การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect)

    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text">ภาวะเรือนกระจกคืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อน ให้กระจายอยู่ภายใน ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดีพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย
    </td> </tr> <tr> <td class="text" align="center" valign="top"> <table border="0" width="95%"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]

    รูปที่ 1 แผนภาพแสดงการรับและคายรังสีจากดวงอาทิตย์ของผิวโลกและชั้นบรรยากาศ
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">(ที่มา "Radiative Forcing of Climate Change" The 1994 Report of the Scientific Assessment Working Group of IPCC.)

    ในภาวะปกติชั้นบรรยากาศของโลกจะประกอบด้วย โอโซนไอน้ำ และก๊าซชนิดต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นบางชนิดให้ผ่านมาตก กระทบพื้นผิวโลก รังสีคลื่นสั้นที่ตกกระทบพื้นผิวโลกนี้ จะสะท้อนกลับออกนอกชั้นบรรยากาศไปส่วนหนึ่งที่เหลือพื้นผิวโลก ที่ประกอบด้วยพื้นน้ำ พื้นดิน และสิ่งมีชีวิตจะดูดกลืนไว้ หลังจากนั้นก็จะคายพลังงานออกมา ในรูปรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดแผ่กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และแผ่กระจายออกนอกชั้นบรรยากาศไปส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนั้นชั้นบรรยากาศก็จะดูดกลืนไว้ และคายพลังงานความร้อนออกมาดังรูปที่1 ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้โลกสามารถรักษาสภาพสมดุลทางอุณหภูมิไว้ได้ จึงมีวัฎจักรน้ำ อากาศ และฤดูกาลต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสมดุลเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตพืชและสัตว์ โลกจึงเปรียบเสมือนเรือน ปลูกพืชขนาดใหญ่ที่มีไอน้ำและก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเป็นเสมือนรอบกระจก ที่คอยควบคุมอุณหภูมิ และวัฎจักรต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกมีปริมาณก๊าซบางชนิด มากเกินสมดุลของธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC8) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถดูดกลืนและคายรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดได้ดีมาก ดังนั้นเมื่อพื้นผิวโลกคายรังสีอินฟราเรดขึ้นส ู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซเหล่านี้จะดูดกลืนรังสีอินฟราเรดเอาไว้ ต่อจากนั้นมันก็จะคายความร้อนสะสมอยู่บริเวณพื้นผิวโลก และชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น พื้นผิวโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น เราเรียกก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะแบบนี้ว่า "ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases)" ก๊าซเรือนกระจกนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มอุณหภูมิของพื้นผิวโลกโดยตรงแล้ว มันยังส่งผลกระทบโดยทางอ้อมด้วย กล่าวคือมันจะทำปฏิกริยาเคมีกับก๊าซอื่น ๆ และเกิดเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ขึ้นมา หรือก๊าซเรือนกระจกบางชนิดอาจรวมตัวกับโอโซน ทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง ส่งผลให้รังสีคลื่นสั้นที่ส่องผ่านชั้นโอโซนลงมายังพื้นผิวโลกได้มากขึ้น รวมทั้งปล่อยให้รังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตส่องผ่านลงมาทำอันตรายกับสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ด้วย

    ก๊าซเรือนกระจก


    ในชั้นบรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซต่าง ๆ หลายชนิดแต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น และลดลงตามคุณสมบัติ ทางเคมีของก๊าซแต่ละชนิด ดังนั้นก๊าซที่มีมากเกินสมดุลของชั้นบรรยากาศจะสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ก๊าซบางชนิดสามารถสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานหลายร้อยปี บางชนิดสะสมอยู่ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปีก็สลายไป ก๊าซเรือนกระจกที่กล่าวถึงนี้ก็เช่นกัน เนื่องจากมันมีปริมาณที่มากเกินสมดุลในชั้นบรรยากาศ มันจึงสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศและสะสมอยู่ได้เป็นเวลานานหลายปี เราอาจแบ่งก๊าซเรือนกระจกได้เป็นสองพวกตามอายุการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ คือ พวกที่มีอายุการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศไม่นาน เนื่องจากก๊าซเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยาได้ดีกับไอน้ำ หรือก๊าซอื่น ๆ จึงทำให้มันมีอายุสะสมเฉลี่ยสั้น ส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีอายุสะสมเฉลี่ยนานหลายปี เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เป็นต้น ก๊าซเหล่านี้นับเป็นก๊าซที่เป็นตัวการหลักของการเกิดภาวะเรือนกระจก เนื่องจากมันมีอายุสะสมเฉลี่ยยาวนาน และสามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ทั้งยังส่งผลกระทบให้ผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทางอ้อมได้ด้วย แม้ว่าจะมีการรณรงค์เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างกว้างขวาง แต่อัตราการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก ก็ยังมีมากขึ้นซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้นเราควรทราบถึงแหล่งที่มา และความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดโดยสังเขปดังนี้

    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านี้ นับว่าเป็นตัวการสำคัญที่สุด ในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี คือ มันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น จากผลการศึกษาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหน่วยงาน IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ประมาณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา รายงานว่ามีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่เมือง หรือการเกษตรมีประมาณ 1.6 Gtc (1.6 5 109 ตันคาร์บอน) ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ และแหล่งอื่นที่เป็นผลมาจากฝีมือ มนุษย์กำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลการศึกษาของ IPCC ยังระบุชัดว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม ในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าก๊าซชนิดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิของผิวโลกและชั้นบรรยากาศจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นต่อไปอีก ล่าสุดนี้หน่วยงาน IPCC ได้รายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นโดยฝีมือมนุษย์นี้ ทำให้พลังงานรังสีความร้อนสะสมบนผิวโลก และชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 วัตต์ ต่อตารางเมตร ในปริมาณนี้ยังไม่คิดรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

    ก๊าซมีเทน

    แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทนมีอยู่มากมายทั้งในธรรมชาติ และที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น จากแหล่งนาข้าว จากการย่อย
    สลายซากสิ่งมีชีวิต จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดก๊าซมีเทนในบรรยากาศสูงถึง 20% ของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาของ IPCC ว่าพื้นที่การเกษตรประเภทนาข้าวในประเทศแถบเอเชีย และออสเตรเลีย มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่มาก และมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ขึ้นกับชนิดและคุณภาพของดินในแต่ละพื้นที่ แม้ว่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ จะมีมากกว่ากรณีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก๊าซมีเทนมีอายุสะสมเฉลี่ยประมาณ 11 ปี นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นสาเหตุให้ผลกระทบโดยตรง อันเนื่องจากภาวะเรือนกระจกโดยก๊าซมีเทนมีน้อยกว่าผลกระทบ อันเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีผลกระทบมากเป็นอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีรายงานว่าพลังงานเฉลี่ยรวม ที่เกิดจากผลกระทบโดยตรงของก๊าซมีเทนประมาณ 0.47 วัตต์ต่อตารางเมตร

    ก๊าซไนตรัสออกไซด์

    แหล่งกำเนิดก๊าซไนตรัสออกไซด์คืออุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด เป็นต้น แม้ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากธรรมชาติจะมีอยู่มากในภาวะปกติก็ตาม แต่อัตราการเพิ่มปริมาณดังกล่าวก็จัดอยู่ในภาวะที่สมดุลในธรรมชาติ ส่วนก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์นั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์ต่อตารางเมตร นับตั้งแต่เริ่มมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นถึงปัจจุบัน

    ก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

    ก๊าซที่มีสารประกอบพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนมีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ แม้ว่าก๊าซประเภทนี้จะมีปริมาณลดลง 40% เมื่อเทียบกับสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ตามมาตรการควบคุมโดยสนธิสัญญามอนทรีออล (Montreal Protocol) แต่ปริมาณก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ยังมีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศโดยฝีมือมนุษย์ ยังคงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีพลังงานความร้อนสะสม บนพื้นผิวโลกประมาณ 0.28 วัตต์ต่อตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบทางอ้อมของก๊าซชนิดนี้ ทำให้เกิดอันตรายต่อบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกมากมาย กล่าวคือก๊าซประเภทนี้สามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง หรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซนอันเป็นสาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกส่องผ่านลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น ทั้งยังทำให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมาตกกระทบผิวโลกในสัดส่วนที่มากเกินภาวะสมดุล นับเป็นการทำให้ผิวโลกและบรรยากาศร้อนขึ้นโดยทางอ้อม

    ผลกระทบโดยตรงของก๊าซเรือนกระจกต่ออุณหภูมิของผิวโลก

    ดังได้กล่าวมาข้างต้นว่าก๊าซเรือนกระจกสามารถส่งผลกระทบโดยตรง คือทำให้โลกมีพลังงานความร้อนสะสมอยู่บนผิวโลกและชั้นบรรยากาศมากขึ้น อันเป็นต้นเหตุให้พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การผันแปรของสภาพภูมิอากาศของโลกและท้องถิ่น จากรายงานของ IPCC ระบุว่าพลังงานความร้อนสะสมรวมเฉลี่ยอันเกิดจากผลกระทบโดยตรงของก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่เริ่มมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นบนโลกมีค่าประมาณ 2.45 วัตต์ต่อตารางกิโลเมตรในขณะที่ผลกระทบทางอ้อมที่มีต่อโอโซนมีค่าประมาณ 0.5 วัตต์ต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรง และทางอ้อมนี้มีมากกว่าผลกระทบจากตัวการอื่น ๆ หลายเท่าดังแผนภูมิในรูปที่ 2 สอดคล้องกับรายงานผลการตรวจวัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วพื้นผิวโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 จนถึงปัจจุบัน ดังกราฟในรูปที่ 3 พบว่าอุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา และสูงขึ้นชัดเจนในปลายศตวรรษนี้ประมาณ 0.3 - 0.6 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย </td> </tr> <tr> <td class="text"> <table width="95%"> <tbody><tr> <td>

    [​IMG]
    รูปที่2 (a)

    [​IMG]

    รูปที่2 (b)

    รูปที่ 2
    แสดงปริมาณพลังงานความร้อนสะสมอันเป็นผลมาจากก๊าซเรือนกระจก โดย (a ) แสดงปริมาณพลังงานความร้อนสะสมอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจก และตัวการอื่นๆ
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">
    (ที่มา "Meteorology and Hydrology for Sustainable Development" by J.P. Bruce, WMO-No. 769, 1992.)

    (b) แสดงปริมาณพลังงานความร้อนสะสมเนื่องจากก๊าซชนิดต่างๆในชั้นบรรยากาศตั้งแต่ปี ค.ศ.1765 ถึง 1990

    (ที่มา "Radiative Forcing of Climate Change" The 1994 Report of the Scientific Assessment Working Group of IPCC) </td> </tr> <tr> <td class="text">
    <table width="95%"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]

    รูปที่ 3 แสดงกราฟการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยทั่วโลก
    </td> </tr></tbody></table>
    (ที่มา “Climate Change 1995” The Science of Climate Change, Summary for Policymakers and Technical Summary of the Working Group I Report, accepted by the IPCC.)</td></tr></tbody></table>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text">การประเมินการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกและผลกระทบ

    จากการที่โลกได้รับพลังงานความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยได้ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง และประเมินผลกระทบ รวมทั้งหาแนวทางการบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไว้ดังนี้

    การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเล


    จากการรวบรวมผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก สามารถสรุปได้ดังนี้

    <table class="logfont" align="right" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="4%">
    [​IMG]
    </td> <td width="96%">ได้มีการตรวจพบว่าอุณหภูมิระดับผิวโลกสูงขึ้นประมาณ 0.3 ถึง 0.6 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยได้พบว่าบริเวณพื้นทวีประหว่างละติจูด 40 ถึง 70 องศาเหนือ เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากที่สุด ในขณะเดียวกันที่บางแห่งเช่นบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือได้มีอุณหภูมิลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="4%">
    [​IMG]
    </td> <td width="96%">โดยทั่วไปพิสัยของอุณหภูมิในรอบวันบนพื้นทวีปมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเมฆในท้องฟ้า ทำให้ช่วงกลางวันมีอุณหภูมิลดลงและอุณหภูมิในช่วงกลางคืนสูงขึ้น และคาดว่าอุณหภูมิบริเวณตอนล่างของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (สูงจากผิวโลกระหว่าง 14 -20 กิโลเมตร) ลดลงเนื่องจากการลดลงของโอโซน และการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="4%">
    [​IMG]
    </td> <td width="96%">สำหรับปริมาณฝนเฉลี่ยในภาคพื้นทวีปในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="4%">
    [​IMG]
    </td> <td width="96%">การระเหยของน้ำในมหาสมุทรเขตร้อนสูงขึ้นสัมพันธ์กับปริมาณไอน้ำในเขตร้อนที่ตรวจวัดได้สูงขึ้น </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="4%">
    [​IMG]
    </td> <td width="96%">พื้นที่หิมะปกคลุมอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="4%">
    [​IMG]
    </td> <td width="96%">ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 1 ถึง 2.5 มิลลิเมตรต่อปีซึ่งเป็นผลกระทบ
    โดยตรงจากการที่อุณหภูมิของบรรยากาศสูงขึ้น ทำให้น้ำทะเลและมหาสมุทรขยายตัวพร้อมกับการละลายของธารน้ำแข็ง </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> <tr> <td class="logfont">การประเมินผลกระทบ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นโดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศ โดยอาศัยสมมุติฐานที่ว่าถ้าหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกในปี ค.ศ.2100 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากระดับปัจจุบัน พบว่าอุณหภูมิผิวพื้นทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 1 ถึง 3.5 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 15 ถึง 95 เซนติเมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งด้านอุทกวิทยา หรือการจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและสุขภาพของมนุษย์ อาทิ เช่น

    ด้านระบบนิเวศน์

    <table class="logfont" align="right" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ป่าไม้
    ประมาณการว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการฟื้นฟูสภาพป่าในหลายแห่งของโลก เป็นที่คาดว่าประมาณหนึ่งในสามของป่าที่มีอยู่ทั่วโลก จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางด้านชนิดพันธุ์พืช โดยการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เกิดขึ้นในบริเวณละติจูดสูง ๆ ส่วนบริเวณเขตร้อนจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%"> พื้นที่น้ำแข็งปกคลุม
    โดยทั่วไปพิสัยของอุณหภูมิในรอบวันบนพื้นทวีปมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเมฆในท้องฟ้า ทำให้ช่วงกลางวันมีอุณหภูมิลดลงและอุณหภูมิในช่วงกลางคืนสูงขึ้น และคาดว่าอุณหภูมิบริเวณตอนล่างของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (สูงจากผิวโลกระหว่าง 14 -20 กิโลเมตร) ลดลงเนื่องจากการลดลงของโอโซน และการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%"> ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง
    การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หรือการเกิดพาย ุและคลื่นซัดฝั่งจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะ การพังทลาย และเกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งมากขึ้น ความเค็มของน้ำในบริเวณปากแม่น้ำและในชั้นน้ำจืดใต้ดินจะเพิ่มขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลง ของระดับน้ำขึ้น-น้ำลง ในแม่น้ำและอ่าวต่าง ๆ รวมทั้งการพัดพาของตะกอน และสารอาหารในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของผู้คนบริเวณนี้ และส่งผลกระทบในทางลบต่อการท่องเที่ยวการจัดหาน้ำจืด การประมง และความหลากหลายทางชีวภาพ</td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> <tr> <td class="logfont"> ด้านโครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์

    การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น จะมีผลกระทบในทางลบต่อการพลังงาน การอุตสาหกรรม การขนส่ง การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การประกันทรัพย์สิน และการท่องเที่ยว ภัยที่เห็นได้ชัดเจนคือ ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ซึ่งได้มีการประมาณการว่าจะมีประชากรประมาณ 46 ล้านคนต่อปีในปัจจุบันที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม เนื่องจากคลื่นพายุซัดฝั่งและหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 50 เซนติเมตร จำนวนประชากรที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะเพิ่มขึ้นเป็น 92 ล้านคน และถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จำนวนผู้เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมจะสูงถึง 118 ล้านคน โดยประชากรของประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ หรือประเทศด้อยพัฒนาจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า เนื่องจากระบบป้องกันชายฝั่งไม่ดีเพียงพอ และประเทศที่มีประชากรหนาแน่นกว่าก็ย่อมได้รับผลกระทบมากกว่าทำให้เกิดการอพยพทั้งภายในประเทศ และข้ามประเทศ

    จากการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุดตามที่ประมาณการสำหรับปี ค.ศ. 2100 พบว่าเกาะเล็กๆและพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำเป็นบริเวณที่เสี่ยงภัยสูง โดยได้ประเมินการสูญเสียแผ่นดินของประเทศต่าง ๆ ถ้าระบบป้องกันภัยมีอยู่เช่นปัจจุบันดังนี้ ประเทศอุรุกวัย สูญเสีย 0.05% อียิปต์ 1% เนเธอร์แลนด์ 6% บังคลาเทศ 17.5% และประมาณ 80% สำหรับเกาะปะการังมาจูโร (Majuro) ในหมู่เกาะมาร์แชล และประชากรที่ได้รับผลกระทบจะมีมากประมาณ 70 ล้านคนในจีนและบังคลาเทศ เป็นต้น

    สำหรับประเทศไทยย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนจะมากน้อยเพียงใดจะต้องมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไป แต่อย่างน้อยก็พอประมาณได้ว่าเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่งของประเทศไทยจะมีการเกิดน้ำท่วมเพิ่มพื้นที่ขึ้น และความรุนแรงมากขึ้นอัตราการกัดเซาะและการพังทลายของพื้นที่ชายฝั่ง จะเพิ่มขึ้นน้ำทะเลจะรุกเข้ามาในแผ่นดิน และแม่น้ำมากขึ้นทำให้ความเค็มในดิน และบริเวณตอนล่างของแม่น้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านที่อยู่อาศัย การเกษตรกรรม การจัดหาน้ำจืด การประมง การท่องเที่ยว เป็นผลให้กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

    การบรรเทาผลกระทบ


    เพื่อไม่ให้ประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรง จากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวแล้ว เราจึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ตามข้อเสนอแนะดังนี้

    <table class="logfont" align="right" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ร่วมกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหินและน้ำมันในกระบวนการผลิต และการขนส่งต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้น้อยลง </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td height="28" width="95%">หันมาใช้แหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล (ซากสิ่งมีชีวิตของพืชและสัตว์) แทนพลังงานจากเชื้อเพลิงต่าง ๆ</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ช่วยกันรักษาป่าที่มีอยู่ และฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ลดการตัดไม้ทำลายป่า และปลูกป่าเพิ่มเติม </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ย ให้เหมาะสมกับชนิดของพืช และหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศให้มากที่สุด </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือนจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การออกแบบอาคารให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการคมนาคม ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเชื้อเพลิง หรือปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> <tr> <td class="logfont">
    ปัจจุบันทั่วโลกได้รณรงค์ เพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง ซึ่งล่าสุดได้มีการประชุมของตัวแทนจากนานาชาติ 160 ประเทศ เพื่อหาทางลดปัญหาโลกร้อนเมื่อวันที่ 1 - 10 ธันวาคม 2540 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมติของที่ประชุมลงความเห็นว่าให้ประเทศอุตสาหกรรม 39 ประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงตั้งแต่ปัจจุบัน จนกระทั้งถึงช่วง พ.ศ. 2551 -2555 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ย 5.2% ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกทั้งหมดในปี 2533 เช่นประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสมาคมยุโรป ถูกกำหนดให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 6% 7% และ 8% ตามลำดับ และได้จัดทำเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นเพื่อให้ทุกประเทศถือปฎิบัติ

    อย่างไรก็ตามการลดประมาณก๊าซเรือนกระจกที่กำนดตามสนธิสัญญาดังกล่าวนั้นยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นปัญหาโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจกยังคงอยู่ต่อไป หรือเพิ่มขึ้นกว่าเดิมก็อาจเป็นไปได้ถ้าทุกคนยังไม่เข้าใจปัญหาและร่วมแก้ไขอย่างจริงจัง


    ที่มาของข้อมูล


    http://www.tmd.go.th



    เอกสารอ้างอิง

    IPCC 1995, Summary for Policymakers of working Groups I, II and III.
    Herbert Riehl, 1965, Introduction to the Atmosphere.
    Robert G, Fleagle, 1963, An Introduction to Atmosphere Physics.
    </td></tr></tbody></table>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ไม่ทราบว่าขอ้มูลที่นำมาเผยแพร่เป็นอย่างไรบ้างครับ

    อยากให้ผมนำเสนอบทความเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมหรือบทความที่เกี่ยวข้องก็โพสท์เข้ามาได้นะครับ จะพยายามหามานำเสนอครับ ยินดีมากหากข้อมูลที่นำมาจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน อย่าลืมเม้นท์มาบ้างนะครับ ยินดีรับฟังทุกโพสท์ครับ
    ขอบคุณครับ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="567"><tbody><tr><td valign="top">ข้อเสนอแหวกแนวเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน</td> </tr> <tr> <td valign="top">7 เมษายน 2550
    </td> </tr> <tr> <td class="Text_Story" valign="top"><!-- [​IMG] [​IMG] ความวิตกเรื่องปัญหาโลกร้อนกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดค้นหนทางแก้ไขแบบสุดแหวกแนว อาทิ การเทสารเจริตอล (Geritol) ลงสู่มหาสมุทร การสร้างฉากกันแดดนอกโลก การทดลองพ่นสารแบบภูเขาไฟระเบิดหรือแม้แต่การสร้างเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


    ถึงแม้นักวิจารณ์จะออกมาโต้เสียงดังว่าวิธีการเหล่านี้ "หลุดโลก" แต่ปรากฏว่าได้มีการทดลองใช้วิธีการดังกล่าวกันไปบ้างแล้ว
    ปัจจุบัน บริษัทหลายแห่งให้เงินสนับสนุนภารกิจเทสารเจริตอลลงสู่มหาสมุทรอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อชดเชยการใช้ทรัพยากรน้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษของตนเอง
    สารเจริตอลนั้น คือ สารเหล็กที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแพลงตอนเนื่องจากแพลงตอนต้องอาศัยสารดังกล่าวในการสังเคราะห์แสง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและสร้างสาหร่ายทะเลที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย
    ถึงแม้การทดลองใช้สารเหล็กเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะประสบความสำเร็จมาแล้วหลายครั้งหลายหนในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แต่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายคนก็ยังห่วงว่าหากมีการใช้สารเหล็กในปริมาณมาก ระบบนิเวศของมหาสมุทรอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรง
    เฉพาะแค่ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท "แพลงโตส อิงค์" จากรัฐแคลิฟอร์เนียได้เทผงเหล็กร่วม 50 ตันลงมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
    "ถ้าเราเทสารแบบนี้ลงไปมาก อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรกับใต้มหาสมุทรจะต้องต่างกันแน่ๆ แล้วสัตว์ทะเลก็จะเดือดร้อน" นายทิม บาร์เน็ตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางทะเลประจำสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ส แสดงความวิตก
    อย่างไรก็ตาม แพลงโตส อิงค์ ยืนยันว่า สารเหล็กที่เทลงสู่ทะเลนั้นน้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำของห้วงมหาสมุทร จึงเป็นหลักประกันได้ว่าสารเหล็กจะไม่ส่งผลเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตในห้วงสมุทร
    "ที่สำคัญ เราคาดว่าเหล็ก 1 ตันที่ลงสู่ห้วงสมุทรจะช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศไปได้ 1 แสนตัน ทีเดียว" เจ้าหน้าที่ของบริษัทกล่าวอย่างมั่นใจ
    ขณะเดียวกัน องค์การนาซา ทุ่มเงินจำนวน 7.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.44 ล้านบาท) เพื่อเติมเต็มรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างฉากกันแดดนอกโลก
    แนวคิดดังกล่าวมาจากนายโรเจอร์ แองเจิล นักดาราศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยอริโซนา ที่เชื่อว่าหากสร้างแผ่นกันแดดกางกั้นระหว่างดวงอาทิตย์และโลกได้ ปัญหาโลกร้อนก็จะคลี่คลายไปได้
    "ผมคิดไว้ว่าฉากกันแดดดังกล่าวน่าจะลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ไปได้ราวร้อยละ 2" นักดาราศาสตร์รายนี้ย้ำ
    นายแองเจิล มั่นใจว่า แนวคิดนี้มีความเป็นไปได้เพราะโลกมีวิทยาการเพียงพอที่จะจัดทำแผ่นกันแดดแล้วส่งแผ่นเหล่านี้ออกไปติดตั้งนอกโลกได้
    หากต้องการสร้างฉากกันแดดนอกโลก นายแองเจิล ประเมินไว้ว่า จะต้องสร้างแผ่นกันแดดขนาด 1 ยาร์ดต่อแผ่นจำนวนทั้งสิ้น 16 ล้านล้านแผ่น
    "จรวดแต่ละลูกน่าจะบรรจุได้ 8 แสนแผ่น ซึ่งหมายความว่าเราน่าจะต้องยิงจรวดประมาณ 20 ล้านครั้ง" นักดาราศาสตร์รายเดิม อธิบาย
    นายแองเจิลชี้ว่าโครงการนี้อาจจะต้องใช้งบประมาณราว 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 130 ล้านล้านบาท) และใช้เวลาดำเนินการอย่างน้อย 30 ปี
    "อย่าไปคิดว่าโครงการนี้ใหญ่เกินกว่าจะทำได้เพราะการที่เราส่งคนออกไปดาวอังคารก็ใช้งบใช้เวลาประมาณนี้แหละ ถ้าเราตระหนักถึงอันตรายของภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าโครงการสร้างฉากกันแดดนอกโลกจะได้รับการยอมรับ" นายแองเจิล กล่าวปิดท้าย
    ด้านศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติอเมริกากำลังหันมาสนใจแนวคิดการสร้างฉากกันแดดนอกโลกด้วยเหมือนกันโดยมีแผนไว้ว่าจะเริ่มศึกษาแนวคิดดังกล่าวอย่างจริงจัง
    ก่อนหน้านี้ ทางศูนย์ได้ลองศึกษาการพ่นผงซัลเฟตสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนมาแล้วเพราะเคยเห็นว่าผงดังกล่าวจากเหตุภูเขาไฟพินาตูโบระเบิดในฟิลิปปินส์เมื่อ 16 ปีก่อนช่วยให้อุณหภูมิโลกเย็นอยู่ได้นานถึง 1 ปีทีเดียวเนื่องจากผลซัลเฟตช่วยสะท้อนแสงแดดออกสู่นอกโลกไปบางส่วน
    "เราสามารถใช้เครื่องพ่น ปืนใหญ่หรือบอลลูนส่งเอาซัลเฟตขึ้นไปอยู่ในอากาศได้ เมื่อทำแล้ว โลกจะร้อนน้อยลงเพราะกั้นแสงอาทิตย์ไปได้บางส่วน แต่มลพิษในอากาศจะเพิ่มขึ้นไปเล็กน้อย ถ้าเราเลือกใช้วิธีนี้ เราก็ต้องชั่งใจว่าปัญหาโลกร้อนกับมลพิษทางอากาศนั้นอย่างไหนร้ายแรงกว่ากัน" นายทอม วิกลีย์ นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติอเมริกาให้ความเห็น
    อย่างไรก็ตาม เพื่อนร่วมงานอย่าง "นายคาสปาร์ อัมมานน์" ค้านหัวชนฝาว่าแนวคิดนี้สมควรทิ้งไปได้เลยเพราะหากจะให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อนแสงมากในระดับเดียวกับที่ภูเขาไฟพินาตูโบทำได้ ผู้ลงมือปฏิบัติจะต้องพ่นสารซัลเฟตมากหลายหมื่นตันขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศต่อเดือน
    "ผมคิดว่าถ้าวิธีการยุ่งยากขนาดนี้ ผมว่าน่าจะไปหาทางแก้ปัญหาโลกร้อนที่ต้นเหตุจะดีกว่า" นายอัมมานน์ แสดงความคิดเห็น
    อีกแนวคิดหลุดโลกว่าด้วยการแก้ปัญหาโลกร้อน คือ การสร้างเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากมันสมองของนายเคลาส์ แล็กเนอร์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
    เกือบสิบปีที่แล้ว นายแล็คเนอร์คิดค้นเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นเพื่อช่วยลูกสาววัยเรียนทำสิ่งประดิษฐ์ไปจัดแสดงในนิทรรศการงานวิทยาศาสตร์
    หลังจากโครงงานของลูกสาวประสบความสำเร็จ นายแล็คเนอร์เลยเกิดแนวคิดว่าเครื่องดังกล่าวอาจจะนำไปใช้แก้ปัญหาระดับโลกได้
    มหาเศรษฐีอย่างนายริชาร์ด แบรนสัน ก็เห็นด้วยว่าเครื่องดักจับคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหา จึงยินดีมอบเงินรางวัลถึง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 814 ล้านบาท) ให้แก่การพัฒนาแนวคิดดังกล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
    นายแล็คเนอร์ มั่นใจว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยอมรับว่าการหาทางกำจัดก๊าซดังกล่าวจะมีต้นทุนมากสักหน่อย
    แต่ไม่ว่านักคิดหัวใสจะพูดว่าอย่างไร นักวิจารณ์บางส่วนยังเห็นว่าการแก้ปัญหาทางธรรมชาติไม่ควรจะใช้วิธีการแบบสุดขั้วอย่างนี้ "ผมมองว่านี่เป็นการกระทำที่เกิดจากความสิ้นหวัง เกิดจากความเชื่อของคนบางคนว่าโลกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง" นายสตีเฟน ชไนเดอร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว
    เรียบเรียงโดย อุริสรา โกวิทย์ดำรงค์แหล่งข้อมูล เอพี

