พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล (ภูลังกา) พระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 8 มกราคม 2020.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=5863b3c99fe0323149e0e1aaf282ab45.jpg

    ?temp_hash=5863b3c99fe0323149e0e1aaf282ab45.jpg




    ปฏิปทาพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล (ภูลังกา) พระโพธิสัตว์


    ท่านธุดงค์พบหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล กราบขอเป็นศิษย์ท่าน หลวงปู่เสาร์ก็รับเป็นศิษย์ แล้วก็ได้รับการอบรมจากท่านเป็นอย่างดี

    ๏ ปรารถนาพุทธภูมิ

    เมื่อท่านได้รับการอบรมแล้วก็เร่งบำเพ็ญสมาธิภาวนาให้ยิ่งขึ้นอย่างแรงกล้า และได้เกิดความรู้สึกปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในภายหน้าหรือเรียก ปรารถนาพุทธภูมิ นั้นเอง ท่านจึงได้เข้ากราบเรียนเรื่องนี้ให้หลวงปู่เสาร์ทราบ หลวงปู่เสาร์ได้ชี้แจงว่าการปรารถนาพุทธภูมินี้ กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องใช้เวลาสร้างบารมีมาหลายกัป หลายภพหลายชาติ เนิ่นนานมาก ท่านได้แนะนำให้เลิกการปรารถนานี้เสีย

    แต่พระอาจารย์วังก็ได้กราบเรียนท่านหลวงปู่เสาร์ว่า มีความมุ่งมั่นรักในพุทธภูมินี้มาก แม้จะมีผู้มีอำนาจมาบังคับว่าถ้าไม่ยอมถอนจากความปรารถนานี้ จะฆ่าให้ตาย ก็ไม่ยอมถอน แม้จะฆ่าให้ตายก็ยอม เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านหลวงปู่เสาร์ก็พลอยอนุโมทนาด้วย และบอกว่าขอให้ตั้งใจต่อไป ในเวลาต่อมา ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อการภาวนาของท่านก้าวหน้าไปจนชำนาญทางด้านสมถกัมมัฏฐานแล้ว เมื่อยกจิตพิจารณาวิปัสสนากัมมัฏฐานมากขึ้น จิตจะสะดุด แล้วประหวัดถึงความปรารถนาภูมิทันที ไม่สามารถไปต่อได้มากกว่านั้น แต่ท่านก็ยังคงมุ่งมั่นในพุทธภูมินี้เรื่อยไป

    ท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จึงถือว่าท่านพระอาจารย์วังเป็นศิษย์ของท่านรูปหนึ่ง และด้วยความเป็นคนเอาจริงต่อการปฏิบัติของท่านพระอาจารย์วัง ท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร มักสอนลูกศิษย์รูปอื่นๆ ว่า “ให้ทำเหมือนท่านวัง เอาจริงเอาจังเหมือนท่านวัง”

    จริงจังในการปฏิบัติธรรม

    ในการจำพรรษาปีหนึ่ง ท่านเล่าว่าได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเป็นข้อวัตรว่าจะไม่นอนตลอดสามเดือน มีเพื่อนร่วมกันอยู่รูปหนึ่งคือ พระอาจารย์อุย ทั้งสองรูปสัญญากันว่าภายในกุฏิห้ามมีหมอน ถ้านั่งสมาธิก็ให้นั่งตรงกลางห้อง ไม่ให้นั่งพิงฝา แล้วเอาใบบัวมาห่อน้ำเป็นถุง ผูกโยงไว้บนศีรษะกลางห้อง มีเชือกผูกไว้ที่ถุงนั้น ให้ปลายเชือกข้างหนึ่งย้อยลงมาข้างฝา ให้ผู้อยู่ข้างล่างจับเชือกนั้นได้ ถ้าหากว่าผู้ใดนั่งสมาธิออกอาการสัปหงก อีกผู้หนึ่งมาพบเข้าในขณะนั้น ก็จะจับเชือกนั้นดึงกระตุกเชือกนั้นก็จะปาดถุงใบบัวนั้นขาด น้ำในนั้นทั้งหมดก็จะร่วงลงมาตรงกับผู้นั่งสัปหงกนั้นพอดี ผู้นั้นก็จะเปียกทั่วกาย เท่ากับได้อาบน้ำนั้นเอง คืนนั้นถ้าได้ถูกอาบน้ำเช่นนั้น ก็ได้เปลี่ยนผ้ากันใหม่ ทำให้หายง่วงและได้ทำความเพียรต่อไป ในพรรษานั้นได้ถูกอาบน้ำคนละหลายครั้ง ในอีกพรรษาหนึ่งท่านอธิษฐานเดินจงกลมวันละหลายชั่วโมง เมื่อออกพรรษาแล้ว ทางที่เดินจงกรมเป็นร่องลึกลงไปเท่าฝ่ามือ

