การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    1. ภัยแล้งคืออะไร

    ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน
    2. สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง
    1. โดยธรรมชาติ
    1.1 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
    1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    1.3 การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
    1.4 ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
    2. โดยการกระทำของมนุษย์
    2.1 การทำลายชั้นโอโซน
    2.2 ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
    2.3 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
    2.4 การตัดไม้ทำลายป่า
    สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

    [​IMG]

    รูปที่ 3 สภาพดินแตกระแหง เมื่อเกิดภัยแล้ง

    3. ฝนแล้งมีความหมายอย่างไร
    ด้านอุตุนิยมวิทยา : ฝนแล้งหมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้น ๆ ด้วย
    ด้านการเกษตร : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช
    ด้านอุทกวิทยา : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดินและใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำลำคลองลดลง
    ด้านเศรษฐศาสตร์ : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค
    4. การแบ่งระดับความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้อย่างไร
    ความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้ดังนี้
    ภาวะฝนแล้งอย่างเบา
    ภาวะฝนแล้งปานกลาง
    ภาวะฝนแล้งอย่างรุนแรง

    5. ฝนทิ้งช่วงคืออะไร
    หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วัน ในช่วงฤดูฝน เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูงคือ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม
    6. ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้าง
    ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่
    1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
    2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ

    7. พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
    ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง

    <table class="logfont" bgcolor="#333333" border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="98%"> <tbody><tr align="center"> <td rowspan="2" bgcolor="#003366">ภาค/เดือน</td> <td rowspan="2" bgcolor="#003366">เหนือ </td> <td rowspan="2" bgcolor="#003366">ตะวันออกเฉียงเหนือ</td> <td rowspan="2" bgcolor="#003366">กลาง</td> <td rowspan="2" bgcolor="#003366">ตะวันออก
    </td> <td colspan="2" bgcolor="#003366">ใต้</td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#006699">ฝั่งตะวันออก</td> <td align="center" bgcolor="#006699">ฝั่งตะวันตก</td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">ม.ค.
    </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">ก.พ.
    </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">มี.ค.
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">เม.ย.
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง
    </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">พ.ค.
    </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนแล้ง</td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">มิ.ย.
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง</td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> </tr> <tr align="center"> <td bgcolor="#3399cc">ก.ค.
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง
    </td> <td bgcolor="#ffffff">ฝนทิ้งช่วง</td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> <td bgcolor="#ffffff"> </td> </tr> </tbody></table> 8. ในอดีตภาวะภัยแล้งเกิดขึ้นที่ใดและเมือใด
    ในช่วงปี 2510-2536 เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เนื่องจากฝนทิ้งช่วงกลางฤดูฝนเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ ตั้งแต่กรกฎาคมถึงกันยายน บริเวณที่ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ตอนบนและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก
    พ.ศ. 2510 พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา รวมถึงตอนบนของประเทศเกือบทั้งหมดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีปริมาณฝนน้อยมาก ทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น
    พ.ศ. 2511 พื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางทั้งภาคตลอด ถึงด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้เกือบทั้งหมด ได้รับปริมาณฝนน้อยมาก และส่งผลให้เกิดภัยแล้ง
    พ.ศ. 2520 มีรายงานว่าเกิดภัยแล้วในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม พื้นที่ที่ประสบภัยเกือบทั่วประเทศ
    พ.ศ. 2522 เป็นปีที่เกิดฝนแล้งรุนแรง โดยมีรายงานว่าเกิดภัยแล้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม และช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมามีน้อยมาก ทำความเสียหายและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรรม และอุตสาหกรรมรวมทั้งการผลิตไฟฟ้า นอกจากนั้นยังกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเพราะขาดน้ำกิน น้ำใช้ บริเวณที่แล้งจัดนั้นมีบริเวณกว้างที่สุดคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ทางตอนบนและด้านตะวันตก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน
    พ.ศ. 2529 มีรายงานความเสียหายจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กระทรวงหมาดไทยว่า บริเวณที่ประสบภัยมีถึง 41 จังหวัด ซึ่งภัยแล้งในปีนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ปรากฏ ชัดเจนเป็นเวลาหลายวัน คือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายนและช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม
    พ.ศ. 2530 เป็นปีที่ประสบกับภัยแล้งหนักอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประสบมาแล้วจากปี 2529 โดยพื้นที่ที่ประสบภัยเป็นบริเวณกว้างใน เกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงตอนกลางฤดูฝน
    พ.ศ. 2533 มีฝนตกน้อยมากในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนทั่วประเทศ พื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้วส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้
    พ.ศ. 2534 เป็นปีที่ปริมาณฝนสะสมมีน้อยตั้งแต่ต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางน้อยมาก อีกทั้งระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติมาก กรมชลประทานไม่สามารถที่จะระบายน้ำลงมาช่วงเกษตรกรที่อยู่ใต้เขื่อนได้ ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำขึ้น ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก
    พ.ศ. 2535 มีรายงานว่าเกิดภัยแล้งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถุนายนจากภาวะที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อนน้อย และมีภาวะฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อเนื่องต้นเดือนกรกฎาคม โดยพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือตามลำดับ
    พ.ศ. 2536 มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม และในช่วงกลางเดือนมิถุนายน เนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนั้นในช่วงปลายฤดูเพาะปลูก ฝนหมดเร็วกว่าปกติ โดยพื้นที่ที่ประสบภัยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตามลำดับ
    9. ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง กับการดำรงชีวิตของประชาชน
    ภัยแล้งในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ดังนี้
    1. ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสียอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว พลังงาน อุตสาหกรรมขนส่ง
    2. ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ทำให้ขาดแคลนน้ำ เกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทำให้ระดับและปริมาณน้ำลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำลดลง ความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำในดินเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดการกัดเซาะของดิน ไฟป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพอากาศและสูญเสียทัศนียภาพ เป็นต้น
    3. ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง

    10. วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้งทำได้อย่างไร
    วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้วสามารถกระทำได้ดังนี้
    1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
    2. การแก้ปัญหาระยะยาว โดยพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น สร้างฝาย เขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ รักษาป่าและปลูกป่า ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text"> [​IMG]

    1. วาตภัยคืออะไร

    วาตภัยหมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ คือ
    1. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น

    2. พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีการเกิดน้อยครั้งกว่า สำหรับภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดใน ช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้จะทำความเสียหายในบริเวณที่ไม่กว้างนัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร
    3. ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้ สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวน ไกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่
    2. วาตภัยครั้งสำคัญในประเทศไทยเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อไร
    1. วาตภัยจากพายุโซนร้อน “แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 มีผู้เสียชีวิต 870 คน สูญหาย 160 คน บาดเจ็บ 422 คน ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน ทรัพย์สินสูญเสียราว 960 ล้านบาท
    2. วาตภัยจากพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ความเร็วของลมวัดได้ 120 กม./ชม. ประชาชนเสียชีวิต 602 คน บาดเจ็บ 5,495 คน บ้านเรือนเสียหาย 61,258 หลัง ทรัพย์สินสูญเสียราว 11,739,595,265 บาท
    3. วาตภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดา ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน ถึง 4 พฤศจิกายน 2540 ทำให้เกิดความเสียหายจากวาตภัย อุทกภัย และคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ 11 จังหวัดของภาคใต้และภาคตะวันออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532
    </td> </tr> <tr> <td class="text" align="center">
    [​IMG]

    รูปที่ 4 ความเสียหายจากพายุเกย์ ที่จังหวัดชุมพร

    </td> </tr> <tr> <td class="text">3. อันตรายที่เกิดจากวาตภัยมีอะไรบ้าง
    อันตรายที่เกิดจากพายุและลมแรงจัด ส่งผลความเสียหายดังนี้ บนบก
    ต้นไม้ถอนรากถอนโคน ต้นไม้ทับบ้านเรือนพัง ผู้คนได้รับบาดเจ็บถึงตาย เรือกสวนไร่นา เสียหายหนักมาก
    บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถต้านทานความรุนแรงของลมได้พังระเนระนาด หลังคาบ้านที่ทำด้วยสังกะสีจะถูกพัดเปิด กระเบื้องหลังคาปลิวว่อน เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง เสาไฟฟ้า เสาโทรเลข เสาโทรศัพท์ล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดเพลิงไหม้ ผู้คนเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่พักอยู่ริมทะเล จะถูกคลื่นซัดท่วมบ้านเรือน และกวาดลงทะเล ผู้คนอาจจมน้ำตายในทะเลได้ ฝนตกหนักมากทั้งวันและทั้งคืน อุทกภัยจะตามมา น้ำป่าจากภูเขาไหลหลากลงมาอย่าง รุนแรง ท่วมบ้านเรือน ถนน และเรือนสวนไร่นา
    เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน และถนนถูกตัดขาด

    ในทะเล
    มีลมพัดแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่อาจถูกพัดพาไปเกยฝั่งหรือชนหินโสโครกทำให้จมได้
    เรือทุกชนิดควรงดออกจากฝั่งหรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือเข้าใกล้ศูนย์กลางพายุ มีคลื่นใหญ่ซัดฝั่งทำให้ระดับน้ำสูงท่วม อาคารบ้านเรือนบริเวณริมทะเล และอาจกวาด สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงลงทะเลได้ เรือประมงบริเวณชายฝั่งจะถูกทำลาย

    4. การเตรียมการป้องกันอันตรายจากวาตภัยต้องปฏิบัติอย่างไร

    การเตรียมการและขณะเกิดวาตภัย
    1. ติดตามข่าวและประกาศคำเตือนลักษณะอากาศร้ายจากกรมอุตุนิยมวิทยา
    2. เตรียมวิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร ชนิดใช้ถ่านแบตเตอรี่ เพื่อติดตามข่าวในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง
    3. ตัดกิ่งไม้ หรือรีดกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่จะหักมาทับบ้าน สายไฟฟ้า ต้นไม้ที่ตายยืนต้นควรจัดการโค่นลงเสีย
    4. ตรวจเสาและสายไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรงให้ยึดเหนี่ยวเสาไฟฟ้าให้มั่นคง
    5. พักในอาคารที่มั่นคงตลอดเวลาขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาในที่โล่งแจ้ง เพราะต้นไม้และกิ่งไม้อาจหักโค่นลงมาทับได้ รวมทั้งสังกะสีและกระเบื้องจะปลิวตามลมมาทำอันตรายได้
    6. ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูและหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรง ถ้าประตูหน้าต่างไม่แข็งแรง ให้ใช้ไม้ทาบตีตะปูตรึงปิดประตู หน้าต่างไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น
    7. ปิดกั้นช่องทางลมและช่องทางต่าง ๆ ที่ลมจะเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย
    8. เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟไว้ให้พร้อม ให้อยู่ใกล้มือ เมื่อเกิดไฟฟ้าดับจะได้หยิบใช้ได้อย่างทันท่วงที และน้ำสะอาด พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องหุ้มตุ้ม
    9. เตรียมอาหารสำรอง อาหารกระป๋องไว้บ้างสำหรับการยังชีพในระยะเวลา 2-3 วัน
    10. ดับเตาไฟให้เรียบร้อยและควรจะมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้
    11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์
    12. สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้
    13. บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอยึดตรึงให้มั่นคงแข็งแรง
    14. ถ้ามีรถยนต์ หรือพาหนะ ควรเตรียมไว้ให้พร้อมภายหลังพายุสงบอาจต้องนำผู้ป่วยไปส่ง โรงพยาบาล น้ำมันควรจะเติมให้เต็มถังอยู่ตลอดเวลา
    15. เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้วจะต้องมีลมแรงและฝนตกหนักผ่านมาอีก ประมาณ 2 ชั่วโมง
    16. ตั้งสติให้มั่นในการติดสินใจ ช่วยครอบครัวให้พ้นอันตรายในขณะวิกฤต โทรปรึกษานักพยากรณ์อากาศที่หมายเลขโทรศัพท์ 398-9830, 399-4012-3

    เมื่อพายุสงบแล้ว
    1. เมื่อมีผู้บาดเจ็บให้รีบช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้เคียงให้เร็ว ที่สุด
    2. ต้นไม้ใกล้จะล้มให้รีบจัดการโค่นล้มลงเสีย มิฉะนั้นจะหักโค่นล้มภายหลัง
    3. ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้หรือแตะต้องเป็นอันขาด ทำเครื่องหมายแสดงอันตราย 4. แจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือช่างไฟฟ้าจัดการด่วน อย่าแตะโลหะที่เป็นสื่อไฟฟ้า
    4. เมื่อปรากฎว่าท่อประปาแตกที่ใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาแก้ไขโดยด่วน
    5. อย่าเพิ่งใช้น้ำประปา เพราะน้ำอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้ำท่วม ถ้าใช้น้ำประปาขณะนั้นดื่มอาจจะเกิดโรคได้ ให้ใช้น้ำที่กักตุนก่อนเกิดเหตุดื่มแทน
    6. ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดขึ้นได้
    การควบคุมโรคติดต่อที่อาจเกิดระบาดได้
    การทำน้ำให้สะอาด เช่น ใช้สารส้ม และใช้ปูนคลอรีน
    การกำจัดอุจจาระ โดยใช้ปูนขาว หรือน้ำยาไลโซล 5% กำจัดกลิ่นและฆ่าเชื้อโรค
    กำจัดพาหนะนำโรค เช่น ยุง และแมลงวัน โดยใช้ฆ่าแมลง

    โรคต่าง ๆ ที่มักเกิดหลังวาตภัย
    โรคระบบหายใจ เช่น หวัด
    โรคติดเชื้อ และปรสิต เช่น การอักเสบมีหนอง โรคฉี่หนู เป็นต้น
    โรคผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดน้ำ กลาก เป็นต้น
    โรคระบบทางเดินทางอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง
    ภาวะทางจิต เช่น ความเครียด



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

    </td></tr></tbody></table>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    1. คลื่นพายุซัดฝั่ง คืออะไร คลื่นพายุซัดฝั่ง คือคลื่นซัดชายฝั่งขนาดใหญ่อันเนื่องมาจากความแรงของลมที่เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง โดยปกติมีความรุนแรงมากในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร แต่บางครั้งอาจเกิดได้เมื่อศูนย์กลางพายุอยู่ห่างมากกว่า 100 กิโลเมตร ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุ และสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตลอดจนบางครั้งยังได้รับอิทธิพล เสริมความรุนแรงจากลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
    2. อะไรเป็นสาเหตุของคลื่นพายุซัดฝั่ง
    คลื่นพายุซัดฝั่ง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนที่มีความแรงในระดับพายุโซนร้อนขึ้นไป ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง เช่น พายุโซนร้อน HARRIET ที่เกิดในระหว่างวันที่ 25-26 ตุลาคม 2505 ซึ่งได้ทำลายบริเวณชายฝั่งแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราชอย่างรุนแรง
    3. ฤดูกาลที่มักเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งในประเทศไทย
    เนื่องจากคลื่นพายุซัดฝั่ง เกิดจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งทะเล กรณีของประเทศไทย พายุหมุนเขตร้อนอาจก่อตัวในทะเลจีนใต้แล้วเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย หรือก่อตัวในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างโดยตรง เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนธันวาคม โดยมีพื้นที่ที่มีโอกาสการเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งในช่วงเดือนต่าง ๆ ดังนี้
    เดือนตุลาคม บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
    เดือนพฤศจิกายน บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และชายฝั่งภาคตะวันออก
    4. พื้นที่ใดที่มีความเสี่ยงภัยต่อคลื่นพายุซัดฝั่ง
    บริเวณที่มีความเสี่ยง และมีโอกาสเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งได้มากได้แก่ บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี จนถึงจังหวัดสงขลา รวมทั้งภาคตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จนถึงจังหวัดตราด

    5. ผลกระทบและความเสียหายเนื่องจากคลื่นพายุซัดฝั่งมีอะไรบ้าง
    สภาพพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลถูกทำลายอย่างรุนแรง ป่าชายแลนและหาดทรายถูกทำลายเป็นบริเวณกว้าง ต้นไม้ขนาดใหญ่โค่นล้ม ถนนชำรุดเสียหาย
    สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่ง เช่น ท่าเทียบเรือ และหมู่บ้านชาวประมง เป็นต้น
    ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ชาวประมง นักท่องเที่ยว เป็นต้น
    แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทั้งตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น
    ขวัญและกำลังใจของชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว

    6. การเตรียมการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นซัดฝั่งควรปฏิบัติดังนี้
    สร้างแนวเขื่อนกั้นคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้มีความแข็งแรงและสูงพอสมควร โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยมาก ๆ ต่อความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
    สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งควรเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และถาวร
    ให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน และคลื่นพายุซัดฝั่งให้กับประชาชนที่อาศัยประกอบกิจการอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ตลอดทั้งแนวภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออก รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
    เผยแพร่ความรู้ไปยังนักท่องเที่ยว โดยผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโรงแรมต่าง ๆ ตามสถานที่ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล
    ติดตามข่าวอากาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน และเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่งจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเกิดพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้และอ่าวไทย
    ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล และหมู่บ้านชาวประมง ควรเพิ่มมาตรการเสริมความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูกาลเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง
    นำเรือไปหลบคลื่นในบริเวณที่อับลมหรือที่ปลอดภัย
    เคลื่อนย้ายทรัพย์สินไปอยู่ในที่ที่ห่างจากฝั่งทะเลพอสมควร
    มีการประสานงานติดต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวกับกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อวางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวและมาตรการป้องกันให้เหมาะสม
    มีมาตรการและแผนในการป้องกันและลดภัยพิบัติจากคลื่นพายุซัดฝั่ง อันหมาะสมทั้งระยะยาวและระยะสั้น



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    1. อันตรายของไฟป่า ส่งผลกระทบอย่างไรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากไฟป่า ได้แก่
    - การดำรงชีวิตของมนุษย์ทำให้เกิดทัศนวิสัยไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ส่งผลเสียต่อสุขภาพและจิตใจ

