การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    คำจำกัดความ

    คำว่า
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การป้อนกลับ

    ผลกระทบจากตัวกระทำที่สร้างแรงในบรรยากาศมีความซับซ้อนตามกระบวนการป้อนกลับหลายแบบ

    หนึ่งในผลการป้อนกลับที่เด่นชัดหลายแบบดังกล่าวสัมพันธ์กับการระเหยของน้ำ กรณีความร้อนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกที่มีอายุยืนยาว เช่น CO<SUB>2</SUB> ทำให้น้ำระเหยปะปนในบรรยากาศมากขึ้น และเมื่อไอน้ำเองก็เป็นแก๊สเรือนกระจกชนิดหนึ่งด้วย จึงทำให้บรรยากาศมีความร้อนเพิ่มขึ้นไปอีกซึ่งเป็นการป้อนกลับไปทำให้น้ำระเหยเพิ่มขึ้นอีก เป็นรอบๆ เรื่อยไปดังนี้จนกระทั่งระดับไอน้ำบรรลุความเข้มถึงจุดสมดุลขั้นใหม่ซึ่งมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกมากกว่าลำพัง CO<SUB>2</SUB> เพียงอย่างเดียว แม้กระบวนการป้อนกลับนี้จะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณความชื้นสัมบูรณ์ในบรรยากาศ แต่ความชื้นสัมพัทธ์จะยังคงอยู่ในระดับเกือบคงที่และอาจลดลงเล็กน้อยเมื่ออากาศอุ่นขึ้น ผลการป้อนกลับนี้จะเปลี่ยนกลับคืนได้แต่เพียงช้าๆ เนื่องจาก CO<SUB>2</SUB> มีอายุขัยในบรรยากาศ (atmospheric lifetime) ยาวนานมาก

    การป้อนกลับเนื่องจากเมฆกำลังอยู่ในระยะดำเนินการวิจัย มองจากทางด้านล่างจะเห็นเมฆกระจายรังสีอินฟราเรดลงสู่พื้นล่าง ซึ่งมีผลเป็นการเพิ่มอุณหภูมิผิวล่าง ในขณะเดียวกัน หากมองทางด้านบน เมฆจะสะท้อนแสงอาทิตย์และกระจายรังสีอินฟราเรดสู่ห้วงอวกาศจึงมีผลเป็นการลดอุณหภูมิ ผลลัพธ์ของผลต่างของปรากฏการณ์นี้จะมากน้อยต่างกันอย่างไรขึ้นอยู่กับรายละเอียด เช่น ประเภทและความสูงของเมฆ รายละเอียดเหล่านี้มีความยากมากในการสร้างแบบจำลองภูมิอากาศเนื่องจากก้อนเมฆมีขนาดเล็ก กระจัดกระจายและมีช่องว่างมากระหว่างก้อนมาก อย่างไรก็ดี การป้อนกลับของเมฆมีผลน้อยกว่าการป้อนกลับของไอน้ำในบรรยากาศ และมีผลชัดเจนในแบบจำลองทุกแบบที่นำมาใช้ในรายงานผลการประเมิน IPCC ครั้งที่ 4 (IPCC Fourth Assessment Report (32)
    [​IMG] [​IMG]
    แนวโน้มของน้ำแข็งของซีกโลกเหนือ


    [​IMG] [​IMG]



    กระบวนการป้อนกลับที่สำคัญอีกแบบหนึ่งคือการป้อนกลับของอัตราส่วนรังสีสะท้อนจากน้ำแข็ง เมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่ม น้ำแข็งแถบขั้วโลกจะมีอัตราการละลายเพิ่ม ในขณะที่น้ำแข็งละลายผิวดินและผิวน้ำจะถูกเปิดให้เห็น ทั้งผิวดินและผิวน้ำมีอัตราส่วนการสะท้อนรังสีน้อยกว่าน้ำแข็งจึงดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ไว้ได้มากกว่า จึงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นป้อนกลับให้น้ำแข็งละลายมากขึ้นและวงจรนี้เกิดต่อเนื่องไปอีกเรื่อยๆ

    การป้อนกลับที่ชัดเจนอีกชนิดหนึ่งได้แก่การปลดปล่อย CO<SUB>2</SUB> และ CH<SUB>4</SUB> จากการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) เช่นพรุพีท เยือกแข็ง (frozen peat bogs) ในไซบีเรียที่เป็นกลไกที่เพิ่มการอุ่นขึ้นของบรรยากาศ การปลดปล่อยอย่างมหาศาลของแก๊สมีเทนจาก
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

    [​IMG] [​IMG]
    ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวโลกในช่วง 2,000 ปี ตามการสร้างขึ้นใหม่แบบต่างๆ แต่ละแบบทำให้เรียบขึ้นตามมาตราส่วนทศวรรษ ตัวที่ไม่เรียบของค่ารายปีสำหรับปี พ.ศ. 2547 ใช้วิธีพล็อตที่ต่างกัน



    เมื่อเร็วๆ นี้

    อุณหภูมิของโลกทั้งบนแผ่นดินและในมหาสมุทรได้เพิ่มขึ้น 0.75 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงปี พ.ศ. 2403
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ตัวแปรภูมิอากาศก่อนยุคมนุษย์

    [​IMG] [​IMG]
    เส้นโค้งของอุณหภูมิที่สร้างขึ้นใหม่ ณ ที่สองจุดในแอนตาร์กติกและบันทึกการผันแปรของโลกในก้อนภูเขาน้ำแข็ง วันที่ของเวลาปัจจุบันปรากฏที่ด้านล่างซ้ายของกราฟ



