เข้าวัดไหว้พระ สะสมบุญ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 4 มิถุนายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดล้านนาญาณสังวราราม

    [​IMG]


    ตำนานวัดล้านนาญาณสังวราราม

    วัดล้านนาญาณสังวราราม ตั้งอยู่เลขที่ 33 บ้านห้วยตองสัก ถนนสายจอมทอง - อินทนนท์ หมู่ที่ 4 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 57 ไร่ 15 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย กุฏิสงฆ์ ศาลาเอนกประสงค์ พระพุทธรูปสิงห์ 3 ศาลเจ้าแม่กวนอิม ศาลสมเด็จพระนเรศวร และเจดีย์

    วัดล้านนาญาณสังวราราม ได้รับอนุญาติให้สร้างวัด เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2531 โดยมีนายวารินทร์ ภัททิยกุล ได้ถวายที่ดินแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินการสร้างวัด ในขณะที่นายชัยยา พูนศิริวงศ์ (ขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) ได้ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินเพื่อการก่อสร้างวัดได้โดยเร็ว คณะกรรมการดำเนินการการก่อสร้างมีพระเทพกวี เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน เป็นประธานฝ่ายบรรชิตและ ด.ร. อำนวยยศสุข เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2532 โดยนายชัยยา พูนศิริวงค์เป็นผู้ขออนุญาติสร้างและตั้งวัดเหตุที่ชื่อว่าวัดล้านนาญาณสังวรารามเนื่องจากได้นำนามของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชรวมกับวัตถุประสงค์ของท่านเจ้าคุณพระเทพกวีสณศักดิ์ขณะนั้นที่ต้องการสร้างเสนาสนะภายในวัดเป็นศิปลล้านนาไทย จึงได้รวมนามมงคลทั้งสองเป็นชื่อวัด การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสคือ พระครูสุขุมบุญวัฒน์ (บุญส่ง สุขปฺปตฺโต) สมณศักดิ์ ณ ตอนนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนพ.ศ. 2533 และแผนกบาลี เปิดสอน พ.ศ. 2533 นอกจากนี้ได้จัดตั้งทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ และธนาคารควาย เพื่อช่วยเหลือคนยากจน
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดช้างให้ (วัดราษฎร์บูรณะ) จ.ปัตตานี

    [​IMG]



    วัดช้างให้ (วัดราษฎร์บูรณะ) จ.ปัตตานี

    "วัดช้างให้"หมายความว่า ที่ดินสร้างวัดนี้ช้างบอกให้ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า ๓๔๐ปี ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้
    ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโร (ท่านพระครูวิสัยโสภณ) ได้เข้าครองเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ ในขณะที่ท่านอาจารย์ทิมเข้ามาควบคุมการแผ้วถางป่า ในบริเวณวัดร้างนี้ต้องตัดโค่นต้นไม้ใหญ่ๆ ขนาดคนโอบไม่รอบเสียหลายต้น นี่ก็แสดงให้รู้ว่าวัดร้างมานานมาก ต้นไม้จึงใหญ่โตขนาดนี้ เมื่อแผ้วถางป่าปราบพื้นที่ลงเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าวัดช้างให้เป็นพุทธภูมิที่เหมาะสม เป็นที่น่าอยู่อาศัยของสมณะผู้แสวงธรรมรักสงบ จึงได้มีพระภิกษุและสามเณรเข้ามาอาศัยจำพรรษาเรื่อยๆ มา
    เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกทั่วประเทศไทยจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ รถไฟสายใต้ หาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ต้องทำการขนส่งทหารญี่ปุ่นและสัมภาระ ผ่านประตูวัดช้างให้วันละหลายๆ ครั้ง ประชาชนตื่นตกใจหวาดกลัวภัยสงคราม ไม่เป็นอันจะทำมาหากิน การบูรณะวัดช้างให้จึงหยุดชงักลงชั่วคราว (ท่านพระครูวิสัยโสภณ เข้ามาอยู่วัดช้างให้ประมาณ ๔ เดือน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒) หลังจากสงครามนี้สงบลงแล้วโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายยอมแพ้ ประชาชนชาวพุทธก็ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ส่วนพี่น้องชาวพุทธที่อยู่ใกล้เคียงกับวัดก็ได้ร่วมมือร่วมใจกันสละแรงงานช่วยเหลือการบูรณะวัดต่อเติมจนเรียบร้อย

    เมื่อการบูรณะวัดช้างให้สะอาดสอ้านตาขึ้นมากแล้ว ทางด้านสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิของท่านช้างให้องค์แรกหรือหลวงพ่อทวดฯ ประดิษฐานอยู่ที่หน้าวัดนั้น ก็เป็นที่จูงใจของประชาชนหลายชาติหลายภาษาให้มาเคารพบูชา นำลาภสักการหลั่งไหลเข้าสู่วัดนี้เรื่อยๆ มา ท่านพระครูฯ จึงดำริที่จะสร้างพระอุโบสถไว้ เพื่อเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา และจะได้เป็นที่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ในวัดได้ทำสังฆกรรมต่อไป ความจริงนั้นครั้งโบราณกาลมาวัดนี้เคยมีโบสถ์มาก่อนแล้ว แต่ชำรุดสลายตัวไปหมดเพราะกาลเวลา ที่ปรากฎให้เห็นก็เพียงหลักพัทธสีมา และเนินดินเป็นที่โบสถ์เก่าเท่านั้น ท่านพระครูจึงได้กำหนดพิธีวางศิลาฤกษ์ อันเป็นรากฐานของโบสถ์แห่งใหม่ ในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ แล้วขุดดินลงรากก่อกำแพงผนังโบสถ์ สืบต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ งานก่อสร้างสำเร็จลงเพียงกำแพงผนังโบสถ์โดยรอบเท่านั้น งานก่อสร้างก็ได้หยุดชงักลง ๘ - ๙ เดือน เพราะหมดเงินทุนที่จะใช้จ่ายต่อไป

    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หรือท่านสมภารองค์แรกของวัดช้างให้ ได้ประทานนิมิตฝันอันเป็นมงคลยิ่งแก่ นายอนันต์ คณานุรักษ์ หรือผู้เขียน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลจากวัดประมาณ ๓๑ กิโลเมตร ให้ผู้เขียนมาจัดการสร้างพระเครื่องรางเป็นรูปพระภิกษุชราขึ้นแทนองค์ของท่าน เมื่อผู้เขียนได้นมัสการท่านพระครูวิสัยโสภณ และเตรียมงานสร้างพระพร้อมแล้ว ถึง ๑๙ มีนาคม ๒๔๙๗ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกเบ้าและพิมพ์พระเครื่องเรื่อยๆ มาทุกๆ วัน จนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๙๗ พิมพ์พระเครื่องได้ ๖๔,๐๐๐ องค์ (จะพิมพ์ให้ได้ ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่เวลาจำกัดในพิธีปลุกเสก) ก็ต้องหยุดลง เพื่อเอาเวลาเตรียมงานพิธีปลุกเสกพระเครื่อง ตามที่หลวงพ่อทวดฯ กำหนดให้ท่านพระครูปฏิบัติ
    ถึงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๙๗ ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกพระเครื่อง ณ เนินดินบริเวณโบสถ์เก่า โดยมีท่านพระครูวิสัยโสภณเป็นองค์ประธานในพิธีและนั่งปรก ได้อาราธนาอัญเชิญพระวิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พร้อมด้วยวิญญาณหลวงพ่อสี หลวงพ่อทองและหลวงพ่อจันทร์ ซึ่งหลวงพ่อทั้งสามองค์นี้สิงสถิตย์อยู่ร่วมกับหลวงพ่อทวดฯ ในสถูปหน้าวัด ขอให้ท่านประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์ขลังแก่พระเครื่องฯ นอกจากนั้นก็มีหลวงพ่อสงโฆสโก เจ้าอาวาสวัดพะโคะ เวลานี้ พระอุปัชฌาย์ดำ วัดศิลาลอย พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อาวุโส ณ วัดช้างให้ ร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่องเสร็จลงในเวลา ๑๖.๐๐ น. ของวันนั้น ท่านพระครูฯ พร้อมด้วยพระภิกษุอาวุโสและคณะกรรมการ มี นายอนันต์ คณานุรักษ์ (ผู้เขียน) นายชาติ สิมศิริ นายกวี จิตกูล นายวิศิษฐ์ คณานุรักษ์ นายวิทยา คณานุรักษ์ นายสุนนท์ คณานุรักษ์ และนายจำรูญ คณานุรักษ์ ได้ร่วมกันทำการแจกจ่ายพระเครื่องหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสซึ่งมาคอยรอรับอยู่อย่างคับคั่งจนถึงเวลาเที่ยงคืน ปรากฏว่าในวันนั้นกรรมการได้รับเงินจากผู้ใจบุญโมทนาสมทบทุนสร้างโบสถ์เป็นจำนวน ๑๔,๐๐๐ บาท
    หลังจากนั้นมา ด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารหลวงพ่อทวดฯ ดลบันดาลให้พี่น้องหลายชาติหลายภาษา ร่วมสามัคคีสละทรัพย์โมทนาสมทบทุนสร้างโบสถ์เรื่อยๆ มา งานก่อสร้างโบสถ์จึงมีกำลังดำเนินการต่อไปโดยมิได้หยุดยั้งจนถึงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๙ ได้จัดทำพิธียกช่อฟ้า และวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๐๑ พิธีผูกพัทธสีมา โบสถ์หลังนี้จึงสำเร็จสมบูรณ์ และพระภิกษุสงฆ์ได้อาศัยทำสังฆกรรมถึงเวลานี้ รวมค่าก่อสร้างประมาณ ๘ แสนบาท ขอให้พี่น้องทุกคนจงรับเอาส่วนกุศลจงทั่วๆ กันเทอญ

    พี่น้องทั้งหลายผู้ใดที่ยังไม่มีพระเครื่องหลวงพ่อทวดฯ ไว้บูชา หรือท่านเคยมีแล้ว แต่หากสูญหายไป แต่ท่านก็ยังมีความเลื่อมใสในอภินิหารของท่านอยู่ เพื่อท่านจะได้ขอความคุ้มครองพิทักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัยนานาประการ ท่านจงระลึกถึงหลวงพ่อทวดฯ และอาราธนาคาถา "นะโมโพธิสัตว์โต อาคันติมายะ อิติภะคะวา" ในเวลาที่จะให้ท่านคุ้มครองและรักษาโรคภัยบางประการ ท่านจะได้รับผลเช่นเดียวกันกับท่านมีพระเครื่องรูปขององค์ท่านอยู่ประจำตัวเช่นเดียวกัน

    แหล่งที่มา :หนังสือประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และคุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวดฯ วัดช้างให้ (พ.ศ. ๒๕๐๔)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย

    [​IMG]


    หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย

    หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามมาก ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สวนสูงจากพระสงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว ของชางไม้ ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดหนองคายนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและเป็น ที่เคารพสักการะอย่างยิ่ง

    [​IMG]


    ประวัติ
    ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้าง (บางท่านเชื่อว่า เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใส มีขนาดลดกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลาง ส่วนพระใสประจำคนสุดท้อง

    ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นำเป็นเวลา 7 วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือหลวงตากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้ปรากฏชีปะขาว ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า แล้ว และไม่เห็นชีปะขาวแล้ว

    หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงอาณาจักรล้านช้าง มาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาไว้ดังเดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทร์เสียสิ้น จึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทร์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย

    มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    พระเสริม วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร อัญเชิญมาจากกรุงเวียงจันทร์ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก”ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้ อัญเชิญไปไว้ยังหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหารย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว

    [​IMG]


    "วัดโพธิ์ชัย"เดิมชื่อ"วัดผีผิว"วัดนี้ใช้เป็นที่เผาผีหรือเผาศพ และมีผีดุ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"วัดโพธิ์ชัย" ใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน ชั้นหลัง หล่อด้วยทองสุก (ทองคำ ที่มีเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ประมาณ 92 เปอร์เซนต์ สีทองคำจะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่า สีทองสุก) มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูงจากเบื้องล่างพระชงฆ์ ถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว มีห่วงกลมขนาด หัวแม่มือจำนวน 3 ห่วง ติดกับพระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์พระใส สำหรับผูกเชือกติดกับยานเวลาที่อัญเชิญลงมาแห่รอบเมืองให้ประชาชน ได้สรงน้ำในช่วงวันสงกรานต์

    หลวงพ่อพระใส จัดสร้างขึ้นโดย พระราชธิดาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่ง ล้านช้าง ทั้ง 3 พระองค์ คือ พระสุก พระเสริม และพระใส
    พระสุก นั้นได้จมลงที่แม่น้ำโขงขณะอัญเชิญลงมายังกรุงเทพ บริเวณที่พระสุกจมลงชาวบ้านจึงเรียกว่า เวินพระสุก ยังปรากฏมาจนปัจจุบันนี้
    ส่วนพระเสริมนั้นได้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพฯ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดปทุมวนาราม
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร วัดไตรมิตรฯ

    [​IMG]


    พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร วัดไตรมิตรวิทยาราม

    ท่ามกลางกระแสธารแห่งอารยธรรมตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน ปรากฏร่องรอยหลักฐานความเจริญสืบเนื่องมาอย่างไม่ขาดสาย มรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์แห่งอารยธรรมไทย แต่ครั้งโบราณกาล ดังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" ซึ่งทรงตรวจสอบค้นคว้าด้านโบราณคดีเกี่ยวกับ "สุโขทัย" ความว่า"ชาติไทยเราไม่ใช่ชาติใหม่ และไม่ใช่ชาติที่เป็นคนป่า หรือที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า "อันซิวิไลซ์" ชาติไทยเราได้เจริญรุ่งเรืองมามากแล้ว เพระฉะนั้นควรที่จะรูสึกอายแก่ใจว่าในกาลปัตยุบันนี้ อย่าว่าแต่จะสู้ผู้อื่นแม้แต่จะสู้คนที่เป็นต้นโคตรของเราเองก็ไม่ได้ ฝีมือช่างหรือความอุตสาหะของคนครั้งพระร่วงดีกว่าคนสมัยนี้ปานใด ถ้าอ่านหนังสือนี้แล้ว บางทีพอรู้สึกหรือเดาได้บ้างไม่มากก็น้อย ถ้าอ่านแล้วคงจะเห็นความเรียวของคนเราเพียรไร"

    พระราชนิพนธ์ชิ้นนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามรุ่งเรืองในอดีตโดยเฉพาะ "สุโขทัย" อาณาจักรไทยที่ครอบครองดินแดนตอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ร่องรอยแห่งความเจริญ ดังกล่าวนอกจากจะพบได้จากซากเมืองและวัดวาอารามต่าง ๆ รวมทั้งศิลปวัตถุอันตกทอดมาถึงปัจจุบัน ที่สร้างขึ้นอย่างประณีตด้วยศิลปะชั้นสูง แล้วความยิ่งใหญ่แห่งอารยธรรมในอดีตยังพบเห็นได้ชัดเจนจาก "พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร" พระพุทธรูปทองคำบริสุทธ์สมัยสุโขทัย อันเป็นมรดกอารยธรรมที่ตกทอดเป็นประจักษ์พยาน ถึงความรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมของสยามประเทศ

    "พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร" หรือ "หลวงพ่อทองคำ" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เขคสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คืออยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 5 ตัน

    แต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกำไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินาราม หรือวัดพระยาไกรมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้างราว พ.ศ. 2474 บริษัทอีสต์เอเชียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรจนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

    ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอารามโดยสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่าจะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีนมีสถานที่กว้างขวาง เหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี) น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ร.น.หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวางกูล) นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน

    พระพุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดไปประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างนี้มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม พระวิหารต่าง ๆ ในวัดสามจีนใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง 20 ปี ใน พ.ศ. 2498 การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย

    เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหารซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่และหนัก ต้องใช้ปั้นจั่นยกองค์พระพุทธรูปขณะที่ทำการยกนั้นปรากฏว่าลวดสลิงที่ยึดองค์พระเกิดขาดเพราะทานน้ำหนักไม่ไหว องค์พระพุทธรูปกระแทกลงบนพื้นดินอย่างแรง พอดีกับเป็นเวลาใกล้ค่ำและฝนตกหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้นจึงหยุดชะงักลง

    ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาสได้มาตรวจดูองค์พระเพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ แลเห็นรักที่ฉานผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออกก็ได้พบเบื้องทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาสจึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูนและลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็น พร้อมพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็น

    ความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายหมดสิ้นลงเมื่อการคุ้ยดินได้ฐานทับเกษครออก และพบกุญแจสำหรับถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ 9 ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร จึงดำเนินการถอดองค์พระออกแต่เพียง 4 ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง และส่วนพระนาภี ทำให้สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานยังที่จัดเตรียมไว้โดยราบรื่น
    การค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามใน ครั้งนั้น เป็นข่าวสำคัญครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวางท่ามกลางความปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า มีการตรวจสอบและประเมินเนื้อทองคำ ขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา (มาตราทองคำของไทยโบราณตั้งไว้ตั้งแต่ทองเมื้อสี่ คือทองคำหนัก 1 บาท จะมีค่า 4 บาท ทองเนื้อเจ็ด คือทองหนัก 1 บาท จะมีค่า 7 บาท ซึ่งเป็นทองคำที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขา หมายถึง 2 สลึง) มีน้ำหนักกว่า 5 ตัน คิดเป็นน้ำหนักทองคำ 25,000 ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ.2498) 14 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 294,000,000 บาท อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก

    พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร นับเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ.2534) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) และบันทึกไว้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุด มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง 21.1 ล้านปอนด์

    [​IMG]


    องค์พระพุทธรูปทองคำที่ถูกค้นพบ เป็นพุทธศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก ผู้เชี่ยวชาญทางพุทธประติมากรรม กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีความงดงามถึงจุดสุดยอดในกระบวนฝีมือสกุลช่างสุโขทัย ซึ่งในการจัดแบ่งศิลปะพระพุทธรูปสุโขทัยของ เอ.บี กริสโวลด์นั้นได้แบ่งศิลปะออกเป็น 3 หมวด คือ ก่อนคลาสลิก คลาสิกบริบูรณ์ และหลังคลาสิก พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรนี้นับเป็นศิลปะแบบคลาสิกบริบูรณ์ อันเป็นความรุ่งเรืองสูงสุดของสกุลช่างสุโขทัย มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ต่อต้นพุทธศตวรรษที่ 29

    ทองคำนับเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในสังคมสยามแต่โบราณ ในสมัยสุโขทัยนั้น จากข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่ามีแหล่งแร่ทองคำบริเวณลำห้วยแม่ปอย เขตอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัย เพียง 25 กิโลเมตร มีการค้นพบเหมืองแร่โบราณในบริเวณดังกล่าว แม้จะมีสายแร่ทองคำเนื้อธรรมชาติไม่มากนัก แต่นับเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการทำทองคำมาใช้ในสังคมสุโขทัยได้อย่างชัดเจน

    ในศิลาจารึกหลักที่ 5 วัดป่ามะม่วง กล่าวถึงการบำเพ็ญบุญของพระมหาธรรมราชา โดยทรง "กระยาทานคาบนั้นทองหมื่นหนึ่ง เงินหมื่นหนึ่ง เบี้ยสิบล้าน" สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของทองคำในสมัยนั้นในกลุ่มชนชั้นสูง โดยเฉพาะกษัตริย์ มักจะนิยมสร้างพระพุทธรูปหรือโบราณวัตถุที่สำคัญทางพุทธศาสนาจากทองคำบริสุทธิ์ โดยทรงเป็นศูนย์กลางดำเนินการ เช่น การสร้างสำเภาทองลอยพระธาตุ ดังความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารเหนือ ความว่า "เชิญพระธาตุมาถึงเมืองแล้ว พระธรรมราชาเจ้าจึงป่าวร้องแก่คนทั้งหลายผู้ศรัทธาก็เอาทองมาประมวลกันได้ 2500 ตำลึงทอง ให้ช่างตีเป็นสำเภาเภตรา จึงใส่พระธาตุพระพุทธเจ้าลอยอยู่ในน้ำบ่อ"
    ในการสร้างพระพุทธรูปสำคัญ สังคมสุโขทัยจะใช้ลักษณะดังกล่าวกษัตริย์จะทรงเป็นศูนย์ลางการสร้าง และใช้วิธี "ป่าวร้องแก่คนทั้งหลายผู้ศรัทธา" หรือให้หัวเมืองภายใต้พระราชอำนาจส่งมอบวัตถุดิบในการจัดสร้างโดยมี "ช่างหลวง" เป็นผู้ดำเนินการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การสร้าง พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารเหนือ ความว่า"พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกจึงรำพึงในพระทัยจะใคร่สร้างพระพุทธรูปให้แล้วด้วยสัมฤทธิ์ ครั้งพระองค์รำพึงแล้วจึงให้หาช่างได้บาพิศณุคนหนึ่ง บาพรหมคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศลคนหนึ่ง ได้ช่างมาแต่เมืองสัชนาลัย 5 คน มาแต่เมืองหริภุญไชยคนหนึ่ง เป็นช่าง 6 คน จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งช่างทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายให้ชวนกันรักษาศีล 5 ประการอย่าให้ขาด ครั้นสั่งช่างแล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่ไพร่ทั้งหลาย ให้ขนดินแลแกลบให้แก่ช่าง ช่างจึงประสมดินปั้นเป็นพระพุทธเจ้าสามรูปตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้น ให้เหมือนพิมพ์เดียวแลใหญ่น้อยเท่ากัน ครั้นเป็นเบ้าคุมพิมพ์แล้วท้าวพระยาทั้งหลายก็นำเอาทองสัมฤทธิ์มาถวายแก่พระองค์เจ้า ชวนกันหล่อพระพุทธรูปเป็นอันมาก แลช่างหล่อชวนกันกินบวชเจ็ดวัน ก็ทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งเจ็ดทิศ ครั้นได้ฤกษ์ดีจึงเอาพิมพ์เข้าเตา"

    กรรมวิธีการหล่อพระพุทธรูปในสมัยโบราณนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น "ฝีมือช่างราษฎร์" กับ "ฝีมือช่างหลวง" ฝีมือช่างราษฎร์จะเป็นกลุ่มของชาวบ้านที่มีศรัทธาจะสร้างพระพุทธปฏิมาส่วนใหญ่มิได้เคร่งครัดในส่วนผสมของโลหะเท่าใดนัก เมื่อทราบข่าวจะมีการหลอมหล่อพระพุทธรูปมักจะนำโลหะมีค่าจากบ้านเรือนของตนมาเป็นวัตถุดิบร่วมกันทำบุญสร้างพระพุทธรูป ช่างที่ดำเนินการจะนำหุ่นขี้ผึ้งที่ปั้นไว้ตั้งอาหัวลง เมื่อเทน้ำโลหะลงไปธาตุที่หนักที่สุดซึ่งได้แก่ทองคำ จะลงไปตกตะกอนอยู่ส่วนล่างสุด คือส่วนเศียรพระพุทธรูป ดังนั้น พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ส่วนใหญ่จะมีพระเศียรเปล่งปลั่งสุกใสกว่าส่วนอื่น

    ส่วนการหล่อโดยฝีมือช่างหลวงนั้น จะเห็นอัตราส่วนผสมของโลหะเป็นพิเศษ กรรมวิธีโดยทั่วไปคล้ายคลึงกัน หากเพิ่มความละเอียดประณีต โดยเริ่มจากการ "ขึ้นหุ่น" หรือ "ปั้นหุ่น" ชั้นในขององค์ระด้วยดินเหนียวผสมทราย แกลบ ตามส่วน ดินที่มักนิยมใช้เรียกว่า "ดินขี้งูเหลือม" มีสีเหลือง โดยกำหนดสัดส่วนไว้สำหรับหุ้มขี้ผึ่งอีกชั้นหนึ่ง หลักจากนั้นใช้ขึ้ผึ้งผสมกับชันเพื่อให้แข็งตัวมาตีแผ่ออกเป็นแผ่นหนาเท่ากับเนื้อทองที่ต้องการ นำแผ่นขี้ผึ้งหุ้มรูปหุ่นให้หมดทั้งองค์ ลงมือปั้นแต่ขี้ผึ้งให้ประณีต ฝีมือช่างจะแสดงออกจากการปั้นขี้ผึ้ง
    หลังจากนั้นจะมีการติด "สายชยวนขี้ผึ้ง" เพื่อช่วยให้ทองแล่นได้ตลอด โดยต้องคำนึงถึงช่องว่างที่จะเป็นส่วนให้อากาศภายในระบายออกได้ทันเมื่อเททอง ก่อนที่จะนำเอาขี้วัวละเอียดผสมกับดินนวลทาลงบนหุ่นขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวทองเรียบงาม หลังจากนั้นใช้ดินอ่อนฉาบรักษาดินขี้วัวไว้แล้วใช้ดินที่ปั้นหุ่นองค์พระชั้นในพอกทับอีกชั้นหนึ่ง

    จากนั้นช่างผู้ทำการหล่อพระพุทธรูปจะทำการตรึงหมุดเหล็ก หรือ "ทวย" คือการแทงเหล็กแหลมเข้าไปในหุ่นขี้ผึ้งให้ทะลุเข้าไปถึงชั้นในเพื่อยึดโครงสร้างองค์พระให้แข็งแรง มิให้แตกร้าวขณะเททอง ก่อนที่จะใช้เหล็กมัดเป็นโครงหุ้มดินพอกไว้อีกชั้นหนึ่ง ที่เรียกว่า "รัดปลอก"

    ต่อจากนั้นจะทำการพลิกเศียรพระพุทธรูปลงดิน เอาฐานองค์พระขึ้น โดยใช้นั่งร้านยกพื้นไม้ให้รอบสำหรับเดินเททอง ค้ำยันหุ่นด้วยเหล็กให้แน่นหนา แล้วจึงเริ่มสุมไฟเผาไล่หุ่นขี้ผึ้งรอบองค์พระ ในขณะเดียวกันก็เริ่ม "สุมทอง" ที่เตรียมไว้พร้อมกันไปด้วย โดยมีเบ้าหลอมต่างหาก

    เมื่อขี้ผึ้งละลาย หรือที่เรียกกันว่า "สำรอก" จึงเริ่มเททอง น้ำทองจะไหลลงไปแทนที่ขี้ผึ้งรอบองค์พระ โดยเดินเททองบนนั่งร้านกรอกลงไปตามสายชนวนขี้ผึ้งซึ่งติดเอาไว้ก่อนแล้วนั้น ช่องหรือสายชนวนนี้จะเปรียบเสมือนท่อน้ำทองให้ไหลไปทั่วองค์พระปฏิมา

    เมื่อเททองสมบูรณ์แล้วจะปล่อยให้หุ่นพิมพ์เย็นลงแล้วจึงแกะดินที่ปั้นเป็นหุ่นออกให้หมด ยกองค์พระให้ตั้งขึ้นเริ่มขัดถูผิวให้เรียบตัดหมุดหรือ "ทวย" รวมทั้งสายขนวนออก หามีตำหนิก็จะมีการนำเศษทองที่เหลือตอกย้ำให้เสมอกัน หากปรากฏเป็นช่องว่างมากก็เททองเพิ่มให้เต็ม ที่เรียกว่า "เทดิน" บางครั้งจะใช้ยาซัดโลหะตามกรรมวิธีโบราณผสมลงในเบ้าหลอมด้วยเพื่อซัดเศษโลหะออกจากน้ำทอง ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อโลหะบริสุทธิ์

    ในบางครั้งจะมีการลงรักปิดทองจนทั่วองค์พระ โดยใช้ "รักสมุก" คือรักผสมผงถ่านบดละเอียด ป้ายรักสมุกกับองค์พระให้ทั่วและเรียบทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนขัดด้วยหินละเอียด จากนั้นชโลมด้วย "รักน้ำเกลี้ยง" และใช้ ทาองค์พระเพื่อปิดทองอีกครั้งหนึ่ง

    พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปที่เกิดจากการสร้างในลักษณะดังกล่าวโดยฝีมือ "ช่างหลวง" ที่มีฝีมือการหล่อพระถึงขั้นสุดยอดทำให้ได้องค์พระซึ่งมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทองคำแล่นบริบูรณ์ตลอดองค์โดยใช้เนื้อทองคำธรรมชาติบริสุทธิ์ ที่เรียกกันว่าทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา และแสดงให้เห็นถึงความแยบยล สามารถถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ถึง 9 ส่วน โดยมีกุญแจกลเป็นเครื่องมือในการถอดประกอบ นับเป็นฝีมือช่างชิ้นเอกอันยากจะหาฝีมือสกุลช่างใดทัดเทียมได้

    [​IMG]


    จากหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบัน ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรเดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย โดยมีข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 กล่าวถึง "พระพุทธรูปทอง" ความว่า "...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันรวม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม..."กลางเมืองสุโขทัยที่ปรากฏในจารึก หมายถึงวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและสังคมของสุโขทัยในอดีต โดยเฉพาะศาสนามีความรุ่งเรืองมากในสมัยพระธรรมราชาลิไท ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันสันนิษฐานว่าเป็นผู้แต่งศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2

    จากข้อความในศิลาจารึกซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น วัดมหาธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ มี พระพุทธรูปทอง พระอัฏฐารส หรือพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมวินิจฉัยในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" ความว่า

    "ตรวจดูคำจารึกหลักศิลาของพระเจ้ารามคำแหง ดู ก็น่าจะสันนิษฐานว่ากล่าวถึงวัดมหาธาตุนี้ "พิหารมีพระพุทธรูปทอง" นั้น น่าจะเป็นวิหารหลวงซึ่งประดิษฐานพระซศรีศากยมุนี"

    พระศรีศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังวัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร ในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งวิหารดังกล่าวเป็นวิหารหลวง เรียกว่าวิหารเก้าห้อง มีเสาศิลาเหลี่ยมขนาดใหญ่ค้ำเครื่องบน ซึ่งปัจจุบันปรักหักพังหมดแล้ว หากพิจารณาสภาพที่ปรากฏประกอบศิลาจารึกที่ 1 จะพบแท่นรองพระพุทธรูปนอกเหนือจากองค์ปราน ลดหลั่นกันไป จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้นน่าจะเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ มากกว่าจะเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ซึ่งพระพุทธรูปทองคำดังกล่าวก็คือพระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร ในปัจจุบันนั้นเอง

    นอกจากศิลาจารึกหลักที่ 1 แล้ว ยังมีหลักฐานที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำในสมัยสุโขทัยอีก เช่น ในศิลาจารึกบางหลักกล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปทองโดยพระมหาธรรมราชาลิไท หรือ ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ด้านที่ 3 กล่าวถึงการออกผนวชของพระองค์ ซึ่งประกอบพระราชพิธีต่อหน้าพระพุทธรูปทองคำ ดังความว่า"พระยาศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช หากสมาทานทศศีลเป็นดาบส หน้าพระพุทธรูปทองอันประดิษฐานไว้ เหนือราชมณเฑียรอันตนแต่ง เมื่อจักศีลนั้น พระยาศรีสริ(ย) พงศ์ราม (มหา) ธรรมราชาธิราชจึงจักยืนยอมือนบพระพุทธทองนบทั้งพระปิฏกไตร"
    จากหลักฐานที่ปรากฏอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความประณีตของพุทธศิลปะ ความแยบยลของส่วนประกอบที่ทำเป็นกุญแจกล ความทรงค่ามหาศาลของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ เป็นสิ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดทำขึ้นได้ นอกจากพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงมีพระบรมโพธิสมภารอันยิ่งใหญ่ จึงจะหล่อสร้างพระปฏิมาที่ล้ำเลิศเช่นนี้ได้สำเร็จ

    องค์พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรถูกหุ้มห่ออยู่ในปูนเป็นระยะเวลายาวนาน อาจกล่าวได้ว่า ผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อน พ.ศ. 25498 มิได้ทราบเลยว่าภายในพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ได้ซุกซ่อนพุทธปฏิมาอันงามล้ำเลิศและทรงค่ามหาศาล

    การพอกปูนปิดองค์พระสำคัญไว้ เป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้คนในสังคมไทยสมัยก่อน ที่ต้องการพิทักษ์ปกป้ององค์พระพุทธรูปและพุทธศาสนาไว้จากภัยอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะพบเห็นชัดเจนในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ที่พม่าได้สุมไฟลอกเอาทองจากองค์พระศรีสรรเพชญไปจนหมดสิ้น ผู้คนได้พยายามปกปิดหรือเคลื่อนย้ายองค์พระสำคัญ ๆ หลายต่อหลายองค์ จนเกิดเป็นตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ ที่ชาวบ้านช่วยกันนำองค์พระใส่แพไม้ไผ่อพยพหลบหลีกข้าศึก

    สำหรับ "หลวงพ่อทองคำ" องค์นี้ มีข้อสันนิษฐานว่า การพอกปูนปิดองค์พระพุทธรูปคงจะกระทำขึ้นก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ. ศ.2325 และอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ รวมทั้งเอกสารสมัยอยุธยาไม่มีข้อความที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำองค์นี้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพอกปูนปิดองค์พระอาจกระทำมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเริ่มถูกครอบงำจากอำนาจของกรุงศรีอยุธยา และเสื่อมอำนาจลงอย่างสิ้นเชิงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรลกนาถ จึงเป็นไปได้ที่คนสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจพบเห็นเพียงองค์พระปูนปั้นประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุ สุโขทัย เรื่อยมา

    จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นสมัยที่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจาหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงเทพมหานคร มากกว่า 1,248 องค์ พระพุทธรูปปูนปั้นที่หุ้มองค์หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตรไว้ คงจะถูกอัญเชิญมาในคราวเดียวกันนี้ ซึ่งโปรดฯให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีพระประธานวัดมหาธาตุ สุโขทัย มาประดิษฐานที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และโปรดฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ ณ พระระเบียงวัดพระเชตุพนฯ ก่อนที่จะถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระยาไกร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในปัจจุบันพระพุทธรูปสุโขทัยไตรมิตร หรือหลวงพ่อทองคำประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและต่างประเทศที่หลั่งไหลกันเข้ามาชมความงดงามแห่งองค์พระปฏิมา ที่ทำจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอันประเมินค่ามิได้

    นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งประเทศต่อมรดกแห่งอารยธรรมไทยที่ยิ่งใหญ่งดงาม อันเป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งโรจน์แห่งพุทธศิลปะ ฝีมือช่าง และพลังแห่งศรัทธาในบวรพุทธศาสนาที่สืบเนื่องเรื่อยมาจากอดีตจวบปัจจุบัน และเรื่อยไปยังอนาคตกาล

    [​IMG]


    วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

    ประวัตินามของวัด
    วัดไตรมิตรวิทยารามเป็นวัดโบราณ สร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมชื่อว่าวัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่า วัดสามจีนมีอยู่สามวัดคือ วัดสามจีนที่อยู่ในคลองบางอ้อ ด้านตรงข้ามกับวัดเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางท่านก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหมได้แก่ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรีนั้น ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีนก็เนื่องด้วยว่ามีชาวจีน 3 คน ได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมา จึงได้นามว่า "วัดสามจีน"

    ในปี พ.ศ. 3482 ได้เปลี่ยนนามวัดสามจีนใต้มาเป็นวัดไตรมิตรวิทยารามทั้งนี้เพื่อจะเฉลิมเกียรติคุณ ของท่านแรกสร้างให้ยั่งยืนวัฒนายิ่งขึ้น และเป็นการเชิดชูอุตสาหะวิริยะของท่านผู้สร้างและคณะกรรมการ ปรับปรุงวัดพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี มหาเถร) วัดมหาธาตุ ได้เมตตาคิดค้นนามที่เป็นมงคลมาเฉลิมเพิ่มความสง่าให้แก่วัดสามจีนใต้ โดยเปลี่ยนเป็น "ไตรมิตรวิทยาราม" และกรมสามัญศึกษาได้เปลี่ยนนามโรงเรียนวัดสามจีนใต้เป็น "โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย" ตามนามวัดที่ได้เปลี่ยนใหม่ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2482 และเพื่อให้ปรากฏเป็นหลักฐานไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ทราบถึงเหตุที่ได้เปลี่ยนนามวัด ขออัญเชิญสัมปสาทนียกถาของพระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารีมหาเถร) ซึ่งได้กล่าวอนุโมทนาในวันเปิดป้ายวัด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ดังต่อไปนี้

    ชั้นและที่ตั้งวัด
    วัดไตรมิตรวิทยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 661 ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร

    เขตและอุปจารวัด
    วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมมีพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังโดยทั่วไปปัจจุบันนี้ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมด เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วทั้งภายในวัด และมีเขตอุปจารวัด ดังนี้
    ทิศเหนือ จรดกับถนนพระราม 4
    ทิศใต้ จรดกับถนนตรีมิตร
    ทิศตะวันออก จรดกับซอยสุกร
    ทิศตะวันตก จรดกับถนนเจริญกรุง

    ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์
    วัดไตรมิตรวิทยารามมีเนื้อที่ของวัดทั้งสิ้น 14 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา ปรากฏตามโฉนดที่ 3364 และมีที่ธรณีสงฆ์อีก 1 ตารางวา กับ 1 ตารางศอก ตามโฉนด 3551

    สัมปสาทนียกถาของสมเด็จพระวันรัต
    ตามรายงานการปรับปรุงวัดสามจีนใต้ที่พระมหาเจียนบรรยายมานั้นฟังได้ว่า วัดนี้ได้เริ่มการปรับปรุงมาตั้งแต่พระมหากิ๊ม สุวรรณชาติ เป็นผู้รักษาการในหน้าที่เจ้าอาวาส พ.ศ. 2477 โดยคณะกรรมการมีท่านอธิบดีกรมพลศึกษาเป็นประธาน ปรับปรุงขึ้นด้วยศาสนสมบัติของวัดและกำลังความสามารถอุตสาหะของคณะกรรมการเป็นอย่างดียิ่ง วัดนี้เปลี่ยนภาวัดมาเป็นอย่างไร ปรากฏอยู่ในรายงานและประจักษ์แก่ท่านทั้งหลายที่ได้มาประชุมกันอยู่นี้ คณะกรรมการปรับปรุงวัดนี้สมควรได้รับความสรรเสริญอย่างสูงและน่าปรีดาปราโมทย์อย่างยิ่งที่ได้ปฏิบัติงานลุล่วงมาถึงเพียงนี้ และงานนี้ก็เป็นการศาสนาและส่วนรวมของประชาชน งานแม้จะยากลำบากหรือประกอบด้วยอุปสรรคสักเพียงไรก็ตาม อาศัยอุตสาหะความอดทน ความบากบั่นฝ่าฟันอุปสรรคทำจนสำเร็จผล ย่อมเป็นกุศลบำรุงกมลให้ปลาบปลื้มชื่นบาน จัดเข้าในพุทธบรรหารธรรมภาษิต ความว่า บัณฑิตผู้มีความอิ่มใจอาศัยธรรมคือความประพฤติที่ชอบ ย่อมมีใจผ่องใสอยู่เป็นสุขทุกอิริยาบถ สำหรับคณะกรรมการปรับปรุงวัดนี้เข้าใจให้สดชื่นแจ่มใสเป็นสุขสำราญทั้งชาตินี้และชาติหน้า ยังเป็นเหตุอุปถัมภ์จิตใจของประชาชนผู้มีจิตเที่ยงธรรมที่ได้มาเห็นให้ปรีดาปราโมทย์ เป็นความเห็นที่เชิดชูวิญญาณให้แจ่มใส ยิ่งกว่านี้จะเป็นสารประโยชน์ส่วนรวมในศีลธรรมและวิชาความรู้เชิดชูประเทศชาติศาสนาอยู่สิ้นกาลนาน ท่านผู้สร้างวัดนี้ถ้าได้ทราบโดยญาณวิถีทางใดทางหนึ่ง หวังว่าคงอนุโมทนาสาธุด้วยอย่างแน่นอน นี่ก็เป็นปัจจัยสโมสรเพิ่มพูนบุญกุศลแก่ท่านผู้สร้างขึ้นอีกมิใช่น้อย เพราะวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองถึงเพียงนี้ สมควรที่จะเปลี่ยนนามใหม่ เชิดชูเกียรติของท่านผู้สร้างและอุปถัมภ์ วัดนี้ชื่อว่าวัดสามจีน เข้าใจกันโดยมากก็ว่าจีน 3 คน เป็นผู้สร้าง จีน 3 คน นั้นจะเป็นญาติกันหรือมิใช่ก็ตาม แต่ต้องเป็นมิตรรักใคร่สนิทสนมกัน จนถึงร่วมใจกันสร้างวัดซึ่งเป็นวิหารการบุญใหญ่ ทั้งวัดนี้ก็ตั้งเป็นสำนักเรียนธรรมวินัยและบาลี ทั้งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนภาษาไทยรัฐบาลถึงมัธยมชั้นสูง ทั้งมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยสถานศึกษาทั้งครูและนักเรียน จึงตั้งนามใหม่ว่า "วัดไตรมิตรวิทยาราม" ขอให้วักไตรมิตรวิทยารามนี้จงสมบูรณ์มั่งคั่งด้วยวิชาความรู้ทั้งคดีโลก คดีธรรม พร้อมด้วยความปฏิบัติศีลธรรมทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ขอสุขสวัสดิอิฏฐวิบุลผล จงสำเร็จแก่ท่านผ็สร้างและกรรมการปรับปรุงวัดนี้ พร้อมด้วยสหธรรมมิกบริษัททั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต และท่านที่มาประชุมกันอยู่นี้ทั่วกันทุกท่านเทอญ ฯ

    [​IMG]


    วัดไตรมิตรวิทยารามก่อนการบูรณะปรับปรุง
    สภาพวัดไตรมิตรวิทยารามครั้งนั้นนามว่า วัดสามจีนใต้ สภาพบริเวณทั่ว ๆ ไปในบริเวณวัดนั้นเต็มไปด้วยสิ่งโสโครก ดังที่ได้ปรากฏเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงสุขลักษณะ วัดสามจีนใต้วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ความตอนหนึ่งว่า"เวลา 10.00 น. ผู้มาประชุมได้มาพร้อมกันแล้ว ท่านเจ้าอาวาสขอให้นายสนิท เทวินทรภักดิ พาคณะกรรมการดูสถานที่" วัดนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลสามแยก อำเภอสัมพันธ์วงศ์ จังหวัดพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
    ทิศเหนือ จรดกำแพงหลังตึกแถวพระราม 4
    ทิศตะวันตก จรดที่ดินพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ส่วนหนึ่ง แล้วต่อมาติดกำแพงหลังตึกแถวถนนกลันตั
    ทิศใต้ จรดกำแพงหลังตึกถนนเจริญกรุง
    ทิศตะวันออก จรดแนวคลองวัดสามจีนใต้ ซึ่งกรมโยธาเทศบาลกำลังจักถมอยู่แล้วย่อหักมุมไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวคูวัด ซึ่งราษฎรที่เช่าตึกแถวทางถนนหน้าโรงฆ่าสุกรหัวลำโพงได้ปลูกเพิงรุกล้ำเนื้อที่คูเป็นที่สาธารณะนี้ออกมารกรุงรัง เพื่อเป็นที่พักสุกรสำหรับส่งเข้าโรงฆ่า

    สิ่งที่ปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่
    ด้านทิศเหนือ มีโรงเรียนเป็นตึก 3 ชั้น กำลังปลูกอยู่ ถัดไปถึงประตุและถนนทางเข้าแล้วจึงถึงที่ดินผืนหนึ่ง ที่วัดให้มีผู้เช่าตัดตอนไปปลูกเป็นห้องแถวชั้นเดียวเตี้ย ๆ หลายแถวให้บุคคลเช่าอาศัยอยู่ ห้องแถวเหล่านี้หลังคาฝาและพื้นชำรุดทรุดโทรม ปุปะ เบียดเสียดยัดเยียดกัน มีซอกทางเดินแต่เพียงไม่เกิน 1 เมตร แถมมีน้ำโสโครกขังเฉอะแฉะอยู่ที่ถนนและข้างถนนใต้ท้องแถวเหล่านี้ทั่วไป มีฝูงเป็ดและสุกรหาอาหารระเกะระกะ ผู้มีอาชีพในการกระทำเส้นบะหมี่ ได้ตากเส้นบะหมี่ไว้หน้าห้องแถวเลอะเทอะตลอดไป ที่หาบของเร่ขายได้วางสิ้นค้าไว้ ที่ทำขนมก็มีเศษอาหารทิ้งเกลื่อนกล่น แมลงวันตอมเป็นหมู่ใหญ่ สภาพของบริเวณนี้นอกจากทำให้สภาพที่โสมมเพาะเชื้อโรคแล้ว ยังเป็นบริเวณที่ซึ่งมิบังควรจะอยู่ในที่ของลานวัดใกล้กุฏิพรภิกษุถึงเพียงนี้ อันจะเป็นเหตุนำความเสื่อมเสียแก่พุทธศาสนาเป็นอันมาก

    ถัดไปเป็นที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักพงศ์ มีห้องแถวชั้นเดียวหลายแถว สภาพของห้องแถว ผู้อาศัยเช่า และพื้นที่มีลักษณะอย่างเดียวกับห้องแถวที่ปลูกอยู่ในที่วัด ซ้ำมือครึ้มและอบอ้าว กรรมการทุกท่านเมื่อสำรวจพื้นที่เหล่านั้น จึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า สมควรให้รื้อเพื่อเปลี่ยนแปลงสนถนที่นี้ให้มีสภาพและใช้ประโยชน์ให้ถูกทางจนดีขึ้น

    ต่อจากห้องแถวในที่ดินทั้งสองแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว มีทางเดินกว้างประมาณเมตรเศษ กับรั่วเตี้ย ๆ กันอยู่ครึ่งหนึ่ง เป็นกุฏิบ้าง หอระฆังบ้าง ศาลาบ้าง หอสวดมนต์บ้าง หอฉันบ้าง หอไตรบ้าง ปลูกสลับซับซ้อน สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่เป็นแถวเป็นแนว ระเกะระกะชำรุดทรุดโทรมเก่าคร่ำคร่า ปะปะราวไหลจนเหลือที่จะซ่อมให้ดีได้ ปลูกตลอดไปหลายหลังจนจรดแนวหลังตึกทางด้านถนนเจริญกรุง มีสิ่งปลูกสร้างที่มีเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ซ้ำมีกุฏิที่เอียงกระเท่เร่อีกหลายหลังจนไม่น่าไว้ใจที่ใช้เป็นที่อาศัยของพระภิกษุกุฏิชนิดนี้มีปลูกตลอดมา จนจรดแนวคลองข้างวัดสามจีน

    ถัดจากนี้ ตอนกลางคือโบสถ์ หมู่เจดีย์ แล้วถึงลานแคบ ๆ ข้างโบสถ์ทางแนวริมคลองต่อไป มีศาลาหลังหนึ่งมีฝาด้านเดียว อีกสามด้านไม่มีฝาใช่สงบจีวรเก่า ๆ แขวนนุงนังบังแดด ที่นี้ใช้เป็นที่อาศัยของพระภิกษุด้วย

    ถัดจากศาลานี้ไป เป็นที่เก็บศพและเผาศพด้วยเตาใหญ่ ใช้ฟืน มีปล่องระบายควัน
    ถัดไปถึงเจดีย์องค์ใหญ่ถึงโรงเรียน 2 ชั้น ข้างล่างก่ออิฐ ข้างบนเป็นไม้ ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของวัดสามจีน บริเวณทั้ง 3 หลังนี้ ได้กันรั้วกันเขตไว้ กำลุงจัดการถมรื้อถอนถากถางก่อสร้างจัดทำเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ จะเห็นได้ว่า สภาพของวัดสามจีนในเวลานั้นมีสภาพอย่างไร คณะกรรมการปรับปรุงลักษณะวัดสามจีนในครั้งนั้น มีนายนาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.ท.อธิบดีกรมพลศึกษา เป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุง คณะกรรมการปรับปรุงวัดสามจีนได้เริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ในระยะแรกได้พบอุปสรรคมากมายหลายประการ ต่อมาใน พ.ศ. 2480 จึงได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ดำเนินการจัดการรื้อถอนห้องแถวรุงรังในลานวัด และกุฏิเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมออกเสีย แล้วจัดการถมพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มตลอดคลองคูและสระให้เป็นที่สะอาดราบเรียบเพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างเสนาสนะสงฆ์ โรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้ วัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรจึงได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยมา
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดบุญวาทย์วิหาร อำเภอเมือง จ.ลำปาง

    [​IMG]


    วัดบุญวาทย์วิหาร อำเภอเมือง จ.ลำปาง

    วัดบุญวาทย์วิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนบุญวาทย์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จ.ลำปาง เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นวัดหลวงวัดแรกของจังหวัดลำปาง เป็นวัดที่มีพื้นที่แคบมาก เดิมชื่อวัดกลางเมือง เป็นวัดที่ใช้ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้านายมาแต่โบราณ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๗ สมัยเจ้าหลวงคำโสมผู้ครองนครลำปางได้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหลวงไชยสัณฐาน ต่อมาเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง เห็นความทรุดโทรมลงมากจึงรื้อแล้วสร้างใหม่ และให้หล่อพระประธานองค์ใหม่คือ พระเจ้าตนหลวง แล้วเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดบุญวาทย์บำรุง

    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ วัดบุญวาทย์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงสามัญชั้นตรี และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดบุญวาทย์วิหาร

    วิหารหลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ มีลักษณะเป็นอาคารทึบ หลังคาจั่วฐานสูงกว่าวิหารล้านนา ซึ่งได้รับแบบจากวิหารในกรุงเทพ ฯ ตกแต่งภายในด้วยลายไทยภาคกลาง เหลือร่องรอยศิลปะล้านนาอยู่เพียงบางส่วน เช่น ตุงกระด้าง และค้ำยันซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะนำมาจากวิหารหลังเดิม

    ความสำคัญ วัดแรกของจังหวัดลำปาง เป็นวัดที่ใช้ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้านายมาแต่โบราณ

    [​IMG]


    อุโบสถ วัดบุญวาทย์วิหาร เดิมเป็นวิหาร แล้วถูกแปลงเป็นอุโบสถในภายหลัง มีประวัติว่า เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครงอนครลำปาง ให้รื้อพระวิหารหลวง หอไตร กุฏิ และกำแพงวัดทั้งหมด แล้วให้ หลวงประสานไมตรีราษฎร ผู้เป็นนายช่าง ไปลอกแบบอย่างพระอามหลวงในกรุงเทพฯมาสร้างใหม่

    [​IMG]


    จิตรกรรมฝาผนังตามแบบอย่างกรุงเทพฯ โดย นายจันทร์ จิตรกร
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร

    [​IMG]


    วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร

    ที่ตั้งและอาณาเขต
    วัดมังกรกมลาวาส ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๔๒๓ ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21
    - ทิศเหนือ ติด วัดคณิกาผล
    - ทิศใต้ ติด ถนนเจริญกรุง
    - ทิศตะวันตก ติด ถนนมังกร
    - ทิศตะวันออก ติด ซอยเจริญกรุง 21


    ลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม

    วัดมังกรกมลาวาส มีชื่อจีน “ วัดเล่งเน่ยยี่ ” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า “ เล่ง ” แปลว่า มังกร , คำว่า “ เน่ย ” แปลว่า ดอกบัวและคำว่า “ ยี่ ” แปลว่า อารามหรือวัด ทางด้านหน้าของวัดติดกับถนนเจริญกรุงนั้น เป็นบริเวณย่านการค้า ของชาวไทยเชื้อสายจีนตลอดสาย ด้านหน้าทางเข้าวัดมีร้านขายของเครื่องเซ่นไหว้และขนมต่างๆ เมื่อเดินเข้ามาภายในบริเวณวัดจะเป็นลานกว้าง ด้านหน้าจะเป็นวิหารท้าวจตุโลกบาล ทางด้านขวามือจะเห็นศาลเจ้า ส่วนทางด้าน ซ้ายมือจะมีศาลา และเมื่อหันหลังกลับไปจะเห็นตึก 9 ชั้น ที่มีชื่อว่า “ ตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรม ” ซึ่งเริ่มก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ภายใต้การควบคุมของวิศวกรรมยุทธโยธากองทัพบกและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะจีนตึกนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ และมี โรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2533 โดยพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ( ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมสายสามัญศึกษาของวัดมังกรกมลาวาสที่มีการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 และยังเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทยอีกด้วย

    สถาปัตยกรรมของวัดมังกรกมลาวาสนั้น เป็นการวางผังตามแบบลักษณะสถาปัตยกรรมจีนทางตอนใต้ โดยมีลักษณะแบบสกุลช่างแต้จิ๋วเป็นหลัก การวางผังถืดตามแบบพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ตัวอาคารจะวางล้อมลานเรียกว่า “ ซี่เตี่ยมกิม ” เป็นแบบ เฉพาะของตัวอาคารพื้นถิ่นแต้จิ๋ว การจัดวางวิหารถือตามแบบวังหลวง โดยมีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก อุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังพระอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ตัวอาคารทั้งหมดในวัดประกอบด้วยอิฐและไม้ เป็นโครงสร้างสำคัญ โดยเฉพาะโครงสร้าง

    หลังคาวิหารท้าวจตุโลกบาล แสดงโครงสร้างคานขื่อตามแบบแต้จิ๋วอย่างสวยงาม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบจีนโบราณ มีการประดับตกแต่งอาคารด้วยกระเบื้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ประกอบด้วยลวดลายสิริมงคลตามความเชื่อจีน มีการวาดลวดลาย และแกะสลักลวดลายปิดทองอย่างสวยงาม

    หน้าประตูวัดมีป้ายจารึกชื่อวัดเป็นภาษาไทยว่า “ ทรงพระราชทานนามวัดมังกรกมลาวาส ” และมีป้ายสีแดงภาษาจีนทำ จากไม้ที่เป็นลายมือของพระอาจารย์สกเห็ง ( เจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ) ประตูทางเข้าทั้งสองด้านมีป้ายแขวนคำโคลงคู่มีความ หมายว่า

    - ป้ายด้านซ้ายมือ หมายความว่า “ มังกรเหินสู่สวรรค์ ณ ถิ่นนี้ ”
    - ป้ายด้านขวา หมายความว่า “ ประทุมประทีปส่องสว่างกลางเวหา ”

    โคลงนี้เป็นโคลงที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยจักรพรรดิกวงซื่อ ในปี ค.ศ. 1879 และถือได้ว่าเป็นงานศิลปะด้านการเขียน ลายมือจีนที่มีค่ามากชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้ภายในวัดยังมีป้ายที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 100 ปี ที่กล่าวถึงปรัชญาต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง

    ภายในอุโบสถของวัดมังกรกมลาวาสเป็นที่ประดิษฐานของพระประธานของวัด คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า และ วิหารด้านหน้า ประดิษฐานท้าวจตุโลกบาลข้างละ 2 องค์ เป็นรูปหล่อปูนเขียนสีแต่งกายแบบนักรบจีน ส่วนด้านข้างเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อของ ลัทธิเต๋าและเทพเจ้าพื้นเมืองของจีน เช่นเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี๊ยะ) เทพเจ้าแห่งยา (เซียงซือกง) เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ) และยังมีรูป 18 พระอรหันต์ตั้งอยู่ทั้งสองข้างของวิหาร ซึ่งรวมเทพเจ้าได้ทั้งหมด 58 องค์

    นอกจากนี้ภายในอุโบสถ ของวัดยังมีตู้เก็บป้ายวิญญาณของครอบครัวที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้างวัดอีกด้วย ซึ่งจะมีการสวดมนต์ให้ในวันครบรอบวันเสียชีวิตและเทศกาลต่างๆ โดยทางครอบครัวจะเป็นผู้กำหนด

    [​IMG]


    ประวัติความเป็นมาของวัดมังกรกมลาวาส

    วัดมังกรกมลาวาส เดิมชื่อ วัดเล่งเน่ยยี่ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๔๓๒ ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช) รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงกรุณาโปรดกล้าฯ ให้เลือกชัยภูมิที่ตั้งวัดเนื้อที่ ๔ไร่ ๑๘ ตารางวา โดยให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐีเจ้ากรมท่าซ้ายร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจีนก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๔ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ ๘ ปี จึงแล้วเสร็จให้ชื่อว่า “เล่งเน่ยยี่” ซึ่งมีความหมายคือ เล่ง แปลว่า มังกร เน่ย แปลว่า ดอกบัว ยี่ แปลว่า อาราม วัด
    การตั้งชื่อวัดตั้งตามหลักโบราณจีนคือการตั้งตามชัยภูมิ ฮวงจุ้ย ทำเลนั้นๆ ซึ้งนับเป็นสังฆารามตามลัทธินิกายมหายานที่มีศิลปะงดงามและใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทยซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานพระกรุณาโปรดกล้าฯจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว(พระปิยมหาราช) รัชกาลที่ ๕ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดมังกรกมลาวาส” โดยได้อาราธนาพระอาจารย์สกเห็งเป็นเจ้าอาวาส และทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระอาจารย์สกเห็ง เป็นพระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกในประเทศไทย และเป็นปฐมบูรพจารย์ของวัดมังกรกมลาวาส ท่านเป็นพระที่มีความเมตตา เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านทราบว่าชีวิตของท่านจะดับขันธ์จึงเจริญวิปัสสนาจนหมดลมปราณและมรณภาพในอิริยาบถนั้น
    กาลต่อมาเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ พระอาจารย์กวยหงอ ได้สร้างหอไตรปิฎก และกุฏิเจ้าอาวาสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้รบพระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่
    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ พระอาจารย์โล่วเข่ง ได้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถและพระพุทธรูปในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับพระราชทานสมณคักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๓

    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ พระอาจารย์ฮวบจง ได้สร้างเจดีย์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ แต่เนื่องจากท่านเดินทางกลับไปยังประเทศจีน เพื่อรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน่ำฮั่วยี่ จึงไม่ทันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์

    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ พระอาจารย์ย่งปิง ได้สร้างศาลาบุญโญทัยในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร รักษาการเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๔

    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ พระอาจารย์เซี่ยงหงี ได้บูรณปฏิสังขรณ์ภาในวัด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์วังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๕

    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ พระอาจารย์โพธิ์แจ้ง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราชให้เป็นอุปัชฌาย์รูปแรกแห่งจีนนิกายในปี พ.ศ.๒๔๙๓ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชทรงมีบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ และได้เลื่อนสมณคักดิ์จากหลวงจีนคณาณัติจีนพรต เป็นที่พระอาจารย์ธรรมสมาธิวัตรเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๖ ซึ่งได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดจนได้รับปรับปรุงระเบียบการบรรพชาอุปสมบท ฝ่ายจีนนิกายให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์วังสสมาธิวัตรพุทธบริษัทจีนเนตาในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้บูรณปฏิสังขรณ์โดยใช้โมเสคติดผนังทั้งหมดและพื้นขัดหินอ่อนหลังจากนั้นได้สร้างตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรมสูง ๙ ชั้น เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะสงฆ์จีนเป็นล้นพ้น อีกทั้งเพื่อเป็นกิตยานูสรณ์เฉลิมพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๒ ปี ๔ เดือน จึงแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐

    คณะสงฆ์จีนนิกายและคณะกรรมการจัดงานได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรม “หอพิพิภัณฑ์วัตถุธรรม วัดมังกรกมลาวาส” เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ อีกทั้งยังได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้อันเชิญพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” ประดิษฐานที่พระกริ่งไวโรจนพุทธ เพื่อมอบแก่พุทธศาสนิกชนผู้บริจาคทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิแจ้งมหาเถระ) เสมอด้วยชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนา

    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ พระอาจารย์เย็นเจี่ยว ได้ช่วยดูแลควบคุมการก่อสร้างตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการ ไพศาลสมณกิจ

    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๙ องค์ปัจจุบัน พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ( ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว ) ท่านเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์โพธิ์แจ้งมหาเถระเจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ มารับตำแหน่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวินยานุกรท่านได้วางแบบพัฒนาปรับปรุงระบบต่างๆ ของวัด ทั้งด้านบุคคลและวัตถุให้เป็นระเบียบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการ ไพศาลสมณกิจท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด ตลอดจนสร้างกุฏิสงฆ์และหอฉันในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้บูรณะปฏิสังขรวิหารและองค์ท้าวจตุโลกบาล ในปีถัดมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจ ท่านอาจารย์ก็ยังคงพัฒนาและปรับปรุงเสนาสนะต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ท่านได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ( โรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย ) วัตถุประสงค์เพื่อสร้างศาสนทายาท ตลอดจนให้โอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาสและเป็นการช่วยรัฐและสังคมทางหนึ่ง

    จะเห็นได้ว่าอาจารย์เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ให้ความต่อการพัฒนาบุคคล เพื่อจะเป็นกำลังของศาสนาและสังคมโดยส่วนรวมต่อไปในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจประสิทธิ์สิริมงคลคุณาภิวัฒน์ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ไพศาลสุนทรสมณกิจ สิริมงคลประสิทธิ์คุณาภิวัฒน์ พุทธบริษัทจีนวิเนตา จริยคุณของท่านอาจารย์จึงนับว่าได้ฟื้นฟูวัดมังกรกมลาวาสให้เจริญรุ่งเรืองและสืบทอดบวรพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาลด้วยวิริยคุณเป็นเอนกอนันต์ตลอดจนเป็นคุณประโยชน์แก่บรรดาพุทธบริษัทตลอดกาล

    [​IMG]


    ประวัติสังเขป
    พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว)
    รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร


    พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ มีนามฉายาว่า เย็นเชี้ยว เกิดในตระกูลแซ่เจียม มีภูลำเนาเดิมอยู่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร บิดาท่านชื่อ นายยุ่นฮะ แซ่เจียม มารดาท่านชื่อ นางซิ้วเกียว แซ่ลี้ เชื้อชาติจีน (จีนแต้จิ๋ว) มณฑลกวางตุ้ง สัญชาติไทย

    เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ปัจจุบันมีอายุ๖๔ ปี บรรพชาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ วัดโพธิ์เย็น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมังกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

    พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นที่แตกฉาน ว่างจากกิจวัตรประจำวันแล้ว ก็ยังค้นคว้าศึกษาวิชาความรู้ต่างๆ ชอบการกุศล เจรจาไพเราะ มีกำลังใจกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากทั้งหลายเคร่งครัดระเบียบวินัย อยู่ในสัมมาปฏิบัติเป็นพระอาจารย์อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรเป็นเวลากว่า ๑๕ ปี เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารสูง มีปณิธานที่จะพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของสาธุชนทั้งหลาย

    [​IMG]


    พระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร (สกเห็ง) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๑
    ปฐมบูรพาจารย์ของคณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทย

    ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งแต่เดิมนั้นดินแดนแห่งนี้ยังเป็นของชน ๓ ชาติ คือ ขอม มอญ ละว้า

    ในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ชนชาติไทยได้อยู่ในน่านเจ้าในจีนเวลานั้นขุนหลวงเม้ากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ก็ได้รับนับถือพระพุทธศาสนามหายานจากพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ กษัตริย์จีนในสมัยนั้น พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่นั้นมา

    ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ พระพุทธศาสนามหายานในอาณาจักรน่านเจ้ากำลังรุ่งเรือง ต่อมาในราสพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อกุบไลข่านกษัตริย์ชาติมองโกลได้นไทัพเข้าตีอาณาจักรน่านเจ้าแตกแล้วชนชาติไทยก็ได้อพยพลงมาตามลำน้ำสาละวินและแม่น้ำโขงพวกหนึงได้เข้ามาสู่แคว้นสุวรรณภูมิที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า "ประเทศไทย" ต่อมาได้รวมกำลังกับชนชาติไทยที่เข้ามาอยู่ก่อนหน้านั้นโดยได้ผู้นำที่เข้มแข็งสองท่าน คือ ขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดอและขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้นำทัพเข้าตีขอมและสถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัยใน พ.ศ. ๑๘๐๐ ราษฎรทั้งหลายจึงยกขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "ขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งในเวลานั้นพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นแบบมหายานและได้เปลี่ยนมาเป็นเถรวาทหมด ในสมัยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ที่ ๓ แห่งกรุงสุโขทัย ถึงกระนั้นก็ตามอิทธิพลของมหายานก็ยังมีอยู่แต่ไม่แพร่หลานเหมือนเดิม ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ชาวจีนได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นลำดับมาดังนั้นจึงเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบมหายานเริ่มมีบทบาทตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    จนถึงสมัยกรุงธนบุรี วัดวาอารามทางมหายานได้ถูกสร้างขึ้นโดยการนำของพระสงฆ์จีนและญวน เมื่อสิ้นสมัยกรุงธนบุรีแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - ๔ วัดทางมหายานได้ถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่น้อยกว่า ๑๐ วัดขึ้นไป จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๕ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ท่านทรงเล็งเห็นความสำคัญองชาวจีนและวัดจีนมหายาน ครั้นได้สร้างวัดเล่งเน่ยยี่ขึ้น ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดมังกรกมลาวาส" ซึ่งยังความปีติยินดีในหมู่ชนชาวจีนหาที่สุดมิได้ และในสมัยเดียวกันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ให้กับพระสงฆ์จีนมหายานรูปแรกคือ "พระอาจารย์วังสมาธิวัตร"(สกเห็ง) และได้พระราชทานตำแหน่งสมณศักดิ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับต่อมา

    จนกระทั่งในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอคุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้ คณะสงฆ์จีนก็ได้มีความเจริญเติบโตขึ้นจนมีการก่อสร้างวัดขึ้นในปี ๒๔๙๓ และเป็นวัดแรกที่ได้ทำการผูกพัทธสีมาซึ่งสามารถไห้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในประเทศไทยต่อมา นอกจากนี้ยังมีวัด โพธฺ์แมนคุณาราม วัดโพธฺ์ทัตตาราม วัดมังกรบุปผาราม ล้วนเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๙ และในโอกาศเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา คณะสงฆืจีนนิกายนำโดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) และขนชาวจีนภายไต้บรมโพธิ์สมภาร ต่างพร้อมใจกันสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติและต่อมาวัดดังกล่าวก็ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดบรมราชากาญจนาภิกเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์" ตั้งอยู่ ณ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จะเห็นได้ว่า ความเจริญรุ่งเรืองของคณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทยอยู่ภายไต้พระบรมชูปถัมภ์มาโดยตลอด ในฐานะที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ล้วนทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นมัสการ หลวงพ่อขาว วัดพระขาว นครราชสีมา