    --> ความวิตกเรื่องปัญหาโลกร้อนกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดค้นหนทางแก้ไขแบบสุดแหวกแนว อาทิ การเทสารเจริตอล (Geritol) ลงสู่มหาสมุทร การสร้างฉากกันแดดนอกโลก การทดลองพ่นสารแบบภูเขาไฟระเบิดหรือแม้แต่การสร้างเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    ถึงแม้นักวิจารณ์จะออกมาโต้เสียงดังว่าวิธีการเหล่านี้ "หลุดโลก" แต่ปรากฏว่าได้มีการทดลองใช้วิธีการดังกล่าวกันไปบ้างแล้ว
    ปัจจุบัน บริษัทหลายแห่งให้เงินสนับสนุนภารกิจเทสารเจริตอลลงสู่มหาสมุทรอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อชดเชยการใช้ทรัพยากรน้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษของตนเอง
    สารเจริตอลนั้น คือ สารเหล็กที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแพลงตอนเนื่องจากแพลงตอนต้องอาศัยสารดังกล่าวในการสังเคราะห์แสง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและสร้างสาหร่ายทะเลที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย
    ถึงแม้การทดลองใช้สารเหล็กเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะประสบความสำเร็จมาแล้วหลายครั้งหลายหนในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แต่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายคนก็ยังห่วงว่าหากมีการใช้สารเหล็กในปริมาณมาก ระบบนิเวศของมหาสมุทรอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรง
    เฉพาะแค่ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท "แพลงโตส อิงค์" จากรัฐแคลิฟอร์เนียได้เทผงเหล็กร่วม 50 ตันลงมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
    "ถ้าเราเทสารแบบนี้ลงไปมาก อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรกับใต้มหาสมุทรจะต้องต่างกันแน่ๆ แล้วสัตว์ทะเลก็จะเดือดร้อน" นายทิม บาร์เน็ตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางทะเลประจำสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ส แสดงความวิตก
    อย่างไรก็ตาม แพลงโตส อิงค์ ยืนยันว่า สารเหล็กที่เทลงสู่ทะเลนั้นน้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำของห้วงมหาสมุทร จึงเป็นหลักประกันได้ว่าสารเหล็กจะไม่ส่งผลเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตในห้วงสมุทร
    "ที่สำคัญ เราคาดว่าเหล็ก 1 ตันที่ลงสู่ห้วงสมุทรจะช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศไปได้ 1 แสนตัน ทีเดียว" เจ้าหน้าที่ของบริษัทกล่าวอย่างมั่นใจ [​IMG]
    ขณะเดียวกัน องค์การนาซา ทุ่มเงินจำนวน 7.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.44 ล้านบาท) เพื่อเติมเต็มรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างฉากกันแดดนอกโลก
    แนวคิดดังกล่าวมาจากนายโรเจอร์ แองเจิล นักดาราศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยอริโซนา ที่เชื่อว่าหากสร้างแผ่นกันแดดกางกั้นระหว่างดวงอาทิตย์และโลกได้ ปัญหาโลกร้อนก็จะคลี่คลายไปได้
    "ผมคิดไว้ว่าฉากกันแดดดังกล่าวน่าจะลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ไปได้ราวร้อยละ 2" นักดาราศาสตร์รายนี้ย้ำ
    นายแองเจิล มั่นใจว่า แนวคิดนี้มีความเป็นไปได้เพราะโลกมีวิทยาการเพียงพอที่จะจัดทำแผ่นกันแดดแล้วส่งแผ่นเหล่านี้ออกไปติดตั้งนอกโลกได้
    หากต้องการสร้างฉากกันแดดนอกโลก นายแองเจิล ประเมินไว้ว่า จะต้องสร้างแผ่นกันแดดขนาด 1 ยาร์ดต่อแผ่นจำนวนทั้งสิ้น 16 ล้านล้านแผ่น
    "จรวดแต่ละลูกน่าจะบรรจุได้ 8 แสนแผ่น ซึ่งหมายความว่าเราน่าจะต้องยิงจรวดประมาณ 20 ล้านครั้ง" นักดาราศาสตร์รายเดิม อธิบาย
    นายแองเจิลชี้ว่าโครงการนี้อาจจะต้องใช้งบประมาณราว 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 130 ล้านล้านบาท) และใช้เวลาดำเนินการอย่างน้อย 30 ปี
    "อย่าไปคิดว่าโครงการนี้ใหญ่เกินกว่าจะทำได้เพราะการที่เราส่งคนออกไปดาวอังคารก็ใช้งบใช้เวลาประมาณนี้แหละ ถ้าเราตระหนักถึงอันตรายของภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าโครงการสร้างฉากกันแดดนอกโลกจะได้รับการยอมรับ" นายแองเจิล กล่าวปิดท้าย
    ด้านศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติอเมริกากำลังหันมาสนใจแนวคิดการสร้างฉากกันแดดนอกโลกด้วยเหมือนกันโดยมีแผนไว้ว่าจะเริ่มศึกษาแนวคิดดังกล่าวอย่างจริงจัง
    ก่อนหน้านี้ ทางศูนย์ได้ลองศึกษาการพ่นผงซัลเฟตสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนมาแล้วเพราะเคยเห็นว่าผงดังกล่าวจากเหตุภูเขาไฟพินาตูโบระเบิดในฟิลิปปินส์เมื่อ 16 ปีก่อนช่วยให้อุณหภูมิโลกเย็นอยู่ได้นานถึง 1 ปีทีเดียวเนื่องจากผลซัลเฟตช่วยสะท้อนแสงแดดออกสู่นอกโลกไปบางส่วน
    "เราสามารถใช้เครื่องพ่น ปืนใหญ่หรือบอลลูนส่งเอาซัลเฟตขึ้นไปอยู่ในอากาศได้ เมื่อทำแล้ว โลกจะร้อนน้อยลงเพราะกั้นแสงอาทิตย์ไปได้บางส่วน แต่มลพิษในอากาศจะเพิ่มขึ้นไปเล็กน้อย ถ้าเราเลือกใช้วิธีนี้ เราก็ต้องชั่งใจว่าปัญหาโลกร้อนกับมลพิษทางอากาศนั้นอย่างไหนร้ายแรงกว่ากัน" นายทอม วิกลีย์ นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติอเมริกาให้ความเห็น
    อย่างไรก็ตาม เพื่อนร่วมงานอย่าง "นายคาสปาร์ อัมมานน์" ค้านหัวชนฝาว่าแนวคิดนี้สมควรทิ้งไปได้เลยเพราะหากจะให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อนแสงมากในระดับเดียวกับที่ภูเขาไฟพินาตูโบทำได้ ผู้ลงมือปฏิบัติจะต้องพ่นสารซัลเฟตมากหลายหมื่นตันขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศต่อเดือน
    "ผมคิดว่าถ้าวิธีการยุ่งยากขนาดนี้ ผมว่าน่าจะไปหาทางแก้ปัญหาโลกร้อนที่ต้นเหตุจะดีกว่า" นายอัมมานน์ แสดงความคิดเห็น
    อีกแนวคิดหลุดโลกว่าด้วยการแก้ปัญหาโลกร้อน คือ การสร้างเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากมันสมองของนายเคลาส์ แล็กเนอร์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
    เกือบสิบปีที่แล้ว นายแล็คเนอร์คิดค้นเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นเพื่อช่วยลูกสาววัยเรียนทำสิ่งประดิษฐ์ไปจัดแสดงในนิทรรศการงานวิทยาศาสตร์
    หลังจากโครงงานของลูกสาวประสบความสำเร็จ นายแล็คเนอร์เลยเกิดแนวคิดว่าเครื่องดังกล่าวอาจจะนำไปใช้แก้ปัญหาระดับโลกได้
    มหาเศรษฐีอย่างนายริชาร์ด แบรนสัน ก็เห็นด้วยว่าเครื่องดักจับคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหา จึงยินดีมอบเงินรางวัลถึง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 814 ล้านบาท) ให้แก่การพัฒนาแนวคิดดังกล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
    นายแล็คเนอร์ มั่นใจว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยอมรับว่าการหาทางกำจัดก๊าซดังกล่าวจะมีต้นทุนมากสักหน่อย
    แต่ไม่ว่านักคิดหัวใสจะพูดว่าอย่างไร นักวิจารณ์บางส่วนยังเห็นว่าการแก้ปัญหาทางธรรมชาติไม่ควรจะใช้วิธีการแบบสุดขั้วอย่างนี้
    "ผมมองว่านี่เป็นการกระทำที่เกิดจากความสิ้นหวัง เกิดจากความเชื่อของคนบางคนว่าโลกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง" นายสตีเฟน ชไนเดอร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว


    เรียบเรียงโดย อุริสรา โกวิทย์ดำรงค์


    แหล่งข้อมูล เอพี


    http://www.komchadluek.net

    </td></tr></tbody></table>
     
  5. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ขอบคุณครับน้อง Vanco หาข้อมูลได้ลึกดี เนื้อหามีสาระประโยชน์มากๆด้วย..กำลังตามอ่านอยู่นะครับ..
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ขอบคุณครับ เป็นกำลังใจอย่างดีเลยครับ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้เองซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอดีต เช่น สาเหตุที่ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งซึ่งปัจจุบัน ยังหาข้อสรุปถึงสาเหตุที่แน่นอนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นเรื่องในอดีต ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากตามจุดทางธรณีวิทยา และระยะเวลา 10 - 20 ปี ที่ผ่านมานี้ พบว่า ค่าของธาตุประกอบภูมิอากาศที่ตรวจวัดได้ แตกต่างไปจากค่าปกติทางสถิติ สรุปได้ว่าตามธรรมชาติแล้ว ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป นั่นคือ ไม่สามารถที่จะกล่าวได้อีกแล้วว่า ภูมิอากาศคงที่แต่กล่าวได้ว่า ภูมิอากาศมิได้อยู่นิ่ง ยิ่งกว่านั้น ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสนใจ และรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกเช่นเดียวกัน สาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และเมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะมีผลกระทบต่อไปในอนาคตอย่างไร เหตุผลที่ทำให้มนุษย์ให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สรุปได้ดังนี้

    <table class="logfont" align="center" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">จากรายละเอียดการเกิดภูมิอากาศในอดีต ชี้ให้เห็นว่า ภูมิอากาศผันแปรอยู่ตลอดเวลา และเชื่อว่าภูมิอากาศในอนาคตจะแตกต่างจากปัจจุบัน</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">จากการวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ และอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีส่วนทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%"> จากหลักฐานที่ตรวจวัดได้ พบว่า อย่างน้อยที่สุดมีบางลักษณะที่บ่งบอกว่า ภูมิอากาศของโลกผันแปรมากยิ่งขึ้น</td> </tr> </tbody></table>

    อย่างก็ตามอุณหภูมิในฤดูหนาวของปีหนึ่งสูงกว่าในฤดูหนาวที่ผ่านมา หรือพบว่า ในฤดูร้อนของปีหนึ่งเกิดความแห้งแล้งมากที่สุด เท่าที่เคยเป็นมาในอดีต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลง จากหลักฐานการบันทึกสภาพอากาศที่ผิดปกติในอดีตที่ผ่านมา ไม่สามารถนำมาเป็นตัวกำหนดสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตได้ ข้อมูลหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมาเป็นเพียงเครื่องชี้ถึงแนวโน้มภูมิอากาศเท่านั้น ซึ่งยังเป็นที่ถกเกียงกันอยู่ในระหว่างนักวิทยาศาสตร์บรรยากาศเนื่องจาก ค่าธาตุประกอบภูมิอากาศที่ตรวจอากาศที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือ ย้อนหลังขึ้นไปได้อย่างมากที่สุดเพียง 200 ปี เท่านั้น นั่นคือ นักวิทยาศาสตร์ทราบถึงลักษณะภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศก่อนหน้านี้ได้อย่างไร คำตอบคือได้จากหลักฐานทางอ้อม เช่น การตรวจสอบและวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเทคนิคที่สำคัญ และน่าสนใจมากที่สุด

    ในการวิเคราะห์ความเป็นมาของภูมิอากาศโลกในระยะเวลา 100 - 1,000 ปี ที่ผ่านมาคือ การวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร และการวิเคราะห์ไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน

    1. การวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร แม้ว่าตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรมีหลายชนิด แต่ทุกชนิดจะมีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตรวมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยมีชีวิตอยู่ใกล้ ๆ ผิวหน้าน้ำเมื่อเสียชีวิต ส่วนประกอบที่เป็นของแข็งจะจมลงสู่ท้องมหาสมุทรอย่างช้า ๆ ต่อมาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตะกอน ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรจะมีประโยชน์มาก ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีตได้เป็นอย่างดีเพราะว่า จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยใกล้ ๆ ผิวหน้าน้ำ จะเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่ง Richard Foster Flint อธิบายว่า "บริเวณรอยต่อระหว่างผิวหน้าน้ำกับอากาศอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของผิวหน้าน้ำในมหาสมุทร จะเท่ากับอุณหภูมิของอากาศที่อยู่ติดกัน อุณหภูมิที่สมดุลย์ระหว่างผิวหน้าน้ำมหาสมุทรกับอากาศที่อยู่เหนือขึ้นไปนี้ หมายความว่า การเแปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใกล้ผิวหน้าน้ำตามไปด้วย จากการวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรปรากฎว่า ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเปลือกของ Pelagie foraminifers ซึ่งสัตว์จำพวกนี้อ่อนไหวต่อการผันแปรของอุณหภูมิของน้ำมาก นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเห็นได้ชัด

    จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรเป็นแหล่งข้อมูล ที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลในการขยายความเข้าสภาพภูมิอากาศในอดีต

    2. การวิเคราะห์ไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน วิธีการนี้เป็นการหาอัตราส่วน ระหว่างไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน 2 ชนิด คือ 16O กับ 18O ไอโซโทปของ 16O เบากว่า 18O นั่นคือ 16O ระเหยจากมหาสมุทรในรูปของไอน้ำได้ง่ายกว่า เมื่อไอน้ำนี้ควบแน่นและตกลงมาในรูปของหยาดน้ำฟ้า หยาดน้ำฟ้าจึงเต็มไปด้วย 16O ส่วน 18O จะสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ระหว่างช่วงเวลาที่เกิดธารน้ำแข็งแผ่เป็นบริเวณกว้างนั้น ปริมาณ 18O ในน้ำทะเลจะเพิ่มสูงมากขึ้น ในทางกลับกัน ในยุคที่โลกร้อนขึ้น ประมาณน้ำแข็งละลายหายไปอย่างรวดเร็ว ปริมาณ 18O เมื่อเปรียบเทียบกับ 16O ในน้ำทะเลลดลงด้วย ถึงเวลานี้ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ จะสร้างเปลือกที่ประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต ป้องกันตนเอง อัตราส่วนของ 18O กับ 16O วิเคราะห์ได้จากเปลือกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ที่ผสมอยู่ในตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร ความผันแปรของไอโซโทปก๊าซออกซิเจนที่วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง จะบ่งบอกถึงความผันแปรของภูมิอากาศในอดีตได้เป็นอย่างดี

    นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราส่วนของไอโซโทปก๊าซออกซิเจน 18O กับ 16O มีผลมาจากอุณหภูมิอีกด้วยกล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น 18O จะระเหยออกได้มาก หากอุณหภูมิของน้ำลดลง 18O จะระเหยออกได้น้อยกว่า ดังนั้น ไอโซโทปก๊าซออกซิเจนที่หนักกว่า (18O) จะมีอยู่มากในหยาดน้ำฟ้ายุคที่อากาศร้อนขึ้น และจะมีอยู่น้อยในยุคที่อากาศหนาวเย็นลง นักวิทยาศาสตร์ใช้หลักการศึกษาชั้นน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งสามารถคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีตได้ยังมีวีธีการต่าง ๆ อีกมากมายที่ใช้ในการศึกษาภูมิอากาศในอดีต เนื่องจากภูมิอากาศมีอิทธิพลโดยตรงอย่างใกล้ชิดต่อการกำเนิดดิน และการเจริญเติบโตตลอดจนธรรมชาติของพืชพรรณ นั่นคือ การวิเคราะห์ดินและการวิเคราะห์วงปีของต้นไม้ ก็สามารถนำมาใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่า ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศก็ตาม แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ระบุในบันทึกนั้น เช่น ภาวะน้ำท่วม ความแห้งแล้ง หรือการย้ายถิ่นของประชากร เป็นไปได้ว่า เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากหลักฐานต่าง ๆ ในอดีต จะต้องระบุเวลาของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยว่าเกิดขึ้นเมื่อไร แม้ว่าผลจากการศึกษาสามารถนำมาคาดหมายแนวโน้ม และความผันแปรของภูมิอากาศ ในอนาคตได้โดยอาศัยเหตุและผล แต่อาจผิดพลาด ได้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยามาเป็นเวลานาน อาจมีข้อผิดพลาดได้เช่นกัน ซึ่ง Howard J. Crichfield สรุปว่า "ข้อมูลภูมิอากาศที่ได้จากการตรวจวัดมาเป็นเวลานาน อาจมีข้อผิดพลาดได้ ประการแรก คือ ผิดพลาดจากกระบวนการตรวจวัด เช่น คำนวณผิด การติดตั้งเครื่องมือเหนือพื้นดินไม่ได้มาตรฐาน ค่าผิดพลาดนี้อาจเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลถึงการคาดหมายแนวโน้มต่อไปข้างหน้าด้วย ประการที่สอง การเคลื่อนย้ายสถานีตรวจอากาศ ไปยังสถานที่แห่งใหม่ นับเป็นการทำลายการบันทึกที่มีคุณค่า สำหรับวัตถุประสงค์ในการศึกษา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากสถานีตรวจอากาศตั้งอยู่ที่เดิมนานเป็นศตวรรษ แล้วการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณธรรมชาติ การระบายน้ำ สิ่งก่อสร้างรอบ ๆ สถานี และภาวะมลพิษทางอากาศสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากกว่าจากวิธีการอื่น ๆ ดังนั้นจะต้องทำการตรวจวัด ตรวจสอบ และเปรียบเทียบ ธาตุประกอบภูมิอากาศอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การศึกษาการผันแปรของภูมิอากาศได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

    ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ


    มีข้อสมมุติฐานมากมายที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ บางข้อสมมุติฐานได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในสมัยหนึ่ง ต่อมาภายหลังได้รับการเชื่อถือลดน้อยลง และบางกรณีถูกหยิบยกขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม คำอธิบายบางอย่างที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังหาข้อยุติไม่ได้ เพียงแต่คาดว่าเท่านั้นเนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ในบรรยากาศของโลกกว้างขวางและสลับซับซ้อนมาก ไม่สามารถทำการทดลองได้ ดังนั้น การศึกษากระบวนการทางภูมิอากาศ เหมาะที่ต้องใช้แบบทดลองทางคณิตศาสตร์โดยอาศัยคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แบบจำลองที่ว่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการศึกษากระบวนการทางบรรยากาศระยะยาว ที่ก่อให้เกิดเป็นภูมิอากาศของโลก แม้ว่าแบบจำลองนี้ทันสมัยพอที่จะเป็นเครื่องมือเบื้องต้นสำหรับการวิจัยภูมิอากาศได้ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงความสลับซับซ้อนของบรรยากาศปัจจุบันได้ นั่นคือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ แม้จะมีศักยภาพสูงและจำเป็นมาก แต่การพยากรณ์ภูมิอากาศตามแบบจำลองนี้ ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ข้อสมมุติฐานปัจจุบันที่เชื่อกันว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งแต่ละข้อสมมุติฐานได้รับการสนับสนุน จากนักวิทยาศาสตร์มากน้อยแตกต่างกัน คือ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ภูเขาไฟระเบิด การเปลี่ยนแปลงทางดาราศาสตร์ และความผันแปรพลังงานดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ บางลักษณะจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวนานมาก และค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเมื่อ 1 ล้านปีผ่านมา จะนำทฤษฎีเดียวกันนี้มาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นภายใน 100 ปี ไม่ได้ ถ้าหากเข้าใจธรรมชาติของบรรยากาศ และการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาอย่างดีแล้ว ข้อสมมุติฐานต่าง ๆ เหล่านี้ ผนวกกับแนวความคิดอื่น ๆ จะเป็นตัวการสำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

    การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    เมื่อประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมานี้เอง ทฤษฎีที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (Plate Techtonics Theory) ได้รับความสนใจจากนักธรณีวิทยาอย่างกว้างขวาง ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ส่วนนอกสุดของโลกที่เรียกว่าเปลือกโลก ประกอบด้วย ชิ้นส่วนเดี่ยว ๆ หลายชิ้นรวมอยู่ด้วยกันโดยลอยอยู่บนหินเหลวที่รอบข้างล่าง ต่อมาชิ้นส่วนเหล่านี้เคลื่อนที่ออกจากกัน จนกระทั่งอยู่ในตำแหน่งปัจจุบันซึ่งคือผืนแผ่นดินทวีปต่าง ๆ จากทฤษฎีนี้ไม่เพียงแต่ทำให้นักธรณีวิทยาเข้าใจ หรือสามารถอธิบายกระบวนการและลักษณะต่าง ๆ ของเปลือกโลกได้ จากที่เมื่อก่อนนี้ไม่สามารถอธิบายได้ ยังทำให้นักภูมิอากาศสามารถอธิยาย การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่ผ่านมาในอดีตได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ไม่สามารถอธิบายได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การที่ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำแข็งปรากฎอยู่ที่อาฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ และอินเดีย เชื่อว่าภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านี้ ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในยุคน้ำแข็ง ปลายยุค Paleozoic ประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว มาก่อน ลักษณะเช่นนี้เป็นที่สงสัยของนักวิทยาศาสตร์เป็นเวลานานหลายปี ลักษณะภูมิอากาศในละติจูดเขตร้อน ครั้งหนึ่งเคยเหมือนกับภูมิอากาศที่เป็นอยู่บนเกาะกรีนแลนด์ และแอนตาร์กติกา ด้วยหรือไม่ ซึ่งไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ จนกระทั่งค้นพบ และพิสูจน์ได้เกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยการเคลื่นที่ของเปลือกโลก ทำให้มีปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า บริเวณที่ยังคงปรากฎธารน้ำแข็งโบราณอยู่นั้น เคยอยู่รวมกันเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน ที่เรียกว่า "Supercontinent" ซึ่งอยู่ในเขตละติจูดสูง ทางขั้วโลกใต้ห่างไกลจากตำแหน่งปัจจุบันมาก ต่อมาแผ่นดินนี้แตกออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นเคลื่อนที่ออกจากกันอย่างช้าๆ จนกระทั่งอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน ธารน้ำแข็งที่แตกออกตามชิ้นส่วนของแผ่นดิน จะติดไปกับชิ้นแผ่นดินนั้นด้วย ทำให้ปัจจุบันมีธารน้ำแข็งกระจายอยู่ในบริเวณกึ่งเขตร้อนได้การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก นอกจากทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงโดยตรงแล้ว ยังทำให้การหมุนเวียนของกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงไปด้วย เกิดการเปลี่ยนแปลงการถ่ายเทความร้อนและความชื้น ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกทางหนึ่ง เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเป็นไปช้ามาก ในอัตรา 2 - 3 ซ.ม./ปี นั้นคือ จะรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของทวีป ต้องใช้เวลาที่ยาวนานมากตามยุคทางธรณีวิทยาเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก จะเป็นไปอย่างช้า ๆ เช่นเดียวกันซึ่งต้องใช้เวลานานนับล้านปี การจะนำทฤษฎีที่ว่าด้วยเคลื่อนที่ของเปลือกโลก มาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 10 ปี 100 ปี หรือ 1,000 ปี จะไม่ได้ผล ต้องศึกษาจากทฤษฎีอื่น