    โลกได้ประสบกับการร้อนและเย็นมาแล้วหลายครั้งในอดีต แท่งแกนน้ำแข็งแอนตาร์กติกเมื่อเร็วๆนี้ของ EPICA ครอบคลุมช่วงเวลาไว้ 800,000 ปี รวมวัฏจักรยุคน้ำแข็งได้ 8 ครั้ง ซึ่งนับเวลาโดยการใช้ตัวแปรวงโคจรของโลกและช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งมาเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในปัจจุบัน<SUP id=cite_ref-49 class=reference>[50]</SUP>
    การเพิ่มอย่างรวดเร็วของแก๊สเรือนกระจกเพิ่มการร้อนขึ้นในยุคจูแรสซิกตอนต้น (ประมาณ 180 ล้านปีก่อน) โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 5 องศาเซลเซียส งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเปิดบ่งชี้ว่าการร้อนขึ้นเกิดทำให้อัตราการกร่อนของหินเพิ่มมากถึง 400% การกร่อนของหินในลักษณะนี้ทำให้เกิดการกักคาร์บอนไว้ในแคลไซต์และโดโลไมต์ไว้ได้มาก ระดับของ CO<SUB>2</SUB> ได้ตกลงสู่ระดับปกติมาได้อีกประมาณ 150,000 ปี

    การปลดปล่อยมีเทนโดยกระทันหันจากสารประกอบคลาเทรท (clathrate gun hypothesis) ได้กลายเป็นสมมุติฐานว่าเป็นทั้งต้นเหตุและผลของการเพิ่มอุณหภูมิโลกในระยะเวลาที่นานมากมาแล้ว รวมทั้ง
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิด


    แม้การเชื่อมโยงสภาวะภูมิอากาศแบบจำเพาะบางอย่างเข้ากับปรากฏการณ์โลกร้อนจะทำได้ยาก แต่อุณหภูมิโดยรวมของโลกที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการถดถอยของธารน้ำแข็ง(glacial retreat) การลดขนาดของอาร์กติก (Arctic shrinkage) และระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของหยาดน้ำฟ้าทั้งปริมาณและรูปแบบอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความถี่และความรุนแรงของลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น ผลแบบอื่นๆ ก็ยังมีอีกเช่นการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลิตผลทางเกษตร การเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำ การลดปริมาณน้ำลำธารในฤดูร้อน การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดและการเพิ่มของพาหะนำโรค

    ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แม้จะเพียงเล็กน้อย ก็นับว่าเป็นผลส่วนหนึ่งจากปรากฏการณ์โลกร้อน รายงานฉบับหนึ่งของ IPCC เมื่อปี พ.ศ. 2544 แจ้งว่าการถดถอยของธารน้ำแข็ง การพังทลายของชั้นน้ำแข็งดังเช่นที่ชั้นน้ำแข็งลาร์เสน การเพิ่มระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ฝนตก และการเกิดลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เหล่านี้นับเป็นผลสืบเนื่องจากปรากฏการณ์โลกร้อนทั้งสิ้น แม้จะมีการคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งด้านรูปแบบที่เกิด ความแรงและความถี่ที่เกิด แต่การระบุถึงสภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์โลกร้อนอย่างเฉพาะเจาะจงก็ยังเป็นไปได้ยาก ผลที่คาดคะเนอีกประการหนึ่งได้แก่การขาดแคลนน้ำในบางภูมิภาค และการเพิ่มปริมาณหยาดน้ำฟ้าในอีกแห่งหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณหิมะบนภูเขา รวมถึงสุขภาพที่เสื่อมลงเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น

    การเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และความเสียหายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อน อาจยิ่งแย่หนักขึ้นจากการเพิ่มความหนาแน่นของประชากรในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ แม้ในเขตอบอุ่นผลการคาดคะเนบ่งว่าจะได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์โลกร้อนบ้าง เช่นมีการเสียชีวิตจากความหนาวเย็นลดน้อยลง บทสรุปของผลกระทบที่เป็นไปได้และความเข้าใจล่าสุดปรากฏในรายงานผลการประเมินฉบับที่ 3 ของ IPPC โดยกลุ่มทำงานคณะที่ 2 (IPCC Third Assessment Report) , สรุปรายงานการประเมินผลกระทบฉบับที่ 4 (IPCC Fourth Assessment Report) ที่ใหม่กว่าของ IPCC รายงานว่ามีหลักฐานที่สังเกตเห็นได้ของพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงมากขึ้นในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2513 ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มอุณหภูมิของผิวน้ำทะเล ทว่าการตรวจจับเพื่อดูแนวโน้มในระยะยาวมีความยุ่งยากซับซ้อนมากเนื่องจากคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการเก็บตามปกติของการสังเกตการณ์โดยดาวเทียม บทสรุประบุว่ายังไม่มีแนวโน้มที่เห็นได้โดยชัดเจนในการประมาณจำนวนพายุหมุนเขตร้อนโดยรวมของทั้งโลก

    ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอีก ได้แก่การเพิ่มระดับน้ำทะเลจาก 110 มิลลิเมตรไปเป็น 770 มิลลิเมตร ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2643, ผลกระทบต่อเกษตรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น, การหมุนเวียนกระแสน้ำอุ่นที่ช้าลงหรืออาจหยุดลง, การลดลงของชั้นโอโซน, การเกิดพายุเฮอร์ริเคนและเหตุการณ์ลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่รุนแรงมากขึ้น, ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลลดลง และการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ เช่น มาลาเรียและไข้เลือดออก การศึกษาชิ้นหนึ่งทำนายว่าจะมีสัตว์และพืชจากตัวอย่าง 1,103 ชนิดสูญพันธุ์ไประหว่าง 18% ถึง 35% ภายใน พ.ศ. 2593 ตามผลการคาดคะเนภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในช่วงที่ผ่านมายังมีน้อยมากและหนึ่งในงานวิจัยเหล่านี้ระบุว่า อัตราการสูญพันธุ์ที่คาดการณ์กันไว้นี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    เศรษฐกิจ

    [​IMG] [​IMG]
    ผลการคาดคะเนการเพิ่มอุณหภูมิสำหรับช่วงการจำลองแบบเสถียร (แถบสี) เส้นสีดำตรงกลางของแถบแรเงาแสดง
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การอภิปรายทางสังคมและการเมือง
    [​IMG] [​IMG]
    การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่อหัวในปี พ.ศ. 2543


    [​IMG] [​IMG]
    การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่อประเทศในปี พ.ศ. 2543



