การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893

    คิดว่า wikipedia น่าจะมีข้อมูลแล้วครับ แต่เดี๋ยวจะลองตรวจดูอีกที ขอบคุณครับ
     
  2. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อุตุฯ เตือน ปชช.รับมือพายุฤดูร้อน กทม.รับหางเลขบ่ายนี้</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 เมษายน 2550 09:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> กรมอุตุฯ เตือนประชาชนพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนในภาคเหนือ-อีสานของไทย อาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ขณะที่ กทม.ตะวันออก และภาคกลางจะมีพายุฤดูร้อนบ่ายนี้ ระวังอย่าอยู่ใกล้ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ใต้มีฝนมากขึ้นช่วงสงกรานต์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน” ฉบับที่ 1 ว่า ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่เข้ามาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในเช้าวันนี้ ( 11 เม.ย.)

    ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ลักษณะดังกล่าวจะทำให้เกิดพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา

    สำหรับภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบในบ่ายวันนี้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณที่กล่าวมาเตรียมป้องกันอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยดูแลบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งการหลีกเลี่ยงอยู่ใกล้บริเวณป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนในขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองไม่ควรใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะนำไฟฟ้า และควรปิดวิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือเพื่อป้องกันการเกิดฟ้าผ่า และไฟฟ้าลัดวงจร

    สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้น และในช่วงวันที่ 12-14 เมษายน 2550 คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ขั้วโลกเหนือเคยร้อนมาก่อน?

    [​IMG]
    ทีมสำรวจได้เจาะแกนตะกอนจากบริเวณพื้นมหาสมุทรอาร์คติก และพบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่สำคัญมาก คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมบนโลกในระยะยาว

    9 พย 2004 เป็นวันที่นักวิทยาศาสตร์จาก ACEX (arctic coring expedition) รอมานานแสนนาน ทีมนักวิทยาศาสตร์ 32 คนประกอบไปด้วย นักธรณีวิทยา นักเคมี นักวิเคราะห์ฟอสซิล นักจุลชีววิทยา และนักอื่นๆอีกจาก 10 ประเทศมาพบกันที่ โกดังเก็บแกนตะกอนของ IODP (integrated ocean drilling program) ที่มหาวิทยาลัยเบรเมน ชั้นในโกดังนี้เก็บแกนตะกอนยาวถึง 75 กิโลเมตร ที่ได้จากการขุดเจาะพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลเมดิเตอเรเนียน ทะเลใต้ ทั้งหมดดูกตัดแบ่งให้ยาว 1.5 เมตร เก็บในถุงพลาสติก

    เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการขุดเจาะแกนตะกอนยาว 340 เมตรที่มีค่ามาก ซึ่งได้มาจากการสำรวจนาน 6สัปดาห์ช่วง สค-กย ปี 2004 ในบริเวณที่ไม่ไกลจากขั้วโลกเหนือ
    7 สค 2004 เรือ Oden เรือตัดน้ำแข็งยาว 108เมตร กว้าง 31เมตร กำลัง 24000แรงม้า ได้ออกจากเมือง Tromso ประเทศ Norway มุ่งหน้าสู่ขั้วโลกเหนือ เรือ Vidar Viking เรือโยงยาว 84เมตร ที่ปกติใช้ในการขุดเจาะน้ำมัน ก็ออกเดินทางตามมาติดๆ มันได้ถูกเปลี่ยนเป็นสถานีสำหรับขุดเจาะที่ขั้วโลกเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ โดยตรงกลางเรือมีเครื่องขุดเจาะสูง 34เมตร
    10 สค 2004 ที่ 82 ดีกรีเหนือเส้นรุ้ง ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของบริเวณ Franz-Joseph เรือ Odenและ Vidar Viking ได้ไปพบกับเรือ Sovetskiy Soyuz เรือตัดน้ำแข็งยาว 148เมตร ที่ใช้พลังงานปรมาณู ด้วยกำลัง 75000แรงม้า ด้วยเรือทั้ง 3ลำนี้ คณะสำรวจก็มั่นใจได้ว่าพวกเขาพร้อมแล้ว บริเวณที่จะทำการสำรวจคาดว่าจะมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่หนาแน่นมาก ลมและกระแสน้ำก็ยังมีผลให้น้ำแข็งเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาด้วย ซึ่งทำให้แม้แต่เรือขุดเจาะที่มีกำลังมากอย่าง Vidar Viking อยู่นิ่งๆกับที่ได้ยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ถ้าเรือไม่อยู่นิ่งๆอาจทำให้เชือกของเครื่องเจาะขาดได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเรือ Odenและ Sovetskiy Soyuz ที่จะอยู่ไม่ไกลออกไปเพื่อคอยตัดแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่อาจหนาได้ถึง 4เมตร ให้เหลือขนาดที่จะไม่รบกวนเครื่องขุดเจาะได้
    1 กย 2004 ที่อุณหภูมิ –5 องศาเซลเซียส งานดำเนินไปด้วยดี เรือ Vidar Viking อยู่ตำแหน่งที่ต้องการมาได้นานถึง 125 ชม แล้ว ชั้นตะกอนที่หนา 427เมตร ได้ถูกเจาะจนเกือบเสร็จแล้ว นักศึกษาฟอสซิลของจุลชีพ 9คน กำลังมีงานล้นมือ พวกเขาต้องวิเคราะห์อายุของชั้นตะกอนที่ขุดเจาะออกมา
    5 กย 2004 เวลาประมาณตีสอง เครื่องเจาะก็เข้าถึงชั้นหินทราย เมื่อแกนตะกอนสุดท้ายถูกนำขึ้นมา เรือก็มุ่งหน้ากลับสู่ Tromso

    แกนตะกอนทั้งหมดที่ได้มายาวรวมกัน 340เมตร จากสี่ตำแหน่ง และการขุดเจาะทั้งหมด 6ครั้ง ซึ่งให้ข้อมูลกว้างถึง 80ล้านปี แกนตะกอน 160เมตรแรก เกือบจะให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศใน 15ล้านปีที่ผ่านมา แกนตะกอนที่ส่วนก้อน 200เมตรให้ข้อมูลในยุคกลางและยุคแรกๆของ สมัย Paleogene หรือย้อนกัลไปถึงเกือบ 56ล้านปี แต่ยังไม่ทราบว่าทำไมข้อมูลช่วง 15-35 ล้านปีก่อนถึงขาดหายไป

    ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของบริเวณกลางมหาสมุทรอาร์คติก เป็นไปในทำนองเดียวกับของที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆของโลก ข้อมูลจาก microfossils ชี้ว่าเมื่อ 55ล้านปีก่อน มหาสมุทรอาร์คติกไม่ได้หนาวแบบนี้แต่อยู่ในช่วงอบอุ่นแบบ sub-tropical อุณหภูมิประมาณ 20องศาเซลเซียสเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ นี่เป็นครั้งแรกที่เราพบว่าอุณหภูมิสูงสุดของโลกในช่วงจุดเปลี่ยนระหว่างยุค Palaeocene กับEocene อยู่ที่มหาสมุทรอาร์ติก

    แกนตะกอนยังมีข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นอีกคือ การมีอยู่ของสาหร่ายและเฟิร์นในน้ำจืด ของช่วงกลางยุค Eocene 49ล้านปีก่อน ชี้ให้เห็นว่า น้ำที่มาจากแม่น้ำจากทวีปที่อยู่รอบๆ มีความสำคัญต่อวงจรน้ำที่มหาสมุทรอาร์คติกอย่างมาก ซึ่งเป็นความรู้ที่ขัดกับความเชื่อที่มีมาแต่เดิม ตะกอนสารซิลิเกตและคาร์บอน ในกลางยุค Eocene ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ผิวน้ำ มากกว่าที่เป็นอย่างในยุคปัจจุบัน ในสมัยโน้นน่าจะมีพืชอาศัยอยู่มากทีเดียว ส่วนในช่วง 15ล้านปีก่อนน่าจะมีการพาทรายและอนุภาคซิลิเกตเข้ามาโดยสม่ำเสมอผ่านทางภูเขาน้ำแข็ง นั่นคือทะเลน้ำแข็งเริ่มมีบทบาทต่อสภาพอากาศของมหาสมุทรอาร์คติกในช่วงยุคนี้ อีกประเด็นก็คือการค้นพบหินซิลิเกตจากกลางยุคEocene ระหว่าง 40-46ล้านปีก่อน ซึ่งน่าจะถูกพามาที่มหาสมุทรอาร์คติกจากพื้นที่รอบๆโดยแผ่นน้ำแข็งที่ลอยมา ชี้ให้เห็นว่าสภาพอากาศมีความหนาวเย็นช่วงเดียวกับที่มหาสมุทรแอนทาร์คติกที่ขั้วโลกใต้ กำลังเริ่มเกิดเป็นทวีปน้ำแข็ง ซึ่งก่อนนี้เคยเชื่อว่าขั้วโลกใต้มีการเกิดน้ำแข็งเร็วกว่าที่ขั้วโลกเหนือมาก

    ข้อมูลจาก
    -Was the north pole once ice free? Albert Gerdes. German Research 2/2005

    ข้อมูลเพิ่มเติม
    -ข้อมูลเกี่ยวกับยุคทางธรณีวิทยา
    http://www.lesa.in.th/bio/geo_time/geo_time.htm
    -european consortium for ocean research drilling
    http://www.ecord.org/
    -integrated ocean drilling program
    http://www.iodp.org/
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="865" width="803"><tbody><tr><td rowspan="3" width="15"></td> <td align="center" valign="middle" width="530">สาเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    </td><td rowspan="3" width="17">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center" height="783" valign="top">

    เป็นเวลากว่าทศวรรษมาแล้วที่ Syante Arrhenius นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้พิสูจน์ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<tt>2</tt>) สามารถเก็บกักความร้อนได้ โดย CO<tt>2 </tt>ในชั้นบรรยากาศซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติได้เก็บความร้อนที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ให้คงอยู่ภายในโลก ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่หนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้​
    แต่ขณะนี้ CO2 ก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน ได้เพิ่มปริมาณขึ้นมากกว่าช่วงเวลาใดๆ ในประวัติศาสตร์ 420,000 ปีที่ผ่านมา​
    <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="143" width="180"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="133" valign="bottom" width="10"> </td> <td align="right" height="133" valign="bottom" width="170">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="right" height="10" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปรากฎการณ์เรือนกระจก
    ภูมิอากาศของโลกเกิดจากการไหลวนของพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแสงแดด พลังงานประมาณร้อยละ 70 ได้ถูกดูดซับโดยผ่านชั้นบรรยากาศลงมาให้ความอบอุ่นกับพื้นผิวโลก แต่อีกร้อยละ 30 จะสะท้อนกลับไปสู่ห้วงอวกาศ ในรูปของแสงอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน ทำให้โลกไม่ร้อนจนเกินไป​
    สูงจากโลกเราขึ้นไปในชั้นบรรยากาศมี “ก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งเปรียบเสมือน “ผ้าห่มธรรมชาติ” ห่อหุ้มอยู่ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO<tt>2</tt>) โอโซน(O<tt>3</tt>) มีเทน(CH<tt>4</tt>) ไนตรัสออกไซด์(N<tt>2</tt>O) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก๊าซเหล่านี้มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้นไม่ถึงร้อยละ 1 ของบรรยากาศ แต่ก็มากเพียงพอที่จะทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิอุ่นขึ้นจากเดิมประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ​
    CO<sub>2</sub> คือตัวการสำคัญ
    <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="173" width="180"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="162" valign="bottom" width="10"> </td> <td align="right" height="162" valign="bottom" width="170">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="right" height="10" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    สาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อนกว่าร้อยละ 80 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของ CO<tt>2</tt>ในชั้นบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2534 มีการปล่อย CO<tt>2</tt> รวมทั้งโลกในปริมาณสูงถึง 26.4 พันล้านตัน จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก​
    นักวิทยาศาสตร์ประมาณการเปลี่ยนแปลงของ CO<tt>2</tt> ในช่วง 10,000 ปี ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมว่ามีไม่ถึงร้อยละ 10 และธรรมชาติสามารถปรับตัวให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ แต่ในช่วงระยะเวลาเพียง 200 ปีที่ผ่านมาระดับ CO<tt>2</tt> ได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 30 ถึงแม้บางส่วนจะถูกดูดซับไปโดยมหาสมุทรและพืช แต่ปริมาณ CO<tt>2</tt> ก็ยังคงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในทุกๆ 20 ปี ซึ่งขณะนี้มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากที่สุดในรอบ 420,000 ที่ผ่านมา​
    คาดการณ์ว่าปริมาณการปล่อย CO<tt>2</tt> อาจเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันร้อยละ 4 ถึง 320 ในปี พ.ศ. 2643 ซึ่งจำนวนนี้ถือว่ามากกว่าระดับที่มีอยู่ตามธรรมชาติก่อนที่มนุษย์จะเริ่มเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลครั้งใหญ่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ประมาณสองถึงสามเท่า​
    ก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณรองลงมาอย่างก๊าซมีเทน (CH<tt>4</tt>) ก็เพิ่มปริมาณขึ้นเป็นสองเท่าเนื่องจากการทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวในนาที่มีน้ำขังและการปศุสัตว์ นอกจากนี้ การฝังกลบขยะ การทำเหมืองถ่านหินและการผลิตก๊าซธรรมชาติก็ปล่อย CH<tt>4</tt> เช่นกัน คาดว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก CH<tt>4</tt> ประมาณร้อยละ 15-20 และการเพิ่มขึ้นของไนตรัสออกไซด์ (N<tt>2</tt>O) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) และโอโซน (O3)ประมาณร้อยละ 20 ปริมาณ N<tt>2</tt>O ที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 เป็นผลมาจากการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ​

    </td></tr></tbody></table>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="750"><tbody><tr><td align="center" valign="top" width="530">
    สาเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    </td><td rowspan="3" width="17">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center" height="783" valign="top"><table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="124" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="115" valign="top" width="10">[​IMG]</td> <td align="right" height="115" valign="top" width="180">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="right" height="9" valign="top" width="190">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    แหล่งปล่อย Co<sub>2</sub>
    ข้อมูลปี พ.ศ. 2538 จากประเทศที่พัฒนาแล้ว 18 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าปริมาณการปล่อย CO<tt>2</tt> มาจากภาคการผลิดไฟฟ้ามากที่สุดถึงร้อยละ 36 เนื่องจากมีการเผาเชื้อเพลิงอย่างถ่านหิน โดยทั่วไปแล้ว โรงงานไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 1,000 เมกกะวัตต์ จะปล่อย CO<tt>2</tt> จำนวน 5.6 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคการขนส่ง ร้อยละ 27 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 21 ครัวเรือนและภาคบริการร้อยละ 15 และจากแหล่งอื่นๆ อีกร้อยละ 1​
    ข้อมูลจากรายงานแห่งชาติ (National Communication) (2000) แสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ.2537 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 248 ล้านตัน โดยเป็น CO<tt>2</tt> ถึง 241 ล้านตัน หรือ ประมาณร้อยละ 98 แต่ถ้าหักปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยภาคป่าไม้ไปแล้ว ประเทศไทยก็จะมีปริมาณการปล่อย CO<tt>2</tt> สุทธิ 202 ล้านตัน
    แหล่งปล่อย CO<tt>2</tt> แหล่งใหญ่ที่สุดคือกิจกรรมการเผาผลาญพลังงาน คิดเป็นร้อยละ 62 ของการปล่อยทั้งหมดในปี พ.ศ.2537 รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและพื้นที่ป่า ร้อยละ 30 และภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8 ในส่วนของกิจกรรมการเผาผลาญพลังงานนั้นสามารถจำแนกได้ว่าเป็นการเผาผลาญพลังงานเพื่อจัดหาพลังงาน (45,529 พันตัน) เพื่อการคมนาคมขนส่ง (39,920 พันตัน) และอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง (30,824 พันตัน)
    ข้อมูลเพิ่มเติม : การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยจำแนกตามกิจกรรมปี 2537

    </td></tr></tbody></table>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="750"><tbody><tr><td align="center" valign="middle" width="530">ผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับโลก

    </td><td rowspan="3" width="17">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center" height="530" valign="top">

    <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="118" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="10">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="180">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว และส่งผลถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยตรงในทุกภูมิภาคทั่วโลก
    • นับจากปี พ.ศ. 2393 เป็นต้นมา พื้นที่ Alpine Glaciers ในทวีปยุโรปลดลงถึงครึ่งหนึ่ง ในขณะที่รัฐบาลของสหรัฐคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2573 ธารน้ำแข็งจะละลายหมดไปจาก Montana's Glacier National Park ​
    • ปลาแซลมอนที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนเหนือลดจำนวนลงอย่างมากเนื่องจากน้ำทะเลในบริเวณนั้นร้อนขึ้นกว่าปกติถึง 6 องศาเซลเซียส​
    • ทะเลที่ร้อนขึ้นทำให้นกทะเลหลายร้อยตัวจากจำนวนนับพันบริเวณชายฝั่งแคลิฟอเนียตายลงเนื่องจากขาดแคลนอาหาร​
    • ปะการังทั่วโลกกำลังถูกทำลายจากน้ำทะเลที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ และถ้าอัตราการทำลายยังคงที่ในระดับปัจจุบัน แนวปะการัง Great Barrier Reef ทั้งหมดอาจจะตายได้ภายในหนึ่งชั่วอายุคน ​
    • มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นรังสีความร้อนเป็นจำนวนมาก เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังตัวอย่างในเมืองชิคาโก เอเธนส์ และนิวเดลี ​
    • ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อทุกประเทศที่มีพื้นที่ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิค และมหาสมุทรอินเดีย เช่น เกาะตูวาลู ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฟิจิ ประชากรกว่า 10,000 คน ต้องอพยพไปอยู่ที่นิวซีแลนด์ เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจนท่วมที่อยู่อาศัย ​
    • ยุโรปกลางเกิดน้ำท่วมครั้งที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษถึง 3 ครั้งภายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณน้ำฝนได้เพิ่มขึ้นเพราะอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น​
    <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="129" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="115" valign="top" width="10">[​IMG]</td> <td align="right" height="115" valign="top" width="180">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="right" height="10" valign="top" width="190">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดตามมา​
    • การเพิ่มจำนวนของพายุเฮอริเคน​
    • น้ำท่วม ภัยแล้ง และการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น มาลาเรีย ซึ่งจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยประสบปัญหามาก่อน อันจะนำไปสู่ภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร และเกิดความขัดแย้งในระดับภูมิภาคเนื่องจากปัญหาภัยธรรมชาติ ​
    • ป่าไม้ของโลกจำนวนหนึ่งในสามอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกทำลาย เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยป่าไม้เพื่อความอยู่รอด​
    </td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ช่วงนี้เวปเข้ายากมากครับ ส่งข้อมูลทีก้อ error หรือโหลดช้ามาก ผมเลยขอนุญาตรวมกระทู้นะครับ เพราะแยกกระทู้แล้วข้อมูลยิ่งโหลดช้าๆๆ ต่อเลยนะครับ>>>>>>>>>>

    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="2138" width="756"><tbody><tr><td align="center" valign="middle" width="530">ผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับโลก

    </td><td rowspan="3" width="17">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center" height="783" valign="top">

    ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝน และทรัพยากรน้ำ
    <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="10">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="180">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    อุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นจะทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น และเกิดฝนตกมากขึ้นในบางพื้นที่ แต่ในบางพื้นที่ก็อาจจะประสบกับปัญหาภัยแล้งเนื่องจากฝนไม่ตกตามฤดูกาล​
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และปริมาณแสงแดด ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณน้ำของแหล่งน้ำต่างๆ และการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งจะกลับมามีผลต่อการระเหยของน้ำ การก่อตัวของเมฆ และปริมาณน้ำฝนอีกครั้งหนึ่ง​
    อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้วัฏจักรการระเหยของน้ำเร็วขึ้น และมีฝนตกมากขึ้นในบางพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมและปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่ซึ่งฝนไม่ตก น้ำที่ระเหยเร็วขึ้นจะทำให้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่เพาะปลูก และแหล่งน้ำสำคัญได้ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค อันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้ายที่สุด​
    การเปลี่ยนแปลงของน้ำท่าและการระเหยของน้ำยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระบบนิเวศของแหล่งน้ำจืด การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ และอุณหภูมิของน้ำมีผลต่ออัตราการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำและปริมาณน้ำฝนจะส่งผลต่อปริมาณน้ำในแหล่งน้ำจืด และคุณภาพของน้ำในด้านการละลายของออกซิเจนและสารอาหารในน้ำ ซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำนั้น






    ระดับน้ำทะเล
    <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="10">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="180">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะท่วมและกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งสร้างความเสียหายแก่ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ระบบนิเวศชายฝั่ง การทำประมงชายฝั่ง ธุรกิจท่องเที่ยว และพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น ​
    ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้เพิ่มสูงขึ้น 10-25 เซนติเมตร อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 50 ซ.ม. ใน 100 ปีข้างหน้า โดยระดับน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่อาจเพิ่มสูงขึ้นไม่เท่ากันเนื่องจากผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทร​
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นคือ การขยายตัวของผิวน้ำทะเลเมื่อได้รับความร้อนมากขึ้น โดยมีการละลายของภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกเป็นตัวสนับสนุน ผลกระทบจากการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยพื้นที่แต่ละแห่งมีโอกาสจะได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน พื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงคือพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำ​
    พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากบริเวณอ่าว Chesapeake และ พื้นที่ปากน้ำของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ในรัฐหลุยส์เซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศตูวาลู ซึ่งเป็นหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ระดับน้ำได้ท่วมที่อยู่อาศัยจนต้องอพยพประชากรกว่า 12,000 คน ไปอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์เป็นการถาวร​
    คาดการณ์ว่าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ของประเทศต่างๆ อาจจะจมหายไป ดังนี้ อุรุกวัยจะหายไปร้อยละ 0.05 อียิปต์ ร้อยละ 1 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 6 บังคลาเทศ ร้อยละ 8 และบางประเทศในหมู่เกาะมาร์แชลอาจสูญหายถึงร้อยละ 80 อันจะนำมาซึ่งความเสียหายเป็นจำนวนมากในด้านที่อยู่อาศัย ระบบนิเวศชายฝั่ง การทำประมงชายฝั่ง ธุรกิจท่องเที่ยว และพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น



    เกษตรกรรม
    <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="19">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="171">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะท่วมและกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งสร้างความเสียหายแก่ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ระบบนิเวศชายฝั่ง การทำประมงชายฝั่ง ธุรกิจท่องเที่ยว และพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น ​
    ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้เพิ่มสูงขึ้น 10-25 เซนติเมตร อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 50 ซ.ม. ใน 100 ปีข้างหน้า โดยระดับน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่อาจเพิ่มสูงขึ้นไม่เท่ากันเนื่องจากผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทร​
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นคือ การขยายตัวของผิวน้ำทะเลเมื่อได้รับความร้อนมากขึ้น โดยมีการละลายของภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกเป็นตัวสนับสนุน ผลกระทบจากการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยพื้นที่แต่ละแห่งมีโอกาสจะได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน พื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงคือพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำ​
    พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากบริเวณอ่าว Chesapeake และ พื้นที่ปากน้ำของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ในรัฐหลุยส์เซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศตูวาลู ซึ่งเป็นหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ระดับน้ำได้ท่วมที่อยู่อาศัยจนต้องอพยพประชากรกว่า 12,000 คน ไปอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์เป็นการถาวร​
    คาดการณ์ว่าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ของประเทศต่างๆ อาจจะจมหายไป ดังนี้ อุรุกวัยจะหายไปร้อยละ 0.05 อียิปต์ ร้อยละ 1 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 6 บังคลาเทศ ร้อยละ 8 และบางประเทศในหมู่เกาะมาร์แชลอาจสูญหายถึงร้อยละ 80 อันจะนำมาซึ่งความเสียหายเป็นจำนวนมากในด้านที่อยู่อาศัย ระบบนิเวศชายฝั่ง การทำประมงชายฝั่ง ธุรกิจท่องเที่ยว และพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น

    ประมง
    กระแสน้ำร้อน น้ำเย็นที่เปลี่ยนไปส่งผลให้จำนวนสัตว์น้ำในมหาสมุทรลดจำนวนลงอย่างมาก​
    ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อการไหลของกระแสน้ำร้อน กระแสน้ำเย็นในมหาสมุทร ซึ่งกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร เช่น แพลงก์ตอนสัตว์บริเวณกระแสน้ำแคลิฟอร์เนียลดจำนวนลงกว่าร้อยละ 70 นับจากปี พ.ศ. 2493 ส่งผลให้จำนวนปลาในมหาสมุทรลดลง และทำให้นกทะเลจำนวนมากลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด นกบางชนิด เช่น นกพิลีแกนสีน้ำตาล ต้องอพยพขึ้นไปอยู่ทางเหนือเพื่อความอยู่รอด​
    ประชากรปลาแซลมอนในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนเหนือได้ลดจำนวนลงอย่างมาก ในช่วงปีพ.ศ.2540-2541 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ นักวิทยาศาสตร์คาดกันว่า ในช่วงกลางศตวรรษหน้าอาจจะไม่มีพื้นที่ใดๆ บนมหาสมุทรแปซิฟิคที่เย็นพอสำหรับปลาแซลมอนเหลืออีกต่อไป​
    ผลผลิตประมงของโลกโดยรวมอาจไม่เปลี่ยนแปลงไป เพราะผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดในระดับประเทศหรือท้องถิ่น กล่าวคืออาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ปลา โยกย้ายสถานที่เพาะเลี้ยง หรือเปลี่ยนพื้นที่ทำประมง ซึ่งผลกระทบระดับท้องถิ่นนี้อาจจะนำไปสู่ปัญหาในด้านความมั่นคงทางอาหารได้




    ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ
    <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="19">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="171">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ระบบนิเวศต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ บางส่วนอาจอพยพ แต่บางส่วนอาจสูญพันธุ์​
    อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 1-3.5 องศาเซลเซียสในอีก 100 ปีข้างหน้าจะทำให้เขตภูมิอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในพื้นที่เขตอบอุ่น สิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศปัจจุบันจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพระบบนิเวศใหม่ ซึ่งหากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวได้ก็อาจจะนำไปสู่การอพยพย้ายถิ่นฐาน หรือสูญพันธุ์ในที่สุด นอกจากปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว การเจริญเติบโตและการกระจายตัวของสิ่งมีขีวิต ได้แก่ ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ​
    นอกจากนี้ ฤดูกาลเจริญเติบโตของทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของการทำปศุสัตว์และสัตว์ป่า กว่าร้อยละ 50 ของโลก อาจจะเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นจะเปลี่ยนแปลงแนวเขตเชื่อมต่อระหว่างทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าไม้ และระบบนิเวศอื่นๆ ในเขตร้อนชื้น ​
    พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งขยายพันธุ์ที่สำคัญของพืชและสัตว์ แหล่งปรับปรุงคุณภาพน้ำ รวมทั้งควบคุมน้ำท่วมและสภาวะแห้งแล้ง อาจมีพื้นที่ลดลง เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้น้ำผิวดินระเหยเร็วขึ้นจนพื้นที่ชุ่มน้ำมีขนาดเล็กลง​
    อุณหภูมิและอัตราการระเหยของน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ อาจมีผลต่อคุณภาพ และความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ในระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เช่น อุณหภูมิของทรายจะเป็นตัวกำหนดเพศของลูกเต่ามะเฟืองที่อยู่ในไข่ หากอุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสที่ลูกเต่ามะเฟืองจะเป็นเพศเดียวกันทั้งหมดก็มีมาก








    </td></tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ทรัพยากรป่าไม้
    พื้นที่ป่าไม้ 1 ใน 3 ของโลกมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​
    อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสในศตวรรษที่ 21 จะมีผลต่อโครงสร้างและองค์ประกอบทางนิเวศของป่าเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ป่าหนึ่งในสามของโลกจะได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์นี้ ป่าบางชนิดอาจหายไป ในขณะเดียวกับอาจเกิดโครงสร้างและองค์ประกอบทางนิเวศของป่าประเภทใหม่ขึ้นได้ นอกจากนี้ จำนวนศัตรูพืชก็จะมีปริมาณและความรุนแรงที่สูงขึ้น​
    ป่าไม้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ป่าไทก้าทางแถบขั้วโลกเหนือ ป่าในเขตร้อน และป่าชายเลน


    สุขภาพของมนุษย์ <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="19">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="171">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    โรคมาลาเรีย และไข้สมองอักเสบ จะระบาดในบริเวณกว้าง นอกจากนี้ คลื่นรังสีความร้อน และภัยธรรมชาติก็จะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์​
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในบริเวณกว้าง เนื่องจากสุขภาพขึ้นอยู่กับอาหารที่เพียงพอ น้ำดื่มที่สะอาด ที่อยู่อาศัย สภาพสังคมที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการควบคุมเชื้อโรคติดต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อปัจจัยเหล่านี้ได้​
    การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติในความถี่ที่บ่อยขึ้น และรุนแรงมากขึ้น เช่น มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นรังสีความร้อน ในเมืองจากชิคาโก เอเธนส์ และนิวเดลี เพิ่มขึ้นทุกปี หรือยุโรปกลางประสบกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษถึง 3 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น​
    อุทกภัย พายุ และภัยแล้ง นอกจากจะสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตแล้วยัง ก่อให้เกิดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ ปัญหาสุขภาพจิต และการระบาดของโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคมาลาเรีย คาดการณ์ว่าเมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก 1-3 องศาเซลเซียส ประชากรของโลกประมาณร้อยละ 45 จะอยู่อาศัยในพื้นที่ซึ่งเหมาะสมต่อการแพร่กระจายของโรคมาลาเรีย


    ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="19">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="171">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงจะส่งผลให้เกิดความเสียให้ในระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง การจัดส่งพลังงาน และที่อยู่อาศัย​
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง โดยเฉพาะพายุเฮอริเคน อุทกภัย แผ่นดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก หิมะถล่ม และสภาวะแห้งแล้งที่นำไปสู่ปัญหาไฟป่า จะทำลายระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน ท่าเรือ ระบบการติดต่อสื่อสาร และคมนาคม ระบบการจัดส่งพลังงาน และที่อยู่อาศัย ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ ประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรตามแนวชายฝั่งสูงซึ่งขาดระบบการป้องกันที่ด


    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="750"><tbody><tr><td align="center" valign="middle" width="530">ผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับประเทศไทย

    </td><td rowspan="3" width="17">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center" height="783" valign="top">
    <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="190"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="19">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="171">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    จากสถิติในรอบ 50 ปี ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทย ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ “ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว” อันเนื่องมาจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปรากฎการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วเป็นบริเวณกว้างทั่วอ่าวไทย ในปี พ.ศ.254​
    ถึงแม้ว่าการเกิดพายุหมุนในเขตร้อนจะเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดพายุดังกล่าวในความถี่ที่สูงขึ้นและรุนแรงมากขึ้น อันจะนำมาสู่ความเสียหายดังเช่นที่เคยเกิดจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ในจังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. 2532 และล่าสุดกับกรณีของต.น้ำก้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2544​
    มีการคาดการณ์ว่าหากยังไม่มีมาตรการที่เหมาะสมที่จะนำไปสู่การลดการปล่อย CO2 และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้น ในอีก 50-100 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยน่าจะประสบกับปัญหาเหล่านี้


    ทรัพยากรน้ำ <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="128" width="145"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="13">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="113" valign="top" width="132">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่เร็วขึ้น ในขณะเดียวกับพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จะมีปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าลดต่ำลงอย่างมาก​
    สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่จนประสบปัญหาน้ำท่วม และอาจเกิดน้ำท่วมใหญ่เร็วขึ้น จากทุกๆ 10 ปี เป็นทุกๆ 5 ปี โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ระเหยเร็วขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และมีแนวโน้มว่าเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มที่จะเข้ามาสู่แม่น้ำแม่กลองนั้น อาจประสบกับปัญหาภัยแล้งได้​
    ปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบต่อการกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำ การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำผิวดินจะมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลในระยะยาว จากการศึกษาเบื้องต้นของประเทศไทย พ.ศ. 2540 พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ปริมาณน้ำท่าไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลดน้อยลง และเมื่อคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำเหนืออ่างที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแล้ว ปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปริมาณน้ำฝน และน้ำท่าจะลดลงอย่างมาก โดยอาจลดลงถึงร้อยละ 34-44 ในอีก 50-100 ปีข้างหน้า


    ทรัพยากรป่าไม้ <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="123" width="145"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="13">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="112" valign="top" width="132">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนไป จะทำให้องค์ประกอบ และประเภทของป่าเปลี่ยนแปลงไป​
    • อุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้องค์ประกอบ และประเภทของป่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แม้ว่าพื้นที่ป่าจะยังเท่าเดิม​
    • ป่าใกล้เขตร้อน (Sub-tropical life zone areas) น่าจะมีพื้นที่ลดลงจากร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 12-20​
    • ป่าเขตร้อน (Tropical life zone areas) บริเวณภาคใต้ของไทย อาจจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 80 เนื่องจากจะเป็นบริเวณที่คาดว่าจะมีฝนตกมากขึ้น​
    • ป่าแล้งใกล้เขตร้อน (Subtropical dry forests) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด มีแนวโน้มจะสูญหายไป โดยมีป่าประเภทใหม่ คือ ป่าแล้งมากเขตร้อน (Tropical very dry forests) เกิดขึ้นมาแทนในบริเวณภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ​
    • ป่าแล้งเขตร้อน (Tropical dry forests) มีแนวโน้มที่จะรุกเข้าไปแทนที่ป่าชื้นใกล้เขตร้อน (Sub-tropical moist forests) เนื่องจากความชื้นในอากาศลดลง​

    พื้นที่ชายฝั่ง <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="123" width="145"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="13">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="112" valign="top" width="132">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    พื้นที่ชายฝั่ง และพื้นที่ซึ่งติดกับแหล่งน้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล เช่น กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม และน้ำทะเลหนุน​
    การละลายตัวของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจนท่วมพื้นที่บริเวณชายหาด นอกจากนี้ พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำบริเวณที่เชื่อมต่อกับทะเลอาจจะเกิดน้ำท่วมบ่อยขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลหนุน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน คาดว่าพื้นที่ราบต่ำในเขตชลประทานทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ลงไปตามแม่น้ำบางปะกง ระดับน้ำอาจท่วมสูงถึง 2 เมตร​
    สำหรับบริเวณอ่าวไทยและแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่อ่าวไทย หากระดับน้ำทะเลปานกลางสูงขึ้นอีก 25 – 50 ซม. การเปลี่ยนแปลงระดับของน้ำจะมีความรุนแรงจนสร้างความเสียหายให้กับแนวชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนได้ นอกจากนี้ การรุกของน้ำเค็มยังจะสร้างความเสียหายต่อที่ดินและผลิตผลทางการเกษตรอีกด้วย



    ปะการัง และระบบนิเวศทางทะเล <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="123" width="145"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="13">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="112" valign="top" width="132">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีที่น้ำทะเลร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ ได้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว เป็นวงกว้างทั่วอ่าวไทย ​
    ปะการังเป็นการรวมตัวกันของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์นับร้อยนับพัน โดยมีสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กที่เรียกว่า ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) เป็นองค์ประกอบ ช่วยสร้างสีสัน สังเคราะห์แสง สร้างอาหาร และสร้างหินปูน ทำให้ปะการังโตเร็ว โดยปกติปะการังจะสามารถปรับตัวใหัเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ถึงระดับอุณหภูมิสูงสุดในภาวะปกติเท่านั้น เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นกว่าระดับปกติซูแซนเทลลีจะตาย สีของปะการังก็จะซีดลง และเมื่อไม่มีอาหาร ระบบชีวิตในปะการังก็จะค่อยๆ ตายตามไปในที่สุด โดยปรากฎการณ์นี้เรียกว่า “ปะการังฟอกขาว” ​
    ปะการังฟอกขาวได้เกิดขึ้นแล้วเป็นบริเวณกว้างทั่วอ่าวไทย เช่น ที่เกาะสีชัง ชลบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระยอง และจันทบุรี เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นปีที่น้ำทะเลร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ​
    การสูญเสียปะการังซึ่งเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่หลากหลายที่สุดในโลก ส่งผลต่อแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ซึ่งกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำโดยตรง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก


    สุขภาพ <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="123" width="145"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td rowspan="2" align="right" height="113" valign="top" width="13">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="112" valign="top" width="132">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียเพิ่มมากขึ้น ประมาณการความเสียหายในเบื้องต้นได้ 26 พันล้านบาท​
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคหลายชนิด เช่น โรคไข้สมองอักเสบ และโรคมาลาเรีย หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น คาดว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียจะเพิ่มสูงขึ้นมาก เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้อัตราการอยู่รอดของยุงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งประเมินความเสียหายเบื้องต้นได้ประมาณ 26 พันล้านบาท



    ขอขอบคุณที่มีสาระและดีดีแบบนี้
    http://www.wwfthai.org/climate/impact


    </td></tr></tbody></table>



     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    แนวทางการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศ

    การจัดการกับปัญหาโลกร้อนไม่ใช่สิ่งที่เกินความสามารถของมนุษย์ เพราะเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้​
    ทางแก้ปัญหาเริ่มต้นอย่างง่ายๆ จากการประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นที่ประหยัดพลังงาน เราใช้พลังงานน้อยลงเท่าไหร่ ก็ช่วยลดการปล่อย CO<tt>2</tt> ได้มากเท่านั้น​
    การใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวล (แกลบ ชานอ้อย มันสำปะหลัง ฟืน ฯลฯ) ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดี ที่ช่วยลดการปล่อย CO<tt>2</tt> ซึ่งเหมาะสมกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีแสงแดดเป็นระยะเวลานาน และมีความเข้มข้นของแสงมาก อีกทั้งเรายังมีวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากที่พร้อมจะเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงาน​
    และตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหยุดการใช้พลังงานจากถ่านหิน

    ------------------------------------------------------------------------------------​

    ลดการปล่อย CO<sub>2</sub> <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="126"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="126" valign="top" width="20">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="126" valign="top" width="170">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    หลักในการลดการปล่อย CO<sub>2</sub> มีอยู่หลายวิธีซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกประเทศทั่วโลก ได้แก่ ​
    1. ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ​
    2. เปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแหล่งที่สะอาดและยั่งยืนขึ้น เช่น เปลี่ยนจากการใช้ถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ พลังงานชีวมวล หรือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้า​
    3. เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ทั้งในแหล่งพลังงานโดยรวมของประเทศ และแหล่งเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า​
    เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสาขาการผลิต อีกทั้งราคาของพลังงานหมุนเวียนก็มีแนวโน้มลดต่ำลง ในขณะที่มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ
    ประโยชน์ของการลดการปล่อย CO<sub>2</sub>
    • ประหยัดค่าไฟ​
    • ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน จะช่วยให้บ้านร่มเย็น มีอากาศถ่ายเท ​
    • ช่วยลดการปล่อยก๊าซมลพิษชนิดอื่นไปพร้อมกัน เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนตรัสออกไซด์ ซึ่งก็เป็นก๊าซเรือนกระจกเหมือนกัน​
    • ช่วยให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และเพิ่มการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม​
    • ลดความเสียหายที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุ ​
    • ลดความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน​
    การลงทุนเพื่อประหยัดพลังงานไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น เนื่องจาก การลงทุนเพื่อดำเนินโครงการประหยัดพลังงานในประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ช่วยให้ประเทศประหยัดเงินตราต่างประเทศที่ต้องเสียไปกับการนำเข้าพลังงานได้เป็นจำนวนมาก​

    ------------------------------------------------------------------------------------------------​

    พลังงานสะอาด <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="126"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="126" valign="top" width="20">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="126" valign="top" width="170">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    การใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาด เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานธรรมชาติจากแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล ซึ่งสามารถใช้ได้ไม่มีวันหมด นอกจากนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้พลังงานความร้อนร่วมซึ่งเปลี่ยนรูปความร้อนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตให้เป็นพลังงาน ก็ถือว่าเป็นพลังงานสะอาดเช่นกัน โดยพลังงานสะอาดนี้จะช่วยลดการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้​
    ประเทศไทยมีช่วงเวลาที่มีแสงเป็นเวลานานในแต่ละวัน อีกทั้งยังมีปริมาณความเข้มของแสงสูงจึงมีศักยภาพสูงในการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยียังมีราคาค่อนข้างแพงจึงควรได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการใช้อย่างแพร่หลายขึ้น​
    พลังงานชีวมวลก็เป็นอีกแหล่งพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจากเรามีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย มันสำปะหลัง และเศษไม้ เป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันในประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลแล้ว แต่ยังไม่สัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับการผลิตด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงควรสนับสนุนให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน แล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการขายวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้อีกด้วย​
    เหตุผลที่ควรเลือกใช้พลังงานสะอาด
    1. ช่วยลดการปล่อย CO<tt>2</tt> เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​
    2. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทางปฏิบัติ​
    3. เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่​
    4. ช่วยให้คุณภาพอากาศในชุมชนบริเวณโรงฟฟ้าดีขึ้น​
    5. ช่วยสร้างงานในภาคพลังงานหมุนเวียนและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ​
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    พิธีสารเกียวโต <table hight="118" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="126"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td align="right" height="126" valign="top" width="20">[​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="126" valign="top" width="170">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    มีจุดเริ่มต้นมาจากการลงนามใน อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ของประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อรักษาระดับของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย อาศัยหลักการ “ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน” โดยประเทศพัฒนาแล้วต้องทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อน แต่เนื่องจากไม่มีเป้าหมายการลดที่ชัดเจน และไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย จึงได้มีการจัดทำ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้น​
    พิธีสารเกียวโต เปรียบเหมือนกฎหมายลูกของอนุสัญญาฯ ที่มีหลักการเหมือนกัน เมื่อมีผลบังคับใช้ จะถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียว ที่มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อย CO2 ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2551-2555 พิธีสารเกียวโตจะมีผลบังคับใช้ 90 วัน หลังจากที่มีประเทศร่วมให้สัตยาบันไม่น้อยกว่า 55 ประเทศ โดยในจำนวนนี้ จะต้องมีประเทศที่อยู่ในภาคผนวกที่ 1 ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO[SIZE=-2]<tt>2</tt>[/SIZE]) รวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของการปล่อย CO[SIZE=-3] [/SIZE]จากประเทศในภาคผนวกที่ 1 ทั้งหมดที่ปล่อยในปี พ.ศ. 2533 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีเกียวโตแล้วในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2545
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    เราช่วยลดการปล่อย CO<tt>2 </tt>ได้อย่างไร
    การลดการปล่อย CO<tt>2</tt> เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ช่วยกันทำได้ แค่เราลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อย่าง ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติลง หรือเราจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าก็ได้ เพราะเมื่อใช้ไฟฟ้าน้อยลง ก็จะมีการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าน้อยลง เป็นการช่วยลดการปล่อย CO<tt>2</tt> ได้ในที่สุด


    ที่บ้าน​
    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td height="103" width="470">
    • ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู หากเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้วันละ 1 ชั่วโมง พร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง จะเสียค่าไฟรวมกันเดือนละ 8.25 ล้านบาท​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top" width="10"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td width="104">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • เลิกปิดโทรทัศน์ด้วยรีโมทคอนโทรล ถ้าปิดโทรทัศน์ด้วยรีโมทคอนโทรลพร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง จะเสียค่าไฟรวมกันประมาณ เดือนละ 13.5 ล้านบาท​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • เลือกใช้ตู้เย็นประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดไฟกว่าเบอร์ 5 เดิม ร้อยละ 20​
    • ตั้งตู้เย็นห่างจากผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 15 ซม. จะช่วยให้ระบายความร้อนได้ดีขึ้น ประหยัดไฟได้ร้อยละ 39​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส เพิ่มอุณหภูมิขึ้น 1 องศา จะประหยัดค่าไฟได้ ร้อยละ 10​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง ถ้าทำพร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง จะประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 52.5 ล้านบาท ต่อเดือน​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ปิดไฟเมื่อไม่ใช้​
    • เลือกใช้หลอดคอมแฟคฟลูออเรสเซนต์ชนิดที่มีบัลลาสต์ภายในขนาด 13 วัตต์ (หลอดตะเกียบ) แทนหลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ ถ้าเปิดไฟวันละ 3 ชั่วโมง พร้อมกัน 1 ล้านหลอด จะช่วยประหยัดค่าไฟได้126.9 ล้านบาท ต่อเดือน​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ใช้เครื่องซักผ้าเมื่อมีเสื้อผ้ามากพอเหมาะกับพิกัดและน้ำหนักของเครื่อง​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="1">
    </td> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
    ที่ทำงานและโรงเรียน​
    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td height="103" width="470">
    • มีการตรวจประเมินการใช้พลังงานโดยผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้ทราบว่าสามารถประหยัดการใช้พลังงานในส่วนใดได้บ้าง​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top" width="10"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td width="104">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ปิดจอคอมพิวเตอร์ระหว่างพักกลางวัน ทำพร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง ประหยัดค่าไฟได้เดือนละ 3.15 ล้านบาท​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ใช้อุปกรณ์สำนักงานรุ่นที่ประหยัดพลังงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร พริ้นเตอร์ ถ้าเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานที่มีสัญลักษณ์ Energy Star พร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง จะช่วยประหยัดค่าไฟได้เดือนละ 22.9 ล้านบาท​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ใช้กระดาษทั้ง 2หน้า เพื่อช่วยประหยัดพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระดาษ​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม 25 องศาเซลเซียสบริเวณที่ทำงานทั่วไป 24 องศาเซลเซียสบริเวณใกล้หน้าต่างกระจก และ 22 องศาเซลเซียส ในห้องคอมพิวเตอร์​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ปิดไฟเมื่อไม่ใช้​
    • เลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เช่น หลอดตะเกียบ หรือใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ใช้แสงธรรมชาติช่วยในบริเวณที่ทำงานริมหน้าต่าง และระเบียงทางเดิน​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ตั้งโปรแกรมให้ลิฟต์หยุดชั้นเว้นชั้นเพื่อประหยัดพลังงาน​
    • เหลียวมองหาเพื่อนร่วมทางสักนิดก่อนปิดประตูลิฟต์ ​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="1">
    </td> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
    ระหว่างเดินทาง​
    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <!--DWLayoutTable--> <tbody><tr> <td height="103" width="470">
    • ศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top" width="10"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td width="104">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • เลือกใช้การเดินหรือปั่นจักรยานในระยะทางใกล้ แถมยังได้ออกกำลังกายไปในตัว​
    • เดินทางเส้นทางเดียวกัน ไปด้วยกัน​
    • ใช้จักรยานเวลาไปไหนใกล้ๆ ช่วยให้หุ่นดีด้วย​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • เลือกใช้บริการระบบขนส่งมวลชน เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้า รถไฟ​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ไม่ติดเครื่องรถระหว่างจอดรอ เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันแล้วยังปล่อยก๊าซพิษมากกว่าปกติถึง 5 เท่า​
    • หมั่นตรวจสภาพเครื่องยนต์ ไส้กรองอากาศ และลมยาง อย่างสม่ำเสมอ​
    • ไม่เร่งเครื่องยนต์ก่อนออกรถ​
    • ไม่บรรทุกของที่ไม่จำเป็น การบรรทุกของไม่จำเป็น 10 กิโลกรัม จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันขึ้นอีก 80 ซีซี. ปริมาณน้ำมันเท่านี้ สามารถทำให้รถวิ่งไปได้ 560 เมตร ​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td height="103">
    • ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน​
    </td> <td align="right" height="103" valign="top"><!--DWLayoutEmptyCell--> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="1">
    </td> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
    ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก
    http://www.wwfthai.org

    และขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันประหยัดพลังงาน เพื่อโลกและเพื่อเราทุกคน

    VANCO






     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    [FONT=Tahoma,]เผยป่าเขตหนาวทำให้โลกร้อนขึ้น



    วารสารออนไลน์ โปรซีดดิ้ง ออฟ เดอะ เนชั่นแนล อคาเดมี ออฟ ไซน์ซ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 เมษายน ระบุว่า การปลูกต้นไม้ขึ้นใหม่บนพื้นที่ทางตอนเหนือของโลกซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะ อาจจะทำให้โลกร้อนมากขึ้น

    นายโกวินดาซามาย บาลา หัวหน้าทีมวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยมงต์เปลลิเย่ร์ ที่ 2 ของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ในขณะที่ป่าฝนในเขตร้อนมีประโยชน์ในการชะลอความร้อนของโลก เพราะจะช่วยดูดซับคาบอนไดออกไซด์และช่วยสร้างเมฆหมอกสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไปทำให้โลกเราเย็นขึ้น แต่การปลูกป่าในเขตพื้นที่ที่เต็มไปด้วยหิมะ เช่นในแคนาดา สแกนดิเนเวียและไซบีเรีย จะเป็นตัวจับแสงแดดเอาไว้แทนที่แสงแดดจะสะท้อนกลับออกไปกระทบกับผืนหิมะ ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น

    ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์เสมือนจริงแบบ 3 มิติเพื่อศึกษาผลกระทบของการตัดไม้ทำลายป่าจำนวนมากและผลดีและผลเสียของการปลูกป่าในพื้นที่ละติจูดที่ต่างกัน พบว่า ภายในปี 2643 หากปลูกป่าในเขตพื้นที่ระหว่างแถบร้อนกับแถบขั้วโลกและบริเวณประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือขึ้นไป จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นกว่าการไม่ปลูกป่าถึง 10 องศาฟาเรนไฮต์

    อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยไม่ได้ตัดสินว่าป่าในเขตหนาวจะเป็นผลเสียต่อการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน เพราะการรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศวิทยาก็เป็นเป้าหมายแรกในการป้องกันโลกร้อน และป่าไม้ก็ยังคงมีประโยชน์แก่คน สัตว์และโลกเราอย่างมหาศาล (เอเอฟพี)

    http://www.matichon.co.th


    [/FONT][FONT=Tahoma,]



