มหาสติปัฏฐาน 4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 6 มกราคม 2020.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท
    มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
    กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น
    พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อ
    ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

    ๔ ประการ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑


    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ ๑


    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

    ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    วิธี ใน มหาสติปัฏฐาน ประกอบด้วย


    กรรมฐานหมวดกาย กายานุปัสนา ประกอบด้วย
    อานาปานบรรพ
    อิริยาปถบรรพ
    สัมปชัญญบรรพ
    ปฏิกูลมนสิการบรรพ
    ธาตุมนสิการบรรพ
    นวสีวถิกาบรรพ

    หมวด เวทนานุปัสนา

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
    หรือ
    เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา

    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
    หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี
    อามิส

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง
    อีกอย่างหนึ่ง

    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    หมวด จิตตานุปัสนา

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
    ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ
    ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
    จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
    หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต

    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
    หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ

    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
    ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
     
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    หมวดธัมมานุปัสนา ประกอบด้วย

    นีวรณบรรพ
    ขันธบรรพ
    อายตนบรรพ
    โพชฌงคบรรพ
    สัจจบรรพ
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
    อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง

    คือ

    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
    ยกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
    ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
    ๑ ปียกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
    อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑
    ๗ เดือนยกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
    ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
    เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑

    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
    กึ่งเดือนยกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน
    เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล

    คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้
    เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว

    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...