อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    จรณะนั้นเป็นอย่างไร วิชชานั้นเป็นอย่างไร
    **********
    [๒๗๙] อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม จรณะนั้นเป็นอย่างไร วิชชานั้นเป็นอย่างไร”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมาใส่ไว้ในที่นี้)

    ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจารปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ฯลฯ ข้อนี้จัดเป็นจรณะอย่างหนึ่งของภิกษุนั้น

    ยังมีอีก อัมพัฏฐะ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ ข้อนี้จัดเป็นจรณะอย่างหนึ่งของภิกษุนั้น

    ยังมีอีก อัมพัฏฐะ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ฯลฯ ข้อนี้จัดเป็นจรณะอย่างหนึ่งของภิกษุนั้น

    ยังมีอีก อัมพัฏฐะ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯลฯ ข้อนี้จัดเป็นจรณะอย่างหนึ่งของภิกษุนั้น

    เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ ข้อนี้จัดเป็นวิชชาอย่างหนึ่งของภิกษุนั้น
    ฯลฯ
    รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ข้อนี้จัดเป็นวิชชาอย่างหนึ่งของภิกษุนั้น

    อัมพัฏฐะ ที่แสดงมาทั้งหมดนี้ จัดเป็นวิชชา

    อัมพัฏฐะ ภิกษุผู้ปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาบ้าง ว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะบ้าง ว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะบ้าง อัมพัฏฐะวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอย่างอื่นซึ่งเหนือกว่าและประณีตกว่าวิชชาสมบัติและจรณสมบัตินี้ไม่มีอีกแล้ว
    ………..
    ข้อความบางตอนใน อัมพัฏฐสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=3

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อที่จะแสดงวิชชาและจรณะจำเดิมแต่การเกิดขึ้นแก่อัมพัฏฐะนั้น
    จึงตรัสพระดำรัสว่า อิธ อมฺพฎฺฐ ตถาคโต เป็นต้น.

    ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกศีล ๓ อย่าง แม้ที่นับเนื่องในจรณะ ไม่ตรัสระบุชัดว่า ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น แต่ตรัสระบุชัดด้วยอำนาจแห่งศีลทีเดียวว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของภิกษุนั้น.

    ถามว่า เพราะเหตุไร.

    เพราะว่า ศีลไรๆ แม้ของภิกษุนั้นก็มีอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสระบุชัดอยู่ด้วยอำนาจแห่งจรณะ ภิกษุพึงติดอยู่ในจรณะนั้นๆ นั่นแหละ ด้วยคิดว่า แม้พวกเราก็ถึงพร้อมด้วยจรณะ แต่จรณะใดอันภิกษุนั้นมิได้เคยเห็นเลย แม้ด้วยความฝัน เมื่อจะตรัสระบุชัดด้วยอำนาจแห่งจรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกษุย่อมเข้าถึงฌานที่ ๑ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯลฯ ภิกษุย่อมเข้าถึงฌานที่ ๔ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น เป็นต้น.

    ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าพระองค์ตรัสระบุชัดถึงสมาบัติแม้ทั้ง ๘ ว่าเป็นจรณะ.

    ส่วนปัญญาแม้ทั้ง ๘ นับแต่วิปัสสนาญาณไป พระองค์ตรัสระบุชัดว่า เป็นวิชชา.

    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=141&p=3

    zYEiGfOLw0bW1sqaG-w5-1eZWwWh9GB3eX_syyfjI4m4&_nc_ohc=y3Vz2HwMh0MAX9UcDud&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
    ***********
    [๓๖] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
    คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
    ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
    ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
    ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
    ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
    ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
    ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
    ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน) นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจา เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า สัมมาวาจา

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอทินนาทาน (การลักทรัพย)์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร คือ ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตมุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติ เป็นอย่างไร คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า สัมมาสติ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่เป็นความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้และเพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ……………
    ข้อความบางตอนใน สุตมยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=14

    มรรคที่เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น พร้อมด้วยโลกิยมรรค ได้แก่วิชชาและจรณะ เพราะสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะด้วยวิชชา สงเคราะห์ธรรมที่เหลือด้วยจรณะ.

