พลานุภาพของสตรี จับพระสึกด้วยอำนาจแห่งกาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 1 กันยายน 2020.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ZDB5p3HIDAICGJI8bQXTDDl_AT56l6VXKzf9qaSIyHfz&_nc_ohc=D_hcqOfG4bAAX-2ZmVE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน


    พลานุภาพของสตรี จับพระสึกด้วยอำนาจแห่งกาม ทำให้พินาศด้วยเพศพรหมจรรย์ และฉิบหายด้วยชีวิตมานักต่อนักแล้ว

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ได้ตรัสสั่งสอนธรรมแก่เหล่าชนให้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก ชายผู้หนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสมอบทรัพย์สมบัติให้ภรรยา ผู้มีน้ำตานองหน้าแล้วออกบวชเมื่อบวชแล้วท่านได้รับความลำบากใจในเรื่องอาหารจึงได้ไปบิณฑบาตในบ้านของตน

    ฝ่ายภรรยาด้วยความรักในตัวภิกษุผู้เป็นสามี จึงคิดที่จะให้สามีสึกมาอยู่กินด้วยกันเหมือนเดิม นางจึงได้แต่หมั่นแต่งตัวให้สวยงาม ปรุงอาหารที่มีรสชาดอร่อยไปถวาย นิมนต์พระภิกษุอดีตสามีมาฉันอาหารที่บ้านอยู่เป็นประจำ คอยพูดจายั่วยวนประเล้าประโลม อีกทั้งยังเล่าเรื่องราวทางบ้านและญาติพี่น้องให้ฟังอยู่เสมอๆ วันหนึ่งจึงออกอุบายออกไปว่าจะมีสามีใหม่ไม่สามารถทำอาหารถวายได้อีกต่อไปแล้ว ทำให้พระภิกษุอดีตสามีคิดจะสึกออกมาครองเรือนตามเดิม

    ภิกษุผู้กระสันอยากสึกนั้น จึงตัดสินใจไปขอลาสิกขากับพระอุปัชฌาย์ ท่านอุปัชฌาย์จึงพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    พระบรมศาสดามีรับสั่งตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ดูก่อนภิกษุ ใครกันหนอ ที่ทำให้เธออยากจะสึก”

    เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า “อดีตภรรยาทำให้ข้าพระองค์อยากสึก ข้าพระองค์ไม่อาจตัดใจจากนางได้ ทั้งนี้เพราะเหตุที่นางทำกับข้าวอร่อยเหลือเกิน”

    พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า “ดูก่อนภิกษุ หญิงนั้น เป็นผู้ทำความพินาศให้แก่เธอไม่ใช่เฉพาะชาตินี้เท่านั้น แม้ในอดีตชาติ เพราะอาศัยหญิงคนนี้เป็นเหตุ ทำให้เธอต้องถูกเสียบอยู่บนหลาว เอาแต่คร่ำครวญอยู่ถึงหญิงคนนั้นอย่างเดียว เมื่อตายแล้วได้ไปบังเกิดในนรก บัดนี้ เพราะเหตุอะไร ตัวเธอจึงยังปรารถนานางอยู่อีกเล่า”

    จากนั้น พระพุทธองค์ ได้ทรงนำเรื่องราวในอดีตชาติมาตรัสเล่าให้ฟัง ดังต่อไปนี้…

    “ปุปฺผรัตตชาดก”

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ภายในกรุงพาราณสี มีเทวดาประจำอากาศอยู่องค์หนึ่ง ครั้งนั้น ในพระนครพาราณสี มีมหรสพกลางคืนวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ ฝูงชนพากันตบแต่งประดับประดาบ้านเมืองจนงดงามเหมือนเทพนครแล้วพากันสนุกสนานในงานมหรสพ

    ที่เมืองนั้นเอง มีคนยากจนอยู่คนหนึ่ง เขามีผ้าที่ดีที่สุดในบ้านอยู่คู่เดียวเท่านั้นพอถึงวันงาน เขาได้นำเอาผ้านั้นมาซักให้สะอาดด้วยการฟาดลงกับพื้นทำให้ผ้าของเขาขาดชำรุด ขณะนั้น ภรรยาได้กล่าวกับเขาว่า “พี่จ๋า น้องอยากจะนุ่งห่มผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำแล้วเดินกอดคอเกี่ยวก้อยเที่ยวชมงาน”

    เขาจึงบอกภรรยาว่า “น้องเอ๋ย เราเป็นคนยากจน จะไปหาผ้าอย่างนั้นได้จากที่ไหน ขอให้น้องจงนุ่งห่มผ้าขาวที่เรามีเที่ยวเล่นเถิด”

    นางได้ฟังสามีกล่าวเช่นนั้นก็ทำหน้าไม่พอใจยื่นคำขาดกับสามีว่า “ไม่รู้ล่ะ ถ้าน้องไม่ได้ผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำ น้องจักไม่ไปเที่ยวงาน แต่ถ้าพี่ไม่อยากไป ก็เชิญพี่ไปเที่ยวกับผู้หญิงคนอื่นก็แล้วกัน”

    สามีได้ฟังก็กลุ้มใจกะภรรยาว่า “น้องเอ๋ย ทำไมน้องจึงบีบคั้นพี่ถึงขนาดนี้พี่จะไปเอาผ้าดีๆ อย่างนั้นมาจากไหน”

    นางจึงกล่าวให้กำลังใจสามีว่า “พี่จ๋า เมื่อลูกชายต้องการอะไร มีหรือจะหาไม่ได้ ดอกคำมีอยู่มากมายในไร่ของพระราชามิใช่หรือ”

    สามีได้ฟังก็ตกใจ บอกว่า “เมียจ๋า ที่นั้นมีการดูแลอย่างเข้มงวด ไม่ต่างอะไรกับสระน้ำที่ผีเสื้อน้ำรักษาอยู่ พี่คงไปเอามาไม่ได้หรอก น้องจงพอใจตามที่เรามีเถิด”

    นางจึงชี้ช่องทางให้ผัวทำชั่วทันทีว่า “พี่จ๋า เมื่อเวลามืดแล้วพี่ก็จะสามารถไปลักมาได้อย่างปลอดภัย”

    ในขณะที่นางกำลังบอกชี้แนะให้สามีทำชั่วอยู่นั่นเอง เทวดาที่ประจำอยู่ในอากาศผ่านมาได้ยินเข้า ท่านมองเห็นอนาคตแห่งอันตรายที่สามีของนางจะได้รับจึงรีบกล่าวห้ามโดยทันที แต่นางก็กล่าวเซ้าซี้เขาอยู่บ่อยๆ จนทำให้เขาใจอ่อนเพราะลุ่มหลงในภรรยา

    เขาจึงบอกนางว่า “เอาเถิด เมียจ๋า ไม่ต้องพูดไปแล้ว ตกลงพี่จะยอมทำตามที่น้องบอก

    พอตกกลางคืน เขาจึงเสี่ยงชีวิตออกจากพระนครไปสู้ไร่ดอกคำของหลวงโดยการแอบปีนเข้าไปในไร่ พวกคนเฝ้าไร่ได้ยินเสียงผิดปกติต่างก็พากันล้อมจับเขาไว้ทันที พากันรุมซ้อมเขาแล้วจับมัดเอาไว้

    ครั้นรุ่งแจ้ง จึงพากันนำตัวเขาที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสไปกราบทูลให้พระราชาทราบเรื่อง พระราชาจึงมีคำสั่งให้นำเขาไปประหารด้วยการเสียบที่หลาว ราชบุรุษจับเขามัดมือไพล่หลังพาออกจากเมืองโดยการแห่ประจานตีกลองประกาศโทษของเขาเพื่อไม่ให้คนอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เมื่อไปถึงก็พากันจับเขาเสียบที่หลาว

    เขาได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เลือดไหลทะลักออกมาอย่างไม่หยุด ในขณะนั้นเอง ฝูงกาก็พากันบินมาเกาะที่ศีรษะใช้จะงอยปากที่คมเหมือนปลายคีมจิกเข้าไปในดวงตาทั้งคู่ของเขา

    แม้จะได้รับความทรมานถึงขั้นนั้น เขาก็ไม่สนใจความทุกข์นั้นเลยเอาแต่รำพึงถึงภรรยาสุดที่รักอย่างเดียวว่า “ตัวเราต้องพลาดจากงานสำคัญประจำปีนี้ ไม่มีโอกาสอีกต่อไปแล้วที่จะได้เดินเที่ยวคลอเคลียไปกับภรรยาผู้นุ่งห่มด้วยผ้าย้อมด้วยดอกคำ”

    สามีแม้จะเจ็บปวดปานตายแต่เขาก็รำพึงถึงภรรยาด้วยความรักว่า “ทุกข์ทางกายของเราไม่ว่าจะเป็นการถูกเจ้าหน้าที่หลวงซ้อมก็ตาม การถูกหลาวเหล็กเสียบก็ตาม หรือการถูกกาใช้จะงอยปากจิกกินดวงตาของเราก็ตาม ความทุกข์ทั้งหมดนั้นก็ไม่จัดว่าเป็นความทุกข์แต่ประการใด ส่วนความกังวลใจที่กลัวว่าภรรยาของเราจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าอย่างดีที่ย้อมด้วยผ้าดอกคำ เดินเคลียคลอกอกแขนเกี่ยวก้อยเที่ยวงานมหรสพต่างหากเล่าที่ทำให้เราทุกข์ใจอย่างแสนสาหัส”

