พละ 5

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Mdef, 15 กรกฎาคม 2020.

  1. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    [228] พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง — power)
    1. สัทธา (ความเชื่อ — confidence)
    2. วิริยะ (ความเพียร — energy; effort)
    3. สติ (ความระลึกได้ — mindfulness)
    4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — concentration)
    5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — wisdom; understanding)

    ธรรม 5 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน — controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้
    พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง


    ที่มา https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=228
     
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    167031003_3951569434932706_3601284921709925567_n.jpg

    สมาธิ... คือจิตที่แน่นอยู่ในอารมณ์เดียวเรียกว่า “ สมถะ ”
    จิตที่ไม่ติดต่อกับสิ่งใด มีความสะอาด ปราศจากอารมณ์ภายนอก มีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวรอบคอบ ปลดปล่อยอารมณ์เสียได้ เรียกว่า “ วิปัสสนา ”
    เมื่อสมาธิซึ่งประกอบด้วยวิปัสสนาเกิดขึ้น ความเป็นใหญ่ เป็นอิสระในตัวทั้ง ๕ อย่างก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมกันคือ...

    ๑. ” สัททินทรีย์ ” ศรัทธาความเชื่อก็เข้มแข็งมั่นคง ใครจะมาพูดดี หรือไม่ดีอย่างไร ใจก็ไม่หวั่นไหว

    ๒. “ วิริยินทรีย ์” ความพากเพียรก็แก่กล้า ถึงใครจะมาสอนให ้หรือไม่สอนให้ ก็ทำไปเรื่อย ไม่ท้อถอย หรือหยุดหย่อน

    ๓. “ สตินทรีย์ ” สติก็เป็นใหญ่ เป็นมหาสติ ไม่ต้องไปข่มไปบังคับ มันก็แผ่จ้ากระจายไปทั่วตัวเหมือนต้นไม้ใหญ่ กิ่งก้านใบของมันย่อมจะแผ่สาขาลงมาคลุมลำต้นของมันไว้ และพัดกระพือขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครไปจับเขย่า หรือดึงยอดมันลงมา ความรู้ของเราก็จะจ้าไปหมด ทั้งยืนเดิน นั่ง นอนทุกอิริยาบถ มันรู้ของมันได้เองโดยไม่ต้องไปนึก ความรู้รอบอย่างนี้แหละเรียกว่า ” มหาสติปัฏฐาน ”

    ๔. “ สมาธินทรีย ์” สมาธิของเราก็เป็นใหญ่ จะทำอะไรๆ อยู่ก็ตาม จิตก็ไม่มีวอกแวก ถึงจะพูด จะคุยกันให้ปากอ้าออกไปตั้งวา ใจก็คงที่เป็นปกติอยู่ กายมันจะอยากกิน อยากนอน อยากนั่ง อยากยืน อยากเดิน อยากวิ่ง อยากนึก อยากคิด อยากพูด อยากทำก็ทำไป ช่างมัน หรือว่ากายมันจะเจ็บ จะป่วย จะปวด จะเมื่อยที่ตรงไหนก็ให้มันเป็นไป จิตใจก็ตั้งเที่ยงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่วอกแวกไปทางอื่น

    ๕ “ ปัญญินทริย์ ” ปัญญาความฉลาดรู้ก็ทำให้เกิดขึ้นในตนเอง อาจสามารถที่จะทำดวงจิตของตนให้บรรลุธรรมสำเร็จมรรคผลเป็นโสดา สกิทาคา อนาคาจนถึง อรหันต์ ก็ได้..."

    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้
    พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุก ๆ ท่าน


     

แชร์หน้านี้

Loading...