มะระขี้นก (Momordica charantia L.)

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Mdef, 19 พฤศจิกายน 2020.

  1. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    1-91.jpg
    มะระขี้นก ชื่อสามัญ Bitter gourd
    มะระขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L.
    จัดอยู่ในวงศ์แตง(CUCURBITACEAE)
    ชื่อสามัญ : Bitter Cucumber, Balsum Pear
    ชื่ออื่น : ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)
    ลำต้น: ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม เป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่น มีมือเกาะ
    ใบ: ใบเดี่ยว ออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโมแต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ
    ขอบใบหยักเว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบแหลม
    ดอก: ดอกเดี่ยวตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม
    กลีบดอกบางช้ำง่าย
    ผล: ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่างกลมแบน ผลของมะระขี้นกจะมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ถ้าเป็นผลแก่จะออกสีเหลืองอมแดง ปลายของผลจะแตกเป็น 3 แฉก ถามว่าทำไมถึงเรียกว่ามะระขี้นก? คำตอบก็คือว่านกมันชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้

    ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลและเมล็ด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ ผลอาจเก็บมาหั่นเป็นท่อนๆ ตากแห้งเก็บไว้ใช้
    ลักษณะยาแห้ง : เนื้อผลแห้งมีลักษณะเป็นท่อนยาวกลม เนื้อหนาประมาณ 2-8 มม. ยาว 3-15 ซม. กว้าง 0.4-2 ซม. ทั้งแผ่นมีรอยย่นขรุขระ ผิวเปลือกสีเทาออกน้ำตาล ระหว่างกลางอาจมีเมล็ด หรือรอยของเมล็ดที่ร่วงไปแล้ว เนื้อแข็งหักง่าย รสขมเล็กน้อย ยาที่ดีควรมีผิวนอกสีเขียว เนื้อในสีขาว เป็นแผ่นบางมีเมล็ดติดมาน้อย

    2. สรรพคุณของมะระขี้นก

    การทานมะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวานได้ประโยชน์หลายต่อ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันมีงานวิจัยพิสูจน์ว่า สารสําคัญในมะระขี้นกออกฤทธิ์คล้ายอินซูลินจากตบัอ่อน ที่มีต่อระบบการย่อยและดดูดซึมสารอาหาร โดยทําหน้าที่ให้เนื้อเยื่อดึงน้ำตาลไปใช้มากขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดจึงลดลง นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับอ่อนที่เสียหายอีกด้วย โดยองค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลคือ p-Insulin, charantin และ vicine นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ บี ซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อที่สองที่ช่วยป้องกันความเสื่อมของอวัยวะ ต่างๆ โดยในผู้ป่วยเบาหวานหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ความผิดปกติของตา ไต อาการชาที่ปลายมือปลายเท้า ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะผิดปกติของหัวใจและหลอด เลือด เป็นต้น และในผู้ป่วยเบาหวานที่มีนํ้าหนักตัวมาก การรับประทานมะระขี้นกมีผลช่วยลดนํ้าหนักเท่ากับเป็นการลด ความเสี่ยงของโรคในระบบหลอดเลือดที่จะเกิดตามมาอีกด้วย เรียกได้ว่า มะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่มีความคุ้มค่าอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยเบาหวาน เพราะครอบคลุมตั้งแต่ลดระดับน้ำตาลตลอดจนป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ที่มีระดับน้ำตาลใน เลือดสูงแต่ยังไม่ได้รับการรักษาด้วยยาเบาหวาน การรับประทานมะระขี้นกจะช่วยควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้เป็น ปกติได้ โดยสรรพคุณของมะระขี้นก มีดังนี้

    1.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในชะลอความแก่ชราได้

    2.ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)

    3.ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)

    4.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน

    5.ช่วยป้องกันการตับและหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง

    6.ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ผล)

    7.ช่วยรักษาโรคหอบหืด

    8.ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ 60 นาที (ผล)

    9.ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)

    10.ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขมช่วยกระตุ้นน้ำย่อยออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล,ราก,ใบ)

