การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ฤาโลกจะมลาย

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top" width="200">[​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    </td> <td width="10"></td> <td valign="top"> ฤาโลกจะมลาย

    ที่มา ไทยรัฐ

    โลกเราทุกวันนี้ตั้งอยู่ในสถาน ภาพที่หมิ่นเหม่ต่อการพินาศแตกสลาย ทั้งจากการต่อสู้ทำลายล้างกันเองในระหว่าง เผ่าพันธุ์มนุษย์มีการทดลอง อาวุธนิวเคลียร์มหาประลัย ที่สักวันหนึ่งอาจระเบิดถล่มทลายโลกเป็นเสี่ยงๆ ดังเช่นในภาพล้อที่คุณประยูร จรรยาวงศ์ นักการ์ตูน ของไทยในอดีตเคยเขียนไว้ และทั้งจากมหาภัยธรรมชาติที่นับวันก็จะรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ จนไม่อาจหยั่งรู้ ได้ว่าโลกของเราจะพินาศด้วยน้ำ มือมนุษย์หรือจากภัยธรรมชาติก่อนกัน

    เริ่มด้วยภัยจากที่สูงคือบนท้องฟ้าก่อน ประเทศไทยเรานับว่ายังโชคดีที่ประสบกับมหาวาตะหรือลมพายุที่ไม่สู้รุนแรงนัก แต่จากสภาพแปรปรวนของอากาศทุกวันนี้ทำให้ดินฟ้าอากาศในภูมิภาคอื่นแปรปรวน โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องเผชิญกับพายุหมุน หรือ Twister อันร้ายกาจ ที่รู้จักกันดีในชื่อทอร์นาโด (Tornado) พายุนี้จะก่อตัวขึ้นเมื่อยามที่อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นจาก
    พื้นล่างและปะทะกับอากาศเย็นที่ลอยลงต่ำ อากาศทั้งสองที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันจะรวมตัวในลักษณะของ เกลียวและหมุนปั่นเป็นแรงมหาศาลรูปกรวยพุ่งใส่พื้นดินเบื้องล่าง ทำลายทุกอย่างที่อยู่ ในรัศมีเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

    ดังเช่นในวันที่ 18 มีนาคม 1925 เวลาบ่ายโมงตรง ทอร์นาโดที่ยาวนานที่สุดและพลังความพินาศมากที่สุดได้ก่อตั้งขึ้น โดยมีความกว้างของกรวย 1 กิโลเมตร และเคลื่อน ที่ด้วยความเร็วยิ่งกว่ารถแข่ง เริ่มจากเมืองเอลลิงตันรัฐมิสซูรี ใช้เวลา 15 นาที ทำลายเมืองแอนนาโปลิส ที่อยู่ถัดขึ้นไปใกล้กันราบเรียบ จากนั้นก็เคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถล่มเมืองต่างๆในรัฐอิลลินอยส์ เฉพาะเมือง เมอร์ฟิสโบโร มีผู้เสียชีวิตถึง 234 คน จากนั้นก็พุ่งผ่านต่อไปเข้ารัฐอินเดียนา หลังถล่มเมืองปรินซ์ตันกระจุยก็ยุติลงในเวลา 16.30 น. ในช่วงเวลาสามชั่วโมงครึ่งนี้ มีคนตายทั้งสิ้น 689 คน ทรัพย์สินเสียหายไม่อาจประเมินค่าได้
    ถัดมาคือภัยพิบัติจากน้ำท่วมโลก เราทุกคนคงรู้จักสภาวะเรือนกระจกดี นั่นคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น และห่อหุ้มบรรยากาศของโลกไว้ จนความร้อนไม่อาจระบายขึ้นสูงออกไปนอกโลกได้ เกิดเป็นภาวะโลกร้อน และทำให้น้ำแข็งขั้ว โลกที่มีอยู่มหาศาลละลายตัว เป็นเหตุให้น้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นๆจนท่วมโลก
    พลเมืองโลกที่ต้องเผชิญกับภัยน้ำท่วมก็คือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง หรือตามขอบสมุทร ซึ่งความจริงแล้วน้ำท่วมมีข้อดีคือได้นำเอาปุ๋ยอันอุดมสมบูรณ์มาทับ ถมที่ดิน ทำให้การเพาะปลูกได้ผลดียิ่ง หากแต่เมื่อน้ำหลากมากเกินไป ดังเช่นในกรณีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1998 ซึ่งเป็นเหตุให้แผ่นดินสองในสามของบังกลาเทศต้องจมอยู่ในภายใต้ลุ่มน้ำคงคา ผู้คนไร้ที่อยู่ 10 ล้านคน และประเทศจีนก็วิบัติจากลุ่มน้ำแยงซี ในปีเดียวกันนี้ โดยมีผู้ประสบภัยพิบัติหลายล้านคนเช่นกันใช่แต่เฉพาะเมืองที่ประชากรมีค่าครองชีพต่ำอย่างบังกลาเทศหรอกครับ แม้แต่รัฐใหญ่ๆอย่างเช่น นิวยอร์ก หรือฟลอริดาของอเมริกา เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย หลายเมืองในเนเธอร์แลนด์
    รวมทั้งกรุงเทพฯ ของเราด้วย ก็มีสิทธิจมอยู่ใต้น้ำ ภายในปี ค.ศ.2100! ทั้งนี้ จากคำพยากรณ์ของนักวิทยาศาสตร์ที่ว่าใน ค.ศ. ดังกล่าวนี้ น้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่าเดิมอีกอย่างน้อย 3 เมตร

    ก็อีกไม่ถึง 100 ปีล่ะครับ ชาวกรุงคงต้องเตรียมเรือแพไว้อาศัย หรือไม่ก็ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ในพื้นที่ที่สูงกว่า แต่ก็แปลกนะครับ ในขณะที่เกิดภาวะโลกร้อนนั้น โอกาสที่โลกจะพบกับความหนาวเย็นก็มีเช่นกัน ความจริงอันนี้เคยเป็นวัฏจักรมาแล้ว กล่าวคือบางช่วงในอดีตนั้น โลกเรามีสารจำพวกฝุ่นละอองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาจากการก่อสร้างและการทำเหมืองแร่ระเบิดหิน
    ฝุ่นละอองดังกล่าวจะสะท้อนความร้อนจากแสงแดดมิให้ตก กระทบถึงพื้นโลก อุณหภูมิของโลกจึงลดลง ซึ่งคราวนี้ก็มีความวิตกกันว่าหากอุณหภูมิลดลงในอัตรานี้ไปเรื่อยๆ โลกคงต้องพบกับปรากฏการณ์เช่นเดียวกับยุคน้ำแข็ง คือมองไปทางไหนก็มีแต่หิมะขาวโพลน หากทว่ายังไม่ทันไรก็เกิดสภาวะโลกร้อนขึ้นมาก่อน อันเนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง

    ซึ่งภายใต้ความหนาวเย็นนั้นก็โหด ร้ายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภัยพิบัติจากธรรมชาติอื่นๆ หรอกครับ ยกตัวอย่างเหตุที่เกิดขึ้นในแคนาดา เมื่อเดือนมกราคม 1998 โดยพายุหิมะได้โหมกระหน่ำพื้นที่ควีเบค และออนตาริโอ จนจมอยู่ใต้หิมะและน้ำแข็ง ชาวแคนาดานับล้านต้องติดอยู่ในบ้านช่องของตน รัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน และตรึงกำลังทหาร 11,000 นาย ให้ออกช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจัดเป็นการระดมกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แคนาดาเลยเชียว จำนวนผู้แข็งตายจากความเย็นแม้จะไม่มาก แต่หลายรายต้องเสียชีวิตจากการสูดเอาก๊าซคาร์บอมอนอกไซด์
    ที่เกิดจากการจุดเชื้อเพลิงเพื่อทำความอบอุ่นในบ้าน ส่วนสัตว์เลี้ยงที่อยู่ นอกอาคารนั้นไม่ต้องพูดถึง ตายแทบหมดสิ้นภายในไม่กี่นาทีหลังพายุ ก็แหม...อุณหภูมิ ต่ำขนาด -27 องศานะครับ บ้านเราแค่ 10 องศาก็หนาวสั่นดิ๊กๆแล้วภัยพิบัติทั้งจากมหาวาตะ-ทอร์นาโด ภูเขาน้ำแข็งละลาย-น้ำท่วมโลก ความหนาวเย็น-หิมะท่วมโลกทั้งหมดนี้ สร้างความวิบัติและโกลาหลให้แก่ ชาวโลกอย่างเหลือคณานับ ถ้าหากเราเตรียมรับมือไว้บ้างก็อาจบรรเทา ความเดือดร้อนลงได้ ซึ่งจะดูตัวอย่างจากเหตุการณ์ต่างๆนี้ได้ ในภาพยนตร์เรื่อง CATEGORY 7 : THE END OF THE WORLD โคตรมหาพายุล้างโลก ครับผม.



    </td></tr></tbody></table>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    อ่านแล้วคิดยังไงครับ

    ชื่อไหมว่า… สภาพสิ่งแวดล้อมของโลก อาจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่นักสิ่งแวดล้อม “กระแสหลัก” ในโลกตะวันตก พยายามตอกย้ำให้เราเชื่อ? ก่อนอื่นขอลำดับเหตุการณ์เล็กน้อย ว่าขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกันยังไงกับประเด็นเรื่องการพัฒนามนุษย์ เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดของนักวิ่งผลัดที่สามของเรา คือ Amartya Sen ที่คุยให้ฟังตอนที่แล้ว
    ปัญหาหลักของโลกาภิวัตน์ และระบบทุนนิยมเสรี ไม่ใช่ปัญหาว่ามันเป็นระบบที่ควรถูกล้มล้าง (เพราะมีข้อดีมากกว่าข้อเสียมากมาย) หากเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของอำนาจทางการเมือง ความไม่เสมอภาค และการไม่มีมนุษยธรรมเพียงพอในการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ด้อยโอกาสมักไม่ค่อยได้รับการันตีเรื่อง “ตาข่ายสังคม” (social safety net) ที่ดีกว่าในปัจจุบัน (ดังที่ได้แปลคำบ่น Amartya Sen ไว้ก่อนหน้านี้ว่า: “…สภาวะที่จะทำให้โลกาภิวัตน์เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ยากไร้นั้น ยังไม่มีในโลกนี้ …เรา[ต้อง]ช่วยกันพยายามแบ่งผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ กันให้ดีกว่าที่เป็นอยู่”)
    โลกาภิวัตน์ กับทุนนิยมเสรีก็คล้ายกันกับรถ: มันจะไปได้ไกลแค่ไหน เสื่อมเร็วแค่ไหนก็อยู่ที่คนขับ ว่ารักษารถดีแค่ไหน มีวินัยขนาดไหน ถ้าคนขับ (รัฐ) ไม่ฟังเสียงคนโดยสาร (ประชาชน) ก็อาจขับพาเข้ารกเข้าพง จนรถวิ่งลงเหวไปได้
    แต่รถที่มีปัญหา ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนควรเอารถไปขายทิ้ง หันมาเดินเท้าแทน เพราะยังไงๆ นั่งรถก็เร็วกว่าเดินแน่ๆ เพียงแต่เราต้องวิเคราะห์ดูว่า ส่วนไหนของรถที่เสีย จะได้แก้ไข เอาอะไหล่มาเปลี่ยนให้มันวิ่งดีกว่าเดิม
    สองปัญหาใหญ่ของรถโลกาภิวัตน์ ในบรรดาปัญหาร้อยแปด ที่ฉุดให้รถเรารวนอยู่เรื่อยๆ ไปไหนไม่ได้ไกล คือ ปัญหาคอร์รัปชั่นของคนขับ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
    ปัญหาแรกเกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของระบอบการเมือง และความไร้คุณธรรมของผู้นำ ที่มักเกิดใน “ประเทศประชาธิปไตยไร้เสรี” (ตามนิยามของ Fareed Zakaria) คอร์รัปชั่นเป็นปัญหาหลักของการพัฒนา เป็นสาเหตุหลักที่อธิบายว่า ทำไมการ “โยนเงิน” ไปให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่ช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้น (ข้าพเจ้าคิดว่าแนวคิดของ [5] Jeffrey Sachs ที่เรียกร้องให้โลกพัฒนาเพิ่มเงินบริจาคนั้น “ไร้เดียงสา” เกินไปก็เพราะเหตุนี้แหละ นักพัฒนาอาชีพอย่าง [6] William Easterly เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริงกว่าเยอะ)
    <!--more-->
    ปัญหาที่สองของโลกาภิวัตน์ คือประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม กำลังกลายเป็นปัญหาโลกแตก เพราะถูก “กระพือ” โดยนักอนุรักษ์ทั้งหลาย ให้กลายเป็น “ศาสนา” ที่คนแตะต้องไม่ได้ และเป็น “ไพ่ทางการเมืองใบสำคัญ” ที่ประเทศพัฒนาแล้วงัดขึ้นมาใช้ในการต่อรองกับประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะในการเจรจาเปิดเสรีทางการค้า (เช่น ตอนนี้เมืองจีน ที่กำลังเติบโตอย่างฉุดไม่อยู่ กำลังตกเป็นเป้าโจมตีของนักสิ่งแวดล้อมหลายฝ่าย แม้ว่ามลพิษต่อหัวของประชากรจีน จะต่ำกว่าระดับของอเมริกาหลายเท่า)
    ในสถานการณ์แบบนี้ สมควรที่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเรา จะติดตามข้ออ้างต่างๆ ของขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ว่ามีเหตุผลมากน้อยแค่ไหน วันนี้ขอแนะนำให้รู้จักกับนักวิ่งผลัดที่สี่ Bjørn Lomborg ผู้หาญกล้าทวนแนวคิดสิ่งแวดล้อมกระแสหลัก ที่ชอบย้ำนักย้ำหนาว่า โลกเราใกล้ถึงกาลอวสานด้วยน้ำมือมนุษย์แล้ว
    แนวคิดที่มองสภาพแวดล้อมโลกในแง่ดีของ [7] Julian Simon นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นแรงผลักดันให้ Bjørn Lomborg นักสถิติชาวเดนมาร์ก เริ่มศึกษาค้นคว้าในปี 2540 เพื่อหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าแนวคิดของ Simon นั้นผิด และสนับสนุน scenario อันน่าหดหู่ที่เราคุ้นหูกันดี เขาหวังจะพิสูจน์ว่า “บทสวดรอวันโลกาวินาศ” (litany) ที่นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่มองว่าต้องมาถึงแน่ๆ ในอนาคต เมื่อปัญหาประชากรล้นโลก ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้น อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น การตัดไม้ทำลายป่า มลภาวะ และภาวะความอดอยากอย่างรุนแรง – ภัยพิบัติที่ประกอบกันเป็นแรงบันดาลใจให้เรารู้สึกว่า วันโลกาวินาศกำลังใกล้เข้ามานั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์
    [8] [​IMG]
    แต่ความจริงที่ Lomborg ค้นพบ ที่เขารายงานอย่างละเอียดในหนังสือเรื่อง [3] The Skeptical Environmentalist (นักสิ่งแวดล้อมขี้สงสัย) กลับกลายเป็นโลกที่สามารถรองรับประชากรได้มากขึ้น มีอายุยืนขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น และอยู่ดีกินดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ในมุมมองของ Lomborg เราไม่ได้กำลังหลับหูหลับตาวิ่งไปหาวันโลกาวินาศ แต่กำลังเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับแรงกดดันต่างๆ ที่เราทับถมลงบนสภาพแวดล้อม ส่วนหนึ่งโดยนโยบายรัฐ อีกส่วนโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การปฏิวัติสีเขียว ([10] green revolution) ในเกษตรกรรม ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชเกษตรอย่างก้าวกระโดด ตัวอย่างเช่น แม้จะมีประชากรเพิ่มขึ้นมากในหลายปีที่ผ่านมา อินเดียตอนนี้กลายเป็นผู้ส่งออกธัญพืชไปแล้ว เทคนิคการเพาะพันธุ์พืชที่ดีขึ้น ประกอบกับปุ๋ยที่มีราคาถูก ทำให้ชาวนาสามารถเพิ่มผลผลิต และที่นาใช้งานได้นานขึ้น
    ข้อมูลที่ Lomborg ค้นพบ ตอกย้ำผลวิจัยของ Amartya Sen ว่า ภาวะอดอยากอาหารส่วนใหญ่ในโลก เป็นผลมาจากวิกฤติทางการเมือง ไม่ใช่ว่าประเทศนั้นผลิตอาหารไม่เพียงพอ Lomborg โชว์ตัวเลขจากรัฐบาลต่างๆ และองค์กรในเครือสหประชาชาติ ที่แสดงให้เห็นว่า ขณะที่ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น จำนวนแคลอรี่ต่อหัวของประชากรโลก ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกันด้วย ไม่ใช่ลดลงอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
    Lomborg สรุปว่า “บทสวดรอวันโลกาวินาศ” ของนักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่นั้น แม้จะชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ แต่ก็ไม่ได้สรุปสถานการณ์ที่แท้จริงของสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน อย่างเที่ยงตรงและไร้อคติ Lomborg ใช้เนื้อที่กว่า 500 หน้าใน The Skeptical Environmentalist อธิบายและแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ที่สำคัญต่างๆ ตั้งแต่การเผาผลาญพลังงาน การผลิตอาหาร ปัญหาโลกร้อน (global warming) มลภาวะ ทรัพยากรน้ำ ฯลฯ ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่นักสิ่งแวดล้อมกระแสหลักโพนทะนา ความน่าเชื่อถือของ Lomborg ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูล อีกส่วนมาจากภูมิหลังของเขา ในฐานะ “อดีตสมาชิก Greenpeace ฝั่งซ้าย” ซึ่งหมายความว่าไม่น่าจะมีผลประโยชน์อะไรเคลือบแฝง (เพราะคนที่น่าจะอยากใช้ข้อมูลที่ “ต่อต้าน” ขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกระแสหลักแบบนี้ ควรเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อฝั่งขวา ที่หวังผลทางการเมืองมากกว่า)
    เนื่องจากบทสรุปของ Lomborg ขัดแย้งกับแนวคิดของขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกระแสหลักอย่างเห็นได้ชัด จึงไม่น่าแปลกใจที่ The Skeptical Environmentalist จะได้รับการโจมตีอย่างดุเดือด จากนักสิ่งแวดล้อม และวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายฉบับ ต่อเนื่องยาวนานเป็นปีๆ หลังจากหนังสือออก แต่ปัจจุบัน หลังจากผ่านไป 4 ปี เราเห็นได้ชัดว่าข้อโต้แย้งเหล่านั้นโดยรวมแล้วไม่มีมูล ยิ่งไปกว่านั้น ข้อโต้แย้งที่เข้าขั้น “หมิ่นประมาท” ของนักสิ่งแวดล้อมบางคน แทนที่จะแสดงให้เห็นว่า Lomborg ผิดพลาด กลับสะท้อนให้เห็นว่านักสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น ไร้ซึ่งความเป็นมืออาชีพ และไร้ซึ่งจรรยาบรรณขนาดไหน (ท่านใดที่สนใจ สามารถอ่านบทความที่ Lomborg ตอบโต้บทวิพากษ์ของ The Scientific American ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลที่สุด ในบรรดาผู้ไม่เห็นด้วยทั้งหลาย ได้โดย[11] คลิ้กที่นี่)
    ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสรุปหนังสือ The Skeptical Environmentalist ให้ท่านผู้อ่านเข้าใจได้ในเนื้อที่ไม่กี่หน้า (ใช่ว่าข้าพเจ้าเองก็จะเข้าใจหนังสือเล่มนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาแรมเดือนกว่าจะอ่านจบ หมดกาแฟไปหลายขีดกว่าจะเข้าใจได้ประมาณครึ่งหนึ่ง [​IMG] ) แต่จะพยายามสรุปประเด็นสำคัญไว้ในที่นี้ ก่อนจะแปลบทความของ Lomborg สองสามเรื่อง ที่น่าจะช่วยแสดงจุดยืน และหลักฐานหลักๆ ที่เขาใช้ ให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพชัดขึ้น (น่าจะมีคนไทย แปลหนังสือ “pop science” ดีๆ แบบนี้ออกมานะ เห็นแปลอยู่แต่พวกนวนิยาย ไม่ก็หนังสือธุรกิจหรือเล่นหุ้นไม่กี่เล่ม)
    <hr> ข้อคิดสำคัญที่ข้าพเจ้าได้จาก The Skeptical Environmentalist คือ Lomborg ไม่ได้บอกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่มีจริง เขาเพียงแต่เน้นว่าวิธีมองแนวโน้มของปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะสั้น มีผลต่อการกำหนดนโยบายทางการเมือง และวิธีการแก้ปัญหาที่เราจะหา นโยบายของรัฐบาลที่ตั้งอยู่บน “บทสวดรอวันโลกาวินาศ” ของขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกระแสหลัก สามารถทำให้แม้แต่โครงการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด ต้องหยุดชะงักลงหรือถูกระงับโดยไม่มีกำหนด ราวกับว่าวิธีเดียวที่เราจะแก้ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมคือ การหยุดเวลาไม่ให้โลกหมุน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะทุกสิ่งในโลกเราล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    Lomborg ชี้ให้เห็นว่า จริงๆ แล้วโลกเรามีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2493 อากาศในโลกสะอาดขึ้นกว่าเดิม (มลพิษในเมืองไทยเราดูเหมือนจะ “สวนกระแส” เรื่องนี้พอสมควร) อัตราการเติบโตของประชากรโลกกำลังชะลอตัวลง ฝนกรดไม่ทำลายป่า จำนวนประชากรโลกที่อดอยากมีน้อยลงเรื่อยๆ และปัญหาโลกร้อนไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่หลายๆ คนอ้าง โดยสรุปก็คือ มนุษย์เราโดยเฉลี่ยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าสมัยรุ่นคุณตาคุณยายมาก
    ปัญหาหลัก (หรืออาจเรียกว่า “เทคนิคในการเรียกร้องความสนใจ”) ประการหนึ่งของขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกระแสหลักคือ การใช้สถิติแบบไม่ครบถ้วน หรือแบบ “บิดเบือน” หรือโดยหยิบมาใช้นอกบริบท (out of context) เพื่อชี้ให้เห็นโทษเพียงด้านเดียว (ปัญหานี้ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในวงการเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน) ตัวอย่างที่ Lomborg ใช้ให้เห็นถึงปัญหานี้ เช่น สถิติที่ใช้กันแพร่หลาย ที่แสดงปัญหาการกัดกร่อนอย่างรุนแรงของผิวดิน (massive soil erosion) นั้น มาจากงานวิจัยโครงการเดียวที่ศึกษาพื้นที่ทำนาแปลงเล็กๆ ในเบลเยียม ที่ตั้งอยู่บนเขาชัน (ทำเลที่ตั้งอย่างเดียวก็อธิบายปัญหาการกัดกร่อนไปแล้วหนึ่งเปลาะ ว่าเป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่เท่านั้น) อีกตัวอย่างคือ รายงานที่ใช้กันแพร่หลายอีกฉบับ ที่อ้างว่าผลผลิตธัญพืชของโลกกำลังลดลงนั้น เลือกใช้สถิติการผลิตของ 3 ปีที่ผลผลิตต่ำ โดยละเลยอีก 50 ปีที่ผลผลิตดี (แบบนี้น่าจะเข้าข่ายปัญหา “อคติเลือกตัวเอง” (self-selection bias) ที่มีให้เห็นมากมายในโพลล์ต่างๆ)
    ตัวอย่างหนึ่งของการใช้ข้อมูลครึ่งเดียวที่น่าสนใจคือ ตอนที่อากาศทั่วโลกร้อนผิดปกติที่เกิดจากความปรวนแปรฉับพลันของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำ (ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ [12] El Niño) ในปี 2540-2541 นั้น ตัวเลขที่รับรู้กันทั่วไปคือ ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดความเสียหายถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากพายุทอร์นาโดและดินถล่ม แต่สิ่งที่ไม่ค่อยมีใคร (โดยเฉพาะสื่อต่างๆ) สนใจคือ งานวิจัยที่คำนวณว่าประโยชน์ที่โลกได้รับจากอากาศที่อุ่นขึ้น (คือหนาวน้อยลง) อาจมีมูลค่าสูงถึง 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าของการประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนอย่างเดียวก็ปาเข้าไป 6-7,000 ล้านเหรียญแล้ว)
    นักสิ่งแวดล้อมบางคนอาจเถียงว่า ข้อเท็จจริงนั้นไม่สำคัญเท่ากับการส่งเสริมให้ทุกคนรับรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการอะไรก็ได้ ในประเด็นนี้ Lomborg แย้งกลับว่า เราจะผลาญเงินในการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด และไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนต่อไปอยู่เรื่อยๆ จนกว่าเราจะยอมรับปัญหาของโลกที่แท้จริง อย่างเปิดเผยและไร้อคติ ป่วยการที่เราจะเถียงกันด้วยการแลกเปลี่ยนสถิติเฉพาะพื้นที่ และเฉพาะช่วงเวลาสั้นๆ ไปมา Lomborg เรียกร้องว่าโลกเราต้องการสถิติระดับโลกที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และสะท้อนแนวโน้มในระยะยาวต่างหาก
    นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสุดขั้วพยายามทำให้เราเชื่อว่า วิธีเดียวที่จะกอบกู้โลกให้พ้นจากหายนะได้ คือการกลับไปใช้ชีวิตแบบยุคหิน แต่ Lomborg ชี้ให้เห็นว่า จริงๆ แล้วระบบทุนนิยมที่หลายๆ ฝ่ายด่าว่าเป็นอาชญากรที่ทำให้โลกเลวลงนั้น เป็นระบบเดียวกับที่ให้เงินเราใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และผลักดันศักยภาพของเรา ในการทำให้โลกนี้น่าอยู่ สะอาด และแข็งแรงขึ้น เขามองว่า “เราลืมความกลัววันโลกาวินาศไปได้เลย โลกเรากำลังเดินมาถูกทางแล้ว เราสามารถช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนา ด้วยการเน้นการจัดลำดับความสำคัญ (prioritization) ของเป้าหมายการพัฒนาต่างๆ ให้ถูกต้อง”
    เมื่อพูดถึงการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายพัฒนา ก็ต้องบอกว่าเมื่อเร็วๆ นี้ Lomborg ตกเป็นเป้าการโจมตีของนักสิ่งแวดล้อมกระแสหลักอีกครั้ง เมื่อเขาแสดงความคิดเห็นต่อต้านสนธิสัญญาเกียวโต ([13] Kyoto Protocol) ว่าเป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ เช่นใน[14] บทความนี้ใน The Guardian เขาบอกว่า “ถ้าเรายังเดินตามสนธิสัญญาเกียวโตต่อไป เราต้องใช้เงินกว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในขณะที่เราจะไม่เห็นผลดีจนกระทั่งปี 2643 และมันก็เป็นผลเพียงน้อยนิดเท่านั้น เราควรจะเอาเงินจำนวนนี้ไปช่วยชีวิตผู้ยากไร้ในประเทศกำลังพัฒนาดีกว่า สหประชาชาติประเมินออกมาแล้วว่า เงินเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้สามารถให้ปัจจัยพื้นฐานเช่น สุขภาพ การศึกษา และสาธารณสุข กับประชากรในโลกที่สามทุกคน” (รายละเอียดอ่านได้ในบทความเรื่องปัญหาโลกร้อนของ Lomborg ที่ข้าพเจ้าแปลไว้ด้านล่างนี้)
    ทุกคนที่สนใจอนาคตของโลกควรอ่านหนังสือเล่มนี้ แม้จะหนากว่า 500 หน้า อ่านไม่กี่บทแรกก็น่าจะพอให้เข้าใจแนวคิดของนักสิ่งแวดล้อมนอกกระแสผู้นี้
    ท้ายนี้เป็นคำแปลบางส่วนจากบทความของ Lomborg ในหัวข้อนี้สองสามเรื่อง ท่านใดที่สนใจอ่านฉบับต้นตอแบบเต็มๆ (ที่ลานตาด้วย footnote ที่ข้าพเจ้าจนใจจะแปล) คลิ้กได้ที่ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเพื่อดาวน์โหลดไปอ่านนะคะ
    อีกอย่าง ถ้าใครสนใจมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ว่าหนังสือของ Lomborg เล่มนี้จะช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์ กับนักสิ่งแวดล้อม “ปรับความเข้าใจ” กันได้ยังไง (แปล: นักสิ่งแวดล้อมควรใช้หลักเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้องมากขึ้น) ขอแนะนำให้อ่าน [15] ข้อเขียนของ Arnold King เรื่องนี้.
    <hr> บทสวดรอวันโลกาวินาศ และข้อมูลสนับสนุน
    ([16] The environmental Litany and data)
    เราทุกคนรู้ดีว่าบทสวดรอวันโลกาวินาศมีเนื้อหาใจความอย่างไร สื่อต่างๆ ชอบประโคมข่าวว่าเรากำลังเดินทางสู่หายนะ เช่นเมื่อวารสาร TIME บอกเราว่า “ทุกคนรู้ดีว่า โลกอยู่ในภาวะย่ำแย่” และเมื่อวารสาร New Scientist จั่วหัวบทความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมว่า “ทำลายตัวเอง” (Self-destruct) สารหลักของบทสวดรอวันโลกาวินาศคือ ทรัพยากรธรรมชาติกำลังจะหมดไป ประชากรโลกเพิ่มขึ้นมาก มีอาหารน้อยลง คุณภาพอากาศและน้ำแย่ลงจากมลพิษ พันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ บนโลกกำลังสูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ ป่ากำลังจะหมด ปลากำลังจะไม่มีให้จับ แนวปะการังกำลังตาย ผิวดินอันอุดมสมบูรณ์กำลังหายไป เรากำลังทำลายพื้นที่สีเขียว ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก และกำลังจะทำลายตัวเองไปด้วย ระบบนิเวศน์ของโลกกำลังถูกทำลาย และมนุษย์กำลังเดินทางเข้าสู่เพดานขีดจำกัดของการเติบโต
    เราได้ยินสารนี้บ่อยจนเคยชิน แต่ปัญหาคือ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เรามี ไม่สนับสนุนแนวคิดแบบนี้ ข้อเท็จจริงคือ พลังงานและทรัพยากรไม่ได้กำลังหมดไป เรากำลังผลิตอาหารต่อหัวได้มากขึ้น คนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ในปี 2443 (ค.ศ. 1900) มนุษย์เรามีอายุเฉลี่ย 30 ปี ปัจจุบันเราอยู่ได้ถึง 67.7 ปีโดยเฉลี่ย สถิติของสหประชาชาติชี้ว่า เรากำจัดความยากจนในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ได้มากกว่าช่วง 500 ปีก่อนหน้า และระดับความยากจนนี้ลดลงในเกือบทุกประเทศในโลก ปัญหาโลกร้อนน่าจะกำลังเกิดขึ้นจริง แต่การลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ) อย่างฉับพลันนั้น เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดปัญหามากกว่าเดิมอีก และปัญหาโลกร้อนก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ที่จะทำให้เราเดือดร้อนแสนสาหัสในอนาคตอยู่ดี เราไม่ได้กำลังทำให้ 25-50% ของพันธุ์พืชและสัตว์ทั่วโลกสูญพันธุ์ในหนึ่งชั่วอายุคน ฝนกรดไม่ได้ทำลายป่า และสภาพอากาศและน้ำรอบตัวเราโดยรวมกำลังดีขึ้น [ข้อนี้เป็นข้อเดียวที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับ Lomborg เพราะไม่เชื่อว่ามลพิษที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศจีน จะถูกหักล้างได้หมด ด้วยคุณภาพอากาศและน้ำในโลกพัฒนาแล้วที่กำลังดีขึ้น – ผู้แปล]
    ตรงนี้ต้องระวังว่าผมกำลังพูดถึงอะไรนะครับ ผมบอกว่าดัชนีส่วนใหญ่ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเก่า ผมไม่ได้บอกว่าทุกอย่าง “ดีแล้ว” นะครับ
    เราลองมาดูภาวะการเติบโตของประชากรโลก และภาวะการอดอยาก ประเด็นที่หลายๆ คนเป็นห่วงกันนะครับ ในปี 2511 Dr. Erlich นักสิ่งแวดล้อมแนวหน้า พยากรณ์ในหนังสือขายดีของเขาชื่อ “The Population Bomb” (ระเบิดประชากร) ว่า “การต่อสู้เพื่อป้อนอาหารให้มนุษย์ได้จบสิ้นลงแล้ว ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง โลกจะเห็นวิกฤติการอดอยากระดับโศกนาฏกรรม ผู้คนเป็นร้อยล้านจะอดอาหารตาย” ไม่เพียงแต่คำพยากรณ์นี้จะไม่เป็นจริงเท่านั้น แต่ตัวเลขของสหประชาชาติระบุว่า ผลผลิตทางการเกษตรในโลกกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นถึง 52% ต่อหัว ปริมาณอาหารต่อหัวต่อวันที่คนบริโภคในโลกกำลังพัฒนาก็เพิ่มขึ้นจาก 1,932 แคลอรี่ (ระดับที่แทบไม่พอยังชีพ) ในปี 2504 เป็น 2,650 แคลอรี่ในปี 2541 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3,020 แคลอรี่ ณ ปี 2573 (ดูแผนภูมิข้างล่างประกอบ)
    [17] [​IMG]
    เช่นเดียวกัน สัดส่วนประชากรที่ขาดอาหารในประเทศกำลังพัฒนา ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ลดลงจาก 45% ในปี 2492 เป็น 18% ในปัจจุบัน และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องเป็น 12% ในปี 2553 และเหลือเพียง 6% ในปี 2573 ดังนั้นเราเห็นว่า อาหารไม่ได้ลดลง แต่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ข้อเท็จจริงนี้สะท้อนให้เห็นในราคาอาหารด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2343 เป็นต้นมา ราคาอาหารที่แท้จริง (ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ) ลดลงกว่า 90% และในปี 2000 ระดับราคาของอาหาร ต่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
    คำพยากรณ์ของ Dr. Erlich สะท้อนคำพยากรณ์ของ [18] Thomas Malthus ที่พูดไว้เมื่อ 170 ปีก่อน Malthus มองว่า ประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนแบบยกกำลัง (exponentially) ขณะที่การผลิตอาหารจะเพิ่มได้แบบเส้นตรง (linear) เท่านั้น ด้วยการนำที่ดินแปลงใหม่มาใช้ทำการเกษตร แต่เขาคาดผิด ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการเติบโตของประชากรโลกนั้น มีกลไกกำกับภายใน (internal check) คือ เมื่อคนมีฐานะและสุขภาพดีขึ้น เขาก็มีครอบครัวเล็กลง [ถ้าจะอธิบายเรื่องนี้ในภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คงต้องบอกว่า ผู้ปกครองที่มีฐานะดีนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรแต่ละคน (เพื่อให้มีระดับความเป็นอยู่ดีเท่าพ่อแม่) สูงกว่าครอบครัวยากจน ดังนั้นจึงเลือกมีบุตรน้อยคน - ผู้แปล] จากสถิติ เราเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกได้ถึงจุดสูงสุด คือมากกว่า 2% ต่อปี ไปแล้วเมื่อประมาณปี 2503 หลังจากนั้นอัตรานี้ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอัตรานี้อยู่ที่ 1.26% และคาดว่าจะลดลงเป็น 0.46% ในปี 2593 สหประชาชาติคาดว่า การเติบโตของประชากรในประเทศส่วนใหญ่ จะกลายเป็นศูนย์ก่อนปี 2643 (ค.ศ. 2100) เมื่อถึงเวลานั้น โลกเราน่าจะมีประชากรราวๆ 11,000 ล้านคน
    ข้อผิดพลาดอีกประการของ Malthus คือ เขาไม่ได้คำนึงถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการเกษตร ที่ช่วยให้เราสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และยังช่วยลดความจำเป็นที่ต้องนำพื้นที่สีเขียว มาทำเป็นพื้นที่เพาะปลูก เป็นการลดแรงกดดันต่อระบบนิเวศน์ได้อีกทางหนึ่ง
    ข้อเท็จจริงที่เรามี ล้วนโต้แย้งบทสวดรอวันโลกาวินาศ แต่โพลล์ส่วนใหญ่ก็ยังชี้ว่า คนส่วนใหญ่ อย่างน้อยในโลกพัฒนาแล้ว ยังเชื่อว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังเสื่อมถอยลง ผมคิดว่ามีปัจจัยหลักๆ 4 ประการ ที่เป็นสาเหตุของความแตกต่างระหว่างความเชื่อ และความจริง:
    ปัจจัยแรกคือความลำเอียงในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทุนสนับสนุนการวิจัยส่วนใหญ่นั้น ใช้ในการศึกษาประเด็นที่มีปัญหามาก นั่นอาจเป็นนโยบายที่ถูกต้อง แต่มันก็ทำให้เกิดเจตคติว่า เรากำลังเผชิญปัญหามากมายกว่าความเป็นจริง
    แหล่งที่มาของความเข้าใจผิดอีกแห่งคือ ผลประโยชน์ส่วนตัว (self-interest) ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แม้ว่ากลุ่มเหล่านี้จะนำโดยนักอนุรักษ์ที่ไร้ความเห็นแก่ตัว ก็ยังคงมีลักษณะเหมือนกับกลุ่มที่ต้องวิ่งเต้นทางการเมือง (lobby groups) อื่นๆ คือต้องได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆ และต้องเรียกเงินบริจาคไม่ให้ขาดสาย ดังนั้นจึงมีแรงจูงใจที่จะพูดเกินจริง เช่น ในปี 2540 [19] Worldwide Fund for Nature ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งซึ่งอ้างว่า “โลกได้สูญเสียพื้นที่จำนวนสองในสามของป่าทั่วโลก ไปอย่างถาวร” ทั้งๆ ที่ตัวเลขที่แท้จริงคือประมาณ 20%
    เรื่องนี้จะไม่เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าทุกคนใช้มาตรฐานในการวิเคราะห์เจตนาของนักวิ่งเต้นด้านสิ่งแวดล้อม ให้เหมือนกันกับที่ีใช้วิเคราะห์เจตนาของนักวิ่งเต้นด้านอื่นๆ แต่ความจริงคือ องค์กรด้านพาณิชย์ที่เรียกร้อง – อันนี้เป็นตัวอย่างนะครับ – ให้รัฐลดหย่อนกฎเกณฑ์เรื่องการควบคุมมลพิษ จะถูกมองทันทีว่าเป็นพวกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ในขณะที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ต่อต้านข้อเรียกร้องนี้ จะถูกมองทันทีว่าเป็นผู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีมนุษยธรรมอันดี แม้ว่ากฎเกณฑ์เรื่องการควบคุมมลพิษนั้นอาจให้ผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้
    สาเหตุที่สามของความสับสนคือ เจตคติ (attitude) ของสื่อต่างๆ แน่นอนว่าข่าวร้าย ย่อมเป็นที่สนใจของคนมากกว่าข่าวดี หนังสือพิมพ์และทีวี ล้วนอยากเสนอข่าวที่สาธารณชนต้องการ แต่นั่นอาจนำไปสู่การบิดเบือนอย่างร้ายแรง เห็นได้จากตอนที่อเมริกาประสบกับปรากฏการณ์ [12] El Niño ในปี 2540 และ 2541 ปรากฏการณ์ของดินฟ้าอากาศนี้ ถูกกล่าวโทษว่าเป็นต้นตอของปัญหาต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวเสียหาย คนเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น ทำให้หิมะตกในรัฐโอไฮโอ ส่งผลให้คนตาย ฯลฯ ผมว่าข้อกล่าวหาที่แปลกที่สุด หนีไม่พ้นถ้อยแถลงของบริษัท Disney ว่า El Niño ทำให้ราคาหุ้นเขาตก
    มุมมองที่เป็นกลางกว่า อยู่ในบทความเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ตีพิมพ์ในประกาศสมาคมนักอุตุนิยมวิทยาแห่งอเมริกา ([21] Bulletin of American Meteorological Society) ซึ่งพยายามคำนวณทั้งผลเสีย และผลดีจากปรากฏการณ์ El Niño เมื่อปี 2540-2541 ประมาณการผลเสียอยู่ที่ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ผลดีตีเป็นมูลค่าได้ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากอุณหภูมิฤดูหนาวที่สูงขึ้น (ช่วยให้คนรอดตาย และลดค่าใช้จ่ายในการทำความร้อน) และลดปริมาณพายุเฮอร์ริเคนจากมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี 2541 อเมริกาไม่ประสบพายุเฮอร์ริเคนใหญ่ๆ แม้แต่ลูกเดียว ประโยชน์เหล่านี้ไม่ได้รับการกระพือข่าวเท่ากับผลเสีย
    ปัจจัยสุดท้ายคือมุมมองส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง เช่น คนส่วนใหญ่กังวลว่า ขยะที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น จะทำให้วันหนึ่งโลกเราไม่มีที่กำจัดขยะอีกต่อไป แต่ความจริงคือ แม้ต่อให้อังกฤษทิ้งขยะเพิ่มขึ้นต่อปีในอัตราเดียวกันกับอเมริกา (ซึ่งเป็นสมมติฐานที่เกินจริงแน่ๆ เพราะประชากรอังกฤษไม่ได้เพิ่มในอัตราเดียวกันกับอเมริกา) พื้นที่ทิ้งขยะที่อังกฤษทั้งประเทศต้องใช้ในศตวรรษที่ 21 ก็จะกินเนื้อที่เพียงสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขนาดลึกประมาณ 30 เมตร และกว้างยาวประมาณ 20 กิโลเมตรเท่านั้น
    เวลาเราเป็นห่วงสภาพแวดล้อม เรามักจะตกเป็นเหยื่อของการแก้ปัญหาระยะสั้น ที่ทุ่มเงินแก้ปัญหาเล็กๆ แต่ละเลยปัญหาใหญ่ที่สำคัญมากกว่า วันใดที่เราตระหนักว่า เราควรลืมวันโลกาวินาศไปได้เลย วันนั้นเราจะเห็นว่า โลกเรากำลังเดินมาถูกทางแล้ว เราสามารถช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนา ด้วยการเน้นการจัดลำดับความสำคัญ (prioritization) ของเป้าหมายการพัฒนาต่างๆ ให้ถูกต้อง ตัวเลขชี้ให้เราเห็นว่า เงินที่เราทุ่มลงไปกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในแต่ละปีนั้น สามารถช่วยชีวิตคนได้ประมาณ 60,000 คนต่อปี นี่เป็นต้นทุนที่เราใช้ในการกังวลกับปัญหาที่ไม่เร่งด่วน – เราให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมมากเกินไป และกับประเด็นอื่นๆ น้อยเกินไป
    ที่ผมพูดมานี้ไม่ได้หมายความว่า การบริหารจัดการและการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นความคิดที่เลวร้าย ผมเพียงแต่อยากเสนอว่า เราควรเปรียบเทียบต้นทุน และประโยชน์ของการลงทุนเหล่านี้ กับการลงทุนด้านอื่นๆ ที่สำคัญไม่น้อยหน้ากัน ในการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า เราจะสามารถลำดับความสำคัญทางการเมืองของประเด็นเหล่านี้ได้อย่างมีเหตุผล เราต้องกำจัดความเชื่อในบทสวดรอวันโลกาวินาศที่เป็นเพียงมายา และหันมาเน้นที่ข้อเท็จจริงแทน – ความจริงที่ว่าโลกเรากำลังดีขึ้น แม้จะมีอีกหลายอย่างที่เราต้องทำ.
    <hr> ปัญหาโลกร้อน – เรากำลังมาถูกทางหรือเปล่า?
    ([22] Global warming – are we doing the right thing?)
    ที่กรุงบอนน์ ประเทศเกือบทั้งหมดในโลก (ยกเว้นอเมริกา และออสเตรเลีย) [23] บรรลุข้อตกลงร่วมกัน ที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ (CO2) นักข่าวส่วนใหญ่รายงานว่าข้อตกลงนี้จะช่วยกอบกู้โลกให้พ้นจากหายนะ แต่นอกจากข้อสรุปนี้จะเป็นเท็จ – ข้อตกลงนี้แทบจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย – เราก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่า การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยพัฒนาโลก ในประเด็นที่สำคัญที่สุดหรือไม่
    ปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม การเมือง และเศรษฐกิจ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์มีส่วนเพิ่มระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ผมจะไม่แจกแจงความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในที่นี้ แต่จะยอมรับโมเดลและคำทำนายในรายงานปี 2544 ของคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศของสหประชาชาติ ([24] IPCC) ถึงกระนั้นเราก็จำต้องแยกแยะคำพูดเกินจริง ออกจากข้อเท็จจริง เพื่อที่จะกำหนดอนาคตของเราได้อย่างเหมาะสม
    เมื่อ IPCC บอกเราว่า โลกนี้อาจร้อนขึ้นถึง 5.8°C ในศตวรรษนี้ ตัวเลขนี้เป็นผลจากโมเดลคอมพิวเตอร์อันหลากหลายซับซ้อน ที่ตั้งต้นด้วยการกำหนดค่าเบื้องต้นของตัวแปรต่างๆ แล้วเปลี่ยนแปลงมันในกรณีปกติ (normative scenario) “ในทางที่เราหวังว่ามันจะเกิดขึ้น” แต่กรณีที่มีการปล่อย CO2 สูงสุด (high-end scenarios) นั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เลย ผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมาชี้ว่า พลังงานทดแทนต่างๆ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ จะสามารถแข่งขันกับ (หรือดีกว่า) เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ภายในกลางศตวรรษนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า ปริมาณการปล่อย CO2 น่าจะเป็นไปตามกรณีการปล่อย CO2 ต่ำ (low-end scenarios) มากกว่า ซึ่งกรณีเหล่านี้จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเพียง 2-2.5°C
    นอกจากนั้น ปัญหาโลกร้อนจะไม่ทำให้ผลผลิตอาหารลดลง ไม่น่าจะเพิ่มความรุนแรง หรือความถี่ของพายุเฮอร์ริเคน (เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ยังหาข้อสรุปไม่ได้) และจะไม่เพิ่มความรุนแรงของโรคมาเลเรียหรือทำให้คนตายมากขึ้น (โมเดลทางคณิตศาสตร์ ที่ map โซนอุณหภูมิต่างๆ ที่ยุงชอบอยู่ แสดงผลว่า ภาวะโลกร้อนต่อเนื่องในปี 2623 อาจทำให้จำนวนคนที่อาจจะเข้าข่ายเสี่ยงต่อการเป็นโรคมาเลเรีย สูงขึ้นประมาณ 2-4% (260-320 ล้านคน จากประชากร 8,000 ล้านคน) แต่ IPCC ชี้ว่า คนส่วนใหญ่ที่อาจเสี่ยงต่อการติดโรคนี้ จะมาจากประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางหรือระดับสูง ซึ่งมีภาคสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และสาธารณูปโภคที่แข็งแกร่ง ทำให้โอกาสเป็นโรคนี้แทบไม่มีเลย ดังนั้น ผลการวิจัยมาเลเรียระดับโลกจึงสรุปว่า ปัญหาโลกร้อน “ไม่ส่งผลกระทบในนัยสำคัญต่อปัญหามาเลเรีย” นอกจากนี้ โลกร้อนก็ไม่น่าจะทำให้มีคนตายจากน้ำท่วมมากขึ้นด้วย เพราะโลกในอนาคตที่มีฐานะดีขึ้น จะสามารถป้องกันตัวได้ดีขึ้น (ค่าใช้จ่ายในการป้องกันนั้นค่อนข้างถูก คือประมาณ 0.1% ของ GDP ของประเทศส่วนใหญ่)
    อย่างไรก็ดี ปัญหาโลกร้อนจะนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาล มีผู้คาดว่าความเสียหายทั้งหมดจะมีมูลค่าประมาณ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การคำนวณแบบนี้มีความไม่แน่นอนสูง แต่เป็นผลจากโมเดลที่คำนวณผลกระทบที่โลกร้อนมีต่อสังคมด้านต่างๆ เช่น เกษตรกรรม การประมง การป่าไม้ พลังงาน ปริมาณน้ำ สาธารณูปโภค ความเสียหายจากฝนแล้ง การเสียพื้นที่บนแผ่นดินไปให้กับพื้นน้ำ จากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การสูญเสียพื้นที่ป่า ชีวิตคน พันธุ์พืชและสัตว์ มลภาวะ และการย้ายถิ่น
    ประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนอย่างรุนแรง ในขณะที่ประเทศในโลกพัฒนาแล้วอาจได้รับผลประโยชน์สุทธิ (net benefit) จากการที่อุณหภูมิทั้วโลกสูงขึ้น 2-3°C สาเหตุส่วนใหญ่ที่ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบทางลบคือ ภาวะความยากจน ที่ส่งผลให้ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยากลำบาก
    แม้สัญชาติญาณอาจบอกเราว่า เราต้องทำอะไรซักอย่างที่ใหญ่โต เพื่อรับมือกับปัญหาราคาแพงนี้ก็ตาม เราไม่ควรใช้วิธีแก้ปัญหาที่ต้องใช้เงินมากกว่าความเสียหายของมัน ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การลดปริมาณการปล่อย CO2 อย่างฉับพลันนั้น แพงกว่าค่าใช้จ่ายในการปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น อย่างมากมายหลายเท่าตัว
    การประชุมที่กรุงบอนน์ เป็นการตกลงเรื่องวิธีปฏิบัติที่จะทำตามแนวทางของสนธิสัญญาเกียวโตก่อนหน้านี้ ที่ตั้งเป้าหมายจะลดการปล่อย CO2 ให้เหลือ 5.2% ต่ำกว่าระดับของปี 2533 ภายในปี 2553 คือลดถึงเกือบ 30%
    [25] [​IMG]
    ข้อตกลง Kyoto และที่กรุงบอนน์ ที่มีต่อสภาพอากาศ จะส่งผลดีน้อยมากๆ จนแทบวัดไม่ได้ โมเดลทุกอันของนักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้ โมเดลหนึ่งที่สร้างโดยผู้นำ IPCC ในปี 2539 แสดงให้เราเห็นว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 2.1°C ในปี 2643 จะลดลงเหลือ 1.9°C หากสนธิสัญญาเกียวโตบรรลุผลสำเร็จ (ดูรูปด้านบนประกอบ) อธิบายให้เห็นชัดขึ้นก็คือ ข้อตกลงนี้ไม่สามารถกำจัดปัญหาโลกร้อนให้หมดไปได้ เพียงแต่จะช่วยยืดเวลาให้เรา 6 ปี คืออุณหภูมิที่เราจะเห็นในปี 2637 เราจะไปเห็นในปี 2643 แทน
    ถ้าเรานำสนธิสัญญาเกียวโตมาใช้โดยไม่มีอะไรรองรับเลย ยกเว้นตลาดค้าอัตราการปล่อย CO2 (global emissions trading) มันก็แทบจะไม่ส่งผลอะไรเลยกับสภาพอากาศ และยังเป็นการใช้ทรัพยากรไม่ถูกทางอีกด้วย ค่าใช้จ่ายของการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเกียวโต เฉพาะประเทศใหญ่อย่างอเมริกา จะสูงกว่าเงินที่สามารถใช้แก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในโลก – การทำให้พลเมืองทั่วโลกมีน้ำดื่ม และสาธารณสุขที่สะอาด มีผู้ประเมินว่าหากเราแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ จะช่วยชีวิตคนได้ประมาณ 2 ล้านคนต่อปี และป้องกันไม่ให้คนอีก 500 ล้านคน ต้องล้มป่วยลงด้วยโรคร้ายแรงในแต่ละปี ถ้าเราไม่สร้างตลาดค้าอัตราการปล่อย CO2 ให้เกิดขึ้นจริง ค่าใช้จ่ายอาจสูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 5 เท่าของเงินที่เราจะใช้ทำให้พลเมืองทั่วโลกมีน้ำดื่ม และสาธารณสุขที่สะอาด ถ้าผมจะเปรียบเทียบให้เห็นนะครับ ปัจจุบันเงินบริจาคเพื่อการพัฒนาทั่วโลกมีจำนวน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี สรุปก็คือ สนธิสัญญาเกียวโตนั้นมีราคาแพงมาก และไม่ได้ส่งผลดีมากมายอะไร
    แทนที่เราจะเอาเงินมาถลุงในการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเกียวโต ถ้าเราเอาเงินนั้นมาใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนา จะเป็นการช่วยผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเหล่านั้นในปัจจุบัน ตลอดจนลูกหลานของพวกเขา โลกที่สามจะมีฐานะที่ดีกว่านี้มากในอนาคต และให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนที่สูงกว่าการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน (16% เทียบกับ 2%) ทางเลือกของเรานั้น จริงๆ แล้วคือ: เราอยากช่วยสมาชิกโลกที่สาม ที่มีฐานะดีขึ้นมากในอีก 100 ปีจากนี้ ให้ชีวิตเขาตอนนั้นดีขึ้นเล็กน้อย หรือเราอยากช่วยสมาชิกโลกที่สามที่ยังยากจนอยู่ในปัจจุบัน ให้ชีวิตเขาตอนนี้ดีขึ้นมาก? การลงทุนในโลกที่สามตอนนี้ ยังจะช่วยให้ประเทศเหล่านั้น มีทรัพยากรและสาธารณูปโภค ที่พร้อมรับมือกับปัญหาโลกร้อนในอนาคต ได้ดีกว่าเดิมมาก
    เพราะการลดการปล่อย CO2 อย่างฉับพลันมีราคาแพง และไม่ค่อยเกิดประโยชน์ เราควรเน้นการหาวิธีการที่จะช่วยลดการปล่อย greenhouse gases ต่างๆ ในระยะยาว นั่นหมายความว่า เราต้องเพิ่มการวิจัยด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานฟิวชั่น และแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ ปัจจุบันอเมริกาใช้เงินวิจัยด้านนี้เพียง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เราควรเปิดใจให้กว้างมากขึ้น กับวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี (techno-fixes) ต่างๆ ที่เรียกรวมกันว่า วิศวพันธุกรรมศาสตร์ (geo-engineering) อาทิเช่น การใส่ปุ๋ยให้ท้องทะเล (เพื่อให้สาหร่าย “ผูกตัว” เข้ากับคาร์บอนมากขึ้น เมื่อมันตายไปและร่วงลงสู่พื้นทะเล) การฉีดอณูกำมะถันเข้าไปในบรรยากาศชั้นบนสุด (ทำให้โลกเย็นลง) ตลอดจนสกัด CO2 ออกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล อัดมันกลับเข้าไปในแผ่นดินเพื่อเก็บไว้ใช้ต่อ แม้แนวทางเหล่านี้เพียงแนวทางเดียวสามารถลดปัญหาการปล่อย CO2 ได้จริง ก็จะเป็นคุณประโยชน์มหาศาลต่อโลก.




