พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เปิดให้ ประชาชนสรงน้ำ “เทวดานพเคราะห์ ๙ องค์”

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 11 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชิญประชาชนร่วมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๒ วันที่ ๑๑ เม.ย. – ๑๔ เม.ย. ๖๒

    0b8b1e0b893e0b891e0b8aae0b896e0b8b2e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4-e0b980.jpg
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เปิดให้ ประชาชนสรงน้ำ “เทวดานพเคราะห์ ๙ องค์”

    เทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๒ กรมศิลปากรกำหนดจัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เพื่อเริ่มต้นปีใหม่ไทยด้วยความเป็น สิริมงคล ตามแบบแผนประเพณีที่ดีงามโดยอัญเชิญพระธาตุ ๒๓ องค์ ประดิษฐานอยู่ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา เดิมทีบรรจุไว้ในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และเทวดานพเคราะห์ ๙ องค์ มาให้ประชาชนได้สรงน้ำและกราบไหว้บูชาขอพร

    8b1e0b893e0b891e0b8aae0b896e0b8b2e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4-e0b980-1.jpg

    เทพนพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย

    พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และพระเกตุ ทรงนาค

    สำหรับ เทพนพเคราะห์ มีความเชื่อว่าแต่ละคนเมื่อเกิดมาจะมีเทวดานพเคราะห์ประจำวันเกิด และในแต่ละช่วงชีวิตเทวดานพเคราะห์จะหมุนเวียนเข้าเสวยอายุ กำหนดปีการเสวยอายุตามกำลังของเทวดาแต่ละองค์ ซึ่งจะส่งผลร้ายหรือดีต่อมนุษย์ขึ้นอยู่กับประเภทของเทวดานพเคราะห์ว่าเป็นฝ่ายบาปเคราะห์หรือศุภเคราะห์ หรือความเข้ากันได้หรือไม่กับเทวดาประจำวันเกิด

    ประติมากรรมเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ สร้างขึ้นตามแบบเทวดานพเคราะห์ของไทยแต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ ๗๐ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สันนิษฐานว่า…

    8b1e0b893e0b891e0b8aae0b896e0b8b2e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4-e0b980-2.jpg

    เป็นรูปแบบของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพยดาบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า) ที่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ทรงร่วมในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน

    ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือสามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทพนพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทางและลักษณะของเทพนพเคราะห์ได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์สันนิษฐานว่า น่าจะหล่อขึ้นในราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบลักษณะประติมานวิทยากับภาพในสมุดไทยและรูปสัตว์ที่มีความเหมือนจริงเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากตะวันตก

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/101323
     

แชร์หน้านี้

Loading...