    - ต้นไม้ นอกจากได้รับอันตรายหรือถูกทำลายแล้วโดยตรง ยังมีผลกระทบทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดโรค และแมลงบางชนิดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น

    - สังคมพืชเปลี่ยนแปลง พืชบางชนิดจะหายไปมีชนิดอื่นมาทดแทน เช่น บริเวณที่เกิดไฟไหม้ซ้ำ ๆ หลายครั้ง หญ้าคายิ่งขึ้นหนาแน่น

    - โครงสร้างของป่าเปลี่ยนแปลง เช่น ไฟป่าจะเป็นตัวจัดชั้นอายุของลูกไม้ ให้กระจัดกระจายกันอย่างมีระเบียบ

    - สัตว์ป่าลดลงมีการอพยพของสัตว์ป่า รวมทั้งทำลายแหล่งอาหารที่อยู่อาศัย ที่หลบภัยและแหล่งน้ำ

    - มีคุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา เช่น ดินมีอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นลดลง อินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ในดินเปลี่ยนแปลงความสามารถในการดูดซึมน้ำของดินลดลง

    - แหล่งน้ำถูกทำลาย คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเถ้าถ่าน

    - ภูมิอากาศท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงสุดต่ำสุด การหมุนเวียนของอากาศ ความชื้นในอากาศ เป็นต้น รวมทั้งองค์ประกอบของอากาศเปลี่ยนไป เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน เขม่าและควันไฟเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์

    - สูญเสียทัศนีย์ภาพที่สวยงาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG] แผ่นดินถล่มเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ของการสึกกร่อนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก เนื่องจากขาดความสมดุลย์ในการทรงตัวบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลก และเกิดการเคลื่อนตัวขององค์ประกอบธรณีวิทยาบริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แผ่นดินถล่มมักเกิดในกรณีที่มีฝนตกหนักมาก บริเวณภูเขาและภูเขานั้นอุ้มน้ำไว้จนเกิดการอิ่มตัว จนทำให้เกิดการพังทลายตามลักษณะการเคลื่อนตัวได้ 3 ชนิดคือ
    1. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างแผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เรียกว่า Creep เช่น Surficial Creep
    2. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเรียกว่า Slide หรือ Flow เช่น Surficial Slide
    3. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เรียกว่า Fall Rock Fall

    นอกจากนี้ยังสามารถถแบ่งออกได้ตามลักษณะของวัสดุที่ล่วงหล่นลงมาได้ 3 ชนิด คือ
    แผ่นดินถล่มที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของผิวหน้าดินของภูเขา
    แผ่นดินถล่มที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ยังไม่แข็งตัว
    แผ่นดินถล่มที่เกิดจาการเคลื่อนตัวของชั้นหิน
    1. แผ่นดินถล่มในประเทศไทย มักเกิดขึ้นเมื่อไร และบริเวณใด
    แผ่นดินถล่มในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเกิดภายหลังฝนตกหนักมากบริเวณภูเขาซึ่งเป็นต้นน้ำลำธาร บริเวณตอนบนของประเทศ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มเนื่องมาจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ในขณะที่ภาคใต้จะเกิดในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
    2. ความรุนแรงของแผ่นดินถล่ม มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
    1. ปริมาณฝนที่ตกบนภูเขา
    2. ความลาดชันของภูเขา
    3. ความสมบูรณ์ของป่าไม้
    4. ลักษณะทางธรณีวิทยาของภูเขา

    [​IMG]

    รูปที่ 6 แผ่นดินถล่ม ที่จังหวัดโคจิ ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2515

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text">[​IMG]


    อะไรเป็นสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
    ความสั่นสะเทือนของพื้นดินเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทำของธรรมชาติและมนุษย์
    ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน ตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก หรือตามแนวรอยเลื่อน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก เป็นต้น
    ส่วนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิดต่างๆ การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้น
    แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร
    แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้จาก

    1. แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดจากตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ส่วนมากบริเวณที่รู้สึกสั่นไหวได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพมหานคร
    2. แผ่นดินไหวเกิดจากแนวรอยเลื่อนที่ยังสามารถเคลื่อนตัวซึ่งยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเมยอุทัยธานี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนคลองมะรุย เป็นต้น

    ภัยจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้างและส่งผลกระทบอย่างไร

    ภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น พื้นดินแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทะลายเนื่องจากแรงสั่นไหว ไฟไหม้ ก๊าซรั่ว คลื่นซูนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางคมนาคมเสียหาย เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดหรือขัดข้อง การคมนาคมทางบก ทางอากาศชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก มีผลต่อการลงทุนและการประกันภัย เป็นต้น

    บริเวณใดในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูงกว่าบริเวณอื่น

    บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่
    1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย
    2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหว เป็นระยะเวลานาน ๆ บริเวณนั้นจะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก
    3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา เช่น บริเวณที่ลุ่ม หรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น
    องค์ประกอบอะไรที่ทำให้ความเสี่ยงและอันตรายจากแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น?
    มีองค์ประกอบหลายประการที่ทำให้บางบริเวณมีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรืออาจได้รับความเสียหายมากกว่าบริเวณอื่น ได้แก่
    1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่
    2. บริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่น อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวซึ่งมีศักยภาพพอเพียงที่จะทำเกิดความเสียหาย เช่น รอยเลื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหว
    3. ช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หากเป็นช่วงที่เหมาะสม บางครั้งในบริเวณหนึ่งแผ่นดินไหว เกิดในเวลากลางวันจะทำความเสียหายมาก แต่บางบริเวณแผ่นดินไหวที่เกิดในเวลากลางคืนอาจทำความเสียหายมากกว่า ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมหรือการอยู่อาศัย ของมนุษย์ในช่วงเวลานั้นๆ
    4. มีการวางแผน และประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องมาตรการป้องกันและบรรเทาภัย แผ่นดินไหวของบริเวณ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว หากมีแผนที่ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง สร้างได้แข็งแรงมีมาตรฐาน โดยมีความแข็งแรงสามารถ ป้องกันได้ตามค่าอัตราเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวที่เหมาะสม ตลอดจนรูปร่างที่ดีของสิ่งก่อสร้าง จะสามารถบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินของชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดี
    5. ตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือน มีสภาพทางธรณีวิทยาเป็นเช่นไร บริเวณที่เป็นหินแข็งย่อมมีการดูดซับพลังงาน ความสั่นสะเทือนได้ดีกว่าบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งมักจะขยายค่าความสั่นสะเทือนได้ดี ดังนั้นอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณ ที่เป็นดินอ่อนจึงควรมีการพิจารณาในเรื่องการก่อสร้างที่เหมาะสมกับค่าแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
    6. ความยาวนานของการสั่นไหว ถ้ายิ่งมีช่วงเวลามาก ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นมาก
    7. ความลึกของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่เกิดลึกๆ จะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่า แผ่นดินไหวตื้น
    8. ทิศทางการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน จะมีผลต่อสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตรงหรือรับแรงในทิศทางของการเคลื่อนตัว
    หน่วยงานใดที่มีความรับผิดชอบหรือมีความเกี่ยวข้องเรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไทย

    สำหรับการวางนโยบายในระดับประเทศ มีคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และผู้เชี่ยวขาญด้านแผ่นดินไหว วิศวกร รวมทั้งหน่วยงานที่อยู่ในภาครัฐและเอกชน ทำหน้าที่ดำเนิน กิจกรรมด้านแผ่นดินไหวของประเทศทางด้านวิชาการ โดยจัดตั้งโครงการ แผนงานต่าง ๆ เพื่อการป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหวของชาติ มีนาวาเอกขจิต บัวจิตติ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเป็น รองประธานฯ กองพยากรณ์อากาศเป็นฝ่ายเลขานุการฯ
    นอกจากนั้นมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการตรวจวัดแผ่นดินไหว ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวอยู่ทั่วประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายบริเวณเขื่อน ต่างๆ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ติดตั้งเครือข่าย แบบ ARRAY ที่จังหวัดเชียงใหม่ และกรมชลประทาน ติดตั้งเครือข่ายเล็กๆ บริเวณจังหวัดแพร่
    เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย จะเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) อีกหรือไม่

    โดยปกติไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ณ ที่ใด เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดในระดับ ปานกลาง ตั้งแต่ 5.0 ริคเตอร์ ขึ้นไป มักเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีก แต่ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมักจะลดลง เช่น เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.0 ริคเตอร์ ขนาด แผ่นดินไหวตามมาจะเป็นแผ่นดินไหว ขนาดโดยประมาณตั้งแต่ระดับ 6 ริคเตอร์ ลงไป เป็นต้น
    ขนาด ริคเตอร์ มีความหมายอย่างไร

    ริคเตอร์เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งค้นคิดวิธีคำนวณขนาดแผ่นดินไหว เป็นคนแรก ดังนั้นเพื่อให้เป็นเกียรติจึงเรียกหน่วยของขนาดแผ่นดินไหว ว่า “ ริคเตอร์ ”
    ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็นปริมาณที่สัมพันธ์กับพลังงานแผ่นดินไหว คำนวณขนาดได้จากความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว ที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เพื่อบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิดหรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์กลางแผ่นดินไหว” ขนาดแผ่นดินไหวในทางทฤษฏีไม่มีขีดจำกัด แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีแผ่นดินไหวใดเกิดขึ้นเกินกว่า 9.0 ริคเตอร์
    ความรุนแรงแผ่นดินไหวคืออะไร?

    ความรุนแรงแผ่นดินไหว คือ อันดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว วัดโดยใช้ความรู้สึกของการสั่นสะเทือน กับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว เป็นสิ่งกำหนดอันดับความรุนแรง โดยมีตารางบรรยายเปรียบเทียบ เรียงลำดับจากความรู้สึก ความเสียหายจากน้อยไปมาก รวมถึงสภาพทางธรณีวิทยาที่เปลี่ยนแปลง ในกรณีของประเทศไทยใช้มาตราเมอร์แคลลีซึ่งแบ่งออกเป็น 12 อันดับ
    เขื่อนที่สร้างในบริเวณแผ่นดินไหว โดยเฉพาะภาคตะวันตกของประเทศจะเป็นอันตรายหรือไม่?

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้คำรับรองว่าเขื่อน ที่สร้างขึ้นได้คำนึงถึงเรื่องแผ่นดินไหวในการออกแบบโครงสร้าง แล้วและสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ถึงขนาด 7.0 ริคเตอร์ โดยทั่วไปจากสถิติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ซึ่งสามารถตรวจพบในปัจจุบันมีขนาดไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์
    ประชาชนควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว?
    เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้อยู่อย่างสงบ มีสติ คิดหาหนทางที่ปลอดภัย หมอบอยู่บริเวณที่สามารถป้องกันสิ่งของหล่นใส่ เช่น บริเวณใต้โต๊ะ ใต้เตียง หลีกเลี่ยงให้ห่างจากหน้าต่าง หากอยู่นอกอาคารให้อยู่ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น
    ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตของประเทศไทยเป็นอย่างไร? โดยเฉลี่ยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละกี่ครั้ง และทำไมดูเหมือนว่าปัจจุบันมีแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้น?
    ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตส่วนใหญ่ บ่งบอกถึงความรุนแรงแผ่นดินไหว ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ปูม พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้โดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีตำแหน่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศ ข้อมูลแผ่นดินไหวต่างๆ สามารถค้นจากการบันทึกเหล่านี้ พบว่าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้น ตั้งแต่ 624 ปี ก่อนคริสตศักราช บางครั้งเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้เมืองล่ม เช่น เหตุการณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 1003 มีการบันทึกว่าเมืองโยนกนครล่ม เนื่องจากการสั่นสะเทือน ส่วนใหญ่เหตุการณ์ได้บันทึกถึงความรู้สึกสั่นไหว ความเสียหาย และความตื่นตระหนก ของผู้คน ปัจจุบันพบว่าแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละ 6-8 ครั้ง โดยเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีตำแหน่งศูนย์กลางทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ
    ส่วนสาเหตุที่ดูเหมือนว่า ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นนั้น แท้ที่จริงแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นปกติเช่นนี้ตั้งแต่อดีต แต่เนื่องจากการสื่อสารในอดีตไม่รวดเร็ว จึงทำให้การรับรู้เรื่องความสั่นสะเทือนไม่แพร่หลาย ต่างจากปัจจุบันที่การสื่อสารรวดเร็ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแม้ว่าอยู่ห่างไกลอีกมุมหนึ่งของโลก ก็สามารถทราบข่าวได้ทันที อีกทั้งความเจริญทำให้เกิดชุมชนขยายตัวล้ำเข้าไป อยู่ใกล้บริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ชุมชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในอดีต
    กรมอุตุนิยมวิทยา บริการข้อมูลแผ่นดินไหวและด้านวิชาการแผ่นดินไหวประเภทใด ?
    กรมอุตุนิยมวิทยาให้บริการข้อมูลด้านการตรวจวัด ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวทั้งในและต่างประเทศ เวลาเกิด ขนาด สถิติแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน ความรู้ วิชาการด้านแผ่นดินไหวและวิศวกรรมแผ่นดินไหวแผ่นดินไหว การดำเนินงานของคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ ความร่วมมือด้านแผ่นดินไหว และวิศวกรรมแผ่นดินไหวระหว่าางประเทศไทยกับ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อาเซียน เป็นต้น
    เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหวทำงานอย่างไร รัศมีการตรวจวัดเท่าใด
    เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เรียกว่า Seismograph มีหลักทำงานอย่างง่ายๆ คือ เครื่องมือจะประกอบด้วย เครื่องรับความสั่นสะเทือน แปลงสัญญานความสั่นสะเทือนเป็นสัญญานไฟฟ้า จากนั้นถูกขยายด้วยระบบขยายสัญญาน และแปลงกลับมาเป็นการสั่นไหว ของปากกาที่บันทึกบนแผ่นกระดาษ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีสัญญานเวลาปรากฏบนกระดาษบันทึกอย่างสม่ำเสมอทุกนาที ทำให้ทราบว่าคลื่นแผ่นดินไหว ที่เดินทางมาถึงสถานีเมื่อไร รัศมีการตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ของกรมอุตุนิยมวิทยาสามารถ ตรวจคลื่นแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด ขนาดแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาจะคำนวณเฉพาะคลื่นแผ่นดินไหว ใกล้ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร

    เครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยามีกี่แห่งที่ไหนบ้าง
    ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินไหวอยู่ 2 ระบบ ได้แก่
    1. ระบบ Analog ได้แก่ ที่ จังหวัด เชียงราย น่าน ตาก นครสวรรค์ เขื่อนเขาแหลม กาญจนบุรี เลย อุบลราชธานี ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต สงขลา และจันทบุรี
    2. ระบบ Digital ได้แก่ ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน แพร่ เลย ขอนแก่น นครราชสีมา กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี และสงขลา
    </td> </tr> <tr> <td class="text" align="center">
    [​IMG]

    รูปที่ 7 สถานีตรวจแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงใหม่

    </td> </tr> <tr> <td class="text">ความรุนแรงแผ่นดินไหวเท่าใดที่เริ่มก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้าง? โดยทั่วไปความรุนแรงแผ่นดินไหว อันดับ VI ตามมาตราเมอแคลลีเสกล เป็นความรุนแรงที่เริ่มต้นก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยกับอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว
    ในอดีตนั้นเคยมีแผ่นดินไหวในประเทศไทยซึ่งทำความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอย่างชัดเจน ที่ไหน เมื่อไร?
    แผ่นดินไหวที่เกิด บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ทำให้ความเสียหายให้กับโรงพยาบาลอำเภอพาน โรงเรียน และวัดต่าง ๆ นับสิบ ๆ แห่ง บริเวณใกล้ศูนย์กลาง บางอาคารถึงกับขั้นใช้การไม่ได้
    ทำไมจึงเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ๆ ในต่างประเทศ แต่ไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศไทย?

    การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทำได้อย่างไร แผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดในต่างประเทศ เกิดเนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในแนวของ แผ่นดินไหวโลก ซึ่งเป็นรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ส่วนประเทศไทยนั้นไม่อยู่ย่านดังกล่าว แต่มิใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว นักธรณีวิทยาพบว่า ยังมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้แก่รอยเลื่อนใหญ่ๆ หลายแนวซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทราบถึง ลักษณะที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้หรือไม่ โดยทั่วไป ในปัจจุบันอันตรายที่เกิดขึ้นของภัยแผ่นดินไหว ในประเทศไทยมักเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดกลาง ส่วนเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทั้งในระยะสั้นระยะยาว ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเสี่ยงที่เหมาะสม สร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตามความเสี่ยงของแผ่นดินไหว ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาภัยเมื่อก่อนเกิด ขณะเกิด และภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น

    นักวิทยาศาสตร์สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหว ได้หรือไม่?
    เรื่องของการพยากรณ์แผ่นดินไหวปัจจุบันยังไม่สามารถกระทำได้ให้ถูกต้องแม่นยำ ทั้งด้านเวลาและสถานที่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ จึงยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกในอนาคต การดำเนินการศึกษา เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหวในปัจจุบันมีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจวัดของค่า พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น วัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก วัดค่า แรงเค้น (Stress) และความเครียด (Strain) ของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดสนามแม่เหล็กโลก วัดค่าความโน้มถ่วงในพื้นที่ต่างๆ วัดคลื่นความถี่วิทยุ รวมถึงการสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น น้ำใต้ดิน พฤติกรรมของสัตว์ และอื่นๆ เป็นต้น
    แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่บริเวณใด เกิดเมื่อไร ขนาดเท่าใด?

