สัมมาทิฏฐิสูตรในอีกมุมเพื่อลดความเป็นมิจฉาทิฐิ (บอกตัวเอง...ไม่ได้บอกใครนะ) อ่านแล้วจะรู้สึกดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฟ้ากับเหว, 16 พฤษภาคม 2021.

  1. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ความโง่ของคนโง่

    แสดง ณ วัดหินหมากแป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

    วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓

    วันนี้ขอได้พากันฟังเทศน์เรื่อง ความโง่ ได้เทศน์เรื่องความฉลาดมานานแล้ว ความโง่ นั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีใครให้ประกาศนียบัตรชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ไม่มีเลย ทั้ง ๆ ที่คนก็มีโง่อยู่แล้ว แต่ไม่ชอบให้คนอื่นพูดว่าตนโง่ แล้วคนที่พูดนั้นถ้าพูดด้วยความเหยียดหยามดูถูกคนอื่นก็ยิ่งโง่กว่าเขาเสียอีก
    เราพากันโง่อยู่ตลอดเวลา ความโง่อันนี้แหละทำให้เราเป็นคนจม ทำให้เราไม่สามารถจะฟื้นฟูตัวเราให้ขึ้นมาได้ โง่มีหลายอย่าง โง่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ โง่ในความไหวพริบ โง่ในการที่จะนำตนให้รอดปลอดภัย ฯลฯ ความโง่ที่หมักหมมอยู่ในใจของเรานั้น เราเรียนมาเท่าไรก็เรียนไปเถิดไม่จบไม่สิ้นสักที คนนิยมเรียนความฉลาดข้างนอก เช่น เรียนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่อะไรต่าง ๆ เรียนไปหมดทุกอย่าง แต่ตัวของเราเองภายในนั้นไม่รู้เรื่อง มันโง่อยู่ภายใน นั่นคือความผิดความถูกที่เกิดขึ้นในใจของตน คิดว่าตนดี คิดว่าตนวิเศษ อันนั้นแสนโง่ทีเดียว ถ้าเข้าใจว่าตนดี ตนฉลาด ตนวิเศษ ตนเลอเลิศด้วยสติปัญญาอุบายต่าง ๆ อันนั้นแหละเป็นการโง่ที่สุด ถ้าคนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดบ้าง เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง
    วิชาทุกอย่างที่เราเรียนเป็นการเรียนออกไปภายนอก ออกไปจากตัวของเราไม่ใช่เรียนเข้ามาในตัวของเรา เรียนส่งออกไปปรุงแต่งออกไปนอกจากภายนอกจากใจ คำว่า กาย มันเพี้ยนเป็น กราย ไปเสีย มันกรายออกไปจากกาย มันข้ามกรายไปนั่นเอง จึงไม่เห็นตนของตน เปรียบเหมือนกับตาไม่เห็นลูกตา หรือตาไม่เห็นก้ำด้น (ก้ำด้นคือท้ายทอยนั่นเอง) โบราณท่านว่าตากับก้ำด้นอยู่ด้วยกันไม่ทราบว่ากี่ปีกี่ชาติ แต่ไม่เคยเห็นกันเลย ก้ำด้นของตนแท้ ๆ ไม่เคยเห็นสักที จึงว่ามันโง่ฝังอยู่นั่นแหละไม่เห็นตัวของเราเอง การเรียนภายนอกนั้นมันปรุงแต่งออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาก็ว่าจบแล้วละ ให้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อะไรต่าง ๆ ได้ปริญญาเขาก็ว่าจบแล้ว วิชานั้นมันจบที่ไหน อันของที่ไม่รู้ยังมีอีกเยอะแยะมากมายก่ายกอง ความรู้มันเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ มันไม่อยู่คงที่ จะว่าเรียนจบได้อย่างไร
    หากเราพากันมาเรียนวิชาความโง่ เรียนสิ่งที่ไม่รู้ในกาย วาจา ใจของเราให้มันรู้ขึ้นมา จึงจะหมดความโง่ไป ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจของตนมันก็ยังโง่อยู่นั่นเอง ถ้าเห็นแล้วมันเห็นจริงหรือไม่ มันเบื่อมันหน่ายมันคลายไหม หรือว่ามันยังยึดถืออยู่ ความยึดความถือนั่นน่ะเรียกว่าไม่เห็นจริง
    ตัวของเราเป็นอนัตตา สิ่งสารพัดวัตถุทิ้งปวงทั้งหมดก็เป็นอนัตตา อนัตตาคือว่ามันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา อนัตตาไม่ได้หมายว่าสิ่งนั้น ๆ ไม่มี ของมีอยู่แต่มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา เช่น กายของเรานี้จะไม่ให้แก่มันก็แก ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย ไม่ให้พลัดพรากจากกัน มันก็พลัดพรากจากไป ทำอย่างไรมันก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชา นี่แหละท่านเรียกว่า อนัตตาการที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อันนั้นแหละท่านเรียกว่า อนิจจัง ของไม่เที่ยง อนิจจังเป็นอนัตตานี่แหละมันจึงได้เป็นทุกข์หรือ ทุกขัง ความจริงเรื่องกายและใจของเราเป็นอย่างนี้ เราเห็นเช่นนี้แล้วหรือยังใคร ๆ ก็เห็นกายกันทุกคนละ แต่มันไม่เห็นจริง ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เห็นเป็นทุกขัง ไม่เห็นตามสภาพเป็นจริงทุกอย่าง จึงปล่อยวางไม่ได้ จึงได้เป็นทุกข์ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ
    พระพุทธเจ้าทรงเห็นกายและใจตามสภาพที่เป็นจริง อริยสงฆ์สาวกท่านก็เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า อริยสัจนั่นคือ รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นอนิจจัง รูปจึงเป็น ทุกข์ เมื่อยังไม่เห็นจริงด้วยใจ เห็นแต่ตามสัญญา ก็เห็นเป็นแต่เพียง สัจจะ เฉย ๆ ถ้าเห็นจริงเห็นชัดลงไปด้วยใจแล้วเรียกว่าเห็น อริยสัจ อันนั้นเป็นการเห็นของจริงของแท้ของพระอริยเจ้า ดังนั้น พวกเราอย่าไปหาธรรมะที่อื่นไกลเลย หาเอาในตัวของเรานี่ ผสมกันขึ้นในที่นี้ ให้ปรากฏเห็นชัดขึ้นมาในที่นี้แหละ ในเป็นคนเห็นกาย จึงอุปมาเหมือนกับเรียนสระกับพยัญชนะผสมกัน ผสมกันได้แล้วก็เขียนข้อความไปได้หมดทุกอย่าง จะขีดเขียนเรื่องอะไร ๆ เขียนได้หมด มันออกจากสระกับพยัญชนะเท่านั้น ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจ ไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมาพิจารณาเห็นกายตามเป็นจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผล นิพพาน มีฌาณสมาธิ มีธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างอื่นที่ไหนหรอก พระสงฆ์ สาวกทั้งหลายสำเร็จมรรคผลนิพพานก็สำเร็จที่กายกับใจนี่แหละ พวกเทพทั้งหลายมีแต่ใจเป็นพวกอทิสสมานกาย ไม่มีรูปปรากฏ พวกพรหมก็ไม่ปรากฏรูปไม่มีรูป พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปตรัสรูไม่ได้ทรงสอนที่โน่นหรอก ทรงเทศนาสอนมนุษย์พวกเราที่มีกายหยาบ ๆ เห็นกันอยู่ด้วยตานี่เอง
    การเห็นด้วยตาเรียกว่า ทัศนะ มันยังเห็นไม่จริงไม่แท้ ต้องใจเข้าไปเห็นจึงจะเป็นการเห็นอย่างแท้จริง การเห็นด้วยใจจึงเรียกว่า ญาณทัศนะ คำว่าเห็นด้วยใจคือมันชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดแล้ว กายมันเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง ดังที่อธิบายในเบื้องต้น มันก็ปล่อยวางได้ นั่นคือปล่อยวางไว้ตามสภาพเดิมของมัน เห็นมันเป็นอนัตตาแล้วไม่ยึดถืออีก ปล่อยไปตาม สภาพอนัตตา เห็นมันเป็นอนิจจังก็ไม่ยึดไว้ ปล่อยไปตาม สภาพอนิจจัง มันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป ก็ปล่อยไปตามเรื่องของมัน มันเป็นทุกขัง มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มันแปรปรวนบังคับไม่ได้ ก็ปล่อยไปตาม เรื่องของทุกข์ จึงว่ามันเป็นจริงอย่างไรให้เห็นตามเป็นจริง พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ยถาภูตํ สมฺสปฺปญฺญาย ทฎฺฐพฺพํ ควรให้เห็นของสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริง นี่จึงจะได้ชื่อว่าเรียนความโง่ ไม่ใช่เรียนความฉลาด มันโง่ตรงนี้ โง่ที่ไม่เห็นกายของเรา ไม่เห็นใจของเราเอง
    แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทุก ๆ คนที่เกิดขึ้นมาได้ชื่อว่าโง่ด้วยกันทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำตักเตือนอะไรต่าง ๆ เพื่อให้รู้ความโง่นั่นแหละ ไม่ใช่เรียนความฉลาดหรอก ให้รู้ความโง่ทั้งนั้นแหละ อันของที่ไม่รู้จึงค่อยเรียน ความไม่รู้ความไม่เข้าใจนั่นแหละมันโง่ ผู้ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งปวงเขาไม่ถือว่าฉลาด ความโง่ของคนเรามันยังลึกซึ้งละเอียดมากเหลือมาก ยิ่งเรียนเท่าไรยิ่งเห็นความโง่ของตนมากขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเรียนความโง่ ไม่ใช่สอนให้เราเรียนความฉลาด เมื่อรู้จักโง่ เห็นโง่แล้ว ความรู้นั้นแลเป็นความฉลาด การไม่เห็นความโง่ของตน แต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่งโง่เข้าทุกที เหตุนั้น การปฏิบัติของพวกเรา จงปฏิบัติตรงที่กายกับใจนี่แหละ อย่าส่งออกไปภายนอก ใครจะเรียนอะไรที่ไหนก็เรียนไปเถิด ถ้าเพ่งเข้ามาภายในตัวนั้นเรียกว่าเรียนความโง่ของตน อย่าส่งออกไปภายนอกก็แล้วกัน
    การเรียนกัมมัฏฐานแบบต่าง ๆ หลายเรื่องหลายอย่าง หลายครูหลายอาจารย์ เช่น ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง อานาปานสติ พุทโธ ทั้งหมดนี้ก็เรียนโง่ด้วยกันทั้งนั้น คือเรียนให้เห็นตัวโง่ ตั้งใจให้มีสติควบคุมจิตที่มันนึกคิดที่มันปรุงแต่ง ให้รู้เรื่องของจิต ให้เห็นจิต รู้จักจิตเสียก่อน ถ้าไม่เห็นจิตมันก็รักษาจิตไว้ไม่ได้ คุมจิตไม่ได้ ชำระจิตไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจิตมันคิดมันนึกปรุงแต่งอะไรบ้าง มันส่งส่ายไปไหนก็ไม่ทราบ ใคร ๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง
    อาการของใจเรียกว่า จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง ผู้ส่งส่ายไปมาหน้าหลังสารพัดทุกอย่างรอบด้านรอบข้าง ผู้นั้นแหละเรียกว่า จิต เราเอาสติไปคุมไว้ให้รู้ตัวจิตนั้นอยู่เสมอ ตลอดเวลา เห็นจิตของตนอยู่เสมอว่าจิตเป็นอย่างไร มันคิดดีคิดชั่วคิดหยาบคิดละเอียด คิดปรุงคิดแต่งอะไร ก็ให้รู้เห็นอยู่ทุกขณะ ควบคุมมันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมจิตอยู่แล้ว เวลาจะคิดก็ให้นึกก็อยู่ได้ ไม่ให้ปรุงแต่งก็อยู่ได้อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บังคับจิตอยู่ อย่าให้จิตบังคับเรา โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจของจิต มันเป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันตัดเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา มันชักชวนไปทางดีทางชั่วอีกทีก็ไม่ให้ไป นิ่งอยู่ได้ เช่น มันชักชวนไปในทางชั่วให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้คิดประหัตประหารฆ่าตีเขาก็บอกมันว่าไม่ดี อย่าทำ คิดทางดีให้สร้างบุญสร้างกุศลก็ไม่ให้ไป ให้อยู่คงที่ เมื่อหยุดส่งส่ายอยู่คงที่มันก็เข้าถึง ใจ คือความเป็นกลาง
    ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าจิตกับใจมันต่างกัน คนละอันกัน แต่แท้ที่จริงท่านพูดอันเดียวกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น แต่ทำไมจึงเรียกว่าจิต ทำไมจึงเรียกว่าใจ ก็ลองคิดดูซิ มันต้องมีแปลกกันอยู่ ใจมันต้องอยู่เฉย ๆ คืออยู่กลางสิ่งใดเป็นกลาง ๆ จะเรียกสิ่งนั้นว่าใจ เช่น ใจมือ ใจเท้า ก็ชี้ลงตรงกลางมือ กลางเท้า ในคนก็ชี้ลงท่ามกลางหน้าอก ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนหรอก แต่ชี้ลงท่ามกลางอกเรียกว่าใจ ที่เรียกว่าใจ คือมันอยู่ท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ไม่คิดหยาบ ไม่คิดละเอียด ไม่ปรุง ไม่แต่งอะไรทั้งหมด แต่มีความรู้สึกอยู่เฉย ๆ ตรงนั้นแหละเป็นใจ เมื่อใจเราตั้งสติกำหนดจิตที่มันกระสับกระส่ายดิ้นรน เดือดร้อนวุ่นวาย คอยควบคุมระวังตัวนั้นไว้จนหยุดดิ้นรน หยุดแส่ส่าย มีความรู้สึกเฉย ๆ รู้สึกเฉพาะตัวของมันเอง ไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นแลเป็นใจตัวเดิมแท้
    ใจนี้มักจะดีอย่างไร ลองคิดดูซิ ถ้าเมื่อคุมจิตได้ เข้าถึงใจได้ ก็ไม่มีอะไร มีความรู้สึกเฉย ๆ เฉพาะตัว ความวุ่นวายเดือดร้อนต่าง ๆ มันก็หายไปหมด มีแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้น เอาความสุขแค่นั้นเสียก่อน สุขอันนั้นถ้าอยู่ได้นานเท่าไรยิ่งดี แต่คนเราไม่ชอบ ชอบให้จิตมันบังคับให้เราเดือดร้อนวุ่นวี่วุ่นวาย เดี๋ยวก็ร้องไห้ร้องห่ม เดี๋ยวก็หัวเราะเฮฮาเพลิดเพลิน เดี๋ยวก็เอะอะโวยวายสารพัดทุกอย่าง เราร้องไห้ก็เพราะมันบังคับให้เราร้องทั้งที่เราไม่อยากร้องไห้ การร้องไห้น่าเกลียดจะตาย น่าอับอายขายขี้หน้าคนอื่น แต่มันก็บังคับเอาจนร้องไห้ให้ได้ การหัวเราก็เหมือนกัน หัวเราะมันเพลิดเพลินสนุกสนานก็ดี มันชอบใจ มันน่าที่จะหัวเราะเพลิดเพลินอยู่เสมอตลอดไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมันทำให้ร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ นั่นเพราะเราบังคับมันไม่ได้ ถ้าเราบังคับมันได้แล้วมันก็หยุด เอาสติเข้าไปตั้งเมื่อไรหยุดเมื่อนั้น สตินี้ดีมาก เป็นเครื่องควบคุมจิตได้ทุกอย่าง
    ได้พูดถึงเรื่องความโง่แล้ว เรามาเรียนความโง่กันเถิด เรียนอย่างวิธีที่อธิบายมานี่แหละ มันจึงจะค่อยหายโง่ ความโง่ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก ยิ่งเรียนก็ยิ่งเห็นความโง่ของตน มันลึกจมอยู่ในก้นบึ้งโน่น ท่านเรียกว่า อนุสัย ตราบใดที่ยังไม่ถึงมรรค ผลนิพพาน ตราบนั้นยังมีความโง่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จงพากันเรียนความโง่กันเสียวันนี้
    อธิบายมาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ
    นั่งกัมมัฏฐานหาความโง่

    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน

    เคยได้ยินบางคนพูดเป็นเชิงเหยียดหยามดูถูกกัมมัฏฐานว่า "นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน" พวกเราจงพากันทำกัมมัฏฐานให้โง่อย่างเขาว่าดูซิมันจะโง่จริงหรือไม่
    นั่งหลับตาแล้วพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอา ๕ อย่างนี้เสียก่อน ให้เห็นเป็นอสุภะของไม่งาม เมื่อจะพิจารณาให้เลือกเอาอันเดียว ไม่ต้องเอามากอย่าง เช่น เลือกผม ก็พิจารณาแต่ผมอย่างเดียว พิจารณาจนให้เห็นชัดว่าผมเป็นของปฏิกูลจริง ๆ จนเบื่อหน่าย คลายเสียจากความรักใคร่ว่าผมเป็นของสวยงามจนเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ นี่หายจากโง่ขั้นหนึ่งละ
    ขั้นที่สอง เห็นเป็นอสุภะทุกอวัยวะทั่วหมดทั้งตัวด้วยใจ ไม่ได้ลังเลแต่อย่างใดจะเห็นเปื่อยเน่าเฟะไปหมดไม่มีชิ้นดีแม้แต่นิดเดียว คราวนี้ไม่ใช่เพียงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ทั้งหมดด้วยกันจะเป็นอสุภะทั้งนั้น แล้วอยากจะทอดทิ้งถ่ายเดียว ถ้าสติคุมจิตไว้ได้ก็จะเสียคน ที่เรียกว่า วิปลาส (คำว่าวิปลาสนักปฏิบัติทั้งหลายกลัวนักกลัวหนา แต่หลงในกามไม่ยักกลัว เพราะคนส่วนมากรู้จักกันดี)
    ขั้นที่สาม เมื่อสติคุมจิตให้อยู่ในที่เดียวแล้ว ก็จะพิจารณาทวนทบไป ๆ มา ๆ ว่า ที่เราพิจารณาเห็นเป็นอสุภะนั้น แท้ที่จริงแล้วกายนี้มันยังปรกติตามเดิมนั้นเองที่เราเห็นเป็นอสุภะนั้นเพราะจิตเราเป็นสมาธิต่างหาก เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิแล้วมันก็เป็นอยู่อย่างเดิม
    ใช่อันนี้หรือเปล่าที่เรียกว่านั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐานนั้น แท้จริงกัมมัฏฐาน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีอยู่ด้วยกันทุก ๆ คนมิใช่หรือ ผู้มาเพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริง ทำไมจึงเรียกว่าโง่ ผู้ไม่ได้เพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามสภาพเป็นจริงนั้นหรือเป็นผู้ฉลาด แปลกจริงหนอ ความเห็นของคนเรานี้ ผู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง แทนที่จะเรียกว่าผู้ฉลาด กลับเห็นว่าโง่ไปได้ ผิดวิสัยของคนทั่วไปเสียแล้ว
    ยิ่งกว่านั้น พระบางองค์ (ขอโทษ) เป็นถึงอุปัชฌาย์อาจารย์สอนกัมมัฏฐาน ๕ แก่ลูกศิษย์ ลูกศิษย์ได้แล้วไปถามเข้า เลยหาว่าโง่เข้าไปโน่นอีก ผู้เห็นเข้าเช่นนี้มิเป็นการเหยียดหยามดูถูกเราพร้อมทั้งต้นตระกูลของเรานี่เป็นพระสงฆ์ (คือพระพุทธเจ้า) เสียหรือ เมื่อเหยียดหยามดูถูกเช่นนั้นได้แล้ว ความเป็นพระจะมีอะไรเหลืออยู่อีกเล่า เราผู้เป็นสงฆ์ฆราวาสญาติโยมเขาเคารพนับถือ ควรที่จะระวังสังวร ถึงแม้จะพูดเล่นก็ไม่เป็นการสมควรโดยแท้
    ความโง่มันซ่อนเร้นอยู่ตามผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้แหละ ฉะนั้นจงค้นให้เห็นตัวมัน ถ้าค้นหาตัวความโง่เห็นแล้วจะอุทานว่า อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านจึงสอนให้พิจารณา เราทอดทิ้งมาเป็นเวลานมนาน มีแต่เห็นว่า ผมมันสวยงาม มันหงอกก็หายามาย้อมไว้ให้คนหลงว่ายังดำอยู่ ขนก็เช่นเดียวกัน มันรกรุงรังก็โกนให้คนอื่นเห็นว่าเกลี้ยงเกลาไม่มีขน เล็บมันไม่แดง ก็เอาสีมาทาไว้เพื่อให้คนเข้าใจว่าเล็บแดง ฟันก็เอาทองมาหุ้มไว้ให้เหลืองอร่ามไปหมด หนังมันย่นยู่หดหู่ก็ลอกให้มันเป็นหนัง

    อนุโมทนาครับ
     
  2. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    เผื่อว่าบางท่านอาจไม่มีเวลาเข้าวัดกัน มันก็หาฟังยากอยู่
     
  3. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ถ้าพื้นฐานสมาธิและสติตั้งมั่นดีแล้วค่อยศึกษา พิจารณาต่อในรายละเอียดและมุมมองของพระขีณาสพแต่ละองค์ ตามที่ตรงกับอัธยาศัย แม้ว่าพระขีณาสพบางองค์เราจะเคารพบูชามาก แต่บางครั้งอัธยาศัยท่านกับเราต่างกันมาก โอกาสที่เราจะไม่ได้ผลมีสูงมาก แต่ทุกคนมีสิทธิ์ได้เรียนรู้
    ตามลิ้งค์
    https://palungjit.org/threads/ฝึกสติ-สมาธิ-ภาวนา-ตามคำสอนของพระอรหันต์แห่งเมืองสยาม.213873/
     
  4. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ฝึกสติหรือฝึกสมาธิ เขาไม่ได้ฝึกให้เห็นความเกิดดับ แยกกันไม่ออกแล้วหรือ ว่าสมาธิหรือสติ มันต้องฝึกฝน เพียรสร้างขึ้นตลอดเวลา เขาไม่ได้บอกว่านั่งสมาธิแล้วจะเห็นอะไรเกิดดับ มันคนละภาคส่วน สมาธิภาวนาก็ส่วนสมาธิภาวนา คนที่คิดว่า ธรรมของพระศาสดาสมณโคดม เป็นเหมือนบะหมี่สำเร็จรูปก็จะคิดว่า คล้ายกับการฉีกซองเทน้ำร้อนตั้งทิ้งไว้ จากนั้นกินได้ อร่อย ความเห็นแบบนี้เชื่อว่ามีและเกิดขึ้นจริงๆ ทำไมถึงทราบ เพราะว่า การมีแขนงในสายวิปัสสนาก็เป็นตัวบอก วิธีการสอนที่มองข้ามอาวุธสำคัญในการต่อสู้กับกิเลสมีเพียงสติ ความหลงไปในความรู้ที่ได้สาเหตุก็มาจากมีสติไม่ตั้งมั่น รู้แล้ววาง เป็นเหมือน key word แต่ว่า พอปฏิบัติจริง มันรู้แล้วดันไปชอบหรือไม่ชอบ มันเลยไม่ได้ตามที่ควร ใครบอกอะไรก็ไม่ได้แล้วเพราะกรรมที่พากันทำไว้ เหมือนกับ เต่าตกลงไปในอ่างแล้วขึ้นมาไม่ได้ เต่าตัวอื่นผ่านมาเห็นเรียกลงไปดู จึงคล้ายกับกับกรรมที่ทำร่วมกันมา ระหว่างอาจารย์ ครู ผู้สอน กับ ศิษย์ อีกหน่อยบ่อมันก็เต็ม เต่ามันก็ตาย เต่าหมักหมม ส่งกลิ่นเหม็น เพราะด้วยมูลของอกุศลที่เกิดขึ้นทั้งปวง
     