    ภูเขาไฟระเบิดกับการเปลี่ยนแปลง

    แนวความคิดเกี่ยวกับการระเบิดภูเขาไฟ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป ได้รับความสนใจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาครั้งแรกเมื่อหลายปีมาแล้ว และปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีเหตุผลเพียงพอ ในการอธิบายลักษณะบางอย่างของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ การระเบิดของภูเขาไปจะพ่นก๊าซ และเศษวัสดุที่ละเอียดมาก ๆ จำนวนมหาศาลเข้าสู่บรรยากาศ การระเบิดที่รุนแรงมาก ๆ จะมีกำลังมากพอที่จะพ่นเศษวัสดุต่าง ๆ เล่านี้ขึ้นไปได้สูงมากถึงบรรยากาศ ชั้นสเตรโตเฟียร็ ซึ่งจะกระจายแผ่ออกไปทั่วโลก และจะยังคงล่องลอยอยู่ในบรรยากาศนานหลายเดือนหรืออาจนานมากเป็นปี อิทธิพลที่สำคัญอันแรกทีเกิดจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ คือเป็นตัวการขวางกั้นพลังงานรังสี ดวงอาทิตย์ที่แผ่ลงมายังผิวพื้นโลกให้ลดน้อยลง มีผลทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศชั้นทรอพอเฟียร์ ลดต่ำลง เมื่อประมาณ 200 ปี มาแล้ว Benjamin Franklin ใช้แนวความคิดนี้อธิบายว่า เถ้าถ่านที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไป Icelandic เป็นตัวการสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ ทำให้อากาศหนาวเย็นผิดปกติ ในระหว่างฤดูหนาว ค.ศ. 1783 - 1784

    นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอิทธิพลของภูเขาไประเบิดที่มีต่อความหนาวเย็นอย่างผิดปกติของอากาศอีกเช่น การเกิดอากาศหนาวเย็นผิดปกติในสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1816 จนได้ชื่อว่า "ปีที่ไม่มีฤดูร้อน" ภายหลังจากการระเบิดของภูเขาไฟ Tambora ประเทศอินโดนีเซีย ใน ค.ศ. 1815 อิทธิพลของภูเขาไฟระเบิดที่มีต่อภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันนี้อีก เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ Krakatoa ใน ค.ศ. 1883 ภูเขาไฟ Agung ใน ค.ศ. 1963 และเมื่อไม่นานมานี้มีภูเขาไฟระเบิดที่สำคัญ 2 ลูก ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ สามารถเห็นผลกระทบที่มีต่ออุณหภูมิของโลกได้ คือ ภูเขาไฟ St. Helens ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1980 และภูเขาไฟ EI Chichon ประเทศเม็กซิโก ใน ค.ศ. 1982 จากการระเบิดของภูเขาไฟทั้ง 2 ลูกนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในอดีต ในการศึกษาอิทธิพลของภูเขาไฟระเบิดที่มีต่อบรรยากาศ คือ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมซึ่ง สามารถตรวจจับเมฆที่เกิดจากเถ้าถ่าน และก็าซที่พ่นออกมาจากภูเขาไฟอย่างใกล้ชิด

    ขณะภูเขาไฟ St. Helens ระเบิด คาดหมายทันทีทันใดว่า จะมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศอย่างแน่นอนแต่จากการติดตามอย่างใกล้ชิด พบว่า มีผลกระทบในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แทบจะไม่มีผลกระทบต่อภูมิอากาศในระยะยาวเลย กล่าวคือ ทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลงน้อยมากอาจน้อยกว่า 0.1 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่เด่นชัดพอที่แบ่งแยกการผันแปรของอุณหภูมิอันเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ ได้

    และจากการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟ El Chichon พบว่า ในระยะเวลา 2 ปี ภายหลังจากการระเบิดของภูเขาไฟนี้ ทำให้อุณหภูมิของโลกเย็นลง 0.3 - 0.5 องศาเซลเซียส แม้ว่าภูเขาไฟ El Chichon จะรุนแรงน้อยกว่า ภูเขาไฟ St. Helens แต่มีผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจาก เถ้าถ่านที่พ่นออกมาจากภูเขาไฟ St. Helens มีขนาดใหญ่ ตกลงสู่พื้นได้ในระยะเวลาอันสั้น ส่วนเถ้าถ่านจากภูเขาไฟ El chichon ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบมากกว่า (ประมาณมากกว่า 40 เท่า) จากภูเขาไฟ St. Helens ก๊าซเหล่านี้เมื่อรวมกับไอน้ำในบรรยากาศชั้นสเตรโตเฟียร์ จะกลายเป็นเมฆหนาทึบที่ประกอบด้วย หยดกรดกำมะถันขนาดเล็กมาก ๆ เมฆชนิดนี้ใช้เวลานานหลายปีที่จะสลายหายไปหมดอย่างสมบูรณ์ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศชั้นทรอพอเฟียร์ลดลง เนื่องจากหยดน้ำสามารถดูดซับพลังงาน รังสีดวงอาทิตย์ไว้ได้ส่วนหนึ่ง และกระเจิงกลับสู่อวกาศได้อีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันปรากฎชัดแล้วว่า เมฆเถ้าถ้านภูเขาไฟสามารถล่องลอยอยู่ในบรรยากาศชั้นสเตรโตเฟียร์ได้เป็นเวลานานตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป และส่วนใหญ่ประกอบด้วยหยดกำมะถัน ไม่ใช่ผงฝุ่นดังที่เข้าใจกันมาแต่ก่อน นั่นคือ จำนวนเถ้าถ่านที่ปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ไม่ได้เป็นบรรทัดฐานที่ดีที่สุดในการพยากรณ์อิทธิพลของภูเขาไฟระเบิดที่มีต่อบรรยากาศโลก

    จะเห็นว่าอิทธิพลของการระเบิดของภูเขาไฟ El Chichon ที่มีต่ออุณหภูมิของโลกค่อนข้างน้อย แต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเห็นพ้องกันว่า การลดลงของอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น มีผลทำให้การหมุนเวียนทั่วไปของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาเดียวกันนั้นด้วย การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้อาจมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศในบางภูมิภาคได้ อย่างก็ตาม การพยากรณ์หรือการพิสูจน์ถึงอิทธิพลของภูเขาไประเบิดที่มีต่อภูมิอากาศนั้น ปัจจุบันยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายของนักวิทยาศาสตร์บรรยากาศ

    จากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เป็นผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเพียงลูกเดียวที่ค่อนข้างเล็ก ไม่รุนแรง และสิ้นสุดภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้าเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่ ระเบิดรุนแรงหลายครั้ง และใช้เวลานานแล้ว บรรยากาศชั้น สเตรโตเฟียร์ จะเต็มไปด้วยก๊าซและเถ้าถ่านที่ถูกปลดปล่อยออกมาภูเขาไฟ มากพอที่จะทำให้ประมาณรังสีดวงทิตย์ที่จะลงมาถึงผิวพื้นโลกลดลงมากอย่างน่าเป็นห่วง แต่จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ยังไม่เคยปรากฎการระเบิดของภูเขาไฟที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้มาก่อน ที่กล่าวกันมากที่สุดถึงความเป็นไปได้ ของอิทธิพลภูเขาไฟระเบิด ที่มีต่อภูมิอากาศก่อนยุคประวัติศาสตร์ คือการเกิดยุคน้ำแข็งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำนวนน้อย ที่ยังคงมีความเห็นว่าภูเขาไประเบิด เป็นตัวการสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดยุคน้ำแข็ง

    http://www.tmd.go.th

     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ทฤษฎีทางดาราศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    ทฤษฎีทางดาราศาสตร์ อยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ มีผลต่อภูมิอากาศ เนื่องจาก การกระจายของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกลงมายังผิวโลกตามเส้นละติจูดต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จะทำให้ฤดูกาลในภูมิอากาศต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลงด้วยอย่างเป็นลูกโซ่" แนวความคิดเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงแนววงโคจร ของโลกรอบดวงอาทิตย์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพิ่งได้รับความสนใจในต้นศตวรรษที่ 19 นี้โดยที่ Milutin Milankovitch นักดาราศาสตร์ชาวยูโกสลาเวีย ได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จากข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

    1. การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (Eccentricity)
    2. การเอียงของแกนโลกจากเส้นตั้งฉากกับระนาบการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ (Obliquity) เปลี่ยนแปลงไป
    3. การแกว่ง ไป - มา ของแกนโลกขณะหมุนรอบตัวเอง (Precession)

    1. การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์


    แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี) จะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตามแต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด (Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 3 มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง 20 - 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด

    2. การเอียงของแกนโลกจากเส้นตั้งฉากกับระนาบการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์


    เปลี่ยนแปลงไป การเอียงของแกนโลกจากเส้นตั้งฉากกับระนาบการหมุนของโลกดวงอาทิตย์ เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ในการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามฤดูกาล ปัจจุบันมุมที่แกนโลกเอียงจากเส้นตั้งฉาก กับระนาบการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ 23.5 องศา มุมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบประมาณ 41,000 ปี โดยจะผันแปรอยู่ระหว่าง 22.1 - 24.5 องศา เมื่อมุมเอียงนี้เปลี่ยนแปลงไปความรุนแรงของฤดูกาล จะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถ้าเอียงน้อยความแตกต่างของอุณหภูมิในระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อนจะน้อย เชื่อกันว่า ความแตกต่างระหว่างฤดูกาลที่ลดลงนี้ ทำให้ทุ่งน้ำแข็งแผ่ขยายกว้างมากขึ้น เนื่องจากเมื่ออากาศในฤดูหนาวร้อนขึ้น ความจุไอน้ำของอากาศจะสูงขึ้นด้วยตามอุณหภูมิ นั่นคือ หิมะจะตกมากขึ้น และในทางกลับกัน ฤดูร้อนอากาศเย็นลง ซึ่งหมายถึงว่า หิมะละลายได้น้อยลงเป็นเหตุทำให้ทุ่งน้ำแข็งขยายกว้างขึ้น

    3. การแกว่งไป - มา ของแกนโลกขณะหมุนรอบตัวเอง

    ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองแกนของโลกจะแกว่งเหมือนลูกข่าง ปัจจุบันแกนโลกชี้ไปยังดาว Polaris ที่เรียกวาดาวเหนือ (North Star) ประมาณ ค.ศ. 14,000 แกนโลกจะชี้ไปยังดาว Vega ซึ่งกลายเป็นดาวเหนือแทน เมื่อถึงตอนนั้นโลกจะทำการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ ระยะเวลาที่แกนของโลกแกว่งไปและแกว่งมา กลับตำแหน่งเดิม ประมาณ 26,000 ปี นั่นคือ ดาว Polaris จะกลับมาเป็นดาวเหนืออีกครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 27,000 ผลที่เกิดจากการแกว่งของแกนโลกนี้ ภูมิอากาศจะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกันอย่างแน่นอน กล่าวคือ เมื่อแกนโลกชี้ไปยังดาว Vega ในอีกประมาณ 12,000 ปีข้างหน้า ตำแหน่ง Winter Solstice และ Summer Solstice ในวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ปัจจุบันจะสลับกัน ดังนั้นซีกโลกเหนือจะเกิดเป็นฤดูหนาวขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด และฤดูร้อนจะเกิดขึ้นขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ฤดูกาลที่แตกต่างกันนี้จะรุนแรงมากขึ้น ฤดูหนาวมากขึ้น และฤดูร้อนจะร้อนมากขึ้น จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    Milankovitch ใช้ข้อมูลทั้ง 3 นี้

    ในการคำนวณความผันแปรของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ และอุณภูมิที่ผิวพื้นโลกย้อนหลังไปในอดีต เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทั้ง 3 กับการผันแปรของภูมิอากาศยุคน้ำแข็ง จากการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทั้ง 3 มีผลเพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่มีเลยต่อปริมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ได้รับเฉลี่ยรายปี แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดความแตกต่างระหว่างฤดูกาล

    นับตั้งแต่การทำงานเริ่มแรกของ Milankovitch ในการคำนวณการเปลี่ยนแปลงวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย ์และปริมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่ผิวพื้นโลก หลาย ๆ ครั้ง ได้มีการตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งแก้ไขให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ทฤษฎีทางดาราศาสตร์นี้ ในสมัยหนึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเป็นเวลาหลายปี ต่อมาได้รับการความเชื่อถือน้อยลง และปัจจุบันจากการศึกษา พบว่า สามารถนำทฤษฎีนี้อธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศบางอย่างได้

    การศึกษาอย่างหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ที่เพิ่มความน่าเชื่อถือ และสนับสนุนทฤษฎีทางดาราศาสตร์ คือ การสำรวจตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร จากการวิเคราะห์ไอโซโทปก็าซออกซิเจน และองค์ประกอบทางเคมีที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต พบว่าสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศย้อนหลังได้ถึง 450,000 ปี นำการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ได้นี้ เปรียบเทียบกับการคำนวณทางดาราศาสตร์เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงการเอียงของแกนโลกกับเส้นตั้งฉาก จากกระนาบการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ และการแกว่งของแกนโลกขณะหมุนรอบตัวเอง เพื่อตรวจสอบว่า ภูมิอากาศในอดีตกับการเปลี่ยนแปลงทางดาราศาสตร์ดังกล่าวนี้ตรงกันหรือไม่ แม้ว่าการศึกษาจะเข้าใจยากและใช้คณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อน Lutgens and Taruck เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในรอบหลายแสนปี ที่ผ่านมามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงทางเรขาคณิต ของแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากพบว่า วงจรการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตรงกับช่วงเวลาที่เกิด Eccentricity Obiquity และ Precession นอกจากนี้ Lutgens and Taruck ยังเน้นว่า "การเปลี่ยนแปลงทางเรขาคณิตของแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นสาเหตุหลักของการทำให้เกิดยุคน้ำแข็ง" อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องนี้ยังคงดำเนินการต่อไป เพื่อการคาดหมายแนวโน้มของภูมิอากาศในอนาคต แต่การศึกษาตามทฤษฎีทางดาราศาสตร์มีข้อเสีย 2 ประการ คือประการแรก ใช้ข้อมูลธรรมชาติเท่านั้นเป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยไม่คำนึงถึงอิทธิพลจากการกระทำของมนุษย์ ประการที่สอง ระยะเวลาที่คาดหมายยาวนานเกินไป ตั้งแต่ 20,000 ปี ขึ้นไป ดังนั้นถึงแม้การคาดหมายจะถูกต้อง แต่จะไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศภายในช่วงเวลา 10 - 100 ปี เพราะว่าวงจรในทฤษฎีทางดาราศาสตร์ยาวนานเกินไปสำหรับวัตถุประสงค์การคาดหมายภูมิอากาศระยะเวลาสั้น ๆ หากไม่มีอิทธิพลของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว จากการศึกษาคาดว่าแนวโน้มระยะยาว (20,000 ปีข้างหน้า) ภูมิอากาศของโลกจะเย็นลง ธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือจะแผ่ขยายกว้างขึ้นจากการวิจัยในเวลาต่อมา ทฤษฎีทางดาราศาสตร์ ได้รับการยอมรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ดังรายงานในปี ค.ศ. 1982 รายงานว่า " จากการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว พบว่า การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ยังคงเป็นกลไกที่สำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากที่สุด ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในระยะเวลา 10,000 ปี และเป็นที่ปรากฎชัดว่า จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในบรรยากาศชั้นล่างของโลก"

    มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หากทฤษฎีทางดาราศาสตร์ สามารถอธิบายถึงการเกิดยุคน้ำแข็งได้จริงแล้วเหตุใดธารน้ำแข็ง จึงได้หายไปจากประวัติศาสตร์ของโลก ก่อนหน้าการค้นพบทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก จะไม่มีคำตอบที่ยอมรับได้อย่างกว้างขวางเหมือนกับทฤษฎีนี้ คำถามนี้นับเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ต่อการสนับสนุนข้อสมมุติฐานของ Milankovitch อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสามารถหาคำตอบที่มีเหตุผลได้แล้วว่า ธารน้ำแข็งเกิดขึ้นได้เฉพาะบนพื้นแผ่นดินเท่านั้น นั่นคือ จะต้องเกิดแผ่นดินขึ้นในเขตละติจูดสูง ๆ ก่อนเริ่มยุคน้ำแข็งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ในระยะยาวตามการเปลี่ยนแปลงทางดาราศาสตร์ ไม่มากพอที่จะทำให้ธารน้ำแข็งขยายแผ่ลงมาถึงเขตร้อนได้ ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันมีหลายคนเชื่อว่า ยุคน้ำแข็งเกิดขึ้น เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกในเฉพาะส่วนที่เคลื่อนที่ ออกจากละติจูดเขตร้อนไปยังตำแหน่งทางขั้วโลก

    ความแปรผันของพลังงานดวงอาทิตย์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    ในจำนวนข้อสมมุติฐานต่าง ๆ ที่เชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แนวความคิดที่เกี่ยวกับพลังงานดวงอาทิตย์ก็เป็นข้อสมมุติฐานอย่างหนึ่งที่กล่าวอ้างกันบ่อยมาก เนื่องจากดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดวงหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ดวงอาทิตย์ ปลดปล่อยออกมาจะผันแปรตลอดเวลา อิทธิพลการผันแปรของพลังงานดวงอาทิตย์มีผล โดยตรงต่อบรรยากาศของโลกและสามารถเข้าใจได้ง่าย กล่าวคือ ขณะที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงานออกมามากขึ้น จะทำให้บรรยากาศร้อนขึ้น และในทางกลับกัน หากพลังงานดวงอาทิตย์ลดลง บรรยากาศของโลก ก็จะเย็นลงตามไปด้วย แนวความคิดนี้กำลังได้รับความสนใจ เพราะว่าสามารถนำมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลายาวนานหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้น ปัญหาที่สำคัญคือยังไม่มีการตรวจวัดความผันแปร ความเข้มของพลังงานดวงอาทิตย์ที่ขอบนอกบรรยากาศในระยะยาวมาก่อน เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่ตรวจวัดได้ จนกระทั้งถึงยุคเทคโนโลยีดาวเทียมในปัจจุบัน ที่สามารถบันทึกข้อมูลนี้ได้ ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์

    มีข้อเสนอมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากการผันแปรพลังงานดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะแสดงถึงความสัมพันธ์กับวงจรการเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) คือ ลักษณะหมองมัวดำมืด ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี แม้ว่าการเกิดยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดเป็นสนามแม่เหล็กมหึมาที่ขยายจากผิวหน้าดวงอาทิตย์ลึกเข้าไปภายในที่ลึกมาก ยิ่งกว่านั้นสนามแม่เหล็กนี้ยังสามารถผลักดันอนุภาคพลังงาน ให้หลุดออกมาจากดวงอาทิตย์ จนถึงขอบนอกบรรยากาศมีจำนวนมากด้วย

    จำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์มากขึ้น - ลดลง อย่างสม่ำเสมอ มีวงโคจรประมาณ 11 ปี โดยเริ่มต้นจาก ค.ศ. 1700 เป็นต้นมาที่สังเกตเห็นว่า วงจรนี้ค่อนข้างสม่ำเสมอ เมื่อไม่นานมานี้เองนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งยีนยันว่า วงจรจุดดับดวงอาทิตย์ 11 ปี นั้น เป็นลักษณะที่แน่นอนของดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเชื่อว่ามีช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ดวงอาทิตย์ปลอดจากจุดดับหรือจุดหมองมัว และนอกจากจะมีวงจร 11 ปีที่รู้จักกันดีแล้ว ยังมีวงจร 22 ปี อีกวงหนึ่ง วงจรที่ยาวขึ้นนี้ได้จากความจริงที่ว่า การหันไปทางขั้วโลกของสนามแม่เหล็กขณะเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์นั้น จะตรงกันข้ามทุก ๆ 11 ปี อย่างต่อเนื่องกัน นั่นคือ สนามแม่เหล็กที่เกิดจากดวงอาทิตย์ขณะ มีจุดดับจะกลับมายังขั้วโลกเกิดอีกครั้งหนึ่ง ในรอบ 22 ปี

    การศึกษาอิทธิพลที่เป็นไปได้ ของพลังงานดวงอาทิตย์ ที่มีต่อภูมิอากาศ ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี โดยพยายามหาหลักฐานความสัมพันธ์ตามช่วงเวลา จากวันเป็น 10,000 ปี แต่ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วย ดังตัวอย่างข้อโต้แย้งที่แพร่หลายมาก คือ

    1. จากการศึกษาพบว่า

    ช่วงระยะเวลาที่ไม่มีจุดดับบนดวงอาทิตย์หรือมีน้อยมาก ตรงกับช่วงอากาศหนาวเย็นในยุโรปและอเมริกาเหนือ และในทางกลับกัน ช่วงเวลาที่เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์จำนวนมาก จะสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อน ของบริเวณดังกล่าวนี้ด้วย จากความสัมพันธ์ที่ตรงกันนี้นักดาราศาสตร์ John Eddy กล่าวว่า "ผลจากการศึกษาเรื่องนี้สมัยแรก ๆ โดยการเปรียบเทียบ ความเป็นมาของพลังงานดวงอาทิตย์กับภูมิอากาศของโลก ปรากฎว่า การเปลี่ยนแปลงพลังงานดวงอาทิตย์ เป็นตัวการสำคัญทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลา ระหว่าง 50 ปี ถึงหลายร้อยปี " แต่ยังมีนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ เนื่องจากการศึกษาในเวลาต่อมา โดยการใช้ผลการบันทึกภูมิอากาศที่แตกต่างกันตามท้องที่ต่าง ๆ รอบโลก ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างความผันแปรของพลังงานดวงอาทิตย์กับภูมิอากาศยิ่งกว่านั้นยังมีปัญหาจากความจริงที่ว่า ยังไม่มีวิธีการภาพที่จะตรวจสอบหรือทดลอง เพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงอิทธิพลของปรากฎการณ์นี้ได้

    2. จากการศึกษาวงปีของต้นไม้มาเป็นเวลานานพบว่า


    พลังงานรังสีดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์กับประมาณหยาดน้ำฟ้ามากกว่าอุณหภูมิ เช่น จากวงปีต้นไม้ พบว่า เกิดความแห้งแล้ง ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ทุก ๆ 22 ปี ซึ่งช่วงระยะเวลานี้ตรงกับวงจรสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ในรอบ 22 ปี ดังกล่าวมาแล้ววิธีการนี้ยังมีข้อโต้แย้ง เช่น คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา โต้แย้งว่า "กลไกตามวิธีการนี้ไม่น่าเชื่อได้ว่า ภาวะแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้จะสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับพลังงานดวงอาทิตย์ นอกจากนี้วงจรความแห้งแล้งที่พบในวงปีของต้นไม้จะเปลี่ยนไป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งภายในภูมิภาคอันกว้างขวางที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้"

    จะเห็นได้ว่าาถ้าสามารถหาความสัมพันธ์ทางกายภาพ ระหว่างพลังงานดวงอาทิตย์กับบรรยากาศชั้นต่ำได้แล้ว จะทำให้ตรวจวัด และเข้าใจถึง ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา กำลังศึกษาวิจัยเรื่องนี้อยู่

    จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ยังไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปร ของพลังงานดวงอาทิตย์กับลมฟ้าอากาศที่แน่นอนได้ เนื่องจาก เมื่อนำความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นได้นั้น ไปทดสอบทางสถิติ หรือทดสอบกับกลุ่มข้อมูลที่แตกต่างกัน ไม่ได้ผล นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรของพลังงานดวงอาทิตย์ กับภูมิอากาศ ยังคงเป็นหัวข้อที่โต้เถียงและวิจารณ์กันต่อไป

    http://www.tmd.go.th
     
  9. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348
    คุณ vanco ยอดเยี่ยมไปเลยค่ะ...ชอบอ่านบทความของคุณมากค่ะ...ได้ความรู้อะไรแปลก ๆ ใหม่อยู่ตลอดเวลา...กรุณาหามาให้อ่านอีกนะคะ...เอาเรื่องใกล้ ๆ ตัวพวกเราเนี้ยล่ะค่ะ...เหมือนกับไปค้นคว้าหามาอ่านเองจากห้องสมุดชั้นเยี่ยมเลยค่ะ...

    อ่านเรื่องที่คุณนำมาลงแล้ว...อ่านไปหยองไปด้วยค่ะ...เฮ้อ..!!!...คิดว่าถ้ามนุษย์เราไม่พยายามทำอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อช่วยโลกเราไว้แล้วล่ะก็...พวกเราคงจะต้องหาที่อยู่ต่างดาวใหม่แล้วล่ะ่ค่ะ...โลกใบนี้คงจะต้องกลายเป็นโลกรวมมลพิษและขยะของจักรวาลใหม่แน่ ๆ ...