    อนึ่ง ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองอย่างนั้นด้วยวิปัสสนายาน สงเคราะห์ธรรมนอกนั้นด้วยสมถยาน.

    ได้แก่ ขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองนั้นด้วยปัญญาขันธ์, สงเคราะห์ธรรม ๓ อย่างในลำดับธรรมนั้นด้วยสีลขันธ์, สงเคราะห์ธรรม ๓ อย่างที่เหลือด้วยสมาธิขันธ์ และสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา อธิสิลสิกขาและอธิจิตตสิกขา.

    พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรค เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดุจคนเดินทางไกลประกอบด้วยตาสามารถเห็นได้ และด้วย เท้าสามารถเดินไปได้ เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยคด้วยวิปัสสนายาน เว้นอัตกิลมถานุโยคด้วยสมถยาน ปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา

    ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์... กองโทสะด้วยสีลขันธ์... กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์

    ถึงสมบัติ ๓ คือ ปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา, สีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา, สมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา แล้วบรรลุนิพพานอันเป็นอมตะ.

    ภิกษุหยั่งลงสู่อริยภูมิกล่าวคือสัมมัตตนิยาม อันวิจิตรด้วยธรรมรัตนะคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ งามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ด้วยประการฉะนี้.

    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามรรคสัจนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
    #ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ #มัชฌิมาปฏิปทา #อริยมรรคมีองค์

    uYjPVqKgNp5U7AObt2qffp3NZb99gB8YIaqmq8VfexqR&_nc_ohc=pu-182R18LMAX_4BEMu&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=406863c1cfd67e2f99b05f722a038070.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


    การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสติ. พุทธานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ.๑- ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้น.
    อนึ่ง การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสติ. ธรรมานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม.๑-
    การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆานุสติ. สังฆานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีพระสังฆคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ.๑-
    ____________________________
    ๑- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๙๕

    การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสติ. สีลานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศีล คือความที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสติ. จาคานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีคุณของการบริจาค คือ ความเป็นผู้เสียสละเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าเทวตานุสติ. เทวตานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีคุณ คือศรัทธาเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์ ตั้งเทวดาไว้ในที่เผชิญหน้า.
    สติเกิดขึ้นปรารภอานาปานะ - หายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่าอานาปานสติ. อานาปานสตินี้เป็นชื่อของสติมีอานาปานนิมิตเป็นอารมณ์.
    สติเกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณสติ. มรณสตินี้เป็นชื่อของสติมีมรณะ กล่าวคือการตัดชีวิตินทรีย์อันนับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติเป็นไปในสรีระที่เรียกว่ากาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด. หรือไปสู่กายเช่นนั้น ชื่อว่ากายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่ากายคตสติ ท่านไม่ทำเป็นรัสสะ กล่าวว่า กายคตาสติ.
    แม้ในที่นี้ก็เหมือนกัน ท่านกล่าวว่า กายคตาสติวเสน กายคตาสตินี้เป็นชื่อของสติมีปฏิกูลนิมิตในส่วนของกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภอุปสมะ - ความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสติ. อุปสมานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.
    อสุภะ ๑๐ มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
    เพื่อแสดงถึงประเภทของอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ ท่านจึงกล่าวว่า ทีฆํ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว คือด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้า ที่ท่านกล่าวแล้วว่า ทีฆํ - ยาว. ดังที่ท่านกล่าวว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ - เมื่อหายใจเข้ายาวย่อมรู้ว่า เราหายใจเข้ายาว.
    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
    บทว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ - การระงับกายสังขาร คือระงับ คือสงบกายสังขาร อันได้แก่การหายใจเข้าและการหายใจออกอย่างหยาบ.
    ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิด้วยหมวด ๔ นี้ คือ ทีฆํ - ยาว ๑ รสฺสํ - สั้น ๑ รู้แจ้งกายทั้งปวง ๑ ระงับกายสังขาร ๑.
    บทว่า ปีติปฏิสํเวที - รู้แจ้งปีติ คือ ทำปีติให้ปรากฏ.
    บทว่า จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิตตสังขาร คือทำจิตตสังขารอันได้แก่ สัญญา เวทนา ให้ปรากฏ.
    บทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ - ทำจิตให้บันเทิง.
    บทว่า สมาทหํ จิตฺตํ - ความตั้งจิตไว้ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์.
    บทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ - ความเปลื้องจิต คือเปลื้องจิตจากนิวรณ์เป็นต้น.
    ท่านกล่าวหมวด ๔ คือ ปีติปฏิสํเวที - รู้แจ้งปีติ ๑ สุขปฏิสํเวที - รู้แจ้งสุข ๑ จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิตตสังขาร ๑ ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ - ระงับจิตตสังขาร ๑.
    และหมวด ๔ คือ จิตฺตปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิต ๑ อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ - ทำจิตให้บันเทิง ๑ สมาทหํ จิตฺตํ - ความตั้งจิตไว้ ๑ วิโมจยํ จิตฺตํ - ความเปลื้องจิต ๑ ด้วยอัปปนาสมาธิ และด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.
    บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือท่านกล่าวด้วยสามารถการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง.
    บทว่า วิราคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด คือท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย.
    บทว่า นิโรธานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความดับ คือท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการทำลาย.
    บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความสละคืน ท่านกล่าวด้วยสามารถวุฏฐานคามินีวิปัสสนา - เห็นแจ้งการออกไป.
    จริงอยู่ การพิจารณาเห็นความสละคืนนั้น ย่อมสละกิเลสกับด้วยขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถตทังคะ.
    อนึ่ง ย่อมแล่นไปเพราะน้อมจิตไปในนิพพาน อันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้น ด้วยเห็นโทษในสังขตธรรม. ท่านกล่าวหมวด ๔ นี้ ด้วยสามารถแห่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.
    อนึ่ง ในบทนี้ว่า อสฺสาสวเสน ปสฺสาสวเสน - ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการหายใจออก ท่านกล่าวถือเอาด้วยสามารถการทำหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์.
    ส่วนความพิสดารในบทนี้จักมีแจ้งในอานาปานกถา.
    จบอรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    7RGnyLnKawU6zn1zazvoEcs9HlcT6-LKnEqRMkeiencL&_nc_ohc=J2aRDMvc-oAAX8gw6B5&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    hwmRqEXUd7tD1NepY9ocHIcsGf7TsTtIotMJmZmN1tMR&_nc_ohc=2nueu7brRGsAX-SOkHo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    vzZglTVjRSTXnORRIaxhEzfuLPXZu8-utq9Gc8C6uili&_nc_ohc=OxkU7zh4I0YAX8mJZ7r&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ


    ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.
    มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก
    เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.
    แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.
    พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"
    จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."
    พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?" ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"
    จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"
    เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."
    ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#- ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.
    ____________________________
    #- อาการ ๕ คือ
    อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก,
    อธิฏฐานะ การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.

    พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.
    ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้วจึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."
    ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้นอันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.
    ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"
    จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ พระศาสดาทรงทราบว่า "บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น. ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า "นั่นอะไรหนอ?" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า. ท่านลุกขึ้นแล้วประคองอัญชลี.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๗. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
    กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
    สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
    นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
    เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอน
    ดอกโกมุทที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ, จงเจริญทางแห่ง
    สันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพาน อันพระสุคตแสดง
    แล้ว.

    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.
    บทว่า สารทิกํ ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.
    บทว่า สนฺติมคฺคํ คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน.
    บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ.
    บทว่า นิพฺพานํ ความว่า เพราะพระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทางแห่งพระนิพพานนั้น.
    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.
    ------------------------------------------------

    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

    ****************
    [๔๕๒] “ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมีเท่าไร”
    “ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ
    ๑. ปรโตโฆสะ (การได้สดับจากบุคคลอื่น)
    ๒. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
    ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการนี้แล”

    “สัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรมเท่าไรสนับสนุน”

    “สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม ๕ ประการสนับสนุน คือ
    ๑. มีศีล สนับสนุน
    ๒. มีสุตะ สนับสนุน
    ๓. มีสากัจฉา สนับสนุน
    ๔. มีสมถะ สนับสนุน
    ๕. มีวิปัสสนา สนับสนุน

    สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม ๕ ประการนี้แลสนับสนุน”
    ………………
    ข้อความบางตอนใน มหาเวทัลลสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=43

    แม้ในหมู่พระสาวกเหล่านั้นเล่า ปัจจัยทั้งสองย่อมควรได้แก่ท่านแม่ทัพธรรม (พระสารีบุตร) เท่านั้น.
    เพราะพระเถระถึงจะบำเพ็ญบารมีมาตั้งหนึ่งอสงไขยกำไรอีกแสนกัป ก็ยังไม่สามารถละกิเลสแม้แต่นิดเดียวโดยธรรมดาของตนได้. ต่อเมื่อได้ฟังคาถานี้จากพระอัสสชิเถระที่ขึ้นต้นว่า "สิ่งเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด (=เกิดมาจากเหตุ)" จึงแทงทะลุได้.

    สำหรับเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าและเหล่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ไม่มีงานเกี่ยวกับเสียงจากคนอื่น.
    ผู้ที่ดำรงอยู่ในความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเท่านั้น จึงจะให้เกิดปัจเจกโพธิญาณและสัพพัญญูคุณทั้งหลายได้.

    คำว่า "อัน...ช่วยเกื้อหนุนแล้ว" คือ ได้รับอุปการะแล้ว.
    คำว่า "ความเห็นที่ถูกต้อง" คือ ความเห็นที่ถูกต้องในอรหัตตมรรค (ทางแห่งความเป็นพระอรหันต์) ความเห็นที่ถูกต้องในอรหัตตมรรคนั้นเกิดในขณะแห่งผล. ที่ชื่อว่า มีความเห็นหลุดพ้น เพราะจิตเป็นผล เพราะความหลุดพ้นเพราะปฏิบัติทางจิตเป็นผลของท่าน. ที่ชื่อว่ามีผลคือสิ่งที่ไหลออกมาจากความหลุดพ้นในทางจิตใจ เพราะผลคือสิ่งที่ไหลออกมากล่าวคือความหลุดพ้นในทางจิตใจของท่านมีอยู่. แม้ในบทที่สองก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ. และพึงทราบว่าในผลเหล่านี้ผลที่ ๔ ชื่อว่าความหลุดพ้น เพราะความรู้ชัด สิ่งที่เหลือเป็นความหลุดพ้นเพราะจิตใจ. ในคำเป็นต้นว่า "อันศีลเกื้อหนุนแล้ว" ศีลอันมีความบริสุทธิ์ ๔ อย่างชื่อว่าศีล.
    คำว่า "การฟัง" คือ การฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย (ถูกอารมณ์).
    คำว่า "สากัจฉา" ได้แก่ ถ้อยคำที่ตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน.
    คำว่า "สมถะ (ความสงบ)" ได้แก่ สมาบัติ ๘ ที่มีวิปัสสนารองรับ.
    คำว่า "วิปัสสนา (ความเห็นแจ่มแจ้ง)" คือ การตามเห็น (อนุปัสสนา) ๗ อย่าง.
    ก็แหละ พระอรหัตตมรรคย่อมเกิดขึ้นแล้วให้ผลแก่ผู้ที่กำลังบำเพ็ญศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง ฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย ตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน ทำงานในสมาบัติแปดที่มีวิปัสสนารองรับ อบรมการตามพิจารณาเห็น ๗ อย่างอยู่. พึงทราบข้อเปรียบเทียบที่เหมือนอย่างคนที่อยากกินมะม่วงสุกหวาน ติดซุ้มน้ำไว้รอบลูกต้นมะม่วงอย่างมั่นคง, ถือหม้อน้ำรดน้ำเป็นบางครั้งบางคราว, สร้างคันเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลออกอย่างมั่นคง, เอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ท่อนไม้แห้งๆ รังมดแดงหรือใยแมงมุมออกไป, เอาจอบ (หรือเสียม) ไปขุดรอบๆ โคนเป็นบางเวลา, เมื่อเขาระแวดระวังทำเหตุครบ ๕ อย่างดังที่กล่าวมานี้อยู่ มะม่วงก็เจริญแล้วให้ผล.
    พึงเห็นศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง เหมือนการติดซุ้มรอบต้นไม้, การฟังเรื่องราว (ธรรม) เหมือนการรดน้ำเป็นบางเวลา, สมถะเหมือนการกระทำความมั่นคงด้วยคัน, การตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐานเหมือนการเอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ออก, การอบรมปัญญาเครื่องตามพิจารณาเห็น ๗ อย่างเหมือนการเอาจอบมาขุดรอบๆ โคนเป็นบางเวลา, พึงทราบการให้ผลคือความเป็นพระอรหันต์เพราะความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งสิ่งห้าอย่างเหล่านี้ของภิกษุนี้ตามเกื้อหนุนแล้ว เหมือนเวลาต้นมะม่วงที่เหตุทั้งห้าอย่างเหล่านั้นตามเกื้อหนุนแล้วให้ผลหวานอร่อย ฉะนั้น.
    ……….
    ข้อความบางตอนในอรรถกถามหาเวทัลลสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    #สัมมาทิฏฐิ #ศีล #สุตะ #สมถะ #วิปัสสนา