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนถึงปัจจุบันกรมอุตุนิยาวิทยาตรวจพบแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงสุดที่บริเวณอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ มีความสั่นสะเทือนซึ่งประชาชน รู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้เกือบทั้งประเทศ
    </td> </tr> <tr> <td class="text" align="center">
    [​IMG]

    รูปที่ 8 ความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริคเตอร์ ประเทศอินเดียเมื่อ มกราคม 2544

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

    </td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table class="logfont" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="97%"><tbody><tr><td class="text">
    [​IMG]

    แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ

    <table class="logfont" align="center" width="95%"> <tbody><tr valign="top"> <td width="7%">
    [​IMG]
    </td> <td width="93%">แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทย แนว แผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศพม่า </td> </tr> <tr valign="top"> <td width="7%">
    [​IMG]
    </td> <td width="93%">แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในกรณีประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว </td> </tr> <tr> <td width="7%">
    [​IMG]
    </td> <td width="93%">บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน เป็นต้น </td> </tr> </tbody></table> แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก แสดงดังรูป ที่น่าสังเกต คือ แนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น
    </td> </tr> <tr> <td class="text">

    [​IMG]

    รอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทย
    </td> </tr> <tr> <td class="text"> 1. รอยเลื่อนเชียงแสน

    รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 มี ขนาด 4.9 ริคเตอร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวทั้งหมดเป็นแผ่นดินไหว ที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร


    2. รอยเลื่อนแพร่

    รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ

    3. รอยเลื่อนแม่ทา


    รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร จากการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (2523) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษาในปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิด ในระดับตื้นอยู่มากมายในบริเวณรอยเลื่อนนี้

    4. รอยเลื่อนเถิน

    รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521

    5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี


    รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

    6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์


    รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ในระหว่างนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีขนาด 5.9 ริคเตอร์

    7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

    รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มากมายหลายพันครั้ง

    8. รอยเลื่อนระนอง

    รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

    9. รอยเลื่อนคลองมะรุย

    รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนนี้ มีรายงาน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519, วันที่ 17 สิงหาคม 2542 และวันที่ 29 สิงหาคม 2542

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

    </td></tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    ขนาด (Magnitude)
    เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์"

    ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก
    มาตราริคเตอร์

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td width="25%">
    ขนาด
    </td> <td width="75%">
    ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    1-2.9​
    </td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    3-3.9​
    </td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    4-4.9​
    </td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    5-5.9​
    </td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    6-6.9​
    </td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    7.0 ขึ้นไป​
    </td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น</td> </tr> </tbody></table>
    มาตราเมอร์แคลลี่


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"><tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td width="25%">
    อันดับที่
    </td> <td width="75%">
    ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    I​
    </td> <td width="75%">เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td height="15" width="25%">
    II​
    </td> <td height="15" width="75%">พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    III​
    </td> <td width="75%">พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    IV​
    </td> <td width="75%">ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    V​
    </td> <td width="75%">รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    VI​
    </td> <td width="75%">รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    VII​
    </td> <td width="75%">ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    VIII​
    </td> <td width="75%">เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    IX​
    </td> <td width="75%">สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    X​
    </td> <td width="75%">อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    XI​
    </td> <td width="75%">อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน
    พื้นดินอ่อน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    XII​
    </td> <td width="75%">ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน</td></tr></tbody></table>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    ที่มาของข้อมูล
    http://www.tmd.go.th


    สถิติแผ่นดินไหวในประเทศไทย แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยม วิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็ จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    1.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%">เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2518</td> <td width="19%">ขนาด 5.6 ริคเตอร์</td> <td width="35%">
    บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    2.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%"> เมื่อ 15 เมษายน 2526</td> <td width="19%">ขนาด 5.5 ริคเตอร์ </td> <td width="35%">บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    3.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%"> เมื่อ 22 เมษายน 2526</td> <td width="19%">ขนาด 5.9 ริคเตอร์</td> <td width="35%">บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    4.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%">เมื่อ 22 เมษายน 2526</td> <td width="19%">ขนาด 5.2 ริคเตอร์ </td> <td width="35%">บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    5.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%"> เมื่อ 11 กันยายน 2537</td> <td width="19%"> ขนาด 5.1 ริคเตอร์ </td> <td width="35%">บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    6.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%"> เมื่อ 9 ธันวาคม 2538 </td> <td width="19%">ขนาด 5.1 ริคเตอร์ </td> <td width="35%">บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    7.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%">เมื่อ 21 ธันวาคม 2538</td> <td width="19%">ขนาด 5.2 ริคเตอร์ </td> <td width="35%">บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="7%">
    8.​
    </td> <td width="15%">
    แผ่นดินไหว​
    </td> <td width="24%">เมื่อ 22 ธันวาคม 2539 </td> <td width="19%">ขนาด 5.5 ริคเตอร์ </td> <td width="35%">บริเวณพรมแดนไทย-ลาว</td> </tr> </tbody></table>

    เหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย (2542-สิงหาคม 2543)

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td width="25%">
    วัน เดือน ปี
    </td> <td width="75%">
    บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    31 สิงหาคม 2542​
    </td> <td width="75%">ใกล้ พรมแดนไทย-ลาว ขนาด 4.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่จังหวัดน่าน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    3 เมษายน 2542​
    </td> <td width="75%">ใกล้ พรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.2 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    29 มิถุนายน 2542​
    </td> <td width="75%">ในประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดเชียงราย</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    15 สิงหาคม 2542​
    </td> <td width="75%">ตอนใต้ของประเทศพม่า ขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่จังหวัดเชียงใหม่</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    17 สิงหาคม 2542​
    </td> <td width="75%">บริเวณทะเลอันดามัน ขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดภูเก็ตและ จังหวัดพังงา</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    29 สิงหาคม 2542​
    </td> <td width="75%">บริเวณทะเลอันดามัน ขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดภูเก็ตและ จังหวัดพังงา</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    20 มกราคม 2543​
    </td> <td width="75%">ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขนาด 5.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จังหวัดน่าน แพร่ พะเยา เชียงราย มีความเสียหายที่ จังหวัดน่านและแพร่</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    14 เมษายน 2543​
    </td> <td width="75%">ที่พรมแดนลาว-เวียดนาม ขนาด 4.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่จังหวัดสกลนคร</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    29 พฤษภาคม 2543​
    </td> <td width="75%">บริเวณ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่อำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง และอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    7 สิงหาคม 2543​
    </td> <td width="75%">บริเวณพรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่บริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน</td> </tr> </tbody></table>

    อัตราเฉลี่ยของการเกิดแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในรอบ 10 ปี ระหว่าง 2533-2542 ประมาณปีละ 8 ครั้ง โดยตำแหน่งของแผ่นดินไหวรู้สึกได้ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือ

    [​IMG]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th


    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"> <tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td height="9" width="25%">
    วัน เดือน ปี
    </td> <td height="9" width="75%">
    บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    3 มีนาคม 2528​
    </td> <td width="75%">ประเทศชิลี ขนาด 7.8 ริคเตอร์ คนตาย 146 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    19-21 กันยายน 2528​
    </td> <td width="75%">ประเทศแม็กซิโก ขนาด 8.1 ริคเตอร์ คนตาย 4,000 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    5-6 มีนาคม 2530 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศเอกวาเดอร์ ขนาด 7.3 ริคเตอร์ คนตาย 4,000 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    20 สิงหาคม 2531​
    </td> <td width="75%"> พรมแดนอินเดีย-เนปาล ขนาด 6.4 ริคเตอร์ คนตาย 721 คน
    บาดเจ็บ 6,553 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    6 พฤศจิกายน 2531 ​
    </td> <td width="75%"> พรมแดนจีน-พม่า ขนาด 7.3 ริคเตอร์ คนตาย 1,000 คน ไร้ที่อยู่ 27,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    7 ธันวาคม 2531​
    </td> <td width="75%">พรมแดนตุรกี-รัสเซีย ขนาด 6.2 ริคเตอร์ คนตาย 25,000 คน บาดเจ็บ 19,000 คน
    ไร้ที่อยู่ 500,000 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td height="15" width="25%">
    22 มกราคม 2532​
    </td> <td height="15" width="75%">ประเทศรัสเซีย ขนาด 5.3 ริคเตอร์ คนตาย 274 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    1 สิงหาคม 2532​
    </td> <td width="75%">ที่ไอเรียน ขนาด 6.0 ริคเตอร์ คนตาย 90 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    17 ตุลาคม 2532​
    </td> <td width="75%">อ่าวซานฟรานซิสโก ขนาด 6.9 ริคเตอร์ คนตาย 62 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    30 พฤษภาคม 2533​
    </td> <td width="75%">ประเทศเปรู ขนาด 5.5 ริคเตอร์ คนตาย 135 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    20 มิถุนายน 2533 ​
    </td> <td width="75%"> ภาคตะวันตกของประเทศอิหร่าน ขนาด 6.3 ริคเตอร์
    คนตาย 40,000 -50,000 คน บาดเจ็บมากกว่า 60,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    16 กรกฎาคม 2533 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศฟิลิปปินส์ ขนาด 7.7 ริคเตอร์ คนตาย 1,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    31 มกราคม 2534 ​
    </td> <td width="75%">พรมแดนปากีสถาน-อัฟกานีสถาน ขนาด 6.8 ริคเตอร์ คนตาย 300 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    5 เมษายน 2534 ​
    </td> <td width="75%">ตอนเหนือประเทศเปรู ขนาด 6.5 ริคเตอร์ คนตาย 60 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    19 ตุลาคม 2534 ​
    </td> <td width="75%">ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ขนาด 6.5 ริคเตอร์ คนตาย 2,000 คน
    บาดเจ็บ 1,800 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    13 มีนาคม 2535 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศตุรกี ขนาด 6.2 ริคเตอร์ คนตาย 479 คน บาดเจ็บ 2,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    12 ตุลาคม 2535 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศอียิปต์ ขนาด 6.6 ริคเตอร์ คนตาย 541 คน บาดเจ็บ 6,500 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    12 ธันวาคม 2535 ​
    </td> <td width="75%"> ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 6.5 ริคเตอร์ คนตาย 2,500 คน บาดเจ็บ 500 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    12 กรกฎาคม 2536 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 6.6 ริคเตอร์ คนตาย 365 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    29 กันยายน 2536 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 6.6 ริคเตอร์ คนตาย 9,758 คน บาดเจ็บ 30,000 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    6 มิถุนายน 2537 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศโคลัมเบีย ขนาด 6.4 ริคเตอร์ คนตาย 295 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    17 มกราคม 2538 ​
    </td> <td width="75%">ตอนใต้ของเกาะฮอนชู เมืองโกเบ เกียวโต โอซากา ประเทศ ญี่ปุ่น ขนาด 7.2 ริคเตอร์ คนตาย 5,000 คน บาดเจ็บ 26,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    17 สิงหาคม 2542 ​
    </td> <td width="75%">ประเทศตุรกี ขนาด 7.8 ริคเตอร์ คนตาย 17,118 คน บาดเจ็บ 50,000 คน
    ไร้ที่อยู่อาศัย 600,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    21 กันยายน 2542 ​
    </td> <td width="75%"> เกาะไต้หวัน ขนาด 7.6 ริคเตอร์ คนตาย 2,400 คน บาดเจ็บ 8,000 คน
    ไร้ที่อยู่อาศัย 600,000 คน </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td colspan="2" align="center">แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442-2542</td> </tr> </tbody></table>

    เพิ่มเติมข้อมูลแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย(update ถึง 16 ม.ค. 2545)

    <table class="logfont" cellpadding="0" width="95%"> <tbody><tr> <td>13 ก.ย.43 บริเวณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน</td> </tr> <tr> <td>4 ม.ค.44 จ. เชียงตุง ประเทศพม่า ขนาด 5.0 ริคเตอร์ ขนาด 5.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย</td> </tr> <tr valign="top"> <td>22 ก.พ.44 บริเวณ เขื่อนเขาแหลม อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรีขนาด 4.3 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี</td> </tr> <tr valign="top"> <td>2 ก.ค.44 บริเวณพรมแดน ไทย-พม่า ใกล้ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 4.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่</td> </tr> <tr valign="top"> <td>11 พ.ย.44 บริเวณ อ.พาน จ.เชียงรายขนาด 3.7 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.พาน จ.เชียงราย</td> </tr> </tbody></table>
    เพิ่มเติมข้อมูลแผ่นดินไหวโลกที่สำคัญ(update ถึง ธันวาคม 2544)

    <table class="logfont" align="center" cellpadding="2" width="95%"><tbody><tr bgcolor="#bec8d3"> <td height="9" width="25%">
    วัน เดือน ปี
    </td> <td height="9" width="75%">
    บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว
    </td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    12 พฤศจิกายน 2542​
    </td> <td width="75%">ประเทศตุรกี ขนาด 6.3 ริคเตอร์ คนตาย 834 คน บาดเจ็บ 5,000 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    4 มิถุนายน 2543​
    </td> <td width="75%"> ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 6.8 ริคเตอร์ คนตาย 103 คน บาดเจ็บ 2,174 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    6 ตุลาคม 2543​
    </td> <td width="75%">ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บาดเจ็บ 130 คน บ้านเรือน เสียหาย 2,334 หลัง</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    26 พฤศจิกายน 2543​
    </td> <td width="75%">บริเวณ คอเคซัส ประเทศรัสเซีย ขนาด 5.8 ริคเตอร์ ตาย 32 คน บาดเจ็บ 430 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea"> <td width="25%">
    14 มกราคม 2544​
    </td> <td width="75%">ประเทศเอลซัลวาดอร์ ขนาด 6.4 ริคเตอร์ ตาย 844 บาดเจ็บ 4,723 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    26 มกราคม 2544​
    </td> <td width="75%">ประเทศอินเดีย ขนาด 6.4 ริคเตอร์ ตาย 20,085 คน บาดเจ็บ 166,836 คน สิ่งก่อสร้างพัง 339,000 หลัง</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td height="15" width="25%">
    13 กุมภาพันธ์ 2544​
    </td> <td height="15" width="75%">ประเทศเอลซัลวาดอร์ ขนาด 5.5 ริคเตอร์ ตาย 315 คน บาดเจ็บ 3,399 คน</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    24 มิถุนายน 2544​
    </td> <td width="75%">ประเทศเปรู ขนาด 6.7 ริคเตอร์ ตาย 75 คน เสียชีวิตจากคลื่นซูนามิ 26 คน บาดเจ็บ 2,687 คน บ้านเรือนเสียหาย กว่า 50,000 หลัง</td> </tr> <tr bgcolor="#e6eaea" valign="top"> <td width="25%">
    14 พฤศจิกายน 2544​
    </td> <td width="75%">ประเทศจีน ขนาด 7.8 ริคเตอร์ บ้านเรือนเสียหายบางส่วน</td></tr></tbody></table>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ ได้มี ความพยายามอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่ง กำเนิดแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการพยากรณ์แผ่นดินไหว โดยอาศัยทั้งที่เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ

    คุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก ที่เปลี่ยนแปลงจากปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว

    - แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น- การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง- การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก - น้ำใต้ดิน (ชาวจีน สังเกต การเปลี่ยนแปลง ของน้ำในบ่อน้ำ 5 ประการ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

    ได้แก่ น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และรสขม)
    - ปริมาณก๊าซเรดอน เพิ่มขึ้น
    - การส่งคลื่นวิทยุความยาวคลื่น สูงๆ

    การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว

    - แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
    - สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ
    - หนู งู วิ่งออกมาจากรู
    - ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ

    เหตุการณ์แผ่นดินไหว

    เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ในบริเวณเดียวกัน หลายสิบครั้งหรือหลาย ร้อยครั้งในระยะเวลาสั้นๆ เป็นวันหรือในสัปดาห์ อาจเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ว่าจะเกิดแผ่นดิน ไหวที่มีขนาดใหญ่กว่าตามมาได้ หรือในบางบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิด แผ่นดินไหวใหญ่ที่มีขนาดเท่าเทียมกัน หากบริเวณนั้นว่าง เว้นช่วงเวลา การเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลา ยาวนานหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี ยิ่งมีการ สะสมพลังงานที่เปลือกโลกในระยะเวลายาวนานเท่าใด การเคลื่อน ตัวโดยฉับพลันเป็นแผ่นดิน ไหวรุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น

    โดยสรุปการพยากรณ์แผ่นดินไหวในภาวะปัจจุบัน ยังอยู่ในช่วงของการ ศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อการคาดหมายที่แม่นยำและแน่นอนขึ้น อย่างไรก็ตามการมีมาตรการ ป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหว เช่น การก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงในพื้นที่ เสี่ยงภัย รวมถึงการเตรียมพร้อมที่ดีของประชาชน จะช่วยลดการสูญเสียได้มาก

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.tmd.go.th

     
  12. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348
    จริง ๆ แล้ว เรื่องภัยแล้ง...แผ่นดินไหว...แผ่นดินถล่ม...พายุ(วาตภัย)...คลื่นซัดฝั่ง....สิ่งเหล่านี้..คุณ Falkman...ที่รัก...ได้ตั้งกระทู้รอไว้แล้วค่ะ...คุณ vanco...นำไปสมทบในกระทู้ที่คุณ Falkman...มีไว้ก็ได้นะคะ...จะได้ไม่กระจายไปตามที่ต่าง ๆ และเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา...และติดตามอ่านความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ค่ะ...คุณ vanco เห็นด้วยมั้ยค่ะ...
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ขอบคุณครับ
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG] นักวิทย์ฯ ฮาวาร์ดเสนอวิธีแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน

    [​IMG]

    สภาวะโลกร้อน (Global Warming)มีต้นเหตุหลักมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศโลกอย่างเกินขีดจำกัด ทำให้ความร้อนที่มีต้นกำเนิดมาจากรังสีของดวงอาทิตย์และส่องผ่านไปยังพื้นโลกแล้วสะท้อนกลับขึ้นมาสู่ชั้นบรรยากาศไม่สามารถระบายออกไปนอกอวกาศได้อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดอุณหภูิมิของสภาวะแวดล้อมโลกมีค่าสูงขึ้นและ เป็นส่วนสำคัญของสาเหตุของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยขึ้นกว่าปกติ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงปัญหาการละลายตัวของน้ำแข็งที่ขั้วโลก ที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาทางต่างๆเหล่านี้นับวัน มีแต่จะทวีความรุนแรง และเข้าสู่ขั้นวิกฤติหากไม่มีการป้องกันแก้ไข

    เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นักวิทยาศาสตร์ด้าน Earth and Planetary Science ที่
    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเสนอวิธีแก้ปัญหาภาวะเรือนกระจกในใน วารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับประจำสัปดาห์ที่ 7- 11 สิงหาคม 2549 โดยใจความสำคัญก็คือ
    The basic mechanism

    The Earth receives energy from the Sun in the form of radiation. The Earth reflects about 30% of the incident solar flux; the remaining 70% is absorbed, warming the land, atmosphere and oceans.
    To the extent that the Earth is in a steady state, the energy stored in the atmosphere and ocean does not change in time, so energy equal to the absorbed solar radiation must be radiated back to space. Earth radiates energy into space as black-body radiation, which maintains a thermal equilibrium. This thermal, infrared radiation increases with increasing temperature. One can think of the Earth's temperature as being determined by the infrared flux needed to balance the absorbed solar flux.
    [​IMG] [​IMG]
    Solar radiation at top of atmosphere and at Earth's surface.