    http://www.fringer.org
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    บทเรียนบทแรก จากวิกฤติโลกร้อน ?

    เรื่อง: กฤษกร วงค์กรวุฒิ
    ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่




    หมอกควัน ที่ปกคลุมจ.เชียงใหม่จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
    ในหน้าแล้ง เพียงแต่ระดับความรุนแรงอาจไม่เท่ากันในแต่ละปี เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ทั้งปริมาณฝุ่นควันที่สะสมอยู่ในบรรยากาศ หรือ สภาพภูมิอากาศ ในปีนั้นๆ การเผาไร่ เพื่อเริ่มต้นฤดูการเพาะปลูก หรือไฟป่าอาจเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง ตราบใดที่มนุษย์ ยังมิได้ตระหนักว่า พวกเขานั่นเองที่กำลังนำพาประวัติศาสตร์โลกไปสู่โฉมหน้าใหม่
    เหตุใด ในปีนี้ ปริมาณฝุ่นควันพิษในอากาศ จึงสูงมากกว่าทุกปี
    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149">
    </td> <td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="28" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table> การสะสมตัวของฝุ่นละอองในอากาศ เกิดขึ้นในหน้าแล้ง เนื่องจากอากาศแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ความกดอากาศสูงทำให้อากาศจมตัวลง ปรากฎการณ์ที่เห็นได้บ่อยๆ ก็คือกลุ่มหมอกเหมย ในตอนเย็นลอยเรี่ย พื้นแทนที่จะลอยสูงขึ้น
    หากมองด้วยดวงตาจากสรวงสวรรค์ ก็จะพบว่า เมืองเชียงใหม่นั้นเป็นที่กระจุกตัวของพื้นผิวคอนกรีต ในแอ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งทอดตัวลงไปทางใต้ต่อเนื่องไปถึงตัวเมืองลำพูน มีสภาพไม่ต่างจาก ” แอ่งกระทะ ” ที่ถูกเทือกเขาสูงล้อมไว้ทุกด้าน อากาศที่เต็มไปด้วยเขม่า และฝุ่นละออง จะจมตัวลง และขังอยู่ใน แอ่งกระทะ การเผาไร่ และไฟป่ามักเกิดขึ้นตามลาดเขา ในวันที่ไม่มีลม อากาศเย็นจะเคลื่อนมาตามลาดเขาพร้อมกับฝุ่นละอองเหล่านี้ ลงมายังแอ่งที่ต่ำลงไป และสะสมอยู่ในบรรยากาศระดับต่ำ
    การตรวจวัดฝุนละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน พบว่ามีความหนาแน่นในอากาศมากกว่าปกติถึง 2 เท่า อาจเป็นไปได้ว่า มีการเผาไร่ และไฟป่ามากขึ้นในปีนี้ แต่ขณะเดียวกัน ฝุ่นควันจากรถยนต์ในเมือง ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในห้วงไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน
    ปกติแล้ว อากาศเย็นที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองเหล่านี้จะไม่สะสมอยู่นาน แต่บางส่วนจะสลายตัวไปกับบรรยากาศสูงขึ้นไป บางครั้ง พายุฤดูร้อนในช่วงเดือนมีนาคม ก็จะช่วยชะล้างอากาศที่ขุ่นมัวลงไปได้บางส่วน
    แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินต่อเนื่องมานานกว่าหนึ่งเดือนนี้ มีแต่ความนิ่งสงัดของอากาศ จนการสะสมของฝุ่นควันหนาแน่นขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้ อาจมาจากหลายปัจจัยที่สอดรับกัน ทั้งจากความแห้งแล้ง เนื่องจากอิทธิพลของเอล นีโญ่ รวมทั้ง สภาพโดมความร้อนของเมืองเชียงใหม่ ที่เกิดจากการสสมความร้อนของพื้นผิวคอนกรีต และกิจกรรมการใช้พลังงานต่างๆ จนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนสังเกตได้
    อากาศเย็น และ แห้งที่หนาแน่นไปด้วยอณูมลพิษ จมตัวอยู่ในระดับต่ำ สภาพอากาศร้อนจัดทำให้เกิดชั้นอุณหภูมิผกผัน ( temperature inversion ) ซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อนเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว และรุนแรง มาครอบอยู่เหนืออากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน สภาพของมันจึงไม่ต่างจากกำแพงที่มองไม่เห็นกดทับลงไปเหนือม่านฝุ่น จนไม่อาจระบายออกไปสู่ชั้นบรรยากาศได้
    ยิ่งเผาไร่ และเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงมากเท่าไร ก็ยิ่งเท่ากับคนในแอ่งเชียงใหม่ กำลังรมควันตัวเอง ในห้องขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางระบาย
    ปกติแล้ว ชั้นอากาศผกผัน ที่ปิดกั้นการฟุ้งกระจายของอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง สลายไปได้ด้วยกลไกตามธรรมชาติ นั่นคือ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นก็จะยกตัวสูงขึ้น อากาศที่เย็นกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทน เกิดเป็นพายุฤดูร้อน แต่สถานการณ์ขณะนี้ ดูเหมือนว่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก จนโอกาสจะเกิดฝนเป็นไปได้ยาก
    ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาวะอากาศแห่งสหราชอาณาจักร เพิ่งตรวจพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ มีผลโดยตรงต่อการเกิดฝน
    เขายังพบว่า ยิ่งอนุภาคมลภาวะในอากาศมีมาก จะยิ่งทำให้ละอองน้ำฟ้า มีขนาดเล็กมากตามไปด้วย
    เมื่อหยดน้ำมีขนาดเล็ก โอกาสที่จะก่อตัวเป็นฝนตก จึงเกิดได้ยากขึ้น ซึ่งหมายความว่า เมฆ จะมีเวลาอยู่บนฟ้า
    นานขึ้น หากเมฆก่อตัวหนาแน่นโดยไม่ตกลงมาเป็นฝน ก็จะสะท้อนความร้อนที่พื้นดินคายออกมาให้กลับลงมา ทำให้อากาศทวีความร้อนอบอ้าวมากยิ่งขึ้นไปอีก สถานการณ์ก็จะยืดเยื้อยาวนานออกไปจนไม่อาจคาดเดาความเสียหายได้
    อย่างไรก็ตาม มลพิษทางอากาศที่ปกคลุมแอ่งเชียงใหม่ จะสลายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว และทุกอย่างจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ เมื่อความชื้นจากทะเลถูกลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดพามาถึงในอีกไม่เกิน 1 เดือนข้างหน้า และในความเป็นจริง ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน จะเกิดฝนตกกระจายทั่วไป ชั่วระยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้ โอกาสที่จะเกิดขึ้น น้อยเต็มที
    มนุษย์กำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางลมฟ้าอากาศ อันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน ปรากฎการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ปกคลุมเชียงใหม่ และหลายจังหวัดในภาคเหนือ เป็นตัวอย่างที่เชื่อมโยงไปถึงภาวะโลกร้อน
    โลกร้อน มิได้หมายถึงว่า โลกจะร้อนขึ้นอีกนิดหน่อย แก้ได้ด้วยการเปิดแอร์ หรือเร่งวันสงกรานต์ให้เร็วขึ้น แต่ภาวะโลกร้อน หมายถึง ความวิปริตแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ผิดไปจากเดิมจนไม่ สามารถ ใช้องค์ความรู้
    ทางอุตุนิยมวิทยาที่มีมาทำนายได้ ลมฝนที่ควรจะมาถึง กลับล่าช้าออกไป ความแห้งแล้งที่น่าจะสิ้นสุดลง ปรากฎว่า ยืดเยื้อออกไปโดยไม่มีสาเหตุ สิ่งเหล่านี้เอง ที่จะสร้างความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสให้กับมนุษย์
    เราอาจทนอากาศที่เต็มไปด้วยมลพิษได้ 1 สัปดาห์ แต่หากช่วงเวลาที่อากาศเลวร้ายยืดออกไปเป็น 1 เดือนเต็ม เชียงใหม่ คงเป็นเมืองที่คนอพยพหนี มากกว่าจะหลั่งไหลเข้าไปอาศัยอยู่เพราะเชื่อว่าอากาศดี
    สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ในอีกทางหนึ่งได้ช่วยย้ำเตือนให้ เราได้ตระหนักมากขึ้นว่า แท้ที่จริงแล้ว มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอ และเปราะบาง มีชีวิตอยู่รอดได้ ภายใต้เงื่อนไขของลมฟ้าอากาศที่สมดุลย์ ในช่วงแคบๆ เท่านั้น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปเพียง 2- 3 องศา จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อกลไกลมฟ้าอากาศ จนมนุษย์ ไม่อาจทนอยู่ได้เลย
    และที่จำเป็นต้องตระหนักให้มากขึ้นก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งปวงก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากน้ำมือมนุษย์เองทั้งสิ้น ทั้งการเผาผลาญเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปสะสมในชั้นบรรยากาศ จนเกิดภาวะเรือนกระจก การตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นแหล่งที่ช่วยดูดกลืนคาร์บอนไดออกไซด์ รวมไปถึงการขยายพื้นที่เกาะแห่งความร้อนออกไปไม่สิ้นสุด
    นี่คือ บทเรียนบทแรกๆ ของภาวะโลกร้อน ที่ทำให้ หมอกมุงเมือง ในหน้าแล้ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติอันแสนธรรมดา กลายเป็นซุเปอร์หมอกควัน ที่เลวร้ายต่อระบบหายใจอย่างเฉียบพลัน
    บางที สิ่งที่กำลังรอคอยเราอยู่ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจรุนแรงกว่านี้ รุนแรงจนไม่อาจคาดไปถึงได้

    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
    ติดต่อ ฝ่ายสื่อสารองค์กร WWF ประเทศไทย
    โทร . 02-524-6128-9, 02-524-6168-9
    หรือ คุณพิมพาพรรณ ดวงแก้ว
    ผู้ประสานงานโครงการ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
    โทร. 08-6731-4298
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td height="15" valign="middle">พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    http://www.wwfthai.org
    </td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td> <table align="right" border="0" cellspacing="0" height="54" width="30%"> <tbody><tr> <td width="14%">[​IMG]</td> <td><table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td><table border="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="18"> </td> </tr> </tbody></table></td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr valign="top"> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะชีวมวล เชื้อเพลิงชีวภาพและแสงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ไม่ได้นำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพ โดยแผนการด้านไฟฟ้าในปัจจุบันกลับมุ่งเน้นด้านเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมหรือเชื้อเพลิงเชิงพานิชย์ (Conventional Fuel) ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน โดยสำหรับถ่านหินนั้น มีแนวโน้มว่าจะเป็นเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากขึ้นเนื่องจากมีราคาถูกกว่า การใช้ถ่านหินอันเป็นเชื้อเพลิงสกปรกจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ความทรุดโทรมของสุขภาพของสาธารณชน ความสูญเสียด้านผลผลิตการเกษตรของชุมชนรายรอบ รวมทั้งมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำ อากาศ เสียง และอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น ถ่านหินยังเป็นสาเหตุหลักของการทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์( CO 2 ) เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ ซึ่งก๊าซดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate Change ) หรือสภาวะโลกร้อน ( Global Warming )
    ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับเปลี่ยนแหล่งผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นแหล่งที่สะอาดกว่า ซึ่งประเทศไทยเองก็มีศักยภาพสูง อย่างไรก็ตามความจำเป็นดังกล่าวต้องได้รับการสนับสนุนจากชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ถ่านหินแล้วและชุมชนที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากการใช้ถ่านหิน นอกจากนี้ยังต้องได้รับการสนับสนุนจากชุมชนที่มีศักยภาพด้านแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งสามารถนำมาใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นได้



    ประจักษ์พยานสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Witnesses to Climate Change)
    ในประเทศไทย

    เรื่อง: ฝ่ายพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table> สภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบขึ้นแล้วทั่วโลก พายุเฮอริเคนโดยเฉพาะคาทาริน่าที่ทำความเสียหายอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์แก่พื้นที่ชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐตั้งแต่ช่วงกลางปีไปจนถึงปลายปีที่แล้วจนถึงพายุดีเปรสชั่นหลายต่อหลายลูกที่ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งเมืองเชียงใหม่ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างความหายนะของปรากฏการณ์ที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ โดยการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจจากการเผาผลาญพลังงานโดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิลอันมีถ่านหินเป็นตัวสำคัญ ได้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล ที่สำคัญที่สุดคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ปริมาณข อง CO2 ในบรรยากาศได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณที่น้อยกว่า 320 ppmv ในปี พ. ศ. 2500 เป็น มากกว่า 360 ppmv ในปี พ. ศ. 2540 นับว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เมื่อเทียบกับ ปริมาณ ของก๊าซนี้ที่อยู่ระหว่าง 180-300 ppmv ตลอดระยะเวลาสี่แสนปีที่ผ่านมา CO2 ที่มี ปริมาณ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ เกินกว่าที่ธรรมชาติจะปรับตัวและรักษาสมดุลได้ และ ทำให้อัตราการดูดซับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ของโลกเพิ่มขึ้น ทำให้โลกมีระดับอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ถึง 0.6°C เกิด
    “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” ( Greenhouse Effect) หรือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
    (Climate Change) หรือ ที่เรารู้จักกันดีว่า “โลกร้อน” (Global Warming)
    นั่นเอง