    [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโตในประเทศไทย
    1. การดำเนินงานด้านอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    ความเป็นมา
    ประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ภายใต้ สผ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางของภารกิจด้านอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
    การดำเนินการในปัจจุบัน
    1. เตรียมการจัดตั้งองค์กรรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สผ. ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งองค์กรรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ให้จัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)” และ “สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (หน่วยงานภายใน สผ.)” ซึ่งมีร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.... รองรับและการจัดตั้ง “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)” ตาม ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ..... เพื่อรองรับการดำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโต ในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเชิงโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือลดก๊าซเรือนกระจกโดยความสมัครใจของภาคเอกชนเป็นหลัก ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างตรวจรายละเอียดของร่างกฎหมาย ซึ่งหากเสร็จสิ้นจะได้ส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการต่อไป
    2. การจัดทำร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สผ. ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติฯ ขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการประสานและบูรณาการการดำเนินงานของทุกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การให้ความรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชน การเชื่อมโยงประสานแผน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร โดยมุ่งเน้นให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดผลกระทบและปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าร่างยุทธศาสตร์ฯ จะแล้วเสร็จในไตรมาศแรกของปี 2550 และ สผ. จะได้จัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป
    แผนการที่จะดำเนินการต่อไป
    1. เตรียมการจัดตั้งองค์กรรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นชอบในร่างกฎหมายแล้ว จะส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป และเมื่อมีการประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สผ. จะมีการตั้งหน่วยงานภายในคื่อ “สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เพื่อเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติและเตรียมการให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ทั้งนี้ ในกรณีการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สผ. จะปฏิบัติงานในระยะเริ่มแรกของงานองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อการสรรหาผู้อำนวยการองค์การฯ และบริหารจัดการระยะต้นเพื่อให้องค์การสามารถปฏิบัติงานด้านการพิจารณาโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโตได้ทันกำหนดเวลาของพิธีสารฯ คือ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2550
    2. ผลักดันให้เกิดร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เป็นวาระแห่งชาติ และนำไปสู่การแปลงแผนสู่การปฎิบัติสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้ง สนับสนุนให้เกิดแผนการวิจัยและพัฒนาด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการสนับสนุนด้านงบประมาณต่อแผนการวิจัยและพัฒนา
    2. การดำเนินงานโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ภายใต้พิธีสารเกียวโต
    ความเป็นมา
    • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 และมีมติเห็นชอบต่อการดำเนินงานของพิธีสารเกียวโตกรณีการใช้คาร์บอนเครดิตในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 ซึ่งระบุให้โครงการ CDM ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี ทำให้ประเทศไทยมีขั้นตอนการพิจารณาที่ใช้เวลามากที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีโครงการใดในประเทศไทยได้รับความเห็นชอบจาก ครม. จึงยังไม่ได้รับการอนุมัติในระดับสากลตามหลักการของพิธีสารเกียวโต
    • ปัจจุบัน สถานการณ์ในต่างประเทศ มีการแข่งขันสูงด้านการดำเนินงานโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ซึ่งก้าวหน้าในทุกภูมิภาคของโลก และมีการอนุมัติโครงการ CDM แล้วเป็นจำนวนมาก อาทิ โครงการในประเทศจีน อินเดีย เนปาล ภูฏาน กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งหน่วยงานอนุมัติโครงการ CDM ในระดับสากลคือ CDM Executive Board ตั้งอยู่ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้อนุมัติโครงการ CDM เฉลี่ยเดือนละประมาณ 20 - 30 โครงการจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยให้ออกหนังสือรับรองแก่ผู้พัฒนาโครงการของเอกชน 7 โครงการภายใต้พิธีสารเกียวโตซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทน ประกอบด้วย โครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) 5 โครงการ และโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) 2 โครงการ และมีเงื่อนไขว่าผู้มีอำนาจตามพิธีสารเกียวโตของประเทศไทย ขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการดำเนินโครงการที่ได้มีการออกหนังสือรับรองได้ในกรณีที่ผู้พัฒนาโครงการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในของประเทศไทย หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว รวมทั้ง มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งมี ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย เป็นประธานอนุกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณาหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ในประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ในการจัดสรรผลประโยชน์จากการขายคาร์บอนเครดิต และระบบการบริหารจัดการ ตลอดจน เร่งรัดการพิจารณาโครงการ CDM ที่เหลืออีก 8 โครงการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรเพิ่มผู้แทนกระทรวงพลังงาน และผู้แทนกระทรวงการคลัง ในคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว
    โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรับรองเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 รวม 7 โครงการได้แก่
    โครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
    1. โครงการ Dan Change Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. สุพรรณบุรี
    2. โครงการ Phu Khieo Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. ชัยภูมิ
    3. โครงการ A.T.Biopower Rice Husk Power Project ผลิตไฟฟ้าจากแกลบ ตั้งอยู่ที่ จ. พิจิตร
    4. โครงการ Khon Kaen Sugar Power Plant Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. ขอนแก่น
    5. โครงการ Rubber Wood Residue Power Plant in Yala, Thailand ผลิตไฟฟ้าจากเศษไม้ยางพารา ตั้งอยู่ที่ จ. ยะลา
    โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas)
    6. โครงการ Korat Waste to Energy Project, Thailand ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังตั้งอยู่ที่ จ. นครราชสีมา
    7. โครงการ Ratchaburi Farms Biogas Project ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียฟาร์มสุกร ตั้งอยู่ที่ จ.ราชบุรี
    การดำเนินการในปัจจุบัน
    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการด้านความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งมี ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย เป็นประธานอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อ
    1. จัดทำหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณาโครงการ
    2. จัดทำหลักเกณฑ์ในการจัดสรรผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด
    3. พิจารณาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดอีก 8 โครงการ
    http://www.onep.go.th/Hilight/cdm.asp

     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ความรู้เกี่ยวกับสภาวะอากาศและบรรยากาศ

    อากาศ (Air) คือ ของผสมที่เกิดจากก๊าซหลายชนิด อากาศบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส ส่วนผสมสำคัญโดยปริมาตร ได้แก่ ไนโตรเจน จำนวนร้อยละ 78.09 ออกซิเจน ร้อยละ 20.94 ก๊าซเฉื่อย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซอาร์กอน ร้อยละ 0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 0.03 และส่วนผสมของก๊าซฮีเลียม ไฮโดรเจน นีออน คริปตอน ซีนอน โอโซน มีเทน ไอน้ำและสิ่งอื่นรวมกันร้อยละ 0.01

    อากาศใกล้ผิวโลกจะมีอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดเพราะแรงดึงดูดของโลกปริมาณและการปรากฎของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสถานที่ ก๊าซออกซิเจนที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตจะอยู่สูงจากพื้นโลก 5 - <st1:metricconverter productid="6 กิโลเมตร" w:st="on">6 กิโลเมตร</st1:metricconverter> ตามธรรมชาติแล้วอากาศที่บริสุทธิ์จะหาได้ยากมาก และการที่อากาศลอยปนอยู่กับลักษณะทางกายภาพจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้

    บรรยากาศ (Atmosphere) คือ มวลก๊าซที่ห่อหุ้มตั้งแต่ผิวโลกจนสูงขึ้นไปประมาณ <st1:metricconverter productid="900 กิโลเมตร" w:st="on">900 กิโลเมตร</st1:metricconverter> โดยจะเกิดร่วมกับลักษณะทางกายภาพอื่น ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม และอนุภาคฝุ่นผงหรือมลสาร (Pollutant) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำและคงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก บรรยากาศที่สูงขึ้นประมาณ 80 กิโลเมตรจะมีส่วนผสมของก๊าซคล้ายคลึงกัน คนในสถานที่ต่างๆจึงหายใจเอาอากาศเข้าไปโดยไม่รู้สึกผิดปกติแต่อย่างใด

    การจำแนกบรรยากาศ
    [​IMG]

    บรรยากาศจำแนกตามลักษณะและระดับความสูงได้ 2 ส่วน คือ

    [​IMG]1. บรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น <st1:metricconverter productid="100 เมตร" w:st="on">100 เมตร</st1:metricconverter> อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศา-เซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบนซึ่งอุณหภูมิจะกลับสูงขึ้น จำแนกได้ 3 ชั้น คือ

    1) โทรโปสเฟียร์ (Troposphere)
    คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - <st1:metricconverter productid="15 กิโลเมตร" w:st="on">15 กิโลเมตร</st1:metricconverter> มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ ลมฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีไอน้ำมากมีลมและฝุ่น
    2) สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - <st1:metricconverter productid="50 กิโลเมตร" w:st="on">50 กิโลเมตร</st1:metricconverter> มีก๊าซโอโซนรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆ ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน แตกตัวและจัดรูปแบบขึ้นใหม่ เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วงของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี
    [​IMG]3) มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง -83 องศา-เซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน

    2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติต่างจากชั้นล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อนมาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ

    1) เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - <st1:metricconverter productid="450 กิโลเมตร" w:st="on">450 กิโลเมตร</st1:metricconverter> ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า <st1:metricconverter productid="1,000 องศาเซลเซียส" w:st="on">1,000 องศาเซลเซียส</st1:metricconverter> สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอ็กซ์ทำให้แตกตัว
    [​IMG]2) เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - <st1:metricconverter productid="900 กิโลเมตร" w:st="on">900 กิโลเมตร</st1:metricconverter> มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
    3) แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า <st1:metricconverter productid="900 กิโลเมตร" w:st="on">900 กิโลเมตร</st1:metricconverter> ไม่มีก๊าซใดๆอยู่เลย
    <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_s1031" type="#_x0000_t75" alt="" style='position:absolute;margin-left:0;margin-top:0;width:90pt; height:90pt;z-index:2;mso-wrap-distance-left:0;mso-wrap-distance-top:0; mso-wrap-distance-right:0;mso-wrap-distance-bottom:0; mso-position-horizontal:left;mso-position-horizontal-relative:text; mso-position-vertical-relative:line' o:allowoverlap="f"> <v:imagedata src="img/air04.jpg"/> <w:wrap type="square"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--><!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_s1032" type="#_x0000_t75" alt="" style='position:absolute;margin-left:0;margin-top:0;width:90pt; height:90pt;z-index:3;mso-wrap-distance-left:0;mso-wrap-distance-top:0; mso-wrap-distance-right:0;mso-wrap-distance-bottom:0; mso-position-horizontal:left;mso-position-horizontal-relative:text; mso-position-vertical-relative:line' o:allowoverlap="f"> <v:imagedata src="img/air03.jpg"/> <w:wrap type="square"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--><!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_s1033" type="#_x0000_t75" alt="" style='position:absolute;margin-left:0;margin-top:0;width:90pt; height:90pt;z-index:4;mso-wrap-distance-left:0;mso-wrap-distance-top:0; mso-wrap-distance-right:0;mso-wrap-distance-bottom:0; mso-position-horizontal:left;mso-position-horizontal-relative:text; mso-position-vertical-relative:line' o:allowoverlap="f"> <v:imagedata src="img/air06.jpg"/> <w:wrap type="square"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]-->
    ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ อากาศและบรรยากาศมีความสำคัญ ดังนี้
    1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
    2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ
    3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
    4. ทำให้เกิดลมและฝน
    5. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
    6. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
    7. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
    8. ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปนอยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึงมองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้ ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย

    [​IMG]

    ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ
    [​IMG]

    การเกิดอากาศเสียหรือมลพิษทางอากาศ
    [​IMG]
    คือ การที่ส่วนผสมของอากาศเปลี่ยนไปเนื่องจากความผันแปรของธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ไอเสียรถ-ยนต์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากมนุษย์มักเกิดขึ้นเร็วและต่อเนื่องกว่าการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตจึงได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเพราะปรับตัวไม่ทัน อากาศเสียทำให้ไม่น่าอยู่ บั่นทอนสุขภาพและพลานามัย ทำลายทรัพย์สินหรือพืชผล ทำลายระบบนิเวศตลอดจนสามารถทำลายชีวิต เศรษฐกิจและสังคมมนุษย์ได้ในที่สุด

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ [​IMG]</td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">
    </td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> แหล่งต่าง ๆ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยปล่อยสารต่าง ๆ ปะปนมาในอากาศ มลสารที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดมลพิษทางอากาศนี้มาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งมีวิธีแบ่งแยกออกได้หลายวิธี เช่น การแบ่งตามลักษณะของการเคลื่อนไหลของแหล่งกำเนิด อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แหล่งที่ไม่เคลื่อนที่ (stationary source) ได้แก่ การประกอบกิจการอุตสาหกรรมในโรงงาน การเผาไหม้เชื้อเพลิงในบ้านพักอาศัย ฯลฯ และ แหล่งที่เคลื่อนที่ (mobile source) ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในรถยนต ์เรือยนต์ หรือเครื่องบิน หรือการแบ่งตามตัวการที่ก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศแบ่งออกได้เป็น 2 แหล่ง คือ แหล่งที่มนุษย์สร้าง (man-made source) และ แหล่งที่เกิดโดยธรรมชาติ (natural source)ในที่นี้จะกล่าวถึง การแบ่งแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศตามกลุ่มประเภทของแหล่งกำเนิด ดังนี้

    1. แหล่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
    แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศชนิดนี้ ได้แก่ กิจกรรมนานาประการของมนุษย์ ได้แก่

    [​IMG]1) ระบบการคมนาคมขนส่ง รถยนต์นับว่าเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่รถยนต์วิ่งเป็นจำนวนมาก และมีการจราจรติดขัด เช่น โตเกียว นิวยอร์ค ลอสแองเจลิส รวมทั้งกรุงเทพมหานคร เป็นต้น จุดที่รถยนต์จะปล่อยสารมลพิษออกสู่บรรยากาศมีอยู่ 3 จุด คือ จากระบบระเหย จากระบบกันอ่าง และจากระบบไอเสีย

    สารมลพิษที่จะระบายท่อไอเสียเป็นส่วนที่มีอันตรายและมีปริมาณมากที่สุด ซึ่งมาจากการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น ออกซิแดนท์ สารอะโรมาติก- ไฮโดรคาร์บอน เขม่า ก๊าซไนตริกออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ รวมทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

    มลพิษที่ออกมาจากระบบท่อไอเสียนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอันตราส่วนของอากาศ/น้ำมัน (air fuel ratio) ที่ทำให้เกิดเผาไหม้ได้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มากที่สุด โดยจุดที่มีการเผาไหม้สมบูรณ์จะมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนออกมาน้อยที่สุด แต่จะมีก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เกิดขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้เพราะที่สภาวะดังกล่าวจะเกิดการเติมออกซิเจนได้ดีที่สุด ในทางตรงกันข้าม ถ้าอัตราส่วนของอากาศ/น้ำมันลดต่ำลง ในช่วงนี้ผลที่เกิดจาการเผาไหม้ จะมีสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มมากขึ้น และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งกล่าวได้ว่าการเผาไหม้เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์

    ชนิดของเครื่องยนต์มีความสัมพันธ์กับปริมาณของมลพิษที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ด้วย โดยเครื่องยนต์ดีเซลจะปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ออกมาน้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซิน แต่ในขณะเดียวกันกลับปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และอนุภาคต่าง ๆ ออกมาสูงกว่า ความแตกต่างกันของมลพิษทางอากาศชนิดต่างๆ แสดงได้ดังตารางที่ 1

    ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบปริมาณของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และอนุภาคต่าง ๆ ที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล


    <table class="small_txt" align="center" bgcolor="#666666" border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="500"> <tbody><tr align="center" bgcolor="#ffffff"> <td class="body_text">ชนิดของมลพิษทางอากาศ
    </td> <td>เบนซิน 4 จังหวะ</td> <td>เบนซิน 2 จังหวะ
    </td> <td>ดีเซล</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>HC (ppm)
    </td> <td align="center">900
    </td> <td align="center">12,000</td> <td align="center">150-500</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>CO (% โดยปริมาตร)
    </td> <td align="center">3.5
    </td> <td align="center">3.5</td> <td align="center">0.2</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>Nox (ppm)
    </td> <td align="center">1,500
    </td> <td align="center">150</td> <td align="center">2,000-3,000</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>อนุภาคต่าง ๆ (ปอนด์/แกลลอน)ของเชื้อเพลิง</td> <td align="center">12</td> <td align="center">12
    </td> <td align="center">110</td> </tr> </tbody></table>


    นอกจากนั้นการทำงานของเครื่องยนต์ในระหว่างการใช้งานแบบต่าง ๆ ก็มีผลต่อปริมาณของมลพิษทางอากาศอีกด้วยดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 2

    2) การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในบ้าน การเผาไหม้เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีพของมนุษย์ ในการประกอบกิจกรรมประจำวันภายในบ้าน มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อนำมาพลังงานความร้อนไปใช้ในประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การหุงต้มอาหาร เครื่องทำความร้อนในบ้าน ฯลฯ ซึ่งการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงดังกล่าวอาจก่อให้เกิดก๊าซที่ไม่พึงประสงค์หลายชนิด เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ สารประกอบไฮโครคาร์บอนและพวกอนุภาคมลสารต่างๆ เช่น ควัน เป็นต้น

    ตารางที่ 2 ปริมาณของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ที่ ปล่อยมาจากท่อไอเสียในขณะที่เครื่องยนต์อยู่ในระหว่างการใช้งานแบบต่าง ๆ


    <table class="small_txt" align="center" bgcolor="#666666" border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="500"> <tbody><tr align="center" bgcolor="#ffffff"> <td rowspan="2" class="body_text">ปริมาณของมลพิษที่ปล่อยออกมา


    </td> <td colspan="3">ชนิดของมลพิษ</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td align="center">CO


    </td> <td align="center">HC


    </td> <td align="center">Nox


    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>มากกว่า </td> <td align="center">ลดความเร็ว และจอดติดเครื่อง</td> <td align="center">ลดความเร็ว และจอดติดเครื่อง</td> <td align="center">เร่งเครื่อง และวิ่งด้วยความเร็วคงที่</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>น้อยกว่า</td> <td align="center">เร่งเครื่อง และวิ่งด้วยความเร็วคงที่</td> <td align="center">เร่งเครื่อง และวิ่งด้วยความเร็วคงที่</td> <td align="center">จอดติดเครื่อง และลดความเร็ว</td> </tr> </tbody></table>


    3) กิจการค้า สถาบัน และหน่วยงานของรัฐ การประกอบกิจการค้าหรือการดำเนินงานของสถาบันและหน่วยงานของรัฐ ย่อมมีการใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพื่อก่อให้เกิดพลังงานนำไปใช้ประโยชน์ในรูปต่าง ๆ จะก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศหลายชนิดปะปนในอากาศเช่นเดียวกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในอาคารบ้านเรือน

    4) โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงถลุงและหลอมโลหะ อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมผลิตอาหาร ฯลฯ ก่อให้เกิดสิ่งเจือปนในอากาศได้แตกต่างกันทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรม นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศที่สำคัญ และเป็นแหล่งที่ถูกกล่าวโทษจากประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถมองเห็นควันที่ปล่อยออกมาจากปล่องควันได้อย่างชัดเจน สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมาก ได้แก่ ฝุ่นละออง เขม่า ควัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และก๊าซพิษอื่นๆ อีกหลายชนิด

    5) โรงไฟฟ้า การที่โรงงานไฟฟ้าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งออกมาใช้ได้นั้น จำเป็นต้องมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหินชนิดต่าง ๆ และเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ เพื่อให้เกิดพลังงานความร้อนเพื่อนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงดังกล่าวทำให้เกิดสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และอนุภาคของมลสารต่าง ๆ

    6) จากการเผาขยะและสิ่งปฏิกูล ในเขตเทศบาลเมืองใหญ่ หรือชุมชนที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งบางแห่งอาจจะมีการกำจัดขยะมูลฝอยโดยการเผา นอกจากนี้แล้วในกิจการค้าต่าง ๆ การอุตสาหกรรม รวมถึงกิจการของรัฐ ก็มีการเผาขยะเป็นประจำในกิจการของตนด้วย เตาเผาขยะไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม จะก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศ อันเนื่องมาจากการเผาขยะนั้น ได้แก่ สารประกอบไฮโครคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำมะถันคาร์บอนมอนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

    2. แหล่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่างที่เกิดขึ้น มีส่วนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้แก่

    1) ภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟจะมีเถ้าถ่านและควันถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ
    เป็นจำนวนมาก ซึ่งอนุภาคสารเหล่านี้อาจล่องลอยขึ้นไปได้สูงมากเป็นหมื่นฟุตและคงอยู่ในอากาศได้นานนับปี
    กว่าที่จะตกกลับคืนลงสู่พื้นโลก

    2) ไฟป่า ควันที่เกิดจากไฟป่าเป็นตัวการที่เพิ่มปริมาณมลพิษให้กับอากาศได้มากอย่างหนึ่ง แต่ก็จำกัดขอบเขตอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ป่าเท่านั้น ดังนั้น ควันจากไฟไหม้ป่า จึงได้รับการพิจารณาว่าไม่ใช่แหล่งกำเนิดที่สำคัญของมลพิษทางอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม ควันจากไฟป่าอาจทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นเลวลง อันเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือเครื่องบินได้

    3) อนุภาคมลสารต่าง ๆ จากดิน ลมและพายุสามารถพัดพาเอาอนุภาคมลสารจากผิวดินให้ขึ้นไปแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผิวดินมีลักษณะที่ไม่จับกันแน่น เช่น ดินที่เพิ่งผ่านการคราดไถ ดินที่ปราศจากต้นไม้ใบหญ้าปกคลุม หรือดินที่ถูกกระบวนการอื่น ๆ รบกวน เช่น มีรถวิ่งไปมา อนุภาคต่าง ๆ จากดินจะถูกลมพัดพาเข้าสู่บรรยากาศได้ง่าย

    4) ละอองเกสรจากพืช เกิดจากวัชพืช หญ้า และต้นไม้ มีลักษณะเป็นอนุภาคขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา สามารถลอยในบรรยากาศได้ ละอองเกสรเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้

    5) จุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และสปอร์ ซึ่งพบได้เสมอในอากาศ โดยเฉพาะเชื้อราที่พบในอากาศที่ทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด สิ่งมีชิวิตเล็ก ๆ เหล่านี้อาจล่องลอยอยู่ตามลำพังด้วยตัวของมันเอง หรืออาจอยู่ติดกับอนุภาคต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ในอากาศก็ได้

    6) สารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยผุพัง อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่ถูกทิ้งหรือทับถมกันอยู่ เช่น ซากสัตว์ ขยะมูลฝอย เศษอาหาร ฯลฯ จะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียในดิน การย่อยสลายนี้แบคทีเรียบางชนิดจะทำให้เกิดก๊าซต่าง ๆ เช่น แอมโมเนีย (NH3) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเป็นที่รบกวนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง


    ที่มา : โยธิน สุริยพงศ์.มลพิษสิ่งแวดล้อม.2542.
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">ปัญหาที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ [​IMG] </td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">
    </td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    1) ปัญหาเรื่องสุขภาพของมนุษย์ สารมลพิษทางอากาศที่มนุษย์รับเข้าไปในร่างกาย หากรับไปในปริมาณมากในทันทีทันใดก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทันที และหากรับในปริมาณน้อย จะเข้าไปสะสมในร่างกายจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้บุคคลได้รับสารมลพิษแสดงอาการเป็นพิษออกมาในรูปของการเจ็บป่วยรูปแบบต่างๆ เช่น กรณีการเกิดมลพิษทางอากาศจากโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ใน พ.ศ. 2540 ทำให้ครู และนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จำนวน 120 คน ป่วยด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เจ็บคอและคออักเสบ โพรงจมูกอักเสบและเริ่มมีติ่งเล็กๆ ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งก็ทำให้เกิดผลกระทบเช่นกัน ในกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาทำให้ประชาชนในแม่เมาะเจ็บป่วย เป็นต้น

    2) ปัญหาเรื่องความสกปรกจากการมีฝุ่นละอองและมลสารในอากาศ ที่เกินจากสภาพธรรมชาติทำให้สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสิ่งก่อสร้างเกิดความสกปรก มีสภาพที่ไม่น่าดู เกิดความไม่สบายตาไม่สบายใจแก่ผู้พบเห็นและผู้อาศัย

    3) ปัญหาทางเศรษฐกิจ จากความสกปรกทางอากาศไม่ว่าในเรื่องฝุ่นละอองหรือมลสารอื่น ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและทำความสะอาด

    4) ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค การที่มลพิษทางอากาศทำให้บ้านเรือนโดยเฉพาะส่วนหลังคาสกปรก เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างลงสู่ภาชนะรองรับ รวมทั้งแหล่งน้ำทำให้ประชาชนที่นำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่ได้ บางครั้งมลพิษทางอากาศทำให้เกิดกรด-ด่างของน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น กรณีที่สารอะลูมิเนียมคลอไรด์จากโรงงานพีเคซี (นิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ) รั่วไหล ใน พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดกลุ่มควันพิษที่มีกลิ่นคล้ายกรด จนกลายเป็นกรดเกลือ (HCl) และเกิดควันพิษขึ้นดังกล่าวจนทำให้ประชาชนในบริเวณนั้นมีอาการแสบจมูก แสบตา น้ำตาไหล แน่นหน้าอก หมดสติในทันทีและส่งผลต่อคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณนั้น

    5) ปัญหาต่อพืชและผลผลิตทางการเกษตร มลพิษทางอากาศบางชนิดจะทำลายโครงสร้างภายนอกและภายในของใบทำให้ใบมีสีซีด (คลอโรฟีลล์ถูกทำลาย) ทำให้ต้นไม้พืชผักเหี่ยวเฉา สภาพดินที่เป็นกรดทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่เจริญเติบโต

    6) ปัญหาการเกิดฝนกรด สารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกมาเมื่อรวมกับน้ำฝนแล้วทำให้น้ำฝนมีความเป็นกรด เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (เกิดกรดไนตริกและกรดกำมะถัน) ฝนกรดนี้จะทำลายสิ่งก่อสร้างให้สึกกร่อน ป่าไม้ถูกทำลาย แหล่งน้ำเมื่อเป็นกรดเพิ่มขึ้นจะทำให้สิ่งมี-ชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับห่วงโซ่อาหาร

    7) ปัญหาปรากฏการณ์โลกร้อน

    8) ปัญหาทัศนวิสัย อากาศที่มีฝุ่นละออง ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์หรือจากกิจกรรมของชุมชน ปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากการเผาป่า ดังกรณีที่เกิดไฟไหม้ป่าในอินโดนีเซียส่งผลกระทบเป็นวงกว้างครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ของไทยหลายจังหวัด ทั้งด้านสุขภาพอนามัยและทัศนวิสัยไม่ดีอันเนื่องมาจากหมอกควันที่แผ่กระจาย การเดินทางติดต่อสื่อสารหรือการทำงานภายใต้หมอกควันหนาทึบต้องใช้ไฟฟ้าหรือไฟหน้ารถ หรือกรณีของการเกิดไฟไหม้อาคารสถานที่หรือที่พักอาศัย เพลิงจะสงบลงได้ควันไฟได้ฟุ้งกระจาย บรรยากาศในบริเวณดังกล่าวมืดครึ้ม


    ที่มา : ราตรี ภารา.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.2543.