    The visible solar radiation heats the surface, not the atmosphere, whereas most of the infrared radiation escaping to space is emitted from the upper atmosphere, not the surface. The infrared photons emitted by the surface are mostly absorbed by the atmosphere and do not escape directly to space.
    [​IMG] [​IMG]
    Atmospheric transmittance of various wavelengths of electromagnetic radiation (measured along sea level).


    The reason this warms the surface is most easily understood by starting with a simplified model of a purely radiative greenhouse effect that ignores energy transfer in the atmosphere by convection (sensible heat transport) and by the evaporation and condensation of water vapor (latent heat transport). In this purely radiative case, one can think of the atmosphere as emitting infrared radiation both upwards and downwards. The upward infrared flux emitted by the surface must balance not only the absorbed solar flux but also this downward infrared flux emitted by the atmosphere. The surface temperature will rise until it generates thermal radiation equivalent to the sum of these two incident radiation streams.
    A more realistic picture taking into account the convective and latent heat fluxes is somewhat more complex. But the following simple model captures the essence. The starting point is to note that the opacity of the atmosphere to infrared radiation determines the height in the atmosphere from which most of the photons emitted to space are emitted. If the atmosphere is more opaque, the typical photon escaping to space will be emitted from higher in the atmosphere, because one then has to go to higher altitudes to see out to space in the infrared. Since the emission of infrared radiation is a function of temperature, it is the temperature of the atmosphere at this emission level that is effectively determined by the requirement that the emitted flux balance the absorbed solar flux.
    But the temperature of the atmosphere generally decreases with height above the surface, at a rate of roughly 6.5 °C per kilometer on average, until one reaches the stratosphere 10-15 km above the surface. (Most infrared photons escaping to space are emitted by the troposphere, the region bounded by the surface and the stratosphere, so we can ignore the stratosphere in this simple picture.) A very simple model, but one that proves to be remarkably useful, involves the assumption that this temperature profile is simply fixed, by the non-radiative energy fluxes. Given the temperature at the emission level of the infrared flux escaping to space, one then computes the surface temperature by increasing temperature at the rate of 6.5 °C per kilometer, the environmental lapse rate, until one reaches the surface. The more opaque the atmosphere, and the higher the emission level of the escaping infrared radiation, the warmer the surface, since one then needs to follow this lapse rate over a larger distance in the vertical. While less intuitive than the purely radiative greenhouse effect, this less familiar radiative-convective picture is the starting point for most discussions of the greenhouse effect in the climate modeling literature.
    The term "greenhouse effect" is a source of confusion in that actual greenhouses do not warm by this same mechanism .

    The greenhouse gases

    <dl><dd> Main article: greenhouse gases
    </dd></dl> Quantum mechanics provides the basis for computing the interactions between molecules and radiation. Most of this interaction occurs when the frequency of the radiation closely matches that of the spectral lines of the molecule, determined by the quantization of the modes of vibration and rotation of the molecule. (The electronic excitations are generally not relevant for infrared radiation, as they require energy larger than that in an infrared photon.)
    The width of a spectral line is an important element in understanding its importance for the absorption of radiation. In the Earth’s atmosphere these spectral widths are primarily determined by “pressure broadening”, which is the distortion of the spectrum due to the collision with another molecule. Most of the infrared absorption in the atmosphere can be thought of as occurring while two molecules are colliding. The absorption due to a photon interacting with a lone molecule is relatively small. This three-body aspect of the problem, one photon and two molecules, makes direct quantum mechanical computation for molecules of interest more challenging. Careful laboratory spectroscopic measurements, rather than ab initio quantum mechanical computations, provide the basis for most of the radiative transfer calculations used in studies of the atmosphere.
    The molecules/atoms that constitute the bulk of the atmosphere; oxygen (O<sub>2</sub>), nitrogen (N<sub>2</sub>) and argon; do not interact with infrared radiation significantly. While the oxygen and nitrogen molecules can vibrate, because of their symmetry these vibrations do not create any transient charge separation that enhances the interaction with radiation. In the Earth’s atmosphere, the dominant infrared absorbing gases are water vapor, carbon dioxide, and ozone (O<sub>3</sub>), these molecules being “floppier” so that their rotation/vibration modes are more easily excited. For example, carbon dioxide is a linear molecule, but it has an important vibrational mode in which the molecule bends with the carbon in the middle moving one way and the oxygens on the ends moving the other way, creating some charge separation, a dipole moment. A substantial part of the greenhouse effect due to carbon dioxide exists because this vibration is easily excited by infrared radiation. Clouds are also very important infrared absorbers. Therefore, water has multiple effects on infrared radiation, through its vapor phase and through its condensed phases. Other absorbers of significance include methane, nitrous oxide and the chlorofluorocarbons.
    Discussion of the relative importance of different infrared absorbers is confused by the overlap between the spectral lines due to different gases, widened by pressure broadening. As a result, the absorption due to one gas cannot be thought of as independent of the presence of other gases. One convenient approach is to remove the chosen constituent, leaving all other absorbers, and the temperatures, untouched, and monitoring the infrared radiation escaping to space. The reduction in infrared absorbtion is then a measure of the importance of that constituent. More precisely, define the greenhouse effect (GE) to be the difference between the infrared radiation that the surface would radiate to space if there were no atmosphere and the actual infrared radiation escaping to space. Then compute the percentage reduction in GE when a constituent is removed. The table below is computed by this method, using a particular 1-dimensional model of the atmosphere. More recent 3D computations lead to similar results.
    <center> <table class="wikitable" style="text-align: center;"> <tbody><tr> <th>Gas removed
    </th> <th>percent reduction in GE
    </th> </tr> <tr> <td>H<sub>2</sub>O</td> <td>36%</td> </tr> <tr> <td>CO<sub>2</sub></td> <td>12%</td> </tr> <tr> <td>O<sub>3</sub></td> <td>3%</td> </tr> </tbody></table> (Source: Ramanathan and Coakley, Rev. Geophys and Space Phys., 16 465 (1978)); see also [3].
    </center> By this particular measure, water vapor can be thought of as providing 36% of the greenhouse effect, and carbon dioxide 12%, but the effect of removal of both of these constituents will be greater than 48%. An additional proviso is that these numbers are computed holding the cloud distribution fixed. But removing water vapor from the atmosphere while holding clouds fixed is not likely to be physically relevant. In addition, the effects of a given gas are typically nonlinear in the amount of that gas, since the absorption by the gas at one level in the atmosphere can remove photons that would otherwise interact with the gas at another altitude. The kinds of estimates presented in the table, while often encountered in the controversies surrounding global warming, must be treated with caution. Different estimates found in different sources typically result from different definitions and do not reflect uncertainties in the underlying radiative transfer.

    Positive feedback and runaway greenhouse effect

    When the concentration of a greenhouse gas (A) is itself a function of temperature, there is a positive feedback from the increase in another greenhouse gas (B), whereby increase in B increases the temperature which, in turn, increases the concentration of A, which increases temperatures further, and so on. This feedback is bound to stop, since the overall supply of the gas A must be finite. If this feedback ends after producing a major temperature increase, it is called a runaway greenhouse effect.
    According to some climate models (Clathrate gun hypothesis), such a runaway greenhouse effect, involving liberation of methane gas from hydrates by global warming, caused the Permian-Triassic extinction event. It is also thought that large quantities of methane could be released from the Siberian tundra as it begins to thaw, methane being 21-times more potent a greenhouse gas than carbon dioxide [4].
    A runaway greenhouse effect involving CO<sub>2</sub> and water vapor may have occurred on Venus. On Venus today there is little water vapor in the atmosphere. If water vapor did contribute to the warmth of Venus at one time, this water is thought to have escaped to space. Venus is sufficiently strongly heated by the Sun that water vapour can rise much higher in the atmosphere and is split into hydrogen and oxygen by ultraviolet light. The hydrogen can then escape from the atmosphere and the oxygen recombines. Carbon dioxide, the dominant greenhouse gas in the current Venusian atmosphere, likely owes its larger concentration to the weakness of carbon recycling as compared to Earth, where the carbon dioxide emitted from volcanoes is efficiently subducted into the Earth by plate tectonics on geologic time scales. .

    Anthropogenic greenhouse effect

    <dl><dd> Main article: Global warming
    </dd></dl> CO<sub>2</sub> production from increased industrial activity (fossil fuel burning) and other human activities such as cement production and tropical deforestation has increased the CO<sub>2</sub> concentrations in the atmosphere. Measurements of carbon dioxide amounts from Mauna Loa observatory show that CO<sub>2</sub> has increased from about 313 ppm (parts per million) in 1960 to about 375 ppm in 2005. The current observed amount of CO<sub>2</sub> exceeds the geological record of CO<sub>2</sub> maxima (~300 ppm) from ice core data (Hansen, J., Climatic Change, 68, 269, 2005 ISSN 0165-0009).
    Because it is a greenhouse gas, elevated CO<sub>2</sub> levels will increase global mean temperature; based on an extensive review of the scientific literature, the Intergovernmental Panel on Climate Change concludes that "most of the observed increase in globally averaged temperatures since the mid-20th century is very likely due to the observed increase in anthropogenic greenhouse gas concentrations" [7].
    Over the past 800,000 years [8], ice core data shows unambiguously that carbon dixoide has varied from values as low as 180 parts per million (ppm) to the pre-industrial level of 270ppm Certain paleoclimatologists consider variations in carbon dioxide to be a fundamental factor in controlling climate variations over this time scale.<sup id="_ref-Bowen_.282005.29.2C_Thin_Ice_0" class="reference">[1]</sup>

    Real greenhouses

    The term 'greenhouse effect' originally came from the greenhouses used for gardening, but it is a misnomer since greenhouses operate differently. A greenhouse is built of glass; it heats up primarily because the Sun warms the ground inside it, which warms the air near the ground, and this air is prevented from rising and flowing away. The warming inside a greenhouse thus occurs by suppressing convection and turbulent mixing. This can be demonstrated by opening a small window near the roof of a greenhouse: the temperature will drop considerably. It has also been demonstrated experimentally (Wood, 1909): a "greenhouse" built of rock salt (which is transparent to IR) heats up just as one built of glass does. Greenhouses thus work primarily by preventing convection; the atmospheric greenhouse effect however reduces radiation loss, not convection. It is quite common, however, to find sources that make the "greenhouse" analogy. Although the primary mechanism for warming greenhouses is the prevention of mixing with the free atmosphere, the radiative properties of the glazing can still be important to commercial growers. With the modern development of new plastic surfaces and glazings for greenhouses, this has permitted construction of greenhouses which selectively control radiation transmittance in order to better control the growing environment


    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีเกินขีดจำกัดจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นสามารถถูกถ่ายเทด้วยวิธีการฉีด (injection) เข้าไปกักเก็บไว้ในดินตะกอนใต้ท้องทะเลลึก (Deep-sea sediments) โดยหลังจากที่พวกเขาได้ทำการศึกษาค้นคว้า พบว่า ดินตะกอนใต้ทะเลลึกสามารถเป็นเสมือนแหล่งกักเก็บก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไม่จำกัด อีกทั้งได้ประมาณไว้ด้วยว่า ภายในขอบเขตอาณาจักรของประเทศสหรัฐอเมริกา ปริมาณของชั้นดินตะกอนที่มีอยู่ใต้ท้องทะเลนั้นมีเพียงพอที่จะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ได้เป็นเวลานานอีกนับพันๆ ปี


    Kurt Zenz House และ Daniel P. Schrag พร้อมกับผู้ร่วมงานจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตต์และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้เสนอวิธีการ พร้อมรายละเอียดต่างๆ ถึงข้อดีของการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฝังลึกเข้าไปในใต้พื้นผิวทะเล พวกเขากล่าวว่า “การใช้พลังงานปริมาณมากๆ เพื่อสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่ให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมบนโลก ถือว่าเป็นปัญหาท้าทายที่สุดอันหนึ่งในช่วงอายุขัยของพวกเรา” Schrag ศาสตราจารย์ภาควิชา Earth and Planetary Science คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะ กล่าวอีกว่า “เนื่องจากแหล่งพลังงานที่มาจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันนับพันปี โดยเฉพาะ ถ่านหิน ยังคงจะเป็นแหล่งพลังงานหลักสำคัญที่ใช้ขับดันสังคมและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 การที่จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ในชั้นบรรยากาศลดลงจึงจำต้องอาศัยสิ่งที่สามารถกักเก็บก๊าซ CO<sub>2</sub> ได้ในปริมาณมากๆ และอยู่ห่างไกลจากชั้นบรรยากาศ เพื่อป้องกันการรั่วไหล”

    Schrag และเพื่อนร่วมวิจัยของเขาได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ดินตะกอนที่ลึกลงไปใต้ท้องทะเลสามารถเป็นแหล่งกักเก็บชั้นยอด เพราะจากอุณหภูมิที่ต่ำและแรงดันที่สูงที่ระดับความลึกกว่า 3,000 เมตร สามารถทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ซึ่งมีความหนาแน่นกว่าน้ำทะเลที่อยู่รอบๆ อันจะช่วยมันไม่สามารถรั่วไหลออกมาสู่ชั้นบรรยากาศและเป็นสิ่งรับประกันถึงแหล่งกักเก็บที่ถาวรของก๊าซที่จะไปมีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมของโลก

    การฉีด (injection) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใต้ตะกอนของท้องทะเลน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการพ่นก๊าซเป็นละอองเข้าไป เพราะนอกจากมันจะสามารถขังเก็บก๊าซได้ดีแล้ว ยังสร้างความเสียหายให้สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลน้อยที่สุด และ ยังเป็นวิธีที่ช่วยรับประกันด้วยว่าก๊าซจะไม่รั่วไหลออกไปสู่ชั้นบรรยากาศจากการปะปนไปกับกระแสน้ำของท้องทะเล อีกทั้งที่สภาวะอุณหภูมิและความดันในระดับความลึกที่เพียงพอ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เพียงแต่ที่จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นของเหลวเท่านั้น มันสามารถกลายสภาพเป็นของแข็งที่เรียกว่าผลึกคริสตัลไฮเดรท อันจะช่วยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศให้มีมากขึ้นกว่าเดิมอีก ข้อดีอันหนึ่งของวิธีการนี้ก็คือมันมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะรับมือกับแม้กระทั่งสถานการณ์แผ่นดินไหวหรือกลไกการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของท้องทะเลที่รุนแรง

    ในงานวิจัยอื่นๆ ที่คล้ายๆกัน กับงานนี้ ได้เคยมีการเสนอแนะให้นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากเกินขีดจำกัด ไปกักเก็บไว้ใต้แห่ลงทางธรรมชาติบนพื้นผิวโลก อย่างเช่น เหมืองขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ แต่ว่า ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ มันจะเสี่ยงต่อการรั่วไหลกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ

    House นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่ภาควิชา Earth and Planetary Science มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า “ชั้นดินตะกอนใต้ท้องทะเลลึกสามารถเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่มหึมา” เขากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “โดยประมาณการแล้ว 1.3 ล้านตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นท้องทะเลในขอบเขตน่านน้ำเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา มีระดับความลึกกว่า 3,000 เมตร และจากการคำนวณดูแล้วพบว่า ปริมาณของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดในแต่ละปีของสหรัฐฯ สามารถถูกกักเก็บไว้ใต้ชั้นดินตะกอนภายในพื้นที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งทำให้พื้นท้องทะเลภายในอาณาาเขตสหรัฐฯ สามารถใช้เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไปเป็นเวลานับพันๆปี”

    ส่วนภายนอกขอบเขตน่านน้ำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งห่างไปไกลกว่า 200 ไมล์ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้อ้างว่า ที่บริเวณนี้ ความจุของพื้นที่ใต้ท้องทะเลที่จะเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเสมือนว่ามีได้อย่างไม่จำกัด

    นอกจาก House และ Schrag แล้ว ผู้ร่วมงานวิจัยอีกสองคนได้แก่ Charles F. Harvey อาจารย์ที่ MIT และ Klaus S. Lackner อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยสามแหล่งทุนซึ่งได้แก่ กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ กองทุน Merck Fund of the New York Community และมูลนิธิ Link

    ข้อมูลจาก
    - http://www.news.harvard.edu/gazette/2006/08.24/99-seafloor.html

    (ภาพข้างบนแสดงภาพ ศาตราจารย์ Daniel P. Schrag ผู้อำนวยการของศูนย์ศึกษาสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาฮาร์วาร์ด (Staff file photo Jon Chase/Harvard News Office) )
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ไทยระอุ"โลกร้อน" วิกฤตแล้งถล่มอีสาน22ล.ไร่


