เทคนิกการสวดมนต์ บทธัมจักรกัปวัตนสูตร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 1 มกราคม 2021.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
    ใส่เสื้อผ้าที่สะบายเรียบร้อย
    แล้วทำตามดังนี้



    ระลึกถึงคุณพระรัตนะตรัย

    กราบ ๕ ครั้ง

    กล่าวคำขอขมาว่าดังนี

    ข้าพเจ้า ขอขมากรรม พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์
    ครูบาอาจารย์
    บิดามารดา
    เจ้ากรรมนายเวร
    และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย
    กรรมอันใด ที่ข้าพเจ้า ได้ล่วงเกิน
    ด้วย กายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดีรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
    ขอทุกท่าน โปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

    อิมินาสักกาเรนะ พุทธังปูเชมิ
    อิมินาสักกาเรนะ ธัมมังปูเชมิ
    อิมินาสักกาเรนะ สังฆังปูเชมิ
    อิมินาสักกาเรนะ อาจาริยานัง ปูเชมิ
    อิมินาสักกาเรนะ มาตาปิตูนัง ปูเชมิ


    อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิเวเทมิ (กราบ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโมธัมมังนะมะสามิ (กราบ )
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ (กราบ )
    มัยหังมาตาปิตูนังวะปาเทวันทามิสาคะรัง (กราบ)
    ปัญญาวุฒฑิกะเรเตเตทินโนวาเทนะมามิหัง (กราบ)
    อาราธะนาศีล ๘
    ข้าพเจ้า ขอตั้งสัจจะบาระมี จะขอรักษาศีล ๘ ให้ได้ตลอดการสวดมนต์นี้

    อะหังภันเตติสะระเนนะสะหะอัฐฐะศีลานิยาจามิ
    ทุติยัมปิอะหังภันเตติสะระเนนะสะหะอัฐฐะศีลานิยาจามิ
    ตะติยัมปิอะหังภันเตติสะระเนนะสะหะอัฐฐะศีลานิยาจามิ

    ๑. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ

    ๒. อะทินนาทานาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ

    ๓. อะพรัมมะจะริยาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ

    ๔. มุสาวาทาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ

    ๕. สุราเมระยะ มัจชะ ปะมา ธะฐานาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิยามิ

    ๖. วิกาละโภชะนาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ

    ๗. นัฏจะคีตะวาฐิตะวิสูกะทัศสะนามาลาคันธะวิเลปะนะธาระนะ
    มันฑะนะ วิภูสะนัฏฐานาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ

    ๘. อุจจาสะยะนะมะหา สะยะนาเวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิยามิ

    อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ
    อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ
    อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ

    สวดมนต์
    ชุมนุมเทวดา

    สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
    ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ


    ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
    อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

    สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
    ทีเปรัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
    ภุมมาจายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
    ติฏฐันตาสันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
    ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัสสะวะนะกะโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ



    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ


    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    บทขัดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร
    อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
    ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
    สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
    ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฏิปัตติ จะ มัฌิมา
    จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
    เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
    นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
    เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ



    ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง

    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ
    อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู
    อามันเตสิ ฯ
    ทะเวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง
    กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย
    อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย
    อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ
    อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ
    อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ
    สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว
    สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ
    อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ
    สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ
    ชาติปิ ทุกขาชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
    โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธาทุกขา ฯ


    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ฯ
    ยายังตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี ฯ
    เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ
    โยตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค
    ปะฏินิสสัคโค มุตติอะนาละโย ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทาอะริยะสัจจัง ฯ
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโก สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว
    สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ


    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
    ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
    อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
    อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ-
    นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
    วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
    เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม
    ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
    อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม
    ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม
    ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
    อุทะปามิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
    ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ
    ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
    ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ
    ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ
    ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง
    อะโหสิ ฯ

    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะ-
    เก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
    อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
    เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง
    อะโหสิ ฯ

    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัมหะเก
    สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายา สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง
    สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม
    วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ

    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู
    ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง
    ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง
    ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง
    นิโรธะธัมมันติ ฯ

    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา
    สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
    อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ
    วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา
    เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

    ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสนาเวสุง ฯ
    ตาวะติงสานัง เทวานังสัททัง สุตวา

    ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ยามานัง เทวานังสัททังสุตวา

    ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ตุสิตานัง เทวานัง สัททังสุตวา

    นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    นิมมานะระตีนังเทวานัง สัททัง สุตวา

    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา

    พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสะเวสุง ฯ
    พรัหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

    พรัหมะปาริสัชชา เทวาสัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

    พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาสเวสุง ฯ
    พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

    มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    มะหาพรัหมานังเทวานัง สัททัง สุตวา

    ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ปะริตตาภานัง เทวานังสัททัง สุตวา

    อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    อัปปะมาณาภานังเทวานัง สัททัง สุตวา

    อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    อาภัสสะรานังเทวานัง สัททัง สุตวา

    ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ปะริตตะสุภานังเทวานัง สัททัง สุตวา

    อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

    สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    สุภะกิณหะกานังเทวานัง สัททัง สุตวา

    (อะสัญญิสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะสัญญิสัตตานังเทวานัง สัททัง สุตวา)


    เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เวหัปผะลานังเทวานัง สัททัง สุตวา

    อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    อะวิหานัง เทวานังสัททัง สุตวา

    อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    อะตัปปานัง เทวานังสัททัง สุตวา

    สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    สุทัสสานัง เทวานังสัททัง สุตวา

    สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    สุทัสสีนัง เทวานังสัททัง สุตวา

    อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
    อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะวา
    พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา
    เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา
    สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
    สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาร โอภาโส โลเก
    ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ
    โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ
    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ
    ตะเววะนามัง อะโหสีติ ฯ

    ต่อด้วย
    (บท พุทธะคุณ )
    อิติปิโสภะคะวา
    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ
    วิชชา จะระณะ สัมปันโน
    สุคะโต
    โลกะวิทู
    อะนุตตะโล
    ปุริสะธัมมะสาระถี
    สัตถา เทวะ มะนุษสานัง
    พุทโธ
    ภะคะวา ติ



    ( บท ธรรมะคุณ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
    สัณฐิติโก
    อะกาลิโก
    เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวธิตัพโพ วิญญู หิ ติ



    (บท สังฆะคุณ )
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญาญะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิตัง จัตตาริ ปุริสะยุค คานิ
    อัฐฐะ ปุลิสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ตามด้วยบท ต่อไปนี้ คือ บท พาหุง



    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ค รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ


    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
    โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ



    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ



    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ



    กัตวานะ กิฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ



    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ




    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ




    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ



    เอตาปิ พุทธะ ชะยะมัง คะละอัฏ ฐะคาถา
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตะวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ



    (บท มหากาฯ )


    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
    ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
    เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
    สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
    ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    ( ต่อด้วย บท กรวดน้ำ )


    กรวดน้ำอิมินา
    (นำ) หันทะ มะยัง อุททิงสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ
    (รับ) อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
    อาจริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)
    สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
    พรัหมะมารา จะ อินทา จะโลกะปาลา จะ เทวะตา
    ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
    สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
    สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ
    อิมินา ปุญญากัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
    ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปานทานะเฉทะนัง
    เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
    นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
    อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
    มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
    พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
    นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
    เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ


    (ต่อด้วย บทนี้)



    เทวะตาอุยโยชะนะคาถา

    ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
    โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
    เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
    สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
    ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
    ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
    สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
    อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ


    จบฯ กราบพระ
    อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ )
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ )
    มัยหังมาตาปิตูนังวะ ปาเท วันทามิ สาคะรัง (กราบ)
    ปัญญาวุฒฑิ กะเรเตเต ทินโนวาเท นะมามิหัง (กราบ)


    (ขอกราบขอบพระคุณ ผู้รวมรวม หนังสือ มนต์พิธี)


    442106da676eb559d19ce3fce95cf4cf.jpg
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปล


    เอวัมเม สุตัง (ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้)

    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา (สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า)

    พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ (เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี)

    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ (ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า)

    เทฺวเม ภิกขะเว อันตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้)

    ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา (อันบรรพชิตไม่ควรเสพ)

    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค (คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด)

    หีโน (เป็นธรรมอันเลว)

    คัมโม (เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน)

    โปถุชชะนิโก (เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา)

    อะนะริโย (ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส)