    11.ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่ม (ผล,เมล็ด,ใบ)

    12.แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล,ใบ)

    13.ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)

    14.ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)

    15.ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตามบวมแดง (ผล)

    16.ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)

    17.ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล,ใบ)

    18.ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบกันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล,ราก,ใบ)

    19.ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)

    20.ช่วยลดเสมหะ (ราก)

    21.แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล,ใบ)

    22.ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ราก,เถา)

    23.ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)

    24.ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี

    25.ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)

    26.ช่วยรักษาอาการบิด ถ้าถ่ายเป็นเลือดให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัมต้มกับน้ำดื่ม ถ้าถ่ายเป็นเมือก ๆ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล,ใบ,ดอก,เถา)

    27.ช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือนำมาใช้แก้อาการบิดเลือดด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล่าต้มดื่ม (ราก,เถา)

    28.แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล,ใบ)

    29.ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ประมาณ 3 เมล็ดรับประทานเพื่อขับ

    30.พยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล,ใบ,ราก,เมล็ด)

    31.ช่วยขับระดู (ใบ)

    32.ช่วยบำรุงระดู (ผล)

    33.ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)

    34.มะระขี้นกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล,ราก,ใบ)

    35.ช่วยขับลม (ผล,ใบ)

    36.แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล,ราก,ใบ)

    37.ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล,ราก,ใบ)

    38.แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)

    39.ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)

    40.ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลกคั้นเอาน้ำมาทาบบริเวณที่เป็นผี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล,ใบ,ราก,เถา)

    41.ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)

    42.ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล,ราก,ใบ)

    43.ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)

    44.ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)

    45.แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่าง ๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คันหรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ผลแห้ง)

    46.ช่วยดับดิบพิษฝีร้อน (ใบ)

    47.ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล,ราก)

    48.ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)

    49.ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล,ราก)

    50.แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล,ใบ)

    51.ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)

    52.ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม(เมล็ด)

    53.มะระขี้นก สามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพิ่มลดความขม หรือจะนำมาทำเป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน

    54.ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสด ๆ เพราะมีรสขม)

    55.ประโยชน์มะระขี้นกา แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ และช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน

    ข้อควรระวัง การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนเกิดอาการหิว มึนงง เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ควรหลีกเลี่ยงในเด็ก หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงการรับประทานมะระขี้นกในช่วงท้องว่างด้วย - มะระขี้นกมีฤทธิ์เย็น ไม่ควรทานติดต่อกนันานเกินไป ให้เว้นระยะเพื่อปรับสมดุลร่างกาย

    3.คุณค่าทางโภชนาการของผลมะระขี้นกต่อ 100 กรัม

    · พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่

    · คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม

    · น้ำตาล 1.95 กรัม

    · เส้นใย 2 กรัม

    · ไขมัน 0.18 กรัม

    · โปรตีน 0.84 กรัม

    · น้ำ 93.95 กรัม

    · วิตามินเอ 6 ไมโครกรัม 1%

    · แบต้าแคโรทีน 68 ไมโครกรัม 1%

    · ลูทีน และ ซีแซนทีน 1,323 ไมโครกรัม

    · วิตามินบี1 0.051 มิลลิกรัม 4%

    · วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม 4%

    · วิตามินบี3 0.28 มิลลิกรัม 2%

    · วิตามินบี5 0.193 มิลลิกรัม 4%

    · วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม 3%

    · วิตามินบี9 51 ไมโครกรัม 13%

    · วิตามินซี 33 มิลลิกรัม 40%

    · วิตามินอี 0.14 มิลลิกรัม 1%

    · วิตามินเค 4.8 ไมโครกรัม 5%

    · ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม 1%

    · ธาตุเหล็ก 0.38 มิลลิกรัม 3%

    · ธาตุแมกนีเซียม 16 มิลลิกรัม 5%

    · ธาตุแมงกานีส 0.086 มิลลิกรัม 4%

    · ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม 5%

    · ธาตุโพแทสเซียม 319 มิลลิกรัม 7%

    · ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%

    · ธาตุสังกะสี 0.77 มิลลิกรัม 8%

    % เเสดงร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
    (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