    ขณะที่เขากำลังบ่นเพ้ออยู่นั่นเอง ความเจ็บปวดทรมานที่เกิดจากบาดแผลก็ทำให้เขาสิ้นใจ ไปกำเนิดในนรก

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดกว่า
    “คู่สามีภรรยาในครั้งนั้นได้กลับชาติมาเกิดเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้ ส่วนเทวดาประจำอากาศผู้เห็นเหตุการณ์นั้นได้มาเป็นตถาคตนั่นเอง”

    โศกนาฏกรรมของเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าคนผู้เป็นสามีมีความหนักแน่นเป็นเสาเหลักไม่ตกอยู่ใยอำนาจของภรรยา เป็นการสอนบุคคลผู้ครองเรือนว่า จะทำอะไรให้รู้จักประมาณในฐานะของตนเอง ถ้าทำอะไรเกินฐานะ เช่น เป็นคนจนแต่อยากจะทำตัวเหมือนคนรวย ไม่รู้จักประหยัด สุดท้าย ชีวิตก็ลำบาก และก็หนีไม่พ้นการกู้หนี้ยืมสิน นำไปสู่หนี้ที่พอกหางหมูจนกลายเป็นชีวิตที่ล้มละลายในที่สุด การดำเนินชีวิตจึงต้องระวังให้ดี เปรียบเหมือนเรื่อที่ลอยอยู่กลางทะเล มีอันตรายอยู่รอบด้านที่จะให้เรืออับปาง ตัวเราจึงต้องคอยระวังตัวให้ดีที่จะคอยอุดรูรั่วต่างๆ อันจะทำให้เรือล่มได้ จึงต้องมีหลักธรรมะในการครองตน ครองคนและครองงานให้ดีจะได้ไม่เกิดเรื่องเศร้าอย่างปุปฺผรัตตชาดกนี้ ฯ

    พระพุทธองค์ทรงระลึกชาติแต่หนหลังของพระภิกษุรูปนี้แม้ชาติที่เป็นเดรัจฉานก็ได้พินาศด้วยชิวิตมาแล้วแล้วทรงแสดง “กัณฑินชาดก” ดังนี้

    กาลครั้งหนึ่ง ในแคว้นมคธมีกวางอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งกวางที่อาศัยอยู่ที่ราบใกล้หมู่บ้าน และกวางที่อาศัยอยู่ตามป่าบนเชิงเขา กวางที่อาศัยอยู่ตามที่ราบหาอาหารกินง่าย เพราะมีพืชพันธุ์และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ บางครั้งก็ยังแอบเข้ามากินข้าวกล้าของชาวนาอีกด้วย กวางพวกนี้มีนิสัยระแวดระวังเก่ง เพราะต้องคอยหลบหนีการตามล่าของมนุษย์อยู่เสมอ

    ในฤดูที่ข้าวกล้ากำลังงอกงาม ชาวบ้านจะคอยดักล่ากวางกันมาก มันจึงต้องหลบขึ้นไปอยู่ในป่าบนเชิงเขาในเวลากลางวัน และแอบลงมากินบริเวณพื้นที่ราบในเวลากลางคืน ส่วนกวางที่อยู่ในป่าบนเชิงเขาซึ่งค่อนข้างกันดาร หาหญ้าและน้ำกินลำบาก ในฤดูแล้งจะอดอยากมาก จนถึงกับล้มตายไปก็มี แต่กวางพวกนี้จะไม่ลงจากภูเขา จึงปลอดภัยจากการตามล่าของมนุษย์

    ครั้งหนึ่ง นางกวางที่ราบตัวหนึ่งได้หลบขึ้นไปอยู่บนเชิงเขา และได้รักชอบกับกวางหนุ่มตัวหนึ่งบนเชิงเขา เมื่อนางกวางต้องการลงมาหากินบนพื้นที่ราบ กวางหนุ่มจึงขอติดตามลงมาด้วย เมื่อลงมาถึงพื้นที่ราบ ขณะที่เดินเข้าเขตชายป่าใกล้หมู่บ้าน นางกวางรู้สึกผิดสังเกตด้วยสัญชาติญาณที่ระมัดระวังอยู่เสมอ แต่นางไม่บอกให้กวางหนุ่มรู้ นางแกล้งเดินช้าๆ ปล่อยให้กวางหนุ่มเดินออกหน้าไปก่อน หากมีอันตรายเกิดขึ้นนางจะได้หนีทัน กวางหนุ่มเคยอยู่แต่บนเชิงเขา ไม่คุ้นกับกลิ่นมนุษย์และไม่เคยระวังตัวอยู่ทุกฝีก้าวจึงเดินนำหน้าไปเรื่อยๆ เป็นปกติ

    นายพรานซึ่งดักซุ่มคอยทีอยู่แล้ว เห็นกวางหนุ่มเดินมาอย่างสบาย จึงยิงธนูออกไปทันที กวางหนุ่มถูกธนูอย่างจัง ล้มลงขาดใจตายอยู่ตรงนั้น ส่วนนางกวางก็กระโจนหนีไปในพริบตา ขณะเดียวกัน รุกขเทวดา ที่อาศัยอยู่ ณ ชายป่าแห่งนั้นได้เห็นเหตุการณ์ตลอด จึงกล่าวถึงสิ่งที่น่าติเตียน ๓ ประการคือ
    ๑. น่าติเตียนบุรุษที่มีลูกศรเป็นอาวุธ ยิงปล่อยไปเต็มกำลัง
    ๒. น่าติเตียนชนบทที่มีสตรีเป็นผู้นำ
    ๓. น่าติเตียนบุคคลที่ตกอยู่ในอำนาจของสตรี

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสประชุมชาดกว่า “กวางหนุ่มได้มาเป็นพระภิกษุผู้อยากสึกรูปนี้ นางกวางได้มาเป็นภรรยาของพระภิกษุรูปนี้ รุกขเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคตนั่นเอง”

    พระศาสดาตรัสอีกว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้กระทำความพินาศให้แก่เธอแม้เพียงบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน เธออาศัยหญิงนี้ถูกตัดศีรษะด้วยดาบจนถึงความฉิบหายแห่งชีวิตมาแล้ว จากนั้นจึงตรัสเล่าเรื่อง “จุลลธนุคคหชาดก” ดังนี้...

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ ในกาลนั้น พราหมณ์มาณพชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเรียนศิลปศาสตร์ทั้งปวงในเมืองตักกสิลา ได้บรรลุความสำเร็จในธนูกรรมวิชายิงธนู ได้เป็นผู้มีนามว่า จุลลธนุคคหบัณฑิต

    ครั้งนั้น อาจารย์ของจุลลธนุคคหบัณฑิตนั้นคิดว่า มาณพนี้เรียนศิลปศาสตร์ได้เหมือนเรา จึงได้ให้ธิดาของตน จุลลธนุคคหบัณฑิตนั้นพานางเดินทางไปด้วยหวังใจว่า จักไปเมืองพาราณสี ในระหว่างทาง มีช้างป่าดุร้ายเชือกหนึ่ง อาศัยอยู่ในเส้นทางสัญจร ใครๆ ก็ไม่อาจผ่านไปยังสถานที่นั้นได้ จุลลธนุคคหบัณฑิต เมื่อคนทั้งหลายพากันห้ามอยู่ก็พาภรรยาขึ้นสู่ปากดง

    ครั้งนั้น ช้างได้ปรากฏขึ้นแก่จุลลธนุคคหบัณฑิตนั้น ในท่ามกลางดง เขาจึงเอาลูกศรยิงช้างนั้นที่กระพองลูกศรทะลุออกทางส่วนเบื้องหลัง ช้างได้ล้มลง ณ ที่นั้นเอง ธนุคคหบัณฑิตได้กระทำที่นั้นให้ปลอดภัย แล้วได้ไปถึงดงอื่นข้างหน้า

    แม้ในดงนั้นก็มีโจร ๕๐ คน คอยปล้นคนเดินทาง ธนุคคหบัณฑิตนั้นอันคนทั้งหลายพากันห้ามอยู่ ก็ยังขึ้นไปสู่ดงนั้น เขาได้ไปถึงสถานที่ตั้งของโจรเหล่านั้น ซึ่งฆ่าเนื้อแล้วปิ้งเนื้อกินอยู่ ณ ที่ใกล้หนทางสัญจร ครั้งนั้น โจรทั้งหลายเห็นธนุคคหบัณฑิตนั้นมากับภรรยาผู้ประดับตกแต่งร่างกาย จึงทำความอุตสาหะว่า จักจับธนุคคหบัณฑิตนั้น

    หัวหน้าโจรเป็นผู้ฉลาดในลักษณะของบุรุษ เขาแลดูธนุคคหบัณฑิตนั้นเท่านั้นก็รู้ว่า ผู้นี้เป็นอุดมบุรุษ จึงไม่ให้แม้โจรคนหนึ่งลุกขึ้น ธนุคคหบัณฑิตส่งภรรยาไปยังสำนักของพวกโจรเหล่านั้นด้วยสั่งว่า เธอจงไปพูดว่า ท่านทั้งหลายจงให้เนื้อย่างไม้หนึ่งแก่เราทั้งสองแล้วนำเนื้อมา ภรรยานั้นได้ไปพูดว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายจะให้เนื้อย่างไม้หนึ่ง หัวหน้าโจรคิดว่าบุรุษผู้หาค่ามิได้จึงให้เนื้อย่าง พวกโจรพูดกันว่า พวกเราจะกินเนื้อย่างสุก จึงได้ให้เนื้อย่างดิบไป ธนุคคหบัณฑิตยกย่องลำพองตน จึงโกรธพวกโจรว่าให้เนื้อดิบแก่เรา พวกโจรก็โกรธว่า เจ้าคนนี้เท่านั้นเป็นผู้ชายคนเดียว พวกเราเป็นผู้หญิงหรือ จึงพากันลุกฮือขึ้น

