อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    2g6ybsqgmxdkwy8nqoah3lgysjwp8bmkwky1qha3-_nc_ohc-hmdruxgeyxoax_-aynx-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ (เหตุปรารภความเพียร) ๘ ประการนี้

    อารัมภวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑

    ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้วเมื่อทำงาน ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
    อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒

    ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางการที่เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่ายอย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓

    ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางแล้วเมื่อเดินทาง ก็ไม่สามารถจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
    อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔

    ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯนี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕

    ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเราเบา ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖

    ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้นอย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗

    ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๘

    ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ ๘ ประการนี้แล
    …………..
    ข้อความบางตอนใน กุสีตารัมภวัตถุสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
    อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=153

    nZrQ-u5jtRpjpafQQ-DIfqGJofAUJGRPYFsfOTBzwOOL&_nc_ohc=UKQ1TnJAzYwAX8Db3zB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต”
    ***********
    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างไร
    คือ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุมีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็นผู้ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี เหมือนในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำตั้งอยู่เสมอผิวน้ำ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดงหรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ น้ำไม่ติดเปื้อนอยู่เลย

    ฉันใด พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็นผู้ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน

    พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต”

    พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสอสุภกถาแก่บุคคลราคจริต ตรัสการเจริญเมตตาแก่บุคคลโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคลโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเล่าเรียน การไต่ถาม การฟังธรรมตามกาล การสนทนาธรรมตามกาล การอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสอานาปานสติแก่บุคคลวิตกจริต ตรัสบอกนิมิตที่น่าเลื่อมใส ความตรัสรู้ชอบของพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรมการปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ และศีลของตนแก่บุคคลสัทธาจริต ย่อมตรัสนิมิตแห่งวิปัสสนา มีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตาแก่บุคคลญาณจริต…
    ……….
    ข้อความบางตอนใน ตุวฏกสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=14

    ดูเพิ่มเติมใน อรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699

    cMAzQwxGC-XX8c58PbCn3w3tLD80WtuIij3PdlMXisuI&_nc_ohc=_HwrWkf3ChgAX9ofOWA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=d8b7c1023a4f9058a08507b381d81a39.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ภิกษุรูปใดเดินหรือจงกรมนานแล้ว ในกาลต่อมา ยืนพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลาจงกรมก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.
    ************
    [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการเหลียว การแล
    กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
    ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ
    เธอทั้งหลาย.
    .......
    ข้อความบางตอนใน สติสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ (ฉบับหลวง)
    http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=3882

    สติสูตร (ภาษาบาลี) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…
    ....................
    พึงทราบอธิบายในบทว่า คต ศัพท์เป็นต้น.

    บทว่า คเต คือ ในการเดิน. บทว่า ฐิเต คือ ในการยืน. บทว่า นิสินฺเน คือ ในการนั่ง.

    บทว่า สุตฺเต คือ ในการนอน. บทว่า ชาคริเต คือ ในการตื่น.

    บทว่า ภาสิเต คือ ในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว คือ ในการไม่พูด.

    ก็ในอิริยาบถนี้ ภิกษุรูปใดเดินหรือจงกรมนานแล้ว ในกาลต่อมา ยืนพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลาจงกรมก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.

    ภิกษุรูปใด เมื่อทำการสาธยาย ตอบปัญหา หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐาน ยืนนานแล้ว ในกาลต่อมานั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลายืนก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการยืน.

    ภิกษุรูปใดนั่งนานด้วยสามารถแห่งการทำสาธยายเป็นต้น ในกาลต่อมา นั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลานั่งก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการนั่ง.

    ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อนอนทำการสาธยาย หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐานหลับไป ในกาลต่อมา ลุกขึ้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในเวลานอนก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการหลับและการตื่น. ด้วยว่า ความไม่เป็นไปแห่งจิตที่สำเร็จด้วยกิริยา ชื่อว่าหลับ ที่เป็นไปชื่อว่าตื่น ด้วยประการฉะนี้.

    ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อพูด ย่อมพูดมีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่าเสียงนี้ ย่อมเกิดเพราะอาศัยริมฝีปาก เพราะอาศัยฟัน ลิ้นและเพดาน และเพราะอาศัยความประกอบแห่งจิตอันสมควรแก่เสียงนั้น ก็หรือทำการสาธยายหรือกล่าวธรรม ให้เปลี่ยนกัมมัฏฐานหรือตอบปัญหาตลอดกาลนานแล้ว ในกาลต่อมาก็นิ่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเกิดขึ้นแล้วในเวลาพูดก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการพูด.