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือสภาวะเรือนกระจก [​IMG] </td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">
    </td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) หมายถึง การที่ก๊าซหลายชนิดซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโร-ฟลูออโรคาร์บอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เมทิลคลอโรฟอร์ม คาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์สะสมอยู่ตามบรรยากาศเป็นชั้นบางๆ ในระดับความสูงประมาณ 25 กิโลเมตร และทำหน้าที่เก็บความร้อนคล้ายเรือนกระจกปลูกต้นไม้ในเมืองหนาว โดยแสงแดดหรือรังสีความร้อนซึ่งเป็นรังสีคลื่นสั้น ความถี่สูง จะส่องผ่านชั้นก๊าซนี้ไปยังพื้นโลกได้ทำให้สิ่งต่างๆ บนโลกร้อนขึ้น จากนั้นจะแผ่รังสีคลื่นยาวออกมาเพราะวัตถุตามพื้นโลก มีอุณหภูมิต่ำแต่รังสีคลื่นยาวมีความถี่ต่ำจึงอาจส่องผ่านชั้นก๊าซออกไปได้ทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศร้อนขึ้น <table style="border: medium none ; border-collapse: collapse;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <thead> <tr> <td style="border: 0.5pt solid windowtext; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top" width="148">
    ชนิดก๊าซเรือนกระจก<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 0.5pt 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" valign="top" width="181">
    ปริมาณ (ส่วนต่อพันล้านโดยปริมาตร)<o:p></o:p><o:p></o:p><o:p></o:p>​
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 0.5pt 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" class="body_text_bold" valign="top" width="114">
    <o:p>อัตราการเพิ่ม ( ร้อยละต่อปี ) </o:p>
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 0.5pt 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" class="body_text_bold" valign="top" width="148">
    แหล่งที่มาของก๊าซ<o:p></o:p>
    </td> </tr> </thead> <tbody><tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">1. คาร์บอน-ไดออกไซด์</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">344,000<o:p></o:p></td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">0.40<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">การเผาไหม้ถ่านหินและปิโตรเลียมร้อยละ 80 การเผาอินทรียวัตถุร้อยละ 20
    </td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">2. มีเทน</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">1,650</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">1.00</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">การหมักเน่านาข้าว คอกสัตว์และก๊าซธรรมชาติ</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">3. ไนตรัสออกไซด์</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">304<o:p></o:p></td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">0.25</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">การเผาไหม้ถ่านหินและปิโตรเลียมร้อยละ 80 การเผาอินทรียวัตถุร้อยละ 20</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">4. คลอโร-ฟลูออโรคาร์บอน</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top"> </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top"> </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top"> </td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">4.1 CFC - 11</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">0.23</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">5.00</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">ก๊าซขับดันสารทำความเย็นและการผลิตโฟม
    </td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">4.2 CFC - 12</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">0.4</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">5.00 <o:p></o:p></td> <td class="body_text" style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">ก๊าซขับดันสารทำความเย็นและการผลิตโฟม</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">5. คาร์บอนเตตระ-คลอไรด์
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">0</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">1.00<o:p></o:p> <o:p></o:p></td> <td class="body_text" style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">น้ำยาดับเพลิง ตัวทำละลาย</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">6. เมทิลคลอโรฟอร์ม</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">1.125</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">7.00</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">สารที่ใช้ทำความเย็น</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 0.5pt 0.5pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">7. คาร์บอน-มอนอกไซด์<o:p></o:p></td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 135.7pt;" align="center" valign="top">ไม่แน่นอน</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 85.7pt;" align="center" valign="top">0.20</td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 0.5pt 0.5pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 110.7pt;" valign="top">ไอเสียเครื่องยนต์</td> </tr> </tbody></table>
    ที่มา :
    1. World Resources 1990-91
    2. สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ [​IMG] </td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">
    </td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    [​IMG]1. เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก (Global Warming) เมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 1 - 2 องศา-เซลเซียส นับแต่ พ.ศ. 2403 เป็นต้นมาพบว่าสูงขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส
    คณะกรรมการระหว่างชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศสรุปว่า ถ้าหากแก้ปัญหานี้ไม่ได้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 0.2 - 0.5 องศาเซลเซียส ทุก 10 ปี ทำให้เกิดความแห้งแล้งรุนแรง ภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่าปกติและเกิดปัญหาอื่นตามมา

    2. ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วมรุนแรงกว่าเดิม นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า ถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่ม 1.5 - 4.5 องศาเซลเซียส น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายเป็นผลให้น้ำทะเลสูงขึ้น 20 - 140 เซนติเมตร โดยคาดว่าน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างมากใน พ.ศ. 2573 ศตวรรษที่แล้วระดับสูงกว่าเดิม 10 - 15 เซนติเมตร ปัจจุบันสูงขึ้นปีละ 1.2 มิลลิเมตร IPCC ประมาณว่าใน พ.ศ. 2573 น้ำทะเลจะสูงขึ้น 20 เซนติเมตร พ.ศ. 2633 สูงเพิ่มอีก 60 เซนติเมตร และ พ.ศ. 2683 จะสูงกว่าเดิมถึง 1 เมตร ถ้าน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 50 เซนติเมตร เมืองสำคัญและท่าเรือจะจมน้ำใต้ผิวน้ำ คนจำนวนมากต้องอพยพและเกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น กรุงเทพมหานคร มะนิลา โตเกียว กัลกัตตา นิวยอร์ก บัวโนส/ ไอเรส ภาคใต้ของประเทศบังคลาเทศ มัลดีฟส์ เนเธอร์แลนด์ พื้นที่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักร และชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา

    3. ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง เมื่อน้ำทะเลขยายตัว พื้นที่ป่าไม้จะลดลง สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ได้จะตายและสูญพันธุ์ไป ป่าจะขยายตัวไปทางขั้วโลก 10 กิโลเมตรต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ดินจะพังทลายและเสื่อมโทรมมากขึ้น ภัยธรรมชาติจะมีแนวโน้มรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น ทะเลทรายจะขยายกว้างกว่าเดิม ฤดูหนาวจะอุ่นขึ้นทำให้ศัตรูพืชถูกทำลายน้อยลง ชายฝั่งที่เคยเป็นน้ำกร่อยจะเป็นน้ำเค็มซึ่งมีผลต่อห่วงโซ่อาหาร พืชน้ำจืดจะตาย สัตว์จะอพยพและตะกอนจากชายฝั่งจะถูกพัดพาไปทับถมนอกชายฝั่งทำให้ทำให้ไหล่ทวีปสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจะทำให้ผิวน้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น และจะมีผลกระทบต่อการเจริญของแนวหินปะการังของโลกด้วย

    4. ผลกระทบต่อเกษตรกรรม ทำให้ขยายเกษตรไปทางขั้วโลก ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสจะสามารถปลูกธัญพืชสูงขึ้นไปทางขั้วโลกเหนือได้ 150 - 200 กิโลเมตร และปลูกในพื้นที่สูงขึ้นอีก 100 - 200 เมตร พืชที่ปลูกตามขอบทะเลทรายจะเสียหายเพราะทะเลทรายขยายตัว การนำพืชไปปลูกถิ่นอื่นต้องปรับสภาพดินและน้ำ วัชพืชและพืชจะโตเร็วและมีขนาดใหญ่กว่าเดิมเนื่องจากได้รับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ดินจะเสื่อมเร็วเพราะแร่ธาตุจะถูกนำไปใช้มาก พืชจะขาดไนโตรเจน ความต้านทานโรคและแมลงลดลง ผลผลิตพืชมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงได้ดีกว่าจะให้ผลผลิตมากกว่า เช่น พืชที่ใช้คาร์บอน 3 อะตอม (พวกถั่ว มันสำปะหลัง กล้วย มันฝรั่ง หัวผักกาดหวาน และข้าวสาลี) จะมีผลผลิตสูงกว่าพืชที่ใช้คาร์บอน 4 อะตอม (พวกข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และลูกเดือย) ผลผลิตในหลายแหล่ง เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น จะมากเกินความต้องการทำให้ราคาตกต่ำซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโลก เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงการผลิตและการใช้ดิน ต้องปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความต้านทานโรค แมลง และอากาศที่แห้งแล้งขึ้น

    5. ผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ได้แก่

    1) มีผลเสียต่ออารมณ์ ร่างกาย และการปฏิบัติกิจกรรมโดยอากาศร้อนทำให้คนรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เหนื่อยง่าย และประสิทธิภาพการทำงานต่ำ

    2) มีอันตรายต่อผิวหนัง อุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะตามง่ามเท้า รักแร้ และ ข้อพับ ทำให้ผิวหนังเปื่อย เกิดผดผื่นคันหรือถูกเชื้อราหรือแบคทีเรียทำให้อักเสบได้ง่าย

    3) ทำให้โรคเขตร้อนระบาดได้มากขึ้น เช่น โรคไข้ส่า ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโดยยุงเป็นพาหะ มีอาการโรคไข้เลือดออก ต่อมน้ำเหลืองอักเสบบวม ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อาจเสียชีวิตได้ ไม่มีวัคซีนและยาที่ใช้รักษาเฉพาะ เมื่อ พ.ศ. 2540 ระบาดในประเทศบราซิล มีผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 24,000 คน และในเวเนซุเอลา 32,000 คน เสียชีวิต 40 คน หากอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้โรคนี้ระบาดทั่วแถบร้อนของโรคได้

    4) เป็นอันตรายต่อเด็กและคนชรา โดยจะทำให้มีโอกาสเสียชีวิตจากคลื่นความเย็นและคลื่นความร้อนมากขึ้น

    6. ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญได้แก่

    1) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น เพราะอากาศร้อนจะทำให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศและแร่เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนเมืองซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงกว่าชนบท

    2) ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำทั่วโลก เพราะประเทศที่มีกำลังซื้อพืชผลได้เกินความต้องการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการค้าและสินค้าเกษตรกรรม

    3) เกษตรกรจะเสียต้นทุนการผลิตมากขึ้น เพราะดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์เร็ว ศัตรูพืชเพิ่มขึ้น ความต้านทานของพืชลดลงขณะเดียวกันก็ต้องลดรายจ่ายลง เช่น ลดการจ้างงาน เป็นต้น

    4) ประเทศที่ยากจนจะขาดแคลนอาหารมากขึ้น เนื่องจากการปลูกพืชในบางแห่งได้ผลน้อย ทะเลทรายเพิ่มขนาด และพืชหลักของท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และลูกเดือยมีอัตราเพิ่มของผลผลิตน้อยลง

    5) แหล่งท่องเที่ยวชายหาดจะถูกน้ำทะเลท่วม ดินจะพังทลายทำให้เสียงบประมาณเพื่อการปรับปรุงจำนวนมาก

    6) การพัฒนาประเทศทำได้ล่าช้า เนื่องจากต้องใช้งบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

    ที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">การทำลายชั้นโอโซนของบรรยากาศ [​IMG] <!-- Begin Web-Stat code --> <script type="text/javascript"> <!-- var page_name = 'http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/air09.html'; var invisible = 'yes'; var framed = 'no'; function sE(){return true;}window.onError=sE;var base=document; if(framed=='yes'){base=top.document;}var rn=Math.random(); var ui='env';var al='Web-Stat hit counters'; var qry=ui+':2::'+escape(base.referrer)+'::'+screen.width +'x'+screen.height+'::'+screen.colorDepth+'::'+escape(page_name) +'::'+invisible+'::'+rn+"::"+escape(base.URL); document.write('<a href="http://www.web-stat.com/stats/env'); document.write('.htm" target="new">[​IMG]<\/a>'); //--> </script>[​IMG]<noscript> [​IMG] </noscript> <!-- End Web-Stat code --> </td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">
    </td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]
    การทำลายชั้นโอโซนของบรรยากาศ หมายถึง การที่ก๊าซส่วนน้อยซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน มีเทน และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศและไปทำลายชั้นก๊าซโอโซนจนเป็นช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตส่องถึงพื้นโลกได้ กรณีของสารซีเอฟซี (CFC) นั้น เมื่อลอยสูงขึ้นถึงชั้นโอโซนและกระทบกับรังสี UV ที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาจะทำให้อะตอมคลอรีนแตกตัวไปทำให้โอโซนกลายเป็นก๊าซออกซิเจน คลอรีนเพียง 1 อะตอมทำให้โอโซนแตกตัวได้ถึง 10,000 โมเลกุล

    ปกติโอโซนเป็นก๊าซที่มีปริมาณต่างกันตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 60 กิโลเมตรแต่ในระดับความสูงประมาณ 25 กิโลเมตรก๊าซจะรวมตัวกันเป็นชั้นบางโอบโลกไว้ เรียกว่า ชั้นโอโซน มีประโยชน์สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วยกรองรังสี UV ไว้ร้อยละ 70 - 90 และทำหน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิของโลก รังสี UV เป็นรังสีที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จำแนกได้ 3 ชนิดดังต่อไปนี้

    1) UV - A มีความยาวคลื่นมากกว่า 320 nm เป็นรังสีที่ไม่เป็นอันตรายถูกโอโซนดูดกลืนเพียงเล็กน้อยส่วนใหญ่จะส่องถึงพื้นโลก

    2) UV - B ความยาวคลื่น 280 - 320 nm มีอันตรายมาก โอโซนดูดซับไว้ได้ไม่หมด

    3) UV - C มีความยาวคลื่นระหว่าง 200 - 280 nm รังสีช่วงคลื่นนี้มีอันตรายมากเช่นกันแต่จะถูกออกซิเจนในบรรยากาศดูดกลืนได้ทั้งหมด [​IMG]

    ปัจจุบัน มีการนำเอาอัลตราไวโอเลต และก๊าซโอโซนมาใช้ประโยชน์ในกิจการต่างๆ โดยอัลตราไวโอเลตซึ่งอยู่ในลักษณะกระบอกแสงจะใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาหรือน้ำดื่มบรรจุขวด ส่วนก๊าซโอโซนมีการนำไปใช้กว้างขวางกว่า คือ ใช้ฆ่าเชื้อโรค (ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งมีชีวิตที่แขวนลอยในน้ำได้ดีกว่าคลอรีนถึงร้อยละ 52 และฆ่าไวรัสได้เร็วกว่าคลอรีน 3,125 เท่า) ใช้บำบัดน้ำเสียหรือทำให้น้ำตกตะกอนได้ดี ช่วยดับกลิ่น ใช้ฟอกอากาศโดยเฉพาะการสลายก๊าซพิษและเชื้อโรคในอากาศช่วยฟอกสีผิวที่ดำกร้านจากแสงอาทิตย์ให้นวลเนียนขึ้น ใช้ผลิตน้ำดื่มโอโซนเพื่อความสดชื่นของร่างกาย ทำน้ำโอโซนรดต้นไม้เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิต เนื่องจากมีการนำเครื่องผลิตโอโซนไปใช้เติมออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาอีกด้วย

    [​IMG]การใช้บอลลูนช่วยตรวจวัดชั้นโอโซนที่ขั้วโลกใต้เหนือ อ่าวฮัล-เลย์ ทวีปแอนตาร์กติก เมื่อ พ.ศ. 2528 พบว่า โอโซนลดลงมากในฤดูใบไม้ผลิ โดยลดถึงประมาณร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2500 ใน พ.ศ. 2534 องค์การสหประชาชาติรายงานว่าในช่วงทศวรรษ 1980 ก๊าซลดลงจากทศวรรษก่อนประมาณ 3 เท่า ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2535 พบว่า ชั้นก๊าซโอโซนถูกทำลายเป็นช่องโหว่กว้างที่สุดตั้งแต่เคยวัดมา คือ ประมาณ 37,000 ตาราง-กิโลเมตร หรือร้อยละ 60 ซึ่งขนาดเท่ากับทวีปยุโรป และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ยังพบว่า ก๊าซโอโซนเหนือทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปส่วนใหญ่ลดลงจากระดับปกติถึงร้อยละ 20


    ที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">ผลเสียที่เกิดจากการทำลายชั้นก๊าซโอโซน [​IMG] <!-- Begin Web-Stat code --> <script type="text/javascript"> <!-- var page_name = 'http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/air10.html'; var invisible = 'yes'; var framed = 'no'; function sE(){return true;}window.onError=sE;var base=document; if(framed=='yes'){base=top.document;}var rn=Math.random(); var ui='env';var al='Web-Stat hit counters'; var qry=ui+':2::'+escape(base.referrer)+'::'+screen.width +'x'+screen.height+'::'+screen.colorDepth+'::'+escape(page_name) +'::'+invisible+'::'+rn+"::"+escape(base.URL); document.write('<a href="http://www.web-stat.com/stats/env'); document.write('.htm" target="new">[​IMG]<\/a>'); //--> </script>[​IMG]<noscript> [​IMG] </noscript> <!-- End Web-Stat code --> </td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">
    </td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    เมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ลดลงจะทำให้รังสี UV ที่ผิวโลกเพิ่มขึ้น UV จำนวนเล็กน้อยจะช่วยสร้างวิตามินดีตามผิวหนัง แต่ถ้ามี UV-B มากจะเป็นอันตรายและถ้าความเข้มข้นของโอโซนลดลงร้อยละ 10 จะทำให้รังสี UV-B ตามพื้นโลกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 รังสี UV-B มีผลเสีย ดังนี้

    1) ทำให้คนเป็นโรค หรือมีอาการผิดปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับผิวหนัง และดวงตา [​IMG]อาการของ ผิวหนังในระยะสั้น ได้แก่ ผิวไหม้เกรียม หากได้รับแสงแดดที่ร้อนแรงนาน 9 - 12 ชั่วโมง จะรู้สึกคัน อาจพองเป็นตุ่มเล็ก มีน้ำใส ปวดและผิว-หนังอักเสบติดเชื้อ อาการในระยะยาวคือ สีผิวไม่สม่ำเสมอโดยจะมีลักษณะเป็นกระดำหรือกระขาว เมื่อผิวหนังถูกทำลายนานๆ จะหยาบกระด้าง เกิดรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันสมควรและอาจเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนัง melanoma ซึ่งเกิดน้อยแต่อัตราการตายสูง ผู้เสียชีวิตจากมะเร็งผิวหนังทั่วโลกมีประมาณ 10,000 คน คนผิวขาวเป็นได้ง่ายกว่าคนผิวสี และเกิดกับผู้ที่อาศัยอยู่ค่อนมาทางอิเควเตอร์มากกว่าขั้วโลก เช่น ในรัฐเท็กซัสมีผู้เป็นมะเร็งผิวหนังปีละ 379 คน ต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่รัฐไอโอวามีเพียง 124 คน ต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น สำหรับอาการผิดปกติที่เกิดกับตา ได้แก่ ตาพร่า และโรคต้อกระจก

    2) ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง จากการทดลอง พบว่า พืชหลายชนิด เช่น ข้าว ฝ้าย ถั่ว แตงโมและกะหล่ำปลี มีอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง พืชโตช้า ผสมเกสรไม่ติดทำให้ผลผลิตลดลง

    3) ทำลายระบบนิเวศแหล่งน้ำ โดยรังสี UV-B จะส่องทะลุน้ำและทำลายสาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล ปลาที่กินสาหร่ายจะลดปริมาณ ลูกกุ้งเคยจะตายเพราะถูกรังสี ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลรอบทวีป แอนตาร์กติก ซึ่งโอโซนถูกทำลายจะลดลงโดยใน พ.ศ. 2535 พบว่า แพลงก์ตอนพืชลดลงร้อยละ 6-12 เกิดปัญหาห่วงโซ่อาหาร ของนกและปลาโดยเฉพาะปลาวาฬ

    [​IMG]4) ทำให้ทรัพย์สินเสื่อมเสียเร็วขึ้น ที่พบบ่อยได้แก่ ทำให้สีบ้านซีดจาง กระจกหน้าต่างเป็นสีเหลือง หลังคารถยนต์เป็นขุย และทำให้พลาสติกหรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น ท่อพีวีซีแตกง่าย

    5) ทำให้เกิดหมอกควันไอเสียรถยนต์ที่ทำปฏิกิริยากับแสงแดด และโอโซนในชั้นโทร-โปสเฟียร์ จะทำให้เกิดหมอกควันบดบังทัศนวิสัยและทำให้พืชได้รับแสงแดดน้อยลง



    ที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.


    <table class="MsoNormalTable" style="width: 100%;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr style="height: 22.5pt;"><td style="padding: 0cm; width: 337.5pt; height: 22.5pt;" width="450">การอนุรักษ์ทรัพยากรอากาศ [​IMG]<script type="text/javascript"> <!-- var page_name = 'http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/air11.html'; var invisible = 'yes'; var framed = 'no'; function sE(){return true;}window.onError=sE;var base=document; if(framed=='yes'){base=top.document;}var rn=Math.random(); var ui='env';var al='Web-Stat hit counters'; var qry=ui+':2::'+escape(base.referrer)+'::'+screen.width +'x'+screen.height+'::'+screen.colorDepth+'::'+escape(page_name) +'::'+invisible+'::'+rn+"::"+escape(base.URL); document.write('[​IMG]<\/a>'); //--> </script>[​IMG]<!-- Begin Web-Stat code --><noscript>[​IMG]
    </td> </noscript><!-- End Web-Stat code --> </p></td><td style="padding: 0cm; width: 52.5pt; height: 22.5pt;" width="70">

    </td> </tr> <tr style=""> <td colspan="2" style="padding: 0cm;"> [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table>
    เนื่องจากโลกเรามีความกว้างใหญ่ การแก้ไขปัญหาซึ่งเกิดขึ้นกับบรรยากาศ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดังนั้น หลักสำคัญในการอนุรักษ์จึงได้แก่การป้องกันมิให้เกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม หลักและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรอากาศรวมถึงการแก้ไขปัญหาสรุปได้ดังนี้

    1. งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร

    [​IMG]1) ลดปริมาณมลสารที่ทำให้อากาศเสีย เช่น ฝุ่นละอองและสารพิษ

    2) ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ แก้ไขรถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์ ลดปริมาณขยะ เปียกและการทำให้เกิดการหมักหมม ของซากอินทรียวัตถุซึ่งทำให้เกิดก๊าซมีเทนและไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์

    ในการประชุมสุดยอดเพื่อหาแนวทางลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 สหรัฐอเมริกาสัญญาว่า ภายใน 15 ปี ข้างหน้าจะลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 7 จากปริมาณที่เคยปล่อยเมื่อ พ.ศ. 2533 ส่วนสหภาพยุโรปจะลดลงร้อยละ 8 และญี่ปุ่นจะลดร้อยละ 6 ซึ่งจะเป็นผลให้ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลดลงจาก พ.ศ. 2533 ร้อยละ 5.2

    3) ลดปริมาณก๊าซที่ทำลายชั้นโอโซน ตามข้อตกลงของประชาคมโลกใน " พิธีสารมอนทรีออล " ซึ่งระบุว่าแต่ละประเทศจะต้องควบคุมการใช้สารที่มีผลทำลายชั้นโอโซน โดยลดการใช้สารซีเอฟซี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และจะต้องเลิกใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประเทศไทยได้ตอบสนองข้อตกลงนี้เป็นอย่างดี เช่น กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศฉบับที่ 120 กำหนดมิให้ผู้ใดนำตู้เย็นสำเร็จรูปประเภทที่ใช้ในบ้านเรือน โดยใช้สารซีเอฟซีในกระบวนการผลิตเข้ามาในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2542 เป็นต้น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจึงควรให้ความร่วมมือด้วยการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารซีเอฟซีทุกชนิด เช่น โฟม กระป๋องสเปรย์ ครีมโกนหนวด ใช้เครื่องปรับอากาศรถยนต์ที่ใช้สาร R134a แทนซีเอฟซีตลอดจนผลิตสารอื่นเพื่อใช้แทนซีเอฟซี
    <!--[if gte vml 1]><v:shapetype id="_x0000_t75" coordsize="21600,21600" o:spt="75" o:preferrelative="t" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" filled="f" stroked="f"> <v:stroke joinstyle="miter"/> <v:formulas> <v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"/> <v:f eqn="sum @0 1 0"/> <v:f eqn="sum 0 0 @1"/> <v:f eqn="prod @2 1 2"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @0 0 1"/> <v:f eqn="prod @6 1 2"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="sum @8 21600 0"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @10 21600 0"/> </v:formulas> <v:path o:extrusionok="f" gradientshapeok="t" o:connecttype="rect"/> <o:lock v:ext="edit" aspectratio="t"/> </v:shapetype><v:shape id="_x0000_s1026" type="#_x0000_t75" alt="" style='position:absolute;margin-left:0;margin-top:0;width:225pt; height:123pt;z-index:1;mso-wrap-distance-left:0;mso-wrap-distance-top:0; mso-wrap-distance-right:0;mso-wrap-distance-bottom:0; mso-position-horizontal:left;mso-position-horizontal-relative:text; mso-position-vertical-relative:line' o:allowoverlap="f"> <v:imagedata src="img/air23.jpg"/> <w:wrap type="square"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]-->
    <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_s1027" type="#_x0000_t75" alt="" style='position:absolute;margin-left:218pt; margin-top:0;width:258pt;height:333.75pt;z-index:2; mso-wrap-distance-left:0;mso-wrap-distance-top:0; mso-wrap-distance-right:0;mso-wrap-distance-bottom:0; mso-position-horizontal:right;mso-position-horizontal-relative:text; mso-position-vertical-relative:line' o:allowoverlap="f"> <v:imagedata src="img/air24.jpg"/> <w:wrap type="square"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->[​IMG]

    2. อนุรักษ์ป่าไม้เพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสียและวาตภัย ทั้งนี้ เพราะต้นไม้จะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการสังเคราะห์แสง การมีต้นไม้มากจึงช่วยลดปัญหาภาวะเรือน กระจกที่เกิดจากก๊าซนี้ได้ นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่นผงและละอองต่างๆ ที่ทำให้อากาศเสีย รวมทั้งช่วยปะทะและลดความรุนแรงของลมพายุอีกด้วย

    3. ตรวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น

    4. การป้องกันและรักษา

    1) การป้องกันผิวหนังไหม้หรือเหี่ยวย่นเนื่องจากแสงแดด ในกรณีจะต้องอยู่กลางแจ้งนานๆ ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาและมีสีเข้มหรือสวมหมวกปีกกว้างเพื่อไม่ให้ผิวถูกแสงแดดโดยตรง ( แพทย์ผิวหนังแนะนำว่าหากต้องการป้องกันผิวหนัง ซึ่งได้แก่ แสงแดด ความร้อน ควัน บุหรี่ เหล้า และสารเคมีที่ระคายผิว )

    2) ป้องกันมะเร็งผิวหนัง
    - เลือกรับประทานอาหารที่ช่วยป้องกันโรค มหาวิทยาลัยบัฟฟาโล ประเทศสหรัฐอเมริการายงานว่าผู้ที่แพ้แดดง่าย ผิวขาวหรือผู้ที่ต้องอยู่กลางแจ้งเป็นประจำควรบริโภคแต่อาหารที่มีไขมันต่ำ ผักและผลไม้ที่มีธาตุเซเลเนียม (เช่น เห็ด ปลาทูน่า และแป้งข้าวสาลี) เบตาแคโรทีน (เช่น หัวผักกาดแดง พวกกะหล่ำ และผักขม) และวิตามินซี (ส้มและมะนาว) เพราะจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังได้มากถึงร้อยละ 96
    - ใช้ครีมทากันแดด เช่น ครีมทากันแดดเบอร์ 15 แต่จะป้องกันใช้เฉพาะรังสีอัลตราไวโอเลต เอและบีเท่านั้น โดยไม่อาจป้องกันรังสีอินฟราเรดที่ทำให้รู้สึกร้อนได้ การสวมเสื้อผ้าหนาๆ และมีสีเข้มจะช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้ดีกว่า