    อะนัตถะสัญหิโต (ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์)

    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค (คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด)

    ทุกโข (ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ)

    อะนะริโย (ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส)

    อะนัตถะสัญหิโต (ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง)

    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น)

    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง)

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)

    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ (ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)

    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน)

    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง)

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)

    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ (ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)

    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ (ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง)

    เสยยะถีทัง (ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ)

    สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ)

    สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ)

    สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

    สัมมากัมมันโต (การงานชอบ)

    สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ)

    สัมมาวายาโม (ความเพียรชอบ)

    สัมมาสะติ (การระลึกชอบ)

    สัมมาสะมาธิ (ความตั้งจิตชอบ)

    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น)

    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง)

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้)

    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ (ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ)

    ชาติปิ ทุกขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์)

    ชะราปิ ทุกขา (แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์)

    มะระณัมปิ ทุกขัง (แม้ความตายก็เป็นทุกข์)

    โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา (แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์)

    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข (ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์)

    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข (ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์)

    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง (มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์)

    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ (ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์)

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ)

    ยายัง ตัณหา (ความทะยานอยากนี้ใด)

    โปโนพภะวิกา (ทำให้มีภพอีก)

    นันทิราคะสะหะคะตา (เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน)

    ตัตระ ตัตราภินันทินี (เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ)

    เสยยะถีทัง (ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ)

    กามะตัณหา (ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่)

    ภะวะตัณหา (ความทะยานอยากในความมี ความเป็น)

    วิภะวะตัณหา (ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น)

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์)

    โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ (ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด)

    จาโค (ความสละตัณหานั้น)

    ปะฏินิสสัคโค (ความวางตัณหานั้น)

    มุตติ (การปล่อยตัณหานั้น)

    อะนาละโย (ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น)

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ)

    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค (ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง)

    เสยยะถีทัง (ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ)

    สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ)

    สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ)

    สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

    สัมมากัมมันโต (การงานชอบ)

    สัมมาอาชีโว (ความเลี้ยงชีวิตชอบ)

    สัมมาวายาโม (ความเพียรชอบ)

    สัมมาสะติ (ความระลึกชอบ)

    สัมมาสะมาธิ (ความตั้งจิตชอบ)

    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว)

    อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุจักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราละได้แล้ว)

    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว)

    อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ)

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว)

    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว)

    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น)

    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว)

    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์)

    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ (ก็แลปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว)

    อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ (ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก)

    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว)

    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ (พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า)

    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน (ก็แลเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่)

    อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ (จักษุในธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ)

    "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ" (ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา")

    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก (ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว)

    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง (เหล่าภูมิเทวดาก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า)

    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ (ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)

    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)

    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)

    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นยามาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)

    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)

    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)

    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)

    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง (พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหมได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้น)

    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ" ("ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ")

    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ (โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ)

    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ (ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป)

    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ (ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก)

    อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ (ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ)

    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ (ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า)

    อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ (โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ)



    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ (เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ)




    Cr...https://www.vstarproject.com/vstarproject/page/news.php?nId_blog=585
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ

    ๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ญาณ, ปัญญา, วิชชา, และแสงสว่างของเราได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
    ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือทุกข์,
    ๒. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้,
    ๓. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว.

    ๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
    ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์,
    ๒. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย,
    ๓. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ละเสียแล้ว.

    ๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
    ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์,
    ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้แจ้ง,
    ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว.

    ๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
    ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์,
    ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้เจริญ,
    ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้เจริญแล้ว.

    ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาที่ ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจสี่อันมีรอบสาม มีอาการสิบสอง เช่นนี้ ยังไม่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี, เราก็ยังไม่ปฏิญญา ว่า ได้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อยู่เพียงนั้น.

    เมื่อใด บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี, เมื่อนั้น เราก็ ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
    ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ.

    - มหาวาร. สํ
    ๑๙/๕๒๙-๕๓๐/๑๖๖๖-๑๖๗๐.
     
  4. บันลือธรรม

    บันลือธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    789
    ค่าพลัง:
    +2,362
  5. ขง

    ขง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +676
    อานิสงส์พิเศษ สวดครบ 1,000 จบ เมื่ออยู่ ณ สถานที่แห่งใด สถานที่แห่งนั้นจะเจริญรุ่งเรือง ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...