อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]


    อุปาทาน และ อคติ ๔ (ตัวเดียวกัน)























    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้







    ๑. กฎของกรรมนั้นเที่ยงอยู่เสมอ ไม่ว่าจักเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่ว การมีชีวิตอยู่ในวัฏฏะสงสารย่อมไม่พ้นกฎของกรรมตามส่งผล







    ๒. จิตของบุคคลผู้ไม่หมดจากกิเลส ย่อมหวั่นไหวไปตามผลของกฎของกรรมนั้นๆ ที่มากระทบ กรรมดีปรากฏแก่ตน ก็ย่อมจักดีใจ กรรมชั่วปรากฏแก่ตน ก็ย่อมจักเสียใจ จัดเป็นความหวั่นไหว อันเป็นธรรมดาของบุคคล ที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล เรียกว่ายังไม่พ้นอุปาทาน และอคติ ๔ นั้นแหละเจ้า ตัวเดียวกัน







    ๓. เพราะฉะนั้นจง ศึกษากฎของกรรม อย่าตำหนิกรรม เพราะพวกเจ้าเองก็ยังไม่หมดอุปาทาน เมื่ออุปาทานมี อคติ ๔ ก็ยังหมดไปไม่ได้เช่นกัน ดูอารมณ์จิตของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ อย่าหลงอารมณ์ของตนเอง ตราบใดที่ยังมีอารมณ์พอใจกับไม่พอใจอยู่ ก็ยังเป็นแค่อนาคามีมรรค ยังไม่ถึงผล สังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อ ก็ยังไม่หมด ดังนั้น อย่าพึงคิดว่าตนเองดี อย่าพึงตำหนิใคร จักเป็นเหตุให้ตนเองสิ้นความดี เพราะมีความประมาทในกรรมทั้งปวง







    ๔. การที่จักให้เข้าถึงความหมดอุปาทาน หรืออคติ ๔ นั้น จักต้องไม่วางอารมณ์กำหนดรู้ในอริยสัจ ๔ หรือกำหนดรู้กฎของกรรมทั้งปวง คือ รู้ทั้งกรรมที่เป็นกุศล - อกุศลและอัพยากฤต รู้ผลของกรรมทั้ง ๓ ประการ ที่ส่งผลแก่มนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก และอบายภูมิ ๔ อยู่เนือง ๆ







    ๕. แม้ในขณะนี้พวกเจ้าเองก็ยังอยู่ในกฎของกรรมทั้ง ๓ ประการส่งผลอยู่ ให้หมั่นตรวจสอบอารมณ์จิตอยู่เสมอ ก็จักรู้ว่ากรรมดีส่งผล จิตพวกเจ้าก็ยังยินดีมีความพอใจอยู่ กรรมชั่วส่งผล จิตของพวกเจ้าก็ยังเศร้าหมองมีความไม่พอใจอยู่ และในบางขณะกรรมไม่ชั่ว-ไม่ดีส่งผล จิตของพวกเจ้ามีความสบายไม่สุข-ไม่ทุกข์ แต่ก็ยังมีความประมาทอยู่ เพราะกรรมหรือธรรมอัพยากฤต ยังมีกำลังอ่อน ไม่ใช่ขั้นของพระอนาคามี หรือเต็มระดับอย่างพระอรหันต์ เป็นสังขารุเบกขาญาณยังไม่ได้ เพราะยังเฉยไม่จริง







    ๖. อย่ามองใครว่าผิดหรือถูก อย่ามองใครว่าชั่วหรือว่าดี จงมองให้ทะลุถึงกฎของกรรมทั้ง ๓ ประการนั้น ๆ และ คำนึงถึงความจริงเอาไว้เสมอ กรรมใดใครก่อ ผลแห่งกรรมนั้นย่อมตกอยู่แก่บุคคลนั้นๆ และกรรมใครกรรมมัน เตือนจิตตนเองให้ยอมรับอยู่อย่างนี้เสมอ ให้ยอมรับจริง ๆ มิใช่สักเพียงแต่ว่าคิด ยอมรับเพียงชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ยอมรับหลอกๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ผลของการปฏิบัติจักไม่ปรากฏ มีผลไม่ทรงตัว ต้องใช้ความเพียรให้เป็น อย่าให้ความเกียจคร้านเข้ามาบั่นทอนความดี ปล่อยให้ความเลวมันขยันทำกรรมชั่วอยู่เรื่อย ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ต้องดูอารมณ์จิตของบุคคลอื่น ให้มุ่งดูอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ







    ๗. หากรู้อารมณ์จิตของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไตร่ตรองใคร่ครวญกรรมให้รอบคอบ การแก้ไขอารมณ์จิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี เป็นของไม่ยาก แต่ทุกวันนี้พวกเจ้ามักจักปล่อยให้กิเลสมันจูงจมูกไปก่อนเป็นประจำ นี่เพราะไม่คล่องในอานาปานัสสติกรรมฐาน และอ่อนในการใช้จริต ๖ ประการ ที่จักแก้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ส่วนใหญ่จับจด พิจารณาลวก ๆ ตรงเป้าบ้าง ไม่ตรงเป้าบ้าง แล้วด่วนปล่อยกิเลสให้ผ่านไป จุดนี้ต้องแก้ไขให้ดี ถ้ายังดีไม่ได้ ก็แก้ไขจุดอ่อนไม่ได้เช่นกัน
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]






    อย่าสำคัญตนเอง


    อย่าสำคัญว่าตนเอง..........

    เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย

    ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง

    จนไม่มีวันสร่างซา

    เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์

    ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้

    ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร



     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]




    http://youtu.be/wsFN2ftmMes

    บุคคลตัวอย่างที่ควรยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติ ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า 15 คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า, จับนิพพาน




    การนำคำสอน การฝึกมโนมยิทธิ เรื่องราวที่ท่านเล่าเรื่องประวัติคณาจารย­์ ประวัติศาสตร์ คาถาและพิธีกรรมต่างๆมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์ของบรรดาศิษยานุศิษย์ และสาธุชนทั้งหลายที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพร­ะเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยา­น (วีระ ถาวโรมหาเถระ) โดยเฉพาะ ถ้าท่านไม่มีความเชื่อในเรื่องเหล่านี้ และบังเอิญมาอ่านพบเข้า ขอให้ทำใจเป็นอุเบกขา หรือให้ข้ามไปเสีย อย่าดูอย่าฟัง ถ้าท่านอยากดูและเมื่อได้ดูแล้วก็ไม่เชื่อ­ไม่เลื่อมใส ก็ขอให้วางใจเป็นกลางอย่าได้ประมาทปรามาสล­่วงเกินเข้าจะเป็นโทษ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มกราคม 2015
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า

    https://www.youtube.com/watch?v=y_ekiU9Mk9U


    การนำคำสอน การฝึกมโนมยิทธิ เรื่องราวที่ท่านเล่าเรื่องประวัติคณาจารย­์ ประวัติศาสตร์ คาถาและพิธีกรรมต่างๆมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์ของบรรดาศิษยานุศิษย์ และสาธุชนทั้งหลายที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพร­ะเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยา­น (วีระ ถาวโรมหาเถระ) โดยเฉพาะ ถ้าท่านไม่มีความเชื่อในเรื่องเหล่านี้ และบังเอิญมาอ่านพบเข้า ขอให้ทำใจเป็นอุเบกขา หรือให้ข้ามไปเสีย อย่าดูอย่าฟัง ถ้าท่านอยากดูและเมื่อได้ดูแล้วก็ไม่เชื่อ­ไม่เลื่อมใส ก็ขอให้วางใจเป็นกลางอย่าได้ประมาทปรามาสล­่วงเกินเข้าจะเป็นโทษ
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    โอวาทปาฏิโมกข์
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


    [​IMG]

    http://youtu.be/dZpupuEl5tQ
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ขันธะวิมุตติ

    “ใครผิดถูก ดีชั่ว ก็ตัวเขา
    ใจของเรา เพียงระวัง ตั้งถนอม
    อย่าให้ อกุศล วนมาตอม
    ควรถึงพร้อม บุญกุศล ผลสบาย
    เห็นคนอื่น เขาชั่ว ตัวก็ดี
    เป็นราคี ยึดขันธ์ ที่มั่นหมาย
    ยึดขันธ์ต้อง ร้อนแท้ เพราะแก่ตาย
    เลยซ้ำร้าย กิเลสกลุ้ม เข้ารุมกวน”


    หมายเหตุ...ถอดความจากลายมือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]



    ....ขณะจิตใด ที่จิตตนเองถูกปรุงด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง
    เธอรู้จักมันดี ด้วยความแจ้งในจิต
    จนสว่างในใจด้วยการละทั้งสามสิ่งนั้น ..หรือไม่?
    ........นี่แหละ ผลของการปฏิบัติที่ต้องทำได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    "อย่าอยากได้อะไรให้มากเกินไป
    อย่าอยากได้ในสิ่งที่ไม่ควรได้

    อย่าทำในเรื่องที่ไม่เข้าเรื่อง

    อย่าพูดในเรื่องที่มิควรพูด"


    ธรรมโอวาทองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กุมภาพันธ์ 2015
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    "คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง".

    ..หลวงปู่ดูลย์ อตุโล




    [​IMG]
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
    รัตนะจงกรมกัณฑ์
    หน้าต่างที่   ๖ / ๑๒.

                   บัดนี้ เพื่อแสดงความถึงพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
                                       พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน
                             ปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์
                             และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน
                             สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.


                   แก้อรรถ               
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์. อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียวก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคนก็เป็นคนเดียวได้บ้าง.
                   บทว่า อาเทสนา ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่าอาเทสนาปาฏิหาริย์. อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลายและของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
                   บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้นๆ.
                   ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านี้มีดังกล่าวมาฉะนี้.
                   บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร]. ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
                   บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านี้.
                   คำว่า ภควา นี้เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ.
                   สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
                              ภควาติ วจนํ เสฏฺฐํ    ภควาติ วจนมุตฺตมํ
                              คุรคารวยุตฺโต โส     ภควา เตน วุจฺจติ.
                              คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็น
                              คำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์
                              นั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.

