ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    Shang K'o-hsi,

    Pinyin SHANG KEXI (d. 1676, China), Chinese general whose attempt to retire in 1673 resulted in large-scale rebellion.
    Originally a Ming dynasty general, Shang transferred his loyalty in 1634 to the Manchu kingdom of Manchuria, which was encroaching on China from the northeast. By 1644, when the Manchus conquered China and proclaimed the Ch'ing dynasty (1644-1911/12), Shang was one of the leading Ch'ing generals. In 1649 he was given the title p'ingnan wang ("prince who pacifies the south") and sent to conquer the southern province of Kwangtung. When he completed this task, he was made governor of the area with full civil and military authority.

    In 1673 Shang successfully petitioned the emperor for permission to retire, and preparations were made to bring Kwangtung under central control. Wu San-kuei, another Ch'ing general who also had been made governor of a southern province, became alarmed. Fearing his power also would be restricted, Wu rebelled and was joined by a third southern general.
    Shang remained loyal, but his eldest son put his father under arrest and joined the rebels. (The ensuing war, known as the Revolt of the Three Feudatories, was not suppressed until 1681.) Unable to control his son, Shang attempted suicide. He failed, but his health was destroyed and he died soon after. Altogether, he had 23 sons, most of whom were loyal Ch'ing officials--11 became generals and 3 became state councillors.

    ขออภัยหาในภาษาไทยไม่ได้ค่ะ รวมความแล้ว แม่ทัพ ซ่างเข่อสื่อเป็นขุนพลหมิงที่แปลพักตร์ไปช่วยราชวงศ์ชิงตีแผ่นดินเกิดของตนเอง ซึ่งร่วมมือกับแม่ทัพ อู่ซันกุ้ย

    แม่ทัพซ่างถูกลูกชายคนโตทรยศหักหลังจับกุมตัว ด้วยความที่ควบคุมลูกชายตนเองไม่ได้จึงคิดจะฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ ภายหลังสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างมากและตายในที่สุด
     
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    -ขออนุโมทนากับคุณทางสายธาตุ ครับ

    -
     
  3. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ขอบคุณและอนุโมทนา กับคุณทางสายธาตุ น้องฟอรท์ ท่านจงรักภักดี นำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาเสนอเสมอ

    และ คุณไก่เหลืองหางขาว ที่แวะเวียนมาให้กำลังใจในบ้าน ของทุกคนแห่งนี้ค่ะ

    ประเทศไทย รวมเป็นไทยได้ ด้วยสามัคคี

    เริ่มจากจุดเล็กๆ ไปยังจุดที่ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดิน

    เพื่อ ดวงพระวิญญาณ ของบูรพมหากษัตริไทยทุกพระองค์

    ที่ได้สร้างชาติแลผืนแผ่นดินนี้ไว้

    และเพื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชพ่อที่ยิ่งใหญ่.....และ

    องค์สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ แม่พระของแผ่นดิน

    หากคนไทย รักกันสามัคคีกัน กลายเป็นพลังที่ฉ่ำเย็น

    ความร้อนร้ายในประเทศ คงหายไปในที่สุด


    นี่ คือ โจทย์ปัญหา ที่ ที่ต้องใช้มหาปัญญา


    ทุกคนมีพลังด้านดีอยู่ในตัว เร่งรวมพลังดีนี้ เพื่อผืนแผ่นดินกันเถอะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  4. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <table class="tborder" width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 19 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 17 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> <center"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </center"></td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> โมเย+</td></tr></tbody></table>
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434

    ขออนุโมทนากับคุณโมเย ที่ได้จัดทำเพลงอันเกิดจากดวงจิตจงรักภักดีเพื่อถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยค่ะ

    พวกเราคนไทยรวมใจกันใช้ใจเข้าป้องกันประเทศค่ะ ด้วยแรงอธิษฐานของพวกเรารวมกัน พวกเราจะปลอดภัย รวมใจถวายไท้องค์ราชันย์และราชวงศ์

