ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 ธันวาคม 2008.

  1. ปัญจ์ธน

    ปัญจ์ธน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +855
    อนุโมทนาครับ
    สุดยอดจริงๆ เวลาเดินทางไปจังหวัดไหนจะได้แวะกราบพระ
    รอเก็บข้อมูลต่อครับ


    ธรรมะไม่กลับมา โลกาวินาส
     
  2. คุณมอสโตจั่น

    คุณมอสโตจั่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +214
    ขออนุโทนาครับ ได้ความรู้อีกเยอะเลย อยากไปให้ครบทุกองค์ครับ
     
  3. Nutuk

    Nutuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +347
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    สาธุ สาธุ สาธุ


    [​IMG]
    <!-- / message -->
     
  4. daradora

    daradora เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +496
    ดีใจจังมีจังหวัดเราด้วย อิอิ

    ขอบคุณมากๆเลยนะคะ

    ทำให้ทราบที่มาของพระประธานในหลายๆที่เลย

    และถ้ามีโอกาส รับรองว่าจะต้องแวะเวียนเข้าไปชมค่ะ

    ขอบคุณมากๆนะคะ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    "พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" หรือ "หลวงพ่อดำ" วัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี​





    "พระ สัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" หรือ "หลวงพ่อดำ" วัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออกเลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ

    พระ สัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต หรือหลวงพ่อดำ ประดิษฐานในวิหารวัดช่องแสมสาร อ.สัตหีบ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง 5 เมตร มีรูปใบหน้าอิ่มเอิบ ดวงตาทอดต่ำลงแผ่เมตตาให้กับผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้

    ตำนาน หลวงพ่อดำระบุว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2501 "หลวงพ่อดำรง คุณาสโภ" ได้เดินทางจาก จ.สุพรรณบุรี มาปักกลด ณ บริเวณพระเจดีย์เก่าบนเขาของวัดช่องแสมสาร

    หลวงพ่อดำรง ได้เล่าให้ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการให้ฟังว่า ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาขึ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี สาเหตุที่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะได้ฝันว่า เทพยดาองค์หนึ่งบอกให้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ใกล้ๆ พระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง บนเขาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

    "ในภายภาคหน้า พระประธานองค์นี้จะกลายเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์และมีประชาชนให้ความเคารพ นับถือเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบริเวณแห่งนี้มีความเหมาะสมที่จะบูรณะให้กลายเป็นแหล่งรักษาศีลและ ความสงบให้กับชาวพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก..."

    หลวงพ่อดำรง ได้ออกเดินทางจากวัดเขาขึ้น กว่าจะถึงวัดช่องแสมสารเป็นเวลาหลายวัน เพราะท่านเดินทางถึงหมู่บ้านติดทะเลที่ใดก็จะแวะดูเรื่อยไป

    จนถึง บ้านช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี คือ สถานที่ท่านปักกลดอยู่นี้ เป็นสถานที่มีภูมิทัศน์ตรงกับสภาพที่ท่านนิมิตฝัน ท่านจึงชักชวนญาติโยมช่วยกันบริจาควัสดุในการสร้างพระพุทธปฏิมากร ซึ่งได้รับศรัทธาร่วมมือด้วยดี

    ในสมัยนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานคนแบกขนวัสดุขึ้นไป การสร้างใช้เวลาสร้าง ประมาณ 2 ปี จึงแล้วเสร็จและทารักสีดำ ตั้งเป็นสง่าอยู่กลางแจ้ง โดยไม่มีหลังคาคลุมแต่อย่างใด

    ชาวบ้านชาวเรือและผู้พบเห็น จึงเรียกว่าหลวงพ่อดำกันจนติดปาก ทั้งๆ ที่ตอนสร้างเสร็จ ท่านได้ถวายนามว่า "พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" ซึ่งชื่อในตอนท้าย มีความหมายระบุว่า เป็นพระที่เกิดจากความฝันดี

    หลังจากสร้างเสร็จประมาณ 1 เดือน ได้จัดงานฉลองพระและประกอบพิธีเบิกพระเนตร ในครั้งนั้นได้มีการผูกหุ่นฟาง 2 หุ่น เพื่อเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อดำ หลังจากเสร็จพิธีก็เผาหุ่นฟาง

    หลวง พ่อดำ ได้ตั้งตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นเวลาถึง 10 ปีเศษ จนมีชาวประมงจากจังหวัดสมุทรปราการแล่นเรือผ่านมาเห็นหลวงพ่อดำตากแดด จึงบนขอพรว่าออกเรือเที่ยวนี้ขอให้ได้ 200,000 บาท จะมาทำหลังคาให้ ปรากฏว่าได้ดังคำขอ จึงเอาเงินมาฝากให้นายเจริญ ทิศาบดี ผู้ใหญ่บ้านช่วยทำหลังคา แต่ไม่มีฝา เมื่อฝนตกก็สาดเปียก

    ต่อมาชาว ประมงอีกรายผ่านมา ก็บนหลวงพ่อดำอีก ขอให้จับปลาได้เยอะๆ จะมากั้นฝาให้ ปรากฏว่าได้สมหวังก็เอาเงินมาฝากผู้ใหญ่ให้ช่วยทำต่อไป

    สภาพวิหาร หลวงพ่อดำในขณะนั้น จึงเป็นเพียงมีหลังคาและฝาไม้สามด้าน มีชาวบ้านและชาวเรือต่างขึ้นไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก และมักประสบผลสำเร็จ

    หลังจากสิบปีผ่านไป สภาพของวิหารชำรุดทรุดโทรมจนใช้งานไม่ได้ นายเสน่ห์ พิทักษ์กร สมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมมือกับพระครูวิสารทสุตากร เจ้าอาวาส พร้อมชาวบ้านร่วมกันสร้างเป็นวิหารจตุรมุข ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง และมีภาพปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน

    ครั้นสร้างเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดวิหารอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532

    ใน แต่ละวันมีประชาชนเดินทางไปนมัสการขอบนและแก้บนสิ่งสมปรารถนาโดยมิได้ขาด เรื่องราวพุทธานุภาพปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อดำมีมาก จากคำบอกเล่าของผู้คนที่มาแก้บนแต่ละวัน จะเข้าสักการะแก้บนด้วยไข่ต้มและพวงมาลัยดอกไม้สด

    ตามความเชื่อว่า หลวงพ่อดำคุ้มครองรักษา ให้ปลอดภัยและได้โชคลาภสิ่งที่สมปรารถนาไม่ขาดสาย จนหลวงพ่อดำที่ทารักสีดำ กลายเป็นหลวงพ่อดำสีทองเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งองค์ในปัจจุบัน

    ผู้ที่ จะเดินทางไปวัดช่องแสมสารแห่งนี้ หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ผ่านไปถนนสุขุมวิทและไปถึง อ.สัตหีบ หรือหากมาจากถนนบางนา-ตราด ให้วิ่งไปทางพัทยาและผ่านไปถึง อ.สัตหีบ

    สำหรับถนนทางขึ้นสู่ยอดเขานั้นราดยางอย่างดีตลอดเส้นทาง และจะได้พบกับทัศนียภาพอันสวยงาม ทั้งทางทะเลและบนภูเขาควบคู่กันไปด้วย

    หากมีเวลาจะได้ชมพระ อาทิตย์ตกทะเลอย่างสวยงามอีกด้วย



    ที่มา - ข่าวสด
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    หลวงพ่อปากแดง วัดพราหมณี จ.นครนายก


    "นครนายก" เดิมมีชื่อว่า "บ้านนา" เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏเป็นที่ดอน ทำนาหรือเพาะปลูกอะไร ไม่ค่อยได้ผลและมีไข้ป่าชุกชุม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นจนที่นี่กลายเป็นเมืองร้าง

    ต่อมา พระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกภาษีนาเพื่อจูงใจชาวเมืองให้อยู่ที่เดิมทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่ม มากขึ้น จนเป็นชุมชนใหญ่และเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า "เมืองนายก"

    นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 107 กิโลเมตร ตามถนนเลียบคลองรังสิต สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคู อยู่ที่ตำบลดงละคร แต่ชื่อนครนายกนั้น

    ปรากฏ หลักฐาน ในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออก สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในปี พ.ศ.2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนเมื่อพ.ศ.2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง ให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทน

    วัดพราหมณี ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน จ.นครนายก ตั้งอยู่ที่ถนนสาริกา-นางรอง หลักกิโลเมตรที่ 4 ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก

    วัด แห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2446 ปัจจุบันนี้มีอายุ 100 กว่าปีแล้ว

    วัด พราหมณี มีพระประธานศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพนับถือกันอย่างกว้างขวาง มีชื่อว่า "หลวงพ่อปากแดง" เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 1 เมตร เป็นศิลปะสมัยล้านช้าง จีวรเป็นลายดอกพิกุล พระโอษฐ์แย้มทาสีแดงเห็นชัด ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หลวงพ่อปากแดง"

    สิ่งที่เด่นสะดุดตา คือ ที่ปากของหลวงพ่อมีสีแดงสด เหมือนมีผู้นำลิปสติกไปทาไว้ ผู้เฒ่าผู้แก่ย่านนั้นยืนยัน ว่าเห็นปากท่านแดงแบบนี้ มาตั้งแต่เกิด แม้แต่ปู่ย่าตายายของผู้เฒ่าเหล่านี้ก็บอกว่าเห็นมาตั้งแต่เกิดเหมือนกัน

    พระ ครูโสภณพรหมคุณ หรือ "หลวงพ่อตึ๋ง" เจ้าอาวาสวัดพราหมณี เล่าว่า ตำนานเชื่อกันหลวงพ่อปากแดง เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับหลวงพ่อพระสุก และหลวงพ่อพระใส ที่ประดิษฐานอยู่ที่ จ.หนองคาย ในปัจจุบัน ที่ได้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ พอมาถึงประเทศไทย ชาวบ้านได้แยกย้ายไปตามวัดต่างๆ ส่วนหลวงพ่อปากแดงนั้น ถูกชาวบ้านอัญเชิญและนำมาหยุดยังพื้นที่ว่างบริเวณที่เป็นวัดพราหมณี ปัจจุบันนี้ จากนั้นก็ลงมือสร้างวัดแล้วก็อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นพระประธานในพระ อุโบสถ