    4.การศึกษาย้อนหลัง : สรรพคุณของมะระขี้นก

    มะระเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเซีย อาฟริกา และละตินอเมริกา อายุรเวทใช้ผลมะระรักษาเบาหวาน โรคตับ บรรเทาอาการโรคเก๊าต์และข้ออักเสบ ตำรายาไทยใช้ใบมะระในตำรับยาเขียวลดไข้ รากในตำรับยาแก้โลหิตเป็นพิษและโรคตับ งานวิจัยสมุนไพรมะระได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ซึ่ง Lotlika และ Rao ได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระ ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ momordicosides, momordicins, karaviloside K1 และ charantoside มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาล

    ในมะระขี้นกมีสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส น้ำคั้นจากผลมะระขี้นกแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในกระต่ายและหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต การเกิดต้อกระจก การเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเลือดให้ปกติ

    การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน มะระขี้นก (สีเขียว) มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีวิตามินเอ (2,924 IU) ไนอะซิน (190 มก./100 ก) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ

    งานวิจัยล่าสุดจากศูนย์มะเร็งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด พบว่า"น้ำคั้นของมะระขี้นก (bitter melon) มีผลยับยั้งความสามารถในการใช้กลูโคสของเซลล์มะเร็งตับอ่อน ซึ่งนั่นทำให้เซลล์ถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานและตายไปในที่สุด" งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์สัปดาห์นี้ วารสาร Carcinogenesis ได้มีการพิสูจน์ว่าสามารถการฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อนในจานเพาะเลี้ยงเท่านั้น แต่ตอนนี้งานได้ก้าวไกลไปกว่านั้นมาก พวกเราใช้น้ำคั้น ซึ่งเราทราบว่าในเอเชียใช้กันมาก พวกเราได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามันมีผลต่อการใช้กลูโคสของเซลล์ ส่งผลให้จำกัดการได้รับพลังงานและฆ่าเซลล์เหล่านั้นในที่สุด" ดอกเตอร์ราเชจ อัครวาล (Rajesh Agrawal, PhD) หัวหน้าทีมร่วมของศูนย์ป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด และอาจารย์ภาควิชาเภสัชศาสตร์ (Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences) กล่าวว่า ที่มาของงานวิจัยนี้มาจากการที่ด็อกเตอร์อัครวาล ความสนใจในความเกี่ยวข้องที่ว่าคนเป็นเบาหวานมักมีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งตับอ่อน และจากข้อสังเกตที่ว่ามะระขี้นกมีผลรักษาโรคเบาหวาน เห็นได้จากที่คนจีนและอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน เขาและทีมก็เลยได้ความคิดว่าจะเป็นยังไงถ้าตัดเจ้าโรคเบาหวานที่เป็นตัวเชื่อมกลางออกไปแล้ววิจัยเหตุและผลที่มะระขี้นกและมะเร็งไปเลยทีเดียว มะระขี้นกสามารถควบคุมการปล่อยสารอินซูลินในเบต้าเซลล์ของตับอ่อน การทดลองโดยให้หนูที่เป็นมะเร็งตับอ่อนกินน้ำคั้นจากมะระขี้นก ผลพบว่าลดการพัฒนาของมะเร็งไปกว่า 60 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับตัวที่ไม่ได้กิน "เป็นการค้นพบที่่น่าตื่นเต้นมาก" ดอกเตอร์อัครวาลกล่าว "ตอนนี้มีนักวิจัยมากมายที่กำลังออกแบบสังเคราะห์ตัวยาใหม่ๆเพื่อจะฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่นี่เรามีสารจากธรรมชาติที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม"

