อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยสอนอภิธรรมระดับปริญญาตรี เรียนฟรีจนจบ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 28 สิงหาคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วันนี้ตอบคำถามของคุณเทียน วิไลรัตน์ จาก จ.ลำปาง ที่ถามเรื่อง วุฒิบัตรผู้เรียนจบอภิธรรม

    วันนี้ตอบคำถามของคุณเทียน วิไลรัตน์ จาก จ.ลำปาง ที่ถามเรื่อง วุฒิบัตรผู้เรียนจบอภิธรรม โดยคุณเทียนถามว่า ที่ว่าหลวงพ่อได้เล่าเรียนพระอภิธรรมที่วัดระฆังจบอภิธรรมเอก อันนี้ยิ่งงงใหญ่ เพราะเคยได้ยินแต่คำว่านักธรรมตรีโทเอก ไม่เคยได้ยินว่าอภิธรรมเอก มันอันเดียวกันหรือเปล่า

    ก่อนอื่นขอตอบเบื้องต้นว่า คำว่า อภิธรรมเอก ที่คุณเทียนสงสัย น่าจะตรงกับวุฒิผู้เรียนจบอภิธรรมชั้นสูงสุดที่เรียกว่า มหาอาภิธรรมมิกะเอก เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนพระอภิธรรมของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)

    เพื่อให้ได้รายละเอียดมากขึ้น ผมได้ไปหาผู้รู้ที่อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พบแม่ชีวิไล อมรวาที เจ้าหน้าที่อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ซึ่งท่านให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก

    นอกจากเล่าให้ฟัง แม่ชีได้ให้หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต รุ่นที่ 47/2553 มาเล่มหนึ่ง มีรายละเอียดหลักสูตรและประวัติการศึกษาเล่าเรียนอภิธรรมในประเทศไทยตั้งแต่ต้น นอกจากตอบคำถามคุณเทียนแล้ว ยังได้ประวัติความเป็นมาของการเรียนอภิธรรมในเมืองไทยเพิ่มเติมอีกต่างหาก

    [​IMG]

    ที่แม่ชีเล่าให้ฟังก็คือ วิทยาลัยแห่งนี้สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีครูทั้งพระและฆราวาส 36 คน แบ่งชั้นเรียนตามหลักสูตรคือ ตรีโทเอก รวมเวลาเรียน 7 ปี จบแล้วได้ประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าปริญญาตรี

    สิ่งพิเศษสำหรับการเรียนอภิธรรมคือ เรียนฟรี เว้นแต่ชำระค่าลงทะเบียน 50 บาท และค่าตำราตามราคา ไม่จำกัดอายุ และความรู้เบื้องต้น โดยทางวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนทุกวัน มีทั้งภาคบ่ายและภาคค่ำ และเปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์อาทิตย์) หยุดวันพระ วันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศมหาวิทยาลัย

    หลักฐานในการสมัครเข้าศึกษา
    1.รูปถ่ายสีขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว 2 ใบ
    (ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 2 ปี)
    2.สำเนาประกาศนียบัตร (เฉพาะผู้ที่เคยสอบผ่านในชั้นต้นมาแล้ว)
    เปิดสอนรอบปกติ (วันจันทร์วันศุกร์)
    ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
    ภาคค่ำ เวลา 17.00-19.00 น.
    เปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์วันอาทิตย์)
    ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
    ภาคค่ำ เวลา 17.00-20.00 น.
    สำหรับหลักสูตรการศึกษาอภิธรรมนั้นแบ่งดังนี้

    ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
    ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ
    ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
    ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ
    ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
    ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน
    ศึกษาความหมาย โครงสร้างประกอบ เนื้อหาของรูปและนิพพาน

    ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
    ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
    ศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
    ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
    ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะหมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ

    ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
    ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
    ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณีประเภทของมาติกา ติกมาติกา ทุกมาติกา อธิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
    เมื่อเรียนจบสอบชั้นที่ 3 หรือจูฬอาภิธรรมิกะเอก จึงได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

    ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
    ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ
    ศึกษาความหมายของวิถีจิต โครงสร้าง และกฎเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
    ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ
    ศึกษาความหมาย โครงสร้าง และเนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกะ

    ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
    ปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหะ
    ศึกษาความหมายของปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัยความเป็นไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
    ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ
    ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ

    ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
    ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
    ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
    จบชั้นที่ 6 หรือมัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก จะได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

    ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
    ยมกสรูปัตถนิสสยะ (มูลยมก)
    ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของมูลยมกการจำแนกมูลยมก ทั้ง 4 ประเภท โดยนัย 4 การจำแนกมูลยมก 4 และนัย 4 โดยยมก 3 ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก)
    ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของขันธยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ

    ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
    ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
    ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ

    ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
    มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
    ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของปัฏฐาน และประเภทของปัฏฐาน สรุปเนื้อความ 3 ประการ การจำแนกปัจจัย 24 โดยความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ

    รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือน
    จบชั้นนี้มีคุณสมบัติเท่ากับปริญญาตรี

    ประวัติการศึกษาอภิธรรมในไทย
    หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนีบัตรอภิธรรมบัณฑิตเล่าประวัติความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยดังนี้

    เมื่อพุทธศักราช 2494 พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ได้เห็นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศพม่าอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยยังไม่มี จึงได้ติดต่อรัฐบาลประเทศพม่าขออาราธนาพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระเถระผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านพระอภิธรรมปิฎกจากประเทศพม่ามาดำเนินการเปิดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกครั้งแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งพุทธศักราช 2509 พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ได้ดำเนินการต่อเรื่อยมา


    [​IMG]

    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
    พุทธศักราช 2511 ได้ก่อตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานอำนวยการจัดการศึกษา โดยได้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิสัทธัมมโชติกะ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จนกระทั่งพุทธศักราช 2524 ด้วยเมตตาธรรมและมองการณ์ไกลของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่หวังความเจริญก้าวหน้าของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ประกาศให้อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ชื่อว่า “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ขึ้นตรงต่อสำนักอธิการบดี

    ปัจจุบัน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคมตามมาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข้อ 11 (3) เรื่องการแบ่งส่วนงาน พุทธศักราช 2541 ได้ดำเนินการจัดการศึกษามาเป็นเวลา 36 ปีแล้ว มีสาขาทั่วประเทศ 57 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีบทบาทเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบของการจัดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถา และฎีกาพระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมไทยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน

    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อให้พุทธบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมปิฎก
    2.เพื่อเป็นการรักษาพระปริยัติศาสนาส่วนของพระอภิธรรมปิฎกให้คงอยู่สืบต่อไป
    3.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในปรมัตถธรรมอันเป็นสภาวะที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
    4.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถศึกษาเชื่อมโยงกับพระสุตตันตปิฎกและพระวินัยปิฎก ที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ขัดแย้งกันเกื้อกูลกัน
    5.เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
    6.เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาของผู้ศึกษาให้มั่นคงในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป

    รายการวิทยุ
    นอกจากการเรียนการสอนตามปกติ ทางวิทยาลัยยังจัดรายการทางวิทยุ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
    รายการวิทยุของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยทางสถานีวิทยุ พล.ม. 2 AM 963 KHz
    รายการ “แก่นธรรมจากพระอภิธรรมปิฎก”
    วันพุธ เวลา 23.30-24.00 น.
    รายการ “พระอภิธรรมเพื่อคุณภาพชีวิต”
    วันเสาร์ เวลา 20.30-21.00 น.

    สุดท้ายในหนังสือนี้ให้ข้อมูลว่า จะติดต่อขอทราบรายละเอียดหรือร่วมอุปถัมภ์รายการได้ที่

    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
    โทร./โทรสาร 02224 3843, 026236101
    พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist

    หรือคลิกที่ http://www.mcu.ac.th หน่วยงาน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใ...วิทยาลัยสอนอภิธรรมระดับปริญญาตรี-เรียนฟรีจนจบ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ขอบคุณสำหรับข่าวดีๆนะครับ......