    3) ปรับสภาพอากาศให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต หากอากาศร้อนจนไม่น่าอยู่ พักผ่อน หรือปฏิบัติงานและจะทำให้สิ่งของเครื่องใช้เกิดความเสียหาย ควรแก้ไขโดยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ แต่ควรจะหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรับอากาศที่ก่อปัญหาสารซีเอฟซี

    4) รักษาอาการผดผื่นคันที่เกิดจากอากาศร้อน ให้ทาด้วยพวกคาลาไมน์โลชั่น หากมีอาการคันมากต้องรับประทานยาคลอเฟนิรามีนหรือบอมเฟนิรามีน

    5) สังคมโลกต้องร่วมมือกันอนุรักษ์อย่างจริงจังและบังเกิดผลอย่างชัดเจน โดยเหตุที่ปรากฏการณ์เรือนกระจกและการทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศมีผลกระทบต่อชีวมณฑลหรือชีวาลัย ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิผล

    ที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.
    <!--[endif]-->
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    http://www.environnet.in.th
     
  15. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    รับทราบครับ ให้คะแนนกระทู้ 5 ดาวแล้ว ^^
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ชีวิตที่ต้องอยู่กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อภาวะโลกร้อน(Global warming)
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม


    โลกร้อนขึ้นทุกวัน ทุกปี พิสูจน์และเห็นได้จากอุณหภูมิวันสงกรานต์ของไทยสูงขึ้นทุกปี และในปี พ.ศ. 2549 ที่จะมาถึงนี้ ก็จะร้อนมากกว่า ปีที่ พ.ศ. 2548 ที่จะจากไปอีกไม่กี่วันนี้ ทำไมจึงร้อน ทุกคนก็รู้แต่เพียงว่าเกิดจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุที่สำคัญ ทุกคนเริ่มคุ้นกับคำว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ แก๊สเรือนกระจก แต่ได้ถามตนเองบ้างหรือยังว่า ทำไมถึงเกิดสภาวะเช่นนี้ สาเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร เราเป็นผู้กระทำใช่หรือไม่ และมีวิธีการใดที่สามารถนำมาใช้ในการลดภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นต้นตอการเกิดภาวะโลกร้อนได้
    ทุกวันนี้อากาศมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก บางวันมีฝนตก บางวันอากาศเย็น หนาว แต่ส่วนใหญ่จะค่อนข้างร้อนมากกว่า ซึ่งในแต่ละวันสภาพอากาศจะไม่เหมือนกัน อีกทั้งปัจจุบันยังมีภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้นมาและจะมากขึ้นๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ความแห้งแล้ง และการเกิดพายุเฮอร์ริเคน
    ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่สร้างผลกระทบกับภาวะโลกร้อนคิดเป็นร้อยละ 0.64 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สร้างภาวะโลกร้อนเป็นอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 28 สาธารณรัฐประชาชนจีน อันดับที่ 2 และอินเดีย อันดับที่ 3โดยวัดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่คืนกลับมาสู่บรรยากาศ

    ในอากาศจะมีแก๊สต่างๆ มากมาย ประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจน แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ฝุ่นละออง และแก๊สอื่นๆ เช่น แก๊สมีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น แก๊สเหล่านี้จะอยู่ในบริเวณจำกัดหรืออยู่ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดบนพื้นผิวโลก ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปเราเรียกว่าบรรยากาศ (atomosphere) จะเป็นมวลของอากาศที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ที่เรียกว่าชั้นสตราโตสเฟียร์ ที่ความสูง 20-25 กิโลเมตร ประกอบด้วยแก๊สต่างๆ หลายชนิด โดยเฉพาะแก๊สโอโซน (O<sub>3</sub>) ที่มีความหนาแน่นมากที่สุด และเมื่อใดที่โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะโอโซนจะทำหน้าที่ดูดซึมแสงหรือรังสีอุลตราไวโอเลต (ที่มาจากดวงอาทิตย์)ชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตไว้ให้เบาบางลง และยังทำให้เกิดการถ่ายเท ควบคุม ความร้อนให้อยู่ในสภาวะสมดุลและเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วย
    แก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศเมื่อมีการรวมตัวกัน จะทำหน้าที่เป็นเกราะกำบังพื้นผิวโลกให้มีอุณหภูมิที่พอเหมาะและมีความอบอุ่นในการดำรงชีพของมนุษย์ได้ ซึ่งเราเรียกว่า กรีนเฮาส์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effects) หรือ "เรือนกระจก" เพราะทำหน้าที่คล้ายกระจกในเรือนกระจกนั่นเอง แต่ปัจจุบันแก๊สที่เป็นเกราะกำบังนี้มีมากขึ้นกว่าระดับ มาตรฐาน ทั้งยังมีความหนาแน่นมากขึ้น และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อลอยไปยังชั้นบรรยากาศของโลก จะไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลกจนโหว่เป็นช่องใหญ่ ที่เรียกว่า รูโหว่ของโอโซน ผลที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก (climatic change) มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น(global warming) ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น(sea level rising) และปริมาณโอโซนลดลง(ozone depletion)
    แก๊สเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<sub>2</sub>) แก๊สมีเทน (CH<sub>4</sub>)
    แก๊สไนตรัสออกไซด์ (N<sub>2</sub>O) แก๊สไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (HFC<sub>S</sub>) แก๊สคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC<sub>S</sub>) และแก๊สซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF<sub>6</sub>)

    ทั้งนี้แก๊สที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้นมาจากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโลกมากที่สุด และนับวันจะมีปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและวิจัยในเรื่องบรรยากาศในปัจจุบัน พบว่าการสะสมตัวของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ใน 60 ปีข้างหน้าจะทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.5-4.5 องศาเซลเซียสซึ่งมีมากที่สุด และมีการประมาณการกันว่าในแต่ละช่วง ทศวรรษ โลกจะร้อนขึ้นประมาณ 0.2-0.5 องศาเซลเซียส
    แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาจากไหน
    แหล่งที่มาสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 2 แหล่ง คือ การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็น 80% ส่วนอีก 20% เป็นผลจากการตัดไม้ทำลายป่าและการเผาป่า
    ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change :IPCC) ได้ระบุว่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมามนุษย์เรา พึ่งพาพลังงานและมีการปลดปล่อยแก๊สจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมาก อาทิเช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และ ถ่านหิน ผลการเผาไหม้นี้เองที่ทำให้ปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น สำหรับในการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ต้องใช้ถ่านหินหนัก ครึ่งกิโลกรัม ซึ่งจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือ 1.4 กิโลกรัม อีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงยังปล่อยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศและ เป็นหมอกควันที่ป้องกันแสงอาทิตย์ซึ่งไปปิดบังเรือนกระจก ทำให้บรรยากาศเกิดการเย็นลงได้
    และถ้าไม่มีต้นไม้แล้ว จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น เพราะต้นไม้จะช่วยดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในเวลากลางวัน แม้ว่าในเวลากลางคืน จะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาก็ตาม
    ปัจจุบันนี้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียจากรถยนต์ เพราะการพัฒนาประเทศนั้นมีแต่เพิ่มมากขึ้น ในการขับขี่ยานพาหนะ ขณะนี้ประเมินว่ามี 1.88 ล้านคันทั่วประเทศ จะมีแก๊สออกมา 10 กิโลกรัม ต่อเชื้อเพลิง 4 ลิตร หากมีการขับขี่ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 4 ลิตรต่อคัน ก็จะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 18,800 ตัน
    นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณขยะทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เนื่องจากการ ทับถมของขยะมากขึ้น ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำจัดโดยธรรมชาติน้อยลง
    ผลที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน
    ทำให้ชีวิตมนุษย์เราสั้นลง ได้มีการทำนายไว้ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษ เนื่องจากการที่อากาศร้อนขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เริ่มจากมนุษย์เราจะต้องระวังและดูแลสุขภาพอนามัยให้มากขึ้น ต้องระมัดระวังโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้น ต้องเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองเพื่อให้มีชีวิตรอด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อให้พืชและสัตว์ด้วย ระบบชีวิตจะต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าไม่สามารถปรับให้เข้ากับสภาพภาวะโลกร้อนได้แล้วอาจจะต้องถึงขั้นสูญพันธุ์ไปเลยก็เป็นได้
    เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าเมื่อโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมาก แบคทีเรียในอากาศจะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติและโอกาสในการแพร่ระบาดมาสู่มนุษย์เรามีสูงและถ้าเป็นแล้วรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมันก็จะทุเลาลง แต่ถ้าปล่อยไว้นานกว่านั้นมีโอกาสทำให้เสียชีวิตสูงถึง 60%
    นอกจากนี้ผลของภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศและภูมิอากาศ โดยเฉพาะแถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็งที่มีขนาดมหึมา รวมทั้งก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้นและไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป บริเวณของโลกที่อยู่ในระดับต่ำมากๆ อาจจะถึงขั้นสูญหายไปจากแผนที่โลกเพราะน้ำท่วมหมดสิ้น นอกจากนี้จะส่ง ผลกระทบทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนไป
    ในส่วนของทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด ส่วนทวีปเอเชียนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
    มาตรการที่เราต้องปฏิบัติกันอย่างจริงจังเพื่อลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    1. ให้มีการใช้เครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงาน โดยทำบ้านให้ปลอดโปร่ง มีการใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ทำให้ไม่ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การใช้แก๊สธรรมชาติแทนถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงาน และการผลิตกระแส ไฟฟ้า จะทำให้ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยลง
    2. จากท่อไอเสียรถยนต์ โดยใช้รถรวมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันครั้งละหลายๆ คนหรือที่รัฐบาลโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้รณรงค์อยู่ คือ CAR POOL การขับขี่ยานพาหนะที่ประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิง การสัญจรโดย การเดิน หรือเดินทางโดยรถจักรยาน หรือโดยสารรถประจำทาง
    3. สนับสนุนและให้การส่งเสริมโครงการสำคัญๆ อาทิเช่น

        1. [*]โครงการพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แกลบ
    <dir> <dir> <dir> <dir> ชานอ้อย ขยะ เป็นต้น
    </dir></dir> 3.2 โครงการอนุรักษ์พลังงาน
    <dir> <dir> <dir> <dir> 3.3 โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม/การใช้พลังงาน
    </dir></dir> 3.4 โครงการปลูกป่าในพื้นที่เสื่อมโทรมต่างๆ
    </dir></dir></dir></dir> ปัจจุบันหลายประเทศได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและหาแนวทางป้องกันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก อาทิเช่น การหาทางลดการเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การหาแหล่ง พลังงานทดแทน เช่น การใช้พลังงานดวงอาทิตย์ ลม น้ำ การหยุดยั้งทำลายป่าและสนับสนุนให้มีการปลูกป่าทดแทน เพื่อไม่ให้เป็นจริงดังคำทำนายที่ว่า ภายในปี 2020 โลกจะขาดแคลนน้ำและ พลังงานอย่างหนัก นำไปสู่สงครามแย่งชิงทรัพยากร ที่น่ากลัวกว่าการก่อการร้ายเสียอีก

    ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ "สยามธุรกิจ" ปีที่ 12 ฉบับที่ 850, 31 ธ.ค. 2548 - 3 ม.ค. 2549

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------
    มหาสมุทรโลกตกอยู่ในอันตรายขั้นวิกฤต

    ข้อมูลจากสมุทรศาสตร์, ชีววิทยาทางทะเล, อุตุนิยมวิทยา, ประมงศาสตร์และวิทยาธารน้ำแข็ง ชี้ให้เห็นว่า ท้องทะเลของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้าย ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและองค์ประกอบทางเคมีของทะเล บวกกับมลภาวะและการทำประมงอย่างมักง่าย กำลังทำให้แหล่งกำเนิดชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง

    ใน ค.ศ. 2005 นักวิจัยจากสถาบันสมุทรศาสตร์พบหลักฐานชัดเจนว่า มหาสมุทรกำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิของน้ำในช่วงครึ่งไมล์จากพื้นผิวทะเลสูงขึ้นมากตลอด 40 ปีที่ผ่านมา อันเป็นผลลัพธ์จากก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ก่อขึ้น

    ปรากฏการณ์โลกร้อนที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการละลายของน้ำแข็งในทวีปอาร์กติก อัตราการละลายของน้ำแข็งก่อให้เกิดวังวนของผลกระทบที่สะท้อนกลับไปกลับมา มันเร่งอัตราการเพิ่มขึ้นของพื้นผิวน้ำที่สะท้อนกลับไปเร่งให้อุณหภูมิสูงขึ้นและการละลายมีมากขึ้น เมื่อน้ำทะเลที่ขั้วโลกจืดลงและน้ำทะเลในเขตร้อนเค็มกว่า วงจรของการระเหยและการตกตะกอนก็เร่งเร็วขึ้น ซึ่งยิ่งกระตุ้นปรากฏการณ์เรือนกระจกมากขึ้นไปอีก วงจรที่เร่งเร็วขึ้นเรื่อยๆ นี้อาจแก้ไขกลับคืนได้ยากหรือไม่ได้เลย

    มลภาวะที่สั่งสมมากขึ้นยังเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเลและทำลายชีวิตสัตว์น้ำ นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มหาสมุทรต้องดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงประมาณ 118 พันล้านเมตริกตัน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยเพิ่มสู่บรรยากาศอีก 20-25 ตันทุกๆวัน ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นกำลังเปลี่ยนแปลงความสมดุลของค่า PH ในมหาสมุทร การศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า หากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เปลือกและโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตในน้ำทุกชนิด นับตั้งแต่ปะการังไปจนถึงหอยและแพลงก์ตอน จะละลายภายใน 48 ชั่วโมงหากต้องสัมผัสกับสภาพความเป็นกรดของทะเลในปี ค.ศ. 2050 ปะการังคงสูญพันธ์จนหมด และที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือแพลงก์ตอน ไฟโตแพลงก์ตอนเป็นตัวดูดซับก๊าซเรือนกระจก ผลิตออกซิเจนและเป็นผู้ผลิตอาหารปฐมภูมิของห่วงโซ่อาหารในทะเล ปรอทที่เกิดจากของเสียในอุตสาหกรรมเคมีและถ่านหินมีการออกซิไดซ์ในอากาศและตกลงสู่ก้นทะเล เมื่อสัตว์ทะเลกินเข้าไป สารปรอทจะแทรกเข้าไปสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหารเป็นทอดๆ กระทั่งสัตว์ทะเลที่เป็นผู้ล่าเหยื่อ เช่น ปลาทูนาหรือปลาวาฬ มีปริมาณสารปรอทสูงกว่าน้ำทะเลถึง 1 ล้านเท่า อ่าวเม็กซิโกมีปริมาณสารปรอทสูงสุด โดยมีสารปรอทราว 10 ตัน ไหลลงสู่ทะเลทางแม่น้ำมิสซิสซิปปีทุกปี และอีก 10 ตันจากการขุดเจาะนอกชายฝั่ง

    นอกจากสารปรอทแล้ว แม่น้ำมิสซิสซิปปียังพาไนโตรเจน (ส่วนใหญ่จากปุ๋ย) ลงสู่มหาสมุทรด้วย ไนโตรเจนกระตุ้นให้พืชและแบคทีเรียที่บริโภคออกซิเจนเติบโตในน้ำ ก่อให้เกิดสภาพที่เรียกกันว่า hypoxia หรือ เขตมรณะ เขตมรณะคือพื้นที่ในมหาสมุทรที่ปริมาณออกซิเจนต่ำเกินกว่าสิ่งมีชีวิตในทะเลจะดำรงชีพอยู่ได้ ในปี ค.ศ. 2001 พื้นที่ทะเลจำนวนมากในอ่าวเม็กซิโกกลายเป็นเขตมรณะไปแล้วเกือบ 8,000 ตารางไมล์ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เขตมรณะเกือบทั้งหมดจากที่มีอยู่ 150 เขต (และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) ในโลก มักอยู่ตรงปากแม่น้ำ ชายฝั่งสหรัฐฯ นั้นมีอยู่เกือบ 50 เขตด้วยกัน แม้ว่าไนโตรเจนส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติในแม่น้ำ แต่ฟอสฟอรัสจากน้ำเสียและไนโตรเจนจากท่อไอเสียรถยนต์ยิ่งซ้ำเติมภาวะนี้ให้สาหัสมากขึ้น

    พร้อมกันนี้ การประมงสัตว์น้ำทะเลที่พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2000 เริ่มตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีการเดินเรือและการทำประมงแบบเข้มข้นมีความก้าวหน้ามาก ‘ประสิทฺธิภาพ’ ในการทำประมงทะเลทำให้ชีวิตสัตว์ทะเลลดน้อยถอยลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน เรือประมงใหญ่ๆ มักจับสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการถึง 25% แล้วทิ้งสัตว์น้ำเหล่านี้ที่ตายแล้วหรือใกล้ตายกลับลงทะเล นอกจากนั้น เรืออวนลากยังกวาดพื้นทะเลเรียบเหี้ยนราวกับรถไถ ทำลายระบบนิเวศท้องทะเลมากกว่าการตัดไม้ทำลายป่าแต่ละปีถึง 150 เท่า การเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลก็ไม่ดีไปกว่า ปลาแซลมอนเลี้ยงน้ำหนักทุก 1 ปอนด์ ต้องกินปลาที่จับมาจากทะเลถึง 3 ปอนด์ ลูกสัตว์ทะเลก็อยู่ในภาวะอันตราย ทั้งนี้เพราะระบบบริบาลตามธรรมชาติถูกทำลายลง

    ในขณะที่วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสอนเรามากมายในห้องเรียนเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาและการเกื้อกูลชีวิตในธรรมชาติ แต่การปฏิบัติของมนุษย์ในโลกภายนอกกลับทำลายระบบที่โอบอุ้มมนุษย์เองอย่างไม่บันยะบันยัง

    ที่มา จาก อ้างอิงต่อจากกระทู้
    http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X4873329/X4873329.html
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    Robert Boyle ได้เสนอแนวคิดว่า บรรยากาศของโลกเกิดจากการเน่าสลายของสิ่งมีชีวิต และจากการระเบิดของภูเขาไฟ และอีก 100 ปีต่อมา Joseph Black ได้พบว่า ในอากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การวิเคราะห์หาองค์ประกอบของอากาศในปี พ.ศ. 2315 ได้ทำให้ Daniel Rutherford พบว่า นอกจากคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว อากาศยังมีก๊าซไนโตรเจนด้วย ส่วน Carl Scheele และ Joseph Priestley นั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้พบก๊าซออกซิเจนในปี พ.ศ. 2318 และ Henry Cavendish ได้พบว่า บรรยากาศในสถานที่ทุกหนแห่งของโลก มีไนโตรเจนประมาณ 79.16% และออกซิเจน 20.84% และในปี พ.ศ. 2437 Lord Raleigh และ William Ramsay ก็ได้พบว่า ในอากาศมีก๊าซอาร์กอนด้วย ณ วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้รู้แล้วว่า นอกจากก๊าซสำคัญๆ เหล่านี้แล้ว บรรยากาศโลกยังมีสารประกอบเคมีอื่นๆ อีกนับพันชนิด ซึ่งก๊าซบางชนิดนั้นมีปริมาณที่น้อยนิดประมาณ 1:10<sup>12</sup> เมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซไนโตรเจน เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2382 Christian Schoenbein ได้พบว่า เวลาน้ำถูกแยกด้วยกระแสไฟฟ้าเป็นออกซิเจนกับไฮโดรเจนนั้น เขามักได้กลิ่นเน่าในก๊าซออกซิเจนที่แยกได้ เขาจึงเรียกก๊าซที่ปนอยู่ในออกซิเจนว่า โอโซน ซึ่งเป็นคำในภาษากรีกที่แปลว่า กลิ่นเน่า การวิเคราะห์องค์ประกอบของโอโซนในอีก 25 ปี ต่อมาทำให้ Jacques Soret พบว่า โอโซนประกอบอะตอมของออกซิเจน แต่มิใช่ก๊าซออกซิเจน
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="2" width="589"> <tbody><tr> <td bgcolor="#f6f6f6" height="486" valign="top"> [​IMG]</td> <td bgcolor="#f6f6f6" height="486" valign="top"> ในปี พ.ศ. 2421 Alfred Cornu ได้พบว่า ขณะแสงอาทิตย์ส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกลงมานั้น เขาไม่พบแสงใดๆ ที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า 310 นาโนเมตรเลย (1 นาโนเมตร = 0.000000001 เมตร) Cornu จึงตั้งสมมติฐานว่า บรรยากาศโลกมีก๊าซบางชนิดที่สามารถดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า 310 นาโนเมตรได้หมด ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น Sydney Chapman ก็ได้พบว่า ก๊าซโอโซนที่มีในบรรยากาศโลกเกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซออกซิเจนกับแสงอาทิตย์ที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า 240 นาโนเมตร ทำให้สูตรเคมีของโอโซนคือ O<sub>3</sub> และในขณะเดียวกัน เวลาโอโซนได้รับแสงอาทิตย์ มันก็สามารถแตกตัวเป็นก๊าซออกซิเจน และอะตอมของออกซิเจนได้เช่นกัน ดังนั้น แสงอาทิตย์จึงมีอิทธิพลต่อการสร้างและทำลายโอโซนในบรรยากาศโลก
    ในปี พ.ศ. 2515 Paul Crutzen (ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาเคมี) ประจำปี 2538 จากผลการค้นพบเรื่องการผลิตและทำลายโอโซนในบรรยากาศของโลก) ได้แสดงให้โลกประจักษ์ว่า บรรยากาศโลกชั้น troposphere ซึ่งอยู่ที่ระดับ 0-8 กิโลเมตร จากผิวโลกคือ แหล่งกำเนิดที่สำคัญของโอโซน และสรรพกิจกรรมทุกรูปแบบที่มนุษย์กระทำมีอิทธิพลต่อปริมาณและคุณภาพของโอโซนที่โลกมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Crutzen ได้พบว่า เวลาเครื่องบิน Concorde ความเร็วเหนือเสียงบิน ก๊าซ NO (nitric oxide) ที่มันปลดปล่อยออกมาจะทำลายโอโซนที่มีบรรยากาศชั้น stratosphere (เหนือดินที่ระดับ 8-10 กิโลเมตร) ได้ เมื่อโอโซนสามารถปกป้องมนุษย์มิให้รับแสงอัลตราไวโอเล็ตมากจนเป็นอันตรายได้ ดังนั้น การทำลายโอโซนจะทำให้มนุษย์เป็นมะเร็งมากขึ้น เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ การสร้างเครื่องบิน concorde จำนวนมาก จึงได้ยุติ