                   บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้.
                   อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้.
                   วสี ๕ คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิษฐานวสี วุฏฐานวสีและปัจจเวกขณวสี ชื่อว่าวสี.
                   บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใดๆ ตามความปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็วจึงชื่อว่าอาวัชชนวสี.
                   ทรงเข้าฌานใดๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มีเลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็วจึงชื่อว่าสมาปัชชนวสี.
                   ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่าอธิษฐานวสี.
                   ความที่ทรงสามารถออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่าวุฏฐานวสี.
                   ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อมเป็นปัจเจกขณชวนะจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนะจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น.
                   ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี ๕ เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ ดังนี้.
                   บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า
                             จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ
                             เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม
                             ที่จงกรมสำเร็จด้วยรัตนะ.

                   แก้อรรถ               
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่นจักรวาล.
                   บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุดที่เรียกกันว่ามหาเมรุ.
                   บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตในหมื่นจักรวาลให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดังเสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว.
                   บทว่า รตฺนามเย ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.
                   บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิตทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้นตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่งตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก.
                   ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
                             พระชินพุทธเจ้าทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่นโลกธาตุ
                             ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทองหมด.

                   แก้อรรถ               
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่าชินะ เพราะทรงชนะข้าศึกคือกิเลส.
                   บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้างของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.
                   บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้น พึงทราบว่าก็เป็นรัตนะต่างๆ.
                   บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร.
                   บทว่า โสวณฺณผลกตฺถตา แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน.
                   บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรมก็มีไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ.
                   บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.
                   บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายเป็นที่เป็นแก้วมณีและแก้วมุกดา.
                   อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย ชื่อว่าแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
                   เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทรายเหล่านั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
                   บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้.
                   บทว่า รตนามโย ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่า ที่จงกรม.
                   บทว่า โอภาเสติ ทิสา สพฺพา ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ.
                   บทว่า สตรํสีว ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น.
                   บทว่า อุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว.
                   อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.
                   บัดนี้ เมื่อที่จงกรมสำเร็จแล้ว เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่จงกรมนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาว่า
                                       พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้ทรงพระมหา-
                             ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เมื่อทรงรุ่งโรจน์ ณ ที่
                             จงกรมนั้น ก็เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรม.
                                       เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน พากันโปรยดอก
                             มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ อันเป็นของ
                             ทิพย์ลงเหนือที่จงกรม.
                                       หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ก็บันเทิง พากันชม
                             พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต่างยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
                             พากันมาชุมนุมนมัสการ.

                   แก้อรรถ               
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธิติปัญญา.
                   บทว่า ทฺวตฺตึสวรลกฺขโณ ความว่า ผู้ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมีฝ่าพระบาทตั้งลงด้วยดี.
                   บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดในเทวโลก ชื่อว่าของทิพย์.
                   บทว่า ปาริฉัตตกะ ความว่า ต้นปาริฉัตตกะที่น่าชมอย่างยิ่ง ขนาดร้อยโยชน์โดยรอบ บังเกิดเพราะผลบุญแห่งการถวายต้นทองหลางของทวยเทพชั้นดาวดึงส์. เมื่อปาริฉัตตกะต้นใดออกดอกบานแล้ว ทั่วทั้งเทพนครจะอบอวลด้วยกลิ่นหอมเป็นอย่างเดียวกัน. วิมานทองใหม่ทั้งหลายที่กลาดเกลื่อนด้วยละอองดอกของปาริฉัตตกะต้นนั้น จะปรากฎเป็นสีแดงเรื่อๆ. และดอกของต้นปาริฉัตตกะนี้ ท่านเรียกว่า ปาริฉัตตกะ.
                   บทว่า จงฺกมเน โอกิรนฺติ ความว่า ย่อมโปรยลง ณ ที่รัตนจงกรมนั้น บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ด้วยดอกไม้ดังกล่าวนั้น.
                   บทว่า สพฺเพ เทวา ได้แก่ เทวดาทั้งหลายมีเทวดาที่เป็นกามาวจรเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสนฺติ ตํ เทวสงฺฆา หมู่เทพทั้งหลายก็พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
                   อธิบายว่า หมู่เทพพากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม แม้ในสุราลัยทั้งหลายของตนเอง.
                   บทว่า ทสสหสฺสี เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
                   อธิบายว่า หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ชมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
                   บทว่า ปโมทิตา แปลว่า บันเทิงแล้ว.
                   บทว่า นิปตนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน.
                   บทว่า ตุฏฺฐหฏฺฐา ได้แก่ ยินดีร่าเริง ด้วยอำนาจปิติ พึงเห็นการเชื่อมความบทว่า ปโมทิตา ว่า บันเทิงกับเทวดาทั้งหลายมีเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นต้น ที่พึงกล่าว ณ บัดนี้. การเชื่อมความนอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ.
                   อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เทวดาทั้งหลายบันเทิงแล้ว ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้วก็พากันประชุม ณ ที่นั้นๆ.
                   บัดนี้ เพื่อแสดงถึงเหล่าเทพที่ชมที่ประชุมกันโดยสรุป ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
                                       เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา
                             ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
                             มีจิตโสมนัสมีใจดีพากันชมพระผู้นำโลก.
                                       เหล่านาค สุบรรณและเหล่ากินนรพร้อมทั้งเทพ
                             คนธรรพ์มนุษย์และรากษส พากันชมพระผู้มีพระภาค
                             เจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์โลกพระองค์นั้น เหมือน
                             ชมดวงจันทร์ซึ่งโคจร ณ ท้องนภากาศฉะนั้น.
                                       เหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้น
                             เวหัปผลาและชั้นอกนิฏฐะ ทรงครองผ้าขาวสะอาด พา
                             กันยืนประคองอัญชลี.
                                       พากันโปรย ดอกมณฑารพ ๕ สี ประสมกับจุรณ
                             จันทน์ โบกผ้าทั้งหลาย ณ ภาคพื้นอัมพรในครั้งนั้น
                             อุทานว่า โอ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลและอนุเคราะห์โลก.