    ขอบคุณขัอมูลจาก http://www.bungkan.net/?p=4504

    ขอบคุณ https://www.facebook.com/พระโพธิสัต...1vkrOGuLEOD8DsCptTQZVvH97pii4E03Deyg--VZv-V-c
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQnuKXxUe5TIvz3j3Hymwp9ih-TnSE7A8nPsrxrA9tRREEHYggRy1DjF9k7EvslD-0k&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg






    ธรรมคำสอนของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร


    บันทึกจากความทรงจำโดยพระจันโทปมาจารย์

    มนุษย์เราทุกคนย่อมหลงอยู่ในสมมติของโลกคือ สมมติให้เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ ภูเขา แผ่นฟ้า แผ่นดิน ทุกอย่างที่อยู่ในพื้นโลกนี้ ก็ถูกสมมติให้เป็นต่างๆ กันไป ตามคำสมมตินั้นๆ ส่วนมนุษย์เรานั้นมีส่วนประกอบพร้อมมูล คือสังขารทั้งหลาย ได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปรุงแต่งให้เป็นมนุษย์ คือคนเราทุกวันนี้ส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดๆ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม รวมประชุมกันอยู่เหมือนๆ กันหมด แต่แล้วก็สมมติว่า นี่เป็นผู้ชาย นี่เป็นผู้หญิง นี่เป็นบิดา นี่เป็นมารดา เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นพี่เป็นน้อง ปู่ย่า ตายาย แล้วแต่จะสมมติไปตามความประสงค์ที่จะให้เป็น

    เหมือนกันกับการสมมติของคณะหมอลำหมู่ หรือคณะลิเก เล่นละครเมื่อเขาเล่นเขาก็สมมติกันไปตามเรื่อง คือสมมติให้เป็นพระเอกนางเอก เป็นเจ้า เป็นบ่าวไพร่ แล้วเขาก็แสดงไปตามเรื่องราวในแต่ละท้องเรื่องนั้นๆ ในท้องเรื่องนั้นก็จะมีทั้งบทรัก ความเศร้าโศกเสียใจ มีทั้งบทหัวเราะ รื่นเริง เพลิดเพลินเจริญใจ บางตอนก็พลัดพรากจากกัน แล้วก็คร่ำครวญร้องให้โศกเศร้าเสียใจ บางคราวมีการกระทบกระทั่งกัน จนถึงมีการฆ่าฟัน ล้มตายกันก็มี เรื่องทั้งหมดนั้นคละเคล้าทั้งส่วนที่สมหวัง ทั้งส่วนที่ผิดหวัง มีทุกรส พร้อมหมดทุกอย่าง เขาก็เล่นกันไปตามสมมติกันไปตลอดคืน ครั้นรุ่งเช้ามาแล้วก็สมมติว่าจบเรื่อง สิ้นสุดการสมมติลงแค่นั้น ตัวสมมติทั้งหลายก็กลับเป็นจริง คือ นาย ก นาย ข นาย ค และนาง ง ตามเดิม ไม่ได้เป็นจริงตามคำสมมตินั้นเลย

