การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    แผนที่จำลองภาวะโลกร้อน

    Sunday, 10 June 2007 [​IMG] องค์การนาซ่า (NASA) ได้สร้างแผนที่แอนิเมชันจำลองการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกในช่วงตั้งแต่ปีค.ศ.1891 ถึง 2006 แผนที่แอนิเมชันจำลองนี้เป็นไฟล์ .mp4 ซึ่งสามารถชมได้จาก Quick Time player แต่ละเฟรมในแผนที่แอนิเมชันได้แสดงการเพิ่มขึ้นแต่ละปีของอุณหภูมิที่ผิดปกติจากอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงสิบปี โดยเริ่มจากแผนที่อุณหภูมิเฉลี่ยผิดปกติในช่วงสิบปีประวัติศาสตร์ (1891-1900) และจบด้วยแผนที่อุณหภูมิเฉลี่ยผิดปกติในช่วงสิบปีปัจจุบัน (1997-2006) ซึ่งแผนที่แอนิเมชันนี้ช่วยให้เข้าใจถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของภาวะโลกร้อนตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าว
    [​IMG]
    เฟรมแรกของแผนที่แอนนิเมชันแสดงภาวะโลกร้อนโดย NASA

    [​IMG]
    เฟรมสุดท้ายของแผนที่แอนนิเมชันแสดงภาวะโลกร้อนโดย NASA​
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ข้อมูลเยี่ยมเลยครับ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ชาวแคลิฟอเนียร์ ร้อนตายแล้ว 13 ราย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">5 กันยายน 2550 15:17 น.</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> ประชาชนทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอเนียร์ สหรัฐฯ เผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดมานานหลายสัปดาห์ หลังคลื่นอากาศร้อนแผ่เข้าปกคลุม ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 41 องศาเซลเซียส ทั้งนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 13 คน ในจำนวนนี้ 12 คนเสียชีวิตในนครลอสแองเจลิส ซึ่งเจ้าหน้าที่พบศพอยู่ในรถยนต์ และอาคารที่พักอาศัยทั่วเมือง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    จีนตั้งหน่วยพิเศษสู้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">5 กันยายน 2550 20:05 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="380"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="380"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ไออีเอคาดการ์รว่า ภายในปีนี้หรือปีหน้าจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯกลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันดับหนึ่งของโลก</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ไชน่าเดลี่-รัฐบาลจีนได้ตั้งหน่วยพิเศษในกระทรวงต่างประเทศเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มากขึ้น เจียงยี๋ว์ โฆษกกระทรวงตางประเทศจีนกล่าวในการสรุปข่าวสำหรับสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร(4)


    โดยรายงานของกระทรวงต่างประเทศจีนซึ่งออกเมื่อวันจันทร์(3) ระบุถึงการจัดตั้งหนว่ยพิเศษดังกล่าว นำโดย หยางเจียฉือ รัฐบมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน และมีหน่วยงานต่างๆของกระทรวงต่างประเทศอีก 11 แห่งเป็นหน่วยงานในเครือข่าย

    กระทรวงฯได้แต่งตั้งยี๋ว์ ชิงไถ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศแทนซาเนีย เป็นผู้แทนพิเศษในการเจรจาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เจียงกล่าว

    “จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้ เราได้จัดตั้งกลุ่มกลุ่มระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภายใต้การนำของ เวินเจียเป่า นายกรัฐมนตรี และประกาศแผนปฏิบัติการแห่งชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของจีนในการโต้ตอบกับปัญหาอย่างเด็ดขาด

    นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังยินดีร่วมมือกับประชาคมโลกจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC และพิธีสารเกียวโต เจียงกล่าว

    อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา จีนปฏิเสธลงนามในพิธีสารเกียวโต ซึ่งระบุตารางการลดการแพร่กระจายก๊าซความร้อน เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ยังต้องขยายตัวในภาคผลิตและอุตสาหกรรม

    ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ติดอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ แต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา องค์กรพลังงานระหว่างประเทศหรือไออีเอ คาดการณ์ว่า จีนอาจแซงหน้าสหรัฐฯกลายเป็นชาติที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นอันดับ 1 ของโลกภายในปีนี้หรือปีหน้า.

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    IEAมั่นไม่พ้นปีหน้าจีนครองแชมป์พ่นคาร์บอนฯ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> รอยเตอร์ – องค์กรพลังงานระหว่างประเทศฟันธง ไม่เกินปีหน้าจีนจะเบียดสหรัฐฯ กลายเป็น “ตัวการ” ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มือหนึ่งของโลก

    องค์กรพลังงานระหว่างประเทศหรือไออีเอเคยทำนายว่า ภายในค.ศ.2010 จีนจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากที่สุดในโลกแซงหน้าสหรัฐฯ แต่จากรายงานล่าสุด ของเฟตีห์ ไบโรล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไออีเอระบุว่า จีนอาจเลื่อยขาเก้าอี้สหรัฐฯ เร็วกว่ากำหนด---ไม่ปีนี้ก็ปีหน้า

    ไออีเอเป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านพลังงานให้แก่ 26 ประเทศมั่งคั่ง และไบโรลก็เป็นนักเขียนคนสำคัญสำหรับรายงานประจำปี เวิลด์ เอ็นเนอจี้ เอ้าท์ลุคของไออีเอด้วย

    จีนเริ่มถูกมองเป็นตัวการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตัวฉกาจของโลกในเวลาเดียวกับที่มีการเปิดฉากถกเครียดเกี่ยวกับการขยายพิธีสารเกียวโตประเด็นโลกร้อนภายหลังจากหมดอายุในปี 2012 ซึ่งนับเป็นการสร้างความกดดันให้ปักกิ่งเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

    อย่างไรก็ตาม สำเนารายงานว่าด้วยโลกร้อนของรัฐบาลปักกิ่งที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ระบุว่า จีนปฏิเสธการผูกมัดด้วยเงื่อนไขจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจนกว่าจะปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย แต่เลือกที่จะหยุดการขยายตัวของการแพร่กระจายแทน

    ขณะที่บอยเดน เกรย์ ทูตสหรัฐฯ ประจำสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพิธีสารเกียวโตเมื่อปี 2001 ประกาศชัดจะไม่ร่วมในมาตรการรับมืออากาศเปลี่ยนตัวใหม่ หากกฎระเบียบไม่ครอบคลุมถึงจีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ด้วย มีนักเจรจาเกี่ยวกับอากาศจำนวนไม่มากที่คาดการณ์ว่า จีนจะยอมอยู่ภายใต้เงื่อนไขจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2013

    นอกจากนี้ รัฐบาลปักกิ่งยังออกรายงานโต้สหรัฐฯ ระบุ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวของประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ พร้อมระบุผู้ร้ายตัวจริงคือประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมิอาจปฏิเสธได้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าประเทศอื่นๆ

    จากข้อมูลของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ปี 2003 สหรัฐฯ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก คิดเป็น 23% ของปริมาณการปล่อยก๊าซทั้งหมด ขณะที่จีนตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยตัวเลข 16.5% แต่เมื่อแยกพิจารณาการปล่อยก๊าซต่อหัวแล้วพบว่า ชาวอเมริกันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 20 เมตริกตันต่อคน ขณะที่จีนแค่ 3.2 เมตริกตันเท่านั้น โดยค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ราว 3.7

    อย่างไรก็ตาม จีนกำลังจะไล่ตามทันสหรัฐฯ เมื่อมองจากสถิติล่าสุดของนายจอห์น แอชตัน เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของอังกฤษเปิดเผยว่า จีนสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเฉลี่ย 4 วันต่อ 1 แห่ง ซึ่งโรงงานดังกล่าวนับเป็นตัวการผลิตมลพิษทางอากาศตัวสำคัญ