                   แก้อรรถ               
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตเบิกบานด้วยอำนาจปีติโสมนัส.
                   บทว่า สุมนา ได้แก่ ผู้มีใจดี เพราะเป็นผู้มีจิตเบิกบาน.
                   บทว่า โลกหิตานุกมฺปกํ ได้แก่ ผู้เกื้อกูลโลก และผู้อนุเคราะห์โลก หรือผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ชื่อว่าโลกหิตานุกัมปกะ.
                   บทว่า นเภว อจฺจุคฺคตจนฺทมณฺฑลํ ความว่า พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริ ที่ทำความชื่นมื่นแก่ดวงตา เหมือนชมดวงจันทร์ในฤดูสารทที่พ้นจากอุปัทวะทั้งปวง เต็มดวง ซึ่งอุทัยใหม่ๆ ในอากาศนี้.
                   บทว่า อาภสฺสรา ท่านกล่าวโดยกำหนดภูมิที่สูงสุด.
                   เทพชั้นปริตตาภา อัปปมาณาภาและอาภัสสระที่บังเกิดด้วยทุติยฌาน อันต่างโดยกำลังน้อย ปานกลางและประณีต พึงทราบว่าท่านถือเอาหมด.
                   บทว่า สุภกิณฺหา ท่านก็กล่าวไว้โดยกำหนดภูมิที่สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เทพชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา และชั้นสุภกิณหะที่บังเกิดด้วยตติยฌาน อันต่างโดยกำลังน้อยเป็นต้น ก็พึงทราบว่าท่านถือเอาหมดเหมือนกัน.
                   บทว่า เวหปฺผลา ได้แก่ ชื่อว่าเวหัปผลา เพราะมีผลไพบูลย์.
                   เทพชั้นเวหัปผลาเหล่านั้นอยู่ชั้นเดียวกับเทพที่เป็นอสัญญสัตว์ทั้งหลายเพราะเกิดด้วยจตุตถฌาน. แต่เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้นซึ่งบังเกิดด้วยปฐมฌานท่านแสดงไว้ในภูมิเบื้องต่ำ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงไว้ในที่นี้.
                   อสัญญสัตว์และอรูปีสัตว์ ท่านมิได้ยกขึ้นแสดงในที่นี้ เพราะไม่มีจักษุและโสตะ.
                   บทว่า อกนิฏฺฐา จ เทวตา ท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ก็โดยกำหนดภูมิสูงสุดเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น เทพชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คืออวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสีและอกนิฏฐะ พึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วย.
                   บทว่า สุสุทฺธสุกฺกวตฺถวสนา ความว่า ผ้าทั้งหลายอันสะอาดด้วยดี คือหมดจดดีอันขาว คือผ่องแผ้ว ผ้าอันขาวสะอาดดีอันเทพเหล่าใดนุ่งและห่มแล้ว เทพเหล่านั้นชื่อว่าผู้นุ่งห่มผ้าขาวอันสะอาดดี.
                   อธิบายว่า ผู้ครองผ้าขาวบริสุทธิ์ ปาฐะว่า สุสุทฺธสุกฺกวสนา ดังนี้ก็มี.
                   บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า ยืนประคองอัญชลี คือทำอัญชลีเสมือนดอกบัวตูมไว้เหนือเศียร.
                   บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ โปรย.
                   บทว่า ปุปฺผํ ปน ได้แก่ ก็ดอกไม้.
                   ปาฐะว่า ปุปฺผานิ วา ดังนี้ก็มี พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาสะ แต่ใจความของคำนั้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
                   บทว่า ปญฺจวณฺณิกํ แปลว่า มีวรรณะ ๕. วรรณะ ๕ คือสีเขียว เหลือง แดง ขาวและแดงเข้ม.
                   บทว่า จนฺทนจุณฺณมิสฺสิตํ แปลว่า ประสมด้วยจุรณจันทน์.
                   บทว่า ภเมนฺติ เจลานิ แปลว่า โบกผ้าทั้งหลาย.
                   บทว่า อโห ชิโน โลกหิตานุกมฺปฺโต ได้แก่ เปล่งคำสดุดีเป็นต้นอย่างนี้ว่า โอ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลโลก โอ! พระผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์โลก โอ! พระผู้มีกรุณา.
                   เชื่อมความว่า โปรยดอกไม้ โบกผ้าทั้งหลาย.
                   บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำสดุดีที่เทพเหล่านั้นประกอบแล้ว พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
                                       พระองค์เป็นศาสดา เป็นที่ยำเกรง เป็นธง เป็น
                             หลัก เป็นที่พำนัก เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปของสัตว์มี
                             ชีวิตทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดในสัตว์สองเท้า.
                                       เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุผู้มีฤทธิ์ ผู้ยินดี
                             ร่าเริงบันเทิงใจ ห้อมล้อมนมัสการ.
                                       เทพบุตรและเทพธิดาผู้เลื่อมใส ยินดีร่าเริงพากัน
                             บูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
                                       หมู่เทพเลื่อมใสยินดีร่าเริงชมพระองค์พากันบูชา
                             พระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
                                       โอ! น่าปรบมือในโลก น่าประหลาด น่าขนชูชัน
                             อัศจรรย์ ขนลุก ขนชันเช่นนี้ เราไม่เคยพบ.
                                       เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตนๆ เห็นความ
                             อัศจรรย์ในนภากาศ ก็พากันหัวเราะด้วยเสียงดัง.
                                       อากาศเทวดา ภุมมเทวดาและเทวดาผู้ประจำ
                             ยอดหญ้า และทางเปลี่ยว ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
                             ประคองอัญชลีนมัสการ.
                                       พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์ บันเทิงใจแล้ว
                             ก็พากันนมัสการบูชาพระนราสภ.
                                       เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ เครื่องสังคีต
                             ดีดสีทั้งหลายก็บรรเลง เครื่องดนตรีหุ้มหนังก็ประโคม
                             ในอัมพรภาคพโยมหน.
                                       เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ สังข์
                             บัณเฑาะว์และกลองน้อยๆ เป็นอันมากก็พากันบรรเลง
                             ในท้องฟ้า.
                                       ในวันนี้ ความที่ขนชูชัน น่าอัศจรรย์เกิดขึ้นแล้ว
                             หนอ เราจักได้ความสำเร็จ ประโยชน์แน่แท้ เราได้ขณะ
                             กันแล้ว.
                                       เพราะได้ยินว่า พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติใน
                             ทันใด พากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ พุทฺโธ.
                                       หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า พากันประคองอัญชลี
                             เปล่งเสียง หึ หึ เปล่งเสียงสาธุ โห่ร้องเอิกอึงลิงโลดใจ.
                                       เทพทั้งหลาย พากันขับกล่อมประสานเสียง
                             บรรเลง ปรบมือและฟ้อนรำ โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี
                             ประสมกับจุรณจันทน์.
                                       ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ
                             จักรที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จึงประดับด้วยธง
                             วชิระ ประฏาก เครื่องแต่งพระองค์ ขอช้าง.