    ภิกษุรูปใดนิ่งทำในใจถึงธรรม หรือกัมมัฏฐานแล้วตลอดกาลนาน ในกาลต่อมาย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในเวลานิ่งก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. เมื่อความเป็นไปแห่งอุปาทารูปมีอยู่ ชื่อว่าพูด. เมื่อไม่มีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้นิ่ง ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในความนิ่งด้วยประการฉะนี้.

    ในข้อนี้เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว พึงทราบด้วยสามารถแห่งอสัมโมหสัมปชัญญะนั้นแล.

    ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัมปชัญญะคลุกเคล้าด้วยสติปัฏฐานว่า เป็นบุพภาค ดังนี้.
    ......
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาสติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    1cRIgTx1TtuCncEwQlJ0a62nkGGoUEaM_61wkgh2BjKo&_nc_ohc=206cJvRvAWgAX_Lw1ew&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    uLjg8rz1zIv8QvxCzwKNDxkN4Lu-nh4CtflG4ThWEt15&_nc_ohc=MrxQqabeS5cAX--eN7G&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    q8KLS6WSJExtkhbA3mKq4Chxwg0mwF_BKEC0xXkX0_NV&_nc_ohc=iZ0NRcciS-EAX-UfHcf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    9637063_o-jpg-_nc_cat-103-_nc_sid-8024bb-_nc_ohc-ca5uguwn46uax9op5fx-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    oFcH9Fdu9u2p2fXiOSasaBCKNl3sM5CfMqxS5cwUnFxM&_nc_ohc=X5bxxsn-JigAX_wzpoz&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    8135099_o-jpg-_nc_cat-111-_nc_sid-730e14-_nc_ohc-fzu1elapgbuax_9uv7a-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    หลักการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนจากต่ำไปหาสูง( บัญญัติสำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่
    พระอรหันต์ )
    ********************
    คณกโมคคัลลานพราหมณ์เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคในบุพพาราม ว่า ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาก็ดี พราหมณ์ก็ดี นักรบก็ดี แม้คณกโมคคัลลานพราหมณ์เองก็ดี ต่างก็มีการศึกษาตามลำดับ มีการกระทำตามลำดับ มีการปฏิบัติตามลำดับ,

    คณกโมคคัลลานพราหมณ์ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ทรงสามารถบัญญัติการศึกษาตามลำดับได้บ้างไหม, พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ว่า ทรงสามารถบัญญัติการศึกษาตามลำดับได้ คือ

    ลำดับที่ ๑ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
    ลำดับที่ ๒ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
    ลำดับที่ ๓ เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
    ลำดับที่ ๔ เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
    ลำดับที่ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
    ลำดับที่ ๖ เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕
    ลำดับที่ ๗ เป็นผู้เข้าฌานที่ ๑ (ปฐมฌาน) ฌานที่ ๒ (ทุติยฌาน) ฌานที่ ๓ (ตติยฌาน) ฌานที่ ๔ (จตุตถฌาน)
    พระผู้มีพระภาคทรงสรุปว่า ลำดับการปฏิบัติเหล่านี้ ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ถ้าผู้เป็นพระอรหันต์ปฏิบัติตามลำดับเหล่านี้ ก็เพื่ออยู่เป็นสุข (มิใช่เพื่อกำจัดกิเลสอย่างปุถุชน)
    ................
    ดูรายละเอียดใน คณกโมคคัลลานสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา ฯ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=7
    พระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=14&A=1602
    อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93

    #ปฏิบัติธรรม

    m2sC5BMo_vZtiaVKeDf49SFPx6LKRwmlSaXJkM2YdiTx&_nc_ohc=gHbgUHG3JdoAX8XSMKT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    #มลทินใจที่ควรพยายามละ -๖๔

    #มักอวดหรือโอ้อวด (สาไถย) -๙

    #หลักธรรมแก้สาไถย -๔

    หลักธรรมสำหรับแก้ความโอ้อวด (สาไถย)
    อีกอย่างหนึ่งคือ ความมักน้อย
    ซึ่งมีคุณานุคุณเป็นอันมาก
    โปรดดูพระพุทธพจน์ต่อไปนี้
    “ความมักมากเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น
    ให้กุศลธรรมเสื่อมไป

    ส่วนความมักน้อยเป็นเหตุให้
    กุศลธรรมเกิดขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมไป”
    องฺ. เอก.๒๐/๑๔/๖๓-๖๔

