สรรพคุณสมุนไพรไทย 200 ชนิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤศจิกายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด

    ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด

    ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

    บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ

    จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก....
    http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน

    [​IMG]


    การปรับปรุงดินโดยทั่วไป พืชแต่ละชนิดต้องการลักษณะของดินในการเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน พืชบางชนิดชอบดินที่ดอน แต่พืชบางชนิดชอบดินที่มีน้ำขัง การปรับปรุงดินให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วการปรับปรุงดินทำได้ดังนี้คือการปรับปรุงดินในที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นบางฤดู ถ้าต้องการจะปลูกพืชไร่ ทำได้ 2 วิธีคือ

    1. ขุดคูทำคันดินรอบบริเวณที่ต้องการปลูกพืช เมื่อฝนตกน้ำท่วมก็สูบน้ำออก โดยสูบน้ำให้ได้ระดับน้ำต่ำกว่าผิวดินมากๆ ก็สามารถปลูกพืชไร่ได้ตามต้องการ เช่น ที่บริเวณเกษตรกลางบางเขน

    2. ถมดินให้สูงขึ้นกว่าระดับน้ำ แล้วปลูกพืชที่ต้องการ เช่น ตามริมถนน มักจะถมดินให้สูงขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ริมทาง แต่การถมดินนั้นควรถมให้กว้าง ถ้าถมให้สูงเฉพาะตรงต้นไม้ ดินจะรับน้ำที่รดไว้ไม่พอกับปริมาณที่ต้นไม้ต้องการ

    การปรับปรุงดินที่มีน้ำใต้ดินสูง ทำให้ได้การฝังท่อระบายน้ำซึ่งท่อระบายน้ำนี้จะต้องทำด้วยดินเผา ตรงหัวต่อของท่อกลบด้วยทรายหยาบเพื่อทำให้น้ำซึมผ่านได้สะดวก ท่อระบายน้ำที่ฝังลงไปลึกให้พ้นจากเขตไถพรวน และจะต้องวางท่อให้ห่างกันพอเหมาะ โดยดินทรายวางให้ห่างๆ กันได้ แต่ถ้าเป็นดินเนื้อละเอียด จะต้องวางท่อให้ถี่เข้า เมื่อน้ำระบายออกจากท่อลงในลำคลองหรือร่องน้ำ แล้วสูบออก เช่น ในประเทศฮอลแลนด์เขาสูบน้ำโดยใช้กังหันลม

    ดินเปรี้ยวหรือดินกรด ดินโดยทั่วไปมักจะเป็นดินกรดอ่อนๆ แต่มีบางแห่งที่เป็นกรดจัดมาก จนปลูกพืชอะไรไม่ขึ้น ดินกรดนี้เกิดจากเหตุดังนี้คือ
    1. เกิดจากหิน หรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
    2. เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์
    3. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด ปรับปรุงแก้ไขได้โดยการใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล แต่จะใส่มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความเป็นกรดของดิน เนื้อดินและอินทรีย์วัตถุในดิน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว การใส่ปูนขาวประมาณ 200 ก.ก. ต่อไร่ ดินหวานหรือดินด่าง คือดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง ซึ่งโดยทั่วไปดินเป็นด่างมักไม่ค่อยพบนอกจากบางแถบของโลก ในเมืองไทยมักพบบ้างแถบภูเขาหินปูน จังหวัดลพบุรี หรือสระบุรี

    ดินด่างเกิดจากเหตุ 2 ประการคือ
    1. เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
    2. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การปรับปรุงแก้ไขดินด่างโดยทั่วไป มักแก้โดยใส่กำมะถันผง แล้วทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ ใส่กำมะถันปริมาณมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับความชื้น ของดินอินทรีย์วัตถุในดินและเนื้อของดิน

    ดินเค็ม คือดินที่มีเกลือแกงปะปนอยู่ในดินเป็นปริมาณมากจนทำให้เกลือแกงเป็นพิษกับต้นพืชบางชนิด ดินเค็มนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุ 3 ประการคือ
    1. เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน เช่น ดินทางภาคอีสาน
    2. เกิดจากเกลือแกงเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น โดยลมพัดเอาไอเกลือมา เช่น ดินแถบชายทะเล หรือน้ำพัดพามา เช่นบางแห่งแถบชายทะเล
    3. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิดเป็นเวลานานๆ แต่มีน้อยมาก การแก้ไขปรับปรุงดินเค็มนั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของการเกิด ถ้าดินเค็มนั้นเกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดินเกลือ มักจะสะสมอยู่ใต้ดินลึกๆ บางแห่งคือ 1,000 - 3,000 เมตร เช่นที่เมืองออสเตรีย ถ้าลึกขนาดนี้ เกลือไม่ขึ้นมาบนผิวดิน มีบางแห่งลึกเพียง 50-60 เมตร เช่น ดินเค็มทางภาคอีสาน เกลือจะละลายน้ำและขึ้นมากับน้ำที่ระเหยไปในอากาศ

    วิธีแก้ไขปรับปรุงดินเค็มชนิดนี้ก็คือ กันไม่ให้น้ำพาเกลือขึ้นมา อาจจะโดยวิธีใดก็ได้ ดินเค็มที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นหรือเกิดจากปุ๋ยเคมีบางชนิด แก้ไขปรับปรุงโดยเอาน้ำจืดชะล้างหรือโดยการปลูกพืชบางชนิดที่สามารถดูดเกลือเข้าไปเป็นปริมาณมากๆ แล้วตัดต้นพืชนั้นออกไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งที่อื่น เช่น การแก้ดินเค็มของประเทศฮอลแลนด์ อย่างนี้เป็นต้น