    ธนุคคหบัณฑิตยิงโจร ๔๙ คนด้วยลูกศร ๔๙ ลูกให้ล้มลง แต่ลูกศรหมดก่อนไม่มียิงหัวหน้าโจร เพราะว่า ในกล่องลูกศรของเขามีลูกศรอยู่ ๕๐ ลูกพอดี บรรดาลูกศรเหล่านั้น เขายิงช้างเสียลูกหนึ่ง จึงยิงพวกโจรด้วยลูกศรที่เหลืออยู่ ๔๙ ลูก ธนุคคหบัณฑิตผลักให้หัวหน้าโจรล้มลง แล้วนั่งทับร่างของหัวหน้าโจรไว้ คิดว่าจักตัดศีรษะของนายโจรนั้น จึงสั่งให้ภรรยาหยิบดาบส่งมาให้เขา

    ภรรยานั้นเมื่อเห็นหัวหน้าโจรครั้งแรกแล้วก็มีจิตเกิดปฏิพัทธ์ หลงรักในหัวหน้าโจร จึงวางตัวดาบไว้ที่มือโจร ส่งฝักดาบไว้ที่มือของสามี นายโจรจับถูกด้ามของตัวดาบจึงง้างดาบตัดศีรษะของธนุคคหบัณฑิตโดยทันที นายโจรนั้นครั้นฆ่าธนุคคหบัณฑิตแล้ว จึงพาเอาผู้หญิงไป ได้ถามถึงชาติและโคตร

    นางบอกว่า ดิฉันเป็นธิดาของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกสิลา
    นายโจรถามว่า ชายผู้นี้ได้เธอมาด้วยเหตุอะไร
    นางกล่าวว่า บิดาของดิฉันยินดีว่า นายธนุคคหะนี้ศึกษาศิลปะได้เหมือนกับเรา จึงได้ยกดิฉันแก่นายธนุคคหะนี้ ดิฉันนั้นมีความเสน่หาในท่าน จึงให้ฆ่าสามีที่ตระกูลให้แก่ตนเสีย

    นายโจรเดินคิดไปว่าเบื้องต้น หญิงนี้ฆ่าสามีที่ตระกูลให้ก่อน ก็ครั้นเห็นคนอื่นอีกคนหนึ่งเข้า ก็จักกระทำอย่างนั้นนั่นแหละแม้กะเรา เราควรทิ้งหญิงนี้เสีย ครั้นในระหว่างทางได้เห็นแม่น้ำน้อยสายหนึ่งมีพื้นตื้น มีน้ำเต็มมาชั่วคราว จึงกล่าวว่า นางผู้เจริญ จระเข้ในแม่น้ำนี้ดุร้าย พวกเราจะกระทำอย่างไร

    นางกล่าวว่า ข้าแต่สามี ท่านจงห่อเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์ด้วยผ้าห่มของดิฉัน นำไปฝั่งโน้นแล้วจงกลับมาพาดิฉันไป

    นายโจรนั้นรับคำว่า ตกลงแล้วถือเอาเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์ทั้งหมดลงสู่แม่น้ำ ทำทีเป็นว่ายข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว ได้ทิ้งนางไปเสีย

    นางเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่สามี ทำไมท่านจึงทำทีเหมือนจะทิ้งดิฉันไป เพราะเหตุไรท่านจึงกระทำอย่างนี้ มาเถิดจงพาดิฉันไปด้วย

    นายโจรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ ท่านนับถือเราผู้อันท่านไม่เคยเชยชิด ยิ่งเสียกว่าสามีผู้ที่เคยเชยชิดมานาน นับถือเราผู้ไม่ใช่ผัว ยิ่งเสียกว่าผัว ต่อไปนางผู้เจริญจะพึงนับถือผู้อื่นยิ่งกว่าเราอีก เราจักไปจากที่นี้ให้ไกลลิบ

    ท่านจงอยู่เถิด เมื่อนางร่ำร้องอยู่นั่นแล โจรก็ห่อเอาสิ่งของเครื่องประดับหนีไป

    ลำดับนั้น หญิงพาลนั้นถึงความพินาศฉิบหายเห็นปานนี้ เพราะความอยากได้เกินไป จึงเป็นคนไร้ที่พึ่งพา ได้เข้าไปยังกอตะไคร้น้ำกอหนึ่งในที่ไม่ไกล นั่งร้องไห้อยู่

    ขณะนั้น ท้าวสักกะทรงตรวจดูโลกอยู่ทรงเห็นนางผู้ถูกความอยากได้เกินไปครอบงำ ผู้เสื่อมจากสามีและโจร กำลังร้องไห้อยู่ ทรงดำริว่า จักข่มหญิงนี้ให้ได้อายแล้วจักกลับมา จึงทรงพาสารถีมาตลีและปัญจสิขเทพบุตร เสด็จมา ณ ที่นั้น ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว ทรงรับสั่งว่า
    ดูก่อนมาตลี เธอจงเป็นปลา ดูก่อนปัญจสิขะ เธอจงเป็นนก ส่วนเราจักเป็นสุนัขจิ้งจอกคาบชิ้นเนื้อไปยังที่ตรงหน้าของนาง เมื่อเราไปที่นั้น เธอจงโดดขึ้นจากน้ำตกลงตรงหน้าเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักทิ้งชิ้นเนื้อที่คาบเสีย แล้ววิ่งไปจะงับปลา ขณะนั้น ตัวท่านปัญจสิขะที่แปลงเป็นนก จงโฉบเอาชิ้นเนื้อนั้นบินไปในอากาศ ตัวท่านมาตลีที่แปลงเป็นปลา จงโดดลงไปในน้ำ

    เทพบุตรทั้งสองรับเทวบัญชาว่า ดีละ ข้าแต่เทวะ. มาตลีสารถีได้แปลงเป็นปลา ปัญจสิขเทพบุตรได้แปลงเป็นนก ท้าวสักกะแปลงเป็นสุนัขจิ้งจอกคาบชิ้นเนื้อไปยังที่ตรงหน้าของนาง ปลาโดดขึ้นจากน้ำตกลงตรงหน้าสุนัขจิ้งจอก สุนัขจิ้งจอกทิ้งชิ้นเนื้อที่คาบแล้ววิ่งไปเพื่อจะเอาปลา ปลากระโดดไปตกลงในน้ำ นกโฉบเอาชิ้นเนื้อบินไปในอากาศ สุนัขจิ้งจอกไม่ได้ทั้งสองอย่าง มีหน้านองด้วยน้ำตา หมอบดูกอตะไคร้น้ำอยู่

    นางเห็นดังนั้นคิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้ถูกความอยากเกินไปครอบงำไม่ได้ทั้งเนื้อและปลา จึงหัวเราะลั่นประดุจทุบหม้อให้แตกฉะนั้น

    สุนัขจิ้งจอกได้ฟังเสียงหัวเราะนั้น จึงกล่าวว่า ใครนี่มาทำการหัวเราะอยู่ที่กอตะไคร่น้ำ ในที่นี้ก็ไม่มีการฟ้อนรำขับร้องหรือการดีดสีตีเป่า แน่ะนางผู้มีสะโพกอันผึ่งผาย ทำไมเจ้าจึงมาหัวเราะในเวลาที่ควรจะร้องไห้

    นางได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า แน่ะสุนัขจิ้งจอกพาลผู้โง่เขลาชาติชัมพุกะ เจ้าเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย เสื่อมจากปลาและชิ้นเนื้อ ซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า

    ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกจึงกล่าวว่า โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เจ้านั่นแหละเสื่อมจากผัวและชายชู้ ซบเซาแม้กว่าเราเสียอีก

    พระมหาโพธิสัตว์เมื่อจะให้นางละอายแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อนนางผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก เราจักไม่ให้เหยื่อของเราก่อน แต่เจ้าถูกความอยากเกินไปครอบงำ มีจิตปฏิพัทธ์ในโจรที่เห็นชั่วครู่ เสื่อมจากชายชู้นั้นและจากผัวที่ตระกูลแต่งให้ ว่าโดยเปรียบเทียบกะเราแล้ว เจ้าเป็นผู้กำพร้ากว่าร้อยเท่าพันเท่า ซบเซาร้องไห้ ร่ำไรอยู่

    นางได้ฟังคำของสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า แน่ะพระยาเนื้อชาติชัมพุกะ ท่านกล่าวอย่างใด ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น ฉันไปจากที่นี้แล้ว จักเป็นหญิงอยู่ในอำนาจของผัวแน่นอน

    ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช ครั้นทรงสดับถ้อยคำของนางผู้ทุศีลไร้อาจาระ จึงตรัสว่า ผู้ใดนำภาชนะดินไปได้ แม้ภาชนะสำริดชนิดภาชนะทองและภาชนะเงินเป็นต้น ผู้นั้นก็จะนำเอาไปเหมือนกัน ก็บาปนี้เจ้าทำไว้นั่นแหละ ใครๆ ไม่อาจชำระสะสางให้แก่เจ้า เจ้านั้นจักกระทำอย่างนี้อีกแน่นอน ท้าวสักกะนั้น ครั้นทรงทำนางให้ได้อายถึงประการอันแปลกอย่างนี้แล้ว ได้เสด็จไปยังสถานที่ของพระองค์ทีเดียว

