อภิญญา กับ วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คัดมาจากตำราปราบมารภาค ๕
    โดยคุณลุงการุณย์ บุญมานุช
    อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการ จ.จันทบุรี


    คำว่า วิชชา มีความหมายอย่างไร?

    วิชชา ๓ กับวิชชา ๘ คืออย่างไร?

    หลวงพ่อท่านอธิบายไว้ดังนี้ คำว่า “วิชชา” (ช. ๒ ตัว) แปลว่า ความรู้กำจัดมืดบอด
    คำตรงข้ามกับคำว่า “วิชชา” คือ “อวิชชา” ซึ่งคำ “อวิชชา” แปลว่า ความไม่รู้ ความเขลา ได้แก่การไม่รู้ถูกไม่รู้ผิด ไม่รู้อดีต ไม่รู้ปัจจุบัน ไม่รู้อนาคต ไม่รู้อนาคตของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้อริยสัจ ท่านอธิบายว่า มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และสัตว์เป็นผู้ที่มืดอยู่ในขันธ์ ๕ ยังปล่อยวางไม่ได้ การปล่อยวางไม่ได้นี่เองจึงชื่อว่าเป็นผู้มืดในขันธ์ ๕ เพราะอีกนัยหนึ่ง คำว่าขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน คือการไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของเรา การไปยึดมั่น ก็คือการมีอุปาทานในขันธ์ ๕
    คราวนี้มาดูเรื่องวิชชา ๓ หมายถึงอะไรบ้าง? ความหมายนัยหนึ่งของวิชชา ๓ ก็คือ
    (1.) วิปัสสนาวิชชา
    (2.) มโนมยิทธิวิชชา
    (3.) อิทธิวิธีวิชชา

    ที่เรียกว่า วิชชา ๘ ก็คือเพิ่ม “อภิญญา” เข้าด้วย คือ
    (4.) ทิพพจักขุวิชชา
    (5.) ทิพพโสตวิชชา
    (6.) ปรจิตตวิชชา
    (7.) ปุพเพนิวาสวิชชา
    (8.) อาสวักขยวิชชา

    โปรดดูความเกี่ยวข้องของวิชชา ๓ กับวิชชา ๘ ให้เข้าใจ ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน อยู่ที่ว่าเราจะจัดอย่างไร? นั่นเอง จงดูความหมายของชื่อวิชา ดังนี้

    มโนมยิทธิ เป็นวิชาที่แสดงฤทธิ์ทางใจ
    อิทธิวิธี เป็นการแสดงฤทธิ์ เช่นการนิมิตให้เกิดกายต่าง ๆ
    ทิพพจักขุ แสดงถึงการที่ตาเป็นทิพย์ เห็นอะไรได้หมด
    ทิพพโสต แสดงถึงการที่หูเป็นทิพย์ ได้ยินอะไรได้หมด
    ปรจิตตวิชชา คือการหยั่งรู้ใจคนอื่น รู้ว่าใครคิดนึกอะไร? เรียกว่า รู้ใจใคร ๆ ได้หมด
    ปุพเพนิวาสวิชชา คือการระลึกชาติในปางหลังได้ว่าตั้งแต่อดีตชาตินั้นเกิดเป็นอะไร? ที่ไหน? อย่างไร?
    อาสวักขยวิชชา คือความรู้ทำลายให้กิเลสหมดจากใจ

    เนื้อหาสาระการเรียนรู้วิชาเหล่านี้ เป็นวิชาธรรมกายชั้นสูงทั้งสิ้น บรรดาศิษย์ผู้เป็นธรรมกายต่างยอมรับว่าหลวงพ่อท่านทำได้หมด แต่ว่าการจดบันทึกความรู้วิชาแขนงต่าง ๆ ไม่ได้ทำไว้ จึงเป็นที่น่าเสียดาย เพราะการฝึกฝนเรียนรู้วิชาธรรมกายชั้นสูง เป็นการเรียนทางใจที่ละเอียดและลึกซึ้ง ยากต่อการเรียนรู้ แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่เราจะเรียนรู้ได้ เช่น ปรจิตตวิชชา คือการหยั่งรู้ใจคนอื่น วิธีทำก็คือ นึกเอาใจของเรา คือดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ ซ้อนลงไปที่ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ ของใคร? แล้วเราก็หยุดนิ่งวางอารมณ์ให้ว่าง แล้วเราก็รู้ทันทีว่า เขาผู้นั้นคิดอะไรอยู่? ดังนั้น ในการเรียนวิชาธรรมกายชั้นสูง มีวิธีเรียนมีวิธีฝึกทั้งนั้น เมื่อเราเข้านิพพาน เราก็เอา เห็น-จำ-คิด-รู้ ของเรา ซ้อนลงไปใน เห็น-จำ-คิด-รู้ ของพระพุทธองค์ เราก็ลองฝึกไปนาน ๆ แล้ว เราก็จะเห็นผลการฝึกว่า เราทำได้ดีขึ้นเป็นลำดับ ทุกวิชาเราเรียนได้ทั้งนั้น

    ทิพพจักขุ และ ทิพพโสต ให้เรานึกถึงอายตนะภายใน ๖ คือ หู-ตา-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ เอาใจของกายธรรมมาดูที่ดวงธรรมของกายมนุษย์ตัวเรานี้ ให้ดูสุดละเอียดของหู-ตา-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ว่าคืออย่างไร? พอใจหยุดนิ่งกลางดวงธรรม เราก็นึกดู ก็จะเห็นสุดละเอียดของอายตนะภายใน ๖ เป็นดวงใสทั้งนั้น เวลาเข้านิพพาน เราก็เอาดวงสุดละเอียดของอายตนะภายใน ๖ ของเรา ซ้อนเข้ากับกายธรรมของพระพุทธองค์ กายมนุษย์หยาบของเราทำกับกายธรรมของเรา ส่วนกายอื่น เช่น กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม เราก็เอาดวงธรรมสุดละเอียดของอายตนะภายใน ๖ ของเรา ไปซ้อนกับอายตนะภายในของพระพุทธองค์ ฝึกให้นาน ๆ แล้วจะส่งผลให้ทิพพจักขุและทิพพโสตของเราดีขึ้น นี่คือตัวอย่างการฝึก สรุปแล้ว เราฝึกได้ทุกวิชา

    ปุพเพนิวาสวิชชา วิชานี้ไม่ยาก ส่งใจกายธรรมมาที่ดวงธรรมในท้องของกายมนุษย์ นึกดูดวงกำเนิดเดิม เห็นดวงกำเนินเดิมแล้ว ให้หยุดนิ่งกลางดวงกำเนิดเดิมนั้น นึกดูว่า เมื่อวานนี้เราอยู่ที่ไหน? พอดวงกำเนิดเดิมว่าง ในว่างนั้นเอง เราก็เห็นตัวเราว่าอยู่ที่ใด? นึกดูถอยออกไปถึงวันก่อนนี้ เราอยู่ที่ใด? แล้วเราก็เห็นตัวเราว่า เราอยู่ที่ใด? เรานึกดูถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ คราวแรกให้ห่างเป็นวัน ต่อมาให้ห่างเป็น ๓ วัน และเป็น ๗ วัน และให้ห่างออกไปเป็นเดือนเป็นปีเป็นลำดับไป ดูไปจนถึงวันที่เราเข้าถึงครรภ์มารดา ดูดวงธรรมในท้องของกุมาร นิ่งกลางดวงธรรมของกุมารนั้น นึกดูดวงกำเนิดเดิม พอดวงกำเนิดเดิมของกุมารว่าง เราก็เห็นกายของเขาว่า เขามาจากไหน? มาจากสวรรค์ชั้นใด? เราตามไปดูกายที่มาจากสวรรค์ของกุมารนั้นอีก ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรมในท้องของกาย ดูกำเนินเดิมอีก แล้วเราก็เห็นไปเรื่อย ๆ นี่คือ การฝึกแบบย่อของวิชาปุพเพนิวาสวิชชา ข้อสำคัญที่เราต้องใส่ใจก็คือ เราต้องเข้านิพพานไปซ้อนกายสับกายกับพระพุทธองค์ให้กายของเราใสเสียก่อน ต้องพากเพียรทำ