    แต่การสมมติของคนเรานี้ ได้ถูกสมมติกันทุกวัน ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตาย ซึ่งเป็นสมมติที่ยาวถึง ๕๐ ปี ๖๐ ปี ๗๐ ปี หรือยิ่งกว่านั้น ทั้งหมดนี้จึงเรียกว่าละครชีวิต ได้แสดงละครชีวิตนี้ไปตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประสบเข้า เป็นเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะถึงวาระสุดท้าย คือจบลงด้วยการตาย สิ่งสมมติมาแล้วทั้งหมด ก็กลับกลายหาสภาพเดิม คือเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ และเป็นลม อันเป็นสภาพเดิมของโลกต่อไป หมดความเป็นชายเป็นหญิง เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นบิดา มารดา เป็นลูกหลานแค่นั้นเอง แต่นี้เราถูกสมมติให้เป็นไปตามสมมตินั้นๆ ไม่ได้เข้าใจว่ามันเป็นจริงเพียงสมมตินั้น แต่ไม่จริงตามความเป็นจริงเลย จึงทำให้หลงผิด คิดผิด เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกสมมติให้เป็นนั้น หารู้ไม่ว่าความจริงนั้นไม่มีอะไรยั่งยืน ย่อมมีเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และมีความแตกสลายไปในที่สุด เป็นสัจธรรมคือความจริงตลอดไป เหมือนกันกับพระอาทิตย์ที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า และก็จะตกลับขอบฟ้าไป แม้จะมีผู้ใดปรารถนาจะไม่ให้พระอาทิตย์ตกไป แต่พระอาทิตย์ก็ไม่สนใจกับผู้ใด แม้จะข่มขู่ ด่าว่า กราบไหว้ วิงวอน ก็ไม่เป็นดังนึกได้เลย แต่เราก็ยังหลงผิด คิดว่าเป็นจริงตามสมมตินั้นว่านี่คือบิดา มารดาเรา จึงทำให้หลงรักใคร่พอใจ ยึดติดแน่นหนากับสิ่งที่เข้าใจผิดนั้นอย่างลึกซึ้ง ยากที่จะคลายความรักได้ จึงเป็นเหตุเกิดราคะ ความกำหนัดรักใคร่ โลภะ คือความปรารถนา อยากได้ อยากเป็นตามที่ตนปรารถนานั้น จึงทำให้หวงห่วงอาลัย อยากให้สิ่งที่ตนรักนั้นอยู่กับเรานานๆ ตลอดไป ไม่อยากให้พลัดพรากจากเราไป ไม่อยากให้มีอะไร หรือผู้ใดมาขัดขวางความรักความผูกพันกับสิ่งที่เราหวง ถ้าเกิดมีสิ่งใดหรือผู้ใดมาทำให้เราได้พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราหลงนั้น สิ่งนั้นหรือผู้นั้นก็ต้องเป็นคู่อริกับเรา จึงเป็นเหตุให้เกิดไฟคือโทสะ ได้แก่ความโกรธ เผาลนจิตใจให้เร่าร้อน จนเกิดเป็นการทะเลาะวิวาท ผิดเถียงกันขึ้นไป เป็นบาป เป็นกรรม ตกนรกหมกไหม้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ก็เพราะความหลงผิดติดมั่นในสมมตินั่นเอง