    ซึ่งต่อมา "หลวงพ่อปากแดง" ก็กลายมาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาว จ.นครนายก จนทุกวันนี้ โดยความเชื่อของประชาชนนั้น ประชาชนที่เดินทางไปเที่ยวน้ำตกสาริกา จะต้องแวะกราบสักการบูชา พร้อมกับบนบานด้วยกล้วยน้ำว้า 9 หวี หมากพลู 9 ชุด พวงมาลัย 9 พวง และน้ำแดง 1 ขวด กันอย่างล้นหลาม พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานให้สมความปรารถนาตัวเอง

    วัดพราหมณี ยังคงมีเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ เมื่อครั้งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เลือกบริเวณที่ตั้งของวัดพราหมณีเป็นจุดพักทัพของกองพัน ทหารที่ 37 ซึ่งมีจุดหมายจะไปรวมพลกันที่บริเวณเขาชะโงก (ปัจจุบัน คือ สถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก)

    จึง มีทหารญี่ปุ่นล้มตายอยู่ในเขต จ.นครนายก หลายแห่งด้วยกัน ปรากฏว่ามีการค้นพบกระดูกของทหารญี่ปุ่นใกล้วัดพราหมณี ดังนั้น สมาคมทหารสหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ 37 จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงทหารญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 ณ วัดพราหมณี

    ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สร้างเป็นศาลาจตุรมุขประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร ด้านหน้าพระพุทธรูปเป็นแท่นหินจารึกอักษรญี่ปุ่น ด้านซ้ายพระพุทธรูปเป็นแท่นหินอ่อน โดยมีการจารึกข้อความไว้อาลัย สดุดีความกล้าหาญ และระลึกถึงไว้ที่ฐานพระพุทธรูป

    ป้ายจารึกด้านซ้ายของพระพุทธรูป และแท่นหินบูชาหน้าพระพุทธรูป ดังข้อความโดย สรุปของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดังนี้

    "อนุสรณ์ สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 จัดสร้างโดยสมาคมทหารสหายสงคราม กองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 เมื่อปี 2532 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงดวงวิญญาณของบรรดา ทหารซึ่งสังกัด กองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 จำนวน 7,929 นาย ที่สูญเสียชีวิต ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี 2482-2488"

    นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวภายในวัด ประกอบด้วย วิหารเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งจัดสร้างโดยกลุ่มนักธุรกิจจากไต้หวัน, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, อุทยานการศึกษา มีรูปปั้นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่รอบบริเวณวัด เช่น ช้างพันธุ์แอฟริกา, กวาง, ควายป่า ฯลฯ สวนพักจิตร (สวนต้นไทร) ใช้เป็นที่พักผ่อนทำสมาธิหรือทำกิจกรรมยามว่าง




    ที่มา - ข่าวสด
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    หลวงพ่ออภัยวงศ์ วัดแก้วพิจิตร จ.ปราจีนบุรี


    "วัด แก้วพิจิตร" ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำปราจีนบุรี ต.บางบริบูรณ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2422 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย นางประมูล โภคา (แก้ว ประสังสิต)

    ต่อมาในปี พ.ศ.2454 เมื่อเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่งอพยพครอบครัวมาจากพระตะบอง ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำปราจีน บุรี ได้เกณฑ์ช่างชาวเขมรมาด้วยและได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหนังสือไทย เป็นอาคารตึกชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 40 เมตร ชั้นบนเป็นดาดฟ้ามียอดโดม 3 ยอด ตรงกลางดาดฟ้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมียอดหลังคาเป็นโดม อาคารหลังนี้ได้รับพระราชทานนามว่า โรงเรียนอภัยพิทยาคาร

    เมื่อ พ.ศ.2461 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เห็นว่าพระอุโบสถหลังเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้รื้อและก่อสร้างใหม่เป็นอุโบสถก่ออิฐถือปูนลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นศิลป กรรมผสมผสานศิลปะไทย จีน ตะวันตก และเขมร ก่อสร้างบนที่เดิม ขนาดอาคาร 5 ห้อง กว้าง 17 เมตร ยาว 21.30 เมตร ได้รับการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2464

    ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานนั่งขัดสมาธิทำปาง ซึ่งเรียกกันว่า "หลวงพ่อปางอภัยทาน" หรือ "หลวงพ่ออภัยวงศ์" อยู่ภายใต้ฉัตรเงิน 5 ชั้น ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงออกแบบ

    นอกจากนี้ ยังมีภาพเขียนบนผืนผ้าเล่าเรื่องพุทธประวัติใส่กรอบแขวนไว้ในพระอุโบสถ 13 ภาพ แต่ได้ถูกโจรกรรมไป

    พระ พุทธรูปปางอภัยทาน เป็นศิลปะรัตน โกสินทร์แบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2464 เป็นทองแดง หน้าตักกว้าง 1 เมตร 7 เซนติเมตร

    พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ขวายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านนอกพระองค์วางตั้งฉากอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางหงายฝ่าพระหัตถ์ขึ้นอยู่บนพระเพลา พระเนตรและพระอุมาฝังด้วยอัญมณี มีฉัตรเป็น 5 ชั้น เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ทรงออกแบบและทรงประทานพระนามว่า "ปางอภัยทาน"

    พระพุทธรูปมีลักษณะ เหมือนมนุษย์สามัญและเลียนแบบพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ของอินเดีย พระพักตร์เป็นแบบประติมากรรมกรีกโรมัน พระเกศาหยักศกรวบเป็นมวยกลางพระเศียร ครองจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ

    พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะรูปแบบใกล้ เคียงกันกับพระพุทธรูปปางขอฝน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างกันตรงที่พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งเท่านั้น

    พุทธศาสนิกชนที่มานมัสการมักมาขอพร 3 ประการ ที่ประสบความสำเร็จ คือ

    พรข้อที่ 1 ถ้าท่านเป็นผู้ใจร้อน เมื่อได้นมัสการแล้วใจจะเย็นลงสงบขึ้น

    พร ข้อที่ 2 ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีคำพูดไม่มีความหมาย พูดแล้วไม่ประทับใจผู้รับฟัง พูดแล้วเหมือนขวางหูผู้รับฟัง เมื่อได้นมัสการแล้วจะเป็นผู้ที่พูดแล้วมีความหมายติดตรึงใจผู้รับฟังประทับ ใจผู้ร่วมสนทนา

    พรข้อที่ 3 จะล่วงเกินผู้ใดก็ตามจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เมื่อได้นมัสการแล้วจะได้รับการให้อภัยจะไม่มีการโกรธไม่มีศัตรู

    ใน ปี พ.ศ.2464 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้จัดสร้างหอไตร 1 หลัง ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร บริเวณที่เคยเป็นศาลาการเปรียญเป็นสถาปัตยกรรมผสมศิลปะตะวันตกกับศิลปะไทย และสร้างศาลาการ เปรียญหลังใหม่ขึ้นเป็นอาคารกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหอไตร

    สิ่งสำคัญ นอกจากการนมัสการหลวงพ่อปางประทานอภัย คือ พระอุโบสถสี่ชาติ ฝรั่งเศส เขมร จีน และไทย ที่ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติโดยกรมศิลปากร เป็นที่ร่ำลือกล่าวขวัญอย่างมากว่า เป็นการสร้างที่แปลก ด้วยการผสมผสานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไว้ได้ถึง 4 ชาติ ในพระอุโบสถหลังเดียวกัน

    พระอุโบสถนี้จำลองแบบมาจากวัดพระเจ้าช้างเผือก ที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

    อนึ่งในการเยี่ยมชมและนมัสการ จะมีคุณวารินทร์ คุ้มกาญจน์ วิทยากรบรรยายพิเศษกรมศิลปากรนำชมให้ความรู้ตลอด

    หาก ใครที่มีโอกาสเดินทางไปแถบภาคตะวันออก ใกล้ จ.ปราจีนบุรี แล้ว ควรแวะไปที่วัดแก้วพิจิตร ชมสถาปัตยกรรมศิลปะผสมผสาน 4 ชาติที่สวยงามที่สุดของประเทศ พร้อมนมัสการหลวงพ่ออภัยวงศ์

    เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและหน้าที่การงาน




    ที่มา - ข่าวสด
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    หลวงพ่อใหญ่ วัดพระนารายณ์ โคราช​






    "นครราชสีมา" หรือที่เรียกว่า "โคราช" เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว

    ผู้ มาเยือนจะได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน

    คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง

    นครราชสีมา เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดิน แดนแถบนี้

    เคยมีฐานะเป็นเมือง "เจ้าพระยามหา นคร" เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง

    จนมาถึงปัจจุบัน ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

    นครา ชสีมา มีวัดวาอารามและโบราณสถานมากมาย ให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญไหว้พระเสริมความเป็นสิริมงคล เริ่มต้นจากวัดกลางเมืองโคราช คือ วัดพระนารายณ์มหาราช

    "วัดพระ นารายณ์มหาราช" (วัดกลาง) พระอารามหลวง ถ.จอมพล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา อยู่ภายในตัวเมืองนครราช สีมา โดยอยู่ระหว่างถนนอัษฎางค์และถนนจอมพล

    เส้นทางการคมนาคมสะดวกและ ปลอดภัยมีรถประจำทาง รถรับจ้าง และสามล้อให้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ด้วยสภาพถนนภายในตัวเมืองเป็นถนนลาดยางอยู่ในสภาพดี

    วัดพระนารายณ์ มหาราช เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเคยเป็นที่ประดิษฐานอัฐิของท้าวสุรนารี