    ความมักมากนั้น ท่านไขความว่า
    มหาโลโภ คือ ความโลภจัด
    หนักกว่าความไม่สันโดษเสียอีก
    เพราะความไม่สันโดษท่านใช้คำว่า โลโภ เฉยๆ
    ไม่มี “มหา” นำหน้า ท่านลองนึกเอาเองก็ได้ว่า
    คนโลภจัดมีความกระหายอย่างแรงนั้น
    ย่อมกระเสือกกระสนอย่างไม่คำนึง
    ถึงศีลธรรมหรือผิดชอบชั่วดีแต่ประการใด
    เมื่อใดความมักมาก (มหิจฉตา) เกิดขึ้น
    บาปธรรมอื่นๆ ก็ตามมาเช่น ความริษยา
    ความโอ้อวด เล่ห์กระเท่ห์ต่างๆ
    ตลอดถึงการประกาศคุณอันไม่มีอยู่จริง
    การโกหกหลอกลวงก็ตามมาด้วย เพราะไม่รู้จักพอ

    ท่านกล่าวไว้ว่า
    กองไฟย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ
    มหาสมุทรย่อมไม่อิ่มด้วยน้ำฉันใด
    บุคคลผู้มักมากก็ฉันนั้น
    จะให้ปัจจัยเท่าไรๆก็หาพอใจไม่
    (อคฺคิกฺขนฺโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ วาปี
    ปุคฺคโล สกเฏน ปจฺจเย เทนฺโต ตโยเปเต อตปฺปิยา)

    ส่วนความมักน้อย (อัปปิจฉาตา) นั้น
    มีลักษณะตรงกันข้ามกับความมักมาก
    อัปปิจฉตานี้หากแปลตามตัวอักษรก็แปลว่า
    ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย
    คือต้องการแต่น้อย

    ในอรรถกถาท่านจำแนกบุคคล
    ผู้ปรารถนาน้อยไว้ ๔ อย่างคือ

    ผู้ปรารถนาน้อยในปัจจัย ๔ (ปัจจยอัปปิจโฉ)

    ผู้ปรารถนาน้อยในธุดงคคุณ (ธุตังคอัปปิจโฉ)

    ผู้ปรารถนาน้อยในปริยัติ (ปริยัตติอัปปิจโฉ)

    ผู้ปรารถนาน้อยในธรรมที่บรรลุ (อธิคมอัปปิจโฉ)

    ===================

    #ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ
    #ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
    #เพจอาจารย์วศิน อินทสระ

    tJTDYNgvPdURR8qARBCh3NHvpcOKiF9XkhtOviWF2XVE&_nc_ohc=h1tgBmnJyj4AX-yt3bV&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    #อานุภาพของอาสันนกรรม

    คนที่เคยทำชั่วมา แม้มาก
    แต่เมื่อจวนสิ้นชีวิตสำรวมใจได้
    ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
    มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    หรือระลึกถึงคุณงามความดี
    ของตนที่เคยทำไว้
    ..

    ยึดเอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์
    ทำจิตให้ผ่องใส
    ย่อมไปสุคติได้เมื่อดับจิตลง

    เพราะอาสันนกรรม
    (สิ่งที่ทำเมื่อจวนจะสิ้นชีวิต)
    นี้จะให้ผลก่อน
    แต่มีอานุภาพน้อย หรือมีกำลังอ่อน
    ..

    ท่านเปรียบเหมือนโค
    ที่ขังรวมกันอยู่ในคอก
    เมื่อคนเลี้ยงโคเปิดคอก
    โคตัวใดยืนอยู่ปากคอก
    ย่อมเดินออกมาก่อน

    แม้จะเป็นโคแก่
    หรือลูกโคที่มีกำลังน้อยก็ตาม
    ..

    แต่เมื่อเลยปากคอกไปแล้ว
    โคที่มีกำลังมากกว่าย่อมเดินออกหน้า

    เปรียบอีกอย่างหนึ่ง
    เหมือนรถติดไฟแดงที่สี่แยก
    เมื่อไฟเขียวเปิดขึ้น
    รถคันหน้าย่อมออกก่อน
    แต่เมื่อเลยสี่ แยกไปแล้ว
    รถคันใดมีกำลังมาก ย่อมแซงขึ้นหน้าไปได้
    ..

    ทำนองเดียวกัน
    อาจิณณกรรม หรือพหุลกรรม
    คือกรรมที่บุคคลทำมาก
    ทำบ่อยๆ จนเคยชินนั้น

    เป็นกรรมมีกำลัง
    ย่อมหาโอกาสให้ผลแซงอาสันนกรรมไป

    เหมือนโคหรือรถที่มีกำลังดี
    แต่ต้องเป็นโอกาสให้อาสันนกรรมให้ผลก่อน
    ..

