เรื่องเด่น เตือนมรสุมกระหน่ำฝนถล่ม 34 จังหวัด รับมือ 5-7 ก.ค.

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 5 กรกฎาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ปภ.จับตา หลังกรมอุตุฯส่งสัญญาณ มรสุมเฉียงใต้กำลังแรง ส่งผลทำให้ไทยมีฝนตกหนัก เหนือ อีสาน กลาง และภาคใต้บางส่วน รวม 34 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ขณะที่ภัยแล้งลดเหลือ 7 จังหวัด


    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานการแจ้งเตือนเฝ้าระวังมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีความหย่อมกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนทำให้มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางพื้นที่ รวม 34 จังหวัด บริเวณภาคเหนือ จังหวัด เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลาง จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพฯและปริมณฑล

    e0b8a3e0b8aae0b8b8e0b8a1e0b881e0b8a3e0b8b0e0b8abe0b899e0b988e0b8b3e0b89de0b899e0b896e0b8a5e0b988.jpg

    ส่วนในวันที่ 5-7 ก.ค.63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยกำลังมีค่อนข้างแรงประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนทำให้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ ระวังคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูง 1-2 เมตร 3 ก.ค.63)


    สำหรับจังหวัดที่มีสถานการณ์ภัยแล้งลดเหลือ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา อุทัยธานี มหาสารคาม บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และฉะเชิงเทรา รวม 58 อำเภอ 328 ตำบล 2 เทศบาล 3,134 หมู่บ้าน/ชุมชน

    ขอให้ประชาชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสมโดยพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเฉียบพลัน และน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ที่มีสถานการณ์ภัยแล้งขอให้วางแผนการใช้น้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคอย่างประหยัด เกษตรกรควรวางแผนการเพาะปลูกพืชและการใช้น้ำอย่างเพียงพอ

    เขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้งหมด 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การได้มากกว่าร้อยละ 30 จำนวน 5 แห่ง ภาคเหนือ จ.ลำปาง (กิ่วลม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสกลนคร (น้ำอูน) ภาคกลาง จังหวัดระยอง (หนองปลาไหล) ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รัชชประภา) ยะลา (บางลาง) อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ทั้งหมด 412 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างมากกว่าร้อยละ 30 จำนวน 204 แห่ง ภาคเหนือ 39 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 106 แห่ง ภาคกลาง 39 แห่ง และภาคใต้ 20 แห่ง (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thansettakij.com/content/440790
     

แชร์หน้านี้

Loading...