    วัดพระนารายณ์มหาราช เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดกลาง" เป็นวัดกลางเมืองนครราชสีมาเดิม มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ การเป็นวัดศูนย์กลางของเมืองนครราชสีมา

    ตาม หลักฐานที่ปรากฏระบุว่า วัดพระนารายณ์มหาราช ได้รับพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2199 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2204 เนื้อที่กว้าง 17.30 เมตร ยาว 27.35 เมตร

    วัดแห่งนี้ บริเวณมุมวัดด้านถนนจอมพล ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนคร ราชสีมา

    วัดพระ นารายณ์มหาราช มีประตูเข้าวัดได้ 4 ทาง คือ ด้านติดถนนอัษฎางค์ ถนนจอมพล ถนนประจักษ์ และทางด้านถนนจอมพล ติดกับตลาดอันเป็นทางเข้าศาลพระนารายณ์

    ภาย ในวัดพระนารายณ์มหาราชมีพระอุโบสถอยู่กลางสระน้ำ ส่วนตรงข้ามเป็นพระวิหาร ด้านขวามือของวิหารเป็นศาลา ด้านซ้ายมือของวิหาร เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม ซึ่งจะมีการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กนัก เรียนในวันอาทิตย์เป็นประจำ

    บริเวณใจกลางวัด มีต้นโพธิ์ใหญ่ล้อมรอบ ด้วยลานสนามหญ้า ด้านหลังพระวิหารเป็นเขตสังฆาวาสซึ่งมีต้นไม้เรียงอยู่เป็นทิวแถว

    ภาย ในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช มีศาลพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ตั้งเทวรูปพระนารายณ์สี่กร อยู่ในท่ายืน สูง 17 นิ้ว สร้างด้วยหินทรายฝีมือขอม เป็นเทวรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครราชสีมามาช้านาน

    สภาพศาลพระ นารายณ์มหาราช มีลักษณะเป็นศาลกว้าง ภายในเต็มไปด้วยดอกไม้ของบูชามากมาย และมีควันธูปเทียนลอยอบอวลไปทั่วบริเวณ เนื่องจากอยู่ติดกับตลาด ทำให้บรรยากาศเป็นด้วยความคึกคักจอแจเป็นพิเศษ รอบบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราชเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์และตลาด แล้วยังอยู่ย่านใจกลางเมือง ทำให้เกิดเสียงรบกวนเข้ามาในวัดเป็นประจำ

    นอก จากนี้ ภายในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช ยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระทศพลญาณประทานบารมี" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หลวงพ่อใหญ่"

    หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช ประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระวิหารด้านตะวันตก ชุกชีสูง 3.14 เมตร

    หลวง พ่อใหญ่ หน้าตักกว้าง 4 เมตร สูงถึงยอดพระรัศมี 5.3 เมตร สร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมา มีความเก่าแก่ยาวนานกว่า 300 ปี ถือเป็นพระประธานองค์แรกของจังหวัด ที่มีความสวยงามและใหญ่มากแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    "พระครู สมุห์นาคน้อย" พระผู้ดูแลพระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ กล่าวว่า "หลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชาวโคราชและใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธา สักการบูชาและอธิษฐานขอพร ตามความมุ่งหวังต่างๆ ที่ปรารถนา การเข้าไปสักการะขอพรไม่ต้องมีพิธีรีตองสำคัญ เพียงแค่ดอกไม้ธูปเทียนเท่านั้น"

    "อย่างไรก็ตาม การเข้าไปสักการะหลวงพ่อใหญ่ ไม่สามารถเปิดได้ทุกวัน จะเปิดให้เข้าสักการะเฉพาะในช่วงวันสำคัญหรือวันพระ เพื่อความสะดวกของคณะสงฆ์ในวัดในการดูแลรักษาความเรียบร้อย"



    ที่มา - ข่าวสด
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    พระมงคลมิ่งเมือง พระคู่เมืองอำนาจเจริญ​



    "พระมงคลมิ่งเมือง" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอำนาจ เจริญ

    ประวัติ ความเป็นมาของพระมงคลมิ่งเมือง เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2503 พระครูทัศประกาศ เจ้าอาวาสวัดมงคลมิ่งเมือง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ (สมัยสร้างยังเป็นอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบล ราชธานี) ต้องการสร้างพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โบราณวัตถุทางพุทธศาสนาที่หักพัง เช่น เศียรพระพุทธรูป ใบเสมาเก่า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไว้ที่ใต้ฐาน

    รวมทั้งเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าประคุณเจ้าสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ องค์ปฐมสังฆนายก และให้เป็นที่เคารพสักการบูชาแก่ชาวอำนาจเจริญ

    รูป แบบการสร้าง "พระมงคลมิ่งเมือง" ช่างได้ไปถ่ายแบบจากพระพุทธชินราช ซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก และได้มากำหนดให้องค์พระมีหน้าตักกว้าง 9 เมตร (4 วา 2 ศอก) สูงจากฐานหรือแท่นประทับนั่งจรดยอดพระเกตุมาลา 11 เมตร 4 เซนติเมตร (5 วา 2 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว) ฐานแท่นประทับกว้าง 5 เมตร สูง 5 เมตร

    อุปกรณ์ ใช้สร้าง "พระมงคลมิ่งเมือง" ประกอบด้วย หิน กรวด ทราย ปูนซีเมนต์ เหล็กขนาด 3-6 หุน กระเบื้องเคลือบสีเหลือง (สีทอง) ขนาดกลักไม้ขีดไฟใช้ปิดทองที่องค์พระ งบประมาณใช้สร้างประมาณ 200,000 บาท โดยมี นายคำเม้า ภักดีปัญญา ชาว จ.ร้อยเอ็ด เป็นช่างฝีมือควบคุมการสร้าง

    สถาน ที่จัดสร้างตั้งอยู่กลางสันภูดานพระบาท เป็นลานหินขนานกัน 2 ข้าง มีเนื้อที่กว้างประมาณ 36 ไร่ สภาพแวดล้อมเป็นภูเขาลูกเตี้ยๆ สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 13 เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุม มีความร่มเย็น มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวอำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญ และติดกับทางหลวงแผ่นดินสายจังหวัดอุบลราชธานี-มุกดาหาร

    ระหว่าง การสร้าง "พระมงคลมิ่งเมือง" มีผู้มีจิตศรัทธาทั้งที่เป็นภิกษุสงฆ์ ฆราวาส นำปัจจัยมาสมทบทุนการสร้าง รวมทั้งช่วยกันขนหิน ขนดิน จนกระทั่งวันที่ 1 กันยายน 2505 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 9 ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดสุปัฏวนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จำนวน 10 รูป นำโดยเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพบัณฑิต เป็นประธานในพิธี

    แต่ก่อนประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ มีเหตุการณ์แปลกเกิดขึ้น คือ มีฝนตกลงมาอย่างหนัก จนต้องเลื่อนเวลาการประกอบพิธีออกไป แต่ฝนก็ตกลงไม่มีท่าทีจะหยุด เจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต จึงสั่งให้เริ่มประกอบพิธีท่ามกลางสายฝน ทำให้พระเณรและประชาชนที่มาร่วมพิธีเปียกปอนไปตามๆ กัน

    แต่การสร้างพระมงคลมิ่งเมือง ก็มีอุปสรรคเกิดขึ้น เพราะทุนทรัพย์ใช้ก่อสร้างมีผู้บริจาคเพียง 26,721.05 บาท

    กระทั่ง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2505 พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนา พร้อมด้วย พ.อ.พรชัย วิชาวรณ์ ได้มาสำรวจการก่อสร้าง และพระครูโอภาสธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุต ได้เสนอให้ท่านทั้ง 2 เป็นผู้อุปถัมภ์ก่อสร้างต่อ

    พ.อ.ปิ่นได้นำเรื่องการสร้างพระมงคลมิ่งเมืองรายงานให้ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทราบ พล.อ.ประภาส จึงได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวสมทบการสร้าง 100,000 บาท และผู้มีจิตศรัทธาในกลุ่มของ พล.อ.ประภาส ร่วมบริจาคสมทบให้อีก 100,000 บาท การก่อสร้างพระมงคลมิ่งเมือง จึงได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง

    สำหรับการ ก่อสร้างครั้งใหม่ มีการขยายแท่นพระออกไปทั้งสี่ด้าน ด้านละ 1-5 เมตร ขยายแท่นพระ ซึ่งมีความยาวเดิม 9 เมตร กว้าง 5 เมตร เป็น 12 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 5 เมตร สูงจากพื้นดินถึงพระเกตุมาลา 20.50 เมตร หน้าตักกว้าง 10 เมตร หันพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ปิดด้วยกระเบื้องโมเสกทองเหลืองอร่าม โดยองค์พระแม้มีขนาดใหญ่ แต่สวยงามยิ่ง ทำให้ผู้มีศรัทธาบางคนนิยมเรียกท่านว่า "พระเจ้าใหญ่มงคลมิ่งเมือง" ใช้งบฯ ก่อสร้างทั้งสิ้น 332,800 บาท และสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2508

    ปัจจุบัน พระมงคลมิ่งเมืองจึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวอำนาจ เจริญ หากผู้ใดได้มาเยือนแล้วไม่ได้ไปกราบนมัสการ ถือเสมือนว่า ยังเดินทางมาไม่ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ

    การกราบขอพรจากองค์พระมงคลมิ่งเมือง ส่วนมากนิยมขอพรให้คลายความทุกข์โศกร้อนใจ และบนบานให้ประสบความสำเร็จต่างๆ

    ทั้ง นี้ ทุกวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาทุกปี ชาวอำนาจเจริญจะพร้อมใจจัดงานกราบนมัสการเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน ดังนั้น ผู้คนที่เคยเดินทางมากราบไหว้ขอพรหรือบนบานไว้ จะพากันเดินทางมากราบนมัสการและแก้บนในช่วงวันดังกล่าวจำนวนมาก

    กราบไหว้บูชาพระมงคลมิ่งเมือง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตัวและครอบครัว เป็นมงคลชีวิตดีนักแล



