ไปเชียงราย ไหว้ดอยตุง ทำ “ตุงล้านนา” ที่บ้านครูจารินทร์

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 มิถุนายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    Facebook :Travel @ Manager
    b887e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3.jpg
    จังหวัดเชียงรายมี “พระธาตุดอยตุง” เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ โดยตามตำนานเล่าว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธ์ ร่วมกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสถิตไว้บนดอยแห่งนี้ และได้ปัก “ตุง” หรือธงเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เป็นตุงตะขาบมีความยาวถึง 1,000 วา เมื่อชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใดก็ให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ ดอยลูกนี้จึงได้ชื่อว่า “ดอยตุง” ด้วยประการฉะนี้

    ตำนานดังกล่าวนอกจากจะเล่าเรื่องราวที่มาของการสร้างพระธาตุดอยตุงแล้ว ยังทำให้เห็นว่า “ตุง” ถือเป็นเครื่องสักการะที่ถวายเป็นพุทธบูชาอันสำคัญของคนล้านนามาแต่โบราณ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช่คนเหนือก็อาจจะยังไม่ทราบถึงความสำคัญและความหมายของตุง และอาจจะยังไม่รู้ว่าตุงนั้นมีหลากหลายชนิด ดังนั้นหากใครมาเยือนเชียงราย มาไหว้พระธาตุดอยตุงและพอมีเวลาอยากไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตุงแล้วละก็ ขอแนะนำให้มาที่ “แหล่งเรียนรู้ครูจารินทร์” ซึ่งอยู่ที่บ้านสันยาว ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย นั่นเอง
    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-1.jpg
    “ครูจารินทร์” หรือศิริพร ทุนอินทร์ เป็นครูเกษียณอายุที่ยังคงไม่หยุดการทำงานในฐานะครูผู้เผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาล้านนา โดยเฉพาะเรื่องของ “ตุง” ซึ่งถือเป็นเครื่องสักการะอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ครูจารินทร์เล่าว่า ชาวล้านนาใช้ตุงเป็นพุทธบูชา โดยมีความเชื่อว่าการได้ถวายตานตุง (ถวายทานตุง) เป็นการสร้างกุศลให้กับตนเอง และยังเป็นการการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้หมดไป การทำตุงถวายพระยังเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยอานิสงส์ของการถวายตุงจะส่งผลให้ผู้ล่วงลับได้ไปสถิตอยู่ในสวรรค์ พ้นจากความทุกข์ยากลำบากในการใช้กรรมในปรโลก

    จากนั้นครูจารินทร์ยังได้เล่าถึงตุงชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “ตุงจ้อน้อย” หรือ “ตุงช่อน้อย” มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ทำด้วยกระดาษสาด้วยกระดาษสีต่างๆ มีลวดลายได้ตามใจ นิยมตัดขอบตุงเป็นขั้นบันได เปรียบเสมือนการสั่งสมความดีไปเรื่อยๆ เพื่อก้าวขึ้นเกิ๋น หรือคันได หรือบันไดไปสู่สวรรค์ (นิพพาน) ใช้ปักบนเจดีย์ทราย หรือทำถวายในงานปอยหลวง งานกฐิน ฯลฯ โดยหากมีขนาดใหญ่หน่อยก็เรียกว่า “ตุงจ้อจ๊าง” หรือ “ตุงช่อช้าง”
    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-2.jpg
    “ตุงทราย” เป็นตุงที่ใช้ปักเจดีย์ทรายช่วงปีใหม่สงกรานต์ มีหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่นิยมทำก็คือทำเป็นรูปเทวดา โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อทำบุญถวายเทพเทวดาที่รักษาดูแลรักษาตัวเราและขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงเกิน และนำไปไปปักบนเจดีย์ทรายพร้อมกับตุงอื่นๆ เช่น ตุงช่อน้อย ซึ่งเมื่อโดนลมก็จะปลิวไสวสวยงามอยู่บนเจดีย์ทราย