    5.กรณีศึกษา การใช้มะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวาน

    กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย พิการทางสายตา อายุ 53 ปี ภูมิลําเนา จ.ชลบุรี เป็นเบาหวานมานาน 4 ปี ตั้งแต่ปี 2554 ตรวจพบน้ำตาลสูง 300 mg/dL กว่าๆ ผู้ป่วยมีอาการเท้าชาตั้งแต่ข้อเท้าถึงปลายเท้า ไม่มีความรู้ สึก ใส่และถอดรองเท้าก็ ยังไม่มีความรู้สึก บางครั้งเดินแล้วรองเท้าหลุดจากเท้าก็ไม่รู้ ตัว ไม่รู้ สึกเจ็บเวลาถูกหยิก ไม่มีแผลที่เท้าและอาการแทรก ซ้อนอื่นๆ ได้รับยา Metformin 500 mg เพื่อรักษา เดิมรับประทานยาวันละ 2 เม็ด หลังอาหารเช้า แพทย์ปรับเป็น 2 เม็ด หลังอาหารเช้า-เย็น ผู้ป่วยมีอาการทรงๆ ไม่ดีขึ้นเรื่อยมา ผลตรวจน้ำตาลไม่คงที่ ค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 250-300 mg/dL อาการชาที่เท้าไม่ดีขึ้น ไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ต้องการใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษา ผู้ป่วยจึงเริ่มรับประทานมะระ ขี้นกตามคําแนะนําของเพื่อน โดยรับยาที่รพ.สมเด็จศรีราชา ลองรับประทาน 1 กระปุก เริ่มจากวันละ 2 เม็ด หลังอาหาร เช้า เป็นประจําทุกวัน ภายในเวลาไม่ถึงเดือน น้ำตาลในเลือดลดลงจาก 240 เป็น 190 mg/dL จากการตรวจเลือดครั้ง ล่าสุด (30 เมษายน 2558) อาการชาลดลง เท้ามีความรู้สึกมากขึ้น เดินแล้วรู้สึกเท้าสัมผัสพื้นมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

    กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 54 ปี ภูมิลําเนา บางนา กรุงเทพฯ ตรวจพบครั้งแรกเมื่อประมาณ 6 เดือนก่อน (ธันวาคม 2557) ระดับน้าตาลในเลือดที่วัดได้คือ 150 mg/dL ไม่มีอาการแทรกซ้อนทางระบบอื่นๆ ได้รับยา Metformin 500 mg เพื่อรักษา โดยให้รับประทานหลังอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 เม็ด หลังจากรับประทานยาที่ทางโรงพยาบาลไป ประมาณ 1 เดือน ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง น้องสาวของผู้ป่วยจึงแนะนําให้รับประทานมะระขี้นกแคปซูลโดย รับประทาน ครั้งละ 2 แคปซูลหลังอาหารเช้าและเย็น ควบคู่ไปกับยาที่ได้รับจากทางโรงพยาบาล พบว่าน้ำตาลในเลือด ลดลงเหลือ 105 mg/dL เมื่อรับประทานมะระขี้นกแคปซูลไม่ถึง 1 เดือน ปัจจุบันรับประทานมะระขี้นกแคปซูลมาประมาณ 2 เดือนแล้ว จากการตรวจเลือดครั้งล่าสุด (20 เมษายน 2558) ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 mg/dL

    กรณีศึกษาที่ 3 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 61 ปีภูมิลําเนา อ.บางบ่อ สมุทรปราการ ไม่มีญาติป่วยเป็นเบาหวาน ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ชอบทานของหวานมาก เมื่อ 6 ปีก่อน น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว 16 กิโลกรัม ปัสสาวะบ่อยและมีมดขึ้น ตา พร่า เท้าชาบ้าง มือไม้สั่น หิวบ่อย จึงมาพบแพทย์ ตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูง 200 กว่าๆ mg/dL ได้รับยา 2 ชนิดคือ ยา ก่อนอาหารเช้า 2 เม็ด (จําชื่อยาและลักษณะยาไม่ได้) และยาเม็ดสีขาวใหญ่ (Metformin 500 mg) ทาน 2 เม็ด หลัง อาหารเช้า แพทย์ปรับลดและเพิ่มยาตามอาการเรื่อยมา แต่น้ำตาลก็ยังทรงๆ ไม่ค่อยลดลงจากเดิม ก่อนเริ่มทานมะระขี้นก ระดับน้ำตาลในเลือดที่วัดได้ คือ 170 mg/dL เริ่มทานมะระขี้นกเพราะทราบสรรพคุณจากสื่อโทรทัศน์ ทานครั้งละ 2 แคปซูลก่อนอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 เดือน ควบคู่กับยาเบาหวาน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เหลือ 130 mg/dL รู้สึกสุขภาพดีขึ้น ไม่มีอาการชาและอ่อนเพลีย ผู้ป่วยยังคงรับประทานมะระขี้นกอย่างต่อเนื่อง โดยวันที่ 1 มิถุนายนนี้จะครบ 2 เดือน และนัดตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