    ครั้งก่อนตอนผมไปซื้อหนังสือครั้งแรกที่วัด มหาธาตุฯ ยอมรับเลยครับ...คนเรียนเยอะมาก..เยอะจนไม่มีที่วางรองเท้า....

    เรียนอภิธรรมมีประโยชน์มากๆครับ...


    รายชื่อสำนักเรียนพระอภิธรรมทั้งหมดในประเทศไทย...

    สำนักศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย


    กรุงเทพมหานคร

    ๑. อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    ๒. วัดระฆังโฆษิตาราม
    ๓. วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๔. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ๕. วัดบูรณศิริมาตยาราม
    ๖. วัดสังเวลวิศยาราม
    ๗. วัดธาตุทอง
    ๘. วัดเจริญธรรมาราม
    ๙. วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต
    ๑๐. วัดสุวรรประสิทธิ์

    ภาคกลาง
    ๑. วัดสร้อยทอง จ.นนทบุรี
    ๒. วัดตะวันเรื่อง ต.คลองสี่ อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี
    ๓. วัดพืชอุดม ต.พืชอุดม อ.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี
    ๔. วัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
    ๕. วัดเพชรสมุทร จ. สมุทรสงคราม
    ๖. วัดมณีสรรค์ จ.สมุทรสงคราม
    ๗. วัดเขาวัง ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี
    ๘. วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี
    ๙. วัดแหลมทอง ต.หัวโพ อ.บางแพ จ.ราชบุรี
    ๑๐. วัดชะอำ ต. ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    ๑๑. วัดอุดมมงคล ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
    ๑๒. วัดกลาง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
    ๑๓. วัดปราสาททอง จ. สุพรรณบุรี
    ๑๔. สำนักสงฆ์สวนธรรมจักร ต.ตลิ่งชัน อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี
    ๑๕. วัดนาฬิกาวัน ต.หอรัตนชัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    ๑๖. วัดมเหยงคณ์ ต. หันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา
    ๑๗. วัดโกโรโกโส อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    ๑๘. วัดหาดสองแคว ต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
    ๑๙. วัดเขาพระ ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
    ๒๐. วัดป่าธรรมโสภณ ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี
    ๒๑. วัดเขาสมโภชน์ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ. ลพบุรี
    ๒๒. วัดโคกโตนด ต.ห้วยเกรด อ.สวรรคบุรี จ.ชัยนาท

    ภาคเหนือ
    ๑. วัดถ้ำพระธาตุเมืองเทพ ต. ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี
    ๒. วัดพรหมจริยาวาส ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
    ๓. วัดพระโบสถ์ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ. นครสวรรค์
    ๔. วัดใหม่เจริญผล ต.หนองจิก อ.คีริมาส จ.สุโขทัย
    ๕. วัดม่อนจำศีล ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
    ๖. วัดร่ำเปิง (ตโปธาราม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    ๗. วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
    ๘. วัดเมืองมาง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ๑. วัดสะแกแสง ต.พะาด อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา
    ๒. วัดป่านิมิตมงคล ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    ๓. วัดป่าสังฆพงษ์พิทักษ์ฯ ต.บ้านซบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์
    ๔. วัดพรมศิลาแตล ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    ๕. วัดโมฬีวงษา ต.ตรวจ กิ่ง อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์
    ๖. วัดวารีหงษ์ทอง ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    ๗. วัดกลาง ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
    ๘. วัดมหาวนาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    ๙. วัดกลาง ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    ๑๐. วัดบ้านไร่ขี อำนาจเจริญ
    ๑๑. วัดบ้านโคกก่อง จ.ยโสธร
    ๑๒. วัดอุดมไพรสณฑ์ ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
    ๑๓. วัดวิสุทธิมัคคาราม จ. อุดรธานี
    ๑๔. วัดพระบาทนาหงษ์ จ.หนองคาย