    คิดแล้วก็เศร้าใจค่ะ....ต้องขอบพระคุณ..คุณvanco...อีกครั้งนะคะ...ขอเป็นกำลังใจสนับสนุนงานชิ้นนี้ของคุณค่ะ...
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ขอขอบคุณมากครับผม ได้กำลังใจดีดีจากเพื่อนสมาชิกแบบนี้ มีแรงใจหาบทความดีดี มีสาระและเป็นประโยชน์ขึ้นอีกเยอะเลยครับ
     
  11. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,181
    โลกจะเปลี่ยนสภาพไปตามจิตของผู้อาศัย
    คนไม่มีศีลจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ภูมิอากาศของประเทศไทย

    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text">1. ขนาดและที่ตั้ง

    ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างละติจูด 5 ํ 37' เหนือ กับ 20 ํ 27' เหนือ และระหว่างลองจิจูด 97 ํ 22' ตะวันออก กับ 105 ํ 37' ตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใกล้เคียงดังนี้

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="80%"> <tbody><tr> <td width="25%">ทิศเหนือ </td> <td width="75%">ติดประเทศพม่าและลาว</td> </tr> <tr> <td width="25%">ทิศตะวันออก </td> <td width="75%">ติดประเทศลาว กัมพูชา และอ่าวไทย</td> </tr> <tr> <td width="25%">ทิศใต้ </td> <td width="75%">ติดประเทศมาเลเซีย</td> </tr> <tr> <td width="25%">ทิศตะวันตก </td> <td width="75%">ติดประเทศพม่าและทะเลอันดามัน</td> </tr> </tbody></table>
    2. ภูมิประเทศและการแบ่งภาคทางอุตุนิยมวิทยา

    ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ลักษณะภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันมีแตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย การแบ่งภาคของประเทศไทยในทางอุตุนิยมวิทยา จึงพิจารณารูปแบบภูมิอากาศและแบ่งประเทศไทยออกได้เป็น 5 ภาค
    ดังนี้

    <table class="logfont" align="center" width="95%"> <tbody><tr> <td>1. ภาคเหนือ

    ประกอบด้วย 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา มีภูเขาติดกันเป็นพืดในแนวเหนือ-ใต้ สลับกับหุบเขาทั้งแคบและกว้างมากมาย ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง ทางตะวันตกมีทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรีบางส่วน ตอนกลางของภาคมีทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำวังและแม่น้ำยม ด้านตะวันออกมีทิวเขาหลวงพระบางซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน และมีทิวเขาเพชรบูรณ์บางส่วนเป็นแนวกั้น ระหว่างภาคนี้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์อยู่ในเทือกเขาจอมทอง เขตจังหวัดเชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 2,565 เมตร

    2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


    ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและลาดต่ำไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันตกมีทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นระหว่างภาคนี้กับภาคเหนือและภาคกลาง ส่วนทางใต้มีทิวเขาสันกำแพงกั้นระหว่างภาคนี้กับภาคตะวันออก และทิวเขาพนมดงรักกั้นพรมแดนภาคนี้ กับประเทศกัมพูชา ทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นซึ่งสูงประมาณ 800 ถึง 1,300 เมตร และทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งสูงประมาณ 400 เมตร เป็นแนวกั้นกระแสลมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้บริเวณด้านหลังเขาซึ่งได้แก่พื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคมีฝนน้อยกว่าทางตะวันออก

    3. ภาคกลาง


    ประกอบด้วย 18 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ระดับพื้นที่ลาดลงมาทางใต้ตามลำดับจนถึงอ่าวไทย ในภาคนี้มีภูเขาบ้างแต่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่ไม่สูงมาก เว้นแต่ทางด้านตะวันตกใกล้ชายแดนประเทศพม่า มีเทือกเขาตะนาวศรีวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ต่อเนื่องมาจากภาคเหนือเป็นแนวกั้นพรมแดนกับประเทศพม่า และมีความสูงเกินกว่า 1,600 เมตร ทางตะวันออกมีทิวเขาดงพญาเย็น เป็นแนวแบ่งเขตภาคนี้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    4. ภาคตะวันออก

    ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและที่ราบ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของภาค มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นพรมแดนกับประเทศกัมพูชา ถัดเข้ามามีทิวเขาจันทบุรี ทางเหนือมีทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรักวางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกเป็นแนวแบ่งเขตภาคนี้ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันตกและทางใต้เป็นฝั่งทะเลติดกับอ่าวไทย มีเกาะใหญ่น้อยมากมาย

    5. ภาคใต้


    เป็นคาบสมุทรขนาบด้วยทะเลสองด้าน ด้านตะวันตกคือทะเลอันดามัน ด้านตะวันออก คืออ่าวไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ ทางตอนบนของภาคมีทิวเขาตะนาวศรีซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ต่อเนื่องมาจากภาคเหนือและภาคกลางเป็นแนวกั้นพรมแดนกับประเทศพม่า ทางตอนล่างของภาคมีทิวเขาภูเก็ตและทิวเขานครศรีธรรมราชวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แบ่งภาคนี้ออกเป็นสองส่วน คือที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดกับอ่าวไทยซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และที่ราบด้านตะวันตกขนานกับชายฝั่งทะเลอันดามัน และช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นบริเวณแคบกว่าที่ราบด้านตะวันออก ทางทิศใต้ของภาคมีทิวเขาสันกาลาคีรีเป็นแนวกั้นพรมแดนกับประเทศมาเลเซีย </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">
    ภาคนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้


    <table class="logfont" align="center" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
    ได้แก่บริเวณตอนบนของภาคต่อเนื่องถึงที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
    ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล </td> </tr> </tbody></table>


    </td> </tr> <tr> <td class="text">3. ลมมรสุมกับภูมิอากาศของประเทศไทย

    ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

    <table class="logfont" align="center" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
    มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="5%">
    [​IMG]
    </td> <td width="95%">มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
    หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">
    การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี

    4. ฤดูกาล

    ประเทศไทยโดยทั่ว ๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="80%"> <tbody><tr> <td width="25%">1. ฤดูร้อน</td> <td width="75%">ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม </td> </tr> <tr> <td width="25%">2. ฤดูฝน</td> <td width="75%">ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม </td> </tr> <tr> <td width="25%">3. ฤดูหนาว</td> <td width="75%">ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">
    <table align="center" width="95%"> <tbody><tr> <td class="logfont" height="183">ฤดูร้อน

    เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศรีษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพายุฤดูร้อน

    ลักษณะอากาศในฤดูร้อนพิจารณาจากอุณหภูมิสูงสุดของแต่ละวัน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
    อากาศร้อน อุณหภูมิระหว่าง 35.0 'ซ. - 39.9 'ซ.
    อากาศร้อนจัด อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 'ซ. ขึ้นไป

    ฤดูฝน

    เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามลำดับจนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายน จะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง และเรียกว่าเป็นช่วงฝนทิ้ง ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ทำให้มีฝนชุกต่อเนื่อง จนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณกลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบน จะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝนหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่ากำหนดได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

    เกณฑ์การพิจารณาปริมาณฝนในระยะเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวันตั้งแต่เวลา 07.00 น. ของวันหนึ่งถึงเวลา 07.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ตามลักษณะของฝนที่ตกในประเทศที่อยู่ในเขตร้อนย่านมรสุมมีดังนี้

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="80%"> <tbody><tr> <td width="29%">ฝนวัดจำนวนไม่ได้ </td> <td width="71%">ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร</td> </tr> <tr> <td width="29%">ฝนเล็กน้อย </td> <td width="71%">ปริมาณฝนระหว่าง 0.1 - 10.0 มิลลิเมตร</td> </tr> <tr> <td width="29%">ฝนปานกลาง </td> <td width="71%">ปริมาณฝนระหว่าง 10.1 - 35.0 มิลลิเมตร</td> </tr> <tr> <td width="29%">ฝนหนัก </td> <td width="71%">ปริมาณฝนระหว่าง 35.1 - 90.0 มิลลิเมตร</td> </tr> <tr> <td width="29%">ฝนหนักมาก </td> <td width="71%">ปริมาณฝนตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไป</td> </tr> </tbody></table>
    ฤดูหนาว

    เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน ไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไปซึ่งจะหมดฝน และเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ลักษณะอากาศในฤดูหนาวพิจารณาจากอุณหภูมิต่ำสุดของแต่ละวัน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="80%"> <tbody><tr> <td width="29%">อากาศหนาวจัด </td> <td width="71%">อุณหภูมิต่ำกว่า 8.0 'ซ.</td> </tr> <tr> <td width="29%">อากาศหนาว </td> <td width="71%">อุณหภูมิระหว่าง 8.0 'ซ. - 15.9 'ซ.</td> </tr> <tr> <td height="15" width="29%">อากาศเย็น </td> <td height="15" width="71%">อุณหภูมิระหว่าง 16.0 'ซ. - 22.9 'ซ.</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> </td></tr></tbody></table>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text">5. อุณหภูมิ

    ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 ํซ. อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว และระหว่างกลางวันกับกลางคืน โดยในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดในตอนบ่าย ปกติจะสูงถึงเกือบ 40 ํซ. หรือมากกว่านั้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้ามืดจะลดลงอยู่ในเกณฑ์หนาวถึงหนาวจัด โดยเฉพาะเดือนธันวาคมถึงมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวมากที่สุดในรอบปี ซึ่งในช่วงดังกล่าวอุณหภูมิอาจลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นเทือกเขาหรือบนยอดเขาสูง สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเลได้แก่ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
    </td> </tr> <tr> <td class="text">

    สถิติอุณหภูมิ ( 'ซ.) ของประเทศไทยในฤดูกาลต่างๆ


    <table class="logfont" align="center" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td class="logfont" width="20%">
    อุณหภูมิ
    </td> <td class="logfont" width="30%">
    ภาค
    </td> <td class="logfont" width="15%">
    ฤดูหนาว
    </td> <td class="logfont" width="15%">
    ฤดูร้อน
    </td> <td class="logfont" width="15%">
    ฤดูฝน
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    เฉลี่ย​
    </td> <td width="30%">
    เหนือ​
    </td> <td width="15%">
    23.1​
    </td> <td width="15%">
    28.0​
    </td> <td width="15%">
    27.3​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="15%">
    23.9​
    </td> <td width="15%">
    28.5​
    </td> <td width="15%">
    27.7​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    กลาง​
    </td> <td width="15%">
    26.1​
    </td> <td width="15%">
    29.6​
    </td> <td width="15%">
    28.3​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    26.4​
    </td> <td width="15%">
    28.9​
    </td> <td width="15%">
    28.1​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td height="15" width="20%"> </td> <td height="15" width="30%">
    ใต้​
    </td> <td height="15" width="15%">
    </td> <td height="15" width="15%">
    </td> <td height="15" width="15%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    - ฝั่งตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    26.3​
    </td> <td width="15%">
    28.1​
    </td> <td width="15%">
    27.7​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    - ฝั่งตะวันตก​
    </td> <td width="15%">
    26.8​
    </td> <td width="15%">
    28.3​
    </td> <td width="15%">
    27.4​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="5"> </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    สูงสุดเฉลี่ย​
    </td> <td width="30%">
    เหนือ​
    </td> <td width="15%">
    30.8​
    </td> <td width="15%">
    35.8​
    </td> <td width="15%">
    32.2​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="15%">
    30.3​
    </td> <td width="15%">
    35.0​
    </td> <td width="15%">
    32.3​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    กลาง​
    </td> <td width="15%">
    31.7​
    </td> <td width="15%">
    35.5​
    </td> <td width="15%">
    32.8​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    31.7​
    </td> <td width="15%">
    33.9​
    </td> <td width="15%">
    32.1​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td height="15" width="30%">
    ใต้​
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="15%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    - ฝั่งตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    29.9​
    </td> <td width="15%">
    32.8​
    </td> <td width="15%">
    32.1​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="30%">
    - ฝั่งตะวันตก​
    </td> <td width="15%">
    31.9​
    </td> <td width="15%">
    34.0​
    </td> <td width="15%">
    31.4​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="5"> </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ต่ำสุดเฉลี่ย​
    </td> <td width="30%">
    เหนือ​
    </td> <td width="15%">
    17.1​
    </td> <td width="15%">
    21.4​
    </td> <td width="15%">
    23.7​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="15%">
    18.3​
    </td> <td width="15%">
    23.0​
    </td> <td width="15%">
    24.2​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    กลาง​
    </td> <td width="15%">
    21.1​
    </td> <td width="15%">
    24.6​
    </td> <td width="15%">
    24.8​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    21.8​
    </td> <td width="15%">
    25.0​
    </td> <td width="15%">
    25.0​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td height="15" width="20%">
    </td> <td height="15" width="30%">
    ใต้​
    </td> <td height="15" width="15%">
    </td> <td height="15" width="15%">
    </td> <td height="15" width="15%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    - ฝั่งตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    22.0​
    </td> <td width="15%">
    23.2​
    </td> <td width="15%">
    23.7​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="30%">
    - ฝั่งตะวันตก​
    </td> <td width="15%">
    22.9​
    </td> <td width="15%">
    23.7​
    </td> <td width="15%">
    24.1​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="5"> หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514 -2543)</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">

    สถิติอุณหภูมิสูงที่สุด ( 'ซ.) ของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อน


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td class="logfont" width="20%">
    ภาค
    </td> <td class="logfont" width="15%">อุณหภูมิสูงที่สุด</td> <td class="logfont" width="10%">
    วันที่
    </td> <td class="logfont" width="10%">
    เดือน
    </td> <td class="logfont" width="10%">
    พ.ศ.
    </td> <td class="logfont" width="30%">
    จังหวัด
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    เหนือ​
    </td> <td width="15%">
    44.5​
    </td> <td width="10%">
    27​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2503​
    </td> <td width="30%">
    อุตรดิตถ์​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="15%">
    43.9​
    </td> <td width="10%">
    28​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2503​
    </td> <td width="30%">
    อุดรธานี ​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    กลาง​
    </td> <td width="15%">
    43.5​
    </td> <td width="10%">
    29​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2501​
    </td> <td width="30%">
    กาญจนบุรี​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%"> </td> <td width="15%"> </td> <td width="10%">
    14​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2526​
    </td> <td width="30%">
    กาญจนบุรี​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="10%">
    14,20​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2535​
    </td> <td width="30%">
    กาญจนบุรี​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    42.9​
    </td> <td width="10%">
    23​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2533​
    </td> <td width="30%">
    ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี)​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="20%">
    ใต้​
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="10%">
    </td> <td width="10%">
    </td> <td width="10%">
    </td> <td width="30%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="20%">- ฝั่งตะวันออก</td> <td width="15%">
    41.2​
    </td> <td width="10%">
    15​
    </td> <td width="10%">
    เม.ย.​
    </td> <td width="10%">
    2541​
    </td> <td width="30%">
    ประจวบคีรีขันธ์ (สกษ.หนองพลับ
    อ.หัวหิน)​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">- ฝั่งตะวันตก</td> <td width="15%">
    40.5​
    </td> <td width="10%">
    29​
    </td> <td width="10%">
    มี.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2535​
    </td> <td width="30%">
    ตรัง​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="6">

    หมายเหตุ 1.สกษ. หมายถึง สถานีอากาศเกษตร
    2. ข้อมูลในคาบ 55 ปี (พ.ศ.2494 - 2548)
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> </tr><tr> <td class="text">

    สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุด ( 'ซ.) ของประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td class="logfont" width="20%">
    ภาค
    </td> <td class="logfont" width="15%">อุณหภูมิต่ำที่สุด</td> <td class="logfont" width="10%">
    วันที่
    </td> <td class="logfont" width="10%">
    เดือน
    </td> <td class="logfont" width="10%">
    พ.ศ.
    </td> <td class="logfont" width="30%">
    จังหวัด
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    เหนือ​
    </td> <td width="15%">
    0.8​
    </td> <td width="10%">
    27​
    </td> <td width="10%">
    ธ.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2542​
    </td> <td width="30%">
    ตาก ( อ.อุ้มผาง )​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="15%">
    -1.4​
    </td> <td width="10%">
    2​
    </td> <td width="10%">
    ม.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2517​
    </td> <td width="30%">
    สกลนคร (สกษ.สกลนคร)​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    กลาง​
    </td> <td width="15%">
    5.2​
    </td> <td width="10%">
    27​
    </td> <td width="10%">
    ม.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2536​
    </td> <td width="30%">
    กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ)​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    7.6​
    </td> <td width="10%">
    16​
    </td> <td width="10%">
    ม.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2506​
    </td> <td width="30%">
    สระแก้ว (อ.อรัญประเทศ)​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="20%">
    ใต้​
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="10%">
    </td> <td width="10%">
    </td> <td width="10%">
    </td> <td width="30%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="20%">- ฝั่งตะวันออก</td> <td width="15%">
    6.4​
    </td> <td width="10%">
    26​
    </td> <td width="10%">
    ธ.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2542​
    </td> <td width="30%">
    ประจวบคีรีขันธ์(สกษ.หนองพลับ
    อ.หัวหิน)​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">- ฝั่งตะวันตก</td> <td width="15%">
    13.7​
    </td> <td width="10%">
    21​
    </td> <td width="10%">
    ม.ค.​
    </td> <td width="10%">
    2499​
    </td> <td width="30%">
    ระนอง​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="6">

    หมายเหตุ 1.สกษ. หมายถึง สถานีอากาศเกษตร
    2. ข้อมูลในคาบ 55 ปี (พ.ศ.2494 - 2548)

    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text"> 6. ปริมาณฝน

    โดยทั่วไปประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์ดี พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝน 1,200-1,600 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,564.8 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่ผันแปรไปตามลักษณะภูมิประเทศ นอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝน จะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมาก โดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขา หรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศและบริเวณภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่พื้นที่บริเวณตอนกลางของภาคเหนือและภาคกลาง และบริเวณด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนชุกเกือบตลอดปียกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณจังหวัดระนอง ซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยได้แก่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ </td> </tr> <tr> <td class="text">

    ปริมาณฝน (มม.) ของประเทศไทยในฤดูกาลต่าง ๆ


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td class="logfont" width="25%">
    ภาค
    </td> <td class="logfont" width="15%">
    ฤดูหนาว
    </td> <td class="logfont" width="15%">
    ฤดูร้อน
    </td> <td class="logfont" width="20%">
    ฤดูฝน
    </td> <td class="logfont" width="25%">
    จำนวนวันฝนตกตลอดปี
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    เหนือ​
    </td> <td width="15%">
    105.5​
    </td> <td width="15%">
    182.5​
    </td> <td width="20%">
    952.1​
    </td> <td width="25%">
    123​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="15%">
    71.9​
    </td> <td width="15%">
    214.2​
    </td> <td width="20%">
    1,085.8​
    </td> <td width="25%">
    117​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    กลาง​
    </td> <td width="15%">
    124.4​
    </td> <td width="15%">
    187.1​
    </td> <td width="20%">
    903.3​
    </td> <td width="25%">
    113​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="15%">
    187.9​
    </td> <td width="15%">
    250.9​
    </td> <td width="20%">
    1,417.6​
    </td> <td width="25%">
    131​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    ใต้​
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="15%">
    </td> <td width="20%">
    </td> <td width="25%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">- ฝั่งตะวันออก</td> <td width="15%">
    759.3​
    </td> <td width="15%">
    249.6​
    </td> <td width="20%">
    707.3​
    </td> <td width="25%">
    148​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">- ฝั่งตะวันตก</td> <td width="15%">
    445.9​
    </td> <td width="15%">
    383.7​
    </td> <td width="20%">
    1,895.7​
    </td> <td width="25%">
    176​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="5">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">
    7. ความชื้นสัมพัทธ์


    ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจนในช่วงฤดูหนาว และฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ำสุดในรอบปี ในบริเวณดังกล่าวมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 73-75 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงเหลือ 64-69 เปอร์เซ็นต์ในช่วงฤดูร้อน และเคยมีความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ำที่สุดเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ที่จังหวัดเลย และเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2533 ที่จังหวัดเชียงราย ส่วนบริเวณที่อยู่ติดฝั่งทะเลได้แก่ภาคตะวันออก และภาคใต้จะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า โดยเฉพาะภาคใต้มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 79-80 เปอร์เซ็นต์ </td> </tr> <tr> <td class="text">

    สถิติความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ( % ) ของประเทศไทยในช่วงฤดูกาลต่างๆ


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td class="logfont" bgcolor="#bec8d3" width="25%">
    ภาค
    </td> <td class="logfont" width="20%">
    ฤดูหนาว
    </td> <td class="logfont" width="20%">
    ฤดูร้อน
    </td> <td class="logfont" width="20%">
    ฤดูฝน
    </td> <td class="logfont" width="15%">
    ตลอดปี
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    เหนือ​
    </td> <td width="20%">
    74​
    </td> <td width="20%">
    64​
    </td> <td width="20%">
    81​
    </td> <td width="15%">
    75​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="20%">
    69​
    </td> <td width="20%">
    66​
    </td> <td width="20%">
    80​
    </td> <td width="15%">
    73​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    กลาง​
    </td> <td width="20%">
    70​
    </td> <td width="20%">
    69​
    </td> <td width="20%">
    79​
    </td> <td width="15%">
    75​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    ตะวันออก​
    </td> <td width="20%">
    71​
    </td> <td width="20%">
    75​
    </td> <td width="20%">
    81​
    </td> <td width="15%">
    76​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    ใต้​
    </td> <td width="20%">
    </td> <td width="20%">
    </td> <td width="20%">
    </td> <td width="15%">
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">- ฝั่งตะวันออก</td> <td width="20%">
    80​
    </td> <td width="20%">
    77​
    </td> <td width="20%">
    79​
    </td> <td width="15%">
    79​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">- ฝั่งตะวันตก</td> <td width="20%">
    78​
    </td> <td width="20%">
    76​
    </td> <td width="20%">
    84​
    </td> <td width="15%">
    80​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td colspan="5">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td class="text">
    8. จำนวนเมฆในท้องฟ้า


    ในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงต้นฤดูร้อน (พฤศจิกายนถึงมีนาคม) ปกติประเทศไทยจะมีท้องฟ้าโปร่ง และมีเมฆปกคลุมน้อยกว่าช่วงอื่น ๆ ของปี เมฆที่ปกคลุมในช่วงดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเมฆชั้นสูง และมีเมฆก่อตัวในทางตั้ง เช่นเมฆคิวมูลัสหรือเมฆคิวมูโล-นิมบัสที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนองได้บ้าง โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปถึงพฤษภาคม เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนส่วนใหญ่ท้องฟ้าจะมีเมฆมาก หรือมีเมฆเต็มท้องฟ้า เว้นแต่ในช่วงฝนทิ้งประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมอาจมีโอกาสที่จะมีท้องฟ้าโปร่งได้

    9. พายุฟ้าคะนอง

    ประเทศไทยตอนบนมีโอกาสเกิดพายุฟ้าคะนองมากในช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดพายุฟ้าคะนองได้มาก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว จึงมีการยกตัวขึ้นของมวลอากาศ และอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมา ในขณะที่มวลอากาศร้อนปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศร้อนและเย็น ซึ่งในกรณีที่มีพายุฟ้าคะนองรุนแรงอาจมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ ส่วนภาคใต้เกิดขึ้นได้มากในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน

    10. ลมผิวพื้น


    ลมผิวพื้นที่พัดปกคลุมประเทศไทยผันแปรไปตามฤดูกาล ในฤดูหนาวหรือฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนใหญ่เป็นลมฝ่ายเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ลมที่พัดปกคลุมส่วนใหญ่เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออก ในช่วงฤดูฝนหรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้ สำหรับช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่ลมแปรปรวน แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ ่โดยเฉพาะประเทศไทยตอนบนมักมีลมฝ่ายใต้พัดปกคลุม

    11. พายุหมุนเขตร้อน


    ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อนทั้งสองด้าน ด้านตะวันออกคือมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตกคืออ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก มากกว่าทางตะวันตก ปกติประเทศไทยจะมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาได้โดยเฉลี่ยประมาณ 3 - 4 ลูกต่อปี บริเวณที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุดคือภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ในระยะต้นปีระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากอิทธิพลของพายุ ต่อมาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีที่พายุเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ แต่มีโอกาสน้อยและเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 55 ปี (พ.ศ.2494-2548) พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นพายุที่เคลื่อนมาจากด้านตะวันตกเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปพายุส่วนใหญ่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก โดยช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมพายุยังคงเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ซึ่งบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุด และเดือนกันยายนถึงตุลาคมพายุมีโอกาสเคลื่อนเข้ามาได้ในทุกพื้นที่ โดยเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตั้งแต่เดือนกันยายน ในสองเดือนนี้เป็นระยะที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยได้มากโดยเฉพาะเดือนตุลาคม มีสถิตเคลื่อนเข้ามามากที่สุดในรอบปีสำหรับช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนเดือนพฤศจิกายน พายุจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนได้น้อยลง และมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมพายุมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้เท่านั้น โดยไม่มีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนอีก

    พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน" (CYCLONE) เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" (HURRICANE) เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" (TYPHOON) เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียก "วิลลี-วิลลี" (WILLY-WILLY)

    พายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ ซึ่งมีการแบ่งเกณฑ์ความรุนแรงของพายุตามข้อตกลง ระหว่างประเทศโดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุดังนี้

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="80%"> <tbody><tr> <td width="100%">พายุดีเปรสชั่น(DEPRESSION) มีความเร็วลาสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่งโมง) </td> </tr> <tr> <td width="100%">พายุโซนร้อน(TROPICAL STROM) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่งโมง)ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)</td> </tr> <tr> <td width="22%">ไต้ฝ่นหรือเฮอร์ริเคน(TYPHOON OR HURRICANE)มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) </td> </tr> </tbody></table>
    พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชั่น เพราะพื้นดินและเทือกเขาของประเทศพม่า เวียดนาม ลาว และกัมพูชาที่ล้อมรอบประเทศไทยตอนบน เป็นปัจจัยที่ช่วยลดความรุนแรงของพายุก่อนที่จะเคลื่อนมาถึงประเทศไทย ดังนั้นความเสียหายที่เกิดจากลมแรง จึงน้อยกว่าภาคใต้ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่เปิดสู่ทะเล พายุที่เคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยและขึ้นฝั่งภาคใต้ขณะมีกำลังแรงขนาดพายุโซนร้อน หรือไต้ฝุ่นจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากจากคลื่นพายุซัดฝั่ง ลมที่พัดแรงจัด และฝนที่ตกหนักถึงหนักมากจนเกิดอุทกภัย รวมทั้งคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้น 3 ครั้งในอดีต ได้แก่พายุโซนร้อน "แฮเรียต" ที่เคลื่อนเข้าสู่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ. 2505 พายุไต้ฝุ่น "เกย์" ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และพายุไต้ฝุ่น "ลินดา" ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะมีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 </td> </tr> <tr> <td class="text">

    สถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านภาคต่างๆ ของประเทศไทยคาบ 54 ปี (พ.ศ.2494-2547)


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td width="20%">
    ภาค
    </td> <td width="6%">
    ม.ค.
    </td> <td width="6%">
    ก.พ.
    </td> <td width="6%">
    มี.ค.
    </td> <td width="6%">
    เม.ย.
    </td> <td width="6%">
    พ.ค.
    </td> <td width="6%">
    มิ.ย.
    </td> <td width="6%">
    ก.ค.
    </td> <td width="6%">
    ส.ค.
    </td> <td width="6%">
    ก.ย.
    </td> <td width="6%">
    ต.ค.
    </td> <td width="6%">
    พ.ย.
    </td> <td width="6%">
    ธ.ค.
    </td> <td width="8%">
    รวม
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    เหนือ​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    5​
    </td> <td width="6%">
    2​
    </td> <td width="6%">
    9​
    </td> <td width="6%">
    17​
    </td> <td width="6%">
    23​
    </td> <td width="6%">
    15​
    </td> <td width="6%">
    1​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="8%">
    72​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ตะวันออกเฉียงเหนือ​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    1​
    </td> <td width="6%">
    6​
    </td> <td width="6%">
    4​
    </td> <td width="6%">
    17​
    </td> <td width="6%">
    28​
    </td> <td width="6%">
    22​
    </td> <td width="6%">
    4​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="8%">
    82​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    กลาง​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    2​
    </td> <td width="6%">
    1​
    </td> <td width="6%">
    1​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="6%">
    7​
    </td> <td width="6%">
    9​
    </td> <td width="6%">
    2​
    </td> <td width="6%">
    -​
    </td> <td width="8%">
    22​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="20%">
    ตะวันออก​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    1​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    1​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    1​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    3​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    12​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    2​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="8%">
    20​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td valign="top" width="20%">
    ใต้​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    1​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    -​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    3​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    14​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    24​
    </td> <td valign="top" width="6%">
    8​
    </td> <td valign="top" width="8%">
    50​
    </td> </tr> </tbody></table>
    ฝ่ายอากาศประจำถิ่น กองภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา เอกสารอ้างอิง วิรัช มณีสาร, เรือโท. ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะอากาศตามฤดูกาลของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-02-2538, ISBN : 974-7567-25-3, กันยายน 2538.
    วิรัช มณีสาร, เรือโท. สถิติองค์ประกอบอุตุนิยมวิทยาของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-03-2538, ISBN : 974-7567-24-5, กันยายน 2538.
    ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล. สถิติภูมิอากาศของประเทศไทย ในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504 - 2533). รายงาน ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเลขที่ 551.582-02-2537, ISBN : 974-7554-80-1, กองภูมิ อากาศ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงคมนาคม.