                   แก้อรรถ               
                   ในคาถานั้น ที่ชื่อว่า สตฺถา พระศาสดา เพราะทรงสอนประโยชน์เกื้อกูลในโลกนี้และโลกหน้า.
                   บทว่า เกตุ ได้แก่ ชื่อว่าเกตุ เพราะทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่าธงพึงเป็นของที่พึงยำเกรง.
                   บทว่า ธโช ได้แก่ เป็นธงองค์อินทร์ พระองค์ทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้น และเพราะอรรถว่าน่าชม เหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็น ธชะ ธง.
                   อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่า เขาเห็นธงของผู้หนึ่งผู้ใด ก็รู้ว่านี้ธงของผู้มีชื่อนี้ เหตุนั้นผู้นี้ชื่อว่าผู้มีธง คือธชี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธโช ยูโป จ.
                   อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็นหลัก ที่เขายกขึ้น เพื่อบูชายัญทั้งหลายทั้งปวงที่มีทานเป็นต้นมีอาสวักขยญานเป็นที่สุด ดังที่ตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร.
                   บทว่า ปรายโน ได้แก่ เป็นที่พำนัก.
                   บทว่า ปติฏฺฐา ได้แก่ แม้พระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่ง เหมือนแผ่นมหาปฐพี เป็นที่พึ่งพาอาศัย เพราะเป็นที่รองรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงฉะนั้น.
                   บทว่า ทีโป จ ได้แก่ เป็นประทีป.
                   อธิบายว่า ประทีปที่เขายกขึ้นสำหรับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในความมืดมีองค์ ๔ ย่อมส่องให้เห็นรูปฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นประทีปส่องให้เห็นปรมัตถธรรม สำหรับเหล่าสัตว์ที่อยู่ในความมืดคืออวิชชาฉันนั้น.
                   อีกนัยหนึ่ง แม้พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะ ของสัตว์ทั้งหลายผู้จมลงในสาครคือสังสารวัฏอันเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลางสมุทร เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรืออัปปางในมหาสมุทรฉะนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า ทีปะ เป็นเกาะ.
                   บทว่า ทฺวิปทุตฺตโม ได้แก่ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ชื่อว่าทวิปทุตตมะ. ในคำนี้ ไม่คัดค้านฉัฏฐีสมาส เพราะไม่มีลักษณะแห่งนิทธารณะ จึงสำเร็จรูปเป็นสมาสแห่งฉัฏฐีวิภัตติที่มีนิทธารณะเป็นลักษณะ.
                   ถ้าจะพึงมีคำถามว่า ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา ที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้าเล่า.
                   พึงตอบว่า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่า.
                   จริงอยู่ ธรรมดาผู้ประเสริฐสุดในโลกนี้เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดในประเทศของสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์สี่เท้า ท่านผู้นี้ย่อมเกิดในเหล่าสัตว์สองเท้าเท่านั้น.
                   ถามว่า ในเหล่าสัตว์สองเท้าประเภทไร.
                   ตอบว่า ในเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย.
                   เมื่อเกิดในเหล่ามนุษย์ย่อมบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถทำสามพันโลกธาตุ มากพันโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่อเกิดในเหล่าเทวดาย่อมบังเกิดเป็นท้าวมหาพรหม ซึ่งมีอำนาจในหมื่นโลกธาตุได้. ท้าวมหาพรหมนั้นย่อมพร้อมที่จะเป็นกัปปิยการกหรืออารามิกของพระพุทธเจ้านั้น ดังนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงเรียกว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าท้าวมหาพรหมแม้นั้น.
                   บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ โลกธาตุที่นับได้หมื่นหนึ่ง.
                   บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ประกอบด้วยฤทธิ์อย่างใหญ่. อธิบายว่า มีอานุภาพมาก.
                   บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรอบ.
                   บทว่า ปสนฺนา ได้แก่ เกิดศรัทธา.
                   บทว่า นราสภํ ได้แก่ ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในนรชน.
                   ในบทว่า อโห อจฺฉริยํ นี้ชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนอย่างคนตาบอดขึ้นเขา หรือชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ.
                   อธิบายว่า ควรเพื่อปรบมือว่า โอ! นี้น่าประหลาดจริง.
                   บทว่า อพฺภุตํ ได้แก่ ไม่เคยเป็น ไม่เป็นแล้ว เหตุนั้นจึงชื่ออัพภุตะ.
                   แม้สองคำนี้ก็เป็นชื่อของความประหลาดใจ.
                   บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ ทำความที่โลมชาติมีปลายขึ้น [ชูชัน].
                   บทว่า น เมทิสํ ภูตปุพฺพํ ความว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็น ไม่เป็นเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น.
                   พึงนำคำว่า ทิฏฺฐํ เห็น มาประกอบไว้ด้วย.
                   บทว่า อจฺเฉรกํ แปลว่า อัศจรรย์.
                   บทว่า สกสกมฺหิ ภวเน ได้แก่ ในภพของตนๆ.
                   บทว่า นิสีทิตฺวา ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้.
                   ก็คำว่า เทวตา นี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวทั่วไปทั้งแก่เทพบุตร ทั้งแก่เทพธิดา.
                   บทว่า หสนฺติ ตา ความว่า เทวดาเหล่านั้นหัวเราะลั่น ไม่ทำความแย้มยิ้ม หัวร่อสนั่นไหว เพราะหัวใจตกอยู่ใต้อำนาจปิติ.
                   บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ.
                   บทว่า อากาสฏฺฐา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ ณ วิมานเป็นต้นในอากาศ.
                   แม้ในเทวดาที่อยู่ภาคพื้นดินก็นัยนี้เหมือนกัน.
                   บทว่า ติณปนฺถนิวาสิโน ได้แก่ ที่อยู่ประจำยอดหญ้าและทางเปลี่ยว.
                   บทว่า ปุญฺญวนฺโต ได้แก่ ผู้มีบุญมาก.
                   บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ผู้มีอานุภาพมาก.
                   บทว่า สงฺคีติโย ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เครื่องสังคีตของเทพนาฏกะก็บรรเลง. อธิบายว่า ประกอบขึ้นเพื่อบูชาพระตถาคต.
                   บทว่า อมฺพเร แปลว่า ในอากาศ.
                   บทว่า อนิลญฺชเส แปลว่า ทางอากาศ.
                   ท่านกล่าวว่า อนิลญฺชเส ก็เพราะอากาศเป็นทางอเนกประสงค์. เป็นไวพจน์ของคำต้น.
                   บทว่า จมฺมนทฺธานิ แปลว่า ที่หุ้มด้วยหนัง. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. อธิบายว่ากลองทิพย์.
                   บทว่า วาเทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมประโคม.
                   บทว่า สงฺขา ได้แก่ สังข์เป่า.
                   บทว่า ปณวา ได้แก่ เครื่องดนตรีพิเศษตรงกลางคอด. กลองขนาดเล็กๆ ท่านเรียกว่า ฑณฺฑิมา.
                   บทว่า วชฺชนฺติ แปลว่า ประโคม.
                   บทว่า อพฺภุโต วต โน แปลว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ.
                   บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า เกิดแล้ว.
                   บทว่า โลมหํสโน ได้แก่ ทำขนชูชัน.
                   บทว่า ธุวํ อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระศาสดาพระองค์นี้อัศจรรย์อุบัติในโลก ฉะนั้น พวกเราจักได้ความสำเร็จประโยชน์โดยแท้แน่นอน.
                   บทว่า ลภาม แปลว่า จักได้.
                   บทว่า ขโณ ความว่า ขณะที่ ๙ เว้นจากอขณะ ๘.
                   บทว่า โน แปลว่า อันเราทั้งหลาย. บทว่า ปฏิปาทิโต แปลว่า ได้แล้ว.
                   บทว่า พุทฺโธติ เตสํ สุตฺวาน ความว่า ปิติ ๕ อย่างเกิดแก่เทพเหล่านั้น เพราะได้ยินคำนี้ว่า พุทฺโธ.
                   บทว่า ตาวเท แปลว่า ในทันที.
                   บทว่า หิงฺการา ได้แก่ เสียงที่ทำว่า หึหึ. ยักษ์เป็นต้นย่อมทำเสียงว่า หึ หึ ในเวลาร่าเริง.
                   บทว่า สาธุการา ได้แก่ เสียงทำว่า สาธุ ก็เป็นไป.
                   บทว่า อุกุฏฺฐิ ได้แก่ เสียงโห่และเสียงกึกก้อง. เทวดาเป็นต้น ท่านประสงค์ว่าปชา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธงประฏากต่างๆ ก็เป็นไปในท้องฟ้า.
                   บทว่า คายนฺติ ได้แก่ ขับร้องเพลงที่ประกอบพระพุทธคุณ.
                   บทว่า เสเฬนฺติ ได้แก่ ทำเสียงประสานด้วยปาก.
                   บทว่า วาทยนฺติ ความว่า พิณมีพิณชื่อว่าวิปัญจิกาและมกรมุขเป็นต้นขนาดใหญ่ และดนตรีทั้งหลายก็บรรเลงประกอบขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคต.
                   บทว่า ภุชานิ โปเถนฺติ แปลว่า ปรบมือ. พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส.
                   บทว่า นจฺจนฺติ จ ได้แก่ ใช้ให้ผู้อื่นฟ้อนด้วย ฟ้อนเองด้วย.
                   ในคำว่า ยถา ตุยฺหํ มหาวีร ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ นี้ ยถา แปลว่า โดยประการไรเล่า. ชื่อว่ามหาวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียรอย่างใหญ่.
                   บทว่า ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ ความว่า ที่ฝ่าพระบาททั้งสองของพระองค์มีลักษณะจักร [ล้อ] มีซี่กำมีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างงดงาม.
                   ก็จักกศัพท์นี้ ปรากฏใช้ในอรรถมีสมบัติ, ส่วนของรถ, อิริยาบถ, ทาน, รัตนจักร, ธรรมจักร, ขุรจักร และลักษณะเป็นต้น.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าสมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เมื่อเทวดาและมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จกฺกํ ว วหโต ปทํ เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียนไป. ที่ใช้ในอรรถว่าอิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙. ที่ใช้ในอรรถว่าทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ททํ ภุญฺช จ มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตย สพฺพปาณีนํ ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอยอย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่ารัตนจักร ได้ในบาลีนี้ว่า ทิพฺพํ จกฺกรตนํ ปาตุภูตํ จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ ธรรมจักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครอบงำแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าลักษณะ ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะทั้งหลายเกิดแล้วที่ฝ่าพระบาททั้งสอง.
                   แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่าจักรคือลักษณะ.
                   บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิตํ ความว่า ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย] วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์] และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะที่เหลือไว้ด้วย.
                   พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วาก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วาก็เปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัวที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว เหมือนเสาระเนียดทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างามระยับด้วยดวงดาว.
                   บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
                                       พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระรูป
                             ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับพระพุทธ
                             เจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรมจักร.