    ช่วงหลายปีที่ผ่านมา การรับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อนได้เปลี่ยนแปลงไปมากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้สาธารณชนเริ่มตระหนักและมีการอภิปรายทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่ยากจน โดยเฉพาะแถบแอฟริกาดูเหมือนจะมีความเสี่ยงมากในการได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อน ทั้งที่ตนเองปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกมาน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากจากประเทศสหรัฐและออสเตรเลีย และทำให้สหรัฐฯ นำมาอ้างเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ยังไม่ยอมให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว ในโลกตะวันตก แนวคิดที่ว่ามนุษย์มีส่วนสำคัญที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรปมากกว่าในสหรัฐฯ

    ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้จุดประกายให้เกิดการอภิปรายเพื่อชั่งน้ำหนักผลดีจากการจำกัดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกทางอุตสาหกรรมและแก๊สเรือนกระจกกับค่าใช้จ่ายของการจำกัดดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น ได้มีการถกเถียงกันในหลายประเทศเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรับเอาพลังงานทางเลือกชนิดต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน องค์การและบริษัท เช่น "สถาบันวิสาหกิจการแข่งขัน" (Competitive Enterprise Institute) และเอกซ์ซอนโมบิล (ExxonMobil) ได้เน้นสถานการณ์จำลองการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเชิงอนุรักษ์นิยม ในขณะเดียวกันก็เน้นให้เห็นแนวโน้มค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจของการควบคุมที่เข้มงวดเกินไป ในทำนองเดียวกันก็มีการเจรจาทางสิ่งแวดล้อมหลายฝ่าย และผู้มีบทบาทเด่นในสาธารณะหลายคนพากันรณรงค์ให้เห็นถึงแนวโน้มความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและเสนอให้มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลบางแห่งได้เข้าร่วมโดยการลดขนาดกำลังเครื่องจักรของตนลงในรอบหลายปีที่ผ่านมา หรือเรียกร้องให้มีนโยบายลดปรากฏการณ์โลกร้อน

    อีกประเด็นหนึ่งที่อภิปรายกันก็คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาใหม่ (newly developed economies) เช่น อินเดียและจีนควรบังคับระดับการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสักเท่าใด คาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตราการปล่อยของสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และบางทีเหตุการณ์นั้นอาจเกิดขึ้นไปแล้วด้วยตามรายงานเมื่อ พ.ศ. 2549 แต่จีนยืนยันว่าตนมีข้อสัญญาในการลดการปลดปล่อยน้อยกว่าที่ประมาณกัน เพราะเมื่อคิดอัตราการปล่อยต่อรายหัวแล้วประเทศของตนยังมีอัตราน้อยกว่าสหรัฐฯ ถึงหนึ่งต่อห้า อินเดียซึ่งได้รับการยกเว้นจากข้อจำกัดรวมทั้งแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อื่นๆ หลายแห่งก็ได้ยืนยันอ้างสิทธิ์ในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ได้ยืนยันต่อสู้ว่าถ้าตนจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก จีนก็ควรต้องรับภาระนี้ด้วย

    ประเด็นปัญหาภูมิอากาศที่เกี่ยวข้อง

    มีประเด็นปัญหาอื่นๆ อีกมากที่ยกขึ้นมาว่าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์โลกร้อน หนึ่งในนั้นคือการเป็นกรดของมหาสมุทร (ocean acidification) การเพิ่ม CO<SUB>2</SUB> ในบรรยากาศเป็นการเพิ่ม CO<SUB>2</SUB> ที่ละลายในน้ำทะเล CO<SUB>2</SUB> ที่ละลายในน้ำทะเลทำปฏิกิริยากับน้ำกลายเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งทำให้มหาสมุทรมีความเป็นกรดมากขึ้น ผลการศึกษาประเมินว่า ค่า pH ที่ผิวทะเลเมื่อครั้งเริ่มยุคอุตสาหกรรมมีค่า 8.25 และได้ลดลงมาเป็น 8.14 ในปี พ.ศ. 2547 คาดว่าค่า pH จะลดลงอีกอย่างน้อย 0.14 ถึง 0.5 หน่วย ภายในปี พ.ศ. 2643 เนื่องจากมหาสมุทรดูดซับ CO<SUB>2</SUB> มากขึ้น ทว่าสิ่งมีชีวิตจุลชีพและระบบนิเวศจะดำรงอยู่ได้ในช่วง pH แคบๆ ปรากฏการณ์นี้จึงอาจทำให้เกิดปัญหาการสูญพันธุ์ อันเป็นผลโดยตรงจากการเพิ่มปริมาณ CO<SUB>2</SUB> ในบรรยากาศ ผลกระทบที่ตามมาก็คือห่วงโซ่อาหารจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อสังคมมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศทางทะเลอยู่มาก
     
  8. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขอบพระคุณมากค่ะคุณvanco... ข้อมูลครอบคลุมเนื้อหาสำคัญๆ ที่ทุกคนควรจะตระหนักรู้... และหันมาช่วยกันเอาใจใส่ต่อสิ่งรอบตัว... กันให้มากขึ้น...

    เฮ้อ! แต่ไม่รู้ว่าจะทำกันได้มากน้อยแค่ไหน และทันการณ์หรือเปล่านะคะ...

    อย่างไรก็ตาม... ขอบพระคุณคุณ vanco และทุกๆ ท่านที่ช่วยกันหาข้อมูล... และนำสาระประโยชน์เหล่านั้นมาบอกกล่าวให้พวกเราได้ทราบกันตลอดมาด้วยค่ะ...