    ทางที่ควรปฏิบัติคือ ให้พิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญาให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริง แล้วอย่าหลงยึดติดในสมมติที่เราเป็น ให้ถือว่าเป็น โลกธรรม คือธรรมประจำโลก มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ ยักย้าย ถ่ายเท แปรผันอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขความทุกข์ที่ยั่งยืนตลอดไป ย่อมสมมติว่าเป็นสุข สมมติว่าเป็นทุกข์ สับสนวนเวียนอยู่เสมอไป ไม่แน่นอน ควรสังวรระวัง ทำให้ใจเป็นกลาง คืออย่ายินดีเกินไปในเมื่อประสบกับสิ่งที่รักใคร่พอใจ อย่ายินร้ายในเมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ ควรรีบตักตวงประโยชน์ในขณะที่เราเป็น คือเป็นลูกที่ดีของบิดา มารดา เป็นมารดา บิดาที่ดีของลูก เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นอาจารย์ที่ดีของศิษยานุศิษย์ เป็นข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ในทางใดๆ แล้วให้เป็นคนดี เป็นคนที่สังคมต้องการในการงานและหน้าที่นั้นๆ พึงสังวรระวังอย่าทำกรรมอันเป็นบาปอกุศล ทุจริต มิจฉาชีพ อย่าทำตนให้เป็นพิษเป็นภัยแก่สังคม อันจะเกิดผลให้ได้รับทุกข์โทษอันไม่พึงปรารถนาทั้งในชาตินี้และชาติหน้า แล้วถึงตั้งใจบำเพ็ญตนในทางดี คือรักษาศีล บำเพ็ญสมาธิและปัญญา เพิ่มนิสัยปัจจัยคือความดี ให้ภิญโญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อจะได้บรรลุซึ่งธรรมอันจะทำให้สิ้นสุดลงซึ่งสมมติบัญญัติทั้งหลาย ไม่ต้องมาเวียนว่าย ประสบสุข ประสบทุกข์ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่มีที่จะจบสิ้นลงได้ ขอให้เราได้พ้นจากแดนสมมติอันเต็มไปด้วยกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ขอให้รู้แจ้งตลอดซึ่งวิมุตติธรรมนั้น

    “ให้พิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญา

    ให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริง

    แล้วอย่าหลงยึดติดในสมมติที่เราเป็น”

    พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร





     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ช่วยเปรตตาโดให้ไปเกิด

    ในหน้าแล้งปีหนึ่ง หลวงปู่วังได้ไปเที่ยวธุดงค์ภาวนาอยู่ที่วัดดงหม้อทอง มีครูบานู อยู่บ้านนาสิงห์ได้มาอยู่ภาวนาด้วย อยู่มาวันหนึ่งครูบานูก็ได้ขอกราบลาไปเยี่ยมบ้านเกิด ท่านก็อนุญาตให้ไป เมื่อครูบานูไปถึงบ้านก็ได้พักที่วัดร้างในหมู่บ้าน ชาวบ้านเมื่อรู้ว่าครูบานูกลับมา ก็ออกไปถามไถ่รับใช้ตามธรรมเนียมของคนอีสาน ก่อนกลับก็ได้บอกครูบานูว่า “ครูบ๋าวัดนี้มีเปรตได๋มันหลอกจนญาคูจั๋วน้อยอยู่บ่ได๋ วัดจั่งได้ฮ้าง คำญาคูย่านให้เข้าเมือนอนในบ้านเด้อ” ฝ่ายครูบานูก็เชื่อมั่นในตนเองว่าไม่กลัว ก็เลยบอกชาวบ้านว่า “ผีอยู่ใสเป็นจั๋งได๋บ่ย่านดอก พากันเมือโลด” ชาวบ้านเห็นครูบานูไม่กลัวก็พากันกลับบ้าน