    </td></tr></tbody></table>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?
    <table border="0" cellspacing="2" width="100%"><tbody><tr><td height="30"><dd>การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่) </dd><dd>ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ </dd><dd>แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์ มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?
    </dd><dd>กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?
    </dd><dd> ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?
    </dd><dd>ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)
    <center>[​IMG]</center> ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?
    </dd><dd>ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?

    </dd><dd>ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี <center>[​IMG]</center> ปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?

    </dd><dd>ในศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อน <center>[​IMG]</center> </dd><dd>ส่วนระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปี <center>[​IMG]</center> ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?
    </dd><dd>ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU
    </dd><dd>หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้
    </dd><dd>ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    </dd><dd>พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    </dd><dd>ในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535
    </dd><dd>ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศ
    </dd><dd>วันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน
    </dd><dd>ต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้ <table><tbody><tr><td valign="top" width="10%">COP-1</td> <td>เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-2</td> <td>จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-3</td> <td>จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-4</td> <td>จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-5</td> <td>จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-6</td> <td>จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-7</td> <td>จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-8</td> <td>จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545</td> </tr> <tr><td valign="top" width="10%">COP-9</td> <td>จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546</td></tr></tbody></table></dd></td></tr></tbody></table>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร

    แหล่งอาหารโลก

    มนุษย์ที่อาศัยในเขต ภูมิอากาศร้อน มีความต้องการพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโตน้อยกว่ามนุษย์ ที่อาศัยในเขตภูมิอากาศที่เย็นกว่า ฉะนั้น มนุษย์ในเขตภูมิอากาศ ที่ร้อนกว่า มีความต้องการอาหารน้อยกว่าด้วย ดังนั้น ความต้องการอาหารของมนุษย์ แบ่งตามเส้นละติจูดได้ ดังนี้ มนุษย์ต้องการอาหารน้อยที่สุด จะอยู่ในแถบละติจูดต่ำ ที่มีอากาศร้อนและชื้น และมากที่สุด ในแถบละติจูดสูง ๆ ที่มีอากาศหนาวเย็น ปัจจัยทางวัฒนธรรม เช่น เครื่องนุ่งห่ม พฤติกรรมของมนุษย์ และ เทคโนโลยีที่ ควบคุมสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับความร้อนภายในอาคาร ต่างมีผลทำให้ ความต้องการอาหาร แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ความต้องการอาหารของมนุษย์ จะไม่ลดลงมากตามภาวะโลกร้อน ถึงแม้ว่าภูมิอากาศทุกชนิด สามารถให้อาหารที่ดีมีคุณภาพ เหมาะต่อความเจริญ เติบโตตามปกติ และการบำรุงสุขภาพ ของมนุษย์ แต่กระนั้นในปัจจุบัน ยังคงมีประชากรถึง 700 ล้านคน ที่มีอาหารไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดอาหาร ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญ ของการเสียชีวิตของทารก และการชะงักงันทางสรีระวิทยา และสติปัญญาของเด็ก นอกจากนี้การขาดอาหาร ยังทำลาย ระบบ ความทนทานต่อโรค ทำให้ง่ายต่อการเพิ่มขึ้น ของโรคติดต่ออีกด้วย
    ระหว่าง 10,000 ปี ที่ผ่านมาของยุค Holocene ปัจจุบัน ภูมิอากาศค่อนข้างจะคงที่ ได้มีการคิดค้น และปรับปรุงวิธีการทางการเกษตร สามารถผลิตอาหารได้มากขึ้น ปัจจัยทางภูมิอากาศประจำท้องถิ่น ที่เป็นตัวจำกัด การเจริญเติบโต ของพืชผล สามารถเอาชนะได้ โดยการชลประทาน การใช้ปุ๋ย การใช้เครื่องจักร และการผสมพันธุ์พืช ให้เข้ากับภูมิอากาศ ของท้องถิ่นนั้น ๆ ระหว่างช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้เอง ที่ความต้องการอาหาร ของประชากรโลก ได้ขยายตัวขึ้น อย่างรวดเร็ว ผนวกกับการขาดแคลนพื้นที่ ที่เหมาะต่อการเพาะปลูก ได้แผ่ขยายทั่วโลก เป็นสาเหตุให้เกิดมี การปรับปรุงผลผลิตอย่าง ได้ผล อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
    ผลผลิตอาหารโลกได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1980 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล็ด ธัญพืช พลังงาน ที่ได้รับจากอาหารทั้งหมดของโลก ได้จากเมล็ดธัญพืช ทั้งโดยตรง และผ่านทางเป็นอาหารปศุสัตว์ มีค่าประมาณ 2/3 แต่ผลผลิตเมล็ดธัญพืช ที่ผ่านมาไม่นานกลับลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนพื้นที่ ที่เพาะปลูกธัญพืช ไปใช้ในกิจการอื่น ๆ ดังเช่น ที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ และเนื่องจากราคาสินค้าตกลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีความสำคัญมาก ที่ทำให้ผลผลิตลดลง คือ การจัดการการเกษตร และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ที่ผิดพลาด ซึ่งผลที่ตามมา คือ ทำให้ความสามารถ ในการผลิต เสียไป โดยรวมทั้งโลก การปฏิบัติทางการเกษตร ที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพถึง 1/3 ปัจจุบันประมาณว่า 1/10 ของพื้นที่เพาะปลูก ของโลก (1.2 พันล้านเฮกแตร์) ที่เสื่อมคุณภาพ ในระดับปานกลาง และ 9 ล้านเฮกแตร์ ที่เสื่อมคุณภาพ ในระดับรุนแรงมาก เนื่องจากการชะล้าง พังทลายของดิน ดินแห้งจากการผึ่งแดด การลดลงของธาตุอาหาร การชลประทาน ที่ทำให้เกิดน้ำขัง และความเค็มของดิน ในทวีปแอฟริกา การปล่อยให้ปศุสัตว์กินหญ้า มากเกินไป เป็นสาเหตุทำให้ดินเกือบครึ่ง เสื่อมคุณภาพลง
    การประมงโลกก็ถูกจำกัดผลผลิตด้วยเช่นกัน (ประมาณ 100 ล้านตัน/ปี) แหล่งประมงบางแห่ง ที่ครั้งหนึ่ง เคยเป็นแหล่งประมง ที่สำคัญ เช่น ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมหาสมุทร แอตแลนติก ก็จับปลาได้น้อยลง หรือได้รับผลร้ายอย่างรุนแรง จากการจับปลามากเกินไป อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ในส่วนอื่น ๆ ของโลก เช่น บริเวณทะเลเหนือ ได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่เข้มงวดในการกำหนด โควต้าการจับปลา เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้มีการจับปลามากเกินไป จนขาดแคลน การเลี้ยงปลาทั้งปลา น้ำเค็มและปลาน้ำจืด อาจจะเป็นสัญญาณได้อย่างหนึ่งว่า การผลิตปลาจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับโลก และระดับภูมิภาคในระยะยาว จะส่งผลกระทบ ต่อผลผลิตทางพืชผล ปศุสัตว์ และการประมงอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีอิทธิพลต่อการผลิตอาหาร ดังนี้
    1. พื้นที่การเกษตรจะขยับเลื่อนไป และผลผลิตจะเปลี่ยนแปลงไป
    2. ปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ในการชลประทานได้ จะลดลง
    3. ทำให้สูญเสียพื้นที่ เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล และน้ำจะมีความเค็มมากขึ้น
    4. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น มีผลกระทบต่อการประมง เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำ กระแสน้ำ การไหลของน้ำจืด และการหมุนเวียนของธาตุอาหาร เปลี่ยนแปลงไป
    นอกจากนี้ การผลิตอาหารอาจได้รับผลกระทบจาก อิทธิพลของรังสีอุลตราไวโอเลต ที่เพิ่มขึ้น ตามการลดลงของก๊าซโอโซน ในบรรยากาศชั้นสตราโตเฟียร์ ที่มีต่อการสังเคราะห์แสง ของพืช อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้พืชสามารถดึงน้ำ จากพื้นดินขึ้นไปใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ประกอบกับ การได้ปุ๋ยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาจเป็นตัวการเพิ่มผลผลิต ในบางพื้นที่ได้ แต่ในบริเวณที่ประชากร มีอาหารเกือบจะไม่เพียงพอ อยู่แล้ว ถ้าผลผลิตลดลง เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะเป็นอันตราย อย่างมากทันที เช่น สภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้การทำการประมงลดลง จะทำให้เกิดปัญหาด้านอาหาร อย่างมาก ต่อประชากร ในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากโปรตีนส่วนใหญ่ ที่ประชากรในประเทศเหล่านี้ ได้รับได้จากอาหารทะเล
    พื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกพืชผลอาหารหลัก แหล่งการประมง อาจขยับเลื่อนไป ตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองได้ และจะเป็นสาเหตุให้ การผลิตอาหาร ในบางภูมิภาคลดลง นั่นคือ การศึกษาผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อการผลิตอาหารนั้น ควรคำนึงถึง นโยบายทางการเมืองด้วย
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร

    การสร้างแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อผลผลิตจากพืชผล และปศุสัตว์เป็นงานที่สลับซับซ้อนมาก ลักษณะทางภูมิอากาศ ที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรง ได้แก่ อุณหภูมิ การไหลของน้ำ องค์ประกอบของบรรยากาศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) และปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ นอกจากนี้ ลักษณะภูมิอากาศ ยังมีอิทธิพลทางอ้อม ต่อผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ คุณภาพของดิน การเกิดโรคพืช วัชพืชและแมลงศัตรูพืช และโดยเฉพาะการเกษตรในเขตการชลประทาน จะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเพิ่มเติมน้ำจืด ที่เข้าสู่พื้นที่การเกษตร ดังนั้น การประเมินถึงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร ของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ จึงแตกต่างกันไป และยังคงมีความไม่แน่นอนสูงมาก
    เพื่อให้การพยากรณ์ผลกระทบของภูมิอากาศที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตรมีความ แน่นอนสูง แบบจำลอง ที่ใช้ จะต้องเป็นแบบจำลอง ที่รวมเอาสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น แผนการ คาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การตอบสนองทางผลผลิตของพืชผล ที่มีต่อภูมิอากาศ รูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน และทิศทางการกระจายของอาหาร นอกจากปัจจัยทางภูมิอากาศแล้ว แนวโน้มผลผลิตจากการเกษตร ยังขึ้นอยู่อย่างมากจากแรงผลักดันทางการตลาด ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ นโยบายของรัฐบาล ข้อตกลงทางการค้า การพัฒนาขีดความสามารถ ของพืชผลใหม่ ๆ และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ดังนั้น ผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก ที่มีต่อการเกษตร จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตามการเคลื่อนไหวภายในภาคการเกษตรเอง โดยทั่วไปแบบจำลองปัจจุบัน ยังไม่ได้นำผลสะท้อน ทางสังคม และเศรษฐกิจ เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งแน่นอนว่า สังคมมนุษย์คงไม่นิ่งเฉย ในการที่ต้องเผชิญหน้า กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น กับแหล่งอาหาร แต่เพื่อให้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น มีขอบเขตที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องสร้างแบบจำลอง เฉพาะผลกระทบ ของภูมิอากาศโดยตรงขึ้นก่อน จากนั้นจึงจะนำผลสะท้อนต่าง ๆ จากการปรับตัวทางสังคม เข้ามาร่วมพิจารณา นอกจากนี้ความสลับซับซ้อน ทางการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพล ต่อการผลิตอาหารโลก จะต้องพร้อม ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อนำเข้าในแบบจำลอง อิทธิพลเหล่านี้ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงทางการค้า และการเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลที่มองไม่เห็นต่อ มาตรฐานการผลิตพืชผล ตลาดที่อยู่ห่างไกลแผ่เป็นบริเวณกว้าง วิธีการผลิตทางการเกษตร โดยใช้เครื่องจักรกลหนัก ทำให้ขอบเขตอาหารค่อย ๆ เป็น สินค้าระหว่างประเทศ มากกว่าที่จะเป็นแหล่งอาหาร สำหรับประชากรในท้องถิ่น แต่เพียงอย่างเดียว
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหารจากพืชผล

    อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า และระดับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    จากที่ได้พยากรณ์ไว้แล้วว่า การเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ จะเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิอากาศผิวพื้น ในภูมิภาคต่าง ๆ เปลี่ยนไป และจะส่งผลกระทบ ต่อการเจริญเติบโตของพืชผล เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ข้าวสาลีแก่เร็วขึ้น นั่นหมายถึงว่า ช่วงเวลาการเจริญเติบโต ของเมล็ดข้าวสาลีสั้นลง ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อ ขนาดของเมล็ดข้าวสาลี นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้สร้างแบบจำลอง โดยรวมอิทธิพลของอุณหภูมิ ที่เพิ่มสูงขึ้น 3? ซ. การเพิ่มขึ้น ของปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (สูงถึง 560 ppmv ในประมาณปี ค.ศ. 2050) การเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้า และความชื้นในดินเข้าด้วยกัน สรุปได้ว่า พืชผลที่แก่เร็ว ให้ผลผลิตลดลงครึ่งหนึ่ง
    การเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ จะมีอิทธิพลต่อการใช้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช แต่ยังไม่มีวิธีการที่จะตรวจวัดอิทธิพล ที่เกิดขึ้นนี้เพื่อนำเข้าแบบจำลอง ที่สลับซับซ้อนได้ และยังไม่แน่ใจว่าอิทธิพลนี้ จะขึ้นกับอุณหภูมิด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่นอนคือ การเพิ่มขึ้น ของปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ ส่วนหนึ่งจะมีผลอย่างใกล้ชิด กับการเปิด-ปิด ปากใบของพืช ทำให้พืชหลายชนิด มีความต้องการใช้น้ำ สำหรับการคายระเหยน้ำลดลง
    จากการแบ่งพืชออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พืช C3 (ได้แก่ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวและมันสำปะหลัง) และพืช C4 (ได้แก่ เดือย ข้าวฟ่างและข้าวโพด) พบว่า การได้ปุ๋ยจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีผลกระทบต่อพืชทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันไป เช่น พืช C3 ซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญ มานานนับหมื่นนับแสนปีมาแล้วนั้น จะให้ผลผลิตสูง หากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ สูงขึ้น ส่วนพืช C4 ซึ่งเป็นพืชที่เพิ่งมีความสำคัญ เมื่อไม่นานมานี้เอง รวมทั้งอ้อยและวัชพืช เจริญเติบโตได้ดี อย่างเหมาะสมกับระดับของ ปริมาณก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ที่มีอยู่ในบรรยากาศปัจจุบัน ดังนั้น หากปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศสูงขึ้น ผลผลิตจากพืช C4 จะเพิ่มขึ้นน้อยมาก
    ผลผลิตจากพืชผลยังอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นในดินอีกด้วย แบบจำลอง ภูมิอากาศทั้งหมด พยากรณ์ว่า หยาดน้ำฟ้าในระดับโลก จะเพิ่มมากขึ้น (ส่วนใหญ่ฝนจะตกรุนแรง มากขึ้น กล่าว คือ ปริมาณฝนต่อวัน สูงขึ้น) ถึงแม้ว่า ฝนมรสุมแถบศูนย์สูตร จะขยายขอบเขตเข้าไปยังแถบละติจูด ที่สูงขึ้นไป ในเขตทะเลทรายสะฮาร่า ของทวีปแอฟริกา และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศอินเดีย จะแบ่งเบา ภาวะความแห้งแล้ง ลงได้บ้างก็ตาม แต่หยาดน้ำฟ้าที่รุนแรงขึ้นจะก่อให้เกิดน้ำท่วม และการชะล้างพังทลายของดิน ผลที่ตามมาคือ พืชผลได้รับความเสียหาย และสูญเสียพื้นที่ ที่เหมาะกับการเกษตร ไปในบริเวณอื่น ๆ เช่น ในเขตร้อน ที่อยู่กลางทวีปบางแห่ง หยาดน้ำฟ้า อาจลดลง รูปแบบหยาดน้ำฟ้าประจำปี อาจเปลี่ยนฤดูกาล จะมีผลต่อความชื้นในดิน ระหว่างฤดูกาลเพาะปลูก และเป็นไปได้ว่า จะทำให้การเจริญเติบโต ของพืชผลจำนวนมาก สูญเสียไป มีข้อโต้เถียงกันว่า ขีดจำกัดทางธรรมชาติ ทางสรีระวิทยาของพืช ที่จะทำให้เกิดการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องของ ภูมิอากาศในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังมีผลกระทบต่อการเกษตรอีกทางหนึ่ง คือ ทำให้ระบบนิเวศการเกษตร ในระยะยาวเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก ความถี่ และความรุนแรงมาก ๆ ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ที่จะเพิ่มสูงขึ้น เช่น การเกิดคลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำท่วมและพายุไซโคลน ทั้งหมดเหล่านี้ ทำให้การชะล้าง พังทลายของดิน รุนแรงขึ้น กระทบต่อรูปแบบของโรคพืช และการระบาดของศัตรูพืช แผนการคาดหมายภูมิอากาศที่มีอยู่ ยังไม่แม่นยำพอเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศเหล่านี้ ดังนั้น การพยากรณ์รายละเอียดมากกว่านี้ ยังกระทำไม่ได้
    อิทธิพลโดยตรงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อผลผลิตจากพืชผล
    IPCC ยังคงมีความระมัดระวังในการคาดหมายผลกระทบทั้งหมด ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มี่ต่อผลผลิตทางการเกษตรโลก อย่างไรก็ตาม ได้มีการเห็นที่ตรงกันประการหนึ่งว่า อิทธิพลโดยรวม จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อผลผลิตจากพืชผล น่าจะเลวลงแต่ไม่รุนแรง และค่อนข้างแน่นอนว่า ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน ซึ่งเป็นที่โชคร้ายว่า ประชากรที่อาศัยในเขตนี้ ส่วนใหญ่ถูกคุกคาม จากการขาดอาหารอยู่แล้ว และประชากรที่อาศัยในแถบละติจูดต่ำ เขตกึ่งแห้งแล้ง และแห้งแล้ง มีรายได้ต่ำ ทำการเกษตร โดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการ ชลประทานนั้น จะเป็นบริเวณที่มีความอ่อนไหว มากที่สุด ประชากรเหล่านี้ ได้แก่ ประชากรที่อาศัยในบริเวณ กึ่งทะเลทรายสะฮาร่า ทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกบางเกาะ
    การพยากรณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรดังกล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น จะหมายถึง ผลที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลกระทบ ที่อาศัยการทดลอง ให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราว สามารถสร้างแบบจำลอง ผลกระทบที่น่าเป็นไปได้ ที่จะมีต่อผลผลิตทางการเกษตร ภายใน 2-3 ทศวรรษหน้า และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในลักษณะนี้เป็นไปได้มากกว่า ให้ผลการคาดหมาย ได้ดีกว่าวิธีการที่กำหนดให้ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยิ่งกว่านั้น ยังไม่มีแผนการคาดหมายใด ที่กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงการกระจายของแมลง ที่เป็นศัตรูพืช วัชพืช และโรคพืช ที่เกิด ขึ้นแต่อย่างใด
    อิทธิพลทางอ้อมของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อผลผลิตจากพืชผล ศัตรูพืช และโรคพืช
    การกระจายของศัตรูพืชและตัวนำโรคพืช ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและพืช สำหรับที่อยู่อาศัย ศัตรูพืชทางการเกษตรบางชนิด เช่น เพลี้ย ชอบสภาพความแห้งแล้ง แต่ตั๊กแตน แพร่ระบาดในสภาพอากาศชื้น อย่างไรก็ตาม แมลงที่กินพืชเป็นอาหารทั้งหมด เชื้อรา บักเตรีและตัวนำโรคพืช ต่างเจริญเติบโตได้ดี ภายใต้ขีดจำกัดทางนิเวศวิทยาที่แน่นอน และคาดหมายได้ว่า จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    ศัตรูพืชจำนวนมากที่มีอัตราการเพิ่มปริมาณสูง และมีความอ่อนไหว ต่อภูมิอากาศ เป็นไปได้ว่า จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อย่างเร็ว กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า การกระจาย และความหนาแน่น ของศัตรูพืช ในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนคาดว่า จะขยายกว้างขึ้น ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้น การเจริญเติบโต และผลผลิตของพืชผลจะลดลง จากการศึกษาต่าง ๆ จำนวนมากที่เกี่ยวกับศักยภาพผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อการกระจายของศัตรูพืช ในประเทศญี่ปุ่น คาดหมาย ได้ว่า ศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น หนอนทำลายยาสูบ ตัวทำลายข้าว ตัวทำลายถั่วเหลือง จะขยายพื้นที่กระจายขึ้นไปทางเหนือ แต่พื้นที่การกระจายของศัตรูพืช บางชนิด เช่น แมลงปีกแข็ง ที่ทำลายใบข้าว จะจำกัดพื้นที่แคบลง ในประเทศออสเตรเลีย ภาวะการร้อนขึ้น สามารถทำให้ศัตรูพืชหลายชนิด ขยายขอบเขตเข้าไป ในบริเวณอากาศหนาวเย็น ที่อยู่ทางใต้ลงไปได้
    ความถี่และความรุนแรงของการเกิดศัตรูพืช (เช่น ตั๊กแตน) ในอนาคต อาจได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงความถี่ของสภาพอากาศที่รุนแรงมาก ๆ ซึ่งบางกรณีสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ ENSO เช่น โรค Brown Plant Hopper ที่เป็นศัตรูของข้าวประจำถิ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะถูกพัดพาไปยังประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นประจำทุกปีโดยมรสุม การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลา และสถานที่ของลมนี้ สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ ENSO ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างมาก ต่อขอบเขตความเสียหายของข้าว
    ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศชนิดรุนแรงมาก ๆ ที่เกิดถี่มากขึ้น เช่น ความแห้งแล้งที่ยาวนาน น้ำท่วมรุนแรง อาจเป็นสถานที่เหนี่ยวนำ ให้เกิดโรคพืชหรือศัตรูพืชได้ และความรุนแรงจะทำลายความสัมพันธ์ ระหว่างสัตว์ที่กินสัตว์อื่น เป็นอาหารกับเหยื่อได้ ซึ่งตามปกติจะเป็นตัวจำกัด การแพร่กระจายของศัตรูพืช ตัวอย่าง การเกิดศัตรูพืชทางการเกษตรที่สัมพันธ์กับความผันแปรทาง ภูมิอากาศ คือ ในประเทศซิมบับเว เกิดการระบาดของหนูในปี ค.ศ. 1974-76 1983-85 และ 1994 ซึ่งตรงกับปีที่เกิดปรากฏการณ์เอล นีโญ หลังจากเกิดความแห้งแล้ง ติดต่อกันนานถึง 6 ปี เกิดมีฝนตกหนักในปี ค.ศ. 1992-93 และเกิดฝนระยะสั้น ๆ อีกในปี ค.ศ. 1993-94 ก่อให้เกิดเป็นสภาพ ที่เหมาะต่อการแพร่กระจาย ของประชากรหนูมาก หนูจะกินเมล็ดพืชทั้งที่เก็บไว้ และกำลังเพาะปลูก ในปี ค.ศ. 1994 ประชากรหนู ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเป็นทวีคูณ เนื่องจากภาวะความแห้งแล้ง ทำให้สัตว์ที่กินหนูเป็นอาหารลดลง จากตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่า อิทธิพลสะสมของความผันแปร ของลมฟ้าอากาศ ระหว่างปี ที่มีต่อการเคลื่อนไหว ของความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยานั้น ต้องพิจารณารวมกัน ในการสร้างแบบจำลอง ผลกระทบของ ความผันแปรทางภูมิอากาศ ที่มีต่อศัตรูพืช และโรคพืช
    การแพร่ระบาดของศัตรูพืชอาจเกิดจากการเพิ่มขึ้น ของปริมาณก๊าซาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศได้อีกด้วย แม้ว่ายังขาดรายละเอียด ที่แน่นอนก็ตาม บางการทดลองพบว่า แมลงจะลดลง เนื่องจากคุณภาพของอาหารจากใบไม้ต่ำลง แต่บางการทดลองพบว่า แมลงจะกินใบไม้มากขึ้น เพื่อชดเชยคุณภาพอาหารที่ต่ำลง ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า อิทธิพลการได้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของ พืชเป็นไปในทางลบ
    ยิ่งกว่านั้น ภูมิอากาศที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ อาจทำให้เกิดโรคพืช และศัตรูพืชชนิดใหม่ขึ้นได้ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งสัตว์ที่กินศัตรูพืชเป็นอาหาร ที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติถูกทำลายไป และการใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินไป อาจเอื้อต่อการเกิดโรคพืชได้เช่นเดียวกัน ปรากฏชัดว่า ผลกระทบของศัตรูพืช ที่มีต่อการผลิตอาหาร ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น มีขอบเขตที่แน่นอน และจะผันแปรไปตามท้องถิ่น การใช้เทคโนโลยี และการปรับตัวในระยะยาว
    ได้มีการประมาณการสูญเสียพืชผลที่อาจเกิดขึ้นถ้าศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืชเพิ่มมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เช่น ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก สูงขึ้น 2? ซ. บริเวณที่จะแห้งแล้งมากขึ้น ในทวีปอเมริกาเหนือ ผลผลิตจากพืชผล จะลดลง 30% เนื่องจากเกิดโรคพืชมากขึ้น และพืชผลบางชนิดในทวีปแอฟริกา จะลดลงมากกว่านี้ถึง 2 เท่า ในบริเวณที่ร้อน และชื้นมากขึ้น นอกจากนี้การแก่งแย่งจากวัชพืช จะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า พืชผลในประเทศสหรัฐอเมริกา จะได้รับความเสียหายมากขึ้นต่อไปอีก ประมาณ 5-50% (ขึ้นอยู่กับชนิดพืชผล) เพราะว่าวัชพืช สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพความแห้งแล้ง ได้ดีกว่าพืชผล
    สภาพลมฟ้าอากาศที่ร้อนและชื้นมากขึ้นสามารถทำให้ บักเตรี และเชื้อราในอาหารหลายชนิด เจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทำให้อาหารบูดเน่าได้มากขึ้น อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษ ที่มีผลร้ายต่อ สุขภาพอนามัยของมนุษย์ได้ เช่น ราในอาหารภูมิอากาศเขตร้อน ที่ชื่อ Apergillus flarus ที่ก่อให้เกิดสาร Aflatoxin (เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ ของการเกิดมะเร็งตับในมนุษย์) แพร่ขยายได้ดีในสารอินทรีย์ รวมทั้งพืชผลด้วย เช่น ถั่วลิสง ถ้าเก็บไว้ในสภาพ ที่มีอากาศชื้น
    ตัวอย่างการคาดหมายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเกษตรตามภูมิภาคต่าง ๆ
    1. จากการวิจัยในแคว้นควีเบก ประเทศแคนาดา พบว่า ภายใต้แผนการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ GISS ผลผลิตของข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลังและข้าวฟ่าง จะเพิ่มสูงขึ้น และผลผลิตของธัญพืชและพืชที่เมล็ดให้น้ำมัน (เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต ทานตะวันและองุ่น) จะลดลง
    2. การประมาณจากแบบจำลองสำหรับผลผลิต ข้าวโพด ทานตะวัน และถั่วเหลือง ในประเทศสมาคมยุโรป โดยการใช้แผนการคาดหมายจากการทดลอง ให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคงที่ พบว่า พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของพืชผลเหล่านี้ จะขยับขึ้นไปทางเหนือ 700-1900 กิโลเมตร
    3. ผลผลิตจากแบบจำลอง GCM จำนวนมาก พบว่า ผลผลิตทางการเกษตร ในบริเวณตอนเหนือ ของประเทศรัสเซียในทวีปยุโรป และไซบีเรีย อาจเพิ่มมากขึ้น และเขตพืชผลในบริเวณนี้จะขยับขึ้นไปทางเหนือ และยังคาดหมายว่า เมื่อนำเอาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้ามาพิจารณาด้วยแล้ว ผลผลิตของพืชผลในประเทศรัสเซีย จะสูงขึ้นมาก ถ้าระดับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อย่างไรก็ตาม ภายใต้การคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศบางแผน คาดหมายว่า การใช้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซน ในบรรยากาศชั้นทรอพอสเฟียร์ และการสูญเสียอินทรียวัตถุในดิน จะทำให้ผลผลิตจากพืชผลลดลง ประมาณ 10%
    4. ในประเทศอังกฤษ อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะเป็นสาเหตุให้ผลผลิตธัญพืชลดลง ผลผลิตจากมันสำปะหลัง หัวบีทที่ใช้ทำน้ำตาล และการปลูกสวนป่า จะเพิ่มมากขึ้น ผลผลิตจากสัตว์ทางเหนือของประเทศจะดีขึ้น แต่ต้องลงทุนมากขึ้นด้วยในการก่อสร้างอาคาร
    5. ในประเทศเซเนกัล ประมาณว่าถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 4? ซ. ในกลางศตวรรษหน้า ผลผลิตจากพืชผลจะลดลง 30% ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร 1-2 ล้านคน ในประเทศซิมบับเว ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2? ซ ผลผลิตที่ปัจจุบันนี้ได้ผล 7 ปี ภายใน 10 ปี จะได้ผลเพียง 2-4 ปี ภายใน 10 ปี เท่านั้น ในประเทศคีนยา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น แต่ในบริเวณกึ่งแห้งแล้ง จะประสบกับการขาดแคลนอาหาร จากการวิเคราะห์ผลผลิต จากพืชผลในปัจจุบัน ถึงศักยภาพผลผลิตจากพืชผลในอนาคต ตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ จำนวนศัตรูพืช และระดับรังสีอุลตราไวโอเลต-บี พบว่า ในทวีป แอฟริกา หยาดน้ำฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น 10% จะทำให้ผลผลิตจากพืชผล อยู่ในขอบเขตที่จำกัดลง
    6. ในประเทศนิวซีแลนด์ อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ศักยภาพทางการเกษตร ขยับเลื่อนไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธัญพืชจะปลูกได้ในพื้นที่ที่อยู่ทางใต้ลงไปจากปัจจุบันถึง 200 กิโลเมตร และขยับสูงขึ้นได้อีก 200 เมตร ทุก ๆ อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น 1 เซลเซียส
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหารจากปศุสัตว์

