ได้แก่สัสสตทิฏฐิย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ได้แก่
    อุจเฉททิฏฐิย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่ามีตน คือสิ่งที่ถือย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน คือสิ่งที่พึงปล่อยย่อม
    ไม่มี. ผู้ใดมีสิ่งที่ถือ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมมีสิ่งที่พึงปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่พึงปล่อย ผู้นั้นชื่อว่ามีสิ่งที่ถือ
    พระอรหันต์ก้าวล่วงความถือและความปล่อย ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมเสียแล้ว.
    พระอรหันต์นั้นอยู่จบพรหมจรรย์เป็นเครื่องอยู่ ประพฤติธรรมเป็นเครื่องประพฤติแล้ว ฯลฯ
    ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มี
    กิเลสเครื่องเข้าถึง.
    [๑๐๘] คำว่า เพราะบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้ว ซึ่งทิฏฐิทั้งปวง
    ในโลกนี้นี่แหละ มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ละ ตัดขาด สงบ
    ระงับ แล้วทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ. บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น
    สลัดแล้ว คือกำจัด กำจัดดี กำจัดออก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งทิฏฐิทั้งปวง
    ในโลกนี้นี่แหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิ
    ทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย
    ใครๆ พึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไร
    อย่างไรเล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคล
    ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัด
    เสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ ดังนี้.
    จบทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2018
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]
    ธัมมัญญูสูตร
    [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ
    เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
    ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑
    อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑
    อัตตัญญู รู้จักตน ๑
    มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑
    กาลัญญู รู้จักกาล ๑
    ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑
    ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะอัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความ
    แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความ
    แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น
    อัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่ง
    ภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
    ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เรา
    เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่
    พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้
    เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล
    สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
    ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ
    จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก
    ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็
    ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู
    ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้
    เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล
    หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม
    นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น
    กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็น
    กาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น
    กาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วย
    ประการฉะนี้ ฯ

    ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้
    บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหา
    อย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้
    จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราจึง
    เรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู
    ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จัก
    บุคคลโดยส่วน ๒ คือ


    บุคคล ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ
    พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ


    บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ
    พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความ
    สรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
    ต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟัง
    สัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับ
    ความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูก
    ติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุ
    นั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้
    พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียน
    ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ
    แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณา เนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้
    บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วย
    เหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม
    แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควร
    แก่ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
    สมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
    พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

    บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล
    ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
    จบสูตรที่ ๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2018
  3. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :);):( เรียนธรรม-ต้องให้เป็นไปตามลำดับ-มูลมรรค ทาน ศิล ภาวนา ควรเรียนรู้ก่อน-ไม่ใช่เอาของสูงที่ละได้ยากมาเรียนก่อน..เมื่อใดจะเห็นฝั่ง หือ หือ งูๆปลาๆ..

    ;):( คนมีความรู้ มานะ อัตตา ทิฏฐิ จะติดตัวมาทุกคน นั่นคือธรรมชาติ มันคือธรรมชาติ ของสิ่งนั้นมี-สิ่งนี้จึงเกิดมี-ถ้าสิ่งนั้นไม่มี(การเรียนรู้)-สิ่งนี้จะมีได้อย่างไรเล่า(มานะ-อัตตา-ทิฏฐิ) ..เรียนธรรมตามลำดับอย่ามั่ว เข้าใจรึยังครับ
     
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    มันก้ตามลำดับนั้นล่ะถูกแล้ว ก้เคยกล่าวไว้เหมือนกันนะเรื่องนี้ว่าให้เรียนเรื่อง ทาน ศิล ภาวนา
    แต่พอคนกิเลศละเอียดมามันก้ต้องแก้ด้วยธรรมละเอียดสิถูกแล้ว ไม่อย่างนั้นนะ กิเลศหยาบๆไม่เอา ก้ไปยึดเอาว่ากิเลศละเอียดๆทำได้ไม่ผิด ไม่ผิดได้ยังไงเล่าก้รู้อยู่แก่ใจว่ามันผิด จะว่าไม่รู้รึเปล่าว่ามันเป็นกิเลศก้ไม่ใช่ รู้ทั้งรู้ก้ทำ เฮ้อออ 555+
    นึกว่าดูนางเอกหนังซี่รีสเกาหลี 5555+
     
  5. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :):mad::p กิเลสหยาบๆเจ้านั้นยังไม่มีปัญญามองให้เห็นชัด -แค่ศิล5 ให้ครบสมบูรณ์ดีหรอกรึ พาลจะมาละ มาต่อสู้กับกิเลสละเอียด นี่ๆๆ..ออเจ้า งูๆปลาๆ เพี้ยนไปแล้วรึไร