    กราบขอบพระคุณค่ะ...
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top width=80 align=middle>[​IMG]



    </TD><TD vAlign=top>การกลายพันธุ์ของเชื้อโรคจากสภาวะโลกร้อน
    โลกร้อนส่งผลกระทบในวงกว้างประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือสภาวะโลกร้อนกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคอหิวาห์ตกโรคประปรายอยู่ทั้งปีในขณะที่เมื่อก่อนเราจะพบผู้ป่วยได้แค่ในหน้าร้อน หนึ่งอาจจะเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของภาวะโรคร้อนที่ส่งผลกระทบ

    สภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อโลกเรามากมายหลายประการ สิ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตของโลกโดยตรงอันเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตตามปรกติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำทะเลที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว เรื่องการกลายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประเด็นที่น่าติดตาม ในเรื่องนี้ยังไม่มีการศึกษาที่เป็นรูปธรรมมากนัก เนื่องจากการกลายพันธุ์หรือกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตย่อมอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน

    แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจนน่าประหวั่นพรันพรึงและก่อเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลของภาวะโรคร้อนคือการวิวัฒนาการของเชื้อโรคบ้างชนิด อหิวาห์ตกโรคก็เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มปริมาณมากขึ้นจนน่าตกใจ

    อหิวาห์ตกโรคเกิดขึ้นได้โดยการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางการแพทย์เรียกเชื้อดังกล่าวว่า วิบริโอคอเลอรา (vibrio cholerae) ซึ่งสามารถสร้างเชื้อท๊อกซิน (toxin)เป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหาโรคท้องร่วงในคนได้ แต่หลังจากปี ค.ศ. 1973 เป็นต้นมากลับไม่มีการพบเชื้ออหิวาห์ตกโรค วิบริโอคอเลอราสายพันธ์แบบ คลาสิคอลได้อีกเลย แต่กลับพบสายพันธุ์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าสายพันธ์เอลซอลซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้เหมือนกันแต่ มีระดับความรุนแรงน้อยกว่าเชื้อแบบคลาสิคอลเนื่องจากมีปริมาณท๊อกซินมีน้อยกว่าพันธุ์แบบคลาสิคอล


    นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาคำตอบของปรากฏการณ์การหายไปของเชื้ออหิวาห์ตกโรคแบบเก่า ซึ่งพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ สายพันธุ์แบบคลาสิคอลหายไปและสามารถตรวจพบสายพันธุ์ใหม่ได้ก็คือการปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าของสายพันธ์เอลซอลนั้นเอง โดยปรกติแล้วนักวิทยาศาสตร์แบ่งสายพันธ์ของอหิวาห์ตกโรคออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ สายพันธุ์ที่สามารถก่อโรคและสายพันธุ์ชนิดที่ไม่ก่อโรค


    สำหรับเรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้ออหิวาห์ตกโรคเป็นที่สนใจของ รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์ อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์และปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม ม.ธรรมศาสตร์ รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเชื้ออหิวาห์ตกโรคในแม่น้ำ 4 สายหลักคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และ บางปะกง โดยเก็บน้ำตัวอย่างจากแม่น้ำทั้ง 4 ครั้งละ 2 ลิตร โดยใน1 ปี จะมีการเก็บตัวอย่างนำเพื่อนำมาทำการทดสอบ 24 ครั้ง ณ จุดเดิม การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยมีระยะเวลาในการทำการวิจัย 3 ปี เต็ม


    [​IMG]
    รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์





    จากการศึกษาดังกล่าวอาจารย์กำพลพบว่า เชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรคเพราะไม่มีความสามารถสร้างท๊อกซินได้ กลายเป็นสามารถสร้างท๊อกซินได้ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CTXPHAGE (CTX)


    “จากการวิจัยที่ได้ทำการศึกษาบริเวณปากแม่น้ำของทั้ง 4 สายเราจะสามารถพบเชื้อวิบริโอคอเลอรา สายพันเอลซอลได้ แต่จากการศึกษาที่ลึกลงไปเราพบว่าเชื้อที่พบในสิ่งแวดล้อมนี้ไม่มีสายพันธุ์ใดที่สามารถสร้างท๊อกซินได้เลย ก็หมายความว่าเชื้อที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมจะไม่ก่อโรค เราก็มาดูว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถสร้างท๊อกซิน กลายเป็นสามารถสร้างท๊อกซินได้ จากการศึกษาพบว่า เชื้อที่สร้างท๊อกซินได้นี้ จะติด เชื้ออีกทีหนึ่ง ไวรัสชนิดนี้เราเรียกว่า CTX


    ในอดีตการแพร่ระบาดของโรคอหิวาห์ตกโรคจะมีขึ้นในช่วงหน้าร้อนแต่ในปัจจุบันกลับพบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคอหิวาห์ตกโรคอยู่อย่างประปรายตลอดทั้งปี ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้แบคทีเรียวิบริโอคอเลอรา สามารถติดเชื้อไวรัส CTX ได้คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันนั้นเอง


    “สาเหตุหนึ่งผมคิดว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆตามภาวะภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นและต่ำลงในบางฤดู ก็จะสามารถทำให้ตัวเชื้อแบคทีเรียมีโอกาสที่จะรับเชื้อไวรัสได้สูงขึ้นซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะตามมาในอนาคตนี้

    แบคทีเรียจะสามารถจะติดเชื้อไวรัส CTX ได้ แบคทีเรียจะต้องมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาในห้อง LAB ปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวเหนี่ยวนำให้ติดเชื้อคือ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่าเปลี่ยนไปสูงขึ้นหรือลดลง จะทำให้เชื้อเกิดความอ่อนแอ ก็จะสามารถรับไวรัส CTX เข้าไปในตัวได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อมีการเปลี่ยนจากที่เคยไม่สามารถสร้างท๊อกซินก็จะลายมาเป็นสร้างท๊อกซินได้ จากไม่ก่อโรคก็กลายมาเป็นเชื้อที่สามารถก่อโรคได้”


    [​IMG]
    vibrio cholerae
    ภาพจาก http://student.ccbcmd.edu



    แม้การพบเชื้อวิบริโอคอเลอรา ที่ติดไวรัส CTX จะสามารถเจอได้ในห้องทดลองโดยในสภาพแวดล้อมปัจจุบันยังไม่สามารถเจอเชื้อนี้ได้ในธรรมชาติ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากกงานวิจัยชิ้นนี้คือการทำให้เห็นว่าการกลายพันธ์ของเชื้อแบคทีเรียจะสามารถเกิดขึ้นได้หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่พอเหมาะ นอกจากนี้แล้วในประเทศอินเดียยังมีการศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียวิบริโอคอเลอรา ด้วยเช่นกันและมีการพบ เชื้ออหิวาตกโรคสายพันธ์ใหม่ที่เรียกว่า วิบริโอคอเลอรา O139 ซึ่ง วิบริโอคอเลอรา O139 เพิ่งมาระบาดในช่วงปีหลังๆ และสามารถพบในประเทศไทยเช่นกัน


