ลิงจอมโจก : ไขความปริศนาธรรมในไซอิ๋ว

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย wong3210, 19 มกราคม 2008.

  1. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    [​IMG]

    คำนิยม

    ไซอิ๋ว เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่ามากเรื่องหนึ่งของจีน จัดเป็นงานชั้นเด่นหนึ่งในเจ็ดเรื่อง เช่นเดียวกับ สามก๊ก และ ซองกั๋ง เรื่องสามก๊กนั้นแปลเป็นไทยได้ไพเราะชวนอ่าน แต่ซองกั๋งและไซอิ๋ว ซึ่งฉบับจีน ภาษาดีมาก น่าเสียดายว่าแปลเป็นไทย แล้วไม่อาจรักษาความดีของต้นฉบับไว้เพียงพอ ทำให้เรื่องไซอิ๋วนี้กลายเป็นเรื่องอ่านเล่น ไม่เป็นที่สนใจเท่าที่ควร ในเชิงวรรณกรรมนั้น ผู้รจนาจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม แต่ข้าพเจ้าพบว่าไซอิ๋ว มีคุณค่าในทางภาษา

    เพราะได้เก็บรวบรวม คำพูดที่เป็นคำคมของสามัญชนที่พูดกันในปักกิ่ง อันเป็นภ่าษาพูดที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะคำพูดของเห้งเจีย ซึ่งมักเอ่ยคำพูดอันคมคายขึ้นมาประกอบด้วยเสมอ ซึ่งหากสุขภาพอำนวยให้ทำได้ ข้าพเจ้าก็เคยตั้งใจจะคัดคำแหลมคม เหล่านี้ออกมา เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาอยู่เหมือนกัน ในด้านการแต่งนั้น ท่านผู้รจนาก็สามารถสร้าง และสื่อแสดงบุคลิกลักษณะเด่นของตัวละครเอก คือ เห้งเจีย โป๊ยก่าย และ ซัวเจ๋งซึ่งแตกต่างกันออกมาด้วยดี

    กล่าวคือ เห้งเจียมีลักษณะขี้โมโห และมีความเฉลียวฉลาด หมูตือโป๊ยก่ายมีความโลภ และมักมากในการกิน ซัวเจ๋งมีความโง่ซื่อเป็นเจ้าเรือน แม้ชื่อก็ตั้งได้ตรงกับบุคลิกของตัวละคร อย่างเช่น เห้งเจีย แปลว่า นักปฏิบัติ คือถ้าโกรธมากก็ต้องปฏิบัติให้มาก เพื่อคุมความโกรธ โป๊ยก่ายมีความโลภต้องเอาศีลแปดมาควบคุม ตาหู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสไว้ ส่วนซัวเจ๋งนี้โง่ก็ต้องเอาปัญญาเข้ามานำทาง รวมศีล สมาธิ ปัญญา ของทั้งสามนี้เข้าก็เป็นทางไปสู่ความ หลุดพ้นได้ส่วนพวกปิศาจก็เป็นบุคลิกลักษณะจิตใจชนิดต่างๆ ของคนเช่นกัน

    การตีความปริศนาธรรมใน ไซอิ๋ว เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะมีเค้าให้ทำได้อยู่เหมือนกัน แต่การตีความให้ได้ความหมายทุกจุด ตลอดทั้งเรื่องอาจจะเป็นสิ่งสุดวิสัยเชื่อว่าท่านผู้เขียนคงมีหลักในการแต่ง คือเป็นเรื่องจัดการกับความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อได้ศึกษาพระธรรมมากเข้า กิเลสเหล่านี้ก็จะจางคลายหายไป กลายเป็นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา แต่อย่างไรก็ดี คนที่อ่านไซอิ๋วโดยมาก มุ่งเอาความเพลิดเพลินสนุกสนานและเอาประโยชน์ทางภาษาบ้าง ไม่ค่อยมีใครอ่านอย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องที่เอาของใหม่ไปปนกับของเก่า

    คนอ่านโดยมากเป็นคนรุ่นเก่า เดี๋ยวนี้ก็คงหาคนอ่านยาก เพราะการเดินทาง ไปเจอปิศาจแล้วๆ เล่าๆ บางทีก็รู้สึกซ้ำๆ ซากๆ คนที่ไม่มองเห็นความลึกซึ้งเป็นปริศนาธรรม ก็อาจจะเบื่อ ในการอ่านหนังสือชุดใหญ่ๆ เช่นนี้ ที่จริงตามตำราท่านให้อ่านโดยตลอดเที่ยวหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยเลือกอ่านเฉพาะตอนที่ดี อย่างพินิจพิเคราะห์ มันอาจจะไม่ดีพิเศษหมดทั้งเล่ม แต่บางตอนก็อาจมีการเจรจาคมคาย และมีการบรรยายดีมาก เป็นประโยชน์แก่การศึกษาในทางภาษามาก บางตอนก็อ่านสนุก โดยเฉพาะตอนต้นของไซอิ๋ว เมื่อพระถังซัมจั๋ง พบ เห้งเจีย โป๊ยก่าย และ ซัวเจ๋งนี้เขียนได้สมจริงดี

