มหาสุญญตสูตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 27 ธันวาคม 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ?temp_hash=b4d672d7c4b0327f4627e43beaa408f1.jpg



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    มหาสุญญตสูตร
    ว่าด้วย
    ความว่างเปล่า สูตรใหญ่
    เหตุการณ์
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่พระอานนท์เรื่องความว่าง กามคุณ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อุปัททวะของอาจารย์และศิษย์ วิธีพึงปฏิบัติต่อพระศาสดา

    พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวกับพระอานนท์ว่า

    ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่

    ย่อมไม่งามเลย

    ไม่อยู่ในฐานะที่จะได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยากไม่ลำบาก

    ไม่อยู่ในฐานะที่จะบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่

    ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่

    พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็นฐานะที่มีได้

    พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

    ย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็นอย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่ง ซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว

    วิหารธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ในที่นั้น ๆ คือบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่

    ถ้ามีบุคคลใดเข้าไปหาพระพุทธองค์ผู้อยู่ด้วยสุญญตสมาบัติวิหารธรรมนี้ในที่นั้น ๆ พระพุทธองค์ย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ ปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง

    ถ้าหวังว่าจะบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน พึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นด้วยการเข้ารูปฌาณ ๔ ใส่ใจในความว่างภายใน ความว่างภายนอก ความว่างภายในและภายนอก และอาเนญชสมาบัติ

    เมื่อบุคคลอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้

    - ย่อมใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคือ อภิชฌาและโทมนัส จะไม่ครอบงำในการเดินจงกรม ยืน นั่ง นอน ด้วยอาการนี้ เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการเดินจงกรม ยืน นั่ง นอน

    - จักพูดเรื่องราวซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้ เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด

    - เราจักไม่ตรึกในกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน และใส่ใจว่า เราจักตรึกในเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ ด้วยอาการนี้ เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก

    - ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่ามีความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้เ รายังละไม่ได้ แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้ เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕

    - เมื่อพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้ เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕

    สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน

    สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ



    อ่าน มหาสุญญตสูตร

    อ้างอิง
    มหาสุญญตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มท่ี ๑๔ ข้อที่ ๓๔๓-๓๕๖ หน้า ๑๘๕-๑๙๓
    ชุดที่
    ธรรมปฏิบัติ ชุดที่ ๒
    ลำดับที่
    14
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...