    ดินจืด คือดินที่ปลูกอะไรไม่ขึ้น เนื่องจากอาหารธาตุที่สำคัญของพืชในดินหมดไปจากดิน เช่น ที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง เมื่อปลูกมันสำปะหลังไปนานๆ แล้วปลูกพืชชนิดอื่นไม่ขึ้น มีทางแก้ไขให้ดินจืดนั้นกลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือไม่ก็เสียเวลานานมากด้วย โดยทั่วไปแล้วการปล่อยให้ดินจืดแล้วจึงแก้ทีหลังนั้นไม่ถูกวิธี ทางที่ถูกวิธีนั้นก็คือ ควรปลูกพืชบำรุงดินสลับกับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ถึงอย่างไรการแก้ไขทำได้ดังนี้คือ
    1. แก้ไขปรับปรุงโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้นว่าโรยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ย กทม. จะต้องใส่ถึง 12 ตันต่อไร่ พร้อมด้วยการเพิ่มปุ๋ยเคมีที่มีโปรแตสสูงๆ เข้าไปด้วย
    2. แก้ไขปรับปรุงโดยการปลูกพืชพวกตระกูลถั่ว อาจเป็นต้นก้ามปู ปลูกให้ถี่ๆ เพื่อทำให้ต้นก้ามปูตั้งตรงสูง ทิ้งไว้ 10-20 ปี เมื่อตัดต้นก้ามปูไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว จึงหันมาปลูกมันสำปะหลังใหม่
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปรับปรุงดินเพื่อปลูกต้นไม้ในบริเวณที่อยู่อาศัย

    ดินในบริเวณที่อยู่อาศัยแถบที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ นี้ จะต้องมีการถมดินให้สูงเพื่อปลูกที่อยู่อาศัย ดินที่ใช้ถมที่มักจะเป็นดินที่นำมากจากบริเวณรอบกรุงเทพฯ นี้เอง ซึ่งพอจะแบ่งชนิดของดินออกได้ดังนี้คือ

    ดินที่ใช้ถมที่เป็นดินชั้นบน คือ หน้าดิน เป็นดินที่ขุดมาจากท้องนาตรงผิวๆ ดิน ดินนี้มีสีดำเข้ม มองเห็นแตกต่างจากดินชั้นบนอย่างเด่นชัด แต่ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมีอาหารธาตุของพืช เป็นต้นว่า N , P และ K สูง ดินนี้ลึกประมาณ 6-8 นิ้ว หรือหนึ่งหน้าจอบ โดยทั่วๆ ไปดินชนิดนี้ไม่มีปัญหาในการปลูกพืชทั้งไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก นอกจากดินบางแห่งซึ่งเป็นดินกรด จัดเป็นดินเปรี้ยว สังเกตการเป็นดินกรดจัดได้โดยดูจากพืชไม่ยอมขึ้น หรือก็ไม่งาม หรือหลังจากฝนตกใหม่ๆ ถ้าแรกน้ำที่ขังอยู่ใสสะอาดดี แสดงว่าดินนั้นเป็นดินกรดจัด ดินชนิดนี้จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุง จึงจะใช้ปลูกพืชได้

    ดินที่ใช้ถมเป็นดินชั้นล่าง ซึ่งโดยทั่วไปดินชั้นล่างมักจะมีสีจางกว่าดินชั้นบน อาหารธาตุของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนมีน้อยกว่าดินชั้นบนและมีไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืช P และ K มีอยู่ในดินชั้นล่างเหนือดินชั้นบน แต่ดินชั้นล่างมีสีดำจัดก็มีลักษณะ หรือคุณสมบัติเหนือดินบน แต่ถ้าดินชั้นล่างนั้นเป็นดินที่มีสีแดงปนน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอยู่ทั่วๆ ไป ดินชนิดนี้มักเป็นดินที่มีกรดจัด ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช นอกจากนั้นแล้ว อาหารธาตุของพืชพวก N , P และ K ต่ำ และมีสารพวกอลูมิเนียมละลายออกมามากถึงกับเป็นพิษกับต้นพืชไม้ยืนต้น ไม้ดอกประดับ และหญ้าแทบจะไม่ขึ้น จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นอย่างดี จึงจะใช้ปลูกพืชต่างๆ ได้

    ดินที่ใช้ถมที่เป็นทรายขี้เป็ด หรือทรายละเอียด ทรายชนิดนี้ประชาชนนิยมใช้ถมที่กันมาก เพราะราคาถูก ถมแล้วไม่ยุบ ดีมากสำหรับสิ่งปลูกสร้าง แต่สำหรับการเกษตรแล้วไม่ดีเลย ดินชนิดนี้มีอาหารธาตุของพืชต่ำมาก หรืออาจไม่มีเลยก็เป็นได้ การที่จะใช้ดินชนิดนี้ปลูกพืชในบริเวณบ้านจะต้องมีการปรับปรุงเป็นอย่างมาก หรือถ้าจะให้ดีควรถมทรายเฉพาะตรงที่ที่จะปลูกสิ่งก่อสร้างหรือทางรถยนต์ในบ้าน ที่อื่นๆ ควรจะถมด้วยหน้าดินหรือดินชั้นบน อย่างน้อยจะต้องถมหน้าดินสูงสักหนึ่งฟุตถึงครึ่งเมตร

    ดินที่ถมด้วยเศษเหลือจากสิ่งก่อสร้าง เป็นต้นว่าซีเมนต์ที่ใช้โบกผนัง ที่ตกลงมาแห้งกับพื้น หรือวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้างอื่นๆ วัสดุนี้ถ้าใช้ถมที่แล้ว ปลูกพืชจะมีปัญหามาก แต่ถ้าถมที่แล้ว ถมดินทับด้วยดินชั้นบนให้สูงสักหนึ่งฟุต หรือครึ่งเมตรก็จะหมดปัญหาไป