    ผลผลิตจากปศุสัตว์ก็มีความอ่อนไหวต่อความผันแปรทางภูมิอากาศ เช่นเดียวกับผลผลิตจากพืชผล การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทบกระเทือนทั้งตัวปศุสัตว์เอง และผลผลิตรายวัน การประเมินในเชิงปริมาณ ถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในอนาคต ที่มีต่อปศุสัตว์มีน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมีเอกสารที่สามารถอ้างอิงได้อย่างดี ถึงอิทธิพลของลมฟ้าอากาศ และปรากฏการณ์ที่รุนแรงมาก ๆ ที่มีต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของสัตว์ เช่น ความเครียดจากความร้อน (Heat Stress) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ทำความทรุดโทรม ให้กับปศุสัตว์ ซึ่งจะมีผลต่อ ผลผลิตนม และการขยายพันธุ์ของวัวนม นอกจากนี้ยังพบว่า สัตว์อายุน้อย มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ได้น้อยกว่าสัตว์อายุมาก
    ดังนั้น ในเขตภูมิอากาศร้อนอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีผลทำให้ผลผลิตนม น้ำหนักตัว และการขยายพันธุ์ลดลง และประสิทธิภาพ ในการเปลี่ยนแปลงอาหาร เพื่อใช้เป็นพลังงานต่ำลง ในเขตที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ผลกระทบเช่นว่านี้ จะสลับซับซ้อนมากกว่า ถ้าช่วงเวลา และความรุนแรงของช่วง ที่อากาศหนาวเย็นในเขตอบอุ่นลดลง เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น ความต้องการอาหารของสัตว์ อาจลดลง การมีชีวิตรอดของสัตว์อายุน้อย ยาวนานขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สำหรับให้ความร้อนแก่สัตว์จะลดลง 1 ใน 4 แต่การทำไร่นาสวนผสม ที่มีการปลูกพืชผลรวมอยู่ด้วย การใช้เครื่องจักร และสารเคมี อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบ จากการชะล้างพังทลายของดิน และภาวะมลพิษทางน้ำในดิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของหยาดน้ำฟ้า
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังกระทบต่อปศุสัตว์ผ่านทางผลกระทบ ที่มีต่อเชื้อโรคอีกด้วย ตัวอย่าง โรคจากโปรโตซัว ที่เกิดกับปศุสัตว์ และสัตว์อื่น ๆ เช่น โรค Trypanosomiasis โรค Theileriosis และ โรค Babesiosis เป็นไปได้ว่า ได้รับผลกระทบมาจาก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากโรคทั้งหมดนี้ แพร่กระจายได้ โดยมีตัวนำเชื้อโรค คือ หมัด เห็บและแมลงวัน ขั้นตอนการเกิดโรค ขึ้นอยู่อย่างมากกับอุณหภูมิ เช่น ในต้นทศวรรษที่ 1990 ฤดูหนาว ที่อุ่นผิดปกติอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัตว์เล็ก ๆ พวกริ้น Culicoides ซึ่งเป็นตัวนำ โรค African horse sickness เกิดขึ้นได้ในประเทศสเปน หรือการที่วัว ในทวีปแอฟริกาเป็นโรค East coast fever ที่เกิดจากตัวนำเชื้อโรค Rhipicephalus appendiculatus tick (หมัดชนิดหนึ่ง) ซึ่งถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป จากสภาพปกติของสถานที่ ที่เป็นอยู่ของหมัดชนิดนี้ ?5? ซ. แล้ว พบว่า ช่วงชีวิตของหมัดชนิดนี้ จะยาวนานขึ้นเป็น 3 เท่า นอกจากนี้ องค์การการป้องกันสิ่งแวดล้อม แห่งสหรัฐอเมริกา พบโรคติดต่อหลายชนิด เช่น โรค Home fly ในวัวเนื้อและวัวนม โรค Insect-bome anaphasmosis ที่เป็นโรคติดต่อในแกะ และวัว เกิดเพิ่มมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นอกจากนั้น แกะ วัว แพะและม้า ยังมีความอ่อนไหว ต่อโรคติดต่อจากพยาธิ ตัวกลม ที่การแพร่ระบาด จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของ สภาพภูมิอากาศเช่นกัน
    มาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อปศุสัตว์
    1. ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่ร้อนกว่า
    2. ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับปานกลาง
    3. เปลี่ยนชนิดปศุสัตว์ในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับที่รุนแรงมาก
    สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปศุสัตว์มีความสามารถที่จะมีชีวิตรอด ภายใต้สภาพ ลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมาก ๆ อย่างเช่น ความแห้งแล้ง ได้ดีกว่าพืชผล ดังนั้น การเลี้ยงปศุสัตว์จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า สำหรับให้ได้มาซึ่งรายได้ และความมั่นคงในเรื่องอาหาร
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหารจากการประมง

    โดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์ได้รับโปรตีนจากปลา ประมาณ 1/5 ของโปรตีนที่ได้รับจากสัตว์ ทั้งหมด ชุมชนยากจน ที่อาศัยบริเวณชายฝั่ง สัดส่วนการบริโภคปลาจะสูงกว่านี้ นอกจากนี้ ผลผลิตจากปลายังใช้เป็นปุ๋ย ยารักษาโรค และเลี้ยงสัตว์ ได้อีกด้วย
    เกือบครึ่งหนึ่งของการจับปลาเพื่อการค้าของโลก ได้มาจากบริเวณชายฝั่ง ที่กระแสน้ำเย็นซึ่งอยู่ข้างล่าง พลิกกลับขึ้นมาอยู่ใกล้ ๆ ผิวหน้าน้ำ (Upwelling) บริเวณเช่นว่านี้มีเพียง 1/1000 ของพื้นที่ มหาสมุทรทั้งหมดเท่านั้น ปลาที่จับได้ส่วนมากประกอบด้วย Pelagic Fish กระบวนการทาง ชีววิทยา ที่สำคัญที่ทำให้ชายฝั่งบริเวณนี้ เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของ Pelagic Fish และปลาชนิดอื่น ๆ อีกจำนวนมาก คือ กระแสน้ำเย็น ที่พลิกกลับขึ้นมา จะอุดมไปด้วยธาตุอาหาร และยังเป็นบริเวณที่ กระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็นไหลมาปะทะกัน ทำให้น้ำค่อนข้างสงบนิ่ง เกิดการสะสมของธาตุอาหาร เป็นที่เหมาะ ต่อการเจริญเติบโต และแพร่กระจายของแพลงตอน ที่เป็นอาหารปลา
    สภาวะที่ลมมีกำลังแรง ก็มีบทบาทสำคัญ ที่ทำให้เกิดระบบนิเวศชายฝั่งชนิดนี้ เช่นกัน เช่น การขยายพันธุ์ของปลา เป็นไปได้สูงที่สุด ในสภาพที่ลมแรงปานกลาง ในทางกลับกัน ความเร็วลมที่ต่ำ จะทำให้ขาดธาตุอาหาร และถ้าลมแรงมากไข่ปลา จะถูกพัดพาให้ห่างไกลจากชายฝั่งออกไป อาหารต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็ก ๆ จะถูกลมพัด ให้แตกกระจายออกจากกัน ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน สาหร่ายที่เกิดขึ้นแทนที่ จะอยู่ลึกเกินไป ที่จะสังเคราะห์แสงได้สะดวก ทำให้ตัวอ่อนกินแพลงตอนได้น้อยลง
    เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองจากตะวันตกไปตะวันออก ดังนั้น การพลิกกลับของกระแสน้ำเย็น ที่อยู่ข้างล่าง จะเกิดขึ้นตามชายฝั่ง ที่อยู่ทางตะวันออกของมหาสมุทร ถ้าความแตกต่างของอุณหภูมิ ระหว่างพื้นดินชายฝั่งกับมหาสมุทรใกล้เคียง มีค่ามากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากพื้นดิน ร้อนขึ้นได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ได้คาดหมายไว้ว่า ลมที่เกิดจากการพาความร้อน ในแนวนอน ที่จะทำให้เกิดการพลิกกลับของกระแสน้ำเย็น ที่อยู่ข้างล่างขึ้นมาอยู่ข้างบนได้ นั้น จะเพิ่มมากขึ้น ผลที่ตามมา คือ แหล่งอาหารปลา จะมีมากขึ้น เพราะธาตุอาหาร จะถูกนำขึ้นมาสู่ผิวหน้าน้ำได้มากขึ้น
    เมื่อมหาสมุทรร้อนขึ้น ถึงแม้ว่าจะร้อนขึ้นช้ากว่าแผ่นดิน ถึงกระนั้น ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ของกระแสน้ำในมหาสมุทร และการพลิกกลับของกระแสน้ำเย็น ที่เต็มไปด้วยธาตุอาหาร ผลผลิตของแพลงตอน ที่เป็นอาหารหลักของสัตว์น้ำ จะได้รับผลกระทบ ทำให้ปลาหลายชนิด ย้ายถิ่นฐานไป ถ้าปลาลดลง จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ประชากรนกทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล จะลดลงตามไปด้วย
    ความผันแปรของภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น และการเกิดปรากฏการณ์ ENSO ถี่ขึ้น ต่าง รบกวนการหมุนเวียน ในมหาสมุทรมากยิ่งขึ้น ผลที่ตามมาคือ แหล่งปลาชุม จะเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน ปรากฏการณ์ ENSO จะสัมพันธ์กับการหมดสิ้นไป และการเคลื่อนย้ายของ Pelagic Fish เช่น ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับชาวเปรู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งประมง ที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เกิด ปรากฏการณ์ เอล นีโญ ส่วนในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ปลาซาดีนนอกชายฝั่งประเทศเปรู และชีลีกลับมีมากขึ้น ขณะที่ในกระแสน้ำ เบนเกลละนอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ เกิดตรงกันข้าม
    ช่วงเวลาของการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์เลือดเย็น อย่างเช่นปลา ปรากฏชัดว่า จะอ่อนไหวอย่างมากต่ออุณหภูมิ ดังนั้นอุณหภูมิน้ำทะเล ที่สูงขึ้น อาจทำให้ฤดูกาลเจริญเติบโตของปลาบางชนิด ขยายกว้างมากขึ้นได้ นอกจากนี้ ในอ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในละติจูดสูง ๆ ผลผลิตปลาจะมากขึ้น โดยได้มีการคาดหมายว่า ผลผลิตปลาเพื่อการค้า จากทะเลสาบใหญ่ ๆ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น 2? ซ. ในระยะสั้น ผลผลิตจากการประมง ยังคงขึ้นอยู่กับน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจเพิ่มมากขึ้น ถ้าได้รับธาตุอาหารจากการชะล้าง พังทลายของดิน ลงสู่แหล่งน้ำ ตามการเพิ่มขึ้น หรือรุนแรงขึ้นของหยาดน้ำฟ้า ในบริเวณชายฝั่งอิทธิพลเช่นว่านี้ จะขยายกว้างขึ้น เพราะจะรวมอิทธิพลของระดับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้น และช่วงของน้ำขึ้น-น้ำลง ที่เพิ่มขึ้นเข้าไปด้วย ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในลักษณะนี้ ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ ทางตอนใต้ของประเทศ สหรัฐอเมริกา เนื่องจากระดับน้ำทะเล สูงขึ้น จากการจมตัวลงของแผ่นดิน
    อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อการประมงนั้น จะต้องตรวจสอบความเคลื่อนไหว ภายในระบบนิเวศด้วย เช่น ปลาแซลมอนที่ อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง ตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น จะเคลื่อนย้ายไปทางเหนือ เข้าสู่น่านน้ำอะลาสก้า แต่ต้องเจอกับ ปลาแมคเคอเรล (มีลักษณะคล้ายปลาทู) ที่กินปลาอื่นเป็นอาหาร ทำให้จำนวนปลาแซลมอน ขนาดที่โตเต็มที่ ลดจำนวนลง
    เป็นที่ปรากฏชัดแล้วว่า กิจกรรมของมนุษย์ ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวภายในระบบนิเวศอย่างมาก เช่น ระหว่างปี ค.ศ. 1950 ถึง 1989 การจับปลาของโลก ได้เพิ่มขึ้นจาก 22 ล้านตัน เป็น 100 ล้านตัน เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก ทำให้มนุษย์ต้องการอาหารทะเลต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือจาก 9 กิโลกรัม/คน เป็น 19 กิโลกรัม/คน การจับปลามากเกินไป ทำให้ปลา ที่จะจับได้ลดน้อยลง เช่น ระหว่าง ปี ค.ศ. 1990 ถึง 1993 การจับปลาลดลงมากกว่า 7%
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำความเสียหายให้กับการประมงได้หลายทาง ประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ประเทศที่จับปลาเป็นอาชีพหลัก และประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจน้อย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อการประมง จะไม่เป็นไปในทางลบทุกบริเวณ การปรับตัว การกำหนดโควต้าการจับปลา การทำฟาร์มเลี้ยงปลาให้มากขึ้น สามารถชดเชยความสูญเสีย ที่จะเกิดขึ้นได้มาก
    แหล่งเมล็ดธัญพืช ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร และการเสี่ยงต่อความหิวโหย

    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ยากจน ในเขตกึ่งแห้งแล้งและแห้งแล้ง เนื่องจากประเทศเหล่านี้ เผชิญหน้ากับการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจำนวนประชากร และสภาพอากาศที่ค่อนข้างจะรุนแรง และมีขีดความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่ำ จะเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหารมากที่สุด เช่น ในทวีปแอฟริกา ที่ประชากรมากกว่า 100 ล้านคน มีความไม่มั่นคง ด้านอาหารอยู่แล้ว จะเสี่ยงมากยิ่งขึ้นต่อการขาดอาหาร และอดอาหาร ประเทศเหล่านี้ อยู่ในแถบทะเลทรายสะฮาร่าที่แห้งแล้ง และมีประชากรมาก จนเกินกว่าความ สามารถของประเทศที่จะรับได้
    ราคาอาหารในท้องตลาดสันนิษฐานได้ว่าจะต้องสูงขึ้น ถ้าผลผลิตจากพืชผลแถบละติจูดกลาง ที่อยู่บริเวณตอนกลางของทวีปต่าง ๆ ของโลก ที่เรียกว่า “ตะกร้าขนมปัง” (Bread-basket) ลดลง เช่น ที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา แคว้นยูเครน บริเวณทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน ที่ต่ำทางตอนเหนือของทวีปยุโรป แหล่งปลูกข้าวสาลีของทวีปออสเตรเลีย และทุ่งกว้างในประเทศอาร์เจนตินา ผลที่ตามมาคือ เศรษฐกิจของหลายประเทศ จะได้รับผลกระทบกระเทือน ประชากรที่มีปัญหาจากการขาดอาหารอยู่แล้ว ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะคุกคามต่อสุขภาพ และการมีชีวิตรอดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารอยู่ในปัจจุบัน ต่างก็ผลิตอาหารได้น้อยลง ระดับความสามารถที่จะช่วยเหลือได้ ก็ลดลงด้วย
    อย่างไรก็ตาม การแปลความหมายจากการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงผลผลิต จากพืชผลที่ใช้เป็นอาหารของโลก เป็นการพยากรณ์ระดับการขาดอาหาร และความหิวโหย ที่ทำได้ยากมาก แบบจำลองที่ใช้ จะต้องพิจารณาถึงข่าวสาร หรือการคาดหมายเกี่ยวกับ การค้าอาหารโลก ราคาตลาดโลก การเจริญเติบโตของประชากร และความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ประมาณว่าประชากร ที่จะเสี่ยงต่อความหิวโหยในปี ค.ศ. 2060 อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะอยู่ในช่วง 40-300 ล้านคน ช่วงที่กว้างมากนี้ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน เช่น ประชากร เศรษฐกิจและการค้าโลก แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประชากร ที่จะเสี่ยงต่อความหิวโหยในปี ค.ศ. 2060 ประมาณ 640 ล้านคน
    การผลิตอาหารทั้งบนบกและในน้ำ ขึ้นอยู่อย่างมากต่ออิทธิพลจากปัจจัย ทางด้าน สิ่งแวดล้อม ซึ่งสภาพภูมิอากาศก็นับได้ว่า เป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง แต่จาก แผนการคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ภูมิอากาศภูมิภาค ยังมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น จึงยังไม่รู้แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีผลกระทบต่อการผลิตอาหารโลกอย่างไร สิ่งที่ทำให้การคำนวณการผลิตอาหาร สลับซับซ้อนมากขึ้น คือ การบริโภคจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวิชาการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ยากที่จะบอกได้ล่วงหน้า และยิ่งกว่านั้นยังประมาณเป็นตัวเลขไม่ได้
    ความยืดหยุ่นได้ทางชีววิทยาและการปรับตัวทางวิชาการ อาจทำให้บรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อผลผลิตจากพืชผลลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปพิจารณาได้ว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น ในที่สุดจะส่งผลให้ผลผลิตจากพืชผลของโลกลดลง ทั้งนี้เพราะว่า ระบบนิเวศการเกษตรมีความสลับซับซ้อน มีการเคลื่อนไหวและส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤตภายในระบบนิเวศนั้นได้




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
    ลักษณะทางชีววิทยา และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ไม่เพียงแต่ได้รับอิทธิพล จากสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ที่อยู่อาศัย อีกด้วย เช่น แนวเทือกเขา สามารถป้องกันลมแรง ให้กับท้องถิ่นนั้นได้ มหาสมุทร ทะเลสาบ และแม่น้ำ เป็นแหล่งความชื้นในบรรยากาศ สรีระของมนุษย์ปรับตัวได้ง่าย ตามสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น การขับเหงื่อ ความสุขสบายของมนุษย์ ส่วนใหญ่กำหนดจาก ปัจจัยทางภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม การดัดแปรสภาพแวดล้อมภายในอาคาร เช่น การติดตั้งเครื่องทำความร้อน เครื่องทำความเย็น จะมีผลต่อสภาพลมฟ้าอากาศภายนอกอย่างมาก นอกจากนี้ การดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การสวมใส่เสื้อผ้า ลักษณะอาชีพ ต่างก็มีผลต่อระดับความสุขสบายของมนุษย์ ที่เกิดจากปัจจัยทางลมฟ้าอากาศ ด้วยเช่นกัน ภูมิอากาศยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อสุขภาพอนามัย และการมีชีวิตรอดของมนุษย์ โดยผ่านทางอิทธิพล ที่มีต่อระบบนิเวศ วัฏจักรของน้ำ (แหล่งน้ำ) แหล่งอาหาร และพาหะนำโรค มนุษย์สามารถปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ค่อย ๆ เปลี่ยนในระยะเวลาที่ยาวนานได้ แต่ความผันแปรของลมฟ้าอากาศ ในระยะสั้น ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบทางลบ อย่างรุนแรงมาก ๆ ได้ ซึ่งเห็นได้จาก การเพิ่มขึ้นของอัตราการตาย การเพิ่มขึ้นของผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล และจากเสียงบ่นของคนที่รู้สึกไม่สบาย
    ปรากฏชัดว่ารูปร่างภายนอก ที่แสดงออกให้เห็นของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั้น ต่างเป็นผลมาจาก อิทธิพลของภูมิอากาศ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมใกล้ชิด แทบทั้งสิ้น ดังนั้น นักวิจัยจึงใช้ปัจจัยทางภูมิอากาศหลาย ๆ ตัว เพื่อให้ได้ภาพรวมของภูมิอากาศมากที่สุด ในการศึกษาอิทธิพลของภูมิอากาศ ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
    ผลกระทบของลมฟ้าอากาศรุนแรงที่มีต่อสรีระวิทยาและสุขภาพอนามัย