    ที่มา - ข่าวสด
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    พระสัพพัญญูเจ้า อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


    "พระ สัพพัญญูเจ้า" เป็นพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 คืบ หล่อขัดเงา ไม่ปิดทอง พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    ประวัติ วัดสุปัฏนารามวรวิหารแห่งนี้ มีชื่อเดิมว่า "วัดสุปัฏนาราม" เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2396

    ปัจจุบัน วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกของ จ.อุบลราชธานี มีอาณาเขตทั้งสิ้น 21 ไร่ 38 ตารางวา ตั้งอยู่ถนนสุปัฏ ต.ในเมือง อ.เมือง มีทำเลที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำมูล สร้างในสมัยพระพรหมราชวงศา (พระอุปราชกุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3

    สำหรับการพระราชทานนามว่า "วัดสุปัฏนาราม" มีความหมายของคำ 2 นัย คือ

    1.หมายถึงวัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเพื่อเป็นท่าเรืออย่างดี เพราะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลสะดวกต่อการเดินทาง และการออกบิณฑบาต

    2.หมายถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นศาสนสถานเปรียบดั่งท่าเรือ ที่ให้มวลมนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารไปได้

    การ สร้างวัดสุปัฏนาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้นคือ พระพรหมราชวงศา เลือกพื้นที่ดำเนินการสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.2393 การสำรวจพื้นที่พบว่า บริเวณท่าเหนือช่วงบ้านบุ่งกาแซว (ปัจจุบันเป็นชุมชนบุ่งกาแซว ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร) เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่บำเพ็ญศาสนกิจ และสะดวกต่อการโคจรบิณฑบาต จึงก่อสร้างวัดให้เสร็จสิ้นลงเมื่อ พ.ศ.2396

    ต่อ มา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมราชวงศา อาราธนาพระพันธุโลเถร (ดี) และพระเทวธมมี (ม้าว) มาครองวัด จนกระทั่งถึง พ.ศ.2478 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่สมกับเป็นอารามหลวงชั้นวรวิหารว่า "วัดสุปัฏนารามวรวิหาร"

    กล่าวได้ว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการศาสนา มีพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน โดยหลังคาเป็นแบบไทย ส่วนกลางของตัวอุโบสถเป็นแบบยุโรป (เยอรมัน) ส่วนฐานสร้างแบบขอมโบราณ

    ลักษณะ โดดเด่นอีกประการ คือ ตัวอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูโดยรอบ มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร สำหรับผู้ออกแบบอุโบสถหลังนี้ คือ หลวงสถิตถ์นิมานการ (ชวน สุปิยพันธุ์) สร้างเมื่อ พ.ศ.2473

    ส่วน พระอุโบสถหลังเดิม ยาว 11 วา 2 ศอก กว้าง 8 ศอก สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยอุโบสถหลังเก่า ได้ชำรุดทรุดโทรม ยากแก่การบูรณะ จึงได้สร้างอุโบสถหลังนี้ขึ้นแทน เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน อันมีนามว่า "พระสัพพัญญูเจ้า"

    "พระสัพพัญญูเจ้า" สร้างเมื่อ พ.ศ.2459 ก่อนการสร้างอุโบสถหลังใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 4 คืบ เป็นพระพุทธรูปหล่อขัดเงาไม่ปิดทอง เริ่มการหล่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2459 เวลา 04.03 น. แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2459 (ก่อน พ.ศ.2483 ประเทศไทยได้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี และนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี) ตั้งประดิษฐานรวมกับพระพุทธรูปสำคัญองค์อื่นอีกหลายองค์

    นอกจากนี้ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ยังมีหอศิลปวัฒนธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ.2535 เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ทับหลัง ศิลาจารึก ที่ได้มาจากถ้ำภูหมาไน (ตั้งอยู่ในอำเภอสิรินธร) เป็นจารึกที่มีข้อความคล้ายกับจารึกจิตรเสน ในสมัยเจนละ รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้ศรัทธารวบรวมมาถวายให้เป็นสมบัติของวัด

    หอศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้เฉพาะเทศกาลสำคัญเท่านั้น

    ส่วน การเข้ากราบไหว้บูชา "พระสัพพัญญูเจ้า" วัดเปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ได้อย่างใกล้ชิดทุกวันตามกำลังศรัทธา สิ่งใช้กราบไหว้นมัสการเป็นดอกไม้ธูปเทียนทั่วไป ไม่ได้มีการเน้นสิ่งใดเป็นกรณีพิเศษ

    ในอดีตชาวเรือที่เป็นชาวประมง น้ำจืดริมฝั่งแม่น้ำ หรือเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่ใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางค้าขาย จะเลื่อมใสศรัทธา ขอให้พระสัพพัญญูเจ้า เป็นผู้คอยปกปักรักษาภัยอันตรายต่างๆ ในการทำมาหากิน

    พระสัพพัญญูเจ้า จึงได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก

    ถึง แม้ปัจจุบันการทำการค้าผ่านทางน้ำได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ยังเข้ามากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันสำคัญ

    ผู้คนจะหลั่งไหลมากราบไหว้ขอพรจากองค์พระสัพพัญญูเจ้าไม่ขาดสาย



    ที่มา - ข่าวสด
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี วัดบูรพาภิราม จังหวัดร้อยเอ็ด

    [​IMG]

    พุทธ รัตนมงคลมหามุนี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระยืนประทานพร บุด้วยกระเบื้องโมเสก สูง 67.55 เมตร ศิลปะพื้นบ้านส่วนผิวหนังเป็นสีเนื้อแลเห็นเด่นชัด เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด สร้างโดยพระครูสิริวุฒเมธี เจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม พระนักพัฒนา ผู้ชอบก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆ

    พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ.2522 สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 55 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย

    ค่าก่อสร้างพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี ประมาณ 7,023,579.75 บาท

    พระ พุทธรัตนมงคลมหามุนี สร้างโดย พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑโฒ) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสิริวุฒิเมธี ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ.2522 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้าง 8 ปี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดกระเบื้องโมเสก ด้านหลังองค์พระเป็นเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุของสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ที่ฐานพระพุทธรูปเป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง

    พ.ศ.2544 พระสิริวุฒิเมธี (จำปี จันทะธัมโม) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดรูปปัจจุบัน (เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชธรรมโสภณ) ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี โดยกะเทาะกระเบื้องโมเสกที่ชำรุดลง ฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ และทาองค์พระด้วยสีทอง พร้อมทั้งบูรณะกำแพงแก้วรอบองค์พระ สิ้นงบประมาณทั้งสิ้น 2,750,000 บาท

    หลวงพ่อโตŽ เป็นพระประทานพรที่สูงที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นหนึ่งในคำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ดในวรรคที่ว่า เรืองนามพระสูงใหญ่Ž

    พุทธ ลักษณะของพระยืนองค์นี้ค่อนข้างสูงชะลูดมองดูไม่ได้สัดส่วนสมจริง สันนิษฐานว่าออกแบบก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่น สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากกว่าจะเน้นความสวยงามขององค์พระ เป็นความวิริยะอุตสาหะของท่านพระครูสิริวุฒเมธีอย่างสูง ที่ริเริ่มพระยืนสูงที่สุดองค์นี้ให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ดสืบต่อไป

    นอก จากนี้ ด้านหลังซึ่งเป็นฐานพิงขององค์พระนั้น มีพระเจดีย์สูง 9 เมตรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย ส่วนวัดบูรพาภิราม เดิมเป็นวัดเก่าแก่ติดคูเมืองเก่าด้านตะวันออกของจังหวัดร้อยเอ็ด

    ปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนชาวร้อยเอ็ดหรือจังหวัดใกล้เคียงจะเดินทางมาทำบุญ บนบานและขอพรในแต่ละวันไม่ขาดสายเนื่องจากแทบทุกคนล้วนประสบความสำเร็จด้วย กันแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวชมและนมัสการวัน ละกว่า 1,000 คน

    วัดบูรพาภิรามŽ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เลขที่ 559 ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย มีสถานภาพเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2340 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2481 และได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พ.ศ.2530 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2531 ที่ดินวัดเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 1779

    วัดบูรพาภิรามŽ เดิมชื่อ วัดหัวรอŽ เนื่องจากเป็นสถานที่รับรวมแขกคนในสมัยนั้น ประชาชนส่วนใหญ่นิยมค้าขายกับต่างเมือง พาหนะในการเดินทางไม่มี นิยมเดินกันเป็นส่วนใหญ่ ค่ำไหนนอนนั่น วัดหัวรอจึงเป็นจุดแรกที่พ่อค้าวาณิชจะนัดพบกันและพักแรมก่อนที่จะออกเดิน ทางไปค้าขายยังต่างเมือง ดังนั้นวัดแห่งนี้จึงเรียกกันติดปากของคนสมัยนั้นว่า วัดหัวรอ ซึ่งหมายถึงการรอคอยก่อนที่จะออกเดินทางต่อไป

    ในสมัยพระอธิการหล้า อินทวโส เป็นเจ้าอาวาส ได้ขยายเนื้อที่วัดเพิ่มจากที่แห่งเดิม เพื่อให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดบูรพา ด้วยเหตุที่ว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง ปัจจุบันมีพระราชธรรมโสภณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย) เป็นเจ้าอาวาสวัด

    พุทธศาสนิกชน ท่านใดอยากได้ในสิ่งที่ปรารถนา เชิญมานมัสการและกราบขอพรจากหลวงพ่อโต หรือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี เพื่อความเป็นสิริมงคลให้สมดังปรารถนา

    ที่มา - ข่าวสด
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระศรีสมณโกฏบพิตร วัดสมณโกฏฐาราม-อยุธยา





    "วัดสมณโกฏฐาราม" เป็นวัดอีกแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

