"ยธ."จับมือ"ม.สงฆ์ มจร"สร้างกระบวนการแก้ขัดแย้งรับยุค New Normal

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 มิถุนายน 2020.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    194187_th.jpg
    "ยธ."จับมือ"ม.สงฆ์ มจร" เสริมสร้างสังคมสันติสุขระดับนโยบายสู่วิถีแห่งการปฏิบัติ เล็งเปิดฝึกอบรมกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ รับยุค New Normal

    วันที่ 30 พ.ค.2563 พ.ต.ท.พงษ์ธร ธัญญสิริ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและเลขาธิการคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ เข้าพบพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อปรึกษาเตรียมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย กิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาการฝึกอบรม การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการจัดการความขัดแย้ง รวมถึงเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ในพื้นที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและเสริมสร้างความสมานฉันท์

    พระมหาหรรษา กล่าวว่า เป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในระดับนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติ เพราะในยุคปัจจุบันเราไม่สามารถทำงานได้เพียงลำพังจะต้องอาศัยเครือข่าย กัลยาณมิตร ร่วมกันทำความดีอย่างมีปัญญา สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายนอกและภายใน ใช้กระบวนการศาสนาและกฏหมาย เพื่อเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ใช้เพียงกฎหมายอย่างเดียวอาจจะนำไปสู่แพ้ชนะ แต่ถ้านำกระบวนการทางพระพุทธศาสนามาใช้จะนำไปสู่การชนะไปด้วยกัน

    "ดังนั้น การนำสิ่งที่เราเป็นมาสร้างบารมีจึงเป็นโอกาสสำคัญ เป็นให้เป็น เป็นในที่นี่หมายถึง เป็นตำแหน่งอะไร ก็นำสิ่งที่เป็นมาสร้างบารมีมาช่วยเหลือสังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข จึงขออนุโมทนากับท่าน พันตำรวจโท ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและเลขาธิการคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ในโอกาสนี้" พระมหาหรรษา กล่าว

    3R3A1440(2).jpg
    ขณะเดียวกัน หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดตัวปริญญาเอก สาขาสันติศึกษาโฉมใหม่รองรับผู้เรียนยุค New Normal โดยแบ่งเป็น หลักสูตรแผน 1.1 เหมาะสำหรับผู้บริหาร และผู้นำด้านสันติภาพ ใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท โดยศึกษา 5 รายวิชา มุ่งวิจัยเพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในพื้นที่จริง หลักสูตรแผน 1.2 เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ โดยใช้วุฒิปริญญาตรีสมัครเรียนระดับปริญญาเอก ต้องผ่านการทำงานด้านสันติภาพอย่างน้อย 10 ปี ต้องศึกษา 5 รายวิชา แล้วทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในชุมชน องค์กร และสังคม และหลักสูตรแผน 2.1 เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มุ่งพัฒนาทั้งแนวคิดและปฏิบัติการเพื่อสันติสันติภาพ โดยใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องศึกษา 12 รายวิชา แล้วทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในชุมชน องค์กร และสังค

    ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2563ที่ผ่านมา พระเทพปวรเมธี รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร บรรยายออนไลน์รายวิชามหาวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ภายใต้หัวข้อ "ประวัติ พัฒนาการ ผลงานของวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข" ซึ่งเป็นวิชาที่นิสิตปริญญาเอก ของหลักสูตรสันติศึกษาจะต้องเรียนรู้ใน ประวัติ พัฒนาการ ผลงาน พันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา ของมหาจุฬาฯ อันเป็นสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในมหาจุฬาฯ พร้อมสร้างความเข้าใจในบทบาทของมหาจุฬาฯ

    cats2(519).jpg
    พระเทพปวรเมธี ได้กล่าว่า ขอชื่นชมหลักสูตรสันติศึกษาว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ ได้รับความนิยมจากผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก สามารถผลิตมหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิตให้มีหลักการ วิธีการ และอุดมการณ์ในด้านสันติภาพ สันติวิธี และพระพุทธศาสนาออกสู่สังคม รวมถึงหลักสูตรสันติศึกษามีการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนและสังคมอย่างต่อเนื่อง เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

    ขณะเดียวกันช่วงเย็นมีสันติเสวนาออนไลน์ เรื่อง "สามมุมมองด้านสันติภาพในยุค New Normal" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ นายกสภามหาลัยราชภัฏชัยภูมิ, พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธี และธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ทางเฟซบุ๊ก "hansa dhammahaso" สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่คือกระบวนการสร้าง New Peace Nornal ดังนี้

    3R3A1470_0.jpg
    1. หลักการ ประกอบด้วย สร้างทัศนคติ เริ่มจากมีสติ เปลี่ยนกรอบความคิดใหม่จากรุึนแรงเป็นสันติ มองขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา สร้างองค์ความรู้สันติวิธี ทักษะการใช้การไกล่เกลี่ย และสร้างเครือข่ายระดับสากล
    2. วิธีการ คือ เริ่มจากผู้นำสร้างโครงสร้างสันติภาพในยุค New Normal โดยหาต้นแบบจากพื้นที่ขัดแย้ง นำนักการเมืองมาอบรม เปลี่ยนแนวการอภิปราย อย่าใช้อำนาจทางกาย แต่ใช้อำนาจทางสติปัญญาและอำนาจทางวัฒนธรรมมากขึ้นตามแนวปัญจพละนายแพทย์ประเวศ วะสี สอดคล้องกับพละ 5 ในพระพุทธศาสนาคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มองความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ สร้างสันติภาพออนไลน์ เจรจาสันติภาพออนไลน์ ลงพื้นที่เจรจาออนไลน์คือเพจไลท์ นำแฟลตม็อบเป็นเครือสร้างสันติภาพ เป็นต้น

    ที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/194187
     

แชร์หน้านี้

Loading...