    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" bgcolor="#cccccc" valign="top"> </td> </tr> </tbody></table> ความจริงกระบวนการทำลายคุณภาพของบรรยากาศโลกนั้น มนุษย์ได้เริ่มดำเนินการมานานนับแสนปีแล้ว ตั้งแต่วันที่มนุษย์เริ่มรู้จักจุดไฟ และใช้ไฟหุงหาอาหารและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและบ้านเรือน พอในสมัยต่อมาการรู้จักถลุงแร่ ก็ทำให้บรรยากาศโลกมีกำมะถันและมีคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งนี่ก็คือที่มาของฝนกรด และเมื่อ Haagensmit ได้พบว่า ควันเสียที่รถยนต์ปลดปล่อยออกมานั้น จะแปรสภาพเป็น smog ที่เป็นพิษการตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์บรรยากาศก็ได้เกิดขึ้นทันที
    ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมได้ทำให้นักเคมีรู้จักสังเคราะห์สารประกอบพวก CF<sub>2</sub>CL<sub>2</sub> และ CFCL<sub>3</sub> ซึ่งเป็นสารประกอบประเภท chloro fluoro carbon (CFC) สำหรับใช้ในเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น แต่เมื่อ Mario Molina และ F. Sherwood Rowland (สองนักเคมีผู้รับรางวัลโนเบลร่วมกับ Crutzen) ได้พบว่า ก๊าซ CFC สามารถทำลายโอโซนได้เร็วยิ่งกว่า nitric oxide และ nitrogen dioxide เสียอีก การค้นพบนี้ได้ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกหยุดใช้ก๊าซ CFC ในการทำเครื่องปรับอากาศอย่างถาวร
    ในอนาคตอีก 50 ปี เมื่อประชากรโลกมีมากขึ้นถึงหนึ่งหมื่นล้านคน การทำอุตสาหกรรมก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ถ้าผู้คนใช้ชีวิตอย่างคนตะวันตก คือมีรถยนต์ ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ เราก็มั่นใจว่าอากาศจะมีมลพิษมากขึ้น และอุณหภูมิของบรรยากาศโลกก็จะสูงขึ้นด้วย ณ วันนี้นักวิทยาศาสตร์จึงกำลังคิดหาวิธีลดความรุนแรง เนื่องจากภัยพิบัตินี้เช่น ลำเลียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศไปถ่ายทิ้งในทะเล โดยให้สาหร่ายทะเลดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศไปถ่ายทิ้งในทะเล
    โดยให้สาหร่ายทะเลดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ไป และอีกวิธีหนึ่งก็คือ โปรยอนุภาคโลหะให้ลอยเหนือบรรยากาศโลก เพื่อให้ละอองโลหะเหล่านั้น สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไปจากโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่า กระบวนการเหล่านี้คงทำให้โลกเย็นลงบ้าง นั่นคือเรื่องของอนาคต แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนที่สนใจศึกษาสภาพของบรรยากาศในสมัยดึกดำบรรพ์ เพราะคิดว่าการเข้าใจอดีตจะช่วยให้การพยากรณ์อนาคตถูกต้องขึ้น
    ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2545 Tas van Ommen แห่ง Australian Antarctic Division and the Antarctic Cooperative Research Centre ได้รายงานว่า ในการขุดเจาะน้ำแข็งลงไปลึก 1.2 กิโลเมตร ที่ Placer Dome ในทวีปแอนตาร์กติกาเป็นเวลานาน 15 ปี เขาและคณะได้พบว่า น้ำแข็งที่ขุดได้มีข้อมูลบรรยากาศย้อนหลังไปถึง 90,000 ปี การวิเคราะห์ฟองอากาศที่แฝงอยู่ในเกล็ดน้ำแข็ง ทำให้เขารู้ว่า บรรยากาศเหนือทวีปแอนตาร์กติกาได้เปลี่ยนไปมาก ก้อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศเหนือ Greenland ทางขั้วโลกเหนือถึง 500 ปี ซึ่งนับว่าขัดแย้งกับความเชื่อเก่าๆ ที่ว่า ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแถบขั้วโลกเหนือก่อน แล้วเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนั้น จึงได้เหนี่ยวนำให้บรรยากาศเหนือขั้วโลกใต้เปลี่ยนแปลงบ้าง
    ดังนั้น ข้อมูลที่คณะนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยชาวออสเตรเลียน และชาวฝรั่งเศสชุดนี้ได้ จึงพิสูจน์ว่าทวีปแอนตาร์กติกามีบทบาทในการควบคุมสภาพความเป็นอยู่ของบรรยากาศโลก หรือไม่นั้นก็บรรยากาศเหนือทวีปทั้งสอง มิได้มีอิทธิพลใดๆ ต่อกันและกันเลย
    ในอดีตเมื่อ 2,340 ปีก่อนนี้ Aristotle ได้เคยเขียนตำราชื่อ Meteorlogica เกี่ยวกับลมและเมฆ และมนุษย์ได้ใช้ตำราเล่มนี้นานร่วม 2,000 ปี จึงรู้ในเวลาต่อมาว่าผิด ณ วันนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามเข้าใจธรรมชาติของบรรยากาศให้ดีขึ้น และก็ได้รู้ว่าการจะรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาต้องอาศัยความรู้ด้านทะเล ทวีปน้ำแข็งและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เขาจึงจะสามารถทำนายและขจัดภัยที่บรรยากาศโลกจะสร้างขึ้นได้

    http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/atmosphere.html

     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ภูเขาน้ำแข็ง

    พุ่งไปทำลายก๊าซโอโซนที่มีหน้าที่ปกป้องมนุษย์ให้ปลอดภัยจากแสงอัลตราไวโอเล็ต และการค้นพบนี้เองที่ทำให้นานาชาติประกาศห้ามใช้ก๊าซ CFC ในอุตสาหกรรมตู้เย็น และเครื่องทำความเย็นในเวลาต่อมา
    ส่วนนักธรณีวิทยาก็ได้พบหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลา 1 ล้านปีที่ผ่านมานี้ โลกได้ผ่านยุคน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งปกคลุมแทบทุกทวีปถึง 9 ครั้ง และเมื่อสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง น้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปก็ละลายไหลลงทะเล ซึ่งอาจมีผลทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 110 เมตร อนึ่ง ภาวะอากาศที่แปรปรวนตลอดเวลาของโลก ก็มีส่วนทำให้แผ่นน้ำแข็งใหญ่ที่ปกคลุมทวีปแตกตรงบริเวณขอบเป็นก้อนน้ำแข็งใหญ่น้อย ลอยละล่องเป็นภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรได้
    เช่นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2533 ได้มีก้อนน้ำแข็งขนาด 95 x 90 กิโลเมตร และหนา 400 เมตร แตกออกที่บริเวณอ่าว Filcher ของทวีปแอนตาร์กติกา และลอยไปเป็นระยะทางไกลถึง 4,000 กิโลเมตรจึงละลาย และในปี พ.ศ. 2538 โลกก็ได้เห็นภูเขาน้ำแข็งที่มีพื้นที่ 13,000 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่เท่าประเทศไอร์แลนด์ลอยอยู่ในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาเช่นกัน การศึกษาการเคลื่อนที่ของภูเขาน้ำแข็งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ทิศทางการไหลของกระแสน้ำในมหาสมุทรได้ดี เพราะภูเขาน้ำแข็งขนาดเล็กมักเคลื่อนที่โดยอิทธิพลของกระแสน้ำที่ผิวมหาสมุทร แต่ภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่จะถูกกระแสน้ำใต้มหาสมุทรพัดพา การสำรวจเส้นทางการลอยของภูเขาน้ำแข็งก้อนนี้แสดงให้เห็นว่า ภายในเวลา 2 ปี มันได้ลอยถึงเกาะ Falklands ของอังกฤษในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ และได้แตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งลูกเล็กๆ 4 ลูก จึงไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อการสัญจรของเรือเดินสมุทรในบริเวณนี้ และในที่สุดก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ก็ได้ลอยถึงเส้นละติจูดที่ 36 องศาใต้ มันจึงละลายสลายตัวไปหมด
    และเมื่อเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2543 ก็มีรายงานอีกว่า ได้มีภูเขาน้ำแข็งขนาด 100 x 110 กิโลเมตร แตกตัวออกมาจากทวีปแอนตาร์กติกาตรงบริเวณทะเล Ross และอีก 2 เดือนต่อมาที่บริเวณแหลม Ninnis ก็มีภูเขาน้ำแข็งขนาด 35 x 40 กิโลเมตร ลอยอยู่เช่นกัน
    คำถามที่มีนักวิทยาศาสตร์ต้องการคำตอบอย่างเร่งด่วนก็คือ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดภูเขาน้ำแข็ง ใช่ปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือไม่อย่างไร และเหตุใดภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาจึงมีขนาดใหญ่กว่าภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติกามาก
    ซึ่ง T.A. Scambos แห่ง National Snow and Ice Data Center ที่เมือง Boulder รัฐ Colorado ของสหรัฐอเมริกาก็ได้เสนอคำตอบว่า ตามปกติอุณหภูมิของอากาศในทวีปนี้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมาก และอุณหภูมิในหน้าร้อนก็ไม่เกินศูนย์องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำเช่นนี้ไม่น่าจะใช่สาเหตุที่ทำให้น้ำแข็งละลาย ดังนั้น อุณหภูมิคงไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดภูเขาน้ำแข็งและ Scambos คิดว่ากระแสน้ำในมหาสมุทรคงเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งด้วย
    การติดตั้งอุปกรณ์ศึกษาสภาวะอากาศและธรณีวิทยาของสถานที่ต่างๆ บนทวีปแอนตาร์กติกา ได้พบว่า แผ่นน้ำแข็งในบางบริเวณมีรอยแตกร้าวเป็นทางยาว และโดยการอาศัยดาวเทียมในการถ่ายภาพ นักวิทยาศาสตร์ก็จะรู้โดยประมาณว่า รอยร้าวจะแตกอย่างสมบูรณ์เมื่อไรเช่นเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2544 ภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียม Landsat 7 ได้ชี้ให้นักวิทยาศาสตร์เห็นรอยแตกของน้ำแข็งเป็นทางยาวถึง 25 กิโลเมตร และกว้าง 400 เมตร ซึ่งก่อนนี้น้ำแข็งในบริเวณนี้ไม่มีรอยแตกร้าวเลย และภาพถ่ายในเวลาต่อมาก็แสดงให้เห็นอีกว่า รอยแตกได้ขยายออกไปถึงวันละ 13 เมตร ตัวเลขนี้ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าในอีก 12-18 เดือน โลกจะมีภูเขาน้ำแข็งที่ยาว 40 กิโลเมตร กว้าง 20 กิโลเมตร และหนา 400 เมตร เพิ่มอีกหนึ่งลูก
    ในที่ประชุมของ American Geophysical Union เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 L. Hulbe แห่ง Goddard Space Flight Center ได้เสนอสาเหตุของการเกิดภูเขาน้ำแข็งว่า เมื่ออุณหภูมิที่ผิวบนของก้อนน้ำแข็งสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งจะละลายเป็นน้ำ ทำให้เกิดแอ่งน้ำขนาดใหญ่บนก้อนน้ำแข็ง ซึ่งจะสร้างความกดดันมหาศาลให้กับก้อนน้ำแข็ง ในขณะเดียวกันปรากฏการณ์ La Nina ที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตรมีอุณหภูมิต่ำเมื่อไหลมาปะทะน้ำในมหาสมุทรแอนตาร์กติกา ก็ได้ทำให้อุณหภูมิลดต่ำด้วย แต่ปรากฏการณ์ El Nino ที่ทำให้น้ำในแปซิฟิกร้อนขึ้น เมื่อไหลถึงทะเลรอบทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้ทำให้อุณหภูมิของน้ำแข็งกลับสูงขึ้นไปอีก ความปรวนแปรของอุณหภูมิน้ำแข็งและการไหลของกระแสน้ำใต้มหาสมุทร ทำให้เกิดแรงเครียดในก้อนน้ำแข็ง ซึ่งมีผลทำให้น้ำแข็งแตกตัวจากทวีปน้ำแข็งเป็นภูเขาน้ำแข็งในที่สุด
    อนึ่ง รายงานล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่า ภูเขาน้ำแข็งปี 2543 ขณะนี้ได้ไปเกยตื้นอยู่ใกล้เกาะ Ross การมีขนาดใหญ่อาจทำให้ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้คงสภาพอยู่ได้นานเป็นปี ซึ่งก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ แก่เรือสัญจร เพราะกัปตันเรือสามารถจะเห็นมันได้แต่ไกล แต่ถ้าภูเขาน้ำแข็งมีขนาดเล็กและลอยเหนือน้ำไม่มากนัก กรณี Titanic 2 ก็มีสิทธิเกิดได้อีก
    <hr size="1" width="200">
    เมื่อธารน้ำแข็งละลาย

    ธารน้ำแข็ง (glacier) คือแม่น้ำที่น้ำเป็นน้ำแข็งและ “ไหล” จากยอดเขาสูงผ่านหุบเหว นำหิมะ น้ำและน้ำแข็งสู่พื้นที่ต่ำกว่า โดยอาศัยอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของโลก ตามปกติธารน้ำแข็งจะสลายโดยการระเหย และละลายของน้ำแข็ง ถ้ากระบวนการระเหยของธารน้ำแข็งมีปริมาณที่มากพอๆ กับการจับตัวแข็งของน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งนั้นก็อยู่ในสภาวะสมดุล คือธารจะเลื่อนไหลลงมาได้เล็กน้อย หรือถดถอยกลับขึ้นไปได้เล็กน้อยเช่นกัน แต่ถ้าธารอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล การคืบคลานของน้ำแข็งก็จะเกิดตลอดเวลา จนธารน้ำแข็งคืบคลานถึงน้ำทะเล การสัมผัสกับน้ำทะเลจะทำให้แผงน้ำแข็งแตกตัว และก้อนน้ำแข็งที่แตกแยกจากธารน้ำแข็งก็จะลอยละล่องไปในทะเลเป็นภูเขาน้ำแข็งต่อไป อนึ่งน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งตามปกติ ผู้คนมักเชื่อว่าเป็นน้ำจืดที่บริสุทธิ์ แต่งานวิจัยของ Gerald Kuzyk ที่ได้กระทำไปเมื่อ 5 ปีก่อนนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า น้ำแข็งที่ละลายเป็นน้ำจืดจริง แต่ไม่บริสุทธิ์กว่าที่ควร ถึงกระนั้นน้ำจืดดังกล่าวก็มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทะเล ดังนั้น มันจึงลอยเหนือน้ำทะเลเป็นบริเวณสถานอาศัยของฝูงปลาโลมา และแมวน้ำต่อไป
    เหตุการณ์ละลายของธารน้ำแข็ง จึงทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปร่างฝั่งทะเลของโลกด้วย
    ถึงแม้โลกได้ผ่านยุค Pleistocene เมื่อ 14,000 ปีก่อนแล้วก็ตาม แต่ขณะนี้บริเวณยอดเขาสูงทุกยอดของโลกก็ยังมีธารน้ำแข็งมากมาย ทั้งใน Alaska แคนาดาและขั้วโลก หลักฐานทางธรณีวิทยาเท่าที่ปรากฏได้แสดงให้เห็นว่า ในระยะเวลา 200 ปีที่ผ่านมานี้ ธารน้ำแข็งทั่วโลกได้ละลายเช่น ธารน้ำแข็งในสวิตเซอร์แลนด์ได้ลดปริมาตรลงโดยเฉลี่ยแล้วถึง 30% และเมื่อโลกกำลังร้อนขึ้นๆ ทุกปี ผู้เชี่ยวชาญเรื่องธารน้ำแข็งของโลกจึงเชื่อว่า อัตราการละลายของธารน้ำแข็งก็จะเพิ่มทุกปีด้วย
    ตามปกติเวลาธารน้ำแข็งละลายจะไม่มีใครใดสนใจ เพราะการละลายจะเป็นไปทีละน้อยๆ จนแทบไม่มีใครสังเกตเห็น แต่ในปี พ.ศ. 2540 ในขณะที่ Gerald Kuzyk กำลังเดินสำรวจยอดเขาสูงที่มีหิมะปกคลุม ในแถบ Yukon ของแคนาดา เขาได้กลิ่นมูลของกวาง caribou เพราะเหตุว่าในดินแดนแถบนั้น ไม่มีใครเคยเห็นกวางพันธุ์นี้มานานเป็นศตวรรษแล้ว Kuzyk จึงเดินตามกลิ่นและได้พบบริเวณที่มีมูลกวางพันธุ์ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร การสำรวจสถานที่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา ได้ทำให้ Kuzyk พบซากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก หนู หอกและศรที่มนุษย์ในสมัยโบราณใช้การวัดอายุของซากสัตว์ และอุปกรณ์เหล่านี้โดยเทคนิคคาร์บอน-14 แสดงให้ Kuzyk รู้ว่า วัตถุบางชิ้นมีอายุมากถึง 8,300 ปี
    ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า การละเลยของธารน้ำแข็งได้เปิดเผยชีวิตโบราณของสัตว์ พืช อารยธรรมของมนุษย์ในอดีต สภาพอากาศและพันธุกรรมของชีวิตในอดีตให้โลกเห็น เพราะเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ติดอยู่บนซากเหล่านั้น มี DNA ที่ยังคงมีสภาพดีอยู่ และเมื่อเรารู้อยู่แก่ใจว่าบนโลกนี้ เราจะหาซากของสิ่งมีชีวิตที่มีอายุ 8,000-10,000 ปี ได้ยาก ดังนั้น การพบซากวัตถุที่มีอายุมากจึงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับวงการวิชาการ และนี่ถือเป็นผลดีประการหนึ่งของการมีปรากฏการณ์เรือนกระจกและเพราะเหตุว่าวัตถุที่พบในบริเวณธารน้ำแข็ง เวลาถูกอากาศร้อนมันจะเน่าและสลายง่าย ดังนั้น นักชีววิทยา นักโบราณคดี และนักมนุษยวิทยาจึงจำต้องอนุรักษ์มันก่อนจะทำการทดสอบใดๆ
    เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 M. Dyurgerov แห่งมหาวิทยาลัย Colorada ได้รายงานว่า ขณะนี้ธารน้ำแข็งทั่วโลกกำลังสูญเสียน้ำแข็ง โดยเฉลี่ยประมาณ 90 ลูกบาศก์กิโลเมตร/ปี และธารน้ำแข็งบางสายก็กำลังละลายมาก จนขอบธารได้ถดถอยกลับขึ้นไปปีละหลายเมตร โดยเฉพาะธารน้ำแข็งบนยอดเขา Kilimanjaro ในแอฟริกาที่มีหิมะปกคลุมตลอดปีนั้น Dyurgerov คิดว่า มันคงละลายหมดในอีก 13 ปี
    ในสมัยก่อนคนทั่วไปและแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็เคยคิดว่า ในธารน้ำแข็งจะมีก็แต่น้ำแข็งหิมะและก้อนหินเท่านั้น แต่ปัจจุบัน Kuzyk ก็ทำให้เราประจักษ์แล้วว่า ธารน้ำแข็งให้โลกมากกว่าน้ำแข็งและน้ำ เพราะเราอาจพบซากสัตว์ พืช และมนุษย์ด้วย ดังนั้น น้ำแข็งในธารน้ำแข็ง จึงเป็นสถานที่หนึ่งที่เราสามารถขุดหาซากสิ่งมีชีวิตโบราณได้มากมาย
    เพราะนับตั้งแต่วันที่ Kuzyk ได้พบซากสัตว์ในธารน้ำแข็งแล้ว การสำรวจธารน้ำแข็งในบริเวณอื่นที่มีชั้นน้ำแข็งหนาน้อยกว่า 50 เมตร และกว้างใหญ่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ก็ได้กระทำกันมากขึ้น และก็ได้พบกระดูกหนังสัตว์มูล และอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างมากมาย ทั้งนี้เพราะเวลามนุษย์เดินทางข้ามธารน้ำแข็งเพื่อผจญภัย ล่าสัตว์ ขุดทองหรือค้าขาย การประสบพายุหิมะ และอุบัติเหตุอาจทำให้นักเดินทางเหล่านั้นอดอาหารจนหนาวตายได้ ดังนั้น ถ้าเราจะกล่าวในภาพรวมแล้ว วัตถุทุกชนิดที่นักวิชาการเก็บได้จากธารน้ำแข็งมีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้นเช่น กรณีของมูลกวาง caribou ก็ได้ให้ข้อมูลที่แสดงให้นักชีววิทยารู้ว่า มันกินพืชชนิดใด ข้อมูลนี้ทำให้นักชีววิทยารู้อีกว่า เมื่อครั้งที่กวางถ่ายมูลนั้น ในบริเวณนั้นมีพืชชนิดใดขึ้นอยู่บ้าง และการศึกษาเรื่องนี้ก็ได้ทำให้นักชีววิทยาพบว่า กวาง caribou ในอดีตกินหญ้ามอส และใบไม้มากกว่ากวาง caribou ปัจจุบัน งานวิเคราะห์ขั้นต่อไปคือการศึกษา DNA ของซากกวางพันธุ์นี้ เพื่อเปรียบเทียบกับ DNA ของกวางปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ากวางปัจจุบันเป็นทายาทของกวางในอดีต หรือไม่เป็น
    การรู้คำตอบชัดจะเป็นประโยชน์มาก เพราะนักชีววิทยาหลายคนเชื่อว่า กวางพันธุ์นี้สูญพันธุ์เป็นระยะๆ ที่ดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง อนึ่งการพบซากกระดูกของแกะ แพะ ภูเขา นก และแม้แต่วัว bison ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจ เพราะไม่มีใครเคยคิดว่า จะมีวัวพันธุ์นี้อาศัยอยู่บนภูเขาสูงเช่นนั้น
    การพบเห็นอุปกรณ์ที่มนุษย์โบราณใช้ ก็ให้ข้อมูลที่ทำให้เรารู้วิธีล่าสัตว์ของผู้คนในสมัยนั้นเป็นอย่างไร เช่นเมื่อมีการพบหอกที่ยาว 2 เมตร และมีปลายแหลมที่ทำด้วยเขากวาง การวัดอายุของหอกทำให้เรารู้ว่า มนุษย์ที่เคยอาศัยอยู่บนแคว้น Whitehorse ของแคนาดาเคยใช้หอกด้ามนั้น เมื่อ 7,300 ปีก่อนนี้ อนึ่งการพบอาวุธที่พรานเคยใช้ล่าสัตว์ ได้ทำให้นักประวัติศาสตร์สามารถตัดสินใจได้ว่า มนุษย์ในทวีปอเมริการู้จักใช้ศรและธนูเมื่อใด เพราะนักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า มนุษย์รู้จักใช้ศรยิงธนูนานประมาณ 10,000 ปีแล้ว แต่การพบศรและธนูในธารน้ำแข็งแสดงให้เห็นว่า มนุษย์อเมริกันรู้จักใช้ศรและธนู เมื่อ 1,300 ปีก่อนนี้เอง
    อนึ่งในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการขุดพบซากศพของคนในธารน้ำแข็งที่อยู่ทางตอนใต้ของ Yukon ในแคนาดาด้วย ศพที่พบสวมเสื้อที่ทำด้วยหนังกระรอก และสวมหมวก ในมือถือมีดโลหะและมีซากปลาแห้งเป็นเสบียงอาหาร สภาพศพแสดงให้เห็นว่า ชายคนที่เสียชีวิตนี้มีอายุประมาณ 20 ปี และเคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 550 ปีก่อนนี้เอง ขณะนี้ขั้นตอนการทดสอบ DNA ของชายคนนี้กำลังดำเนินอยู่ และก็เป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นบรรพบุรุษของใครคนหนึ่งคนใดที่กำลังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ได้
    ณ วันนี้ ไม่มีใครมั่นใจได้ว่า ธารน้ำแข็งของโลกจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกนานเพียงใด และนั่นก็หมายความว่า ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่มันเก็บอยู่ขณะนี้ จะคงสภาพได้อีกนานเท่าใดก็ไม่มีใครรู้ แต่ความจริงประการหนึ่งที่ทุกคนรู้ก็คือ เวลาน้ำแข็งละลาย ซากวัตถุหากเป็นซากของสิ่งมีชีวิตจะเน่าสลายในเวลาไม่นานและเหล่าฝูงนก กาที่หิวโหยจะมาแทะกินซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจนหมดก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะพบเห็นมัน ถึงแม้ซากเนื้อนั้นจะไม่น่าทึ้งเพราะเหี่ยวยานและมีอายุนานถึง 8,000 ปีก็ตาม
    เมื่อความเป็นไปได้นี้สามารถเกิดได้ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงกำลังเร่งหาธารน้ำแข็งที่มีแนวโน้มจะละลายก่อน โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมวัดความหนาของชั้นน้ำแข็งและอัตราการละลายของน้ำแข็ง ตลอดจนตรวจหาแหล่งแร่หินหรือสถานที่ที่มีวัตถุโบราณฝังอยู่เช่น เมื่อฤดูร้อนของปีกลายนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เฮลิคอปเตอร์บินสำรวจธารน้ำแข็งในสวนสาธารณะ Wrangell-St. ที่ Alaska และก็ได้พบซากแกะ กวาง นก ปลา และอุปกรณ์ที่คนขุดทอง เมื่อ 100 ปีก่อนทิ้งไว้ ซึ่งเวลานั้นเป็นยุคที่มีการตื่นทองในแคนาดา
    ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่าการละลายของธารน้ำแข็ง จะให้ข้อมูลทั้งด้านโบราณคดี ชีววิทยาและประวัติศาสตร์แก่มนุษย์ และข้อมูลเหล่านี้ก็จะทำให้เรารู้ว่า เวลาใครชวนดื่มน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็ง โดยเหตุผลที่ว่ามันบริสุทธิ์หมดจดแล้วเราก็ควรรู้ว่า เราจะได้ดื่มอะไรต่อมิอะไรที่มากกว่าน้ำครับ



    http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/ecology.shtml
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    วิวัฒนาการของโลก (Evolution of the Earth)...
    ...
    แนวคิดทางธรณีวิทยาสมัยใหม่เชื่อว่าวิวัฒนาการของโลกแบ่งออกได้เป็นขั้นต่างๆ 5 ขั้นด้วยกันได้แก่ ขั้นแรกเริ่ม ขั้นก่อเหล็ก ขั้นแยกชั้น ขั้นเกิดใหม่ และขั้นเย็นตัวลง
    1.
    ขั้นแรกเริ่ม(Initial Stage)หรือขั้นรวมตัวแบบเนื้อเดียว(homogenized conglomeration stage) ช่วงนี้กินระยะเวลาประมาณ 1 พันล้านปีหลังจากโลกเกิด โดยเริ่มจากการรวมตัวของเศษดาวเคราะห์(planetesimal) เมื่อประมาณ 4.7 พันล้านปีมาแล้ว
    ...
    โดยในระยะแรกจะเป็นการรวมตัวกัน(conglomeration)เฉยๆ ไม่มีการแยกพวก(sorting) อันได้แก่สารประกอบซิลิกา เหล็ก และแมกนีเซียม ออกไซด์ และธาตุอื่นๆ ในตอนแรกนี้เชื่อว่าเศษดาวเคราะห์คงมีอุณหภูมิไม่มากนัก แต่ต่อมาจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ในขณะที่เกศษดาวเคราะห์ เกิดการรวมตัวกันจะเกิดพลังงานความร้อนขึ้นเนื่องจากอิทธิพลการชนกัน แม้ว่าพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะแผ่กลับไปในอวกาศ แต่บางส่วนก็จะถูกกักเก็บไว้ในขณะที่เกิดเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ การเพิ่มขึ้นของอุหภูมิแรกเริ่มขึ้นอยู่กับมวลสาร ความเร็วอุณหภูมิของเศษดาวเคราะห์ และอัตราการสะสมพอกตัว(accretion)
    ...
    ถ้าหากอัตราการสะสมมากขึ้น การสะสมพลังงานในรูปของความร้อนจะเกิดขึ้นได้มาก เนื่องจากมีสารเกิดใหม่มาพอกเอาไว้ก่อนที่ความร้อนจะสูญเสียไปในอวกาศ ด้วยความร้อนที่ถูกกักเก็บนี่เองทำให้อุณหภูมิภายในโลกเราเพิ่มมากขึ้น
    ...
    การอัดตัวเป็นสาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้ เหมือนอย่างความร้อนที่เกิดในกระบอกสูบ ขณะที่เราออกแรงสูบยางรถจักรยาน ซึ่งก็เป็นเพราะเราออกแรงอัดอากาศอย่างเร็วเกินกว่าที่ความร้อนจะแพร่กระจายออกไปได้ทัน นักธรณีฟิสิกส์เชื่อว่าความร้อนที่ได้จากการสะสมพอกตัวและการอัดตัวของสารนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในโลกสูงถึง 1000 ซ.
    ...
    การเกิดกัมมันตรังสี(radioactivity) ขึ้นภายในดาวเคราะห์แรกเริ่ม ธาตุบางตัวเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วสามารถสลายตัวทำให้เกิดความร้อนได้ เช่น U, Th และ K แม้ว่าปริมาณของธาตุดังกล่าวจะไม่มากนัก (วัดเป็นหน่วยที่เรียก ppm หรือ part per million หรือหนึ่งในล้านส่วนโดยน้ำหนัก) อะตอมของธาตุเหล่านี้สลายให้อนุภาค He และอีเลคตรอน(electron) เพื่อเปลี่ยนไปเป็นธาตุอีกตัวหนึ่งและจะเกิดพลังงานการเคลื่อนตัวซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นพลังงานความร้อนในที่สุด เมื่อเข้าไปรวมกับสารอื่น