    วัด สมณโกฏฐาราม ตั้งอยู่ใน ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดราษฎร์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เมื่อ พ.ศ.2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้เสด็จไปที่วัดนี้เพื่อพระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่ดุสิต ซึ่งเป็นพระมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และยังเป็นพระแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    วัดแห่งนี้ยังมี พระปรางค์องค์ใหญ่ รูปทรงสัณฐานแปลกตากว่าแห่งอื่น เข้าใจว่าเลียนแบบเจดีย์เจ็ดยอดของเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ระฆังขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างพระปรางค์และพระอุโบสถด้วย

    ในจดหมายเหตุของแกม เฟอร์แพทย์ชาวเยอรมัน ที่ทำงานในบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดา เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ.2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่าห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกมีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง เรียกว่า วัดพระยาคลัง ตามแผนผังที่เขียนประกอบไว้ปรากฏ เป็นวัดสมณโกฎฐาราม

    ลักษณะพระอุโบสถก่ออิฐถือปูนมีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีพระปรางค์องค์ใหญ่ คล้ายเจดีย์ยอดของเชียงใหม่ อยู่หน้าพระอุโบสถ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน วัดมีเนื้อที่ 51 ไร่เศษ

    สิ่ง สำคัญภายในวัดจากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่าลักษณะแผนผังของวัดตั้งแนวแกน ตะวันออก-ตะวันตก มีเจดีย์ทางปรางค์ เป็นประธานของวัดล้อมรอบด้วยระเบียงคด

    ภาย ในระเบียงคดมีเจดีย์ราย ที่มุมทั้ง 4 ของปรางค์มีวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าของทิศตะวันออกมีพระประธานขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหาร ท้ายวิหารเชื่อมต่อกับระเบียงคด อุโบสถตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธานทางด้านทิศตะวันตก อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตกส่วนเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่ระหว่างพระปรางค์และพระอุโบสถ

    วิหารของวัดมีความกว้าง 14 เมตร ยาว 38 เมตร บนพื้นวิหารพบแนวเสากลม 2 แถว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ระยะส่วนใหญ่ห่างระหว่างเสา 2.50 เมตร แนวเสาที่พบส่วนใหญ่มีสภาพพังทลาย ภายในวิหารปูนอิฐขนาดใหญ่รองรับพื้น ปูกระเบื้องดินเผาแผ่นสี่เหลี่ยมที่ฐานชุกชี ประดิษฐาน

    นอกจากนี้ อุโบสถมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ฐานเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ตั้งบนฐานหน้ากระดานสูง9 เมตร เป็นที่รองรับส่วนของผนังทึบ มีรูปทรงแอ่นโค้งในลักษณะคล้ายเรือสำเภา อุบโบสถหลังนี้มีมุขลด มุขทางด้านตะวัน ตะวันตะวันตก สูงกว่าผนังด้านเหนือใต้ บัวหัวเสาทำเป็นบัวแวง เหมือนกับวิหารของวัดกุฎีดาว มีขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว26 เมตร

    ปัจจุบันได้บูรณะ จนสวยงาม นับว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่อีแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    พระ ประธานในพระอุโบสถมีชื่อ คือ พระศรีสมณโกฏบพิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 149 นิ้ว สูง 190 นิ้ว เนื้อองค์พระเป็นหินทราย ปางมารวิชัย ลักษณะสวยงาม องค์ใหญ่เหลืองอร่าม สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันทางวัดได้บูรณะใหม่ด้วยการลงรักปิดทอง ชาวบ้านที่เดินทางมากราบไหว้ต่างบอกว่าทำให้การค้ารุ่งเรือง ประสบผลสำเร็จในสิ่งพึ่งประสงค์ เป็นพระเก่าแก่ที่ประชาชนให้ความเลื่อมใส ไปพระนครศรีอยุธยา ต้องไปกราบไหว้ เป็นสิริมงคลตลอดไป

    นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ.2510 ทางวัดได้มีการบูรณะ ปรากฏว่าได้พบพระกริ่งบาเก็งบรรจุอยู่ในไหสมัยขอม ใกล้กับพระอุโบสถนับว่าพระกริ่งบาเก็งเป็นพระที่มาจากกลุ่มอโยธยาผิวสีของ พระจะมีสีน้ำตาลอมดำ รวมทั้งยังพบพระขุนแผนใบเสมาที่บรรจุไว้บนเพดานพระอุโบสถของวัดอีกจำนวนมาก สร้างความฮือฮาให้กับประชาชนที่มากราบไหว้

    ที่มา - ข่าวสด​
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระพุทธกษัตราธิราช วัดกษัตราธิราชวรวิหาร​



    "วัด กษัตราธิราชวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดกษัตรา หรือ กษัตราราม หรือ กษัตราวาส

    ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ใครเป็นผู้สร้าง แต่ชื่อของวัดทำให้สันนิษฐานว่า คงเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ทรงสร้าง วัดนี้จึงมีชื่อว่า วัดกษัตรา ซึ่งหมายความว่าเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ หรือวัดของพระเจ้าแผ่นดิน

    มีปรากฏในแผ่นดินสมเด็จพระสุริยามรินทร์ ว่า แรม 14 ค่ำ เดือน 5 พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดราชพฤกษ์และวัดกษัตราวาส ยิงเข้ามาในพระนคร ถูกบ้านเรือนราษฎรล้มตายจำนวนมาก วัดนี้คงถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาจึงถูกทิ้งร้างเรื่อยมา

    ครั้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชบวรสถานภิมุข (กรมพระราชวังหลัง) ได้บูรณะวัดกษัตรา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดกษัตราธิราช"

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุลอิศรางกูร ได้ปฏิสังขรณ์พระอาราม ในปี พ.ศ.2349 ให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา เป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 9 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดกษัตราธิราชเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520

    ปัจจุบัน มีพระญาณไตรโลก (สุชาติ ฐานิสสะโร) เป็นเจ้าอาวาส นับได้ว่าเป็นวัดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ภาย ในพระอุโบสถวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกษัตราธิราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม

    ขนาดองค์พระสูง 2.99 เมตร ฐานกว้าง 2.09 เมตร ตั้งอยู่บนฐานชุกชี ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใบหน้าลักษณะรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศกมีขนาดเล็ก เหนือจากพระอุษณีษะ คือ เกตุมาลาทำเป็นรัศมีเปลว องค์พระครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวจรดพระนาภีปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบ

    ต่อมามีการลงรักปิด ทองประดับอย่างงดงาม ส่วนกลางฐานชุกชี ทำเป็นผ้าทิพย์ปั้นเป็นลายประเภทราชวัตร ประดับประจำยาม ปั้นเป็นลายก้านขดมีการออกลายเป็นสัตว์หิมพานต์ ด้านล่างปั้นเป็นลายกรวยเชิง ลักษณะคล้ายกับผ้าทิพย์

    สำหรับพระ อุโบสถที่พระประธานประดิษฐานอยู่ มีขนาด 9 ห้อง กว้าง 22 เมตร ยาว 46 เมตร ผนังก่ออิฐเจาะช่องแสงแบบเสาลูกมะหวด ด้านหน้าพระอุโบสถมีบันไดขึ้น 2 ทาง ช่องกลางก่อเป็นซุ้มบัญชร ช่องหน้าต่าง ด้านหลังมีมุขเด็จ ทำเป็นบันไดขึ้น 3 ทาง ที่ประตูกลางของมุขเด็จ ด้านหลังก่อเป็นซุ้มกั้นห้องประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปางป่าเลไลยก์

    ส่วน หลังคาพระอุโบสถช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ประกอบด้วยเครื่องไม้หลังคามุงด้วย กระเบื้องกาบู หรือกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา หน้าบันทั้ง 2 ด้าน จำหลักลายดอกพุดตานมีสาหร่ายรวงผึ้งคั่นสลับระหว่างเสา ลงรักปิดทองประดับกระจก มีคันทวย รองรับระหว่างชายคาที่แกละสลักอย่างงดงามสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยกรุง ศรีอยุธยา

    ภายในพระอุโบสถเสากลมมีบัวที่หัวเสาเป็นแบบดอกบัวตูม จำนวน 6 คู่ รองรับเครื่องบน เพดานเขียนลายทองเป็นลายราชวัตร ดอกกลมและพุ่มข้าวบิณฑ์ สลับกันเป็นระยะบนพื้นสีแดง เพดานสลับไม้ลงรักปิดทองพื้นภายในพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลีที่ รัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธัมมสิริโชติ) อดีตเจ้าอาวาส เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากการก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ

    ตามความเชื่อ ผู้ใดได้มากราบมาไหว้จะประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานก้าวหน้ายิ่งใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้าราชการ ทหารตำรวจ จะมาขอพรบารมีเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งมักจะนิยมสักการะทำบุญในพระอุโบสถแห่ง นี้ เพราะถือว่าจะทำให้ชีวิตสดใสก้าวหน้าตอลดไป

    ภายในวัดยังมีพระ วิหารอีกสองด้านเป็นที่ตั้งรูปหล่อสมเด็จพระพนรัตน์ เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อแก่ รูปหล่อของสมเด็จพระพนรัตน์ มาอยู่ที่วัดแห่งนี้แห่งเดียว ผู้ใดมาขอพรจะได้ตามความประสงค์

    รวมทั้งยังมีรูปหล่อของหลวงปู่ เทียม อดีตเจ้าอาวาสพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของพระนครศรีอยุธยา ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและเมตตาได้สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมากในการสร้าง ตะกรุด 4 มหาอำนาจ รัตนมาลา ตะกรุดโทน จนปัจจุบันมีคนมาขอดูตะกรุดที่ทางวัดเก็บรักษาเอาไว้

    นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลที่หลวงปู่เทียมจัดสร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ยังพอมีหลงเหลือให้ประชาชนที่มีความศรัทธาได้บูชา
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เมืองแพร่​
    "พระ แสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก" หรือ "พระเจ้าแสนแซ่" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอเด่นชัย และของชาวจังหวัดแพร่ที่เคารพบูชา ประดิษฐานอยู่ที่วัดเด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่