    อาสวักขยวิชชา คือหัวใจของวิชาธรรมกายที่เราต้องเรียนรู้ให้ได้ เพราะเป็นวิชาดับกิเลสได้ เป็นวิชาดับมารได้ มารเขากลัววิชานี้ แต่เรียนยากอย่างยิ่ง คนที่จะฝ่าฟันไปได้ต้องมีความเพียรอันเลิศ วิชาต้องไม่เพี้ยน อย่าเรียนแบบฟุ้งซ่านดังที่เราเห็นในทุกวันนี้ เรียนอย่างนั้น มารเขาจูงรู้จูงญาณไปได้ มารเขาหลอกไปได้ ไม่ได้ทำให้กิเลสดับ ไม่ได้ทำให้มารดับ มีแต่กิเลสจะกำเริบเสิบสาน มีแต่มารจะฟื้นตัว ท่านที่เล่นของดำ เช่น นิล เหล็กไหล และปรอท นั่นคือกายสิทธิ์ของมาร แก้เท่าไรไม่ขาว ท่านไปเล่นได้อย่างไร? ท่านไปนิยมได้อย่างไร? ท่านไปกล้าได้อย่างไร? แค่นี้ก็บ่งบอกว่า ความรู้ไม่เอาไหน? เป็นการหลงผิด แล้วจะไปหวังอะไรในความรู้อื่น? นี่คือการล้มเหลวของการเรียนวิชาธรรมกาย เราตอบว่า เราอยากได้เงินเพื่อจะเอาเงินมาบำรุงศาสนา ลืมแล้วหรือ? เมื่อศีล-สมาธิ-ปัญญา ของเราบริสุทธิ์แล้ว เงินที่จะบำรุงศาสนาจะมาเองโดยธรรมชาติ เราก็บำเพ็ญกิจของเราต่อไปแบบตามมีตามได้ เรื่องก็จบลง มารเขาก็ไม่ได้ช่อง ศีล-สมาธิ-ปัญญา ของเราก็บริสุทธิ์ เราก็สบายใจ แต่เราเสี่ยงไปเล่นของมาร ไปเล่นวิชามาร นี่คืออะไรกัน? ความรู้ทางวิชาธรรมกายใช้การไม่ได้ถึงปานนี้หรือ? เอาอย่างนี้ ถ้าท่านประสงค์จะเรียนวิชาอาสวักขยญาณ ก็ให้ติดตามหนังสือปราบมารทุกภาค ความรู้ทั้งปวงปรากฏในนั้นหมดแล้ว

    อิทธิวิธีวิชชา คือวิชาการแสดงฤทธิ์ ได้แก่ การพิสดารกายให้มากขึ้น การทำฌานให้เกิดขึ้นได้ เป็นการแสดงฤทธิ์การแก้โรคโดยวิชา การใช้วิชาแก้ทุกข์ร้อนให้ผ่อนคลาย นี่คือการแสดงฤทธิ์ทั้งนั้น การแสดงฤทธิ์อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การทำวิชาให้มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม เห็นนิพพานได้ นี่คือการแสดงฤทธิ์สำคัญ การแสดงฤทธิ์สำคัญที่สุดคืออะไร? คือการดับมารได้ คือการดับกิเลสได้ หากดับมารได้หมด วิชาของภาคขาวก็จรัสแสง ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงอิทธิวิธีวิชชา? ตอบว่าเรียนวิชาธรรมกายไปให้ได้ทุกหลักสูตร จนเข้าหลักสูตรปราบมารได้ จึงจะถือว่าแสดงฤทธิ์ได้จริง

    มโนมยิทธิวิชชา คือวิชชาที่ทำให้ใจมีฤทธานุภาพกำจัดอวิชชาได้ อวิชชาคือความมืด อวิชชาคือความเขลา อวิชชาคือ ไม่รู้ สิ่งที่ทำให้ใจมืด สิ่งที่ทำให้เขลา สิ่งที่ทำให้ไม่รู้ คืออวิชชานั่นเอง ใจของเราสามารถดับอวิชชาได้ นั่นคือมโนมยิทธิวิชชา จงเล่าเรียนเข้าเถิด วิชาอะไรเล่าที่จะกำจัดแบบครอบจักรวาลได้ ก็คือวิชาธรรมกาย นั่นเอง แต่ว่าต้องเรียนให้ครบทุกหลักสูตร อย่าเรียนแต่เบื้องต้นเท่านั้น ต้องเรียนวิชาชั้นสูงด้วย ตำราวิชาธรรมกายทุกหลักสูตร ข้าพเจ้านำมาขยายความให้ง่ายขึ้นแล้ว

    ..............................................................................

    แจ้งข่าว...งานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร
    สำหรับในเดือนพฤษภาคม 2559 นี้
    เปิดฝึกอบรมสมาธิแก่บุคคลทั่วไป
    - วันอาทิตย์ที่ 15 พ.ค. 2559
    เริ่มเวลา 13.00 - 16.00 น.ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ :http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2016
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    [​IMG]

    เตวิชชโช วิชชา3
    ฉฬภิญญโญ วิชชา8


    วิชชา3 วิชชา8 แบบ "มโน" ใสในใส กลางของกลาง เบ๊นซ์ในเต๊นท์ มันจะเป็น แบบนั้น ก็ไม่แปลก



    ถามนะ ?

    ถามว่า มีการสอน วิชชา ฉันข้าวกลางดึก ขอสักคำ คืนอนาคามี เป็นสกิทาคา ไม่ว่ากันนะโยม มีไหม !?
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผมไม่เกี่ยวข้องกับวัดใดวัดหนึ่ง ตามที่เป็นข่าวในปัจจุบันนี้ แต่มีข้อคิดฝากให้ทุกท่านได้เป็นข้อมูล ดังนี้...

    บทความ โดย คุณลุงการุณย์ บุญมานุช
    ท่านลืมแล้วหรือ? โบราณสอนว่า ฤๅษีผอม แต่เราเป็นฤๅษีอ้วน นี่คือพลาดแล้ว!

    “ฤๅษีผอม” หมายความว่า นักบวชหรือนักพรตต้องผอม ไม่ใช่ร่างกายผอม ผอมในความหมายนี้คือยากจน ขัดสน ผู้ที่มีคือนักบวชร่ำรวยไม่ได้ เราบวชก็เพื่อขัดเกลากิเลส ไม่หยิบเงินไม่ไยดีเงิน แต่เราบวชเพื่อหาเงิน บวชเพื่อเอาผ้าเหลือง มาสร้างค่านิยม คนเชื่อผ้าเหลือง แล้วก็ออกอุบายหาเงินด้วย วิธีต่าง ๆ จนมีข่าวดังออกไปว่า เอาเงินไปเล่นแชร์ เอาเงินไปเล่นหุ้น เอาเงินไปซื้อที่ดิน พฤติกรรมเช่นนี้ไม่เข้าหลักฤๅษีผอม สุดท้าย เงินก็ทำลายนักบวช ไม่ใช่มรรคผลนิพพาน แต่เป็นมรรคผลแห่งความหายนะ!
    เมื่อเงินเข้ามือ ความหลงตัวเกิดขึ้น แต่เราไม่รู้ การละเมิดวินัยจะเกิดขึ้น เราไม่ทันสังเกต แล้วภารกิจจะหนักมือ จนเราไม่ว่างจะปลงอาบัติ สุดท้าย บารมีก็หลุดไป มารเขาฉลาด เขาเองเงินมาล่อ เอายศมาให้ เอาอำนาจมาประเคน ไม่นานเกินคอย จบเห่ด้วยประการฉะนี้ทั้งนั้น เพื่อนเอ๋ย!