    2.
    ขั้นก่อเหล็ก(Iron Catastrophic Stage)
    เมื่อโลกร้อนขึ้นมาเรื่อยๆ ความร้อนและการสะสมความร้อนมีมากพอที่จะก่อให้เกิดการหลอมละลาย และรวมตัวกันเป็นก้อนของเหล็ก จากการทดลอง พบว่าสารต่างๆมีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิแตกต่างกัน และจะมีจุดหลอมเหลวสูงขึ้นไปตามความลึก (เช่น กรณีของเหล็ก ดูรูป 2.4) และเนื่องจากหินเป็นตัวนำความร้อนที่เลว(poor heat conductor) ประกอบกับการเกิดความร้อนของโลกส่วนใหญ่มาจากการเกิดกัมมันตรังสีของธาตุ จากรูป 2.3 จะเห็นว่าโลกตอนเกิดใหม่ๆ (ณ เวลา 0 ปี) มีอุณหภูมิไม่สูงมากคือประมาณ 1000-12000o (ในช่วงระดับความลึก 200 ถึง <st1:metricconverter productid="2,500 กิโลเมตร" w:st="on">2,500 กิโลเมตร</st1:metricconverter>) พอ 500 ล้านปีต่อมาโลกมีการสะสมความร้อนได้มากขึ้นคือประมาณ 1,500-1800o และเมื่อโลกอายุประมาณ 1 พันล้านปีก็เริ่มปรากฏการณ์หลอมละลายของเหล็กขึ้น สังเกตจากเส้นแสดงการหลอมเหลวของเหล็ก สัมผัสกับเส้นอุณหภูมิของโลกอายุ 1 พันล้านปีพอดี
    ...
    เหล็กที่เป็นธาตุหนักกว่าธาตุอื่นทั่วไปในโลก ในระดับความลึกประมาณ 500-<st1:metricconverter productid="1,000 กิโลเมตร" w:st="on">1,000 กิโลเมตร</st1:metricconverter> ก็จะเกิดการหลอมละลายก่อน (รูป 2.5) เป็นชั้นของการหลอมละลาย รวมตัวเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นมากพอที่จะจมลงไปสู่ใจกลางโลกได้ และเข้าไปแทนที่สารที่เบากว่า ซึ่งอาจมีบางส่วนมีเหล็กปนและเกิดการหลอมละลายเป็นเหล็กมากขึ้น เมื่ออยู่ในความลึกและอุณหภูมิที่พอเหมาะ เหล็กเป็นธาตุสำคัญของโลก(มีปริมาณถึง 1 ใน 3 ของมวลโลก)
    ...
    การหลอมละลายและการจมของเหล็ก ก่อให้เกิดแกนโลกหรือแก่นโลกในสภาพของเหลว(liquid core) การที่เหล็กเคลื่อนไปสู่แกนโลกย่อมทำให้เกิดพลังงานดึงดูด(gravitational energy) อย่างมาก จึงเกิดความร้อนขึ้นได้ซึ่งเหมือนกับพลังงานจากน้ำตกซึ่งนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ความร้อนจากการเกิดเหล็กแกนโลกน่าจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงถึง 2,000o และทำให้ส่วนต่างๆของโลกเกิดการหลอมละลายได้

    3.
    ขั้นแยกชั้นของโลก(Planetary Differentiation Stage)
    ตอนนี้โลกเราไม่ได้มีเนื้อเดียวเหมือนอย่างตอนที่เกิดมาใหม่ๆ ประมาณหนึ่งในสามของสารจมดิ่งลงสู่ใจกลางโลกและส่วนที่เหลือ ก็อยู่ในสภาพกึ่งหลอมละลาย สารหลอมละลายที่เบากว่าก็จะลอยตัวขึ้น และเย็นตัวกลายเป็นเปลือกโลกแรกเริ่ม(primitive crust) การเกิดแกนโลกอาจจัดได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแยกชั้น(differentiation) แกนโลกที่อยู่ส่วนกลางสุดจะประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเปลือกโลกจะประกอบด้วยสารที่เบากว่าเช่น ซิลิเกตของโซเดียม โปแตสเซียม และแคลเซียม ซึ่งมีจุดหลอมเหลวที่ต่ำกว่า และในชั้นกลางซึ่งเรียกว่า เนื้อโลก(mantle) ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนผสมระหว่างสารในชั้นเปลือกโลกกับแกนโลก กระบวนการแยกชั้นต่างๆของโลก นับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างมาก และเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดเปลือกโลกและทวีปต่างๆ(รูป 2.6) อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการแยกชั้นยังก่อให้เกิดการหลบหนีของก๊าซออก สู่ภายนอกโลก ซึ่งในที่สุดก็จะก่อให้เกิดชั้นของบรรยากาศและมหาสมุทร สำหรับในดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะนั้นปัจจุบันยังหาคำตอบไม่ได้แน่ชัด เนื่องจากข้อมูลมีไม่มากนัก

    4
    ขั้นเกิดใหม่ของโลก(Earth-Reborn Stage)
    หลายคนเชื่อว่าการเกิดเป็นชั้นต่างๆของโลกคงอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3.7 ถึง 4.5 พันล้านปีหรือเฉลี่ยประมาณราว 4 พันล้านปี อันเป็นจุดเริ่มต้นของกาลเวลาทางธรณีวิทยาของโลกเรา (หินอายุเก่าแก่ที่สุดก็อายุประมาณนี้)
    ...
    เนื่องจากหิน(ซึ่งประกอบด้วยสารซิลิเกตเป็นส่วนใหญ่) มีสภาพการนำความร้อนที่เลว การไหลเวียนของความร้อนจากภายในโลก สู่ผิวโลกจึงเป็นอย่างเชื่องช้า ช้าเสียจนทำให้อุณหภูมิภายในโลกสูงขึ้น จวบจนกระทั่งภายในโลกร้อนถึงจุดหนึ่งที่ ทำให้เกิดการหลอมละลาย สารจึงเกิดการเคลื่อนตัวได้ เป็นกระบวนการส่งผ่าน หรือถ่ายเทความร้อนโดยการเคลื่อนตัวของหินเรียก การพาความร้อน(convection) เหมือนอย่างของเหลวและก๊าซ ส่วนไหนที่ร้อนกว่าก็จะลอยตัวสูงขึ้น ส่วนไหนที่เย็นกว่าก็เข้ามาแทนที่
    ...
    เชื่อกันว่ากระบวนการพาความร้อนจะทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นเหตุทำให้โลกเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็ทำให้ชั้นเนื้อโลกเกิดการแข็งตัว แต่ในชั้นแกนโลกยังคงหลอมละลายอยู่ แม้กาลเวลาจะล่องเลยไปกว่า 4 พันล้านปีมาแล้วก็ตาม การพาความร้อนยังเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดความแตกต่างของชั้นต่างๆทางเคมีอีกด้วย และด้วยผลของแรงขับเคลื่อนจากภายในโลกนี่เอง ที่ก่อให้เกิดกระบวนการทางธรณีวิทยาใหญ่ๆ เช่น การเคลื่อนตัวของทวีปและพื้นทะเล
    ...
    จะเห็นได้ว่าโลกประกอบด้วยธาตุต่างๆคือ เหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกาและออกซิเจน ประมาณมากกว่า 90% ส่วนเปลือกโลกประกอบด้วยธาตุที่สำคัญคือ ออกซิเจน ซิลิกา อะลูมิ-นัม รวมกันมากกว่า 80% ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหล็กหนักกว่าจึงจมลงไปสู่แกนโลก โซเดียม อะลูมินัม ซิลิกา คัลเซียม โปตัสเซียม เบากว่าหลายเท่าจึงมาสะสมตัวบนชั้นเปลือกโลก
    ...
    อันที่จริงกระบวนการแยกชั้นมิได้ก่อให้เกิดการกระจายตัว ของธาตุโดยน้ำหนักไปตามความลึก เพียงอย่างเดียว แต่ยังก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นแร่หรือสารประกอบบางอย่างด้วย ซึ่งเชื่อว่าคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพของสารประกอบเช่นจุดหลอมเหลว ความสัมพันธ์ทางเคมีและความถ่วงจำเพาะ จะเป็นตัวการก่อให้เกิดการกระจายตัวของธาตุมากกว่า สารรประกอบของซิลิเกตจำพวก Na, Ca, และ K (แร่ feldspar) มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ (700o -1,000oซ) เมื่อหลอมละลายแล้วจะเบา จึงเชื่อว่าน่าจะเคลื่อนตัวเข้ามาสู่ผิวโลกและสะสมตัวในชั้นเปลือกโลก โดยการพาความร้อนได้โดยง่าย และนี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแร่ feldspar จึงพบอยู่มากมายบนเปลือกโลก ส่วนชั้นเนื้อโลกประกอบด้วยซิลิเกตของ Fe และ Mg ซึ่งมีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่าและหนักกว่า จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อโลก นักธรณีฟิสิกส์และนักศิลาวิทยาจึงเชื่อว่าแร่สำคัญในชั้นเนื้อโลกคือ แร่โอลิวีน(Olivine, Mg2 SiO4 - Fe2 SiO4) และแร่ไพลอกซีน(Pyroxene, Mg SiO3 - Fe SiO3)

    5.
    ขั้นเย็นตัวลง(Engine-down Stage)
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    ในช่วงตอนแรกเริ่มของโลก ธาตุกัมมันตรังสีมีการกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในโลกและเป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มอุณหภูมิให้โลกร้อนขึ้น จนเกิดการสะสมตัวของชั้นเหล็กในแกนโลก พอเกิดการเคลื่อนตัว ของสารกึ่งหลอมเหลวในโลกแล้ว ธาตุกัมมันตรังสีเหล่านี้ก็มาสะสมตัวในชั้นของเปลือกโลกในรูปของออกไซด์และซิลิเกต (สารประกอบระหว่าง Si กับ O) การถ่ายเทความร้อนของโลกเราจึงเป็นได้อย่างรวดเร็วเพราะแร่ธาตุกัมมันตรังสีพวกนี้อยู่ไม่ลึกนักจากผิวโลก

    6.
    การเกิดทวีป ทะเล และบรรยากาศ(Formation of Continents, Oceans and Atmosphere)
    นักธรณีวิทยาหลายคนเชื่อกันว่าการเกิดทวีปนั้น มีผลมาจากอิทธิพลของการระเบิดของภูเขาไฟหินละลาย ที่มาจากส่วนที่ลึกลงไปจากผิวโลก(เนื้อโลกในสมัยนั้น) ได้แผ่ปกคลุมพื้นผิวโลกและแข็งตัวเป็นชั้นของเปลือกโลกบางๆ การระเบิดของภูเขาไฟคงจะเกิดต่อเนื่องตามจุดต่างๆของผิวโลกเป็นระยะเวลานาน จนได้ชั้นของเปลือกโลกที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Fe, Mg, Si และ O เรียกเปลือกโลกส่วนนี้ว่าเปลือกโลกส่วนมหาสมุทรหรือเปลือกสมุทร(Oceanic Crust) เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่พบอยู่ใต้พื้นทะเล และจากการที่มี Mg และ Si เป็นองค์ประกอบหลักจึงเรียก SIMA (ไซมา มาจาก Silicon และ Magnesium)
    ...
    ขบวนการผุพัง(weathering) โดยน้ำฝนและบรรยากาศ ทำให้หินที่ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การเกิดตะกอน(sediments) เกิดการกัดกร่อน(erosion) การพัดพา(transportation) และการสะสมตัว(deposition) ของตะกอนเหล่านี้ในที่ต่ำๆ ของเปลือกโลกหรือผิวโลก ตะกอนต่างๆเหล่านี้คงจะสะสมตัวกันจนเป็นหินตะกอนที่เป็นชั้นหนา ส่วนใต้สุดของตะกอนในแอ่งตะกอน(sedimentary basin) นี้ อาจได้รับความร้อนจากส่วนใต้โลกลึกลงไปและความกดดันจากน้ำหนักของตะกอนข้างบนทำให้หินตะกอนเกิดการหลอมละลายเกิดเป็นหินชนิดใหม่ขึ้นที่มีส่วนประกอบค่อนไปในลักษณะที่มีปริมาณ Si และ Al เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะได้เป็นชั้นของเปลือกโลอีกชั้นหนึ่งที่อยู่ข้างบนชั้นเปลือกโลกส่วนมหาสมุทรอีกที เนื่องจากเปลือกโลกส่วนนี้พบเห็นอยู่บนทวีปเป็นส่วนใหญ่จึงเรียกว่าเปลือกโลกส่วนทวีปหรือเปลือกทวีป(continental crust) และเนื่องจากส่วนประกอบส่วนใหญ่ประกอบด้วย Si และ Al จึงเรียกเปลือกโลกส่วนนี้อีกชื่อหนึ่งว่า SIAL (ไซแอล มาจาก Silicon กับ Alumina) จากข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่า เปลือกโลกส่วนมหาสมุทรประกอบด้วยหินบะซอลท์เป็นส่วนใหญ่จึงเรียกเปลือกบะซอลท์(basaltic crust) และเรียกเปลือกโลกส่วนทวีปว่าเปลือกแกรนิต(granitic crust) เนื่องจากประกอบด้วยหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่
    ...
    สำหรับการเกิดทะเลและมหาสมุทรนั้น น่าจะมาจากกระบวนการเดียวกันคือ น้ำมาจากภายในโลกอันเป็นผลิตผลที่ได้จากการแยกชั้นของโลก และขึ้นมาสู่พื้นผิวได้โดยการระเบิดของภูเขาไฟ
    ...
    เมื่อภูเขาไฟระเบิดคงจะพ่นเอา(เศษ)หินหลอมละลาย เถ้าถ่าน ก๊าซ ไอน้ำ และของเหลวอย่างอื่นออกมาในตอนแรกน้ำคงจะสะสมตัวอยู่ในแอ่งเล็กๆ จนในที่สุดเมื่อระเบิดหลายๆครั้งเข้าก็ทำให้แอ่งใหญ่ขึ้น นักธรณีวิทยาหลายท่านยังคงเชื่อว่าในตอนนั้นน้ำคงอยู่ปะปนในสารประกอบหรือแร่บางชนิด เช่นแร่ไมกา(mica) หรือแร่แอมฟิโบล(amphibole) ซึ่งแร่เหล่านี้อาจได้มาจากการระเบิดของ ภูเขาไฟ เมื่อโลกร้อนขึ้นจนเกิดการหลอมละลายบางส่วนของเปลือกโลกและทำให้น้ำในโมเลกุลของแร่เหล่านั้นถูกขับออกมากครั้งเข้าก็สะสมตัวกลายเป็นน้ำทะเลได้

    ...
    ที่มาข้อมูล...หนังสือธรณีวิทยากายภาพ ปัญญา จารุศิริและคณะ
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ถ้านี่คือการล้างโลกจริงๆ..

    อ่านแล้วน่ากลัวจัง แต่ก็ไม่มีอะไร เค้าแค่บอกว่าให้เป็นคนดี พยายามทำความดี

    ฟังหูไว้หูละกันนะ

    แบบว่าไม่ได้ตั้งใจขู่ให้ตกใจแต่ส่งมาให้อ่านกันเล่น ๆ เพราะเค้าเขียนไว้ละเอียดดี
    เค้าลือกันให้แซดในเว็บเกี่ยวกับศาสนาว่า ปี 2549 นี่จะได้เห็นพระศรีอารย์
    ไม่ใช่คนเดียวพูด แต่หลายคนหลายอาจารย์พูด
    เค้าบอกว่าจะเกิดหายนะครั้งยิ่งใหญ่ตั้งแต่ปลายปี 48 นี้
    พูดแบบนี้เมื่อก่อนทุกคนคงว่าบ้า แต่ลองสังเกตุช่วงหลังโลกเรามีแต่ภัยธรรมชาติใหญ่
    ๆ ทั้งนั้น เช่น สึนามิที่คร่าชีวิตคนเป็นแสน หรือพายุเฮอริเคนในอเมริกาก็ดี
    ล้วนเป็นสิ่งที่พวกเราไม่เคยคาดคิดทั้งสิ้น ไหนจะโรคร้ายต่าง ๆ เช่น
    ไข้หวัดนกหรือซารส์ที่ทำให้คนติดกันไปได้ทั้งโลก ไหนจะพวกวินาศกรรมก่อการร้ายอีก
    อืม เรื่องนี้แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน ใครไม่เชื่อก็ไม่ว่ากัน

    ________________________________

    มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า ปลายปี พ.ศ.2548 นี้
    จะเริ่มเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งจะส่งผลให้มีคนตายจำนวนมหาศาล
    ส่วนผู้ที่รักษาศีล 5 ขึ้นไปจะรอด และอีก 5 ปีถัดไปน้ำจะท่วมภาคใต้
    และจะร้ายแรงมากกว่าซึนามิหลายเท่า
    ผู้คนที่รอดชีวิตจำต้องเดินทางขึ้นทางเหนือเพื่อให้พ้นภัย
    โดยระหว่างทางจะพบกับคนนอนตายเกลื่อนกลาดจำนวนมาก

    นี่ไม่ได้แช่งนะ! หากท่านไม่เชื่อ คอยดูปลายปี พ.ศ.2548 นี้ให้ดี
    ใครที่ไม่เคยเข้าวัดก็รีบซะตอนนี้ยังทัน รีบหาของดี วัตถุมงคลติดตัวไว้
    แต่ถ้าเป็นคนมีศีลดีอยู่แล้วก็ยิ่งดี และสุดท้ายให้ฝึกนั่งสมาธิ
    เพราะไม่มีสิ่งใดจะช่วยเราได้นอกจากสมาธิ และผู้ปฏิบัติสมาธิที่ได้อภิญญา
    เรียกว่าให้อยู่ใกล้คนดีเข้าไว้

    และปีหน้า (พ.ศ.2549) พระศรีอารย์
    ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ที่สวรรค์ชั้นดุสิตในตอนนี้ จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์
    (ท่านลงมาเกิดคราวนี้ ไม่ใช่จะมาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะยังไม่ถึงวาระนั้น
    แต่ครั้งนี้ท่านจะมาเกิดเป็นมนุษย์
    เพื่อช่วยให้ผู้คนรอดพ้นจากเหตุการณ์อันเหลือที่มนุษย์จะรับมือได้ไหวครั้งนี้
    เพื่อช่วยให้พ้นจากภัยสงครามครั้งมหึมาที่จะทำให้มีคนตายมหาศาลที่กำลังจะเกิดขึ้น)

    นี่ผมก็ได้เปิดเผยคำพูดของท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง
    ซึ่งความจริงลูกศิษย์ท่านคนหนึ่งบอกว่า อย่าไปบอกใครนะ เดี๋ยวเขาจะหาว่าเราบ้า
    แต่กระผมก็อดที่จะบอกท่านไม่ได้ ผมยอมเป็นคนบ้า ถ้าหากว่าความบ้าของผม
    มันจะสามารถช่วยชีวิตของคนจำนวนมากได้

    หากท่านไม่แน่ใจว่าตัวท่านมีความดีพอที่จะรอดพ้นจากมหาภัยพิบัติครั้งนี้ละก็
    ขอให้หาของดีติดตัวไว้เป็นดี หรือถ้าหาของดีไม่ได้จริง ๆ
    ก็จงทำตัวท่านเองให้เป็นคนดี เพื่อความดีจะได้รักษาตัวของท่านเอง

    หากท่านไม่เชื่อ ก็จงอย่าเพิ่งปฏิเสธ เช่น เชื้อโรคที่ตาเปล่าของเรามองไม่เห็น
    แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามันไม่มี
    เพราะเรามีเครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ที่จะส่องเห็นแล้ว
    ส่วนเรื่องอย่างเช่นสิ่งที่ผมกล่าวไปก่อนหน้า
    เครื่องมือที่จะเห็นก็มีแล้วคือการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ
    แต่อยู่ที่ท่านจะใช้เครื่องมือ
    หรือรู้วิธีใช้เครื่องมือนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่เท่านั้นเอง

    ผมเคยอ่านหนังสือที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเขียนไว้ว่าอีกไม่กี่ร้อยปีจะมีพระมหากษัตริย์ท่านหนึ่งเดินทางจากทางเหนือมาบูรณะวัดท่าซุง
    ซึ่งตอนที่ท่านบอกให้ และขณะนี้ก็ตาม วัดท่าซุงก็ยังเป็นปกติดี
    ประเทศไทยก็ยังปกติดี

    แสดงว่าหลังจากนี้ไม่นานมันต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้วัดท่าซุงร้าง
    ซึ่งปัจจุบันวัดท่าซุึงยังมีคนไปทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม อยู่ไม่ขาดสาย
    แต่จะมีเหตุใดเล่าที่ทำให้เป็นวัดร้างได้ นอกจาก.....
    (อาจจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างชาติอาหรับและอเมริกา
    ซึ่งเป็นชนวนให้เกิดอภิมหาสงครามครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ก็เป็นได้)

    ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่ จงหมั่นทำดี เพื่อรักษาชีวิตรอดเทอญ

    แผ่นดินไทยที่สาบสูญ

    บริเวณที่หายถาวรทั้งแผ่นดิน
    นราธิวาส สตูล พังงา ภูเก็ต หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์
    หมู่เกาะ ตะรูเตา หมู่เกาะทะเลตรัง ตราด เกาะช้าง
    หมู่เกาะทะเลตราด เกาะสมุย เกาะพงัน อ่างทอง ชะอำ

    บริเวณที่เหลือเพียงบางส่วน แต่จะกลายเป็นเกาะเล็กๆ
    เกาะยะลา เกาะปัตตานี เกาะพัทลุง เกาะสิชล-ขนอม
    เกาะหัวหิน เกาะหาดทรายรี-ชุมพร

    บริเวณที่หายเป็นส่วนใหญ่ จะเหลือเพียงบางส่วน
    ยะลา หาดใหญ่ พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี
    นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์
    เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา
    ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สมุทรปราการ อุบลราชธานี
    แผ่นดินริมแม่น้ำโขงตลอดแนว กาญจนบุรี
    ฯลฯ

    ประเทศไทยจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
    ได้แก่พื้นที่ในส่วนภาคกลางอันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
    และบริเวณในส่วนของภาคใต้ที่จะถูกแบ่งออกเป็น 2 เกาะใหญ่ๆ
    ได้แก่
    1. บริเวณตั้งแต่ชุมพรฝั่งตะวันตก ท่าแซะ ระนอง
    สุราษฎร์ธานีฝั่งตะวันตก บริเวณด้านบนของอำเภอพนม
    อ.เทียนชา อ.บ้านนาเดิม นครศรีธรรมราชตอนบน ขนอม

    2. บริเวณตั้งแต่จังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช
    ที่ต่อแดนกับจังหวัดกระบี่ด้านบน ฉวาง ร่อนพิบุลย์ ชะอวด
    จังหวัดตรังด้านตะวันออก จังหวัดพัทลุงด้านตะวันตก หาดใหญ่
    จังหวัดยะลา ด้านตะวันตก

    นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็ก เกาะน้อยที่เกิดขึ้นมาใหม่อีกหลายเกาะ
    ได้แก่เกาะสัต***บ เกาะยะลา เกาะปัตตานี
    เกาะพัทลุง เกาะสิชล-ขนอม เกาะหัวหิน เกาะหาดทรายรี-ชุมพร
    บริเวณที่จะกลายเป็นพื้นที่ติดกับทะเล
    ดินแดนที่จะมีอาณาเขตติดกับทะเล ได้แก่
    สงขลาทางด้านตะวันตก ยะลาทางด้านตะวันออก
    หาดใหญ่ กระบี่ตอนบน ด้านที่ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    และด้านที่ติดกับจังหวัดพังงา
    ตอนกลางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    ตั้งแต่ อ.พนม อ.เคียงซา จรดเขตจังหวัดกระบี่
    ชุมพรด้านใน ท่าแซะ
    ตอนล่างของเมืองประจวบคีรีขันธ์
    และถนนเพชรเกษมฝั่งตะวันออกตลอดแนว
    ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ถนนชลบุรี-ปากท่อ ช่วงสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
    ตัวเมืองแปดริ้ว บ้านค่ายปลวกแดง จ.ระยอง ตัวเมืองจันทรบุรี
    และตลาดท่าใหม่วังน้ำเย็น จรด จ.สระแก้ว
    เหนือเขื่อนเขาแหลมด้านตะวันตก
    กาญจนบุรี ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มุกดาหาร สกลนคร
    นครพนม เลย หนองคาย อำนาจเจริญ
    บ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก
    อุตรดิตถ์ ด้านที่ติดกับประเทศลาว น่าน ด้านตะวันออกตอนล่าง
    บ้านสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะกลายเป็นดินแดนชายฝั่งทะเล !
    ประเทศไทยเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์
    ที่จะได้รับการปกป้อง คุ้มครองรักษาไว้
    ซึ่งจะได้รับความบอบช้ำจากมหันตภัยธรรมชาติน้อยที่สุดในโลก
    และจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำซึ่งมีความเจริญเป็นศูนย์กลางของโลกต่อไป

    เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในต่างประเทศ
    เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ถูกคลื่นยักษ์ที่มาพร้อมกับพายุไซโคลนกระหน่ำ
    ทั้งเกาะจะถูกลบหายไปจากแผนที่โลก

    พิลิปปินส์ ถูกพายุไซโคลนกระแทก
    ก่อนเกิดเหตุจะแลเห็นน้ำทะเลเป็นสีดำหม่นหมอง
    บรรยากาศหดหู่ เวิ้งว้าง
    ไม่นานนักจะเกิดพายุไซโคลนก่อตัวขึ้น
    พายุไซโคลนที่รุนแรง ข้างล่างดูด ข้างบนตี กระแทก
    จนกระทั่งเกาะทุกเกาะจมหายลงไปในท้องทะเล

    ไอแลนด์เหนือและใต้ อากาศหนาวจัด
    อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน
    ในขนะเดียวกันจะถูกคลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำ
    ในขณะที่หนาวจัดนั่นเอง