    พระแสนแซ่สัมฤทธิ์ เหล็ก เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ มีน้ำหนักถึง 275 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูงถึงโมลี 42 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน เดิมประดิษฐานอยู่ที่ประเทศจีน ที่เมืองตาลี หรือเมือง "ตาลีฟู" ในปัจจุบันอยู่เหนือแคว้นสิบสองปันนา

    พระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก มีประวัติและความเป็นมาดังนี้ สมัยที่เชียงแสนเป็นราชธานีของไทย จีนได้รุกไล่คนไทยบางกลุ่ม และได้ถอยร่นลงมาทางใต้ และได้นำพระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็กมาด้วย

    "พระเจ้าแสนแซ่" จึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เชียงแสนนานหลายปี

    ต่อมาในปี พ.ศ.2412 ข้าหลวงฝรั่งเศส ซึ่งประจำอยู่ที่หลวงพระบาง ได้อัญเชิญพระเจ้าแสนแซ่ไปไว้ที่ทำงานของรัฐ

    เหตุการณ์ ต่อมาได้เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ประชาชนต่างพากันโจษขานกันต่างๆ นานา ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เกิดจากอาเพศ ด้วยเป็นเพราะข้าหลวงฝรั่งเศส นำพระเจ้าแสนแซ่มาประดิษฐานไว้ที่สำนักงานข้าหลวง

    กลุ่มชาวบ้านจึงเข้าไปขโมยพระแสนแซ่ใส่ข้ามแม่น้ำโขง นำข้ามมาไว้บนหาดทรายบ้านท่านุ่นทางฝั่งประเทศไทย

    กาลเวลาผ่านไปไม่นานนัก ราษฎรจากเมืองน่านผ่านไปพบเข้าโดยบังเอิญ จึงนำความกราบเรียนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำ จังหวัดน่าน

    ข่าว การค้นพบพระเจ้าแสนแซ่ โดยชาวจังหวัดน่าน ได้โจษขานแพร่กระจายออกไปจากปากต่อปาก คนต่อคน และมีราษฎรจากบ้านนาจักร อ.เมือง จ.แพร่ พวกหนึ่งซึ่งไปค้าขายในแถบนั้นทราบเข้า จึงนำเหตุการณ์มาเล่าสู่กันฟังในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายทางจังหวัดแพร่

    ความ ทราบถึงพระครูพุทธวงศาจารย์ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อ.เมือง จ.แพร่ จึงประกาศหาผู้ให้ข่าวพร้อมกับตั้งรางวัลให้ผู้ที่นำพระพุทธรูปมาถวายให้ เป็นจำนวน 250 บาท ตามค่าเงินในสมัยนั้น ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมหาศาล

    ดัง นั้น ราษฎรบ้านนาจักร จึงได้รอนแรมบุกป่าฝ่าดงเป็นเวลานับเดือน เพื่ออัญเชิญพระเจ้าแสนแซ่มาด้วยความยากลำบาก ก่อนนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

    จนถึงปี พ.ศ.2457 คณะศรัทธาวัดเด่นชัย ได้ทราบข่าวว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมีลักษณะงดงามและมีความเป็น มาที่พิสดารและประดิษฐานอยู่ที่ศาลาวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

    คณะศรัทธาวัดเด่นชัยจึงพร้อมใจกันไปขอเช่าบูชา จำนวน 250 บาท เพื่อนำมาประดิษฐานเป็นพระประธาน ในอุโบสถวัดเด่นชัย

    แต่ จะเป็นด้วยปาฏิหาริย์หรือเหตุใดไม่ปรากฏ บังเกิดฝนตกหนักในวันนั้น เกิดความชุ่มเย็นอากาศแจ่มใส ปรากฏให้เห็นที่อัศจรรย์ใจแก่คณะศรัทธาวัดเด่นชัยเป็นยิ่งนัก พระครูพุทธวงษาจารย์ เห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงไม่คิดมูลค่าเช่าบูชาแต่ประการใด

    ครั้นชาว เด่นชัยได้รับมอบพระพุทธรูปแล้ว จึงได้อาราธนาขึ้นเกวียนมาตามถนนหลวงและอัญเชิญมาประดิษฐานมาอยู่ที่วัด เด่นชัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    พระครูนิสิฐธรรมาวุธ เจ้าอาวาสวัดเด่นชัยและเจ้าคณะตำบลเด่นชัย เขต 2 เปิดเผยว่า สำหรับประเพณีงานนมัสการพระเจ้าแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็กนั้น ตั้งแต่โบราณไม่เคยมีการจัดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

    มีเพียงแต่การ นิมนต์หลวงพ่อแสนแซ่องค์จำลองไปร่วมขบวนแห่งานสงกรานต์ของอำเภอเด่นชัย เพื่อให้ชาวอำเภอเด่นชัยและชาวจังหวัดแพร่ สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล ในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี และในงานไหว้สาพระธาตุช่อแฮเมืองแพร่ แห่ตุงหลวงก็นิมนต์องค์จำลองหลวงพ่อแสนแซ่ไปร่วมขบวนของอำเภอเด่นชัย เป็นประจำทุกปีเช่นกัน

    สำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสต้องการกราบไหว้นมัสการพระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก ต้องไปที่วัดเด่นชัยเท่านั้น

    ส่วนบทสวดไหว้พระแสนแซ่เหล็ก ว่า

    "นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 จบ)

    อิมัสมิง โชมะ โนธัมเม อิธะชะยะ อังคะนาราเม

    ลักขะพันธะ พุทธรูปัง ฐิตังวันทามิ สิระสาธัง

    อิมินา กะตะปุญเญนะ สะทาโสตถี ภะวันตุเม

    คำ แปล ข้าพเจ้าขอไหว้หลวงพ่อแสนแซ่ที่ประดิษฐาน ณ วัดเด่นชัยซึ่งเป็นอารามที่รื่นรมย์นี้ด้วย เศียรเกล้า ด้วยบุญกุศลนี้ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วขอความสุขสวัสดิ์ จงมีแด่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเทอญ
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระพุทธศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์​



    "พระ พุทธศรีสวรรค์" พระประธานในพระอุโบสถวัดนครสวรรค์ พระอารามหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่โบราณ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่าของวัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ เชื่อว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.1972

    พระพุทธศรีสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปปางสุโขทัย กาลเวลาล่วงเลยผ่านมาหลายร้อยปี ทำให้พระอุโบสถชำรุดทรุดโทรม สิ่งปลูกสร้างเครื่องบนหลังคาพระอุโบสถหักพังลงมาทับ ทำให้พระพุทธศรีสวรรค์ชำรุดเสียหายมาก จึงได้มีการซ่อมแซมพระอุโบสถและบูรณะพระพุทธศรีสวรรค์

    ต่อมาเมื่อปี ใดไม่ปรากฏ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถครั้งใหญ่ และมีพิธีหล่อพระประธานใหม่ โดยเอาโลหะทองเหลืองจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์องค์เก่ามาเททองหล่อขึ้น โดยมีประชาชนจำนวนมากนำเครื่องโลหะทองคำมาร่วมเททองหล่อพระพุทธศรีสวรรค์ ให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเป็นเวลานาน

    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่วัดมหาธาตุ พ.ศ.2444 พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมเมืองนครสวรรค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหลวงพ่อครุฑ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเดิมอยู่ที่วัดจอมคีรีนาคพรต ให้มาอยู่ที่วัดหัวเมืองหรือวัดนครสวรรค์ วัดหัวเมืองอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก พายุพัดอย่างแรงจนทำให้ผนังและหลังคาพระอุโบสถที่สร้างมานานแล้วพังทับพระ ประธานจนชำรุดเสียหายมาก

    ประมาณ พ.ศ.2465-2470 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถและพระพุทธศรีสวรรค์ครั้งใหญ่ที่สุดโดยมี ประชาชนร่วมกันบริจาคทองเหลือง โลหะต่างๆ รวมทั้งทองคำนำมาหลอมหล่อเป็นองค์พระพุทธศรีสวรรค์ให้องค์พระมีขนาดใหญ่กว่า เดิม เป็นขนาดหน้าตัก 2.50 เมตร

    ขณะที่เททองหล่อนั้นช่วงเย็นใกล้ ค่ำเกิดมีแสงพุ่งออกมาจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์ มีลำแสงเป็นสีต่างกันถึง 6 สี คือ 1.นีล หรือสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน 2.ปีต หรือสีเหลืองเหมือนหรดาลทอง 3.โลหิต หรือสีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อนๆ 4.โอทาต หรือสีขาวเหมือนแผ่นเงิน 5.มัญเชฐ หรือสีหงสบาทเหมือนดอกเซ่ง หรือหงอนไก่ 6.ประภัสสร หรือสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก สีทั้งหมดเรียกกันว่าฉัพพรรณรังสี แปลว่ารัศมี 6 ประการ อันเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้ ในยามวิกาลดึกสงัดประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดจะได้ยินเสียงพิณพาทย์ ปี่ กลองดังออกมาจากพระอุโบสถบ่อยครั้ง และพระราชสิทธิเวที อดีตเจ้าอาวาส อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เคยเห็นแสงฉัพพรรณรังสีจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์

    จากอภินิหารดังกล่าว และความเชื่อถือศรัทธาในองค์พระพุทธศรีสวรรค์ ที่ประดิษฐานอยู่คู่เมืองนครสวรรค์มาช้านานตั้งแต่โบราณมา และมักจะมีผู้คนพากันมากราบไหว้บนบาน ขอพร ขอโชคลาภจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์ หรือผู้ที่มีความทุกข์เดือดร้อนก็จะนำเครื่องสักการะมาถวาย รวมทั้งบนบานศาลกล่าวขอให้พ้นจากเภทภัย พ้นจากความทุกข์ร้อน มักจะประสบความสำเร็จสมปรารถนา