    ภาคตะวันออก
    ๑. วัดเกาะแก้วคลองหลวง ต.ไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    ๒. วัดเกาะจันทร์ ต.เกาะจันทร์ กิ่ง อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
    ๓. วัดเก่าโบราณ ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี
    ๔. วัดกุณฑีธาร ต.คลองกิ่ง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
    ๕. วัดเขาบ่อน้ำซับ ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี
    ๖. วัดเขาพุทธโคดม ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    ๗. วัดนาพร้าวเก่า ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    ๘. สำนักสงฆ์หนองลำดวน ต.ท่าบุญมี กิ่ง อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
    ๙. สำนักสันตยสม จ.ชลบุรี
    ๑๐. วัดธรรมนิมิตต์ จ.ชลบุรี
    ๑๑. วัดพนมพนาวาส ต.คลองขุด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
    ๑๒. วัดสุนีย์ศรัทธาธรรม ต.พิมพา อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    ๑๓. วัดชากพรวด ต.ห้วยยาง อ.แกลง จ.ระยอง
    ๑๔. วัดบ่อทอง ต. ชาดโดน อ.แกลง จ.ระยอง
    ๑๕. วัดหินโค้ง ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    ๑๖. วัดสุทธิวารี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

    ภาคใต้
    ๑. วัดไตรวิทยาราม ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
    ๒. วัดคุณชี ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

    สำนักศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
    ๑. มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม ตู้ปณ. ๔๕ ปณจ. ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทรศัพท์ : ๘๘๔ - ๕๐๙๑ - ๒<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2011
  3. poopenๆ

    poopenๆ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +86
    สนใจเหมือนกัน..แต่เกรงว่าจะไม่มีเวลาให้เพียงพอ...
    เพราะกิจกรรมทางโลกยังเยอะอยู่..:'(
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    แนะนำเพิ่มเติมสำหรับท่านผู้สนใจในการศึกษาพระอภิธรรม แต่เวลาน้อย หรือไม่สามารถไปเรียนแบบเต็มรูปแบบที่สำนักเรียน.....ทาง อภิธัมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดย การสนับสนุนจากมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม..ก็มีการจัดหลักสูตรเรียนอภิธรรมทางไปรษณีย์ (ฟรี) เหมือนกันครับ.....ผมจะนำเอาข้อมูลขึ้นไว้ให้นะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2011
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เรียนฟรีตลอดหลักสูตร พระอภิธรรม ทางไปรษณีย์

    [​IMG]


    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย


    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



    ระเบียบการการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อรักษาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงสืบต่อไป

    2. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่ต้องการศึกษาพระอภิธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ผู้ที่มีเวลาเรียนน้อย ไม่สามารถที่จะไปเรียนในสำนักเรียนได้ หรือผู้ที่อยู่ห่างไกลจากสำนักเรียน ให้มีโอกาสได้ศึกษาพระอภิธรรมด้วยตนเองทางไปรษณีย์

    3. เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนของพระอภิธรรมปิฎก ให้แพร่หลายสู่สาธุชนทั่วไป อันจะยังประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจศึกษา เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของชีวิตและรู้แนวทางการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ ตามพุทธประสงค์



    [​IMG]



    เรียนฟรีตลอดหลักสูตร
    โดยความอุปถัมภ์ของ มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม



    วิธีการเรียนการสอน

    1. นักศึกษาที่สมัครเรียน จะได้รับแจกเอกสารประกอบการศึกษา โดยไม่ต้องเสีย


    ค่าใช้จ่ายใด ๆ (เรียนฟรีตลอดหลักสูตร)​


    2. เอกสารประกอบการศึกษานี้จะแจกให้ทีละชุด เมื่อนักศึกษาตอบคำถามชุดที่ 1​


    แล้ว จะได้รับบทเรียนชุดที่ 2 เมื่อตอบคำถามชุดที่ 2 แล้ว จะได้บทเรียนชุดที่ 3​


    เช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ (ในแต่ละชุด จะมีบทเรียน 1-3 ตอน)​