    ท่านที่เป็นธรรมกายต้องระวัง! มารเขาจ้องอยู่แล้ว อย่าลืมคำโบราณที่ว่า ฤๅษีผอม ท่องไว้! จำไว้! ถ้าเห็นว่าเราจะครองสภาพความเป็นพระสงฆ์ไม่ได้ ศีลก็ไม่รักษา วินัยสงฆ์ก็ไม่ระวัง ทั้งยังยินดีในเงิน ออกอุบายหาเงินด้วยวิธีต่าง ๆ อ้างว่าเป็นบุญใหญ่ อ้างต่าง ๆ ให้คนเชื่อ ผู้คนเขาเชื่อผ้าเหลือง เขาก็เอาเงินมาเทให้ แค่นั้นยังไม่พอใจ ยังวิ่งเต้นให้ได้มาในยศศักดิ์ เอาเงินไปแลก วิ่งเต้นให้ได้ตำแหน่งให้ได้อำนาจ ไม่สนใจอบรมจิตใจให้ห่างกิเลส มีความต้องการสารพัด แล้วจะห่างกิเลสได้อย่างไร? ถ้าเข้าลักษณะนี้ แปลว่ามารได้ช่องแล้ว เขาจะประเคนให้เราทั้งนั้น เราหลงว่าเกิดจากบารมีแต่ปางหลังของเรา และหลงว่าเกิดจากวิชาธรรมกายของเรา เป็นการเข้าใจผิดของเรา ที่แท้จริงนั้น มารเขาเป็นผู้จัดให้ โดยเขาแฝงตนอยู่เบื้องหลัง โดยเราไม่รู้ไม่เห็น ส่วนที่มารได้รับคืออะไร? ไม่มีใครรู้ทั้งนั้น! ข้าพเจ้าเพิ่งรู้เมื่อทำวิชาปราบมารไปแล้ว 10 กว่าปี ระหว่าง 13-14 ปีนี่เอง

    ............................................................

    เสือพี ฤาษีผอม

    คนโบราณท่านว่าเป็นวาที
    อันเสือพีฤาษีผอมย่อมงามสม
    ใช่เพียงยกขึ้นมาเป็นคารม
    คิดให้คมให้ลึกเพื่อตรึกตรอง
    อันว่าจ้าวพยัคฆาถ้าผอมโซ
    น่าพิโธ่ท่าสลดหมดผยอง
    ต้องอยู่เหงาเฝ้าถ้ำสิ้นลำพอง
    เสื่อมศักดิ์ของเจ้าป่าพนาลี

    ฤาษีผอมดูขลังพลังเวทย์
    สมณเพศเคร่งศีลปิ่นฤาษี
    หากมั่งคั่งพรั่งพรูดูอ้วนพี
    ภาพโยคีย่อมดูขัดสิ้นศรัทธา
    จึ่งเสือพีฤาษีผอมถนอมศักดิ์
    คนเขาจักเกรงขามงามสง่า
    เป็นรูปลักษณ์ต้องคำตามตำรา
    พิจารณาให้เหมาะเฉพาะตน

    (พระอภัยมณี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อ้อ ถ้าไม่ ตอบคำถามนี้

    แปลว่า คุงสมแถะ ไม่ใช่ คนวงใน ในสภาธรรมโหย รากรี
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    จะคนใน คงนอก ช่างเนาะ

    มาดู คนฮู้จัก ดีก่า

    พี่สมถะ จำ พี่ มังกรบูรพา ได้เปล่า ฮับ

    เดี๋ยวนี้ พี่ มังกร ไม่พูดเรื่อง หญิงซ้าย ชายขวา ยัดเป้งเข้าไป แว้ว

    แต่จะพูดอะไร พี่ สมถะ ถามเจ้าตัวเอาละกัน

    เว้นแต่ ยังมึนๆ ซึมๆ กับ ผลกะทิ วี๊ดชา 38 อะไรนั่น
    แล้วหมดกำลังจะสุกใสแบบพี่มังกรบุรพา ไม่ว่ากัน
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอบคุณคุณนิวรณ์ ช่วงนี้งานสอนสมาธิมีมากเหลือเกิน วิทยากรของทางชมรมฯ ทำหน้าที่กันอย่างเต็มกำลัง สนุกสนานกันน่าดู ช่วยกันแก้ไขปัญหาจิตใจของผู้คนให้เกิดความสงบ สว่างใส โปรดติดตามภาพกิจกรรมงานสอนได้ทางเฟสบุ๊กที่ให้ไปนะครับ

    แจ้งข่าว...งานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร
    สำหรับในเดือนพฤษภาคม 2559 นี้
    เปิดฝึกอบรมสมาธิแก่บุคคลทั่วไป
    - วันอาทิตย์ที่ 15 พ.ค. 2559
    เริ่มเวลา 13.00 - 16.00 น.ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ :http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819/reply7
    เฟสบุกซ์ผลงานการสอนสมาธิวิชชาธรรมกาย : https://www.facebook.com/khunsamatha2557/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • page001.jpg
      page001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      186.3 KB
      เปิดดู:
      224
    • page008.jpg
      page008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.7 KB
      เปิดดู:
      215
    • page123.jpg
      page123.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.2 KB
      เปิดดู:
      204
    • page2558.jpg
      page2558.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137 KB
      เปิดดู:
      243
    • thamakaya.jpg
      thamakaya.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.6 KB
      เปิดดู:
      210
    • d02.jpg
      d02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.9 KB
      เปิดดู:
      167
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2016
  7. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    บทความ เรื่อง วิชชาและจรณะเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
    คัดมาจากตำราปราบมาร ภาค ๕
    ของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช
    อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการ จ.จันทบุรี


    คัดลอกมาบางส่วน ดังนี้.........

    [​IMG]

    วิชชาและจรณะเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

    มีความหมายอย่างไร?


    ทั้ง “วิปัสสนา” และ”จรณะ” ก็คือวิชชาด้วยกันทั้งคู่ แต่จรณะเป็นบาทของวิชชา คือจรณะเป็นเบื้องต้น ส่วนวิปัสสนาสูงกว่าจรณะ ต้องมีจรณะก่อนแล้วจึงจะถึงวิชชา จรณะเป็นประถมศึกษา วิปัสสนาเป็นมัธยมศึกษา นั่นเอง
    จรณะ แปลว่า ประพฤติหรือธรรมควรประพฤติ มี ๑๕ คือ

