โปรดเกล้าฯสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จที่ “พระพรหมวชิรโมลี”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 6 มิถุนายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    237091_th.jpg


    วันอาทิตย์ ที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 16.35 น.


    วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ความว่า

    e0b8a5e0b989e0b8b2e0b8afe0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b899e0b8b2e0b8aae0b8a1e0b893e0b8a8e0b8b1e0b881.jpg

    พร้อมกันนี้ประกาศราชกิจจานุเบกษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริว่า พระสงฆ์ซึ่งดำรงในสมณคุณ มีอุปการะยิ่งแก่พระศาสนาสมควรจะได้เลื่อนอิสริยฐานันดรในสมณศักดิ์สูงขึ้นมีอยู่
    จึงทรงพระกรุณาโปรดสถานา

    1.พระธรรมโมลี ขึ้น เป็น “พระพรหมวชิรโมลี” สถิต ณ วัดศาลาลอย พระรามหลวง จ.สุรินทร์
    2.พระเทพปริยัติวิมล เป็น “พระธรรมวิสุทธาจารย์” สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ ฯ
    3.พระเทพสังวรญาณ เป็น “พระธรรมวชิรญาณ” สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ ฯ
    4.พระเทพวิสุทธิมุนี เป็น “พระธรรมวชิรมุนี” สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ
    5.พระราชพุทธิมุนี เป็น “พระเทพวชิรมุนี” สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ ฯ
    6.พระราชวชิรากร เป็น “พระเทพวชิรากร” สถิต ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่
    7.พระพิพัฒน์สังวรคุณ เป็น “พระราชสิทธิวิมล” สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    8.พระครูอุดมรังสี เป็น “พระราชมงคลวัชโรดม” สถิต ณ วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม
    9.พระครูสุวิมลภาวนาคุณ เป็น “พระราชภาวนาวชิรคุณ” สถิต ณ วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ
    10.พระปลัดสุวรรณ เป็น “พระราชมงคลวุฒาจารย์” สถิต ณ วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    11.พระอธิการสุทัศน์ เป็น “พระราชภาวนาวัชราจารย์” สถิต ณ วัดกระโจมทอง จ.นนทบุรี
    ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2564

    พระพรหมวชิรโมลี (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) นามเดิม ทองอยู่ พิศลืม ฉายา ญาณวิสุทฺโธ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏฝ่ายมหานิกาย ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเภทโดยตำแหน่งในระดับรองอธิการบดี และอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

    ดร. พระธรรมโมลี นามเดิมชื่อ ทองอยู่ พิศลืม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 25 เดือน กรกฎาคม พุทธศักราช 2476 (เดือน 8 ปีระกา) ณ หมู่ 5 บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อ นายเคล็ม มารดาชื่อ นางแคน นามสกุล พิศลืม

    บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ณ วัดกลางสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยมีพระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ณ พัทธสีมา วัดกลางสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิภัชกัลยาณธรรม (จันทร์ กลฺยาณมุตฺโต) เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิทธิการโกศล (เทพ นนฺโท) เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณวิสุทฺโธ”