    “ตอนนี้เรายังไม่เจอเชื้อแบคทีเรียที่ติด CTX ในธรรมชาติ ซึ่งอาจจะต้องใช้น้ำมากขึ้นใช้เวลามากขึ้น และปริมาณที่เราสุ่มมาใช้ในการทดลองถือว่ายังน้อยมาก ผมคิดว่าเป็นไปได้ว่าจะมีสายพันธุ์ที่ก่อโรคอยู่แต่มันยังมีน้อย ทฤษฎีที่ทำให้ห้องLAB เราสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆได้แต่ใน ภาคสนามแล้วมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องเยอะมันเลยไม่เป็นตามทฤษฎีเหตุผลหนี่ง เพราะว่าอุณหภูมิของน้ำเท่าทีตรวจสอบในภาคสนามมันไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ ผิดกับในห้องทดลองที่เราสามารถจะเปลี่ยนมันได้ในทันที แต่ผมเชื้อว่ามันก็คงต้องมี เพราะไม่งั้นมันจะไม่มีการรายงานผลของผู้ป่วย ”


    รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์ ยังคงตั้งเป้าเพื่อทำการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้เพิ่มเติมโดยจะทำการศึกษาในแม่น้ำสายอื่นและเพิ่มปริมาณน้ำที่นำมาทดสอบต่อไป นอกจากการกลายพันธุ์ของเชื้อวิบริโอคอเลอรา แล้ว ปัจจุบันเรายังสามารถพบเชื้อโรคชนิดใหม่ๆมากมายไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก แม้จะไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าโรคเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโรคร้อน แต่สิ่งหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงไปของระบบนิเวศน์ ทำให้ที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตของยุงที่ทำให้เกิดการระบาดของไข้เลือดออกและมาเลเรียมากขึ้น หรือการที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นทำให้แบคทีเรียสามารถแบ่งตัวของเชื้อก่อโรคมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียมากขึ้นด้วยเป็นต้น


    “คือจริงๆแล้ว กระบวนการในการที่มีวิวัฒนาการของเชื้อจุลชีพหรือในสิ่งมีชีวติทั้งหลายในโลกการเปลี่ยนแปลงมันต้องใช้เวลา ในขณะที่ช่วงชีวิตช่วงชีวิตของเราไม่เกิน 100 ปี เราก็จะเห็นสิ่งมีชีวิตในแบบนี้ แต่ในช่วง 200 ปีข้างหน้าเราก็อาจจะเห็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่แบบนี้คือมันมีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างในจุลชีพหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยก็จะปรับตัวเพื่อให้สามารถเข้าไปอยู่ได้ในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของเขา อันนี้เป็นผลการกระตุ้นทางอ้อม

    สมัยก่อนเราพบว่ายุงลายออกหากินเฉพาะกลางวัน แต่เดี๋ยวนี้ยุงลายออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน สาเหตุใหญ่นักวิทยาสาสตร์เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพของอาอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ตอนเย็นอากาศมันอุ่นขึ้น มีปริมาณ CO2 มากขึ้นในตอนเย็นๆ มันก็เลยเป็นการเหนี่ยวนำในยุงกระหายเลือด CO2 มีผลต่อการกระหายเลือดของยุงเช่นกันการที่กระหายเลือดหรือไม่กระหายเลือดนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของ CO2และอุณหภูมิด้วย อันนี้เป็นภาพค่อนข้างชัดว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะมีผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน

    ส่วนเรื่องการกลายพันธุ์ในระดับ DNA ยังบอกไม่ได้ชัดเพราะว่ามันต้องใช้เวลา อย่างเรื่องอหิวาห์ตกโรคที่ผมได้ทำการศึกษาก็ยังบอกได้ไม่ชัดเท่าไหร่ แม้จะเจอในห้องทดลองแต่ในภาคสนามก็ยังไม่เจอ แต่ตามหลักวิชาการมีโอกาสเป็นไปได้”


    [​IMG]
    ยุงลายสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่เกิดการปรับตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและปริมาณ CO2
    ภาพจาก www.komchadluek.net/




    นอกจากการศึกษาเรื่องเชื้ออหิวาห์โรคแล้วอาจารย์ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องของน้ำ ซึ่งของเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมแม้จะมีเพียงปริมาณเล็กน้อยแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทำให้สัตว์น้ำบางชนิดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เนื่องจากปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ลดต่ำลง ทั้งยังกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม


    “ปัจจุบันนี้ประชากรของไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งในอัตราค่อนข้างสูง เราก็ไม่รู้ว่า ว่าสาเหตุมาจากอะไร หลายท่านก็มองว่าสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ มาจากอาหารการกิน แต่จุดหนึ่งที่หลักเลี่ยงไม่ได้ คือการพัฒนาประเทศจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรมเราไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ ที่ดีพอส่งผลให้ จากโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งไม่เข้มงวด ปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม อย่างเช่นจังหวัดระยอง ประชาชนในพื้นที่ต้องรับเอาผลพวงที่เกิดขึ้นจากการขยายตัว ของอุตสาหกรรม ซึ่งกระจุกตัวและส่งผลกระทบมากมาย ตัวเลขของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของจังหวัดนี้สูงมาก

    หน่วยงานราชการเองก็พยายามแก้ไขปัญหาซึ่งมันต้องแก้ในระดับนโยบายว่าเรายังจะส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศไทยหรือไม่ถ้าส่งเสริมแล้ว เราควรจะมีแนวทางในการแก้ไขในเชิงนโยบายอย่างไร ในการที่จะทำให้โรงงานเหล่านี้ได้ดำเนินการไปพร้อมๆกับการที่ เขาจะต้องให้ความตะหนักต่อประชาชนที่อยู่รอบๆโรงงานด้วยผมมองว่าตรงนี้มันมีผลกระทบที่ชัดเจน นอกเหนือจากเชื้อโรคทั้งหลายกระทบแนวกว้างมากกว่า และเห็นได้อย่างชัดเจน “