    พอตะวันตกดินเหตุการณ์แปลกๆ ก็เริ่มเกิดขึ้นให้ครูบานูได้เห็น กลองเพลที่แขวนอยู่ใต้ถุนกุฏิที่ครูบานูใช้จำวัด ก็ดัง ตึง ตึง ขึ้น สิ้นเสียงกลองเพลก็มีเสียงเหมือนคนหว่านหินขึ้นไปบนหลังคาสังกะสี ซ่า ซ่า ซ่าไม่หยุด ฝ่ายครูบานูก็ข่มจิตข่มใจตัวเองเต็มที่อยู่ในห้องตามลำพัง ฉับพลันบานประตูทางเข้าก็ถูกผลักเสียงดังอี๊ด อี๊ดๆ อย่างช้าๆ เข้ามา ครูบานูก็ลุกขึ้นจะไปปิดไว้เช่นเดิม เดินไปถึงประตูๆ ก็ยังปิดสนิทอยู่ ก็กลับเข้ามาไม่นานประตูก็ถูกผลักเข้ามาอีก คราวนี้ครูบานูสติขาดเสียแล้วกระโจนออกทางหน้าต่างร้อง ผี ผี ผี ไม่หยุดปาก วิ่งเข้าไปในหมู่บ้าน วันนั้นครูบานูต้องอาศัยจำวัดที่บ้านญาติโยมในหมู่บ้าน

    วันรุ่งขึ้นหลังจากฉันอาหารเช้าเสร็จ ครูบานูก็ลาญาติโยมกลับมาหาหลวงปู่วังที่ดงหม้อทอง เล่าเรื่องเปรตตาโดให้ท่านฟังและขอร้องให้ท่านไปช่วยชาวบ้านด้วย เมื่อหลวงปู่วังท่านได้ฟังคำบอกเล่าเรื่องราวจากครูบานูแล้วท่านก็เก็บบริขาร ชวนครูบานูกลับไปที่บ้านนาสิงห์อีก ไปถึงเวลาใกล้ค่ำครูบานูก็จัดเก็บบริขาร จัดปูที่นอนให้ท่านในที่ๆ ท่านต้องการ ชาวบ้านเมื่อทราบข่าวว่าครูบานูพาครูบาอาจารย์กลับมาที่วัดอีก ก็ชวนกันออกไปอุปัฏฐากรับใช้ตามธรรมเนียมของคนอีสานที่เห็นพระสงฆ์องค์เจ้าเข้ามาพักในหมู่บ้านตน เมื่อได้สนทนากันสมควรแก่เวลาแล้ว ชาวบ้านก็ขอลากลับ ชาวบ้านก็ถามท่านว่า “บ่ย่านผีบ่ญาคู ผีมันฮ้ายได๋ มันหลอกจนพวกข้าน้อยบ่ได้นอน บางมื้อยามแลงพวกข้าน้อยตำพริก ฟักลาบ มันก๋าไปเคาะฮาวฮั้วแข่งปานวงดนตรี” หลวงปู่เมื่อท่านได้ฟังท่านก็หัวเราะ และบอกกับชาวบ้านว่า “ให้มันมาโลด มาจักร้อยผีนี่” ฝ่ายชาวบ้านได้ยินท่านพูดอย่างนั้นต่างก็หัวเราะพร้อมพูดเชิงเย้ยแบบไม่เชื่อ “ญาคูแล่นเข้าบ้านแบบญาคูนูเน้อ” “ฮ่วย ! ข้อยบ่แม่นครูบานูเน้อ !”

    เมื่อชาวบ้านกลับหมดแล้วท่านก็ลงเดินจงกรมที่ชาวบ้านเตรียมให้ เมื่อสิ้นแสงตะวันความมืดก็ปกคลุม ท่านก็จุดเทียนไขขึ้นที่ปลายทางจงกรม ท่านเดินไปรู้สึกเหมือนคนเดินตามหลังตลอดเวลา ไปสุดทางจงกรมหันหลังกลับ ก็มีแว๊บไปซ่อนอยู่ด้านหลัง เมื่อออกเดินมันก็เดินตาม เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านไม่สนใจกับมัน เมื่อเลิกจงกรมแล้วเข้าที่นั่งภาวนา เสียงกลองเพลที่แขวนอยู่ใต้ถุนก็เริ่มดัง ตึง ตึง ตึง ขึ้น เลิกจากตีกลอง เสียงหว่านหินขึ้นหลังคาสังกะสีดัง ซ่า ซ่า ซ่า สลับกันอยู่อย่างนั้น รบกวนท่านอยู่ตลอดคืนจนกระทั่งไก่ขันตอนเช้ามันจึงเลิก