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก
    ธนุคคหบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็น ภิกษุผู้กระสันจะสึก
    หญิงนั้นในครั้งนั้น ได้มาเป็น ภรรยาเก่า
    ส่วนท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    “หริตจชาดก”

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีตระกูลพราหมณ์มั่งคั่งตระกูลหนึ่งมีนามว่า หาริตกุมาร เมื่อเติบโตแล้วได้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา อยู่ต่อมาเมื่อมารดาบิดาเสียชีวิตแล้วมีความคิดว่า "ทรัพย์เท่านั้นตั้งอยู่ได้ ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดหาตั้งอยู่ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนเล่า"

    หาริตกุมารกลัวต่อความตาย ได้ให้ทานเป็นการใหญ่แล้วเข้าป่าไปบวชเป็นดาบส มีเผือกมันและผลไม้เป็นอาหาร บำเพ็ญเพียรเป็นเวลานานหลายปี จนได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ จึงลงจากเขามาเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ในสวนหลวงเป็นเวลา ๑๒ ปี ตลอดเวลาที่จำพรรษาอยู่ที่สวนหลวง ทุกเช้าดาบสจะไปรับอาหารในพระราชวังเป็นประจำ

    อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปปราบกบฎชายแดน จึงมอบหน้าที่ถวายอาหารให้พระเทวีทรงแต่งโภชนาไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อดาบสยังช้าอยู่ จึงสนานด้วยน้ำหอมแล้วทรงพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียดรับสั่งให้เผยสีหบัญชร (หน้าต่าง ) ประทับอยู่บนเตียงให้ลมพัดพระวรกายอยู่

    ฝ่ายดาบสได้เหาะมาทางอากาศผ่านมาทางสีหบัญชรพอดี พระเทวีได้ยินเสียงเปลือกไม้กระทบกันก็ทราบว่าดาบสมาถึงแล้ว จึงรีบลุกขึ้น ขณะนั้นเองพระภูษาได้เลื่อนหลุดหล่นลง ทำให้ร่างกายของนางถูกดาบสเห็นทั้งหมด เป็นเหตุให้กิเลสของดาบสกำเริบขึ้น ทำให้ฌานเสื่อมทันที ดาบสไม่สามารถควบคุมสติไว้ได้จึงเข้าไปจับพระหัตถ์ของพระนางแล้วคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกัน ดาบสหลังจากรับอาหารแล้วก็เดินกลับสวนหลวงไปตั้งแต่วันนั้นมาคนทั้งสองก็เสพกามกันทุกวัน

    ข่าวที่ดาบสเสพกามกับพระเทวีได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ก็ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชา พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เมื่อปราบกบฎเสร็จแล้วพระราชาก็เสด็จกลับเมือง เข้าไปห้องพระเทวีสอบถามความเป็นจริง พระเทวีทูลว่าจริง พระองค์ก็ยังไม่ทรงเชื่อจึงเสด็จไปหาดาบสตรัสถามความจริง

    ดาบสคิดว่า "ถ้าเราบอกว่าไม่เป็นความจริงพระราชาก็ทรงเชื่อ แต่ที่พึ่งที่ดีที่สุดคือคำสัตย์" จึงทูลว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ได้สดับมานั้นเป็นความจริง อาตมาหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์แห่งความหลงผิดเสียแล้วละ"

    พระราชาสดับแล้วตรัสว่า "ปัญญาที่ละเอียดคิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบรรเทาราคะของท่านมีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจใช้ปัญญาบรรเทาความคิดที่แปลกได้หรือ"

    ดาบสกล่าวว่า "มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างคือราคะ โทสะ โมหะ และมทะ เป็นของที่มีกำลังกล้า หยาบคายในโลก ยากที่ปัญญาจะหยั่งถึงได้"

    พระราชาตรัสว่า "โยมได้ยกย่องท่านเป็นพระอรหันต์ มีศีลเป็นบัณฑิต เบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญาโดยแท้"

    พระราชาได้ตรัสเป็นการกระตุ้นดาบสว่า "ความกำหนัดเกิดในกายทำลายผิวพรรณของท่าน ท่านจงพยายามทำลายความกำหนัดของท่านนั้นเสียเถิด"

    ดาบสได้สติกลับคืนมาแล้วกล่าวเป็นคาถาว่า… "กามเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมาจักค้นหามูลรากแห่งกามเหล่านั้นจักตัดความกำหนัดพร้อมเครื่องผูกเสีย"

    ว่าแล้วก็ขอโอกาสปฏิบัติธรรมในบรรณศาลาพิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นได้แล้ว เหาะขึ้นสู่อากาศแสดงธรรมแก่พระราชาแล้วขออำลากลับเข้าป่าตามเดิม

    สตรีนางนี้ได้สร้างความฉิบหายแห่งชีวิต จะเพียงชาติดังที่กล่าวมานี้แล้วก็หาไม่ นางยังสร้างความพินาศแห่งเพศพรหมจรรย์มาให้แก่เธอจนนับชาติไม่ถ้วน เมื่อพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาจบลง ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยอเนกปริยาย พระภิกษุผู้กระสันอยากสึกก็สามารถทำใจให้สงบ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ณ ที่นั้นเอง

     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อุบายชนะกามคุณ ของอริยสงฆ์
    กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ
    ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่
    ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

    กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
    ๑. รูปะ (รูป)
    ๒. สัททะ (เสียง)
    ๓. คันธะ (กลิ่น)
    ๔. รสะ (รส)
    ๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
    ๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

    กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑)

    กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓

    กามภพ ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น

    กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม

    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
    ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
    คังคมาลชาดก

    กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ
    [๑๑๕๕] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดาดาษไปด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง
    เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้า
    ดอกหรือ? เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่างก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำ
    เป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ?

    [๑๑๕๖] ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่ แต่ว่าวัตถุกาม และกิเลสกาม
    ย่อมเผาข้าพระองค์ เพราะว่าความประสงค์หลายๆ อย่าง มีอยู่ ความ
    ประสงค์เหล่านั้นย่อมเผาข้าพระองค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.

    [๑๑๕๗] ดูกรกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่
    ดำริถึงเจ้าอีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.

    [๑๑๕๘] กามแม้น้อยก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่า
    สลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียง เหล่านี้จงมีแก่เรา กุลบุตร
    ผู้ประกอบความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด.

    อ้างอิง
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๙๑๐ - ๔๙๓๗. หน้าที่ ๒๒๘ - ๒๒๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=4910&Z=4937&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1155


    อุบายชนะกามคุณ ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยเเม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    ... หลวงปู่ว้าวุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง จิตที่เคยควบคุมบังคับให้สงบนิ่งได้ก็เกิดปรวนแปรไป ความคิดคำนึงคอยแต่จะโลดแล่นซัดส่ายไปหาหญิงงามอย่างเดียว ทำให้หลวงปู่แหวนเกิดความหวาดกลัวตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ขืนอยู่ต่อไปอาจจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสเมื่อไหร่ก็ได้

    ดังนั้น หลวง ปู่แหวนจึงตัดสินใจเก็บบริขารทั้งหลายเดินทางกลับประเทศไทยอย่างฉับพลัน ทันที เมื่อข้ามแม่น้ำโขงสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นไปทางอำเภอศรี เชียงใหม่ ระหว่างเดินทางหนี "มาตุคาม" ซึ่งเป็นเนื้อคู่บุพเพสันนิวาสมาแต่ชาติปางก่อน จิตใจของหลวงปู่ยังโลดแล่นไปหาสาวงามเกือบตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านที่รุนแรงร้ายกาจสุดพรรณนาทีเดียว

    หลวงปู่แหวนเดินทางมาถึงพระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง จึงหยุดยั้งอบรมตนอยู่ ณ ที่นี้ และก็เป็นวาสนาของหลวงปู่ที่ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวนมีปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่ การได้มาพักอบรมตนอยู่ใกล้กับท่านพระอาจารย์มั่นก่อนเข้าพรรษาปีนั้น ทำให้หลวงปู่แหวนระงับความฟุ้งซ่านลงได้ไม่น้อย

    แม้ กระนั้นภาพของหญิงงามก็ยังปรากฏเป็นครั้งคราว ทำให้ดวงจิตหวั่นไหวอยู่เสมอ แต่เมื่อเร่งภาวนายิ่งขึ้นภาพนั้นก็สงบระงับไป หากพลั้งเผลอเมื่อใดภาพสาวงามก็จะผุดขึ้นมาอีก

    หลัง จากเข้าพรรษาแล้ว หลวงปู่แหวนได้ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก การเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ทรงตัวสู่ฐานสมาธิได้ง่าย ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่านอีก คล้ายกับจิตมันยอมสยบราบคาบแล้ว และเกิดอุบายทางปัญญาพอสมควร

    แต่ หลวงปู่หารู้ไม่ว่า ยิ่งเร่งความเพียรเอาจริงเอาจังหนักขึ้นเท่าใด กิเลสที่แสร้งสงบนิ่งก็เริ่มต่อต้านเอาจริงเอาจังมากขึ้นเท่านั้น คราวนี้แทนที่จะควบคุมจิตให้ดำเนินไปตามทางที่ต้องการ มันกลับเตลิดโลดแล่นไปหา "สาวงาม" ที่บ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมอีก และครั้งนี้พลังของกิเลสดูจะรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
    หลวงปู่แหวนพยายามหาอุบายธรรมต่างๆ มาปราบเจ้าตัวกิเลสที่ฟูขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ หลวงปู่เล่าว่า

    " ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไปใส่ไฟ ยิ่งกำเริบหนักเข้าไปอีก เผลอไม่ได้เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที บางครั้งมันหนีออกไปซึ่งๆ หน้า คือขณะที่คิดอุบายการพิจาณาอยู่นั้นเอง (จิต) มันก็วิ่งออกไปหาหญิงนั้นซึ่งๆ หน้ากันเลยทีเดียว"

    โอ... "มาตุคาม" นี้อันตรายนัก และหากเป็นบุพกรรมอันผูกพันร้อยรัดอยู่ด้วยบุพเพสันนิวาสเข้าไปอีก การเอาชนะเพื่อยุติกรรมยิ่งลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด"

    หลวงปู่แหวน ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อพลังกิเลสกองนี้โดยเด็ดขาด อุบายการปฏิบัติธรรมทุกอย่างถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับกิเลสมารสุดชีวิต เช่น เว้น การนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน เท่านั้น หลวงปู่แหวนทรมานจิตมันอยู่หลายวันหลายคืน พร้อมกันนั้นก็พิจารณาดูว่าจิตยอมอยู่ใต้บังคับหรือไม่ มันคลายความรักต่อหญิงงามคนนั้นหรือไม่ ทำถึงอย่างนี้แล้วกลับไม่ได้ผล เพราะเผลอเมื่อไหร่ จิตมันจะโลดทะยานไปหาหญิงนั้นอีก

    เอาใหม่...เมื่อจิตมันยังรัดรึงอยู่กับ "มาตุคาม" ไม่ยอมปล่อย ยอมคลาย หลวงปู่จึงตัดอิริยาบถนั่งกับนอนทิ้งไป เหลือยืนกับเดินจงกรม กระทำความเพียรเช่นนี้ทั้งวันทั้งคืน
    แต่จิตมันก็ยังแส่ส่ายไปหาหญิงงามไม่ยอมหยุด ยิ่งทรมานมันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่ามันจะดื้อรั้นโต้ตอบมากเท่านั้น

    คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่อีก... ไม่ ฉันอาหารมันล่ะ เหลือแต่น้ำอย่างเดียว ถ้าจิตมันยังดื้อถือดี ยังทะยานเข้าหากองกิเลสไม่ยอมเลิกรา หลวงปู่ตั้งเจตนาว่า ตายเป็นตาย ให้มันรู้ไปว่าจิตได้พ่ายแพ้แก่อำนาจกิเลสอย่างราบคาบแล้ว

    หลวง ปู่แหวนเพ่งพิจารณาหาอุบายกำราบจิตใหม่โดยการเพ่งเอาร่างกายของหญิงงามนั้น ยกขึ้นมาแล้วพิจารณากายคตาสติ แยกอาการ ๓๒ นั้นทีละส่วน โดยอนุโลม ปฏิโลมเทียบเข้าหากายของตน พิจารณาละเอียดให้เห็นตามความเป็นจริงว่า อวัยวะแต่ละส่วนของหญิงนั้นก็มีเหมือนกันทุกอย่าง จะผิดแผกแตกต่างกันก็ด้วยลักษณะแห่งเพศเท่านั้น

    หลวงปู่ทรงสมาธิแล้วพิจารณาอยู่เช่นนั้นกลับไปกลับมา ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญาพิจารณา "กายคตาสติ" ไปจนถึงหนังถ้าถลกหนังที่ห่อหุ้มเนื้อออกจนหมด ความจริงก็ปรากฏทันที

    นั่นคือ เนื้อ กายซึ่งปราศจากผิวหนังห่อหุ้มอยู่ย่อมีสภาพที่ไม่น่าดู หรือ ดูไม่ได้เอาเสียเลย เพราะเหลือแต่เนื้อแดง ๆ เยิ้มด้วยน้ำเหลือง มีเส้นเลือดผุดพราวไปทั่ว "ตัวรู้" ก็บอกว่าหากหญิงงามไม่มีหนังหุ้ม เหลือแต่เนื้อแดง ๆ ใครเล่าจะพิศวาสได้ลงคอ

    อ้อ... คนเรามา "หลง" อยู่ตรง "หนัง" นี่เอง

    ปัญญา เพ่งพินิจต่อไปอีกจนเห็นความเน่าเปื่อยแล้วก็สลายกาย เป็นกองเนื้อเน่า ๆ และกองกระดูกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรตั้งอยู่ทรงสภาพเดิมไว้ได้อีก ไม่มีส่วนไหนจะคงอยู่ได้เลย

    ปัญญา เพ่งต่อไปถึง มูตร (ปัสสาวะ) และ กรีษ (อุจจาระ) ของหญิงงาม ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า ที่หญิงงาม น่ารัก น่าพิศวาสนั้น มูตรกับกรีษงามด้วยหรือเปล่า กินได้ไหม เอามาตระกองกอดได้ไหม "จิต" ตอบว่า "ไม่ได้"

    ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้ เอามาตระกองกอดไม่ได้ แล้วอันไหนล่ะที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี
    จิตโดนปัญญาซักฟอกอย่างหนักเช่นนั้นก็ตอบไม่ได้ หาเหตุผลมาโต้แย้งไม่ได้ จิตมันก็อ่อนลงเพราะจนด้วยเหตุผลของปัญญา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมสารภาพผิดแต่โดยดี

    จิตซึ่งเคยโลดแล่นแส่ส่ายออกไปตามวิสัยความอยากของมันก็พลันถึงความสงบ ไม่กำเริบร้อนเร่าอีก
    หลวงปู่แหวนยังไม่วางใจจิตนัก ท่านจึงทดสอบโดยส่งจิตไปหาหญิงงามบ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมหลายครั้ง
    แต่จิตก็ไม่ยอมโลดแล่นไปอีก จิตคงทรงอยู่ในความสงบเพราะได้เห็นความเป็นจริงของธรรมแล้ว

    การอด อาหาร และทำความเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อเอาชนะกิเลสมารของหลวงปู่แหวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จิตของท่านรู้แจ้งเห็นจริงในภัยของมาตุคาม อย่างทะลุปรุโปร่งและสิ้นพยศตั้งแต่นั้น...ตลอดไป



    อุบายชนะกามคุณ ของ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
    รอยกรรมอันเนื่องมาจากบุพเพสันนิวาส
    " ภิกษุ" หมายถึง ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้มองเห็นภัยในสังขารหรือผู้ทำลายกิเลส มีพระธรรมวินัยควบคุม กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรอบสมณะธรรม เพื่อปฏิบัติจิตให้เกิดสมาธิ ปัญญา กระทั่งหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งหลายได้สำเร็จเด็ดขาด ไม่ย้อนกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีก

    การ ต่อสู้ห้ำหั่นเพื่อประหารกิเลสให้หมดสิ้น เป็นภาวะอันหนักหนาแสนสาหัสสุดยอด ต้องอาศัยความตั้งใจมั่น มีความมั่นคงแน่วแน่ และมีความเพียรพยายามอย่างถึงที่สุด
    กิเลส ทั้งหลายที่ภิกษุจะเอาชนะได้ยากที่สุด ลำบากยากเข็ญที่สุด กว่าจะหลุดพ้นไปได้อย่างสำเร็จเด็ดขาด คือกิเลสอันเนื่องจากมาตุคาม หรือ ผู้หญิงนี่แหละ

    มี พระภิกษุไม่ว่าจะอยู่ในสมัยพุทธกาล หรือสมัยปัจจุบัน ได้พ่ายแพ้ให้แก่ ภัยมาตุคามมาแล้วมากมาย ด้วยเหตุนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้กำหนดพระวินัยเอาไว้โดยละเอียด เพื่อภิกษุทั้งหลายจะได้พึงสังวรระมัดระวัง และตัดขาดจากมหาภัยนี้ได้สำเร็จ

    อัน ที่จริง ใช่ว่ามาตุคามจะคอยจ้องทำลายพรหมจรรย์แห่งสมณะเพศก็หาไม่ หากเป็นกิเลสกามที่ซับซ่านอยู่ในกมลสันดานของสัตว์โลก เป็นตัวผลักด้นให้อารมณ์เตลิด โลดเถลิงไปกับอำนาจของมันเป็นสำคัญ
    อีกประการหนึ่ง เนื่อง จากอดีตกรรมที่เคยกระทำมาในบุพชาติ โดยเฉพาะในข้อ บุพเพสันนิวาส การเคยเป็นเนื้อคู่กัน การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน ดังนั้น เมื่อใดที่บุพเพสันนิวาสเวียนวนมาปรากฏ พลังอำนาจแห่งกิเลสกามก็จะหนุนเนื่องตามมาอย่างน่ากลัวเป็นพลังอันรุนแรง เกรี้ยวกราดยากยิ่งที่จะต้านทานไว้ได้

    รอย กรรมอันเนื่องด้วย บุพเพสันนิวาสเช่นนี้ พระอริยเจ้าหลายรูป เคยประสบพบพานมาแล้วขณะที่ท่านกำลังบำเพ็ญความเพียรเพื่อก้าวข้ามห้วงแห่ง โอฆะด้วยวิริยะบากบั่นอย่างถึงที่สุด
    ดังเช่น จะขออัญเชิญเรื่องของพระคุณเจ้าหลวงปู่หลุย จันทสาโร วาระที่ท่านเผชิญกับรอยกรรมแห่งบุพเพสันนิวาส ดังต่อไปนี้