    [​IMG]


    นมัสการ หลวงพ่อขาว กลางป่าเขียว วัดพระขาว จังหวัดนครราชสีมา

    ถ้าเอ่ยถึงหลวงพ่อขาว หลายคนคงนึกถึงพระเกจิอาจารย์สักรูปอันเป็นที่เคารพนับถือในวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ถ้าถามถึงหลวงพ่อขาวกับชาวโคราชแล้ว คนเมืองนี้ส่วนใหญ่หากไม่ร้องอ๋อ!?! ก็อาจจะพยักหน้าหงึกๆยืนยันว่ารู้จักดี เพราะหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปสีขาวนวลองค์มหึมาที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนริมยอดเขา ในวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดพระขาว”

    วัดพระขาว ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันพิสุทธิ์ร่มรื่นเขียวครึ้ม ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าหรือ เขาเทพพิทักษ์ หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นจากดำริของ พระอาจารย์ท่านพ่อลี (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) ในปี พ.ศ. 2510 และแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2512 ปัจจุบันมี “พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต” เป็นเจ้าอาวาส

    วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะเป็นที่ประดิษฐาน“พระพุทธสกลสีมามงคล” (ชื่อพระราชทาน)หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” ตามรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะหลายกิโลเมตร

    หลวงพ่อขาว เป็นการสร้างขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร พระพุทธรูปปางประทานพรที่มีพุทธลักษณะอันงดงามคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย โดยองค์หลวงพ่อขาว หล่อด้วยคอนกรีตทั้งหมดมีน้ำหนักถึง 3000 ตัน หน้าตักกว้าง 13 วา สูงจากพื้นดิน 112 เมตร

    [​IMG]


    หลวงพ่อขาวจำลอง

    ทั้งนี้ผู้ที่จะไปสักการะหลวงพ่อขาวอย่างใกล้ชิดแบบถึงที่ก็ต้องเดินขึ้นบันไดไป โดยมีให้เลือกทั้งบันไดด้านซ้ายและด้านขวา ที่จำนวนขั้นบันไดทั้ง 2 ด้าน นับรวมกันได้ 1,250 ขั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขมงคลที่ทางวัดนำมาจากจำนวนพระสงฆ์ที่มาประชุมกันมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชานั่นเอง

    สำหรับผู้ที่มีศรัทธาแรงกล้า(และกำลังขาที่แข็งแรง)ก็เมื่อขึ้นไปนมัสการหลวงพ่อขาวเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตแล้ว ก็ไม่ควรพลาดการชมวิวมุมสูงของเมืองโคราชที่บนนั้นด้วย นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆกับที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาวยังมีทางเดินป่าเล็กๆ ทอดยาวสู่“ถ้ำหมี” ที่หลวงปู่เมตตาหลวง(พระญาณสิทธาจารย์ ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระขาวใช้ในการบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำ

    ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแต่ไม่ค่อยจะมีแรง หรือเป็นประเภทไม่นิยมความสูง ในอุโบสถหรือบริเวณทางขึ้นเขาก็มีหลวงพ่อขาวจำลององค์เล็กไว้ให้ได้สักการะบูชา ซึ่งใครที่เดินทางจากกรุงเทพฯผ่านไปทางปากช่องหากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะเวียนเข้าไปซึมซับธรรมชาติและธรรมะกันได้ที่วัดพระขาว ที่ถือเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราสีมาที่เปรียบเสมือนประตูมงคลก่อนจะเดินทางเข้าสู่อีสานเลยทีเดียว

    วัดเทพพิทักษ์ปุณณารามหรือวัดพระขาว อันเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อขาว ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าไปถึงวัด
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เข้าวัดไหว้พระสะสมบุญ

    [​IMG]


    เข้าวัดไหว้พระสะสมบุญ

    กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีวัดและปูชณียสถานคู่บ้านคู่เมืองมากมาย และสถานที่ที่ติดอันดับเก้าวัดแห่งการทำบุญท่องเที่ยวได้แก่

    วัดบวรนิเวศวรวิหาร
    วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
    วัดพระศรีรัตนศาสดารามราชวรมหาวิหาร
    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    วัดระฆังโฆสิตาราม
    วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
    วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
    วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
    วัดสระเกศ
    ................................................
    วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
    คติ “พบแต่สิ่งดีงาม”
    ประวัติความเป็นมา
    วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ตั้งอยู่บนถนพระสุเมรุ ใกล้กับตลาดบางลำภู วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบรมราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ระหว่างปี พ.ศ. 2367 – 2375 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เดิมชื่อ “วัดใหม่” ซึ่งเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นดำงพระอิศริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งผนวชจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้เมื่อปีพ.ศ. 2379 ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกันให้รวมเป็นวัดเดียว และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร”

    วัดบวรนิเวศมีอาณาเขตกว้างขวางร่มรื่น ภายในมีโบสถ์ใหญ่น้อยมากมาย เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีกิจกรรมบรรพชากลุ่มจัดขึ้นเสมอๆ พระพุทธรูปสำคัญได้แก่ พระพุทธชินสีห์ซึ่งใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์มีพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลที่ 6 บรรจุอยู่ และพระสุวรรณเขต หรือ หลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระประธานองค์ใหญ่ของวัด

    เครื่องสักการะ ธูป 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 3 ดอก
    ที่ตั้ง ริมถนนบวรนิเวศ และถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 15, 56, 32, 33, 64, 65, 68


    [​IMG]


    วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
    คติ “มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง”
    ประวัติความเป็นมา
    วัดชัยชนะสงครามเป็นวัดสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อวัดกลางนา ซึ่งสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาขึ้นใหม่ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารรามัญในกองทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งภายหลังรบชนะ รัชกาลที่ 1 จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงอัญเชิญพระอัฐิของเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งสิ้นมาประดิษฐานไว้ในโบสถ์ นอกจากนี้ที่นี่ยังมีประตูลายรดน้ำในกุฎิเจ้าอาวาสซึ่งถือเป็นงานฝีมืออันยอดเยี่ยมของนายช่างสมัยรัชกาลที่ 1 ให้ได้ชมกัน ด้วยชื่ออันเป็นมงคล ทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ผู้มาสักการะมักได้ขวัญกำลังใจที่ดีกลับไป

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 1 เล่ม
    ที่ตั้ง ถนนจักรพงษ์ แขวงบางลำพู เขตพระนคร
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 3, 6, 9, 15, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 82, 123, ปอ. 3, ปอ. 9, ปอ. 38


    [​IMG]


    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    คติ “เพื่อจิตใจสะอาด ดุจรัตนตรัย”

    ประวัติความเป็นมา
    พระบาทสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาโลกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วขึ้นเพื่อเป็นวัดในพระบรมมหาราชวังตามประเพณีโบราณ เพื่อความสะดวกในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลของพระเจ้าแผ่นดินและเป็นพี่บรรจุพระอัฐิอายุของพระมหากษัตริย์และเจ้านายในราชสกุล

    องค์ประกอบสำคัญได้แก่ พระอุโบสถซึ่งประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรพระแก้วมรกต ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงาม ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในพ.ศ. 2439 เป็นพที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 และเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะบูชาในวันจักรีและวันฉัตรมงคล พระมณฑป เป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฏฉบับทองตู้ พระไตรปิฏกประดับมุกฝีมือวิจิตร ด้านนอกมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องรามเกียรติ์

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกไม้
    ที่ตั้ง ถ.หน้าพระลาน เขตพระนคร
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 1, 3, 6, 9, 15, 19, 25, 30, 32, 39, 43, 44, 47, 53, 59, 60, 64, 70, 80, 82, 91, 123, 201, 203, ปอ. 1, 6, 7, 8, 12, 25, 38, 39, 44


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=message align=left colSpan=2>
    [​IMG]

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    คติ “ร่มเย็น เป็นสุข”

    ประวัติความเป็นมา
    วัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ เป็นวัดโบราณก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ในการบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งเพื่อบรรจุพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์องค์นี้อีกครั้งแล้วกรุด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ทรงพระราชทานนามพระเจดีย์ว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญตาญาณ บริเวณพระอุโบสถมีแผ่นศิลาจารึกบทกวีนิพนธ์สมัยอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์เอาไว้ รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่อีกองค์หนึ่งเพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่สอง ชื่อว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกนิธาน” และทรงมีพระราชประสงค์จะให้วัดแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับประชาชน ดังนั้นจึงได้มีการจารึกกวีนิพนธ์ ภาพเขียนอธิบายเรื่องประวัติวัด ตำรายา ประเพณี วรรณคดีไทย สุภาษิตเปรียบเทียบ มีเขามอและรูปปั้นฤาษีดัดตนกระจายตามบริเวณวัด บรรยากาศในวัดร่มรื่นสวยงาม ปัจจุบันประชาชนนิยมทำบุญหยอดเหรียญ 108 เหรียญลงบาตร 108 บาตรในพระอุโบสถ เพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิต

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว 11 แผ่น
    ที่ตั้ง หลังพระบรมมหาราชวัง ถ. สนามไชย เขตพระนคร
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 1, 3, 6, 9, 12, 25, 43, 44, 47, 48, 53, 60, 82, 91, 123, ปอ. 6, 7, 8, 9, 12, 25, 44, 91


    [​IMG]


    วัดระฆังโฆสิตาราม
    คติ “มีชื่อเสียงโด่งดัง ผู้คนนิยมชมชื่น”

    ประวัติความเป็นมา
    วัดระฆังเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงอาราธนาพระเถระมาประชุมและชำระพระไตรปิฏกที่วัดแห่งนี้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ชาวบ้านขุดพบระฆังที่วัดแห่งนี้ จึงโปรดให้นำไปไว้ในวัดพระแก้ว และโปรดให้สร้างหอระฆังขึ้นและพระราชทานระฆังมาให้อีก 5 ลูก ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดระฆัง” จนติดปาก ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ขุดสระแล้วรื้อตำหนักและหอนั่งที่ทรงปลูกไว้ทางด้านตะวันตกของพระอุโบสถเก่า (ปัจจุบันคือพระวิหาร) มาปลูกลงในสระ ทำหอไตรเป็นรูปเรือนสามหลังแฝด ภายในมีบานประตูและฝาผนังที่มีภาพจิตรกรรมงดงามยิ่ง และมีตู้พระไตรปิฏกขนาดใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยาประดิษฐานไว้ในห้องทางทิศเหนือและใต้ นอกจากนี้ยังโปรดให้รื้อตำหนักทองอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาปลูกไว้เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี)สมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัชกาลที่ 4 วัดระฆังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความเก่าแก่ ล้ำค่าในแง่ศิลปะและบารมีของสมเด็จพระพุฒาจาร์ย (โต พรหมรังษี) และคาถาชินบัญชร

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว
    ที่ตั้ง 250 ถ.อรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 19, 57, 83


    [​IMG]


    วัดอรุณราชวราราม
    คติ “ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน”

    ประวัติความเป็นมา
    วัดอรุณราชวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อว่าวัดมะกอก เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนำทหารมาสำรวจสถานที่ตั้งราชธานีใหม่ทางชลมารค มาถึงที่วัดแห่งนี้ยามรุ่งสาง ต่อมาเมื่อทรงตั้งพระนครใหม่แล้ว จึงได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่าวัดแจ้ง ต่อมารัชกาลที่สองจึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม และเป็นวัดประจำรัชกาลที่สองด้วย

    องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของวัดอรุณ คือพระปรางค์ เพราะเป็นพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและบนยอดพระปรางเป็นนภศูลมีมงกุฆปิดทองอยู่เหนือนภศูลอีกชั้นหนึ่ง ด้านนอกของพระปรางค์องค์นี้สวยงามด้วยสีสันนานาของกระเบื้องเคลือบ หรือชิ้นส่วนเบญจรงค์ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้าน สวยงามยิ่งนัก พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง มีพระนามว่า พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระพุทธอาสน์ของพระประธานเป็นสถานที่บรรจะพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 2 อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าชมยิ่งเช่น พระวิหาร หอไตร มณฑปพระพุทธบาทจำลอง และรูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่หน้าประตูซุ้มยอดพระมงกุฎ

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียนคู่
    ที่ตั้ง ข้างกองทัพเรือ ถ.อรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 57



    [​IMG]


    วัดกัลยาณมิตร
    คติ “เดินทางปลอดภัยดี มีมิตรไมตรีที่ดี

    ประวัติความเป็นมา
    เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในถิ่นที่เรียกว่า หมู่บ้านกุฎีจีน หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของข้าราชการต่างชาติที่รับราชการในเมืองไทย เจ้าพระยานิกรมบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและที่ดินสร้างขึ้นเป็นวัดในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร” พร้อมกับทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทานให้กับวัดนี้ ต่อมารัชกาลที่ 4 พระราชทานนามพระประธานองค์นี้ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่เหมือนกับวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า “ซำปอฮุดกง” หรือ “ซำปอกง” เมื่อถึงเทศกาลงานวัดในวันสิ้นเดือน 9 ของทุกปีหรืองานเทกระจาด ชาวบ้านในแถบนี้จะจัดงานนมัสการ นอกจากนี้ยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2408 เพื่อเป็นสถานที่เก็บพระไตรปิฎกและพระคัมภีร์ต่างๆ

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียนแดงคู่ ดอกไม้พวงมาลัย
    ที่ตั้ง แขวงวัดกัลยาณมิตร เขตธนบุรี
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 40, 149, 177, 57
    เรือโดยสารข้ามฟาก ท่าราชินี – ท่าวัดกัลยา


    [​IMG]


    วัดสระเกศ
    คติ “เสริมสร้างความคิด อันเป็นสิริมงคล”

    ประวัติความเป็นมา
    วัดสระเกศเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฎิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่าวัดสระเกศ แปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนานเมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจราจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปีพ.ศ. 2325 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้บูรณะเพิ่มเติม และปลูกสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง โดยกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่เสร็จในรัชกาล จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงทรงเปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด ซึ่งสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาติมาตั้งแต่นั้น

    เครื่องสักการะ ธูป 9 ดอก เทียน 3 เล่ม ดอกบัว 3 ดอก
    ที่ตั้ง ริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 8, 15, 37, 49, ปอ. 8


    [​IMG]


    วัดสุทัศนเทพวรารามราชวิหาร
    คติ “วิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่บุคคลทั่วไป”

    ประวัติความเป็นมา
    วัดสุทัศนเทพวรารามราชวิหาร เดิมชื่อวัดมหาสุทธาวาศ สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 1 ตามพระราชประสงค์ที่จะทรงสร้างวัดกลางพระนคร ให้มีวิหารสูงใหญ่ล้อกันกับวัดพนัญเชิงของกรุงเก่า สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2390 และทรงพระราชนามนามใหม่ว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”

    ภายในวัดมีองค์ประกอบที่สำคัญและสวยงามมากมาย เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 พระวิหารประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึ่งสร้างตามแบบพระวิหารพระมงคลบพิตร กรุงศรีอยุธยา บานประตูใหญ่พระวิหารซึ่งเป็นไม้แกะสลักอย่างสวยงามตามแบบฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 2 พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธตรีโลกเชฎฐ์ซึ่งเป็นพระประธานของวัด มีขนาดใหญ่มาก คือมีหน้าตักกว้าง 10 ศอก 8 นิ้ว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นครูสมัยรัชการลที่ 3 ประดับ ถือเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

    เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียน 3 เล่ม
    ที่ตั้ง บริเวณเสาชิงช้า ตรงข้ามศาลาว่าการกรุงเทพฯ เขตพระนคร
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 10, 12, 19, 35, 42, 56, 96, ปอ. 42
    เก้าวัดข้างต้นนี้ ยึดตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไปตาม 9 พระอารามหลวง เพื่อขอพรเมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา อันที่จริงแล้วสถานที่อันเป็นสิริมงคลเก้าแห่ง ที่มักติดอันดับความนิยมในการสักการะของประชาชน ตามคติความเชื่อเพื่อให้เกิดสิ่งดีงามนั้นยังมีอีก 2 แห่งที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กันได้แก่ ศาลหลักเมือง และศาลเจ้าพ่อเสือ


    [​IMG]


    ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
    คติ “ตัดเคราะห์ ต่อชะตา เสริมวาสนา บารมี”

    ประวัติความเป็นมา
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ทรงย้ายราชธานีจากรุงศรีอยุธยามายังกรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคลตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ พิธียกเสาหลักเมืองนี้กระทำเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 มีการซ่อมแซมครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ปี เมื่อปีพ.ศ. 2395 และครั้งที่สองในปีพ.ศ. 2525 ซึ่งมีการสร้างศาลเทพารักษ์ เพื่อประดิษฐานเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรีขึ้นพร้อมกันในช่วงนั้น