    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#dee6ef"><td valign="center"> </td></tr> <tr bgcolor="#dee6ef"><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="left" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> ประชาชาติธุรกิจ
    สภาวะโลกร้อนใกล้ตัวคนไทยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยยึดโมเดล GCMs ทำนายสถาน การณ์ พบทุกปีเดือน พ.ย.-ม.ค. อุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 2.5-6 องศา ดึงภาคอีสานแล้งหนัก ระดับน้ำทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น 8-12 มิลลิเมตร/ปี กัดเซาะชายฝั่งแหลมตะลุมพุก-น้ำเค็มรุกบางขุนเทียน พื้นที่เกษตรอาจเสียหายได้ถึง 22 ล้านไร่ทั่วประเทศ หากโลกไม่ดำเนินการใดๆ เลยที่จะแก้ไขปัญหานี้

    ทุกวันนี้สภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นปัญหาใกล้ตัวที่สร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีผลการศึกษาทางวิทยา ศาสตร์หลายสำนักเชื่อตรงกันว่า ในรอบระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิ ของผิวโลกได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากและคาดการณ์ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้านี้อุณหภูมิผิวโลกในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส และอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100 หากไม่มีการดำเนินการใดๆ เลย

    อุณหภูมิความร้อนบนโลกที่เพิ่มสูงขึ้นสังเกตได้อย่างชัดเจนจาก "หิมะ" ที่เคยปกคลุมบนยอดเขาคีรีมันจาโร ในแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา ได้ละลายเกือบหมดในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น ขณะที่แผ่นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือได้ละลายไปแล้วถึง 20% ความหนาของแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือลดลงถึง 40% จาก 3 เมตร เหลือ 2 เมตร ภายในเวลา 30 ปี อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่น/กระแสน้ำเย็นในมหาสมุทร ทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำช้าลงจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ "เอล นิโญ/ ลา นีญา" บ่อยขึ้น

    ล่าสุดสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2537) ได้ใช้โมเดล GCMs คาดการณ์จากสถานการณ์โลกร้อนว่า ประเทศไทยอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 2.5-6 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ส่วนปริมาณน้ำฝนจะเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น 40% ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจะแห้งแล้งมากขึ้น จากสภาวะอากาศแปรเปลี่ยนมีระยะเวลาของฤดูสั้นกว่าปกติ

    ระดับน้ำทะเลด้านอ่าวไทยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 1-2 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ฝั่งทะเลอันดามันอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วงจากระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้น 8-12 มิลลิเมตร/ปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง จุดที่เป็นอันตรายทั้งด้านอ่าวไทยก็คือบริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช

    นอกจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อการรุกเข้ามาของ น้ำเค็ม ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, ท่าปอม/คลองสองน้ำ ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ ตลอดจนสภาพอากาศรุนแรงจากอุทกภัยและดินถล่มขยายตัวเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดแพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, ลำปาง และตาก </td></tr></tbody></table></td></tr><tr bgcolor="#dee6ef"><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="left" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> 3 กิจกรรมหลักที่ทำให้โลกร้อน จากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง
    สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งทำให้ภาวะโลกร้อนมากขึ้นว่า ปัจจุบันไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงแค่ 2.6 ตัน/คน/ปี แม้ว่ายังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด แต่ควรเร่งสร้างกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อช่วยกันยุติสภาวะโลกร้อน โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ๆ ตัวก่อน อาทิ การประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันในชีวิตประจำวัน

    ทั้งนี้ภาวะเรือนกระจกก็คือชั้นบรรยากาศของโลกได้ถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์ 53%-ก๊าซมีเทน 17%-ก๊าซ โอโซน 13%-ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 12%-ก๊าซซีเอฟซี 5%) มากเกินไป ในขณะที่ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติในการกักเก็บความร้อนได้ดี ดังนั้นแทนที่ความร้อนเหล่านี้จะถูกส่งผ่านออกไปนอกโลก กลับถูกชั้นบรรยากาศที่อุดมไปด้วยก๊าซเหล่านี้ "กักเก็บไว้" และสะท้อนกลับมายังพื้นผิวโลกอีกทีหนึ่ง ส่งผลให้โลกร้อนยิ่งขึ้น

    อย่างไรก็ตามทางสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดจากน้ำมือมนุษย์ถึงร้อยละ 90 จาก 3 กิจกรรมใหญ่คือ 1) กลุ่มพลังงาน มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 257 ล้านตัน หรือร้อยละ 80 ทำให้ภาคพลังงานของไทยเป็นตัวแปรสำคัญที่ปล่อยภาวะเรือนกระจกสูงกว่า 56% ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับกระทรวงพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน

    2) กลุ่มการเกษตร กิจกรรมทางการเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 91 ที่ทำกันอยู่ ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก โดยปลดปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์-คาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนโดยเฉพาะการปลูกข้าวปล่อยก๊าซมีเทนถึงร้อยละ 73 และการจัดการมูลสัตว์ในภาคปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนร้อยละ 26 ผลวิจัยระบุว่าทั้งสองกิจกรรมปลดปล่อยก๊าซมีเทนออกมาประมาณ 3.3 ล้านตัน นอกจากนั้นภาคเกษตรยังปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 70,000 ตัน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 16 ของปริมาณการปล่อยก๊าซทั้งหมดออกมาด้วย

    3) กลุ่มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 36 ล้านตัน แต่มีการดูดซับ CO2 กลับคืนไปแค่ 13 ล้านตันเท่านั้น</td></tr></tbody></table></td></tr><tr bgcolor="#dee6ef"><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="left" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> เกษตรฯของบฯ 294 ล้านบาท ทำแผนชะลอการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้นได้ก่อให้เกิดความถี่ของการเกิดปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการผลิตอาหาร ทำให้ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่การเกษตร สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและความอดอยาก โรคระบาดและโรคติดต่อในเขตร้อน

    โดยในปี 2550 อุณหภูมิในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแห้งแล้งมากขึ้น จากอุณหภูมิโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่า 2.5-6 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบปัญหาแล้งซ้ำซากมากกว่า 18 ล้านไร่ เช่น ลุ่มน้ำลำตะคอง และลำพระเพลิง (ตารางประกอบ)

    แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีพันธกรณีที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียม "แผนชะลอการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร" ให้น้อยลงเพราะเห็นว่าปัญหาโลกร้อนได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเกษตรกรรม ก่อให้เกิดภาวะความแห้งแล้งและอาจนำไปสู่การเป็น "ทะเลทราย" ได้ในอนาคต

    ล่าสุดกระทรวงเกษตรฯได้เตรียมยื่นขอจัดสรรงบประมาณจำนวน 294 ล้านบาท จากรัฐบาลในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อให้พื้นที่การเกษตรของประเทศที่เสี่ยงภัยแล้งจำนวน 131 ล้านไร่ ได้รับการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาจากผลกระทบความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    รวมทั้งปรับปรุงระบบการเตือนภัยสามารถคาดการณ์สภาวะอากาศของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำกว่าที่เป็นอยู่และเพื่อลดปัญหาเรือนกระจก สร้างความสมดุลของสภาพอากาศควบคู่กันไป โดย แผนบรรเทาสภาวะโลกร้อนด้านการเกษตรจะใช้ระยะเวลา 4 ปี (2551-2554) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 3 ด้านคือ

    1) การจัดการองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เน้นหนักการเก็บข้อมูลรวบ รวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ ที่มีต่อสภาวะโลกร้อน เช่น โครงการศึกษาผลกระทบของไม้ยืนต้น การปลูกพืชไร่ การปรับตัวของชนิดและพันธุ์พืช การศึกษาการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวที่มีต่อสภาวะโลกร้อน โครงการจัดทำแผนที่ปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย การติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรประมง

    2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในภาคการเกษตร เช่น มาตรการจัดการของเสียในภาคปศุสัตว์/ฟาร์มสุกร นาข้าว การไถกลบตอซัง ในการลดก๊าซเรือนกระจกและขยายผลรณรงค์ลดการเผาต่อซังทั่วประเทศ ลดการจุดไฟเผาในพื้นที่ป่า การวางระบบและติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อพยากรณ์และเตือนภัยลุ่มน้ำ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินและการจัดทำพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชพลังงาน โครงการศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อสภาพทาง เศรษฐกิจการเกษตร

    โครงการติดตามผลกระทบจากความแห้งแล้งทางด้านดินและพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และการป้องกันแก้ไขภาวะความเป็นทะเลทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการปลูกสร้างพื้นที่ฟองน้ำในไร่นา ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีต่อทรัพยากรประมงน้ำจืดและน้ำเค็ม และการศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อปริมาณและการกระจายตัวของฝนบริเวณประเทศไทย เป็นต้น

    3) การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดพืชและระยะเวลาการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ทนแล้ง ทนต่อปัญหาน้ำท่วม รวมถึงการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยจากภาวะโลกร้อน การเตรียมตัวของเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชและร่วมมือกันในการลดกิจกรรมทั้งในภาคการเกษตร อุตสาห กรรม พลังงาน ฯลฯ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลกร้อน</td></tr></tbody></table></td></tr><tr bgcolor="#dee6ef"><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> กรมพัฒนาที่ดินห่วง 3 จังหวัดภาคอีสาน
    ขณะที่กรมพัฒนาที่ดินระบุว่า อุณหภูมิโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาฝนแล้งและพื้นที่ดินเค็มขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบปัญหาแล้งซ้ำซากมากกว่า 7 ล้านไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาแล้งซ้ำซากในจังหวัดนครราชสีมา-ขอนแก่น และมหาสารคาม มีความเสี่ยงทำให้พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่ ทะเลทรายได้ในอนาคต

    ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินได้นำข้อมูลจากปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พื้นที่ชลประทาน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อมูลของพื้นที่ที่มีประวัติเกิดภาวะแล้งซ้ำซาก โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทำให้สามารถวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาภัยแล้งได้ล่วงหน้าเกือบ 2 เดือน โดยมีความแม่นยำไม่น้อยกว่า 80%

    จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะแห้งแล้งมากกว่า 22.9 ล้านไร่ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดสภาวะความแห้งแล้งในปี 2550 ขณะนี้แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

    ระดับที่ 1 คือพื้นที่ที่ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำปานกลางถึงสูง มีแหล่งน้ำเพียงพอกระจายอยู่ทั่วไป ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูง

    การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรทั้งทำนาปรังในพื้นที่ชลประทาน ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้นซึ่งมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการขาดแคลนน้ำแต่ยังมีความแห้งแล้งปกติในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ที่อยู่ในระดับนี้มี 59,312,352 ไร่

    ส่วนระดับที่ 2 ดินอุ้มน้ำค่อนข้างดีแต่ไม่มีแหล่งน้ำชลประทาน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ มีการปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ข้าวนาปรัง อ้อย จึงอาจมีโอกาสเกิดการขาดแคลนน้ำทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้ มีพื้นที่รวม 87,750,750 ไร่

    ระดับที่ 3 ถือว่าน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะลักษณะทางกายภาพของดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำค่อนข้างต่ำปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติ อีกทั้งมีการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด ที่ต้องใช้น้ำมาก ทำให้มีโอกาสเกิดภัยแล้งสูงและก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค พื้นที่เกษตรเสียหายรุนแรง โดยคาดว่าจะมีพื้นที่ที่ประสบปัญหาประมาณ 22,981,633 ไร่

    และระดับที่ 4 พื้นที่ไม่มีศักยภาพในการเกิดสภาวะความแห้งแล้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ลุ่มและพื้นที่ทำการเกษตรแบบประณีต รวมทั้งมีระบบชลประทานสมบูรณ์จึงไม่น่าห่วงเรื่องความแห้งแล้ง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีประมาณ 143,803,615 ไร่


    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>


     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    โลกใบใหญ่ / สิ่งแวดล้อม : An Inconvenient Truth กับภารกิจกู้โลก

    [​IMG]

    หลายคนที่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth คงรู้สึกตรงกันอย่างหนึ่งว่า อยากทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน และอย่างน้อยที่สุดก็อยากให้ทุกๆ คนได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ คงจะไม่เป็นการเกินเลยไปนัก หากจะเรียกขบวนการดังกล่าวว่าเป็นภารกิจกู้โลก เพราะวิกฤตการณ์เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนนั้นเกิดขึ้นแล้วจริงๆ และกำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลเกินจินตนาการ

    An Inconvenient Truth เป็นภาพยนตร์สารคดียาว ๑๐๐ นาทีที่ฉายให้เห็นวิกฤตการณ์สภาวะโลกร้อน (Global Warming) อย่างตรงไปตรงมาและลึกซึ้ง หนังไม่เพียงแต่นำเสนอข้อมูลวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีพลังและน่าสะพรึงกลัว หากยังสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนดูได้อย่างน่าทึ่ง

    หลังจากภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนาเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนขึ้นหลายครั้ง และเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายนที่ผ่านมา ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้จัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า พร้อมจัดกิจกรรมระดมความคิดเชิงวิชาการเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและบุคคลทั่วไปอย่างมาก
    ................................................... ​
    <table border="0" width="500"> <tbody> <tr> <td align="center">[​IMG]
    [​IMG]</td> <td>ภาพเปรียบเทียบปริมาณหิมะบนยอดเขาคิลิมันจาโร ในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ (บน) และปี ค.ศ. ๒๐๐๐ (ล่าง) </td> </tr> </tbody> </table> ​

    An Inconvenient Truth ดำเนินเรื่องโดย อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สมัย บิลล์ คลินตัน และผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ที่แพ้การเลือกตั้งให้แก่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ไปอย่างเฉียดฉิวและน่าเคลือบแคลง

    กอร์เล่าว่าเขาเริ่มสนใจปัญหาสภาวะโลกร้อนมาตั้งแต่สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อศาสตราจารย์โรเจอร์ เรวีลล์ นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เริ่มตรวจวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ได้นำผลการตรวจวัดในปีแรกๆ มาบรรยายในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผลการตรวจวัดดังกล่าวแสดงให้เห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปรกติของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังมีปัญหา และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์

    เดวิส กุกเกนไฮม์ ผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้นำเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของกอร์มาเป็นตัวดำเนินเรื่องคู่ขนานและตัดสลับไปมากับการนำเสนอข้อมูลอันหนักแน่นได้อย่างแยบคาย

    จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของกอร์ที่ทำให้มุมมองต่อโลกและชีวิตของเขาเปลี่ยนไปตลอดกาลคือ การที่เขาเกือบจะสูญเสียลูกชายสุดที่รักวัย ๖ ขวบไปกับอุบัติเหตุรถชนที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา

    หลังจากลูกชายของเขารอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์ เขาได้ให้สัญญากับตัวเอง ๒ ข้อ หนึ่ง ให้ความสำคัญกับครอบครัวก่อนเสมอ และสอง ให้ความสำคัญกับวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับแรกในชีวิตการทำงาน

    <table border="0" width="300"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>อัล กอร์ ตระเวนเดินทางไปทั่วโลก เพื่อบอกให้ทุกคนรับรู้ถึงปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่</td> </tr> </tbody> </table> ​

    หนึ่งในความสำเร็จที่กอร์ภูมิใจคือ การมีส่วนช่วยให้เกิดการบรรลุข้อตกลงของนานาชาติในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ซึ่งเป็นพันธกรณีให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ แต่ที่เป็นความรู้สึกผิดในใจก็คือ เขายังไม่สามารถผลักดันให้สภานิติบัญญัติของประเทศที่เขาอาศัยอยู่ให้สัตยาบันต่อข้อตกลงนี้ได้

    หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๐ กอร์ยุติบทบาททางการเมืองและกลับมาเดินสายบรรยายเรื่องปัญหาโลกร้อนอีกครั้ง ตลอดช่วง ๖ ปีที่ผ่านมา เขาเดินทางไปทั่วโลก และระหว่างที่เขาเดินสายบรรยายอยู่ที่นครลอสแองเจลิส ลอรี่ เดวิด นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและผู้กำกับภาพยนตร์ ได้ชักชวนให้ เจฟฟ์ สกอลล์ ผู้บริหาร Participant Productions ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ระดับคุณภาพ เข้าไปฟังการบรรยายครั้งนั้นด้วย ความคิดที่จะนำการบรรยายของกอร์มาทำเป็นภาพยนตร์จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้สาระสำคัญที่เขาพยายามพร่ำพูดได้ส่งผ่านไปถึงคนในสังคมโลกได้รวดเร็วขึ้น

    ปัญหาโลกร้อนไม่ใช่เรื่องใหม่ ทว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยให้ความสนใจกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง กอร์ได้รวบรวมข้อมูลล่าสุดและหลักฐานต่างๆ จากทุกทวีป เพื่อลบล้างความเชื่อเก่าๆ ที่ว่า มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราจะสามารถสร้างผลกระทบที่สั่นสะเทือนไปถึงดินฟ้าอากาศได้อย่างไร

    ความจริงก็คือชั้นบรรยากาศที่ห่มคลุมโลกและทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนั้น เปราะบางกว่าที่เราคิดมาก หากนำลูกโลกจำลองมาเคลือบเงา ความหนาของชั้นบรรยากาศเมื่อเทียบกับโลก ก็คือผิวเคลือบบางๆ ชั้นนอกเท่านั้นเอง กลุ่มก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ในชั้นบรรยากาศ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และสาร CFC ล้วนมีบทบาทสำคัญในการดักจับความร้อน ซึ่งความจริงแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะด้วยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้เองที่ช่วยให้โลกไม่กลายเป็นดินแดนน้ำแข็ง

    อย่างไรก็ตาม โดยปรกติในธรรมชาติมีก๊าซเหล่านี้ในปริมาณน้อยมาก แม้แต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่พบได้บ่อยที่สุด ก็ยังพบไม่ถึง ๔ โมเลกุลในทุกๆ ๑๐,๐๐๐ โมเลกุลของชั้นบรรยากาศ ความที่มันมีอยู่น้อยมากในธรรมชาตินี้เองที่ช่วยให้โลกเราไม่ร้อนจนกลายเป็นเตาอบ ข้อเท็จจริงสำคัญอีกประการที่หลายคนไม่รู้ก็คือ พลวัตของมวลก๊าซ ซึ่งว่ากันว่าภายในระยะเวลาเพียง ๑ สัปดาห์ คาร์บอนไดออกไซด์ที่คุณเพิ่งหายใจออกมานั้นอาจกลายเป็นอาหารให้แก่พืชในอีกทวีปหนึ่งแล้ว และด้วยเวลาไม่กี่เดือน คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากมนุษย์สามารถไหลเวียนไปทั่วโลกได้อย่างสบายๆ ดังนั้นผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นปัญหาที่กระทบถึงคนทั่วทุกมุมโลก