    ผลกระทบที่เกิดจากโลกร้อนมีอยู่มากมาย เรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนแม้นำมากล่าวอ้างทางวิทยาศาตร์ได้เต็มปากมากนักเนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงยังคงต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ปัจจัยสำคัญที่เกิดจากากสภาวะแวดล้อมคือการปรับตัวของเชื้อโรคที่ต้องการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงก็ย่อมมีแนวโน้มและความเป็นไปได้ของการกลายพันธุ์ที่น่าจะมีมากขึ้นในอนาคต สภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดผลกระทบครั้งใหญ่ต่อโลก และสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ บางที่ปัญหาเรื่องโลกร้อนอาจจะเป็นบทพิสูจน์ถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหานี้ของทุกคนทุกประเทศว่าจะจริงจังกับมันแค่ไหน โลกร้อนเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ หยุดมันโดยเริ่มที่ตัวเรา

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    สัมภาษณ์ รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์
    ผู้อำนวยการสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม
    อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    โดย วิรุฬหกกลับ
    http://www.vcharkarn.com/varticle/38203


    <TABLE border=0 width=350 background=../pics/banner350.gif align=center height=70><TBODY><TR><TD>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=290 bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=1 width=280 bgColor=#dddddd align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#cccccc align=center height=22><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=center background=../pics/_top3.gif>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><EMBED language=-1 height=69 type=audio/x-ms-wma width=280 src=http://www.dhammathai.org/radio/sound/Illimitable.wma bgcolor="CCCCCC" autoplay="true" cache="true" enablejavascript="true" controller="true" filename="" showcontrols="true" showstatusbar="true" rate="1" balance="0" currentposition="0" playcount="1" currentmarker="0" invokeurls="true" volume="0" mute="0" enabled="true" enablecontextmenu="0" audiostream="true" autosize="0" animationatstart="true" allowscan="true" allowchangedisplaysize="true" autorewind="1" baseurl="" bufferingtime="5" clicktoplay="false" cursortype="0" displaybackcolor="50" displayforecolor="16777215" displaymode="0" displaysize="4" enablepositioncontrols="-1" enablefullscreencontrols="0" enabletracker="-1" selectionstart="-1" selectionend="-1" sendopenstatechangeevents="-1" sendwarningevents="-1" senderrorevents="-1" sendplaystatechangeevents="-1" showaudiocontrols="-1" showpositioncontrols="-1" showtracker="-1" autostart="true" border="0"> </EMBED></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2008
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ประเทศไทยกับการเพิ่มระดับน้ำทะเลจากสภาวะโลกร้อน

    ผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทั่วโลกต้องประสบกับความเสียหาย ทั้งยังส่งผลให้ขาดแคลนแหล่งน้ำจืดซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
    ผู้เขียน: วิรุฬหกกลับ

    ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลกระทบอีกประการหนึ่งของสภาวะโลกร้อน เมื่อปริมาณน้ำทะเลเพิ่มระดับมากขึ้น แน่นอนว่าบริเวณชายฝั่ง และบริเวณที่มีพื้นที่สูงไม่มากนักย่อมได้รับผลกระทบจากสภาวะดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแล้วพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางบางส่วนเป็นพื้นที่เสียงต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล

    โดยปรกติแล้วระดับน้ำขึ้นน้ำลงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสภาวะของสิ่งแวดล้อมชายฝั่งข้อมูลของระดับน้ำทะเลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งการนำไปใช้คำนวณหาระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับน้ำขึ้นสูงสุด ระดับน้ำต่ำสุด รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการเขียนแผ่นที่การเดินเรือ การทำนายระดับน้ำขึ้นน้ำลงล่วงหน้า ระดับน้ำทะเลยังสามารถนำไปใช้เตือนภัยสึนามีและภัยคลื่นน้ำหนุนจากลมพายุในทะเลด้วย


    ประวัติการตรวจวัดระดับน้ำและการทำนายระดับน้ำ ชาวเลได้อาศัยการสังเกตระดับน้ำ มานานนับพันปี เพื่อใช้สิ่งที่ได้จากการสังเกตในการดำรงชีวิตที่ต้องผูกพันกับท้องทะเล ทั้งการเดินเรือ การออกเรือ การเข้าฝั่ง มนุษย์เรารับรู้ว่าในแต่ละวันน้ำจะขึ้นและลง อย่างละครั้ง มาตั้งแต่อดีต


    [​IMG]
    แผ่นที่โลกอาจจะไม่เป็นเหมือนเดิม
    ภาพจาก http://www.mapsofworld.com/




    ความเป็นมาของการตรวจวัดระดับน้ำ


    งานที่เกี่ยวกับการสังเกตระดับน้ำมีการบันทึกมาตั้งแต่สมัยอดีตโดยมีการบันทึกที่เป็นกิจจะลักษณะในครั้งแรก โดย Venerable Bede ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 1215-1278 ได้มีการบันทึกไว้ว่า “ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศอังกฤษ เวลาเกิดระดับน้ำขึ้นสูงสุด จะเคลื่อนลงทิศใต้ด้วยความเร็วเกือบคงที่ ”

    รวมถึงการที่ Francis Beacon พบว่าการเกิดระดับน้ำสูงสุดจะมีการเคลื่อนตัวไปจากทิศใต้ในบริเวณช่องแคบยิบรอลต้าไปทิศเหนือจนถึงบริเวณทะเลเหนือเขายังมีความเห็นว่าควรมีการเก็บข้อมูลระดับน้ำตลอดชายฝั่งของทวีปอเมริกาและแอฟริกาด้วย



    ในอดีตผู้คนต่างพากันเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้นน้ำลงนั้นเป็นเพราะโลกเรากำลังหายใจ เป็นการหายใจด้วยน้ำแทนที่จะเป็นอากาศ อย่างมนุษย์ธรรมดาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2230 ความลับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำของโลกถูกไขโดย นักวิทศาสตร์นามกระเดื่องอย่าง เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) โดยอาศัยการสังเกตเกี่ยวกับจักรวาลมาผสานกับความรู้ทางคณิตศาสตร์จนทำให้เขาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และ แรงที่เกิดจากการโคจรของโลกซึ่งทำให้ต่อจากนั้นมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ใช้ ทฤษฎีของนิวตันพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับระดับน้ำขึ้นน้ำลงเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน




    เครื่องมือวัดระดับน้ำ


    ในระยะของการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำผู้เฝ้าสังเกตในสมัยโบราณมักจะทำด้วยวิธีง่ายๆ ไม่มีความซับซ้อนมากนักเช่นการ การทำเครื่องหมายของระดับน้ำเอาไว้ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำผู้เฝ้าจะสังเกตก็จะทำการจดบันทึก หรือการใช้ไม้บรรทัดวัดระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปโดยตรง เป็นต้น


    สำหรับมาตราวัดระดับน้ำที่เป็นที่รู้จักและถือว่าเป็นมาตราวัดระดับน้ำชิ้นแรกของยุโรปคือมาตรน้ำของ John. Abbot of Wallingford ซึ่งสามารถใช้ทำนายระดับน้ำสูงสุดของสะพานลอนดอนในสมัยนั้นได้และยังสามารถให้ทำนายระดับสูงสุดในวันถัดไป แต่มาตราน้ำในลักษณะเดียวกันนี้กลับพบในบริเวณปากแม่น้ำ Chien Thang ในประเทศจีนราวปี พ.ศ.1599 ซึ่งเกิดก่อนทวีปยุโรปเกือบ 200 ปี จนกระทั่งได้มีการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับใช้วัดระดับน้ำอัตโนมัติ ปัจจุบันแบ่งการเครื่องมือวัดระดับน้ำด้วยวิธีต่างๆได้ดังนี้


    1. แบบทุ่นลอยในท่อหรือในบ่อ การวัดระดับน้ำแบบนี้เป็นที่แพร่หลายมากที่สุด ซึ่งเคยใช้เป็นเครื่องมือวัดในการท่าเรือทุกแห่งแต่ข้อเสียของเครื่องมือวัดระดับน้ำแบบนี้ จะไม่สามารถทำได้ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูง จึงถูกแทนที่ด้วยเครื่องมือวัดในระบบอื่น


    [​IMG]
    เครื่องมือวัดระดับน้ำแบบทุ่นลอย
    ภาพจาก เอกสารระดับน้ำในน่านน้ำไทย กรมอุทกศาสตร์





    2.เครื่องวัดระดับน้ำแบบวัดความดัน เป็นระบบเครื่องวัดที่สามารถติดตั้งได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต้านทานหรือความจุ


    [​IMG]
    เครื่องมือวัดระดับน้ำแบบวัดความดัน
    ภาพจาก เอกสารระดับน้ำในน่านน้ำไทย กรมอุทกศาสตร์




    3.เครื่องวัดระดับน้ำแบบเสียงสะท้อน เครื่องวัดแบบนี้อาศัยการตรวจจับคลื่นเสียงที่ส่งไปยังผิวน้ำ เมื่อทราบความเร็วของคลื่นเสียงก็สามารถนำมาคำนวณหาระยะทาง หรือระดับความสูงของน้ำได้แต่ระบบนี้มีข้อเสียคือหากผิวน้ำมีคลื่นสะท้อนมากก็จะทำให้ผลการคำนวณคลาดเคลื่อนได้


    [​IMG]
    เครื่องมือวัดระดับน้ำแบบเสียงสะท้อน
    ภาพจาก เอกสารระดับน้ำในน่านน้ำไทย กรมอุทกศาสตร์




    4.เครื่องวัดระดับน้ำแบบเรดาห์ เครื่องวัดแบบนี้ใช้หลักการทำงานแบบเดียว กับเครื่องวัดระดับน้ำแบบเสียงสะท้อน แต่เปลี่ยนจากการวัดคลื่นเสียงเป็นการวัดคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่ง ปัจจัยเกี่ยวกับอุณหภูมิหรืออากาศมีผลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยมาก แต่ข้อเสียเครื่องมือวัดแบบนี้ก้ยังมีข้อเสียคือเป็นระบบที่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงมากดังนั้นจึงเป็นอุปสรรคในการจะติดตั้งเครื่องมือประเภทนี้ในแหล่งที่ห่างไกลพลังงาน


    การวัดระดับน้ำในแต่ละประเภทมีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวัดระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆจึงต้องอาศัยความเหมาะสมเกี่ยวกับเครื่องมือและศักยภาพของเครื่องวัดแต่ละชนิดด้วย




    ในประเทศไทย การตรวจวัดระดับน้ำมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบซึ่งผลของการวัดจะเอาไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันเช่น


    - การวัดวัดระดับน้ำของกรมชลประทานเพื่อใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน รวมทั้งป้องกันและบรรเทาอุทกภัย
    - การตรวจวัดระดับน้ำของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
    - การตรวจวัดระดับน้ำของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
    - กรมอุทกศาสตร์






    ผลกระทบที่เกิดจากระดับน้ำที่เพิ่มตัวสูงขึ้น



    ในโลกยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 2 หมื่นปีที่แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ระดับน้ำทะเลในยุคนั้นต่ำกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบันมาก ในบริเวณทะเลจีนใต้และทะเลอันดามันเคยเป็นแผ่นดินมาก่อน ต่อมาเมื่อโลกปรับสมดุลของตัวเองทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นไปตามกระบวนการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเนื่องจากการปฎิวัติอุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพลังงานขนานใหญ่ของโลก ก๊าซเรือนกระจกต่างๆจึงถูกปล่อยขึ้นชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดเป็น ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าเมื่อโลกเข้าสู่คริสตศวรรตษที่ 22 โลกเราจะมีระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 1 เมตร ผลการวิจัยของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือ IPCC ระบุว่าหากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร จะทำให้พื้นที่ต่างๆของโลกจมหายไปเกาะบางแห่งอาจจะถูกน้ำท่วมถึงทั้งเกาะ และหากอูณหภุมิโลกเปลี่ยนแปลงไป 2 องศาเซสเซียส จะทำให้ประชากรโลกกว่า 2,000 ล้านคน ขาดแคลนน้ำจืด สิ่งมีชีวิตกว่า 30 สายพันธ์ต้องสูญพันธุ์ไป