    อย่างเช่นตอนออกเดินทาง พระถังซัมจั๋งไม่มีน้ำ เห้งเจียห็ขออาสาไปหาน้ำให้ ต้องไปขอกับพวกเซียนในลัทธิเต๋า เห้งเจียบอกว่าไม่เป็นไร ตนจะพูดจนให้พวกนั้นยกบ่อน้ำให้ตนใช้ไปตลอดทางจนถึงอินเดีย เลยทีเดียว แต่พอเข้าไปขอจริงๆ ก็ถูกพวกนั้นเอาดาบไล่ออกมา เพราะเขาเห็นว่า แต่งตัวเป็นพระทางพุทธศาสนา นี้ก็น่าหัวเราะ ที่เห้งเจียทำไม่สำเร็จอย่างที่คุยโม้ไว้ อย่างโป๊ยก่ายนั้นก็เอาแต่จะกินท่าเดียว เห็นบุคลิกเล็กๆ น้อยๆ ได้ชัดเจนดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2008
  2. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งของ ไซอิ๋ว คือ สามารถเอาเรื่องที่มีเค้าความจริง แต่ไม่ค่อยมีใครคิดและมองมาเขียนได้ เป็นเรื่องเป็นราว อย่างเรื่องเดินทางไปอินเดียนั้น ที่จริงผู้แต่งเป็นผู้รู้ประวัติศาสตร์ดี และไม่ได้ตั้งใจเขียนเรื่องนี้ให้เป็น ข้อมูลประวัติศาสตร์ มุ่งเขียนให้อ่านเพลิดเพลิน และเขียนได้ดีจริงๆอุดมการณ์ และจินตนาการที่ท่านคิดขึ้นมานั้นนำ เสนอได้ดี อย่างเช่นในเรื่องภูเขาที่มีไฟใหม้อยู่ตลอดเวลา ภูเขานี้เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ที่แถบภูเขาอัลไตตาด ทางตะวันตกจน สุดเขตของจีน เป็นภูเขาที่ร้อนจัดเดินผ่านเกือบไม่ได้ เรื่อง ไซอิ๋ว นี้คงได้รับอิทธิพลจากรามายณะของอินเดีย

    เวลานั้นจีนได้รับพุทธศาสนาแล้ว และมีวรรณคดีต่างๆ เช่น ชาดก หรือ อื่นๆ เป็นต้น ทำให้จีนมีความคิดในทางอภินิหารมาใช้ด้วย เรื่องแปลงกายนั่นเป็นนี่ เช่น เห้งเจียแปลงเป็นแมลงวัน นั้นคง จีนคงได้รับมาจากอินเดียแน่นอน เพราะจีนไม่เคยมีความคิดอย่างนี้แต่อินเดียเก่งมาก การรับอิทธิพลนี้เข้ามา ก็นับ ว่าเป็นประโยชน์คือทำให้วรรณคดีมีสีสันหลากหลายขึ้น การมีจินตนาการแทรกทำให้อ่านสนุก และต้องชมว่าผู้แต่งก็แทรก ได้ดีมาก น่าคิดน่าวิจารณ์ ในประวัติศาสตร์นั้น พระถังซัมจั๋งนั้นได้แปลคัมภีร์มากมาย เพราะภาษาอินเดียท่านรู้ดี ภาษาจีนท่านก็รู้ดี จึงอ่านเองแปลเอง ได้

    แต่ก่อนหน้านี้มีการแปลเหมือนกัน แต่ต้องผ่านล่าม 3-4 คน ฉบับที่ท่านแปลจึงถือได้ว่าเป็นฉบับแปลใหม่ แต่ก็อ่านยาก บางทีอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะท่านใช้ไวยกรณ์สันสกฤต ไม่ใช้ไวยกรณ์จีน เคยมีเรื่องปรากฎว่า มีประโยคหนึ่งมีอักษร 7 ตัว เท่านั้น แต่ท่านพิจารณาตั้งหลายปีกว่าจะลงเอยว่าจะแปลอย่างไรดี เรียกว่าเป็นผู้ทำงานละเอียดมาก ยากจะหาคนเปรียบ มีเกร็ดที่ลูกศิษย์เขียนเล่าไว้ในประวัติของท่านว่า พระถังซัมจั๋งเคยบวชมาแล้ว 7 ชาติ มีสมณสารูปดีมาก เวลานั่งก็นั่งตัวตรง ไม่เอียง ไม่พิงอะไร แล้วที่แปลกที่สุดคือ ไม่มีใครเคยเห็นท่านหาวเลย อยู่ดึกเท่าไรก็ไม่หาว สมาธิดีมาก

    เมื่อยามท่านตายเขา เล่าว่าท่านหกล้มและท่านมีโรคคล้ายรูมาติสซั่ม จากการตรากตรำเมื่อๆไปอินเดียโรคก็ลุกลาม ท่านตายตั้งแต่อายุไม่มาก นัก สัก 45-60 ปีเท่านั้นเอง แต่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนและทำงานทางคัมภีร์ไว้มาก ระหว่างผจญภัยไปอินเดียก็อดๆ อยากๆ ลำบากมาก ประวัติของท่านับว่าน่าศีกษา แม้บางตอนจะดูมหัศจรรย์เกินไปสักหน่อยก็ตาม ตอนท่านไปอินเดีย เป็นจังหวะดีที่ได้พบพวกข่านอินเดีย ซึ่งนับถือพุทธศาสนามาช่วยเหลือ อย่างพระเจ้าเกาเซียง สั่งให้ช่วย ไปส่งท่านถึงแคว้นกัษมีร์(แคชเมียร์)

    พระเจ้าศีลภัทร์ก็ส่งคนไปรับ ท่านบอกว่าตั้งแต่ได้ยินชื่อพระถังซัมจั๋งก็ดีใจ มึความสุข มาก พระเจ้าศีลภัทร์องค์นี้มีศรัทธาในธรรมะมาก เวลาพระถังซัมจั๋งจะขึ้นธรรมมาสน์เทศน์ ท่านก็ไปคุกเข่าให้เหยียบหลัง ท่านขึ้นไป คุณความดีของท่านนี้เทียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราช ใครที่สนใจอ่านประวัติพระถังซัมจั๋งโดยละเอียด นายเคง เหลียน สีบุญเรือง ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยไว้แล้ว ข้าพเจ้ายังเคยย่อเรื่อง ข้าพเจ้ายังเคยย่อเรื่องและให้ทางใต้หวัน วาดรูปการ์ตูนประกอบ ให้วัดโพธิ์แมนคุณารามจัดพิมพ์ ต่อมาทางกลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม ก็เคยนำไปจัดพิมพ์เผยแพร่ ด้วยแล้วเช่นกัน