    สอดคล้องกับข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์อาวุโสแห่งศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลคาร์บอนไดออกไซด์แห่งสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งคาดการณ์ว่า เป็นไปได้ที่จีนจะแซงสหรัฐฯ ในปีนี้ เมื่อมองจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของจีนในปี 2005 ซึ่งอยู่ที่ราว 5,300 ล้านเมตริกตัน ส่วนสหรัฐฯ อยู่ที่ 5,900 ล้านเมตริกตัน แต่จีนขยายตัวเร็วกว่ามาก

    ต่อการคาดการณ์ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการความร่วมมือแห่งชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาอากาศเปลี่ยนแปลงกล่าวว่า ไม่มีความคิดเห็นต่อรายงานดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่ผลการคาดการณ์ที่น่าเชื่อถือ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="3">[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]</td> </tr> <tr> <td width="24%"> </td> <td width="47%"> </td> <td width="29%"> </td> </tr> <tr valign="top"> <td colspan="3"> เปิดรายงาน "โลกร้อน" มนุษย์คือตัวการและยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด</td> </tr> <tr valign="top"> <td colspan="3">
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td colspan="3">http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000013816</td> </tr> <tr> <td colspan="3"> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"> เอเจนซี/เอพี - นักวิทยาศาสตร์จาก 113 ประเทศ ได้นำรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกฉบับสำคัญ ออกเผยแพร่ โดยระบุว่า พวกเขาแทบไม่แปลกใจที่จะบอกว่า "มนุษย์" เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดโลกร้อน และทำนายว่าอุณหภูมิจะยังคงเพิ่มสูงขึ้น และระดับน้ำทะเลยังคงเพิ่มต่อเนื่องไปนับศตวรรษ นอกจากนี้ยังกดดันรัฐบาลต่างๆ ให้ลงมือต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วให้มากกว่านี้ นับเป็นคำเตือนอันหนักแน่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา

    คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คนจากกว่า 130 ประเทศ เปิดเผยรายงานความยาว 21 หน้า ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาถึงสถานการณ์โลกร้อนที่เกิดขึ้น โดยอธิบายว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด เมื่อวันที่ 2 เดือน 2 และยังมีรายงานอีก 2 ฉบับจะเปิดเผยติดตามมาในไม่ช้า

    รายงานของไอพีซีซีระบุว่า "เป็นไปได้อย่างมาก" ซึ่งมีแนวโน้มมากกว่า 90% ที่กิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นน้ำมัน, ก๊าซ, ถ่านหิน) เป็นสาเหตุเกือบทั้งหมดของการเกิดภาวะโลกร้อนในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา

    ตัวเลขดังกล่าวหนักแน่นขึ้นกว่ารายงานฉบับที่แล้วเมื่อปี 2001 ซึ่งไอพีซีซีระบุว่า ความเกี่ยวเนื่องดังกล่าวอยู่ในระดับ "เป็นไปได้" โดยมีแนวโน้มอยู่ที่ 66% สัญญาณเตือนของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น มีปรากฏให้เห็นแล้วตั้งแต่ ภาวะแห้งแล้งในออสเตรเลีย ไปจนถึง อุณหภูมิเดือนม.ค.ที่สูงทำลายสถิติทั่วยุโรป

    "วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2007 น่าจะได้รับการจดจำว่า เป็นวันที่เครื่องหมายคำถาม เรื่องมนุษย์เป็นตัวการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่ ได้ถูกกำจัดออกไป" อาชิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ประธานโครงการสิ่งแวดล้อมของยูเอ็น (UNEP) กล่าวในการแถลงข่าว

    เขาเร่งให้รัฐบาลต่างๆ เพิ่มแรงผลักดันในการเจรจาตัดลดการปล่อยไอเสียในระยะยาว เพื่อแก้ปัญหาระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่เคยสูงเท่านี้มาก่อนในรอบ 650,000 ปีที่ผ่านมา

    "ยึดตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เรากำลังทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นใน 650,000 ปี" ราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธานไอพีซีซี แถลง

    ข้อสรุปความยาว 21 หน้านี้ ให้โครงร่างการเปลี่ยนแปลงอันน่ากลัว อาทิ น้ำแข็งในทะเลที่ขั้วโลกเหนืออาจละลายหมดในหน้าร้อนภายในปี 2100 และระบุด้วยว่า "เป็นไปได้มากกว่าเป็นไปไมได้" ที่ก๊าซเรือนกระจกได้ทำให้พายุหมุนเขตร้อนมีความรุนแรงมากขึ้น

    รายงานดังกล่าว "ประมาณแบบเจาะจงที่สุด" ว่า อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น 1.8 - 4 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 21 นี้ โดยได้ประมาณอย่างกว้างกว่าด้วย เอาไว้ที่ 1.1-6.4 องศาเซลเซียส

    ทั้งนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 0.7 องศาเมื่อศตวรรษที่ 20 และ 10 ปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1850 อยู่ในปีหลังปี 1994 เป็นต้นมา

    เจ้าหน้าที่จากยูเอ็นหวังว่ารายงานดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลต่างๆ นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับ 1 รวมทั้งบริษัทต่างๆ ลงมือตัดลดก๊าซเรือนกระจกให้มากกว่านี้ ซึ่งก๊าซดังกล่าว ถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในโรงไฟฟ้า โรงงาน และรถยนต์ เป็นส่วนมาก

    ผู้สนับสนุนพิธีสารเกียวโตของยูเอ็น (อนุสัญญาที่ผูกพันให้ประเทศอุตสาหกรรม 35 ประเทศ ตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2012) จำนวนมาก ต้องการให้ประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่านี้ ที่ผ่านมา สหรัฐฯและจีนยังไม่ยอมตกลงทำตามเป้าหมายของพิธีสารดังกล่าว

    ประธานาธิบดีของคิริบาตี ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งถูกคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ระบุว่า เวลานั้นเหลือน้อยลงทุกที

    "คำถามก็คือ เราทำอะไรได้ตอนนี้? เราแทบจะทำอะไรไม่ได้เพื่อหยุดกระบวนการนั้น" ประธานาธิบดี อะโนเท ทอง กล่าว

    รายงานดังกล่าว คาดการณ์ว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 18 ถึง 59 ซม. ในศตวรรษนี้ และระบุว่า ยังเป็นไปได้ที่จะเพิ่มสูงกว่านี้หากแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา และเกาะกรีนแลนด์ละลาย

    นักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าบางคนไม่เห็นด้วยกับร่างก่อนหน้าที่ลดขอบเขตจากที่ปี 2001 คาดไว้ว่าน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 9 ถึง 88 ซม.ภายในปี 2100 ทั้งนี้ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะคุกคามประเทศอย่าง คิริบาตี ตลอดจนเมืองริมทะเลต่างๆ นับตั้งแต่ เซี่ยงไฮ้ ถึงบัวโนสไอเรส</td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="3">
    • ผู้นำเอเปกเห็นพ้องกำหนดลดก๊าซเรือนกระจก [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="8%"> </td> <td width="92%">โดย ทีมข่าว INN News [ 08-09-2550 | 15:51:45 น. ] </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top"> </td> <td colspan="2" valign="top"><table border="0" bordercolor="#666666" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="2%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="93%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="7%"> </td> <td width="93%"> สมาชิกเอเปก รวมทั้งจีนและสหรัฐเห็นพ้องให้กำหนดเป้าหมาย ที่เป็นความปรารถนาระยะยาว ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    นายกรัฐมนตรีจอห์น ฮาวเวิร์ด ของออสเตรเลีย กล่าวว่า ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจซึ่งร่วมประชุมที่นครซิดนีย์ เห็นพ้องถึงความจำเป็นที่ทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศพัฒนา จะต้องมีส่วนในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามกำลังความสามารถ และสภาพของตนเอง และว่า สมาชิกเอเปกกำลังก้าวไปสู่การบรรลุความเห็นร่วมกันครั้งใหม่ นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่เอเปกจะต้องวางเป้าหมายเฉพาะ ในเรื่องมูลค่าพลังงานเบื้องต้นที่ใช้ต่อจีดีพี และการทำป่าไม้ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้ถ่านหินโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ถ่านหินนับเป็นตัวการสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก
    จากคำประกาศซิดนีย์ นับเป็นการแสดงถึงความประนีประนอม ระหว่างเขตเศรษฐกิจร่ำรวย และยากจนในกลุ่มเอเปก ซึ่งเมื่อรวมกันคิดเป็นร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมว่า การประชุมสุดยอดเอเปกอาจล้มเหลว หากตกลงกันไม่ได้เรื่อง การกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพัน
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td width="1%"> </td> <td colspan="2">
    </td></tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="3">
    • สหรัฐฯ ยืนยันหมีขั้วโลกใกล้สูญพันธุ์[​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="8%"> </td> <td width="92%">โดย ผู้จัดการออนไลน์ [ 08-09-2550 | 11:47 น. ]</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top"> </td> <td colspan="2" valign="top"><table border="0" bordercolor="#666666" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="2%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="93%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="7%"> </td> <td width="93%"> ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ รายงานว่า ประชากรของหมีขั้วโลก ประมาณ 2 ใน 3 จากจำนวนทั้งหมด 16,000 ตัว อาจจะสูญพันธุ์ภายในกลางศตวรรษนี้ ถ้าการคาดการณ์ที่ว่าแผ่นน้ำแข็ง บริเวณขั้วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็ว เป็นความจริง รายงานของศูนย์สำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐระบุด้วยว่า ชะตากรรมของหมีขั้วโลก อาจจะมืดมัวกว่าที่ประเมินไว้ เพราะทะเลน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก อาจจะละลายเร็วกว่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์คาดการณ์ โดยรายงานดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อตัดสินใจว่า ควรกำหนดให้หมีขาวขั้วโลกเป็นสัตว์สงวนหรือไม่
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]
    ภาวะโลกมืด

    ป็นเรื่องที่อยากหยิบยกมาพูดถึง ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากปัญหาโลกร้อนที่ช่วงนี้เราคงได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา “ภาวะโลกร้อน” ผ่านหูผ่านตาค่อนข้างบ่อย ถึงแม้เราจะทราบกันดีอยู่ว่า ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย ในเมื่อต้นตอสาเหตุในการเร่งการเกิดภาวะโลกร้อนก็คือมนุษย์เราเอง โลกร้อนเป็นปัญหาที่ใหญ่และใกล้ตัวพวกเราทุกคนมากกว่าเรื่องของการเมืองเสียอีก ปัญหาทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ใช่มีเพียงแต่ภาวะโลกร้อนเพียงประการเดียว แต่ยังมีปัญหาอื่นอีกมากมายที่ผูกโยงเกี่ยวข้องถึงกันหมด เช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก น้ำท่วมตามชายฝั่ง หรือภาวะโลกมืด ซึ่งอย่างหลัง อาจยังไม่เป็นที่คุ้นหูกันมากนัก


    ภาวะโลกมืด (Global Dimming)นั้น สังเกตกันง่ายๆเวลาที่เราตื่นนอนตอนเช้าๆ แล้วมองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วมันดูสลัวลาง มัวๆ อึมครึมๆ นี่แหละคือภาวะโลกมืดอันเป็นผลกระทบมาจากโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยและได้ข้อสรุปเป็นจริงแล้วว่า โลกเรากำลังมืดลงจริงๆ โดยมีสาเหตุเกิดมาจากการเมฆที่ปกคลุมมากขึ้นและฝุ่นละอองที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ ทำให้แสงแดดส่องกระทบตกลงสู่พื้นดินได้น้อยลง เพราะแสงอาทิตย์เกิดการกระเจิงกับก้อนเมฆและฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศก่อนจะตกถึงพื้นโลก
    แต่ผลเสียในอีกทางหนึ่ง กลุ่มฝุ่นละอองและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลอยตัวปกคลุมอยู่เหนือพื้นโลกเหล่านี้นี่เอง ก็เป็นตัวการสำคัญของการเกิดปรากฏการณ์เรื่อนกระจกและภาวะโลกร้อนขึ้นตามมา เพราะรูโหว่ที่ขยายตัวและมีมากขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้เอง ที่เปิดช่องทางให้แสงแดด ส่องผ่านมายังพื้นโลกได้ง่ายขึ้น แล้วแผ่นดินผืนน้ำก็จะกักเก็บความร้อนไว้ในตัวเอง ความร้อนจากแสงอาทิตย์เหล่านี้ยังไม่สามารถวิ่งทะลุผ่านกลุ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แผ่ตัวหนาอยุ่เหนือแผ่นดินทะลุออกไปยังชั้นบรรยากาศได้ จึงทำให้โลกไม่สามารถคลายความร้อนออกสู่ชั้นบรรยากาศจนเกิดภาวะโลกร้อนตามมา โลกไม่สามารถคลายความร้อนออกไปได้ และแสงแดดก็ส่องผ่านลงมาได้ยากขึ้นทุกที
    ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นคว้ามานานกว่าสิบปีแล้ว นับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950 (พ.ศ.2493) นักวิทยาศาสตร์สังเกตพบว่า ปริมาณแสงอาทิตย์ที่ตกลงสู่พื้นดินลดลงจากเดิม 2 - 4%

    ในเบื้องต้น นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่แน่ใจและยังไม่ได้ข้อสรุป ว่าปัญหานี้เกิดขึ้นเพียงบางจุดหรือมีผลต่อทุกๆที่ทั่วโลก จนในที่สุด นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ไมเคิล รอเดอริก และ เกรแฮม ฟาร์ควาร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งออสเตรเลีย ในเมืองแคนเบอรา ได้มีหลักฐานยืนยันที่แสดงให้เห็นว่า ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นที่ซีกโลกใต้ด้วยเช่นเดียวกัน
    โดยได้มีการตรวจวัดอัตราการระเหยของน้ำทั่วประเทศออสเตรเลีย ทั้งนี้เป็นการวัดในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำเติมเต็มอยู่เสมอ ผลที่ได้พบว่า ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ อัตราการระเหยลดลงอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่า แสงอาทิตย์ตกถึงผิวโลกน้อยลง ทำให้น้ำตามแหล่งน้ำต่างๆบนโลกกลั่นตัวไอน้ำและระเหยขึ้นไปน้อยลงด้วย ซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์ในซีกโลกด้านเหนือ
    [​IMG]แต่นักวิทยาศาสตร์บางรายก็ได้ออกมาบอกว่า ภาวะโลกมืดอาจไม่ได้เป็นผลร้ายเสียทีเดียว โดยมองว่า ภาวะโลกมืดอาจส่งผลตรงข้าม ซึ่งช่วยชะลอภาวะโลกร้อนได้ ทั้งนี้เพราะแม้เมฆและฝุ่นจะทำให้แสงอาทิตย์เกิดการกระเจิง และทำให้ปริมาณแสงอาทิตย์โดยรวมลดน้อยลง แต่แสงที่เกิดการกระเจิงนั้น จะเป็นเหมือนการชะโลมแสงอาทิตย์ ลงบนใบพืชทั่วทั้งใบอย่างเท่าๆ กัน จากเดิมที่ใบพืชได้รับแสงเข้มเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น
    เหตุการณ์นี้จะกระตุ้นให้พืชเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากขึ้น นั่นก็แปลว่า จะมีการดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใช้ในกระบวนการมากขึ้นด้วย ส่งผลช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนโลก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและภาวะเรือนกระจก ทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ภาวะปกติ ดังนั้น แม้ว่าโลกจะร้อนขึ้น แต่เพราะโลกที่มืดลง ทำให้ภาวะโลกร้อนถูกลดทอน ลงไปด้วย สำหรับพืชที่อาจได้รับผลกระทบนั้น จะเป็นพืชในแถบยุโรปตอนเหนือเท่านั้น เพราะพืชเหล่านี้ต้องการแสงในปริมาณที่มากอยู่แล้ว ดังนั้นการลดปริมาณแสงลงไปอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตได้