    พระนาคเสนเปรียบลักษณะแห่งกรรมชนิดนี้ว่า

    เหมือนเรือที่รองรับหินไว้
    คือธรรมดาหินมีสภาพจมน้ำ
    แต่เมื่ออยู่ในเรือ หินก็ไม่จม
    นอกจากเรือจะจมลงไปด้วย
    เพราะรับน้ำหนักหินไม่ไหว
    แต่หินก้อนเล็ก ๆ ก็จมน้ำ
    ถ้าไม่มีเรือรองรับไว้
    ..

    เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
    จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
    แปลว่า เมื่อจิตไม่เศร้าหมองก็หวังสุคติได้
    ..

    ในทางตรงกันข้าม
    เมื่อจิตเศร้าหมองก็หวังทุคติได้
    เช่นอาสันนกรรมที่ไม่ดี

    คือเมื่อจวนตาย
    บุคคลแม้จะทำกรรมดีมามาก
    แต่มิได้ระลึกถึงกรรมดีนั้น
    กลับระลึกถึงกรรมชั่ว
    แม้เพียงเล็กน้อยที่ตนเคยทำ
    ยึดเอากรรมนั้นเป็นอารมณ์
    จิตเศร้าหมองไปทุคติได้
    ..

    รวมความว่า
    กรรมใดที่ทำเมื่อจวนจะตาย
    กรรมนั้นเรียกว่าอาสันนกรรม

    ส่วนมากก็เป็นมโนกรรม
    จะเป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศลก็ตาม

    บางคนก็ยึดเอาอาจิณณกรรม
    คือสิ่งที่ทำจนเคยชิน
    หรือทำมากนั่นเอง เป็นอารมณ์

    กรรมนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นอาสันนกรรม
    ทำหน้าที่นำปฏิสนธิในภพใหม่
    ..

    ทุกคน เมื่อจวนสิ้นชีวิต

    ย่อมมีกรรมนิมิต และคตินิมิตปรากฏแก่ตน
    กรรมนิมิต คือสิ่งที่เคยทำ

    คตินิมิต คือคติหรือภพที่จะไป
    หลังจากตายแล้ว

    เช่นถ้าจะไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานชนิดใด

    ก็จะมีภาพแห่งฝูงสัตว์ชนิดนั้น
    ปรากฏแก่ตนทางมโนทวาร
    (Mental vision : Mind-door ; Mind-avenue)

    ถ้าจะไปเกิดดี เช่นเกิดเป็นเทพหมู่ใด
    หรือมนุษย์พวกใด ก็จะมีภาพเช่นนั้นปรากฏขึ้น

    ท่านจึงว่า

    “เมื่อจวนตาย บุคคลย่อมหลับตา
    เห็นโลกหน้า ลืมตาเห็นโลกนี้”
    ..
    กุศลกรรมย่อมเป็นเหมือนเรือ
    ที่ประคองบุคคลไว้มิให้จม
    ส่วนผู้ประกอบอกุศลกรรมอยู่เนืองนิตย์
    ย่อมเหมือนนำหินหรือของหนักมาผูกคอ
    ผูกขาตัวเองไว้ มีแต่จะดึงให้ตกต่ำลง หรือจมลง
    ..

    มองในชีวิตประจำวัน ความเพียรชอบ
    การตั้งตนไว้ชอบ เป็นกุศลกรรม
    ย่อมประคองบุคคลไว้เหมือนเรือ
    และย่อมนำไปสู่ฝั่ง
    คือความสำเร็จผลตามที่มุ่งหมาย

    ส่วนความเกียจคร้าน
    และการตั้งตนไว้ไม่ชอบ
    ย่อมทำให้คนจมลงสู่ความเสื่อม ความตกต่ำ

    สมดังพระพุทธภาษิตที่ว่า
    “ผู้อาศัยความเกียจคร้าน
    แม้เคยมีชีวิตดีมาก่อนก็จมลงได้

    เปรียบเหมือนผู้อาศัย
    ซีกไม้เล็กๆ ข้ามมหาสมุทร ย่อมจมลง
    ไม่อาจข้ามมหาสมุทรให้พ้นได้”

    ....