    (๑.) ศีลสังวร การสำรวมศีล คือสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    (๒.) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ การสำรวม กาย ใจ หู ตา จมูก ลิ้น ไม่ให้อารมณ์ชั่วเข้ามาได้ พระอริยเจ้าสำรวมได้ดีกว่าปุถุชน
    (๓.) โภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภค
    (๔.) ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรให้ใจตื่นอยู่เสมอ ไม่ให้นิวรณ์เข้าครอบงำได้
    (๕.) สัทธา คือการกระทำด้วยความเชื่อ เชื่อว่าการบริจาคทานเป็นความดี
    (๖.) สติ ได้แก่การระลึกได้ การระลึกรู้ ให้รู้ตัวอยู่เสมอ เช่น การมีสติมั่นอยู่ในสติปัฏฐานสูตร คือการวางใจอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นต้น
    (๗.) หิริ การละอายต่อความชั่ว
    (๘.) โอตตัปปะ สะดุ้งหวาดกลัวต่อการทำบาป
    (๙.) พาหุสัจจะ การเป็นผู้ฟังมาก เพราะการฟังทำให้เกิดปัญญาเกิดความรู้
    (๑๐.) อุปักกโม ความเพียรประกอบความดีไม่ลดละ
    (๑๑.) ปัญญา การหยั่งรู้เหตุผลอย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
    (๑๒.) รูปฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน (คือฌานโลกีย์)

    จรณะเป็นวิชาที่พระพุทธองค์ประพฤติตั้งแต่ครั้งเป็นโพธิสัตว์ เป็นธรรมที่พระอริยสงฆ์ประพฤติปฏิบัติ จงสังเกตว่าจรณะนั้น เป็นเรื่องของการระวังใจ เป็นเรื่องของการสำรวมใจ ครั้นสำรวมใจได้แล้ว ทำให้ใจเข้าถึงรูปฌาน ๔ ได้ เมื่อใจทำรูปฌาน ๔ ได้แล้ว ก็ไต่เต้าไปถึงวิชาชั้นสูงได้ ซึ่งวิชาชั้นสูงหรือที่เราเรียกว่า “วิชชา”นั้น (ช. ๒ ตัว) เป็นธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ซึ่งศาสนาอื่นไม่มีความรู้อย่างนี้ หากใจทำรูปฌาน ๔ ไม่ได้ จะไม่มีโอกาสเข้าถึงวิชาชั้นสูงได้เลย
    วิปัสสนาวิชชา มี ๑๐ ประการ ดังนี้

    (๑.) สัมมสนญาณ คือการพิจารณานามรูปที่ตัวเรา รูปร่างหน้าตาทั้งเรือนร่างนี้รวมเรียกว่า รูป มีนามว่า มนุษย์ พิจารณาให้เห็นจริงว่า ต้องแก่-เจ็บ-ตาย
    (๒.) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ รู้เห็นการเกิดและการดับของตัวเรา
    (๓.) ภังคานุปัสสนาญาณ ให้พิจารณาว่า สังขารร่างกายนี้มีแต่จะแตกดับอย่างเดียว
    (๔.) ภยตุปัฏฐานญาณ พิจารณาว่าร่างกายของเรานี้เป็นภัย เพื่อให้เกิดการไม่ยึดมั่นในตัวตนของเรา
    (๕.) อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาว่าสังขารตัวเรานี้เป็นโทษ ยิ่งทำให้เราปล่อยวางได้ ไม่ยึดมั่นในตัวตนยิ่งขึ้น
    (๖.) นิพพิทานุปัสสนาญาณ เมื่อพิจารณาได้ ๕ ประการตามที่กล่าวมา ๕ ข้อนั้นแล้ว ในข้อที่ ๖ นี้ พิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายสังขารให้จงได้ หากเกิดความเบื่อหน่ายได้ ถือว่าใช้ได้แล้ว
    (๗.) มุญจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาแต่อยากจะพ้นจากสังขารนี้ การพ้นจากสังขารนี้ ต้องพ้นโดยความรู้ของพระพุทธองค์ จะต้องมีความรู้อะไรที่เราจะพ้นจากสังขารนี้ ไม่ใช่ทำลายตัวเอง ไม่ใช่ฆ่าตัวเอง นั่นคือบาปกรรม ไม่ใช่ความรู้ที่พระพุทธองค์ทรงสอน การพ้นจากสังขารนี้ เป็นการพ้นโดยการยกสภาพจิตใจ ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเรา แล้วใจของเราก็ยกสภาพใจมาที่กายธรรมอันเป็นกาย นิจจัง สุขัง อัตตา
    (๘.) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาแต่ว่าจะให้หลุดพ้นต่อไป พิจารณาให้ละเอียดถึงการหลุดพ้นต่อไปอีก
    (๙.) สังขารุเปกขาญาณ มาถึงการพิจารณาลำดับนี้ หลวงพ่อท่านอธิบายว่า เกิดความรู้สึกทางใจว่าเกิดอาการ “พะอืดพะอม” คือกลืนไม่เข้า คายไม่ออก อารมณ์ทางใจอยู่ในฐานะอมเฉยไว้ก่อน จากนี้ไปก็ถึงวิชาญาณสุดท้ายคือ ญาณในข้อ ๑๐
    (๑๐.) อนุโลมญาณ เมื่อการพิจารณามาถึงข้อ ๙ คือเกิดอาการพะอืดพะอม แล้วเราก็อมไว้แต่ยังไม่คาย คราวนี้มาถึงขั้นอนุโลมญาณ สภาพใจเกิดขึ้นทันทีว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อนุโลมให้เป็นไปตามความเป็นจริงก็แล้วกัน

    สรุปแล้ว วิปัสสนาวิชชาหรือวิชชา ๑๐ นี้ ต้องเข้ากายธรรมพิจารณา ความรู้นี้จึงจะมีขึ้นจึงจะเป็นขึ้น หากไม่เป็นธรรมกายแล้ว พิจารณาไม่ได้ ได้แต่อ่านไปเท่านั้นต้องเข้ากายธรรมส่งรู้ส่งญาณทัสสนะมาดูที่ดวงธรรมของกายมนุษย์ แล้วก็เริ่มตั้งต้นพิจารณา ลำดับมาตั้งแต่ข้อ ๑ เป็นต้นมาจนถึงข้อ ๑๐ พิจารณาดูนาน ๆ หลายเที่ยวจึงจะเกิดอารมณ์ทางใจ ๑๐ ประการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยวิปัสสนาวิชชา ๑๐ ตามที่บรรยายมานี้ ถ้าไม่เป็นธรรมกายแล้ว การเรียนของเราก็ดำเนินไปไม่ได้ ตรงนี้เองที่ส่งผลให้วิชชา ๑๐ ประการนี้สูญ เพราะไม่มีใครปฏิบัติได้ เมื่อปฏิบัติไม่ได้ ก็อธิบายไม่ได้ แม้จะมีตำราไว้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร?

    ในความรู้เรื่องจรณะ ๑๕ นั้น เราก็ต้องเรียนให้เห็นกายโลกีย์ของเรา คือ กายมนุษย์ ลำดับดวงธรรม ๖ ดวง ก็มาเห็นกายมนุษย์ละเอียด (กายฝันของตัวเรา) กายมนุษย์ละเอียดลำดับดวงธรรม ๖ ดวงก็มาเห็นกายทิพย์หยาบ กายทิพย์หยาบลำดับดวงธรรม ๖ ดวงก็มาเห็นกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดลำดับดวงธรรม ๖ ดวงก็มาเห็นกายพรหมหยาบ กายพรหมหยาบลำดับดวงธรรม ๖ ดวงก็มาเห็นกายพรหมละเอียด กายพรหมละเอียดลำดับดวงธรรม ๖ ดวงก็มาเห็นกายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมหยาบลำดับดวงธรรม ๖ ดวงก็มาเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ในการพิจารณานั้นไม่ยาก จะใช้กายพรหมหรือกายอรูปพรหมพิจารณาก็ได้ เลือกเอา เพราะกายพรหมทำรูปฌานได้ และการอรูปพรหมทำอรูปฌานได้ ในความรู้เรื่องจรณะ ๑๕ นั้น มีหลักสูตรให้พิจารณารูปฌาน ซึ่งเป็นข้อยากที่สุด เราจึงต้องใช้กายพรหม (รูปพรหม) หรือากายอรูปพรหมพิจารณา วิธีพิจารณาไม่ยากเลย เพียงแต่เราเข้ากายไหน? เราก็เข้ากายนั้น แล้วก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมในท้องของกายนั้น จากนั้นก็นึกใช้รู้ญาณของกายนั้น มองลงไปในท้องกายมนุษย์ตัวของเรา เห็นดวงธรรมในท้องกายมนุษย์แล้ว ก็เปิดตำราดูบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องจรณะ ๑๕ แล้วเริ่มพิจารณาตั้งแต่ข้อ ๑ เป็นต้นไป