    tDTaUq1htErghndk1hH-KVdN4gxuVgrqjRjyBsmzIGIC&_nc_ohc=2Uz6X8NUsOYAX_BHjWA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สัมมาทิฏฐิ
    ******************
    ๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์

    องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. ศีล
    ๒. สุตะ
    ๓. สากัจฉา
    ๔. สมถะ
    ๕. วิปัสสนา

    ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
    *******
    อนุคคหิตสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=25

    พึงทราบวินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนา.
    ในบทว่า เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่าเจโตวิมุตติ. ผลญาณ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.
    บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีลสนับสนุนตามรักษา.
    บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะสนับสนุน.
    บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉาสนับสนุน.
    บทว่า สมถานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันเอกัคคตาจิตสนับสนุน.

    แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วงหวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไปออกตามเวลา ดึงใยแมงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง.

    สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนาพึงเห็นดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น.

    การที่ศีลสนับสนุนพึงเห็นดุจการปักเขต การที่สุตะสนับสนุนดุจการรดน้ำ.

    การที่การสนทนาธรรมสนับสนุนก็ดุจการชำระราก.

    การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของญาณและวิปัสสนาดุจการนำสัตว์ออก.

    การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุนก็ดุจการดึงใยแมงมุมออก.

    ความที่สัมมาทิฏฐิมีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผลและปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญงอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน.

    อรรถกถาอนุคคหสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=25

    8VlazsvZSy9VTg8VR7TV_K2cRjpFN2xTIA7OnUTbrGhJ&_nc_ohc=OKDEtN8SsgYAX9B8ukU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วิปัสสนาญาณ
    ***********
    …“เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
    …ฯลฯ
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ว่าด้วยสุภมาณพ
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10
    jdtbir_e6mcs2inox1fwd_by09jvmnv3alw-s1xu-_nc_ohc-mq8v6tdu4tuax86vkv6-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ ๕

    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนา.

    ในบทว่า เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่าเจโตวิมุตติ. ผลญาณ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.

    บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีลสนับสนุนตามรักษา.

    บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะสนับสนุน.

    บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉาสนับสนุน.

    บทว่า สมถานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันเอกัคคตาจิตสนับสนุน.

    แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วงหวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไปออกตามเวลา ดึงใยแมงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง.

    สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนาพึงเห็นดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น. การที่ศีลสนับสนุนพึงเห็นดุจการปักเขต การที่สุตะสนับสนุนดุจการรดน้ำ. การที่การสนทนาธรรมสนับสนุนก็ดุจการชำระราก. การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของญาณและวิปัสสนาดุจการนำสัตว์ออก. การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุนก็ดุจการดึงใยแมงมุมออก.

    ความที่สัมมาทิฏฐิมีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผลและปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญงอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน.
    ...........
    อรรถกถาอนุคคหสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=25

    *****************
    อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ หมายถึงองค์ธรรม ๕ ประการ คือ (๑) ศีล (๒) สุตะ (๓) สากัจฉา (๔) สมถะ (๕) วิปัสสนา ซึ่งเป็น พื้นฐานแห่งสัมมาทิฏฐิที่มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผล
    *******
    ศึกษาเพิ่มเติมใน อนุคคหิตสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=25

    WHyZHUcLrI4Mlo4uUXaCzHCaafJ8KjExzPj2AzHsLfZi&_nc_ohc=hDX4W1mXPT0AX8f9gUD&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อรหัตมรรค ถอนมานะว่าเรามี
    ***********
    บทว่า อสฺมีติ มานสมุคฺฆาโต ได้แก่ อรหัตมรรค. อธิบายว่า เมื่อเห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรคแล้ว อัสมิมานะย่อมไม่มีอีก เพราะฉะนั้น อรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ถอนขึ้นได้ซึ่งมานะว่าเรามี.
    ........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาเมตตาสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=284

    ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจากอัสมิมานะ และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความ
    เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’

    ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย

    ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่ถอนอัสมิมานะนี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
    …………
    ข้อความบางตอนใน นิสสารณียสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=264

    y3K6vLHXkL1QkaBKoLQamcmjSs0I44Q9oc-FuZTXtunu&_nc_ohc=ZSniC9sDn3YAX9HcA-w&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วิโมกข์ 8
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?10/66
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค


    [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
    ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
    ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็น
    วิโมกข์ข้อที่ ๒
    ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
    ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
    เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย
    ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔
    ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
    ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง
    วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
    ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
    โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
    ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ
    เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง
    ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
    จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ
    ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
    อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป
    กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
    จบมหานิทานสูตร ที่ ๒

    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=107
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    [107] วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
    1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
    2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
    3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

    ดู [47] สมาธิ 3.
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


    [๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลายวิโมกข์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน
    คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ฯ
    ....
    [๔๗๐] สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
    อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความ
    เป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้น
    เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ
    อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้
    ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน
    และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำเครื่องกำหนดหมายในนามรูปนั้น เพราะ
    เหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีเครื่องกำหนดหมายนี้เป็นอนิมิตต-
    *วิโมกข์ ฯ
    อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคน
    ไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็น
    ตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาในนามรูปนั้น
    เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีความปรารถนา นี้เป็นอัปป-
    *ณิหิตวิโมกข์ ฯ
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    oTxgvQYUVmkLUnU6zAj-KRxXjjNtchq2AXFp6Ayk6FKF&_nc_ohc=W5OzYKskaCgAX-SMnIP&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
    ……
    [๙๗๙] ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
    และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
    ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
    พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม
    ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
    …….
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสูตร ว่าด้วยพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
    ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=281

    บทว่า ฌานานุยุตฺโต คือ เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยการทำฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเสพฌานที่เกิดขึ้นแล้ว.

    บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต ภิกษุปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่นแล้ว คือ ยังอุเบกขาในจตุตตฌานให้เกิดแล้วมีจิตตั้งมั่น.

    บทว่า ตกฺกาสยํ กุกฺกุจฺจิยูปฉินฺเท พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งความวิตกและความคะนอง คือพึงตัดเสียซึ่งวิตกมีกามวิตกเป็นต้น, ธรรมเป็นที่อยู่แห่งความตรึกถึงกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมีคะนองมือเป็นต้น.
    ………..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสารีปุตตสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423

    e7axg_6xhtyty9mwy6lvk0bdi8yx9znhzzgc9i4t-_nc_ohc-cqhityvwgvuax9l5x5i-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ข้อปฏิบัติไม่ผิด
    *********************
    [๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

    ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. คุ้มครองทวารในอินทรีย์
    ๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
    ๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ

    ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างนี้แล

    ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
    พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุชื่อว่า รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างนี้แล

    ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวาซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
    ............
    อปัณณกสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
    อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=60

    บทว่า ชาคริยํ อนุยุตฺโต ความว่า เป็นผู้แบ่งกลางคืนกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แล้วประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นใน ๕ ส่วน. อธิบายว่า ขะมักเขม้นในการตื่นอยู่นั่นเอง.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอปัณณกสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=455

    -aqne3iya4bzmuj05tyokxz2jappcvs3iauei9t6dzxq9iu1gyw_f4alws0vykkcvpfa-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=44fad580ce9668cf56752190feff6218.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...