    ในหนังเรื่องนี้ กอร์เปรียบก๊าซเรือนกระจกเป็นวายร้ายที่คอยดักไม่ให้ความร้อนหนีกลับออกไปนอกโลก เมื่อวายร้ายมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความร้อนจึงถูกเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ เกิดเป็นสภาวะเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกอยู่ที่ราว ๑๔ องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มสูงขึ้น ๐.๖-๐.๘ องศาเซลเซียสทุกปี

    <table border="0" width="409"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก </td> </tr> </tbody> </table> ​

    กอร์อธิบายว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมไปถึงการสุมเผาอันเป็นวิธีตัดไม้ทำลายป่าแบบดั้งเดิม ล้วนแต่มีส่วนทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปรกติ เขาชี้ให้เห็นถึงความจริงข้อนี้อย่างชัดเจนในหนัง ด้วยการขึ้นไปยืนบนเครนไฟฟ้าที่ยกตัวขึ้นตามเส้นกราฟคาร์บอนไดออกไซด์ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วง ๔๐-๕๐ ปีมานี้ รวมถึงแนวโน้มในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ข้อมูลนี้น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนกลับไปถึง ๖๕๐,๐๐๐ ปี ที่แม้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะมีวงจรขึ้นๆ ลงๆ ตามยุคน้ำแข็ง ๗ ยุค แต่ไม่เคยมีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงผิดปรกติเช่นนี้

    อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนคือ คนส่วนมากไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาจริงๆ หรือเป็นเพียงการมองโลกในแง่ร้ายของนักวิทยาศาสตร์ช่างวิตกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้คนตื่นตูมกันไปทั้งโลก

    เพื่อยืนยันว่าโลกกำลังร้อนขึ้นจริงๆ กอร์ได้ฉายภาพเปรียบเทียบปริมาณหิมะในอดีตกับปัจจุบันของสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่นที่เทือกหิมาลัยและคิลิมันจาโร ซึ่งมีปริมาณหิมะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เขาพาไปดูขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ที่แผ่นน้ำแข็งกำลังละลายและแตกออกอย่างไม่หยุดหย่อน ป่าแอมะซอนที่กำลังเสื่อมโทรม และธารน้ำแข็งทั่วโลกที่กำลังหดตัวลงอย่างรวดเร็ว

    ปัญหาโลกร้อนยังเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้สภาพภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวน เพราะอุณหภูมิในมหาสมุทรที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการไหลของกระแสน้ำที่เชื่อมโยงถึงกันหมด เขายืนยันด้วยข้อมูลทางสถิติของภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งภาวะน้ำท่วม ฝนแล้ง ไต้ฝุ่นหรือพายุเฮอริเคนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น โดยไม่ลืมที่จะเตือนให้ทุกคนนึกถึงเฮอริเคนแคทรีนา (Katrina) ที่เข้าถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์เมื่อสิงหาคมปีที่แล้ว นับเป็นภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชนชาติอเมริกัน โดยได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ ๒,๐๐๐ คน และสร้างความเสียหายอีกกว่า ๘ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

    หากโลกยังร้อนขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดแผ่นน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกาหรือกรีนแลนด์อาจจะละลายลงทั้งหมด และนั่นหมายถึงเภทภัยที่ร้ายแรงที่สุดจะเกิดขึ้น เพราะจะทำให้น้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นกว่า ๖ เมตร โดยบริเวณที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีตั้งแต่มหานครนิวยอร์ก เนเธอร์แลนด์ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง โกลกาตา (กัลกัตตา) และบังกลาเทศ

    กอร์ยืนยันว่าประเด็นโลกร้อนไม่ใช่ข้อถกเถียงอีกต่อไป โดยได้รีวิวบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์กว่า ๙๐๐ เรื่อง และพบว่าไม่มีชิ้นไหนเลยที่ให้ผลขัดแย้งหรือโต้เถียงว่าปรากฏการณ์โลกร้อนไม่ได้เกิดขึ้นจริง ทั้งต่างเห็นพ้องกันว่าสาเหตุหลักนั้นมาจากฝีมือมนุษย์ ถ้าเช่นนั้นความสับสนของคนในสังคมเกิดขึ้นได้อย่างไร

    คำตอบอยู่ที่บทความประเภทแสดงความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีบทความกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์แสดงความเคลือบแคลงว่าสภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แน่นอนว่าถ้าสังคมโลกโดยรวมยอมรับว่าสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาจริงๆ และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งจำเป็นหรือกลายเป็นข้อบังคับ นั่นหมายถึงทุกคนบนโลกต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต ซึ่งดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน

    สภาวะโลกร้อนจึงกลายเป็นข้อเท็จจริงอันน่าหดหู่ แต่การปฏิเสธความจริงหรือการไม่รู้ร้อนรู้หนาวก็ไม่ใช่ทางออกของปัญหา

    กอร์บอกว่าเขาเข้าใจดีถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนจะนำไปสู่การปฏิบัติ แต่บ่อยครั้งที่มันสายเกินไปจนเราต้องมานั่งเสียใจว่าน่าจะลงมือแก้ปัญหามาตั้งนานแล้ว

    <table border="0" width="300"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>การละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือส่งผลต่อวงจรการหาอาหารของหมีขั้วโลก เนื่องจากปริมาณน้ำแข็งที่ลดลง ทำให้แมวน้ำซึ่งเป็นอาหารหลักของหมีขั้วโลก หายากขึ้นทุกที </td> </tr> </tbody> </table> ​

    ก่อนจบ กอร์กระตุ้นให้เราตระหนักถึงศักยภาพของมนุษย์ในด้านดี เราขจัดโรคร้ายได้สารพัด เราเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์และสำรวจอวกาศ เราประสบความสำเร็จในการลดปริมาณสาร CFC--ก๊าซเรือนกระจกอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดรูรั่วในชั้นโอโซน ซึ่งเป็นวิกฤตสำคัญเมื่อราว ๑๐ ปีที่แล้ว เขาย้ำว่าโลกได้ส่งสัญญาณเตือนภัยให้เรารับรู้แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตอบสนองอย่างไร
    ................................................... ​
    สำหรับคนไทยที่รู้สึกว่าปัญหานี้ยังไกลตัว อยากให้ลองนึกถึงข่าวน้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้นทุกที สภาพอากาศวิปริตไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกต่อไป

    บนเวทีระดมความคิดหลังจบการชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายนที่ผ่านมา รศ. ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งสัญญาณเตือนที่คล้ายกันว่า

    “ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยในเอเชียสูงขึ้นราว ๑-๓ องศาเซลเซียส และจะเพิ่มขึ้นอีก ๒-๔ องศาเซลเซียสในรอบ ๑๐๐ ปีข้างหน้า ลักษณะการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไป คือตกคราวละมากๆ จนเกิดน้ำท่วม มีการทิ้งช่วงเป็นเวลานานจนเกิดภัยแล้ง และเริ่มเห็นแนวโน้มว่ามีการย้ายที่ตก ในประเทศไทยมีเหตุการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม เพิ่มสูงขึ้นถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ พายุในมหาสมุทรแปซิฟิกก็เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นราว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ สภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่นเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกิน ๓๓ องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังทำให้ปัญหาการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งของบ้านเรารุนแรงมากขึ้น ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมาเราสูญเสียชายฝั่งรวมกันเป็นเนื้อที่กว่า ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ ชายฝั่งบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลถูกกัดเซาะมากถึง ๖๕ เมตรต่อปี ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการใดๆ เราจะถูกน้ำทะเลรุกท่วมเข้ามาอีก ๖-๘ กิโลเมตรในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า หรืออาจจะเร็วกว่านี้ถ้าปัญหาโลกร้อนเลวร้ายยิ่งขึ้น”

    จรูญ เลาหเลิศชัย ตัวแทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบปรากฏการณ์เฮอริเคนแคทรีนากับไต้ฝุ่นในอ่าวไทยว่า “ในทางทฤษฎีบอกว่าจะเกิดไต้ฝุ่นขึ้นเฉพาะในทะเลที่ลึก ๕๐ เมตรขึ้นไป อ่าวไทยของเราลึกแค่ ๔๐ เมตรตอนที่เราเจอพายุเกย์เมื่อปี ๒๕๓๒ ตอนนั้นเราก็คิดว่าอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญ แต่พอปี ๒๕๔๐ ก็เกิดไต้ฝุ่นลินดาอีก แสดงว่ามันไม่ได้บังเอิญแล้ว ประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยงพอๆ กับที่อื่นๆ”

    นายวราวุธ ขันติยานันท์ ผู้อำนวยการส่วนฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร เล่าประสบการณ์ตรงจากการขึ้นบินทำฝนเทียมมาร่วม ๓๐ ปีว่า “สิ่งที่เห็นได้ชัดคือสภาพป่าที่ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก อากาศร้อนแล้งขึ้น ไอน้ำลดลง ทำให้กลุ่มเมฆซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำฝนเทียมบางและไม่ค่อยรวมตัว อมความชื้นได้น้อย ทำฝนเทียมไปก็ได้ปริมาณฝนไม่เต็มที่ ต่อไปเราจะมีปัญหามากขึ้นแน่ๆ”

    ส่วน ดร. วนิสา สุรพิพิธ ตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ ได้เสริมว่า “หนังเรื่องนี้ให้น้ำหนักกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างมาก แต่ความจริงยังมีก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ โดยเฉพาะก๊าซมีเทน ที่แม้จะมีปริมาณน้อยกว่ามาก แต่มีความสามารถในการดักจับความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๖๐ เท่า มีเทนเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตรและการฝังกลบขยะ ครั้งหนึ่งไทยเราก็เคยถูกโจมตีเรื่องการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว ซึ่งบางหน่วยงานก็กำลังให้ความสำคัญในการค้นคิดเทคโนโลยีเพื่อนำเอาก๊าซมีเทนดังกล่าวมาหมุนเวียนเป็นก๊าซหุงต้ม”

    แม้การเสวนาจะให้เวลาน้อยไปสักนิดเมื่อเทียบกับจำนวนของผู้เชี่ยวชาญที่มากันพร้อมหน้าพร้อมตา แต่ก็ช่วยให้เราเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ความน่ากลัวในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นผลจากการใช้สเปเชียลเอฟเฟ็กต์ และเทคนิคการตัดต่ออันเหนือชั้น หากแต่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหายนะที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ

    ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ดูสนุกและให้ข้อคิดคมๆ มากมาย แต่ยังได้เตือนสติให้เราหันกลับมาคิดถึง “โลก” บ้านหลังสุดท้ายของมนุษย์ ความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมดูเหมือนกำลังจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับปัจเจกไปจนถึงนโยบายและความร่วมมือของนานาชาติ ตั้งแต่คนตัวเล็กๆ ไปจนถึงนักการเมือง และนักธุรกิจพันล้าน

    ล่าสุด ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้โด่งดัง เจ้าของสายการบิน Virgin Atlantic Airways และกิจการคมนาคมขนาดยักษ์ ประกาศจะบริจาคผลกำไร ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จากการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัทในเครือ Virgin Travel ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง ๓,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อลงทุนในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ริชาร์ดเผยว่า “ผมยอมรับว่าเคยคลางแคลงใจเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน แต่ผมก็ได้พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน อ่านหนังสือหลายเล่ม และเมื่อไม่นานมานี้ อัล กอร์ ได้ให้เกียรติมารับประทานอาหารเช้าร่วมกับผม คำอธิบาย ๒ ชั่วโมงของเขาได้ปลุกให้ผมตื่นขึ้นมารับรู้ความจริง ความจริงที่ว่าโลกเรากำลังตกอยู่ในอันตราย ...แต่เรามีความรู้ มีเทคโนโลยี และทุกอย่างที่จำเป็นในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์ด้านภูมิอากาศแล้ว จะขาดก็แต่เพียงความตั้งใจ”

    คงเป็นจริงอย่างที่ อัล กอร์ ว่าไว้ ปัญหาโลกร้อนไม่ใช่ข้อโต้แย้งทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือมุมมองที่แตกต่างกันในทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ ปัญหานี้เป็นเรื่องของคุณธรรม เพราะไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะสำคัญไปกว่าโลกที่เราอาศัยอยู่

    วันนี้คุณพร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน พร้อมหรือไม่ที่จะเข้ามาร่วมในภารกิจกู้โลกครั้งนี้

    อาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องร่วมกันพิสูจน์ว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “คน” ควรค่าที่จะดำรงอยู่ต่อไป

    หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ และเข้าร่วมในการแก้ปัญหาโลกร้อนได้ที่เว็บไซต์ www.climatecrisis.net

    <table border="0" width="300"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>สมุทรปราการเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย โดยในระยะเวลา ๓๘ ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ถูกกัดเซาะหายไป ๑๑,๑๐๔ ไร่ ทั้งนี้หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่าพื้นที่ชายฝั่งสมุทรปราการจะถูกกัดเซาะอีกประมาณ ๓๗,๖๕๗ ไร่ในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า ในภาพคือวัดขุนสมุทราวาส อ. พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะของน้ำทะเล </td> </tr> </tbody> </table> ​

