สายบุญห้ามพลาด “10 วัดสวยในนนทบุรี” ไหว้พระขอพร อิ่มบุญ สุขใจ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 14 สิงหาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2.jpg
    ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย วัดวาอารามก็ยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยเสมอมา และเมื่อเราเดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดไหนๆ ก็จะไม่พลาดแวะเข้าวัดไปไหว้พระทำบุญเพื่อความสิริมงคล วันนี้จะพาสายบุญทั้งหลายมาชม “10 วัดสวยในจังหวัดนนทบุรี” ที่มีความน่าสนใจกัน


    วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
    “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์” หรือ “วัดเล่งเน่ยยี่ 2” ตั้งอยู่ที่ ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง เป็นวัดจีนที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายรัชกาลที่ ๙ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์”

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-1.jpg
    สำหรับสถาปัตยกรรมภายในวัดสวยงดงามตระการตา ได้ถูกออกเเบบด้วยสถาปัตยกรรมจีนในยุคสมัยราชวงศ์หมิง เเละถูกตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์จีนโบราณ บรรยากาศภายในวัดจึงเหมือนอยู่ในพระราชวังจีน หลายคนที่มาที่นี่นอกจากจะมาไหว้ขอพรเสริมสิริมงคลในชีวิตแล้ว ก็มักจะมาแก้ปีชงภายใน “วิหารท้าวจตุโลกบาล” สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นปีชงก็มีโอกาสได้สักการะขอพรเทพเจ้าองค์อื่นๆ อาทิ พระศรีอาริยเมตไตรย,ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ทิศ และเทพเจ้าองค์อื่นๆ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารเเห่งนี้

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-2.jpg
    วัดชลอ
    “วัดชลอ” อยู่ในตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราว พ.ศ.2275 ตัววัดตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย หรือเดิมเรียกว่าคลองลัดบางกรวย ซึ่งขุดขึ้นใน พ.ศ. 2081 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-3.jpg
    อุโบสถเก่าแก่ของวัดนั้นก็เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ฐานอาคารโบสถ์แอ่นโค้งแบบที่เรียกว่า “ตกท้องสำเภา” ซึ่งเป็นงานที่นิยมสร้างในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันวัดชลอยังคงรักษาอุโบสถหลังเก่าไว้เป็นอย่างดี ตัวโบสถ์มีขนาดเล็ก มีหลักฐานว่าตัวอุโบสถได้รับการบูรณะต่อมาภายหลังโดยดูจากเสาขนาดใหญ่ทางตอนหน้าที่เป็นลักษณะซึ่งพบเห็นในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเข้าไปด้านในจะพบพระพุทธรูปงดงามสามารถเข้าไปสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลได้

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-4.jpg
    วัดปราสาท
    “วัดปราสาท” เป็นอีกหนึ่งวัดโบราณของจังหวัดนนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2310 ซึ่งเป็นปีที่เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-5.jpg
    ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้อยู่ที่ “อุโบสถ” มีลักษณะการสร้างแบบก่ออิฐถือปูนศิลปะสมัยอยุธยา ตัวอุโบสถลักษณะคล้ายท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประตูทางเข้าอุโบสถ 3 บาน ไม่มีการสร้างหน้าต่าง ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ มีการสร้างช่องแสงด้านหลังองค์พระประธาน 1 ช่อง เพื่อให้แสงสว่างกระจายไปทั่วพระประธาน เสมือนมีพระรัศมีส่องแสงออกมา ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญามหัศจรรย์ที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ไว้

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-6.jpg
    วัดปรมัยยิกาวาส
    “วัดปรมัยยิกาวาส” ซึ่งเดิมเรียกกันว่า “วัดปากอ่าว” เชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากมีการขุดคลองลัดเกร็ด และได้ถูกทิ้งร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ต่อมาชาวมอญที่มาอาศัยอยู่ได้ร่วมใจกันบูรณะวัดร้างนี้ขึ้นมาใหม่ และได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์เสด็จมาทอดพระกฐินในแถบนี้และเห็นว่าวัดนี้ทรุดโทรมมาก เมื่อทรงปฏิสังขรณ์โดยคงรูปแบบมอญไว้แล้วพระองค์จึงพระราชทานชื่อวัดให้ใหม่ว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-7.jpg
    สัญลักษณ์ที่คุ้นตากันดีของเกาะเกร็ดก็คือ “เจดีย์เอียง” หรือ “เจดีย์มุตาว” เป็นเจดีย์สีขาวทรงรามัญ แต่เดิมนั้นเจดีย์ก็ตั้งตรงตามปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปตลิ่งเกิดทรุดลง องค์เจดีย์ก็เลยเอนเข้าหาแม่น้ำอย่างที่เราเห็นกัน แต่คนเฒ่าคนแก่ชาวมอญเชื่อกันว่า เหตุที่เจดีย์เอนก็เพราะจระเข้ซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำและคอยปกปักรักษาเกาะเกร็ดนั้นขยับตัว ทำให้ตลิ่งทรุดจนเจดีย์เอนลงมา แต่ปัจจุบัน ก็มีการซ่อมแซมและเสริมโครงสร้างขององค์เจดีย์ให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อไม่ให้เจดีย์เอียงทรุดไปมากกว่านี้