    <hr>
    *อ้างอิง:
    www.nature.com
    www.abc.net.au
    http://brainguy.podomatic.com
    http://update.se-ed.com/204/lookworld.htm
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อุณหภูมิที่สูงขึ้นในรอบ1,000 ปี กลายเป็นศัตรูตัวร้ายของยุคสมัยไปเสียแล้ว [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]<hr>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วีรบูรณ์ วิสารทสกุล : เขียน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภาควิชาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ ท่าพระจันทร์
    [/FONT]



    [FONT=courier new,courier,monospace]<sup><sub>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]การออกมาเตือนถึงสถานการณ์โลกร้อนของ [/FONT]</sub></sup><sup><sub>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]IPCC [/FONT]</sub></sup><sup><sub>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]นั้น ได้จาก[/FONT]</sub></sup>
    การสังเกต อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและมหาสมุทรในช่วงศตวรรษที่ผ่าน และใช้โมเดลคาดการณ์อนาคต โดยพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้ๆ ผิวโลก เพิ่มขึ้น 0.74 +- 0.18 C ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่ง (ตัวเลขนี้ได้ตัดความแปรปรวนจากปฏิกิริยาของ "เกาะร้อน"[urban heat island] ออกแล้ว) IPCC ได้สรุปว่า ทั้งนี้เกิดขึ้นจาก ความเข้มข้นของ Greenhouse gas (GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ โมเดลของ IPCC ยังชี้ต่อไปอีกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 1.1 to 6.4 C ระหว่างปี 1990 - 2100
    [/FONT]

    [FONT=courier new,courier,monospace]จริงๆ แล้วในประเด็นที่อุณหภูมิสูงขึ้นนั้น นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเห็นด้วยอย่างแน่นอน ประเด็นจึงเหลือแค่ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินั้นเป็นเรื่องผิดปกติ เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่[/FONT]
    [FONT=courier new,courier,monospace]ฝ่ายโลกร้อนยืนยันหนักแน่นว่า ก่อนหน้านี้ โลกมีแต่ความเย็น จนเมื่อหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อมีการปล่อย CO2 สู่บรรยากาศมากขึ้นนี่เอง ที่อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเรื่อยมา ซึ่งมีการวัดโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1850 เป็นต้นมา และใช้กราฟรูปไม้ฮอกกี้ที่อื้อฉาว เป็นหลักฐานยืนยัน [/FONT]

    <shapetype id="_x0000_t75" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o="">[FONT=courier new,courier,monospace]<shapetype id="_x0000_t75" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o="">[​IMG]</shapetype>[/FONT]</shapetype>

    <shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""></shapetype><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""></shapetype>[FONT=courier new,courier,monospace]ที่นี้ลองมาฟังเหตุผลของผม ที่เชื่อว่าอุณหภูมิปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นวงรอบการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ[/FONT]
    [FONT=courier new,courier,monospace]ข้อมูลทาง Paleoclimatology ชี้ให้เห็นว่า การอุ่นขึ้น หรือเย็นลงของอุณหภูมิโลกนั้นเป็นวัฎจักร ซึ่งวิธีวัดอุณหภูมิในอดีต มีมากมายหลายวิธี แม้จะได้กราฟที่ไม่ทับกันสนิท แต่เกือบทั้งหมดจะให้กราฟที่มีอุณหภูมิขึ้นๆลงๆ ปรากฏเป็นช่วง LIA (เย็น) กับ Medieval warm (อบอุ่น) แม้แต่ในช่วง 1000 ปีที่ผ่านมาก็ตาม เพิ่งปรากฏในรายงานของ IPCC ฉบับที่ 3 นี้เองที่บอกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ปรากฏว่าขึ้นลง มีความเย็นคงที่ [/FONT]

    <shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o="">[FONT=courier new,courier,monospace][​IMG][/FONT]</shapetype></shapetype>

    <shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""></shapetype><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""></shapetype>[FONT=courier new,courier,monospace]สีดำ คือ หลังจากมีเครื่องมือวัด ปี 1850. [/FONT]
    [FONT=courier new,courier,monospace]สีน้ำเงินอ่อน คือ ข้อมูลได้จากบทความเก่า.[/FONT]
    [FONT=courier new,courier,monospace]สีแดง คือ ข้อมูลได้จากบทความใหม่ [/FONT]

    [FONT=courier new,courier,monospace]เรื่องวงรอบในธรรมชาติที่ผ่านมานั้น เชื่อกันว่ามีรอบของยุคน้ำแข็ง (Ice Age) อยู่ประมาณ 90,000 ปี แต่เมื่อสัก 20 ปีมานี้ที่วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากก็ค้นพบว่า มีรอบย่อยๆ ของอุณหภูมิที่อบอุ่นและเย็น สลับกันเกิดเป็นรอบๆ ทุก 1500 ปี (+- 500 ปี) (4) โดยพบว่าปัจจุบันอยู่ในช่วงที่กำลังอบอุ่นขึ้น ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 หลังจากที่ผ่านยุคน้ำแข็งน้อย (LIA) มาเมื่อปี ค.ศ. 1300 ถึง 1850 โดยช่วงร้อนนี้ อาจกินเวลาอีก 200 ปี [/FONT]

    </shapetype>
    </shapetype>
    <shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""></shapetype><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""><shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o=""><stroke joinstyle="miter"><formulas><f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"><f eqn="sum @0 1 0"><f eqn="sum 0 0 @1"><f eqn="prod @2 1 2"><f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"><f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"><f eqn="sum @0 0 1"><f eqn="prod @6 1 2"><f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"><f eqn="sum @8 21600 0"><f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"><f eqn="sum @10 21600 0"></f>
    <lock aspectratio="t" v:ext="edit"></lock></f></f></f></f></f></f></f></f></f></f></f></formulas></stroke></shapetype>
    </shapetype><stroke joinstyle="miter"><formulas><f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"><f eqn="sum @0 1 0"><f eqn="sum 0 0 @1"><f eqn="prod @2 1 2"><f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"><f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"><f eqn="sum @0 0 1"><f eqn="prod @6 1 2"><f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"><f eqn="sum @8 21600 0"><f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"><f eqn="sum @10 21600 0"></f>
    <lock aspectratio="t" v:ext="edit"></lock></f></f></f></f></f></f></f></f></f></f></f></formulas></stroke>