    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149">
    </td> <td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="33">
    </td> <td valign="middle">[​IMG] คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่</td> </tr> <tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table>
    และเป็นสาเหตุหนึ่งที่เร่งให้พายุที่ปกติเกิดขึ้นเป็นฤดูกาลได้ทวีระดับความรุนแรงมากขึ้นรวมถึงเกิดบ่อยครั้งขึ้น และไม่เพียงเท่านั้น สภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทุกประเภท ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านป่าไม้ ผลผลิตทางการเกษตร พื้นที่ชายฝั่งและปะการัง ทรัพยากรน้ำและอื่นๆ และท้ายที่สุด มนุษย์ย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือโลกร้อนขึ้นนั้น ไม่ได้หมายถึงแค่เพียงอากาศที่ร้อนขึ้นเท่านั้น แต่หมายถึงทุกสรรพสิ่งบนโลกได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล ​
    ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศอุตสาหกรรมที่มีมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่ได้เพียงแค่ส่งผลให้เกิดปัญหาเฉพาะในประเทศผู้ปล่อยก๊าซเหล่านั้นเท่านั้น หากแต่ปัญหานี้ได้ส่งผลไปทั่วโลกอย่างทั่วถึงแม้แต่ในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งมลพิษและไม่ได้เป็นประเทศอุตสาหกรรมก็ตาม ​
    ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ผู้มีข้อมูลสนับสนุนเท่านั้นที่รับรู้ บุคคลทั่วไปหรือชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็สามารถรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่เป็นเวลานานเช่นกัน เช่น ชาวฟิจิที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกสังเกตเห็นว่าชายฝั่งกำลังถูกกัดเซาะอย่างช้าๆและสัตว์น้ำก็หาจับได้ยากขึ้น หรือชาว Sundarbans Delta ประเทศอินเดียที่ประสบพายุไซโคลนและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูกและต้องอพยพย้ายที่อยู่ แม้กระทั่งเจ้าอาวาสแห่งวัด Tengboche ในประเทศเนปาล ซึ่งจำวัดนี้มานานกว่า 30 ปีก็ได้รับรู้ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมเนื่องจากแพน้ำแข็งได้ละลาย สำหรับในประเทศไทยเอง ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ ก็ได้มีการรับรู้อย่างเห็นได้ชัดโดยผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ นับเป็น “ประจักษ์พยานของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ ในประเทศไทย” ที่ WWF ประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ​
    ปะการังฟอกขาว - สัญญาณของอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น


    เมื่อ พ. ศ. 2540-2541 หลายคนอาจเพิ่งเคยได้รู้จักคำว่า “เอลนีโญ เป็นครั้งแรก อันที่จริงในช่วงปีนั้นไม่ได้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญเป็นครั้งแรก แต่เอลนีโญที่เกิดขึ้นในช่วงปีดังกล่าวนั้นเป็นปรากฏการณ์ครั้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจวัดมา ซึ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์นี้ในช่วงปีดังกล่าวอย่างรุนแรงหลายด้าน ทั้งปริมาณน้ำฝนที่น้อยลง อุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ ซึ่งนอกจากส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมอย่างมากแล้ว
    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table> ผลกระทบอีกด้านที่สำคัญไม่แพ้ด้านเกษตรกรรมที่นักดำน้ำได้พบเห็นเป็นบริเวณกว้างทั่วอ่าวไทย เช่น ที่เกาะสีชัง ชลบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระยอง และจันทบุรี โดยเฉพาะเมื่อปี พ . ศ . 2541 ซึ่งเป็นปีที่น้ำทะเลร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ คือ การเกิดปะการังฟอกขาว ซึ่งเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ชี้ให้เห็นได้ชัดว่าสภาวะโลกร้อนได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว ผลกระทบจากการสูญเสียปะการังซึ่งเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลกนั้น ได้ส่งผลต่อแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำโดยตรง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมากอีกด้วย

    ระดับน้ำทะเลสูงและการกัดเซาะบริเวณชายฝั่ง - ชุมชนต้องอพยพ


    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="10" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table> กว่า 30 ปีแล้วที่ชาวตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี นับร้อยหลังคาเรือนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งต้องอพยพไปอยู่ในแผ่นดินที่ห่างไกลจากชายฝั่งมากขึ้น รวมถึงวัดโคมนารามซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า มีอายุนับร้อยปีก็ต้องย้ายที่ตั้งไปยังหมู่บ้านที่ห่างไกลทะเลแทนเช่นกัน จากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่ได้ย้ายที่อยู่ถึง 3 ครั้งเนื่องจากระดับน้ำทะเลได้ท่วมบ้าน 2 หลังแรกนั้น ทำให้ทราบว่าบ้านบางแก้วซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณคุ้ง ( อ่าว ) ได้ประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะตลอดทั้งแนวชายฝั่งมานานกว่า 50 ปี ซึ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาน้ำทะเลได้กัดเซาะเป็นระยะทางนับกิโลเมตรแล้ว โดยช่วงที่ชายฝั่งถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงคือฤดูมรสุมที่เกิดคลื่นขนาดใหญ่ นอกจากการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านสังเกตได้ คือ สัตว์น้ำหาจับได้ยากขึ้น ชาวประมงหลายคนที่หาสัตว์น้ำในบริเวณนี้ได้ให้ข้อมูลเหมือนกันว่า ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้เห็นได้ชัดเจนว่าปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลง 5-10 เท่า และต้องออกเรือไปไกลจากฝั่งมากขึ้นเนื่องจากตามชายฝั่งไม่ค่อยมีสัตว์น้ำแล้ว ทำให้รายได้จากการประมงเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการยังชีพ ต้องกู้หนี้ยืมสิน และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพเร็วๆนี้
    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table> นอกจากนี้ จากคำบอกเล่า ของเจ้าอาวาสวัดโคมนารามซึ่งจำพรรษาที่วัดดังกล่าวตั้งแต่ปี พ. ศ. 2495 ซึ่งขณะนั้นที่ตั้งของวัดยังอยู่ติดชายฝั่ง ทำให้ทราบว่าเมื่อครั้งหลวงพ่อได้จำพรรษาใหม่ๆ น้ำทะเลอยู่ห่างจากตัววัดประมาณ 200 เมตรและได้กัดเซาะชายฝั่งมาโดยตลอด ปีละ 8-10 เมตร แต่ทางวัดไม่มีกำลังและทุนทรัพย์จะหาสิ่งป้องกัน จนกระทั่งน้ำได้เซาะตลิ่งพัง น้ำทะเลท่วมกุฏิ เมื่อ พ. ศ. 2515 จึงได้เริ่มสร้างวัด ณ ที่ตั้งใหม่ดังปัจจุบัน โดยสิ่งปลูกสร้างของวัดในที่ตั้งเดิมที่ยังเห็นได้อยู่ทุกวันนี้ คือ ถังรองน้ำฝน และใบเสมา ซึ่งได้แช่อยู่ในน้ำทะเลห่างจากฝั่งประมาณหนึ่งร้อยเมตร อย่างไรก็ดี ชาวบ้านเชื่อว่าการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและการกัดเซาะนี้ เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

    ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น

    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="10" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table>
    เมื่อปีที่ผ่านมาหลายพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมาสามารถสังเกตได้ถึงปริมาณฝนที่น้อยกว่าทุกปี ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อภาคเกษตรกรรมและความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แม้จังหวัดทางภาคอีสานของประเทศไทยจะเกิดภาวะฝนแล้งให้ได้ยินข่าวเป็นประจำ แต่หลายๆคนก็ยอมรับว่า ปีที่ผ่านมานี้หนักที่สุด อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองก็เป็นจุดหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงความแห้งแล้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ทำงานที่เขื่อนนี้มานานเกือบ 20 ปีให้ข้อมูลว่าปีที่แล้วนั้นฝนไม่ตกในช่วงเดือนที่ต้องตกตามปกติ และปริมาณน้ำในเขื่อนก็มีน้อยกว่าปีที่ผ่านๆมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์หลักจากเขื่อนคงประสบปัญหา ขณะเดียวกันเกษตรกรผู้ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียวก็สังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเช่นกัน โดยให้ข้อสังเกตว่าปีที่แล้วฝนตกแบบประปรายมาตลอดแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต่างจากปีที่ผ่านๆมาซึ่งฝนจะตกชุกในช่วงเดือนเมษายนถึงมกราคมและหยุดตกช่วงเดือนตุลาคม และพวกเขาได้รับผลกระทบจากสภาพฝนที่เปลี่ยนไปอย่างมาก เนื่องจากการปลูกข้าวโพดอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า พื้นที่ตำบลนี้นอกจากปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลักแล้ว ยังมีการปลูกมะเขือเทศซึ่งขายได้ราคาดีกว่าข้าวโพดด้วย อย่างไรก็ดี การปลูกมะเขือเทศต้องใช้น้ำปริมาณมาก ดังนั้น หากฝนยังคงแล้งเช่นนี้ต่อไปการปลูกมะเขือเทศก็คงไม่ได้ผลดี ​
    <table align="right"> <tbody><tr> <td height="149" width="15">
    </td> <td valign="top" width="158"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc">[​IMG]</td> <td bgcolor="#cccccc" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="33">
    </td> <td valign="middle">[​IMG] คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่


    </td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">
    </td> </tr> </tbody></table>
    ภัยธรรมชาติเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมาช้านานแล้ว อันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการที่โลกเราร้อนขึ้น จะเป็นภัยคุกคามที่เพิ่มเข้ามา และจะเป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายที่จะนำภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงเพิ่มมากขึ้นไปอีก หากจะว่าไปแล้ว ประจักษ์พยานในพื้นที่เหล่านี้ ล้วนไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดภัยดังกล่าว แต่กลับต้องเผชิญกับชะตากรรมที่คงได้แต่ตั้งหน้าตั้งตารับมือต่อไป หากไม่มีการดำเนินการเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการหยุดการใช้ถ่านหิน
    หันมาใช้พลังงานสะอาด และการดำเนินการเพื่อการปรับตัวกับการดำเนินชีวิตภายใต้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ยังจะส่งผลต่อเนื่องไปอีกหลายร้อยหลายพันปี
    </td></tr></tbody></table>
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอเวอร์ชั่นที่เป็นคอมเมนท์ ของตัวคุณด้วยครับ น่าจะเป็นประโยชน์มากๆครับ

    ขอโมทนาในความตั้งใจดีนี้ด้วยครับ
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอเวอร์ชั่นที่เป็นคอมเมนท์ ของตัวคุณด้วยครับ น่าจะเป็นประโยชน์มากๆครับ

    ขอโมทนาในความตั้งใจดีนี้ด้วยครับ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ก่อนอื่นต้องขอบคุณทุกท่านนะครับที่ติดตามอ่านกระทู้และเป็็นกำลังให้ สัญญาว่าจะหาเรื่องดีดีมาฝากเสมอครับ ออกตัวก่อนเลยนะครับว่าเป็นคนคุยไม่ค่อยเก่งครับ เอางี้ละกัน ก็จะคอย comment เป็นระยะละกันครับ ชอบหาข้อมูลมากกว่าครับ

    จริง ๆ แล้วเรื่องโลกร้อนนี้เราได้ยินได้ฟังกันมานานแล้วครับ คนทั่วไปคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวมาก คนเราส่วนมากมักจะไม่สนใจกับเรื่องที่ยังไม่เกิดหรอกครับ แต่สภาวะการณ์โลกร้อนในปัจจุบันได้สะท้อนให้เห็นความจริงที่รุนแรงมากขึ้น จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นกระแสให้ต้องหันมาคิดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจังหรอกครับ แต่เราควรมีความสำนึกอยู่ในสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่บ้างนะครับ ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันเป็นการนำเสนอให้เห็นถึงความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศของโลกที่เริ่มปรวนแปร รุนแรงมากขึ้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราส่วนร่วมในการทำให้โลกร้อนกันทุกคน แต่ใครหล่ะจะเป็นผู้จุดชนวนกระแสแห่งการอนุรักษ์ ปกป้องและคืนสภาพสิ่งแวดล้อมให้ทุเลาลงบ้าง นานาชาติเองถึงจะมีการประชุมเพื่อทำเป็นอนุสัญญาสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ แต่สุดท้ายก้อคว้าน้ำเหลว ไม่คืบหน้า หรือคืบหน้าน้อยมาก นั่นเพราะเป็นการจำกัดความเจริญของประเทศนั่นเอง ยิ่งประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายก้อบ่ายเบี่ยง กลัวกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกของประเทศ แล้วประเทศเล็กๆ อย่างไทยจะมีบทบาทสำคัญอย่างไรในเวทีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ต้องมองอื่นไกล เมืองไทยเราเราเอง สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างมาก นั่นเกิดจากไม่มีการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างจริงจัง ขาดการควบคุมและให้คำแนะนำ ปล่อยให้โรงงานและนายทุนเข้าไปทำลายและกอบโกยเอาผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติจนใกล้หมดแล้ว รัฐบาลก็ยังไม่ได้ตื่นตัวอะไรมากนัก ลำพังแต่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลุ่มหนึ่งออกมารณรงค์ ก็ไม่ได้ทำให้เจ้านายในบ้านเมืองชายตามามองเลย ผมก็ได้แต่หวังเล็ก ๆ ว่าถ้าเพื่อนสมาชิกในเวปหรือบุคคลทั่วไปได้เข้ามาอ่านข้อมูลที่ผมนำมาเผยแพร่ อาจจะพลังให้พวกเราได้เห็นถึงความสำคัญและปัญหาของโลกร้อนในปัจจุบันมากขึ้น ได้ตระหนักและช่วยกันป้องกันสภาพแวดล้อม ธรรมชาติทุกอย่าง เพื่อให้ระบบนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของโลกยังคงดำเนินไปตามปกติ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อพวกเราทุกคนบนโลกนี้ บางคนคิดว่าไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นมากมายเลยกับโลกร้อน อย่าพูดอย่างนั้นเลยครับ ถ้าทุกคนคิดอย่างนั้น จะไม่มีคำว่าอนาคตสำหรับโลกนี้เลย
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    อันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลอย่างไร

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งกำลังเกิดขึ้น หลักฐานก็คือ การละลายของก้อนน้ำแข็ง การเน่าเสียของปะการัง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป และความแห้งแล้งที่กินเวลานาน และรุนแรงขึ้น ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากร 150,000 คน เสียชีวิตทุกปีจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้โลกต้องเร่งลงมือกระทำการบางอย่างก่อนที่โลกของเราจะถูกทำลายจนเสียหาย และ ไม่สามารถเยียวยาได้
    ความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 และ เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณ 700,000 คนโดยเฉพาะชุมชนเกษตร กรีนพีซเชื่อว่าอุณหภูมิโลกที่<o:p></o:p>
    ร้อนขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นจุดเริ่มต้นของความแห้งแล้งที่รุนแรงที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และ กัมพูชา เมื่อไม่นานมานี้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โลกของเราทุกวันนี้ร้อนขึ้นกว่าเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ในทศวรรษที่ 1990 เป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดของโลก และ ในศตวรรษที่ 1900 เป็นศตวรรษที่ร้อนที่สุดในรอบ 1,000 พันปี ปีที่ร้อนที่สุดทั้ง 7 ปี ล้วนเกิดขึ้นในทศวรรษนี้โดยที่ปี 2541 เป็นปีที่ร้อนที่สุด หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงช่วงสิ้นศตวรรษ อุณหภูมิโลกก็จะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าช่วงใดๆในรอบ 2 ล้านปีที่ผ่านมา ข้อมูลจาก<o:p></o:p>
    Intergovernment Panel on Climate Change (IPCC) ระบุว่า การจำกัดความร้อนให้อยู่ต่ำกว่าระดับ 2 องศาเซลเซียสเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดตามมาจาก<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    IPCC ระบุว่า มีหลักฐานใหม่ และ แน่นหนาที่ได้จากการสังเกตุการณ์ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีต้นเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ กว่าหนึ่งศตวรรษที่มนุษย์พึ่งพาพลังงานจากซากฟอสซิล เช่น น้ำมัน และ ถ่านหิน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน โดยที่ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่สกปรกที่สุด การเผาเชื้อเพลิงซากฟอสซิลเช่น ถ่านหินจะปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนหลายชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของก๊าซเรือนกระจก ยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากเท่าไหร่ก็เท่ากับเราเพิ่มผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกให้กับโลกของเรามากขึ้นด้วยการกักเก็บความร้อน และ เพิ่มอุณหภูมิในโลกให้สูงขึ้น สิ่งนี้เองทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงตามมากับระบบนิเวศของโลก ผลกระทบซึ่งจะส่งผลต่อประเทศกำลังพัฒนามากที่สุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มีหลักฐานชัดเจนที่ชี้ว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น เฮอร์ริเคน อุทกภัย ความแห้งแล้ง และ คลื่นความร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น (และจะรุนแรงมากขึ้นและเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ) เพราะสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติพบว่า มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรงกำลังเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2503 จำนวนภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 7 เท่า คิดเป็นมูลค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 จาก 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี มาเป็น 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ในทศวรรษที่ 1990 ตัวเลขของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเพิ่มจาก 740 ล้านคนในทศวรรษที่ 1970 มาเป็น 2,000 ล้านคนในทศวรรษที่ 1990 และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศยากจน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การละลายของธารน้ำแข็ง อุทกภัยครั้งใหญ่ ผลผลิตการเกษตรที่ลดต่ำลง และ การเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด และ ความสูญเสียของความหลากหลายทางชีวภาพ เหล่านี้จะเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต หากเราไม่หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเสียแต่เนิ่นๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อะไรคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ?<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การที่โลกของเราร้อนขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ มันเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์ และรัฐบาลทั่วโลก<o:p></o:p>
    ต่างเห็นพ้องว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำลาย และทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติหลายแห่ง รวมทั้งชุมชนได้รับความเสียหาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเราเอ่ยถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก เรากำลังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั้งหมดทั่วโลก อัตราและความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในระยะยาวจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร?<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากปริมาณความเข้มข้นของก๊าซบางชนิดในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้น ก๊าซที่เก็บความร้อนเหล่านี้จะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพราะมันจะดักจับความร้อนที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการต่างๆ ก๊าซในกลุ่มนี้ที่มีอยู่ทั่วไป คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาจากระบวนการเผาถ่านหิน น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ จากโรงไฟฟ้า รถยนต์ โรงงาน และ อื่นๆอีกมากมายเช่นเดียวกับการตัดไม้ทำลายป่าจำนวนมหาศาล <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อะไรคือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ?<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นมากกว่าเรื่องของความร้อน จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 ของ IPCC พบว่าอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบของลม จำนวน และ ชนิดของไอน้ำในอากาศ (ฝน ลม หิมะ น้ำแข็ง) รวมทั้งความถี่ของอากาศที่รุนแรงขึ้นซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังกล่าวอาจจะยังไม่เกิดขึ้น และ / หรือ อาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ เศรษฐกิจตามมา ตัวอย่างผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ปริมาณน้ำจืดที่ลดลง - ภายในเวลา 50 ปี จำนวนของประชากรที่ขาดแคลนน้ำดื่มจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5,000 ล้านคนจากทั้งหมด 8,000 ล้านคน <o:p></o:p>
    2.ผลผลิตการเกษตรตกต่ำลง - เห็นได้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกมีผลต่อภาคการเกษตรท้องถิ่น และ มีผลต่อปริมาณอาหารสำรองในโลก<o:p></o:p>
    3.ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และ ผิวหน้าดินได้รับความเสียหาย การย้ายพื้นที่เพาะปลูก ความแห้งแล้ง และ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณไอน้ำในอากาศจะเพิ่มตัวเลขการละทิ้งพื้นที่ สิ่งนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อมในการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและมลภาวะจากอุตสาหกรรม <o:p></o:p>
    4.ยาฆ่าแมลงและโรคระบาด - ภาวะโลกร้อนจะเอื้อต่อการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืช เช่น ยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย <o:p></o:p>
    5.ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น - เมื่อโลกร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลก็จะขยายขนาดของมันตามไปด้วย สิ่งนี้เกี่ยวเนื่องกับการละลายของธารน้ำแข็ง เช่น แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ และ ภูเขาน้ำแข็งในทะเล ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจาก 0.1 เป็น 0.5 เมตร ในกลางศตวรรษหน้า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะทำให้ชุมชนริมฝั่งทะเล การเกษตร แหล่งน้ำจืดริมฝั่ง รวมถึงประเทศที่เป็นเกาะกลางมหาสมุทร หรือ ทะเลตกอยู่ในอันตราย<o:p></o:p>
    6.สภาพภูมิอากาศรุนแรงที่เกิดมากขึ้น เช่น ความแห้งแล้ง อุทกภัย พายุ และ อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อสังคม และ เศรษฐกิจ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลอย่างไรต่อเอเชีย?<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียมีตั้งแต่ ระดับน้ำทะเลที่เข้าท่วมพื้นที่ราบต่ำ อุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้นจากฝนที่ตกหนักขึ้น ความแห้งแล้งที่รุนแรงมากขึ้น พายุไซโคลนที่พัดแรงขึ้น ภัยคุกคามต่อพื้นที่การเกษตร และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปริมาณน้ำจืดที่ลดลง และ การเกิดโรคระบาดที่ร้ายแรง ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ทุกๆปี จะมีประชาชนกว่า 400 ล้านคนในเอเชีย ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ระหว่างปี 2530-2540 ร้อยละ 44 ของอุทกภัยทั่วโลกล้วนมีผลกระทบต่อเอเชีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 228,000 คน (คิดเป็นร้อยละ 93 ของการเสียชีวิตจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ปี นั้นสูงถึง 136 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในประเทศจีน อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2541 และ 2546 ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ มีประชาชนกว่า 4,000 คนเสียชีวิต และ ทำให้อีก 3,500,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก ในพื้นที่อื่นความแห้งแล้งส่งผลกระทบต่อประชาชน 90 ล้านคน และ ปศุสัตว์อีก 6,800,000 ตัวล้มตาย รวมทั้งพื้นที่ฟาร์ม 7,700,000 เฮคเตอร์ได้รับความเสียหาย ผลการวิจัยชี้ว่าผลผลิตของสินค้าหลักของจีน เช่น ข้าว ข้าวสาลี และ ข้าวโพด ลดต่ำลงมากกว่าร้อยละ 37 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในอินเดีย มีการบันทึกสถิติอุณหภูมิในเดือนพฤษภาคม 2545 ไว้ที่ 45.6 องศาเซลเซียส ทำให้มีคนเสียชีวิตเฉพาะในรัฐอันตรประเทศกว่า 1,000 คน อุทกภัยในรัฐโอริสสา ทางตะวันออกของประเทศเมื่อปี 2542 ทำให้ประชาชนเสียชีวิตหลายพันคนรวมทั้งหมู่บ้านที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปจนหมดสิ้นหลายแห่ง ส่วนทางตอนเหนือของอินเดีย อุณหภูมิในกรุงอิสลามาบัด ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศปากีสถานสูงถึง 47 องศาเซลเซียส ในเดือนมิถุนายนปีนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในญี่ปุ่นเมื่อปี 2547 มีบันทึกไว้ว่ามีพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มญี่ปุ่นถึง 10 ลูก และมี 2 ลูกที่ถล่มภายในเวลาเพียง 10 วัน หลังจาก Meari ก็ตามมาด้วย Ma-on และ Tokage ซึ่งเป็นไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นในรอบ 16 ปี และ ทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก และ ได้รับบาดเจ็บไม่น้อยไปกว่ากันนับตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในฟิลิปปินส์ จนถึงปลายปี 2547 มีไต้ฝุ่นเข้าถล่ม 4 ลูก และ พายุโซนร้อนทำให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง มีประชาชนเสียชีวิตกว่า 1,000 คน และ ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,000 คน ครอบครัว<o:p></o:p>
    53,000 ครอบครัวไร้ที่อยู่อาศัย และ ไม่มีน้ำสะอาดใช้ และ ยังทำลายพื้นที่การเกษตรกว่า 10,000 เฮคเตอร์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    น้ำในเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมาของไทย แห้งเหือดเนื่องจากความแห้งแล้งที่กินระยะเวลานาน ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาตั้งที่พักชั่วคราวในเขื่อนเพื่อจับปลาที่เหลืออยู่ การขาดแคลนน้ำ และ การเกษตรที่เสียหาย ทำให้ประชาชนหลายล้านคนได้รับความเดือดร้อน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในพื้นที่อินโด-แปซิฟิค แนวปะการังมีสีซีดจางลง และ ตาย ก่อให้เกิดภัยคุกคามระบบปะการังทั้งหมดเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มวลมนุษยชาติไม่เคยต้องประสบกับหายนะภัยทางธรรมชาติที่ใหญ่หลวงเช่นนี้มาก่อน มันเป็นเรื่องน่าขันที่ว่าประเทศที่เป็นต้นเหตุของเรื่องเหล่านี้น้อยที่สุด อย่างประเทศกำลังพัฒนาต้องกลายมาเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ยังมีอีกหลายประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนน้อยนิด และ เศรษฐกิจที่อ่อนแอ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งท้าทายอย่างมากที่จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เรามีส่วนในการร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และ ควรลงมือกระทำเสียแต่เดี๋ยวนี้ หากเรายังคงไม่ดำเนินมาตรการที่เร่งด่วน และ ฉับพลันเพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อน ไม่นานความเสียหายจะเกิดขึ้น และ ยากที่แก้ไขได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หนทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศโลก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นับตั้งแต่ที่การเผาซากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักของก๊าซเรือนกระจก เราจำเป็นต้องจำกัดการใช้น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ ทางแก้ไขปัญหามีอยู่แล้ว ด้วยการนำเอาพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ และ พลังงานที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ธรรมชาติได้มอบทางเลือกมากมายให้กับเราในการผลิตพลังงาน เมื่อผนวกกับปริมาณพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่มีอยู่มากมาย พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่มีอยู่ในทั้งลม คลื่น แสงอาทิตย์ และ ความร้อนภายในโลก จะสามารถผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และ เชื่อถือได้ รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงให้กับเราเท่าที่ต้องการ ลมเป็นพลังงานที่มีอัตราการติดตั้งเร็วที่สุด คิดเป็นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 15.89 พลังงานลมนี้สามารถผลิตพลังงานให้กับเราได้มากเป็น 2 เท่าของพลังงานที่เราต้องการในปี 2563 ในอีกแง่หนึ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบผิวโลกมีปริมาณมากพอในการผลิตพลังงานมากกว่าปริมาณที่โลกกำลังบริโภคอยู่ทุกปีถึง 1 หมื่นเท่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การนำทางแก้ไขปัญหานี้มาใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ความเสียสละของมนุษย์มากมายนัก หรือ ก่อให้เกิดความยุ่งยากในชีวิตแต่อย่างใด ตรงกันข้ามพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้จะนำมนุษย์ไปสู่ยุคใหม่ของการใช้พลังงาน ที่จะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพื่อปกป้องโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล โดยเร็ว รวมถึงการปฏิวัติพลังงานก็เช่นเดียวกัน เมื่อผนวกกับพลังงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว พลัง<o:p></o:p>
    งานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้จึงเป็นทางเลือกที่ดี และ ยั่งยืนอย่างแท้จริง