    เสาหลักเมืองสร้างด้วยไม้ชัยพฤกษ์ สูงจากพื้นดิน 108 นิ้ว ส่วนที่ฝังดินสูง 19 นิ้ว มียอดสวมลงบนเสา ลงรักปิดทองสำหรับบรรจุชะตาเมือง

    เครื่องสักการะ บูชาพระด้วยดอกบัวกับธูป 3 ดอก ไหว้พระองค์เสาหลักเมืองจำลองด้วยผ้าแพร 3 สี พวงมาลัย แล้วนำพวงมาลัยไปไหว้เสาหลักเมืององค์จริงเสร็จแล้วไหว้เทพารักษ์ทั้ง 5
    ที่ตั้ง บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนมหาไยเขต เขตพระนคร
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 1, 3, 6, 9, 15, 19, 30, 32, 39, 43, 47, 53, 59, 60, 64, 70, 80, 82, 91, 123, 201, 203, ปอ. 1, ปอ. 6, ปอ. 12, ปอ. 25, ปอ. 38, ปอ. 39, ปอ. 44


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=message align=left colSpan=2>
    [​IMG]

    ศาลเจ้าพ่อเสือ
    คติ “เสริมอำนาจบารมี”

    ประวัติความเป็นมา
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 บริเวณที่เป็นศาลเจ้าพ่อเสือยังเป็นที่รกร้าง มีสัตว์ป่าบางชนิดอาศัยอยู่ แต่ที่ใกล้กันนั้นก็มีวัดมหรรณพารามสร้างขึ้นแล้ว ตำนานศาลเจ้าพ่อเสือเล่าว่าไม่ไกลกันนั้นเองมีแม่ลูกคู่หนึ่งอาศัยอยู่ วันหนึ่งลูกชายเข้าป่าไปหาฟืน ของป่าตามปกติ และไปเจอเสือตัวหนึ่งเข้า เสือเข้าทำร้ายและกัดแขนขาดข้างหนึ่ง ลูกชายหนีเอาชีวิตรอดมาได้และได้เล่าเรื่องที่ตัวได้ไปเจอเสือให้แม่ฟังอย่างละเอียดก่อนตาย ด้วยความเสียใจแม่จึงไปร้องเรียนกับนายอำเภอให้จับตัวเสือมาลงโทษ นายอำเภอจึงไปขอให้ปลัดโตและตำรวจอื่นๆ ช่วยกันตามล่า แต่ตามหลายวันก็จับไม่ได้ วันที่ 4 นั่นเองปลัดโตเข้าไปอธิษฐานกับหลวงพ่อบุญฤทธิ์ในพระอุโบสถ และหลวงพ่อพระร่วงในพระวิหารขอให้ตนสามารถจับเสือได้ ให้ดลใจเสือให้มีใจคน แล้วตนจะไม่ฆ่าเสือ ซึ่งก็จับได้จริงในที่สุด มีการตั้งศาลพิพากษาคดีซึ่งเสือมีอาการประหลาด ประหนึ่งว่าฟังภาษาคนรู้เรื่องและสำนึกผิด แม้แต่แม่ที่เสียลูกชายก็อภัยให้ นายอำเภอจึงตัดสินให้เสือต้องดูแลแม่แทนลูกชาย ตั้งแต่นั้นมาเสือก็จะไปล่าสัตว์เอามาให้แม่ตลอด จนเจ็ดปีผ่านไปแม่ก็ตาย เมื่อถึงเวลาเผาเสือก็โดดเข้ากองไฟตายตามแม่ไป ชาวบ้านจึงรวบรวมเงินสร้างศาล และนำกระดูกมาไว้ที่ฐานรูปปั้นเสือ ทำพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณเสือให้มาสถิตที่ศาลแห่งนี้ และปกป้องชาวบ้านตลอดไป

    เครื่องสักการะ สิงโตหรือเจดีย์น้ำตาล ธูป เทียน
    ที่ตั้ง ถ. ตะนาว แขวงเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กทม.
    รถประจำทางสายที่ผ่าน 12, 35, 42

    การสักการะสถานที่สำคัญดังกล่าวให้ครบภายในวันเดียวไม่ใช่เรื่องยาก เพราะส่วนใหญ่อยู่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์หรือใกล้เคียง สามารถเดินทางจากแต่ละแห่งถึงกันได้ง่าย ด้วยรถโดยสารประจำทางหรือเรือโดยสาร อย่างไรก็ตาม สำหรับการท่องเที่ยวแบบได้บุญเช่นนี้ก็มีในจังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่นการไหว้ 9 วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เชียงใหม่ เชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีวัดเก่าแก่มากมาย เมื่อไปสักการะแล้วก็จะได้ทั้งความรู้สึกอิ่มบุญอิ่มใจกลับบ้าน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]


    รายชื่อวัดอันเป็นที่นิยมในการไหว้ขอพรของ จ. พระนครศรีอยุธยา
    วัดใหญ่ชัยมงคล
    วัดมเหยงค์
    วัดหน้าพระเมรุ
    วัดธรรมิกราช
    วัดตึก
    วัดตูม
    วัดพระมงคลบพิตร
    วัดท่าการ้อง
    วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
    วัดพนัญเชิง



    รายชื่อวัดอันเป็นที่นิยมในการไหว้ขอพรของ จ. ปทุมธานี
    วัดสิงห์
    วัดบางนา
    วัดท้ายเกาะ
    วัดพืชอุดม
    วัดบัวขวัญ
    วัดปัญญานันทาราม
    วัดสวนมะม่วง
    วัดลำมหาเมฆ



    รายชื่อวัดอันเป็นที่นิยมในการไหว้ขอพรของ จ. เชียงใหม่
    วัดเชียงมั่น
    วัดดวงดี
    วัดเจดีย์หลวง
    วัดพระสิงห์
    วัดหมื่นเงินกอง
    วัดดับภัย
    วัดหม้อคำตวง
    วัดลอยเคราะห์
    วัดชัยมงคล




    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยก 9 วัด ขึ้นเป็นพระอารามหลวง

    [​IMG]



    ยก 9 วัด ขึ้นเป็นพระอารามหลวง

    เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม นายอำนาจ บัวศิริ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม (มส.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า ที่มส.มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพิจารณายกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 โดยยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ 9 วัด ดังนี้

    1.วัดราชสิงขร เขตบางคอแหลม กทม.
    2.วัดบัวขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    3.วัดศรีโสดา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    4.วัดพายัพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    5.วัดศรีสระแก้ว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    6.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    7.วัดราษฎร์บูรณาราม อ.หลังสวน จ.ชุมพร
    8.วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    9.วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    นายอำนาจกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน สืบเนื่องจากจังหวัดต่างๆส่งรายงานขออนุญาตสร้างวัด ตามบัญชีที่ 14/2550-บัญชีที่ 35/2550 มายังพศ. ที่ประชุมมส.นำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามลำดับ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง และเจ้าคณะพระสังฆาธิการตามลำดับจนถึงระดับจังหวัด นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกฯ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เห็นชอบให้สร้างวัดตามที่ยื่นจำนงมาจำนวน 220 วัด


    ข้อมูล...นสพ.ข่าวสด
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สักการะพระพิฆเนศ 6 แห่งใน กทม.

    [​IMG]


    สักการะพระพิฆเนศ 6 แห่งใน กทม.

    หลังจากกระแสจตุคามรามเทพที่เคยมาแรงเมื่อปีที่แล้วเริ่มแผ่วลง ตอนนี้ผู้คนก็หันไปนิยมบูชาเทพองค์อื่นๆกันมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็น "พระพิฆเนศ" เทพเจ้าของชาวฮินดู ที่เราคุ้นเคยกันดีกับภาพของเทพที่มีเศียรเป็นช้างนั่นเอง
    แต่จะว่าไปแล้ว พระพิฆเนศนั้นก็เป็นเทพที่มีผู้คนนิยมบูชากันมายาวนานแล้ว เพราะเชื่อกันว่าท่านเป็นเทพแห่งความสำเร็จ เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาต่างๆ อีกทั้งยังถือเป็นเทพทางศิลปะ และเป็นบรมครูทางนาฏกรรมทั้งหลาย ในการทำการงานใดๆ นั้น จึงต้องมีการบูชาองค์พระพิฆเนศเสียก่อน เพื่อให้งานนั้นลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ

    วันนี้ฉันก็เลยจะพาผู้ที่เคารพศรัทธาไปกราบสักการะองค์พระพิฆเนศ ที่มีประดิษฐานอยู่หลายแห่งในกรุงเทพมหานครนี้กัน โดยจุดประสงค์หลักของฉันมุ่งเน้นไปที่การชมงานศิลปะองค์พระพิฆเนศ รับรู้ความเป็นไปแห่งยุคสมัย และเพื่อความสบายจิตสบายใจของผู้ไหว้ ส่วนในเรื่องของการอธิษฐานขอพรนั้นเป็นความเชื่อเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่ว่ากัน

    แต่ก่อนอื่น มารู้จักกับองค์พระพิฆเนศกันก่อนดีกว่า สำหรับชื่อ "พระพิฆเนศ" "พระพิฆเนศวร" "พระพิฆเณศวร" "พระคเณศ" หรือ "พระคณปติ" ต่างก็เป็นชื่อเรียกองค์พระพิฆเนศเช่นเดียวกัน โดยกำเนิดของพระพิฆเนศนั้นเล่าขานกันหลายที่มา แต่ที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ ก็คงเป็นตำนานที่ว่า พระอุมาเทวีได้นำเหงื่อไคลของตัวเองมาปั้นเป็นบุตร คือพระพิฆเนศ และสั่งให้ไปยืนเฝ้าประตูไม่ให้ใครเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต

    จนวันหนึ่งพระศิวะเสด็จมาหาพระอุมาเทวี แต่พระพิฆเนศไม่ยอมให้เข้า พระศิวะจึงโกรธและตัดเศียรพระพิฆเนศ จนเมื่อพระอุมาเทวีทราบเรื่องก็เสียใจมาก พระศิวะจึงสั่งให้เทวดาเดินทางไปทิศเหนือ และเอาศีรษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อกับร่างของโอรส และสิ่งมีชีวิตแรกที่พบนั้นก็คือช้าง พระพิฆเนศจึงมีเศียรเป็นช้างอย่างที่เราเห็นกัน

    รู้จักกับที่มาของพระพิฆเนศกันแล้ว คราวนี้เรามาเริ่มเดินทางไปสักการะท่านกันดีกว่า สถานที่แรกที่ฉันจะพาไปนั้นก็อยู่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ใกล้สี่แยกราชประสงค์ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมเทพเจ้าหลายๆ องค์ ทั้งพระพรหม พระตรีมูรติ พระอินทร์ พระนารายณ์ ฯลฯ และสำหรับองค์พระพิฆเนศนั้น ก็ประดิษฐานอยู่ใกล้ๆ กับพระตรีมูรติ คืออยู่ด้านริมสุดของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และมีผู้คนมากราบไหว้กันไม่ขาดสาย

    หากใครต้องการมาไหว้พระพิฆเนศ สิ่งของเซ่นไหว้ที่เหมาะสมนั้นก็คือ ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะพร้าว มะม่วง องุ่น แอปเปิล ชมพู่ มะละกอ แตงโม อ้อยควั่น ขนมหวานก็เช่นขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด ลูกชุบ นมสด ส่วนดอกไม้ก็มักเป็นดอกไม้สีสด อย่างดอกชบา ดอกดาวเรือง ดอกเบญจมาศ และธูป 9 ดอก และงดเว้นอาหารคาว ผู้คนที่มาไหว้ส่วนใหญ่ก็มักจะขอเรื่องเกี่ยวกับการงาน หรือขอให้สิ่งที่หวังและตั้งใจนั้นสำเร็จลงด้วยดี

    ไหว้กันเสร็จแล้วก็ไปต่อกันที่ "วัดพระศรีมหาอุมาเทวี" หรือที่รู้จักกันในชื่อวัดแขกสีลม วัดแขกนี้ถือเป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตัววัดเป็นศิลปะแบบอินเดียตอนใต้ ภายในมีเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีเป็นประธาน และยังมีพระพิฆเนศ พระขันธ์กุมาร พระศิวะ พระกฤษณะ พระวิษณุ พระแม่รัศมี และพระแม่กาลี อยู่แวดล้อมอีกด้วย ใครที่มาไหว้พระพิฆเนศก็จะได้ไหว้เหล่าเทพทั้งหลายนี้ด้วย

    สำหรับพระพิฆเนศภายในวัดแขกนี้ อยู่ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิ มี 4 กร เป็นศิลปะแบบอินเดียตอนใต้ตอนปลาย มีพระองค์อ้วนเตี้ย ค่อนข้างเทอะทะแต่แฝงไว้ซึ่งความหนักแน่นและมีอำนาจ ผู้ที่เคารพศรัทธาควรหาโอกาสมาไหว้สักครั้ง

    จากวัดแขก ย้อนกลับมาที่ "วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ" วิทยาลัยที่เป็นแหล่งผลิตนักเรียนนักศึกษาด้านนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งพระนครกันบ้าง อย่างที่ฉันบอกไปในตอนต้นว่าพระพิฆเนศนั้นถือเป็นบรมครูทางนาฏกรรมและศิลปะทั้งหลาย ทางวิทยาลัยจึงได้มีการสร้างพระพิฆเนศไว้สำหรับให้นักเรียนนักศึกษาและอาจารย์ได้กราบไหว้บูชากัน สำหรับใครที่อยากจะเข้าไปกราบไหว้ท่านก็สามารถเดินเข้ามาในโรงเรียน บอกยามที่เผ้าประตูว่าต้องการมาสักการะพระพิฆเนศ เขาก็จะอนุญาตให้เข้ามาได้
    สำหรับพระพิฆเนศในวิทยาลัยนาฏศิลป์นี้ ได้นำมาประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนเปิดสอน ความพิเศษขององค์พระพิฆเนศนี้นอกจากความสวยงามแล้ว ก็ยังนับเป็นผลงานออกแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยมีนายชิ้น ชื่นประสิทธิ์ เป็นผู้ลงมือปั้นอีกด้วย

    อีกทั้งแท่นหินที่เป็นฐานรองพระพิฆเนศนั้น ก็ยังเป็นวัตถุอนุสรณ์ในส่วนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้จัดสร้างปฐมบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในโอกาสฉลองอายุพระนครครบ 100 ปีใน พ.ศ.2425 แต่ภายหลังช่างทำไม่สำเร็จเนื่องจากความผิดพลาดในการคำนวณแบบก่อสร้าง แท่นหินนี้จึงถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนเมื่อมีโครงการจัดสร้างองค์พระพิฆเนศเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน แท่นหินนี้จึงกลายมาเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

    คราวนี้ย้ายตัวเองมาที่แถวๆ ย่านเสาชิงช้ากันบ้าง เพราะที่นี่เป็นที่ตั้งของ "เทวสถาน"หรือ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งภายในเทวสถานนั้น มีโบสถ์อยู่สามหลังด้วยกัน คือสถานพระอิศวร เป็นโบสถ์ใหญ่ สถานพระพิฆเนศวร เป็นโบสถ์กลาง และสถานพระนารายณ์ เป็นโบสถ์ริม สำหรับสถานพระพิฆเนศวรนั้น ภายในมีเทวรูปของพระพิฆเนศวรอยู่ 5 องค์ด้วยกัน ทำด้วยหินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ และทำด้วยสำริดอีก 1 องค์

    สำหรับใครที่อยากเข้าไปกราบสักการะพระพิฆเนศในโบสถ์พราหมณ์นั้น ก็จะต้องมาในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์เท่านั้น มิฉะนั้นก็จะได้ไหว้แต่เพียงภายนอกโบสถ์

    และไม่ไกลจากเทวสถาน ก็ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถเข้าไปไหว้พระพิฆเนศได้ นั่นก็คือที่ "วัดเทพมณเฑียร" ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนภารตะวิทยา ข้างๆ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โดยก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างวัดเทพมณเฑียรนี้ ชาวฮินดูได้พร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า "ฮินดูสภา" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" มาจนถึงปัจจุบัน และต่อมาทางสมาคมก็ได้จัดตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัยขึ้นในบริเวณเดียวกัน เนื่องจากเห็นความสำคัญของการศึกษา แม้จะชื่อว่าภารตวิทยาลัย แต่ก็รับนักเรียนทุกเชื้อชาติศาสนาให้เข้าเรียนร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก

    และหลังจากสร้างโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการสร้างโบสถ์เทพมณเฑียรขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ปฏิมาของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง และน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา และสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ที่โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ด้วย