    [FONT=courier new,courier,monospace][​IMG][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2007
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="0"><tbody><tr><td valign="top">ผู้นำจีนและญี่ปุ่นตกลงร่วมมือแก้ไขปัญหาโลกร้อน
    </td> </tr> <tr> <td valign="top">9 กันยายน พ.ศ. 2550 15:37:00
    </td> </tr> <tr> <td valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td valign="top"> ซิดนีย์ – ผู้นำจีน และญี่ปุ่น เห็นพ้องผนึกกำลังแก้ไขปัญหาโลกร้อย ย้ำจำเป็นต้องเร่งกระชับสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ เลิกบาดหมางเกี่ยวกับสงครามในอดีตกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น แถลงว่า ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน และนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น ตกลงจะร่วมมือกันจัดการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง
    ผู้นำญี่ปุ่นและจีนหารือกันเป็นเวลาสั้น ๆ นอกรอบการประชุมสุดยอดเอเปก ที่นครซิดนีย์ ซึ่งประธานาธิบดีหู กล่าวว่า ต้องการกระชับความร่วมมือในส่วนงานที่เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอาเบะ ขานรับว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ทั้ง 2 ประเทศ สามารถร่วมมือกันได้มาก จีนเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกมากเป็นอันดับ 2 แต่ไม่ตกลงที่จะกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กรอบของพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะหมดอายุลงในปี 2555 ผู้นำของ 2 ประเทศ ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน จากที่ไม่ราบรื่นนัก เพราะความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับสงครามในอดีต มีการคาดหมายกันว่า นายอาเบะจะเดินทางเยือนจีนในปลายปีนี้ โดยฝ่ายจีนเห็นว่า มีความสำคัญที่จะต้องเสริมสร้างมิตรภาพที่มั่นคงและสร้างสรรค์ระหว่างกัน



    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ภูเขาน้ำแข็งเหมยหลี่ละลายผลกระทบจากโลกร้อน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">11 กันยายน 2550 17:35 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ซินหัวเน็ต – นักอุตุนิยมวิทยาออกมาเตือนว่า อีก 80 ปีข้างหน้า สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจีนอย่างภูเขาหิมะเหม่ยหลี่ จะไม่มีหิมะให้ได้ยลอีกต่อไป ถ้าหากภาวะโลกร้อนยังคงคุกคาม

    ภูเขาหิมะเหมยหลี่หรือชาวทิเบตเรียกว่า "ภูเขาแห่งเทพ" เมื่อ 30 ปีก่อน ได้รับการขนานนาม เป็นภูเขาที่สวยที่สุดในโลก ภูเขาหิมะเหมยหลี่มียอดภูเขารวมอยู่ทั้งหมด 13 ยอด ซึ่งยอดที่สวยที่สุดคือ Kagbo ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 6740 เมตร แต่ละปีประชาชนชาวทิเบต เสฉวน ชิงไห่ และ กันซู่จะมากราบไว้สักการะที่วัดฉี่ว์เติงก้ง และวัดกุ่นหม๋าติ่ง ซึ่งอยู่บริเวณตีนเขา

    เหมยหลี่เป็นภูเขาหิมะที่น่าอัศจรรย์ใจแก่นักปีนเขาที่มาพบเห็นเป็นเวลานับทศวรรษ แต่จากการศึกษาในรอบสิบปีพบว่าภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อภูมิประเทศของ ภูเขาเหมยหลี่ ภูเขาป๋ายหมาง และภูเขาฮาปา

    ด้านนายหลิวเจียซุนรองหัวหน้ากรมอุตุนิยมวิทยาเขตการปกครองตนเองตี๋ชิ่ง มณฑลหยุนนาน ยังกล่าวอีกด้วยว่าธารน้ำแข็งระดับต่ำสุดอย่างหมิงหย่ง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของยอดเขา Kagbo ตั้งอยู่ระหว่างชายแดนของหยุนนานและเขตการปกครองตนเองทิเบต ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่ผ่านมาได้ละลายไปแล้วอย่างน้อย 40 เมตร นับเป็นธารน้ำแข็งที่ละลายตัวเร็วกว่าที่อื่นๆในจีน

    โดยการละลายของธารน้ำแข็งจะส่งผลให้น้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก เกิดการพังทลายของหน้าดิน ขณะเดียวกันก็จะเกิดความแห้งแล้งทำให้แม่น้ำเหือดแห้ง นำมาสู่ความแห้งแล้ง ซึ่งผลพวงจากการที่น้ำแข็งละลายและแหล่งน้ำแห้งเหือดนี้ยังได้ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำตอนล่างด้วย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="331"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="331"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">รูปเปรียบเทียบก่อนที่น้ำแข็งละลาย</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!! <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#cccccc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">อากาศแปรปรวน พายุลูกเห็บตกที่อาหรับ!!</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    น้ำแข็งหายสาบสูญ! เปิดทางเดินเรือทะเล <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#cccccc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">ภาพถ่ายจากดาวเทียม</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> น้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือทางทะเลระดับตำนาน บริเวณเขตอาร์กติกหายไปเหลือน้อยที่สุดในรอบ 30 ปี

    เมื่อ 15 ก.ย. ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า สำนักงานอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมสุดช็อก น้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือทางทะเลระดับตำนาน "นอร์ธเทิร์น แพสเซส" บริเวณเขตอาร์กติกหายไปเหลือน้อยที่สุดในรอบ 30 ปี ทำให้สามารถเดินเรือผ่านเส้นทางนี้อย่างง่ายดาย คาดว่าสาเหตุเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ก้อนน้ำแข็งและธารน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย

    อีเอสเอ ระบุว่า การใช้ดาวเทียมถ่ายภาพสำรวจปริมาณน้ำแข็งแถบนอร์ธเทิร์น แพสเซส

    ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือจากทวีปโรปข้ามมายังเอเชียที่ใกล้ที่สุดในโลกนั้น เริ่มต้นเก็บข้อมูลมาได้ 30 ปีแล้ว ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแต่ละปี น้ำแข็งในเขตนี้จะหายไปปีละ 1 แสนตร.กม. แต่เฉพาะรอบปีที่ผ่านมาแค่ปีเดียว กลับหายไปถึง 1 ล้านตร.กม. ส่งผลให้ล่าสุดเส้นทางนอร์ธเทิร์น แพสเซส มีปริมาณน้ำแข็งปกคลมเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 3 ล้านตร.กม.


    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr><td><center>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
    [​IMG]</center></td></tr></tbody></table>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ‘กินเนื้อน้อย’ ช่วยแก้โลกร้อน