    (ล้อมกรอบ)
    เริ่มต้นแก้วิกฤติโลกร้อนได้อย่างไร

    ๑. ประหยัดพลังงานทุกรูปแบบ
    • ปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อไม่ใช้งาน โดยถอดปลั๊กออกด้วย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนมากยังคงใช้ไฟอยู่แม้จะกดปิดแล้ว
    • ใช้หลอดประหยัดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
    • เดิน ขี่จักรยาน หรือใช้บริการรถขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว
    • หากเป็นไปได้ให้ใช้พลังงานทางเลือก
    ๒. บริโภคให้น้อยลง ประหยัดให้มากขึ้น
    • คิดก่อนซื้อ เลือกใช้ของมือสองหรือซื้อของที่ใช้งานได้นาน นำของใช้แล้วมาใช้ใหม่
    • ใช้กระดาษให้น้อยลง คิดก่อนสั่งพิมพ์
    • ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู
    • ใช้ขวดน้ำส่วนตัวเพื่อลดการซื้อขวดน้ำพลาสติก
    • กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง
    ๓. มีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย
    • เรียนรู้เพิ่มเติมและติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหาสภาวะโลกร้อน
    • บอกให้คนรอบข้างตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา
    • ชักชวนให้สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่สังกัดประหยัดทรัพยากร
    • สนับสนุนบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
    • สนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    http://www.sarakadee.com
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    สภาวะโลกร้อน : สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติก่อนที่โลกจะถึงกาลอวสาน [​IMG]
    นับวันความแปรปรวนของภูมิอากาศและภัยพิบัติจะรุนแรงมากขึ้นทุกขณะในทั่วภูมิภาคของโลก... ภาวะแห้งแล้งยาวนานในแอฟริกาเหนือ การเกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป ฝนตกหนัก น้ำท่วมหนัก ฤดูกาลผิดปกติในหลายส่วนของโลก รวมถึงการเกิดพายุเฮอร์ริเคนที่ทำลายเมืองนิวออร์ลีนของสหรัฐอเมริกาอย่างย่อยยับไปทั้งเมือง แม้กระทั่งประเทศไทยที่โดนน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี...สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติได้ส่งมาถึงมนุษยชาติแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คุณคือพระเอกและผู้ร้าย
    โลกที่ราอยู่ทุกวันนี้มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโดยมีส่วนประกอบของก๊าซไนโตรเจน (78%) ออกซิเจน (20.9%) และก๊าซอาร์กอน (0.93%) ตามสัดส่วนของปริมาตรของอากาศตามธรรมชาติ ก๊าซทั้งสามชนิดมีปฏิกิริยากับพลังงงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่เกิดจาก โลกน้อยมาก แต่มีก๊าซอยู่ประเภท หนึ่งได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<sub>2</sub>) ก๊าซมีเทน (CH<sub>4</sub>) ก๊าซไนตรัสออกไซด์(N<sub>2</sub>O) และก๊าซโอโซน (O<sub>3</sub>) มีคุณสมบัติในการกักเก็บและส่งผ่านรังสีความร้อนที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่เกิดขึ้นจากโลกออกสู่อวกาศ โดยก๊าซกลุ่มนี้ถูกเรียกว่าก๊าซเรือนกระจกหรือ Greenhouse gas (GHG) เนื่องจากมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการที่กระจกกักเก็บความร้อนจากแสงแดดไว้ภายในอากาศ ก๊าซเรือนกระจกมีสัดส่วนน้อยกว่า 0.1% ของปริมาตรของอากาศตามธรรมชาติ ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่นี้จะทำหน้าที่กักเก็บความร้อนส่วนหนึ่งไว้ไม่ให้ผ่านออกสู่อวกาศ ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้
    ในทศวรรษ 1890 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อว่า Svante Arrhenius ได้ศึกษาถึงผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิเฉลี่ยของผิว โลกในกรณีที่ลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ลงครึ่งหนึ่ง หลังจากคำนวณอย่างละเอียดเป็นเวลาหลายปี เขาก็ได้ข้อสรุปว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกที่ลดลงครึ่งหนึ่งจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกลดลงถึง 5<sup>o</sup>C
    แต่นาย Svante มีวิสัยทัศน์มากกว่านั้นครับ เขาพิจารณาว่าโลกได้เข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรมแล้ว ในอนาคตปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะต้องเพิ่ม ขึ้นไม่ใช่ลดลงเนื่องจากการเผาไหม้ ของถ่านหินและเชื้อเพลิงต่างๆ และ จะต้องมีผลทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของ ผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) นั่นเอง จาก การคำนวณของเขาพบว่าถ้าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในขณะนั้นเพิ่มขึ้นเป็นบรรยากาศในขณะนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของ ผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น 6<sup>o</sup>C! โดยอ้างอิงจากอัตราการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงใน ขณะนั้น (ลืมบอกไปครับว่า ในยุคนั้น ยังไม่พบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ) ปรากฏการณ์ที่คาดคะเนนี้ต้องใช้เวลาถึง 2,000 ปี
    ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศวัดได้ประมาณ 280 ppmv ซึ่งเป็นระดับที่มีเสถียรภาพ อยู่เป็นเวลานานหลายพันปี แต่เมื่อสิ้นค.ศ. 2004 ระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยกาศได้เพิ่มขึ้นเป็น 375 ppmv หรือเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสามของค่าก่อนยุคอุตสาหกรรม และถ้าอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆซึ่งทำให้เกิดก๊าซคาร์บอน--ไดออกไซด์ยังเป็นไปตามการใช้งานในปัจจุบันต่อจากนี้ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตามที่นาย Svante คาดการณ์ไว้จะเกิดขึ้นภายในเวลา 200 ปีเท่านั้นเร็วกว่าเดิมถึง 10 เท่า! และถ้า รวมปัจจัยจากการเร่งพัฒนาความเจริญของประเทศต่างๆโดยวัดจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีแล้ว รวมถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรเข้าไป ด้วย ก็จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าของค่าก่อนยุคอุตสาหกรรมภายใน ค.ศ. 2100 หรือ ประมาณ 100 ปีนับจากนี้ และถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจริง อุณหภูมิ เฉลี่ยของผิวโลกจะสูงขึ้นเป็นเท่าไร คิดกันบ้างมั้ยครับ
    เกิดอะไรขึ้นกับโลกของเราเมื่อโลกร้อนขึ้น
    ตัวอย่างของผลกระทบทางตรง (direct effect)
    เมื่อโลกร้อนขึ้นก็จะทำให้หลายส่วนของโลกเกิดภาวะแห้งแล้ง เกิดไฟป่าขึ้น รวมถึงมนุษย์บุกรุกทำลายป่าเพื่อแสวงหาที่ทำกินเพิ่มขึ้นทดแทนพื้นที่ที่แห้งแล้งหรือขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ป่าไม้ที่เคยเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกหรือเป็นปอดของโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ไฟป่าที่เพิ่มขึ้นก็จะเผาผลาญป่าไม้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด และยังทำให้พื้นดินบริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง และอาจเปลี่ยนเป็นทะเลทรายได้อีกด้วย
    เมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้น้ำแข็งละลายในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ และมีน้ำแข็งเหลืออยู่ในฤดูหนาวน้อยลงก็จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวสูงขึ้น เกิดเป็นน้ำแข็งใหม่น้อยลง ทำให้เป็นไปได้ว่าในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2030 บริเวณขั้วโลกเหนือจะไม่มีจะน้ำแข็งเหลืออยู่เลย ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดน้ำแข็งในฤดูหนาวอย่างแน่นอน
    ปกติแล้วน้ำแข็งบนพื้นดินและในมหาสมุทรจะสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศได้ถึง 90% แต่เมื่อโลกร้อนขึ้น น้ำแข็งก็จะละลายมากขึ้น และน้ำแข็งที่เหลืออยู่ก็จะสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ได้น้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้อุณห-- ภูมิของโลกก็จะสูงขึ้นไปอีก เกิดเป็นวัฏจักรที่น้ำแข็งละลายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    ตัวอย่างของผลกระทบทาง อ้อม indirect effect
    เมื่อน้ำแข็งในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกและเกาะกรีนแลนด์ละลายมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน ทำให้ความเค็มของน้ำทะเลลดลง ความเข้มข้นของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลง น้ำทะเลเบาขึ้นและลอยนิ่งอยู่ที่ผิวน้ำ ทำให้วัฏจักรของกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกที่ให้ความอบอุ่นกับซีกโลก เหนืออาจจะหยุดไหลได้ และถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจริง ซีกโลกเหนือก็จะกลับสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง!
    เมื่อโลกร้อนขึ้น อัตราการระเหย ของน้ำบนดินและในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ไอน้ำในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไอน้ำนี้เองก็มีคุณสมบัติเช่นเดียว กับก๊าซเรือนกระจก ก็ยิ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นอีก ทั้งหมดนี้มีผลต่อ ความกดอากาศของโลก ทำให้ในบาง พื้นที่ที่แห้งแล้งก็เกิดฝนตก บางพื้นที่ที่เคยฝนตกก็เกิดภาวะแห้งแล้ง แม่น้ำ ลำน้ำแห้งผาก เปลี่ยนทิศทาง เกิดฤดูกาลที่ผิดปกติไปทั่วโลก

    การแก้ไขและการปรับตัว
    มนุษย์โลกนี่แหละครับคือต้นเหตุของปัญหา และมนุษย์โลกนี่แหละครับต้องเป็นผู้แก้ปัญหานี้เอง
    ตามพิธีสารเกียวโตหรือ Kyoto Protocol สามารถสรุปได้ถึงแนวทางที่จะนำมาใช้เป็นกลไกการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ คือ
    1. ต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
    2. ต้องใช้พลังงานทางเลือกที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ (Low Carbon Energy) เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานลมโดยใช้กังหันลม (wind turbine)
    3. เสริมสร้างมาตรการ Carbon offsetting สร้างแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การปลูกป่า ลดการทำลายป่า อนุรักษ์ป่าเขตร้อน

    โดย... ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์

    http://update.se-ed.com/230/global-warming.htm

     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    คาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อผู้ร้าย กลายเป็น พระเอก..

    ช่างเป็นความคิดที่น่าฉงนจริงๆ ที่ว่า คาร์บอนมอนอกไซด์อาจจะดีต่อสุขภาพของเรา เจ้าก๊าซมรณะนี้ฆ่าคนเป็นพันๆ ทุกปี แต่กระนั้นก็ดียังมีนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ก๊าซนี้เป็นเครื่องช่วยชีวิต ได้ พวกเขาเชื่อว่ามันจะช่วยให้คนไข้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะมีโอกาสรอดมากขึ้น หรือแม้แต่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหืด (asthma) หายใจได้สะดวกขึ้น
    คาร์บอนมอนอกไซด์กำลังมีชื่อเสียงหอมหวนทวนลมอย่างรวดเร็วในด้านที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น เมื่อต้นปี 2544 ที่ผ่านมา คณะนักวิจัยทางการแพทย์กลุ่มหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาสามารถป้องกันมิให้หนูทดลองแสดงปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่จะต่อต้านหัวใจที่ได้รับการปลูกถ่ายเอามาจากหนูตัวอื่นได้ด้วยการให้มันหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปทีละน้อยๆ นักวิทยาศาสตร์อีกทีมก็รายงานว่า พวกเขาใช้คาร์บอนมอนอกไซด์หยุดยั้งความตายของหนูทดลองหลังการผ่าตัดที่ทำเลียนแบบการผ่าตัดเปลี่ยนปอดได้ แถมยังมีรายงานเป็นหลักฐานว่า ก๊าซนี้ป้องกันช่วยหัวใจวายได้ซะด้วย เราทราบกันมา
    ตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1960s แล้วว่า ปกติร่างกายของเราสร้างคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณน้อยๆ อยู่แล้ว เมื่อเอนไซม์ที่ชื่อว่า ฮีมออกซิจิเนส วัน (Heam Oxygenase HO-1) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายฮีม ซึ่งเป็นรงควัตถุที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบและพบได้ในเม็ดเลือดแดง เป็นที่รู้จักกันดีว่า HO-1 จะออกทำหน้าที่เมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารชีวพิษ (พิษจากเชื้อโรค พิษงู หรือพิษจากแมลง) โดยรังสีอัลตราไวโอเล็ต โดยฮอร์โมน หรือเมื่อได้รับออกซิเจนและยาในระดับสูงหรือต่ำกว่าปกติ HO-1 มีหน้าที่คอยกำจัดกวาดล้างโมเลกุลฮีมที่มีพิษซึ่งถูกปล่อยออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่ทุกคนจะเหมาเอาว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ที่ถูกสร้างขึ้นจากการทำความสะอาดเช่นนี้เป็นเพียงผลพลอยได้ที่เกิดอยู่ตามปกติเท่านั้น
    อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2536 โซโลมอน สไนเดอร์ แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ที่บัลติมอร์ ได้นำเสนอบทบาทที่มีความหมายของคาร์บอนมอนอกไซด์ให้โลกรู้ ที่จริงแล้วทีมวิจัยของสไนเดอร์กำลังศึกษาก๊าซอีกตัวหนึ่งอยู่ นั่นคือ ไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นโมเลกุลสัญญาณตัวหนึ่งของร่างกาย พวกเขามีลางสังหรณ์ว่า ไม่น่าจะมีแค่ไนตริกออกไซด์ที่ทำงานเพียงลำพังเท่านั้น น่าจะมีก๊าซชนิดอื่นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกันนี้อีก ลูกศิษย์คนหนึ่งของสไนเดอร์เสนอว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ก็ดูจะเป็นก๊าซธรรมดาเช่นเดียวกับไนตริกออกไซด์เหมือนกัน แล้วทำไมคาร์บอนมอนอกไซด์จะเป็นตัวส่งข่าวทางชีววิทยาด้วยไม่ได้
    นับแต่นั้นมา สไนเดอร์และนักวิจัยคนอื่นทำวิจัยจนพบหลักฐานว่า คาร์บอนมอนอกไซด์มีส่วนช่วยไนตริกออกไซด์ควบคุมการทำงานทั่วๆ ไปของร่างกายมนุษย์ เช่น ทำให้ลำไส้หดตัว ทำให้อาหารเคลื่อนออกไปจากกระเพาะอาหาร และทำให้อวัยวะเพศชายตื่นตัว แต่ถึงแม้ว่าจะพยายามกันมากเพียงใด นักวิจัยก็พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ให้ได้ว่าคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นมีบทบาทที่แน่นอนอย่างไรในตัวเรา
    งานวิจัยชิ้นใหม่ๆ แสดงให้เห็นว่า เราคิดถูกแล้ว ต้นปี 2544 นี้เอง ออกัสติน ชอย รองศาสตราจารย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล และฟิริตช์ บาค ศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ จากโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รวมทั้งทีมวิจัยของเขาก็ได้ตีพิมพ์บทความที่เสนอว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณน้อยๆ จะช่วยป้องกันการต่อต้านอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย นักวิจัยกลุ่มนี้ได้ผ่าตัดปลูกถ่ายเอาหัวใจหนู (mouse) ไปใส่ให้หนูอีกตัวหนึ่ง (rat) ซึ่งได้รับสารเคมีชื่อว่า ทิน โปรโตพอร์ไฟริน (Tin Protoporphyrin) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้ง HO-1 ร่างกายหนู (rat) แสดงอาการต่อต้านอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายให้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่การปลูกถ่ายหัวใจแบบนี้จะอยู่รอดปลอดภัยได้เมื่อให้หนูที่รับอวัยวะอยู่ในตู้อบที่มีคาร์บอนมอนอกไซด์ขนาด 250 ถึง 500 ส่วนในล้านส่วนอยู่ในบรรยากาศ ดูเหมือนว่าคาร์บอนมอ- นอกไซด์จะเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของระบบชีวเคมีที่ทำให้หนูที่รับอวัยวะมีโอกาสรอดชีวิตได้เชียวละ
    ต่อมานักวิจัยกลุ่มนี้ยังพบอีกว่าแค่ให้หัวใจที่จะได้รับการปลูกถ่ายจากหนู (mouse) ไปให้หนู (rat) ได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ในช่วงการส่งผ่านเท่านั้นก็เพียงพอจะทำให้การผ่าตัดสำเร็จได้ บาค กล่าวว่า “นี่เป็นก๊าซมหัศจรรย์จริงๆ”
    และข้อสรุปนี้ก็ได้รับการตอกย้ำอีกครั้งจากนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชื่อ เดวิด พินสกี้ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย, นิวยอร์ก พร้อมกับผู้ร่วมงานที่โคลัมเบีย และที่โรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมน ในบอสตัน ต่างรายงานเป็นเสียงเดียวกันว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณน้อยๆ จะมีประโยชน์ต่อการผ่าตัดปลูกถ่ายปอดเช่นกัน พินสกี้ได้ใช้วิธีทางพันธุศาสตร์เปลี่ยนให้หนู (mouse) ไม่มียีนที่สร้าง HO-1 จากนั้นเขาก็ดำเนินการให้หนู (mouse) ได้รับการผ่าตัดที่เสมือนกับจะมีผลลัพธ์ที่เกิดจากการผ่าตัดปลูกถ่ายปอดจริงๆ มีการบีบกั้นการไหลของเลือดไปสู่ปอดข้างซ้ายนานหนึ่งชั่วโมงแล้วจึงให้เลือดไหลได้ตามปกติ จากการทดลองพบว่า หนู (mouse) ปกติเก้าในสิบตัวมีชีวิตรอดหลังการผ่านตัดเช่นนี้ได้ แต่หนูที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมตายหมดจากการเกิดมีเลือดจับตัวเป็นก้อนภายในปอด เมื่อพินสกี้ให้หนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมได้หายใจรับคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พ่นให้อย่างเบาๆ ด้วยปริมาณ แค่ 500 ถึง 1,000 ส่วนในล้านส่วน เจ้าหนูพวกนี้รอดตายได้ถึงครึ่งหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นหนูปกติที่ได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์รอดชีวิตได้มากกว่าธรรมดาขึ้นไปอีก
    ถ้าอย่างนั้นแล้ว บางทีคาร์บอนมอนอกไซด์อาจจะช่วยให้คนที่ผ่าตัดเปลี่ยนปอดรอดชีวิตได้ดีขึ้นกระมัง ถึงแม้ว่าจะมีการผ่าตัดเปลี่ยนปอดกันปีละหลายพันรายทุกปี แต่การปลูกถ่ายปอดถ้าเป็นการผ่าตัดที่เสี่ยงกว่าการเปลี่ยนอวัยวะอื่น โดยที่การผ่าตัด 3 รายใน 10 รายจะล้มเหลว เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนไตที่จะล้มเหลวเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น
    คริสตอฟ ทิเมอร์มานน์ ศาสตราจารย์ทางเภสัชวิทยาแห่งสถาบันวิจัยวิลเลียม ฮาร์วีย์ ที่ราชวิทยาลัยแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ เซนท์ บาร์โทโลมิวแห่งลอนดอน กล่าวว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ดูจะเป็นความหวังอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นยาป้องกันปอดถูกทำลายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายปอด เขากล่าวว่า “ฤทธิ์ของคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นเฉียบขาดจริงๆ เมื่อเทียบกับยาอื่นๆ ที่เรามี”
    นี่ไม่ได้หมายความว่าอีกหน่อยเราจะเห็นถังคาร์บอนมอนอกไซด์ ตามห้องฉุกเฉินทั่วไปหรอกนะครับ อุปสรรคสำคัญก็คือ ชื่อเสียงในทางไม่ค่อยดีของคาร์บอนมอนอกไซด์นั่นเอง ชอยกล่าวต่อว่า ก๊าซนี้ทำให้คนตายโดยอุบัติเหตุถึงปีละ 5,000 ถึง 6,000 รายทั่วโลก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนหรือเครื่องครัวที่ทำงานไม่ปกติและจากท่อไอเสียรถยนต์ คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นฆาตกรได้ โดยการไปจับตัวกับเฮโมโกลบินอย่างแนบแน่นกลายเป็นคาร์บอกซีเฮโมโกลบินอยู่ในเม็ดโลหิตแดง ทำให้เฮโมโกลบินทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไม่ได้ ชอย กล่าวว่า “ทุกคนรู้ดีว่า กรณีอย่างนี้ทำให้ตายสถานเดียว แต่ถ้าเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณเจือจางแล้ว มันจะให้ประโยชน์ดีทีเดียว”
    ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ ช่วงปลอดภัยที่แสนจะแคบระหว่างปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เป็นอันตรายและปริมาณที่ใช้ในการบำบัดรักษา คุณประโยชน์ของคาร์บอนมอนอกไซด์จะไม่มีหากเฮโมโกลบินในร่างกายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ถูกเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอกซีเฮโมโกลบิน แต่อาการเวียนศีรษะ อาเจียน คลื่นไส้ จะเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อมีคาร์บอกซีเฮโมโกลบินตั้งแต่ร้อยละ 20 และเราจะม้วยมรณ์ตอนที่ระดับคาร์บอกซีเฮโมโกลบินขึ้นถึงร้อยละ 40
    ยิ่งกว่านั้น พินสกี้ได้ศึกษาพบว่า เราสามารถป้องกันผลเสียของคาร์บอนมอนอกไซด์ขนาดความเข้มข้น 500-1,000 ppm ได้ โดยการใช้ไนตริกออกไซด์แค่ 65 ppm เท่านั้นเอง และไนตริกออกไซด์ก็มีความเป็นพิษน้อยกว่าคาร์บอนมอนอกไซด์มากมายนัก ทิเมอร์มานน์กล่าวว่า “ถ้าคุณอยากจะได้สารตัวอื่นที่มีพิษน้อยกว่าละก็ นี่คือทางเลือกที่ดีอันหนึ่งเลย”
    แต่บาคก็บอกว่า วงการแพทย์ไม่ควรด่วนตัดสินใจปฏิเสธประสิทธิภาพในการรักษาของคาร์บอนมอนอกไซด์ เขากล่าวว่า “ไนตริกออกไซด์เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ว่องไวกว่าคาร์บอนมอนอกไซด์มากมายนัก และมันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากมันจะตกค้างอยู่ได้เป็นเวลานาน เขาเสริมว่า เป็นเรื่องไร้สาระเหลือเกินที่มีคนจำนวนมากลองใช้คาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณสูงกว่าปกติกับตัวเองอยู่แล้ว บรรดานักสูบบุหรี่ทั้งหลายจะมีระดับของคาร์บอกซีเฮโมโกลบินประมาณร้อยละ 15 และคนที่ไม่สูบบุหรี่ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มีอากาศเสียมาก อย่างเช่นโตเกียว จะมีระดับคาร์บอนซีเฮโมโกลบินประมาณร้อยละ 8 อยู่แล้ว การหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณต่ำๆ เข้าไปเสมอๆ อาจจะเป็นเรื่องเสี่ยงที่พอรับได้ และถ้าคาร์บอนไดออกไซด์จะให้ประโยชน์เพียงน้อยนิดที่สุด มันก็ยังจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเป็นล้านๆ คนให้ไม่ต้องทนจ่ายเงินจำนวนมากเป็นค่ายากดภูมิคุ้มกันไปจนตลอดชีวิต พินสกี้กล่าวเสริมว่า การใช้คาร์บอนมอนอกไซด์อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในภาวะฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น การรักษาผู้ป่วยอาการหนักด้วยโรคการหายใจล้มเหลวในผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดได้อย่างรวดเร็วหลังการติดเชื้อ
    อีกทางหนึ่งก็คือ การใช้วิธียีนบำบัดเพื่อให้สร้างเอนไซม์ที่ผลิตคาร์บอนมอนอกไซด์ไปสู่เป้าหมาย เมื่อเร็วๆ นี้เอง อลิซาเบท นาเบล และคณะจากสถาบันหัวใจ ปอด และโลหิตแห่งชาติ ที่เบทิสดา ใกล้ๆ กับวอชิงตัน ดีซี ได้ใส่ยีนสำหรับ HO-1 ให้หมูที่มีเส้นเลือดแดงแตกโดยวิธีผ่าตัดเส้นเลือดแดง การรักษาเช่นนี้ ทำให้หลอดเลือดมีความผ่อนคลาย และทำให้หลอดเลือดมีโอกาสน้อยลงที่จะหนาตัวอีกครั้ง ซึ่งมีผลให้เกิดหัวใจวายได้น้อยลงตามไปด้วย นาเบลยังได้ทำการศึกษาเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นว่า การใช้คาร์บอนมอนอกไซด์ก็อาจจะให้ผลเช่นเดียวกัน
    ถึงแม้ว่าคาร์บอนมอนอกไซด์นี้จะไม่ใช่ยา แต่ตอนนี้เราพอจะเข้าใจได้มากขึ้นว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ทำงานอย่างไร หรือว่ามันเป็นส่วนสำคัญของระบบป้องกันร่างกายหรือไม่ พินสกี้พบว่าคาร์บอนมอนอกไซด์กระตุ้น กัวนิเลท ไซเคลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัวเดียวกับที่ถูกกระตุ้นได้โดยไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวปิดการผลิตโปรตีนที่ชื่อว่า ไฟบริน ที่เป็นโครงให้เลือดแข็งตัว ขณะที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนปอดนั้น ตอนที่ไม่มีเลือดไหลผ่านปอดก็จะมีการสร้างไฟบรินจนไปอุดหลอดเลือดเอาไว้ เมื่อให้เลือดไหลมาได้อีก กระแสเลือดจะผ่านเข้าไปในหลอดเลือดที่อุดตันจนเกิดแรงกดดันเหมือนกับมีใครไปเหยียบสายยางรดต้นไม้ในสวน อาการเช่นนี้ทำให้เกิดการเจ็บป่วยร้ายแรงได้ ไฟบรินเหลือขอพวกนี้แหละที่เป็นตัวปัญหาของอาการหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันและหัวใจวาย และคาร์บอนมอนอกไซด์ก็อาจจะเป็นฮีโร่ที่ใช้รักษาอาการเช่นนี้ได้เช่นกัน
    ขณะเดียวกันทีมของชอยและบาค เชื่อว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ทำงานโดยไปหน่วงการตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกาย มันไปกระตุ้นโมเลกุลที่ต่อต้านการอักเสบ และกดการทำงานของตัวตั้งต้นของสารก่อการอักเสบ บาคกล่าวว่า “คาร์บอน- มอนอกไซด์รู้ดีถึงวิธีกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน” ชอย ซึ่งตอนนี้เป็นศาสตราจารย์ทางอายุรกรรมที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิท ยาลัยพิตต์สเบิร์กกำลังศึกษาดูว่า คาร์บอน- มอนอกไซด์ปริมาณน้อยแค่ไหนที่ช่วยควบคุมการอักเสบด้วยโรคของปอดอย่างเช่น หอบหืด มีอากาศในเนื้อเยื่อ (Emphysema) หรือการมีถุงพังผืดในปอด (cystic fibrosis)
    สำหรับพินสกี้แล้ว บทสรุปมีเพียงข้อเดียวคือ การสร้างคาร์บอนมอนอกไซด์โดย HO-1นั้นเป็นกระบวนการภายใน ที่เสมือนกับเกราะคุ้มกันของร่างกาย แต่ก็มีคนไม่เห็นด้วยและยังมีคำถามอีกมาก ยังเป็นที่โต้เถียงกันว่าร่างกายจะผลิตก๊าซนี้ได้มากพอที่จะใช้เป็นตัวป้องกันที่สำคัญได้จริงหรือ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า HO-1 จะถูกควบคุมการเปิดหรือปิดอย่างไรเพื่อให้มีปริมาณที่พอดีๆ อยู่ในร่างกาย
    ไมเคิล มาร์เล็ตตา นักวิทยาศาสตร์ด้านเอนไซม์วิทยา แห่งมหาวิทยาแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์กเลย์ กล่าวว่า “ผมคิดว่า การทดลองที่ได้ทำกันไปยังไม่ค่อยจะถูกต้องนัก” เขาอยากจะเห็นการวัดปริมาณก๊าซให้ได้โดยตรงในเนื้อเยื่อ แต่ทว่านักวิจัยก็ยังไม่มีอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับงานนี้ได้
    นักวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่สามารถที่จะขจัดเมฆหมอกของการโต้เถียงว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันของคาร์บอน- มอนอกไซด์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากผลงานออกแบบอันยิ่งใหญ่ของร่างกายหรือเป็นเพียงแค่กลลวงทางชีววิทยาเท่านั้น แต่นั่นก็อาจจะสำคัญเป็นอันดับรอง บาคกล่าวว่า “ผมอยากจะให้มันเป็นกระบวนการทางสรีรวิทยามากกว่า แต่พูดอีกที ถ้ามันช่วยคนไข้ไว้ได้แล้วละก็ มันจะเป็นอะไรก็ช่างมันเถอะ”
    แปลและเรียบเรียงจาก Life’s a gas, New Scientist, 24 November 2001