  5. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    กระทู้ดี แต่พรี่เหวน่าจะเคาะเว้นบรรทัดหน่อย จะได้อ่านง่ายขึ้น

    กรรมฐาน5 ทุกครั้งที่จิตเห็นปฎิภาค (อวัยวะน้อยใหญ่กลับด้านออกมาแทนหนัง) กามราคะจะถูกลดลงด้วย ทำงานยังไงไม่รู้ แต่ตามที่ ลป. หล้าบอกข้างล่าง

    FB_IMG_1621263364925.jpg
     
  6. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ค่อยๆอ่าน ค่อยๆ พิจารณาเอาแล้วกัน วันนี้มีบทความจาก nkgen.com มาให้ศึกษา
    อย่าส่งจิตออกนอก และอย่าจิตส่งใน

    ส่งจิตออกนอก หมายถึง การส่งจิตออกไปภายนอกไปเสวยอารมณ์ (อันหมายถึงเวทนา) มีความหมายถึง การที่ไม่สำรวมจิต การฟุ้งซ่าน คือส่งจิตออกไปสอดส่ายรับการกระทบสัมผัสกับอารมณ์ภายนอกต่างๆ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จึงส่งจิตออกไปคิดนึกปรุงแต่งต่อสิ่งต่างๆเหล่านั้น จึงเกิดการเสวยอารมณ์คือเวทนาต่างๆ ขึ้น ซึ่งมักเป็นปัจจัยให้เกิดการคิดปรุงแต่งต่างๆสืบต่อมา เมื่อเกิดการคิดปรุงแต่งต่างๆขึ้นจึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาต่างๆหลากหลาย ซึ่งมักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น จึงยังให้เกิดความทุกข์ขึ้นในที่สุด อันเป็นการดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทหรือการเกิดขึ้นของกองทุกข์นั่นเอง

    หรือกล่าวโดยย่อก็คือ การส่งจิตออกไปภายนอก ไปปรุงแต่ง ไม่มีสติอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อการระลึกรู้ หรือเพื่อการพิจารณาในธรรมทั้ง๔ นั่นเอง

    ส่งจิตออกไปภายนอก จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก จิตคิดปรุงแต่ง จิตปรุงแต่งไปภายนอก คิดปรุงแต่ง ฟุ้งซ่าน มีความหมายเดียวกัน

    ส่วน จิตส่งใน หมายถึง การส่งจิตเข้าไปเสวยอารมณ์หรือเวทนา อันอิ่มเอิบสุขสงบสบาย อันเกิดแต่ภายในกายหรือจิตของตน ด้วยอำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ หรือแม้แต่ความสุข,ทุกข์ต่างๆภายในเป็นต้น จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)จึงกระทำโดยไม่รู้ตัวอันเป็นตัณหาเช่นกัน จึงเป็นทุกข์ในที่สุด เพราะเมื่อติดเพลินเสียแล้วด้วยความไม่รู้(สังขารกิเลสในปฏิจจสมุปบาท, ส่วนสติหรือจิตอยู่ภายใน มีความหมายว่า มีสติหรือจิต ระลึกรู้เท่าทันหรือมีสติพิจารณาอยู่ใน กาย, เวทนา, จิต, ธรรม เพื่อให้เห็นความจริง อันเป็นการวิปัสสนา

    และในการปฏิบัติแบบจิตระลึกรู้ในกาย เวทนา จิต เช่น ข้อ ลมหายใจ อิริยบถ และ สัมปชัญญะ หรือเวทนา หรือจิต ก็สามารถเป็นได้ทั้งสมถะและการฝึกพัฒนาสติเพื่อการวิปัสสนา เมื่อขาดสติในการติดตามดู ปล่อยให้เลื่อนไหลแน่วแน่ไปเองตามความชำนาญหรือเคยชินก็เป็นสมถะเป็นสมาธิแต่อย่างเดียว ถ้ามีสติก็เป็นการฝึกสติที่ถูกต้องดีงามพร้อมด้วยสมาธิที่ดีงามเป็นผลตามมาอีกด้วย เพราะมีนักปฏิบัติเป็นจำนวนมากที่ฝึกสติตามหลักสติปัฏฐาน๔ แต่กลายเป็นอยู่ในมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาฌาน แทนการฝึกและพัฒนาสติชนิดสัมมาสติหรือสัมมาสมาธิเพื่อประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนา โดยไม่รู้ตัว
     
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    พี่เก่ง .com แต่งเติมเสริมแต่ง เยอะ

    จริงๆเวลาเพิ่มเติมความคิดตัวเอง ต้องแจ้งไปด้วย

    จะเอาสอนตรงๆไปต้นสังกัดหลวงปู่ตรงๆนู้น ไม่ก็นั่งถอดคำเทศน์ท่านเองเลย
     
  8. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    มันทำได้แค่เบื้องต้น เอาคำจำกัดความและความหมายคร่าวๆ พอเป็นแนวทาง ที่เหลือต้องหาทางเอา ทุกคนควรมีวิจารณญาณ ถ้าไม่มีก็ควรสร้าง ตามที่พระศาสดาทรงสอนไว้ อย่าพึงเชื่ออะไรโดยไม่พิจารณา
     
  9. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
    ปาปิจฉตานิทเทส
    อธิบายความปรารถนาลามก

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อ
    ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอชนจงรู้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เป็นต้น ย่อมทำอาการ
    อย่างไร คือ บุคคลนั้น ไม่มีศรัทธา ย่อมแสดงอาการว่า มีศรัทธา ผู้ทุศีล
    เป็นต้น ย่อมแสดงอาการของผู้มีศีลเป็นต้น.
    ถามว่า ย่อมแสดงอาการอย่างไร ?
    ตอบว่า ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ในวันมีมหรสพ เธอจะถือเอาไม่กวาด
    ปัดกวาดวิหารและทำการเทหยากเยื่อในเวลาที่พวกมนุษย์มาสู่วิหาร ครั้นทราบ
    ว่า การกระทำของเธอ มนุษย์ทั้งหลายรู้แล้ว จึงไปสู่ลานพระเจดีย์ ย่อม
    เทหยากเยื่อ ย่อมเกลี่ยทรายทำพื้นให้เสมอกัน ย่อมล้างอาสนะทั้งหลาย ย่อม
    รดน้ำที่ต้นโพธิ์. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเธอแล้วก็สำคัญว่า ภิกษุอื่นที่ปฏิบัติวิหาร
    เห็นจะไม่มี ภิกษุนี้เท่านั้นเป็นพระเถระผู้มีศรัทธาปฏิบัติวิหารนี้อยู่ ดังนี้ จึง
    นิมนต์ภิกษุนั้น เพื่อฉันอาหาร.
    แม้ผู้ทุศีล ก็เข้าไปหาพระวินัยธร ย่อมถามในที่พร้อมหน้าแห่ง
    อุปัฏฐากทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครั้นเมื่อกระผมเดินไป โคตกใจแล้ว
    เมื่อกระผมปัดกวาดโคก็วิ่งเตลิดไป ทำให้หญ้าทั้งหลายขาดแล้ว เมื่อกระผม
    จงกรมอยู่หญ้าทั้งหลายย่อมอับเฉา เมื่อกระผมบ้วนน้ำลายให้ตกไปตัวแมลง
    เล็ก ๆ ย่อมตาย การให้น้ำลายตกไปที่หญ้าโดยไม่มีสติ โทษอะไรย่อมมีในที่
    นั้น ขอรับ ดังนี้. เมื่อพระวินัยธรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อเราไม่รู้ ไม่
    แกล้ง ไม่เจตนาฆ่าสัตว์ อาบัติย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วกล่าวยกย่องพระวินัยธร
    ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่กระผม ราวกะว่าเป็นของหนัก ท่าน
    ย่อมพิจารณาชอบแล้ว ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังถ้อยคำนั้นแล้วเลื่อมใสว่า
    พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ย่อมรังเกียจแม้ในเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านจัก
    กระทำกรรมหยาบอื่นได้อย่างไร ภิกษุผู้มีศีลเช่นกับภิกษุนี้ ย่อมไม่มี ดังนี้
    แล้วทำสักการะ.
    แม้ผู้ศึกษาน้อย ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า
    ภิกษุโน้นทรงพระไตรปิฎก ภิกษุโน้นทรงนิกาย ๔ เป็นอันเตวาสิกของเรา
    ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมในสำนักของเรา ดังนี้ พวกมนุษย์เลื่อมใสว่า ภิกษุ
    ผู้เป็นพหูสูตเช่นกับด้วยพระผู้เป็นเจ้าของเราไม่มี ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้น ๆ
    เรียนธรรมในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าของเรา ดังนี้ จึงทำสักการะ.
    แม้ผู้ยินดีด้วยหมู่คณะ ในวันที่มีมหรสพ ยังบุคคลให้ถือเอาตั่ง
    คือที่นั่งยาวและหมอนข้าง ย่อมนั่งพักอยู่ในที่พักเวลากลางวันที่โคนไม้สุดเขต
    แดนแห่งวิหาร. มนุษย์ทั้งหลายมาแล้ว ย่อมถามว่า พระเถระไปไหน ดังนี้
    ชื่อว่าบุตรของคัณฐิกะ ผู้กล่าวคำอันคลุมเคลือนั่นแหละมีอยู่ ย่อมกล่าวด้วย
    เหตุนั้นนั่นแหละว่า พระเถระย่อมไม่นั่งในกาลเห็นปานนี้ ย่อมอยู่ในที่จงกรม
    อันมีระยะทางยาว อยู่ ณ ที่สุดแห่งวิหาร ดังนี้. แม้ภิกษุนั้น ก็ยังกาลให้
    ล่วงไปครึ่งวัน แล้วยังใยแห่งแมลงมุมที่ติดไว้ที่หน้าผา แล้วก็ให้บุคคลถือ
    เอาตั่งมานั่งที่ประตูแห่งบริเวณ. มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้
    เจริญ ท่านไปที่ไหน พวกกระผมมาไม่เห็นท่าน ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมยัง
    มนุษย์ให้รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้ชอบความสงบด้วยคำว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย
    ภายในวิหารนี้เกลื่อนกล่น ที่นี้เป็นที่เที่ยวเดินและยืนของภิกษุหนุ่มและสามเณร
    ทั้งหลาย อาตมานั่งในที่พักในเวลากลางวันซึ่งมีที่จงกรม ๖๐ ศอก ดังนี้.
    แม้ภิกษุผู้เกียจคร้าน ก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า
    ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย พวกท่านเห็นอุกาบาต (การตกลงของคบเพลิง) แล้ว
    หรือ ดังนี้ ถูกพวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมย่อมไม่เห็น
    อุกกาบาตได้มีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่จงกรมของ
    พวกเรา แล้วจึงถามว่า พวกท่านได้ยินเสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน หรือ
    ดังนี้ เมื่อเขากล่าวว่า พวกกระผมย่อมไม่ได้ยิน. ก็เสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน
    ย่อมมีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ ก็กล่าวว่า ในเวลามัชฌิมยาม คือในเวลาที่
    พวกเรายืนพิงแผ่น กระดานกำหนดอารมณ์ โอภาสใหญ่ได้มีแล้ว แล้วถาม
    ว่า โอภาสใหญ่นั้น พวกเธอเห็นแล้วหรือ ดังนี้ เมื่อมนุษย์ถามว่า โอภาส
    ใหญ่ได้มีเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่หยังลงแต่การ
    จงกรมของอาตมา ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสว่า พระเถระของเราทั้งหลาย
    ย่อมจงกรมตลอดยามทั้งสามเทียว ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับด้วยพระผู้-
    เป็นเจ้าของย่อมไม่มี ดังนี้ จึงทำสักการะ.
    แม้ผู้หลงลืมสติ ก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า เรา
    เรียนพระสูตรทีฆนิกายในกาลชื่อโน้น เรียนมัชฌิมนิกายในกาลโน้น สังยุตต-
    นิกาย อังคุตตรนิกายในกาลโน้น ชื่อว่าการแลดูอย่างอื่นในระหว่างย่อมไม่มี
    แบบแผนเป็นราวกะเกิดขึ้นในปากของเรา และย่อมมาในที่แห่งเราปรารถนา
    แล้ว ๆ ส่วนภิกษุอื่น ยังปากให้ส่ายไป (เพื่อถามปัญหา) เป็นราวกะแพะ
    ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้ว ด้วยคิดว่า บุคคลอื่นจักปฏิบัติเช่นกับ
    พระคุณเจ้าของเราย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วทำสักการะ.
    แม้ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ก็ย่อมถามปัญหาในพระอรรถกถาจารย์ ในที่
    พร้อมหน้าแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย คือ ย่อมถามว่า ชื่อว่า กสิณ ย่อมเจริญ
    อย่างไร ชื่อว่านิมิตที่เกิดขึ้นมีประมาณเท่าไร อุปจาระย่อมมีประมาณเท่าไร
    อัปปนาย่อมมีประมาณเท่าไร องค์ของปฐมฌานมีประมาณเท่าไร องค์ของทุติย-
    ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มีประมาณเท่าไร ดังนี้ เมื่อพระอรรถกถาจารย์
    กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ประโยชน์อะไรด้วยคำเหล่านี้ คำอะไร ๆ อย่างนี้ไม่
    มีหรือ และกระทำการยิ้มในเวลาที่กล่าวถ้อยคำอันเหมาะแก่การศึกษา ดังนี้
    จึงแสดงการได้สมาบัติของตนด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้ย่อมถูกต้อง
    ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราได้สมาบัติ
    แล้ว ย่อมทำสักการะ.
    แม้ผู้มีปัญญาทราม ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย กล่าว
    อยู่ว่า เราย่อมสละปริยัติ ดังนี้เป็นต้น ด้วยคำว่า เมื่อเราตรวจดูหมวดสาม
    แห่งธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้าในมัชฌิมนิกายอยู่ มรรคนั่นแหละมาแล้วพร้อม
    ด้วยฤทธิ์ ชื่อว่าปริยัติ ไม่เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยยากสำหรับพวกเรา การ
    สนใจในปริยัติ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นคน
    มีปัญญามาก. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายพระศาสนา.
    ชื่อว่า มหาโจรเช่นกับบุคคลนี้ ย่อมไม่มี เพราะว่า บุคคลผู้ทรงพระปริยัติ
    ชื่อว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ หามีไม่.
    แม้ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ เห็นทารกในบ้านแล้ว ถามว่า มารดาบิดาของ
    พวกเธอย่อมกล่าวว่า เราเป็นอะไร. พวกทารกกล่าวว่า มารดาบิดาของกระผม
    กล่าวว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ ขอรับ. ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตน
    เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ดุก่อนบุตรคหบดีผู้ฉลาด ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อ
    จะลวงท่านได้ ดังนี้ ก็ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบซึ่งภิกษุแม้อื่นอีกที่แสดงตนเป็น
    พระอรหันต์ มีพระอรหันต์ตุ่มน้ำและพระอรหันต์ย่านไทร เป็นต้น.
    เรื่องพระอรหันต์ตุ่มน้ำ (จาฏิอรหันต์)
    ได้ยินว่า ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) รูปหนึ่งฝังตุ่มน้ำใบใหญ่ไว้
    ภายในห้องของตน ย่อมเข้าไปในตุ่มในเวลาที่พวกมนุษย์มาหา มนุษย์ทั้งหลาย
    จึงถามกันว่า พระเถระไปไหน ดังนี้. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระ
    อยู่ในห้อง ดังนี้ พวกมนุษย์แม้เข้าไปค้นหาอยู่ เมื่อไม่เห็นจึงออกมาแล้ว
    กล่าวว่า พระเถระไม่มี ดังนี้ ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระอยู่ภายใน
    ห้องนั้นแหละ ดังนี้ พวกมนุษย์จึงเข้าไปอีก พระเถระนั้นออกจากตุ่มแล้ว
    มานั่งอยู่ที่ตั่ง. ลำดับนั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวก
    กระผมไม่เห็นท่านเมื่อเขามาครั้งแรกจึงออกไป ท่านไปอยู่ที่ไหน ดังนี้ ภิกษุ
    นั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยคำว่า ชื่อว่า สมณะ
    ทั้งหลายย่อมไปสู่ที่อันตนปรารถนาแล้ว ๆ ดังนี้.
    เรื่องพระอรหันต์ย่านไทร (ปาโรหอรหันต์)
    ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) อีกรูปหนึ่ง อาศัยอยู่ที่บรรณศาลาใกล้ภูเขา
    ลูกหนึ่ง ก็ต้นไทรต้นหนึ่งมีอยู่ที่เงื้อมเขา (เหว) ข้างหลังแห่งบรรณศาลา ราก
    ของต้นไทรนั้น ไปปรากฏอยู่ที่พื้นดินส่วนหนึ่ง. มนุษย์ทั้งหลายเดินมาตาม
    ทางแล้ว ย่อมนิมนต์ภิกษุนั้นเพื่อภัตตาหาร. ภิกษุนั้นถือบาตรและจีวรแล้ว
    โหนลงมาตามรากของต้นไทรนั้น แล้วมาปรากฏตัวใกล้ประตูบ้าน. ลำดับนั้น
    ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายผู้มาถึงที่ลังถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านมาทางไหน ดังนี้
    ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ชื่อว่า ทางอัน
    สมณะทั้งหลายมาแล้ว ไม่สมควรถาม สมณะทั้งหลาย ย่อมมาโดยที่อันตน
    ปรารถนาแล้ว ๆ. ดังนี้. ก็บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งฟังเรื่องโดยตลอด ทราบแล้ว
    คิดว่า เราจักเฝ้าจับดูภิกษุนี้ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นอยู่
    ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้น ก้าวลงตามรากต้นไทร จึงตัด
    รากไทรนั้นข้างหลัง เหลือไว้เล็กน้อย. ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น คิดว่า เราจัก
    จับรากไทรก้าวลงไป จึงจับรากไทรนั้น ทีนั้น ก็หล่นลงไปที่ดินเหนียว
    บอบช้ำแล้ว เธอทราบว่า ใคร ๆ ทราบเรื่องของตนแล้ว จึงหนีออกไป ดังนี้.
    ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปรารถนาลามก ชื่อว่า สภาพลามก ก็เมื่อว่า
    โดยลักษณะแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ความที่บุคคลนั้น ยังบุคคลอื่นให้สรร
    เสริญความดีอันไม่มีอยู่และความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ข้อนี้
    เป็นลักษณะของความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้.
     
  10. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    กลัวลืมเลยเอามาไว้เตือนตนเองในนี้ด้วย
    ผมตั้งข้อสังเกตให้นิดนึงนะคับ มันมี 2 กรณี
    1 ทางวิปัสสนาเพียวๆ ยกเอาผมมาเพ่งในจิต เขาจะเห็นอะไรบ้างในผมนั้น อันนี้มันเรื่องความละเอียดอ่อนเลยแต่สุดแล้วแต่ว่าจะเห็นอย่างไร คำถามคือ เขารู้ได้ยังไงว่า มันคือธาตุ ที่สลายหายไปเป็นอย่างอื่น
    2 ทางวิทยาศาสตร์เห็น จากภาพปกติขยายเข้าไปเรื่อยๆ เห็นภาพชัดละเอียดขึ้นจนเห็นสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ผม ขยายไปเรื่อยๆ จนเห็นการยึดจับของโมเลกุล ขยายไปเรื่อยๆ จนเห็นอะตอม ขยายไปเรื่อยๆ จนเห็นความเปลี่ยนแปลงพลังงานในระดับอิเล็กตรอน และขยายต่อไปจนมันมีแต่ความว่างเปล่า
    ข้อสังเกตคือ 2500 ปีที่แล้ว รู้ได้ยังไง จนถึงปัจจุบันก็ยังมีคนรู้ โดยที่ไม่ต้องเรียนหรือมีควาใรู้ทางวิทยาศาสตร์
    ลองตรองดูแบบความจริง จะเห็นบางอย่าง นิมิตหรือไม่นิมิต ช่างมันแต่ต่อให้ไม่เรียกว่านิมิต มันก็คือนิมิตอยู่ดี
    อ้อแล้วทั้งสองอัน 1 กับ 2 อันก็รู้ว่ามันเกิดจากอะไรเช่นเดียวกัน ช่างน่าแปลกยิ่งนัก
     
  11. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    วิธีดูนิมิต โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญปทีโป
    • crop-1505630228626.jpg
    วิธีดูนิมิต โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป



    นิมิตในสมาธิ



    พระอาจารย์เปลี่ยน เจริญในการปฏิบัติธรรมมาก ท่านสังเกตว่า หลวงปู่ตื้อมักจะทราบล่วงหน้าว่า ใครจะมาหาจากนิมิตเสมอ แล้วจะบอกพระอาจารย์เปลี่ยนให้ทราบด้วย ในตอนแรกพระอาจารย์เปลี่ยนยังไม่เชื่อ ก็จะคอยดู เมื่อถึงเวลาก็มีคนมาหาหลวงปู่ตามที่ท่านพูดจริง ทำให้พระอาจารย์เปลี่ยนพยายามที่จะเข้าสมาธิแล้วเห็นนิมิตให้เร็วที่สุด (คือฝึกการใช้อนาคตังสญาณ) จนทำได้อย่างคล่องแคล่ว ท่านรู้ได้ทันทีว่ามีใครมา มากี่คน แต่งกายอย่างไร เสื้อสีอะไร ลวดลายอย่างไร มาด้วยวัตถุประสงค์อะไรอย่างมิตรหรืออย่างศัตรู เมื่อเห็นแล้วจะเล่าให้หลวงปู่ตื้อทราบ ซึ่งหลวงปู่ก็รู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้ว



    IMG_9678.jpg

    พระอาจารย์หลวงปู่ตื้อ อจลฺธมฺโม





    หลวงปู่ตื้อ อจลฺธมฺโม เคยพูดถึงเรื่องพระหมา พระแมว พระควาย ฯลฯ ว่า เป็นเพราะจิตใจตกต่ำเหมือนสัตว์อย่างนั้น จึงแสดงออกมาให้เห็นสัตว์ต่างๆ



    พระอาจารย์เปลี่ยนได้ขอให้หลวงปู่อธิบายถึงนิมิตแปลกๆ เช่น เห็นคนเดินมาแล้วเปลี่ยนเป็นสุนัข จากสุนัขเป็นแมว เมื่อเข้ามาใกล้ ก็กลับกลายเป็นคนเช่นเดิมนั้น นั่นเป็นเพราะจิตมีหลายระดับ แทรกกันเข้ามาตามลำดับ และได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคือ



    - นิมิตเห็นคนธรรมดา นุ่งห่มด้วยสีเหลือง แสดงว่าจิตของผู้นั้นเป็นผู้มีสมาธิ มีใจเป็นพระ

    - คนนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าขาว แสดงว่าจิตของผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลห้าเป็นปกติ มีใจเป็นเทพ

    - คนนุ่งห่มด้วยชุดดำ แสดงว่าเป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์

    - ถ้าชุดดำและเป็นเครื่องนุ่งห่มที่ขาด แสดงว่าจิตต่ำลงไปกว่าความเป็นคน

    - นิมิตที่แสดงว่าต่ำไปเรื่อยๆ ก็คือมาในรูปของควาย สุนัข ถ้าเป็นงูแสดงว่าต่ำหยาบช้าที่สุด



    มีนิมิตของผู้เป็นพระในลักษณะต่างๆ ที่ท่านพบมาดังนี้

    - นุ่งสบง คลุมจีวร พาดสังฆาฏิ แสดงว่ามีศีลสมาธิและปัญญาดี เรียกว่าเป็นพระที่สมบูรณ์

    - คลุมแต่จีวรมา แสดงว่ามีสมาธิดี นุ่งสบงใส่อังสะ แสดงว่ามีศีลบริสุทธิ์

    - คลุมด้วยจีวรขาด แสดงว่าสมาธิที่เคยมีเสื่อมถอย

    - ใส่กางเกง แสดงว่ามีศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย


    ขณะที่พระอาจารย์เปลี่ยนอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านปง หากได้รับนิมิตพระดังกล่าวแล้ว ท่านมีเวลาว่างจะไปพบพระผู้นั้นเพื่อตักเตือนให้ประพฤติปฏิบัติดีขึ้น แม้จะอยู่คนละวัดก็ตาม



    IMG_9682.jpg พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป







    พิสูจน์นิมิต



    พระอาจารย์เปลี่ยน ได้รับนิมิตต่างๆ มาก และได้พิสูจน์ว่านิมิตนั้นเป็นจริง เช่น ครั้งหนึ่งพระอาจารย์เปลี่ยนได้รับนิมิตว่า มีผู้หญิงอายุมากแล้วคนหนึ่งใส่บาตรท่านเพียงครั้งเดียว ได้เคยคิดจะถักหมวกถวายท่านเพื่อสวมในหน้าหนาว



    ท่านเห็นในนิมิตว่า เขาไปหาท่านและพูดว่า “จะขอลาแล้ว” พระอาจารย์เปลี่ยนจึงส่งจิตไปดูที่บ้าน พบว่ากำลังใกล้จะตาย ลมหายใจสั้นลง และสิ้นในที่สุด พอตายแล้วมีผู้หญิงสองคนมาจับแขนผู้หญิงที่ตาย แล้วเอาแส้เฆี่ยนตีด้วย



    รุ่งขึ้นเช้า พระอาจารย์เปลี่ยนออกบิณฑบาตได้พบลูกเขยของผู้หญิงคนนั้น จึงถามว่าแม่เสียแล้วใช่ไหม ลูกเขยแปลกใจที่ท่านทราบ พระอาจารย์เปลี่ยนจึงบอกว่าเขาไปลาท่านที่วัด เขาไปไม่มีสุข เขามีทุกข์ ทำบุญอุทิศให้เขาบ้าง และใส่เสื้อให้เขาด้วย



    ปกติผู้หญิงคนนี้ชอบทำแต่ปาณาติบาต แต่ลูกเขยและลูกสาวชอบทำบุญอยู่เสมอ นิมิตในเรื่องนี้จึงเป็น "ทุคตินิมิต"



    ส่วน "สุคตินิมิต" นั้นพระอาจารย์เปลี่ยน ได้พบในเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งที่ชอบถวายดอกไม้ ธูปเทียน ทุกครั้งที่ไปวัดหรือไปหาพระอาจารย์เปลี่ยน เมื่อตายแล้วปรากฏว่ามีดอกไม้เคารพศพเป็นจำนวนมาก หญิงผู้นี้ได้ไปสู่สุคติ



    นอกจากนั้นชาวบ้านหลายคนที่เคยถวายปัจจัยค่ารถ ค่ายานพาหนะแก่พระ เมื่อเวลาจะละสังขารไป บางคนมียานลอยลงมารับ บางคนมีรถมารับ เพื่อพาไปยังสถานที่ที่เป็นทิพย์ ซึ่งเขาได้สร้างสมบุญไว้



    วันหนึ่งท่านไปบิณฑบาต สังเกตเห็นสุนัขตัวเมียตัวหนึ่งอยู่กับเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิง เมื่อท่านไปบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านนี้ สุนัขจะวิ่งไปเตือนให้เจ้าของบ้านได้รู้ แล้วรีบนำอาหารออกมาใส่บาตร สุนัขทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำ



    พระอาจารย์เปลี่ยนจึงตั้งจิตดูสุนัข จึงรู้ว่า เมื่อก่อนสุนัขเคยเกิดเป็นลูกสาวของเจ้าของบ้าน แต่ผิดศีลข้อสามเพราะคบชู้ เมื่อสามีรู้ก็ไม่ยอมรับ พร้อมกับสาบานว่าถ้ามีชู้จริงขอให้เกิดเป็นสุนัขด้วยผลของกรรมนี้เมื่อตายไปจึงเกิดเป็นสุนัขอาศัยอยู่กับหญิงเจ้าของบ้านนั้นเอง ท่านจึงบอกเจ้าของบ้านให้รู้และดูแลสุนัขให้ดี



    ส่วนนิมิตรูปสัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย สุนัข แมว มีผ่านเข้ามาให้ท่านเห็นประจำ เป็นเพราะจิตผู้นั้นยังต่ำหรือเคยเป็นสัตว์นั้นมาก่อน แต่ยังไม่หมดวิบากกรรม จึงพาให้เห็นในรูปเดิม



    เช่น คราวที่อยู่วัดป่าสะลวง มีพระจากผาแด่นมาพักที่วัด ท่านได้รับนิมิตว่ามีพระมา 2 องค์ มีลักษณะเป็นควายมานอนอยู่ที่ศาลา รุ่งขึ้นเช้าเตรียมตัวออกบิณฑบาตได้พบพระ 2 องค์นั้นจริง แต่ยังนอนหลับอยู่บนศาลา ได้ทราบภายหลังว่า พระทั้ง 2 องค์บวชได้ 10 พรรษาแล้ว แต่การภาวนายังไม่ก้าวหน้าเมื่อมีโอกาสเรียนถามหลวงปู่ตื้อ ท่านอธิบายว่าเป็นเพราะจิตไม่ถึงไหน ยังเป็นสัตว์อยู่ จึงเห็นนิมิตอย่างนั้น



    ครั้งหนึ่งขณะนั่งภาวนา เห็นนิมิตผู้หญิงคนหนึ่งเดินยิ้มมา พอเข้ามาใกล้ก็เป็นสุนัข จากสุนัขเป็นแมว ก่อนจะถึงท่าน ก็กลับเป็นอีกคน เมื่อได้พบหญิงนี้จริง ท่านเห็นเป็นการไม่สมควรเพราะไม่มีผู้ชายอยู่จึงไล่ให้กลับก่อน



    [​IMG]

    ตัวอย่างนิมิตสุนัข



    เรื่องนี้ท่านให้คำอธิบายว่า ผู้หญิงคนนี้เคยเกิดเป็นสุนัข แล้วจึงเกิดเป็นแมว ต่อจากนั้นจึงเกิดเป็นคน แต่จิตยังไม่มีความแรงทางด้านกามารมณ์อยู่ จึงมีนิมิตออกมาให้เห็น



    การได้นิมิตมานี้ บางครั้งก็มาตักเตือนให้ระวังอันตรายจากการโดนทำร้ายร่างกายบ้าง จากการรบกวนจากเพศตรงกันข้ามบ้าง ท่านจึงต้องคอยตรวจสอบตลอดเวลา และทำให้พระอาจารย์เปลี่ยนมีความรู้ และเข้าใจในคำเทศน์ของหลวงปู่ตื้อที่ว่า พระหมา พระแมว ฯลฯ โดยไม่มีข้อสงสัยอีกเลย



    นรก-สวรรค์



    ปัญหาเกี่ยวกับนรก-สวรรค์นั้น ท่านก็ได้เล่าอานิสงส์ของการถวายทานต่าง ๆ ที่ชาวบ้านได้ร่วมถวาย ตามที่ท่านได้พบในนิมิต เช่น



    ผู้สร้างโรงฉันถวาย ขณะนี้มีปราสาทเกิดอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นปราสาท 6 ชั้น



    IMG_9674.jpg

    ตัวอย่างนิมิตผู้บริจาคทานบนสวรรค์



    ผู้ร่วมสร้างบางรายได้เสียชีวิตแล้วก็ได้ขึ้นไปอยู่ในปราสาทด้วย แม้เป็นผู้ร่วมสร้างก็ยังได้อยู่ในปราสาทนั้น โรงฉันซึ่งสร้างด้วยไม้ แม้ไม้บางชิ้นจะเป็นรูทะลุได้ แต่เมื่อเป็นทิพยปราสาทก็ดูสวยงาม เพราะผู้ถวายทานได้ถวายด้วยความบริสุทธิ์ใจ ใช้ไม้เท่าที่หาได้และมีอยู่ไปก่อสร้าง



    ท่านได้พูดถึงผู้ที่เข้ามาช่วยงานวัด แต่มีความไม่บริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง คือมีชาวบ้านคนหนึ่งมาทำหน้าที่หิ้วปิ่นโตให้พระเณรออกบิณฑบาต แล้วชาวบ้านถวายกับข้าวใส่ปิ่นโตให้ คนผู้นั้นจะแอบเอากับข้าวดีๆ ในปิ่นโตเก็บกลับบ้าน ก่อนจะมาถึงวัด พระอาจารย์เปลี่ยนได้เห็นคนผู้นั้น เป็นเปรตตั้งแต่ก่อนตายมาหาท่านในนิมิต มีท้องใหญ่โตมาก มีปากเท่ารูเข็ม มีลูกอัณฑะใหญ่ยาว ชายผู้นั้นก็ยอมรับว่า ขโมยของวัดจริง



    IMG_9675.jpg

    ตัวอย่างนิมิตเปรต



    ที่มา: หนังสือประวัติพระอาจารย์เปลี่ยน
    อ่านพอรื่นเริงในธรรม อย่าคิดมากนะครับ
     
  12. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ทุกข์ ไม่ได้เกิดเพราะมีขันธ์ทั้ง 5 ทุกข์เกิดเพราะการที่มีอกุศลมูลเป็นเหตุ ใช้ขันธ์ทั้ง 5 ไปในทางสนองตัณหา เช่นเดียวกัน สุข ก็ไม่ได้เกิดเพราะมีขันธ์ 5 สุขเกิดเพราะการที่มีกุศลมูลเป็นเหตุ ใช้ขันธ์ทั้ง 5 ไปในทางสนองตัณหา ทีนี้คนเราถ้าไม่รู้ ไม่มีสติ จะระบุมันไม่ได้ หมายถึง ไม่ชัดเจน ไม่แม่นยำ จึงแก้ไขไม่ตรงจุด จึงยังไม่หมดไม่ละไปตามอัตภาพอันควร
     
  13. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ถ้าคิดจะแก้ต้องแก้ทีละเรื่อง แก้ทั้งหมดพร้อมกันไม่ได้ มันเกินฐานะ แต่ถ้าคนที่เขาคิดว่า ไม่มีอะไรต้องแก้ ทุกอย่างดีหมดถูกหมด มันกรรมของเขา ถ้าอยากยุ่งก็ต้องเรียนรู้ที่จะต้องรับหลบหลีกผลกรรมนั้นด้วย เพราะว่า สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่ามันมีจริงๆ คนรู้หลบได้ หลบไม่ได้ก็ชน แต่ชนอย่างมีเชิง
     
  14. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    อันนี้ผมก็เก็บไว้เตือนตนเอง ผมไม่พนันกับลุงโจหรอก (อาจจะเพราะผมรู้จุดจบของมันแล้ว ผมเสียพนัน 555 หยอกเล่น ไม้ชอบพนัน)
    ก็ดีแล้วนี่ลุง ผมเคยบอกลุงแล้วนี่ว่าบางคนเขาก็ไม่มีนิมิตอะไร มาเริ่มต้นแล้วจบเลย มันมี แต่ว่าถ้าเปรียบเทียบกับปกติชีวิต มันจะเป็นตามจริงไหมก็คิดเอา แต่การมีนิมิตจะเป็นสัญญาณหนึ่งที่เตือนเราว่า ณ เวลานี้ ถ้าเราจะต้องพิจารณาธรรมจริงๆ จะเกิดความเพลิดเพลินหรือไม่ ที่ชอบพูดๆนั่นแหละ นันทิ อะไรนั่น แต่ประเด็นจริงๆ คือ หากสมาธิที่เลยจากจุดเริ่มต้นไปสู้จุดสิ้นสุดทันทีแสดงว่ามันไม่ปกติ มันต้องมัอะไรขาดหายไปแน่ๆ ถ้าเอาแต่สมาธิเป็นกำลังอย่างเดียวผลคือสติร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ควายปน จบลงที่ ไม่รู้อะไรทั้งนั้น อนิมิต ลองทบทวนดีดี เพราะการเห็นนิมิต คือการที่เราเริ่มมีแววที่จะรวมจิตลงสู้ธรรมอีกด้านนึงได้หรือไม่ ถ้ามีแล้วปลงได้แปลว่า ไปเถอะลงไปสู้ดูสักตั้ง ถ้ารอดก็ไม่เพี้ยน ถ้าเพี้ยนแปลว่า ไม่รอด.... สู้ๆ นะลุง
     
  15. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    เปรตวิสัย ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำความเข้าใจและให้อภัยเขาแล้วใจท่านทั้งหลายจะเป็นสุข อย่างเหลือเชื่อ ไม่ร้อนรนไปตามเขาเหล่านั้น คนเราทุกคนถ้ามันมีวาสนาความคิดสติปัญญาเท่ากันหรืออยู่ในระดับที่พอรู้ว่าอะไรควรและไม่ควรคิดควรทำแล้ว ภูมิต่างๆ ภพต่างๆ ก็ไม่มี แต่ว่าความเป็นจริงมันก็เป็นไปไม่ได้ ขอให้มีเมตตาต่อกันให้มากๆรู้จักการให้อภัย หรือไม่ก็รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราเท่านั้นเราก็จะเข้าใจว่าทำไมเขาจึงทำมันลงไป เพราะเขานั้นมันคิดน้อยคิดสั้นพิจารณาน้อยพิจารณาสั้น...เลยคาดไม่ถึง
    อย่าเครียดแล้วกัน...ถ้าเครียดก็เอา...ด...ออกจะได้..เคลีย..ร์
    สาธุคั๊บ
    https://palungjit.org/threads/เมื่อนักปฏิบัติ-ปฏิบัติไปเป็นเปต.302932/
     
  16. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    การฟังด้วยดีย่อมมีปัญญา การมีปัญญาย่อมพาให้พ้นทุกข์
    การมีสติ ที่มีกำลังจากสมาธิ ย่อมนำมาซึ่งความสุขสงบ
    ฟังหลวงพ่อสงบเทศน์ดีกว่า ใครดีแล้วก็ดีไปก็ขอให้เกิดแต่สิ่งดีๆในจิตเถิด ใครยังที่มีจิตเป็นอกุศลอยู่ก็ขัดเกลาให้มากอย่าหยิ่งทะนงตนนักจะลำบากในภายหลังได้ ให้อดีตทั้งหลายเป็นบทเรียนนั่นแหละดีที่สุด
    http://www.sa-ngob.com/media/audio/y53/01/a22-01-53am.mp3
    ฟ้ากับเหว
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


    ที่เราไม่พูดอะไรเลยนี่เพราะเราไม่ต้องการยุ่งกับใคร แล้วเราไม่ต้องการให้เป็นประเด็นกับใคร สังเกตได้ว่าเราไม่ค่อยได้ออกชื่อใครเลย แต่ที่เราพูดไปนี่ มันเพราะว่าอย่างที่เราออกชื่อนี่ เพราะว่ามันเป็นเอกสารใช่ไหม เอกสารนี้มันเผยแพร่ตามที่สาธารณะแล้วใช่ไหม แล้วเขาเอาเอกสารมาให้ดูนี่ เราก็พูดตามนั้นเท่านั้นเอง อย่างที่พูดนี่ว่าไม่อยากให้ใครรบกวนเลย ไม่อยากให้กระทบกระเทือนกันเลย นี่จริงๆ แล้วเราก็ไม่อยากยุ่งกับใครเลย ในที่เราพูดออกไปนี่นะ เราจะบอกว่า เราพูดเพื่อสาธารณะ เราไม่ใช่พูดเฉพาะบุคคลผู้ใดเลย

    อย่างเราเป็นนักวิทยาศาสตร์นี่ เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ใช่ไหม ทฤษฎีควอนตั้มหรืออะไรก็แล้วแต่นี่ หลักการเป็นอย่างนั้นใช่ไหม เราจะพูดหลักการอันนี้ แรงดึงดูดแรงโน้มถ่วงต่างๆแล้วแต่นี่ เราต้องพูดหลักการเหล่านี้ ใครจะมีความเห็นแตกต่างนั่นก็เรื่องของเขา แต่เราก็จะชักกลับมาที่หลักการของวิทยาศาสตร์นี้ ส่วนใหญ่เราจะพูดหลักการตรงนี้ ธรรมะนี่ เราจะพูดเรื่องธรรมะ ที่เราพูดออกไปเพราะหลักการมันเป็นอย่างนี้

    แล้วทุกคนเขามีความเห็นผิด แล้วเขาพูดออกไปนี่ เราก็พูดแย้งออกไปที่ว่าไปฟังแล้วมันขุ่นใจนั่นแหละ เรารู้อยู่มันจะขุ่นใจไม่ขุ่นใจก็แล้วแต่ เราพูดสัจจะออกไป แล้วพอเราลงตรงนี้นะ ถ้าหลักการทางวิทยาศาสตร์ หลักการโน้มถ่วงต่างๆ นี่ มันเป็นทฤษฎีที่ตายตัวใช่ไหม ทุกคนพิสูจน์ได้ ฉะนั้นเหตุการณ์ที่เราพูดออกไปนี่ ถ้าพวกคนที่ไม่เห็นด้วยนี่มันต้องโต้แย้งออกมา โต้แย้งกลับมาเป็นทางวิทยาศาสตร์จริงไหม

    โยม : ครับ

    หลวงพ่อ : เรารอตรงนี้อยู่ เรารอคนจะโต้แย้งกลับมาว่าเรานี่พูดผิด ผิดมีความผิดพลาด มีความเห็นผิดอย่างไร เรารอตรงนี้อยู่ แต่อย่างอื่นนี่เราก็พูดตรงนี้ เราพูดถึงหลักการข้อเท็จจริงออกไปเพื่อสังคมจริงไหม ฉะนั้นถ้าสังคมเห็นผิดมันก็เรื่องของสังคมไม่ใช่เรื่องของเราจริงไหม

    โยม : ใช่ครับ

    หลวงพ่อ : นี่เราก็พูดหลักการความจริงออกไป นี่พอหลักการความจริงออกไปแล้วนี่ อย่างที่ว่าเวลาฟังแล้วนี่ ทีแรกว่า เราอยากจะฟังว่าทีแรกนะ เราพูดกันเรื่องข้อเท็จจริงว่า ตอนที่เห็นขุ่นๆ นะ เห็นขุ่นๆ มองเห็นอย่างไรว่ามันผิดพลาดอย่างไรถึงเห็นขุ่นๆ

    โยม : จริงๆ แล้วตอนฟังนี่ ผมเองก็ยังแยกคำสอนของท่านไม่ออก

    หลวงพ่อ : เอ่อ เดี๋ยวถามเราได้หมดเลย ไอ้นี้เราจะฟังตรงนั้นก่อนว่าเห็นอย่างไรเห็นขุ่นๆ ถ้าเห็นขุ่นๆ แสดงว่าเห็นว่ามันผิดตรงไหนไง เราอยากฟัง จริงๆ แล้วที่เราพูดอย่างนี้ เราอยากเห็นคนที่ชี้จุดผิดที่เราพูดออกไปน่าดูเลย ถ้าพูดออกไปแล้วผิดถูกอย่างไรนี่ นี่นักวิทยาศาสตร์ สุภาพบุรุษ

    เราอยากเห็นตรงนี่ไง อยากเห็นว่าใครบอกว่าพระสงบพูดผิด แล้วผิดอย่างไร เราอยากฟัง อยากฟัง รอฟังอยู่นี่ อันนี้พอมาวันนี้บอกว่าเห็นขุ่นๆ นี่ เราให้อภัยหมดแล้ว เราอโหสิกรรมหมดเลย เราไม่มีอะไรติดค้างใจเลย แต่เราอยากฟังว่า เราอยากฟังว่าสมองหรือปัญญาของคนนี่ ใครมีมากน้อยแค่ไหน

    โยม : คือจริงๆ ที่ผมว่าท่านอาจารย์ ท่าน คือเทศน์ด้วยคำพูดที่ฟังแล้วค่อนข้างรุนแรง

    หลวงพ่อ : เข้าใจ เราน่ะหรือ

    โยม : คือความรู้สึกผมตอนนั้นนะ ผมก็ฟัง ผมฟังไปแค่ครึ่งเดียว ถ้าเกิดผมกด..