    หากเราไม่เห็นกายโลกีย์ของเรา การพิจารณาไม่ได้ผล แม้ตำราจะมีไว้ แต่เราก็เรียนรู้ไม่ได้ เราจะเรียนรู้ได้ เราก็ต้องค้นคว้า ให้พบกายโลกีย์ของเราก่อน ว่ามีกี่กาย? ต่อไปก็ให้พิจารณาว่า จะใช้กายใดมาเรียนรู้ได้? จะให้ดีต้องให้เห็นกายธรรมเสียเลย เรียนวิชาธรรมกายให้เป็น แล้วการพิจารณาความรู้เหล่านี้จะไม่ยากอีกต่อไป

    เรามาพูดกันว่า ตำราในพระพุทธศาสนามีความรู้เรื่องจรณะ ๑๕ และวิปัสสนาวิชชา ๑๐ ถามว่า ใครจะมีคามรู้อธิบายได้บ้าง? ตอบว่า ไม่มีใครมีความรู้อธิบาย เพราะไม่มีใครเห็นกายโลกีย์และกายธรรมของเขา เขาจึงหมดโอกาสเรียนรู้ แม้จะมีตำราไว้ แต่ก็เรียนไม่ได้ นี่คือทางตัน แต่โพธิสัตว์ ตั้งแต่อดีตมา และพระอริยเจ้า ท่านเห็นกายโลกีย์และเห็นกายธรรมของท่าน ท่านจึงเรียนได้ ท่านจึงเข้าใจได้

    ความรู้เรื่องจรณะเป็นความรู้ระดับสมถะ ใช้กายโลกีย์เรียน ส่วนความรู้เรื่องวิปัสสนาวิชชา เป็นความรู้ระดับวิปัสสนา ใช้กายธรรมเรียน ระดับสมถะใช้สภาพใจที่หยุดและใสแล้ว ส่วนระดับวิปัสสนาใช้สภาพใจที่เห็นแจ้งแล้ว นี่คือความต่างกัน แต่จรณะเป็นบาทให้วิปัสสนาวิชชา เป็นบันไดให้วิชชาวิปัสสนาเป็นของคู่กันไป แยกจากกันไม่ได้

    เรื่อง “จรณะและวิปัสสนาวิชชา” นี้ เป็นคำเทศน์ของหลวงพ่อ ข้าพเจ้านำมาฝาก เพื่อให้บัณฑิตจะได้ศึกษาเล่าเรียนกัน เพราะหาผู้รู้อธิบายไม่ได้แล้ว เป็นความรู้สำคัญในพุทธศาสนา แต่หาคนเรียนรู้ไม่ได้แล้ว เป็นเพียงตัวหนังสืออยู่ในคัมภีร์เท่านั้น ดีแต่ว่าหลวงพ่อท่านเป็นธรรมกาย ท่านเรียนรู้ได้ จึงนำความรู้มาอธิบายไว้ ข้าพเจ้าจึงนำความรู้เหล่านั้นมาสรุปไว้ เกรงว่าความรู้เรื่องนี้จะสูญ โปรดจำไว้ว่า จรณะ ๑๕ และวิปัสสนาญาณ ๑๐ เป็นเรื่องของผู้ที่เป็นธรรมกายจะต้องเรียนรู้

    คำว่า วิปัสสนาวิชชา ๑๐ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนาญาณ ๑๐ หรือวิชชาญาณ ๑๐ เรียกได้หลายอย่าง

    คำว่า “ญาณ” เป็นคำย่อ มาจากคำเต็มว่า ญาณทัสสนะนั่นเอง แปลว่า หยั่งรู้ได้ รู้เห็นได้ ด้วยใจของกายธรรม กายธรรมรู้เห็นได้อย่างไร? ส่งผลกระทบถึงกายมนุษย์ตัวเราด้วย คือเรารู้เห็นตามไปได้ด้วย ลักษณะการเห็นก็เหมือนเรื่องราวของภาพยนตร์ที่เราดูกันในทุกวันนี้ จอภาพที่รับเรื่องราวก็คือใจของเรานั่นเอง แต่ว่ากายธรรมเห็นได้มากกว่ากายมนุษย์ กายมนุษย์เป็นผู้รับถ่ายทอดจากกายธรรม คือ กายธรรมต่อรู้ต่อญาณให้กายมนุษย์ได้รับรู้ เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์มาตรัสรู้ในโลก ทรงเห็นกายธรรม แล้วกายธรรมก็บอกพระไตรปิฎกแก่กายมนุษย์ของพระองค์ แล้วกายมนุษย์ของพระองค์ก็สอนความรู้นั้นแก่มนุษย์โลกต่อไป

    https://www.facebook.com/khunsamatha2557/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1040894-Copy.jpg
      P1040894-Copy.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.3 KB
      เปิดดู:
      170
    • ho1.jpg
      ho1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.4 KB
      เปิดดู:
      209
    • sod3.jpg
      sod3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168.4 KB
      เปิดดู:
      156
    • sod2.jpg
      sod2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.7 KB
      เปิดดู:
      265
    • newyear2016.jpg
      newyear2016.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142.1 KB
      เปิดดู:
      126
    • Y5528348-9.jpg
      Y5528348-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.2 KB
      เปิดดู:
      216
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2016
  8. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    เห็นตัวกามกำเริบขึ้นมา อย่างรุนแรง แล้วสินะครับ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ฮิววววววววส์
     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คัดมาจากตำราคู่มือวิปัสสนาจารย์
    ของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช
    อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการ จ.จันทบุรี

    เหตุใดการฝึกใจกำหนดจุดพักใจถึง ๗ ฐาน

    เหตุผลที่กำหนดที่พักใจ ๗ จุดหมาย ก็คือ

    ๑. ใจของเราโดยธรรมชาติมีที่พัก ๗ ฐาน

    คือ ก่อนที่เราจะนอน “หลับ” ปราณคือ ลมหายใจ เข้าทางช่องจมูกแล้ว เดินไปตามฐาน ๗ ฐาน เมื่อถึงฐานที่ ๗ ลมไปหยุดตรงฐานที่ ๗ และใจของเราก็หยุดที่ฐานที่ ๗ แล้วเราก็ “หลับ” ถ้าใจหยุดจึงหลับ หากใจไม่หยุดก็ยังไม่หลับ

    การที่เราพักใจตามฐานต่าง ๆ แล้วบริกรรม เป็นการปฏิบัติตามหลักของธรรมชาติ อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่ง

    ๒. ให้รู้ทางมาเกิดไปเกิด

    หมายถึง การที่สัตว์โลกมาเกิด โดยเข้าสู่ครรภ์มารดา และเป็นตัวตนขึ้นมาเป็นมนุษย์

    ไปเกิด หมายถึง สัตว์โลกตาย โดยทิ้งร่างของตนไว้ และกายละเอียดไปหาภพเกิดใหม่ (โบราณว่า วิญญาณไปสู่ปรโลก)