    ดินที่ถมด้วยเลนตามท่องร่องสวน ดินที่ลอกท้องร่องนี้มักเป็นดินที่มีเศษเหลือของพืชและสัตว์เน่าเปื่อยผุพังทับถมกันอยู่เป็นเวลานาน การเน่าเปื่อยผุพังจวนจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เมื่อลอกท้องร่องขึ้นมาถมที่ก็สามารถปลูกพืชได้เลย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเตรียมดินปลูกพืช

    ไม้ยืนต้น ได้แก่ มะนาว มะพร้าว ลำไย ชมพู่ มะละกอ ฯลฯ การเตรียมดินปลูกพืชแต่ละชนิดแตกต่างกัน แต่ถึงอย่างไรก็ดี การเตรียมดินปูลกพืชนี้มีความสำคัญมาก ถ้าเตรียมดินไม่ดี จะทำให้ต้นพืชตกผลช้า แต่ถ้าเตรียมดินดีแล้วจะทำให้พืชเจริญเติบโตดี ตกผลเร็ว การเตรียมดินปลูกพอจะกล่าวรวมๆ ได้ดังนี้

    หลุมปลูก เตรีมหลุมปลูกพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ยืนต้นควรขุดหลุมให้ลึก กว้างยาวประมาณ 1 เมตร เมื่อเอาดินขึ้นมาตากแดด ตากแดดทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วให้เอาขยะหรือเศษเหลือของพืชหรือขี้เถ้า หรือไม่ก็ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเทศบาล หรือปุ๋ยหมัก ใส่ลงไปปนกับดินที่ขุดตากแดดไว้ ถ้าเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล 1 ส่วน ควรจะเป็นดิน 5-6 ส่วน ถ้าเป็นเศษเหลือของพืช ควรจะ 1 ส่วน ต่อดิน 3-4 ส่วน ให้ดินผสมกันลงไปในหลุม ถ้าได้เศษเหลือจากโรงฆ่าสัตว์ มาใส่ปนกับดินก็ยิ่งดี เมื่อกลบดินหมดแล้ว ดินนั้นจะพูนเป็นกองสูงขึ้นมา ซึ่งทิ้งไว้นานๆ จะยุบทีหลัง ตรงกลางกองดินควรทำเป็นหลุมไว้ เมื่อกลบดินเสร็จแล้วควรปล่อยทิ้งไว้สัก 2 อาทิตย์จึงลงมือปลูก

    การเตรียมดิน ทำหลุมปลูกนี้ ถ้าดินนั้นถมด้วยดินชั้นบนหรือหน้าดิน ไม่จำเป็นต้องทำหลุมปลูกก็ได้ เพราะดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว แต่ถ้าถมด้วยทรายขี้เป็ดหรือดินชั้นล่างที่มีปัญหานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำหลุมปลูก

    การปลูก ถ้าเป็นต้นไม้ที่อยู่ในกระถาง ถ้าไม่อยากทุบกระถาง เอาต้นไม้ออกจากกระถางได้โดยเอากระถางได้โดยเอากระถางไปแช่ในน้ำ เพื่อให้ดินร่อนจากกระถาง และทิ้งไว้สัก 5 นาที แล้วยกกระถางออกจากน้ำ ตั้งทิ้งไว้สัก 5 นาที เอามือตบรอบๆ กระถางเบาๆ กางมือขวาออก เอามือซ้ายจับกระถางไว้ แล้วคว่ำลงบนฝ่ามือ ให้ต้นไม้อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง เอาหัวแม่มือซ้ายสอดเข้าไปตรงรูระบายน้ำก้นกระถาง ดันให้ดินหลุดออกจากกระถาง แล้วยกกระถางออก แต่ถ้าเป็นกระถางปากแคบ ควรจะขุดดินข้างๆ ปากกระถางออกเสียก่อน เพื่อทำให้ดินหลุดออกจากกระถางได้ง่ายเข้า แล้วยกต้นไม้ไปวางบนหลุมกลางกองดินที่ทำไว้ กลบดินให้ท่วมรากต้นไม้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม เป็นเสร็จการปลูก

    ถ้าเป็นกิ่งตอนที่เพิ่งตัดมาใหม่ๆ ก็ควรปลูกใส่กระถางไว้ในที่ร่มหรือที่มีแสงรำไรเสียก่อน จึงนำไปปลูกทีหลัง จะทำให้ต้นไม้นั้นมีทางรอดตายมากกว่า หรือถ้ามีความจำเป็นต้องรีบปลูก ก็ควรเอากิ่งตอนนั้นไปชำเสียก่อน เพื่อให้รากออกมากๆ และแข็งแรงเสียก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในหลุมปลูกที่เตรียมไว้

    ควรทำร่มบังแสงแดดจัด ตอนกลางวันให้กับต้นไม้ เพราะถ้าต้นไม้ได้รับแสงแดดจัด ต้นไม่ลดอุณหภูมิลงโดยการคายน้ำ ขณะที่ปลูกใหม่ๆ ต้นพืชดูดน้ำไม่ค่อยดี เพราะรากของพืชสัมผัสกับดินไม่ค่อยดี การทำให้รากพืชสัมผัสกับดินให้ดีได้ดังนี้ก็คือ กดดินให้แน่นขณะปลูก หรือรดน้ำให้โชกเพื่อให้ดินติดกับรากพืชได้สนิท ถ้าไม่แน่ใจว่ารากพืชสัมผัสกับดินดีก็ควรจะทำร่มกันแดดให้กับต้นพืช เพื่อลดการคายน้ำของต้นพืช การตัดใบออกบ้าง หรือตัดยอดอ่อนออกบ้าง เป็นทางหนึ่งที่จะลดการสูญเสียน้ำของพืช ถ้าเป็นไม้กระถางที่แข็งแรงแล้วและมีดินติดไปมากขณะย้ายปลูก ไม่มีความจำเป็นจะต้องพลางแสงแดดให้ แต่ถ้าเป็นกิ่งตอนมีความจำเป็นมาก มะม่วงชอบดินที่มีการระบายน้ำดี แต่ชมพู่น้ำขังกลับดี มะละกอน้ำขังได้ไม่เกิน 1 วัน จะต้องตาย ดังนั้นมะละกอควรจะปลูกที่สูงๆ หรือเนินดิน ชมพู่ควรปลูกที่ต่ำริมน้ำ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเตรียมดินปลูกหญ้า

    [​IMG]

    การเตรียมดินปลูกหญ้าทำสนามหญ้าในบ้าน ก่อนอื่นทั้งหมดควรเกลี่ยดินให้เรียบที่สุดที่จะทำได้ ไม่ควรทำที่ดินให้สูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ เพราะจะทำให้การตัดหญ้าลำบาก ถ้าเกลี่ยดินลำบากก็ควรเอาทรายช่วยถมที่ลุ่มๆ ดอนๆ แล้วเกลี่ยดินให้เรียบ แต่ที่สำคัญไม่ควรให้ควรให้ทรายมากนัก เมื่อเกลี่ยดินเรียบร้อยแล้วโรยปุ๋ยเทศบาลหรือปุ๋ยคอกให้สม่ำเสมอทั้งบริเวณ ปุ๋ยเทศบาลควรจะสักหนึ่งบุ้งกี๋ต่อดินต่อพื้นที่ 2-3 ตารางเมตร ถ้าจะใช้เลนตมเกลี่ยให้เรียบก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล เมื่อโรยปุ๋ยแล้วเอาแผ่นหญ้ามาปู หรือถ้าจะปลูกหญ้าเป็นหย่อมๆ ก็ควรปลูกห่างกันพอควร พยายามกดหญ้าให้ติดกับดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นต้องรดน้ำให้ชุ่มทุกวันจนหญ้าขึ้นเขียว จึงค่อยลดการรดน้ำ ควรเก็บและถอนวัชพืชออกจากสนามหญ้าอย่างสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่ใช้มีปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หว่านปุ๋ยในอัตรา หนึ่งกำมือต่อพื้นที่ 3-4 ตารางเมตร ควรใส่ปุ๋ย 5-6 เดือนต่อครั้ง แล้วฉีดน้ำตามเพื่อให้ปุ๋ยละลายลงไปในดิน ถ้าไม่รดน้ำตาม เมื่อปุ๋ยถูกความชื้น จะทำให้ปุ๋ยทำลายหญ้าไหม้เป็นจุดๆ ไม่สวย ถ้าตัดหญ้าทุกอาทิตย์แล้วปล่อยใบหญ้าที่ตัดออกทิ้งไว้ในสนามเพื่อเป็นปุ๋ยก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยให้กับสนามหญ้า แต่ถ้า 3-4 อาทิตย์ตัดหญ้าครั้งหนึ่ง ไม่แนะนำให้ปล่อยหญ้าไว้ในสนาม เพราะมองดูแล้วไม่สวยงาม
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเตรียมดินปลูกไม้กระถาง

    [​IMG]


    ดินปลูกไม้กระถางมีส่วนผสมดังนี้คือ

    ดิน ถ้าเป็นดินเหนียวก็ควรจะตากแดด และทุบให้เป็นก้อนเล็กๆ ปกติดินเหนียวเมื่อแห้งจะแข็งมาก ทุบให้เป็นก้อนเล็กๆ ได้ลำบาก ทำให้แตกออกเป็นก่อนได้ง่ายขึ้นก็โดยเอาปูนขาวโรยปนกับดินเหนียวขณะที่ดินยังเปียกอยู่ กะประมาณปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อดินเหนียว 1 ลูกบาศก์เมตร แล้วปล่อยตากแดดตากฝนไว้สัก 3-4 อาทิตย์ เมื่อดินแห้งแล้วจะร่วน โดยดินนั้นจะแตกออกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย ไม่จำเป็นต้องทุบ

    ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเทศบาล ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหลาย ควรทุบให้ละเอียด

    อินทรีย์วัตถุ ได้แก่ ขี้กบ เปลือกถั่วลิสงบด แกลบ ปุ๋ยเปลือกมะพร้าว หรือใบไม้แห้ง

    อัตราส่วนผสม ดิน 2 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน หรืออินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน เมื่อผสมให้เข้ากันดีแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วจึงบรรจุลงในกระถางและปลูกพืชได้เลย ก่อนบรรจุดินลงในกระถาง ควรจะเอากระเบื้องแตกหรือกระถางแตกชิ้นเล็กๆ ปิดตรงช่องระบายน้ำ แล้วกลบด้วยทรายหยาบแล้วจึงบรรจุดิน หลังจากปลูกแล้วควรจะวางกระถางไว้ในที่มีแสงแดดรำไร เพื่อให้ต้นไม้ตั้งตัว แล้วจึงนำเอาไปวางไว้ในที่ที่ต้องการ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเตรียมดินปลูกบัว

    [​IMG]