    วันที่สองเหตุการณ์ยังเป็นอยู่เช่นเดิม ท่านเดินจงกรมมันก็เดินตาม จนท่านรู้สึกรำคาญจึงบอกมันไปว่า “เซามึงเซาเด้อ” มันก็ไม่เชื่อ ท่านจึงแก้สายประคบที่เอวออกพร้อมตวาดว่า “กูสิเมี้ยนมึงมื้อนี้” เปรตตาโดตกใจหนีขึ้นต้นฝรั่ง หลวงปู่จึงเอาสายประคตผูกรอบๆ ต้นฝรั่งไว้ ทำให้เปรตตาโดลงมาหลอกหลอนรบกวนไม่ได้อยู่สองวัน ตอนกลางวันท่านไปสังเกตดู เห็นกิ่งฝรั่งไหวยวบไปยวบมาเหมือนมีคนอยู่บนนั้น เช้าวันที่สามท่านจึงแก้สายประคตออก เมื่อเปรตตาโดถูกปล่อยยิ่งอาละวาดหนัก จนชาวบ้านไม่ได้หลับไม่ได้นอน

    ท่านจึงเรียกชาวบ้านให้มาประชุมปรึกษา และสอบถามถึงต้นเหตุ ชาวบ้านจึงเล่าให้ท่านฟังว่า เดิมนายโดเป็นคนไม่มีหลักแหล่ง ติดยาฝิ่น เข้ามาอาศัยหลับนอนอยู่ในวัด เมื่อไม่มีเงินซื้อยาฝิ่นก็ขโมยเอาเสื่อ เอาหมอน ตลอดจนผ้าห่อคัมภีร์ นำไปขายเพื่อซื้อยาฝิ่น ต่อมาก็ลงแดงตายภายในวัดนี้

    หลังทราบสาเหตุ หลวงปู่วังก็ถามชาวบ้านว่า “ซุมหมู่เจ้าอยากให้ผีเปรตนายโดนั้นได้ไปผุดไปเกิดอยู่บ่” ชาวบ้านก็บอกกับท่านว่า “โอ๊ยอยากหันแหล่ว ขะน่อยซ่อยหมู่ขะน่อยแน่ ญาคูให้เฮ็ดแนวใด๋กะให้บอกมา” ท่านจึงแนะนำให้หาสิ่งของเท่าที่นายโดนำไปขายมา แล้วไปนิมนต์พระในละแวกนั้นมาเพื่อให้ครบองค์สงฆ์ ชาวบ้านก็พร้อมเพียงกันจัดหาสิ่งของมารวมกันที่หอแจก (ศาลาการเปรียญ) เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม ท่านพระอาจารย์วังเป็นผู้นำสวดชัยมงคลคาถา จากนั้นก็พากล่าวนำถวายสิ่งของคืนให้แก่สงฆ์ โดยท่านพระอาจารย์วังกล่าวนำว่า ของทุกอย่างที่นายโดเอาไป บัดนี้ได้นำมาชดใช้ให้แล้วไม่ให้มีโทษ ส่วนที่เอาไปแล้วก็ยกให้นายโด ถ้านายโดรับรู้แล้วจงได้มารับเอาส่วนบุญที่ได้กระทำให้แล้วในวันนี้ และขอให้อนุโมทนาด้วยเถิด

    ท่านพระอาจารย์วังกล่าวจบ ก็บังเกิดเสียงดังตูมขึ้น เงาดำทะมึนก็ผุดขึ้นสูงตระหง่านท่วมหลังคาศาลา เวลาในขณะนั้นยังไม่มืดสนิทนัก ความอลหม่านก็เกิดขึ้นในทันที ชาวบ้านหญิงชายแตกฮือเข้าไปหาพระ ไม่รู้ใครเป็นใคร จนท่านพระอาจารย์วังร้องบอกว่า “บ่ต้องย่าน อาตมาอยู่นี่บ่ต้องย่าน” ชาวบ้านจึงมีสติกลับมา เปรตตาโดปรากฏให้เห็นอยู่ชั่วขณะหนึ่งจึงอันตรธานหายไป ท่านพระอาจารย์วังพักอยู่ที่นั่นต่ออีกสามวัน เมื่อทุกอย่างกลับสู่ปกติท่านจึงลาชาวบ้านกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ดงหม้อทองตามเดิม๏ พญานาคมาขอส่วนบุญ