    รวมความว่าหนังสือ ไซอิ๋ว และ เรื่อง พระถังซัมจั๋ง นี้เป็นหนังสือดี ที่จะชักจูงให้คนสนใจในพุทธศาสนาได้ ท่านผู้รจนาไซอิ๋ว ต้องเป็นผู้มีความรู้ทางพุทธศาสนาดีมาก และยังมีฝีมือในทางวรรณศิลป์ด้วย ท่านไม่ได้ตั้งใจให้เขียนเป็นตำราประวัติศาสตร ์หากเจตนาจะให้อ่านสนุกและมีความหมายในทางธรรมะบ้าง นับเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าน่าอ่านเรื่องหนึ่ง ซึ่งทั้งปัญญาชน และ ปัญญาอ่อนสามารถอ่านได้ แต่ใครจะได้รับอะไร ก็ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยเจตนาในการอ่านและภูมิปัญญาของผู้อ่านนั้นเป็น สำคัญ ใครอ่านอย่างไร ก็ย่อมได้อย่างนั้น


    ล.เสถียรสุต
     
  3. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    คำนำในการพิมพ์ครั้งที่ 1

    [​IMG]



    ข้าพเจ้าเคยอ่านหนังสือ ไซอิ๋ว เมื่อ 20 ปีก่อน และได้อ่านหนังสือการ์ตูนอีกหลายครั้ง แต่ก็หาได้รับความรู้สึกแปลกหรือใหม่กว่าเดิมไม่ กล่าวคือก็เหมือนกับได้รับความรู้สึกของนายวรรรณ ตุลวิภาคพจนกิจ ผู้เกลาสำนวนแปล ไซอิ๋ว ของนายติ่น ซึ่งท่านผู้นั้นได้แสดงความรู้สึกไว้ตอนท้ายเรื่องว่า ไซอิ๋ว เป็นเรื่องชนิด " แต่อยู่ข้างติดตลกหัวอกลิง เท็จกับจริงปนกันทั้งนั้นเอย " ทั้งนี้เพราะช่วงเวลาในท้องเรื่องที่ผู้แต่งวางไว้นั้นไม่ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ กล่าวคือแต่งให้หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือ สมณะยวนฉ่วง เดินทางไปไซที(ถิ่นตะวันตกคือ ชมพูทวีป) แล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจนได้อาราธนาพระไตรปิฎกกลับสู่กรุงจีน ผู้ที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ย่อมทราบกันดีว่ากาลเวลาของพระพุทธองค์กับหลวงจีนเหี้ยนจังห่างกันตั้งเกือบ 10 ศตวรรษ

    กล่าวคือ หลวงจีนเหี้ยนจังได้เดินทางจากกรุงจีนในรัชสมัยพระเจ้าหลีซิบิ๋น หรือ พระเจ้าถังไทจงแห่งราชวงค์ถัง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเข้าใจไปว่าท่านผู้รจนาเรื่องนี้ต้องสะเพร่า หรือไม่เรื่องทั้งหมดก็เขียนจริงกับเท็จปนกันดังกล่าวแล้ว อีกทั้ง ไซอิ๋ว เป็นหนังสือรวมอยู่ในพงศาวดาร ซุยถัง ก็ยิ่งชวนให้เข้าใจว่า ถ้ากวีไม่บกพร่องก็แกล้งเขียนจนเหลิงเจิ้ง ตามแบบฉบับของการเขียนตำนานหรือพงศาวดาร ทั้งชื่อเมือง ชื่อตำบล ภูเขา ในเขตแดนไซที(ชมพูทวีป) นั้นก็ล้วนเป็นชื่อจีนเสียทั้งสิ้น จึงลงความเห็นว่าผู้แต่งหลับตาเขียนโดยเอาพระถังซัมจั๋ง ผู้มีเกียรติคุณเป็นตัวเอกไปตามนึกคิด นายติ่นผู้แปลไซอิ๋วจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยไม่ยินยอมให้นายวรรณแก้ไขสิ่งที่น่ายวรรณเห็นว่าผิดทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ึนึกแล้วก็น่ากลัว หากว่านายติ่นยินยอม เพราะ ไซอิ๋ว เป็นปริศนาธรรมที่วิเศษนั้น ก็คงจะถูกดัดแปลงทำลายเนื้อหาทางจิตวิญญาณเพราะการอันนั้น

    ท่านผู้แต่งได้ซ่อนเพชรพลอยไว้ ทั้งในแง่วรรณศิลปและส่วนลึกซึ้งทางจิตใจ ในคำสนทนาของเห้งเจีย โป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง และ พระถังซัมจั๋งกับทั้งตัวประกอบอื่นนี้โสดหนึ่ง ส่วนความเยี่ยมยอดนั้นกลับไปอยู่ที่โครงสร้างของการเดินทางฝ่ายจิตวิญญาณ แต่ต้นจนจบตามเนติธรรมเนียมแห่งการแต่งมหากาพย์

    หากพิจารณากันอย่างรอบคอบแล้วจะพบว่า ไซอิ๋ว ได้รับอิทธิพลมาจาก รามายณะ ยวนฉ่าง(องค์จริงในทางประวัติศาสตร์) ได้กลับจากอินเดียหลังจากที่ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ถึง 10 ปีกว่า พระตรีปิฏกแห่งราชวงค์ถัง ผู้เป็นยอดนักศึกษาคงจะเป็นภาชนะใหญ่ บรรทุกอินดูธรรมและพุทธธรรมไปกำนัลแผ่นดินจีน ท่านผู้รจนาคงทราบถึงความวิเศษของมหากาพย์ของอินเดีย คือ มหาภารตะยุทธ รามายณะ ๙ล๙ แล้วคงเป็นเหตุบันดาลใจให้กวีจีนผู้นี้รจนาขึ้นบ้าง