    หลวงพ่อ : เดี๋ยวก่อนนะ ฟังได้แค่ครึ่งเดียว ฟังตลอดไม่ได้เลยหรือไง

    โยม : ที่ทนนี่คือผมทนใจตัวเองไม่ได้ ผมก็เลยหยุด แต่ผมความรู้สึกผม ผมกลับคิดว่า เอ้ สิ่งที่หลวงพ่อสงบท่านเทศน์กับสิ่งที่หลวงพ่อ........พูด มันก็ไม่เห็นจะต่างกันเลยนะ

    หลวงพ่อ : ว่าไป ตรงนี้สำคัญมาก ทุกคนเห็นอย่างนี้หมด แล้วเดี๋ยวเราจะอธิบายให้ฟัง

    โยม : ผมสรุป คือว่า ตอนนี้คือผมจำไม่ได้แล้ว เพราะว่าผมฟังมานานหลายเดือนแล้ว แต่ว่า ความรู้สึกตอนนั้นคือรู้สึกว่า เอ๊ะ คือความคิดผมนะ ผมคิดในใจว่าสงสัยต้องมีคนไปพูดอะไรกับพระอาจารย์สงบผิดๆ แน่ๆ เลย เพราะผมฟังแล้วผมหาจุดแตกต่างไม่เจอ แล้วเสร็จแล้วผมก็ไปฟังครูบาอาจารย์ ฟังหลวงพ่อชา ฟังหลวงพ่อพุธ ผมอ่านหนังสือหลวงปู่ดูลย์ ผมก็ยังไม่เจอ ยังหาไม่เจออยู่ดี

    หลวงพ่อ : เออ ว่าไป

    โยม : ก็เลย.. คือถ้าถามว่าเรื่องนี้คือผมยังหาไม่เจอ

    หลวงพ่อ : ตรงนี้หาไม่เจอเลยล่ะ

    โยม : หาไม่เจอ ผมหาไม่เจอจริงๆ อาจจะเป็นเพราะปัญญาของผมไม่ถึง

    หลวงพ่อ : ใช่ ปัญญาไม่ถึง ปัญญาไม่ถึง

    โยม : มันก็เลยถามว่า ถ้าจะเอาแค่คำตอบมา แล้วที่พิมพ์เข้าไป ผมหาไม่เจอจริงๆ

    หลวงพ่อ : เดี๋ยวนะ หน้านี้กรอนิดหนึ่ง แล้วเดี๋ยวเอาหลักฐานด้วย

    โยม : องค์สุดท้ายนี่ใช่หลวงปู่เจี๊ยะหรือเปล่า นี่เมื่อกี้ตอนมาพูดเรื่องหลวงปู่เจี๊ยะตลอดเวลาเลย

    หลวงพ่อ : หลวงปู่เจี๊ยะเพราะหลวงปู่เจี๊ยะอยู่กับหลวงปู่มั่น

    โยม : พระอาจารย์สงบได้เคยอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ

    หลวงพ่อ : นี่เราอยู่กับองค์นี้... แตกต่างกันมาก แตกต่างกันชัดเจน

    โยม : เดี๋ยวผมขออนุญาตนั่งขัดสมาธิ

    หลวงพ่อ : ตามสบายหมดเลย แตกต่างกันมาก เราเห็นตั้งแต่ทีแรกแล้ว เราเห็นตั้งแต่ทีแรกเลย แตกต่างมาก แล้วแตกต่าง ไม่แตกต่างธรรมดาด้วย แตกต่างที่เราตกใจด้วยว่ามันแย่มาก เราเปรียบเทียบนะ เวลาเราพูดให้โยมเขาฟังนี่ แล้วเวลาลูกศิษย์เรามาเล่าให้ฟังในเว็บไซต์นี่ ทุกคนจะพูดอย่างนี้บอกว่า พระสงบกับเขานี่พูดเหมือนกันเลย เหมือนกันเลย

    แล้วก่อนหน้านั้นนานแล้ว ก่อนหน้านั้นนานแล้ว เขาพยายามส่งคนมาที่นี่ ส่งคนมาที่นี่ เพราะว่าคนที่จะพามานี่ พามาไม่ถูกหรอก ลูกศิษย์เรานี่ล่ะพาเข้ามา แล้วก็จะพูดอย่างนี้ทุกคนจะพูดอย่างนี้หมด ว่าเหมือนกัน เหมือนกัน ว่าพระสงบกับเขานี่พูดเหมือนกัน

    เราจะบอกว่าไม่เหมือน ไม่เหมือน แตกต่างกันราวฟ้ากับดินเลย ไม่เหมือน ไม่เหมือนหรอก นั้นที่เราพูดออกไปนี่ ที่เราพูดออกไปนี่ นี่หลักฐานเยอะแยะหมดเลย ที่เราจะชี้ให้เห็นว่าผิดหมดเลย ผิดหมด

    โยม : ผมมีทุกเล่มเลยครับ

    หลวงพ่อ : นี่ไอ้นี่ ถ้าผิดนี่นะ นี่คือผลเลย ไอ้มีทุกเล่มนี่นะ จริงๆ แล้วหนังสือนี่เมื่อก่อนมาถึงเราเยอะมาก เราเผาทิ้งหมด หนังสือนี่นะมีแต่คนส่งมา เราเผาทิ้งหมดเลย เพราะเราหยิบไม่ได้ เราหยิบไม่ได้ เราหยิบขึ้นมานี่ นี่ๆ เราดูทุกบทที่เราขีดนี่คือผิดหมดนะ ที่เราขีดไว้นี่คือผิดหมด ผิดหมดเลย นี่ผิดทั้งนั้นเลย

    เราจะอ่านให้ฟังว่าผิดตรงไหน แล้วเราจะอธิบายให้ฟังหมดเลย เพราะแตกต่างกันทั้งหมด แตกต่างหมด แล้วแตกต่างไม่ได้แตกต่างธรรมดาด้วย อย่างเช่นนี่ จิตพระอรหันต์ เขาเขียนนะจิตพระอรหันต์ พระอรหันต์เวลานอนไม่รู้หรอก เวลานอนนี่จิตลงภวังค์ไปเลย พระอรหันต์มีภวังค์ไหม มีภวังค์อยู่เป็นพระอรหันต์ได้ไหม

    โยม : เคยได้ยินว่าพระอรหันต์มีสติตลอดเวลา

    หลวงพ่อ : แล้วนี่ใครเขียนล่ะ

    โยม : ก็เป็นหนังสือหลวงพ่อ........

    หลวงพ่อ : อ้าว แล้วใครไปจัดการมันล่ะ

    โยม : ก็น่าจะเป็นท่านนะครับ

    หลวงพ่อ : เยอะแยะ ผิดทั้งนั้นเลย แล้วจะให้ผิดตรงไหนบ้างล่ะ เปิดสิผิดทั้งนั้นเลย ที่เราขีดนี่คือผิดหมด

    โยม : โอ้โฮ

    หลวงพ่อ : อันนี้ตลกมาก ตลก

    โยม : คือผมเองก็ยังไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้นะครับหลวงพ่อ แต่ผมเอง ก็ผมเรียนหลวงพ่อตามตรงว่า ผมก็ยังไม่ได้ฟังที่หลวงพ่อพูดถึงหลวงพ่อ........ แต่ว่าผมเองนี่

    หลวงพ่อ : เยอะแยะไปหมด นี่คือผลเห็นไหม คือว่ามันเป็นไปไม่ได้สักอย่างหนึ่ง มันเป็นไปไม่ได้ เราจะค่อยๆ อธิบาย คำแตกต่างครั้งแรก คำแรกเลยที่แตกต่างคือสติไม่ต้องฝึก แค่นี้นะ เหวกับฟ้าเลย หลวงตาจะบอกว่าสติต้องฝึก สติทุกคนต้องตั้งสติ ต้องหัดฝึกสติ แล้วบอกสติไม่ต้องฝึก เผลอสติจะมาเอง เผลอปั๊บสติจะมาเอง เผลอกับสติตรงข้ามไหม

    โยม : ตรงข้ามครับ

    หลวงพ่อ : แล้วเอาเผลอมาฝึกสติได้อย่างไร เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าถ้าเราเป็นนายแพทย์ พวกประชาชนคนทั่วไปนี่ เขาไม่ดูแลร่างกายของเขาเลย เขาจะปล่อยให้ใช้ชีวิตของเขาโดยหยำเปกินเหล้าเมายาทั้งหมดเลย เดี๋ยวนี้ ส.ส.ส. เขาพยายามรณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่เลยเห็นไหม แต่นี้เด็กมันจะสูบบุหรี่ มันจะเล่นอะไรของมันตามสบายได้ทั้งหมดเลย

    นายแพทย์คนนั้นบอกว่า เด็กคนนี้จะเป็นคนดีขึ้นมาได้ไหม สุขภาพจะดีขึ้นมาได้ไหม สติไม่ต้องฝึกปล่อยมันเลย ตามให้มันเกิดขึ้นตามสบายเลย สุขภาพจิตมันจะดีขึ้นมาได้ไหม นี่มันดีขึ้นมาไม่ได้ พอไม่ได้ขึ้นมาปั๊บ อ้าว เราอยู่อย่างนี้ดูจิตเฉยๆ แล้ว อู้ฮู ว่าง สว่างหมดเลย สบายหมดเลย เราแจกออกไปเยอะมาก เพราะตอนนั้นมันยังไม่มีเหตุการณ์ มันยังไม่รุนแรง มันยังไม่มีสิ่งใด

    เราอธิบาย เราพยายามอธิบายให้นักวิทยาศาสตร์ ให้ปัญญาชนได้เข้าใจ ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของจิต คือธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนั้น ธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนั้นเอ็งจะฝึกไม่ฝึกธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ถ้าคนภาวนาเป็นเขาจะรู้หมด แต่พวกไม่เป็นนี่มันงง อยู่ดีๆ เราทุกข์เรายากเราขัดเคือง พอเรามาดูแล้วมันสบายๆ ก็ถูกต้องไง ปฏิบัติมากี่ชาติ กี่พันชาติเหลวไหลไปหมดเลย

    พอมาดูจิต โอ๊ย มันดีไปหมดเลย โอ๊ย นี่ก็ถูกต้องๆ โดนหลอกทั้งนั้นน่ะ พัฒนาของจิตเป็นอย่างนั้น อย่างเช่นเราก็แล้ว ใครก็แล้วแต่นะ เราจะมีความทุกข์มากเลย อย่างเช่น คนรักเรา คนที่เราชอบมาก เสียใจตายไปนี่ เราจะเสียใจมากเลย จนจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เลย แต่ถ้าจับเขาไว้อยู่เฉยๆ ให้เขาได้มีเวลาไตร่ตรองของเขา ความทุกข์นั้นจะค่อยๆ หายไปจริงไหม ธรรมชาติเป็นอย่างนั้นจริงไหม

    โยม : จริงครับ

    หลวงพ่อ : ธรรมดา อันนี้พอเหมือนกัน เราก็ขุ่นมัว เราก็มีของเราไป พอเริ่มมาดูจิตมายังนี้ ก็โอ๊ยดีโว๊ย ว่างๆ ว่างๆ นะ แล้วนั่นมันอะไร แล้วมันก็ตลกเห็นไหม มีสติตัวจริง มีสติตัวปลอม กูฟังแล้วนี่ โอ้โฮย มันไปไกลเลยนี่หว่านี่ ตอนนั้นไม่มีปัญหานะ เดี๋ยวไปดูในเว็บไซต์เรานี่จะมีถาม-ตอบ เขาเข้าไปได้หมดล่ะ

    ไอ้เรื่องการพัฒนาการของจิต จิตมันเป็นอย่างนี้เอง เราพยายามจะพูดให้คนที่มีหลักการได้เข้าใจไง ว่าคำพูดของเขานี่มันไม่มีค่าอะไรเล้ย จะทำไม่ทำจิตก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เอ็งจะดูไม่ดูจิตมันก็เป็นอย่างนี้ มันไม่มีค่าอะไรเลย ที่เอ็งทำกันมันไม่มีค่าอะไรเลย เอ็งจะทำไม่ทำก็เป็นอย่างนี้ แต่ก็ไปสร้างนิยายกัน ตั้งทฤษฏีขึ้นมาจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนั้น แล้วก็ให้ค่ากันไป ไม่มีทางเลย

    นี่ที่ว่าๆ ผิดนี่ไง ที่บอกมันแตกต่างกันราวกับฟ้ากับดินไง ถ้าเหมือนกันมันเหมือนกันตรงไหน ไม่เหมือนเลย นี่เพียงแต่พอไม่เหมือนปั๊บนี่เขาก็จำ ที่ว่าเขาจำเขาศึกษาใช่ไหม ก็จำพระไตรปิฎกมา พูดคำไหนก็อ้างอิง พออ้างอิงแล้วก็อธิบายความ คนก็ทึ่ง แต่เวลาเรามาอ่านแล้วนะ เราตลกหมด เราตลกมากๆ

    แล้วถึงที่สุดแล้วที่เราพูดเรื่องจิตส่งออกที่แรงมากนี่ ก็เพราะว่านี่เขาเอามาให้ดูนี่ แล้วรับไม่ได้ รับไม่ได้ว่า หลวงปู่ดูลย์สอนคลาดเคลื่อนนี่ ธรรมดานี่ พวกเรานี่พุทธศาสนานี่ เราจะสอนกันให้มีความกตัญญูกตเวที

    แล้วนี่เขาก็อารัมภบทมาตลอดว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์มา อะไรมาโดยตลอด แล้วเวลามาพูดถึงทำไมบอกว่ามาพู

    ดอย่างนี้ มันก็ทำให้รับไม่ได้ พอรับไม่ได้เราก็ใส่ออกไปเต็มๆ เลย พอใส่ไปเต็มๆ นี่ ว่าหลวงปู่ดูลย์นี่สอนคลาดเคลื่อน เพราะว่าจิตมันส่งออกไม่ได้

    มันส่งออกได้แต่สัญญาอารมณ์ เพราะจิตมันส่งออกไม่ได้ นี่ไงกฎควอนตั้มไง การโน้มถ่วงไง ความคิดนี่ สัญญาอารมณ์นี่ มันจะมีขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าไม่มีตัวพื้นฐานคือตัวฐีติจิต ตัวปฏิสนธิจิต ตัวภพ อย่างความคิดเรานี่ ความคิดเรานี่มันเกิดบนอะไร ถ้าเราไม่มีภพ ไม่มีจิต ไม่มีความรู้สึก ความคิดมันเกิดมาไม่ได้

    แล้วที่ว่าสิ่งที่ส่งออกไป เขาบอกว่าจิตนี้ส่งออกไม่ได้ เพราะจิตมันเป็นขันธ์ ขันธ์ก็ผิด จิตมันเป็นขันธ์ สิ่งที่ส่งออกไปคือสัญญาอารมณ์ พูดอย่างไรก็หาไม่เจอ เราขีดๆไว้หมดล่ะ เพราะอย่างนั้น แล้วตัวเองก็ผิดหมดนะ พอผิดไม่ผิดหมดไม่ธรรมดา ผิดหมดกลับไปบอกว่าหลวงปู่ดูลย์สอนผิดอีก หลวงปู่ดูลย์พูดผิด

    โยม : ในหนังสือนี่เขียนว่าหลวงปู่ดูลย์พูดผิดเลยหรือ

    หลวงพ่อ : ใช่! ชัดๆ เลย หลวงปู่ดูลย์นี่สอนคลาดเคลื่อน ความจริงแล้วเขาอธิบายด้วย แล้วคลาดเคลื่อนไม่คลาดเคลื่อนธรรมดา พอคลาดเคลื่อนแล้วก็บอกว่า บอกว่า ความเป็นจริงมันต้องเป็นอย่างที่เขาบอกไงว่าจิตมันส่งออกไม่ได้ ก็เขาอธิบายด้วยว่าจิตนี้ส่งออกไม่ได้หรอก จิตส่งออกไม่ได้

    ส่งออกได้ แต่สัญญาอารมณ์เห็นไหม สัญญาอารมณ์คือความคิดไง เราอธิบายไว้ในจิตส่งออกนั่นแหละ บอกว่าสัญญาอารมณ์นี่ สัญญาอารมณ์คือความคิดนี่ มันเกิดที่ไหน สัญญาอารมณ์นี่มันต้องมี ถ้าไม่มีไฟฟ้านี่ ไม่มีไฟฟ้า สิ่งที่เกิดจากพลังงานจากไฟฟ้านี่จะไม่มีเลยจริงไหม

    ไม่มีจิตนี่ สัญญาอารมณ์ความคิดมันมาจากไหน สัญญาอารมณ์ความคิดมันก็ต้องมาจากจิต แล้วพอมาจากจิต พอมาจากจิต เพราะมันส่งออกจากจิต แล้วที่คิดๆ ออกไป นั่นมันก็คือส่งออกไปแล้ว พอบอกส่งออกจิตส่งออกไม่ได้ สิ่งที่ส่งออกไปคือสัญญาอารมณ์ต่างหาก

    คำพูดอย่างนี้ มันก็เหมือนหมอนี่ หมอนี่เวลาจะผ่าตัดในห้องนี่ บอกว่าเครื่องมือนี้ไม่ต้องอบ มีแต่ก็ใช้ได้ เอ็งว่าได้ไหม ต้องฆ่าเชื้อไหม เอ็งมารักษานี่นะ เวลาผ่าตัดไปแล้วนะ เอ็งติดเชื้อกลับไปนะ เอ็งทุกข์กว่าเก่าอีก นี่ก็เหมือนกัน จิตมันจะส่งออกนี่ มันที่มันส่งออกไปนี่ มันเป็นผลหมดแล้ว

    เขาบอกหลวงปู่ดูลย์คลาดเคลื่อน แล้วไม่ได้คลาดเคลื่อนธรรมดานะ หลวงปู่ดูลย์คลาดเคลื่อน เขาต่างหากสอนถูก เท่านั้นล่ะ เราไม่ได้คิดอะไรเลย เขาโหลดมาแผ่นเดียวให้เราอ่าน อ่านเราก็ตอบเลย เพราะตอนเช้าๆ นี่ลูกศิษย์จะมาหาเยอะ แล้วก็จะเอานี่มาให้ มาให้ จิตส่งออกนี่ พลั๊วเดียวก็ปัจจุบัน เดี๋ยวนั้นเลย

    พอเดี๋ยวนั้นก็ออกไป สุดท้ายพอออกไปปั๊บ เขาก็ต่อๆ กันไปนั่นน่ะ เขาก็ไปออกกัน เพราะจิตส่งออกอันเดียวน่ะ มันถึงสะเทือน ถ้าเรื่องนี้ไม่จริงนะ เขาไม่ถอด ไม่ถอดนี่ออกจากเว็บไซต์หรอก

    โยม : อ๋อ เขาถอดไปแล้วหรือ

    หลวงพ่อ : ถอด ถอดแล้ว เพราะอะไร เพราะอันนี้มันจะยืนยัน เพราะเป็นหนังสือที่เขาเขียนเอง ถิรสัญญาอยู่นี่เอง เพราะนี่มันเป็นไปไม่ได้หรอกถิรสัญญา จิตส่งออกเดี๋ยวจะชี้ให้ดู ถ้าจะหาเจอนะ ว่าหลวงปู่ดูลย์สอนคลาดเคลื่อน ความเป็นจริงจะเป็นอย่างนี้ อันนี้มันรับไม่ได้ มันรับไม่ได้เหมือนกับเราเองทั้งๆ ที่ว่าเราเองจะไม่ยุ่งเกี่ยวใดๆ เลยล่ะ

    แต่คนเราคนหนึ่งนี่ แม้แต่อาจารย์ของตัวที่เอามาเชิดชูตลอดเวลานี่ แล้วถึงเวลานี่มาเขียนหนังสืออย่างนี้น่ะ แล้วชี้ชัดเจนไปเลยว่าหลวงปู่ดูลย์นี่สอนคลาดเคลื่อน ความเป็นจริงมันจะต้องเป็นอย่างนี้ มันเกินกว่าเหตุ มันเกินกว่าเหตุที่เราจะรับได้ ถ้ารับไม่ได้เราก็ใส่ไปเลย ทั้งๆ ที่ว่าเราเห็นความบกพร่องมาตั้งแต่ต้น แต่ไม่พูดให้ฟังเลย เฉย.. เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเหมือนกับพูดออกไป มันไม่มีประโยชน์

    มันไม่มีประโยชน์หรอก เพราะสังคมกำลังฮือฮา กำลังหลงผิดกันไปหมด แล้วเราเอาไปพูดอย่างนั้นมันจะมีประโยชน์อะไร ไม่เหมือนกันเลย เยอะมาก ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าคำพูดนี่คำเดียวกัน แต่เขาใช้ผิด ใช้เหตุผิดหมด อย่างเช่นว่าปัญญามันจะเกิดนี่ เกิดจากถิรสัญญานี่ จิตเกิดจากถิรสัญญา จิตดวงหนึ่ง จำจิตดวงที่เกิดขึ้นมันย่อยสลายไป จิตดวงใหม่จะมาจำดวงเก่า จนเป็นความชำนาญจนจำได้อย่างนี้ จนเป็นปัญญา

    ในภาคปฏิบัติเรานะ สัญญานี่เป็นเรื่องอันตรายที่สุด สัญญาอารมณ์นี่ เพราะมันสร้างภาพ สัญญานี่คือเชื้อโรคเชื้อร้ายแรงเลย แล้วแต่เขาบอกว่าสัญญานี่คือตัวทำให้เกิดปัญญา ความผิดพลาดเยอะมาก ปัญญาจะเกิดโดยอัตโนมัติ แล้วเราพูดเน้นย้ำประจำ จิตส่งออก

    เดี๋ยวถ้าเสร็จแล้วเราจะหาดูอีกทีหนึ่ง เขาเขียนอย่างนี้จริงๆ อันนี้ก็มี ที่ว่าแรงมาก ที่เราแรงที่สุด เราแรงที่สุด พิจารณาจนจิตลงสามัญลักษณะ แล้วจิตนี้จะลงสู่อัปปนาสมาธิ แล้วปัญญาจะเกิดโดยอัตโนมัติ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย

    โยม : ขอโอกาส

    หลวงพ่อ : เออ ว่าไป

    โยม : เดี๋ยวผมขอดูหน้านั้นหน่อยได้ไหมครับ

    หลวงพ่อ : หน้าไหน

    โยม : หน้าที่เมื่อกี้ท่านอาจารย์เปิดให้ดูน่ะครับ ที่ว่าไม่ตรงเลยกับความเป็นจริงครับ

    หลวงพ่อ : เอ็งจะดูหน้าไหนล่ะ ดูได้ทุกหน้าเลย ทุกหน้าเลย ไม่ต้องว่า มีทุกหน้าเลย ที่ขีดไว้ทุกคำ ถ้าสงสัยถามเลย เพราะจิตมันลงอัปปนาสมาธินี่สามัญลักษณะ แล้วจิตมันลงอัปปนาสมาธินี่ อัปปนาสมาธินี่มันแบบว่าพอมัน.. มันเป็นสักแต่ว่า มันตัดความรับรู้ทั้งหมด ตัดความรับรู้ทั้งหมด แล้วมันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร

    มันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร พอมันเกิดปัญญาไม่ได้แล้วนี่ พอเกิดปัญญาไม่ได้แล้ว เขาบอกปัญญาจะเกิดโดยอัตโนมัติ แล้วพอเราแย้งออกไปนี่ ในเว็บไซต์เขาตอบมา ปัญญาเกิดแบบนั้นไม่ได้ แล้วทำไมหลวงตาบอกปัญญาอัตโนมัติ เราก็อธิบายไว้ในเว็บไซต์เหมือนกันว่า อัตโนมัติคือไม่มี

    อัตโนมัติคือไม่มี นี้คำว่าหลวงตาท่านบอกว่าปัญญาเป็นอัตโนมัติ ท่านเทศน์อยู่เขาก็ไปแกะมาไง เขาก็เอาเทศน์หลวงตานี่มาลง หลวงตาบอกว่า กิเลสนี่มันเกิดโดยอัตโนมัติ กิเลสเรานี่ ความคิดความฟุ้งซ่านเรานี่ หรือสิ่งต่างๆ ที่ความชอบใจของเรานี้ มันจะเกิดโดยที่ไม่มีเหตุผลเลย เกิดโดยอัตโนมัติ

    เราก็ใช้ฝึกฝนของเราตลอดไป ฝึกฝนตลอดจนปัญญาเราเป็นอัตโนมัติจนทันกัน กิเลสเป็นอัตโนมัติอยู่แล้ว ปัญญาก็เกิดโดยอัตโนมัติ มันก็ไล่ทันไป แล้วใช้ปัญญาเรื่อยเข้าไปจนอัตโนมัติคือความชำนาญ ท่านใช้คำว่าความชำนาญ แต่ต่อไปแล้วนี่ขบวนการของมันยังมีต่อไปอีก แต่นี้เขาบอกขบวนการอัตโนมัติหมดแล้ว อัตโนมัติแล้ว