    LONDON –ร้อนจริง ๆ ใช่มั้ยครับไหนจะน้ำแข็งละลาย อยากจะช่วยโลกกันมั้ยครับไม่ต้องคิดไปไกลแค่ทานเนื้อน้อยลงก็ช่วยได้แล้วครับ การทานเนื้อน้อย ๆ นี้ ช่วยลดจำนวนปศุสัตว์หรือบอกตรงๆ ก็คือลดการเลี้ยงสัตว์นั่นล่ะครับ เมื่อสัตว์น้อยลงปริมาณก๊าซมีเทนก็น้อยลงไปด้วยครับ
    งานนี้ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารสุขภาพ The Lancet โดยผู้เชี่ยวชาญเค้าแนะนำว่าเราควรจะบริโภคเนื้อและแฮมเบอร์เกอร์ให้น้อยลง หากการบริโภคเนื้อแดงลดลง 10 % สามารถลดปริมาณการผลิตก๊าซจากวัว แพะและแกะได้ครับ
    Geri Brewster จากโรงพยาบาล Northern Westchester ใน New York กล่าวว่า หากคนอื่น ๆ รู้ตัวว่ากำลังบั่นทอนโลก ก่อนจะซื้อแฮมเบอร์เกอร์ครั้งหน้าอาจทำให้เค้าคิดก่อนถึง 2 รอบก็ได้
    การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการทำฟาร์มวิธีอื่น คือ ใช้พืชมีคุณภาพสูงเลี้ยงสัตว์แต่ก็ลดได้เพียงแค่ปริมาณหนึ่งเท่านั้นครับ แต่ก๊าซจากสัตว์ที่แปลงร่างลงมาอยู่ในจานดินเนอร์ข้างหน้าคุณคิดเป็น 1 ใน 4 ของก๊าซทั้งหมดที่ปลดปล่อยออกมาทั่วโลกเชียวครับ
    การทานเนื้อของคนทั่วโลกแตกต่างกันไปครับ ในประเทศพัฒนาแล้วคิดเป็น 224 กรัมต่อวัน แต่ในแอฟริกาคนทานเนื้อกันวันละ 31 กรัมเท่านั้นครับ
    ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญเริ่มวิตกแล้วครับว่าคนต้องการเนื้อเพิ่มขึ้น การปศุสัตว์ก็จะเพิ่มมากขึ้น ก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ก็จะเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้บรรยากาศโลกร้อน ยกตัวอย่างเช่น ในจีนคนทานเนื้อเพิ่มขึ้นสองเท่ากว่าเมื่อ 10 ปีก่อน
    ดร. John Powles ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัย Cambridge กล่าวว่า หากค่าเฉลี่ยการทานเนื้อแต่ละวันเป็น 90 กรัมต่อวันจะช่วยลดปริมาณก๊าซที่ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้
    Powles และคณะกล่าวว่า การทานเนื้อแดงน้อยจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ผลจากการศึกษาหนึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกทุก 100 กรัมของเนื้อแดงที่ตัดไปจากมื้ออาหารจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้ถึง 1 ใน 3
    Brewster เสริมว่าค่านิยมของสังคมปัจจุบันส่งผลให้คนทานโปรตีนกันมากไป หากทานเนื้อน้อยลงเราก็จะอ้วนน้อยลงด้วย
    ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคงต้องใช้เวลาหลาย 10 ปีกว่าจะทำให้ค่านิยมการบริโภคเนื้อของสังคมลดลง โดยดร.Maria Neira หัวหน้าองค์การอนามัยโลกฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า เราต้องทำความเข้าใจว่าเรากินเพื่ออะไรให้มากขึ้น โดยวิธีนี้เป็นทฤษฎีที่ยังต้องทดลองกันต่อไป อย่างน้อยมันก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดก๊าซและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้

    ที่มา http://fe9.news.re3.yahoo.com/s/ap/20070913/ap_on_sc/eating_less_meat
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ความหลากหลายทางชีวภาพ

    ความหลากหลายทางชีวภาพ

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">นิยามของความหลากหลายทางชีวภาพ [​IMG][​IMG]</td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">[​IMG]</td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- Begin Web-Stat code --> <script type="text/javascript"> <!-- var page_name = 'http://www.environnet.in.th/evdb/info/bio/bio.html'; var invisible = 'yes'; var framed = 'no'; function sE(){return true;}window.onError=sE;var base=document; if(framed=='yes'){base=top.document;}var rn=Math.random(); var ui='env';var al='Web-Stat hit counters'; var qry=ui+':2::'+escape(base.referrer)+'::'+screen.width +'x'+screen.height+'::'+screen.colorDepth+'::'+escape(page_name) +'::'+invisible+'::'+rn+"::"+escape(base.URL); document.write('<a href="http://www.web-stat.com/stats/env'); document.write('.htm" target="new">[​IMG]<\/a>'); //--> </script>[​IMG]<noscript> </noscript>
    ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การที่มีสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายสายพันธุ์และชนิดในบริเวณหนึ่งบริเวณใด



    ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
    [​IMG]

    คนทั่วไปมักเข้าใจว่าความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การที่มีสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิด ชนิดในที่นี้ก็ คือ สปีชีส์ ความจริงแล้วความหลากหลายทางชีวภาพนั้น มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง คือ 1. ความหลากหลายในเรื่องชนิด (Species diversity) 2. ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic diversity) และ 3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem diversity)

    1. ความหลากหลายในเรื่องชนิด (Species diversity)
    ความหลากหลายในเรื่องชนิดของสิ่งมีชีวิต หมายถึง ความหลากหลายชนิดของสิ่งมีชีวิต (Species) ที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งมีความหมาย 2 แง่ คือ ความมากชนิด (species richness) กับความสม่ำเสมอของชนิด (species evenness) ความมากชนิด หมายความถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ ส่วนความสม่ำเสมอของชนิด หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีอยู่

    2. ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic diversity)[​IMG]
    ความหลากหลายของพันธุกรรม หมายถึง ความหลากหลายของยีนส์ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาจมียีนส์แตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น ข้าวมีสายพันธุ์นับพันชนิด มันฝรั่ง หรือพืชอาหารชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด มัน พริก ก็มีมากมายหลายสายพันธุ์ ความหลากหลายของพันธุกรรมมีน้อยในพืชเกษตรลูกผสม ความหลากหลายของยีนส์มีคุณค่ามหาศาล นักผสมพันธุ์พืชได้นำสายพันธุ์พืชป่ามาปรับปรุง เพื่อเพิ่มผลผลิตและต้านทานศัตรูพืช โดยผลประโยชน์ตรงจุดนี้ก็เกิดกับมนุษย์นั่นเอง

    3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem diversity)
    ความหลากหลายของระบบนิเวศมีอยู่ 3 ประเด็น คือ

    3.1 ความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ
    แต่ละถิ่นกำเนิดก็มีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่แตกต่างกันไป เช่น ลำน้ำพบควายป่า ในถ้ำมีค้างคาว เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วที่ใดมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติหลากหลายที่นั่นจะมีชนิดสิ่งมีชีวิตหลากหลายตามไปด้วย

    3.2 ความหลากหลายของการทดแทน
    ในป่านั้นมีการทดแทนสังคมพืช กล่าวคือ เมื่อป่าถูกทำลายจะโดยวิธีใดก็ตาม เช่น พายุพัดไม้ป่าหักโค่น ไฟป่า เป็นต้น พื้นที่จะเกิดที่โล่ง ต่อมาจะมีพืชเบิกนำ เช่น หญ้าคา และเมื่อทิ้งไว้โดยไม่รบกวนจะมีเนื้อไม้อ่อนโตเร็ว เช่น กระทุ่มน้ำ ปอหูช้าง เกิดขึ้น และต่อไปป่าดั้งเดิมจะกลับมาอีกครั้ง

    3.3 ความหลากหลายของภูมิประเทศ
    ในท้องที่บางแห่งมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมาย เช่น ลำน้ำ บึง หาดทราย หุบเขา ภูเขา ลานหิน และมีสังคมพืช ในหลายๆ ยุคของการทดแทน มีทุ่งหญ้าป่าโปร่ง และป่าทึบ ที่เช่นนี้จะมีสรรพสิ่งมีชีวิตมากมายผิดกับในเมืองหนาวที่มีต้นไม้ชนิดเดียวขึ้นอยู่บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ มองไปก็เจอต้นไม้สนเพียงต้นเดียว



    ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
    [​IMG]

    สิ่งที่มนุษย์เราได้รับจากระบบนิเวศวิทยาที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีอยู่มากมาย ที่เห็นได้ชัดคือ ประโยชน์ทางตรง วัสดุธรรมชาติมีคุณค่าต่อทางเศรษฐกิจ[​IMG]และสังคม สามในสี่ของประชากรโลกนั้นใช้พืชสมุนไพรจากป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอุตสาหกรรมผลิตยาที่สกัดจากวัสดุธรรมชาติมูลค่านับแสนล้านบาท

    มนุษย์นั้นพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ นอกจากได้ใช้สิ่งมีชีวิตต่างๆเป็นยาดังกล่าวแล้ว อาหารทั้งหมดและวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็ได้จากสิ่งมีชีวิตที่พบในธรรมชาติหรือที่มนุษย์นำมาเพาะเลี้ยง ปลาส่วนใหญ่ที่บริโภคก็ได้จากธรรมชาติป่านั้นเป็นที่รวมสรรพสิ่งมีชีวิตไว้มากมายพืชเกษตรหลายชนิดกำเนิดมาจากป่า ไม่ว่าจะใช้เป็นอาหารและเป็นไม้ประดับก็ตาม ตลอดเวลา 50 ปี ที่ผ่านมาได้นำพืชที่เป็นญาติของพืชเกษตรมาใช้ปรับปรุงพันธุ์ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