    หากใครต้องการจะขึ้นไปกราบสักการะพระพิฆเนศ ก็เช่นเดียวกับที่วิทยาลัยนาฏศิลป์คือแจ้งความต้องการกับยามหน้าโรงเรียนเสียก่อน แล้วเขาจะชี้ทางเดินขึ้นไปกราบไหว้เทพเจ้าต่างๆ ให้

    สำหรับที่สถานที่สุดท้ายที่ฉันจะแนะนำกันในวันนี้ เป็นวัดไทยที่มีพระพิฆเนศประดิษฐานไว้ นั่นก็คือ "วัดศรีสุดาราม" ย่านบางขุนนนท์ หรือที่เรียกกันว่าวัดชีปะขาว วัดแห่งนี้เคยเป็นสถานศึกษาของสุนทรภู่ กวีเอกของโลก ภายในจึงมีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ตั้งอยู่ด้วย อีกทั้งยังมีรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นที่นับถือของชาวบ้านในแถบนั้น

    และสำหรับองค์พระพิฆเนศที่วัดนี้นั้น ก็ประดิษฐานอยู่ใกล้กับองค์หลวงพ่อโต โดยมีผู้ที่ศรัทธามาสร้างถวายวัดเอาไว้ เป็นพระพิฆเนศปางลีลาประทานพร แต่ผู้คนมากราบไหว้ค่อนข้างบางตา อาจเพราะยังไม่ทราบว่ามีพระพิฆเนศอยู่ภายในวัดด้วยเช่นกัน

    ทั้งหกสถานที่นี้ก็เป็นที่ที่ฉันแนะนำไว้สำหรับคนที่มีความเคารพศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ ใครใกล้ที่ไหนก็สามารถไปไหว้กันได้ที่นั่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะบูชาพระพิฆเนศทุกปางหรือเทพองค์อื่นๆมากมายเท่าใด หากจิตใจมืดบอด เกียจคร้าน กระทำเรื่องเสื่อมเสีย ไม่ประพฤติตัวอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ปล่อยให้จิตด้านมืดเข้าครอบงำ ยังไงๆก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง


    ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล : www.thainewsland.com
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร จ.สระบุรี

    [​IMG]


    วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร

    พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร

    ประวัติ

    พระพุทธบาท จ.สระบุรี เป็นพระมหาเจดียสถานมีมาในประเทศไทยแต่โบราณกาล ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช ๒๑๖๓ – ๒๑๗๑) ปรากฏว่า มีพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยคณะหนึ่ง พากันเดินทางไปยัง ลังกาทวีป ด้วยหวังจะสักการบูชาพระพุทธบาท ณ เขาสุมนกูฏ การไปคราวนั้นประจวบกับเป็นเวลาที่พระสงฆ์ชาวลังกาทวีปกำลังขวนขวายสอบสวนประวัติ และที่ตั้งแห่งรอยพระพุทธบาททั้งปวงตามที่ปรากฏอยู่ในตำนานว่ามีเพียง ๕ แห่ง(เขาสุวรรณมาลิก เขาสุวรรณบรรพต เขาสุมนกูฏ ที่เมืองโยนกบุรี และที่หาดในลำน้ำนัมทานที) ภายหลังสืบ ได้ความว่าภูเขาที่ชื่อว่า สุวรรณบรรพตมีอยู่ในสยามประเทศ ครั้นเมื่อได้พบกับพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยในคราวนั้น ต่างพากันสอบภามว่ารอยพระพุทธบาท ที่มีอยู่ ๕ แห่ง ในสถานที่ต่างๆ กันนั้น ปรากฏว่ามีที่เขาสุวรรณบรรพตแห่ง ๑ ก็ภูเขาลูกนี้อยู่ในประเทศไทยแท้ๆ ไฉนจึงไม่พยายามสืบเสาะไปนมัสการ กลับพากันมาถึงลังกาทวีป เป็นการหมดเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ไทยคณะนั้นได้รับคำบอกเล่าดังนี้แล้ว กลับมาสู่ประเทศไทย จึงนำความขึ้นถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราสั่งบรรดาหัวเมืองทั้งปวง ให้เที่ยวตรวจตราค้นดูตามภูเขาต่างๆ ว่าจะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใด


    [​IMG]


    ครั้งนั้น เจ้าเมืองสระบุรี สืบได้ความจากนายพรานบุญว่า ครั้งหนึ่งออกไปล่าเนื้อในป่าใกล้เชิงเขา ยิงถูกเนื้อตัวหนึ่งเจ็บลำบากหนีขึ้นไปบนไหล่เขา ซุกเข้าเชิงไม้หายไป พอบัดเดี๋ยวก็เห็นเนื้อตัวนั้น วิ่งออกจากเชิงไม้เป็นปกติอย่างเก่า นายพรานบุญนึกประหลาดใจ จึงตามขึ้นไปดูสถานที่บนไหล่เขาที่เนื้อหนีขึ้นไป ก็พบรอยปรากฏอยู่ในศิลา มีลักษณะเหมือนรูป รอยเท้าคน ขนาดยาวประมาณสักศอกเศษ และ ในรอยนั้นมีน้ำขังอยู่ด้วย นายพรานบุญเข้าใจ ว่าบาดแผลของเนื้อตัวที่ถูกตนยิง คงหายเพราะดื่มน้ำในรอยนั้น จึงวักน้ำลองเอามาทาตัวดู บรรดาโรคผิวหนังคือ กลากเกลื้อน ซึ่งเป็นเรื้อรังมาช้านานแล้ว ก็หายหมดสิ้นไป เจ้าเมืองสระบุรี จึงสอบสวนความจริงดู ก็ตรวจค้นพบรอยนั้น สมดังคำบอกเล่าของนายพรานบุญ จึงมีใบบอกแจ้งเรื่องเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา


    [​IMG]


    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ณ ที่เขานั้น ทอดพระเนตรเห็นรอยนั้นแล้ว จึงทรงพระราชวิจารณ์ตระหนักแน่นพระราชหฤทัยว่าคงเป็นรอยพระพุทธบาท เพราะมีลายลักษณ์กงจักร ประกอบด้วยอัฏฐุตตรสตมหามงคลร้อยแปดประการ ตรงกับเรื่องทีชาวลังกาทวีปแจ้งเข้ามาด้วย เกิดพระราชศรัทธาปราโมทย์โสมนัสเป็นกำลัง โดยทรงพระราชดำริเห็นว่ารอยพระพุทธบาทย่อมจัดเป็นบริโภคเจดีย์แท้ เพราะเป็นพุทธบทวลัญช์อันเนื่องมาแต่พระพุทธองค์ ย่อมประเสริฐยิ่งกว่าอุเทสิกเจดีย์ เช่น พระพุทธรูป และพระสถูปเจดีย์ อันเป็นสิ่งที่สมมติสร้างกันขึ้น สมควรจะยกย่องบูชาเป็นพระมหาเจดียสถาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างก่อเป็นคฤหหลังน้อย สวมรอยพระพุทธบาทไว้เป็นการชั่วคราวก่อนแล้ว ครั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังราชธานี จึงทรงเริ่มงานสถาปนายก ที่พระพุทธบาทขึ้นเป็นเจดียสถานเป็นการใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมณฑปยอดเดี่ยวสวมรอยพระพุทธบาทกำหนดเป็นพุทธเจดีย์ และสร้างอารามวัตถุอื่นๆ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนสงฆ์ เป็นต้น จัดเป็นสังฆาราม ให้เป็นที่สำหรับพระภิกษุอยู่แรมจำพรรษา เพื่อทำการบริบาลพระพุทธบาท ทรงพระราชศรัทธาอุทิศเนื้อที่โยชน์หนึ่ง โดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธเกษตรต่างพุทธบูชา บรรดากัลปนาผล ซึ่งได้เป็นส่วนของหลวงจากเนื้อที่นั้นให้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษาพระมหาเจดียสถานที่พระพุทธบาท ทรงยกที่พุทธเกษตรส่วนนี้ให้เป็นเมืองชั้นจัตวา ชื่อเมืองปรันตปะ แต่นามสามัญเรียกกันว่า เมืองพระพุทธบาท ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา (คงเป็นเมืองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ลดลงเป็นอำเภอขึ้นต่อเมืองสระบุรีในรัชกาลที่ ๕ )


    [​IMG]


    โปรดเกล้าฯ ให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่พระพุทธบาทพ้นจากหน้าที่ราชการอย่างอื่นสิ้น ตั้งให้เป็นพวกขุนโขลนเป็นข้าปฏิบัติบูชารักษาพระพุทธบาทแต่หน้าที่เดียว พระราชทานราชทินนามบรรดาศักดิ์ประจำตำแหน่งผู้รักษาการพระพุทธบาท หัวหน้าเป็นที่ขุนสัจจพันธ์คีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน รองลงมาเป็นที่หมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีสัปบุรุษ ทั้ง ๔ คนนี้ เป็นผู้รักษาเฉพาะองค์พระมณฑป ตั้งนายทวารบาล ๔ นาย เป็นที่หมื่นราชบำนาญทมุนิน (น่าจะเป็นหมื่นบาทมุนินทร์) หมื่นอินทรรักษา หมื่นบูชาเจดีย์ หมื่นศรีพุทธบาล โปรดเกล้าฯ ให้สร้างคลังสำหรับเก็บวัตถุสิ่งของที่มีผู้นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ให้ผู้รักษาคลังเป็นที่ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา ให้มีผู้ประโคมยามประจำทั้งกลางวันกลางคืนเป็นพุทธบูชา ตั้งเป็นที่หมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ทรงกำหนดเทศกาลสำหรับให้มหาชนขึ้นไปบูชารอยพระพุทธบาทเดือน ๓ ครั้ง ๑ และเดือน ๔ ครั้ง ๑ เป็นประเพณีตั้งแต่นั้นมา


    [​IMG]


    วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท ห่างจากตัวจังหวัดสระบุรีประมาณ ๒๘ กม. มีทางเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไป ๑ กม. ปูชนียสถานที่สำคัญคือ "รอยพระพุทธบาท" ที่ประทับไว้ในแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี ลักษณะของรอยพระพุทธบาทคล้ายเท้าคน กว้าง ๒๑ นิ้ว ยาว ๕ ฟุต ลึก ๑๑ นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอยพระบาทตามลักษณะ ๑๐๘ ประการ จึงโปรดให้สร้างมณฑปชั่วคราวครอบรอยพระบาทไว้ ต่อมาได้มีการก่อสร้างต่อเติมอีกหลายสมัยลักษณะของพระมณฑป เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท ๗ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีซุ้มบันแถลงประดับทุกชั้น มีเสาย่อมุมไม้สิบสองปิดประดับกระจกโดยรอบ ฝาผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนมและมีพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรมประดับชั้นเยี่ยมของเมืองไทย ทางขึ้นพระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสาย หมายถึง บันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้ว ที่ทอดลงมาจากสวรรค์ หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริดเป็นนาค ๕ เศียร บริเวณรอบพระมณฑปมีระฆังแขวนเรียงราย เพื่อให้ผู้ที่มานมัสการได้ตี เป็นการแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย พระอุโบสถและพระวิหารต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ล้วนสร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    แหล่งอ้างอิง

     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่

    [​IMG]


    พระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่

    พระแก้วขาว หรือ พระเสตังคมณี เป็นปูชนียวัตถุสำคัญยิ่งของ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ชื่อว่า พระแก้วขาว เพราะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยแก้วผลึกสีขาว หน้าตักกว้าง ๔ นิ้ว สูงประมาณ ๖ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือปฎิมากรรมชาวละโว้หรือขอม ในสมัยที่มีอำนาจปกครองบริเวณดินแดนสุวรรณภูมิและตั้งราชธานีอยู่ที่ละโว้ และยังมีตำนานกล่าวขานถึงพระแก้วขาว

    พระแก้วขาว หรือ พระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะได้และปรากฏว่า ในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูปสำหรับบูชา ประจำพระองค์ของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย และพระเจ้าเม็งรายมหาราช(หรือพระเจ้ามังราย) ปฐมวงศ์เมงราย ผู้สถาปนอาณาจักรลานนาไทย และกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย และนครเชียงใหม่ ในยุคต่อๆ มา ก็นับถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้งสิ้น


    [​IMG]


    พระพุทธรูปองค์นี้ ในตำนานได้กล่าวถึงการสร้างใว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว ๗๐๐ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๗ พระสุเทวฤาษีได้เอาดอกจำปา ๕ ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ ได้พบปะสนทนาด้วยพระอินทร์ๆ ก็บอกกล่าวแก่สุเทวฤาษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญ ที่ลวะรัฏฐะจะสร้างพระพุทธรูปปฏิมากรด้วยแก้วขาว ครั้งสุเทวฤาษีกลับจากดาวดึงษ์เทวโลกแล้ว จึงไปสู่เมืองละโว้ ขณะนั้น พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถระเจ้าปรารถการที่จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิศนุกรรมมาเนรมิต สำเร็จรูปเป็นองค์พระพุทธปฎิมากรสุเทวฤาษีและฤาษีอื่นๆ ก็ได้มาประชุมช่วยในการสร้างพระด้วย ครั้งสำเร็จแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุ ๔ องค์ ไว้ในพระโมลี(กระหม่อม) ๑ พระนลาต(หน้าผาก)1 พระอุระ(หน้าอก)1 พระโอษฐ์(ปาก) ๑ รวม ๔ แห่ง
    เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน มาถึงสมัยเมื่อพระฤาษีสร้างนครหริภุญชัยขึ้นแล้ว ใช้ให้ควิยะอำมาตย์ ไปเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ มาครองเมืองหริภุญชัย พระนางจึงขออนุญาตจากพระราชบิดา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว) มาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูน แต่นั้นมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี บรรดากษัตริย์ครองเมืองหริภัญชัย(ลำพูน) ทั้งวงศ์เดียวกับพระนางจามเทวีและต่างวงศ์ ต่างก็ได้เคารพบูชาเป็นประจำองศ์มาทุกวงศ์ และได้สร้างหอพระปริดิษฐ์ไว้ในพระราชวัง

    พระเสตังคมณีประดิษฐานอยู่ ณ เมืองลำพูนตลอดมาจนกระทั่งถึง รัชสมัยของพระยายีบาเป็นกษัตริย์ครองเมืองในครั้งนั้นพระเจ้าเมงรายซึ่งเป็นเจ้าครองนครเงินยวง(เชียงแสน) ได้ยกกองทัพไปปราบบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ ที่ยังแข็งเมืองอยู่ให้เข้ารวมอยู่ไปอำนาจของพระองค์จนหมดสิ้นแล้ว แต่นครหริภุญชัยนครั้งนั้นมีกำลังเข็มแข็งมาก พระองค์จึงคิดอุบายให้ขุนอายฟ้าเห็นราชวัลลภคนสนิท ไปทำการจารกรรมนานถึง ๗ ปี ขุนอ้าว จึงส่งข่าวไปให้พระเจ้าเมงรายให้ยกกองทัพมาตีภุญชัย พ.ศ. ๑๘๒๔ ชาวเมืองที่ไม่ยอมทิ้งเมืองทำการต่อสู้เมงรายต้องใช้ธนูเพลิงยิงเข้าไป ทำให้เกิดเพลิงไหม้ทั้งเมือง ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพแก่กองทัพพระเจ้าเมงราย

    เมื่อยกเข้าเมืองได้แล้ว พระเจ้าเมงรายจึงเสด็จออกตรวจดูความเสียหาย สี่งที่ทำให้พระองค์ทรงประหลาดพระทัยที่สุดคือ หอพระซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังของพระยายีบาหาได้ถูกเพลิงไหม้ไม่ แต่บริเวณรอบๆ นั้นถูกเพลิงเผาผลาญพินาศฟมด พระองค์จึงเข้าไปทอดพระเนตรดู เห็นพระแก้วขาวสถิตอยู่ ณ ที่นั้น ก็เกิดมีพระราชศรัทธาปสาทะเป็นอันมากจึงอัญเชิญองค์พระแก้วขาวมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์ ทรงเคารพสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์แต่นั้นมา

    ต่อเมื่อพระองค์มาสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี เมื่อปีพ.ศ. 1839 ได้อัญเชิญพระแก้วขาว(เสตังคมณี) มาประดิษฐานในพระราชวัง จนตลอดรัชกาลของพระองค์ แม้ในเวลาเสด็จออกศึก ก็ทรงนิมนต์พระแก้วขาวไปด้วยทุกครั้ง พระองค์มิได้ประมาทในพระแก้วขาวเลย เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว พระแก้วขาวก็คงประดิษฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่ตลอดมา จนกระทั่งถึงรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 11 แห่งราชวงศ์เมงราย พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนาในเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่ายุคใดๆ ทั้งสิ้น พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต ซึ่งเป็นนายช่างสถาปนิคเอกออกแบบไปถ่ายแบบอย่างโลหะปราสาท และรัตนเจดีย์ ในเมืองลังการมาแล้ว โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นผู้อำนวยการสร้างถาวร วัตถุในวัดวาต่างๆ และสร้างหอพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไว้ ในพระอารามราชกุฏาคารเจดีย์ (คือเจดีย์หลวง) ในปี พ.ศ. 2022 ในยุคนี้พระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ได้มาประดิษฐานในนครเชียงใหม่ เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) พระศิลา (พระหินอ่อน) เป็นต้น พระสององค์นี้เวลานี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่