    เอาใจพวกเราเป็นกำแพงป้องกันประเทศกันค่ะ
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396

    หนังสือ จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396
    ผู้เขียน ดร. สารสิน วีระผล

    บทที่ 3 ยุคแรกเริ่ม พ.ศ. 2195-2263 (ค.ศ. 1652-1720) ข้อจำกัดทางการค้าของจีน
    หน้าที่ 31-33

    หลังจากที่จักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 2205-2265) ได้กำหนดจำนวนเรือในคณะบรรณาการของสยามอย่างแน่นอน (ในปีพ.ศ. 2207) เป็นการถาวร จำนวนเรือ 3 ลำ ระบุชื่อเรือ เจิ้ง (Cheng) ฝู้ (Fu) และฮู่ (Hu) อีกสามปีต่อมา ก็กำหนดช่วงเวลาส่งบรรณาการเป็นพิธีการทุกสามปีด้วย โดยเรือบรรณาการแต่ละลำจะมีลูกเรือได้ไม่เกินหนึ่งร้อยคน รวมถึงสมาชิกของคณะผู้ติดตามอย่างเป็นทางการ 22 คน ผู้เชิญเครื่องบรรณาการจากกวางตุ้งไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อทำพิธีถวายต่อจักรพรรดิแมนจู ยังเป็นที่ปรากฏชัดเจนด้วยเช่นกันว่าเรือบรรณาการทั้งสามต้องได้รับอนุญาต จักรพรรดิคังซีทรงระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะมิให้นำการค้าระบบบรรณาการไปใช้ในทางผิดๆ ในตอนต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตบรรณาการไปขออนุญาตทำการค้า แต่เนื่องจากเรือบรรณาการลำหลักเผชิญพายุในทะเล และมีเพียงเรือติดตาม ฮู่ก้ง(hu-kong) เท่านั้นที่ไปถึงเมืองกวางตุ้งได้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปฎิเสธจะพิจารณาคำร้องดังกล่าว เพราะเงื่อนไขของจักรพรรดิซุ่นจื้อได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ว่าต้องมีเรือบรรณาการหลักอยู่ที่ท่าเรือก่อนจึงจะเริ่มทำการค้าได้ อย่างไรก็ดี ชาวสยามได้ส่งคณะทูตอีกชุดหนึ่งมาพร้อมเรือสามลำ (รวมทั้งลำที่เรียกว่า ปู่ก้ง (Pu-kong) หรือ บรรทุกบรรณาการเสริม


    ข้อกำหนดนี้ต่างจากสมัยที่เป็นราชวงศ์หมิงที่เรือหลายประเภทติดตามเรือบรรทุกเครื่องราชบรรณาการ เมื่อมีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงจัดเรือราชบรรณาการหลัก 3 ลำ แล้วเรืออีกกลุ่มใหญ่ผูกติดมา รู้จักกันในนามเรือบรรณาการเสริม

    แม้ต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ที่การค้าบรรณาการจะถูกลดทอนอย่างรุนแรง แต่สมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ได้ทรงท้อแท้จากข้อจำกัดต่างๆ เมื่อปีพ.ศซ 2207 ทรงได้รับความเห็นชอบจากจีนให้ขยายตลาดเพื่อธุรกิจของชาวสยามโดยรวมเอาปักกิ่ง ที่ซึ่งทูตสยามมีเสรีภาพที่จะขายสินค้าที่ถ่วงมาในท้องเรือ/เครื่องอับเฉาและซื้อทุกอย่างที่ต้องการได้ ตามแบบสมัยราชวงศ์หมิงเคยทำ ที่อนุญาตให้มีการค้าในระบบบรรณาการในเมืองหลวงได้นานสูงสุดห้าวัน สมเด็จพระนารายณ์ทรงเจรจาจนกระทั่งทางการจีนยอมยกเว้นอากรให้กับสินค้าที่ถ่วงมาในท้องเรือได้ในท้ายที่สุด