    อุณหภูมิอากาศที่รุนแรงมาก ๆ ทั้งร้อนและเย็น ต่างก็สามารถทำความปั่นป่วน ให้กับสรีระวิทยา และทำลายอวัยวะบางอย่างได้ นำไปสู่ความเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างแน่นอนที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ ความร้อนจะทำให้คนเสียสติ และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เกิดลักษณะลมฟ้าอากาศรุนแรงมาก ๆ เช่น การเกิดคลื่นความร้อน (Heat wave) ความร้อนส่วนเกินที่เกิดขึ้น ทำให้คนเจ็บป่วย และเสียชีวิต เห็นได้ชัดจากคลื่นความร้อน ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1980 1983 และ 1988 ซึ่งทำให้มีคนเสียชีวิต 1700 คน 556 คน และ 454 คน ตามลำดับ และคลื่นความร้อน ที่เกิดขึ้นในนครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1995 ทำให้มีคนเสียชีวิต เนื่องจากความร้อน สูงถึง 465 คน
    การปรับตัวทางสรีระวิทยาบางอย่าง เพื่อให้เคยชินกับสภาพอากาศรุนแรง อันเนื่องจากความร้อน ต้องใช้เวลานานหลายวัน แต่ถ้าจะให้ปรับตัวให้เคยชิน กับความร้อนที่ไม่คุ้นเคยได้อย่างสมบูรณ์ นั้น ต้องใช้เวลานานหลายปี ผลกระทบของสภาพอากาศร้อน ที่มีต่อสุขภาพ ได้มีการศึกษากันมาก ในส่วนที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ที่ร้ายแรงมากที่สุด คือ การเสียชีวิต เหตุผลสำคัญคือ ข้อมูลการเสียชีวิตหาได้ง่าย และแน่นอน
    จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า ความร้อน ที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตนั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ อีก เช่น ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ ทั้งความร้อน ความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ ร่วมกันก่อให้เกิดเป็น ความร้อนหรืออุณหภูมิ ที่ร่างกายมนุษย์รู้สึกได้ ที่เรียกว่า Apparent Temperature บุคคลที่มีสุขภาพดี จะมีกลไกในการควบคุมความร้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับการเพิ่มสูงขึ้นของ Apparent Temperature โดยการสูญเสียความร้อน จากการแผ่รังสี การพาความร้อน และการระเหยของเหงื่อ ตัวแปรที่สำคัญที่สุด ที่เป็นตัวกำหนดค่า Apparent Temperature คือ อุณหภูมิ เมื่อใดก็ตาม ที่เกิดความร้อนสูงขึ้น จนถึงจุดวิกฤตแล้ว กลไกการต่อสู้ทางสรีระวิทยา ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ ซึ่งอุณหภูมิจะเป็นตัวบ่งบอกถึง ขีดจำกัดของมนุษย์ที่จะทนทานได้ อุณหภูมิขีดจำกัดในแต่ละท้องที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น อุณหภูมิขีดจำกัดของ เมือง เซนต์หลุย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา เท่ากับ 36? ซ. ส่วนที่เมืองดีทรอย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ เท่ากับ 32?ซ. ความร้อนที่ทำให้คนเสียชีวิตนั้น จะแตกต่างกันไป ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ในเขต อบอุ่น คนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นชัดเจนมาก ระหว่างการเกิดสภาพลมฟ้าอากาศ ที่ร้อนผิดปกติ ส่วนในเขตร้อน มนุษย์จะได้รับผลกระทบ จากอุณหภูมิที่ร้อนอย่างรุนแรงน้อยกว่า ความแตกต่างระหว่างภูมิภาค ในรูปแบบของความร้อน ที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของความผันแปรอุณหภูมิ ฤดูร้อนในเขตอบอุ่น ช่วงที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อากาศโดยทั่ว ๆ ไปค่อนข้างสบาย เมื่อเกิดความผันแปร โดยอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากทันทีทันใด ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เกิดสภาพที่เรียกว่า “ช็อก” สำหรับในเขตร้อน โดยปกติช่วงที่ร้อนที่สุด ไม่เกินไปกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยมาก
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเสียชีวิต

    ถ้าความผันแปรของลมฟ้าอากาศยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ จะเกิดขึ้นควบคู่กันไป โดยที่จำนวนวันที่อุณหภูมิสูงเกินกว่าขีดจำกัด จะเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของเมือง มิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี ค.ศ. 1980 วันที่ร้อนที่สุดในฤดูร้อน อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2-3? ซ. และประเมินได้ว่าในปี ค.ศ. 2050 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้วันที่ร้อนมาก ๆ ในกรุงวอชิงตัน ถี่มากขึ้นหลายเท่า และจะเกิดฤดูร้อน ที่ร้อนอย่างผิดปกติในประเทศอังกฤษ จากการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วในเขตอบอุ่น พบว่า การเสียชีวิต จะลดน้อยลงตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อน จากแผนการคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ศึกษาในประเทศอังกฤษ พยากรณ์ว่า อุณหภูมิในฤดูหนาวจะเพิ่มสูงขึ้น 2-2.5? ซ. และจะทำให้ผู้เสียชีวิต ที่สัมพันธ์กับฤดูหนาวปีละ 9,000 คน ลดน้อยลงภายในปี ค.ศ. 2050 ผู้ที่รอดชีวิตมากกว่าครึ่ง เนื่องจากรอดพ้นจากโรคหัวใจ และ 5-10% รอดพ้นจากโรคปอด และหลอดลมอักเสบ แต่อัตราการเสียชีวิตในฤดูร้อน จะเพิ่มสูงขึ้น
    อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันอย่างดีแล้วถึงอิทธิพลทันทีทันใด ที่มีต่อสุขภาพเมื่อต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่รุนแรงมาก ๆ แต่อิทธิพลระยะยาวของภูมิอากาศโดยตรงนั้น ยังคงมีความเข้าใจน้อยมาก เพียงแต่คาดหมายว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีอิทธิพลต่อเชื้อโรค มีผลต่อคนที่ต้องเผชิญกับภูมิอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ ทันทีทันใด แต่ยังไม่ได้ศึกษาในเชิงปริมาณแต่อย่างใด ดังนั้น การคาดหมายความรุนแรง ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระยะยาว ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ อย่างมีกฎเกณฑ์นั้น ยังกระทำไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์สามารถปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ จึงไม่เห็นผลกระทบ ที่เกิดจากภูมิอากาศชัดเจน เหมือนกับผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเกิดโรคติดต่อ

    ในต้นศตวรรษที่ 20 สามารถควบคุมโรคติดต่อได้โดยทั่วไป แต่ปัจจุบันโรคติดต่อเก่า ๆ ได้กลับเกิดขึ้นมาใหม่ ในหลายส่วนของโลก พิษจากอาหารก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย สถานการณ์นี้ สะท้อนถึงผลรวมระดับโลก ที่ไม่เคยมีมาก่อนของปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากร อย่างรวดเร็ว การตั้งถิ่นฐาน ที่หนาแน่นมากตามขอบ ๆ ของป่า มนุษย์มีความรู้สึกไม่สบายมากขึ้น มีการค้าขายระยะทางไกล ๆ มีการใช้ยาฆ่าแมลง และยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ปัญหาสังคมและการเมือง และความผันแปรทางภูมิอากาศ ในระดับภูมิภาค มีกระบวนการและสิ่งมีชีวิตมากมาย ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคติดต่อที่แผ่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิพลจากความไม่แน่นอนของภูมิอากาศ ตัวการเด่น ๆ คือ อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า และความชื้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผันแปรทางภูมิอากาศปกติ ดังเห็นได้ชัดว่าเกิดโรคติดต่อตามฤดูกาลขึ้น ดังนั้น หากเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในระดับภูมิภาคขึ้นแล้ว คาดหมายได้ว่า จะเป็นสาเหตุให้รูปแบบของโรคติดต่อ และโรคพิษจากอาหาร ขยับเลื่อนไปเป็นบริเวณกว้าง เช่น การร้อนขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่กระจายไปตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (ทั้งตามความสูงและตามเส้นละติจูด) ทำให้ตัวนำเชื้อโรค มีศักยภาพในการแพร่กระจาย ได้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ยังสามารถเปลี่ยนวงจรการเคลื่อนไหว ของทั้งตัวนำโรค และตัวเชื้อโรค ซึ่งอาจจะยิ่งทำให้เชื้อโรค แพร่กระจายได้ดีมากยิ่งขึ้น
    การแพร่กระจายของโรคที่ไม่ต้องมีตัวนำ บางครั้งก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยเช่นกัน เช่น โรคอุจจาระร่วง (Faecaloral infections) โรคจากอาหารเป็นพิษ (Foodborne disease) และโรคติดต่อ ที่แพร่กระจายโดยตรง จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง แม้ว่าโรคติดต่อเหล่านี้ จะเกิดเป็นโรคขึ้นได้ ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย แต่ปัจจัยด้านอุณหภูมิ และความชื้นก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ ปัจจัยทางภูมิอากาศ ยังมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแพร่กระจาย ของโรคติดต่อได้อีกด้วย ดังนั้น แม้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย จากระดับที่มนุษย์ทนได้แล้ว จะมีผลทางอ้อมส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ทันที
    ปัจจัยทางภูมิอากาศที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวนำเชื้อโรค
    1. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะเป็นตัวเร่งกระบวนการเจริญเติบโต ของตัวนำเชื้อโรค ผลที่ตามมา คือ ตัวนำเชื้อโรคต้องการอาหาร เพื่อบำรุงมากยิ่งขึ้น ต้องการเลือดหล่อเลี้ยงถี่มากยิ่งขึ้น ดังนั้น อัตราการกัด เจาะดูด จะสูงมาก ซึ่งนำไปสู่การวางไข่เพิ่มสูงขึ้นด้วย การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จะกระทบกระเทือน ต่อการกระจายของตัวนำเชื้อโรค Arthropod เพราะว่า อุณหภูมิต่ำสุด-สูงสุด จะเป็นตัวจำกัดการกระจาย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ของตัวนำเชื้อโรค Arthropod ยิ่งกว่านั้น ลักษณะทางสรีระวิทยาทั้งหมด ของตัวนำเชื้อโรค Arthropod นี้ จะอยู่ได้ ภายใต้อุณหภูมิที่พอเหมาะ เท่านั้น อุณหภูมิต่ำสุดที่เปลี่ยนแปลงไป จะมีผลอย่างมาก ต่อการอยู่รอดของตัวนำเชื้อโรค Arthropod เช่น ฤดูหนาวที่ร้อน จนไม่มีโอกาสเกิดน้ำค้างแข็ง จะทำให้ ยุง แมลงสาบ และปลวก มีจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้นได้
    2. ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวนำเชื้อโรคเติบโตได้ดี ในขณะที่อุณหภูมิสูง และความชื้นค่อนข้างสูง ตัวนำเชื้อโรค Arthropod จะมีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน แม้ว่าจะมีความไวต่อเชื้อรา และบักเตรีที่สูงขึ้นด้วยก็ตาม หากความชื้นต่ำ ตัวนำเชื้อโรคบางชนิด ต้องการอาหารบ่อยมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ นั่นคือ ในบริเวณที่อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ แมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ที่เป็นตัวนำเชื้อโรค จะแพร่กระจายได้ 2 ครั้ง/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณที่อุณหภูมิต่ำ แต่มีความชื้นสูงกว่า ที่แพร่กระจายได้ปีละ 1 ครั้ง
    3. หยาดน้ำฟ้า หยาดน้ำฟ้าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีต่อแมลง เช่น ยุง และแมลงดำ (Black fly) ช่วงเวลาในการวางไข่ และเป็นตัวอ่อนของแมลงเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในน้ำ นั่นคือ หยาดน้ำฟ้าจะเป็น ตัวบ่งบอกถึงว่า มีหรือไม่มีที่เพาะพันธุ์ ของแมลงเหล่านี้ ผลกระทบของหยาดน้ำฟ้า ที่จะมีต่อที่เพาะพันธุ์ ขึ้นอยู่กับ อัตราการระเหยน้ำ อัตราการซึมของน้ำ ลึกลงไปในดินชั้นล่าง ความลาดเอียงของพื้นที่ และความห่างไกล จากแหล่งน้ำใหญ่ ๆ และแม่น้ำ ลำธาร นอกจากนี้ ยังมีแมลงหลายชนิด ที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำ ในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ที่หลงเหลือภายหลังน้ำท่วมในฤดูฝน อย่างไรก็ตาม หยาดน้ำฟ้าที่ตกรุนแรงมาก ๆ อาจเป็นตัวการทำให้ไข่ ของตัวนำเชื้อโรค และตัวนำเชื้อโรคเอง ถูกกวาดล้างสูญหายไป หรือถูกทำลายลงได้ แหล่งน้ำที่ระเหยน้ำได้ดี มีออกซิเจนผสมอยู่อย่างสมบูรณ์ และในลำธารเล็ก ๆ บนภูเขา เป็นแหล่งน้ำที่เหมาะ ต่อการเพาะพันธุ์ของ Black fly ตัวนำเชื้อโรคอื่น ๆ เช่น Aedes Aegypti (ตัวนำเชื้อโรคไข้ส่า) สามารถปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ภายในเมืองได้ดี สามารถเพาะพันธุ์ได้ แม้ในน้ำที่บรรจุในถัง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหยาดน้ำฟ้าก็ตาม
    4. ลม ลมเป็นตัวช่วยให้แมลงที่บินได้สามารถแพร่กระจายได้ดีมากยิ่งขึ้น ทิศทาง และความเร็วลมประจำ มีผลกระทบ ต่อการกระจายของตัวนำเชื้อโรค ตัวนำเชื้อโรคที่เป็นแมลงบางชนิด เช่น Anopheles (ยุงที่เป็นตัวนำไข้มาลาเรีย) ชนิดต่าง ๆ Simulliidae (Black fly) และ Phlebotominae (sandflies) สามารถแพร่กระจายไปได้ นับร้อยกิโลเมตรจากแหล่งกำเนิด
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    อิทธิพลทางอ้อมของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อตัวนำเชื้อโรค
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศน่าจะมีอิทธิพลทางอ้อมต่อชนิด และจำนวนของตัวนำเชื้อโรค เช่น ตัวนำเชื้อโรคชนิดหนึ่ง อาจจะถูกแทนที่โดยตัวนำอีกชนิดหนึ่งได้ ตามการเคลื่อนย้ายไปของสภาพแวดล้อม ตัวนำเชื้อโรคที่เข้ามาแทนที่ จะแตกต่างจากตัวนำเชื้อโรคเดิม อย่างสิ้นเชิง เพราะว่าความสามารถจะอยู่รอดได้ ของตัวนำเชื้อโรคแต่ละชนิด นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ การแพร่กระจายของโรค จะเปลี่ยนแปลงไป ด้วยตามชนิดของตัวนำเชื้อโรคนั้น ๆ
    Anopheles หลายชนิดรวมทั้งไข้มาลาเรีย ที่ตัวนำเหล่านี้เป็นตัวแพร่กระจาย ได้สูญหายไปจากพื้นที่ ที่เคยเป็นป่าหนาทึบมาก่อน เนื่องจากต้นไม้ ละสัตว์ต่าง ๆ ที่ตัวนำเชื้อโรค องพึ่งพาถูกทำลาย หรือเคลื่อนย้ายไปที่อื่น นอกจากนี้การอยู่รอดของ หมัด เห็บ เล็น ไร ต่างก็ขึ้นอยู่กับต้นไม้ และสัตว์ในท้องถิ่นนั้นเช่นเดียวกัน สิ่งปกคลุมดินต่าง ๆ จะก่อให้เกิดลักษณะภูมิอากาศใกล้ผิวดิน ที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของสัตว์ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของตัวนำเชื้อโรค
    การทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอาจเป็นผลดีต่อตัวนำเชื้อโรคบางชนิดได้ เช่น การทำลายป่า ในบริเวณประเทศอินโดนีเซีย-ออสเตรเลีย ทำให้ตัวนำเชื้อโรค ที่อยู่ในกลุ่มของ An.Punctulatus เจริญเติบโตได้ดี ทำให้โรคไข้มาลาเรียแพร่กระจายได้มากขึ้น เรียกโรคไข้มาลาเรียที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ว่า “ไข้มาลาเรียที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์” (Human-made malaria) การเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตร อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ก็จะมีผลกระทบ ต่อชนิดของตัวนำเชื้อโรคด้วยเช่นกัน เช่น ในพื้นที่ที่มีการชลประทาน เท่ากับเป็นการเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ให้มากขึ้น และยังทำให้ จำนวนทากเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรค Schistosomiasis การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะทำให้พื้นที่ชายฝั่งน้ำท่วมมากขึ้น กลายเป็นบริเวณน้ำกร่อย ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของตัวนำเชื้อโรค ที่ชอบน้ำกร่อย คือ An.Subpictus และ An.Sundaicus
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่ต้องอาศัยตัวนำเชื้อโรค
    ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการพยายามพยากรณ์อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่มีต่อการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่ต้องอาศัยตัวนำเชื้อโรค มีดังต่อไปนี้

    1. การกระจายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของโรคติดต่อที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    2. ชนิดของแหล่งที่อยู่อาศัย (แมลงหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์) ของตัวนำเชื้อโรค
    3. อุณหภูมิที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของตัวนำเชื้อโรคและสัตว์ที่เกาะกินสัตว์อื่น และกระบวนการปรับตัวซึ่งกันและกันระหว่างที่อยู่อาศัยกับตัวสัตว์ที่ไปอาศัยอยู่
    4. ความสามารถในการเคลื่อนย้ายของตัวนำเชื้อโรคและสัตว์ที่เกาะกินสัตว์อื่น
    5. การแพร่กระจายของโรคติดต่อตามฤดูกาลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อโรคไข้มาลาเรีย

    ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ในหลายส่วนของโลกที่พัฒนาแล้ว เต็มไปด้วยไข้มาลาเรีย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางตะวันตก และทางใต้ของทวีปยุโรป และทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย ประมาณว่าปัจจุบันประชากรโลก 1 คน ใน 20 คน ติดเชื้อไข้มาลาเรีย ปีหนึ่ง ๆ มีประชากรที่ติดเชื้อไข้มาลาเรีย ประมาณ 350 ล้านคน และประมาณว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย ปีละ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา
    ไข้มาลาเรียเกิดจาก Plasmodium parasite ผ่านเข้าสู่มนุษย์ได้ โดยยุงเพศเมีย ที่อาศัยเลือดมนุษย์ในการเจริญเติบโต Plasmodium parasite เจริญได้อย่างดีในตับ และเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ซึ่งจะติดไปกับยุงที่กัดบุคคลนั้น และถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่น การควบคุมโรคไข้มาลาเรีย มีความยากลำบากมาก และปรากฏชัดว่า โรคไข้มาลาเรียในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากกว่าในอดีต
    จากหลักฐานที่ผ่านมาไม่นาน พบว่า การเกิดโรคไข้มาลาเรีย เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของท้องถิ่นนั้น ที่เด่นชัดมาก คือ การแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความสูง ระหว่างการเกิดสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างผิดปกติ ในประเทศรวันดา ในปี ค.ศ. 1984
    อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า และสภาพลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมาก ๆ ก็มีอิทธิพลต่อการอยู่รอด และการกระจาย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของยุง Anopheline ที่เป็นตัวแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรีย ในแถบละติจูดสูง ๆ ขึ้นไป ก็สามารถอยู่รอดได้ โดยอาศัยที่กำบัง ในช่วงที่อากาศหนาว ซึ่งเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ แต่กิจกรรมของยุง Anopheline ทั้งหมดจะหยุดลง เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 22? ซ. นอกจากนี้ยังมียุงชนิดอื่น ๆ ที่แพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรีย Falciparum ในเขตอบอุ่น สามารถอยู่รอดได้ แม้อุณหภูมิต่ำกว่า 22? ซ. แต่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาว ลดลงต่ำกว่า 16-18? ซ. ดังนั้น การร้อนขึ้นในเขตอบอุ่น จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของยุงเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การอยู่รอดของยุง จะอ่อนไหวง่ายมาก ตามความชื้นสัมพัทธ์ ในขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้รับหยาดน้ำฟ้าเพิ่มเติม อายุของยุง จะสั้นลง และอาจทำให้ การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรียในเขตร้อน ลดลงได้ด้วย
    วงจรการฟักตัวของเชื้อไข้มาลาเรีย Plasmodium จะอ่อนไหวตามอุณหภูมิมาก ซึ่งเป็นปัจจัยควบคุม ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแพร่กระจายของโรค อุณหภูมิที่พอเหมาะ ต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อไข้มาลาเรีย Plasmodium ชนิดต่างๆ ที่อยู่ในยุง คือ เชื้อ P.vivax 25?ซ. เชื้อ P.falciparum 30?ซ.และเชื้อ P.malariae 22?ซ. เชื้อ Plasmodium ทั้งหมดจะไม่ขยายพันธุ์ ในอุณหภูมิที่นอกเหนือจากช่วง 14-38? ซ. เช่น การขยายพันธุ์ของ เชื้อ P.vivax จะหยุดลง เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 14-16? ซ. และเชื้อ P.falciparum เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 18-20? ซ. ดังนั้น เพียงแต่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด สูงขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะทำให้การฟักตัวของเชื้อไข้มาลาเรียเร็วขึ้นอย่างมาก
    ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดอัตราการอยู่รอดของทั้งตัวนำเชื้อโรค และตัวนำเชื้อโรคเอง แต่หยาดน้ำฟ้า ก็มีอิทธิพลโดยตรง ต่อความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเพาะพันธุ์ และความหนาแน่น ของตัวนำเชื้อโรคด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ตัวนำเชื้อโรคในกลุ่ม Anopheles punctulatus ที่ขยายพันธุ์ในโคลนตม ซึ่งมีอยู่ในบริเวณประเทศอินโดนีเซีย-ออสเตรเลีย การขยายพันธุ์ จะสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับหยาดน้ำฟ้าประจำวัน ในระหว่างที่เกิดภาวะแห้งแล้งรุนแรง จนทำให้แม่น้ำแห้งขอดกลายเป็น โคลน ตม ในท้องแม่น้ำ นำไปสู่การขยายพันธุ์ของตัวนำเชื้อโรค ที่รุนแรงมาก ดังกรณีที่เกิดขึ้น ในประเทศศรีลังกา ระหว่างปี ค.ศ. 1934-1935 ที่เกิดโรคระบาด จากตัวนำโรค An.culicifacies
    นอกจากอุณหภูมิและความชื้นแล้ว การกระจายของโรคไข้มาลาเรีย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น การอยู่รอดของตัวนำโรค Anopheline จะต้องมีสัตว์ให้ตัวนำนี้ เป็นที่อาศัยเกาะกิน นอกจากนี้ ความรุนแรงของการแพร่กระจาย ก็จะผันแปรไปตามปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกัน พฤติกรรมของมนุษย์ และระดับความเอาใจใส่สุขภาพที่มีอยู่ ก็เป็นตัวบ่งบอกถึง ศักยภาพของการแพร่กระจายของโรคได้ว่า เพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ในเขตร้อน การจัดการสิ่งแวดล้อม และการควบคุมตัวนำเชื้อโรค โดยใช้หลักการทางชีววิทยา และยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมี ซึ่งได้พิสูจน์ แล้วว่า มีประสิทธิภาพสูง ในการลดการแพร่กระจายของโรค ในทางตรงข้าม ถ้าหากการเฝ้าระวัง และการป้องกัน ในการเอาใจใส่สุขภาพ ไม่เพียงพอหรือขาดแคลนแล้ว การแพร่กระจายของโรค จะเกิดเพิ่มมากขึ้น
    แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับศักยภาพของผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อโรคไข้มาลาเรีย
    การประเมินเชิงปริมาณถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อศักยภาพ การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย กระทำได้จากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ คำว่า “ศักยภาพ” ในที่นี้ หมายถึง การพยากรณ์จากแบบจำลอง ที่คาดว่าจะเกิดโรคไข้มาลาเรียขึ้น ตามปัจจัยทางภูมิอากาศ และที่สัมพันธ์กับสิ่ง แวดล้อม แบบจำลองไม่ได้พิจารณาถึง การศึกษาเรื่องประชากร ลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจ และฐานะทางวิชาการ ซึ่งอาจเป็นตัวจำกัด การแพร่กระจายของโรคได้
    แบบจำลองง่าย ๆ ที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซีย โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ยรายปี ฝนรวมรายปี และโรคไข้มาลาเรียที่เกิดขึ้น ในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งแบบจำลองพยากรณ์ว่า ภายใต้แผนการคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่อยู่ในช่วงระดับปานกลาง จากอัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรีย ที่เป็นอยู่ปัจจุบันในแต่ละปีนั้น จะทำให้มีผู้เป็นโรคไข้มาลาเรีย 2,705 คน ต่อประชากร 10,000 คน ภายในปี ค.ศ. 2010 และประมาณ 25 % ของประชากรทั้งหมด จะเป็นโรคไข้มาลาเรีย ในประมาณปี ค.ศ. 2070 ค่าการประมาณนี้ อยู่บนสมมติฐานที่ว่า ความพยายามของประเทศอินโดนีเซีย ในการป้องกัน หรือควบคุมโรค ไข้มาลาเรีย อยู่ในอัตราคงที่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การประเมินค่าการพยากรณ์ อย่างเฉพาะเจาะจงนี้ ยากมาก
    จากการสร้างแบบจำลองรวมที่สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์เชิงปริมาณ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อการกระจายตัวนำเชื้อโรคไข้มาลาเรีย ในระดับโลก ซึ่งแบบจำลองทุกแบบ พยากรณ์ว่า ศักยภาพการแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จะเพิ่มมากขึ้น ปรากฏชัดจากแบบจำลองว่า ที่อยู่อาศัยของตัวนำเชื้อโรค จะเลื่อนขยับกว้างมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงความสามารถ ที่จะอยู่รอดได้ของตัวนำเชื้อโรค ซึ่งอาจทำให้ศักยภาพการแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย เป็นไปได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณี ที่ระดับความทนทานต่อโรค ของประชากร เป็นตัวการในการกำหนดภาวะวิกฤต กล่าวคือ บริเวณที่มีโรคไข้มาลาเรีย เป็นโรคประจำท้องถิ่น ประชากร จะมีความทนทานต่อโรคสูง ผลกระทบของภูมิอากาศ ที่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้น ของการแพร่กระจายโรคไข้มาลาเรีย จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าที่จะเกิดกับ ประชากรที่มีระดับความทนทานต่อโรคต่ำ บริเวณที่ในชั้นแรก มีโรคไข้มาลาเรียไม่สม่ำเสมอ ภูมิอากาศ ที่เหนี่ยวนำให้ อัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรีย มากขึ้นนั้น จะเป็นสาเหตุทำให้ การแพร่กระจายของโรค สม่ำเสมอขึ้น บริเวณที่อยู่ในที่สูง ๆ เช่น ทางตะวันออก ของทวีปแอฟริกา บริเวณเทือกเขาแอนดิส ในทวีปอเมริกาใต้ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หลายองศาเซลเซียส อาจทำให้การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย ขยับสูงขึ้นด้วย พอที่จะเปลี่ยนให้ บริเวณที่เคยเป็นเขตปลอดจากโรคไข้มาลาเรีย เป็นบริเวณที่มีโรคไข้มาลาเรียระบาด เป็นครั้งคราว ตามฤดูกาลได้ ประชากรที่อาศัย ในเมืองใหญ่ ๆ ในที่สูงซึ่งอยู่นอกเขต โรคไข้มาลาเรีย และปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นเขตปลอดจากโรคไข้มาลาเรีย ก็จะได้รับผลกระทบทั้งหมด เช่น กรุงไนโรบี ประเทศคีนยา เมืองฮาเรเร ประเทศซิมบับเว ยุงจะตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวดเร็วมาก การเกิดโรคไข้มาลาเรีย กับประชากรเหล่านี้ เป็นหลักฐานเบื้องต้น ถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศ กับการแพร่กระจาย ของโรค
    ได้มีการประเมินว่า ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น หลายองศาในปี ค.ศ. 2100 แล้ว จะทำให้ความสามารถ ในการนำเชื้อโรคของยุงในประเทศเขตร้อน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และในประเทศ แถบอบอุ่น จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่า อย่างไรก็ตาม ในประเทศแถบอบอุ่น การมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง เช่น การเฝ้าระวังโรค และการบำบัดได้อย่างฉับพลัน อาจเป็นตัวขัดขวางความสามารถ ในการนำเชื้อโรคของยุง ที่จะเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จึงไม่น่าจะก่อให้เกิด เป็นโรคเรื้อรังประจำท้องถิ่น ในประเทศเหล่านี้
    กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า ผลจากแบบจำลอง พบว่า ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 21 เปอร์เซนต์ของประชากรโลก ที่จะอาศัยอยู่ในเขตที่มีการแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย จะเพิ่มสูงขึ้นจาก 45% เป็นประมาณ 60%
    เป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะเป็นสาเหตุให้โรคไข้มาลาเรีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ P.falciparum) แผ่ขยายกว้างออกไป ในประเทศเขตร้อน ทั้งตามเส้นละติจูด และตามความสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบถึง รูปแบบการแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย ในประเทศเหล่านี้ เช่น การแพร่กระจาย อาจเป็นไปได้ตลอดทั้งปี ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ ต่อการขยายพันธุ์ตลอดปี ไม่ใช่เฉพาะฤดูกาลดังแต่ก่อน
    การคาดหมายจากแบบจำลองต่างๆ พิจารณาเฉพาะผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยตรงเท่านั้น การแปลความหมายผล จากแบบจำลองรวมระดับโลก จะต้องพิจารณาถึง สภาพของท้องถิ่นด้วย เช่น มาตรการการควบคุม การบริการอนามัย แหล่งที่อยู่ของตัวนำเชื้อโรค ที่เกาะกินสัตว์อื่น และความหนาแน่นของยุง ยิ่งกว่านั้น ผลจากแบบจำลอง ควรได้รับการตรวจสอบ อย่างระมัดระวัง จนกระทั่งเชื่อถือได้อย่างมีเหตุผล กับข้อมูลในอดีต ยังมีความต้องการรายละเอียด ที่กว้างขวางกว่านี้อีกมาก ที่จะรวมเข้าไว้ในแบบจำลอง แม้ว่าจะยาก แต่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ก็ยังเป็นวิธีการที่เป็นไปได้ ในการศึกษาผลกระทบ ของภูมิอากาศ ที่มีต่อโรคที่ต้องมีตัวนำเชื้อโรค และยังชี้ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเคลื่อนไหวของประชากรตัวนำเชื้อโรค และการเคลื่อนไหวของโรค ของมนุษย์