    เช้าวันหนึ่งพระอาจารย์วังได้เล่าให้สามเณรคำพันธ์ ปทุมมากร (ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์ - หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ฟังว่า เมื่อคืนมีพญานาคมาหาในนิมิตสมาธิ บอกว่ามาขอส่วนบุญ พอตกกลางวันวันนั้น มีงูตัวหนึ่งสีแดงทั้งตัว ขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณสองศอก เลื้อยเข้ามาในถ้ำชัยมงคล แล้วหายเข้าไปในถ้ำ เมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนจะทำการถวายภัตตาหาร พระอาจารย์วังได้กล่าวว่าบุญกุศลที่พวกเณรและผ้าขาว ถวายภัตตาหารแด่พระเณรให้อุทิศไปให้พญานาค แล้วท่านก็พาทำบุญอุทิศ ครั้นวันถัดมาท่านได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อคืนพญานาคมาหาอีกครั้งบอกว่าเขาได้รับบุญกุศลแล้ว มาขอลาไปสู่สุคติภพที่ดีกว่า

    ๏ ภุมมเทวดาตักเตือน

    ขณะที่อยู่บนภูลังกา ปกติจะมีญาติโยมขึ้นไปกราบพระอาจารย์วังอยู่เสมอ เพราะขณะนั้นชื่อเสียงของท่านค่อนข้างจะโด่งดั่งพอสมควร เมื่อญาติโยมขึ้นมากราบท่านที่ถ้ำชัยมงคล ก็มักจะเดินเที่ยวชมป่าเขาด้วย ท่านจะคอยบอกญาติโยมว่า ห้ามโยนก้อนหินลงไปหน้าผาหน้าถ้ำ เพราะพวกภุมมเทวดาเขามาบอกว่าเขาไม่ชอบ มีโยมกลุ่มหนึ่ง แม้ท่านจะห้ามแล้วก็ยังแอบกระทำอยู่ในตอนกลางวัน พอตกค่ำ ๓ ทุ่มหลังจากทำวัตรเสร็จแล้ว กำลังฟังเทศน์กันอยู่ ก็มีเสียงดังสะท้อนลั่นมาจากลานหินหลังถ้ำ (ถ้ำนี้เป็นชะง่อนหินริมผา มีลานหินอยู่ด้านบน) เหมือนมีหินขนาดใหญ่สัก ๒ เมตร กลิ้งมาแล้วตกลงหน้าผาห่างจากถ้ำราว ๖ วา ญาติโยมก็แตกตื่นตกใจวิ่งไปจับกลุ่มอยู่ใกล้ๆ พระอาจารย์วัง ท่านจึงถามว่าเมื่อโยมขึ้นไปหลังถ้ำมีใครโยนก้อนหินลงหน้าผาหรือไม่ โยมตอบว่า มีเด็กมากันหลายคน และพากันโยนหินเล่น ท่านจึงบอกว่า พวกเจ้าที่เขาไม่พอใจที่ไปทำอย่างนั้น จึงเกิดเสียงอย่างนี้ขึ้น ขอโทษเขาก็ได้ ไม่เป็นไร แค่คราวต่อไปห้ามทำอย่างนี้อีก ครั้นตอนเช้ามาดูก้อนหินที่ตกลงมา ปรากฏว่าเป็นหินที่มีขนาดเท่าบาตรเท่านั้น ไม่สมกับเสียงที่ได้ยินเมื่อคืนเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...