    ดังที่เราเห็นได้ชัดว่า เห้งเจียนั้นถอดแบบมาจากหนุมาณทุกประการ ข้อต่างอยู่ที่หนุมาณของอินเดียนั้น เป็นอุปมาพลังแห่งภักตะ(ภักดี) ต่อองค์พระราม(คือ สัจจะ) ในการยกทัพไปช่วงชิงสีดา(อาตมัน) จากราวณะ(อหังการ) ซึ่งเป็นคติธรรมทางฮินดู รามายณะ ที่ท่านมหาโยคีวาลมิกิรจนาขึ้นนั้น เป็นการอธิบายเรื่องของจิตวิญญาณที่ได้หุ้มเรื่องจริง คือประวัติของรามจันทราแห่งอโยธยา วาลมิกิได้แปลงรามจันทราเป็นสัจจะ เช่นเดียวกับหลวงจีนยวนฉ่างผู้ทรงเกียรติคุณได้ถูกแปลงเป็นขันติ เห้งเจียของจีนนั้นได้เป็นโพธิปัญญา โป๊ยก่ายนั้นคือศีล และซัวเจ๋งนั้นก็คือสมาธิ

    รามายณะ นั้นดำเนินเรื่องสงครามระหว่างสัจจะ(รามจันทรา) กับอหังการ(ทศกัณฐ์) เช่นเดียวกับ มหาภารตะยุทธ ที่กำหนดให้การเดินป่าเป็นความเป็นไปท่ามกลางของการปฏิบัติธรรม ส่วน ไซอิ๋ว ให้เป็นการเดินทางผ่านป่าทุรกันดาร ผจญภูติผีปีศาจนานา ทั้งสามมหากาพย์นี้เป็นการนำเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์มาห่อหุ้มใหม่พร้อมกับดัดแปลงตัวละครให้เป็นคุณค่าทางศีลธรรมหรือ โลกุตรธรรม วีรบุรุษเหล่านั้นมหากาพย์ได้ถุกปัดความเป็นคนออกไปสิ้น เหลือแต่เพียงความเป็นทิพยลักษณะ(DIVINITY) สำหรับฮินดูธรรม และเป็นคุณธรรม หรือบารมี สำหรับพุทธธรรม
     
  4. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    มีอยู่หลายตอนที่ผู้แต่งหยิบมาจาก รามายณะ ตรงๆ เช่นใน รามายณะ หนุมาณพบนางสีดาในสวน แล้วไม่สามารถอุ้มนางมาได้เพราะจะเป็นมลทินแก่นาง(รามเกียรติไทย นิยมเรียกตอนนี้ว่า หนุมาณถวายแหวน) ซึ่งแท้จริงมีความหมายมากกว่านั้น ซึ่งจะเฉลยรวมกับ ไซอิ๋ว ในตอนเห้งเจียตีลังกาไปหาพระยูไล แลัวไม่สามารถรับพระไตรปิฎกมาเมืองจีนได้นั่นเอง เพราะต้องรอให้ปัญญาหรือโพธิจิตนี้ ได้บารมีอื่นสนับสนุน และที่สำคัญต้องผ่านการฆ่าปีศาจ นั่นคือชนะอุปสรรคต่างๆได้แล้ว จึงจะได้รับวิมุติ มิใช่ว่าจะเข้าถึงได้ด้วยสักแต่ว่า คิดๆ นึกๆ ตามแบบอย่างวิธีการของปรัชญา

    ใน ไซอิ๋ว ทั้งคณะต้องผจญปิศาจฉันใด พระรามก็ต้องจองถนนไปลงกาฉันนั้น ลำพังจะให้เห้งเจียเข้าถึงพุทธะก็ได้ แต่ไม่สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ เพราะยังไม่รู้อริยสัจตามที่เป็นจริง หรือ ตัวอย่างที่เราอาจจะเห็นได้ดีกว่า แม้ความรู้เรื่องสุญตาหรือความว่างถูกต้องแล้ว แต่ยังต้องเป็นทุกข์กระสับกระส่าย เรื่องทั้งนี้เพราะว่านั่นยังเป็นเพียงความรู้เฉยๆ ยังหาใช่ญาณจักษุในอริยสัจไม่ ต่อเมื่อชีวิตผ่านการสู้รบกับภูติผีปีศาจแล้ว จึงจะเป็นสัจจะที่มั่นคงขึ้น การตีลังกาไปหาพระยูไลนั้น แม้จะเป็น "ฤทธิ์ " แต่เป็นสิ่งชั่วคราวนั่นคือ จะทำเป็นเข้าถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่นดื้อๆ พาลๆ นั้นไม่ได้

    แต่การรู้จักพระยูไลแม้ด้วยการตีลังกาไปก็ยังเป็นหลักประกันที่แน่นอนว่า เห้งเจียไม่เคยหลงยึดถือหรือหลงกลปิศาจตนใหน เพราะได้รุ้จักพุทธภาวะถูกต้องดีมาก่อนนั่นเอง ดังนั้นการตีลังกาไปหาพระยูไลเมื่อคราวอับจนนั้น ก็คือการทำให้ว่างจากความยึดมั่นด้วยอุปาทาน ก็พลันถึงพุทธภาวะ แม้เป็นการชั่วคราว ปีศาจคือกิเลสก็พ่ายแพ้ไปได้เช่นกัน ในตอนเห้งเจียสู้รบกับลักฮี้เกา(วิภาวตัณหา) นั้นเห็นเค้าว่าพาลีรบสุครีพอยู่ชัดเจนในส่วนอรรถะของปริศนาก็วิเศษตรงอุปมาว่า ความอยากเป็นพระอรหันต์เป็นภวตัณหา ปัญญาที่จะละภวตัณหา จึงสู้รบกันเอิกเกริก เพราะไม่สามารถแยกออกว่า ใหนเป็นปัญญา ใหนเป็นภวตัณหา จนพระยูไลต้องเสด็จไปตัดสิน