    3. นักศึกษาที่ตอบคำถามครบถ้วนตามหลักสูตร (ทั้ง 10 ชุด) จะได้รับวุฒิบัตร ' พระอภิธัมมัตถสังคหะทางไปรษณีย์ '


    4.ไม่จำกัดระเวลาในการศึกษา​


    5.ไม่จำกัดพื้นความรู้​



    ---------------------------------------------​

    การสมัครเรียน

    หากท่านต้องการ ศึกษาพระอภิธรรม ทางไปรษณีย์ ​

    โปรดแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ ของท่านโดยละเอียด และส่งไปที่​


    ตู้ ปณ. 28


    ปณฝ. หน้าพระลาน


    กรุงเทพฯ 10202





    เจ้าหน้าที่ทางมูลนิธิฝากบอกมาว่า สามารถส่งใบสมัครของหลาย ๆ

    คนรวมกัน ในซองเดียวทีเดียว ได้ค่ะ จะได้ประหยัดค่าซองและแสตมป์ (น้ำหนักไม่เกิน 20 กรัม = แสตมป์ 3 บาท)


    หรือ Fax ใบสมัครส่งมาทางเบอร์ 02 - 884 5090


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่​

    โทรศัพท์ : 02 884 5091 - 2​

    โทรสาร : 02 884 5090​



    http : // www.mcu.ac.th





    หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อขอทราบรายละเอียด ได้ที่
    มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม
    5/108 - 9 ซอยอุดมทรัพย์ ถนนบรมราชชนนี
    แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 02 - 884-5091-2
    โทรสาร 02 - 884-5090

    การเดินทางไปมูลนิธิฯ ด้วยรถประจำทาง
    สามารถไปได้หลายสายดังนี้ :-
    รถประจำทาง สาย 19 , 28 , 30 , 40 , 57 , 66 , 123 , 124 , 127 , 146 , 149 ,
    รถปรับอากาศ สาย 3 , 7 , 11 , 17 , 30 , 33 , 66
    รถไมโครบัส สาย 4 , 8 และรถตู้อีกหลายสาย
    ** ลงที่ป้าย เซ็นทรัญปิ่นเกล้า หรือ เมเจอร์ปิ่นเกล้า
    ใบประชาสัมพันธ์ จากเว็บสมาธิดอทคอมค่ะ





    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->



    ที่มา



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  6. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +904
    อนุโมทนาสาธุ ส่งแฟกซ์ใบสมัครไปแล้วครับ

    ttt2010 ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ
    ______________________________________________________
    บอกบุญแหล่งทำบุญ

    ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี
    เปิดดวง พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี)
    ร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดดอนพัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
    ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศูนย์วิปัสสนาศิริธรรม(นายาง)ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  7. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,516
    ค่าพลัง:
    +9,769
    ในครั้งแรกๆ เข้าไปทดลองเรียนดูก่อนก็ได้ ที่ชั้นจูฬตรี ชั้นล่างห้องแรก ที่ตึกอภิธรรม วัดมหาธาตุ

    พระอาจารย์/อาจารย์(บางคนเป็นฆราวาส)ท่านจะปูพิ้นฐานเรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน
    และรายละเอียดอื่นๆอีกมากมาย โดยท่านพระธัมมโชติกจากพม่าท่านมาวางรากฐานไว้
    เรียนแนวปริยัติไว้ด้วยจะช่วยให้เข้าใจข้อธรรมมากขึ้นเมื่อไปปฏิบัติ
     
  8. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    ท่านทั้งหลายในการเผยแพร่พระธรรม
    และได้ศึกษาพระธรรมด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...