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-8.jpg
    วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
    “วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร” วัดงามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดนนทบุรี เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ในพื้นที่ซึ่งเป็นนิวาสถานเดิมของพระอัยกา (ตา) พระอัยกี (ยาย) และพระราชมารดาของพระองค์ หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย โดยพระองค์ทรงเห็นว่าควรที่จะสถาปนาสถานที่แห่งนี้ขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่งเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่บุคคลทั้งสามนั้น

    ที่วัดแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถ ที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ตามแบบพระราชนิยม หลังคาพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาทำเป็นลอนลูกฟูกแบบจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสดจากประเทศจีน ประดับตกแต่งสีให้เป็นใบและดอกพุดตาน

    e0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-9.jpg
    วัดเพลง (โบสถ์สีชมพู) จ.นนทบุรี
    “วัดเพลง (โบสถ์สีชมพู)” ตั้งอยู่ที่ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ถูกทิ้งร้างประมาณ 200 ปีมาแล้ว ต่อมาหลวงพ่อศรีนวลได้เดินธุดงค์มาจาก จ.เชียง ใหม่ เมื่อปี 2529 เมื่อได้พบจึงได้ปักหลักพักค้างมาตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา ก่อนที่จะบูรณะซ่อมแซมและสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ หลังจากหลวงพ่อศรีนวลได้มรณภาพ ทางวัดก็ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการพัฒนา จึงทำให้ถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นผุพังสึกกร่อนเสียหายลงไปตามกาลเวลา

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-10.jpg
    จนกระทั่งเมื่อกลางปี 2553 “พระธรรมกิตติมุนี” เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี และเจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้แต่งตั้งให้ “พระครูสังฆรักษ์ประสิทธิ์ สิทธิโก หรือ พระอาจารย์ประสิทธิ์” มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเพลง (โบสถ์สีชมพู) เดิมท่านเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ดอนพรหม ด้วยท่านเป็นพระนักพัฒนา ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทางพุทธศาสนาทำให้เป็นที่ประจักษ์ยอมรับของชาวบ้านทั้งบ้านใกล้บ้านไกล จึงได้รับการไว้วางใจให้มาพัฒนาวัดเพลง (โบสถ์สีชมพู)

    สำหรับวัดเพลง(โบสถ์สีชมพู) เป็นวัดที่มีความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าหลวง ที่ประชาชนทั่วไปใช้แทนพระ นามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุผลดังกล่าววัดเพลง (โบสถ์สีชมพู) นี้จึงเป็นที่รู้จักของชาว จ.นนทบุรี

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-11.jpg
    วัดปรางค์หลวง
    “วัดปรางค์หลวง” เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดนนทบุรี มีอายุกว่า 650 ปี ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปีพ.ศ.1890

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-12.jpg
    ภายในวัดปรางค์หลวง มีโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญมากมาย แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดอยู่ที่ “องค์พระปรางค์” เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านมีพระปูนปั้นนูนสูง และมีพระวิหารน้อย เป็นอาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ลักษณะของอาคารแต่ละหลังมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะในการก่อสร้างใช้ระบบผนังรองรับเครื่องบน ไม่มีคาน ไม่มีเสา หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่สวยงามเพิ่งผ่านการบูรณะมา หากใครอยากดูกุฏิกรรมฐานในสมัยอยุธยาให้มาดูวิหารน้อยแห่งนี้

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-13.jpg
    วัดชมพูเวก
    “วัดชมภูเวก” ตั้งอยู่ที่ ถ.สนามบินน้ำ ซ.นนทบุรี 33 ต.ท่าทราย อ.เมือง เป็นวัดมอญ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระยะต้น ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2225 โบราณสถานแรกที่ถือเป็นสัญลักษณ์คู่วัดชมพูเวก คือ “พระมุเตา” หรือ “เจดีย์ทรงมอญ” ต่อมาได้ทำการบูรณะสร้างพระมุเตาให้สูงใหญ่กว่าเดิมและสร้างเจดีย์รายที่มุมพระมุเตาทั้งสี่ของฐาน นอกจากนั้นได้สร้างเจดีย์อีกสององค์ด้านหลังพระมุเตาเพื่อบรรจุอัฐธาตุอดีตเจ้าอาวาส ส่วนพระมุเตาสันนิษฐานว่าสร้างเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ

    ส่วน “อุโบสถเก่า” ที่ตั้งอยู่ข้างอุโบสถหลังใหม่นั้น ก็มีอายุเก่าแก่ประมาณ 350 ปี เช่นกัน ลักษณะเด่นของอุโบสถเก่านี้คือ ถูกออกแบบให้มีประตูเข้า-ออก ทางด้านหน้าด้านเดียวตามคติมอญ เรียกว่า “โบสถ์มหาอุด” ผนังด้านข้างทั้งสองสอบเข้าเพื่อใช้ผนังในการรับน้ำหนักทั้งหมดแทนเสา เชื่อกันว่าอุโบสถลักษณะมหาอุดนี้ปลุกเสกของขลังได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-14.jpg
    ส่วนจิตกรรมฝาผนังที่เลื่องชื่ออยู่บริเวณเหนือประตู เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ใต้รูปพระพุทธเจ้าเป็นภาพเขียนรูป “แม่พระธรณีบิดมวยผม” ในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งงามวิจิตรด้วยความคดเคี้ยวของเส้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะของศิลปะขั้นสูงฝีมือบรมครู ซึ่งศิลปินที่เป็นจิตกรของกรมศิลปากรต่างยกย่องและรับรองว่าเป็นแบบอย่าง “ภาพเขียนแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดในโลก” เลยทีเดียว

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-15.jpg
    วัดสังฆทาน
    “วัดสังฆทาน” ตั้งอยู่ที่ตำบลบางไผ่ สันนิษฐานว่าเดิมชื่อ วัดศาริโข สร้างขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยช่างที่มีความชำนาญตามแบบลังกาวงศ์ในสมัยกรุงสุโขทัย

    แต่เดิม “วัดสังฆทาน” เคยเป็นวัดร้างตั้งอยู่กลางสวนผลไม้ของชาวบ้าน มีเพียงพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณ “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิศิลปะแบบอู่ทองและศาลาไม้เก่าแก่ ชาวบ้านแถบนั้นยังคงมาสักการบูชาองค์หลวงพ่อโตมิได้เสื่อมคลายจึงต้องนิมนต์พระจากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวายสังฆทานอยู่เป็นประจำ จนถูกเรียกจนติดปากว่าวัดสังฆทานใน พ.ศ. 2517 หลวงพ่อสนองกตปุญโญได้ร่วมกับพระเณรและชาวบ้านช่วยกันบูรณะองค์หลวงพ่อโตภายหลังได้ดำริให้รื้อศาลาหลังเดิมที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตออกเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถขึ้นแทนจนถึงทุกวันนี้

    ส่วนพระอุโบสถแก้วมีด้วยกันสองชั้นชั้นบน ใช้สำหรับทำพิธีบวชพระภิกษุเป็นสถานที่สวดมนต์และนั่งสมาธิชั้นล่างเป็นห้องสมุดและห้องรับบริจาคส่วนกุฎิทำเป็นรูปเรือซึ่งดูแปลกตาจากที่เคยเห็นทั่วไปบรรยากาศของวัดแห่งนี้มีลักษณะแบบสำนักป่าร่มรื่นไปด้วยธรรมชาติเหมาะแก่การเข้ามาทำบุญและปฏิบัติธรรมทางวัดจึงจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-16.jpg
    วัดบัวขวัญ
    “วัดบัวขวัญ” จ.นนทบุรี เป็นวัดอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนนิยมแวะเวียนมาขอพรจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตของตนเองและครอบครัว

    “วัดบัวขวัญ” มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนาเท่านั้น เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด โดยสมัยแรก พระครูปรีชาเฉลิม หรือ หลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน และได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2435 ต่อมา หลวงพ่อฉ่ำ มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด

    0b88de0b8abe0b989e0b8b2e0b8a1e0b89ee0b8a5e0b8b2e0b894-10-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8a7e0b8a2-17.jpg
    นอกจากนี้ภายในวัดบัวขวัญมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะมากมาย มีทั้งองค์พระพุทธ องค์เทพต่างๆ ให้ทำบุญกราบไหว้ ไม่ว่าจะเป็น พระราหู พระตรีมูรติ พระมหาเศรษฐีวนโกฏิ พระพิฆเนศ และมีจุดทำบุญโลงศพผู้ยากไร้ ทำบุญต่ออายุ

    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9640000079977
     

แชร์หน้านี้

Loading...