    ตอนปราบปีศาจไซท่อ(สิงโต) ของพระกวนอิมนั้น มเหสีของพระเจ้าแผ่นดินจูจี๊ก๊กได้รับเสื้อหนามพุงดอสวม ปีศาจเข้าไกล้มิได้ ดูเค้าจะเลียน รามายณะ ตอนทศกัณฐ์จะเข้าไกล้สีดาก็ให้รุ่มร้อนดังเข้าไกล้ไฟ

    ที่เมืองปีเปี๊ยกก๊ก เห้งเจียแหวกอกให้ดูว่าไม่มีใจ นี้ในส่วนความหมายตามวิธีหรือตามทางแห่งมหายานนั้น มีความหมายวิเศษว่า "พระต้องไม่มีใจ" และในส่วนอิทธิพลหรือที่มา ยืมมาจากตอนที่หนุมาณแหวกอกให้ทศกัณฐ์ดู ในคราวที่ทศกัณฐ์เกลี้ยกล่อมให้เข้าเป้นพวก ในใจหนุมานมีแต่ สีดา-ราม เท่านั้น ส่วนพุทธในใจของพระโยคาวจรหรือภิกษุ จะต้องมีความว่างจากตัณหาอุปาทาน

    นอกจาก ไซอิ๋ว หยิบยืมมาจาก รามายณะ แล้วยังมีเรื่องราวที่หยิบเอามาจากบันทึกการเดินทางของพระสมณะยวนฉ่าง(ตามทางประวัติศาสตร์) มาผสมผสานลงด้วย อย่างเช่นเหตุการณ์ตอนสมณะยวนฉ่างไปพบเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ที่ท่านได้บันทึกไว้ถูกนำมาใส่ไว้ ตอนหนอน 9 หัว(มละ 9) บันทึกเรื่องราวการตกแต่งประทีปอันงดงามที่เมืองหนึ่ง ได้กลายมาเป็นตอนปีศาจควายปลอมมาเป็นพระพุทธเพื่อขโมยน้ำมันจันทน์ เมื่อพระสมณะยวนฉ่างถูกโจรปล้น ก็ถูกมาไว้ใน ไซอิ๋ว หลายตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนหลวงจีนยวนฉ่าง(องค์จริงตามประวัติศาสตร์)

    บันทึกถึงการเดินทางที่ท่านนำพระคัมภีร์ ข้ามแม่น้ำสินธุแล้วเกิดเรือล่ม ทำให้อักขระเรือนหายไป จนท่านต้องเสียเวลาคัดลอกใหม่จนครบก็ถูกนำมาไว้ในไซอิ๋วใน ฐานะ "ธรรมที่คัมภีร์ไม่ได้บันทึกไว้" ซึ่งพอจะประมวลได้ว่า ไซอิ๋ว เป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์ผสมผสานกับรามายณะ ส่วนสำคัญที่สุดก็คือ ท่านผู้รจนาเป็นผู้แตกฉานรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพุทธธรรม เนื้อหาของพระสูตรมากมายถูกนำมาแทรกไว้ตลอด ทั้งเต๋า ทั้งพุทธ ทั้งธรรมเนียม ทั้งภาษิตโบราณ คลุกเคล้ากันไปอย่างน่าสนใจยิ่ง ผู้รู้ภาษาจีนเป็นอย่างดีผู้หนึ่งชี้ให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่า แม้แต่ในแง่ภาษาที่แต่ง ก็มีความไพเราะลึกซึ้งยิ่งนัก ไซอิ๋ว จึงแพรวพราวไปด้วยคุณค่ารอบด้าน
     
  5. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ผู้อ่านที่หวังสุนทรียรสก็จะได้ในระดับหนึ่งดังกล่าวแล้ว ส่วนอรรถหรือธรรมรสนั้น จำเป็นต้องทราบเนื้อหาอุปมาอย่างชัดเจนก่อน ความเยี่ยมยอดและวิเศษของ ไซอิ๋ว ที่ไม่เหมือนวรรณกรรมอื่นอยู่ที่ผู้อ่านจะต้องลืมความเป้นคนให้หมด ไม่มีพระถังซัมจั๋ง ไม่มีหลี่ซิบิ๋น ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีลิงเห้งเจีย ไม่มีหมูโป๊ยก่าย ไม่มีเงือกซัวเจ๋ง มีแต่คุณะ หรือ ค่าที่ยืมชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์มาเรียกเท่านั้น มิฉะนั้นความที่ไซอิ๋ว นั้นซับซ้อนนั่นเองจะปกปิดอรรถรสเสียหมด แล้วท่านผู้อ่านเองจะเป็นฝ่ายลดค่าวรรณกรรมนี้ลง

    ขณะที่อ่านนั้นเรามักจะเผลอไปจากระดาบนี้ เพราะว่าพระพุทธองค์ที่ประทับอยู่ในวัดลุยอิมยี่นั้น ก็หาใช้พระพุทธเจ้าทางกายภาพไม่ แต่กลับเป็นพุทธภาวะ และดังนั้นขันติคุณแห่งชีวิต(พระถัง) ที่อาศัยโพธิจิต(เห้งเจีย) และบารมีอื่นประกอบสนับสนุน จึงได้บรรลุถึงพุทธภาวะ สมัยดเห้งเจียไม่นำทาง ให้โป๊ยก่าย(ศีล) นำ คือจูงม้า(วิริยะ) โป้ยก่ายจะนำเข้ารกเข้าพง เข้าถ้ำผีจนถูกกักขัง และรอให้เห้งเจีย(ปัญญา) มาช่วยปลดปล่อยดังนี้ เป็นต้น แม้แต่เจดีย์ หาบห่อ ต้นไม้ ภูเขา ถ้ำ ลำธาร และอาวุธวิเศษต่างๆ ก็ล้วนเป็นความหมายทางธรรมทั้งสิ้น และที่ยิ่งไปกว่านั้น พระสงฆ์ก็หาใด้หมายถึงพระสงฆ์ไม่ กลับหมายถึงเจตสิกธรรม