    6.เมนูแนะนำ: อาหารเพื่อสุขภาพ
    การใช้มะระขี้นกตามภูมิปัญญาของไทย มีการใช้ ดังนี้

    1.ใช้ผลมะระขี้นกที่ยังเขียวสดประกอบอาหาร ส่วนใหญ่ก็จะใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกโดยต้มหรือลวกเสียก่อนให้คลายรสขม หรือจะใช้ต้ม ใช้แกง ชุบไข่ทอดก็ได้ ยอดอ่อนใช้ต้ม กินเป็นผักจิ้มก็ได้เช่นกัน

    2.ใช้ผลโตเต็มที่หั่นเนื้อมะระตากแห้ง ชงน้ำดื่มต่างน้ำชาทำให้เจริญอาหาร

    3.ใช้น้ำคั้นจากผลมะระขี้นก หรือต้มรับประทานแต่น้ำ ใช้เป็นยาแก้ไข้

    4.น้ำคั้นผลมะระขี้นกใช้อมแก้ปากเปื่อย และช่วยบำรุง ระดูในสตรี และใช้น้ำคั้นมะระขี้นกผสมดินสอพองทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ หรือศรีษะเป็นผดผื่นคันได้

    5.ใช้ผลตำพอกฝี แก้ปวดฝี ฝีบวมอักเสบ

    6.ใช้ใบสดของมะระขี้นกหั่นชงน้ำร้อน เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มแต่น้ำ ขับพยาธิเข็มหมุดได้

    7.ใช้เถาสดของมะระขี้นกเติมน้ำพอท่วม ต้มให้เดือด ทิ้งให้เย็น ใช้ดื่มแก้อาเจียนได้


    มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้รสความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขึ้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุก ๆ เมนูเเนะนำ มะระขี้นกผัดไข่เค็มกระเทียมโทนดอง

    ส่วนผสม

    • มะระขี้นก 15 ลูก
    • ไข่เค็มแกะเปลือกหั่นหยาบๆ 1 ลูก
    • ไข่ (ตีให้เข้ากัน) 1 ฟอง
    • กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
    • กระเทียมโทนดองหั่นบางๆ 1/3 ถ้วย
    • พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 เม็ด
    • น้ำปลา 1 ช้อนชา
    • น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
    วิธีทำ

    1. ล้างมะระให้สะอาด ผ่าครึ่ง ขูดเอาเมล็ดออก หั่นบาง ๆ แช่ในน้ำเกลือ พอคลายขม เอาขึ้น บีบน้ำออก
    2. ใส่น้ำมันลงไปในกระทะ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่กระเทียมลงไปเจียวพอหอม ใส่มะระลงผัด พอสุก กันไว้ข้าง ๆ คนไข่กับกับไข่เค็มเข้าด้วยกัน
    3. ในกระทะเดียวกันใส่น้ำมันที่เหลือลงไป นำไข่ลงทอดจนไข่จวนสุก คนมะระที่ผัดไว้กับไข่ให้เข้ากัน โรยด้วยกระเทียมโทนดอง และ ใส่พริกชี้ฟ้าแดงคนให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ ถ้าอ่อนเค็มให้เติมน้ำปลา

    ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก

    ได้แก่ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว

    ที่มา https://sites.google.com/site/nawaminyounus/khxmul-thawpi
     

แชร์หน้านี้

Loading...