    ทรัพยากรที่เป็นสิ่งมีชีวิตสามารถเป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่สำคัญได้เช่นกัน การท่องเที่ยวในอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านำเงินตราเข้าประเทศและทำให้เงินหมุนเวียนภายในประเทศมากขึ้น


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="56" width="520"> <tbody><tr align="left" valign="top"> <td colspan="1">
    </td> </tr> <tr align="left" valign="top"> <td align="right" height="25" valign="middle" width="150"> </td> </tr> <tr> <td colspan="1" height="2">
    </td> </tr> </tbody></table>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">การสูญเสียความความหลากหลายทางชีวภาพ [​IMG]</td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">[​IMG]</td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- Begin Web-Stat code --> <script type="text/javascript"> <!-- var page_name = 'http://www.environnet.in.th/evdb/info/bio/bio2.html'; var invisible = 'yes'; var framed = 'no'; function sE(){return true;}window.onError=sE;var base=document; if(framed=='yes'){base=top.document;}var rn=Math.random(); var ui='env';var al='Web-Stat hit counters'; var qry=ui+':2::'+escape(base.referrer)+'::'+screen.width +'x'+screen.height+'::'+screen.colorDepth+'::'+escape(page_name) +'::'+invisible+'::'+rn+"::"+escape(base.URL); document.write('<a href="http://www.web-stat.com/stats/env'); document.write('.htm" target="new">[​IMG]<\/a>'); //--> </script>[​IMG] <noscript> [​IMG] </noscript> <!-- End Web-Stat code --> นักชีววิทยาได้เห็นพ้องต้องกันว่า โลกกำลังสูญเสียสัตว์และพืชในป่าเขตร้อน อย่างน้อย 27,000 ชนิดต่อปี นอกจากในป่าเขตร้อนแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศอื่นๆ กำลังลดลงเช่นกัน อาทิเช่น ในแนวปะการัง พื้นที่ชุ่ม บนเกาะ และบนภูเขา แม้ว่าจำนวนชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปในระบบนิเวศนี้รวมกันแล้วยังเทียบไม่ได้กับจำนวนชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปในป่าเขตร้อนก็ตาม[​IMG]

    เมื่อทำการประเมินระบบนิเวศทั้งหมดแล้ว ปรากฎว่า ในปัจจุบันสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกได้สูญพันธุ์ไป ด้วยอัตรา มากกว่า 30,000 ชนิดต่อปี จากหลักฐานพบว่า ในก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิด อัตรา การสูญพันธุ์มีเพียง 1 ชนิดเท่านั้น ที่สูญพันธุ์ในระยะเวลา 4 ปี ดังนั้น อัตราปัจจุบันจึงสูงกว่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึง 120,000 เท่า นักชีววิทยาคาดว่าในอนาคต หากปราศจากซึ่งความพยายามอย่างใหญ่หลวง ในการอนุรักษ์โลกจะสูญเสียร้อยละ 20 ของชนิดพันธุ์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปในเวลา 30 ปี และร้อยละ 50 ของชนิดพันธุ์ ภายในสิ้นศตวรรษหน้า

    แม้ว่าการสูญพันธุ์เป็นวัฏจักรของธรรมชาติ แต่การสูญพันธุ์ด้วยอัตราเร่งอย่างเป็นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์นอกเหนือธรรมชาติ ซึ่งได้แสดงเห็นว่า โลกกำลังเผชิญหน้ากับความหายนะที่กำลังคืบคลานสู่ทุกชีวิตบนพื้นพิภพนี้ สำหรับมวลมนุษย์ชาติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายมากกว่าการดำรงรักษาชนิดพันธุ์หนึ่งชนิดใดไว้มากกว่า การดำรงรักษาระบบนิเวศประเภทหนึ่งประเภทใด เพราะนอกเหนือไปจากนั้น มนุษย์ต้องการดำรงรักษาแหล่งอาหาร แหล่งยารักษาโรค แหล่งวัสดุใช้สอย ฯลฯ เพื่อความอยู่รอดของตนเองและอนาคตของชนรุ่นหลัง



    สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
    [​IMG]

    สาเหตุของการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ได้แก่ การนำมาใช้ประโยชน์มากเกินไป การค้าขายสัตว์และพืชป่าแบบผิดกฎหมาย การรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย แม้ว่าทรัพยากรชีวภาพเป็นทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้ หมายถึง สามารถสืบพันธุ์ได้โดยธรรมชาติเอื้ออำนวยให้มนุษย์ได้เก็บเกี่ยวนำไปใช้ประโยชน์ แต่ทว่าในอดีตการล่าสัตว์มากเกินไป ส่งผลให้ประชากรและชนิดของสัตว์ป่าลดลง
    [​IMG]
    การล่าสัตว์ได้ทำให้สัตว์เฉพาะถิ่นหลายชนิดสูญพันธุ์ เช่น สมัน ซึ่งอาศัยในป่าดงดิบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสัตว์เฉพาะถิ่นเกิดการสูญพันธุ์ นั่นคือ การสูญพันธุ์ไปจากโลกด้วย

    การคุกคามที่มีความรุนแรงที่สุดต่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ รบกวนสภาพที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ ทั้งดิบชื้นและชายเลน การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนพลังนี้ ความเป็นเมือง การท่องเที่ยว และภาวะมลพิษล้วนแต่ก่อให้เกิดการลดลงของจำนวนประชากรต่างๆ

    การตัดฟันไม้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ โดยลดจำนวนไม้ยืนต้นลงและทำให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป ไม้ใหญ่ในป่าให้อาหาร และให้ที่อยู่แก่สัตว์ป่า ไม้ใหญ่หลายๆ ต้นควบคุมโครงสร้างของป่าและสภาพภูมิอากาศในระบบนิเวศ การตัดไม้และเก็บเกี่ยวซากไม้เป็นผลให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ในป่าลดลงด้วย ซึ่งรวมถึงจุลินทรีย์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังของพืชสมุนไพร



    อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
    [​IMG]

    ในปี พ.ศ.2530 สหพันธ์อนุรักษ์ธรรมชาติแห่งโลก ได้ยกร่างสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on biological diversity - CBD) ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองสิ่งมีชีวิตและถิ่นที่อยู่ที่หลากหลาย รวมถึงวางมาตรการควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์

    [​IMG]ในอนุสัญญา ได้มีผลบังคับใช้เป็นระเบียบนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 ถือว่าเป็นอนุสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ครอบคลุมการอนุรักษ์ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการลงสัตยาบันจากนานาประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมิได้ลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับนี้เพียงได้ลงนามรับรองไว้ตั้งแต่ปี 2535

    อนุสัญญา มีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ 1.อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2. ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 3. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