    ในขณะที่อ่านไซอิ๋วเป็นปริศนานี้ ท่านจะพบกับความขบขันในปริศนาธรรมขั้นลึก ความขบขันทีโพธิปัญญาจะดูหมิ่นดูแคลนศีล หรือว่าโพธิปัญญาทะเลาะกับขันติที่มันเอาแต่จะทนฝ่ายเดียว มิได้เชื่อโพธิในการฆ่ากิเลส อรรถรสในปริศนาธรรมที่ไม่มีคน ไม่มีสัตว์นี้ช่างแสนสนุก ตรงที่ได้นึกทายหรือคาดการร์ว่าปีศาจตัวนี้คือกิเลสตัวใหนหนอ และปัญญาจะผ่านปีศาจได้อย่างไรหนอ เมื่อกระทำในใจเพื่อจะอ่านไซอิ๋วเช่นนี้ จะได้ความหรรษาในธรรมสโมธานอย่างลึกซึ้ง

    ผู้อ่านจะพบว่าการอ่าน ไซอิ๋ว เป็นดุจการได้สนทนากับชีวิต ไซอิ๋ว จึงเป็นคัมภีร์ที่ลึกซึ้งเท่าๆ กับความเป็นวรรณกรรม เพราะท่านผู้แต่งได้รวบรวมเอาเนื้อหาในพระสูตรไว้หลายสิบสูตรชื่อของถ้ำปีศาจและชื่อของภูเขาและพรรณไม้รอบๆ ถ้ำจะเป็นกุญแจไขข้อธรรม น่าเสียดายว่า ไซอิ๋ว ฉบับไทยนั้นไม่คงเส้นคงวาในการแปลชื่อเท่าใดนัก

    ข้าพเจ้าได้เคยเข้าใจคลาดมาหลายระดับ แม้แต่เคยเข้าใจว่า เห้งเจีย โป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งถ้าพิจารณานิสัยของสัตว์ ทั้งสาม นั้นคือ ปัญญา ศีล สมาธิ ที่ยังล้มลุกคลุกคลานอยุ่นั่นเอง โพธิยังเถื่อน ศีลยังทุศีล และ สมาธิยังซึมกะทืออยู่ ครั้นต่อมาเมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา ประชุมพร้อมกันแล้ว ถึงเขตโลกุตระ ทั้งสามตัวเริ่มเข้าร่องเข้ารอยกันได้ หากจะถือว่าทั้งสามสัตว์ คือ ราคะ โทสะ โมหะ แล้ว พระถังซัมจั๋งจะอาศัยไปไซที(นิพพาน) ได้อย่างไร ดูขัดเขินกว่าที่จะเห็นว่าเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ที่ยังเป็นโลกียะอยู่ ต่อมาเมื่อได้พิจารณาถี่ถ้วน หรือว่าท่านผุ้อ่าน ไซอิ๋ว จนจบเรื่องนั่นแหละ จึงจะมีความเห็นร่วมกับข้าพเจ้าเป็นแน่

    จนบัดนี้ข้าพเจ้ายังหาได้เข้าใจในปริศนาธรรม ไซอิ๋ว ได้ทุกแง่ทุกมุม อันเกิดจากอัจฉริยภาพของท่าน โหงว-เซ่ง-อึง อย่างเต็มที่ไม่ ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ยังมีส่วนลึกซึ้งที่ได่มองข้ามไปอีกมาก กระนั้นเท่าที่ทราบความหมายแล้ว ก็ยังเป็นเหตุให้รวบรวมอุตสาหะแก้ อรรถ ไซอิ๋ว ตามกำลังสติปัญญา โดยย่อเรื่องพอเป็นเค้าแล้วเฉลย จึงขาดรสสนุกไปมาก ถ้าหากว่าท่านผู้อ่านได้อ่านต้นฉบับไซอิ๋วมาบ้างแล้ว ก็คงจะได้ประโยชน์จากการเฉลยอรรถนี้มากยิ่งขึ้น และข้าพเจ้าคงได้บุญกุศลบ้าง จากการพยายามพิสูจน์ตามกำลังอันน้อยนิด ว่าวรรณกรรมในระนาบนี้ ในวิธีการเขียนชนิดนี้ เป็นแก่นสารของวรรณกรรมแห่งเอเชียที่เคยรุ่งโรจน์ทางนามธรรมและได้เสื่อมคลายลงเพราะอำนาจความคลั่งไคล้ในวัตถุในปัจจุบัน

    อาเธอร์ วัลเลย์ กวีชาวอังกฤษได้แปลและเรียบเรียงเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ และเขียนนำว่าเป็นเรื่องสนุกดังเรื่อง เดวี่ครอกเก็ต พร้อมกันนั้นเขาได้ชี้ช่องว่า ไซอิ๋วเป็นเรื่องลึกซึ้งทางจิตวิญญาณเช่นเดียวกัน ชาวตะวันตกมักจะรู้จักไซอิ๋วในนาม "Monkey god" มากกว่า "ไซอิ๋วกี่" ซึ่งหมายถึง การเดินทางไปตะวันตก(Journey to the west) ซึ่งหมายถึงอินเดีย และในส่วนลึกหมายถึงพระนิพพาน