    http://www.greenpeace.org

     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    อนาคตอันร้อนระอุ

    โลกกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชาชนจำนวนมากต้องเสียชีวิตและจำนวนไม่น้อยที่ต้องกลายเป็นผู้อพยพ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชาชนหลายล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะในประเทศยากจนในภูมิภาคแอฟริกาและเอเชีย ความหิวกระหายในการบริโภคพลังงานของเราจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลายพันล้านตันเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    ประเทศอุตสาหกรรมเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ แต่รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนาก็จะต้องถูกตำหนิเช่นเดียวกัน เพราะแทนที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของประเทศอุตสาหกรรม แต่รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนากลับเจริญรอยตามประเทศเหล่านั้น แต่ขณะเดียวกันก็มีหลายประเทศที่หันหลังให้กับพลังงานสกปรกและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและหมุนเวียน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    [​IMG]ขณะที่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมของโลกเร่งหาประโยชน์จากพลังงานสะอาด เช่น ลม แสงอาทิตย์ และคลื่น แต่พลังงานจากถ่านหินก็เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่กระหายพลังงานของบริษัทที่ร่ำรวยซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศในองค์กรความร่วมมือเพื่อเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งไม่มีตลาดสำหรับเทคโนโลยีพลังงานสกปรกอีกต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหตุที่ต้องเร่งลงมือกระทำ ณ บัดนี้ <o:p></o:p>
    การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกและธารน้ำแข็งที่ลดน้อยลงไป ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น อุทกภัยและความแห้งแล้งและการแพร่กระจายของโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นตัวอันตรายกำลังอยู่ใกล้ชิดเรามาก นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกามากที่สุด ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ทุกๆ ปี จะมีประชาชนกว่า 400 ล้านคนในเอเชียได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ระหว่างปี 2530-2540 ร้อยละ 44 ของอุทกภัยทั่วโลกเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 228,000 คน(คิดเป็นร้อยละ 93 ของการเสียชีวิตจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ปี นั้นสูงถึง 5.44 ล้านล้านบาท<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความสำเร็จก้าวแรกครั้งสำคัญคือเมื่อพิธีสารเกียวโตได้กลายมาเป็นกฏหมายระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยต่ำกว่าระดับของปี 2533 ร้อยละ 5 ภายในปี 2551-2555 เราถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิโลกในอนาคตและผลกระทบที่จะตามมาเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโลกที่จะเพิ่มสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากและทำลายระบบนิเวศ และเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เราจึงต้องพยายามรักษาระดับของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เทียบกับระดับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามลดลงให้ได้มากกว่านั้นในอนาคต กระนั้นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในระดับดังกล่าวก็ยังจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงและเป็นอันตรายต่อผู้คนหลายล้านคน การชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะเท่ากับเป็นการช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในหลายภูมิภาคและจำกัดระดับความเสียหายของระบบนิเวศ การรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้มิให้เพิ่มมากไปกว่า 2 องศาเซลเซียสนั้นหมายถึงเราจะต้องลดระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกจากระดับของปี 2533 ให้ได้ร้อยละ 50 ภายในกลางศตวรรษนี้ และประเทศอุตสาหกรรมจะต้องลดให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปี 2593<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หากเราทำได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ นั่นหมายความว่า จะต้องลดละเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก และเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการประหยัดพลังงาน แต่การแพร่กระจายของการใช้ถ่านหินในเอเชียก่อให้เกิดความวิตกเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาไหม้ถ่านหินก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    [​IMG]หากเราไม่ลงมือกระทำเสียแต่บัดนี้ เรามีทางสองแพร่งให้เลือกระหว่างหายนะภัยทางภูมิอากาศกับหายนะภัยทางเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า พิธีสารเกียวโตจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและเผยแพร่อย่างรวดเร็วและขยายระบบการปันส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการเลิกใช้เทคโนโลยีสกปรก สิ่งที่ต้องเร่งกระทำนั้นเห็นได้อย่างชัดเจน แต่เวลาในการลงมือกระทำมีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่า เราไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ศักยภาพของพลังงานสะอาด<o:p></o:p>
    1 ใน 3 ของประชากรโลกยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนประเทศอุตสาหกรรมบริโภคมากเกินกว่าที่หาได้ การให้บริการด้านพลังงานโดยไม่ทำลายสภาพภูมิอากาศ หรือสุขภาพ สวัสดิการและชุมชน สามารถทำได้ด้วยการส่งเสริมการใช้แหล่งพลังงานสะอาดเช่น ลม แสง อาทิตย์ น้ำ คลื่นและชีวมวล ร่วมกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานและการประหยัดพลังงานพลังงานสะอาดก่อให้เกิดการจ้างแรงงานท้องถิ่นจำนวนมากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีความมั่นคงและไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกดังเช่นเชื้อเพลิงฟอสซิล พลังงานสะอาดยังขับเคลื่อนขีดความสามารถของอุตสาหกรรม พลังงานลมเป็นตัวจักรสำคัญในตลาดพลังงานหลักที่มีการติดตั้งเพื่อใช้งานในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ เดนมาร์ก และ เยอรมนี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่างไรก็ตามศักยภาพของพลังงานสะอาดไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร ไม่ใช่เพราะว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้มเหลวแต่เนื่องจากข้อบกพร่องทางการเมืองและงบประมาณ ข้อบกพร่องที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการนำเงินไปอุดหนุนพลังงานฟอสซิล และ พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งประเมินเป็นตัวเลขประมาณ 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งทำให้การพัฒนาพลังงานสะอาดต้องถูกยกเลิกไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ค่าใช้จ่ายของการผลิตพลังงานนั้นรวมถึงต้นทุนด้านสังคม สุขภาพ ผลกระทบทางสังคม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น และ ภูมิภาค และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมเรียกว่า ต้นทุนผลกระทบภายนอก ราคาของถ่านหิน และ น้ำมันอาจจะสูงเป็น 2 เท่าและ ราคาของก๊าซธรรมชาติอาจสูงเกือบ 1 ใน 3 หากราคาของต้นทุนผลกระทบภายนอกนี้รวมเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น จากการใช้การประเมินของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป พบว่า ต้นทุนผลกระทบภายนอกของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของเอเชีย CLP Power ที่ตั้งอยู่ที่ฮ่องกง มีมูลค่าสูงถึง 3 ,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2547 พูดง่ายๆ ก็คือ คนที่จ่ายภาษีต้องจ่ายเงิน 3 เหรียญสหรัฐฯต่อเงินทุกๆ เหรียญสหรัฐฯที่ใช้ในการลงทุนด้านถ่านหินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของต้นทุนผลกระทบภายนอกหรือ ความฉ้อฉลของคาร์บอน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    [​IMG]รัฐบาลที่เห็นด้วยกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ สนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาหันมาใช้เทคโนโลยีสะอาดล้วนเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอก ที่แท้จริงแล้วเป็นผู้สนับสนุนให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น และ ยังดึงเอาประเทศกำลังพัฒนาให้หันไปใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ ผ่านทางธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multilateral Development bank) และองค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออก(Export Credit Agencies) ทั้งออสเตรเลีย และ สหรัฐฯซึ่งอ้างว่าประเทศกำลังพัฒนาไม่มีข้อผูกมัดในการลดก๊าซเรือนกระจก จึงไม่ยอมลงนามในพิธีสารเกียวโต อีกทั้งยังผลักดันให้มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยการส่งออกถ่านหินไปยังเอเชียผ่านการให้เงินอุดหนุน และ เงินกู้เพื่อการส่งออก <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เงินกู้เพื่อการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน <o:p></o:p>
    เทคโนโลยีสกปรก ล้วนได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันการเงินที่มีรัฐบาลหนุนหลัง ซึ่งจะให้เงินกู้ยืม เงินประกันภัย และเงินที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาหันมาเสพติดการใช้ถ่านหิน ทั้งที่มีผลกระทบในระดับโลกและท้องถิ่นจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ขณะที่มีทางเลือกที่จะพัฒนาพลังงานสะอาด แต่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวนมากในเอเชียก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น ธนาคารโลก หรือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย เป็นต้น <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    องค์กรเงินกู้เพื่อการส่งออก(ECAs)เป็นสถาบันการเงินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และส่วนใหญ่จะมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศกลุ่ม OECD สถาบันการเงินนี้เป็นเสมือนตัวแทนของแหล่งเงินทุนภาคเอกชนขนาดใหญ่เพียงแหล่งเดียวที่ไหลจากซีกโลกเหนือสู่ซีกโลกใต้ มันเป็นองค์กรที่มีการตรวจสอบน้อยที่สุด ขาดความโปร่งใส และ ยากแก่การอธิบาย ECAs ใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานจากถ่านหิน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งยังสนับสนุนเงินทุนกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในการสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในเอเชีย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ธนาคารแห่งญี่ปุ่นเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือ JBIC เป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และ จัดหาทุนสนับสนุนให้กับบริษัทในประเทศอย่างกลุ่มบริษัทมิตซูบิชิ เช่นเดียวกับบริษัทพลังงาน และอุตสาหกรรมถ่านหิน ในหลายประเทศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แม้จะตั้งมีภารกิจหลักในการลดปัญหาความยากจน แต่เงินกู้ยืมของสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และทำลายสังคมอย่างกว้างขวาง การสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลขนาดใหญ่ทำให้หลายประเทศต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะมาหลายทศวรรษ ระหว่างปี 2513-2546 โครงการสนับสนุนด้านการเงินของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียร้อยละ 41 (16.65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ได้ไหลไปสู่ภาคพลังงาน และ แทนที่จะมีการสนับสนุนพลังงานใหม่ๆที่ได้จากแหล่งพลังงานสะอาด กลับกลายเป็นว่าในปี 2546 มีเพียงโครงการเดียวจากทั้งหมด 8 โครงการ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการพัฒนาพลังงานสะอาด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อไม่นานมานี้ธนาคารโลกได้ปฏิเสธไม่ยอมรับบทวิจารณ์ด้านอุตสาหกรรมขององค์กรตัวเองที่แนะนำให้ยกเลิกการลงทุนในการผลิตน้ำมันภายในปี 2551 และ ไม่ควรลงทุนกับถ่านหิน และ หันไปสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดปีละร้อยละ 20 แต่ในความเป็นจริงธนาคารโลกได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือการพัฒนาถ่านหินในอินเดีย และ จีน แทนที่จะหันไปสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดแต่ในทางตรงกันข้ามกลับให้การสนับสนุนต่อการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และขัดแย้งต่อนโยบายของตนเอง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ่านหินสะอาด <o:p></o:p>
    เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด มีจุดประสงค์เพื่อลดการปล่อยมลพิษที่สำคัญคือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ ออกไซด์ของไนโตรเจนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ เพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น แต่การลดการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก็เทียบไม่ได้กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อุตสาหกรรมถ่านหินได้พุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอน(CCS) และ การปลูกป่าขนาดใหญ่ที่เรียกว่าแหล่งทิ้งคาร์บอน เพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ข้อคิดเห็นที่ว่าเทคนิคดังกล่าวนี้จะสามารถทำให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไปได้ และไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น อย่างดีที่สุดก็คือในระยะเวลา 15-20 ปี ข้างหน้า เทคนิคการดักจับและกักเก็บคาร์บอนจะยังไม่สามารถนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างใหม่ อีกทั้งยังมีราคาแพง และ ในท้ายที่สุดอาจจะใช้ไม่ได้ผลด้วยซ้ำไป การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำได้ด้วยการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งมีอยู่ทั่วไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หันหลังให้กับเทคโนโลยีสกปรก <o:p></o:p>
    ไม่ว่าจะทำให้ถ่านหินมีภาพพจน์ที่สะอาดอย่างไร ถ่านหินก็ยังคงเป็นเชื้อเพลิงที่มีมลพิษ และเป็นอันตรายอยู่นั่นเอง ออสเตรเลียเป็นผู้นำในการส่งออกถ่านหินป้อนตลาดเอเชีย ในปี 2545-2546 ออสเตรเลียส่งออกถ่านหินร้อยละ 80 (165 ล้านตัน) ให้กับตลาดในเอเชีย โดยมีลูกค้าใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ขณะที่ไต้หวัน อินเดีย จีน มาเลเซีย ไทย และ ฟิลิปปินส์ ก็เป็นลูกค้าของออสเตรเลียด้วยเช่นกัน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บริษัทยักษ์ใหญ่ 4 แห่งได้แก่ BHP Billiton, Rio Tinto, Anglo American และ Enex ครอบครองตลาดการส่งออกถ่านหินของออสเตรเลียร้อยละ 80 ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่กับบริษัทมิตซูบิชิมีสายสัมพันธ์อันดีกับบริษัท BHP Billiton ขณะที่บริษัทเพื่อการพัฒนามิตซุยเป็นพันธมิตรกับ Anglo American<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บริษัทไชน่าไลท์แอนด์พาวเวอร์ หรือ CLP ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในตลาดถ่านหินเอเชีย และ มีจุดประสงค์ที่จะยกระดับบริษัทให้เป็นผู้ลงทุน และ ผู้ดำเนินการของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าในเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่ บริษัท CLP มีการลงทุนหลักๆในโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ มีบทบาทสำคัญในไต้หวัน ออสเตรเลีย อินเดีย และ ไทย โดย CLP เป็นผู้ร่วมทุนร้อยละ 50 ของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP ในประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการอุดหนุนทางการเงินของรัฐบาลไทยและภาคเอกชนร่วมกับรัฐบาล และบริษัทพลังงาน และอุตสาหกรรมถ่านหินข้ามชาติจำนวนมาก ที่ละเลยและเพิกเฉยต่อผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและโลก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทสรุป <o:p></o:p>
    เหตุผลสำคัญ 5 ประการที่ต้องเร่งพัฒนาและนำพลังงานสะอาดมาใช้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ปกป้องสภาพภูมิอากาศของโลก<o:p></o:p>
    2.ปกป้องสุขภาพของมนุษย์ สวัสดิการสังคม และ สิ่งแวดล้อม <o:p></o:p>
    3.การบรรเทาความยากจน<o:p></o:p>
    4.การจัดหาแหล่งพลังงานสำรอง<o:p></o:p>
    5.การหาแหล่งพลังงานที่เป็นอิสระ มีความมั่นคง และ เข้มแข็ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากประเด็นข้างต้น จำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนของการสนับสนุนด้านการพัฒนาของรัฐบาลและสถาบันการเงินระหว่างประเทศในการยุติความช่วยเหลือโครงการพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อเรียกร้อง<o:p></o:p>
    รัฐบาลทุกประเทศ<o:p></o:p>
    ให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประเทศอุตสาหกรรม<o:p></o:p>
    ทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปี 2593 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สถาบันการเงินต่างๆ<o:p></o:p>
    1.นำประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นระเบียบวาระในการพิจารณาให้เงินทุนสนับสนุนโครงการทุกโครงการ<o:p></o:p>
    2.ปฏิบัติตามแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ การพัฒนาที่ยั่งยืน<o:p></o:p>
    3.ลดและกำจัดอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน<o:p></o:p>
    4.ยกเลิกการลงทุนในโครงการพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และ เพิ่มการลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    องค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออก<o:p></o:p>
    ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ เพื่อทำให้สาธารณะชนทั้งในประเทศผู้ให้กู้และประเทศที่รับเงินกู้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ องค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออกควรที่จะ<o:p></o:p>
    1. อย่างน้อยที่สุด นำเอามาตรฐานของเอกสารสิ่งพิมพ์และการปรึกษาหารือของธนาคารโลกมาใช้<o:p></o:p>
    2. ปฏิบัติตามอนุสัญญาอาฮุสว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสำหรับองค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออกในยุโรปต้องปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป<o:p></o:p>
    3. จัดพิมพ์ข้อมูลตามข้อตกลงที่มีกับองค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออกอื่น ๆ<o:p></o:p>
    4. จัดพิมพ์รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในภาษาท้องถิ่นของประเทศให้กู้และประเทศรับเงินกู้อย่างน้อย 120 วันก่อนที่จะมีการอนุมัติเงินกู้เพื่อการส่งออก รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต้องรวมถึงมาตรฐานขั้นต่ำที่สุดด้านประสิทธิภาพพลังงานและ/หรือเกณฑ์ทางสังคมและความเข้มข้นของคาร์บอนซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์สุทธิที่ชุมชนจะได้รับ<o:p></o:p>
    5. ปรึกษาหารือกับกลุ่มประชาสังคมและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในประเทศให้กู้และประเทศที่รับเงินกู้เพื่อการประเมินการลงทุนที่ดำเนินอยู่และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และโครงการต่างๆ และในการจัดเตรียมขั้นตอนและมาตรการการให้เงินกู้<o:p></o:p>
    การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย องค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออกทั้งหลายควรสร้างมาตรการต่าง ๆ โดยทันทีเพื่อขจัดอุปสรรคทางการเมืองและทางการเงินที่มีต่อการพัฒนาพลังงานสะอาดโดย<o:p></o:p>
    1. ขยายการจ่ายคืนเงินกู้ออกไปจนถึง 15 ปี (ซึ่งใช้อยู่กับโครงการพลังงานฟอสซิลและนิวเคลียร์)<o:p></o:p>
    2. ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านธุรกรรมทางการเงินที่เกิดจากค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ<o:p></o:p>
    3. สร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการส่งออกเทคโนโลยีพลังงานสะอาดซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีอย่างแท้จริง มิใช่การนำเข้าเทคโนโลยีตามความพอใจของบริษัทจากซีกโลกเหนือ<o:p></o:p>
    4. ควรสนับสนุนการปล่อยเงินกู้ขนาดเล็กซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่น<o:p></o:p>
    5. ผสมผสานโครงการเงินทุนและคำมั่นสัญญาทางนโยบายและขีดความสามารถเพื่อการถ่ายโอนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประเทศในกลุ่มองค์กรเพื่อความร่วมทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD)<o:p></o:p>
    1. รัฐบาลในกลุ่มOECD ต้องยุติการปล่อยเงินกู้ทางโดยตรงและโดยอ้อมให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและน้ำมัน ยุติการให้เงินทุนในโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเขื่อนพลังน้ำขนาดใหญ่และโครงการพลังน้ำที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการของคณะกรรมาธิการเขื่อนโลก<o:p></o:p>
    2. รัฐบาลในประเทศซีกโลกเหนือซึ่งมีเป้าหมายด้านพลังงานสะอาดระดับชาติควรที่จะนำเอาเป้าหมายดังกล่าวมาปรับใช้กับสถาบันเงินกู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง-องค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี รัฐบาลในกลุ่ม OECD ทุกประเทศควรตั้งเป้าให้มีการปล่อยกู้ในโครงการพลังงานสะอาดร้อยละ 20 ของภาคพลังงานทั้งหมดและสนับสนุนในรูปแบบของการประกันผ่านองค์กรปล่อยเงินกู้เพื่อการส่งออกของตนในโครงการพลังงานสะอาดและการพัฒนาด้านประสิทธิภาพพลังงาน และควรประยุกต์กับสถาบันทางการเงินอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลของประเทศดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย<o:p></o:p>
    <ins cite="mailto:Tara%20Buakamsri" datetime="2005-11-10T16:20"><o:p> </o:p></ins>
    รัฐบาลทุกประเทศ<o:p></o:p>
    1. รัฐบาลทุกประเทศควรมุ่งลดละเลิกการอุดหนุนทางการเงินต่อโครงการพลังงานแบบดั้งเดิม โดยประมาณ 2.5-3 แสนล้านต่อปี ภายในระยะเวลา 10 ปี ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านและกรอบเวลาที่ยืดหยุ่นเพื่อหลีกเลี่ยงภาระที่จะตกกับประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งยังต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานแบบเดิมและการส่งออก<o:p></o:p>
    2. รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนภายนอกเข้าไปในโครงการถ่านหิน นิวเคลียร์และเขื่อนขนาดใหญ่และผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาพลังงานสะอาด<o:p></o:p>
    3. ใช้การให้เงินทุนและการอุดหนุนทางการเงินอย่างเหมาะสมกับชุมชนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนและผู้ประกอบการในการสร้างศักยภาพเพื่อการลงทุนด้านพลังงานสะอาดซึ่งมีตัวอย่างเกิดขึ้นแล้วและนำมาประยุกต์ใช้ได้<o:p></o:p>
    4. ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการพัฒนาพลังงานสะอาดภายใต้ข้อตกลงทางการค้าและความช่วยเหลือแบบทวิภาคี<o:p></o:p>
    5. รัฐบาลทุกประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ OECD ต้องมุ่งสู่มาตรฐานด้านเป้าหมายพลังงานสะอาด ประสทธิภาพด้านพลังงานและมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างตลาดของพลังงานสะอาดให้มากที่สุด<o:p></o:p>
    6. ก่อนการให้เงินทุนในโครงการต่าง ๆ รัฐบาลทั้งหลายต้องจัดทำการวางแผนทรัพยากรแบบผสมผสาน


    http://www.greenpeace.org

     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว หลักฐานคือการละลายของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลก การฟอกขาวของปะการัง ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไป และความแห้งแล้งที่ยาวนานและทวีความรุนแรงขึ้น รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ประชากร 150,000 คน เสียชีวิตทุกปีจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้เอง เราจำเป็นต้องเร่งลงมือกระทำการบางอย่างก่อนที่โลกของเราจะถูกทำลายจนเสียหายและมิอาจเยียวยาได้
    ภัยแล้งในประเทศไทยที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 และ เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะเกษตรกร กรีนพีซเชื่อว่าอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นจุดเริ่มต้นของความแห้งแล้งที่รุนแรงที่สุดที่ส่งผลกระทบฟิลิปปินส์ ไทย และ กัมพูชา เมื่อไม่นานมานี้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โลกของเราทุกวันนี้ร้อนขึ้นกว่าเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ในทศวรรษที่ 1990 เป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดของโลกและในศตวรรษที่ 1900 เป็นศตวรรษที่ร้อนที่สุดในรอบ 1,000 พันปี ปีที่ร้อนที่สุดทั้ง 7 ปี ล้วนเกิดขึ้นในทศวรรษนี้โดยที่ปี พ.ศ. 2541 เป็นปีที่ร้อนที่สุด หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงช่วงสิ้นศตวรรษ อุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าช่วงใดๆ ในรอบ 2 ล้านปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change,IPCC) ระบุว่ามีความจำเป็นที่จะต้องรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ 2 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    IPCC ระบุว่า มีหลักฐานใหม่และแน่นหนาที่ได้จากการสังเกตการณ์ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีสาเหตุสำคัญจากกิจกรรมของมนุษย์ กว่าหนึ่งศตวรรษที่มนุษย์พึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานโดยที่ถ่านหินนั้นสกปรกที่สุด การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน จะปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนหลายชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากเท่าไร ก็เท่ากับเราเพิ่มผลกระทบจากภาวะเรือนกระจกให้กับโลกของเรามากขึ้นด้วยการกักเก็บความร้อนและเพิ่มอุณหภูมิในโลกให้สูงขึ้น สิ่งนี้เองทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงตามมากับระบบนิเวศของโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนามากที่สุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มีหลักฐานชัดเจนที่ชี้ว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น พายุเฮอร์ริเคน อุทกภัย ภัยแล้งและคลื่นความร้อน ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น (และจะรุนแรงมากขึ้นและเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ) เพราะสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติพบว่า มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2503 จำนวนภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 7 เท่า คิดเป็นมูลค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 จาก 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี มาเป็น 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ในทศวรรษที่ 1990 ตัวเลขของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเพิ่มจาก 740 ล้านคนในทศวรรษที่ 1970 มาเป็น 2,000 ล้านคนในทศวรรษที่ 1990 และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศยากจน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การละลายของธารน้ำแข็ง อุทกภัยครั้งใหญ่ ผลผลิตการเกษตรที่ลดต่ำลงและการเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด และ ความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เหล่านี้จะเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต หากเราไม่หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเสียแต่เนิ่นๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคืออะไร ?<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือการที่โลกของเราร้อนขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ มันเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ และรัฐบาลทั่วโลกต่างเห็นพ้องว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำลาย และทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติหลายแห่ง รวมทั้งชุมชนได้รับความเสียหาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเราเอ่ยถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก เรากำลังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั้งหมดทั่วโลก อัตราและความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในระยะยาวจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร?<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากปริมาณความเข้มข้นของก๊าซบางชนิดในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้น ก๊าซที่เก็บความร้อนเหล่านี้จะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพราะมันจะดักจับความร้อนที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการต่างๆ ก๊าซในกลุ่มนี้ที่มีอยู่ทั่วไปคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาจากระบวนการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จากโรงไฟฟ้า ยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมและอื่นๆ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าจำนวนมหาศาล <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อะไรคือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ?<o:p></o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นมากกว่าเรื่องของความร้อน จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 ของ IPCC พบว่าอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบของลม จำนวน และ ชนิดของไอน้ำในอากาศ (ฝน ลม หิมะ น้ำแข็ง) รวมทั้งความถี่ของอากาศที่รุนแรงขึ้นซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังกล่าวอาจจะยังไม่เกิดขึ้น และ/หรืออาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจตามมา ตัวอย่างผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้แก่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ปริมาณน้ำจืดที่ลดลง - ภายในเวลา 50 ปี จำนวนของประชากรที่ขาดแคลนน้ำดื่มจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5,000 ล้านคนจากทั้งหมด 8,000 ล้านคน <o:p></o:p>
    2.ผลผลิตการเกษตรตกต่ำลง – เห็นได้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกมีผลต่อผลิตผลทางการเกษตรในระดับท้องถิ่นและมีผลต่อปริมาณอาหารสำรองในโลก<o:p></o:p>
    3.ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงและหน้าดินได้รับความเสียหาย–การย้ายพื้นที่เพาะปลูก ภัยแล้ง และการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไอน้ำในอากาศจะเพิ่มปริมาณการย้ายถิ่นฐานของประชากร สิ่งนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อมในการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและมลภาวะจากอุตสาหกรรม <o:p></o:p>
    4.ยาฆ่าแมลงและโรคระบาด - ภาวะโลกร้อนจะเอื้อต่อการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืช เช่น ยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย เป็นต้น <o:p></o:p>
    5.ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น - เมื่อโลกร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลก็จะขยายขนาดของมันตามไปด้วย สิ่งนี้เกี่ยวเนื่องกับการละลายของธารน้ำแข็ง เช่น แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และภูเขาน้ำแข็งในทะเล ซึ่งจะทำ<o:p></o:p>
    ให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจาก 0.1 เป็น 0.5 เมตร ในกลางศตวรรษหน้า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะทำให้ชุมชนริมฝั่งทะเล พื้นที่การเกษตร แหล่งน้ำจืดริมฝั่ง รวมถึงประเทศที่เป็นเกาะกลางมหาสมุทรหรือทะเลตกอยู่ในอันตราย<o:p></o:p>
    6.สภาพภูมิอากาศรุนแรงที่เกิดมากขึ้น เช่น ความแห้งแล้ง อุทกภัย พายุ และ อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อสังคมและเศรษฐกิจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบและเป็นอันตรายต่อภูมิภาคเอเชียอย่างไร?<o:p></o:p>
    ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียมีตั้งแต่ ระดับน้ำทะเลที่เข้าท่วมพื้นที่ราบต่ำ อุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้นจากฝนที่ตกหนักขึ้น ความแห้งแล้งที่รุนแรงมากขึ้น พายุไซโคลนที่พัดแรงขึ้น ภัยคุกคามต่อพื้นที่การเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปริมาณน้ำจืดที่ลดลงและการเกิดโรคระบาดที่ร้ายแรง ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ทุกๆปี จะมีประชาชนกว่า 400 ล้านคนในเอเชีย ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยระหว่างปี 2530-2540 ร้อยละ 44 ของอุทกภัยทั่วโลกล้วนมีผลกระทบต่อเอเชีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 228,000 คน (คิดเป็นร้อยละ 93 ของการเสียชีวิตจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ปี นั้นสูงถึง 136 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในประเทศจีน อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2541 และ 2546 ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ มีประชาชนกว่า 4,000 คนเสียชีวิต และ ทำให้อีก 3,500,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก ในพื้นที่อื่นความแห้งแล้งส่งผลกระทบต่อประชาชน 90 ล้านคน และ ปศุสัตว์อีก 6,800,000 ตัวล้มตาย รวมทั้งพื้นที่ฟาร์ม 7,700,000 เฮคเตอร์ได้รับความเสียหาย ผลการวิจัยชี้ว่าผลผลิตของสินค้าหลักของจีน เช่น ข้าว ข้าวสาลี และ ข้าวโพด ลดต่ำลงมากกว่าร้อยละ 37 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในอินเดีย มีการบันทึกสถิติอุณหภูมิในเดือนพฤษภาคม 2545 ไว้ที่ 45.6 องศาเซลเซียส ทำให้มีคนเสียชีวิตเฉพาะในรัฐอันตรประเทศกว่า 1,000 คน อุทกภัยในรัฐโอริสสา ทางตะวันออกของประเทศเมื่อปี 2542 ทำให้ประชาชนเสียชีวิตหลายพันคนรวมทั้งหมู่บ้านที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปจนหมดสิ้นหลายแห่ง ส่วนทางตอนเหนือของอินเดีย อุณหภูมิในกรุงอิสลามาบัด ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศปากีสถานสูงถึง 47 องศาเซลเซียส ในเดือนมิถุนายนปีนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในญี่ปุ่นเมื่อปี 2547 มีบันทึกไว้ว่ามีพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มญี่ปุ่นถึง 10 ลูกและมี 2 ลูกที่ถล่มภายในเวลาเพียง 10 วัน หลังจาก Meari ก็ตามมาด้วย Ma-on และ Tokage ซึ่งเป็นไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นในรอบ 16 ปี และ ทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมากและได้รับบาดเจ็บไม่น้อยไปกว่ากันนับตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในฟิลิปปินส์ จนถึงปลายปี 2547 มีไต้ฝุ่นเข้าถล่ม 4 ลูก และ พายุโซนร้อนทำให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง มีประชาชนเสียชีวิตกว่า 1,000 คน และ ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,000 คน ครอบครัว<o:p></o:p>
    53,000 ครอบครัวไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีน้ำสะอาดใช้และยังทำลายพื้นที่การเกษตรกว่า 10,000 เฮกเตอร์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในปี 2548 ไทยประสบภัยแล้งอย่างรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบถึงประชาชน 9.2 ล้านคนใน 63 จังหวัดทั่วประเทศ พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายกว่า 5 ล้านไร่ รัฐบาลไทยประเมินว่า มูลค่าความเสียหายมากถึง 193.2 ล้านเหรียญสหรัฐ น้ำในเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมาแห้งเหือดเนื่องจากความแห้งแล้งที่กินระยะเวลานาน ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาตั้งที่พักชั่วคราวในเขื่อนเพื่อจับปลาที่เหลืออยู่ การขาดแคลนน้ำและการเกษตรที่เสียหาย ทำให้ประชาชนหลายล้านคนได้รับความเดือดร้อน ส่วนในภาคตะวันออกของไทย โดยเฉพาะจังหวัดระยอง ปริมาณฝนที่ลดลงและขาดช่วงส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและนำไปสู่วิกฤตน้ำและการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในพื้นที่อินโด-แปซิฟิค แนวปะการังมีสีซีดจางลงและตาย ก่อให้เกิดภัยคุกคามระบบปะการังทั้งหมดเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มวลมนุษยชาติไม่เคยต้องประสบกับหายนะภัยทางธรรมชาติที่ใหญ่หลวงเช่นนี้มาก่อน มันเป็นเรื่องน่าขันที่ว่าประเทศที่เป็นต้นเหตุของเรื่องเหล่านี้น้อยที่สุดอย่างประเทศกำลังพัฒนาต้องกลายมาเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ยังมีอีกหลายประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนน้อยนิด และ เศรษฐกิจที่อ่อนแอ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งท้าทายอย่างมากที่จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เรามีส่วนในการร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและควรลงมือกระทำเสียแต่เดี๋ยวนี้ หากเรายังคงไม่ดำเนินมาตรการที่เร่งด่วนและฉับพลันเพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อน ไม่นานความเสียหายจะเกิดขึ้นและยากที่แก้ไขได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หนทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก<o:p></o:p>
    เมื่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราจำเป็นต้องจำกัดการใช้น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ ทางแก้ไขปัญหามีอยู่แล้ว ด้วยการพัฒนาพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ธรรมชาติได้มอบทางเลือกมากมายให้กับเราในการผลิตพลังงาน เมื่อผนวกกับปริมาณพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่มีอยู่มากมาย พลังงานสะอาดมีอยู่ในลม คลื่น แสงอาทิตย์และความร้อนใต้พิภพ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงให้กับเราเท่าที่ต้องการ พลังงานลมมีอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุด คิดเป็นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 15.89 พลังงานลมนี้สามารถผลิตพลังงานได้มากเป็น 2 เท่าของพลังงานที่เราต้องการในปี 2563 ในอีกแง่หนึ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบผิวโลกมีปริมาณมากพอในการผลิตพลังงานมากกว่าปริมาณที่โลกกำลังบริโภคอยู่ทุกปีถึง 1 หมื่นเท่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทางออกดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความเสียสละของมนุษย์มากมายนักหรือก่อให้เกิดความยุ่งยากในชีวิตแต่อย่างใด ตรงกันข้ามพลังงานสะอาดจะนำมนุษย์ไปสู่ยุคใหม่ของการใช้พลังงาน ที่จะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และ การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพื่อปกป้องโลกจากหายนะภัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเร็ว และปฏิวัติพลังงานพลังงานสะอาด เมื่อผนวกกับประสิทธิภาพด้านพลังงานแล้ว พลังงานสะอาดเป็นทางเลือกที่ดีและยั่งยืนอย่างแท้จริง

    http://www.greenpeace.org

     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กระชากหน้ากาก “ถ่านหินสะอาด”