    โยม : ไม่ต้องทำอะไร

    หลวงพ่อ : ทุกอย่างมันจะรวมใส่ตีนกูน่ะ หล่นลงมาเลยน่ะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก คำสอนของเขาทุกคำเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งนั้นเลย มันฟ้องถึงว่าไม่เคยพบเคยเห็นไง มันฟ้องว่าจิตนี้ไม่เคยเป็นไปในธรรมะเลย

    ถ้าจิตนี้เป็นไปในธรรมะเลยนี่ มันจะรู้ของมัน มันจะมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุมีผลของมัน มันจะบอกตามข้อเท็จจริงได้หมด เรานี่เปิดเผย ดูได้หมด ทำตามสบายเลย แต่มันมีอยู่เราจะหาที่ว่าหลวงปู่ดูลย์คลาดเคลื่อนน่ะ อยู่ในนี้ล่ะ เพียงแต่ว่ามันยังหาไม่ทัน

    โยม : เดี๋ยวผมเปิดให้

    หลวงพ่อ : เอ๊อ ชัดเจนเลย

    โยม : คือผมเองนี่ก็เป็นคนเป็นปุถุชนนะครับ มีปัญญาน้อย

    หลวงพ่อ : ว่าไป

    โยม : คือตัวผมเองนี่เริ่มต้นก็เริ่มมาจาการฟัง อย่างของผมนี่ เริ่มมาจากการฟังของหลวงพ่อ......นี่นะครับ ซึ่งถ้าอย่างนั้นนี่ ผมฟังเองแล้วก็อ่านประวัติครูบาอาจารย์บ้าง อย่างของหลวงปู่ชา ของหลวงปู่เจี๊ยะ ของหลวงปู่ขาว แต่ว่าฟังมาอ่านคำเทศน์คำสอนของท่าน ด้วยการที่เรามีปัญญาน้อยนี่ ก็ไม่รู้สึกเห็นความแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วนี่มันแตกต่างกันมากเลย ใช่ไหมครับ

    หลวงพ่อ : แตกต่างกันมาก อันนี้เราไม่มีเวลาไง เราดูแต่ว่าเขาบอกว่านี้คือผลของปฏิบัติ แล้วหลวงพ่อตีหมดเลย ไม่มีหรอก มันเป็นไปไม่ได้สักอย่างหนึ่ง มันเป็นไปไม่ได้ตั้งแต่ไหนแต่ไร มันไม่มีอะไรเป็นไปได้เลย

    โยม : แสดงว่าเริ่มต้นก็…

    หลวงพ่อ : เขาไม่มีอยู่แล้ว ถ้ามีอยู่จะมาพูดอย่างนี้ได้อย่างไร ตรงไหน

    โยม : คืออย่างนี้ครับ พระอาจารย์ คือตอนแรกที่ผมอ่านนะครับ

    หลวงพ่อ : เอ่อ ข้อความที่ ๔๖ อันนี้น่าจะคลาดเคลื่อนจากสภาวธรรมที่หลวงปู่สอน เพราะแท้จริงแล้วจิตเป็นตัวสมุทัย

    โยม : คือตรงนี้ด้วยครับ คือหน้าแรกนิดหนึ่ง จุดที่ทำให้เชื่อนะครับ

    หลวงพ่อ : ใช่ เดี๋ยวนะ ตรงไหน

    โยม : ตรงที่มันเป็น

    หลวงพ่อ : จิตส่งออกนี่ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่านี่เขาบอกว่า แท้จริงแล้วจิตจะเป็นตัวสมุทัย จิตจะเป็นตัวสมุทัยไปไม่ได้นี่ ถ้าจิตนี้เป็นตัวสมุทัยไม่ได้ คนเกิดไม่ได้

    โยม : อื่อ ใช่ครับ ถ้าฟังดูนี่อย่างไรจิตก็ต้องเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

    หลวงพ่อ : นี่มันตลกไปหมด พอมันตลกนี่ มันพูดจนแบบว่ามัน ไม่น่าเชื่อว่าคนเขาจะมีปัญญารับราชการถึงได้ระดับนี้นะ

    แท้จริงแล้วจิตจะเป็นตัวสมุทัยไปไม่ได้ เพราะเขามีมุมมองอย่างนี้ ทีแรกเราก็จับอุดมคติ พอมุมมองอย่างนี้ปั๊บ เขาก็มาบอกว่า เขาไปพูดกันว่าเด็กไม่มีสังโยชน์ เด็กนี่นะเด็กไร้เดียงสานี่ไม่มีสังโยชน์ เพราะเด็กมันไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าเด็กไม่มีสังโยชน์มันเกิดมาได้อย่างไร

    อยู่ในนี้เดี๋ยวเปิด เดี๋ยวเปิด ไล่เลยจะเจออยู่ในนี้ เพราะเขามีความคิดอย่างนี้ใช่ไหม เพราะเด็กไม่มีสังโยชน์ใช่ไหม เพราะเด็กมันใสสะอาดบริสุทธิ์ มันไร้เดียงสาใช่ไหม นี่ไง เราจับอุดมคติ เขาเรียกโลกทัศน์ จับความเห็นเขาได้นะ จะรู้หมดเลย

    เพราะเขาคิดอย่างนั้นใช่ไหม ว่าเด็กไม่มีสังโยชน์ มันถึงมาออกตรงนี้ไง เพราะแท้จริงจิตจะเป็นตัวสมุทัยไปไม่ได้ ถ้าจิตเป็นตัวสมุทัยไม่ได้ ปฏิสนธิจิตเกิดในไข่ ใครมาลงในไข่นั้น นี่พอตัวจิตไปเกิดในไข่ ตัวจิตตัวเกิด เกิดนั้นคือตัวสมุทัย

    โยม : อ้า.. ใช่ครับ

    หลวงพ่อ : แล้วจิตมันเป็นตัวสมุทัยไปไม่ได้ แล้วมันมาเกิดได้อย่างไร นี่ๆความเห็นเขานะ เราเห็นอย่างนี้เราขีดไว้หมด เป็นไปไม่ได้เลย เพราะจิตเป็นตัวบังคับทำให้เกิดไม่ได้ แต่ถ้าเกิดมาแล้วเป็นตัวสมุทัย ตัวจิตเป็นสมุทัย แต่สมุทัยนี่มันเป็นอนุสัย เป็นอนุสัยนี่ก็เหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน อนุสัยมันนอนเนื่องมาด้วยกันไง

    อย่างน้ำนี่ไหลไปในน้ำน่ะ มันก็มีขุ่นมีตะกอนของมันไปด้วยใช่ไหม ในน้ำนั้นน่ะ แต่ตะกอนมันก็สามารถแยกจากน้ำนั้นได้ สมุทัยนี่ พวกตัณหาทะยานอยากสามารถแยกจากจิตได้ สามารถแยกได้ แต่โคตรยากเลย ถ้าไม่ยากพระพุทธเจ้าถึงได้บอกว่ามันละเอียดอ่อนขนาดไหน

    อันนี้คนมันไม่เคยทำ มันก็เลยบอกว่า นี่มันถึงบอกว่าจิตเป็นสมุทัยเป็นไปไม่ได้ เพราะมีแนวคิดอย่างนี้ นิพพานถึงมีอยู่แล้วไง นิพพานเป็นของที่มีอยู่แล้วเราเทศน์ไว้น่าตลก อะไรนะ เล่นซ่อนหานิพพานไง เอาไปซ่อนไว้ เออ เอานิพพานไปซ่อนไว้ไง แล้วกูเดินไปสะดุดนิพพาน คะมำเลยล่ะ

    ทำใจให้สงบๆ แล้วไปเปิดเว็บไซต์เราดูนะ เราพูดไว้เป็นเสต็ปเลย ถ้านิพพานนี่มันมีอยู่แล้ว จิตมันเป็นนิพพานอยู่แล้ว กายก็ต้องมีนิพพานด้วย เพราะสติปัฏฐาน ๔ มันมีกาย เวทนา จิต ธรรม

    โยม : แล้วมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมสงสัยนะครับ

    หลวงพ่อ : ว่าไป

    โยม : คือกาย เวทนา จิต ธรรมนี่ เราก็ถูกต้องที่ว่า เราจะเริ่มตรงไหนก็ได้หรือเปล่าครับ

    หลวงพ่อ : ได้ ใช่ๆ ว่ามา ใช่ เริ่มตรงไหนก็ได้ ว่าไป

    โยม : คืออย่างนี้ผมเรียนพระอาจารย์ตามตรง คือผมไปบวชที่วัดบุญญาวาสนะครับ ที่ชลบุรี ก็เคยมีครูบาอาจารย์ท่านก็แนะนำว่า กาย เวทนา จิต ธรรมนี่ จิตนี่มันเป็นเงาของจิต ถ้าดูโดยวิธีของหลวงพ่อ........มันดูไม่ถึง ท่านบอกว่าให้ดูที่กายก่อน แต่ถ้าผมเอง ผมฟังแล้วนี่ก็ยัง ก็ยังมีความสับสนอยู่

    หลวงพ่อ : สับสน กูจะบอกว่าไม่เป็นทั้งนั้นน่ะ ถ้าไม่เป็นพูดผิดหมด แล้วสับสน บอกจุด ๑ ๒ ๓ ๔ บอกจุดเริ่มต้นไม่เป็น หลวงปู่มั่นครูบาอาจารย์เรานี่บอกจุดเริ่มต้นนับหนึ่ง เสต็ป มันจะเริ่มต้นอย่างนี้ พื้นฐานจะเป็นอย่างนี้ แล้วก้าวเดินเป็นอย่างนี้ถูกต้องหมด แต่พวกเราทำกันไม่เป็น กาย เวทนา จิต ธรรม นี่ มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ ถ้าไม่มีตัวจิตของเราไปเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม จะไม่มีกาย เวทนา จิต ธรรม เลย

    มึงเห็นหมอผ่าตัดกายทุกวันไหม มันเห็นกายไหมล่ะ มันเห็นแต่ตามันนี่ มันไม่เห็นกายหรอก มันเห็นตังค์ มันผ่าตัดเอาตังค์ เพราะอะไร เพราะจิตมันเป็นโรค เพราะจิตยังไม่ได้ทำสมาธิ จิตไม่ลงสู่ความสงบ จิตไม่สู่ความสงบนี้เป็นจิตสามัญสำนึก ความคิดความนึกของเราขึ้นมานี่ มันเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ

    เพราะปฏิสนธิจิตมันเกิดเป็นมนุษย์ มันมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ จิตนี้ไปเกิดเป็นเทวดา มันเป็นกายทิพย์ มันไม่มีร่างกายนี้ มันก็เป็นขันธ์ ๕ จิตนี้ไปเกิดบนพรหมเป็นขันธ์ ๑ ตัวจิตนี้เป็นขันธ์ ๑ สถานะของพรหม เทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน นรก อเวจีนี่ มันเป็นสถานะของกรรม เพราะเราเกิดมาในฐานะของกรรมนี่ มันเป็นคุณสมบัติที่เราได้มา

    ทีนี้เราเอาคุณสมบัติของเรา สิ่งที่ได้มาที่เรียกว่าโลกๆๆ นี่ไปพิจารณาธรรมนี่ มันพิจารณาได้อย่างไร ที่นี้ก่อนที่จะพิจารณาธรรมนี้ ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่มันเป็นธรรมะเหนือโลก ธรรมะเหนือโลกมันต้องทำจิตนี้เห็นไหม จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน นี่เอ็งไม่มีทางเข้าใจเรื่องอย่างนี้ได้หรอก ไม่เข้าใจเรื่องนี้ได้เพราะเอ็งไม่เห็น เหมือนกับเรา อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ เรื่องน้ำ เรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ นี่

    อย่างเช่น เราจะผ่าตัด ถ้าเอ็งผ่าตัดนี่ เอ็งไม่ทำให้ห้องนี้ปลอดเชื้อเอ็งจะผ่าตัดได้อย่างไร แต่ถ้าเราไม่มีทางวิชาการ เมื่อก่อนโบราณเขาก็ทำกันอย่างนั้นนะ เขาก็ทำกันมาเพราะเขาก็ไม่รู้ของเขา แต่พอวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้แล้วว่า มันมีเชื้อโรคมีอะไรต่างๆ เขาก็ต้องแก้ไขของเขาใช่ไหม

    พระพุทธเจ้ารู้ตั้งแต่ ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ว่าจิตนี่ ถ้ามันคิดไปโดยเรานี่ กิเลสกับหัวใจมันอยู่ด้วยกัน แล้วเอ็งไปตรึกธรรมะด้วยกิเลสของเอ็งนี่ เอ็งจะเป็นธรรมะได้ไหม อ่านพระไตรปิฎกมาพุทธพจน์ๆ พุทธพจน์กูไม่เถียง กูเถียงมึง กูจะเถียงคนพูดพุทธพจน์ มึงรู้อะไรพุทธพจน์ มึงจำขี้ปากพระพุทธเจ้ามาพูด ฟังขี้ปากพระพุทธมาพูด พูดอย่างนี้ ความหมายอย่างนี้ มึงพูดผิดๆ กันอยู่นั่นน่ะ

    แต่ถ้าจิตเราสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามาก่อน ถ้าจิตมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถึงจะเป็นสติปัฏฐาน ๔ เห็นไหม สเต็ปมันอยู่ตรงนี้ ถ้าจิตเราไม่สงบ เราจะไม่เห็นกายโดยความเป็นจริง เห็นกายโดยสามัญสำนึก เห็นกายโดยสัญญาอารมณ์ เห็นกายโดยความคิดของมนุษย์ ไม่ใช่เห็นกายแบบที่พระพุทธเจ้าต้องการให้เห็น

    พระพุทธเจ้าต้องการให้เห็นจิตนี้เห็นกาย จิตนี้เห็นเวทนา จิตนี้เห็นจิต จิตเห็นจิตได้อย่างไร นี่จิตเห็นจิต หลวงปู่ดูลย์นี่ไง จิตเห็นจิต จิตเห็นจิตเป็นอย่างไร จิตเห็นจิตเป็นอย่างไร ให้มันพูดมา ตอบไม่ได้หรอก! ไม่รู้เรื่อง! ไม่เป็น! หลวงปู่ดูลย์บอกว่าดูจิตจนจิตเห็นจิตเห็นไหม ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ทำไมหลวงปู่ดูลย์ถึงพูดว่าจิตเห็นจิตล่ะ

    โยม : จิตเห็นจิต

    หลวงพ่อ : เออ ในจิตส่งออกของหลวงปู่ดูลย์ไปอ่านสิ แล้วทำไมหลวงปู่ดูลย์พูดว่าจิตเห็นจิตล่ะ

    โยม : จิตเห็นจิตโดยแจ่มแจ้ง

    หลวงพ่อ : เป็นมรรค เป็นมรรคนะ ผลที่เกิดจากเกิดที่จิตเห็นจิตแล้วถึงจะเป็นนิโรธ กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ ไง ก็ดูแม่งไปเลย เห็นจิต เห็นจิต กูก็เขียนเลย กาย เวทนา จิต ธรรม กูนั่งมองได้ทั้งวันเลย กูเห็นแต่ตัวหนังสือ

    โยม : แล้วผมขอโอกาสถามว่า เราจะเริ่มต้นควรจะนับ ๑ นี่นับตรงไหน

    หลวงพ่อ : กลับมาที่ความสงบ ถ้าไม่มีความสงบภาวนาไม่ได้ ไม่มี! เป็นไปไม่ได้! ถ้าไม่กลับมาความสงบก็เอาขี้ เอาขี้เอาเยี่ยว ไปผสมขี้ผสมเยี่ยวนั่นล่ะ เอาสามัญสำนึก เอาธรรมของเรา เอาความคิดของเรานี่ เอาความคิดของเรานี้ล่ะ เอ็งว่าความคิดเอ็งสะอาดไหม

    โยม : ไม่สะอาดครับ

    หลวงพ่อ : แล้วเอ็งพิจารณาธรรมแล้วได้อะไรขึ้นมา

    โยม : มันก็ได้ความไม่สะอาดไง

    หลวงพ่อ : ปัดโธ่เอ๊ย แล้วก็หลอกชาวบ้านเขาไป หลอกเขาไปทั้งโลก ไปเล้ย ! พิจารณาไปเล้ย ! พิจารณาไปเล้ย !

    โยม : อาจารย์ครับ แล้วอย่างเรื่องการพูดถึงวาระจิตนี้มันก็เป็นการคิดไปเอง

    หลวงพ่อ : โกหกหมด! มึงไปดูแถลงการณ์......สิ เขาเพิ่งให้กูดูนี่ มีผู้หญิงไปแล้วไปบอกว่าเขาภาวนาดีเลย เขากำลังทุกข์เต็มที่เลย ทายผิดก็เยอะ กูทายเองผิดนี่ แต่เอ็งไม่กล้าลุกขึ้นมาโต้แย้ง เอ็งก็เก็บไว้อยู่ในใจเอ็ง

    โยม : แล้วจิตปุถุชนก็อาจจะคิดไปเอง เราอาจจะไม่รู้ อาจจะเป็นอย่างนี้จริงๆ

    หลวงพ่อ : ใช่ๆ

    โยม : คิดไปเรื่อยเปื่อย

    หลวงพ่อ : กูจะพูดอย่างนี้นะ จิตนี่มันเหมือนพลังงาน นี้พลังงานนี่มันต้องคลายตัว นี้ความร้อนมันต้องคลายตัวตลอดเวลาใช่ไหม มึงมา ๑๐๐ คนนะ มึงก็ส่งออก ๑๐๐ คน มึงคิดทุกคน ไอ้นั่นคิดแล้ว ไอ้นี่คิดแล้ว ไอ้นี่ที่คิดไม่คิดนี่ มันไม่เหมือนหลวงปู่มั่น

    หลวงปู่มั่นนะตอนอยู่ถ้ำสาริกา ส่งจิตออกมานี่เห็นพระหลวงตาท่านบวชอยู่ข้างล่างไง บวชอยู่วัดบ้าน ท่านมีครอบครัวมาก่อน ท่านก็ห่วงครอบครัวเห็นไหม ท่านก็คิดว่าครอบครัวจะเป็นอย่างไรตั้งแต่หัวค่ำ หลวงปู่มั่นก็ส่งจิตมาดู โอ้โฮ ไอ้นี้คิดถึงเรื่องครอบครัวตลอดเลย

    ท่านก็ภาวนาของท่าน เที่ยงคืนส่งจิตมาดู เอ๊ะ ยังคิดอยู่เรื่องครอบครัวอย่างเก่า ก็กลับมา พอตี ๔ ตี ๕ ไปดู เจอลงไปบิณฑบาตก็ยังคิดเรื่องครอบครัวอย่างเก่า ท่านก็ออกจากภาวนา เช้าบิณฑบาตลงมา หลวงตา.. เมื่อคืนน่ะแต่งงานกับภรรยาคนเก่า แต่งงานกับคู่เก่าทุกคื้น ทุกคืนนะ มันเป็นอย่างไร

    ตกใจเห็นไหม รู้วาระจิตต้องรู้อย่างนี้ รู้ว่ามึงคิดเรื่องอะไร คิดแล้วในความคิด คิดเรื่องอะไร ทำอะไร ไม่ก็.. อู๊ย ส่งออกแล้ว กูส่งออกแล้ว กูก็ชี้ได้หมด หมากูก็ส่งออก หมากูแม่มึงเห่าทั้งวันเลย นี่มึงเห่าแล้ว มึงเห่าแล้ว มันเป็นเรื่องธรรมดาของจิต คำพูดของเขาเรามองดูเป็นเรื่องเบสิกหมด แต่โลกแม่งตื่นเต้นกันนะ

    โยม : ใช่ครับ ตื่นเต้น

    หลวงพ่อ : ตื่นเต้นๆ แล้วถ้าพูดได้จริงทำได้จริงนะก็เฮงซวย เพราะมันไม่ใช่มรรค หลวงปู่เจี๊ยะนี่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดให้เราเอง ท่านเป็นคนนวดหลวงปู่มั่นอยู่ทุกคืน แล้วหลวงปู่เจี๊ยะท่านก็ศึกษาของท่าน ท่านก็ไปถามหลวงปู่มั่น ว่าอภิญญา ๖ นี่ รู้วาระจิต ตาทิพย์ หูทิพย์ต่างๆ นี่ มันแก้กิเลสได้ไหมครับ

    หลวงปู่มั่นรักหลวงปู่เจี๊ยะมาก เพราะหลวงปู่เจี๊ยะนี่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นตอนอยู่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่มั่นป่วย หลวงปู่เจี๊ยะนี่ดูแลมาตลอด หลวงปู่มั่นนี่รักหลวงปู่เจี๊ยะ เพราะหลวงปู่เจี๊ยะมีคุณกับหลวงปู่มั่น นี่หลวงปู่มั่นเมตตาหลวงปู่เจี๊ยะมาก พอบอกว่า ท่านเล่าให้ฟังเองนะ พอบอกว่าอภิญญา ๖ นี่ รู้วาระจิตนี่ รู้วาระจิต หูทิพย์ ตาทิพย์นี่แก้กิเลสได้ไหม ท่านก็เขกหัว ป๊อก เพราะท่านเมตตามากไง ละไม่ได้

    หลวงปู่เจี๊ยะท่านฉลาดมาก เพราะหลวงปู่มั่นนี่ท่านละเอียดอ่อนมาก ทีนี้ถ้าจะถามต่อไปเลยนี่ เดี๋ยวจะโดนลูกที่ ๒ ท่านก็นวดไปก่อน นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเองนะ นวดไปเรื่อยๆ นวดไปเรื่อยๆ แล้วถ้าอย่างนั้นนะ ถ้าอภิญญา ๖ นี่มันแก้กิเลสไม่ได้นี่ แล้วพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทำไมชำนาญเรื่องอภิญญา ๖ เอาไปทำไม ท่านชำนาญมากนะ

    หลวงปู่มั่นก็บอกว่าอีกป๊อก ป๊อก เอ้า อภิญญา ๖ แก้กิเลสไม่ได้หรอก แต่อภิญญา ๖ นี่เอาไว้เป็นวิธีการ เป็นอุบายวิธีการ เป็นเครื่องมือสั่งสอนคน ถ้าคนเรานะมันไม่มีเครื่องมืออย่างนี้ไปสั่งสอนคน คนนะมันก็ถูลู่ถูกัง แต่เวลาสอนคน เราไม่ได้สอนด้วยอภิญญา ๖ หรอก เราสอนด้วยอริยสัจ แต่อภิญญา ๖ นี้เป็นเครื่องมือ เป็นการดักทาง เป็นการบอกกล่าว เป็นการชักนำให้เข้าสู่อริยสัจ นี่หลวงปู่มั่นพูดอย่างนี้กับหลวงปู่เจี๊ยะ

    หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังประจำ ถึงจะทำได้จริงก็ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรเลย เพราะมันไม่ใช่เครื่องมือฆ่ากิเลส เอ็งนี้ไม่สบายกัน เอ็งไปซื้อยานี่ ยานี้ใส่ขวดมานี่ เอ็งว่ายากับขวดนี้ นี่ถ้าไม่มีขวดมันจะเอายามาได้อย่างไร แต่เอ็งกินขวดหรือเปล่าล่ะ เอ็งกินยาเอ็งไม่ได้กินขวด ขวดไม่มีประโยชน์อะไรหรอก แต่ขวดนี้เขาใส่ยามาให้มึงกินใช่ไหม แต่เอ็งบอกขวดนี้ดี ขวดนี้สุดยอดเลย แต่ยาแม่งไม่มี

    โยม : ก็ไม่มีความหมายอะไร

    หลวงพ่อ : พวกเอ็งก็ทำกันไปเถอะ ทำเยอะๆ เอ็งกินขวด กูกินยา เอ็งกินขวดเข้าไป ขวดเคี้ยวเลย อร่อย

    โยม : มันยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

    หลวงพ่อ : มันหลงทาง มันออกนอกลู่นอกทางไปเลย แล้วมันจะปั่นป่วนอยู่อย่างนี้ แล้วไม่จบด้วย กูรู้ว่าจะไม่จบหรอก

    โยม : พระอาจารย์ได้อ่าน......พระอาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

    หลวงพ่อ : แถลงการณ์......นี่นะ เรารู้เลยว่าเพราะเว็บไซต์เราออกไปเยอะ เขาเก็บประมวณจากเว็บไซต์เราด้วยนั่นล่ะ จริงๆ น่ะเราก็อยากจะให้เขารู้กันอย่างนั้นน่ะ ผิดหมด เพราะในเว็บไซต์.....เขาก็บอกในเรื่องดูจิตด้วย ผู้หญิงที่ว่าดูจิตคนนั้น เขาบอกว่ามันไม่มี

    แถลงการณ์...... นั่นล่ะคือหัวใจล่ะ สอนให้คนอ่อนแอ สอนให้คนช่วยตัวเองไม่ได้ แล้วทุกคนต้องประสบ โธ่.. มันมีลูกศิษย์หลายๆ คนนะที่เขาดีดตัวเองมา เขาบอกว่าเขาเป็นหมอหมด เขาบอกว่าทีแรกเขาก็ไปทางนั้นล่ะ แล้วพอไปแล้วคนนั้นก็ได้ขั้น ๑ ขั้น ๒ ขั้น ๓ ขั้น ๔ แล้วก็ออกไปเรื่อยๆ เขาพูดอย่างนั้นจริงๆนะ

    แล้วพอได้ไปนี่แล้วเขาก็แปลกใจ เขาแปลกใจว่าทำไมมันง่ายจนเกินไป แล้วก็มีพวกหมอเพื่อนเขานั่นแหละ เอาซีดีของเราให้เขาฟัง ใหม่ๆ ก็เป็นอย่างนี้ ใครๆ ฟังซีดีเราใหม่ๆนะ อื้อฮือ มันทุกข์มันยาก มันปวดเจ็บแสบมันรับไม่ได้ทั้งนั้นล่ะ แต่เขาฝืนไปฟังไปฟังมานะ เขาชักโน้มเอียงมาแล้วว่า เอ่อ อันนี้มีหลักมีเกณฑ์

    อันที่เขาไปกันมาน่ะไม่มีหลักมีเกณฑ์ พอไม่มีหลักมีเกณฑ์ปั๊บนี่ เขาก็สังเกตหมู่คณะของเขา นี่เขาเล่าให้ฟังนะ สังเกตในพวกหมอด้วยกัน ถึงเวลาวันเสาร์อาทิตย์เขาต้องไปที่วัดเขานี่ เขาจะสังเกตว่าไอ้พวกนี้จะงุ่นง่านแล้ว เพราะว่าอะไร เพราะเขาทุกข์ว่าเขาจะไม่มีคำพูดอะไรจะไปพูดกับอาจารย์เขา เฮอะ มันก็น่าแปลกนะ เขาบอกว่า เอ๊ คนปฏิบัติมันต้องร่มเย็น ต้องมีความอบอุ่น

    แต่นี้เวลาจะไปหาอาจารย์นี่ เขาจะเดือดร้อนแล้ว เพราะไม่มีมุก ไม่มีคำพูดอะไรที่จะไปพูดกับอาจารย์ จะหาอะไรไปพูดกับอาจารย์ดี จะย้อนกลับมาแถลงการณ์....นี่ไง เขาบอกว่าการฝึกสอนอย่างนี้ ฝึกให้พึ่งตัวเองไม่ได้ แล้วมีอะไรก็มีการโต้ตอบกันอย่างนี้ พอจะโต้ตอบก็ต้องมีปัญหาไปโต้ตอบเขา คือจะอาศัยคำพูดของเขาเคยหล่อเลี้ยงไว้เท่านั้นเอง ทำให้การปฏิบัติอ่อนแอ พึ่งตัวเองไม่ได้

    แต่นี่ครูบาอาจารย์เรานะ เอ้ามึงพุทโธสิไปเลย พุทโธมา แล้วมีอะไรมาบอก ทำไม่ได้ใช่ไหม คำว่าพุทโธนี่นะ เราพูดไว้บ่อยจะอ้างเว็บไซต์ตลอดเพราะเราพูดไปเยอะมาก ในนั้นจะบอกว่าทำไมต้องพุทโธ พุทโธเพื่ออะไร ไปดูสิเราบอกไว้หมดเลย เหตุใดต้องพุทโธล่ะ

    ถ้าไม่มีพุทโธนี่ พุทโธนี่คือพุทธานุสสติ คำว่าพุทโธนี่นะ มันก็เป็นอักษรเป็นคำสอนพระพุทธเจ้า มันไม่มีอะไรหรอก แต่เพราะจิตของเรานี่มันเป็นพลังงานเฉยๆ สิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดคือความคิดของเรา คือจิตนี่เคลื่อนที่เร็วกว่าแสง นี่พอเร็วกว่าแสงนี่มันไปหมดแล้ว มันไม่ทันหรอก นี่เราเอาสิ่งที่เคลื่อนเร็วที่สุดนี่ หาสิ่งที่แบบว่าเหมือนกับอะไร สะท้อนกลับ บูมเมอแรงสะท้อนกลับเห็นไหม

    เพราะพุทโธๆๆๆ นี่มันจะสะท้อนสิ่งนี้กลับมา พุทโธๆๆๆๆนี่ เพราะเรามีสติ เรามีสติ แล้วอย่างกรณีทำอย่างนั้นเราบอกว่าตัดรากถอนโคน อย่างที่เขากำหนดนามรูปกำหนดอะไรๆ นี่ มันตัดรากถอนโคนเพราะมันส่งออกหมด นี่พอส่งออกหมดนี่ นี่เราพุทโธๆ ส่งออกไหม พุทโธนี่มันก็คำพูดเหมือนกัน ความคิดเหมือนกัน เห็นไหมว่าเหมือนกันนี่ แตกต่างกันราวฟ้ากับดินเลย

    ฟ้ากับดินเพราะอะไร เพราะเรามีสติใช่ไหม เรานึกพุทโธๆๆๆ นี่พุทโธที่ไหน เพราะคำว่าพุทโธเอ็งต้องนึกขึ้นมา เอ็งไม่นึกแล้วมันจะมีพุทโธไหม แล้วใครเป็นคนนึก ก็จิตมันเป็นคนนึก นี่พอจิตเป็นคนนึกพุทโธมันเกิดจากไหน เกิดมาจากรากฐาน พุทโธๆๆๆๆ ออกไปนี่ แล้วถ้ามันสงบ มันก็สงบกลับมาที่ตัวมันจริงไหม เพราะเรานึกขึ้นมาเอง วิตก วิจาร ไม่มีวิตก วิจาร แล้วฐานความคิดมาจากไหน ความคิดมาจากไหน พอมันสงบ มันสงบกลับไปที่ไหน มันก็กลับไปสงบที่จิต

    พอสงบลงที่จิตมันก็โอ้โฮ สงบเย็น โอ้ สงบอย่างนี้เนาะ ไม่ใช่ว่างๆๆๆๆ กูฟังว่างๆๆ มานี่เยอะมาก พอใครว่างๆมานะ กูบอกว่าสมมติว่าพุทโธได้ไหม คือถ้าจะบอกให้พุทโธเขาจะบอกว่า ไม่ได้เพราะเขากลัวไง กลัวว่าถ้าเรานึกพุทโธมันจะหยาบ ถ้าปล่อยหายไปเลยมันจะละเอียด เขาคิดผิดไง

    เราบอกสมมติว่านึกพุทโธได้ไหม ได้ค่ะ นั่นคือไม่ว่าง เพราะมันยังนึกได้ ธรรมชาติของมนุษย์มันมีความคิดคือสัญญาอารมณ์กับจิต จิตคือพลังงาน ธรรมชาติมันมีอยู่อย่างนี้ หลวงตาบอกว่าจิตเป็นสอง สองเพราะจิตเรานี่มีสัญญาอารมณ์กับความรู้สึกเราเป็นคู่กันมาตลอด คนเรามีของคู่ มีดีมีชั่ว มีสุขมีทุกข์ มีพลังงานกับความคิด

    นี่พุทโธๆๆๆๆๆๆๆ จนจิตละเอียดเข้ามาจนเป็นหนึ่งเดียว นี่สมาธิคือจิตหนึ่ง ในปัจจุบันนี่จิตสอง ความคิดกับความรู้สึก แล้วเขาไปดูที่ความคิดให้ดับไง ดูความคิดให้ดับ พอความคิดดับไปนี่เห็นไหม มันก็ยังเป็นสองอยู่อย่างเดิม สองตรงไหน สองที่ว่างๆๆๆ ว่างๆ ใครพูด ว่างๆ คือสัญญา สัญญาว่าว่าง ตัวพลังงานมันรู้ว่าสัญญาว่าว่าง

    แต่ถ้าเป็นสมาธิ สมาธิเป็นอย่างไร สมาธิหนึ่งเดียว สมาธินี่พูดได้ มันว่างอย่างนั้นเราสมมติกันได้ แต่! แต่จะพูดความรู้สึกอันนั้นออกมาไม่ได้เลย มันไม่มีอักษรอะไรที่อธิบายความรู้สึกอันนี้ได้เลย แล้วพอความรู้สึกนี้มันก็มีพลังงานจริงไหม เพราะมันมีพลังงานมา พลังงานอันนี้จะออกไปใช้ปัญญาได้ นี่ถึงเป็นโลกุตตรปัญญา ไอ้ปัญญาที่คิดๆ กันอย่างนี้ มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นปัญญาของกิเลส หลวงตาพูดทุกวัน

    กิเลสเอาปัญญานี้มาหลอกแดก แล้วก็เอาปัญญานี้วิปัสสนา พิจารณากาย ปล่อยวางๆๆ ปล่อยทำไมวาง กลับมาถึงไอ้ไฟฟ้าเห็นไหม ไอ้สายไฟ เริ่มต้นจากไฟถนนเห็นไหม ดูเกิดดับ เกิดดับ กูบอกถ้าดูเกิดดับก็ดูไฟถนน มันก็เกิดดับมันเอง ทั้งๆ ที่เกิดดับเองน่ะต้องมีแผงวงจรนะ ไม่มีแผงวงจรไฟฟ้ามึงจะเกิดไหม มันจะดับไหม ไฟถนนเห็นไหม พอแสงเริ่มมัวๆ มันก็ติดเอง พอแสงมันสว่างขึ้นมันก็ดับเอง มันไม่มีชีวิตนะโว๊ย

    กูพยายามจะบอก กูพยายามเตือนมาตลอดบอกว่ามันไม่มีชีวิต มันไม่มีความรู้สึก มันเป็นแร่ธาตุ จิตของเรานี่ ธาตุรู้นี่เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ สสารที่มีชีวิต ธาตุรู้นี่มหัศจรรย์มาก แล้วถ้าพิจารณาเข้าไปเห็นเข้าไปนี่ มึงจะเห็นความมหัศจรรย์อีกมหาศาลเลย ไม่พูดอย่างนั้น ไม่พูดอย่างนั้น แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว คำพูดเหมือนกันนี่แหละ แต่ความรู้สึกของกูกับเขานี่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว

    เขาพยายามจะดึงเราไป พยายามจะคอนโทรลว่าเหมือนกัน เหมือนกัน ใหม่ๆออกมานี่ สอนเหมือนกัน แต่ท่านเห็นผิด แล้วจะบอกเลยว่าท่านโดนโกหก ท่านโดนคนเกลี้ยกล่อม ใครมันจะกล่อมกูได้วะ ท่านได้ข้อมูลผิดๆ ไม่ใช่ข้อมูลผิดหรอก เราเตือนสังคม กูสงสารพวกโยม กูสงสารเขา ที่พูดนี่เพราะความสงสารนะ พูดจนเจ็บคอหมด พูดเพราะความสงสารนะ

    โธ่ ในพระโง่ เราบอกเห็นไหม เพราะเขาเอาหนังสือมาให้ดูนี่ ลูกศิษย์เขาเอามาให้ดู เขาบอกเขาไปที่อะไร เขาเทศน์ที่ว่าชาวพุทธอย่าทะเลาะกัน นี่เรารู้เลย เรารู้ถึงเจตนานะ คำพูดของเขา เขาพูดอะไรออกมาน่ะ เรารู้ถึงเจตนาเลยล่ะ ถ้าชาวพุทธอย่าทะเลาะกันนี่ แล้วเมื่อก่อนนี่เขาทะเลาะกับธรรมกายทำไม แล้วพอเขาทะเลาะกันน่ะ แล้วพอเขาขึ้นมาศักยภาพขึ้นมา แล้วบอกว่าอย่าทะเลาะกัน

    เราบอกเราไม่ทะเลาะกับใคร แต่คำสอนมึงเหมือนนมผสมเมลานีน มึงจะให้เด็กมึงกินไหม มึงไปเปิดฟังสิ ในพระโง่นั้นน่ะ แล้วก็บอกว่าชาวพุทธอย่าโง่ อย่าทะเลาะกัน บอกไม่ใช่ชาวพุทธอย่าทะเลาะกัน กูมันโง่ กูนะพระโง่ พระโง่ๆ นี่ออกมาเตือนสติสังคม ไม่ทะเลาะกับมึงหรอก

    เพราะเขาจะพูดให้สังคมนี้อย่าตรวจสอบไง ถ้าอย่าตรวจสอบ อย่าทะเลาะกันคืออย่าตรวจสอบ อย่าฉงนสนเท่ห์ อย่าเอาสิ่งนี้ขึ้นมาวินิจฉัย ถ้าวินิจฉัยแล้วมันตาย เวลาพูดอย่างนี้ไปเขาก็พูดมาเรื่อยๆ เขาพยายามจะปกป้องตัวเองด้วยคำพูดของเขา เขาบอกว่านี่ พอเวลาเราบอกว่านี่ คำพูดของเขานี่มันรัดคอเขาเอง อย่างเช่นลัดสั้น จะดึงให้เร็วมาอยู่กัน ๗ วันจะเป็นโสดาบันอย่างนี้ พอนี้ลัดสั้นขึ้นมาแล้วมันต้องมีผลใช่ไหม ก็ให้บรรลุเป็นโสดาบัน

    แล้วพอข่าวมาถึงเราเยอะแยะไปหมด เขาก็บอกว่าไม่เคยให้ใคร พระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลในปัจจุบันจะมีไหม มันจะมีโดยตำรา มันจะให้ใครชี้ไม่ได้นะ ต้องพระพุทธเจ้าชี้คนเดียวนี่ แน่ะ! เพราะอะไรรู้ไหม เพราะชี้ก็ผิดหมด เพราะกูไปอุปโลกน์ไว้เอง คำพูดเขาพูด เขาทำอะไรไว้ขนาดที่ทำนี่ มันเหิมเกริม เหลิง

    แต่พอมีคนมาตรวจสอบน่ะ มันรู้ว่ามันไม่จริงทั้งนั้น ก็ต้องพูดเพื่อปกป้องไว้ กูใส่เลย แม้แต่ในตำราก็ผิด เพราะในตำรานะเวลาสังโยชน์ขาดมันขาดเลย แล้วพิจารณากาย พิจารณาอย่างไร แล้วสังโยชน์ๆ ขาดอย่างไร สังโยชน์ขาดแล้วนะ ขาดแล้วก็กลับมาอีก เห็นกัน แพ้บ เป็นโสดาบัน พอเห็นนิพพานแพ้บเป็นโสดาบันนะ

    ไอ้........น่ะ เขาไปเที่ยวนิพพานกับเขาไปนอนนิพพานกันอยู่นู้นน่ะ มันไม่มีเหตุผลไง ถ้ามีเหตุผลนี่เห็นไหม เอ็งพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมอย่างไร แล้วปัญญานี่ วงรอบของปัญญาน่ะมันแยกแยะอย่างใด มันปล่อยวางกายกับจิตอย่างใด กายไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กาย ทุกข์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ทุกข์ มันทำอย่างใด เห็นไหมนี่บอกว่าแม้แต่ตำราเองพูดก็ผิด

    แล้วบอกถ้าพระพุทธเจ้าชี้นะ พระพุทธเจ้าไม่ชี้หรอก สัจธรรมมันชี้ สันทิฏฐิโก ปัจจัตตังน่ะมันบอกมันฟ้อง คำพูดอย่างนี้เขาบอกว่า จะพูดในทำนองว่า ถ้าจะมีการชี้ถูกชี้ผิดก็ต้องพระพุทธเจ้าองค์เดียวไง คนอื่นพูดไม่ได้ กูบอกไม่มีใครไปชี้ พระสงบก็ไม่ได้ชี้ใครหรอก พระสงบไม่มีศักยภาพ ออกไปสังคมไม่ได้หรอก แต่ความจริงความชั่วในใจมึงมันจะชี้ !!! รู้ๆ อยู่แก่ใจ !!!

    โยม : ใช่ครับ

    หลวงพ่อ : ใครจะไปชี้ ไม่มีใครไปชี้หรอก ความจริงความชั่วในใจน่ะมันชี้ นี่ไงคำพูดน่ะ โธ่ พอเขาพูดแล้วลูกศิษย์มาให้อ่าน รู้เลยว่านี้คิดอะไร คิดอะไร ทำอะไร แล้วจะไปไหน แค่อ่านนี่กูก็รู้แล้วคิดอะไรน่ะ นี่มันต่างกันราวฟ้ากับดินไง ยังไม่มีอะไรเหมือนเลย ใครบอกให้เหมือน ไม่มีอะไรเหมือนเลย แล้วที่เอามาทำนี้นะ เมื่อก่อนนี้หนังสือมามาก เราเผาทิ้งหมด ไม่เอา ไม่ยุ่ง ไม่เคยยุ่งกับใครเลย

    โยม : แต่ตอนนี้มันก็แพร่กระจายไปเยอะมากเลยนะครับท่านอาจารย์

    หลวงพ่อ : แพร่กระจายหมายความว่าอะไร

    โยม : หมายถึงว่า หนังสือเอง ซีดีเอง คำสอนอะไรต่างๆ

    หลวงพ่อ : อันนี้มันถึงว่า อันนี้มันเป็นเอกสาร มันเป็นหลักฐานทางเอกสาร ทำผิดหรือทำถูกที่ว่าจริงหรือไม่จริงนี่ ถ้าจะพูดเมื่อไหร่นี่ ไอ้สิ่งที่เราขีดไว้นี่ มันเอาพระไตรปิฎกมาจำกันได้หมดเลย เราจะชี้ให้เห็นเลยว่าผิดอย่างไร แบบนี้ แบบนี้ ในพระไตรปิฎก แต่ถ้าคนไม่เป็นมันทำไม่ได้

    โยม : ใช่ครับ ยิ่งส่วนใหญ่เป็นคนไม่เป็น

    หลวงพ่อ : ใช่ ไม่เป็น เรานี่นะจะเอาอย่างนี้น่ะนะ แล้วเทียบกับในพระไตรปิฎกให้ดูเลยว่าผิดอย่างไร ถ้าจะให้เราทำนะ เราทำให้ได้หมดเลย ไอ้นี่เพียงแต่ว่าเรานี่ มันแบบประสาเรานี่เราภาวนามานี่ พระไตรปิฎกนี่คือทฤษฎี คือกฎหมาย ทนายที่เก่งมากนี่ ตัวบทนี่เขาจะแม่นมาก

    ฉะนั้นของเรานี่ในนั้นน่ะเราจะจับได้ ฉะนั้นเอามาเทียบอย่างนี้นะ นี่เอามาชี้ได้หมดเลย นี้มันเสียเวลา เราถึงว่าเอาในซีดีอันนี้แหละ พ้ะๆๆๆ เลย เราอธิบายชัดๆ เลยแล้วนี่ไอ้ของอย่างนี้ นี่ นิโรธของเขานะ สิ่งที่นิโรธนี่ มันจะเป็นพลัง มันจะไปรวมพลังของกุศล

    แล้วเข้าไปตะลุมบอนกับสังโยชน์ในใจของเรา มันจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตของเราให้ขาดกระเจิงออกไป ขาดคว้ากออกไปเลย ขาดอย่างเนียนมาก ขาดไม่เหมือนฉีกกระดาษดังแคว้กนะ มันออกเนียนมาก ทันทีที่ขาดออกไป จิตแท้ซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมา แต่ปรากฎแบบไร้ร่องรอย

    โธ่ ไอ้........นี่นิยาย มึงจะเขียนอะไรนี่ เอ้ย มึงจะเล่นอะไรวะ ไอ้กาโม่นี่ มึงจะกาโม่หรือมดแดงวะ มันทุเรศ อ้าว อ้าวเขาเทศน์ของเขา นี่มันอ่านอย่างนี้ แล้วนี่คือผลของการปฏิบัตินะ ผลของการปฏิบัติ

    โยม : ในความเป็นจริง ที่พระอาจารย์ประสบนี่แตกต่าง…

    หลวงพ่อ : โฮ่ เพราะเรามีอย่างนี้ เราถึงไอ้นี่ ไม่เป็นอย่างนี้หรอก แล้วนี่เป็นผลของปฏิบัติ แล้วนี่มันเป็นหลักฐานทางเอกสาร แล้วมันแจกไปทั่วโลกทั่วแผ่นดิน แล้วไปคิดดูว่า.. นี่ดีนะเขาไม่อ้างว่าเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์เรา ถ้าอ้างว่าเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์น่ะ กูตายห่าเลย กูไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน อู๊ เวรกรรม

    แล้วออกมาอย่างนี้จะทำอย่างไร เยอะมาก แล้วพระเราก็เหมือนกันก็มาถาม นี่ มันบอกว่าถ้าอย่างนี้คนอื่นก็รู้ได้ยาก คนไม่มีหลักเกณฑ์เลยนี่ อันนี้ยิ่งตลกนะ พระอนาคามี พระอนาคามีไม่มีกามและไม่มีปฏิฆะนี่พระอนาคามีนะ จะละนะ กามทางใจเรียกว่ากามธรรม อย่างเราต้องไม่ยุ่งกับใครเลย นั่งคิดอยู่นี่สมมติว่าเป็นพระบวชมา แต่จะหนีไปเรื่อยๆ สาวไปถึงกามธรรม พระอนาคามีคือละกามธรรม มึงเคยยินไหม