    ฮ่องกงถูกทะเลคลั่ง น้ำทะเลสูง
    ชินจุงจะหายถาวร
    เกาะสนามบินแห่งใหม่
    จะถูกคลื่นตีแตกหายไปในทะเล
    ในบริเวณแถบนั้นจะเหลือแต่เพียงเกาะเกาลูน
    และประเทศจีนบางส่วนเท่านั้น

    เกาะมาเก๊า เผชิญพายุฝนอย่างหนัก
    รวมทั้งคลื่นยักษ์โหมกระหน่ำ
    จนกระทั่งเกาะทรุดเอียง น้ำทะเลขึ้นสูง
    ยามรุ่งเช้าหลังจากพายุสงบ
    จะเหลือเพียงโบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งกับบาทหลวง
    ที่กำลังสวดมนต์ภาวนาเพียง 3 รูปเท่านั้น

    นิวซีแลนด์ถูกพายุโซนร้อนถล่ม
    ฝนที่ตกลงมาจะมีเม็ดโตเท่าลูกเห็บ
    น้ำท่วมสูงแต่เกาะจะไม่สูญหายถาวร

    สหรัฐอเมริกาจะถูกพายุที่รุนแรงถล่มอย่างหนักหน่วง
    พร้อมทั้งเกิด แผ่นดินไหวฉับพลัน 24 ริกเตอร์
    เป็นระยะเวลานานถึง 8 ชั่วโมง
    ซี่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกนี้
    อเมริกาจะถูกแบ่งออกเป็นสองซีก
    กลายเป็นเกาะ 2 เกาะ
    นิวยอร์กจะทรุดตัวเหลือเพียงบางส่วน
    นอกนั้นจะจมหายลงไปในท้องทะเลจนหมดสิ้น

    ตุรกี แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง 16 ริกเตอร์

    คิวบา จมหายลงไปใต้ทะเล
    ( ห่างจากอเมริกา 10 นาที )
    เกาะสิงคโปร์ หายไปจากแผนที่โลก
    เนื่องจากถูกพายุไซโคลนกระแทกอย่างหนัก

    อินโดนีเซียถูกพายุไซโคลนกระแทก
    จนกระทั่งหายไปจากโลก
    เหมือนเช่นที่พิลิปปินส์
    จะเหลือเพียงเกาะเล็กๆ
    ในส่วนที่เคยเป็นยอดเขาของกรุงจากาต้าเท่านั้น

    เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เกิดน้ำท่วมใหญ่
    แม่น้ำกลายเป็นทะเล
    แผ่นดินซีกตะวันออกจะจมหายไปทั้งหมด
    เกาหลีใต้จะจมหาย

    ประเทศญี่ปุ่นหายไปจากโลก
    ก่อนเกิดเหตุจะมีบรรยากาศเงียบงัน
    วังเวง หดหู่เวิ้งว้าง
    มนุษย์จะเห็นเหตุการณ์ประหลาด
    เมฆสีเทาก้อนใหญ่ 2 ก้อน
    ลอยเคลื่อนตัวเข้าหากัน
    แล้วชนกันแตกกระจายเป็นฝนเม็ดโตๆ
    ใต้ทะเลเกิดคลื่นไซโคลนขยายตัว
    พุ่งเข้าหาหมู่เกาะ
    จะกระแทกทุกเกาะเหมือนล้อมรั้ว
    เกาะทุกเกาะจมหายลงไปในทะเล

    ไต้หวัน เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
    ตอนกลางเกาะถูกแบ่งออกเป็นสองซีก
    จากนั้นจะโดนคลื่นยักษ์กระหน่ำซ้ำเติม
    เกาะทั้งเกาะจะจมหายไป
    แผ่นดินที่สาบสูญ
    สหรัฐอเมริกา
    ( แผ่นดินถูกผ่ากลางหายสาบสูญไปหลายรัฐ
    กลายเป็นเกาะ 2 เกาะ )
    เม็กซิโก ( บางส่วนจะกลายเป็นเกาะ )
    แคนาดา ( จะกลายเป็นหมู่เกาะใหญ่ น้อยมากมาย )
    ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัวเตมาลา เม็กซิโกซิตี้
    เบนนิส ฮอนดูลัส เอลสวาดอร์ นิคารากัว
    คอสตาริก้า ไหหลำ แผ่นดินจีนด้านตะวันออก
    เซี่ยงไฮ้ มาเก๊า พิลิปินส์ ศรีลังกา ฯลฯ

    วิกฤตการณ์เลวร้ายน่าหวาดหวั่นจะบังเกิดขึ้นทั่วโลก
    ความหวาดกลัวไม่จำเป็นจะต้องรับรู้ผ่านหน้าจอทีวี
    เพราะมนุษย์ทุกคนบนโลก
    จะได้รับรู้รสชาติแห่งความกลัวตายทุกคน !!

    มนุษย์ที่รอดชีวิตไปได้จะเข้าสู่ยุคใหม่จะมีจิตใจที่ดีงาม
    และมีอายุขัยที่ยืนยาวจนน่าประหลาดใจ
    มีอารยธรรมเจริญก้าวหน้า
    โดยที่มิได้สร้างเทคโนโลยี่ที่ก่อปัญหา
    ให้กับโลกมากมายเช่นในปัจจุบัน
    นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสื่อสาร
    กับเพื่อนมนุษย์จากต่างดาวได้
    ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันบางคนก็ไม่เชื่อว่า
    สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงก็ตาม

    ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของโลก
    และเป็นประเทศแรกที่มีผู้สร้างยานอวกาศไปท่องจักรวาลได้
    เป็นแห่งเดียวของโลก โดยใช้พลังจิตในการขับเคลื่อน
    โดยที่ไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้
    ให้เกิดพลังงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
    และทรัพยากรธรรมชาติของโลก
    ให้เสียหายอย่างเช่นในปัจจุบัน
    นอกจากนี้ต่อมไพนีล หรือตาที่ 3 ของมนุษย์
    จะถูกฟื้นฟูขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    จนสามารถเข้าถึงสภาวะนิพพานได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต
    ในระยะเวลาไม่นานนัก ( ภายใน 6 ปี )
    พระศรีอริยะเมตไตรยจะเปิดเผยพระองค์
    เพื่อปลอบประโลมสร้างขวัญกำลังใจให้กับมวลมนุษยชาติ
    ที่มีความบอบช้ำทางจิตใจ
    ซึ่งในขณะนี้พระองค์ท่านได้เสด็จลงมาบนโลกมนุษย์แล้ว
    กำลังเป็นสามเณรในพุทธศาสนา
    และพระองค์ได้มาปรากฎที่ประเทศไทยนี่เอง !!

    รายละเอียดของมหันตภัยที่จะเกิดขึ้น
    สถานที่แห่งแรกในประเทศไทย
    ที่จะได้เผชิญกับลาวาร้อนจากไฟใต้โลก
    จะเกิดขึ้นจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดแรกในภาคอีสาน
    ตามรอยต่อของจังหวัดที่ติดกันเป็นแนวยาว
    เริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นแนวแยกของแผ่นดินคดเคี้ยว
    ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    ธารโลหะร้อนจะไหลลามแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้าง
    ข้ามวันข้ามคืนติดต่อกัน
    จากนั้นพายุที่รุนแรงจะนำน้ำมาดับไฟ
    ก่อให้เกิดนำท่วมและโรคร้ายที่จะระบาดอย่างรุนแรง
    จนสุดที่จะเยียวยาได้
    โดยเฉพาะอหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่
    ที่มนุษย์เชื่อว่าได้กำจัดมันจนหมดไปจากโลกนี้แล้ว
    แต่หารู้ไม่ว่ามันกำลังฟักตัว
    และจะมีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าตอนที่ถูกมนุษย์ปราบมันไปตอนนั้นเสียอีก
    ซึ่งมันสามารถคร่าชีวิตผู้รับเชื้อได้ในระยะเวลาเพียงวันเดียวเท่านั้น

    **********************************
    ท้องฟ้ามืดมิด ฝนจะเริ่มตกหนักทั่วโลกอย่างไม่หยุดยั้ง
    น้ำจะเอ่อขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าท่วมแผ่นดินในหลายๆ พื้นที่
    พายุไซโคลนจะพัดกระหน่ำ
    ซึ่งจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 160 กม./ชม.
    พัดผ่านกรุงเทพ ผ่านช่องแม่น้ำเจ้าพระยา
    ตึกแห่งหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา
    ที่อยู่ใกล้กับสะพานกลางเก่ากลางใหม่
    ในย่านฝั่งธนบุรีจะพังทลายลงมา
    จากการโหมกระหน่ำและความบ้าคลั่งของลมพายุ
    มีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้มีไม่ต่ำกว่า 600 คน

    ในเวลาหลังจากนั้นไม่นานนัก
    ตึกสีขาวที่อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามจะพังทลายตามลงมา
    ยอดตึกที่พังทลายจะแลเห็นโผล่เหนือน้ำ
    ให้เห็นเป็นอนุสรณ์ของคราบน้ำตา
    หลังคาบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียงจะปลิวว่อน
    เสาไฟฟ้าจะล้มระเนระนาด ด้วยความรุนแรงของลมพายุ
    ******************************

    ตึกสูงย่านประตูน้ำ ในกรุงเทพมหานคร
    ผนังตึกส่วนหนึ่งจะรูดลงมากองกับพื้น
    ด้วยความรุนแรงของลมพายุที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรง
    จะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียง
    อย่างเหลือที่จะคณานับ
    *******************************

    เทือกเขาตะนาวศรีในเขตจังหวัดราชบุรี จะพังทลายลงมา
    เนื่องจากแผ่นดินไหวที่รุนแรง
    ซึ่งจะเปิดเผยให้เห็นถึงภูเขาไฟที่ซุกซ่อนอยู่
    หลังจากนั้นไม่นานภูเขาไฟลูกแรกในประเทศไทย
    จะระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง
    เสียงดังกึกก้องกัมปนาทดังมาถึงกรุงเทพ
    ธารลาวาจะไหลลงไปยังฝั่งพม่า
    ไม่นานนักระเบิดลูกที่สอง และลูกที่สามก็ตามมา
    ลูกที่สี่ จะรุนแรงอย่างถึงที่สุด
    ซึ่งจะสร้างความอำมหิตให้กับภาคเหนือและภาคอีสานต่อไป
    ********************************

    ณ บ้านกุดฉิม อำเภอหนองเรือ จัดหวัดขอนแก่น
    จะเกิดภูเขาไฟแห่งที่สองระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 คน
    เกิดแผ่นดินไหว และมีลาวาร้อนจากภูเขาไฟ
    ไหลเคลื่อนตัวทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า
    เกิดขึ้นที่บ้านโพธิ์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีผู้เสียชีวิตร่วมพันคน
    เกิดภูเขาไฟระเบิดในจังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างกระทันหัน
    จนยากที่ผู้คนในบริเวณนั้นจะตั้งตัวทัน
    และจะเกิดปรากฎการณ์ที่แปลกประหลาด
    มีจำนวนเด็กและผู้หญิงเสียชีวิตมากกว่าผู้ชาย

    จังหวัดตรัง เกาะทุกเกาะจะจมหายไป
    เนื่องจากลมพายุที่รุนแรงและทะเลคลั่ง
    ที่กลบกลื่นหมู่เกาะให้หลับลึกไปอย่างรวดเร็ว

    สมุทรปราการ จะจมหายลงไปในท้องทะเลครึ่งเมืองอย่างถาวร
    เนื่องมาจากลมพายุที่โหมกระหน่ำ
    บวกกับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำจะท่วมอย่างรวดเร็ว
    และมีสายน้ำเปลี่ยนทิศไหลผ่าเมืองอย่างน่าหวาดกลัว
    ผู้ที่รับบาดเจ็บจากหายนะในครั้งนี้
    จะถูกนำส่งยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
    ที่อยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านสำโรง
    ซึ่งโรงพยาบาลแห่งนี้จะเป็นประตูต้นทาง
    ของกระแสน้ำที่ไหลเปลี่ยนทิศ
    แต่ก็เป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุดของเมืองสมุทรปราการ

    เกาะสมุย จะถูกลบหายไปจากแผนที่โลก
    เนื่องจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
    และเกิดพายุรวมทั้งคลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำ
    จนกระทั่งเกาะทั้งเกาะจมหายลงไปในท้องทะเล
    อย่างไม่มีวันหวนกลับคืน
    ****************************

    เกิดแผ่นดินไหวที่ตัวเมืองบุรีรัมย์ เสียชีวิตทันที 53 คน
    ผู้บาดเจ็บที่เหลือจะเสียชีวิตอย่างมากมาย
    ในระหว่างทางไปโรงพยาบาล

    เกาะปันหยี จังหวัดพังงา เกิดน้ำท่วมสูง
    และพายุที่รุนแรงโหมกระหน่ำ
    เกาะหายสาบสูญอย่างถาวร ผู้คนเสียชีวิตทั้งเกาะ

    เขื่อนบางลาง จังหวัดนราธิวาส ถูกคลื่นจากทะเลซัดกระหน่ำ
    จนกระทั่งเขื่อนแตก น้ำไหลทะลักเข้าท่วมแผ่นดิน
    รวมทั้งน้ำทะเลที่ถาโถมเข้าใส่แผ่นดินอย่างบ้าคลั่ง
    จนกระทั่งไม่มีนราธิวาส หลงเหลืออยู่ในแผนที่โลก

    บ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด ถูกคลื่นยักษ์ไซโคลนกระหน่ำ
    แผ่นดินหายไม่มีเหลือ

    ยะลา ถูกทะเลคลั่งโหมกระหน่ำ น้ำทะเลสูง แผ่นดินหาย
    เหลือเพียงเกาะเล็กๆ เท่านั้น ที่จะมีชื่อเรียกใหม่ว่า“เกาะยะลา”

    จังหวัดสงขลาน้ำท่วมสูง เกาะทุกเกาะจมหาย
    จะเหลือเพียงหาดใหญ่บางส่วนที่น้ำจะไม่ท่วมถาวร
    *************************

    ชลบุรี ชายฝั่งทะเลบางแสน ถูกคลื่นยักษ์ 4-5 เมตร
    ซัดกระหน่ำอย่างรุนแรงจนกระทั่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพังพินาศ
    แต่น้ำทะเลจะไม่ท่วมถาวร

    ฉะเชิงเทรา น้ำจะท่วมถึงสองฝั่งบางปะกง จนถึงฐานหลวงพ่อโสธร

    กระบี่จะถูกพายุพัดกระหน่ำ ผืนดินทางด้านตะวันออกจะหายไป
    ชาวประมง ประมาณ 180 คนจะถูกกลืนหายไปในท้องทะเล

    ชุมพร จะเผชิญพายุฝนที่รุนแรง คลื่นจัด น้ำท่วมสูง
    ศาลกรมหลวงชุมพรจะเหลือไว้เป็นอนุสรณ์ให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์

    อุทยานภูริน นางย่อง สิมิลัน จังหวัดพังงา ถูกคลื่นยักษ์ซัดหาย
    ********************************

    ภูเก็ต ถูกพายุถล่มอย่างบ้าคลั่ง
    จะกระทั่งเกาะทั้งเกาะหายไปจากแผนที่โลก
    มีผู้เสียชีวิตทันทีประมาณ 40,000 – 60,000 คน
    ********************************

    นครศรีธรรมราชน้ำท่วมใหญ่ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 20,000 คน
    พังงา น้ำท่วม แผ่นดินจะถูกกลืนจมหายลงไปในท้องทะเล

    ปัตตานี ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมทั้งจังหวัด
    แต่ วัดช้างไห้ ของหลวงปู่ทวด จะปลอดภัย
    รูปปั้นหลวงปู่ทวดจะแสดงปาฎิหารย์ ลอยน้ำขวางกระแสน้ำเชี่ยว
    น้ำจะแห้ง วัดช้างไห้จะกลายเป็นเกาะกลางน้ำ

    เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์จะพังหลาย กระแสน้ำที่เชี่ยวกราด
    จะทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า มีผู้เสียชีวิตทันที่ประมาณ 200 คน

    เกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างกึกก้องกัมปนาถที่จังหวัดอุตรดิตถ์
    กาญจนบุรี เขื่อนศรีนครินทร์จะมีปัญหา
    น้ำไหลอ้อมเขื่อนท่วมด้านล่างเสียหายบางส่วน
    รวมทั้งน้ำท่วมสูงแผ่นดินหายถาวรครึ่งจังหวัด
    ***************************

    นครราชสีมา เกิดน้ำท่วมใหญ่เป็นประวัติการณ์
    กระแสน้ำจะท่วมสูงจนถึงฐานของอนุเสาวรีย์ย่าโม
    ******************************

    ทุกจังหวัดในประเทศไทยต่างก็ได้รับความบอบช้ำด้วยกันทั้งสิ้น
    จะมากน้อยต่างกันไป บริเวณใดที่มีผู้คนมีศีลธรรมอาศัยอยู่
    อาจได้รับการปกป้อง บรรเทาภัยพิบัติให้เบาบางลงไปได้บ้าง

    ข้อมูลทุกอย่างที่กล่าวมานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
    แต่ระดับความรุนแรงจะไม่เปลี่ยนแปลงแน่นอน
    ดังเช่นภูเขาไฟที่กล่าวว่าจะเกิดในสถานที่หลายแห่งนั้น
    อาจเกิดระเบิดกึกก้องกัมปนาถรวมกันในสถานที่แห่งเดียว
    แต่จะมีความรุนแรงมากกว่าปกติ
    กล่าวคือ อาจมีลาวาจะพุ่งสู่ท้องฟ้าสูงเป็นพิเศษ
    ถึง 6 กิโลเมตร เป็นต้น

    เหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานั้น
    จะมีอยู่วันหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงที่สุด
    คลื่นพลังมหาศาลจากจักรวาลจะกระแทกลงมายังโลก
    เป็นพลังงานที่เกิดจากลมพายุสุริยะ
    อันเนื่องมาจากจุดดับบนดวงอาทิตย์จุดที่ 11

    มนุษย์ทุกคนบนโลก จะได้พบกับเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว
    บรรยากาศช่วงแรกๆ จะรู้สึกหดหู่ เวิ้งว้าง ท้องฟ้าจะวังเวงพิกล
    หลังจากนั้นไม่นานนักลมจะแรงขึ้น แรงขึ้น เสียงฟ้า เสียงลม
    จะแผดเสียงกึกก้องดังที่สุด
    ตั้งแต่เกิดมาจะไม่เคยได้ยินเสียงที่ดังขนาดนี้มาก่อนในชีวิต
    มันเป็นเสียงของมัจจะราชที่จะพิพากษาโลกในด้านความเป็นมนุษย์
    คนชั่วทุกคนจะถูกประหารชีวิต และจะตายอย่างทรมาน
    ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสังคม ผู้นำเศรษฐกิจ ผู้นำลัทธิ ฯลฯ
    ส่วนคนดีจะได้รับการยกเว้นเอาไว้
    ให้ได้ทำความดีโดยไม่มีอุปสรรคต่อไป

    เตรียมตัวรับมือภัยธรรมชาติครั้งใหญ่
    1. ก่อนการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ 15 วัน
    โลกจะเอียงก้มหัวให้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้น้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือละลาย
    จะนำไปสู่เป็นคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าสู่แผ่นดิน (ปัจจุบันเกิดขึ้นแล้ว)
    2. เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ เป็นเวลา 49 วัน ในระหว่างเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน
    3. ฝนตกครั้งใหญ่ทั่วโลก (ระยะชำระล้าง) เป็นเวลา 7 วัน

    ** ระยะเวลาการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงของโลก จะรวมแล้วมีระยะเวลาทั้งสิ้น 56
    วัน**
    ** ใน 3 วันแรกจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ที่ทวีปเอเซียในประเทศที่เป็นอริต่อกัน **

    ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    1. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
    2. พายุถล่ม
    3. แผ่นดินแยก และแผ่นดินไหว
    4. ภูเขาไฟระเบิด
    (จังหวัดทางภาคกลาง 2 ลูก, ภาคเหนือตอนล่าง 3 ลูก, อีกทั้งที่จังหวัดราชบุรี / น่าน
    / แพร่ / อ.ร้องกวาง )
    5. คลื่นยักษ์จากทะเล
    6. โรคระบาดที่สุดจะเยียวยา ได้แก่ VIRUSTERIA , อหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่
    ผู้ได้รับเชื้อจะเสียชีวิตทันที ภายใน 6 วัน
    7. คลื่นเสียงที่รุนแรง
    ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตจะไม่เคยได้ยินเสียงที่ดังขนาดนั้นมาก่อน
    8. อดอยากขาดแคลนอาหาร
    การเตรียมตัว เตรียมปัจจัยเพื่อตนเองและสมาชิกในครอบครัว
    1. เตรียมอาหารและน้ำดื่มไว้ที่บ้านอย่างน้อย 3 - 6 เดือน
    2. เครื่องนุ่งห่มเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย
    ได้แก่เสื้อผ้า กระเป๋าน้ำร้อน ผ้าห่ม ฯลฯ
    เพราะในช่วงเวลานั้นอากาศจะหนาวเย็นยะเยือกจับขั้วหัวใจ
    3. เครื่องใช้ที่จำเป็น
    4. ที่อยู่อาศัย
    5. ยารักษาโรค
    6. ด่างทับทิมและคาราไมล์ (จำเป็นมาก)
    ห้ามกินอาหารที่ไม่ได้ล้างด้วยด่างทับทิม เพราะจะมีทั้งเชื้อโรคและสารกัมมันตรังสี
    ส่วนคาราไมล์ จะมีไว้รักษาโรคทางผิวหนังที่ดูเหมือนจะยากต่อการรักษา
    แต่เมื่อทาคาราไมล์แล้ว จะหายได้อย่างน่าอัศจรรย์
    7. ยานพาหนะ เช่น เรือ เสื้อชูชีพ
    8. เครื่องช่วยชีวิต
    9. แสงสว่าง เช่นเทียน ตะเกียงพายุ (เวลานั้น ท้องฟ้าจะมืดมิด 7 วัน เท่ากับ 1
    ราตรี และจะมืดมิดรวม 7 ราตรี หรือ 49 วัน ไฟฟ้าจะดับทั่วโลก)
    10. เตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

    การดูแลตัวเองในช่วงเวลาวิกฤติ
    1. ห้ามออกนอกบ้านโดยเด็ดขาด ใครมาเคาะประตูบ้านก็ห้ามเปิด
    ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นญาติสนิท หรือคนที่เรารู้จักก็ตาม
    2. ห้ามตากฝน เพราะในฝนจะมีพิษ ทั้งเชื้อโรค สารเคมีที่มนุษย์สร้าง
    3. ห้ามลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องใช้ด่างทับทิมล้างทุกครั้ง
    4. ห้ามเปิดประตูต้อนรับผู้อื่น เพราะช่วงเวลานั้น ประตูมิติของโลกทั้ง 3
    ภพจะถูกเปิดเป็นครั้งแรก ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องผีสาง จิตวิญญาณก็จะได้เห็น
    คนที่มาเยือน อาจเป็นผีเปรต ผีโขมด ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราจำแลงมาก็เป็นได้
    และห้ามอยากรู้อยากเห็นโดยเด็ดขาด
    5. ห้ามกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด
    6. ห้ามกินผักที่ยังไม่ได้แช่ด่างทับทิม
    7. ฝึกการกินน้อย ถ่ายน้อย
    8. ระวังอากาศที่หนาวเย็น
    9. ระวังสัตว์ร้าย สัตว์มีพิษ เช่น งูพิษ จระเข้
    10. ห้ามอยู่ตึกสูงเกิน 3 ชั้น เพราะตึกสูงเกิน 3 ชั้น จะพังทลายราบเป็นหน้ากลอง

    การเตรียมทางจิตวิญญาณ
    1. ชำระกรรมให้เบาบาง ทำได้โดย
    1.1 หยุดโลภ โกรธ หลง
    1.2 ทำจิตให้สงบ เบิกบาน เพราะวันนั้นจะมีผู้ที่เส้นโลหิตในสมองแตก
    เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพราะเสียงที่ดังกึกก้องไปกระตุ้นเส้นเลือดในสมองให้แตก
    ดังนั้นต้องปล่อยวาง ทำจิตให้เป็นบวก จะช่วยได้มาก
    2. มีสำนึกทางจิตวิญญาณ
    3. ฝึกการละวาง
    4. มีสติรู้ตัวตลอดเวลา
    5. ฝึกการทำโมฆกรรม ขออภัยต่อเจ้ากรรมนายเวร หรือผู้ที่เราล่วงละเมิด

    การดูแลแก่นแท้ยามมีภัย
    1. ได้ยินเสียงใด ให้ละวางเสียงนั้น / รู้เห็นสิ่งใด ให้ละวางสิ่งนั้น
    ต้องไม่รับรู้ ไม่รับเห็น ไม่รู้ ไม่ชี้
    ไม่ว่าจะได้ยินเสียงคนข้างบ้านร้องเพราะกำลังจะตาย หรือได้ยินเสียงใดที่น่าหวาดกลัว
    ต้องได้ยินแล้วผ่านเลยไป
    ถ้าหากละวางไม่ได้ จะเกิดอาการ “ตายก่อนตาย” (รู้ว่าตนเองจะต้องตายแน่ๆ
    หรือการตายทั้งเป็น)
    2. ยอมรับให้ได้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องมีสติตลอดเวลา
    3. อย่าอยู่นิ่งเฉย เพราะจะทำให้เกิดความกลัวมากขึ้น ควรหากิจกรรมทำ เช่น
    อ่านหนังสือธรรมะ เพื่อให้จิตเป็นบวก เกิดความอิ่มเอิบ
    4. สังเกตธรรมชาติก่อนนาทีวิกฤติจะเกิดขึ้น

    ก่อนเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ (ระยะ 2 ) จะมีลางบอกเหตุดังนี้
    1. ท้องฟ้ามืดมิดผิดปกติ
    2. ใบไม้จะพลิกคว่ำพลิกหงายแลดูหดหู่
    3. สัตว์ทั้งหลายจะไม่ออกมาปรากฏกายให้เห็น
    แต่ถ้ามีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้านจะแลเห็นมันวิ่งลุกลี้ลุกลนผิดปกติ
    หรือบางตัวจะนอนนิ่งมีน้ำตาซึม

    http://www.cablephet.com/board/q_view.php?c_id=48&q_id=1287
     

แชร์หน้านี้

Loading...