    ใช้ดินที่เตรียมไว้สำหรับปลูกไม้กระถางมา 4 ส่วน ปุ๋ยคอกควรจะเป็นมูลวัว หรือมูลควายที่แห้งและทุบให้ละเอียด 1 ส่วน ผสมกันให้ดี รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่มทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ แล้วจึงบรรจุกระถาง เติมน้ำให้ท่วม และปลูกบัวได้เลย
    ถ้าบัวที่ปลูกไม่ค่อยงาม แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยบัว ถ้าใส่ปุ๋ยบัว โดยเอาปุ๋ยเคมีโรยลงไปในน้ำจะทำให้สาหร่ายขึ้นเขียวไม่สวย ทำได้โดยเอาปุ๋ย ที่มีอัตราส่วนของปุ๋ย N.P.K. เท่ากับ 1:1:1 หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็ได้ ปุ๋ย 1 ชา ฝังลงไปในดินเหนียว ปั้นให้กลม ตากให้แห้ง แล้วจึงนำไปฝังในอ่างบัว ปกติดอกบัวจะบานประมาณ 3 วัน แต่ถ้าดอกบัวบานใช้เวลาน้อยกว่านั้น แสดงว่าบัวมีอาหารไม่เพียงพอ ก็ควรจะฝังลงไปในอ่างบัวได้
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร

    [​IMG]

    การขยายพันธุ์ คือ การสืบพันธุ์ของต้นไม้โดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ด การแตกหน่อ แตกตา ใช้ไหล หรือเง่าของพืช การขยายพันธุ์พืชทำให้เพิ่มจำนวนของพืชมากขึ้น การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

    การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ คือการนำเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ไปเพาะเป็นต้นกล้าให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป ซึ่งลักษณะต้นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมีลักษณะที่ดีกว่าเดิมหรือเลวกว่าเดิมก็ได้

    วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนี้ มีข้อดีคือ พืชมีรากแก้ว เป็นวิธีที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์พืชจำนวนมาก มีวิธีการและขั้นตอนไม่มากนัก แต่มีข้อเสียที่กลายพันธุ์ได้ ต้นใหญ่ และกวาจะออกผลต้องใช้เวลานาน พืชสมุนไพรหลายชนิดเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้ เช่น คูน ยอ และฟ้าทะลายโจร วิธีการที่สะดวกและนิยมกันมาก คือการเพาะใส่กระถางหรือถุงพลาสติก วัสดุที่ใช้คือ ขี้เถ้าแกลบดำ ทรายหยาบ หรือดินปนทราย แต่ที่เหมาะที่สุดคือขี้เถ้าแกลบดำ เพราะขี้เถ้าแกลบดำไม่จับตัวแข็ง ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี แดดส่องสะดวก ถุงพลาสติกที่ใช้ต้องเจาะรูให้น้ำไหลได้ วิธีทำโดยใส่ถ่านแกลบลงในถุงพลาสติก เสร็จแล้วล้างถ่านแกลบด้วยน้ำเพื่อให้หมดด่างเสียก่อน ถ้าหากไม่ใช้ถ่านแกลบดำ จะใช้ดินร่วนปนทราย โดยใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมให้เข้ากันดี หยอดเมล็ดให้ลึกพอประมาณ 2-3 เมล็ด (ถ้าเมล็ดใหญ่ใช้ 1 เมล็ด) ดูอย่าให้แดดจัด รดน้ำพอประมาณวันละครั้ง อย่าให้น้ำขัง เมล็ดจะเน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ถูกแดดบ้าง เมื่อต้นเจริญเติบโตพอควรก็แยกไปปลูกในที่ที่ต้องการได้

    การขยายพืชโดยไม่อาศัยเพศ คือการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น กิ่ง หน่อ หัว ใบ เหง้า ไหล เป็นต้น โดยนำไปชำ ตอน แบ่งแยก ติดตา เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้

    ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ คือไม่กลายพันธุ์ สะดวกต่อการดูแลรักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น

    วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่น หากสนใจ สามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร

    2.1 การแยกหน่อ หรือ กอ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย กล้วย ตะไคร้ ขิงข่า เตย ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ ทำได้โดยก่อนแยกหน่อ จะต้องเลือกหน่อที่แข็งแรง มีใบ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเพื่อให้ดินนุ่ม ขุดแยกออกมาอย่างระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกมาแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย นำหน่อที่แยกตัดรากที่ช้ำ หรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงแปลงก็บังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง ดูแลอย่าให้น้ำขัง

    2.2 การปักชำ พืชสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว ขลู่ ดีปลี ปักชำได้ง่าย โดยใช้ลำต้นหรือกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกรที่คม ตัดเฉียงโดยให้กิ่งชำมีตาติดอยู่สัก 3-4 ตา ตัดแล้วริดใบออก ให้เหลือใบแต่น้อย ใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดกันเชื้อรา นำไปปักลงบนกระบะที่บรรจุถ่านแกลบดำ หรือดินร่วนปนทราย ผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด การปัก ให้ปักตรงๆ ลงไปในดิน ไม้ใหญ่ปักห่างกันหน่อย ไม้เล็กปักถี่หน่อย กลบดินให้แน่น ไม่ให้โยกคลอน การรดน้ำให้สม่ำเสมอ และอย่าให้แฉะ และอย่ารดน้ำแรง จะทำให้กิ่งโยกคลอน เมื่อรากแตกและมีใบเจริญขึ้น ก็ย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมดินไว้
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร

    หลักการทั่วไปของการปลูกและบำรุงรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพร ไม่แตกต่างกัน แต่ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพร จะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพรต้องการการปลูกและบำรุงรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรราชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่น ว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือต้นเหงือกปลาหมอชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลน และที่ดินกร่อยชุ่มชื้นเป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะกับพืชสมุนไพร ก็จะเจริญเติบโตได้ เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย

    การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิด จะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทย หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีงานวิจัยด้านนี้อยู่บ้างและกำลังค้นคว้าต่อไป

    การปลูก เป็นการนำเอาส่วนของพืช เช่น เมล็ด กิ่ง หัว ผ่านการเพาะหรือการชำ หรือวิธีการอื่นๆ ใส่ลงในดิน หรือวัสดุอื่นเพื่องอกหรือเจริญเติบโตต่อไป การปลูกทำได้หลายวิธีคือ

    การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง วิธีนี้ไม่ต้องเพาะเป็นต้นกล้าก่อน นำเมล็ดมาหว่านลงแปลงได้เลย หลังจากนั้นใช้ดินร่วนหรือทรายหยาบโรยทับบางๆ รดน้ำให้ชื้นตลอดทุกวัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนจึงถอนต้นที่อ่อนแอออกเพื่อให้มีระยะห่างตามสมควร ปกติมักใช้ในการปลูกผักหรือพืชล้มลุกและพืชอายุสั้น เช่น กะเพรา โหระพา ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรงมักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ เช่น ฟักทอง ละหุ่ง โดยหยอดในแต่ละหลุมมากว่าจำนวนต้อนที่ต้องการ แล้วถอนออกภายหลัง

    การปลูกด้วยต้นกล้าหรือกิ่งชำ ปลูกโดยการนำเมล็ด หรือกิ่งชำปลูกให้แข็งแรงดีในถุงพลาสติกหรือในกระถาง แล้วย้ายปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ การย้ายต้นอ่อนจากภาชนะเดิมไปยังพื้นที่ที่ต้องการ ต้องไม่ทำลายราก ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็ใช้มีดกรีดถุงออก ถ้าเป็นกระถาง ถอดกระถางออกโดยใช้มือดันรูกลมที่ก้นกระถาง ถ้าดินแน่นมาก ให้ใช้เสียมเซาะดินแล้วใช้น้ำหล่อก่อน จะทำให้ถอนง่ายขึ้น หลุมที่เตรียมปลูกควรกว้างกว่ากระถางหรือถุงพลาสติกเล็กน้อย จึงทำให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้สะดวก วางต้นไม้ให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับของขอบหลุมพอดี แล้วกลบด้วยดินร่วนซุย หรือดินร่วมปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษไม้ใบหญ้ามาคลุมไว้รอบโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันแรงกระแทกเวลารดน้ำ หาไม้หลัก ซึ่งสูงมากกว่าต้นไม้มาปักไว้ข้างๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้ คอยพยุงมให้ต้นไม้ล้มหรือโยกคลอนได้ ปกติใช้กับต้นไม้ยืนต้น เช่น คูน แคบ้าน ชุมเห็ดเทศ สะแก ขี้เหล็ก เป็นต้น หรือใช้กับพันธุ์ไม้ที่งอกยากหรือมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องเพาะเมล็ดก่อน

    การปลูกด้วยหัว ปกติจะมีหัวที่เกิดจากราก และลำต้น เรียกชื่อแตกต่างกัน ในที่นี้จะรวมเรียกเป็นหัวหมด โดยไม่แยกรายละเอียดไว้ สำหรับการปลูกไม้ประเภทหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำได้ดี มิฉะนั้นจะเน่าได้ การปลูกโดยการฝังหัวให้ลึกพอประมาณ (ปกติลึกไม่เกิน 3 เท่าของความกว้างหัว) กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟาง หรือหญ้าแห้ง เช่น การปลูกหอม กระเทียม

    การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ปลูกโดยอาศัยหน่อหรือเหง้า อ่านรายละเอียดในการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ข้อ 2.1

    การปลูกด้วยไหล ปกตินิยมเอาส่วนของไหลมาชำไว้ก่อน จะย้ายปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้อีกครั้งหนึ่ง เช่น บัวบก แห้วหมู

    การปลูกด้วยจุก หรือตะเกียง โดยการนำจุกหรือตะเกียงมาชำในดินที่เตรียมไว้ โดยใช้ตะเกียงตั้งขึ้นตามปกติ กลบดินเฉพาะด้านล่าง เช่น สับประรด

    การปลูกด้วยใบ เหมาะสำหรับพืชที่มีใบหนาใหญ่ และแข็งแรง คล้ายกับการปลูกด้วยส่วนของกิ่งและลำต้น คือการตัดใบไปปักหรือวางบนดินที่ชุ่มชื้นให้เกิดต้นใหม่ เช่น ว่านลิ้นมังกร

    การปลูกด้วยราก โดยตัดส่วนของรากไปปักชำให้เกิดต้นใหม่ขึ้น เช่น ดีปลี เป็นต้น

    การบำรุงรักษา เป็นการกระทำให้พันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้เจริญงอกงามต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

    การพรางแสง พันธุ์ไม้ต้องการแสงน้อยหรือพันธุ์ไม้ที่ยังอ่อนแออยู่ ควรจะได้มีการพรางแสง หากต้องปลูกพืชดังกล่าวในที่โล่งเกินไป การพรางแสงปกติจะทำชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนพืชนั้นตั้งตัวได้ แต่ถ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงน้อย ก็ต้องมีการพรางแสงไว้ตลอดเวลา หรือปลูกใต้ต้นไม้ที่ให้ร่มเงาได้จะเหมาะสมกว่า
    การให้น้ำ ปกติการปลูกควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้น้ำ สำหรับการให้น้ำจะต้องพิจารณาลักษณะของพืชแต่ละชนิดประกอบด้วยว่า ต้องการน้ำมากหรือน้อย จึงจำเป็นต้องศึกษาลักษณะของพันธุ์ไม้ที่ปลูกบ้างตามสมควร แต่โดยหลักการแล้ว เมื่อปลูกต้นไม้ใหญ่ๆ ก็ควรจะให้น้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ปกติให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง แต่หากพิจาณาเห็นว่าแฉะเกินไปก็เว้นช่วงได้ หรือหากแห้งเกินไปก็ต้องให้น้ำเพิ่มเติม คือต้องคอยสังเกตด้วย ทั้งนี้เพราะแต่ละท้องที่จะมีสภาพดินและอากาศแตกต่างกัน ส่วนการให้น้ำก็ต้องให้จนกว่าพืชจะตั้งตัวได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด แต่ก็พอสังเกตจากลักษณะของพืชนั้นได้ หากแสดงลักษณะเหี่ยวเฉาก็แสดงว่ายังตั้งตัวไม่ได้