    ทำให้มีการแก้บนด้วยการถวายไข่ต้ม บ้าง พวงมาลัยบ้าง และที่ขาดไม่ได้คือการแก้บนด้วยละครรำ จนทางวัดต้องจัดทำโรงละครไว้ที่หน้าพระอุโบสถ เพื่อไว้ให้คณะละครได้แสดงแก้บน สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ย้ายมาประจำอยู่ที่เมืองสี่แคว ต่างก็ต้องมากราบไหว้บูชาพระพุทธศรีสวรรค์เป็นอันดับแรก เพื่อความเป็นสิริมงคล

    เรื่องราวปาฏิหาริย์องค์พระพุทธศรีสวรรค์ มีมากมายหลายเรื่องด้วยกัน โดยในครั้งเมื่อปี พ.ศ.2528 ได้มีการบูรณะองค์พระพุทธศรีสวรรค์ ช่างจากกรมศิลปากรได้ทำการลอกผิวทองและรักที่ปิดองค์พระออก ซึ่งจะต้องมีการบวงสรวงขออนุญาต วัดได้เก็บทองและรักที่ลอกออกมาไว้ และได้นำเอารักทองที่ลอกออกมาไปปิดที่ภาพองค์พระพุทธศรีสวรรค์ขนาดบูชา เพื่อให้ประชาชนได้เช่าไว้บูชาประจำบ้าน

    มีประชาชนมาขอเช่าบูชาภาพ ไปจนหมดจากวัดในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากมีนักเลงพระรายหนึ่งได้นำเอารักทองที่ลอกออกมาไปทดลองยิงหลายครั้ง ปรากฏว่ายิงไม่ออก แต่พอหันปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออก

    อีก ปาฏิหาริย์หนึ่ง คือ หลวงพ่อบุญนำ ชิตมาโร หลานของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนครสวรรค์ ได้ขอเศษรักทองที่ลอกออกมาจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์แล้วนำไปบดผสมกับผงมวลสาร หลายชนิดที่ท่านได้สะสมและปลุกเสกสร้างเป็นพระผงพุทธศรีสวรรค์ แบบหยดน้ำใหญ่ แล้วปลุกเสกเดี่ยวแจกจ่ายแก่ประชาชนที่มาทำบุญที่วัดนครสวรรค์ ผู้ที่ได้รับแจกไป ต่างประสบปาฏิหาริย์ต่างกัน บ้างก็มีโชคลาภ บ้างก็แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ

    ต่อมาหลวงพ่อบุญนำ ได้สร้างพระผงขึ้นใหม่อีกครั้งในวาระที่ท่านมีอายุครบ 5 รอบ แต่ครั้งนี้เป็นแบบหยดน้ำเล็ก ส่วนผสมหลักก็ยังเป็นผงรักทองจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์ ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนมาก




    ที่มา - ข่าวสด
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม​



    "วัด ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2412

    มูล เหตุที่ทรงสร้างนั้น สืบเนื่องมาจากพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่ และเป็นไปตามโบราณ ประเพณีนิยม ที่สมเด็จพระบรมราชบุพการีได้ทรงบำเพ็ญมา กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระเชตุ พนฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างวัดอรุณฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชโอรสาราม และพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

    ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ซึ่งกำกับราชการกรมช่างสิบหมู่ ทรงอำนวยการสร้างเป็นพระองค์แรก องค์ต่อมาคือพระเจ้าวรวงศ์เธอชั้น 4 กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ และเมื่อผู้อำนวยการสร้างองค์ที่ 2 สิ้นพระชนม์ลงอีกจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการสร้างจนเสร็จการ

    การสร้างวัดนี้ทรงนำเอาหลักเดิมแต่ โบราณมาใช้ ดังเช่นวัดราชประดิษฐฯ กล่าวคือ ทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์เป็นหลัก ห้อมล้อมด้วยระเบียงวารทิศสองวิหารคือ ด้านเหนือและด้านใต้ สำหรับวิหารด้านเหนือนั้น ทรงสถาปนาเป็นพระอุโบสถ

    ภายในพระอุโบสถตกแต่งออกแบบตามอย่างตะวันตก และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ "พระพุทธอังคีรส"

    พระ พุทธอังคีรส เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตน โกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทรงผ้ามีกลีบ วัสดุกะไหล่ทองเนื้อแปด สำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ หรือ 60 นิ้ว น้ำหนัก 108 บาท พระฉวี วรรณเป็นทองคำทั้งองค์

    วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 อีกพระองค์หนึ่งด้วย

    พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติการสร้างบันทึกไว้ต่างกันเป็น 2 ความ

    ความ ที่หนึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ว่า พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พุทธศักราช 2411 มีพระราชดำริสร้างวัดใกล้พระบรมมหาราชวัง สถาปนาเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล

    ส่วนอีกความหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ นิพนธ์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อนำไปประดิษฐานยังพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน

    ภายหลังเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้นำเศวตฉัตรองค์ที่ใช้กั้นพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว มาถวายพระพุทธอังคีรส โดยเสด็จฯ ทรงประกอบพิธียกเศวตฉัตรด้วยพระองค์เอง

    สิ่งก่อสร้าง พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์งดงามมาก มีมหาสีมารอบกำแพงวัด โปรดฯ ให้สร้างพระ พุทธอังคีรสเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ

    พระพุทธอังคีรส เป็นพระนามของพระพุทธ เจ้าพระนามหนึ่ง แปลว่า มีพระรัศมีออกจากพระกาย องค์พระกะไหล่ทองคำทั้งองค์ หนัก 108 บาท เป็นทองคำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้แต่งพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ ประดิษฐานบนแท่นชุกชีหินอ่อนที่สั่งมาจากอิตาลี

    รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นงานใหญ่ ทรงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระราชบิดา เมื่อเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ.2492 บรรจุไว้ที่ฐานพระอังคีรส และในปี พ.ศ.2528 ก็ได้บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีไว้เช่นกัน

    ณ ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรสนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิและพระอัฐิในครอบครองของพระองค์ ประกอบด้วยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัยและสมเด็จฯ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

    เมื่อ เรากราบพระพุทธอังคีรส นอกจากจะได้สักการบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ยังเท่ากับได้ถวายสักการะพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และพระบรมวงศ์ไปในขณะเดียวกัน

    ทั้งนี้ ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปี จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธแห่งนี้

    ส่วน ประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธา มีความประสงค์จะเข้ามากราบนมัสการ พระ พุทธอังคีรส จะต้องรีบมาแต่เช้าประมาณ 08.00-09.30 น. หลังจากนั้นแล้ว พระอุโบสถจะปิด



    ที่มา - ข่าวสด
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    หลวงพ่อใหญ่ วัดพุทธประดิษฐ์-สารคาม​


    "หลวง พ่อใหญ่" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งที่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากพุทธ ศาสนิกชนชาวเมืองมหาสารคามมานานนับร้อยปี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพุทธประดิษฐ์ หรือวัดบ้านโพน ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม พุทธศิลปะเป็นพระ พุทธรูปปางมารวิชัยแกะสลักจากศิลาแลง หน้าตักกว้างเกือบ 2 เมตร นับว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อใหญ่ สืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบัน และด้วยความที่พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลได้ให้ความเคารพศรัทธาในตัวหลวง พ่อใหญ่สูงมาก ผู้ที่มาสักการบูชาจึงมักจะทำบุญปิดทองหลวงพ่อจนไม่สามารถมองเห็นเนื้อ ศิลาแลงข้างในได้

    ผศ.สมชาติ มณีโชติ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีกล่าวว่า เชื้อสายดั้งเดิมของชาวไทยอีสานและชาวเมืองมหาสารคาม รกรากมาจากประเทศล้านช้าง ซึ่งมีกรุงศรีสัตนาคณหุต หรือเวียงจันทน์ เป็นราชธานี เริ่มมีการอพยพเคลื่อนย้ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2231 ช่วงนั้นเกิดความวุ่นวายภายในราชสำนักเวียงจันทน์ เชื้อพระวงศ์บางองค์พร้อมผู้นำทางศาสนาได้อพยพประชาชนจำนวนหนึ่งหนีภัยการ เมืองมาอยู่ที่เมืองจำปาสัก ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ที่เมืองสุวรรณภูมิ หรืออำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน

    จากนั้นก็อพยพแยกย้าย กันไปหาพื้นที่ทำกินที่เห็นว่าอุดมสมบูรณ์ในเขตเมืองมหาสารคามปัจจุบัน และบางพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น และส่วนอื่นๆ ในภาคอีสาน แต่ช่วงที่มีชุมชนเกิดขึ้นหนาแน่นในภาคอีสานจะอยู่ระหว่างรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 มีการอพยพเข้ามามากโดยเฉพาะหลังเกิดกรณีเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ขณะนั้นไทยได้กวาดต้อนประชาชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนมาก บางพื้นที่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม กลายเป็นชุมชนใหญ่ระดับเมือง เช่น เมืองท่าขอนยาง ปัจจุบันคือตำบลท่าขอนยาง

    ในการอพยพเข้ามาสมัยนั้น ก็จะมีบรรดาช่างที่มีฝีมือเข้ามาด้วย ภายหลังการตั้งชุมชนเป็นหมู่บ้านที่มั่นคงแล้ว ก็มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน และสร้างพระประธานประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ อายุการสร้างพระอุโบสถและอายุการสร้างพระประธานจึงใกล้เคียงกัน สำหรับหลวงพ่อใหญ่ ที่วัดพุทธประดิษฐ์ องค์นี้เช่นกัน จากพุทธศิลปะบ่งชี้ว่าเป็นการสร้างโดยช่างพื้นเมืองอิทธิพลศิลปะลาว ดูจากพระพักตร์ ใบหู และยอดเศียร อายุการสร้างไม่น่าจะเกิน 200 ปี อยู่ช่วงปลายสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทรŒ ตอนต้น พระพุทธรูปลักษณะนี้จะพบเห็นอยู่หลายแห่งในภาคอีสาน และทั่วไปในประเทศลาว