    เขมานันทะ
     
  6. HS4OFL

    HS4OFL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +1,382
    ชอบมากเลยค่ะ ติดตามทุกตอน
     
  7. poom076

    poom076 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +689
    โมทนาสาธุครับ
    เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากๆครับผม
    ซื้อมาอ่านแล้วครับ
    ไม่ผิดหวังจริงๆๆ
    (good)
     
  8. 0..0

    0..0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +779
    โอ้ เพิ่งเห็นพอดี ขอบคุณมากๆๆครับที่นำมาเผยแพร่ เพราะกำลังมีโจรเอาธรรมะไปหากินในการให้ผู้อื่นยกย่องตนว่า มีภูมิธรรมรู้ ภูมิธรรมถึงปริศนาธรรมที่ซ่อนไว้ใน เรื่อง "ไซอิ๋ว"

    อนุโมทนาครับ [​IMG]
     
  9. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    อ้างอิง...

    ข้าพเจ้าได้เคยเข้าใจคลาดมาหลายระดับ แม้แต่เคยเข้าใจว่า เห้งเจีย โป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งถ้าพิจารณานิสัยของสัตว์ ทั้งสาม นั้นคือ ปัญญา ศีล สมาธิ ที่ยังล้มลุกคลุกคลานอยุ่นั่นเอง โพธิยังเถื่อน ศีลยังทุศีล และ สมาธิยังซึมกะทืออยู่ ครั้นต่อมาเมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา ประชุมพร้อมกันแล้ว ถึงเขตโลกุตระ ทั้งสามตัวเริ่มเข้าร่องเข้ารอยกันได้ หากจะถือว่าทั้งสามสัตว์ คือ ราคะ โทสะ โมหะ แล้ว พระถังซัมจั๋งจะอาศัยไปไซที(นิพพาน) ได้อย่างไร ดูขัดเขินกว่าที่จะเห็นว่าเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ที่ยังเป็นโลกียะอยู่ ต่อมาเมื่อได้พิจารณาถี่ถ้วน หรือว่าท่านผุ้อ่าน ไซอิ๋ว จนจบเรื่องนั่นแหละ จึงจะมีความเห็นร่วมกับข้าพเจ้าเป็นแน่


    ...

    เห้งเจีย โป้ยไก่ ซัวเจ๋ง
    คิดว่าเป็น โทสะ - โลภะ (ราคะ) -โมหะ อยู่เหมือนกันค่ะ
    กลายเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ได้ด้วย ( ต้องเสมอกัน ตัวใดมากไปก็ไม่ดี ถึงจะไปนิพพานได้)
    ไม่คิดว่า ซัวเจ๋ง จะโง่ขนาดนี้ (นี่ไม่ได้ว่าพวกมีฤทธิ์นะ แบบว่าควรฝึกปัญญาไปด้วยกัน จะได้ไม่หลงไง... พวกฝึกปัญญาไปอย่างเดียว ก็กร่างไปซะ แย่เจงๆ )


    ท่านเขมานันทะ เป็นอริยะผู้หนึ่ง ไม่ควรปรามาสอย่างยิ่ง..



    (good)



    ส่วนพระถังซำจั๋ง จะลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งค่ะ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2008
  10. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    โม้ต่อ


    สำหรับท่านที่ชอบ ท่านเสถียรโพธินันทะ
    ท่านจะลงมาร่วมบุญกับพระถังซำจั๋งนะคะ

    ..

    ฟังคุณลงธีรทาสเล่ามาอีกที


    กรุณาอย่าสอบถามดิฉันนะคะ ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน ฟังมาเฉยๆ
    คือว่า ดิฉัน เป็นผู้หนึ่งที่ปลื้ม ท่านเสถียรฯ มากๆ

    องค์พระถังซำจั๋งไม่ใช่ธรรมดาแน่ๆ
    ส่วนเทพต่างๆ ไม่รู้เหมือนกัน แต่เปรียบแบบปัญญา ก็ได้ข้อคิดมากทีเดียว




    (good)
     
  11. 0..0

    0..0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +779
    [​IMG]

    [​IMG]

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.267615/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    จะมีบุคคลพวกหนึ่ง ไม่แบ่งสาย ไม่แบ่งพวก
    สดับฟังคำสอนของแต่ละสาย และรับเอาหัวใจของครูอาจารย์ผู้ที่สอนได้
    โดยไม่เสียเวลาต่อตี กับลูกศิษย์สายต่างๆ
    ไม่อวดเบ่งว่าตัวไปเห็นครูอาจารย์สายอื่นอยู่ในนรก ด้วยมโนฯอันโง่งม

    จะสายฤทธิ์ก็ดี สายปัญญาก็ดี ฯ
    เมื่อทำจิตใจให้กว้างแล้ว เขาย่อมได้ประโยชน์ใหญ่จากทุกแหล่ง
    ครูบาอาจารย์เป็นของสูง เป็นบุคคลผู้เสียสละในการสอน


    หลวงปู่ดู่ยังสรรเสริญ บุคคลเช่นนี้
    ดิฉันย่อมต้องสรรเสริญ บุคคลเช่นนี้ด้วย

    (*)
     
  13. 0..0

    0..0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +779
    ครับผมชอบท่านทีเดียวครับ ในการบรรยาย และ ตอบปัญหาธรรมได้ฉะฉาน และ แตกฉานปริยัติจริงๆ ครับ เสียดายอายุท่านน้อยก็รีบมาด่วนจากไปเสียแล้ว

    เนื่องจากFileของผมใหญ่เกินไปที่จะUploadเสียงของอ.เสถียรในห้องนี้ ไปเจอของคุณ โจโฉพอดี ท่านใดสนใจลองLoadไปฟังกันนะครับ [​IMG]


    [​IMG]