    อะไรคือ“ถ่านหินสะอาด”? ถ่านหินจัดเป็นแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง การเผาไหม้ถ่านหินจะปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานออกมามากกว่าการเผาไหม้น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญและเป็นตัวการใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    จากเหมืองขึ้นสู่ท้องฟ้า จากการขุดเจาะไปจนถึงการเผาไหม้ ถ่านหินก่อให้เกิดมลพิษในทุกขั้นตอนการผลิต ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มักเกิดตามมาทำให้การใช้ถ่านหินเป็นต้องจ่ายด้วยราคาแสนแพงสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยน้ำเสียที่มีภาวะเป็นกรดจากโรงไฟฟ้าลงสู่แม่น้ำและลำธาร การปล่อยสารปรอทและสารพิษอื่นๆ ในกระบวนการเผาไหม้ รวมถึงก๊าซที่ทำลายสภาพภูมิอากาศและอนุภาคขนาดเล็กชนิดอื่นๆ ที่ทำลายสุขภาพมนุษย์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าถ่านหินคือธุรกิจที่สกปรก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในจำนวนเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด ถ่านหินจัดเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกปรกที่สุด การเผาไหม้ถ่านหินก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<sub>2</sub>) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่สุดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นปริมาณมหาศาล การเผาไหม้ถ่านหินทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการเผาไหม้น้ำมันถึงร้อยละ 29 และมากกว่าการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 80 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สารปรอทจัดเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญ ตามรายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ระบุว่า ปรอทและสารประกอบอื่นๆของมันเป็นสารพิษที่อันตรายที่สุด และเป็นภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์และสัตว์ป่า (2) โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของสารปรอทในบรรยากาศ (3) และจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ในการป้องกันการปล่อยสารปรอทเข้าสู่ชั้นบรรยากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน (4)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ่านหินสะอาดคือความพยายามของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลบล้างภาพลักษณ์ที่สกปรก เป็นคำประดิษฐ์ของอุตสาหกรรมถ่านหิน มิใช่ถ่านหินชนิดใหม่แต่อย่างใด <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด(Clean Coal Technology) อ้างถึงเทคโนโลยีที่ต้องการลดมลพิษ แต่ก็ไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใดที่สะอาดจริงๆ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ่านหินสะอาดคือวิธีการปล่อยทิ้งมลพิษจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งซึ่งในที่สุดก็ยังคงปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมอยู่นั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่มีการเผาไหม้ถ่านหิน ก็จะมีการปล่อยสารปนเปื้อนออกมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเถ้าลอย ก๊าซที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ น้ำเสีย หรือกากของเสียที่ถูกทิ้งไว้หลังการเผาไหม้ ท้ายที่สุดล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ชุมชนหลายต่อหลายแห่งได้ร้องเรียนต่อผู้สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่พวกเขาเหล่านั้นมักจะเพิกเฉยเนื่องจากได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐซึ่งไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แม้ว่าจะใช้เวลาวิจัยถึง 10 ปี และ เสียงบประมาณการลงทุนทำการทดลองที่สหรัฐฯไปถึง 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (5) แต่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดที่สามารถทำให้ถ่านหินสะอาดได้ รัฐบาลออสเตรเลียใช้งบประมาณ 500,00 เหรียญออสเตรเลียต่อปีในการส่งเสริมให้มีการส่งออกถ่านหินจากออสเตรเลียให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมีราคาแพง และไม่ได้แก้ปัญหาจากการทำเหมืองถ่านหินหรือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบรรเทาเบาบางลงได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นการทำวิจัยเรื่องถ่านหินสะอาดยังจะเป็นการเบี่ยงเบนการลงทุนซึ่งควรจะสนับสนุนพลังงานสะอาดสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างแท้จริง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โครงการถ่านหินสะอาดเกิดขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษที่ 1980 อันมีสาเหตุมาจากฝนกรด โครงการนี้พุ่งเป้าไปที่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฝนกรด (6) และปัจจุบันนี้ก็ยังมีความพยายามหยิบยกเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขึ้นมาพูดเพื่อส่งเสริมให้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลักต่อไป <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ่านหินสะอาดคุ้มค่าหรือไม่?<o:p></o:p>
    เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจำนวนมากที่ผลักดันโดยอุตสาหกรรมถ่านหินยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา และยังต้องใช้เงินทุนอีกหลายร้อยหรือหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ และเวลาอีกหลายปีกว่าที่จะกลายเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังมีราคาแพงเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวันอีกด้วย สำนักงานสารสนเทศพลังงานของสหรัฐฯประเมินว่า เงินทุนของโรงงาน IGCC ซึ่งเป็นต้นแบบ (สถานีทดลองโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ปล่อยก๊าซปริมาณต่ำ) อยู่ที่ 1,383 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลวัตต์ และ 2,088 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลวัตต์หากรวมค่าแยกคาร์บอนด้วย ขณะที่ราคาของการติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วไปอยู่ที่ 1,015 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลวัตต์ (7)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทสรุป<o:p></o:p>
    ถ่านหินสะอาดเป็นความพยายามของอุตสาหกรรมถ่านหินในการพยายามและหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง โครงการถ่านหินสะอาดที่มีอยู่ไม่ได้ช่วยบรรเทาปัญหาจากการทำเหมืองถ่านหิน หรือ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่สกปรกและล้าสมัยไปแล้ว สิ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างแท้จริงคือพลังงานสะอาดจากลม แสงอาทิตย์และชีวมวลยุคใหม่ แหล่งพลังงานเหล่านี้ล้วนสะอาด มีราคาถูก และเป็นสิ่งที่น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่งมากกว่าการลงทุนกับแหล่งพลังงานสกปรกล้านปีอย่างถ่านหิน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มายาคติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มายาคติ : เทคโนโลยีการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มประสิทธิผล และ ลดการปล่อยก๊าซเสียได้<o:p></o:p>
    การเผาไหม้ถ่านหินแบบ Supercritical Pulverised (PCC) – ใช้ความดันและอุณหภูมิสูงในการเผาไหม้ วิธีนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุณหภูมิในการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าถ่านหินจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 45 ด้วยวิธีนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเสียได้เนื่องจากมีการใช้ถ่านหินน้อยลง (8)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเผาไหม้ถ่านหิน แบบ Fluidised Bed(FBC) เป็นการเผาถ่านหินด้วยอุณหภูมิต่ำซึ่งจะลดการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ได้ และใช้น้ำยาซอร์เบนท์ในการดูดซึมซัลเฟอร์ (9)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    Coal Gasification เป็นการทำให้ถ่านหินทำปฏิกิริยากับไอน้ำและอากาศหรือออกซิเจนโดยใช้ความดันและอุณหภูมิสูงเพื่อสร้าง Syngas (คาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน) Syngas สามารถนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือนำไปผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซลได้ (10)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อเท็จจริง<o:p></o:p>
    มาตรฐานโลกด้านประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี Pulverised อยู่ที่ร้อยละ 37.5 (11) ส่วนเทคโนโลยี Pulverised ขั้นสูงนั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพได้เพียงร้อยละ 41-44 และอาจจะได้รับการพัฒนาให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในอีก 100 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินสะอาดวิธีอื่นยังคงอยู่ในขั้นตอนการเริ่มพัฒนา และไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาประสิทธิภาพได้เกินร้อยละ 43 (12)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มายาคติที่ 2 การทำความสะอาดถ่านหินจะช่วยลดระดับซัลเฟอร์ และ แร่ธาตุในถ่านหิน (13)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อเท็จจริง<o:p></o:p>
    ผลจากการทำความสะอาดถ่านหินทำให้เกิดสารอันตรายจำนวนมาก โดยการนำถ่านหินไปกองไว้รวมกัน และให้น้ำฝนเป็นตัวชะล้าง โดยน้ำฝนจะชะเอาสารพิษออกจากถ่านหินและน้ำเสียเหล่านั้นก็จะไหลลงสู่แม่น้ำและลำธาร น้ำเสียจะเต็มไปด้วยกรดและโลหะหนักต่างๆ(14)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มายาคติที่ 3 การเผาไหม้โดยใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจะควบคุมมลพิษให้กับโรงไฟฟ้าด้วยการลดการปล่อยก๊าซที่ปนสารพิษ (15)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปล่อยอนุภาคขนาดเล็ก - สามารถลดได้ด้วยวิธี Electrostatic Precipatators (ESPs) และ Fabric filters (ESPs) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางโดยการส่งก๊าซไปตามท่อที่ตั้งอยู่ระหว่างแผ่นดักจับ ซึ่งจะดูดเอาอนุภาคขนาดเล็กด้วยการใช้ไฟฟ้าสถิต (16)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ – สามารถลดได้ด้วยวิธี Low-NOx Burners (LNB) วิธีนี้จะลดสารไนโตรเจนออกไซด์ด้วยการควบคุมอุณหภูมิความร้อน และสภาพแวดล้อมทางเคมีระหว่างการเผาไหม้ (17) Selective catalytic or non-catalytic reduction (SCR/SNCR) เป็นวิธีที่มีราคาแพง และ ไม่นิยมใช้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ – สามารถลดได้ด้วยวิธี Fule Gas Desulphurisation (FGD)เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไปในการดูดซับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยการใช้สารประกอบในการดูดซับเช่น ปูนขาว (19)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปล่อยโลหะหนัก–เช่น ปรอท แคดเมียม และสารหนู- โลหะหนักที่ปล่อยออกมากับก๊าซเสียสามารถลดได้โดยการใช้วิธีควบคุมอนุภาคขนาดเล็ก หรือการเผาไหม้แบบ fluidized bed และ อุปกรณ์ FGD (20) ส่วนการพ่นผงถ่านกัมมันต์(Activated Carbon Injection) กำลังอยู่ในระหว่างการทดลองเพื่อแยกสารปรอท (21) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อเท็จจริง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ่านหินประกอบด้วยวัสดุที่ไม่สามารถเผาไหม้ประมาณร้อยละ 7-30 และจะต้องมีการกำจัดขั้นสุดท้ายในที่สุด เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดพยายามดักจับกากของเสียเหล่านี้ก่อนที่จะถูกปล่อยออกทางปล่องของโรงไฟฟ้า กากของเสียที่ถูกดักจับเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ (ทั้งที่มีสารพิษตกค้างจำนวนมาก),ทิ้งกองไว้บนดินหรือนำไปฝังกลบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งมีปริมาณเถ้าและซัลเฟอร์ต่ำกว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเสียออกทางปล่องและเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นได้ แต่ประสิทธิภาพด้านความร้อนจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น หากรัฐบาลเลือกถ่านหินสะอาดในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นแทนการใช้พลังงานสะอาด แน่นอนว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มสูงตามไปด้วย (23)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากรายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP) ระบุว่า ปรอทและสารประกอบของปรอทมีความเป็นพิษอย่างสูง และเป็นภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมต่อมนุษยและสัตว์ป่า (24) การรับเอาสารปรอทเข้าไปจะก่อให้เกิดให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์ รายงานยังระบุอีกว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินและการผลิตความร้อนที่ใช้ถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของปรอทที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ (25) ข้อมูลของสภาวิจัยการใช้ประโยชน์จากถ่านหินระบุว่า ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะใช้ดักจับปรอทที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ (26) ยิ่งไปกว่านั้นรายงานของคณะกรรมาธิการด้านพลังงานของสหรัฐฯชี้ว่า ยังไม่มีการจัดทำผลกระทบของการควบคุมปรอทในระยะยาวอย่างต่อเนื่องและจริงจัง (27) การทดลองแยกปรอทออกจากก๊าซเสียของโรงไฟฟ้าถ่านหินมีราคาแพงมาก อยู่ที่ 761,000 เหรียญสหรัฐฯต่อปรอทหนึ่งกิโลกรัม และแม้กระนั้นก็ยังเหลือสารปรอทตกค้างอยู่อีกร้อยละ 10 (28)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มายาคติที่ 4 การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) สามารถจับคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และ กักเก็บมันไว้ในทะเล หรือ ใต้ผิวโลก (29)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อเท็จจริง<o:p></o:p>
    CCS มีราคาแพง โดยที่ต้นทุนการผลิตพลังงานจะเพิ่มจากร้อยละ 40 เป็น 80 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าทั่วไป ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งและสถานที่จัดเก็บ รวมถึงการขนส่งและเทคโนโลยีที่ใช้ดักจับที่นำมาใช้ด้วย (30)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    CCS จะทำให้เกิดรายจ่ายมากขึ้นในระยะยาว การเฝ้าระวังและการตรวจสอบที่กินเวลานานนับทศวรรษเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บไว้ แม้กระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดในการเข้าไปแทรกแซงเพื่อป้องกันหรือควบคุมเหตุการณ์รั่วไหลที่อาจเกิดขึ้นได้ (31)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    CCS ไม่ใช่เทคโนโลยีสำหรับวันนี้หรือในอนาคต เพราะความไม่แน่นอนของเทคโนโลยีว่ามันจะสามารถใช้งานได้หรือไม่ การหันมาใช้พลังงานสะอาดจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ธุรกิจเสี่ยง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แม้จะมีการลงทุนเฉพาะในสหรัฐฯ ถึง 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (32) แต่การวิจัยถ่านหินสะอาดก็ยังพบกับอุปสรรคมากมาย เช่น ในจำนวนโครงการวิจัย 13 โครงการที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานตรวจบัญชี (US General Accounting) ปรากฏว่า โครงการวิจัย 8 โครงการ เกิดความล่าช้า หรือ ปัญหาด้านการเงิน อีก 6 โครงการล่าช้ากว่ากำหนด 2-7 ปี และ อีก 2 โครงการนั้นล้มละลาย และ ไม่ประสบความสำเร็จ (33)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โครงการ Healy Clean Coal ในสหรัฐฯที่มีเงินทุน 297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งใจที่จะนำเอาเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมมาใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด แต่ในที่สุดก็ปิดตัวไปในเดือนมกราคม ปี 2543 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินการให้เกิดความปลอดภัย เชื่อถือได้และประหยัดด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว(34)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต้นทุนทางสังคม และ สิ่งแวดล้อม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ถ่านหินเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เหมือง คนงานในเหมืองมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและการเจ็บป่วย ชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับผลกระทบจากปัญหาดินเสื่อมคุณภาพและมลพิษ ทำให้หลายต่อหลายครั้งต้องมีการอพยพย้ายถิ่นฐานใหม่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ถ่านหินจะถูกนำมาบดละเอียดและนำไปเผาในเตาอุณหภูมิสูง ก๊าซพิษและ อนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากจะถูกปล่อยออกมากระบวนการเผาไหม้ออกสู่ปล่องระบายก๊าซเสีย การใช้ประโยชน์จากเถ้าหนักและกากของเสียที่เหลือจากการเผาไหม้ และเถ้าลอยที่สะสมจากการดักจับก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่ปล่อยออกทางปล่องของโรงไฟฟ้า ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างสูงต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและน้ำและสุขภาพของมนุษย์


    http://www.greenpeace.org
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    นิวเคลียร์ไม่ใช่ทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    พลังงานนิวเคลียร์มีราคาแพง ช้า และ อันตราย มันไม่สามารถหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากคำตอบคือ พลังงานนิวเคลียร์ มันต้องมาจากคำถามที่โง่เง่าอย่างมาก Ian Lowe ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ออสเตรเลีย
    บรรดาอุตสาหกรรมนิวเคลียร์พากันออกมาอ้างว่าพลังงานนิวเคลียร์คือ คำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งที่พลังงานนิวเคลียร์มีสารพิษและ <o:p></o:p>
    อันตรายอย่างยิ่ง ดังนั้นการเลือกพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางออกในการแก้ปัญหาจึงเป็นหลบเลี่ยงการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แท้จริงและถ่วงเวลาในการแก้ไขอย่างจริงจัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กลุ่มผู้สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์ล้วนกล่าวถูกต้องที่ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว แต่การนำเอานิวเคลียร์มาแทนที่ถ่านหินที่ก่อให้เกิดมลพิษและ เชื้อเพลิงฟอสซิลชนิดอื่นๆ ก็ไม่ใช่คำตอบที่เราต้องการเช่นเดียวกัน ทางออกในระยะยาวที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศ คือ การพัฒนาพลังงานสะอาดโดยเฉพาะลมและแสงอาทิตย์ ผนวกกับเทคโนโลยีในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภูมิภาคเอเชียมีโครงการขยายการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ตั้งแต่ปี 2545-2568 ที่เติบโตเร็วที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96 ของโครงการทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น (1)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต้นทุน – พลังงานนิวเคลียร์มีราคาแพงมาก ไม่เพียงแต่จะมีราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลและ พลังงานสะอาดจากลม นิวเคลียร์ยังมีเรื่องของความไม่ปลอดภัยและมรดกของสารพิษต้นทุนที่สูงนั้นเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความมั่นคง การประกันภัย และภาระที่ต้องชดใช้หากเกิดอุบัติเหตุหรือถูกโจมตี การจัดการกากนิวเคลียร์ การก่อสร้างและการปลดระวางการใช้งานของเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งทวีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พลังงานลมและแสงอาทิตย์กลับมีราคาถูกลง (2) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้แต่เสนอถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในอดีตซึ่งเป็นผลมาจากการอุดหนุนเงินทุนของรัฐบาล ปัจจุบันมีการเปิดเสรีตลาดพลังงานทั่วโลกทำให้นักลงทุนเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น ตัวเลขของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐฯ มีจำนวนสูงสุดเมื่อ 15 ปีก่อน และลดลงตั้งแต่นั้นมา ในทางตรงกันข้ามปริมาณการใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ต่อปี (3)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อันตรายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมถึงอุบัติเหตุ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เชอร์โนบิลเมื่อปี 2529 การปล่อยกัมมันตภาพรังสีเป็นประจำทุกวันและของเสียจากโรงงานนิวเคลียร์ ปัญหาของกากนิวเคลียร์และ ความเสี่ยงจากการก่อการร้ายและก่อวินาศกรรม ในเอกสาร International Energy Outlook ปี 2548 ระบุว่า เอเชียจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางนิวเคลียร์มากที่สุดในอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้หลายประเทศในภูมิภาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาตกอยู่ในอันตรายมากกว่าภูมิภาคอื่น อีกไม่นานเอเชียจะกลายเป็นลานทิ้งกากนิวเคลียร์ หากเราไม่ปฏิเสธตั้งแต่เนิ่นๆ และหันไปสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานให้มากขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กากนิวเคลียร์ - การทิ้งกากนิวเคลียร์ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่มีทางแก้ มันเป็นมลภาวะที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่มีการคิดค้นขึ้นมา กากนิวเคลียร์ยังคงเป็นกัมมันตภาพรังสีต่อไปอีกหลายร้อยหลายพันปี ตามปกติเหมืองยูเรเนียมจะผลิตกากนิวเคลียร์ที่มีครึ่งชีวิตยาวนานมากและกากนิวเคลียร์ที่มีรังสีระดับต่ำทิ้งไว้ในบริเวณใกล้ๆเหมือง เครื่องปฏิกรณ์จะปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกสู่อากาศและน้ำ(4) ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน การเฝ้าระวังและเก็บสะสมกากนิวเคลียร์ไว้เป็นเวลานานเท่ากับเป็นการประวิงเวลาของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอนาคตของโลกถึง 20 เท่า เท่ากับว่ามนุษยชาติทุกรุ่นจะต้องแบกรับปัญหานี้ต่อไปโดยไม่มีการระบุถึงความปลอดภัยในระยะยาว <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การแพร่กระจายของนิวเคลียร์ - เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เช่น การพัฒนายูเรเนียม ถูกนำไปใช้การผลิตอาวุธนิวเคลียร์ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกมีความสามารถสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้และความพยายามของนานาชาติในการยุติการแพร่กระจายของเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ก็ล้มเหลว เทคโนโลยีนิวเคลียร์ย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงในการนำไปพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายล้างสูง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ผลิตก๊าซเรือนกระจก - การกล่าวอ้างว่า พลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศเป็นเรื่องที่ผิด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเกิดขึ้นในวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำมาผลิตไฟฟ้ามีความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกหนาแน่นกว่านิวเคลียร์ แต่นั่นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวถ้าหากมีการพัฒนายูเรเนียมที่มีคุณภาพดีได้ และถึงแม้ว่าจะพัฒนายูเรเนียมคุณภาพดีได้แต่ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกก็ยังคงเกิดขึ้นจากการทำเหมือง กระบวนการผลิต และการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ก่อนหน้าที่จะมีการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยซ้ำ ที่สำคัญยูเรเนียมคุณภาพดีนั้นมีปริมาณเหลือน้อยและใช้ได้อีกไม่กี่ปีหากมีการใช้ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยูเรเนียมที่พบส่วนใหญ่ในโลกมักเป็นยูเรเนียมคุณภาพต่ำและมีแนวโน้มที่จะมีความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกสูง พลังงานนิวเคลียร์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยพลังงานมากกว่าแหล่งพลังงานสะอาด และการเปรียบเทียบนี้จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นหากยูเรเนียมคุณภาพดีลดลงเรื่อยๆ(5)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทางเลือกที่ปลอดภัย และสะอาด <o:p></o:p>
    เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดกับสภาพภูมิอากาศของโลก เราจำเป็นต้องลงมือทำอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียควรจะนำเอาทางเลือกที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดมาใช้ เช่น ลม แสงอาทิตย์ ความร้อนจากน้ำ ประสิทธิภาพด้านพลังงานและชีวมวล พลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานเป็นแหล่งพลังงานที่ป้อนให้สังคมที่เราอยู่อาศัยได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมตามมา <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานสะอาดผลิตไฟฟ้าป้อนโลกของเราร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับนิวเคลียร์ที่ผลิตร้อยละ 16.6 ขณะที่การใช้พลังงานสะอาดเริ่มเพิ่มปริมาณมากขึ้น และ การใช้นิวเคลียร์ค่อยๆลดลง (7) แหล่งพลังงานสะอาด เช่น ลมและแสงอาทิตย์เติบโตร้อยละ 20-30 ทุกปี (8) ในปี 2546 การติดตั้งระบบแผงเซลแสงอาทิตย์ทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นจนทะลุยอดที่ตั้งเอาไว้ที่ 2,400 เมกะวัตต์ของพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ยอดการขนส่งแผงพลังงานแสงอาทิตย์และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 35 ต่อปี ทำให้เกิดการจ้างงาน 1 หมื่นตำแหน่ง และทำให้เกิดธุรกิจที่ทำรายได้ปีละกว่า 3 พันล้านยูโร (9) ขณะที่พลังงานลมก็เป็นแหล่งพลังงานที่มีการนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานเร็วที่สุดในโลกโดยมีอัตราในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 15.8 (10) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานสะอาดและหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้น และหาได้แม้ในกระทั่งดินแดนที่ห่างไกลความเจริญ ช่วยให้โลกของเราปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เนื่องจากข้อจำกัดของการลงทุนในการจัดหาแหล่งพลังงานสะอาด ดังนั้นการลงทุนใดๆ ก็ตามในพลังงานนิวเคลียร์จึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธการใช้พลังงานสะอาดและประสิทธิภาพด้านพลังงาน ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา พลังงานนิวเคลียร์มีแต่เรื่องที่เลวร้ายและไม่มีทางแก้ไขปัญหาดั้งเดิมของตัวมันเองได้ และยังเป็นทางเลือกที่ไม่น่าลงทุน การตัดสินใจที่ควรกระทำในขณะนี้คือการปฏิเสธพลังงานนิวเคลียร์ และหันไปลงทุนด้านพลังงานสะอาดและประสิทธิภาพด้านพลังงาน


    http://www.greenpeace.org
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติพลังงานสะอาด

    การปฏิวัติพลังงานสะอาดเป็นทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการใช้พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่สำหรับทุกคน
    ชีวิตอันสะดวกสบายของเราเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ซึ่งทำให้มนุษย์พัฒนาการไปตามกาลเวลาควบคู่ไปกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และ ข้อมูลข่าวสาร ที่ทำให้โลกของเรามีความมั่งคั่งมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการใช้พลังงาน การผลิตอาหารและน้ำ อีกทั้งยังก่อให้เกิดเทคโนโลยีอันน่าทึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่างไรก็ตาม สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องแลกมาด้วยราคาแสนแพง เราทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน เป็นต้น และการตัดไม้ทำลายป่า เราทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษและย้อนกลับมาทำอันตรายต่อสุขภาพของเราเอง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราจำเป็นต้องปฏิวัติพลังงานสะอาด เราต้องเร่งหาทางเพื่อปกป้องสุขภาพของเรา อนาคตของเราและของมวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมากและเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งเนื่องจากจำนวนประชากรที่มากกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลกทั้งหมด(1) แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจึงอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงและการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศในเอเชียหลายประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ บางประเทศมีเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเช่น แหล่งน้ำ ป่า ทุ่งหญ้าและการประมง เท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียคือ ลดการใช้พลังงาน และให้แน่ใจว่าพลังงานที่เราต้องการมาจากแหล่งพลังงานสะอาด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานสะอาดมีศักยภาพในการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในสังคมได้หลายเท่า ซึ่งในปัจจุบัน เรายังผลิตไฟฟ้าที่มาจากพลังงานลม พลังน้ำขนาดเล็ก และพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ต่ำกว่าร้อยละ 1<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานแสงอาทิตย์ <o:p></o:p>
    ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้า พลังงานจากแสงอาทิตย์สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าในบ้านและอาคารสำนักงานได้เช่นเดียวกับไฟฟ้าที่ส่งมาจากสายไฟฟ้าทั่วไป พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว และเป็นเทคโนโลยีของพลังงานสะอาดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ การวิจัยของกรีนพีซ และ ภาคอุตสาหกรรมพบว่า หากรัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะทำให้มีการผลิตไฟฟ้าสำรองให้กับประชาชนทั่วโลกได้กว่า 2 พันล้านคนภายใน 20 ปีข้างหน้า ภายในปี 2583 พลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถผลิตไฟฟ้าสนองตอบความต้องการของโลกได้ถึงเกือบร้อยละ 25 (2) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ส่งเสียงดัง มีประสิทธิภาพสูง และ ไม่มีมลภาวะ ดังนั้นจึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ใจกลางเมือง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานลม <o:p></o:p>
    พลังงานลมเป็นสิ่งที่สวยงาม มีผลกระทบน้อย และไม่มีมลภาวะ อีกทั้งเป็นพลังงานที่นำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จในหลายประเทศ ฟาร์มกังหันลมผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับประชากรหลายล้านคนทำให้เกิดการจ้างงานหลายแสนตำแหน่ง และเกิดรายได้หลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่เติบโตรวดเร็วที่สุดของโลก ซึ่งภายในปี 2563 จะผลิตพลังงานให้แก่โลกได้ร้อยละ 12 (3) พลังงานจำนวนมหาศาลในกระแสลมที่พัดอยู่ในพื้นที่ทั้ง 6 ทวีปทั่วโลกสามารถสนองตอบความต้องการพลังงานโลกได้มากกว่าระดับปกติถึง 4 เท่า ปัจจุบัน มีการนำพลังงานลมมาผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับ 14 ล้านครัวเรือน และ ประชากรมากกว่า 35 ล้านคน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานชีวมวล<o:p></o:p>
    ชีวมวล คือ สารอินทรีย์ที่ได้จากพืชและสัตว์ ระบบพลังงานชีวมวลจะนำสิ่งเหล่านี้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปใช้ได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สารอินทรีย์จะถูกเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงโดยการใช้เทคโนโลยีหลายชนิดที่เปลี่ยนวัตถุแข็ง เช่น ผลผลิตการเกษตรเกรดต่ำและเศษซากอาหารเปียกให้เป็นก๊าซ จากนั้นเชื้อเพลิงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานด้วยการใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้กับเชื้อเพลิงฟอสซิล สิ่งที่แตกต่างก็คือพลังงานชีวมวลนั้น <o:p></o:p>
    -เป็นแหล่งพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งสามารถขยายและทดแทนได้ตลอดทั้งปี <o:p></o:p>
    -สามารถรีไซเคิลน้ำเสีย และ วัตถุต่างๆ อีกทั้งลดมลภาวะจากน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมา<o:p></o:p>
    -ดักจับ และ ใช้ก๊าซเรือนกระจกก่อนที่จะถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานน้ำขนาดเล็ก <o:p></o:p>
    ไฟฟ้าพลังน้ำเป็นพลังงานที่ได้จากกระแสน้ำ กระแสน้ำเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีมากมายมหาศาลไม่ว่าจะเป็นน้ำในแม่น้ำ หรือ คลื่นในมหาสมุทร เราสนับสนุนระบบพลังน้ำขนาดเล็กที่สามารถผลิตไฟฟ้าจำนวนมหาศาลได้โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เราใช้คำว่า เล็ก จิ๋ว หรือ ย่อย ตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ระบบพลังน้ำขนาดเล็กจะดักจับพลังงานจากแม่น้ำเพียงน้อยนิดซึ่งไม่กระทบต่อการไหลของน้ำตามธรรมชาติแม้แต่น้อย <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก มันเป็นพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เพราะว่าสามารถเติมให้เต็มได้อยุ่ตลอดเวลาตามวัฎจักรของน้ำตามธรรมชาติ ระบบการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กทั้งหมด ต้องการเพียงแหล่งน้ำที่ไหลตลอดเวลา เช่น ลำธาร หรือ แม่น้ำ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สภาพลังงานโลกประเมินว่า พลังงานคลื่นสามารถผลิตพลังงานได้ 2 เทราวัตต์ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของการผลิตไฟฟ้าของโลกในปัจจุบัน และ เท่ากับพลังงานที่ผลิตได้ในปี 2543 จากน้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หากเราสามารถนำเอาพลังงานจากมหาสมุทรทั่วโลกมารวมกันได้ก็จะสามารถผลิตพลังงานได้มากกว่าความต้องการพลังงานในปัจจุบันถึง 5 พันเท่าเลยทีเดียว <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานน้ำขนาดเล็กเป็นแหล่งพลังงานที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและมีศักยภาพการเติบโตที่สูง แต่หากเราไม่นำมาใช้ก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใดขึ้นมา <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ<o:p></o:p>
    พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ หมายถึง การรวบรวมความร้อนจากภายในโลก ใจกลางโลกของเราร้อนโดยประมาณ 5,500 องศาเซลเซียส (9,932 องศาฟาเรนไฮต์) ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่ใต้พื้นผิวโลกลงไปเพียง 3 เมตรจะมีอุณหภูมิสูง 10-16 องศาเซลเซียส (50-60 องศาฟาเรนไฮต์) ตลอดทั้งปี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในบริเวณที่น้ำพุร้อนจากความร้อนใต้พื้นพิภพผุดขึ้นมาบริเวณผิวดิน เราสามารถต่อท่อเพื่อนำน้ำร้อนนั้นไปยังบริเวณที่ต้องการความร้อนได้ นี่เป็นวิธีหนึ่งของการใช้น้ำร้อนที่ได้จากความร้อนใต้พื้นพิภพ เพื่อทำให้บ้านอุ่น เพื่อทำให้เรือนกระจกอุ่น และแม้กระทั่งละลายหิมะบนถนน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานที่ผลิตจากความร้อนใต้พื้นพิภพไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ หรือ ก๊าซเรือนกระจก ไม่มีเสียงดัง และ เชื่อถือได้ โรงงานไฟฟ้าความร้อนใต้พื้นพิภพผลิตไฟฟ้าประมาณร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผลิตได้ร้อยละ 65-75 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าหลายประเทศจะมีทรัพยากรความร้อนภายในโลกมากมาย แต่ไม่ได้มีการนำมาใช้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ผลิตพลังงานจากความร้อนใต้พื้นพิภพใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และ เป็นประเทศผู้ใช้พลังงานชนิดนี้มากที่สุด(4)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานนิวเคลียร์ ไม่ใช่ทางออกสำหรับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ<o:p></o:p>
    อุตสาหกรรมนิวเคลียร์อ้างว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่สะอาดกว่าพลังงานฟอสซิล แต่นิวเคลียร์ก็ไม่ใช่พลังงานที่ปลอดภัยและสะอาดตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการนำมาใช้ มันเป็นเพียงกัมมันตภาพรังสี และมีอันตราย พลังงานนิวเคลียร์จึงไม่ใช่ทางออกสำหรับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามที่อุตสาหกรรมผลิตยูเรเนียมและนิวเคลียร์พยายามอ้าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พลังงานนิวเคลียร์มีความเสี่ยงในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่การทำเหมืองยูเรเนียมเพื่อนำไปผลิตพลังงาน อันตรายจากการขนส่ง และการจัดเก็บกากกัมมันตภาพรังสี นิวเคลียร์จึงไม่ใช่อุตสาหกรรมที่สะอาด และปลอดภัยแม้แต่น้อย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การผลิตพลังงานจากนิวเคลียร์มีราคาแพงมาก และผลผลิตที่ได้จากการผลิตก็เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้ การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่ออนาคตของโลกคือ พลังงานสะอาด เช่น แสงอาทิตย์ และลม เป็นต้น ที่นำมาผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คุณสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิวัติพลังงานสะอาดได้อย่างไร? <o:p></o:p>
    นำแนวคิดการปฏิวัติพลังงานสะอาดไปบอกกับรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม <o:p></o:p>
    -กดดันรัฐบาลให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและการพัฒนาใดๆก็ตามที่ใช้ถ่านหิน และ ร่วมรณรงค์คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่<o:p></o:p>
    -เรียกร้องต่อองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจทางนโยบายพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานสะอาดเป็นอันดับแรก<o:p></o:p>
    -ร่วมสนับสนุนและผลักดันแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าทางเลือก (Power Development Plan-Alternative) ซึ่งจะทำให้ระบบไฟฟ้าไทยบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์พลังงานของรัฐบาลและก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคมของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก<o:p></o:p>
    -เรียกร้องสถาบันการเงินให้เปลี่ยนจากการสนับสนุนการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลไปลงทุนในพลังงานสะอาด <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประหยัดพลังงาน และ ลดผลกระทบของคุณที่มีต่อโลก<o:p></o:p>
    ถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ ซึ่งก่อมลพิษเป็นแหล่งพลังงานหลักของเรา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องประหยัดพลังงานและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานในแต่ละวันมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราสามารถประหยัดเงิน ประหยัดพลังงาน และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดย <o:p></o:p>
    § ปิดโทรทัศน์ วิดีโอ ไมโครเวฟ และสเตอริโอ ที่ปุ่มปิด/เปิด แทนการปิดที่ปุ่มสแตนด์-บาย <o:p></o:p>
    § ซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากรับรองว่าประหยัดพลังงานสูงสุด<o:p></o:p>
    § ตั้งอุณหภูมิของตู้เย็นไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส และปล่อยพื้นที่ด้านบนและด้านหลังของตู้เย็นให้เพียงพอเพื่อระบายความร้อน<o:p></o:p>
    § ละลายน้ำแข็งเป็นประจำ และตั้งอุณหภูมิไว้ที่ -18 องศาเซลเซียส<o:p></o:p>
    § หากคุณมีเครื่องล้างจาน ให้เปิดเครื่องเมื่อมีจานเต็ม<o:p></o:p>
    § ให้พิจารณาใช้ไฟที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในสวนหรือโรงรถ ชุดไฟจากเซลล์แสงอาทิตย์สามารถหาซื้อได้ในราคาถูก<o:p></o:p>
    § ตากผ้าบนราวตากผ้า เสื้อผ้าของคุณจะมีกลิ่นหอม ดูดี และ สวมใส่ได้นาน โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอบผ้า<o:p></o:p>
    § เปลี่ยนหลอดไฟที่สว่างจ้าเกินไปให้เป็นหลอดฟลูออเรสเซนส์แบบประหยัดซึ่งให้แสงสว่างพอกันขณะที่ประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 75 <o:p></o:p>
    § ติดตั้งสวิตช์เวลาบนหลอดไฟ หรืออุปกรณ์เคลื่อนไหวได้ รวมทั้งเครื่องเซนเซอร์แสงสำหรับระบบความปลอดภัย เพื่อเป็นการประหยัดเงิน และพลังงาน <o:p></o:p>
    § ปิดสวิตช์ระบบทำน้ำร้อนเมื่อคุณไปพักผ่อนในวันหยุด หรือจะให้ดีกว่านั้นคือ ใช้เครื่องทำความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์<o:p></o:p>
    § ปิดไฟเมื่อออกจากห้อง<o:p></o:p>
    § หากเป็นไปได้ใช้การเดินแทนการขับรถ สนับสนุนระบบขนส่งมวลชน หรือใช้รถยนต์ร่วมกัน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ลงมือทำ<o:p></o:p>
    -ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเยาวชนยุคพลังงานสะอาด (Solar Generation) หรือองค์กรอื่นๆ ที่ทำงานรณรงค์เพื่อยุติภาวะโลกร้อนและสนับสนุนทางออกด้วยพลังงานสะอาด <o:p></o:p>
    -แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเหตุผลของการนำเอาพลังงานสะอาดมาใช้กับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และสมาชิกในชุมชน


    http://www.greenpeace.org
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    อาชญากรรมสภาพภูมิอากาศ

    โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึง 229.4 ล้านตันในช่วง 20 ปีของการดำเนินงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการก่อให้ภาวะโลกร้อน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีจะมีขนาดเทียบเท่ากับช้างแอฟริกันกว่า 32,771,428 ตัว

    http://www.greenpeace.org

    ภาวะโลกร้อนได้เกิดขึ้นแล้ว ช่วงปี 2004-2005 ประเทศไทยเผชิญกับภัยแล้งอย่างรุนแรงใน 63 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 9.2 ล้านคนและพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 8,090 ตารางกิโลเมตร รัฐบาลไทยระบุว่าหายนะจากภัยแล้งดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในราว 193.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลผลิตข้าวของประเทศลดลงจากร้อย 11 เป็นร้อยละ 14 ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่ผ่านมา ขณะที่ผลผลิตอ้อยก็ลดลงอย่างมากอีกด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มีการคาดกันว่าภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวหอมมะลิอันมีชื่อเสียงของไทยด้วย การศึกษาระบุว่า ยิ่งมีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเท่าไร ผลผลิตข้าวหอมมะลิก็จะลดลงเท่านั้น การตกต่ำของผลผลิตข้าวอาจสูงถึงร้อยละ 20 ปัจจุบันผลผลิตข้าวของประเทศไทยอยู่ที่ 22 ล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 4 ของการผลิตข้าวทั่วโลก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดร. กัณฑรีย์ บุญประกอบ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและรองประธานคณะกรรมการคณะที่ 1 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) กล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุหลักของการที่เกิดภัยแล้งยาวนานมากขึ้นในประเทศไทยคือภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้สภาวะที่มีฝนตกลดลงและพื้นดินร้อนระอุมากขึ้น และการระเหยของน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำกล่าวของ ดร. กัณฑรีย์ เป็นไปตามการคาดการณ์ที่รัฐบาลไทยนำเสนอต่อเวทีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อนหน้านี้ “ผลกระทบที่เห็นชัดเจนที่สุด...คือการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฟ้าและความเข้มข้นของมันในภูมิภาคต่างๆ ภัยแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงมากขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้ ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำที่ส่งผลต่อระบบการเกษตรจะมีมากขึ้น ผลผลิตและแบบแผนการเพาะปลูกก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตราบเท่าที่ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาอย่างไม่จำกัด ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากสภาวะภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง พายุ และเกิดปะการังฟอกขาวรวมถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือภัยคุกคามที่รุนแรงมากที่สุดที่โลกของเราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเช่น ถ่านหิน เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลอกสู่บรรยากาศ ในบรรดาเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหลาย ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดโดยมีสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันร้อยละ 29 และมากกว่าก๊าซร้อยละ 80<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บีแอลซีพีอ้าง “เถ้าถ่านหิน(เป็นพิษ)นั้นดีต่อชุมชน”<o:p></o:p>
    กรีนพีซทำการเก็บตัวอย่างเถ้าลอยจากศูนย์อิฐบล็อกจากเถ้าลอยที่วัดตากวนในเดือนพฤษภาคม 2548 และส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่กรุงเทพฯ ผลจากการวิเคราะห์ในเดือนมิถุนายนพบว่าเถ้าลอยดังกล่าวปนเปื้อนไปด้วยโลหะหนักเป็นพิษหลายชนิด ผลการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าบริษัทบีแอลซีพีซึ่งจงใจหลอกลวงชาวบ้านโดยการจัดตั้งศูนย์อิฐบล็อกในบริเวณวัดตากวนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนยอมรับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สกปรกของตน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เถ้าลอยที่บริษัทบีแอลซีพีนำมาใช้นั้นมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 513 เมกกะวัตต์ของบริษัทโกลว์ที่ดำเนินการอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด(โกลว์ เอสพีพี 3) โรงไฟฟ้าถ่านหินของโกลว์ลงนามรับซื้อถ่านหินจากบริษัทบ้านปูในปี 2542 โดยมีปริมาณการนำเข้าถ่านหินต่อปีราว 660,000 ตัน แหล่งถ่านหินที่นำมาใช้ในโรงไฟฟ้าโกลว์มาจากเหมืองถ่านหินของบ้านปูในอินโดนีเซีย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปนเปื้อนของโลหะหนักที่เป็นพิษในเถ้าลอยยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปริมาณเถ้าลอยที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมหาศาลและการที่สารพิษในเถ้าลอยหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยรอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์เถ้าลอยของโรงไฟฟ้าโกลว์เอสพีพี 3 ซึ่งบริษัทบีแอลซีพีได้นำไปใช้, มิถุนายน 2548<o:p></o:p>
    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; border-collapse: collapse;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr style=""> <td style="border: 1pt solid windowtext; padding: 0cm 5.4pt; width: 203.85pt; background-color: transparent;" valign="top" width="272">
    ชนิดโลหะหนักเป็นพิษ<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 277.15pt; background-color: transparent;" valign="top" width="370">
    ปริมาณที่พบในตัวอย่างเถ้าลอย(มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 203.85pt; background-color: transparent;" valign="top" width="272"> ตะกั่ว (Pb)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 277.15pt; background-color: transparent;" valign="top" width="370">
    5.09<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 203.85pt; background-color: transparent;" valign="top" width="272"> ปรอท (Hg)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 277.15pt; background-color: transparent;" valign="top" width="370">
    <0.001<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 203.85pt; background-color: transparent;" valign="top" width="272"> แคดเมียม(Cd)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 277.15pt; background-color: transparent;" valign="top" width="370">
    2.74<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 203.85pt; background-color: transparent;" valign="top" width="272"> อาร์เซนิก(As)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 277.15pt; background-color: transparent;" valign="top" width="370">
    <5.0<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 203.85pt; background-color: transparent;" valign="top" width="272"> นิกเกิล(Ni)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 277.15pt; background-color: transparent;" valign="top" width="370">
    45.63
    </td></tr></tbody></table>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ส่วนผสมของสารพิษในเถ้าลอย

    แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว อาร์เซนิกและนิกเกิลซึ่งคือโลหะหนักเป็นพิษที่ตรวจวิเคราะห์พบในเถ้าลอยของโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทโกลว์ (โกลว์เอสพีพี3) คือรายการสารพิษที่พิสูจน์ได้ชัดเจนและบ่งชี้ชะตากรรมที่จะกำลังจะเกิดขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีซึ่งมีขนาดกำลังการผลิตใหญ่กว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทโกลว์หลายเท่า




    แคดเมียม องค์การนานาชาติว่าด้วยการวิจัยด้านมะเร็งจัดให้แคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง แคดเมียมไม่มีหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ในเชิงอาหารและชีวเคมีในร่างกายสิ่งมีชีวิต มีหลักฐานการศึกษาที่ชัดว่าตับเป็นอวัยวะสำคัญที่แคดเมียมจะแสดงพิษร้ายออกมา การรับเอาแคดเมียมในปริมาณน้อย ๆ เข้าไปทางการหายใจ ก่อให้เกิดอาการน้ำท่วมปอดส่งผลให้เกิดหายใจติดขัด การศึกษาในสัตว์ทดลองยืนยันว่าการรับเอาแคดเมียมเข้าไปก่อให้ความพิกลพิการต่อระบบการหายใจ นอกจากนี้ แคดเมียมมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ การสัมผัสแคดเมียมทางปากเป็นผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะ ปวดหัว ปวดท้อง ท้องร่วมและอาเจียนได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปรอท : ปรอทเป็นโลหะที่มีความเป็นพิษอย่างสูงโดยไม่มีหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ในเชิงอาหารและชีวเคมีในร่างกายสิ่งมีชีวิต ผลกระทบที่เกิดจากการรับเอาปรอทเข้าไปนั้นมีต่อระบบประสาทส่วนกลาง ปรอทสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองของทารกที่อยู่ในครรภ์อย่างรุนแรง และสำหรับผู้ใหญ่อาจก่อให้เกิดเนื้องอก ความแปรปรวนทางจิตใจ ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต คนเรารับเอาปรอทเข้าไปได้หลายรูปแบบ เช่น จากไอปรอทและปรอทอินทรีย์ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้เป็นอย่างดี เมื่อปรอทตกลงสู่แหล่งน้ำไม่ว่าจะโดยตรงหรือจากการตกลงมาจากบรรยากาศ ปรอทจะเปลี่ยนเป็นปรอทอินทรีย์โดยกระบวนการทางชีววิทยา กลายเป็นสารที่มีความเป็นพิษมากขึ้นไปอีกโดยสามารถสะสมทวีคูณทางชีวภาพในปลาและสัตว์อื่นๆ ที่กินปลาเช่นมนุษย์ เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิกเกิล : ผลกระทบร้ายแรงจากการรับเอานิกเกิลเข้าไปในระยะยาวรวมถึงอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังและปอดทำงานไม่เต็มที่ มีการศึกษาอื่น ๆ ที่ระบุถึงผลกระทบจากนิกเกิลในคนงานที่ตั้งครรภ์ เช่น อัตราการแท้งลูกที่เพิ่มขึ้น การเกิดที่ผิดปกติที่มีอัตราเพิ่มขึ้น รวมถึงความผิดปกติต่อหัวใจและกล้ามเนื้อ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตะกั่ว: ตะกั่วมีความเป็นพิษอย่างสูงต่อสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด โดยไม่มีหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ในเชิงอาหารและชีวเคมี พิษจากตะกั่วในมนุษย์รวมถึง อันตรายต่อไต เส้นเลือดใหญ่และระบบประสาทส่วนกลาง การรับสัมผัสเข้าไปเพียงเล็กน้อยในเด็กมีผลต่อพัฒนาการด้านการรับรู้และพฤติกรรมของเด็ก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อาร์เซนิก: เป็นสารก่อมะเร็ง ละลายได้ดีในน้ำและเข้าไปสู่ระบบสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำและทะเลสาบได้ดี การที่คนรับเอาอาร์เซนิกเข้าไปในระยะยาวในปริมาณน้อย ๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเส้นเลือดและระบบประสาทได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บริษัทบีแอลซีพีอ้างว่าการใช้ประโยชน์จากเถ้าลอยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ผลการวิเคราะห์เปิดเผยแล้วว่าเถ้าลอยปนเปื้อนไปด้วยสารพิษหลายชนิด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คาดว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทบีแอลซีพีจะใช้ถ่านหินนำมาเผาไหม้ราว 3.5 ล้านตันต่อปี และผลิตเถ้าลอยออกมาในปริมาณ 309,000 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี หรือ 7 ล้านลูกบาศ์กเมตรในช่วงระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี บริษัทบีแอลซีพีอ้างว่ามีแผนการจัดการเถ้าโดยนำไปฝังกลบในบ่อลูกรังที่ไม่ใช้ประโยชน์ซึ่งสามารถรองรับได้ 10 ปี ชุมชนในเขตพื้นที่ที่จะมีการนำเถ้าไปฝังกลบยังได้ทำการคัดค้านแผนการดังกล่าวด้วยเกรงว่าจะเกิดการรั่วไหลของสารพิษจากหลุมฝังกลบลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำที่ชุมชนใช้ประโยชน์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตาราง 2 การใช้ถ่านหินและการผลิตเถ้าของโรงไฟฟ้าโกลว์และบีแอลซีพี, <o:p></o:p>
    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; border-collapse: collapse;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr style=""> <td style="border: 1pt solid windowtext; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.3pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> โรงไฟฟ้า<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> บีแอลซีพี<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> โกลว์เอสพีพี3<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.3pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> ขนาดกำลังการผลิต (เมกกะวัตต์)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> 1,434<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> 513<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.3pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> ปริมาณการใช้ถ่านหิน (ตันต่อปี)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> 3,500,000<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> 867,000<o:p></o:p>
    </td></tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.3pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> การผลิตเถ้าลอย(พัน ลบ.ม.ต่อปี)<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> 309,000<o:p></o:p>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: rgb(236, 233, 216) windowtext windowtext rgb(236, 233, 216); border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 160.35pt; background-color: transparent;" valign="top" width="214"> ไม่มีข้อมูล<o:p></o:p>
    </td></tr></tbody></table> แหล่งข้อมูล : รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทบีแอลซีพีและรายงานประจำปีของบริษัทโกลว์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภัยร้ายจากปรอท<o:p></o:p>
    ในบรรดาสารพิษอันตรายที่ตรวจพบในเถ้าลอย ปรอทเป็นสารพิษที่เราจำเป็นต้องวิตกกังวลเป็นพิเศษ ประมาณ 3 ใน 4 ของการปล่อยสารปรอททั่วโลก (ประมาณ 1,900 ตัน) เกิดมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยเฉพาะถ่านหิน การปล่อยปรอทในทุกรูปแบบราวร้อยละ 50 และการปล่อยปรอทในบรรยากาศอีกร้อยละ 56 มาจากประเทศในเอเชีย<o:p></o:p>
    รายการประเมินสารปรอทในประเทศไทยซึ่งจัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษในปี 2544 ระบุว่า ไม่มีการติดตามตรวจสอบการปล่อยสารปรอทออกสู่บรรยากาศเนื่องจากไม่มีปรอทในถ่านหินลิกไนต์หรือเถ้าจากการเผาไหม้ แต่จากการศึกษาของกรีนพีซในปี 2545 พบว่าตัวอย่างเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะปนเปื้อนด้วยสารปรอทในระดับความเข้มข้นที่มากกว่าระดับที่พบในตะกอนดินทั่วไปถึง 14 เท่า โดยทั่วไปปรอทปริมาณมหาศาลจะระบายออกในรูปของก๊าซร้อนออกทางปล่องไฟ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าปรอทที่พบในเถ้าลอยมีปริมาณน้อยเนื่องจากที่เหลือนั้นหลุดออกไปทางปล่องควันนั่นเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถึงแม้ว่าจะมีการใช้อุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เช่น เครื่องจับฝุ่นละอองด้วยไฟฟ้าสถิต มีการประมาณว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างเช่น โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ก็ยังคงมีการปล่อยปรอทจากการเผาไหม้ถ่านหินออกสู่บรรยากาศมากกว่าร้อยละ 95<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปรอทเป็นสารที่มีความเป็นพิษอย่างสูง ปรอทเพียง 0.907 กรัมสามารถสะสมในพื้นที่บึงน้ำขนาด 62.5 ไร่ได้นานนับปี ปลาที่อยู่อาศัยอยู่ในบึงแห่งนั้น เมื่อเราจับขึ้นมาก็ไม่เหมาะสมที่จะบริโภคได้อีกต่อไป หากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีดำเนินการ จะมีการปล่อยสารปรอทออกสู่บรรยากาศ 173.5 กิโลกรัมต่อปี เป็นปริมาณสารพิษที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศและสุขภาพอนามัยของประชาชนในวงกว้างเมื่อพิจารณาถึงภัยสารพิษอันตรายที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบแล้วต่อชุมชนที่โชคร้ายอย่างมาบตาพุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปรอทยังเป็นหนึ่งในสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงและพิจารณาให้เป็นเรื่องระดับชาติของประเทศไทย การศึกษาต่างๆ ชี้ให้เห็นว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เผชิญกับปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักเป็นพิษรวมทั้งปรอทที่ปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ยังมีการศึกษาที่ระบุว่าปรอทในบรรยากาศที่ตกลงสู่แหล่งน้ำสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นปรอทอินทรีย์ได้อย่างรวดเร็วกว่าปรอทที่ตกค้างอยู่ในระบบนิเวศ ในตะกอนของแม่น้ำ บึงและทะเล “จุลินทรีย์จะเปลี่ยนปรอทเมทัลลิกเป็นปรอทอินทรีย์และนำไปสู่การสะสมแบบทวีคูณในห่วงโซ่อาหารและสะสมถึงระดับสูงสุดในปลาที่กินเนื้ออย่างเช่น ปลาทูน่า ปลาทูและฉลาม เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปรอทอินทรีย์และความเสี่ยงต่อเด็ก<o:p></o:p>
    จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ที่จัดทำโดยสภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ “มีหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าปรอทอินทรีย์แม้ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำมาก ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อระบบประสาทต่อทารกในครรภ์” การรับเอาปรอทอินทรีย์ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน “ก่อให้เกิดการสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ระยะยาวชั่วชีวิตของเด็กนับแสนคนที่เกิดขึ้นมาในแต่ละปี”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากการศึกษาดังกล่าว ผลการของการสูญเสียความสามารถของเด็กในการเรียนรู้ส่งผลให้ผลิตภาพทางเศรษฐกิจลดน้อยถอยลงซึ่งจะติดตัวไปกับเด็กตลอดชีวิต การสูญเสียผลิตภาพนี้คือราคาแสนแพงที่ต้องจ่ายอันเนื่องมาจากความเป็นพิษของปรอทอินทรีย์ราว 8.7 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐอเมริกาซึ่งได้คุกคามสถานะทางเศรษฐกิจ สุขภาพและความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เราจะต้องจ่ายในราคาเท่าไรจากการสูญเสียผลิตภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่จะเกิดขึ้นมาและสัมผัสกับปรอทอินทรีย์ที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย

    http://www.greenpeace.org
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล

    บริเวณชายฝั่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญมากต่อความผาสุกของมนุษย์ ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์จะตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณชายฝั่งทะเล ริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบลุ่มดินตะกอน เนื่องจากเป็นบริเวณ ที่เหมาะต่อการทำการเกษตร การประมงและการค้า มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ที่ปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ ห่างจากทะเลไม่เกิน 60 กิโลเมตร โดยภาพรวม อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร แถบชายฝั่งจะสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ยิ่งกว่านั้นมีเมือง ที่คาดว่าจะมีประชากรเกินกว่า 10 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2100 ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมากถึง 16 เมือง ใน 23 เมือง การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงความถี่ และความรุนแรงของปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ น่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญที่สุด ที่จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    ระหว่าง 18,000 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลได้สูงขึ้นโดยรวม ประมาณ 100 เมตร แต่ ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ระหว่างศตวรรษที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 18 เซนติเมตร หรือโดยเฉลี่ย 1-2.5 มิลลิเมตร/ปี การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากกลไกต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งที่เด่นชัดมากที่สุดคือ การขยายตัวของน้ำ ในมหาสมุทรเนื่องจากความร้อน ตามด้วยการละลายของธารน้ำแข็งแถบภูเขา และการละลายของแผ่นน้ำแข็งแถบขั้วโลก การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ยังเกิดขึ้นได้ เนื่องจากอิทธิพลการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหมุนเวียน ในมหาสมุทร ลมและความกดอากาศ ซึ่งอิทธิพลจากความผันแปรเหล่านี้ บางส่วนมีผลทำให้เกิดความผันแปร ของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาคได้
    อย่างไรก็ตาม ตัวชายฝั่งทะเลก็ไม่คงที่เนื่องจากกระบวนการทางธรณีวิทยา ตาม ธรรมชาติ (การเคลื่อนที่ ของเปลือกโลก การตอบสนองจากธารน้ำแข็ง การตกตะกอน และการจมตัวลงของแผ่นดิน) และกิจกรรมของมนุษย์ (การขุดเจาะหาน้ำมัน ก๊าซ หรือ น้ำ และการตกตะกอน) เป็นสาเหตุทำให้แผ่นดินชายฝั่งเคลื่อนที่ไป เมื่อเทียบกับระดับของน้ำทะเล เช่น การสูบน้ำใต้ดินมาใช้ ทำให้แผ่นดินในท้องถิ่นนั้น จมตัวลงได้ ซึ่งตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1920 และ 1930 เป็นต้นมา เมืองใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง จำนวนมากจมตัวลง เนื่องจากการสูบน้ำใต้ดิน ขึ้นมาใช้มากเกินไป เช่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จมตัวลง 5 เมตร เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จมตัวลง 2.8 เมตร และเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น จมตัวลง 2.8 เมตร ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเมืองที่อยู่ชายฝั่ง เช่น เมืองเทียนสิน ประเทศจีน และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย การเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน และระดับน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นในลักษณะนี้ ปรากฏชัดว่า ไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดจาก การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลของโลกแต่ประการใด แต่เมืองต่าง ๆ หรือแถบชายฝั่งที่ปัจจุบันนี้ ประสบกับปัญหาการทรุดลง ของแผ่นดิน จะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งยากที่จะเอาชนะได้ ดังนั้น บริเวณเหล่านี้ จะอ่อนไหวต่อระดับน้ำทะเลของโลก ที่จะสูงขึ้นในอนาคตมากที่สุด
    ค่าประมาณที่ดีที่สุดของแบบจำลองมหาสมุทรและภูมิอากาศปัจจุบัน คือ ระดับน้ำทะเล จะสูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 และจะสูงขึ้นต่อไปอีก ภายหลังจากนั้น ถ้าหากการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก สู่บรรยากาศ ยังเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การประมาณค่าที่ดีที่สุด ในการพยากรณ์อัตราการสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลกระทำได้ สำหรับช่วงระหว่างปัจจุบัน จนถึงปี ค.ศ. 2100 เท่านั้น ซึ่งจะสูงกว่าใน 100 ปีที่ผ่านมาถึง 2-3 เท่า จากรูปที่ 7 แสดงให้เห็นช่วงกว้าง ของแผนการคาดหมาย การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต ในการประเมินนี้ ยังคงมีสิ่งที่ไม่แน่นอนที่สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วงเวลาที่ล่าช้าออกไป ในการตอบสนองของน้ำในมหาสมุทร ที่มีต่อการร้อนขึ้นของบรรยากาศ และอัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็ง แถบขั้วโลก ยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ของแต่ละท้องถิ่น จะแตกต่างกันมาก จากการประมาณค่าเฉลี่ยของโลก เนื่องจากการขยับเลื่อนไป ของกระแสน้ำและลมค้า ที่อาจเกิดเป็นแรง ทำให้ปริมาตรของน้ำเพิ่มมากขึ้น ตามชายฝั่งได้
    อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีต่อระบบนิเวศ

    พื้นที่ชายฝั่งเป็นผลจากการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างแผ่นดินและ น่านน้ำ จะแตกต่างกันไป ตามโครงสร้างทางแร่ธาตุ และความสูงต่ำของแผ่นดินรอบ ๆ อัตราการตกตะกอน และการพังทลายที่เกิดจากกระแสน้ำ คลื่น น้ำขึ้น-น้ำลง และแม่น้ำ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันนี้ จะต้องนำเข้ามาพิจารณา ในการสร้างแบบจำลองผลกระทบ ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่คาดหมายได้ ที่จะมีต่อบริเวณชายฝั่ง การขยับเลื่อนไปของขอบเขต ระหว่างแผ่นดินและน่านน้ำ ตามการเพิ่มสูงขึ้นในแนวดิ่ง ของระดับน้ำทะเลที่คาดหมายได้ ตามธรรมดาแล้วจะดูราวกับว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งจะมองไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจน ลักษณะความแตกต่าง และความหลากหลายทางระบบนิเวศ ในบริเวณชายฝั่ง เช่น แนวปะการัง ป่าชายเลน และบึงน้ำเค็ม จะต้องนำเข้ามารวม ในแบบจำลองการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลด้วย เพราะว่าระบบนิเวศเหล่านี้ ต่างสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทางชีวะภูมิศาสตร์ ที่มีผลกระทบต่อชายฝั่ง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบริเวณชายฝั่งมีอิทธิพล ที่เคลื่อนไหวได้เกิดขึ้นภายในตัวเอง
    ผลกระทบที่น่าเป็นไปได้มากที่สุดอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อบริเวณชายฝั่ง คือ การชะล้างพังทลาย บริเวณชายฝั่งจะเพิ่มมากขึ้น การชะล้างพังทลายชายฝั่งบางประการ ปรากฏชัดว่า เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ แต่จะรุนแรงมากขึ้น จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเคลื่อนย้ายของตะกอน การชะล้างพังทลายชายฝั่ง ก่อให้เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรง และนำไปสู่การสูญเสียลักษณะการป้องกัน ทางธรรมชาติ เช่น เนินทราย และป่าชายเลน ชายฝั่งของโลกประมาณ 20% เป็นหาดทราย และประมาณ 70% ของชายฝั่งเหล่านี้ได้หดหายไปในระหว่าง 100 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่ตรวจวัดได้ อาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ที่มีส่วนทำให้เกิดการ ชะล้างพังทลายชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย ชายฝั่งเพิ่มขึ้น ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสิ่งแวดล้อมของท้องที่นั้น ๆ ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งยังมีความต้องการการวิจัยในด้านนี้อีกมาก เพื่อปรับปรุงแบบจำลอง อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อชายฝั่งทะเลที่เป็นทราย
    นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังมีผลกระทบทางลบ ต่อพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณชายฝั่ง ได้แก่ หนองบึง ป่าชายเลน และแนวปะการังอีกด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญมากมาย เช่น เป็นแหล่งขยายพันธุ์ และอนุบาลตัวอ่อนของปลา ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นบริเวณ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นตัวการกรองก๊าซไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และเป็นที่กักเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวการส่งเสริม ให้มนุษย์มีสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมสะอาด หน้าที่ที่มีความหลากหลายนี้ หมายถึงว่า กลไกทางกายภาพ ชีวภาพและเคมี ของพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ อยู่ในสภาพที่สมดุลย์อย่างละเอียดอ่อน เช่น กระบวนการที่สลับซับซ้อน ทำให้เกิดการตกตะกอน และจมอยู่ใต้น้ำได้ ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะ เช่น ช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง การตกตะกอน และการทำลายโดยตรง ในหลายกรณีที่ผลกระทบทางลบ จะได้รับเพิ่มเติม จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น บริเวณดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบบการตกตะกอน และระบบน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในท้องถิ่น ถูกรบกวนจากการพัฒนาคลอง การผันน้ำ การสร้างกำแพงกั้นน้ำ และการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะยิ่งทำอันตรายต่อระบบนิเวศเหล่านี้ มากยิ่งขึ้นไปอีก
    ประมาณว่าพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งที่มีคุณค่าทางนิเวศวิทยา และเศรษฐกิจทั่วโลกมีมากกว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ในอีก 100 ปีข้างหน้า พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ จะได้รับความเสียหายมากกว่าครึ่ง พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง ที่จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมาก คือ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชายฝั่งสหรัฐอเมริกา ชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปแอฟริกา ชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกีนี และชายฝั่งเอเชียตะวันออก แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ ชุ่มน้ำชายฝั่งในหลายส่วนของโลก กำลังได้รับการบำรุง ให้กลับคืนสภาพเดิม จึงยังคงไม่แน่นอนว่า พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งประเภทใดบ้าง ที่จะยังคงได้รับผลกระทบทางลบ จากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล
    โดยทั่วไปแล้ว แนวปะการังซึ่งถือว่าอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งอย่างหนึ่ง มีหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย และส่วนมากมีความสำคัญต่อการอยู่รอด และการพัฒนาของมนุษย์ เช่น เป็นแนวป้องกัน ชายฝั่ง เป็นที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล ยิ่งกว่านั้น ในระบบนิเวศทางทะเลด้วยกัน ระบบนิเวศแนวปะการัง มีความหลากหลายทางชีวภาพ สูงมากที่สุด เพราะในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ จะมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่รวมกันได้มากมาย ศักยภาพอัตราการเจริญเติบโต ในแนวดิ่งของปะการัง ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั้งพืช และสัตว์อยู่ในช่วงประมาณ 1-10 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันกับการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลที่คาดหมายไว้ ทั้งนี้อยู่บนข้อสมมติฐานที่ว่า ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง อย่างไรก็ตาม การจับปลามากเกินไป การทำเหมืองแร่ ภาวะมลพิษและการตกตะกอน แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศแนวปะการัง อย่างต่อเนื่องมากที่สุดในโลก
    ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สามารถทำลายปะการังโดยตรงได้ จากการทำให้เกิดรอยแตกของปะการัง (Coral Bleaching) เพิ่มมากขึ้น ช่วงเวลาสั้น ๆ ในฤดูร้อนเพียงแต่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น 1? ซ. ก็เพียงพอที่จะทำให้ปะการังเกิดรอยแตกขึ้นได้แล้ว ดังนั้น ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น 3-4? ซ. ในช่วงที่ยาวนานเกินกว่า 6 เดือนที่จะเกิดขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะเป็นสาเหตุทำให้ปะการังเสียชีวิตเป็นบริเวณกว้าง ได้มีการตรวจพบว่า รอยแตกของปะการังที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตรงกับภาวะการร้อนขึ้น ของน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยก็ตาม การจะกลับคืนสู่สภาพเดิมจากรอยแตกได้ จะต้องใช้เวลานาน ในแต่ละท้องที่การเกิดรอยแตก ในแนวปะการังจะแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะกาลาปากอส และทางตะวันออกของประเทศปานามา ระบบปะการังมีรอยแตก ที่รุนแรงมากตามการร้อนขึ้นของน้ำในมหาสมุทร ระหว่างการเกิดปรากฏการณ์ เอลนีโญ ในปี ค.ศ. 1982-1983 และกลับคืนสู่สภาพเดิมได้จนถึงปัจจุบันนี้น้อยมาก จะต้องใช้เวลานานนับศตวรรษ จึงจะให้คืนสภาพเดิมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ แนวปะการังอาจถูกทำลาย จากการเพิ่มขึ้นของระดับรังสีอุลตราไวโอเลต ที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของก๊าซโอโซน ในบรรยากาศชั้นสตราโตเฟียร์
    จากการศึกษาที่ผ่านมาไม่นานเกี่ยวกับผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อเกาะ ที่เกิดจากหินปะการัง พบว่า ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อปะการังนั้น เป็นไปในด้านที่ดีกว่าจากการประเมินก่อนหน้านี้ แม้กระนั้น แนวปะการังก็ยังคงอ่อนไหวมาก ต่อ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในลักษณะนี้
    การประเมินความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่งจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล

    IPCC ได้สร้างวิธีการทั่วไป สำหรับประเมินความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่ง ที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์อ้างอิง หรือสถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับระดับน้ำทะเล รายละเอียด เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำขึ้น-น้ำลงของท้องถิ่น และความถี่ ของการเกิดคลื่นซัดฝั่ง ใน ปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้คาดหมายการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลระดับต่ำ และระดับสูงไว้ (คือ 0.3 เมตร และ 1 เมตร ตามลำดับ ในประมาณปี ค.ศ. 2100) นำไปปรับให้เข้ากับแต่ละท้องถิ่นได้ ถ้ารู้การจมตัวลง หรือยกตัวขึ้นของแผ่นดิน ความผันแปรของคลื่นซัดฝั่ง ในท้องถิ่น และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ วิธีการนี้ใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อกำหนดประชากร และทรัพยากร ที่เสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล และเพื่อประเมินถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แต่จากการใช้วิธีการทั่วไปของ IPCC ในปัจจุบัน พบว่า การประเมินความอ่อนไหว ต้องพิจารณาให้กว้างกว่านี้ คือ จะต้องนำเอาค่าของวัฒนธรรม ชุมชน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับความงาม เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย
    ขั้นตอนแรกของการนำวิธีการทั่วไปของ IPCC ไปใช้ คือ การประเมินจุดอ่อนไหว ของบริเวณชายฝั่ง ถึงผลกระทบทางชีวะภูมิศาสตร์ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่จะตามมา จุดอ่อนไหวนี้ อยู่ในสภาพที่ยืดหยุ่นได้ ของระบบท้องถิ่นนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้อิทธิพล ของปัจจัยต่าง ๆ เช่น จำนวนประชากร และอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความอ่อนไหวของประชากร หมายถึง “ความไม่สามารถรับมือได้ มากหรือน้อยกับผลที่จะเกิดขึ้น จากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล และอิทธิพลต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด คือ สภาพทางสังคม-เศรษฐกิจ ดังนั้น การประเมินความอ่อนไหว ประกอบด้วย
    1. การประเมินผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีต่อลักษณะทาง กายภาพนิเวศวิทยา และสังคม-เศรษฐกิจ
    2. การประเมินการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความอ่อนไหว
    3. ต้องอธิบายให้ชัดเจนถึง ผลสะท้อนที่เป็นไปได้มากที่สุดจะทำให้ความอ่อนไหวลดลงได้อย่างไร หรือผลกระทบลดลงได้อย่างไร หรือความสามารถในการปรับตัวของประชากรให้เข้ากับผลกระทบนั้น ได้อย่างไร
    4. การประเมินขีดความสามารถแห่งชาติ ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ
    ในการศึกษาตามวิธีการนี้ ได้สมมติให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบชายฝั่งกับผลสะท้อนทางกายภาพ และผลสะท้อนทางมนุษย์ เป็นไปในเชิงเส้นตรง จึงเป็นวิธีการที่ง่าย ดังนั้นในการศึกษาในอนาคต จะต้องศึกษาความสัมพันธ์ ที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ ในเชิงที่ไม่ใช่เส้นตรง ยิ่งกว่านั้น แม้ว่าประชากร จะเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม แต่ผลกระทบของ การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ก็ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงในวิธีการนี้ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวในอนาคต จะต้องขยายให้ครอบคลุม ถึงผลกระทบที่เป็นไปได้ ที่จะมีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย การวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทั่วไปของ IPCC นั้น ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบาย ถึงการประเมินว่า จะมีความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่งขึ้น ทำให้สามารถวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่เป็นไปได้
    การประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก

    ได้มีการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก ที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึง กับวิธีการทั่วไปของ IPCC แบบจำลองการประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก (Global Vulnerability Assessment – GVA) ได้รวมเอาแผนการคาดหมาย การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ชนิดต่าง ๆ เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย รวมทั้งที่คาดหมายว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 50 เซนติเมตรในประมาณปี ค.ศ. 2100 นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นได้มากกว่า ในการประเมินโอกาส การเกิดภาวะน้ำท่วม และได้นำเอามาตรการป้องกัน ที่เป็นไปได้เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย แบบจำลองยังได้พยากรณ์ การกระจายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และจำนวนประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอีกด้วย
    ภายใต้สภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน มีประชากรที่ประสบกับภาวะ น้ำท่วม เนื่องจากคลื่นซัดชายฝั่งปีละ 46 ล้านคน จากการใช้จำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1990 ประมาณได้ว่า ถ้าระบบการป้องกันชายฝั่ง ไม่ขยายมากไปกว่านี้ ประชากรที่จะเสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล 50 เซนติเมตร จะสูงเป็น 2 เท่า (92 ล้านคน/ปี) และจะสูงเกือบ 3 เท่า (118 ล้านคน/ปี) ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร นอกจากนี้ยังได้ประเมินถึงจำนวนประชากร ที่มีโอกาสประสบกับภาวะน้ำท่วม มากกว่าปีละ 1 ครั้ง ซึ่งประเมินได้ว่า ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 50 เซนติเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 ประชากรที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม มากกว่า 1 ครั้ง/ปี สูงถึง 80 ล้านคน
    การคำนวณจำนวนประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยง อาจผิดพลาดได้มาก ตามระดับการป้องกัน เช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันได้มีการป้องกันอย่างดี ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จะมีประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เพียง 24,000 คนเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีระบบการป้องกันชายฝั่งอย่างดีแล้ว ใน 100 ปีข้างหน้า ประชากรของประเทศเนเธอร์แลนด์ จะอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงถึงมากกว่า 3.7 ล้านคน ถ้าจะกล่าวในรูปของเปอร์เซนต์ ของประชากรทั้งประเทศ ที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยงแล้ว ประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสระ ที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น กิริบาติ ซามัวและตองกา จะมีเปอร์เซนต์ประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงสูงมากที่สุด ตามด้วยประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และประเทศ ที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เช่น ประเทศบังคลาเทศและสหภาพพม่า
    แบบจำลองสำหรับการประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก ที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะต้องนำการเพิ่มสูงขึ้น ของประชากรในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เพราะว่าทำให้ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลมีมากยิ่งขึ้น ที่จะเห็นได้ชัด เช่น ถ้าประชากรบริเวณชายฝั่ง เพิ่มมากขึ้น ประชากรที่จะประสบกับความอ่อนไหว ก็มากขึ้นด้วย ยิ่งกว่านั้น พื้นที่ชายฝั่งเอง ก็จะอ่อนไหวมากขึ้นเช่นกัน เพราะว่าทำให้มีแรงกดดัน ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น บริเวณที่คาดว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงมาก คือ ประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปแอฟริกา แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศบังคลาเทศและอินเดีย และเอเชียตะวันออก ที่เด่น คือ ประเทศจีน ประเทศอื่น ๆ ที่ประชากร อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก ที่จะอยู่ในภาวะที่เสี่ยง คือ เวียดนามและโมซิมบิก ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ศูนย์กลางชายฝั่ง ที่ประชากรอาศัยหนาแน่น จะมีประชากรที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยง 15% ของประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงทั้งโลก อย่างไรก็ตาม การมีระบบการป้องกัน ที่ค่อนข้างปลอดภัย หมายถึงว่า จำนวนประชากรที่ อยู่ในภาวะเสี่ยงจริง ๆ จะน้อยกว่านี้ โดยภาพรวมการเพิ่มขึ้นของประชากรและการคาดหมายการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลต่างก็มีส่วนสำคัญในการคำนวณจำนวนประชากรที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยง
    นอกจากนี้ ในการศึกษาอิทธิพลการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อมนุษย์ นั้น แบบจำลองความอ่อนไหวในระดับโลก ยังใช้ในการประเมินถึง อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อความสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ ผลผลิตข้าว ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน และการลงทุน ในสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งได้อีกด้วย
    ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาค

    ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาค หมายถึง ผลกระทบที่มีต่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 3 ลักษณะ คือ เกาะขนาดเล็ก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และชายฝั่งทวีปหรือเกาะขนาดใหญ่ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ 2 ลักษณะแรกเท่านั้น เพราะมีความอ่อนไหวมากกว่า
    เกาะขนาดเล็ก
    การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ก่อให้เกิดภาวะการเสี่ยงที่รุนแรงสำหรับประชากร ที่อาศัยบนเกาะขนาดเล็ก เพราะว่า มีที่ดินเหลือให้ประชากรล่าถอยไปได้น้อย และทำให้ แหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำจืด ที่โดยทั่วไปมีน้อยอยู่แล้ว เปลี่ยนแปลงไป ในหลายกรณีที่ปัจจัย ทางสิ่ง แวดล้อมในท้องถิ่น เช่น การพัฒนาชายฝั่ง การขุดทรายและปะการัง ที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ความอ่อนไหวเพิ่มสูงขึ้น ผลกระทบจะเกิดแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในแต่ละเกาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมี หรือไม่มีการป้องกันชายฝั่ง ตามธรรมชาติ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาะ ว่าอยู่ภายใน หรือภายนอกแถบการเกิดของพายุ
    ประเทศเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากจะประสบกับปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ประเทศเกาะ ที่ถูกกำหนดให้เป็นประเทศที่มีภาวะการเสี่ยงสูงมาก คือ หมู่เกาะมัลดีฟ หมู่เกาะมาร์เชล หมู่เกาะกิริบาติ และหมู่เกาะตองกา ตัวอย่างหมู่เกาะมาร์เชล ซึ่งประกอบด้วยเกาะหินปะการัง 29 เกาะและเกาะธรรมดาอีก 5 เกาะ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยน้อยกว่า 2.4 เมตร จากการศึกษาที่เกาะบารูโจ ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของเมืองหลวง คำนวณได้ว่า ในการป้องกันระดับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้น 0.3 เมตร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 1.5-3 เท่า ของ GNP ปัจจุบันของทั้งหมู่เกาะ ในกรณีของเกาะตองกาตาฟูที่มีประชากร 67,000 คน (2/3 ของประชากรทั้งหมดของประเทศตองกา) ระดับน้ำทะเล ที่เพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร จะท่วมบ้านเรือนราษฎรถึง 10% ในปี ค.ศ. 1982 ได้เกิดภาวะน้ำท่วม จากพายุหมุนเขตร้อนในพื้นที่ 23 ตารางกิโลเมตร กระทบต่อประชากร 1/3 ของ ประชากรทั้งหมด ถ้ารวมกับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้นอีก 1 เมตรกับพายุหมุนเข้าด้วยกันแล้ว จะส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชากร สูงถึง 45%
    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นบริเวณที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มักเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม หรือเป็นแหล่งให้ผลผลิตทางการเกษตรสูง ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน กิจกรรมทางการค้า ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ มีมูลค่าประมาณ 25% ของ GNP บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจำนวนมาก จะมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เนื่องจากอยู่ในที่ต่ำ จึงมีภาวะการเสี่ยงสูงมาก ต่อการเกิดภาวะน้ำท่วม เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น ยิ่งกว่านั้นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาอยู่แล้ว เนื่องจากการจัดการทรัพยากรไม่ดี และการทำลายที่อยู่อาศัยที่อยู่รอบ ๆ และในบางกรณีได้มีการสร้างเขื่อน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ทำให้การตกตะกอนลดลง ทำให้การชะล้างพังทลายของดิน และการจมตัวลงของแผ่นดิน ในท้องถิ่นนั้น ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น การชะล้างพังทลายของดิน และการจมตัวลงของแผ่นดิน ยังเกิดได้จากการสูบน้ำใต้ดินมากเกินไปอีกด้วย ดังเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองเซี่ยงไฮ้ และเทียนสิน ประเทศจีนที่การป้องกันการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา สำหรับประชากร 13 และ 7 ล้านคน ตามลำดับ
    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีความอ่อนไหวมากที่สุด ได้แก่ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา - พรหมบุตร ในประเทศบังคลาเทศ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมหานที แม่น้ำคงคา ที่อยู่ทางตะวันตกของอ่าวเบงกอล ทางตะวันตกของอ่าวเบงกอลนี้ ถ้าน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร จะทำให้น้ำท่วมพื้นที่ประมาณ 1,700 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ผลผลิตสูงทั้งหมด และจะทำให้ประชากรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 750,000 คน ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ ในประเทศไนจีเรีย ระดับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้น 1 เมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 จะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ประมาณ 15,000 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากการป้องกัน ที่ได้ผลยังกระทำไม่ได้ ประชากรที่จะได้รับความเดือดร้อนต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ ประมาณครึ่งล้านคน
    ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมาก ๆ กับภาวะน้ำท่วมชายฝั่ง

    บริเวณชายฝั่งจะได้รับผลกระทบทางลบจากอุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้าที่รุนแรงมาก ๆ พายุไซโคลน และคลื่นซัดฝั่งได้ จากแบบจำลองภูมิอากาศจำนวนมาก พบว่า ในบริเวณที่ภูมิอากาศร้อนกว่า โอกาสที่จะเกิดฝนตกหนักมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้างแบบจำลองภูมิอากาศโลก ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น และการคาดหมายการเปลี่ยนแปลง ในระยะยาวถึงความถี่ และ/หรือ ความรุนแรงของปรากฏการณ์ ที่รุนแรงมาก ๆ ในระดับท้องถิ่นยังกระทำไม่ได้ พื้นที่บริเวณชายฝั่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ยังมีความไม่แน่นอน ถึงความผันแปรของภูมิอากาศ ที่จะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับการเพิ่มขึ้นของ ระดับน้ำทะเลในแต่ละท้องที่ ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ถึงแม้จะเห็นชัดว่าบริเวณที่ต่ำแถบชายฝั่ง เมื่อเกิดฝนตกหนักมากขึ้น ผนวกกับการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล น่าจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชากรที่อาศัยในบริเวณนี้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ย้ายที่อยู่และเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มมากขึ้นของพายุไซโคลน เฮอริเคน หรือ ไต้ฝุ่น และภาวะน้ำท่วมที่เกิดตามมา อาจส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์อย่างร้ายแรงได้
    อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าความถี่ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ เปลี่ยนแปลงไป เพียงเล็กน้อย แต่ลำพังการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ก็เพียงพอ ที่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมชายฝั่ง เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบทางอ้อม ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ได้แก่ การ สูญเสียลักษณะการป้องกันทางธรรมชาติ เช่น สันทรายและป่าชายเลน เนื่องจากการชะล้างพังทลายเพิ่มมากขึ้น และการระบายของน้ำ จากลำธารชายฝั่งลดลง เนื่องจากอิทธิพลการไหลย้อนกลับ ของน้ำเกิดมากขึ้น การชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น และการระบายน้ำที่ลดลง ก็ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมสูงเช่นกัน ซึ่งได้มีการคำนวณจำนวนประชากร ที่จะเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม อันเนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลไว้แล้ว โดยประเมินตามพื้นฐานความถี่การเกิดคลื่นซัดฝั่ง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประชากรปัจจุบัน และระดับการป้องกันอย่างธรรมดา อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ที่จะเกิดกับมนุษย์ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น ขอบเขต และประสิทธิภาพของโครงสร้างทางสาธารณสุข แนวโน้มทางสังคม และระดับความเตรียมพร้อม ที่จะเผชิญกับภัยพิบัติ แต่การคำนวณเชิงปริมาณที่ แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังกระทำไม่ได้
    ดังนั้น ในระหว่างนั้นควรดำเนินการวางแผนป้องกัน เช่น จะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่า การเตือนภาวะน้ำท่วมมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเตือนภาวะน้ำท่วม สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าประชากรเหล่านั้น เคยประสบภัยพิบัติมาก่อน ผลกระทบของภาวะน้ำท่วม ที่จะมีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ อาจลดลงได้จากการออกแบบระบบน้ำประปา ให้ใช้ได้หลายวิธี เพื่อว่าเมื่อระบบใดระบบหนึ่งใช้การไม่ได้ ก็ยังมีระบบอื่นที่ยังใช้การได้ ไม่ทำให้ประชากรขาดน้ำอย่างสมบูรณ์ และการขนส่งน้ำไปยังพื้นที่ห่างไกล ก็จะต้องได้รับการประกันว่า ระหว่างการเกิดภัยพิบัติ จะไม่ถูกตัดขาด ซึ่งจะต้องกำหนดเส้นทางการขนส่งน้ำไว้หลาย ๆ เส้นทาง นอกจากนี้แนวป้องกันชายฝั่งธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ ควรได้รับการป้องกันไว้ด้วย เพราะเป็นแนวกันชนพายุได้เป็นอย่างดี
    คุณภาพและปริมาณน้ำจืด
    ผลกระทบระยะสั้นที่สำคัญและเกิดขึ้นทันทีทันใดจากภาวะน้ำท่วม อันเนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล คือ คุณภาพและแหล่งน้ำจืด อย่างไรก็ตามผลกระทบในระยะยาว ว่าจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำใต้ดินด้วยหรือไม่ นั้น ยังไม่แน่นอน แม้ว่าเป็นที่ทราบแล้วว่า การไหลเข้ามาของน้ำเค็ม จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญกับเมืองชายฝั่ง เช่น เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ส่วนบนเกาะเล็ก ๆ ระดับน้ำใต้ดินที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งน้ำจืด ที่มีอยู่อย่างจำกัด ป้องกันได้ยาก และง่ายต่อการแทรกซึมเข้าไปของน้ำทะเล การแก้ไขแหล่งน้ำจืด ที่เสียหายไปแล้วตามวิธีการนี้ยากมาก การรุกไล่ของน้ำเค็มเข้าไปในแผ่นดินได้เกิดขึ้นแล้ว ในประเทศอิสราเอล ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และหมู่เกาะมาร์เชล ในมหาสมุทรแปซิฟิก บนหมู่เกาะมาร์เชล แหล่งน้ำในท้องถิ่นนำมาใช้ได้ไม่ยั่งยืน และอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น ได้มีการตั้งใจที่จะทำให้น้ำหายเค็ม หากน้ำเค็มแทรกซึมเข้ามาได้เพียง เล็กน้อยเพื่อใช้ภายในประเทศ แต่วิธีนี้ เป็นกระบวนการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลที่มีต่อแหล่งน้ำจืด นั้น ควรได้รับการศึกษาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น รวมทั้งศักยภาพในการปรับตัวด้วย
    ที่ราบต่ำบริเวณชายฝั่ง การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล อาจทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้นได้อีกด้วย นำไปสู่การเกิดความสกปรก เช่น เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย จากระบบการบำบัดน้ำเสีย ที่อาจหลุดเข้าไปในทางน้ำได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อประชากรในท้องถิ่นได้ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ถ้าหากความสกปรกนี้ หลุดเข้าไปในโซ่อาหาร
    โรคที่ต้องมีตัวนำโรค
    ผลจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่จะมีต่อการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายของโรคติดต่อ เป็นไปอย่างสลับซับซ้อน อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อโรคที่ต้องมีตัวนำโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้มาลาเรีย ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยในท้องถิ่น เช่น ลักษณะภูมิประเทศชายฝั่ง และประวัติความเป็นมาทางธรรมชาติ ของชนิดตัวนำเชื้อโรคในท้องถิ่นนั้น ตัวอย่าง ในทวีปแอฟริกา โดยทั่วไปตัวนำหลักของโรคไข้มาลาเรีย Falciparum คือ Anopheles gambiae ชนิดต่าง ๆ แต่การเพิ่มขึ้นของน้ำกร่อย มีแนวโน้มว่าตัวนำโรคที่มีประสิทธิภาพ An.gambiae และ An.arabiensis จะถูกแทนที่โดยตัวนำเชื้อโรค An.melas และ An.merus ซึ่งมีประสิทธิภาพในการนำเชื้อโรคน้อยกว่า ตัวนำเชื้อโรค 2 ชนิดหลังทนทานน้ำเค็มในบริเวณแอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาตะวันออกได้ดี ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล น่าจะมีส่วนทำให้การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย ในบริเวณชายฝั่งบางแห่งลดน้อยลง
    ในบริเวณอื่น การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล น่าจะมีผลทำให้โรคไข้มาลาเรียเพิ่มมากขึ้น ในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มียุงที่เป็นตัวนำเชื้อโรคไข้มาลาเรียหลายชนิด เจริญเติบโตได้ดี เช่น An.sundaicus ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และทางใต้ของประเทศบังคลาเทศ เป็นตัวนำโรคไข้มาลาเรีย ที่ทนความเค็มได้ บริเวณชายฝั่งที่เป็นดินเหนียวในประเทศเหล่านี้ เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ดังนั้น ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้น้ำเค็มรุกไล่เข้าไปในแผ่นดินได้มากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคจะมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ประชากรในท้องถิ่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้มาลาเรียเพิ่มมากขึ้น แต่ตัวนำโรค An.sundaicus ในประเทศอินโดนีเซีย ขยายพันธุ์ในน้ำจืด อาจลดจำนวนลงหากน้ำเค็มเพิ่มมากขึ้น
    แหล่งอาหาร
    ประมาณ 70% ของชนิดปลาเพื่อการค้าของโลกได้มาจากบริเวณชายฝั่ง เนื่องจาก พื้นที่ชุ่มน้ำ และแนวปะการังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลา และสัตว์ที่มีเปลือกหุ้มหลายชนิด การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะกระทบต่อผลผลิตอาหารของท้องถิ่น ผ่านทางผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังกระทบต่อการผลิตอาหาร ผ่านทางการที่พื้นที่เกษตรกรรมถูกทำลาย ถูกน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น และน้ำเค็มรุกไล่เข้าไปได้ยังแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ประเทศเกาะขนาดเล็ก จะได้รับผลกระทบทางลบอย่างมาก เพราะว่าราคาการนำเข้าอาหารจะเพิ่มสูงมากขึ้น
    ผลผลิตข้าวเป็นไปได้ว่าจะลดลงด้วย เนื่องจากปริมาณข้าวโลกประมาณ 8% ได้จากบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากที่สุด จากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล บริเวณนี้สามารถผลิตข้าวสำหรับเลี้ยงประชากรได้ ประมาณ 200 ล้านคน ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นครึ่งเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 จะมีประชากรถึง 75 ล้านคนที่ต้องสูญเสียแหล่งอาหารหลักไป ซึ่งประชากร ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ในเอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด
    ประชากรที่ต้องอพยพ
    ประชากรที่จะถูกไล่ที่เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล คือ ประชากรที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วม และยากจน ไม่ว่าจะเป็นในเขตชนบท หรือเขตเมืองก็ตาม เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรจำนวนมากที่เสี่ยงมากที่สุด เพราะการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานตามบริเวณชายฝั่ง ทำให้ทั้งสังคมและเศรษฐกิจเสื่อมลง เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เลว การตั้งถิ่นฐานแบบโดดเดี่ยวจำนวนมาก ในประเทศกำลังพัฒนา ก็จะได้รับผลกระทบด้วย การตั้งถิ่นฐานเช่นว่านี้ไม่มีการวางแผนมาก่อน และประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การตั้งถิ่นฐานในลักษณะนี้จำนวนมากที่กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่อยู่บริเวณชายฝั่ง เช่น กรุงเทพฯ บอมเบย์ กัลกัตตา การาจี มนิลา ลากอส จาการ์ตา ลิมา และริโอเดจาเนโร อิทธิพลของการถูกไล่ที่ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์นั้น จะขึ้นอยู่กับอัตราของการถูกไล่ที่ แต่เป็นสิ่งที่ประเมินได้ยากมาก ประชากรที่ถูกไล่ที่ หรือที่ต้องอพยพย้ายถิ่นยัง จะต้องประสบกับปัญหาแหล่งอาหาร และอาหารที่จะลดลง การสูญเสียที่ดิน ได้รับความเสียหายจากพายุ เศรษฐกิจถดถอยตามผลกระทบทางลบ ที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การจับปลา การท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจและการขนส่ง
    มาตรการการป้องกัน
    ประเทศชายฝั่งจะต้องวางแผนการจัดการชายฝั่งที่รัดกุม เพื่อให้ผลกระทบที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล เป็นไปน้อยที่สุด ประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาได้ โดยการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ แผนการจะต้องแน่ใจว่า การเสี่ยงของประชากรมีน้อยที่สุด ระบบนิเวศสำคัญ ๆ ยังคงอยู่และได้รับการป้องกัน และการพัฒนาบริเวณชายฝั่ง จะต้องเป็นไปแบบยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐควรกำหนดการบริการ และทรัพยากรเฉพาะที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยง และสร้าง มาตรการป้องกันไว้
    มาตรการการป้องกัน แบ่งได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้คือ
    1. การอพยพ : การละทิ้งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงและสร้างที่อยู่ใหม่ให้กับประชากร
    2. การปรับตัว : ยังคงอยู่และใช้พื้นที่เดิมที่มีความเสี่ยง โดยมีการปรับปรุงการใช้ พื้นที่และ ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
    3. การป้องกัน : การปกป้องพื้นที่ที่เสี่ยงสูงให้รอดพ้นจากอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์กลางของประชากร กิจกรรมทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ
    การอพยพอาจมีการวางแผนไว้ก่อนหรืออาจไม่ได้วางแผนไว้ก่อนก็ได้ แต่ในหลายสถานการณ์ ที่การอพยพจากการวางแผนไว้ก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด


    ขอขอบคุณดีดีมีสาระจาก

    http://www.tmd.go.th
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    เอลนีโญ

    เอลนีโญ
    ความนำ
    เอลนีโญ เป็นคำที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติทางสมุทรศาสตร์ มีหลักฐานแสดงว่าเอลนีโญได้เกิดขึ้นนานนับพันปีมาแล้ว แม้แต่เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2525 – 2526 ซึ่งรุนแรงมากก็ยังไม่ได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นเอลนีโญจนกระทั่งปรากการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วหลายเดือน เนื่องจากปรากฏการณ์นี้เป็นต้นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศของโลกอย่างรุนแรง เช่น อเมริกาเหนือประสบกับสภาพอากาศที่ผิดปกติอย่างมากตลอดปี 2526 ออสเตรเลียประสบกับสภาวะความแห้งแล้งมากและเกิดไฟป่าเผาผลาญ ประเทศใกล้ ๆ ทะเลทรายสะฮาราประสบกับความแห้งแล้งที่เลวร้ายมากที่สุดช่วงหนึ่ง และลมมรสุมในมหาสมุทรอินเดียอ่อนกำลังลงมาก ประมาณว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ระหว่าง 8 - 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสูญเสียชีวิตประมาณ 2,000 คน
    ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีการลงทุนจำนวนมากในการตรวจวัดอากาศและการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถในการพยากรณ์ปรากฏการณ์นี้ จนกระทั่ง 10 ปีสุดท้ายจึงได้มีความเข้าใจถึงการเกิดและการคงอยู่ของเอลนีโญ อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการใส่ความสัมพันธ์ระหว่างกันของบรรยากาศและมหาสมุทรที่สลับซับซ้อนและจำนวนข้อมูลอันมหาศาลเข้าไปในแบบจำลองเพื่อทำการพยากรณ์ ปรากฏการณ์เอลนีโญ
    ในระยะหลังตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา เอลนีโญได้เกิดบ่อยครั้งขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา จึงสมควรที่จะทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ผลกระทบ และข่าวสารเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 – 2541 โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และศูนย์พยากรณ์ภูมิอากาศหลัก ๆ หลายศูนย์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านนโยบายได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
    ความหมายของเอลนีโญ
    เอลนีโญ มีความหมายแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มบุคคล ในภาษาสเปน คำว่าเอลนีโญ (el niño) หมายถึง เด็กชายเล็ก ๆ แต่หากเขียนนำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เอลนีโญ (El Niño) หมายถึง ทารกพระเยซูคริสต์ สำหรับชาวเปรูจะมีความหมายเพิ่มเติม คือ หมายถึงกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งเปรูลงไปทางใต้ทุก ๆ 2 – 3 ปี หรือกว่านั้น และได้ตั้งชื่อกระแสน้ำอุ่นนี้ว่าเอลนีโญก่อนเริ่มศตวรรษที่ 20 โดยเริ่มรู้จักและสังเกตเห็นครั้งแรกประมาณปี ค.ศ. 1892 การที่ตั้งชื่อว่า เอลนีโญ เนื่องจากจะมีน้ำอุ่นปรากฏอยู่ตามชายฝั่งเปรูเป็นฤดู ๆ โดยเริ่มประมาณช่วงคริสต์มาส (ช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ ซึ่งตรงกับช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ) น้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่น้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 – 3 เดือน (โดยปกติแล้วตามชายฝั่งเปรูจะมีน้ำเย็นปรากฏอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นจากใต้มหาสมุทรขึ้นมายังผิวน้ำ ซึ่งทำให้น้ำเย็นอันอุดมไปด้วยธาตุอาหารไหลขึ้นมายังผิวน้ำ)
    บางครั้ง น้ำอุ่นที่ปรากฏเป็นระยะ ๆ ตามชายฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อาจจะคงอยู่นานเกินกว่า 2 – 3 เดือน ซึ่งบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามไปปีถัดไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งซึ่งเกี่ยวข้องกับปลา นกที่กินปลาเป็นอาหาร และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการประมงและเกษตรกรรม ฝนที่ตกหนักเนื่องจากเอลนีโญทางเอกวาดอร์ใต้และเปรูเหนือบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายในหลาย ๆ เมือง
    ประมาณกลางทศวรรษ 1970 มีคำจำกัดความเกี่ยวกับเอลนีโญมากมาย และประมาณปลายทศวรรษ 1990 หลายสิบคำจำกัดความของเอลนีโญตั้งแต่ง่าย ๆ จนถึงซับซ้อนปรากฏอยู่ในบทความและหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป ดังตัวอย่างของคำจำกัดความ เอลนีโญ คือ ช่วง 12 ถึง 18 เดือนที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลทางครึ่งซีกด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นกว่าปกติ เป็นต้น เอลนีโญที่มีขนาดปานกลางหรือรุนแรงจะเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ เฉลี่ยประมาณ 5 – 6 ปีต่อครั้ง
    แม้ว่าที่ผ่านมาเอลนีโญจะมีความหมายมากมาย แต่ความหมายอันเป็นที่รับรู้และเข้าใจกันโดยทั่วไปในปัจจุบันคือการอุ่นขึ้นอย่างผิดปกติของน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ซึ่งเกิดจากการอ่อนกำลังลงของลมค้า (trade wind) คำจำกัดความของเอลนีโญแม้จะมีมากมายแต่ลักษณะบางอย่างซึ่งเป็นลักษณะปกติของเอลนีโญจะปรากฏให้เห็น คือ
    • การอุ่นขึ้นผิดปกติของผิวน้ำทะเล
    • กระแสน้ำอุ่นที่ไหลลงทางใต้ตามชายฝั่งประเทศเปรู
    • เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นทางด้านตะวันออก และตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
    • ปรากฏตามชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ และเปรูเหนือ (บางครั้งประเทศชิลี)
    • เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล
    • เกิดร่วมกับการอ่อนกำลังลงของลมค้าที่พัดไปทางทิศตะวันตกบริเวณแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
    • เวียนเกิดซ้ำแต่ช่วงเวลาไม่สม่ำเสมอ
    • เกิดแต่ละครั้งนาน 12 – 18 เดือน
    การเกิดเอลนีโญ
    ตามปกติเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะมีลมค้าตะวันออกพัดปกคลุมเป็นประจำ ลมนี้จะพัดพาผิวหน้าน้ำทะเลที่อุ่นจากทางตะวันออก (บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ) ไปสะสมอยู่ทางตะวันตก (ชายฝั่งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) ทำให้บรรยากาศเหนือบริเวณแปซิฟิกตะวันตกมีความชื้นเนื่องจากขบวนการระเหย (Glantz, 2001) และมีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเกาะอยู่ในแปซิฟิกตะวันตก (รูปที่ 1) ขณะที่ทางตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำและทำให้เกิดความแห้งแล้งบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ แต่เมื่อลมค้าตะวันออกมีกำลังอ่อนกว่าปกติ ลมที่พัดปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของปาปัวนิวกินี (ปาปัวนิวกินี คือ เกาะที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตกเหนือทวีปออสเตรเลีย) จะเปลี่ยนทิศทางจากตะวันออกเป็นตะวันตก ทำให้เกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาเอามวลน้ำอุ่นที่สะสมอยู่บริเวณแปซิฟิกตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นทางแปซิฟิกตะวันออก เมื่อมวลน้ำอุ่นได้ถูกพัดพาไปถึงแปซิฟิกตะวันออก (บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์) ก็จะรวมเข้ากับผิวน้ำ ทำให้ผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณนี้อุ่นขึ้นกว่าปกติ และน้ำอุ่นนี้จะค่อย ๆ แผ่ขยายพื้นที่ไปทางตะวันตกถึงตอนกลางของมหาสมุทร ส่งผลให้บริเวณที่มีการก่อตัวของเมฆและฝนซึ่งปกติจะอยู่ทางตะวัน ตกของมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่บริเวณตอนกลางและตะวันออก (รูปที่ 2) บริเวณดังกล่าวจึงมีฝนตกมากกว่าปกติ ในขณะที่แปซิฟิกตะวันตกซึ่งเคยมีฝนมากจะมีฝนน้อยและเกิดความแห้งแล้ง
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody> <tr> <td width="100%"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td width="100%"> [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> </center> ​


    การเกิดเอลนีโญส่วนมากน้ำที่อุ่นผิดปกติจะปรากฏครั้งแรกบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม แต่เอลนีโญที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจจะแตกต่างไปจากรูปแบบปกติดังกล่าวนี้ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดเช่นนี้เสมอไป ดังตัวอย่างเช่น เอลนีโญปี พ.ศ. 2525 – 2526 อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้เริ่มอุ่นขึ้นช้ากว่ารูปแบบปกติหลายเดือน (Glantz et al., 1987)
    การตรวจจับเอลนีโญ
    จากเอลนีโญขนาดรุนแรงในปี 2525 – 2526 ทำให้เกิดแผนความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อติดตาม ตรวจวัดและวิจัยปรากฏการณ์เอลนีโญขึ้น คือแผนงานมหาสมุทรเขตร้อนและบรรยากาศโลก (Tropical Ocean and Global Atmosphere – TOGA) ซึ่งได้ดำเนินการระหว่างปี 2528 - 2537 ภายใต้แผนงานการวิจัยภูมิอากาศโลก จากการศึกษาและวิจัยของ TOGA พบว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตรวจจับได้จากหลายวิธี รวมถึงจากดาวเทียม ทุ่นลอยที่อยู่กับที่ ทุ่นลอยที่เคลื่อนที่ การวิเคราะห์ระดับน้ำทะเล เป็นต้น ระบบการตรวจวัดเพื่อการวิจัยนี้ปัจจุบันได้เข้าสู่ระบบการตรวจวัดภูมิอากาศทางภาคปฎิบัติแล้ว โดยข้อมูลจากระบบการตรวจวัดภูมิอากาศนี้ได้ใช้ป้อนเข้าไปในแบบจำลองระหว่างบรรยากาศและมหาสมุทรของโลกเพื่อทำการคาดหมายเอลนีโญ ส่วนแบบจำลองอื่น ๆ ได้ใช้ในการวิจัยเพื่อให้เข้าใจถึงเอลนีโญได้ดีและมากยิ่งขึ้น สำหรับการคาดหมายนั้นมักจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ทำการคาดหมายการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ เช่น ศูนย์พยากรณ์ภูมิอากาศ ประเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงานอุตุนิยมวิทยา ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
    ขนาดของเอลนีโญ
    ดัชนีชี้วัดขนาดของเอลนีโญที่สำคัญและชัดเจนที่สุดตัวหนึ่ง คือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะทางตะวันออกหรือตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิยิ่งสูงกว่าปกติมากเท่าไร ปรากฏการณ์ยิ่งรุนแรงมากเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากรูปที่ 3 ซึ่งแสดงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ต่างจากปกติในช่วงเอลนีโญที่รุนแรงมาก 2 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2525 – 2526 และ พ.ศ. 2540 – 2541
    [​IMG]
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    เอลนีโญ

    นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งขนาดของเอลนีโญออกเป็น อ่อนมาก อ่อน ปานกลาง รุนแรง หรือรุนแรงมาก จากการศึกษาของ Quinn et al. (1987, p.14453) กล่าวไว้ว่า “ปรากฏการณ์ยิ่งมีความรุนแรงมากเท่าไร ปริมาณความเสียหาย การถูกทำลาย และมูลค่าความเสียหายยิ่งสูงมากเท่านั้น” พวกเขาได้อธิบายถึงความรุนแรงโดยผนวกเอาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของมหาสมุทรกับผลกระทบที่เกิดขึ้นบนพื้นทวีปเข้าด้วยกันดังนี้ <dir> ขนาดรุนแรงมาก – ปริมาณฝนสูงมากที่สุด มีน้ำท่วม และเกิดความเสียหายในประเทศเปรู มีบางเดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งสูงกว่าปกติมากกว่า 7 <sup>o</sup> ซ.
    ขนาดรุนแรง – ปริมาณฝนสูงมาก มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง มีรายงานความเสียหายในประเทศเปรู มีหลายเดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งสูงกว่าปกติ 3 – 5 <sup>o </sup>ซ.
    ขนาดปานกลาง – ปริมาณฝนสูงกว่าปกติ มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศเปรูอยู่ในระดับต่ำ โดยทั่ว ๆ ไปอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้จะสูงกว่าปกติ 2 – 3 <sup>o </sup>ซ.
    </dir> นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่นำมาใช้กำหนดขนาดของเอลนีโญ ซึ่งรวมถึงตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่น (warm pool) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร บริเวณพื้นผิวมหาสมุทรซึ่งปกคลุมด้วยแอ่งน้ำอุ่นที่ผิดปกติ หรือความลึก (ปริมาตร) ของแอ่งน้ำอุ่นนั้น ยิ่งแอ่งน้ำอุ่นมีอาณาบริเวณกว้างและมีปริมาตรมากปรากฏการณ์จะยิ่งมีความรุนแรงเพราะจะมีความร้อนมหาศาลซึ่งจะมีผลต่อบรรยากาศเหนือบริเวณนั้น ในกรณีที่เอลนีโญมีกำลังอ่อนบริเวณน้ำอุ่นมักจะจำกัดวงแคบอยู่เพียงแค่ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ แต่กรณีเอลนีโญขนาดรุนแรงบริเวณที่มีน้ำอุ่นผิดปกติจะแผ่กว้างปกคลุมทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
    สถิติการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ
    ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 – 2543) มีปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดขึ้น 15 ครั้ง ดังนี้