    ด้าน พระครูประดิษฐ์วิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดกล่าวว่า หลวงพ่อใหญ่จะสร้างในปีใดไม่ปรากฏ แต่คนเฒ่าคนแก่เล่ากันสืบต่อๆ มาว่า เดิมหลวงพ่อใหญ่ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็กๆ ที่ทรุดโทรมกลางป่ารกร้าง ซึ่งเป็นบริเวณวัดบ้านโพนในปัจจุบัน บริเวณนี้มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นวัดมาก่อน เนื่องจากมีการขุดพบเสมาหินและศิลปะโบราณวัตถุหลายชิ้น ต่อมาเมื่อมีประชาชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนในแถบนี้มากขึ้นก็กลายสภาพเป็นหมู่ บ้าน จากนั้นชาวบ้านก็ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าแห่งนี้ขึ้นใหม่พร้อมกับ สร้างวิหารให้หลวงพ่อใหญ่

    นับแต่นั้นมาตราบจนปัจจุบันเป็นเวลานับ ร้อยปี หลวงพ่อใหญ่ ได้กลายเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งที่พุทธศาสนิกชนชาว มหาสารคาม ให้ความเคารพศรัทธามาก ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเล่าลือกันมากจะพัฒนาวัดพัฒนาหมู่บ้าน หรือชุมชนจะทำอะไรก็ตาม จะต้องมาจุดธูปเทียนบอกกล่าวหลวงพ่อใหญ่ก่อนงานนั้นจึงจะสำเร็จลุล่วงไปด้วย ดี แต่หากใครผิดคำสาบานที่ให้ไว้ ไม่กลับมาขอขมาต่อหลวงพ่อจะมีอันเป็นไปทุกราย เช่น ที่วัดมีการเปิดรักษาผู้ติดยาเสพติด นอกจากจะกินสมุนไพรแล้วทุกคนที่เข้ารับการรักษาจะต้องสาบานต่อหน้าหลวงพ่อ ใหญ่ว่าจะเลิกยาเสพติดอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีบางคนที่ผิดคำสาบานกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ก็เกิดความกระวนกระวายอยู่ไม่เป็นสุข สุดท้ายต้องกลับมาขอขมาหลวงพ่อใหญ่ อาการนั้นจึงหายไป

    หากใครมีเรื่องเดือดร้อนก็มาขอพรจากท่านได้ทุก เรื่อง สิ่งสักการบูชาก็เป็นดอกไม้ธูปเทียนขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ก็ได้ และในรอบหนึ่งปีจะมีการทำพิธีสรงน้ำหลวงพ่อใหญ่ขึ้น การกำหนดวันหลวงพ่อใหญ่จะกำหนดเองโดยทำพิธีเซียงข้อง หากเซียงข้องบอกให้จัดวันใดก็จะจัดขึ้นในวันนั้นเชื่อว่าเป็นความประสงค์ของ หลวงพ่อใหญ่ การทำพิธีเซียงข้องส่วนใหญ่จะทำปีละครั้งแต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในชุมชน ก็จะทำพิธีเซียงข้อง เพื่อให้หลวงพ่อใหญ่ช่วยชี้แนะแก้ปัญหาให้กับชุมชนผ่านเซียงข้อง

    หาก พุทธศาสนิกชนท่านใดผ่านเข้ามาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จึงไม่ควรพลาด ที่จะหาโอกาสไปสักการะหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของเมืองมหาสารคาม เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เส้นทางคมนาคมสะดวก เดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม ถึงอำเภอกันทรวิชัยแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนมุ่งสู่อำเภอเชียงยืน ก่อนถึงอำเภอเชียงยืน 10 กิโลเมตร

    ด้านขวามือจะมีป้ายบอกไว้ว่า "วัดบ้านโพน" เลี้ยวเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จะถึงวัด หลวงพ่อใหญ่พอดี



    ที่มา - ข่าวสด
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    หลวงพ่อชินวรณ์ วัดเจริญผล จ.มหาสารคาม​




    "หลวง พ่อชินวรณ์" หรือ "หลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณคู่บ้านคู่เมืองชาวมหาสารคาม ปัจจุบันประดิษฐานตั้งเด่นเป็นสง่า ภายในอุโบสถวัดเจริญผล ต.ท่าขอนยาง อ.กันทร วิชัย จ.มหาสารคาม

    หากใครมีปัญหา หรือได้รับความเดือดร้อนใดๆ ก็ตาม ถ้าได้เข้ามากราบไหว้ขอพรจากหลวงพ่อแล้ว เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ขอทุกประการ

    สำหรับสิ่งของสักการบูชา นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ยังมีไข่ 9 ฟอง ผลไม้ 9 ชนิด ดอกไม้ 9 ดอก

    ความ ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อชินวรณ์ เป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่โบราณกาล หากชุมชนจัดกิจกรรมต่างๆ แล้ว สวดขอบารมีจากท่านจะสำเร็จลงด้วยดี และที่น่าประหลาดจะเกิดฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื้นชุ่มเย็นให้กับพุทธ ศาสนิกชนแทบทุกครั้ง

    หลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่พร้อมกับตั้งเมืองท่าขอนยาง หรือตำบลท่าขอนยาง ในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในปี พ.ศ.2379 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ แล้วก็ได้กวาด ต้อนประชาชนเผ่าต่างๆ เข้ามายังดินแดนของไทยทางภาคอีสาน ซึ่งก็มีหลายเผ่า เช่น กะเลิง โซ่ง แสก ญ้อ

    พระเจ้าคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิด เป็นเผ่าญ้อ กลุ่มใหญ่ ที่ถูกกวาดต้อนมาและให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งลำน้ำชี เรียกว่าบ้านท่าขอนยาง

    จน ถึงปี พ.ศ.2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นเมืองท่าขอนยาง และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าคำก้อน เป็นพระสุวรรณภักดี ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองท่าขอนยาง คนแรก เป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

    จากนั้นชาวเมืองทั้งหมดได้ร่วมกันสร้างวัด ขึ้นถึง 3 แห่ง ประกอบอาชีพทำมาหากินอยู่ฝั่งเหนือของลำน้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญทางการขนส่งและการค้า แลกเปลี่ยน

    จนถึงปี พ.ศ.2408 ภายหลังมีการตั้งเมืองมหาสารคาม ขึ้นทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำชี ขณะนั้นเมืองท่าขอนยาง มีเจ้าเมืองปกครองผ่านไป 3 คน เมืองท่าขอนยางก็ไม่มีเจ้าเมืองปกครองอีก ความสำคัญจึงลดลง ต่อมาเมืองท่าขอนยางจึงถูกยุบลงเป็นตำบลท่าขอนยาง จนถึงปัจจุบัน

    สำหรับ หลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่พร้อมกับสร้างเมืองท่าขอนยาง พุทธลักษณะปางมารวิชัย องค์พระสร้างจากปูนโบราณ สันนิษฐานว่ากลุ่มชาวบ้านที่อพยพมาจากเมืองคำเกิด ได้อัญเชิญหลวงพ่อชินวรณ์เข้ามาด้วย และภายหลังการสร้างชุมชนเป็นหมู่บ้านที่มั่นคงแล้ว ก็มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจ และอัญเชิญหลวงพ่อชินวรณ์ ขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถหลังนี้

    จาก การพิจารณาดูพุทธศิลป์ใบหน้าหลวงพ่อชินวรณ์ บ่งชี้เป็นศิลปะลาวอย่างชัดเจน ริมฝีพระโอษฐŒองค์พระมีสีแดงมาแต่เดิมไม่มีใคร ไปทาให้ พุทธศิลป์คล้ายกับหลวงพ่อพระสุก และหลวงพ่อพระใส ที่ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์ จึงน่าจะเป็นพระพุทธรูป ที่ร่วมสมัยกันและอายุการสร้างไม่น่าจะต่ำกว่าสองร้อยปี

    เป็นที่น่า สังเกตว่า ชื่อหลวงพ่อพระพุทธ ชินวรณ์ ไม่มีปรากฏเรียกพระพุทธรูปองค์ใดๆ ในภาคอีสาน แต่ชื่อเหมือนกับพระพุทธรูปที่ภาคกลาง เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีหŒ นักวิชาการท้องถิ่นบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นการตั้งชื่อให้ภายหลังก็เป็น ได้เพราะเป็นบาลีสันสกฤต

    ความศักดิ์สิทธ์ของหลวงพ่อพระพุทธชิน วรณ์ ได้รับการกล่าวขานตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคามให้ความเคารพศรัทธามาก เพราะเมื่อมากราบขอพรจากท่านแล้วจะประสบผลสำเร็จทุกอย่าง กิตติศัพท์ของหลวงพ่อชินวรณ์ จึงเลื่องลือไปไกล

    นับเป็นพระพุทธรูป เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม อีกองค์หนึ่ง ในวันปกติ หรือวันหยุดจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบสักการบูชาหลวงพ่อ ที่ในพระอุโบสถวัดเจริญผล เป็นจำนวนมาก

    ผู้ที่มาสักการบูชามักจะ บนบานขออานุภาพความศักดิ์สิทธิ์จากหลวงพ่อให้ช่วยเหลือในทุกๆ เรื่อง อาทิ ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้ติดเกณฑ์ทหาร ขอโชคลาภ ขอให้มีความสุขความเจริญ เป็นต้น

    ส่วนในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากพากันมาสรงน้ำหลวงพ่อชินวรณ์

    พุทธศาสนิกชนจึงไม่สมควรพลาด ที่จะไปสักการะหลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่เมืองมหาสารคาม

    ด้วย อานิสงส์จะทำให้ท่านและครอบ ครัวประสบแต่ความสุขความเจริญในทุกๆ ด้าน ส่วนเส้นทางคมนาคมสะดวก ห่างจากตัวเมืองมหาสารคาม เพียง 5 กิโล เมตรเท่านั้น



    ที่มา - ข่าวสด
     
  19. สองเสาร์

    สองเสาร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +124
    อนุโมทนาบุญด้วยคะ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...