    ครั้ง นั้น... หลวงปู่หลุย จันทสาโรไปร่วมงานพิธีบรรจุอัฐิธาตุท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ ไว้ในเจดีย์ ณ บริเวณวัดพระบาทบัวบก ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี จากนั้นหลวงปู่หลุยก็ออกธุดงค์วิเวกมาทางจังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์

    ในอดีตสมัยนั้น เส้นทางธุดงค์ผ่านจังหวัดเลยเชื่อต่อเพชรบูรณ์ยังสมบูรณ์ด้วยป่าไม้แน่นขนัด เทือกทิวแห่งภูเขาสลับซับซ้อนเหยียดยาวไปจนสุดสายตา สงบงามท่ามกลางบรรยากาศอันวิเวก นับเป็นสถานสัปปายะอย่างยิ่งของพระธุดงคกรรมฐานผู้ซึ่งกำลังกำลังพากเพียร บำเพ็ญสมณะธรรม

    หลวง ปู่หลุยจาริกธุดงค์มาถึงหล่มสัก ได้แวะโปรดญาติโยมที่นี่ เนื่องจากที่หล่มสักนี้เป็นพื้นเพภูมิลำเนาดั้งเดิมของโยมมารดาและยังมีญาติ พี่น้องซึ่งคุ้นเคยกันอยู่จำนวนมาก
    เมื่อ ท่านถึงหล่มสักแล้ว พอดีกับบ้านญาติผู้หนึ่งมีผู้เสียชีวิตและได้จัดงานศพขึ้นที่บ้าน มีการนิมนต์พระไปสวดมนต์หน้าศพตามประเพณี หลวงปู่หลุยก็ได้รับนิมนต์ไปสวดมนต์งานศพที่บ้านนั้นด้วย

    เมื่อถึงกำหนดเวลาไปสวดงานศพ หลวงปู่หลุยก็ไปที่บ้านงานศพตามที่ได้รับนิมนต์ และขึ้นนั่งบนอาสนะเรียงลำดับตามพรรษากับพระรูปอื่นซึ่งรับนิมนต์ไปเช่นกัน โดยมีท่านพระอาจารย์ได้เวลาสวดมนต์ หลวงปู่หลุยก็สวดด้วยจิตสงบจดจ่ออยู่กับบทสวด กระทั่งผ่านไปจบหนึ่ง ระหว่างพักสวดเจ้าภาพได้นำน้ำปานะมาถวายพระแก้คอแห้ง

    ขณะ นั้น หลวงปู่หลุยได้ชำเลืองตามองไปที่กลุ่มแขกซึ่งมานั่งฟังสวดมนต์โดยมิได้ ตั้งใจ ในพลันที่ท่านสบตากับสุภาพสตรีท่านหนึ่งซึ่งนั่งรวมอยู่ในหมู่คนกลุ่มนั้น ท่านมีความรู้สึกแปล๊บเข้าไปในหัวใจ ดุจสายฟ้าฟาดเข้าให้แทบสิ้นสติสมประดีถึงกับซวนเซประหนึ่งจะล้มฟุบอยู่ตรงนั้น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งรับนิมนต์มาเช่นกันนั่งใกล้กับท่าน
    สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ เห็นอาการเช่นนั้นของหลวงปู่หลุยก็เข้าประคองไว้ทันท่วงที กล่าวให้สติประหนึ่งกำหนดรู้อาการเช่นนั้นว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากอะไร

    ทาง ฝ่ายท่านสุภาพสตรีผู้นั้น ดูเหมือนจะมีอาการหนักหนาสาหัสยิ่งกว่า เพราะเธอถึงกับฟุบเป็นลมคาที่ มารดาและญาติผู้ใหญ่ต้องเข้ามาประคองและช่วยปฐมพยาบาลกันชุลมุน

    ความรู้สึกอันรุนแรงเกรี้ยวกราดที่ผุดวูบขึ้นมาอย่างกะทันหันอย่างทันทีทันใดนั้น เป็นความรู้สึกเช่นเดียวกับที่ชาวโลกเรียกกันว่า "รักแรกพบ" แต่ดูจะมีอานุภาพเชี่ยวกรากน่ากลัวเหลือประมาณ
    แม้ หลังจากกลับจากงานสวดมนต์แล้ว จิตของหลวงปู่หลุยก็ยังไม่หายสั่นสะเทือน มีความปราถนาอยากลาสิกขาบท แล้วโลดแล่นติดตามไปครองคู่อยู่เคียงกับสตรีท่านนั้นเพียงอย่างเดียว

    หาก บุญบารมีในเพศพรหมจรรย์ของหลวงปู่ยังมีอยู่ ทำให้ท่านพยายามเหนี่ยวรั้งใจเอาไว้เต็มเหนี่ยว แต่แทบสุดจะฝืนสุดจะกล้ำกลืนเอาไว้ได้เหมือนกัน อีกทั้งยังมีพระอาจารย์สิงห์คอยกำกับประคับประคองอยู่เคียงข้าง ให้สติ ให้แนวทางแห่งการหลุดพ้นภัยมาตุคามครั้งนี้ตลอดเวลา

    สำหรับกรณีรอยกรรมจากบุพเพสันนิวาสนั้น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาโม เคยมีส่วนรู้เห็นและให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่สหายธรรมิกรูปหนึ่งมาแล้ว คือ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร คราว นั้น พระอาจารย์ฝั้นและพระอาจารย์สิงห์อยู่กรุงเทพ ฯ พระอาจารย์ฝั้นพบสุภาพสตรีท่านหนึ่งนั่งสามล้อสวนทางมา เพียงตาสบตารู้สึกปล๊าปไปทั้งตัวแทบจะวิ่งตามเขาไป

    ดี แต่ว่าท่านพระอาจารย์สิงห์ให้สติ และแนะนำให้ขังตัวเองไว้ในโบสถ์ พิจารณาดับความรู้สึกนึกคิดในทางโลกด้วยการเจริญอสุภะกระทั่งสามารถตัด อารมณ์ทุรนทุรายได้สำเร็จเด็ดขาด ซึ่งก็นับว่าเป็นภาวะหนักหนาสาหัสเหลือประมาณ

    ใน ครั้งนั้น ท่านพระอาจารย์ฝั้น พิจารณาลงไปก็ได้ความว่าเนื่องด้วยบุพเพสันนิวาส เคยเป็นคู่กันมาแต่บุพชาติ หากแต่บุญบารมีในสมณะธรรมยังเกื้อหนุนอยู่ พระอาจาย์ฝั้นจึงรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้อย่างหวุดหวิด
    ในกรณีท่านพระอาจารย์ฝั้นนั้น เป็นการพบกันเพียงวูบเดียว ครั้งเดียวแล้วก็จากกันไป สุภาพสตรีท่านนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้

    แต่สำหรับ กรณีหลวงปู่หลุยหนักหนาสาหัสกว่า เพราะตัวท่านกับสุภาพสตรีคนดังกล่าวมีโอกาสพบกันอีกหลายครั้ง ญาติผู้ใหญ่ของท่านทั้งสองฝ่ายก็สนิทกันประดุจญาติ
    และ ตัวท่านกับสุภาพสตรีท่านนี้ก็อาจเคยพบกันมาแล้วตั้งแต่เด็กๆ เพียงแต่ฝ่ายหญิงถูกส่งไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เล็กๆ มาพบกันอีกครั้งคือครั้งนี้ หลวงปู่หลุยได้เข้าสู่เพศพรหมจรรย์เป็นบรรพชิตไปแล้ว

    สำหรับ ท่านสุภาพสตรี เมื่อไปอยู่กรุงเทพฯ ได้เข้าเรียนจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสตรีมีชื่อภาษาต่างประเทศ โรงเรียนหนึ่ง นานๆ ครั้งจึงจะกลับมาเยี่ยมบ้าน เมื่อมาเยี่ยมบ้านท่านจะมีบุคคลิกของสาวสมัยใหม่ เครื่องแต่งกายงดงามทันสมัย และชอบขี่ม้าเล่น ขี่ม้าเก่ง เวลาขี่ม้า ใส่ท๊อปบู๊ตดูสง่างามผิดไปจากสาวๆ พื้นบ้านท้องถิ่นนั้นกุลสตรีท่านนี้เป็นสาวสวย รูปร่างสวย หน้าสวย นัยน์ตาโตงาม ผมก็งาม เพียบพร้อมด้วยรูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติครบถ้วน

    ใน ขณะที่หลวงปู่หลุย พะว้าพะวังจะลาจากเพศพรหมจรรย์เสียให้ได้ ท่านพระอาจารย์สิงห์เห็นอาการแล้วคงไม่ดีแน่ จึงรีบพาหลวงปู่ออกจากหล่มสัก พาหนีไปให้ไกลห่างสถานที่เกิดเหตุ เที่ยววิเวกตามป่าตามเขา เร่งกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ แม้กระทั่งอดนอน อดอาหารเพื่อผ่อนคลายคิดถึงมาตุคาม ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็สนับสนุนให้กระทำ

    เมื่อ หลวงปู่หลุยพิจารณาอย่างหนัก ก็ได้นิมิตว่า สุภาพสตรีท่านนั้นเคยเป็นคู่บุพเพสันนิวาสกันมาแต่บุพชาติ ท่านพระอาจารย์สิงห์อธิบายเพิ่มเติมให้อีกว่า เธอผู้นั้นในอดีตชาติคงตั้งความปรารถนาบำเพ็ญบารมีคู่กันมา อานุภาพเมื่อสบตากันครั้งแรกจึงรุนแรงเกรี้ยวกราดถึงปานนั้น

