พระพุทธเจ้าสอน ฌาน 4 ด้วยการตรึกใน มหาปุริสวิตก 8

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 3 มีนาคม 2018.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]
    ๑๐. อนุรุทธสูตร
    [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน
    แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น
    ท่านพระอนุรุทธะ อยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์
    ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ

    เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
    ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
    ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
    ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม
    ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
    ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ


    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะ
    แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท
    ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
    เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
    พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
    แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า

    ดีแล้วๆ อนุรุทธะถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้
    เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อยมิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
    ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

    ดูกรอนุรุทธะ
    ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
    ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
    มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า
    ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า


    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล
    เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
    ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า

    จักสงัดจากกาม
    สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตกวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    ในกาลใดแล
    เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้


    ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า
    จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

    ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก๘ ประการนี้ ในการนั้น
    เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า
    ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข


    ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น
    เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก๘ ประการนี้
    และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
    ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน


    ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี
    ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
    เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ
    ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ

    ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
    และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
    นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

    ในกาลนั้น โภชนะ คือคำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ...

    ด้วยการก้าวลงสู่นิพพานเปรียบเหมือนข้าวสุก

    (หุงจาก) ข้าวสาลีคัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่างของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดีฉะนั้น

    ดูกรอนุรุทธะในกาลใดแล
    เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอดของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิดชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส-*วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
    ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน
    ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
    เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน
    ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
    ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร
    อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้
    ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
    เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ
    แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ
    เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
    ฉะนั้น ฯ
    ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
    แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
    เสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน
    แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้
    หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
    ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
    บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
    น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
    สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
    ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
    ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
    ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
    บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
    อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
    ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
    บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้
    สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ
    บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
    เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป
    เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต
    ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้
    เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร
    มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
    แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่
    เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
    บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
    มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง
    กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล
    ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง
    มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
    เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่
    ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
    ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
    ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
    ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
    ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
    อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
    เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
    กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
    เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
    ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น
    เจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่
    ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง
    ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
    โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ
    สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
    เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระ-
    *อรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้
    ในเวลานั้นว่า
    พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
    ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย
    พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริ
    ไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
    ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึง
    ธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุ
    วิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
    กระทำแล้ว ฯ
    จบคหปติวรรคที่ ๓
     
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จริงๆแล้วมีตัวอย่างอีกมากที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ณาน ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อยังให้จิตผ่องใส
    และมีมากมายหลายวิธีเพื่อให้เหมาะแก่ผู้ที่รับฟัง จนมีพระสาวกได้ทรงรวบรวมมาเป็นกรรมฐาน 40 เพื่อง่ายต่อการปติบัติ
    หมวดกสิน ๑๐
    หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐
    อนุสสติกรรมฐาน ๑๐
    หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา
    หมวดจตุธาตุววัฏฐาน
    หมวดพรหมวิหาร ๔
    มวดอรูปฌาณ ๔
    เพียงแต่ว่าแต่ละกรรมฐานนั้นแสดงแก่ใครบ้าง แสดงเพื่อให้เกิด ความผ่องใสของจิตในแต่ละวิธี ที่เหมาะแก่ท่านนั้นๆ ก้นับว่าต้องแยกไว้ในที่เข้าใจว่า กรรมฐาน 40 ถูกรจนาโดยท่านผู้เป็นอรหันตสาวกเพื่อให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ว่ายเข้าถึงง่าย มากกว่าที่จะได้เรียนรู้แต่ละกองในแต่ละบทของพระไตรปิฏก

    ใครใคร่ศึกษาในที่ท่านยกมาให้แล้วก้ศึกษาในที่ท่านยกรวบรวมมาให้แล้ว
    ใครใคร่ศึกษาในพระไตรปิฏก ก้ให้ศึกษาจากเนื้อความเต็มในพระไตรปิฏกซึ่งแต่ละกองกรรมฐานนั้นมีเนื้อความอยู่ในนั้น

    ดังเช่นเดียวกับการแสดงธรรม ผู้ใดได้ร่ำเรียนมาก้จะรู้ว่าเมื่อพระจะแสดงธรรมท่านจะยกเอาข้อธรรมมาแสดงแล้วอทิบายข้อธรรมนั้นในเวลาเทศนาส่วนใครไม่เคยร่ำเรียนมาอย่างมีแบบแผนก้ขอให้ไปศึกษากับครูบาอาจารย์ ให้ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2018
  3. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    คู่มือสมถะ-วิปัสนสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของวัดพลับ ก็กล่าวถึง กรรมฐาน 40 เหมือนกัน
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ท่านหนึ่งเป็นเลิศทั้ง ๓ ภพ
    ท่านหนึ่งเป็นเอกด้านทิพย์จักขุ
    ถ้าจิตไม่พอมีเชื้อมาทางด้านทิพยจักขุบ้าง
    ก็คงยากที่อ่านแล้วจิตจะพอเข้าใจสภาวะได้
    เพราะความละเอียดและเครื่องรู้ทางนามธรรม
    มีความแตกต่างกันมากครับ

    และในโลกนี้เราจะไม่รู้จัก
    คำว่าระดับฌานอะไรหรอกครับ
    ถ้าผู้เป็นเลิศทางด้านทิพยจักขุ
    ท่านไม่ได้ไล่ดูสภาวะพระพุทธฯท่านตอน
    เสด็จปรินิพพาน เล่าฝากให้รับพิจารณาเอาไว้ครับ


    ดังนั้นในระบบภาคทิพย์ หรือบุคคลที่มีครูบาร์
    อาจารย์ไม่มีกายเนื้อมาสอน
    เราจะไม่พบเห็นระดับพระพุทธฯที่เน้นทางด้านปัญญา
    ท่านมาสอนสมาธิใคร จะกล่าวแต่เชิงที่เกี่ยวข้องกับปัญญา
    จะพบแต่ระดับพระสงฆ์เท่านั้นที่มาสอนครับ
    และระดับพระสงฆ์ก็จะไม่สอนวิธีการใช้งาน
    เพราะจะสอนถึงระดับขั้นผลสำเร็จเท่านั้น
    การใช้งานนั้นจะเป็นระดับพระมหาฤาษี
    ผูสนับสนุนกำลังใช้งานจะเป็นระดับเทพพรหมมีชื่อ
    หากพิจารณาให้ดี จะพบบทบาทที่แตกต่างกัน
    มันมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ ให้พิจารณาให้ดีครับ

    ปล ไม่ได้หมายความว่ากรรมฐาน ๔๐ ไม่เคยไม่มีนะครับ
    แต่ตั้งต้นมาจากองค์ไหนเท่านั้นเองครับ
    ฝากไว้เป็นข้อมูลในการพิจารณาอย่างหนึ่งครับ
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=cee4245a6af5d8a20b9134375b52d04b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...