    โดย... หว้าพลัม
    <hr size="10" width="10"> จาก http://update.se-ed.com/177/co.htm
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    นักสิ่งแวดล้อมชี้ "แคทรินา" เกิดจากปัญหาโลกร้อน

    เตือนโลกต้องเผชิญเฮอร์ริเคนระดับรุนแรงไปอีกอย่างน้อย 20 ปี

    เวียนนา - นักสิ่งแวดล้อมเตือนปัญหาโลกร้อนทำให้เกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังรุนแรงเช่นพายุแคทรินา ทั้งจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติอื่นๆ อาทิ น้ำท่วม หิมะถล่ม ภัยแล้ง ชี้หากไม่เร่งแก้ไขโลกจะร้อนขึ้นไปอีก 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643

    นายคาร์ล เชลล์มานน์ โฆษกกลุ่มสิ่งแวดล้อม "โกลบอล 2000" เปิดเผยว่า ภัยธรรมชาติทั่วโลกจะทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในอนาคต ผลจากปัญหาโลกร้อน โดยปัจจุบัน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ 380 ส่วนต่อล้านส่วน สูงกว่าเมื่อครึ่งล้านปีก่อนราว 30%

    นายเชลล์มานน์ เผยว่า ผลกระทบจากภาวะก๊าซเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มราว 0.6 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปี 2543 นำไปสู่การก่อตัวของพายุเฮอร์ริเคนที่มีอำนาจทำลายล้างรุนแรงอย่างเฮอร์ริเคน "แคทรินา" ที่เพิ่งสร้างความเสียหายครั้งใหญ่กับสหรัฐเมื่อต้นสัปดาห์

    ปัญหาดังกล่าวยังทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้นในออสเตรียและพื้นที่อื่นๆ และอีกทางหนึ่ง ภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดหิมะตกหนักเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คน ส่วนฤดูหนาวจะสั้นลง หิมะตกหนักและมีลมแรง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดหิมะถล่ม

    โกลบอล 2000 ระบุว่า หากไม่มีมาตรการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มอีกราว 6 องศาเซลเซียสภายในปี 2643 และว่า คนรุ่นต่อไปต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แย่กว่าปัจจุบัน

    "เราจะต้องเจอกับน้ำท่วมทุกปี ปีละอย่างน้อย 3 ครั้ง ระหว่างนั้นอาจเกิดภัยแล้งและสภาพอากาศร้อนจัด" เชลล์มานน์ ระบุ

    ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้ง เมื่อสหรัฐ ซึ่งไม่ร่วมลงนามสนธิสัญญาโลกร้อนเกียวโต ถูกเฮอร์ริเคนแคทรินา ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 5 หรือระดับสูงสุด ถล่มเข้าใส่ 4 รัฐทางใต้ริมอ่าวเม็กซิโก

    ผลวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่า เฮอร์ริเคนได้กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรงขึ้นกว่าช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็เพิ่มขึ้นด้วย

    นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ เห็นว่า พื้นที่ริมอ่าวเม็กซิโกและพื้นที่แอ่งริมมหาสมุทรแอตแลนติกกำลังเผชิญกับพายุเฮอร์ริเคนระดับรุนแรงต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 20 ปี

    อย่างไรก็ตาม โรเจอร์ พีลเก จูเนียร์ ซึ่งศึกษาด้านผลกระทบทางสังคมจากหายนภัยทางธรรมชาติและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงของเฮอร์ริเคนแคทรินา เฮอร์ริเคนอื่นๆ และภาวะโลกร้อน ขณะที่นักพยากรณ์อากาศส่วนใหญ่ระบุว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลเพิ่มกำลังลมของเฮอร์ริเคนไม่เกิน 5% ในช่วงศตวรรษนี้

    ขณะนายเทอร์รี ริชาร์ดสัน นักฟิสิกส์แห่งวิทยาลัยชาร์สตันติงว่า แม้ยังไม่อาจระบุความเชื่อมโยงชัดเจน แต่ก็ยังไม่อาจปัดประเด็นดังกล่าวออกไป

    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดเฮอร์ริเคนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์หลายครั้ง นักวิจัยบางส่วนมองว่า เป็นผลจากระดับความเค็มและการเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิของกระแสน้ำลึกใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีวัฏจักรที่ต้องเปลี่ยนแปลงทุก 40-60 ปี

    http://www.thaivi.com

     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    มหันตภัยโลกร้อน : ฝันร้ายของภาคเกษตร

    ขณะนี้วงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นมหันตภัยร้ายที่เป็นผลพวงมาจาก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" หรือที่เรียกกันว่า greenhouse effect

    ซึ่งนับวันจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราที่ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกอย่างต่อเนื่อง อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้จะห่อหุ้มผิวโลก กั้นการสะท้อนกลับของรังสีอินฟราเรดจนความร้อนในโลกไม่อาจสะท้อนออกไปนอกโลก เกิดเป็นภาวะโลกร้อนที่คุกคามความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก

    ความจริงที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือโลกกำลังร้อนขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากภาวะการณ์นี้ อากาศแปรปรวน ฝนตกหนักมากขึ้นจนเป็นพายุฝน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภาวะแล้งมากขึ้นและเร็วขึ้นรวมทั้งนานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ต้องส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในส่วนของไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมการติดตามและศึกษาผลกระทบที่จะมีต่อบ้านเราในด้านเกษตรกรรม จึงนับเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก

    ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก : ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย" จัดโดย โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโดย Danish International Development Agency (DANIDA) สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารระดับท้องถิ่น ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อไป

    นายสหัสชัย คงทน นักวิชาการสำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดินกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อภาคเกษตรกรรมว่า สาขาการผลิตที่ผูกพันกับสภาพธรรมชาติมากยิ่งเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ภาคเกษตรจึงมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มาก ไทยเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาสาขาเกษตร โดยเฉพาะด้านกสิกรรม มีพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่เป็นสินค้าส่งออกและเป็นสินค้าเริ่มต้นเพื่อการผลิตในสาขาอื่นในประเทศ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สภาพดินฟ้าอากาศจึงมีผลต่อการผลิตของพืชเหล่านี้เป็นอย่างมาก การศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบต่อภาคเกษตรจึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการปรับตัวแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

    นายสหัสชัยกล่าวว่า จากการศึกษาในเอเชียรายงานของสถาบัน United States Environmental Protecttion Agency's ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกว่ามีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจากข้าวสาลี และเป็นพืชที่มากกว่า 90% ปลูกอยู่ในเอเชีย คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น

    สรุปได้ว่า ผลผลิตข้าวในเอเชียมีแนวโน้มลดลง-3.8% ภายใต้สภาวะภูมิอากาศในศตวรรษหน้า การลดลงของผลผลิตจะเกิดขึ้นในพื้นที่ประเทศไทย บังกลาเทศ จีนตอนใต้ ทางตะวันตกของอินเดีย นอกจากการลดลงของผลิตข้าวแล้วลักษณะทางสรีรวิทยาของพืชก็มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการ เช่น ในบริเวณเส้นรุ้งที่สูงขึ้นไปอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้พืชมีฤดูปลูกที่ยาวนานขึ้น ต้องมีการปรับวันปลูกของพืชบางพันธุ์ รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

    ส่วนการศึกษาในประเทศไทย นักวิชาการคนเดียวกัน กล่าวว่า ภาพรวมพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากปริมาณก๊าซที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้ผลผลิตของพืชลดลงเรื่อยๆ แต่ขนาดของผลกระทบแตกต่างกันไปในแต่กรณี เช่น พื้นที่ปลูกข้าวใน จ.สุรินทร์ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าพื้นที่ จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่ปลูกข้าวโพดใน จ.นครราชสีมา ก็มีความอ่อนไหวมากกว่าพื้นที่ จ.นครสวรรค์ เกษตรกรที่ปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงน้อยกว่าเกษตรกรที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี

    "ถ้าโลกร้อนและฝนแล้ง คาดว่าดินขาดความชื้น อินทรีย์วัตถุสลายตัวเร็วขึ้น ระดับน้ำใต้ดินต่ำ พื้นที่ผลิตพืชที่เหมาะสมมีน้อยลง และผลผลิตต่ำเพราะสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม คุณภาพผลผลิตเลวลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพืชผักที่เป็นสินค้าส่งออกแน่นอน แหล่งปลูกพืชก็น้อยลงเพราะพื้นที่ชลประทานมีจำกัด จะมีโรคแมลงระบาดเพราะอากาศอบอุ่นขึ้น วัชพืชร้ายแรงแพร่ขยายสู่พื้นที่การเกษตร แต่ถ้าโลกร้อนและฝนชุกหน้าดินถูกชะล้างพังทลาย น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม แหล่งน้ำตื้นเขิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สูญเสียธาตุอาหารพืช ผลผลิตต่ำ ทั้งยังเกิดโรคระบาดสัตว์ ส่วนพื้นที่ปลูกพืชไร่ไม้ผลจะน้อยลงเพราะถูกน้ำท่วมขัง อากาศชื้นส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย สิ้นเปลืองพลังงานในการอบเมล็ดให้แห้ง" นายสหัสชัยวิเคราะห์ผลกระทบให้ฟัง และสรุปว่า "ผลผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลง ข้าวโพดจะลดลงเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า และจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 2 เท่า ผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มลดในปีที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ผลผลิตอ้อยแนวโน้มเพิ่มขึ้น"

    อย่างไรก็ตาม นักวิชาการผู้นี้ได้ให้แนวทางบรรเทาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตลอดจนวิธีการที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกว่า ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลง ระดับน้ำใต้ดินต่ำ ควรจัดสร้างแหล่งน้ำในไร่นาและปลูกพืชคลุมดิน ปรับเปลี่ยนชนิดพืชปลูกบางพื้นที่ที่มีฝนตกชุกเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มต้องมีการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อชะลอการไหลบ่าของน้ำ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเทต้องหยุดการตัดไม้เผาป่า เกษตรกรต้องไม่เผาทำลายฟางข้าวหรือใบอ้อย เนื่องจากเป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ควรเปลี่ยนมาทำปุ๋ยหมักแล้วนำไปใช้ในไร่นา

    การระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช การแพร่กระจายของวัชพืชร้ายแรงเข้าสู่พื้นที่การเกษตรเป็นเหตุให้ผลผลิตถูกทำลาย ฤดูกาลที่ยาวนานขึ้นหรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นจะมีแนวโน้มทำให้เพิ่มผลในบางพื้นที่ บางพื้นที่อาจแล้งยาวนาน นักส่งเสริมเกษตรหรือนักวิชาการเกษตรต้องให้คำแนะนำการปลูกพืชที่เฉพาะเจาะจงกับชนิดดินและพื้นที่ ขณะเดียวกันนักปรับปรุงพันธุ์พืชต้องพัฒนาพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและชนิดปัญหา นอกจากนี้การวางแผนการใช้ที่ดินจะบรรเทาผลกระทบได้ รวมถึงปรับปรุงการจัดการดินและน้ำ การจัดการดินและธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ พัฒนาพันธุ์พืช ปรับเปลี่ยนฤดูปลูก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องนำมูลสัตว์มาใช้เป็นก๊าซหุงต้มและนำกลับไปเป็นอินทรีย์วัตถุให้กับพืช และท้ายสุดสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนในภาคเกษตรนั่นเอง อย่างไรก็ตามนักวิชาการก็ยังไม่ด่วนสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตร จำเป็นต้องวิจัยหาคำอธิบายหรือคำตอบกันต่อไป

    18 ธ.ค. 48

    โดย : ไทยโพสต์ วันที่ 19/12/2005
     

แชร์หน้านี้

Loading...