    #อธิบายมิลินทปัญหา
    อธิบายวรรคที่ ๗
    อธิบายวรรคที่ ๗ (๔๕-๔๖) ตอน ๑
    ๔๕. #อานุภาพของอาสันนกรรม ตอน ๑
    #อาจารย์วศิน อินทสระ
    เพจอาจารย์วศิน อินทสระ

    TEtTnaNHl3Ay-MO85KI_h4dRUnNBGczKbYRIxud1KdZX&_nc_ohc=6xX8tM5TTPoAX9_GY7i&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    องค์ประกอบของศาสนา ๓ ประการ คือ (๑) ศาสดา (๒) หลักธรรม (๓) สาวก เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ศาสนาได้รับการสรรเสริญหรือถูกตำหนิติเตียน
    ************
    ข้อความในเรื่อง “ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้” สรุปได้เป็น ๒ ประเด็นคือ

    ๑. ถ้าศาสดาไม่ดี (ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) หลักธรรมไม่ดี แต่สาวกดี คือ ไม่ยอมปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น

    ศาสดาและหลักธรรมจะถูกตำหนิติเตียน ส่วนสาวกได้รับการสรรเสริญ

    แต่ถ้าใครชักชวนให้คนอื่นปฏิบัติตาม ทั้งผู้ชวนและผู้ถูกชวน ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

    ๒. ถ้าศาสดาไม่ดี (ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) หลักธรรมไม่ดี และสาวกไม่ดี คือ ยอมปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น

    ทั้งศาสดา หลักธรรม และสาวกจะถูกตำหนิติเตียน

    แต่ถ้าใครสรรเสริญคนอื่นที่ปฏิบัติตาม ทั้งผู้สรรเสริญและผู้ถูกสรรเสริญ ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

    ************

    ข้อความในเรื่อง “ธรรมวินัยที่บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้” สรุปได้เป็น ๒ ประเด็นคือ

    ๑. ถ้าพระศาสดาดี(เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) หลักธรรมดี แต่สาวกไม่ดี คือไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น

    ทั้งพระศาสดาและหลักธรรมจะได้รับการสรรเสริญ ส่วนสาวกจะถูกตำหนิติเตียน

    แต่ถ้าใครชักชวนคนอื่นให้ปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น ทั้งผู้ชักชวนและผู้ถูกชักชวน ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก

    ๒. ถ้าพระศาสดาดี(เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) หลักธรรมดี และสาวกดี คือปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น

    ทั้งพระศาสดา หลักธรรมและสาวกจะได้รับการสรรเสริญ

    ถ้าใครสรรเสริญคนอื่นที่ปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น ทั้งผู้สรรเสริญและผู้ถูกสรรเสริญ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก
    ................
    ดูรายละเอียดใน ปาสาทิกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=6

    #องค์ประกอบของศาสนา #ศาสดา #หลักธรรม #สาวก

    Xdh_RxGFO89Kt60UZHDWiEC8v6jDO1NYypX6Fbbna2pk&_nc_ohc=SMoQkjoHTMUAX_b-brp&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=d27a9b6960d110acf6c7f115991abae5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=c5deb13dfb72871c9f9478c6c3f30268.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    R8QpQlJ1Rx3sk8oB1SFk1kdRqvT9JhVxtrYNEHHklVAy&_nc_ohc=BZ-uTMANzxQAX9uIQXw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=78124f28d6f5415076011c9e2659fe39.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ผู้ไม่มีศรัทธาและผู้มีศรัทธา
    ………………….
    [๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
    อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เป็นผู้เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ

    อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีศรัทธา ตนเองเป็นผู้ไม่มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีหิริ ตนเองเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นผู้มีสุตะน้อยและชักชวนผู้อื่นให้มีสุตะน้อย ตนเองเป็นผู้เกียจคร้านและชักชวนผู้อื่นให้เกียจคร้าน ตนเองหลงลืมสติและชักชวนผู้อื่นให้หลงลืมสติ ตนเองมีปัญญาทรามและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่าอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ

    สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้มีศรัทธา ตนเองเป็นผู้มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้มีหิริ ตนเองเป็นผู้มีโอตตัปปะและชักชวนผู้อื่น ให้มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นพหูสูตและชักชวนผู้อื่นให้เป็นพหูสูต ตนเองมีสติตั้งมั่นและชักชวนผู้อื่นให้มีสติตั้งมั่น ตนเองเป็นผู้มีปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
    ……………..
    อัสสัทธสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=137

    หมายเหตุ คำแปลบางส่วนหายไป คือข้อความว่า “ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และชักชวนผู้อื่นให้ปรารภความเพียร”



    ?temp_hash=38a545fe55c36548121551200f84c7bf.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=70910344fead9b85213449a3b410aaf9.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...