    โยม : ผมไม่เคยเลย

    หลวงพ่อ : เอ็งเคยได้ยินไหมว่าละกามธรรมนี้เป็นพระอนาคามีนี่ นี่ไง ถ้าพูดนี่ลูกศิษย์เราอยู่กับเรานี้เราจะชี้ให้ดู ลูกศิษย์เรานี่จะมีจุดยืนนะ แล้วไม่ยุ่งกับพวกนั้นเลย เพราะว่าเวลาเราเคลียร์ให้ฟังนี่ เราไม่พูดด้วยอารมณ์นะ แต่ใช่โยมพูดทีแรกน่ะ ฟังจิตส่งออกนี่รับไม่ได้เลย เพราะเสียงรุนแรง นิสัยเราเขาเรียกว่ามันธรรม มันสะใจ ถ้าไม่พูดออกมาด้วยหัวใจน่ะ มันเหมือนกับ โทษนะ ถ้าทางโลกเขาเรียกตอแหล คือแบบพยายามจะมารยาททางสังคมนี่ ถ้าธรรมต้องพุ่ง

    อย่างที่หลวงปู่มั่นนี่ หลวงตาบอกอยู่กับหลวงปู่มั่น เวลาเทศน์นะ ถึงนิพพานทุกๆ กัณฑ์ล่ะ แต่ไม่มัน ต้องไขก๊อก คือว่าก่อนจะเทศน์ต้องไปถามปัญหาผิดๆ ถูกๆ ท่านบอกถ้าหลวงปู่มั่นบอก ไม่ใช่! ท่านบอกไม่ใช่นะ โอ้โฮ มันพรั่งพรู ถ้าไม่ใช่อะไรคือใช่ ถ้าไม่ใช่อะไรคือใช่ มันก็ตรงข้ามกับไม่ใช่ โอ๋ มันพรั่งพรูออกมาแล้วมันออกมา ท่านบอกมันกังวาน มันปั๊ง ปั๊ง ปั๊งเลย

    ฉะนั้นเวลาเรานี่ ถ้าอันไหนสะเทือนใจนะจะแรงมาก แล้วออก งั้นเสียงถึงดัง เรื่องเสียงเรื่องอะไรนี่ ไอ้อย่างนี้มันเป็นสันดาน มันเป็นนิสัยใจคอของเรา เราถึงบอกนี่ นี่เว็บไซต์นี่ ถ้าใครทนฟังได้ก็ฟัง ใครทนฟังไม่ได้ก็กรรมของสัตว์ ไม่ถือสา ไม่ถือสา แต่ถ้าใครทนฟังนะ มึงเอาเหตุเอาผลอันนั้นมึงจะรู้ แต่เสียงนี่เสียงเป็นอย่างนั้น แล้วมันประเด็นพูดสะใจ มันออกมาจากความรู้สึก

    โยม : ก็เหมือนครูบาอาจารย์นะฮะ

    หลวงพ่อ : มันต้องออกมาจากความรู้สึก ฉะนั้นกรณีอย่างนี้มันจะไม่มีอะไรเลย ของเขาไม่มีอะไรเลย แล้วมันธรรมดา ดูๆ แล้วนี่เรายังคิดในใจเลยว่า นี่มันเอาซีดี เอาพวกนี้เอาของเราไปฟังแล้ว มันพูดออกมานี่มันหลายๆ อย่าง ที่มันแบบว่าก๊อปปี้ อ่านแล้วรู้ อ่านรู้เลย นี่ๆ ก๊อปปี้ นี้ก๊อปปี้มันผิดไง

    อย่างเช่นเราบอกว่ากิน เราก็ได้กินข้าว เรามีกิริยาการกินท้องอิ่มหนำสำราญ โยมก็บอกเขากิน ถูกไหม ถูก คำว่ากินก็ ก.ไก่ สระอิ น.หนู กิน คือกิริยาที่เรารู้ๆ กันอยู่ ถ้าคำว่ากินน่ะทุกคนเข้าใจได้ใช่ไหมว่ากิน แต่เรานี่กิน กูกินเสร็จแล้วบอกกูกิน แต่เอ็งบอกว่าจะกินแต่ไม่มีจะกินต่างกันตรงนี้ไง เราถึงบอกว่ามันไม่มีข้อเท็จจริงรองรับไง พอคำว่ากินนี่ พอบอกว่ากินใช่ไหม เรากินข้าวกินอาหารเราก็กินใช่ไหม โยมบอกว่ากิน กินเหล็ก กินปูน กินหิน กินทราย ต่างกันไหม

    โยม : ต่างกัน

    หลวงพ่อ : เพราะเขาอธิบายมันต่างไง เขาใช้คำว่ากินนี้แหละ แต่เขากินหิน กินปูน กินทราย กินเหล็ก ไอ้เรากินข้าว มันก็ออกไปคนละทางเลย แล้วบอกว่าก็พูดเหมือนกันก็กินเหมือนกัน แต่ทำไมหลวงพ่อไม่ยอมรับล่ะ เอ๊ ก็พูดเหมือนกันแหละ กูบอกไม่เหมือนหรอก ไม่เหมือน ไม่เหมือน ไม่เหมือน แล้วไม่เหมือนน่ะ

    เราถึงบอกใหม่ๆนะ เรื่องที่จะเกิดขึ้นน่ะ เพราะว่าลูกศิษย์น่ะ เขาแบบว่าญาติพี่น้องเขาไปทางนู้นเหมือนกัน เขาเป็นลูกศิษย์เรา เขาพยายามมาถามเราว่าหลวงพ่อผิดจริงหรือ ผิดจริง หลวงพ่อมีอะไรมายืนยัน ๑๐๐% เพราะเขาก็พยายาม ที่เขาออกไปนี่นะ เขาไม่ได้ตั้งใจอะไรหรอก คือญาติพี่น้องเขาไปทางนู้น เขาพยายามจะ.. เขารักญาติพี่น้องเขา แล้วเราก็บอกเขาบอกว่า เอ๊ย เอ็งออกไปทำไม่ได้หรอก เพราะเอ็งจำขี้ปากกูไปพูด เวลาเขาถามกลับมึงตอบไม่ได้ มันหน้าที่กูจะพูดเอง

    แต่เราก็รอนี่ ฝั่งนู้นเราจะสร้างตึกอยู่ไง เราจะทำอย่างนี้ เราจะพูดเหมือนกัน แต่ถึงเวลาแล้วเราค่อยพูด อย่างเช่นนี่ เราพูดมาอย่างนี้นี่ เราพูดด้วยหลักฐาน ด้วยเอกสารทั้งนั้นน่ะ เราไม่ได้พูดด้วยหลักลอยนะ แต่ใหม่ๆ เราก็บอกว่า อู้ พระสงบนี่นะ จับเข้าประเด็น จับที่ไม่เป็นประโยชน์มาพูด นี่ ฮือ ไอ้......เอ๊ย กูจับแต่ผลมึงบอก คือเนื้อๆ ทั้งนั้นน่ะ

    โยม : อาจารย์ครับ อาจารย์อยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนานไหมครับ

    หลวงพ่อ : ๑ ปี

    โยม : ๑ ปี

    หลวงพ่อ : พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๗ ตอนสร้างวัด

    โยม : ตอนที่สร้างวัด

    หลวงพ่อ : ใหม่ๆ เลย ใช่ ตอนที่มาจากบ้านตาด เพราะหลวงปู่เจี๊ยะท่านไม่มีพระ เราก็ลงมาจากบ้านตาด มาเป็นกำลังให้ท่าน

    โยม : อ๋อ ตอนนั้นอยู่กันกี่รูปเองหรือครับ

    หลวงพ่อ : ๕-๖ รูป ตอนที่สร้างวัดมีเรากับท่านเท่านั้น มีเณร ๔ เณรก็ทำงาน เรานี่เป็นผู้อุปัฏฐาก เป็นผู้ดูแลท่านหมด ดังนั้นเราถึงใกล้ชิด เพราะตอนนั้นมันเป็นการสร้างวัดใหม่ๆ พอการสร้างวัดใหม่ๆ จะมีพระเข้ามาเยอะมาก พระเขามาถามปัญหาเราก็ออก เพราะอะไรรู้ไหม

    เพราะในสังคมของพระปฏิบัตินี่ เขาจะรู้ว่าใครเป็นใคร กิตติศัพท์ของหลวงปู่เจี๊ยะน่ะ ท่านเหมือนหลวงปู่ตื้อ แต่ก่อนที่จะมาสร้างวัดป่าภูริทัตฯนี่ ท่านจะไม่เลี้ยงใครเลย ขนาดท่านเล่าให้ฟังนะ ท่านเล่าให้ฟังเอง ที่อยู่ที่วัดอโศฯนี่ เพราะท่านมาจากเมืองจันทร์ มาพักที่อโศฯนี่ พวกโยมมาทำบุญน่ะ หลวงปู่ๆ เทศน์ให้ฟังหน่อยสิ ทั้งๆ ที่มาทำบุญนะ ท่านก็ฉันข้าวไป กูเป็นหนี้มึงหรือ

    ท่านไม่พูด ท่านคิดเหมือนกับคนที่รู้นี่ โทษนะ ธรรมะนี่นะเหมือนมนุษย์พูดกับสัตว์ สัตว์จะไม่รู้ภาษาเราหรอก ถ้าคนภาวนาเป็นคิดอย่างนั้นเลย เรามีความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เลยนะ เหมือนเราพูดกับเด็กไร้เดียงสานี่ มันไม่รู้เรื่องหรอก ที่นี้ถ้าคนเขาคิดอย่างนี้ เช่น หลวงปู่ขาวนี่ ท่านบอกเลยนะ ท่านเคยพูดที่หลวงปู่ขาวว่า คนมาหาเรา ๒๐๐,๐๐๐ คน นี่ เราเทศน์สอนคนไป ๒๐๐,๐๐๐ คน นี่ คนจะปฏิบัติได้สัก ๒ คนไหม

    นี่คือข้อเท็จจริงนะ นี่ครูบาอาจารย์ท่านภาวนาของท่านเป็นแล้วนี่ ท่านปฏิบัติมานี่ท่านทุ่มเทขนาดไหน แล้วกว่าจะแต่ละขั้นแต่ละตอนขึ้นมา แล้วไปพูดกับทั่วๆไปนี่ เขาจะรู้กับเราได้อย่างไร แล้วบอกเราปฏิบัติอย่างนี้น่ะ อู้หู อู้หู เอาขนาดนี้เชียวหรือ อู้หู มันจะเป็นจะตาย ท่านถึงไม่พูดกับใครไง

    นี้พอมาอยู่มาสร้างวัดป่าภูริทัตฯนี่ พระนี้เขารู้กิตติศัพท์หลวงปู่เจี๊ยะกันหมด เราก็รู้ แต่เราพอใจจะมาไง เพราะเราอยากให้ภาคกลางมีวัดปฏิบัติ เพราะเราก็คนภาคกลางเหมือนกัน ตอนนั้นปี ๒๗ เราออกมาจากบ้านตาด เราก็มาเป็นฐานให้ท่านนั่นแหละ มีพระเข้ามาเยอะมาก พระเข้ามาถามปัญหาแล้วก็ออก เราก็นั่งฟังอยู่ เพราะถามปัญหานี่หลวงปู่เจี๊ยะตอบเรา เราได้ฟังหมด องค์ไหนตอบมาเป็น ไม่เป็นเรารู้หมด

    ไอ้นี่เพียงแต่ว่าเขาจะมาอยู่ด้วยเขากลัวหลวงปู่เจี๊ยะ เขาเรียกว่าคั่ว เคี่ยวเข็ญไง ไม่กล้าหรอก ที่เขาไม่กล้าเข้าไปเพราะเขากลัวหลวงปู่เจี๊ยะเอาจริงเอาจัง พวกนี้ไม่กล้า หลวงปู่เจี๊ยะเปลือกนอกเป็นอย่างนั้น โธ่ เอ็งภาวนาเป็นไม่เป็นท่านรู้หมดละ แล้วคนมันก็กลัวหมดสิ ไอ้ที่เขาไม่กล้าๆ ไม่กล้าเข้าไปหาอาจารย์ก็ตรงนี้แหละ กลัวโดนแหกอกไง ที่ไม่กล้ากลัวโดนแหกออกมา แล้วตายเลยสิ ขายขี้หน้า

    โยม : อาจารย์ครับ แล้วอย่างนี้ ผมจะเริ่มต้นคือทำความสงบอย่างเดียว ให้นึกถึงความสงบ

    หลวงพ่อ : ทำความสงบนี่ มันมีอยู่ ๔๐ วิธีการเห็นไหม ที่ทำความสงบนี่มันก็มีปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา พุทโธๆ นี่สมาธิอบรมปัญญาคือความสงบของใจ แต่ถ้าเป็นแบบหลวงปู่ดูลย์สอนนี่นะ ท่านสอนให้ใช้ปัญญา เพราะท่านบอกให้ดูจิตนี่ ท่านเขียนตัวดูตัวใหญ่ๆ ดูรู้นี่รู้ใหญ่ๆ ดูรู้แบบผู้บริหารจัดการ การดูจิตของหลวงปู่ดูลย์นี่ ดูแบบผู้อำนวยการโรงพยาบาลนี่ เขาจะรับผิดชอบองค์กรทั้งหมด

    แต่การดูจิตของที่เขาสอนกันนี่ มันดูจิตแบบไอ้พวกรักษาความปลอดภัยหน้าประตูโรงพยาบาลน่ะ มันแตกต่างกันตรงนี้ ถ้าพูดถึงดูจิตอย่างผู้บริหารจัดการเขาต้องตั้งงบประมาณ เขาต้องหาบุคลากร เขาต้องมีนโยบายจริงไหม นี่การปัญญาอบรมสมาธินี่ ใช้ปัญญานี่ มันจะตามความคิดเราไป นี่ไงที่เวลาเราพูดนะแตกต่าง แตกต่างกันตรงนี้ ที่ว่าไม่เหมือนไม่เหมือนตรงนี้ เราไม่ได้บอกดูจิตเลย เราบอกปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ

    หลวงตาก็บอกปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธินี่ใช้ปัญญาเห็นไหม ความคิดนี่เราก็ใช้สติตามความคิดไปนี่ ปัญญามันทันกันมันหยุดได้นะ อย่าเช่นเวลาเราคิดอะไรนะ พอเราทันความคิดเรา มึงบ้าหรือ มึงคิดอย่างนี้ได้อย่างไรน่ะ มันอายตัวเองนะ ถ้าจะให้จิตสงบ แล้วพอจิตมันหยุดปั๊บมันจะเห็นเลยว่า หยุดนี่หยุดกันที่ไหน หยุดเข้าไปที่จิต เพราะจิตมันหยุดมันต้องรู้ว่าหยุดแล้วเหลืออะไร เพราะหยุดมันแล้ว เอ๊าะ เอ๊าะ ก็หยุดบ่อยๆ หยุดบ่อยๆ นะ

    หยุด ที่ว่าหลวงปู่ดูลย์บอกว่าหยุด พอหยุดปั๊บมีสติเลย แล้วรู้ด้วยมีเหตุมีผลด้วย ไม่ใช่ดูกันอย่างนั้น ดูจิตหรือรู้จิตนี่ ไปดูนี่หลวงปู่ดูลย์เขียนใหม่ๆ นะ ให้รู้ ตัวร.เรือใหญ่ๆ อย่างนี้เลย นี่ดูจิตนี่ ตัว ร.เรือเบ้อเร่อเลย ดูก็ ด.เด็กใหญ่ๆ ถ้ารู้จิตก็ใหญ่ๆ แล้วดูจิต เห็นจิตนี่ตัวจิตตัวนิดหนึ่ง แต่ตัวรู้ ตัวดูนี่ท่านจะเขียนตัวอย่างนี้เลย ไปดูสิในหนังสือเก่าหลวงปู่ดูลย์น่ะ มันความหมายนะน่ะ ให้ดูให้รู้อย่างไร นี่เพียงแต่กระชับใช่ไหม คำว่ากระชับนี่ดูกับรู้มันเป็นคำเดียวกันใช่ไหม

    แต่ของเราก็ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญามันชัดเจน แต่ท่านจะเขียนให้กระชับเพราะมันเป็นโศลกใช่ไหม ท่านเขียนว่าดูหรือรู้คำเดียว แต่ดูรู้แบบผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนายการองค์กรนั้น ไม่ใช่ดูรู้แบบพนักงานรักษาความปลอดภัยหน้าประตูนั้น ถ้าเราดูเรารู้แบบผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้อำนวยการองค์กรนั้นนะ เอ็งคิดดูว่าเอ็งต้องบริหารจัดการทั้งหมดเลย เอ็งต้องดูแลความคิดให้มันเข้ามานี่ อย่างนั้นถึงจะถูก

    ที่เราสอนเราสอนอย่างนั้น เราสอนใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เพราะขั้นนั้นเป็นขั้นของสมาธิ ขั้นของสมถะ ไม่ใช่ขั้นของวิปัสสนา ขั้นของวิปัสสนาต้องจิตสงบก่อน มันจะแตกต่าง พอจิตสงบนะ พอเห็นกายนะ โอ้โฮ มันผงะเลย ถ้าจะเห็นกาย เพราะมันเห็นจากจิตใต้สำนึก มันได้เห็นอย่างนี้หรอก คนเห็นกายนี่พูดได้ถูกหมด หรือเห็นจิต เห็นเวทนา เห็นธรรมนี่ ไม่เห็นอย่างนี้

    โยม : ผู้ที่เห็นจริงๆ นี่เห็นอย่างเดียวกัน เห็นเหมือนกัน

    หลวงพ่อ : เห็นไม่เหมือนกัน แต่คุณภาพมันเหมือนกัน เห็นไม่เหมือนกัน แต่ผลที่การเห็นน่ะ เห็นเหมือนกันไม่ได้ เห็นเหมือนกันคือก๊อปปี้

    โยม : อื่อ แต่ผลนี่เหมือนกัน ใช่ไหม อาจารย์

    หลวงพ่อ : ผลอันนั้นน่ะวัดได้ วัดผลได้ แต่กูวัดแล้วนี่มันไม่มี ไม่มีเลย เอาตรงนี้วัดผล ลูกศิษย์เรานี่ โธ่ เวลาพิจารณาเห็นกายมาแล้ว โอ้โฮ ผงะ น้ำตาไหลร้องไห้ ใครมานะร้องไห้ร้องห่มร้องไห้มาหมด

    มีเยอะทางโน้นมานี่ หลายคนมากบอกดูจิตมา ๓-๔ ปี พอมาภาวนาที่นี่ พอจิตมันลง เห็น! โอ้โฮ น้ำตาพรากเลย แล้วกลับไปมองทางโน้น โอ้โฮ ทำไปเมื่อก่อนอย่างนี้เลยนะ ตอนยังไม่มาน่ะ พอมาทำปั๊บ โอ้โฮ มันพลิกเลย โอ้โฮ เห็นไหมนั่นดูสิความลึกซึ้ง แล้วนี่แค่เริ่มต้นนะ แค่เริ่มต้น

    โยม : แล้วอาจารย์สอนลูกศิษย์ก็คือให้ภาวนาพุทโธๆๆๆ

    หลวงพ่อ : พุทโธก็เครียด ปัญญาอบรมสมาธิมันก็เหลวไหล เราผสมกัน ให้พุทโธๆๆๆ แต่ถ้าเวลามันคิดตามความคิดมันคิดไปเลย ถ้ามันคิดมันหยุด มันหยุดแล้วทำอย่างไรต่อ พุทโธต่อไปเลย คือเอาของจริงทั้งหมด เอาเนื้อๆ เอาเนื้อๆ เอาข้อเท็จจริง

    ทำอะไรก็ได้ขอให้พวกมึงทำได้จริง ทำอะไรก็ได้เอาเนื้อๆ เอาความจริง ความโกหกไม่เอา นั่นเราให้พุทโธ นี่พุทโธนี่เขาเรียกว่า เขาบอกว่ากำปั้นทุบดินพุทโธนี่ คือมันแบบว่าใครมาพุทโธๆๆๆ นี่ มันก็กำปั้นทุบดิน เรายืนอยู่บนดินน่ะ นี่ปัญญาอบรมสมาธินี่มันเป็นความคิด มันเหมือนเราทำงานบนที่สูง

    เราถึงบอกครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ท่านไม่ค่อยได้สอน เพราะมันสอนแล้วนี่ประสาว่ามันวัดผลของมันอย่างไร เอาอะไรวัดผล ถ้าไม่เป็นนะ แต่ของกูนี่วัดได้ โผล่มาปุ๊บกูฟังรู้เลยว่าเป็นไม่เป็น เพราะธรรมดานี่เราน่ะชำนาญทางนั้นมากเลย กูนี่ชำนาญทางจิตมากเลย

    ถ้าไม่ชำนาญพูดอย่างนี้ไม่ได้ งั้นพอมาเห็นอาการอย่างนั้นแล้วมันไม่ใช่ มันไม่ใช่ แล้วไม่ต้องเราบอกใช่หรือไม่ใช่ เขารู้ในตัวเขาเอง รู้ตรงไหนรู้ไหม รู้ตรงคำพูดนี่ มันหล่อกแหล่ก มันไม่มีหลักการ พูดไม่ตายตัวไง วันนี้พูดอย่าง คนนี้พูดอย่าง คำพูดพลิกไปพลิกมานี่

    แต่ถ้าความจริงมันไม่พลิก ๑ ๒ ๓ ๔ ปั๊บๆๆๆ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ หลวงปู่มั่น ต้อง อย่างเดียวเลย ต้องอย่างเดียว ต้องอย่างเดียว เป็นอื่นไปไม่ได้ ไอ้นี่คิดก็ โอ้โฮ มึงไปเปิดของมันสิ เอ็งหาหลักการตรงไหน แล้วจิตอยู่ตรงไหน เอ็งบอกกูมาสิ หลักการและจุดยืนอยู่ตรงไหน

    อริยสัจมีหนึ่งเดียว พระศรีอริยไตรยจะมาตรัสรู้ธรรมอันนี้ อนาคตวงศ์ อีก ๑๐ องค์ พระพุทธเจ้าอนาคตอีก ๑๐ องค์นะ ต่อจากพระศรีอริยเมตไตรยไป อันเดียว ไม่มีสอง มึงพูดมาสิอันไหน ทำไมไม่พูดออกมา พุทธพจน์ พุทธพจน์ เอาบาลีเอาพุทธพจน์มาบังหน้า แล้วสังคมก็เชื่อถือ ปัญญาเกิดจากถิรสัญญา สติเกิดจากเผลอ โอ๊ย เจ็บปวด.. เจ็บปวด..