    ถ้ามาเกิดเดินใน และถ้าไปเกิดเดินนอก

    คือการมาเกิด ใจของสัตว์เข้าสู่ช่องจมูก แล้วเดินไปตามฐาน และไปหยุดตรงฐานที่ ๗ และถ้าจะไปเกิด (ตาย) ใจจะมาหยุดตรงฐานที่ ๗ ก่อน แล้วเลื่อนมาฐานที่ ๖-๕-๔-๓-๒ แล้วออกจากช่องจมูก จังหวะที่ “ตาค้าง” แสดงว่า ใจเดินมาหยุดที่ฐานที่ ๓ คือ จอมประสาท เริ่มตายจากจุดนี้ พอใจออกจากช่องจมูก แปลว่า ตายสนิทแล้ว จากนั้นกายฝันของผู้ตายคือ กายละเอียด จะไปไหนก็สุดแต่บุญกรรมของเขาผู้นั้น ถ้ากายมนุษย์ทำบุญสุนทาน กายฝันของเขาก็ไปสุคติ แต่ในทางกลับกัน ถ้ากายมนุษย์ของเขาทำเวรกรรม กายฝันของเขาก็ไปสู่ทุคติ

    ดังนั้น ปรโลก ก็คือ โลกอื่นของผู้ตาย มีทั้งปรโลกสุคติและปรโลกทุคติ

    เรื่องของการมาเกิด ก็คือ ผู้มาเกิดมาอยู่กับผู้เป็นบิดาก่อน คือ กายละเอียดของผู้มาเกิดเข้าช่องจมูกบิดา เสมือนหนึ่งเข้าสู่นิวาสสถานใหญ่ ถ้าเป็นชายเข้าช่องจมูกขวา และถ้าเป็นหญิงเข้าช่องจมูกซ้าย แล้วไปตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย (ฐานที่ ๗) ของบิดานั้น

    ต่อมา บิดาได้ประกอบกามกิจกับมารดา ขณะที่ประกอบกามกิจนั้น กายของผู้มาเกิดดับลงแล้วกลายเป็นธาตุธรรม มีลักษณะเป็นดวงใส เดินทางออกจากศูนย์กลางกายของบิดา (ฐานที่ ๗) แล้วมาฐาน ๖-๕-๔-๓-๒-๑ จากนั้น เข้าจมูกของมารดา ถ้าเป็นชาย เข้าทางช่องจมูกขวา หญิงช่องจมูกซ้าย (ไปตามฐานตามที่ลำดับไว้ ๗ ฐาน) แล้วมาฐานที่ ๒ (เพลาตา) ฐาน ๓ (จอมประสาท) ฐาน ๔ (ช่องเพดาน) ฐาน ๕ (ช่องลำคอ) ขณะที่อสุจิของชายหลั่งเกิดความรู้สึกสุดยอดแห่งการประกอบกามกิจ ดวงใสอันเป็นธาตุธรรมละเอียด “หยุด” ที่ฐานที่ ๖ ของมารดาทันที และลอยจากฐานที่ ๖ มาสู่ฐานที่ ๗ แล้วเคลื่อนเข้าสู่อู่มดลูกกลางต่อมเลือดของมารดา (ที่ต่อมเลือดมีช่องรู สำหรับเลือดระดูเดิน เหมือนกับช่องรูที่หัวนม สำหรับให้น้ำนมเดิน) เมื่อดวงใสตั้งบนต่อมเลือดแล้ว ทำให้ช่องเลือดปิด จากนั้นมารดาก็ขาดระดูเป็นต้นไป จากนั้นดวงใสอันเป็นธาตุธรรมละเอียด ก็เริ่มขยายกายให้หยาบขึ้น เกิดเป็นก้อนและเป็นตัวตนขึ้นมา

    ตามที่กล่าวนี้ แสดงถึงการเกิดของสัตว์โลก ว่าจะต้องเดินไปตามฐาน ๗ ฐาน อันนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ใจจะต้องไปพักตามจุดหมาย ๗ จุดนั้น แสดงว่ามาเกิด “เดินใน” ตามที่กล่าวแล้ว

    แต่ถ้า “ไปเกิด” คือ ตาย ใจของผู้ตายจะไปหยุดที่ฐานที่ ๗ และถอยหลังมาจนถึงฐานที่ ๑ แสดงว่าไปเกิด “เดินนอก”

    ๓. การเกิดธรรมหรือที่เรียกว่า เห็นธรรมนั้น ใจของเราก็ต้องเดินไปตามจุดหมาย ๗ จุดเช่นนั้นด้วย

    สุดท้าย ต้องไปทำใจหยุดใจนิ่งตรงศูนย์กลางกาย คือ ตรงฐานที่ ๗ เพราะฐานที่ ๗ เป็นที่ตั้งของปฐมมรรค อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเห็นธรรมตรงนั้น ถ้าไปตั้งใจไว้ที่อื่น เราก็หมดโอกาสได้เห็นธรรม เพราะไม่ถูกจุดเริ่มต้น เมื่อไม่ถูกจุดเริ่มต้น ก็แปลว่า ล้มเหลวสิ้นเชิง

    ถามว่า จะไม่กำหนดที่พักใจได้หรือไม่ ตอบว่า ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะแบบสำเร็จเป็นเช่นนั้น จึงต้องปฏิบัติเช่นนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2016
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คัดมาจากตำราแนวเดินวิชาหลักสูตรคู่มือสมภาร
    โดยคุณลุงการุณย์ บุญมานุช
    อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการ จ.จันทบุรี


    ใครเป็นผู้ทำ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    บาปหรืออกุศล เป็นผู้ทำทุกข์ สมุทัย
    บุญหรือกุศล เป็นผู้ทำนิโรธ มรรค


    คำสอนของพระบรมศาสดาที่ว่า ไม่ทำบาปทั้งปวง หากทำเข้า เขาก็ทำทุกข์และสมุทัยให้ คือ บาปเป็นผู้ทำให้แก่สัตว์โลกทุกสถาน เพราะบาปเขาก็มีพระพุทธเจ้า
    คำสอนของพระศาสดาที่ว่า การทำกุศลให้บริบูรณ์ หากเราทำกุศล พระศาสดาก็ทำนิโรธและมรรคให้แก่สัตว์โลก เพราะสัมมาทิฐิก็มีพระพุทธเจ้า

    คำสอนที่ว่า ทำใจให้ใส นับว่าสำคัญมาก หากทำใจให้ใสได้ ก็เข้าถึงนิโรธเข้าถึงมรรค ทำให้นิโรธและมรรคมีพลังขึ้น เป็นผลให้ทุกข์และสมุทัยไม่มีโอกาสได้ปกครอง
    โปรดสังเกตว่า ดวงธรรมของเราดวงเดียวนี้ มีผู้ปกครอง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายมิจฉาทิฐิผู้เป็นเจ้าทุกข์และสมุทัย และฝ่ายสัมมาทิฐิผู้เป็นเจ้าของนิโรธและมรรค คราใดที่สภาพใจของเราสงบระงับ นิโรธและมรรคทำหน้าที่อำนวยความสุขให้ หากคาใดใจของเราไม่สงบ มีอาการส่าย ไหว ริบ รัว ทุกข์และสมุทัย เป็นผู้ทำหน้าที่ส่งความทุกข์ร้อนมาให้ เหตุนี้เอง ที่เราอาจทำกรรมร้ายบ้าง และทำกรรมดีบ้างสลับกันไป

    การที่พระบรมศาสดาทรงสอนให้สัตว์โลกทำใจให้ใส ให้ประกอบการกุศล และให้ละเว้นจากบาป ก็เพื่อให้เรารอดจากการปกครองของทุกข์และสมุทัยยั่นเอง