    ในรายงานฉบับที่ 4 ของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ “Up in Smoke: Asia and the Pacific” ได้ระบุว่าสภาวะโลกร้อนจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรในทวีปเอเชีย อันถือว่าเป็นแหล่งอาหารแหล่งใหญ่ของโลก

    สาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น เพราะนอกจากการละลายของน้ำแข็งจากแหล่งต่างๆแล้ว เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวของผิวน้ำทะเลซึ่งส่งผลกระทบต่อบริเวณชายฝั่ง



    สำหรับประเทศไทย ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) พบว่า ระดับน้ำทะเลในทะเลอันดามัน สูงประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย สูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START)ระบุว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลดังกล่าวเป็นไปตามตามหลักทฤษฎีอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน


    หากประเทศไทยต้องผจญกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสุงขึ้นจริงๆจะทำให้ประเทศไทยเจอกับอุปสรรคมากมาย หากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 0.5 – 1 เมตรจะทำให้บริเวณชายฝั่งถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง บริเวณจะประสบปัญหาอย่างมากในการกัดเซาะชายฝั่งคือกรุงเทพมหานคร และชายฝั่งภาคใต้ด้านอ่าวไทย น้ำเค็มจะรุกล้ำพื้นที่การเกษตร ทั้งยังส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง


    แม้จะมีรายงานจาก ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) ถึงระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปของน่านน้ำไทยแต่เป็นเพียงปริมาณน้อยทั้งยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของปีน้ำมากน้ำน้อย ซึ่งการวิเคราะห์คงต้องอาศัยระยะเวลาและการเก็บข้อมูลที่แน่นอน


    [​IMG]
    กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นกับระดับน้ำทะเล
    ภาพจาก http://www.lesa.in.th/




    ทั้งนี้คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (IPCC) ได้จัดแบ่งโซนต่างๆซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนโดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในโซน IV ซึ่งน้ำทะเลไม่สูงขึ้นจากอิทธิพลโลกร้อนเพราะอยู่ไกลจากน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ ประเทศในกลุ่มอินโดจีน เกาหลี จีน และ ญี่ปุ่น


    แม้ระดับน้ำทะเลในบริเวณอ่าวไทย รวมทั้งฟากทะเลอันดามันจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้หากมันเกิดขึ้นจริงๆ ประเทศไทยก็ต้องประสบปัญหาอย่างที่หลายๆพื้นที่ในโลกกำลังประสบอยู่ยิ่งการจำลองสภาพของการเพิ่มระดับของน้ำทะเลทำให้อดคิดไม่ได้ว่า พื้นที่บางส่วนของไทยอาจจะถูกลบออกจากแผ่นที่หาก วันนั้นมาถึงจริงๆ และหากภาวะโลกร้อนยังคงส่งผลต่อไปอย่างต่อเนื่อง พื้นที่อันเป็นผืนแผ่นดินในขณะนี้ก็อาจจะกลับกลายเป็นมหาสมุทรที่เวิ้งว้างมองไม่เห็นฝั่ง และแน่นอนว่าไทยเราเองก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงภัยพิบัติครั้งนี้ได้แต่เพียงลำพัง



    * สามารถศึกษาของมูลการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในปี พ.ศ.2551 ได้ที่
    http://www.navy.mi.th/hydro/services08.htm



    แหล่งข้อมูล


    เอกสารจากกรมอุทกศาสตร์
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
    หนังสือพิมพ์เสียงใต้
    หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.tgo.or.th
    http://www.biothai.net/
    http://www.601apidet.th.gs/
    http://edunews.eduzones.com
    http://www.vcharkarn.com/varticle/38212
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ประเทศไทยกับการเพิ่มระดับน้ำทะเลจากสภาวะโลกร้อน

    ผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทั่วโลกต้องประสบกับความเสียหาย ทั้งยังส่งผลให้ขาดแคลนแหล่งน้ำจืดซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
    ผู้เขียน: วิรุฬหกกลับ

    ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลกระทบอีกประการหนึ่งของสภาวะโลกร้อน เมื่อปริมาณน้ำทะเลเพิ่มระดับมากขึ้น แน่นอนว่าบริเวณชายฝั่ง และบริเวณที่มีพื้นที่สูงไม่มากนักย่อมได้รับผลกระทบจากสภาวะดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแล้วพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางบางส่วนเป็นพื้นที่เสียงต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล

    โดยปรกติแล้วระดับน้ำขึ้นน้ำลงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสภาวะของสิ่งแวดล้อมชายฝั่งข้อมูลของระดับน้ำทะเลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งการนำไปใช้คำนวณหาระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับน้ำขึ้นสูงสุด ระดับน้ำต่ำสุด รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการเขียนแผ่นที่การเดินเรือ การทำนายระดับน้ำขึ้นน้ำลงล่วงหน้า ระดับน้ำทะเลยังสามารถนำไปใช้เตือนภัยสึนามีและภัยคลื่นน้ำหนุนจากลมพายุในทะเลด้วย


    ประวัติการตรวจวัดระดับน้ำและการทำนายระดับน้ำ ชาวเลได้อาศัยการสังเกตระดับน้ำ มานานนับพันปี เพื่อใช้สิ่งที่ได้จากการสังเกตในการดำรงชีวิตที่ต้องผูกพันกับท้องทะเล ทั้งการเดินเรือ การออกเรือ การเข้าฝั่ง มนุษย์เรารับรู้ว่าในแต่ละวันน้ำจะขึ้นและลง อย่างละครั้ง มาตั้งแต่อดีต


    [​IMG]
    แผ่นที่โลกอาจจะไม่เป็นเหมือนเดิม
    ภาพจาก http://www.mapsofworld.com/




    ความเป็นมาของการตรวจวัดระดับน้ำ


    งานที่เกี่ยวกับการสังเกตระดับน้ำมีการบันทึกมาตั้งแต่สมัยอดีตโดยมีการบันทึกที่เป็นกิจจะลักษณะในครั้งแรก โดย Venerable Bede ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 1215-1278 ได้มีการบันทึกไว้ว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...