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นนักเจรจาการค้าที่เชี่ยวชาญทีเดียวเมื่ออ่านจากประโยคนี้ "สมเด็จพระนารายณ์ทรงเจรจาจนกระทั่งทางการจีนยอมยกเว้นอากรให้กับสินค้าที่ถ่วงมาในท้องเรือได้ในท้ายที่สุด"

    เพราะกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญยิ่งใหญ่ พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นนักการค้าที่เก่งกาจแม้พระอัครมเหสีของสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงมีกองเรือสำเภาการค้าส่วนพระองค์แยกออกจากกองเรือสำเภาของพระมหากษัตริย์ (อันนี้อ่านจากจดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ค่ะ)

    ถ้าเทียบกรุงศรีอยุธยาเวลานั้นก็น่าจะเทียบกับสิงคโปร์หรืออาจจะใหญ่กว่าสิงคโปร์ อาจเทียบกับรอตเตอร์ดัมก็ยังได้ เพราะมีคนหลายเชื้อชาติหลายสัญชาติมาทำการค้าและมาพบกันที่นี่
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    สาธุ ขออนุโมทนา กับคุณ โมเย และคุณทางสายธาตุ ครับ เราต้องรวมใจ

    และร่วมใจกัน รู้รักสามัคคี ยึดมั่นในความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และ

    สถาบันพระมหากษัตริย์ ครับ
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 25 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 23 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>จงรักภักดี*, ทางสายธาตุ+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    (ณ เวลา 20.40 น.)
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396

    หนังสือ จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396
    ผู้เขียน ดร. สารสิน วีระผล
    บทที่ 3 ยุคแรกเริ่ม พ.ศ. 2195-2263 (ค.ศ. 1652-1720) ข้อจำกัดทางการค้าของจีน

    หน้าที่ 34-35

    สินค้าประเภทอับเฉา

    เมื่อเรือบรรณาการของสยามเดินทางไปยังประเทศจีน ก็มักจะบรรทุกสินค้าไปสองประเภท ประเภทหนึ่งเพื่อถวายแด่ราชสำนักจีนในรูปของเครื่องบรรณาการตามระเบียบ (หรือ ภาษี) และอีกประเภทเพื่อส่งไปขายที่กวางตุ้งรู้จักกันว่าเป็น "สินค้าประเภทอับเฉา/สินค้าที่ถ่วงมาในท้องเรือ" แน่นอนว่า เหตุผลสนับสนุนการขนส่งสินค้าประเภทที่สองซึ่งบางครั้งรู้จักในฐานะบรรณาการเสริม (จู้ก้ง) นั้น คือสิ่งที่ราชสำนักจีนแสดงออกว่ามีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แกรัฐที่นำบรรณาการมาถวาย สินค้าที่ถ่วงมาในท้องเรือเหล่านี้ไม่ได้เป็นของพระมหากษัตริย์สยามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงหลังๆของขั้นตอนการพัฒนา เช่นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และที่ 19 แต่เป็นของขุนนางผู้มีตัวแทนผลประโยชน์อยู่ในคณะทูตบรรณาการอีกด้วย เมื่อถึงคราวที่มีการตีความและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการค้าในระบบบรรณาการอย่างเข้มงวด ปรากฏว่าข้าราชสำนักหลายคนจะพยายามใช้ช่องทางนี้เพื่อทำกำไร เมื่อวิธีอื่นไม่เป็นประโยชน์เท่า หรือหาได้ไม่ง่ายเท่า