    ท่าน อ.เสถียร โพธินันทะ

    ชาตะ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒
    มรณะ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ​


    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4748 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4748.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4748 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>001 ปฐมเหตุของโลก.mp3 (10.31 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4749 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4749.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4749 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>002 กำเนิดโลก กำเนิดชีวิต.mp3 (10.39 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4750 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4750.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4750 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>003 สุนทรียถาพในพระพุทธศาสนา.mp3 (9.48 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4751 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4751.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4751 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>004 พุทธวิธีในการปฏิรูป.mp3 (10.22 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4752 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4752.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4752 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>005 อาการจิต.mp3 (10.26 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4753 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4753.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4753 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>006 ขันธวาที.mp3 (10.35 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4754 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4754.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4754 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>007 สุญญตา.mp3 (10.36 MB, 738 views)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4755 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4755.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4755 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>008 หลักของสุญญตา.mp3 (10.13 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4756 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4756.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4756 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>009 ปกติวาที สมยวาที.mp3 (10.39 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4757 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4757.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4757 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>010 ปรปัจจัย.mp3 (10.41 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4758 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4758.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4758 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>011 ปฏิจจสมุปบาท 1.mp3 (10.23 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4759 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4759.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4759 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>012 ปฏิจจสมุปบาท 2.mp3 (10.39 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4760 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4760.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4760 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>013 ปฏิจจสมุปบาท 3.mp3 (10.39 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4761 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4761.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4761 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>014 ปฏิจจสมุปบาท 4.mp3 (10.42 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4762 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4762.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4762 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>015 ตรรกวิทยา.mp3 (10.31 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4763 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4763.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4763 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>016 เหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพาน.mp3 (10.40 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4764 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4764.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4764 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>017 เหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพาน.mp3 (10.47 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4765 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4765.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4765 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>018 ทุติยสีงคายนา 1.mp3 (10.34 MB</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4766 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4766.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4766 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>019 ทุติยสีงคายนา 2.mp3 (10.09 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_4767 onclick=document.all.music.url=document.all.play_4767.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=4767 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หนังสือเพิ่มเติม เพื่ออ่าน.zip (687.8 KB)</TD></TR></TBODY></TABLE>



    [​IMG] ที่มา
    http://audio.palungjit.org/showthread.php?t=576
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2008
  14. {ผู้ชนะสิบๆทิศ}

    {ผู้ชนะสิบๆทิศ} เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +917
    ปริศนาธรรมในไซอิ๋ว ถือเป็นผลึกทางปัญญาของผู้แต่งจริงๆครับ เนื่องจกบ่มปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ได้อย่างยิ่งยวด ทำให้รู้ถึง การผูกโยงเรื่องราวให้สอดคล้องกับธรรมะอย่างอย่างแยบยล นับเป็นภูมิธรรมขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ของเขาจริงๆครับ


    ท่านอ.เสถียร ผมเคยฟังครับ ท่านแตกฉานในพระไตรปิฎกจริงๆครับ เคยอ่านบทความของท่านอ.สุชีพ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาด้านปริยัติของเมืองไทย ได้กล่าไว้ว่า อ.เสถียรคือ ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ดีๆนี่เอง อ.เสถียรท่านได้บรรยายประวัติพระถังซัมจั่งด้วยนะครับ ผมเคยไปแถวๆท่าพระจันทร์ ได้ซื้อเทปท่านมา สมัยนี้ดีมากเลยครับ ไม่ต้องใช้เทปกันเลย ใช้ไฟล์เล็กๆก็ฟังกันเสียงชัดเจน แถมมีการแต่งเสียงให้คมชัดขึ้นอีก ขอย้อยเล่าเรื่องอ.เสถียรหน่อยว่า ตอนท่านบรรยายธรรมครั้งแรกอายุ 17 เองครับ นับว่าอัจฉริยะมาเกิดบำเพ็ญบารมีโดยแท้


    อนุโมทนาด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2008
  15. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +973
    เอ...ท่านทั้งหลายครับ
    ที่ผมพอรู้บ้าง ไม่ใช่เพียงตำนานนะ
    องค์หนุมาน เห้งเจีย ซือหงอคง และกากะวานรที่ช่วยดูแลพระนางจามเทวี
    ตอนพระองค์ท่านยังเป็นทารก
    มีความเกี่ยวข้องกัน เอาสั้นๆว่าเป็นการทำงานของโลกวิญญาน
    ที่มาทำงาน โดยมีกายเนื้อในโลกมนุษย์
    เช่นพระถังซำจั๋ง นั่นก็เบื้องสูงพระองค์หนึ่ง ที่ลงมาทำงานให้พระศาสนา
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    กังขา หายไปนานเลยนะ
    สำหรับ นักรบโบราณ คุณนี่มันล้าหลังตลอดเลย เอานิยายมาปนกับความเป็นจริง เอาของจริงไปทิ้งขว้าง พิจารณาให้ดีก่อน แล้วจะได้ทราบความเป็นมา
     
  17. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +973
    ขอบคุณ คุณขันธ์ที่ช่วยแนะนำนะ
    เพราะผมไม่เคยคิดว่าตัวเองรู้อะไรมากเลย
    แต่นอกจากสิ่งที่รู้เห็นด้วยตนเองแล้ว
    ผมเปิดจิตรับฟังทั้งทางเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
    ให้เกียรติในความคิดของทุกท่าน
    เหตุเพราะว่า "พระอรหันต์ ยังมีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ"
    ไม่เหมือนกันเลย ประสาอะไรกับปุถุชนอย่างเรา-ท่านทั้งหลาย
     
  18. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377
    ทองไม่เอา ไปเอากรวด เจ้าพวกกรวดก็ชอบอวดกรวดที่ตนเองมีกันจัง คนมันเลยวุ่นกันทุกวันนี้ เพราะดูทองกันไม่เป็น

    ตลกดี ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...