                   แก้อรรถ               
                   รูปศัพท์นี้ว่า รูเป ในคาถานั้น ปรากฎใช้ในอรรถมี ขันธ์ ภพ นิมิต ปัจจัย สรีระ วรรณะและทรวดทรงเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูปศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่ารูปขันธ์ ได้ในบาลีนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนนํ รูปขันธ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน.
                   ที่ใช้ในอรรถว่ารูปภพ ได้ในบาลีนี้ว่า รูปูปปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ ย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ.
                   ที่ใช้ในอรรถว่ากสิณนิมิต ได้ในบาลีนี้ว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สำคัญอรูปภายใน ย่อมเห็นกสิณนิมิตภายนอก.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าปัจจัย ได้ในบาลีนี้ว่า สรูปา ภิกฺขเว อุปฺปชฺชนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา โน อรูปา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมมีปัจจัยหรือไม่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าสรีระ ได้ในบาลีนี้ว่า อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ อากาศที่ห้อมล้อม ก็นับได้ว่าสรีระ.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าวรรณะ ได้ในบาลีนี้ว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ อาศัยจักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าทรวดทรง ได้ในบาลีนี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสในทรวดทรง.
                   แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่าทรวดทรง.
                   บทว่า สีเล ได้แก่ ในศีล ๔ อย่าง.
                   บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ ๓ อย่าง.
                   บทว่า ปญฺญาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.
                   บทว่า อสาทิโส แปลว่า ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ.
                   บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.
                   บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระองค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่าผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอ.
                   ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถาเพียงเท่านี้
                   บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
                                       กำลังพระยาช้าง ๑๐ เชือก เป็นกำลังปกติใน
                             พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
                             พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