    สินค้าอับเฉาในสมัยนั้นคงใช้เรียกเพื่อแจ้งแก่ทางการจีนเท่านั้น เพราะสินค้าอับเฉานี้ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ที่จริงน่าจะเป็นสินค้าหลักๆที่ทำการค้าขายกันและให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของจีนที่ไม่ให้มีเรือพ่อค้าอื่นนอกจากเรือราชบรรณาการ ดังนั้นใต้ท้องเรือราชบรรณาการหลักทั้งสาม และใต้ท้องเรือราชบรรณาการเสริม จึงเรียกว่า สินค้าอับเฉา ไปหมดแต่เป็นอับเฉาที่นำมาค้าขายได้ ภายหลังก็เพิ่มเที่ยวกับขนสินค้า อย่างที่เคยพิมพ์ไว้คือให้มีการไปกลับ สยาม-กวางตุ้งอีกลำละ 4 เที่ยวระหว่างรอราชทูตกลับจากปักกิ่ง วิธีการนี้สมเด็จพระนารายณ์ทรงใช้เมื่อข้อจำกัดการค้ามากขึ้นจนแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ก็ทรงหาทางออกให้มีปริมาณการค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทรงทำได้
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    นี่แหละใจที่จะมาเป็นกำแพงป้องกันประเทศกัน

    ใจหลายๆดวง ร่วมใจกันถวายไท้องค์ราชันย์

    สาธุ ขอให้ไทยนี้เข้มแข็ง สู้ฝ่าวิกฤตไปให้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396

    หนังสือ จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396
    ผู้เขียน ดร. สารสิน วีระผล
    บทที่ 3 ยุคแรกเริ่ม พ.ศ. 2195-2263 (ค.ศ. 1652-1720) ข้อจำกัดทางการค้าของจีน
    หน้าที่ 36


    กระบวนการส่งเรือบรรณาการกลับมาและกลับไปแทนที่จะให้รออยู่ที่เมืองกวางตุ้งย่อมมีนัยทางพาณิชย์ที่ปรากฏชัด เรือของสยามสามารถขนส่งสินค้าประเภทอับเฉาจำนวนมากเพื่อขายในการถวายเครื่องราชบรรณาการครั้งหนึ่งๆโดยการแล่นเรือไปมาได้มากถึงสี่เที่ยว ตามปกติแล้ว คณะทูตบรรณาการจะเดินทางออกจากสยามโดยอาศัยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีอิทธิพลในเดือนมิถุนายนหรือสิงหาคม และใช้เวลาสามสิบถึงสี่สิบวันเพื่อไปยังกวางตุ้ง ขณะที่คณะที่ต้องไปปักกิ่งตามธรรมเนียมปฎิบัติใช้เวลาถึงแปดเดือนเพื่อบรรลุภารกิจ เรือสยามมีเวลาเหลือพอ (ฤดูเดินทางสองฤดูเต็ม) ที่จะกลับมายังสยามโดยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเริ่มพัดในเดือนพฤศจิกายน และกลับไปยังกวางตุ้งเพื่อรับคณะในปีต่อมาด้วยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

    สินค้าประเภทอับเฉามักจะเก็บสำรองอยู่ในโรงเก็บสินค้าที่กวางตุ้ง จนกระทั่งกระทรวงพิธีการในกรุงปักกิ่งจะส่งหนังสืออนุญาตให้จำหน่ายได้มาให้ ส่วนขั้นตอนกระบวนการดำเนินธุรกิจสินค้าอับเฉาดังกล่าวนั้น ประการแรก ล่ามและกัปตันเรือของสยามจะต้องแจ้งรายการสินค้าที่เป็นอับเฉานั้นแก่เจ้าหน้าที่ของอำเภอกวางตุ้ง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นคำร้องจะถูกยื่นต่อกระทรวงพิธีการซึ่งใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดสิบวันโดยผู้ส่งสาสน์เร่งด่วนของจักรพรรดิ เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่ของกวางตุ้งต้องแน่ใจว่าสามารถเก็บภาษีอับเฉาส่วนไหนได้ และส่วนไหนได้รับการยกเว้นภาษี ก่อนที่จะอนุญาตให้ขายสินค้า