    พระแก้วขาวได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช มาตราบถึงรัชสมัยของพระยอดเชียงรายราชนัดดา ทรงสืบสันติวงศ์ต่อมา ในสมัยนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วขาวคือ ในครั้งนั้นมีราชบุตร พระยาเมืองใต้ชื่อ สุริยวังสะ บวขเป็นภิกษุขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดเวฬุวัน (กู่เต้า) ในระหว่างปี พ.ศ. 2030-2049 ได้มารักใคร่ชอบพอกับนางท้าวเอื้อยหอขวางราชธิดา ของพระเจ้าติโลกราชเป็นอย่างยิ่ง สุริยะวังภิกขุมีความประสงค์อยากได้พระแก้วขาว ซึ่งประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงจึงรบเร้าขอให้นางท้าวเอื้อยหอขวางจัดการให้ นางท้าวเอื้อยหอขวาง จึงทำกลอุบายว่าป่วยไข้ ครั้นนานหลายวันเข้า พันจุฬาผู้รักษาหอพระ จึงมาขอเอาพระแก้วคืน นางท้าวเอื้อยก็ให้ทองคำพันหนึ่งเป็นสินบนปิดปากพันจุฬา แล้วนางท้าวเอื้อยจึงเอาพระแก้วขาวใส่ไว้ในขอูป แล้วใส่ในถุงคลุมมิดชิดดีแล้ว ใช้ให้อ้ายกอน ทาสชายนำไปถวายแก่สุริยวังสะภิกขุ สริยวังขะภิกขุจึงเอาไม้เดื่อปล่องมาแกะเป็นองค์ แล้วเอาพระแก้วขาวแล้วใส่ไว้ในองค์พระ ไม้เดื่อที่กลวงภายในแล้วก็พาหนีไปเมืองใต้เสียและ

    ครั้งอยู่ต่อมา ในปี พ.ศ. 2035 พระยอดเชียงรายให้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้เมือง ให้ชื่อว่าวัดตะโปทาราม (คือวัดรำพึง) ด้วยมีพระประสงค์จะเอาพระแก้วขาวไปประดิษฐานไว้ที่นั่น เมื่อได้ทราบว่าพระแก้วหายไปจึงสืบสวนได้ความ จากอ้ายกอนทาสของนางท้าวเอื้อยหอขวางว่า นางได้ใช้ตนนำไปถวายแก่สุริยวังสะภิกขุ และได้เอาหนีออกจากเมืองไปแล้ว พระยอดเชียงรายก็ใช้ให้ราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการและราชสาส์น ไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อขอพระแก้วคืน พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาตอบพระราชสาสน์มาว่า สืบหาก็ไม่ได้ความ และหาไหนก็ไม่พบ พระยอดเชียงรายขัดพระทัย จึงยกทัพไปยังกรุงศรีอยุธยา อยู่ได้เดือนหนึ่งจึงได้พระแก้วขาวคืนแล้ว จึงเลิกทัพกลับมา พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ เชียงใหม่ตามเดิม


    [​IMG]


    พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว)....สร้างด้วยแก้วผลึกสีขาว หน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่เมืองลวะรัฏฐะสมัยที่มีอำนาจปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีตำนานสืบสานมาว่าได้สร้างหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว 700 ปี พระสุเทวฤาษีขึ้นไปบูชาพระจุฬามณี ได้พบกับพระอินทร์และบอกให้สร้างพระพุทธ ปฏิมากรด้วยแก้วขาวในช่วงวิสาขะเพ็ญที่ลวะรัฏฐะ หลังจากกลับมาสู่ลวะรัฏฐะแล้ว พระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์ บุษรัตน์จากจันทเทวบุตร แล้วจึงขอให้พระวิษณุกรรมมาเนรมิตให้เป็นองค์พระพุทธปฏิมากรแล้วบรรจุพระบรมธาตุ 4 องค์ ด้วยศรัทธาเชื่อว่า มีพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกันภัย


    [​IMG]


    ต่อมาเมื่อ เจ้าแม่จามเทวีมาครองเมืองหริภุญชัย จึงได้อัญเชิญพระเสตังคมณีมาเป็น พระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ พระพุทธรูปองค์นี้จึงอยู่คู่เมืองลำพูนมาหลายร้อยปี จน กระทั่งถึงรัชสมัยของ พระยายีบา พญามังราย ได้ยกทัพมาตีเมืองขึ้น ใช้เวลาถึง 7 ปี จึงชนะเมืองหริภุญชัย ในปี พ.ศ. 1824 เมืองหริภุญชัยถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน แต่หอประดิษฐานองค์พระเสตังคมณีหาได้รับภัยจากอัคคี ไม่ พญามังราย จึงเกิดความเลื่อมใสและได้อัญเชิญมาเป็นพระประจำพระองค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 1839 ได้ตั้งเชียงใหม่เป็นราชธานีก็นำไป ประดิษฐานในพระราชวัง...คือตรง บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน จึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่รูปหนึ่ง แม้ว่าจะมีบางช่วง จะมีการช่วงชิงไปเมืองอื่นบ้าง แต่ก็มีการนำเอากลับมาคืนเมืองเชียงใหม่ตามเดิม


    [​IMG]


    วัดเชียงมั่น หรือ วัดเชียงหมั้น....นอกจากจะมีความสำคัญเป็นวัดแรกที่สถาปนาขึ้นในนครเชียงใหม่ และ เป็นที่สถาปนาขึ้นแท่นที่พระราชฐานของพญามังรายฯ แล้ว ยังเป็นสถานที่ ทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของกษัตริย์ 3 พระองค์ แห่งเมืองเชียงใหม่ เมืองสุโขทัยและเมืองพะเยาตลอดระยะเวลา 700 ปีของวัดเชียงมั่น สิ่งก่อสร้างต่างๆก็ชำรุดทรุดโทรม ไปตามกาลเวลา แต่ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากกษัตริย์ล้านาไทยในเวลาต่อมาหลายครั้ง ซึ่งก็มีบางช่วงที่ตกไปอยู่ใต้บังคับของพม่าบ้าง กรุงศรีอยุธยาบ้าง ผู้มีอำนาจจะนำสิ่งที่มีคุณค่าไปไว้ที่บ้านที่เมืองของเขา โดยเฉพาะองค์พระเสตังคมณี ....อย่างไรก็แล้วแต่ ก็ติดตามคืนนำมาประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น ไว้ดั่งเดิม...!!!
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นมัสการ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

    [​IMG]


    "วัดสวนดอก" ตั้งอยู่ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้สร้างและสถาปนาเป็นวัดอารามหลวง เมื่อ พ.ศ.1914 สมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์มังราย หรือ เม็งราย ลำดับที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ.1962 ในสมัยที่นครเชียงใหม่อยู่ในการปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

    วัดสวนดอก ได้รับการยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนาเมื่อ พ.ศ.2509 ได้รับการสถาปนาเป็น พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2533

    บริเวณวัดกว้างขวางมีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้พระราชทานพระอุทยานสวนดอกไม้ของพระองค์สร้างเป็นวัด และพระราชทานนามว่า "วัดบุปผาราม" ซึ่งเป็นภาษาบาลี หากแปลเป็นภาษาไทยหมายถึง วัดสวนดอกไม้พะยอม ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกง่ายๆ ว่า วัดสวนดอก

    วัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำตระกูล ณ เชียงใหม่ ในยุคของ พระยากาวีละ ปกครองเชียงใหม่ พระ นางดารารัศมี พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้านายในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ เห็นทำเลที่วัดสวนดอกกว้างขวาง จึงย้ายเอา กู่(เจดีย์บรรจุอัฐิ) ของเจ้านายในตระกูล ณ เชียงใหม่ จากที่เคยอยู่ใต้ต้นสนร้างริมแม่น้ำปิงจึงได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ และวัดสวนดอกก็กลายเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้านายใน ราชวงศ์เชียงใหม่ สืบมา โดยราชสกุลรุ่นต่อๆ มา ได้อุปถัมภ์ค้ำชูวัดนี้มาโดยตลอด จึงถือว่าวัดสวนดอกเป็นวัดประจำตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นต้นมา


    [​IMG]


    ความสำคัญของ วัดบุปผาราม หรือ วัดสวนดอก ในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตสมัยพระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาได้ทำการบูรณะวัดนี้ขึ้นและได้บูรณะวิหารหลวงหลังปัจจุบันด้วย และหลังจากที่พระครูบาศรีวิชัย มรณภาพในปี พ.ศ.2481 ได้สร้างอนุสาวรีย์เก็บอัฐิไว้ที่วัดนี้ด้วยเช่นกัน

    วัดสวนดอก มีพื้นที่กว้าง 35 ไร่ จึงมีสิ่งปลูกสร้างมากมายมี พระเจดีย์ทรงลังกา, ทรงผสมแบบลังกาล้านนา คือ เป็นเจดีย์ที่สร้างแบบ เหลี่ยมไม้สิบสอง และ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ ดอกบัวตูม อันเลียนแบบจากศิลปะสุโขทัย ก่อสร้างสมัยพญากือนา และ มหาสุมนเถระ ตลอดจนกลุ่มพระเจดีย์เล็กที่เรียกกันว่า "กู่" ที่บรรจุอัฐิของเจ้าผู้ครองนครพร้อมด้วยญาติพี่น้องตระกูล ณ เชียงใหม่

    นอกจากนี้ยังมี กู่ครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่บริเวณด้านใต้พระวิหารใหญ่ด้วย มีพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานบนพระวิหารใหญ่

    นอกจากนี้ พระพุทธรูปยืน ผินพระพักตร์ไปทางพระเจดีย์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ ถือเป็นองค์ประธาน ก่อสร้าง สมัยพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช และมี พุทธนฤมิต ซึ่งจำลองแบบมาจากศิลปะพุกาม หรือพระทรงเครื่องศิลปะพม่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.2474-2475 สมัยที่ครูบาศรีวิชัย สร้างพระวิหารใหญ่ประฏิมากรรมเหล่านี้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของผู้เข้าชมยิ่งนัก และนำไปเป็นแบบอย่างทางประฏิมากรรมอีกมากด้วย

    ทั้งนี้ ผู้ที่มาเยี่ยมชมวัดสวนดอก นิยมเข้าไปนมัสการพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่

    พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระเก่าแก่ที่สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 ของราชวงศ์เม็งราย เมื่อปี พ.ศ.2047 พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่มาก หน้าตักกว้าง 8 ศอก

    ครั้งแรกที่สร้างจะนำไปประดิษฐานให้เป็นพระประธานที่วัดพระสิงห์ แต่หลังจากหล่อเสร็จแล้วปรากฏว่ามีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายไม่สะดวก จึงโปรดให้ประดิษฐานไว้ที่วัดสวนดอกแห่งนี้

    พระเจ้าเก้าตื้อ ในอดีตถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดของล้านนา แม้ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่โตและงดงามที่สุด

    พระเจ้าเก้าตื้อ ชาวล้านนาร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมศรัทธาที่แสดงถึงความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมืองในสมัยนั้น และในวันขึ้น 8 ค่ำ ของทุกเดือน จะมีการเฉลิมฉลองพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งวันนั้นจะมีพิธีทำบุญตักบาตร และมีชาวบ้านมาร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

    ปัจจุบันนี้ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาจะเข้าไปกราบไหว้ ขอพรและโชคลาภจากพระเจ้าเก้าตื้ออย่างไม่ขาดสายตลอดทั้งวัน





    ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก

    http://www.amulet.in.th/temples.php
     
  14. gogo200989

    gogo200989 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +49
    วัดสันปูเลย (สะหลี๋เวียงแก้ว) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

    เดิมวัดสันปูเลยเป็นเมืองเก่าแก่ที่ชาวมอญได้มาอาศัยอยู่และเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนา พระเจ้าโป่มะยุง่วน ได้เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองเวียงแก้วที่นี้และมีอยู่มาวันหนึ่งพระมารดาของพระเจ้าโป่มะยุง่วนเกิดประชวรหนักเกิดอาการประหลาดที่ไม่สามารถจะหาสาเหตุได้พระเจ้าโป่มะยุง่วนจึงได้ให้เสนาทหารทั้งหลายออกไปตามหาหมอที่มีความสามารถเชี่ยวชาญทั้งยาสมุนไพรและเรื่องคุณไสย์ต่างๆให้มารักษาอาการประชวรของพระมารดาพระเจ้าโป่มะยุง่วนแต่สุดท้ายอาการของพระมารดาก็ไม่ดีขึ้นจึงได้สัจจะวาจากับพระรัตนะตรัยฟ้าดินได้โปรดจงเป็นพยานขอให้พระมารดาหายจากประชวรหนักนี้จะสร้างพระพุทธรูปใหญ่หนึ่งองค์พร้อมสร้างอารามถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆะบูชา น้อมเป็นบรรณาการถวาย จากนั้นฟ้ารับรู้ถึงสัจจะวาจาของพระเจ้าโป่มะยุง่วน และรู้ถึงการมีความกตัญญูกตเวทีของพระเจ้าโป่มะยุง่วนจึงมีสายฟ้าผ่าลงมาจังนั้นอีกไม่นานพระอาการของพระมารดาพระเจ้าโป่มะยุง่วนก็หายเป็นปกติพระเจ้าโป่มะยุง่วนจึงได้เสียสละทรัพย์สินของพระองค์ให้ทหาเสนาอามาตย์ให้ทรงสร้างพระอารามใหญ่ขึ้นแล้วปั้นพระพุทธรูปประธานในพระมหาวิหารแล้วใส่ชื่อว่าพระเจ้าตันใจ๋ (ทันใจ) นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและพระอารามแห่งนี้เดิมแต่ก่อนนั้นมีชื่อว่า”วัดสะหลี๋เวียงแก้ว” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ระยะเวลาผ่านไปวัดสะหลี๋เวียงแก้วได้ร้างไปตามสมัยกาลและในปี พ.ศ. 2280 โดยมีท่านพระครูบาแก้ว รตนปัญโญ ได้มาบุกเบิกสร้างใหม่กับขุนสันปูเลยฤๅเดชได้ปรับปรุงซากเสนาสนะโบราณที่ยังเหลือค้างไว้คือพระพุทธรูปปูนปั้นและซากพระวิหารและต่อมา ณ.ที่บริเวณนี้เป็นที่มีต้นปูเลยเป็นจำนวนมากเวลามีคนเจ็บไข้ไม่สบายเป็นโรคต่างๆ บางคนก็เอาปูเลยมาต้มกินแล้วโรคต่างๆก็หายไปอย่างอัศจรรย์ ทางพ่อน้อยพ่อหนานพ่ออาจารย์ที่ได้ร่ำเรียนวิชาคาถาอาคมก็ย่อมจะใช้ปูเลยแหกเช็ดถูบริเวณร่างกายที่เจ็บปวดแล้วอาการเจ็บปวดนั้นก็หายไปอย่างน่าเชื่อ และบริเวณที่ท่านพระครูบาแก้ว รตนปัญโญ ได้มาเริ่มฟื้นฟูวัดร้างนี้โดยบริเวณรอบๆ เป็นสันเป็นดอนมีแต่ต้นปู-เลยและได้ปรึกษากับท่านขุนสันปูเลยฤๅเดช เจ้าพระยาที่ปกครองในขณะนั้นว่าเราจะตั้งชื่ออารามนี้ว่าอย่างไร จึงตงลงกันว่าจะใส่ชื่อวัดนี้ใหม่ว่าวัดสันปูเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ในเวลาต่อมา พระครูบาน้อย เขมปญฺโญ ได้มาทำการบูรณะและสร้างเสนาสนะขึ้นมาใหม่หลายอย่างที่เสื่อมโทรมไปตามกาลสมัยให้งดงามตามที่เป็นที่ประจักษ์กับสายตาศรัทธาสาธุชน ฯ ทั่วไป ที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมทำบุญภายในวัดสันปูเลย (สะหลี๋เวียงแก้ว)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. banana366

    banana366 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +1,345
    สะสมไปเรื่อยๆครับสักวันนึงบุญที่เราได้พยายามสร้างมาหลายภพหลายชาติคงต้องเต็มแน่ๆครับ
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,276
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    ประวัติวัดท่าซุง
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/igkpPCF33ds" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    Zeedhama
    Uploaded on Sep 28, 2011

    ประวัติวัดท่าซุงหรือวัดจันทาราม ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
     

แชร์หน้านี้

Loading...