    :(:mad: มิรู้รึว่า มานะ-ทิฏฐิ-นั้นคืออัตตา นั้นเป็นสังโยชคชั้นสูงทีเดียว- ต้องละถึงตัวเรามิใช่เรา-มันมิใช่เรา-มันไม่เป็นเรา แล้วใย เจ้างูๆปลาๆ..มาเริ่มต้นกำจัด อัตตา สังโยคขั้นสูงเลย- ผู้คนจะ มิเย้ยหยันว่าสมควรรึ..เรานี้หวังดีต่อเจ้าดอก กลับมาเถียงเรามิตกฟาก อิอิ (ตามกระแส-สมัยเขาหน่อย)
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ก้ด้วยความมีศิลนั้นแหละ รู้อะไรผิดก้อย่าทำ 555+ จะแสดงส่วนถูกก้แสดงแต่ส่วนถูกไปซี้้้
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ผมคิดว่า มานะ ในส่วนที่ไม่เป็นจริง น่าจะเป็นส่วนหยาบนะ ลดได้เลย

    ส่วน มานะที่เป็นจริง ก็คงต้องไปสู้ต่อไปภายภาคหน้า
     
  8. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :(:p ดูเหมือน เจ้า งูๆปลาๆ ตัวท่านนี้ศึกษาพุทธศาสนา โดยให้ศรัทธานำจนสุดโต่งเกินสติปัญญาไปมากทีเดียว เราสังเกตุจากการตั้งกระทู้ธรรม และตอบธรรมของท่าน..นั้น มุ่งยกธรรมอันสาวกของ ผู้ซึ่งครอบงำศรัทธาให้เจ้า แต่ฝ่ายเดียว ดุจดังวิญญาณสิงร่างเจ้า -เขาฝากฝังใจเจ้าไว้แต่ส่วนเดียว-มิยอมรับธรรม พุทธวจน อันเป็นของจริงเลยสักนิด
    ;) กริยาการตอบสนองในธรรมที่เจ้าแสดง ก็ของเก่าทั้งสิ้น อันผิดเพี้ยนไปหมด-เมื่อใจเกรงกลัวแม้กระทั่ง เงาบาป อันเป็นนามธรรม ก็ป่วยการที่เจ้าจะเข้าถึงความจริงใน พุทธวจน ที่ปรากฏในชาตินี้
    :mad::p เจ้ายก ธรรม จากตำราผิดๆ ที่สาวกแต่งเติม-ปลอมปน-ขึ้นมาอวดอ้างว่าเป็นผู้รู้ในคัมภีร์อยู่เพื่อกระไร หือ หือ
     
  9. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :):( ความรู้-มานะ-อัตตา-กิเลส-คือ อิทัปปัจจยะตาของสังโยชน์ชั้นสูงในอุปทาน พอใจ เพลินติด ชอบใจ ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท .. เขาต้องเกิดตามธรรมชาติ-ของเราเมื่อเราเรียนรู้อะไรก็ตาม ..คนมีความรู้ จะติดสังโยชคพวกนี้ทั้งสิ้น ตัวตน นี้มันเป็นเราตลอดจนกว่าเราจะละตัวตนได้..สังโยชย์เบื้องต่ำ5- เบื้องสูง5 ..สาธุ
     
  10. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ตัวสีฟ้าคือเนื้อความที่เหลือเป็นส่วนเสริม
    ตอบแบบง่ายๆรวมความเลยนะไม่ปลอมปนหรอกเรายกมาทั้งสาวกกล่าวยกมาทั้งพุทธวจนเลย
     
  11. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :mad::p อ้าว..รับสารภาพ ยกมาทั้งจริงและปลอม ห้องนี้คนสติเต็มร้อย มีไหมวะนี่ อิอิ
     
  12. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อย่าสับสน พระสาวกเป็นผู้บันทึก ท่านบันทึกทั้งว่าส่วนใหนท่านกล่าวส่วนไหนพระพุทธเจ้ากล่าว ไม่มีปลอม และสิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าสั่งไว้เองรู้หรือไม่
     
  13. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    งั้นยกพระสูตรมาดู-หลักฐาน-ของจริงและแต่งใหม่ ยกมาอย่าดีแต่คุยโม้ สัพเพล่าแอบอ้าง
     
  14. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เรายกพระสูตรนี้ไว้ตั้งแต่ 11 กุมภาพันธ์ 2018 แล้วท่านเชิญไปทัศนะ สังคีติสูตร พระสูตรที่เราแสดงเรายกมาเป็นลำดับแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...