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล


    บริเวณชายฝั่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญมากต่อความผาสุกของมนุษย์ ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์จะตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณชายฝั่งทะเล ริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบลุ่มดินตะกอน เนื่องจากเป็นบริเวณ ที่เหมาะต่อการทำการเกษตร การประมงและการค้า มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ที่ปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ ห่างจากทะเลไม่เกิน 60 กิโลเมตร โดยภาพรวม อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร แถบชายฝั่งจะสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ยิ่งกว่านั้นมีเมือง ที่คาดว่าจะมีประชากรเกินกว่า 10 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2100 ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมากถึง 16 เมือง ใน 23 เมือง การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงความถี่ และความรุนแรงของปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ น่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญที่สุด ที่จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    ระหว่าง 18,000 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลได้สูงขึ้นโดยรวม ประมาณ 100 เมตร แต่ ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ระหว่างศตวรรษที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 18 เซนติเมตร หรือโดยเฉลี่ย 1-2.5 มิลลิเมตร/ปี การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากกลไกต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งที่เด่นชัดมากที่สุดคือ การขยายตัวของน้ำ ในมหาสมุทรเนื่องจากความร้อน ตามด้วยการละลายของธารน้ำแข็งแถบภูเขา และการละลายของแผ่นน้ำแข็งแถบขั้วโลก การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ยังเกิดขึ้นได้ เนื่องจากอิทธิพลการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหมุนเวียน ในมหาสมุทร ลมและความกดอากาศ ซึ่งอิทธิพลจากความผันแปรเหล่านี้ บางส่วนมีผลทำให้เกิดความผันแปร ของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาคได้
    อย่างไรก็ตาม ตัวชายฝั่งทะเลก็ไม่คงที่เนื่องจากกระบวนการทางธรณีวิทยา ตาม ธรรมชาติ (การเคลื่อนที่ ของเปลือกโลก การตอบสนองจากธารน้ำแข็ง การตกตะกอน และการจมตัวลงของแผ่นดิน) และกิจกรรมของมนุษย์ (การขุดเจาะหาน้ำมัน ก๊าซ หรือ น้ำ และการตกตะกอน) เป็นสาเหตุทำให้แผ่นดินชายฝั่งเคลื่อนที่ไป เมื่อเทียบกับระดับของน้ำทะเล เช่น การสูบน้ำใต้ดินมาใช้ ทำให้แผ่นดินในท้องถิ่นนั้น จมตัวลงได้ ซึ่งตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1920 และ 1930 เป็นต้นมา เมืองใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง จำนวนมากจมตัวลง เนื่องจากการสูบน้ำใต้ดิน ขึ้นมาใช้มากเกินไป เช่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จมตัวลง 5 เมตร เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จมตัวลง 2.8 เมตร และเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น จมตัวลง 2.8 เมตร ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเมืองที่อยู่ชายฝั่ง เช่น เมืองเทียนสิน ประเทศจีน และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย การเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน และระดับน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นในลักษณะนี้ ปรากฏชัดว่า ไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดจาก การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลของโลกแต่ประการใด แต่เมืองต่าง ๆ หรือแถบชายฝั่งที่ปัจจุบันนี้ ประสบกับปัญหาการทรุดลง ของแผ่นดิน จะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งยากที่จะเอาชนะได้ ดังนั้น บริเวณเหล่านี้ จะอ่อนไหวต่อระดับน้ำทะเลของโลก ที่จะสูงขึ้นในอนาคตมากที่สุด
    ค่าประมาณที่ดีที่สุดของแบบจำลองมหาสมุทรและภูมิอากาศปัจจุบัน คือ ระดับน้ำทะเล จะสูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 และจะสูงขึ้นต่อไปอีก ภายหลังจากนั้น ถ้าหากการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก สู่บรรยากาศ ยังเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การประมาณค่าที่ดีที่สุด ในการพยากรณ์อัตราการสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลกระทำได้ สำหรับช่วงระหว่างปัจจุบัน จนถึงปี ค.ศ. 2100 เท่านั้น ซึ่งจะสูงกว่าใน 100 ปีที่ผ่านมาถึง 2-3 เท่า จากรูปที่ 7 แสดงให้เห็นช่วงกว้าง ของแผนการคาดหมาย การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต ในการประเมินนี้ ยังคงมีสิ่งที่ไม่แน่นอนที่สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วงเวลาที่ล่าช้าออกไป ในการตอบสนองของน้ำในมหาสมุทร ที่มีต่อการร้อนขึ้นของบรรยากาศ และอัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็ง แถบขั้วโลก ยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ของแต่ละท้องถิ่น จะแตกต่างกันมาก จากการประมาณค่าเฉลี่ยของโลก เนื่องจากการขยับเลื่อนไป ของกระแสน้ำและลมค้า ที่อาจเกิดเป็นแรง ทำให้ปริมาตรของน้ำเพิ่มมากขึ้น ตามชายฝั่งได้
    อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีต่อระบบนิเวศ

    พื้นที่ชายฝั่งเป็นผลจากการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างแผ่นดินและ น่านน้ำ จะแตกต่างกันไป ตามโครงสร้างทางแร่ธาตุ และความสูงต่ำของแผ่นดินรอบ ๆ อัตราการตกตะกอน และการพังทลายที่เกิดจากกระแสน้ำ คลื่น น้ำขึ้น-น้ำลง และแม่น้ำ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันนี้ จะต้องนำเข้ามาพิจารณา ในการสร้างแบบจำลองผลกระทบ ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่คาดหมายได้ ที่จะมีต่อบริเวณชายฝั่ง การขยับเลื่อนไปของขอบเขต ระหว่างแผ่นดินและน่านน้ำ ตามการเพิ่มสูงขึ้นในแนวดิ่ง ของระดับน้ำทะเลที่คาดหมายได้ ตามธรรมดาแล้วจะดูราวกับว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งจะมองไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจน ลักษณะความแตกต่าง และความหลากหลายทางระบบนิเวศ ในบริเวณชายฝั่ง เช่น แนวปะการัง ป่าชายเลน และบึงน้ำเค็ม จะต้องนำเข้ามารวม ในแบบจำลองการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลด้วย เพราะว่าระบบนิเวศเหล่านี้ ต่างสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทางชีวะภูมิศาสตร์ ที่มีผลกระทบต่อชายฝั่ง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบริเวณชายฝั่งมีอิทธิพล ที่เคลื่อนไหวได้เกิดขึ้นภายในตัวเอง
    ผลกระทบที่น่าเป็นไปได้มากที่สุดอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อบริเวณชายฝั่ง คือ การชะล้างพังทลาย บริเวณชายฝั่งจะเพิ่มมากขึ้น การชะล้างพังทลายชายฝั่งบางประการ ปรากฏชัดว่า เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ แต่จะรุนแรงมากขึ้น จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเคลื่อนย้ายของตะกอน การชะล้างพังทลายชายฝั่ง ก่อให้เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรง และนำไปสู่การสูญเสียลักษณะการป้องกัน ทางธรรมชาติ เช่น เนินทราย และป่าชายเลน ชายฝั่งของโลกประมาณ 20% เป็นหาดทราย และประมาณ 70% ของชายฝั่งเหล่านี้ได้หดหายไปในระหว่าง 100 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่ตรวจวัดได้ อาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ที่มีส่วนทำให้เกิดการ ชะล้างพังทลายชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย ชายฝั่งเพิ่มขึ้น ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสิ่งแวดล้อมของท้องที่นั้น ๆ ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งยังมีความต้องการการวิจัยในด้านนี้อีกมาก เพื่อปรับปรุงแบบจำลอง อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อชายฝั่งทะเลที่เป็นทราย
    นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังมีผลกระทบทางลบ ต่อพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณชายฝั่ง ได้แก่ หนองบึง ป่าชายเลน และแนวปะการังอีกด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญมากมาย เช่น เป็นแหล่งขยายพันธุ์ และอนุบาลตัวอ่อนของปลา ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นบริเวณ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นตัวการกรองก๊าซไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และเป็นที่กักเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวการส่งเสริม ให้มนุษย์มีสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมสะอาด หน้าที่ที่มีความหลากหลายนี้ หมายถึงว่า กลไกทางกายภาพ ชีวภาพและเคมี ของพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ อยู่ในสภาพที่สมดุลย์อย่างละเอียดอ่อน เช่น กระบวนการที่สลับซับซ้อน ทำให้เกิดการตกตะกอน และจมอยู่ใต้น้ำได้ ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะ เช่น ช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง การตกตะกอน และการทำลายโดยตรง ในหลายกรณีที่ผลกระทบทางลบ จะได้รับเพิ่มเติม จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น บริเวณดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบบการตกตะกอน และระบบน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในท้องถิ่น ถูกรบกวนจากการพัฒนาคลอง การผันน้ำ การสร้างกำแพงกั้นน้ำ และการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะยิ่งทำอันตรายต่อระบบนิเวศเหล่านี้ มากยิ่งขึ้นไปอีก
    ประมาณว่าพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งที่มีคุณค่าทางนิเวศวิทยา และเศรษฐกิจทั่วโลกมีมากกว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ในอีก 100 ปีข้างหน้า พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ จะได้รับความเสียหายมากกว่าครึ่ง พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง ที่จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมาก คือ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชายฝั่งสหรัฐอเมริกา ชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปแอฟริกา ชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกีนี และชายฝั่งเอเชียตะวันออก แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ ชุ่มน้ำชายฝั่งในหลายส่วนของโลก กำลังได้รับการบำรุง ให้กลับคืนสภาพเดิม จึงยังคงไม่แน่นอนว่า พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งประเภทใดบ้าง ที่จะยังคงได้รับผลกระทบทางลบ จากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล
    โดยทั่วไปแล้ว แนวปะการังซึ่งถือว่าอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งอย่างหนึ่ง มีหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย และส่วนมากมีความสำคัญต่อการอยู่รอด และการพัฒนาของมนุษย์ เช่น เป็นแนวป้องกัน ชายฝั่ง เป็นที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล ยิ่งกว่านั้น ในระบบนิเวศทางทะเลด้วยกัน ระบบนิเวศแนวปะการัง มีความหลากหลายทางชีวภาพ สูงมากที่สุด เพราะในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ จะมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่รวมกันได้มากมาย ศักยภาพอัตราการเจริญเติบโต ในแนวดิ่งของปะการัง ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั้งพืช และสัตว์อยู่ในช่วงประมาณ 1-10 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันกับการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลที่คาดหมายไว้ ทั้งนี้อยู่บนข้อสมมติฐานที่ว่า ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง อย่างไรก็ตาม การจับปลามากเกินไป การทำเหมืองแร่ ภาวะมลพิษและการตกตะกอน แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศแนวปะการัง อย่างต่อเนื่องมากที่สุดในโลก
    ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สามารถทำลายปะการังโดยตรงได้ จากการทำให้เกิดรอยแตกของปะการัง (Coral Bleaching) เพิ่มมากขึ้น ช่วงเวลาสั้น ๆ ในฤดูร้อนเพียงแต่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น 1? ซ. ก็เพียงพอที่จะทำให้ปะการังเกิดรอยแตกขึ้นได้แล้ว ดังนั้น ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น 3-4? ซ. ในช่วงที่ยาวนานเกินกว่า 6 เดือนที่จะเกิดขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะเป็นสาเหตุทำให้ปะการังเสียชีวิตเป็นบริเวณกว้าง ได้มีการตรวจพบว่า รอยแตกของปะการังที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตรงกับภาวะการร้อนขึ้น ของน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยก็ตาม การจะกลับคืนสู่สภาพเดิมจากรอยแตกได้ จะต้องใช้เวลานาน ในแต่ละท้องที่การเกิดรอยแตก ในแนวปะการังจะแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะกาลาปากอส และทางตะวันออกของประเทศปานามา ระบบปะการังมีรอยแตก ที่รุนแรงมากตามการร้อนขึ้นของน้ำในมหาสมุทร ระหว่างการเกิดปรากฏการณ์ เอลนีโญ ในปี ค.ศ. 1982-1983 และกลับคืนสู่สภาพเดิมได้จนถึงปัจจุบันนี้น้อยมาก จะต้องใช้เวลานานนับศตวรรษ จึงจะให้คืนสภาพเดิมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ แนวปะการังอาจถูกทำลาย จากการเพิ่มขึ้นของระดับรังสีอุลตราไวโอเลต ที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของก๊าซโอโซน ในบรรยากาศชั้นสตราโตเฟียร์
    จากการศึกษาที่ผ่านมาไม่นานเกี่ยวกับผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อเกาะ ที่เกิดจากหินปะการัง พบว่า ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อปะการังนั้น เป็นไปในด้านที่ดีกว่าจากการประเมินก่อนหน้านี้ แม้กระนั้น แนวปะการังก็ยังคงอ่อนไหวมาก ต่อ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในลักษณะนี้
    การประเมินความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่งจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล

    IPCC ได้สร้างวิธีการทั่วไป สำหรับประเมินความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่ง ที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์อ้างอิง หรือสถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับระดับน้ำทะเล รายละเอียด เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำขึ้น-น้ำลงของท้องถิ่น และความถี่ ของการเกิดคลื่นซัดฝั่ง ใน ปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้คาดหมายการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลระดับต่ำ และระดับสูงไว้ (คือ 0.3 เมตร และ 1 เมตร ตามลำดับ ในประมาณปี ค.ศ. 2100) นำไปปรับให้เข้ากับแต่ละท้องถิ่นได้ ถ้ารู้การจมตัวลง หรือยกตัวขึ้นของแผ่นดิน ความผันแปรของคลื่นซัดฝั่ง ในท้องถิ่น และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ วิธีการนี้ใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อกำหนดประชากร และทรัพยากร ที่เสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล และเพื่อประเมินถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แต่จากการใช้วิธีการทั่วไปของ IPCC ในปัจจุบัน พบว่า การประเมินความอ่อนไหว ต้องพิจารณาให้กว้างกว่านี้ คือ จะต้องนำเอาค่าของวัฒนธรรม ชุมชน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับความงาม เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย
    ขั้นตอนแรกของการนำวิธีการทั่วไปของ IPCC ไปใช้ คือ การประเมินจุดอ่อนไหว ของบริเวณชายฝั่ง ถึงผลกระทบทางชีวะภูมิศาสตร์ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่จะตามมา จุดอ่อนไหวนี้ อยู่ในสภาพที่ยืดหยุ่นได้ ของระบบท้องถิ่นนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้อิทธิพล ของปัจจัยต่าง ๆ เช่น จำนวนประชากร และอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความอ่อนไหวของประชากร หมายถึง “ความไม่สามารถรับมือได้ มากหรือน้อยกับผลที่จะเกิดขึ้น จากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล และอิทธิพลต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด คือ สภาพทางสังคม-เศรษฐกิจ ดังนั้น การประเมินความอ่อนไหว ประกอบด้วย
    1. การประเมินผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีต่อลักษณะทาง กายภาพนิเวศวิทยา และสังคม-เศรษฐกิจ
    2. การประเมินการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความอ่อนไหว
    3. ต้องอธิบายให้ชัดเจนถึง ผลสะท้อนที่เป็นไปได้มากที่สุดจะทำให้ความอ่อนไหวลดลงได้อย่างไร หรือผลกระทบลดลงได้อย่างไร หรือความสามารถในการปรับตัวของประชากรให้เข้ากับผลกระทบนั้น ได้อย่างไร
    4. การประเมินขีดความสามารถแห่งชาติ ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ
    ในการศึกษาตามวิธีการนี้ ได้สมมติให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบชายฝั่งกับผลสะท้อนทางกายภาพ และผลสะท้อนทางมนุษย์ เป็นไปในเชิงเส้นตรง จึงเป็นวิธีการที่ง่าย ดังนั้นในการศึกษาในอนาคต จะต้องศึกษาความสัมพันธ์ ที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ ในเชิงที่ไม่ใช่เส้นตรง ยิ่งกว่านั้น แม้ว่าประชากร จะเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม แต่ผลกระทบของ การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ก็ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงในวิธีการนี้ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวในอนาคต จะต้องขยายให้ครอบคลุม ถึงผลกระทบที่เป็นไปได้ ที่จะมีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย การวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทั่วไปของ IPCC นั้น ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบาย ถึงการประเมินว่า จะมีความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่งขึ้น ทำให้สามารถวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่เป็นไปได้
    การประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก

    ได้มีการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก ที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึง กับวิธีการทั่วไปของ IPCC แบบจำลองการประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก (Global Vulnerability Assessment – GVA) ได้รวมเอาแผนการคาดหมาย การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ชนิดต่าง ๆ เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย รวมทั้งที่คาดหมายว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 50 เซนติเมตรในประมาณปี ค.ศ. 2100 นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นได้มากกว่า ในการประเมินโอกาส การเกิดภาวะน้ำท่วม และได้นำเอามาตรการป้องกัน ที่เป็นไปได้เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย แบบจำลองยังได้พยากรณ์ การกระจายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และจำนวนประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอีกด้วย
    ภายใต้สภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน มีประชากรที่ประสบกับภาวะ น้ำท่วม เนื่องจากคลื่นซัดชายฝั่งปีละ 46 ล้านคน จากการใช้จำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1990 ประมาณได้ว่า ถ้าระบบการป้องกันชายฝั่ง ไม่ขยายมากไปกว่านี้ ประชากรที่จะเสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล 50 เซนติเมตร จะสูงเป็น 2 เท่า (92 ล้านคน/ปี) และจะสูงเกือบ 3 เท่า (118 ล้านคน/ปี) ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร นอกจากนี้ยังได้ประเมินถึงจำนวนประชากร ที่มีโอกาสประสบกับภาวะน้ำท่วม มากกว่าปีละ 1 ครั้ง ซึ่งประเมินได้ว่า ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 50 เซนติเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 ประชากรที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม มากกว่า 1 ครั้ง/ปี สูงถึง 80 ล้านคน
    การคำนวณจำนวนประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยง อาจผิดพลาดได้มาก ตามระดับการป้องกัน เช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันได้มีการป้องกันอย่างดี ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จะมีประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เพียง 24,000 คนเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีระบบการป้องกันชายฝั่งอย่างดีแล้ว ใน 100 ปีข้างหน้า ประชากรของประเทศเนเธอร์แลนด์ จะอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงถึงมากกว่า 3.7 ล้านคน ถ้าจะกล่าวในรูปของเปอร์เซนต์ ของประชากรทั้งประเทศ ที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยงแล้ว ประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสระ ที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น กิริบาติ ซามัวและตองกา จะมีเปอร์เซนต์ประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงสูงมากที่สุด ตามด้วยประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และประเทศ ที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เช่น ประเทศบังคลาเทศและสหภาพพม่า
    แบบจำลองสำหรับการประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก ที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะต้องนำการเพิ่มสูงขึ้น ของประชากรในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เพราะว่าทำให้ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลมีมากยิ่งขึ้น ที่จะเห็นได้ชัด เช่น ถ้าประชากรบริเวณชายฝั่ง เพิ่มมากขึ้น ประชากรที่จะประสบกับความอ่อนไหว ก็มากขึ้นด้วย ยิ่งกว่านั้น พื้นที่ชายฝั่งเอง ก็จะอ่อนไหวมากขึ้นเช่นกัน เพราะว่าทำให้มีแรงกดดัน ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น บริเวณที่คาดว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงมาก คือ ประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปแอฟริกา แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศบังคลาเทศและอินเดีย และเอเชียตะวันออก ที่เด่น คือ ประเทศจีน ประเทศอื่น ๆ ที่ประชากร อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก ที่จะอยู่ในภาวะที่เสี่ยง คือ เวียดนามและโมซิมบิก ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ศูนย์กลางชายฝั่ง ที่ประชากรอาศัยหนาแน่น จะมีประชากรที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยง 15% ของประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงทั้งโลก อย่างไรก็ตาม การมีระบบการป้องกัน ที่ค่อนข้างปลอดภัย หมายถึงว่า จำนวนประชากรที่ อยู่ในภาวะเสี่ยงจริง ๆ จะน้อยกว่านี้ โดยภาพรวมการเพิ่มขึ้นของประชากรและการคาดหมายการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลต่างก็มีส่วนสำคัญในการคำนวณจำนวนประชากรที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยง
    นอกจากนี้ ในการศึกษาอิทธิพลการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อมนุษย์ นั้น แบบจำลองความอ่อนไหวในระดับโลก ยังใช้ในการประเมินถึง อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อความสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ ผลผลิตข้าว ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน และการลงทุน ในสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งได้อีกด้วย



    ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก
    http://www.tmd.go.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...