    การระบายน้ำ จะต้องหาวิธีการที่จะต้องระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้ได้ ถ้าฝนตกน้ำท่วม โคนพืชที่ปลูกไว้ เพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบรากของพืชได้ ทั้งนี้อาจทำโดยการยกร่องปลูก หรือพูนดินให้สูงขึ้นก่อนปลูก ก็จะช่วยแก้ปัญหาน้ำขังได้ถ้ามีปัญหา

    การพรวนดิน จะช่วยทำให้ดินร่วนซุยเก็บความชื้นดี การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศเป็นไปได้ดี อีกทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย จึงควรมีการพรวนดินให้พืชที่ปลูกบ้างเป็นครั้งคราว แต่พยายามอย่าให้กระทบกระเทือนรากมากนัก และควรพรวนในขณะที่ดินแห้งพอควร

    การให้ปุ๋ย ปกติจะให้ก่อนปลูกอยู่แล้ว โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ) รองก้นหลุม แต่เนื่องจากมีการสูญเสียไปและพืชนำไปใช้ด้วย จึงจำเป็นต้องใส่เพิ่มเติมโดยอาจจะใส่ก่อนฤดูฝน 1 ครั้ง และใส่หลังฤดูฝน 1 ครั้ง ซึ่งอาจใส่แบบเป็นแถวระหว่างพืชหรือหว่านทั่วแปลง หรือใส่รอบๆ โคนต้น บริเวณของทรงพุ่ม หรือใช้ปุ๋ยเกล็ดผสมน้ำฉีดให้ทางใบ

    การบำรุงรักษาพืชสมุนไพรควรหลีกเลี่ยงสารเคมี ไม่ว่าด้านการให้ปุ๋ยหรือการกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช เนื่องจากสารเคมีอาจมีผลทำให้ปริมาณสาระสำคัญในสมุนไพรเปลี่ยนแปลง หรืออาจมีพิษตกค้าง เป็นอันตรายต่อการใช้สมุนไพร ควรจะเลือกวิธีดูแลรักษาให้เป็นไปตามธรรมชาติให้มากที่สุด
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา

    ยาสมุนไพรเป็นส่วนประกอบที่ได้มาจากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญก็คือ "ช่วงเวลาที่เก็บยาสมุนไพร" การเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะมีผลต่อฤทธิ์การรักษาโรคของยาสมุนไพรได้ นอกจากคำนึงถึงช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงว่าเก็บยาถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหนของพืชที่ใช้เป็นยา เป็นต้น พื้นดินที่ปลูก อากาศ การเลือกเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาอย่างถูกวิธีนั้น จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรค หากปัจจัยดังกล่าวเปลี่ยนไป ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ทำให้ยานั้นไม่เกิดผลในการักษาโรคได้

    หลักทั่วไปในการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร แบ่งโดยส่วนที่ใช้เป็นยาดังนี้

    ประเภทรากหรือหัว เก็บในช่วงที่พืชหยุดเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะเหตุว่าในช่วงนี้ รากและหัวมีการสะสมปริมาณของตัวยาไว้ค่อนข้างสูง

    ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด หรือบางชนิดอาจระบุช่วงเวลาการเก็บชัดเจน เช่น เก็บใบไม้อ่อนหรือไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เก็บช่วงดอกตูมเริ่มบาน หรือช่วงที่ดอกบาน เป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ เพราะช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุด วีธีการเก็บใช้วิธีเด็ด ตัวอย่างเช่น กระเพรา ขลู่ ฝรั่ง ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น

    ประเภทเปลือกต้นและเปลือกราก เปลือกต้นโดยมากเก็บระหว่างช่วงฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน ปริมาณยาในพืชสูงและลอกออกง่าย สำหรับการลอกเปลือกต้นนั้น อย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้น เพราะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืช อาจทำให้ตายได้ ทางที่ดีควรลอกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย ไม่ควรลอกจากลำต้นใหญ่ของต้นไม้ หรือจะใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกราก เก็บในช่วงต้นฤดูฝนเหมาะที่สุด เนื่องจากการลอกเปลือกต้นหรือเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช ควรสนใจวิธีการเก็บที่เหมาะสม

    ประเภทดอก โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น

    ประเภทผลและเมล็ด พืชสมุนไพรบางอย่างอาจเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่ง เก็บผลอ่อน ใช้แก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้งต้น มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทอง เมล็ดชุมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น

    นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ตามการถ่ายทอดประสบการณ์ของแพทย์ไทยโบราณนั้น ยังมีการเก็บยาตามฤดูกาล วัน โมงยาม และทิศอีกด้วย เช่น ใบควรเก็บในตอนเช้าวันอังคาร ฤดูฝนทางทิศตะวันออก เป็นต้น อย่างไรก็ตามในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้หลักการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพรข้างต้น นอกจากนี้ท่านผู้ศึกษาการเก็บและการใช้สมุนไพร สามารถเรียนรู้ได้จากหมอพื้นบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งมีประสบการณ์เก็บยาและการใช้ยามาเป็นเวลาช้านาน