    <center>
    <center> <table bgcolor="#003366" border="0" cellpadding="7" cellspacing="1" width="557"> <tbody> <tr bgcolor="#ffffff"> <td height="46" valign="center" width="20%">
    พ.ศ.
    </td> <td height="46" valign="center" width="31%">
    ความรุนแรงของเอลนีโญ
    </td> <td height="46" valign="center" width="20%">
    พ.ศ.
    </td> <td height="46" valign="center" width="29%">
    ความรุนแรงของเอลนีโญ
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2494
    </td> <td valign="top" width="31%"> อ่อน
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2520 – 2521
    </td> <td valign="top" width="29%"> อ่อน
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2496
    </td> <td valign="top" width="31%"> อ่อน
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2522 – 2523
    </td> <td valign="top" width="29%"> อ่อน
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2500 – 2502
    </td> <td valign="top" width="31%"> รุนแรง
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2525 – 2526
    </td> <td valign="top" width="29%"> รุนแรง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2506
    </td> <td valign="top" width="31%"> อ่อน
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2529 – 2531
    </td> <td valign="top" width="29%"> ปานกลาง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2508 – 2509
    </td> <td valign="top" width="31%"> ปานกลาง
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2533 – 2536
    </td> <td valign="top" width="29%"> รุนแรง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2511 – 2513
    </td> <td valign="top" width="31%"> ปานกลาง
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2537 – 2538
    </td> <td valign="top" width="29%"> ปานกลาง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2515 – 2516
    </td> <td valign="top" width="31%"> รุนแรง
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2540 – 2541
    </td> <td valign="top" width="29%"> รุนแรง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2519
    </td> <td valign="top" width="31%"> อ่อน
    </td> <td valign="top" width="20%">
    </td> <td valign="top" width="29%">
    </td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    </center>
    แหล่งข้อมูล : CPC/NCEP/NOAA
    ผลกระทบของเอลนีโญ
    ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ การก่อตัวของเมฆและฝนเหนือน่านน้ำบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลง (Wright et al., 1985) และจะขยับไปทางตะวันออก ทำให้บริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศเปรูและเอกวาดอร์มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย (Rasmusson and Carpenter, 1982) ขณะที่มีความแห้งแล้งเกิดขึ้นที่นิวกินี (Nicholls, 1974) และอินโดนีเซีย (Quinn et al., 1978) อีกทั้งบริเวณเขตร้อนของออสเตรเลีย (พื้นที่ทางตอนเหนือ) มักจะเริ่มฤดูฝนล่าช้า (Nicholls, 1984) นอกจากพื้นที่บริเวณเขตร้อนแล้วเอลนีโญยังมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความผิดปกติของภูมิอากาศในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลด้วย เช่น ความแห้งแล้งทางตอนใต้ของแอฟริกา จากการศึกษาเอลนีโญที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนักวิทยาศาสตร์พบว่าในฤดูหนาวและฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ (ระหว่างเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และ เดือนมิถุนายน – สิงหาคม) รูปแบบของฝนและอุณหภูมิหลายพื้นที่ผิดไปจากปกติ เช่น ในฤดูหนาวบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาและตอนเหนือของประเทศบราซิลแห้งแล้งผิดปกติ ขณะที่ทางตะวันตกของแคนาดา อลาสก้า และตอนบนสุดของอเมริกามีอุณหภูมิสูงผิดปกติ ส่วนบางพื้นที่บริเวณกึ่งเขตร้อนของอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ (บราซิลตอนใต้ถึงตอนกลางของอาร์เจนตินา) มีฝนมากผิดปกติ (รูปที่ 4)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody> <tr> <td width="100%"> [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    นอกจากเอลนีโญจะมีผลกระทบต่อรูปแบบของฝนและอุณหภูมิแล้วยังมีอิทธิพลต่อการเกิดและการเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อนอีกด้วย โดยปรากฏการณ์เอลนีโญไม่เอื้ออำนวยต่อการก่อตัวและการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้พายุหมุนเขตร้อนในบริเวณดังกล่าวนี้ลดลง ในขณะที่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกามีพายุพัดผ่านมากขึ้น ส่วนพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกที่มีการก่อตัวทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์มักมีเส้นทางเดินของพายุขึ้นไปทางเหนือมากกว่าที่จะเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้
    ผลกระทบของเอลนีโญต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
    จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปีเอลนีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปีเอลนีโญปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่าปกติ (rainfall Index น้อยกว่า 50) โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และพบว่าเอลนีโญขนาดปานกลางถึงรุนแรงมีผลกระทบทำให้ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติมากขึ้น สำหรับอุณหภูมิ ปรากฏว่าสูงกว่าปกติทุกฤดูในปีเอลนีโญ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และสูงกว่าปกติมากขึ้นในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดปานกลางถึงรุนแรง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับสภาวะฝนในปีเอลนีโญได้ชัดเจน นั่นคือ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสูงกว่าปกติและต่ำกว่าปกติหรืออาจกล่าวได้ว่าช่วงกลางและปลายฤดูฝนเป็นระยะที่เอลนีโญมีผลกระทบต่อปริมาณฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน
    จากผลการศึกษาพอสรุปได้กว้าง ๆ ว่าหากเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น
    ข่าวสารเกี่ยวกับเอลนีโญ พ.ศ. 2540 – 2541
    1. สภาวะทั่วไปของเอลนีโญ พ.ศ. 2540 – 2541
      เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 – 2541 เป็นปรากฏการณ์ที่รุนแรงที่สุดที่เคยมีการตรวจวัดมา มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีอุณหภูมิที่สูงกว่าทุกครั้ง เอลนีโญครั้งนี้พัฒนารวดเร็วมากทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2540 และได้มีกำลังแรงสูงที่สุดในเดือนมิถุนายน 2540 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2540 เอลนีโญนี้มีกำลังแรงยิ่งกว่าเอลนีโญที่เกิดในปี พ.ศ. 2525 – 2526 โดยมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิก 2 – 5 <sup>o </sup>ซ. อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงเกินกว่า 28 <sup>o </sup>ซ. ทั่วทั้งตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรโดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2540
      ประมาณวันที่ 8 มกราคม 2541 ปริมาตรของบริเวณแอ่งน้ำอุ่นลดลงไปประมาณ 40 เปอร์เซนต์นับตั้งแต่ที่มีปริมาตรสูงสุดตอนต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ผิวหน้าแอ่งน้ำอุ่นในแปซิฟิกก็ยังมีอาณาบริเวณกว้างขนาดประมาณ 1.5 เท่าของประเทศสหรัฐอเมริกา แอ่งน้ำอุ่นนี้มีพลังงานมหาศาลจนกระทั่งผลกระทบต่อรูปแบบของภูมิอากาศโลกยังคงปรากฏต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2541 ผลกระทบด้านความร้อนของเอลนีโญนี้เป็นตัวการหลักที่ทำให้อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยทั่วโลกในปี พ.ศ. 2540 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี (พ.ศ. 2503 – 2533) ประมาณ 0.44 <sup>o</sup>ซ. และในปี 2541 ปรากฏว่าอุณหภูมิผิวพื้นโลกยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยและสูงมากกว่าปี 2540 จึงนับว่าปี พ.ศ. 2541 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในศตวรรษที่ 20
      ได้มีการกล่าวว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียและก่อให้เกิดหมอกควันไฟปกคลุมบางบริเวณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540 นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผลกระทบของเอลนีโญ
    2. ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี พ.ศ. 2540
    (2.1) ภูมิภาคที่ได้รับความแห้งแล้ง
    ตอนเหนือและตะวันออกของออสเตรเลีย ช่วงเดือนเมษายน – พฤศจิกายน 2540 บริเวณตอนเหนือและตะวันออกของทวีปมีฝนรวมต่ำกว่าค่าปกติ ทำให้เกิดความแห้งแล้งทั่วบริเวณ ประกอบกับช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติ จึงก่อให้เกิดไฟป่าขึ้นในบริเวณรัฐวิคตอเรียและนิวเซ้าต์เวลส์เป็นเวลาหลายสัปดาห์
    ตอนใต้ของแอฟริกาตะวันตกมีฝนต่ำกว่าปกติตั้งแต่เดือนกรกฎาคมพร้อมกับฤดูฝนได้เริ่มช้ากว่าปกติ
    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณที่ได้รับความแห้งแล้งมากโดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนและปาปัวนิวกินี และได้เกิดไฟป่าในอินโดนีเซีย และรัฐซาราวัคของมาเลเซียตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงปลายปี 2540 บริเวณอื่น ๆ ที่ได้รับความแห้งแล้งคือ ประเทศไทย บางส่วนของพม่า ลาว เขมรและเวียดนาม
    สหรัฐอเมริกาตะวันออก แห้งแล้งช่วงเดือนเมษายน – ตุลาคม ต่อจากนั้นเป็นฤดูหนาวที่หนาวน้อย
    อเมริกากลาง มีสภาพอากาศแล้งปกคลุมช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม
    ตอนเหนือของอเมริกาใต้ มีอากาศร้อนและแห้งแล้งในช่วงครึ่งหลังของปี

    (2.2) ภูมิภาคที่ได้รับฝนมากหรือน้ำท่วม
    คาบสมุทรอินเดีย มีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมต่อเนื่องเกือบตลอดจนถึงสิ้นปี บริเวณนี้ ได้แก่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เนปาลและศรีลังกา
    แอฟริกาตะวันออก ได้รับฝนชุกมากในช่วงตุลาคม – ธันวาคม ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักโดยเฉพาะบริเวณประเทศเคนยา อูกานดา รวันดาและตอนเหนือของแทนซาเนีย
    อเมริกาใต้ ตอนกลางและตอนใต้ของอเมริกาใต้ส่วนมากมีฝนสูงกว่าค่าปกติมากช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิ้นปี บางบริเวณของชิลีตอนกลางได้รับฝนภายใน 1 วัน เท่ากับปริมาณฝนรวมเฉลี่ยของทั้งปี และบริเวณชายฝั่งทางใต้ของเอควาดอร์และทางเหนือของเปรู ได้รับฝนชุกมากและก่อให้เกิดน้ำท่วมช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม
    อเมริกาเหนือ มีฝนตกชุกและเกิดน้ำท่วมเป็นบางบริเวณจากทางรัฐแคลิฟอร์เนียพาดไปทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาถึงบริเวณรัฐฟลอริดาในระยะครึ่งหลังของปี 2540
    (2.3) ผลกระทบที่มีต่อการเกิดพายุหมุนเขตร้อน
    พายุหมุนเขตร้อน คือพายุที่ก่อตัวเหนือมหาสมุทรในเขตร้อน มีความรุนแรง 3 ระดับคือพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น (ถ้าเกิดทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือและในทะเลจีนใต้เรียกไต้ฝุ่น แต่ถ้าเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติคเหนือจะเรียกว่าพายุเฮอร์ริเคน)
    มหาสมุทรแอตแลนติค เอลนีโญทำให้พายุที่มีความรุนแรงระดับพายุโซนร้อนและพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติคมีจำนวนลดลงค่อนข้างชัดเจน โดยในปี พ.ศ. 2540 มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้น 7 ลูก (ปกติประมาณ 9 ลูก) และที่รุนแรงเป็นพายุเฮอร์ริเคนจำนวน 3 ลูก (ปกติประมาณ 6 ลูก) และโดยรวมแล้วพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในฤดูพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติคเหนือ ปี 2540 เกิดขึ้นเพียง 52 % ของค่าปกติเท่านั้น ผลกระทบของเอลนีโญต่อการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติคปรากฏชัดที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม เมื่อมีเพียงจำนวน 3 ลูก ที่ได้ก่อตัวขึ้นในช่วงนี้
    ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เอลนีโญช่วยเอื้อต่อการก่อตัวพร้อมกับขยายพื้นที่ของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ในปี 2540 ได้เกิดพายุโซนร้อนจำนวน 17 ลูก (ปกติ 16 ลูก) ที่รุนแรงถึงระดับเป็นพายุเฮอร์ริเคนจำนวน 9 ลูก (ปกติ 9 ลูก) และเป็นพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงมากจำนวน 7 ลูก (ปกติ 5 ลูก) นอกจากนี้พื้นที่ที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนได้แผ่ขยายกว้างออกไปจากปกติ โดยมีจำนวน 4 ลูก ที่ได้ก่อตัวและเคลื่อนตัวทางตะวันตกของเส้นแวง 135 องศาตะวันตก และมีพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงจำนวน 2 ลูก ทำความเสียหายให้กับทวีปอเมริกาเหนือ
    ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ในปี 2540 มีรูปแบบและลักษณะที่ผิดปกติมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวคือ พายุมักจะมีเส้นทางการเคลื่อนตัวขึ้นไปในแนวทิศเหนือมากกว่าที่จะเคลื่อนมาทางตะวันตกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ จึงทำให้พายุที่พัดผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้มีจำนวนน้อยกว่าปกติมาก ขณะที่มีพายุไต้ฝุ่นจำนวน 2 ลูกเคลื่อนเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นเร็วกว่าปกติในเดือนมิถุนายน สำหรับประเทศจีนฤดูพายุหมุนเขตร้อนเกิดล่าช้ามาก และเป็นกรณีที่เกิดได้น้อยที่มีพายุหมุนเขตร้อน (พายุไต้ฝุ่น “ลินดา”) เคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนและภาคใต้ของประเทศไทยในตอนต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 ซึ่งพายุลูกนี้ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทางใต้ของเวียดนามเป็นอย่างมาก จากการที่จำนวนพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์มีน้อย จึงทำให้ฟิลิปปินส์ประสบกับความแห้งแล้ง และยังส่งผลถึงประเทศใกล้เคียงเช่นเวียดนามและไทยด้วย เนื่องจากพายุที่เคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์จะมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่เวียดนามและไทยได้ในเวลาต่อมา หลาย ๆ ลักษณะที่กล่าวมาก็ได้เกิดขึ้นในช่วงปีเอลนีโญ 2525 – 2526 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้อย่างสูงว่ารูปแบบการเกิดของพายุหมุนเขตร้อนในปี 2540 เกี่ยวข้องกับการขยับตัวไปของการหมุนเวียนของอากาศในภูมิภาคนี้ ซึ่งสัมพันธ์กับปรากฏการณ์เอลนีโญ
    1. ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี พ.ศ. 2541 (ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม)
      1. ภูมิภาคที่มีอุณหภูมิสูงหรือฝนน้อยกว่าปกติ
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม เขมร มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและบรูไน มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติตลอดทั้งช่วง 3 เดือน พร้อมกับมีฝนต่ำกว่าค่าปกติบริเวณประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์
        ทวีปออสเตรเลีย บริเวณด้านตะวันออก ตะวันตก และบางพื้นที่ทางตอนกลางของออสเตรเลียได้รับฝนต่ำกว่าค่าปกติค่อนข้างมากในช่วงมกราคม – มีนาคม ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะตามบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
        เอเชียตะวันออก ด้านตะวันออกของประเทศจีนต่อเนื่องถึงประเทศเกาหลีเหนือและใต้รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม
        ตอนเหนือของอเมริกาใต้ มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติตลอดทั้งช่วง
        ตอนใต้ของแอฟริกาตะวันตก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติ
        เกาะมาดากัสการ์ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติ
        ยุโรปตะวันตก มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม
      2. ภูมิภาคที่มีอุณหภูมิต่ำหรือฝนมากกว่าปกติ
    อุรุกวัยและอาร์เจนตินา มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติและมีฝนตกหนักในประเทศอุรุกวัยต่อเนื่องถึงทางเหนือของอาร์เจนตินาในเดือนมกราคม ส่วนเดือนกุมภาพันธ์มีอุณหภูมิต่ำและฝนตกหนักทางเหนือของอาร์เจนตินา
    สหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคมมีฝนตกหนักทางด้านตะวันออกลงไปถึงทางใต้ของประเทศ และในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม บริเวณฝนหนักได้เพิ่มพื้นที่ขึ้นคือ พาดจากทางตะวันตก ทางใต้ ไปถึงทางตะวันออก
    เอกสารอ้างอิง
    <dir> <dir> Glantz, M., Katz R., and Maria Krenz, 1987. The Societal Impacts Associated with the 1982 – 1983 Worldwide Climate Anomalies. Environmental and Societal Impacts Group, National Center for Atmospheric Research, Colorado, U.S.A.
    Glantz, M.H., 2001. Currents of Change : Impacts of El Niño and La Niña on Climate and Society. 2<sup>nd</sup> edition, Cambridge University Press.
    Japan Meteorological Agency 1998. Monthly Report on Climate System. No. 98-01, No. 98-02 and No. 98-03
    Jim Laver 1998. Prediction and Monitoring Products of the Climate Prediction Center (CPC). (preparing for workshop on seasonal climate prediction, Singapore, Feb. 9-10, 1998) NCEP. NOAA.
    WMO 1997. El Niño Briefing Package. 17 December.
    1997. El Niño Update. December. 1997. El Niño Update. No. 2 (December 1997).
    1998. El Niño Update. No 3 (January 1998).
    </dir></dir> กรมอุตุนิยมวิทยา9 มกราคม 2546
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ลานีญา

    ความหมายของลานีญา
    ลานีญา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันหลายชื่อ เช่น น้องของเอลนีโญ (El Niño’s sister) สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ (anti–El Niño หรือ the opposite of El Niño) สภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ (non El Niño) และฤดูกาลที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็น (season with cold SSTs) เป็นต้น (Glantz, 2001) แต่ทั้งหมดไม่ว่าชื่อใดจะมีความหมายเดียวกัน คือ ปรากฏการณ์ที่กลับกันกับเอลนีโญ กล่าวคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี
    การเกิดลานีญา
    ปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ (รูปที่ 1) แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งสภาวะปกติและลานีญา อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารูปแบบของสภาวะลานีญา (รูปที่ 2) จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ลานีญามีความ
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody> <tr> <td align="center" width="300"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    แตกต่างจากสภาวะปกติ (Glantz, 2001) นั่นคือ ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรงมากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ เช่น ลานีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 – 2532 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 <sup>o</sup>ซ. (รูปที่ 3)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody> <tr> <td width="100%"> [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    สถิติการเกิดปรากฏการณ์ลานีญา
    ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 – 2543) มีปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้น 9 ครั้ง ดังนี้
    <center> <table bgcolor="#003366" border="0" cellpadding="7" cellspacing="1" width="500"> <tbody> <tr bgcolor="#ffffff"> <td height="40" valign="top" width="20%">
    พ.ศ.
    </td> <td height="40" valign="top" width="30%">
    ความรุนแรงของลานีญา
    </td> <td height="40" valign="top" width="20%">
    พ.ศ.
    </td> <td height="40" valign="top" width="30%">
    ความรุนแรงของลานีญา
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2497 - 2499
    </td> <td valign="top" width="30%"> รุนแรง
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2531 – 2532
    </td> <td valign="top" width="30%"> รุนแรง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2507 – 2508
    </td> <td valign="top" width="30%"> ปานกลาง
    </td> <td valign="top" width="20%">
    2538 – 2539
    </td> <td valign="top" width="30%"> อ่อน
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2513 – 2514
    </td> <td valign="top" width="30%"> ปานกลาง
    </td> <td rowspan="4" valign="top" width="20%">
    2541 – 2544
    </td> <td rowspan="4" valign="top" width="30%">
    • รุนแรงในฤดูหนาว พ.ศ. 2541 – 2542 และ 2542 – 2543
    • ปานกลางในช่วง พ.ศ. 2543 - 2544
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2516 – 2519
    </td> <td valign="top" width="30%"> รุนแรง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2526 – 2527
    </td> <td valign="top" width="30%"> อ่อน
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td valign="top" width="20%">
    2527 – 2528
    </td> <td valign="top" width="30%"> อ่อน
    </td> </tr> </tbody> </table> </center>
    แหล่งข้อมูล : CPC/NCEP/NOAA
    ผลกระทบของลานีญา
    จากการที่ปรากฏการณ์ลานีญาเป็นสภาวะตรงข้ามของเอลนีโญ ดังนั้นผลกระทบของลานีญาจึงตรงข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ ผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่าลานีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติและมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะแห้งแล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และทางตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว ส่วนผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิปรากฏว่าในช่วงลานีญาอุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ จากรูปที่ 4 แสดงให้เห็นผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody> <tr> <td width="100%"> [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    จากผลงานวิจัยของ ดร. วิลเลียม เกรย์ แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด พบว่า ลานีญามีผลกระทบต่อพายุหมุนเขตร้อน โดยพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกและอ่าวเม็กซิโกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียนมีโอกาสประสบกับพายุเฮอริเคนมากขึ้น
    ผลกระทบของลานีญาต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
    จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปีเอลนีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่าลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น


    กรมอุตุนิยมวิทยา 22 มกราคม 2546
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ปรากฏการณ์เอนโซ่

    ปกติทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตรหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเปรูจะมีขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นจากใต้มหาสมุทรขึ้นมายังผิวน้ำ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดขนานฝั่งผนวกกับการหมุนรอบตัวเองของโลกผลักดันให้ผิวน้ำทะเลที่อุ่นไหลไปทางตะวันตกห่างออกไปจากฝั่ง น้ำเย็นข้างล่างซึ่งอุดมด้วยธาตุอาหารจึงพัดขึ้นมาแทนที่ (รูปที่ 1) บริเวณดังกล่าวนี้จึงเหมาะที่สุดสำหรับการเจริญพันธุ์ของปลาทะเล แต่บางครั้งเมื่อลมนี้อ่อนกำลังลงกว่าปกติหรือพัดกลับทิศตรงข้ามจะส่งผลให้เกิดคลื่นมหาสมุทรพัดพามวลน้ำอุ่นไปทางทิศตะวันออกสวนกับทิศทางเดิมและทำให้ผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งประเทศเปรูอุ่นขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเอลนีโญ (El Niño)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody> <tr> <td width="100%">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    ตอนปลายทศวรรษ 1950 ได้มีการค้นพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation) โดยเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในมหาสมุทร ส่วนความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เกิดในบรรยากาศ (Nicholl N., 1987) ในช่วงที่เกิดเอลนีโญความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรต่ำกว่าปกติ ขณะที่ความกดอากาศอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร (บริเวณอินโดนีเซียและตอนเหนือของออสเตรเลีย) สูงกว่าปกติ ลักษณะเช่นนี้จะเชื่อมโยงและเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดเป็นลมฝ่ายตะวันตกแทนที่ ซึ่งจะพัดพาน้ำทะเลทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งปกติมีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทร จากความสัมพันธ์กันเช่นนี้ เมื่อกล่าวถึงเอลนีโญจึงมักกล่าวถึงความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ด้วย และรวมเรียกว่าเอนโซ่ ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ ENSO ที่ย่อมาจาก El Niño/Southern Oscillation
    เอนโซ่ เป็นคำที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรและความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ จึงหมายความรวมถึงปรากฏการณ์ทั้งเอลนีโญและลานีญา กลุ่มนักวิทยาศาสตร์มักใช้คำว่าสภาวะอุ่นของเอนโซ่ (ENSO warm event หรือ warm phase of ENSO) ในความหมายเดียวกันกับเอลนีโญเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรอุ่นขึ้นผิดปกติ และในทางกลับกันจะใช้คำว่าสภาวะเย็นของเอนโซ่ (ENSO cold event หรือ cold phase of ENSO) ในความหมายเดียวกันกับลานีญา ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรเย็นกว่าปกติ (รูปที่ 2)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody> <tr> <td width="100%">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้
    ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ หมายถึง การที่ความกดอากาศระดับน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้มีความสัมพันธ์เป็นส่วนกลับกับความกดอากาศในมหาสมุทรอินเดีย กล่าวคือ เมื่อความกดอากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้มีค่าสูง ความกดอากาศบริเวณมหาสมุทรอินเดียจากแอฟริกาถึงออสเตรเลียมักจะมีค่าต่ำ และในทางกลับกันก็จะเป็นเช่นเดียวกัน (Quinn et al., 1978)
    นักอุตุนิยมวิทยาทั่วโลกได้มีการตกลงให้ใช้ความกดอากาศระดับน้ำทะเลที่เกาะตาฮิติ (ละติจูด 17<sup> o</sup> 33¢ ใต้ ลองกิจูด 149<sup> o</sup> 20¢ ตะวันตก) หมู่เกาะโซไซเอททิ (Society) เป็นตัวแทนของระบบความกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และใช้ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (ละติจูด 12<sup> o</sup> 26¢ ใต้ ลองกิจูด 130<sup> o</sup> 52¢ ตะวันออก) เป็นตัวแทนของระบบความกดอากาศในมหาสมุทรอินเดียและออสเตรเลีย ความแตกต่างระหว่างความกดอากาศของเมืองทั้งสอง (ที่ตาฮิติลบด้วยที่ดาร์วิน) ที่สูงหรือต่ำจากค่าปกติจะใช้เป็นดัชนีบ่งบอกถึงความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ เรียกว่า ดัชนีความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation Index หรือ SOI) ดัชนีความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เป็นการวัดความแรงของลมค้า (โดยปกติลมจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่า) ดังนั้นจึงใช้ดัชนีนี้บ่งบอกการเกิดปรากฏการณ์เอนโซ่ได้ตัวหนึ่ง โดยดัชนีที่มีค่าเป็นลบหมายถึงความกดอากาศที่ตาฮิติต่ำกว่าที่ดาร์วิน นั่นคือ ลมค้าอ่อนกว่าปกติ และเมื่อดัชนีมีค่าติดลบสูงเป็นระยะเวลานานจะแสดงถึงสภาวะเอลนีโญ ในทางกลับกันดัชนีที่มีค่าเป็นบวกแสดงถึงลมค้าพัดแรง และเมื่อดัชนีมีค่าเป็นบวกสูงเป็นเวลานานจะหมายถึงสภาวะลานีญา (รูปที่ 3)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody> <tr> <td width="100%">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 บทความและสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระดับน้ำทะเลและการผันแปรของความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกนิยมใช้คำว่าเอนโซ่มากขึ้น เพื่อแยกปรากฏการณ์นี้จากเอลนีโญที่ชาวเปรูใช้เรียกกระแสน้ำอุ่นซึ่งไหลเลียบชายฝั่งประเทศเปรูลงไปทางใต้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสาธารณชนบางส่วนที่สับสนกับการใช้คำว่า เอลนีโญ ลานีญา และเอนโซ่ ซึ่งบางครั้งอาจพบว่ามีการใช้คำแทนกันหรือสลับกันไปมาแม้จะเป็นบทความหรือเอกสารเล่มเดียวกัน โดยเฉพาะคำว่าเอนโซ่กับเอลนีโญ
    วงจรชีวิตของเอนโซ่
    การพัฒนาของเอนโซ่แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะบอกเหตุ ระยะเริ่มต้น ระยะเติบโต และระยะสลายตัว Rasmusson and Carpenter (1982), Cane (1983) และ Rasmusson and Wallace (1983) ได้สรุปวงจรชีวิตของเอนโซ่ทั้ง 4 ระยะไว้ดังนี้
    ระยะบอกเหตุ
    ที่ระดับผิวพื้นลมตะวันออกบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดแรงกว่าปกติหลายเดือนก่อนการเกิดเอลนีโญกำลังแรง การหมุนเวียนของบรรยากาศแนวทิศตะวันออก–ตะวันตกทั้งหมดโดยทั่วไปจะแรงกว่าปกติก่อนการเกิดเอลนีโญ ประกอบกับความกดอากาศบริเวณอินโดนีเซียจะต่ำกว่าปกติ และสูงกว่าปกติบริเวณแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้ ลมตะวันออกที่แรงกว่าปกติจะพัดพาเอาน้ำจากแปซิฟิกตะวันออกไปทางตะวันตก ด้วยเหตุนี้ระดับน้ำทะเลทางตะวันตกของแปซิฟิกจะสูงกว่าปกติขณะที่ทางตะวันออกจะต่ำกว่าปกติ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลจะอุ่นกว่าปกติเล็กน้อยทางแปซิฟิกตะวันตก และจะเย็นกว่าปกติทางตะวันออกของเส้นลองกิจูด 160 องศาตะวันออก
    ระยะเริ่มต้น
    ประมาณเดือนธันวาคม สภาวะที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลอุ่นกว่าปกติจะหายไปจากบริเวณตะวันตกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร และลมผิวพื้นในบริเวณที่อยู่ระหว่างอินโดนีเซียกับเส้นเปลี่ยนวัน (ลองกิจูด 180 องศา) จะเปลี่ยนจากลมตะวันออกเป็นลมตะวันตก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อุ่นกว่าปกติจะปรากฏขึ้นบริเวณตอนกลางของแปซิฟิก และปริมาณฝนในบริเวณดังกล่าวจะเริ่มสูงขึ้นซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่นี้จะมีฝนน้อย อุณหภูมิผิวน้ำทะเลตามบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้จะมีค่าใกล้เคียงปกติและจะเริ่มสูงขึ้น
    ระยะเติบโต
    อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติจะเริ่มปรากฏให้เห็นตามบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม และจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกันระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้จะสูงขึ้นและระดับเทอร์โมไคลน์ (themocline) ลึกลง อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติแผ่ปกคลุมทั่วทั้งแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรด้านตะวันออกของลองกิจูด 160 องศาตะวันออก ลมตะวันตกที่พัดผิดปกติขยายไปทางตะวันออกจนมีศูนย์กลางที่เส้นเปลี่ยนวัน ปริมาณฝนในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรสูงขึ้น แต่ที่บริเวณอินโดนีเซียจะลดลงกว่าปกติ การหมุนเวียนแบบวอล์คเกอร์ (walker circulation) จะมีกำลังอ่อนลงอย่างรวดเร็วและขยับไปทางตะวันออก
    ความผิดปกติดังกล่าวนี้ดำเนินต่อเนื่องไปจนเข้าใกล้ปลายปี ช่วงประมาณปลายปีความผิดปกติเกือบทั้งหมด (ยกเว้นอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้) จะถึงจุดสูงสุด ณ เวลานั้นลมตะวันตกซึ่งผิดปกติและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลซึ่งสูงกว่าปกติจะปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร บริเวณอินโดนีเซียจะแห้งแล้งมาก ขณะที่ตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกมีฝนตกหนักมาก ความกดอากาศจะสูงกว่าปกติมากที่เมืองดาร์วินและต่ำมากที่ตาฮิติ ซึ่งสถานการณ์นี้จะตรงข้ามกับปรากฏการณ์ลานีญา
    ระยะสลายตัว
    ที่บริเวณด้านตะวันตกของเส้นแบ่งวันลมตะวันตกจะเริ่มอ่อนกำลังลงตั้งแต่เดือนธันวาคม และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเริ่มสูงขึ้น ส่วนที่บริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้จะมีน้ำอุ่นอีกเป็นครั้งที่สองและจะสูงที่สุดในช่วงต้นปีใหม่ ต่อจากนั้นอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจะลดลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่าปกติ ระดับเทอร์โมไคลน์จะกลับขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวน้ำ และน้ำเย็นจะแผ่ขยายไปทางด้านตะวันตกของมหาสมุทร หลังจากระยะเริ่มเกิดเป็นเวลานานประมาณ 18 เดือน สภาวะปกติจะกลับคืนสู่ทั่วทั้งมหาสมุทรอีกครั้ง ความกดอากาศที่ดาร์วินและตาฮิติ รวมทั้งรูปแบบของฝนจะกลับสู่สภาวะปกติ
    เทอร์โมไคลน์
    เทอร์โมไคลน์ คือ ชั้นน้ำที่อยู่ระหว่างชั้นผสมผิวหน้าน้ำ (mixed layer) กับชั้นน้ำลึก (deep water) ที่ผิวหน้าน้ำและชั้นน้ำลึกอุณหภูมิจะเกือบคงที่ โดยผิวน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าชั้นน้ำลึก ส่วนที่เทอร์โมไคลน์อุณหภูมิของน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็วตามความลึก (รูปที่ 4)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"> <tbody> <tr> <td width="100%">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    ในสภาวะปกติบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะมีลมค้าตะวันออกพัดปกคลุมเป็นประจำ ลมนี้จะพัดพามวลน้ำไปสะสมอยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทร ดังนั้นทางแปซิฟิกตะวันตกจึงมีระดับน้ำทะเลสูงและระดับเทอร์โมไคลน์ลึกกว่าทางแปซิฟิกตะวันออก ในกรณีที่ลมค้าตะวันออกพัดแรงกว่าปกติ (สภาวะลานีญา) มวลน้ำจะถูกพัดพาไปสะสมทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทางแปซิฟิกตะวันตกจึงมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและระดับเทอร์โมไคลน์ลึกลงกว่าปกติ แต่ถ้าลมค้าตะวันออกมีกำลังอ่อนและมีลมพัดกลับทิศ (สภาวะเอลนีโญ) มวลน้ำจะถูกพัดพาย้อนกลับไปทางตะวันออก ส่งผลให้ทางแปซิฟิกตะวันออกมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและระดับเทอร์โมไคลน์ลึกกว่าปกติ (รูปที่ 5)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="550"> <tbody> <tr> <td width="100%">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    การหมุนเวียนแบบวอร์คเกอร์
    การหมุนเวียนแบบวอล์คเกอร์ คือ การหมุนเวียนของบรรยากาศบริเวณศูนย์สูตรในแนวดิ่ง ประกอบด้วย 2 เซลล์คือการหมุนเวียนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกและเหนือมหาสมุทรอินเดีย รูปแบบปกติของการหมุนเวียนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีการยกตัวขึ้นของอากาศบริเวณอินโดนีเซีย เมื่อยกตัวขึ้นถึงระดับบน (upper troposphere) จะหมุนเวียนไปทางตะวันออกแล้วจมตัวลงบริเวณชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ และที่ระดับล่างใกล้ผิวพื้นจะหมุนเวียนกลับมาทางตะวันตก ในช่วงเอลนีโญ รูปแบบจะเปลี่ยนไป โดยบริเวณอากาศยกตัวจะขยับจากอินโดนีเซียไปทางตะวันออก (รูปที่ 6)
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody> <tr> <td width="100%">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> </center> ​
    เอนโซ่และความสัมพันธ์กับภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล (ENSO and Climate Teleconnections)
    เอนโซ่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเอนโซ่กับสภาพภูมิอากาศในบริเวณที่เกิดปรากฏการณ์หรือพื้นที่ใกล้เคียงจึงเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือเอนโซ่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความผิดปกติของภูมิอากาศในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกล เช่น ความแห้งแล้งทางตอนใต้ของแอฟริกา และพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นต้น อย่างไรก็ตามได้มีงานวิจัยทั้งทางฟิสิกส์และสถิติที่แสดงให้เห็นว่าความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันนั้นเกิดขึ้นจริง
    ในปีเอนโซ่สภาพภูมิอากาศจะผิดไปจากปกติ ซึ่งตามความเป็นความจริงบางพื้นที่บนโลกของเราจะมีสภาพภูมิอากาศที่ผิดไๆปจากปกติเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วทุกปี แต่ความผิดปกติดังกล่าวนั้นบางครั้งมีแนวโน้มที่จะกลับมาเกิดขึ้นอีกเมื่อเกิดปรากฏการณ์เอนโซ่ เช่น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเอนโซ่ปี พ.ศ. 2525 – 2526 เปรียบเทียบกับเอนโซ่ที่ผ่านมา 2 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2515 –2516 และ พ.ศ. 2500 – 2501 ปรากฏว่าบริเวณด้านตะวันออกของออสเตรเลีย ตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา และบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลมีความแห้งแล้งเกิดขึ้นในเหตุการณ์ทั้ง 3 ครั้ง ขณะที่ความผิดปกติของภูมิอากาศในภูมิภาคหรือบริเวณอื่น ๆ จะแตกต่างกันไปในปรากฏการณ์แต่ละครั้ง ความผิดปกติของภูมิอากาศซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลับมาเกิดขึ้นอีกเมื่อเกิดปรากฏการณ์เอนโซ่ แม้จะไม่ทุกครั้งเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงของเอนโซ่กับภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล (Glantz et al., 1987) ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์เอนโซ่กับภูมิอากาศจะแปรผันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล โดยทั่ว ๆ ไปปรากฏการณ์เอนโซ่กับภูมิอากาศบริเวณเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนจะมีความสัมพันธ์กันสูง (Glantz et al., 1987)
    เอกสารอ้างอิง
    <dir><dir> Michael Glantz, Richard Katz and Maria Krenz, 1987. The Social Impacts Associated with the 1982-83 Worldwide Climate Anomalies. Environmental and Societal Impacts Group, National Center for Atmospheric Research.
    Nicholls N., 1987. The El Niño /Southern Oscillation Phenomenon, Climate Crisis, The Societal Impacts Associated with the 1982-83 Worldwide Climate Anomalies, UNEP and NCAR.
    Quinn W.H., David O. Zopf., Kent S. Short, and Richard T.W. Kuo Yang, l978. Historical Trends and Statistics of the Southern Oscillation, El Niño, and Indonesian Droughts. Fishery Bull., 76, 663 - 678.
    Rasmusson, E.M., and T.H. Carpenter, 1982. Variations in Tropical Sea Surface Temperature and Surface Wind Fields Associated with the Southern Oscillation/El Niño. Monthly Weather Review, 110, 354–384 (U.S.A.).
    Rasmusson, E.M., and J.M. Wallace, 1983. Meteorological Aspects of the El Niño/Southern Oscillation. Science. 222, 1195–202.
    </dir></dir> กรมอุตุนิยมวิทยา22 มกราคม 2546
     

แชร์หน้านี้

Loading...