                   แก้อรรถ               
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้างฉัททันต์ ๑๐ เชือก.
                   จริงอยู่ กำลังของพระตถาคตมี ๒ คือ กำลังพระกาย ๑ กำลังพระญาณ ๑.
                   บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนวตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้.
                              กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยํ   ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
                              คนฺธมงฺคลเหมญฺจ     อุโปสถฉทฺทนฺติเม ทส.
                              พระกำลังของพระตถาคตเท่าช้าง ๑๐ ตระกูล
                              ช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ คังเคยยะ
                              ปัณฑระ ตัมพะ ปิงคละ คันธะ มังคละ เหมะ
                              อุโปสถะ ฉัททันตะ.
                   กาฬวกะได้แก่ตระกูลช้างปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คนเป็นกำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก. กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑๐ เชือกเป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก พึงนำกำลังของช้างตระกูลต่างๆ โดยอุบายดังกล่าวมานี้จนถึงกำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ กำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว. กำลังของพระตถาคตนี้นี่แลเรียกกันว่า กำลังนารายณ์ กำลังวชิระ.
                   กำลังของพระตถาคตนี้นั้นเท่ากับกำลังช้างโกฏิพันเชือกโดยนับช้างตามปกติ เท่ากับกำลังของบุรุษสิบโกฏิพันคน. กำลังพระวรกายปกติของพระตถาคตมีดังนี้ก่อน.
                   ส่วนกำลังพระญาณหาประมาณมิได้ กำลังพระญาณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ พระทศพลญาณ พระจตุเวสารัชญาณ พระอกัมปนญาณในบริษัท ๘ พระจตุโยนิปริเฉทกญาณ พระปัญจคติปริเฉทกญาณ พระพุทธญาณ ๑๔.
                   แต่ในที่นี้ ประสงค์เอากำลังพระวรกาย.
                   บทว่า กาเย ตุยฺหํ ปากติกํ พลํ ความว่า กำลังตามปกติในพระวรกายของพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า ทสนาคพลํ จึงมีความว่า เท่ากับกำลังของพระยาช้างตระกูลฉัททันต์ ๑๐ เชือก.
                   บัดนี้ เมื่อแสดงกำลังพระญาณ ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ไม่มีผู้เสมอด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ในการประกาศพระธรรมจักร.
                   บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิพเลน อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้เปรียบ.
                   บทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน ความว่า ไม่มีผู้เสมอแม้ในพระเทศนาญาณ.
                   บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดาพระองค์นั้นทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลายจงนมัสการพระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
                                       ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ
                             ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น
                             พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.