    แม้ หลวงปู่หลุยจะได้นิมิตแห่งรอยกรรมอันเนื่องด้วยบุพเพสันนิวาส ท่านก็ไม่ยอมสิโรราบ แล้วยอมรับชะตากรรมไปตามนั้น จิตใจมุ่งที่จะบำเพ็ญเพศพรหมจรรย์ต่อไป ทั้งๆ ที่หัวอกประหนึ่งจะกลัดหนอง
    ใช้ มานะข่มขันธ์ เร่งกระทำความเพียร และยังมีท่านพระอาจารย์สิงห์คอยกำกับให้สติเป็นเวลาพอสมควร หลวงปู่หลุยจึงสามารถตัดขาดเยื่อใยแห่งบุพเพสันนิวาสจนขาดสะบั้น ไม่มีชาติภพจะสืบต่อไปอีกทั้งในกาลปัจจุบันและอนาคตใด ๆ

    ด้วย เหตุนี้ หลวงปู่หลุยจึงตะหนักถึงภัยมาตุคามที่มีต่อเพศพรหมจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อท่านเทศนาอบรมภิกษุสามเณรเกี่ยวกับมาตุคามและบุพเพสันนิวาสครั้งใด จะกล่าวย้ำกล่าวเตือนว่าต้องใช้กำลังใจอย่างสูงสุดจึงจะเอาชนะได้
    นับแต่นั้น หลวงปู่หลุย จันทสาโส ก็ดำเนินไปตามวิถีแห่งสมณะธรรมโดยสว่างสงบ ตราบกระทั่งท่านละสังขารเป็นปริโยสาน

    สำหรับ สุภาพสตรีอันเป็นรอยกรรมท่านนั้น เมื่อกลับมายังกรุงเทพมหานครแล้ว ท่านก็ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงด้วยอัจฉริยภาพอันโดดเด่น เป็นที่รู้จักชื่อเสียงของท่านในวงการผู้รักหนังสือร่วมสมัย และ...แม้แต่ในปัจจุบัน
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อุบายชนะกามคุณ ของอริยสงฆ์
    กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ
    ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่
    ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

    กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
    ๑. รูปะ (รูป)
    ๒. สัททะ (เสียง)
    ๓. คันธะ (กลิ่น)
    ๔. รสะ (รส)
    ๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
    ๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

    กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑)

    กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓

    กามภพ ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น

    กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม

    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
    ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
    คังคมาลชาดก

    กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ
    [๑๑๕๕] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดาดาษไปด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง
    เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้า
    ดอกหรือ? เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่างก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำ
    เป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ?

    [๑๑๕๖] ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่ แต่ว่าวัตถุกาม และกิเลสกาม
    ย่อมเผาข้าพระองค์ เพราะว่าความประสงค์หลายๆ อย่าง มีอยู่ ความ
    ประสงค์เหล่านั้นย่อมเผาข้าพระองค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.

    [๑๑๕๗] ดูกรกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่
    ดำริถึงเจ้าอีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.

    [๑๑๕๘] กามแม้น้อยก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่า
    สลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียง เหล่านี้จงมีแก่เรา กุลบุตร
    ผู้ประกอบความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด.

    อ้างอิง
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๙๑๐ - ๔๙๓๗. หน้าที่ ๒๒๘ - ๒๒๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=4910&Z=4937&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1155


    อุบายชนะกามคุณ ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยเเม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    ... หลวงปู่ว้าวุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง จิตที่เคยควบคุมบังคับให้สงบนิ่งได้ก็เกิดปรวนแปรไป ความคิดคำนึงคอยแต่จะโลดแล่นซัดส่ายไปหาหญิงงามอย่างเดียว ทำให้หลวงปู่แหวนเกิดความหวาดกลัวตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ขืนอยู่ต่อไปอาจจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสเมื่อไหร่ก็ได้

    ดังนั้น หลวง ปู่แหวนจึงตัดสินใจเก็บบริขารทั้งหลายเดินทางกลับประเทศไทยอย่างฉับพลัน ทันที เมื่อข้ามแม่น้ำโขงสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นไปทางอำเภอศรี เชียงใหม่ ระหว่างเดินทางหนี "มาตุคาม" ซึ่งเป็นเนื้อคู่บุพเพสันนิวาสมาแต่ชาติปางก่อน จิตใจของหลวงปู่ยังโลดแล่นไปหาสาวงามเกือบตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านที่รุนแรงร้ายกาจสุดพรรณนาทีเดียว

    หลวงปู่แหวนเดินทางมาถึงพระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง จึงหยุดยั้งอบรมตนอยู่ ณ ที่นี้ และก็เป็นวาสนาของหลวงปู่ที่ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวนมีปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่ การได้มาพักอบรมตนอยู่ใกล้กับท่านพระอาจารย์มั่นก่อนเข้าพรรษาปีนั้น ทำให้หลวงปู่แหวนระงับความฟุ้งซ่านลงได้ไม่น้อย

    แม้ กระนั้นภาพของหญิงงามก็ยังปรากฏเป็นครั้งคราว ทำให้ดวงจิตหวั่นไหวอยู่เสมอ แต่เมื่อเร่งภาวนายิ่งขึ้นภาพนั้นก็สงบระงับไป หากพลั้งเผลอเมื่อใดภาพสาวงามก็จะผุดขึ้นมาอีก

    หลัง จากเข้าพรรษาแล้ว หลวงปู่แหวนได้ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก การเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ทรงตัวสู่ฐานสมาธิได้ง่าย ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่านอีก คล้ายกับจิตมันยอมสยบราบคาบแล้ว และเกิดอุบายทางปัญญาพอสมควร

    แต่ หลวงปู่หารู้ไม่ว่า ยิ่งเร่งความเพียรเอาจริงเอาจังหนักขึ้นเท่าใด กิเลสที่แสร้งสงบนิ่งก็เริ่มต่อต้านเอาจริงเอาจังมากขึ้นเท่านั้น คราวนี้แทนที่จะควบคุมจิตให้ดำเนินไปตามทางที่ต้องการ มันกลับเตลิดโลดแล่นไปหา "สาวงาม" ที่บ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมอีก และครั้งนี้พลังของกิเลสดูจะรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
    หลวงปู่แหวนพยายามหาอุบายธรรมต่างๆ มาปราบเจ้าตัวกิเลสที่ฟูขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ หลวงปู่เล่าว่า

    " ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไปใส่ไฟ ยิ่งกำเริบหนักเข้าไปอีก เผลอไม่ได้เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที บางครั้งมันหนีออกไปซึ่งๆ หน้า คือขณะที่คิดอุบายการพิจาณาอยู่นั้นเอง (จิต) มันก็วิ่งออกไปหาหญิงนั้นซึ่งๆ หน้ากันเลยทีเดียว"

    โอ... "มาตุคาม" นี้อันตรายนัก และหากเป็นบุพกรรมอันผูกพันร้อยรัดอยู่ด้วยบุพเพสันนิวาสเข้าไปอีก การเอาชนะเพื่อยุติกรรมยิ่งลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด"

    หลวงปู่แหวน ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อพลังกิเลสกองนี้โดยเด็ดขาด อุบายการปฏิบัติธรรมทุกอย่างถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับกิเลสมารสุดชีวิต เช่น เว้น การนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน เท่านั้น หลวงปู่แหวนทรมานจิตมันอยู่หลายวันหลายคืน พร้อมกันนั้นก็พิจารณาดูว่าจิตยอมอยู่ใต้บังคับหรือไม่ มันคลายความรักต่อหญิงงามคนนั้นหรือไม่ ทำถึงอย่างนี้แล้วกลับไม่ได้ผล เพราะเผลอเมื่อไหร่ จิตมันจะโลดทะยานไปหาหญิงนั้นอีก

    เอาใหม่...เมื่อจิตมันยังรัดรึงอยู่กับ "มาตุคาม" ไม่ยอมปล่อย ยอมคลาย หลวงปู่จึงตัดอิริยาบถนั่งกับนอนทิ้งไป เหลือยืนกับเดินจงกรม กระทำความเพียรเช่นนี้ทั้งวันทั้งคืน
    แต่จิตมันก็ยังแส่ส่ายไปหาหญิงงามไม่ยอมหยุด ยิ่งทรมานมันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่ามันจะดื้อรั้นโต้ตอบมากเท่านั้น

    คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่อีก... ไม่ ฉันอาหารมันล่ะ เหลือแต่น้ำอย่างเดียว ถ้าจิตมันยังดื้อถือดี ยังทะยานเข้าหากองกิเลสไม่ยอมเลิกรา หลวงปู่ตั้งเจตนาว่า ตายเป็นตาย ให้มันรู้ไปว่าจิตได้พ่ายแพ้แก่อำนาจกิเลสอย่างราบคาบแล้ว

    หลวง ปู่แหวนเพ่งพิจารณาหาอุบายกำราบจิตใหม่โดยการเพ่งเอาร่างกายของหญิงงามนั้น ยกขึ้นมาแล้วพิจารณากายคตาสติ แยกอาการ ๓๒ นั้นทีละส่วน โดยอนุโลม ปฏิโลมเทียบเข้าหากายของตน พิจารณาละเอียดให้เห็นตามความเป็นจริงว่า อวัยวะแต่ละส่วนของหญิงนั้นก็มีเหมือนกันทุกอย่าง จะผิดแผกแตกต่างกันก็ด้วยลักษณะแห่งเพศเท่านั้น