    เนื้อหาของอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีลักษณะเป็นกรอบนโยบายที่กว้างซึ่งในการดำเนินงาน แต่ละประเทศจะต้องจัดทำนโยบายมาตรการและแผนการดำเนินงานขึ้นเอง ดังนั้น อนุสัญญา จึงได้เตรียมกลไกการเงิน คือ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกไว้สนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวฃองประเทศกำลังพัฒนา
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="left" height="30" valign="middle" width="450">อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ[​IMG]</td> <td align="right" height="30" valign="middle" width="70">[​IMG]</td> </tr> <tr valign="middle"> <td colspan="2"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <!-- Begin Web-Stat code --> <script type="text/javascript"> <!-- var page_name = 'http://www.environnet.in.th/evdb/info/bio/bio.html'; var invisible = 'yes'; var framed = 'no'; function sE(){return true;}window.onError=sE;var base=document; if(framed=='yes'){base=top.document;}var rn=Math.random(); var ui='env';var al='Web-Stat hit counters'; var qry=ui+':2::'+escape(base.referrer)+'::'+screen.width +'x'+screen.height+'::'+screen.colorDepth+'::'+escape(page_name) +'::'+invisible+'::'+rn+"::"+escape(base.URL); document.write('<a href="http://www.web-stat.com/stats/env'); document.write('.htm" target="new">[​IMG]<\/a>'); //--> </script>[​IMG] <noscript> [​IMG] </noscript> <!-- End Web-Stat code -->
    4. การค้า ความหลากหลายทางชีวภาพ[​IMG]
    - เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม
    พยายามวางเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากร บน "ความตกลงร่วมกัน"
    - แบ่งปันผลประโยชน์
    จัดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมกัน นั่นคือ การจ่ายค่าชดเชยให้แก่การนำทรัพยากรพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนาจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมนั้น
    - จัดหาให้และหรือเอื้ออำนวยการถ่ายทอดเทคโนโลยี
    ในการแบ่งปันผลประโยชน์ จัดหา/เอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดให้แก่ภาคีอื่น ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote sensing) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งใช้ทรัพยากรพันธุกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของพืชไร่ พืชสวน ที่เป็นอาหาร การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา จักต้องอยู่ "ภายใต้เงื่อนไขที่ยุติธรรม และด้วยความพึงพอใจที่สุด" และโดยที่มี "การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล"

    5. การเงินสำหรับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
    - จัดหาเงินทุนใหม่และเพิ่มเติม
    ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วต้องจัดหาทรัพยากรการเงินทั้งใหม่และเพิ่มเติม เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาได้มีค่าใช้จ่ายเพียงพอในการอนุวัตรการอนุสัญญา กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental Facility - GEF) เป็นกลไกการเงินเฉพาะการ เพื่อบริหารการจัดการการเงินภายใต้อนุสัญญาฯสมัชชาภาคี (Conference of the paties)จะเลือกกลไกการเงินถาวรการประชุมสมัยที่สามในเดือนพฤศจิกายน 2539

    6. กฎเกณฑ์สำหรับพิธีการ
    - สร้างกฎเกณฑ์ที่ควบคุมดูแลพิธีการและกองทุน
    อนุสัญญา ไม่ระบุกฎเกณฑ์สำหรับพิธีการ สมัชชาภาคีต้องสร้างกฎเกณฑ์ สำหรับการประชุมเอง และสำหรับหน่วยสาขาใดๆ ที่จัดตั้งขึ้น เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ทางการเงินที่ควบคุมดูแลกองทุนแก่สำนักเลขาการอนุสัญญาฯ กฎเกณฑ์พวกนี้ต้องได้รับการยอมรับโดยทั่วไป มิใช่เป็นเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น



    ประเทศไทยกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ
    [​IMG]

    การที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ณ กรุงเอริโอ เดอ จาเนโร เมื่อปี 2535 เพราะรัฐบาลได้มองเห็นประโยชน์และคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ และที่สำคัญ คือ รัฐบาลเล็งเห็นว่าประเทศชาติจะอยู่รอดและเจริญรุ่งเรืองอย่างเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของไทยได้รับการอนุรักษ์ และมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดและยั่งยืนนั่นเอง เพราะข้อสัญญาที่ปรากฎใน "อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ" เป็นการกำหนดพันธกรณีให้ประเทศที่เป็นภาคี มุ่งมั่นดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สามประการ คือ
    [​IMG]
    1.การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
    2.การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
    3.การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม


    แม้ว่า ขณะนี้ไทยยังมิได้ให้สัตยาบัน แต่ประเทศไทยได้ดำเนินการอนุรักษ์ ค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับทรัพยากรความหลากหลายทาง ชีวภาพของประเทศมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือกับนานาประเทศ เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยดี

    ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับร่างระเบียบสำนักนายกฯ นี้แล้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2541 อย่างไรก็ตาม เพื่อความสมบูรณ์ของระเบียบฯกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ขอปรับปรุงระเบียบให้มีความครอบคลุมถึงเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพด้วยและคาดหวังว่าร่างระเบียบฯ นี้ จะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนี้ต่อไป

    http://www.environnet.in.th/evdb/info/bio/bio4.html
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    โลกร้อนทำให้โรคติดเชื้อเพิ่มขึ้น <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">19 กันยายน 2550 21:59 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาวะโลกร้อนมีแนวโน้มจะทำให้โรคติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพราะเชื้อไวรัส จุลินทรีย์ และพาหะนำโรค เจริญเติบโตได้ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวเตือนในการประชุมทางการแพทย์เมื่อวันอังคาร(18)

    ปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้ว และเริ่มหนักหนาสาหัสในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยในการประชุมของสมาคมจุลชีววิทยาแห่งอเมริกา ระบุ

    "หลายปีที่แล้ว เราอาจไม่ต้องพูดคุยกันในหัวข้อนี้" แอนโทนี แมคไมเคิล หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาเรื่อง "ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อสุขภาพของมนุษย์" กล่าว

    "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์...กำลังคืบใกล้เข้ามารวดเร็วกว่าที่เราคาดกันไว้เล็กน้อย" แมคไมเคิล นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคนเบอร์รา ในออสเตรเลีย เผย

    ผู้เชี่ยวชาญยกตัวอย่าง โรคเวสต์ไนล์ไวรัส ว่าเป็นโรคที่ติดต่อกันกว้างขวางขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="3">
    • ออสเตรเลียใช้เลเซอร์ตรวจสภาพน้ำแข็งขั้วโลกใต้ [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="8%"> </td> <td width="92%">โดย ทีมข่าว INN News [ 20-09-2007 | 16:42:27 น. ]</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top"> </td> <td colspan="2" valign="top"><table border="0" bordercolor="#666666" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="2%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="93%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="7%"> </td> <td width="93%"> คณะสำรวจนานาชาติ นำโดยออสเตรเลีย ใช้เลเซอร์บนเฮลิคอปเตอร์ตรวจสอบน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้ เป็นครั้งแรก เพื่อดูว่า เกิดความเปลี่ยนแปลงเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงหรือไม่
    กองขั้วโลกใต้ออสเตรเลีย กระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ แถลงว่า เป็นที่วิตกกันว่า น้ำแข็งขั้วโลกใต้อาจบางลง เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง น้ำแข็งดังกล่าว มีส่วนสำคัญต่อการควบคุมสภาพอากาศโลก และระบบนิเวศวิทยาในมหาสมุทรแอนตาร์กติก เพราะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ หากน้ำแข็งลดลง จะส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นโดยตรง นอกจากนี้ ยังจะชะลอการไหลเวียนของกระแสน้ำเย็นจัด ในมหาสมุทรแอนตาร์กติก
    คณะนักสำรวจเดินทางไปยังขั้วโลกใต้ด้วยเรือออโรรา ออสเตรลิส มีกำหนดสำรวจนาน 6 สัปดาห์ ขณะนี้ลอยลำอยู่ในมหาสมุทรแอนตาร์กติกแล้ว กำลังใช้เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ติดอุปกรณ์เลเซอร์ตรวจวัดความหนาของแผ่นน้ำแข็ง จากนั้น จะนำไปเปรียบเทียบกับผลการวัดจากดาวเทียม ในโครงการวิทยาศาสตร์ไอซ์แซท ของสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา)
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...