    วิธีการเก็บสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น โดยทั่วไปไม่มีอะไรสลับซับซ้อน ประเภทใบ ดอก ผล ใช้วิธีเด็ดแบบธรรมดา ส่วนแบบราก หัว หรือเก็บทั้งต้น ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อประกันให้ได้ส่วนที่เป็นยามากที่สุด สำหรับเปลือกต้นหรือเปลือกราก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของต้นพืช ดังนั้นจึงควรสนใจวิธีการเก็บดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    คุณภาพของยาสมุนไพรจะใช้รักษาโรคได้ดีหรือไม่นั้น ที่สำคัญอยู่ที่ช่วงเวลาการเก็บสมุนไพร และวิธีการเก็บ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือ พื้นที่ปลูก เช่น ลำโพง ควรปลูกในพื้นดินที่เป็นด่าง ปริมาณของตัวยาจะสูง สะระแหน่หากปลูกในที่ดินทราย ปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะสูง และยังมีปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต ภูมิอากาศ เป็นต้น ต่างก็มีผลต่อคุณภาพสมุนไพรทั้งนั้น ดังนั้นเราควรพิจารณาหาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนที่จะเก็บยาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร

    1.ควรเริ่มใช้สมุนไพรที่เป็นอาหารก่อน และควรรู้พิษยาก่อนใช้ รู้ข้อห้ามใช้ เพราะยาบางชนิดมีข้อห้ามใช้กับคนบางคน บางโรค เมื่อรู้สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การใช้ยาปลอดภัยขึ้น

    2.ถ้ายาใดไม่เคยกินมาก่อน ควรเริ่มกินในขนาดน้อยๆ ก่อน เช่น กินเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่กำหนดไว้ ถ้าร่างกายไม่มีอะไรผิดปกติจึงค่อยกินต่อไป

    3.อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป เช่น ยาใช้ต้มกินต่างน้ำ ไม่ควรใช้ต้มเคี่ยวกินยาเข้มข้นเกินไป จนทำให้เกิดพิษได้

    4.คนที่อ่อนเพลียมาก เด็กอ่อน คนชรา ห้ามใช้ยามาก เพราะคนเหล่านี้ มีกำลังต้านทานยาน้อย จะทำให้เกิดพิษได้ง่าย

    5.โดยทั่วๆ ไป เมื่อกินยาสมุนไพรแล้ว 1 วัน อาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา แต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะ หืด ฯลฯ เมื่อใช้ยาสมุนไพร 1 อาทิตย์แล้ว อาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด : กระเจี๊ยบแดง

    [​IMG]

    [​IMG]

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

    ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

    วงศ์ : Malvaceae

    ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

    สรรพคุณ :

    กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

    เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

    ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

    น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

    ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

    น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

    ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

    เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

    เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

    ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

    เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

    นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
    นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
    สารเคมี
    ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
    คุณค่าด้านอาหาร
    น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
    น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด : คำฝอย

    [​IMG]

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.

    ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle

    วงศ์ : Compositae

    ชื่ออื่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

    สรรพคุณ :

    ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
    - รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
    - บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
    - โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
    - ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน

    เกสร
    - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี

    เมล็ด
    - เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
    - ขับโลหิตประจำเดือน
    - ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร

    น้ำมันจากเมล็ด
    - ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ

    ดอกแก่
    - ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
    สารเคมี
    ดอก พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
    เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
    คุณค่าด้านอาหาร
    ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
    ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
    ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด : เสาวรส

    [​IMG]

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora laurifolia L.

    ชื่อสามัญ : Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla

    วงศ์ : Passifloraceae

    ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง

    สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : กุ่มบก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

    ชื่อสามัญ : Sacred Barnar, Caper Tree

    วงศ์ : Capparaceae

    ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ

    สรรพคุณ :

    ใบ - ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก

    เปลือก - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ

    กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา

    แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง

    ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม

    เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : ข่า

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (L.) Willd.

    ชื่อสามัญ : Galanga

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

    สรรพคุณ :

    เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้อาหารเป็นพิษ เป็นยาแก้ลมพิษ
    เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

    รักษาลมพิษ
    ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

    รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
    ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

    สารเคมี
    1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene 2 - terpineol, terpenen 4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : ขมิ้นชัน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.

    ชื่อสามัญ : Turmaric

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง

    สรรพคุณ :

    เป็นยาภายใน
    - แก้ท้องอืด
    - แก้ท้องร่วง
    - แก้โรคกระเพาะ

    เป็นยาภายนอก
    - ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
    - ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    เป็นยาภายใน
    เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

    เป็นยาภายนอก
    เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก

    สารเคมี
    ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : ทองพันชั่ง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz

    ชื่อสามัญ : White crane flower

    วงศ์ : ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้

    สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย

    ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด

    ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ

    ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : นางแย้ม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.

    ชื่อพ้อง : Volkameria fragrans Vent.

    ชื่อสามัญ : Glory Bower

    วงศ์ : Labiatae

    ชื่ออื่น : ปิ้งหอม

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี

    ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ และราก

    สรรพคุณ :

    ใบ - แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

    ราก
    - ขับระดู ขับปัสสาวะ
    - แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
    - แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    - แก้ไข้ แก้ฝีภายใน
    - แก้ริดสีดวง ดากโผล่
    - แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
    - แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ

    ตำรับยา และวิธีใช้

    เหน็บชา ปวดขา
    ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

    ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ
    ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
    ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่

    โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม
    ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น

    สารเคมีที่พบ : มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : ใบระบาด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer

    ชื่อสามัญ : Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose

    วงศ์ : Convolvulaceae

    ชื่ออื่น : ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด

    สรรพคุณ : ยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน

    วิธีและปริมาณที่ใช้
    ใช้ใบสด 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน 3-4 วันจะเห็นผล
    สารเคมี : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides

    หมายเหตุ : เป็นสมุนไพรที่ใช้เฉพาะภายนอก ห้ามรับประทาน เนื่องจาก ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...