    กลับมาดูชาวโลกของเราบ้าง มีใครบ้างไหมที่ทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกาย เพราะการกระทำเช่นนี้ เป็นการทำนิโรธ เพื่อเข้ามรรค ใครทำอย่างนี้ก็ปลอดภัย เพราะเขาได้ทำใจให้ใสตามคำสอนของพระบรมศาสดาแล้ว เป็นผลให้นิโรธและมรรคส่งผลให้เป็นสุข คำตอบก็คือ มีเรียนวิธีทำใจให้ใสกันมาก แต่ไม่วางใจที่ศูนย์กลางกาย ปรากฏว่าใจสงบระงับ เกิดความสุขทางใจ สบายใจ แต่เขาจะไม่เห็นของจริง ๔ ประการคือ ไม่เห็นอริยสัจ ๔ ไม่ว่าจะฝึกกี่ปีปี่ชาติ เขาก็ไม่มีโอกาสได้เห็นอริยสัจ ๔ แน่นอน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือ ไม่ตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย จึงไม่ถูกแนวของสัมมาทิฐิ กลับเป็นแนวของทุกข์และสมุทัยที่มีอยู่แล้วในดวงธรรมของเขาผู้นั้น ทั้งนี้ เนื่องจากดวงนิโรธและดวงมรรคของเขา มีพลังสู้ทุกข์และสมุทัยไม่ได้นั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    สมถะ ธรรมกาย ก็ไปนิพพานเหมือนกัน
    แต่เป็นนิพพานพรหม มีอายุนานเท่านาน....
     
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหากระทู้ของคุณสมถะหรือปราชญ์ขยะ
    ที่ได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในพระพุทธศาสนา
    และการปฏิบัติสมาธิภาวนา ในเวปบอร์ดต่างๆ
    นำมาจัดเก็บไว้ ณ ที่นี้ เพื่อให้ผู้สนใจสะดวกในการติดตามอ่านและทำความเข้าใจได้สมบูรณ์ที่สุด
    เปิดศึกษาตามลิ้งค์ด้านล่างนี้


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2016
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ปวก กาโหล ...

    หาก บิดามารดาใคร ซั่มกัน แล้วมันเกิด กระบวนการ
    หญิงซ้ายชายขวา มาเกิดทุกครั้ง ที่ซั่ใกัน กระบวนการ
    ที่ว่า 7ฐาน ฮา ฮา เฮ้ว เฮ้ว อะไรนั่น มันคงจะจริง

    แต่



    ความเป็นจริง กว่า คนจะเกิดสักคน มันไม่ได้ เกิดทุกครั้งที่ ซั่มกัน หน่าคร้าบ

    แล้ว 7 ฐาน อะไรนั่น ไม่ฮากุญแจแตกกุญแจแตน เหรอ


    หา มังกือคว้า สหายท่าน มาหักคอจิ้มน้ำพริก ยังจะเวิร์กกว่า ดับเกิด ดับเกิด ฮิววววววส์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2016
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอให้อ่านด้วยใจเป็นกลางๆ นะครับ เขาไม่ได้บอกว่าเกิดทุกครั้งดอกครับ แต่ถ้าท่านอ่านแล้วไม่พึงพอใจ ผมต้องขออภัยด้วย ท่านถูกแล้ว ผมนำเสนอไม่ถูกใจท่านเอง
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้

    เอาแต่ " ถูกใจ " นี่เอง ถึงได้ไม่ ปั๊ดตะนา เหมือน พี่ มังกรคว้า !!!

    และ เพราะตน เอาแต่ ที่ "ถูกใจ" ก็เลย อุปทานว่า คนอื่นจะเย็น
    ก็หากมีการปรารภ เรื่อง "ถูกใจ" เพื่อเอาใจ กะว่า จะรอด !!!

    ของไม่ พ้นกาล ไม่อกาลิโก ยกมาแล้ว ก็ต้อง มา กดธรรมที่ตนกล่าว
    แล้ว ยกความ " ถูกใจ " แลกกับ การไม่โดนย้อนแย้ง

    ตายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย มังกรคว้า ช่วยด้วย !!!!
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    พี่ สมถ มี เมี_ เป่า

    เคย แบบ 69 หรือ ยกล้อ ไหม


    ถ้า 69 เนี่ยะ เอิ่ม ตรงรูตะหมูกป๋ม ตอนนั้น มันไม่มี ซ้าย มี ขวา ให้เล็งส่ง อะฮับ ทำไง
     
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เล่าเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยศิษย์ผู้ใกล้ชิด

    ลุงเตชวัน มณีวรรณวรวุฒิ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจะสอนอยู่เสมอว่า ให้เราทำตัวเหมือนผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้านะ อันนี้ท่านย้ำมากบอกอยู่บ่อย แต่เราทำไม่ค่อยได้ ท่านบอกว่าต้องทำเป็นผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้าเข้าใจไหม เราเป็นเด็กก็ยังไม่เข้าใจ แล้วท่านก็อธิบายว่า เหมือนเขาเอาไม้มาตีเรา แล้วถามว่าเราเจ็บไหม ก็เจ็บนะ แล้วเราจะตีเขาตอบไหม เราจะโกรธไหม ถ้าโกรธนั้นแหละตัวกรรม ถ้าเขาตีเรา แล้วเราอโหสิให้ เราจะได้แสงรัศมีของความอดทน เราจะได้บารมีตรงนี้ นี่ตอนท่านสอนใหม่ๆ สอนไป ก็ทำวิชชาไป ท่านสอนอยู่เรื่อยๆ


    หลวงพ่อท่านจะเอาใจใส่ดูแลลูกวัดอย่างใกล้ชิด ในวันพระท่านก็จะลงปาติโมกข์ พอลงปาติโมกข์เสร็จก็อบรมพระเณร ถ้าไม่อบรมตอนนี้ก็จะมีตอนเช้าไปฉันที่ศาลา ก่อนจะเข้าโบสถ์ไหว้พระ




    ลุงสมจิตร ฉ่ำรัศมี

    วิชชาธรรมกายนี้เป็นของจริงไม่ใช่ของเล่น หลวงพ่อบอกว่า “หยุดนั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” เราเคยคิดว่า “เอ...หลวงพ่อเรานี่ เก่งนี่หว่า ท่านมีดีแต่ท่านไม่อวด” เวลาท่านสอน เราก็นั่งฟัง “มีงไม่ต้องพูด กุรู้” หลวงพ่อพูดให้เราได้ยิน แหม ! หลวงพ่อผมไม่ได้ว่าอะไรหลวงพ่อสักหน่อย


    จิตใจเรานับถือท่าน ศรัทธาท่าน ศรัทธาเกิดขึ้น บารมีเราก็แก่ขึ้น คนเราถ้าไม่มีศรัทธา บารมีไม่มีหรอก ความนับถือ ความเลื่อมใส ต้องประกอบด้วยการปฏิบัติจริง นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลวงพ่อวัดปากน้ำให้เชื่อเหตุ เชื่อผล อย่าไปเชื่อเพราะคำโกหกว่า เขาคนโน้นเก่ง คนนี้เก่ง ต้องไปดูว่าเขาเก่งยังไง ธรรมะนั้นมี ๓ อย่าง คือกุศลาธรรมา อกุสสราธรรมา อัพยากตาธรรมา บางทีเราเคืองเขา น้อยอกน้อยใจนี่ เป็นอกุศล บางทีอยู่เฉยๆ ก็คิดอยากจะทำบุญ นี่ใจเป็นกุศล บางครั้งก็รู้สึกเฉยๆ เรื่องนี้ พญามารเขาไม่ให้เรารู้หรอก รู้แล้วตาย หลวงพ่อบอกว่า “ช่างมันเถอะ เกิดมาทั้งที ถ้าไม่ดีก็อยู่ไม่ได้ เกิดมาหาแก้วเจอแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม”


