พระสมเด็จ แท้ หรือเก๊...

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Tanyadol, 25 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ต่างมุมมอง ต่างความคิด แต่ไม่แตกแยกกันนะครับ เพราะเราเกิดไม่ทัน ทำได้แค่การวิเคราะห์ให้ตกผลึก เพราะมีความชอบที่เหมือนกัน อิอิ

    ต้องเดินหน้ากันต่อไป ผมชอบสะสมและจะทดลองใช้หลักการต่างๆ เอามาใช้ เพื่อเสาะหา พระสมเด็จดูยาก ในตลาดล่าง เพราะพระที่วนเวียน เปลี่ยนมือในตลาดล่างนี้ ล้วนเป็นพระที่ดูยาก แต่ถ้าเรามี " หลัก " ในการพิจารณา เราก็จะได้พระ แท้ มาบูชา เป็นสิริมงคลแก่ตัวเรา ขอให้ทุกท่านโชคดี ครับ....
     
  2. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่

    IMG_4254.JPG IMG_4264.JPG IMG_4267.JPG IMG_4270.JPG IMG_4273.JPG

    เนื้อหา กับ พิมพ์ทรง ลองช่วยกันวิเคราะห์ดู ครับ
     
  3. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ขออนุญาตวิเคราะห์นะครับ พระเนื้อปูนจีน หรือเนื้อกังไส ซึ่งนิยมใช้ทำเครื่องสังคโลก และนำมาเป็นวัสดุหลักในการสร้างพระสมเด็จ ใน พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นต้นมา ลักษณะของปูนจีน คือมีความมันเป็นพิเศษ ความมันของเนื้อจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เรียกง่าย ๆ ว่า ยิ่งแก่ยิ่งมัน เมื่อมีอายุมากขึ้นปูนจะเกิดการยุบตัวแน่น จะเกิดการแตกลานในส่วนของผิวที่สัมผัสอากาศก่อน หากเป็นเนื้อกังไสล้วน มักมีการแตกลายแบบละเอียด เพราะการยุบตัวของเนื้อปูนสม่ำเสมอ หากมีมวลสารซ๋อนอยู่ข้างใน การแตกลายจะแตกแบบชิ้นใหญ่ เพราะมวลสารที่อยู่ข้างในยุบตัวเร็วกว่าปูน โดยปกติการวางพระสำหรับบูชาหรือการนำมาใช้ หลังองค์พระจะติดกับพื้น ทำให้ส่วนผิวหน้าจะเริ่มแตกก่อนเสมอ ส่วนทรงพิมพ์การสร้างนั้น ตามบันทึกประวัติการสร้าง พระรุ่นนี้มีการเร่งรีบการสร้างพระแบบเร่งรีบเพื่อให้ทันวันงาน ประกอบกับวัสดุทำจากปูนกังไส การที่จะนำพระออกจากพิมพ์ได้ ต้องรอการแข็งตัวของปูนเสียก่อน ซึ่งใช้เวลานาน จึงมีการสร้างแม่พิมพ์พระตัวผู้ แล้วนำไปกดเป็นบล๊อคแม่พิมพ์ตัวเมียซึ่งทำจากดิน ดังที่เห็นบล๊อคในพระกรุหลวงวิจารย์ ซึ่งปรากฏแม่พิมพ์เป็นจำนวนมาก ส่วนการชี้ขาดเรื่องทรงพิมพ์น่าจะทำได้ยาก ยกเว้น ทางทายาทจะยอมปั๊มพระจากแม่พิมพ์ทั้งหมดมายืนยัน
     
  4. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ขอบคุณครับ คุณนักชก ที่ได้ให้แนวทางการวิเคราะห์รวมทั้งรายละเอียดในการพิจารณา ครับ
     
  5. ChaiwatSriX

    ChaiwatSriX สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2021
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +9
    IMG_20220624_022024.jpg IMG_20220624_022047.jpg ปูนดิบและปูนสุก คลุกเคล้าเนื้อปูนกับน้ำอ้อยเคี่ยว **ปลายพระเกศหากสังเกตดีๆจะเห็น*แร่เหล็กไหลไพลดำฝังในเนื้อลอยบอนผิว1เม็ด เม็ดดำ ขาวอมเทา ดินอิฐกำแพง เศษแตกหักพระสกุลกำแพง (เศษแตกหักไม่มีแค่พระซุ้มกออย่างเดียวนะครับ) องค์ประกอบของเนื้อมวลสารบังคับพระสมเด็จจะต้องมี ธรรมชาติสร้างความฉ่ำ แกร่ง มัน แห้ง หด เหี่ยว ย่น ยับ ยุบ แอ่นโค้ง รูพรุนด้านหลัง เสียดายที่แตกหักเพราะได้มาแบบนี้ก็พยายามซ่อมครับ บางคนมองข้ามพระแตกพระไม่สวย (พลาดสตอรี่เลยครับ) บางคนก็บอกว่าพระเกจิฯสร้าง? (เกจิใดบอกได้มั้ย) ตอบข้อสงสัยผมไม่ได้ว่าพระเกจิท่านนั่นชื่ออะไร ยุคไหน ผมล่ะปวดเฮด "พระสมเด็จเก่าลักษณะต้องแบบนี้ครับหนึ่งในนั้น" เล่นตามที่ชอบที่ถนัดกันดีกว่าครับ ฮานาก้า (ถ้าอยากรู้ว่าพระสมเด็จที่คุณมี แท้ทันยุคมั้ย ต้องลองขัดๆๆๆด้วยล้างน้ำเปล่าดิ่ครับ พระไม่ฉ่ำไม่เสียหรอกแล้วจะกระจ่างแจ้ง) IMG_20220624_022024.jpg IMG_20220624_022047.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2022
  6. ChaiwatSriX

    ChaiwatSriX สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2021
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +9
    "พิมพ์ใหญ่เกศละซุ้ม เนื้อข้าวก้นบาตร" IMG_20220521_121734.jpg IMG_20220521_121734.jpg จะต้องแห้ง น้ำหนักจะเบากว่าเนื้อปูนครับ และพิมพ์เนื้อที่เบาที่สุดคือ สมเด็จองค์ที่ใช้ดินสอพองล้วนๆนั่นน่ะเบา (ไม่มีน้ำตังอิ้วเป็นตัวประสานเลยครับ เคี่ยวน้ำประสานผสมเนื้อพระมันก็มาจากพืชผักว่านยาตามธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น) พิมพ์ที่สร้างวาระนี้ เอามาเป็นแบบเปรียบเทียบได้ครับ IMG_20220521_121742.jpg
     
  7. ลุงพุด

    ลุงพุด สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2023
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...