                   แก้อรรถ               
                   ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าวมาแล้ว.
                   ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณูเปตํ นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึงไม่เหลือเลย.
                   คุณศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฎใช้ในอรรถเป็นอันมาก.
                   จริงอย่างนั้น คุณศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่าชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่.
                   ที่ใช้ในอรรถว่ากลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าอานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าพวง ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก.
                   ที่ใช้ในอรรถว่าสมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺฐ คุณ สมุเปตํ อภิญฺญาพลมาหรึ นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ ๘.
                   แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่าสมบัติ เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าเข้าถึงประกอบพร้อมแล้ว ด้วยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งปวงคือด้วยสมบัติทุกอย่าง.
                   บทว่า สพฺพงฺคสมุปาคตํ ได้แก่ เข้ามาถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยพระพุทธคุณหรือด้วยองคคุณทั้งปวง.
                   บทว่า มหามุนี ได้แก่ ชื่อว่า มุนีใหญ่เพราะยิ่งกว่ามุนีทั้งหลาย มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นอื่นๆ เหตุนั้นจึงเรียกว่า มหามุนี.
                   บทว่า การุณิกํ ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีกรุณา เพราะประกอบด้วยกรุณาคุณ.
                   บทว่า โลกนาถํ ได้แก่ เป็นนาถะเอกของโลกทั้งปวง.
                   อธิบายว่า อันโลกทั้งปวงมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้กำจัด เป็นผู้ระงับความเดือดร้อนคือทุกข์ของพวกเรา ดังนี้.



    อ้างอิง
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=1&p=6
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กุมภาพันธ์ 2015
  17. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014




    สาธุๆๆๆๆๆ
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2015
  19. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014



    พระอรหันต์ ไม่ได้รู้อะไร
    เพิ่มขึ้น หรือ ลดลงเลย
    ท่านก็รู้เท่าเดิมของท่าน
    แต่ท่านจับมาเรียง ได้ถูกต้อง
    ท่านก็เข้าใจว่า
    แม้แต่ความรู้ที่มีอยู่ มันก็ไม่จริง
    มันแต่สิ่งสมมุติ เท่านั้น

    นับประสาอะไร ที่เราจะยึดว่า
    สิ่งนั้นจริง สิ่งนั้นไม่จริง
    สิ่งหนึ่งมีมันมีอยู่
    มันก็แค่แทน ความหมาย
    ของสิ่งหนึ่งเท่านั้น


    เมื่อคิดได้ ก็หยุดปรุงแต่งจิต
    ไม่ใส่ ความโลภ โกรธ หลง
    ลงไป ยามเมื่อจิตโดนกระทบ


    หากทรงอย่างนี้ ได้ ทั้งวัน
    ตลอด 49 วัน
    ท่านก็จบกิจได้


    หากยังมีกิเลสเล็กน้อย เหลืออยู่บ้าง
    ก็ได้อนาคามี ลงมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มีนาคม 2015
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ขันธ์ ๕

    ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อยวางขันธ์ ๕ ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติหมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ ๕ ออกเป็นชั้นๆไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ ๕ จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกันไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ ๕
    ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ ๕ เราจะเห็นขันธ์ ๕ เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเราเห็นได้ เวทนาเราก็เห็นได้ หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง ๕ อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง ๕ อย่าง ละวางไม่ได้
    ถ้าอยากเห็นขันธ์ ๕ เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจากกายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยากหมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธีเขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออกไปแล้วจึงเห็นขันธ์
    [​IMG]


    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๖๑
    เรื่อง ภารสุตตกถา
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...