    หลวงปู่ทรงสมาธิแล้วพิจารณาอยู่เช่นนั้นกลับไปกลับมา ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญาพิจารณา "กายคตาสติ" ไปจนถึงหนังถ้าถลกหนังที่ห่อหุ้มเนื้อออกจนหมด ความจริงก็ปรากฏทันที

    นั่นคือ เนื้อ กายซึ่งปราศจากผิวหนังห่อหุ้มอยู่ย่อมีสภาพที่ไม่น่าดู หรือ ดูไม่ได้เอาเสียเลย เพราะเหลือแต่เนื้อแดง ๆ เยิ้มด้วยน้ำเหลือง มีเส้นเลือดผุดพราวไปทั่ว "ตัวรู้" ก็บอกว่าหากหญิงงามไม่มีหนังหุ้ม เหลือแต่เนื้อแดง ๆ ใครเล่าจะพิศวาสได้ลงคอ

    อ้อ... คนเรามา "หลง" อยู่ตรง "หนัง" นี่เอง

    ปัญญา เพ่งพินิจต่อไปอีกจนเห็นความเน่าเปื่อยแล้วก็สลายกาย เป็นกองเนื้อเน่า ๆ และกองกระดูกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรตั้งอยู่ทรงสภาพเดิมไว้ได้อีก ไม่มีส่วนไหนจะคงอยู่ได้เลย

    ปัญญา เพ่งต่อไปถึง มูตร (ปัสสาวะ) และ กรีษ (อุจจาระ) ของหญิงงาม ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า ที่หญิงงาม น่ารัก น่าพิศวาสนั้น มูตรกับกรีษงามด้วยหรือเปล่า กินได้ไหม เอามาตระกองกอดได้ไหม "จิต" ตอบว่า "ไม่ได้"

    ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้ เอามาตระกองกอดไม่ได้ แล้วอันไหนล่ะที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี
    จิตโดนปัญญาซักฟอกอย่างหนักเช่นนั้นก็ตอบไม่ได้ หาเหตุผลมาโต้แย้งไม่ได้ จิตมันก็อ่อนลงเพราะจนด้วยเหตุผลของปัญญา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมสารภาพผิดแต่โดยดี

    จิตซึ่งเคยโลดแล่นแส่ส่ายออกไปตามวิสัยความอยากของมันก็พลันถึงความสงบ ไม่กำเริบร้อนเร่าอีก
    หลวงปู่แหวนยังไม่วางใจจิตนัก ท่านจึงทดสอบโดยส่งจิตไปหาหญิงงามบ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมหลายครั้ง
    แต่จิตก็ไม่ยอมโลดแล่นไปอีก จิตคงทรงอยู่ในความสงบเพราะได้เห็นความเป็นจริงของธรรมแล้ว

    การอด อาหาร และทำความเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อเอาชนะกิเลสมารของหลวงปู่แหวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จิตของท่านรู้แจ้งเห็นจริงในภัยของมาตุคาม อย่างทะลุปรุโปร่งและสิ้นพยศตั้งแต่นั้น...ตลอดไป
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    iuejAaUifGBOXs4mUyn_3HsvK0-Yxc2h92SMMer2SgoO&_nc_ohc=nzIos5LPNWEAX8CkP5P&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ใช่...นี่แหละทางพระท่านให้ดู อสุภะ เป็นกรรมฐาน ให้ขึ้นตาขึ้นใจ จนสามารถเอาชนะเนื้อหนังที่ห่อหุ้มเอาไว้ได้ และจึงวางลงปลงได้ ...สรรพสิ่งเกิดขึ้น ดับไป..เป็นธรรมดา...แต่กิเลสมันหนา หลงตรงเนื้อหนังรูปโฉม ลีลาท่าทางร่วมเพศ ฝังรากลึก นึกทีไร มันมาล้อหลอกลวงให้หลงเหมือนเดิม ...ต้องหว่านล้อมธรรม อันทำให้เห็นแต่ความจริงของสังขารร่างกาย รูป เวทนา(ความรู้สึกในรสสวาท) สัญญา(ความจำได้ในลีลาท่าทาง เสียงกระเส่าเร้าอารมณ์) สังขาร(กาปรุงแต่งในรูป เวทนา สัญญา นั้น จนถอนไม่ขึ้น) ....อันที่จริง ต้องรู้กระบวนการทำงานของขันธ์ห้า แล้ว จึงจะระงับยับยั้งได้ ด้วยธรรมมะ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความสวยงาม คือ อสุภะ คือพิจารณาความตายแบ้วความค่อยๆ เน่า เปื่อย ยุ่ย หนอนชอนไช แล้วสลายไปในที่สุด ให้ชนะสุภะคือความสวยงามได้...
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=2c5cfd01036344e0361d1a7e4b096882.jpg
    ?temp_hash=2c5cfd01036344e0361d1a7e4b096882.jpg
    ?temp_hash=2c5cfd01036344e0361d1a7e4b096882.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


    [​IMG]
    ๑๐. สัปปสูตรที่ ๒

    [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ เป็นสัตว์มักโกรธ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ มีสองลิ้น ๑ มักประทุษร้าย
    มิตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้ฉันนั้นเหมือนกัน
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มักโกรธ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ มี
    สองลิ้น ๑ มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโทษ ๕ ประการนั้น
    ความที่มาตุคามเป็นผู้มีพิษร้าย คือ โดยมากมาตุคามมีราคะจัด ความที่มาตุคาม
    เป็นผู้มีสองลิ้น คือ โดยมากมาตุคามมีวาจาส่อเสียด ความที่มาตุคามเป็นผู้มัก
    ประทุษร้ายมิตร คือ โดยมากมาตุคามมักประพฤตินอกใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    จบทีฆจาริกวรรคที่ ๓
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=96782507f125e1dfeb6e4ae7ddb2b8df.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    wbptP_nndPVf0aaZ7LVAueD2-J6kidQNtdwZAxryxBF3&_nc_ohc=xGgpapGMBTwAX88_6NA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    #รัก เหงา เศร้า เป็นฝีมือของมารโดยตรง !!
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๔
    ถาม :
    ที่กว้าง ๆ รู้สึกว้าเหว่ค่ะ
    ตอบ : เพราะเราปล่อยให้ความรู้สึกมานำ ใจไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน พอเริ่มนึกคิดปรุงแต่ง รัก โลภ โกรธ หลง ก็เกิดขึ้น ความเหงาเป็นปฏิฆะ พอปฏิฆะกระทบเข้ามาแล้ว ก็อยู่ที่ว่าเราจะปรุงไปด้านดีหรือด้านร้าย ถ้าปรุงไปในด้านดีก็เป็นราคะ ถ้าปรุงไปด้านร้ายก็เป็นโทสะ

    ถาม : ความเหงานี่นะคะเป็นโทสะได้ ?
    ตอบ : ใช่..ถึงเวลาก็โกรธ น้อยใจคนอื่น ทิ้งเราอยู่คนเดียว กลายเป็นโทสะ หรือว่าเหงาคิดถึงแฟน กลายเป็นราคะไปแล้ว บอกแล้วว่าอยู่ที่การปรุง และสภาพจิตของเรานี่สุดยอดเลย ปรุงมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน พอจะให้หยุดจึงหยุดยาก

    ถาม : ถือว่าเป็นฝีมือของมารหรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : เป็นฝีมือของมารโดยตรง ที่จะรั้งเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสาร ปกติธรรมชาติมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แต่เราต้องมีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่า ท้ายสุดทุกคนก็ตาย ไม่มีใครอยู่ร่วมกับเราได้ตลอดกาล

    ถ้ารู้อย่างนี้ก็ต้องมีปัญญามองเห็นว่า ทำอย่างไรจึงจะรักษาตัวรักษาใจของเราไว้ได้ ก็คือรักษาใจให้ผ่องใส ไม่ให้เศร้าหมองกับสิ่งรอบข้าง ไม่อย่างนั้นพอคนนี้จากไป คนนั้นตายไป ก็จะเกิดความเศร้าหมองทับถมมาเรื่อย ๆ กลายเป็นกดให้เราตกต่ำ จมอยู่ตรงนั้น ไม่ต้องไปไหน

    แต่ถ้าเราสามารถชำระใจของเราให้ผ่องใสขึ้นมาได้ มีสติรู้เท่าทัน มีปัญญาเห็นสภาพความเป็นจริงว่า ธรรมดาของโลกเป็นอย่างนั้นเอง ถ้าเราไม่รักษาใจของเราเองไว้ ถึงเวลาเราก็เดือดร้อนเอง ให้กลับมารักษาตัวรักษาใจของเรา ดึงใจของเรากลับมาอยู่กับปัจจุบัน ชำระใจของเราให้ผ่องใส รัก โลภ โกรธ หลง กินใจเราได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ และท้ายสุดกินเราไม่ได้เลย เราก็รอด
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    “นักบวชทุศีล”
    เวลาเห็นภิกษุผู้ประพฤติไม่ดีไม่งาม จงอย่าวิจารณ์หรือตำหนิท่านโดยใช้คำเรียกว่า”พระ” เลยนะ เพราะคำว่าพระนั้น หมายรวมถึงพระพุทธเจ้าด้วย ดังนั้นจงใช้คำให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะกลายเป็นการปรามาสพระรัตนตรัยโดยไม่รู้ตัว
    คำสอนของพระอาจารย์เอ
    nVB5JFtKiW8WmYsLe5trqdMBrSI27G5vO_40G-jfMAkm&_nc_ohc=UhtEQiaaftQAX8aHPFM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...