    ท่านสอนให้เราเข้าใจตัวเอง รู้จักตัวเอง คนเราไม่เข้าใจตัวของตัวเองแล้วยังใช้ไม่ได้ ก็เหมือนกับคนเราถ้าไม่รู้ว่าเราคือใคร มายังไงที่เป็นตัวตนอยู่นี้มาทำไม ท่านบอกว่า ตัวเรามีธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุทั้ง ๔ มาประชุมรวมกัน เกิดมาเป็นตัวเป็นตน เผาแล้วก็จะเป็นเถ้าธุลี ไม่ใช่ตัวของเรา แต่ตัวจริงของเรานั้นมีอยู่ข้างใน ตัวเรามี ๑๘ กาย กายฝัน กายละเอียด เรียงกันไป กายข้างนอกก็ตายไป แต่กายข้างในไม่ตาย พูดแล้วก็เหมือนโกหก ถ้าไปเห็นแล้วมันจึงจะคุยกันได้ สมมติว่าเราฝัน ตัวฝันนั่นแหละสำคัญ เราต้องรู้แจ้งเห็นจริงในตัวเราว่าเรามีอะไรในตัวเรา เราไม่เชื่อตัวเราแล้วเราจะไปเชื่อใคร แกล้งเขาก็ได้ แกล้งตัวเองก็ได้ ตัวเราเองทั้งนั้น สรุปความแล้วมันมีเหตุ มีผลเกิดกับตัวเรา หลวงพ่อวัดปากน้ำ จะบอกให้ภาวนาไปเรื่อยๆ สัมมาอะระหัง ๆ ๆ แล้วก็จะไปตกบ่อของใจ บ่อกว้าง ๆ กว้างมากเลย จิตตกอยู่ในตัวเรา ตัวเราค่อยๆ สว่างๆ ไปเรื่อยๆ เห็นทุกดวงและเห็นในสิ่งที่เราไม่เคยเห็น เขาบอกว่าอันนี้ไม่จริงนะ ถ้าไม่ทำแล้วจะไปรู้ได้อย่างไร มันต้องทำถึงจะรู้

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/144604
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    โพส ก่อนหน้า อย่าไปใส่ใจ ฮับ

    โพสทางเทคนิค รบกวน จิต นิหน่อย

    เพื่อจะได้ ลอบถามคำถามจริงๆ อีกหนึ่งคำถาม


    ถามว่า......


    กรณี เด็กในหลอดแก้ว คือ พ่อไข่ทิ้งไว้ในหลอดแก้ว แช่แข็งเอาไว้
    โดยที่ คนไข่ไว้อาจจะ ตายตกนรกไปแล้ว ...

    ตอนที่ หมอฉีดเจ้าครึ่งเซลลเข้าไปในไข่ ในห้องเพาะ แล้วค่อยดู
    ว่า มีการปฏิสนธิไหม ค่อยหา "แม่" ไปฝัง ( อ้อ ไข่แม่ อาจจะ
    ไม่ใช่ คนที่เป็นแม่ในการฝังมดลุก นะฮับ ) กระบวนการ 1 7 อะไร
    นั่น มันไม่ ฮากุญแจแตกกุญแจแตน เข้าไปใหญ่ เหรอ
     
  20. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    กรณี ก็ไม่มีสนธิจิตระหว่างบิดา-มารดา และบุตร เป็นการเกิดที่ไม่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ แต่ก็สามารถทำได้ แต่มันไม่ครบองค์แห่งการประสมธาตุธรรมระหว่าง บิดา-มารดา-และบุตร(ผู้มาเกิด)

    คำอธิบายเพิ่มเติมจากหลวงปู่ชั้ว โอภาโส คัดมาโดยย่อ ดังนี้...
    กายมนุษย์ละเอียด (ในกลางกายมนุษย์ละเอียด มีกายทิพย์) กายนี้สำหรับไปเกิดมาเกิด กายนี้ถ้าหลุดจากกายมนุษย์หยาบ (กายเนื้อ) เมื่อไร ก็ตายเมื่อนั้น แต่ต้องพูดถึงกายนี้ให้รู้เรื่องกันเสียก่อน เพราะเป็นกายไปเกิดมาเกิด เป็นกายสมุทัย กายนี้เมื่อมาเกิดเข้าครรภ์บิดามารดานั้น สูงถึงแปดศอก มาเข้าครรภ์บิดาก่อน ถ้าจะเป็นหญิงก็เข้าทางช่องจมูกซ้าย ถ้าจะเป็นชายก็เข้าทางช่องจมูกขวา เข้าไปอยู่เหนือศูนย์สะดือสองนิ้วมือของบิดาก่อน แล้วมารดาจึงตั้งครรภ์ขึ้นทีหลัง ตั้งครรภ์ด้วยกันทั้งสองคนจึงรักบุตรด้วยกันทั้งคู่ บิดามารดาร่วมประเวณีกันเข้า ถ้ายังไม่ตกสูญก็ยังไม่เกิด ถ้าตกสูญเมื่อไรก็เกิดเมื่อนั้น

    ที่เรียกว่าตกสูญนั้นคือ บิดามารดาทั้งสองสนุกเพลิดเพลินนั้น มันนิ่งแน่น ดึงดูดเหมือนเหล็กตาปูตอก เพลิดเพลินจนตากลับด้วยกันทั้งสองข้าง นั่นแหละมันตกสูญหละ คืออายตนะในมดลูกของมารดา มันดึงดูดเอากายแปดศอกออกจากช่องจมูกของบิดา เข้าไปในช่องจมูกของมารดา เข้าไปติดอยู่ในแอ่งมดลูก แล้วก็น้ำเลี้ยงหัวใจของบิดามารดา ข้างพ่อนิดหนึ่งข้างแม่นิดหนึ่งประสมกันเข้าประมาณเท่าเมล็ดโพธิเมล็ดไทร แล้วกายแปดศอกนั้นก็เข้าไปอยู่ในนั้นได้ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าเข้าไปเดินจงกรมในเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้ กายพระพุทธเจ้าก็ไม่เล็กลงไป เมล็ดพันธุ์ผัดกาดก็ไม่ใหญ่ขึ้น วิธีนั้นทีเดียว หรืออีกนัยหนึ่ง เช่นกระจกวงเดือนเล็กเท่าแว่นตา ส่องภูเขาใหญ่ ๆ เข้าไปอยู่ในนั้นได้ ภูเขาก็ไม่เล็กลงไป กระจกก็ไม่ใหญ่ขึ้น แต่อยู่ในกระจกนั้นได้ วิธีเดียวกับที่เรามาเกิดในครรภ์บิดามารดา เมื่อสายเลือดของบิดามารดาข้นแข็งเป็นก้อนเข้า ก็แตกออกเป็นปัญจสาขา ห้าแห่งเป็นกายมนุษย์ขึ้น เป็นศีรษะ เป็นมือทั้งสอง เท้าทั้งสอง กายสัมภเวสีที่มาเกิดนั้นก็เล็งลงเท่ากายมนุษย์ ตาตรงกัน หูตรงกัน จมูก ปาก แขนขา ตรงกันหมด เชื่อมติดเป็นกายเดียวกันกับกายมนุษย์ (กายเนื้อ) แล้วก็เจริญใหญ่ขึ้นมาจนคลอดออกจากครรภ์มารดา อย่างนี้เรียกว่ากายมาเกิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...