    โยม : ท่านหลวงปู่เจี๊ยะถ้ายังอยู่นี่ท่านจะทำอย่างไร

    หลวงพ่อ : ท่านก็เฉย ไม่ใช่เรื่องของท่าน เขาพูดอยู่ ทุกคนบอกว่าทำไมหลวงตาไม่ตัดสิน ไม่ใช่เรื่องของหลวงตา ไม่ใช่เรื่องของท่าน

    โยม : แล้วหลวงตาท่านจะทราบไหมครับ

    หลวงพ่อ : โคตรทราบเลย แต่มันเป็นเรื่องของสังคมไง ถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งไปถามหลวงตาบอกว่านี่ นี่มันเป็นอย่างนี้ ท่านจะบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องของเรา เพราะคำพูดของท่านมันชี้ถูกชี้ผิดได้ชัดเจน แล้วสังคมนี่มันผิดกันอย่างนี้อยู่แล้ว

    เราออกมาพูดใหม่ๆ เห็นไหม เขามาพูด เขาก็ไปอ้างว่าเขาไปถามลูกศิษย์หลวงตาว่าพระสงบนี่โดนไล่ออกมาแล้ว อย่างนู้นอย่างนี้ เราพูดบ่อยๆ บอกว่าเราพูดออกไปนี้เอ็งอัดเทปสิ หรือว่าแกะก็ได้ แล้วไปฟ้องสิว่าพระสงบพูดอย่างนี้ ไปฟ้องเลย กูจะรอว่าเรียกกูขึ้นไปไง

    ถ้าเรียกขึ้นไปเราจะบอกเลย คือเขาบอกฝึกสติไม่ต้องฝึกนะ มันจะเกิดเอง พอบอกหลวงตาต้องบอกอย่างนี้ บอกหลักการน่ะ พอบอกหลักการปั๊บท่านจะชี้ถูกชี้ผิดเลย สติฝึกมันสติปลอม ตั้งใจฝึกนี่ปลอมหมดเลย ถ้ามันลอยมาจากฟ้าน่ะสติจริง สติมันมีจริงมีปลอมหรือ สติคือสมมติ สติตัวไหนตัวจริง ตัวไหนตัวปลอม ไม่ใช่ไอ้โม่ง ไอ้ห่า

    ถ้าคนมีหลักพูดน่ะตายเลย เราถึงบอกไปฟ้อง ฟ้องเลย ออกใหม่ๆ เขาฟ้อง โอ่ เขาออกมาใหญ่เลย พระสงบเลวชาติ ชาติชั่ว ก็ว่ากันไป กูไม่เกี่ยวหรอก กูช่วยสังคม กูเตือนสังคม มึงด่ากูอีก ๑๐๐ วันก็ไม่เจ็บเพราะกูไม่ได้ยิน ด่าไปเลยตามสบาย ตามสบาย เชิญตามสบายเลย

    ไม่หรอก เรื่องถ้าหลวงปู่เจี๊ยะอยู่ ใครอยู่ก็ไม่ออกมาหรอก ถ้าเป็นคุณธรรมนะ คุณธรรมไม่ออกมาหรอก เรารู้ แต่นี้เห็นไหม เขาพยายามจะดึงออกไปเหมือนกัน ไม่หรอก เพราะเรารู้ว่าออกไปแล้วมันไม่จบ เพราะมันตะแบงไง มันตะแบงไปอย่างนี้ ไม่จบหรอก

    แต่ถ้าเป็นสุภาพบุรุษคุยมันจบ ถ้าบัณฑิตๆ คุยนี่ คำเดียวนี่ เหตุผลฟังเหตุผลแล้วเชื่อ ฟังเหตุผลแล้วผิดถูกว่ากันตามเหตุผล เราเป็นสุภาพบุรุษด้วยกัน สุภาพบุรุษเขาพูดด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่พาลชน

    อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา คนพาลเขาไม่ให้คบ เขาให้คบบัณฑิต แล้วถ้าบัณฑิตเขาต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล เราก็พูดบ่อยๆ เห็นไหม นัดมา ที่ไหน เมื่อไร่ บอกได้ทุกเวลา ทุกนาที กูพูดขนาดนี้ แต่ด้วยเหตุผล แล้วถ้าจะพูด พูดกัน ๒ คนไม่ได้ ต้องเอาสื่อมวลชนมานั่งล้อมรอบเลย เพราะออกไปแล้วมันจะตะแบง

    โยม : ต้องขอบคุณพระอาจารย์มากเลยนะครับ

    หลวงพ่อ : นี่มันเห็นมาแต่แรกแล้ว มันไม่ใช่ทั้งนั้นล่ะ เพราะเราก็ฟังหลวงปู่ดูลย์มาเยอะ เวลาเราพูดออกไปใหม่ๆ เห็นไหม เขาจะบอกว่าพระสงบนี่ เรียกพระสงบนะ เขาบอกว่าพระสงบนี้รู้ได้อย่างไรว่าเขาสอนผิด แล้วพระสงบรู้ได้อย่างไรว่าหลวงปู่ดูลย์สอนถูก เหตุผลน่ะมันคล้องจองกัน ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ

    แล้วเวลาหลวงปู่ดูลย์ท่านไม่ได้บอกว่าห้ามคิดห้ามทำทั้งนั้นน่ะ ท่านถึงบอกให้คิดให้ทำ แต่จังหวะควรคิดควรทำเมื่อไร่ ควรสงบเมื่อไร ควรใช้ปัญญาเมื่อไรเห็นไหม ท่านพูดของท่านเป็นขั้นเป็นตอน ไปดูสิเรื่องหลวงปู่ฝากไว้ก็ชัดเจน ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ดูจิตไปเลย ดูจิตนี่ จิตนี่ จิตของเรานี่มันเหมือนส้ม ส้มนี่มันมีเปลือก

    ความคิดเราเหมือนเปลือกส้ม มันเห็นไหมดูจิต ดูจิต จนจิตนี่มันเข้ามาถึงเนื้อส้ม เนื้อส้มเห็นไหม เนื้อส้มเสวยอารมณ์ เนื้อส้มกับเปลือกส้มเพราะมันมีชีวิตใช่ไหม มันสัมผัสกัน มันรู้ได้ รับรู้ได้ ความคิดของเรากับพลังงานของเรา ความรู้สึกของเรากับความคิดของเรานี่ เวลามันจับต้องกับนี่มันรับรู้ได้ รับรู้ได้เพราะอะไร รับรู้ได้เพราะจิตมันสงบเข้ามา

    หลวงปู่ดูลย์บอกดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต แล้วพิจารณามัน ไปดูหลวงปู่ดูลย์ฝากไว้สิ หลวงปู่ดูลย์ฝากไว้ไปอ่านสิ ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต แล้ววิปัสสนา ใช้ปัญญา มันตื้นๆ มันเรื่องพื้นๆ นะ มันฟังรู้เรื่องหมด ห้ามคิด คิดไม่ได้ คิดผิด ก็ขอนไม้ไง คนทั้งคนทำให้เป็นวัตถุ

    เราถึงได้พูดออกไปเรื่อง ถ้าอย่างนั้นเกิดดับ เกิดดับมันก็ดูเสาไฟฟ้า เสาไฟฟ้ามันไม่มีชีวิต เราจะบอกว่าสิ่งที่มีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตเราต้องเทียบกัน เราเตือนมาตลอดนะ บางทีเราก็โยนไปคำหนึ่ง โยนไปสังคม อู๊ย กลับมา อ้าว ถ้ายังงั้นก็เหมือนป่อเต็กตึ้ง ปอเต็กตึ้งดูกายเหมือนกัน ใช่ ป่อเต็กตึ้งเขาไปดูกายก็เหมือนหมอที่ไปผ่าตัดนี่แหละ เพราะป่อเต็กตึ้งมันไปเก็บศพมันได้คะแนนของมัน มันได้ผลประโยชน์ของมัน มันเป็นธุรกิจ

    มันไม่ใช่ว่า ไม่ใช่พระไม่ใช่ภิกษุเข้าไปเที่ยวป่าช้า เที่ยวป่าช้าถ้าทำจิตสงบแล้วนี้ เขาให้ดูซากศพ พอไปดูซากศพแล้วหลับตาเห็นภาพนั้นไหม ถ้าเห็นภาพนั้นแล้วกลับมาที่ที่อยู่น่ะ ขยายภาพนั้น เห็นภาพนั้นก็จิตเห็นภาพนั้น จิตนั้นเห็นกาย การเห็นกายน่ะเห็นจากจิต เห็นจากจิตภิกษุเราไปอยู่ป่าช้าให้ดูศพ ให้ดูซากศพแล้วหลับตาเห็นภาพนั้นไหม นี่จิตมันเห็น แต่ถ้าหลับตาแล้วเห็นภาพนั้นทำอย่างไรให้จิตสงบให้ได้ก่อนเพราะจิต นี่เพราะสิ่งที่เห็นกายนี้ก็เห็นจากจิตไม่ได้เห็นจากตา

    ไอ้เห็นจากตานั่นมันหมอ มันวิชาชีพ มันเป็นโลกียปัญญา ไอ้ป่อเต็กตึ้งน่ะมันไปเก็บศพนะ มันเถียงโดยเด็กๆ เห็นไหม เด็กมันก็เถียงว่า ถ้าเราบอกว่าไฟฟ้าเกิดดับ ถ้าเกิดดับเราจะเตือนว่ามันเป็นสสาร เป็นวัตถุ มันไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แล้วเขาก็โต้มาว่าอย่างนั้นป่อเต็กตึ้งเก็บศพ มันดูซากศพ ดูศพมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร อ้าว ไอ้นั่นเขาไม่ได้ดูศพ เขาทำธุรกิจ เขาไปเก็บศพ เขาไปส่งโรงพยาบาล เขาได้ค่าหัว ไอ้บ้าเอ๊ย

    โยม : คนรู้กับไม่รู้ถ้าเถียงกันมันก็ไม่จบ

    หลวงพ่อ : ไม่จบหรอ ก็อย่างนี้ไง เขาไปเถียงเขาก็ไม่จบ เราถึงบอกว่าออกไปก็ไม่จบหรอก ไม่จบ นี่หลวงตาครูบาอาจารย์ท่านจะรู้แล้วไม่ใช่ธรรมดา เรื่องอย่างนี้มันเกิดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล สมัยพระพุทธเจ้าก็มี มหาโจรเห็นไหม อ้าว มึงเป็นอนาคา ไอ้นั่นบอกพระอรหันต์ แล้วก็ไปบอกไอ้โยมนะ นี่ไอ้อนาคา นี่อรหันต์ นี่เขามหาโจร เพราะโจรต้องไปปล้น มหาโจรเขามาให้ถึงที่

    โยม : อื่อ ใช่ครับ

    หลวงพ่อ : พระพุทธเจ้าบอกไว้หมดแล้ว แล้วมันเป็นมหาโจรน่ะ มันวางแผนขนาดนี้ มึงไปบอกเขาไม่ให้เขามาไหม มันก็ตะแบงไปเรื่อยๆ นี่ มันอยู่ที่ตรงนี้ มันอยู่ที่เขามีความรู้สึกความนึกคิดอย่างไร เราเองพูดเลยนะถ้าเป็นเรานะ กูเก็บของหนีเข้าป่า จบ เพราะโต้อย่างไรมันก็ตาย เพราะหลักฐานมันเยอะมาก

    โยม : แต่ไม่ใช่เขาเข้าใจผิดเองหรือเปล่าครับ พระอาจารย์

    หลวงพ่อ : ถ้าเข้าใจผิด ความเห็นผิด หลักฐานขนาดนี้มันพูดกันได้ แต่นี้คิดว่าพูดนี้เป็นสัจธรรมทั้งหมด เพราะพูดพระไตรปิฎกทั้งหมด พูดธรรมะทั้งหมด แต่ที่อย่างที่บอกพวกเอ็ง เขากินข้าว มันเสือกกินอิฐ กินหิน กินทราย กินปูน แล้วมันจะไปลงกันได้อย่างไรล่ะ พระไตรปิฎกมันตีความหมายไปคนละทางนะ ถ้าวันนี้พูดดีนี่ออกเว็บไซต์ ไอ้พูดอย่างนี้ออกเว็บไซต์หมด เดี๋ยวให้พระเขาเช็คดูก่อน

    นี่บางอย่างเราพยายามเช็ค เพราะไม่อยากออกไปยุ่งกับข้างนอกมาก เราไม่อยากไปยุ่งจริงๆนะ เราไม่เคยออกจากวัดนี้ไปที่ไหนเลย เว้นไว้แต่ จะบอกว่าไม่ออกไปเลยเดี๋ยวจะหาว่าโกหก นี่เพิ่งกลับมาจากหัวหิน เว้นไว้แต่เอาเสบียงไปส่ง เรามีวัดหลายวัด เราเอาไปส่ง ไปแค่จากวัดสู่วัด ไปดูแลพระเรา แต่เราไม่เคยไปไหนเลย แล้วไม่ออกไปยุ่งกับใครทั้งสิ้น ไม่เคยไปไหนเลย ไม่เคยไปไหนเลย แล้วกูต้องการไปยุ่งอะไรข้างนอกละ

    โยม : ครับพระอาจารย์

    หลวงพ่อ : โอเค เนาะ

    โยม : ครับ

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2021
  17. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ทิฏฐิสูตร
    [๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถ-
    *บิณฑิกคฤหบดี ออกจากพระมหานครสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ลำดับนั้น ท่านได้มีความคิดเช่นนี้ว่า มิใช่เวลาเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน
    เพราะพระผู้มีพระภาคยังทรงหลีกเร้นอยู่ มิใช่กาลเพื่อจะเยี่ยมภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจ
    ให้เจริญ เพราะพวกภิกษุผู้ยังใจให้เจริญยังหลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึง
    เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิก-
    *คฤหบดี จึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็สมัยนั้นแล พวก
    อัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึง
    ดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พอได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้น
    แล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียง อย่าได้เปล่ง
    เสียง อนาถบิณฑิกคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม กำลังเดินมา
    อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง บรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ซึ่งเป็น
    สาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่
    ในเสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา แม้ไฉนเขา
    ทราบบริษัทผู้มีเสียงเบา พึงสำคัญที่จะเข้ามาหา ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้น
    ได้นิ่งอยู่ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนา
    ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป
    แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
    กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ขอท่านจงบอก พระสมณโคดมมี
    ทิฐิอย่างไร อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่
    ทราบทิฐิทั้งหมดของพระผู้มีพระภาค ฯ
    ป. ดูกรคฤหบดี นัยว่า บัดนี้ท่านไม่ทราบทิฐิทั้งหมดของพระสมณโคดม
    ขอท่านจงบอก ภิกษุทั้งหลายมีทิฐิอย่างไร ฯ
    อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฐิทั้งหมด แม้ของภิกษุ
    ทั้งหลาย ฯ
    ป. ดูกรคฤหบดี นัยว่า ท่านไม่ทราบทิฐิทั้งหมดของพระสมณโคดม
    ทั้งไม่ทราบทิฐิทั้งหมดของพวกภิกษุด้วยประการดังนี้ ขอท่านจงบอก ตัวท่านมี
    ทิฐิอย่างไร ฯ
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าบอกทิฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฐิอย่างใด
    นี้ไม่ยาก เชิญท่านทั้งหลายบอกทิฐิของตนเสียก่อน ข้าพเจ้าจึงจะบอกทิฐิของ
    ข้าพเจ้าว่ามีทิฐิอย่างใดในภายหลัง ซึ่งเป็นการทำไม่ยาก ฯ
    เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าว
    กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้
    เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯ
    ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เรา
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่ง
    ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า โลกมีที่สุด ... อีกคนหนึ่งพูดว่า โลกไม่มี
    ที่สุด ... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพ
    อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ...
    อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อ
    ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี ... อีกคนหนึ่งพูดว่า ดูกรคฤหบดี เรา
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกหามิได้ ไม่เป็นอีกหามิได้ สิ่งนี้เท่า
    นั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯ
    เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้กล่าว
    กะปริพาชกเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุได้กล่าว
    อย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่น
    เปล่า ทิฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดย
    ไม่แยบคายของตน หรือเพราะโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฐินั้น เกิดขึ้น
    แล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย
    ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้น
    เพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
    เป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ
    แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง
    สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฐิของท่านผู้มีอายุแม้นี้ ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่ง
    การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือเพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็น
    ปัจจัย ก็ทิฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันอาศัยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว
    เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
    เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
    เป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้เข้าถึงสิ่งนั้น
    แหละ แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลก
    มีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็
    อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ...
    สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็น
    อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฐิของท่าน
    ผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือ
    เพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
    อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อัน
    ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้น
    แหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ ฯ
    เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
    กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี พวกเราทั้งหมดบอกทิฐิของตนแล้ว
    ขอท่านจงบอก ท่านมีทิฐิอย่างไร ฯ
    อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัย
    ปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้ามีความเห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
    ป. ดูกรคฤหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
    อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
    สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านเข้าถึงสิ่งนั้น
    แหละ ฯ
    อ. ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อ
    ขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
    ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
    อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทั้งรู้ชัดอุบาย
    เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยมตามเป็นจริง ฯ
    เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากัน
    นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ ท่านอนาถบิณฑิก-
    *คฤหบดีทราบปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา
    โต้ตอบไม่ได้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถึงเรื่องที่
    สนทนากับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
    ทุกประการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวกโมฆบุรุษ
    เหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล ลำดับนั้น
    พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้
    อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอันพระผู้มีพระภาคทรง
    ชี้แจงให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจาก
    ที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อท่านอนาถ-
    *บิณฑิกคฤหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาลนาน ภิกษุ
    แม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ให้เป็นการข่มขี่ด้วยดีโดยชอบ
    ธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว ฉะนั้น ฯ
    จบสูตรที่ ๓
     
  18. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    [342] ธุดงค์ 13 (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษเป็นต้น — means of shaking off or removing defilements; austere practices; ascetic practices)
    หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร — connected with robes)
    1. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คำสมาทานโดยอธิษฐานใจหรือเปล่งวาจาว่า “คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่งผู้—” — refuse-rag-wearer’s practice)
    2. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า “จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ 4 สมาทานองค์แห่งผู้—” — triple-robe-wearer’s practice)

    หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต — connected with almsfood)
    3. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ, ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานองค์แห่งผู้—” — alms-food-eater’s practice)
    4. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้—” — house-to-house-seeker’s practice)
    5. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า “นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเว้นการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—” — one-sessioner’s practice)
    6. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 1 อย่างคือบาตร คำสมาทานว่า “ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานองค์แห่งผู้—” — bowl-food-eater’s practice)
    7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า “อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ สมาทานองค์แห่งผู้—” — later-food-refuser’s practice)

    หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ — connected with the resting place)
    8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—” — forest-dweller’s practice)
    9. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—” — tree-root-dweller’s practice)
    10. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้—” — open-air-dweller’s practice)
    11. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้—” — charnel-ground-dweller’s practice)
    12. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า “เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—” — any-bed-user’s practice)

    หมวดที่ 4 วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร — connected with energy)
    13. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง 3 อิริยาบถ คำสมาทานว่า “เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการนอน สมาทานองค์แห่งผู้—” — sitter’s practice)

    ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุดงค์ 13
    ก. โดยย่อธุดงค์มี 8 ข้อ เท่านั้น คือ
    1) องค์หลัก 3 (สีสังคะ — principal practices) คือ สปทานจาริกังคะ (เท่ากับได้รักษาปิณฑปาติกังคะด้วย) เอกาสนิกังคะ (เท่ากับได้รักษาปัตตปิณฑิกังคะ และขลุปัจฉาภัตติกังคะด้วย) และอัพโภกาสิกังคะ (ทำให้รุกขมูลิกังคะ กับ ยถาสันติกังคะ หมดความจำเป็น)
    2) องค์เดี่ยวไม่คาบเกี่ยวข้ออื่น 5 (อสัมภินนังคะ — individual practices) คือ อารัญญิกังคะ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ และโสสานิกังคะ

    ข. โดยนิสสัยคือที่อาศัย (dependence) มี 2 คือ ปัจจัยนิสิต 12 (อาศัยปัจจัย — dependent on requisites) กับ วิริยนิสิต 1 (อาศัยความเพียร — dependent on energy)
    ค. โดยบุคคลผู้ถือ
    1) ภิกษุ ถือได้ทั้ง 13 ข้อ
    2) ภิกษุณี ถือได้ 8 ข้อ (คือ ข้อ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 12, 13)
    3) สามเณร ถือได้ 12 ข้อ (คือ เว้นข้อ 2 เตจีวรกังคะ)
    4) สิกขมานาและสามเณรี ถือได้ 7 ข้อ (คือ ลดข้อ 2 ออกจากที่ภิกษุณีถือได้)
    5) อุบาสกอุบาสิกา ถือได้ 2 ข้อ (คือ ข้อ 5 และ 6)

    ง. โดยระดับการถือ แต่ละข้อถือได้ 3 ระดับ คือ
    1) อย่างอุกฤษฏ์ หรืออย่างเคร่ง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า ต้องให้ได้อรุณในป่าตลอดไป
    2) อย่างมัธยม หรืออย่างกลาง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝน 4 เดือน ที่เหลืออยู่ป่า
    3) อย่างอ่อน หรืออย่างเพลา เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝนและหนาวรวม 8 เดือน

    จ. ข้อ 9 และ 10 คือ รุกขมูลิกังคะ และอัพโภกาสิกังคะ ถือได้เฉพาะนอกพรรษา เพราะวินัยกำหนดให้ต้องถือเสนาสนะในพรรษา
    ฉ. ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป
    ช. ธุดงค์ที่มาในบาลีเดิม ไม่พบครบจำนวนในที่เดียว (ที่พบจำนวนมาก คือ ม.อุ. 14/186/138; M.III.40 มีข้อ 1-3-5-8-9-10-11-12-13; องฺ.ทสก. 24/181/245; A.V.219 มีข้อ 1-5-6-7-8-9-10-11-12-13; ขุ.ม. 29/918/584; Ndi188 มีข้อ 1-2-3-4-7-8-12-13) นอกจากคัมภีร์บริวาร (วินย. 8/982/330; 1192/475; Vin.V.131,198) ซึ่งมีหัวข้อครบถ้วน ส่วนคำอธิบายทั้งหมดพึงดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
     
  19. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    มรรคหรือไม่มรรค ไม่รู้ด้วยหรอก แต่ต้องรู้ว่า อะไรคือสิ่งต้องเรียนรู้ อะไรคือสิ่งที่ต้องคิด อะไรคือสิ่งที่ควรทำ และอะไรคือสิ่งที่ควรละ เพราะถ้ามรรคแล้ว ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ ไม่คิดในสิ่งที่ควรคิด ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่ละในสิ่งที่ควรละ มันก็มีแต่น้ำลายและมันก็เป็นเรื่องปกติทั่วไป เพราะมันจะต้องมีอย่างแน่นอน ปัญหาคือ มรรคคืออะไร เป็นเพียงแค่คำพูดสวยหรูหรือคือความจริง ถ้ามันคือความจริง ยังไงๆ มันจะมีความสมบูรณ์ในตัวเองเสมอ ไม่เรียกร้องอะไร
     
  20. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ๕. ปัพพตสูตร
    [๔๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อย
    แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่ง นาน
    เพียงไรหนอแล
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัป
    นั้นว่าเท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ
    [๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ
    เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง
    ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น
    ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความ
    พยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน
    อย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่
    ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้
    กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้
    พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะ
    หลุดพ้น ดังนี้ ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...