    “ตุงไส้ช้าง” หรือ “ตุงไส้หมู” หรือที่ภาคกลางเรียก “พวงมโหตร” ก็เป็นตุงระย้าที่ใช้ประดับในงานสงกรานต์เช่นเดียวกัน ส่วน “ตุงชัย” นั้นเป็นตุงแห่งความสำเร็จ มักใช้ในการเฉลิมฉลองหรืองานสมโภชต่างๆ เช่นเมื่อวัดแห่งใดมีงานปอยหลวง หรือสร้างโบสถ์สร้างวิหารสำเร็จและจะมีงานฉลอง ชาวบ้านก็นำตุงชัยไปปักตั้งแต่ปากทางไปจนถึงวัด คนที่ผ่านมาเห็นก็จะรู้ว่าที่บ้านนี้วัดนี้กำลังจะมีงานฉลอง หรือถ้าเห็นบ้านไหนปักตุงชัยก็จะรู้ว่าจะมีงานฉลองในการทำการงานที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จนั่นเอง
    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-3.jpg
    นอกจากนั้นก็ยังมี “ตุง 12 ราศี” หรือ “ตุงนักษัตร” หรือ “ตุงปี๋ใหม่เมือง” คือตุงที่มีลวดลายของนักษัตรทั้ง 12 ราศี ตุงนี้ก็ใช้ในช่วงงานสงกรานต์เช่นกัน บางคนก็ทำทั้ง 12 นักษัตร แต่บางคนก็ทำตุงตัวเปิ้น คือทำแต่นักษัตรของตัวเอง บ้างก็ทำเพื่อสะเดาะเคราะห์ด้วย เช่นเดียวกับ “ตุงค่าคิง” ซึ่งเป็นตุงรูปร่างเหมือนคนที่มีความยาวเท่ากับความสูงของผู้ถวาย ทั้งยังวาดมีหน้าตาจมูกปาก ผู้ที่ทำตุงค่าคิงเสร็จแล้วจะถวายไว้ที่วัดเพื่อเป็นการสืบชะตา
    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-4.jpg

    แต่ตุงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องยกให้ “ตุงซาววา” ซึ่งเป็นตุงชัยขนาดใหญ่ มีความยาวตั้งแต่หัวจดหางถึงซาววา หรือ 20 วา ทั้งยังมีลวดลายที่สวยงาม ประดับตกแต่งด้วยใบไม้จำลองเรียกว่าใบไฮ หรือใบไทร โดยเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วใบไฮเพื่ออุทิศบุญกุศลไปให้ หรือเขียนชื่อตัวเองและครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อสะสมบุญไว้ภายภาคหน้า การทำตุงซาววาซึ่งมีขนาดใหญ่ก็จะต้องมีคนช่วยทำหลายคน เวลาแห่ไปถวายก็ต้องมีคนช่วยกันยกหลายคน จึงถือว่าเป็นการทำบุญใหญ่ที่มีคนมาร่วมบุญกันเป็นจำนวนมาก ทั้งยังแสดงถึงศรัทธาและสามัคคีอีกด้วย

    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-5.jpg
    และนอกจากตุงมงคลต่างๆ ที่ใช้ในงานบุญเหล่านี้แล้ว ก็ยังมีตุงอวมงคลที่เกี่ยวกับคนตายหรือใช้ในงานศพ เช่น ตุงแดง ตุงสามหาง เรียกได้ว่าแทบทุกงานบุญงานฉลองหรือแม้แต่งานศพ ตุงก็เข้าไปมีส่วนร่วมกับคนล้านนาในทุกๆ เมื่อ

    แน่นอนว่าได้ฟังเรื่องราวและเห็นถึงรูปแบบของตุงแต่ละชนิดแล้ว ครูจารินทร์ยังลองให้เราได้ทำตุงแบบง่ายๆ ด้วยอุปกรณ์ที่มีเตรียมไว้ ซึ่งเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วครูก็จะนำไปถวายที่วัดใกล้บ้านให้ในโอกาสที่เหมาะสม เรียกว่าในครั้งนี้ได้ทั้งความรู้เกี่ยวกับตุงอันหลากหลาย ได้ความเพลิดเพลินกับการทำงานฝีมือ ใครที่อยากมาลองทำงานเวิร์คชอปเล็กๆ แบบชิลๆ หากมาที่แม่สาย จ.เชียงราย ก็อย่าลืมมาที่แหล่งเรียนรู้ครูจารินทร์กันได้
    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-6.jpg


    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-7.jpg
    87e0b8a3e0b8b2e0b8a2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b894e0b8ade0b8a2e0b895e0b8b8e0b887-e0b897e0b8b3-8.jpg
    “แหล่งเรียนรู้ครูจารินทร์” ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 บ้านสันยาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดบมีโปรแกรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลา 1-3 ชั่วโมง โดยมีโปรแกรมให้เลือกดังนี้ 1. ตุงในวิถีล้านนา 2. โคมล้านนา 3. ดอกไม้ประดิษฐ์ และ 4. งานใบตอง ใบเตย รวมถึงมีบริการอาหารว่างและสามารถนำผลงานกลับบ้านได้ สอบถามรายละเอียดและค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ที่ โทร.09 5675 6090
    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9620000052700
     

แชร์หน้านี้

Loading...