    การศึกษา/วิทยฐานะ
    แผนกนักธรรม-บาลี
    พ.ศ. 2497 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักศาสนศึกษาวัดศาลาลอย สำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2513 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักศาสนศึกษาวัดบุญวาทย์วิหาร สำนักเรียนคณะจังหวัดลำปาง
    แผนกสามัญ
    พ.ศ. 2480 จบประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 (ประเภทสมัครสอบ) กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
    พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่นที่ 14 จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2519 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาสันสกฤต จากมหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดีย
    พ.ศ. 2552 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา (พธ.ด.) จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดพิธีประสาทปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2551 แก่พุทธศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 54 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นที่ 19 และพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต รุ่นที่ 5 โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เดินทางมาเป็นองค์ประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตร ในวันอาทิตย์ที่ 17 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2552 ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำเร็จการศึกษาด้วยวัย 76 ปี
    งานปกครอง
    พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น “รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์” (พระมหาทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ|พิศลืม)
    พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. 2533 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดราษฎร์เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และรักษาการเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย (พระอารามหลวง) วันที่ 1 เดือน ตุลาคม พุทธศักราช 2533
    พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัด พระอารามหลวง โดยเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชฯ มอบพระบัญชาแต่งตั้ง
    พ.ศ. 2539 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2540 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2556 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์[1]
    พ.ศ. 2558 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11[2]
    งานการศึกษา
    พ.ศ. 2507 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ธรรมสนามหลวง ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
    พ.ศ. 2508 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดพิชยญาติการาม แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2509 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย ณ โรงเรียนสตรีสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
    พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกษาวัดบุญวาทย์วิหาร สำนักเรียนคณะจังหวัดลำปาง
    พ.ศ. 2523 – 2539 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์ โดยการมอบหมายจากพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2524-2547 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา (พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสุรินทร์) วัดกลางสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2534 เป็นประธานศูนย์ครูพระปริยัตินิเทศก์ จังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดการโรงเรียนบาลีสาธิต (พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ) วัดศาลาลอย พระอารามหลวง จังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2539 เป็นเจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบบาลีสนามหลวง ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
    งานการเผยแพร่
    พ.ศ. 2508 เป็นพระธรรมทูตจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2535 เป็นรองประธานกลุ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน เป็นประธานจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉพาะส่วนของวัดศาลาลอย พระอารามหลวง ในแต่ละปีมีเยาวชนเข้าบรรพชาเป็นสามเณรไม่ต่ำกว่า 100 รูป และเยาวชนสตรีร่วมปฏิบัติธรรมไม่ต่ำกว่า 150 คน
    พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน เป็นประธานกลุ่มเผยแพร่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2540 เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการอบรมประชาชนประจำจังหวัดสุรินทร์
    พ.ศ. 2540 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตจังหวัดสุรินทร์
    งานสาธารณูปการ
    พ.ศ. 2543 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดศาลาลอย ขนาด 16 x 32 เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์ หลังคามุงกระเบื้อง จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง จำนวน 13,750,000 บาท (สิบสามล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
    พ.ศ. 2543 ดำเนินการก่อสร้างศาลา “โสวภาค” วัดศาลาลอย เป็นศาลาเรือนไทยประยุกต์ ขนาด 5 x 9 เมตร เสาไม้ โครงหลังคาเป็นไม้ ใช้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น จำนวน 390,500 บาท (สามแสนเก้าหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน)
    พ.ศ. 2544 ดำเนินการก่อสร้างโรงครัว ขนาดกว้าง 4 x 12 เมตร ชั้นเดียว พื้นปูด้วยกระเบื้อง หลังคามุงกระเบื้อง สิ้นค่าก่อสร้าง จำนวน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
    พ.ศ. 2545 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลา “นิตยา” ซึ่งเป็นศาลาธรรมสังเวช ลักษณะศาลาเรือนไทยประยุกต์ ขนาด 5 X 12 เสาหินขัด หลังคามุงกระเบื้อง ใช้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 450,099 บาท (สี่แสนห้าหมื่นเก้าสิบเก้าบาทถ้วน) รวมค่าสาธารณูปการทั้งสิ้น 14,840,599 บาท (สิบสี่ล้านแปดแสนสี่หมื่นห้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
    งานปฏิสังขรณ์
    พ.ศ. 2543 ได้ปฏิสังขรณ์เมรุ โดยเปลี่ยนเป็นเตาปลอดมลพิษตามมาตรฐานของกรมการศาสนา เป็นจำนวนเงิน 1,800,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน) รวมค่าปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น 1,800, 000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน) รวมค่าสาธารณูปการและปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น 16,640,599 บาท (สิบหกล้านหกแสนสี่หมื่นห้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
    งานสาธารณสงเคราะห์
    พ.ศ. 2543 ดำเนินการสร้างโรงอบยาสมุนไพร และบริการนวดแผนโบราณ จำนวน 1 หลัง เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. โดยการดูแลของสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ราคาค่าก่อสร้าง 259,200 บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน)
    พ.ศ. 2545 ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลศพ วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร จำนวน 1 หลัง หลังคามุงกระเบื้อง เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 350,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งสิ้น 609,200 บาท (หกแสนเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน)
    เกียรติประวัติ
    พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการจัดการพระปริยัติธรรมดีเด่น
    พ.ศ. 2539 ได้รับประกาศเกียรติคุณ จากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาจิตผู้ต้องขัง
    พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์มีมติให้ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา เมื่อวันที่ 22 เดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์เข้าถวายปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา เมื่อวันที่ 4 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2548
    พ.ศ. 2555 ได้รับธรรมบัตรเชิดชูเกียรติ รางวัลคนดีศรีสังคม ดาราอวอร์ด จากเสถียรธรรมสถาน โดย แม่ชี ศันสนีย์ เสถียรสุต เป็นผู้นำมามอบให้ด้วยตนเอง ณ วัดศาลาลอย พระอารามหลวง จังหวัดสุรินทร์
    สมณศักดิ์
    พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่พระศรีธีรพงศ์
    พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิเมธี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [3]
    พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพะราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปัญญาเมธี ศรีปริยัติธรรมดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
    พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโมลี ศรีปริยัตโยดม วิกรมธรรมธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
    พ.ศ. 2564 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมวชิรโมลี ศรีปริยัตบริหาร ไพศาลศาสนกิจดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/237091
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มิถุนายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...