    ที่เริ่มมีการเก็บภาษีอับเฉาบ้างเพราะพ่อค้าอาศัยช่องทางเรือราชบรรณการเยอะ ทางการจีนว่า "การเก็บภาษีอากรสินค้าที่มากับเรือต่างชาติ ไม่เป็นการเหมาะสม ไม่ควรเก็บภาษีสินค้าที่มากับเรือบรรณาการหลักสามลำ แต่สำหรับเรือที่เหลือที่มาค้าขายเป็นส่วนตัว เจ้าหน้าที่จะลงไปประเมินภาษี

    การค้าสมัยโบราณก็มีขั้นตอนเยอะและมีภาษีที่ต้องเสีย ต้องมีผู้เชี่ยวชาญการค้ามาดำเนินการมิฉะนันก็คงไม่ทันกับกฏระเบียบของราชสำนักจีนที่ออกมากีดกันทางการค้าในสมัยนั้น ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นให้ลุล่วงให้ได้
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ในหลวงทรงห่วงชาติล่มจม “ต่างคนต่างแย่ง ขอทุกคนต้องเสียสละ พัฒนาชาติให้ก้าวหน้า"

    ข่าววันที่ 21 สิงหาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

    ในหลวง ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง ทรงมีพระราชดำรัส ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาบ้านเมือง ทรงห่วงประเทศกำลังล่มจม เพราะต่างคนทำ ต่างคนต่างแย่งชิง ไม่เข้าใจกัน ทรงแนะทุกคนต้องร่วมมือกัน ต้องเสียสละ ขอให้ผู้มีความรู้พาบ้านเมืองรอดพ้นภัย สร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง

    เมื่อ เวลา 18.08 น. วันที่ 21 ส.ค.52 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี นำนายอานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และคณะจำนวน 23 คน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงซึ่งออกโดยสำนักสิทธิบัตรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จำนวน 10 ประเทศ กับสิทธิบัตรฝนหลวง ซึ่งออกโดยสำนักสิทธิบัตรเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายจดหมายเหตุสิทธิบัตรฝนหลวง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจัดทำขึ้นโดยรวบรวมการดำเนินการจด ทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวง ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2550พร้อมทั้งขอพระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

    สิทธิ บัตรฝนหลวง ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครั้งนี้ สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ดำเนินการขอรับสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ และได้ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวงในพระปรมาภิไธย ต่อสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปในชื่อเรื่อง Weather Modification by Royal Rainmaking Technology

    ซึ่งสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรนี้แล้ว โดยสิทธิบัตรดังกล่าว มีผลคุ้มครองครอบคลุมประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป จำนวน 30 ประเทศ แต่มี 10 ประเทศ ที่ออกเป็นสิทธิบัตรแยกแต่ละประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐไซปรัส ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐเฮเลนิค ราชรัฐโมร็อกโก ประเทศโรมาเนีย สาธารณรัฐตุรกี สาธารณรัฐแอลแบเนีย สาธารณรัฐลิทัวเนีย และประเทศมาซิโดเนีย

    สำหรับ สิทธิบัตรที่ออกโดยสำนักสิทธิบัตรเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้รับการขยายความคุ้มครองมาจากสิทธิบัตรของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปเช่นกัน
    ใน โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสให้ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือในการปฎิบัติกิจการงาน ต่างๆ ไม่เอาเปรียบกัน อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

    หลัก ของการร่วมมือกัน เป็นการที่ใช้ได้ ใช้การได้ ถ้าไม่ใช้การสิทธิบัตรก็ไม่ได้ร่วมมือกัน แต่นี่ร่วมมือกันด้วยดี ร่วมมือจนกระทั่งในท้องที่นั้น จะเห็นได้ว่าทุกคนมีความสามัคคีช่วยกันทำ แล้วถ้าทำต่อเนื่องก็เชื่อว่าในบริเวณนั้นจะพัฒนาขึ้นมาได้อย่างดี พวกท่านที่มาในวันนี้ก็ถือว่าเป็นนิมิตรที่ดีสำหรับประเทศ เพราะว่าประเทศต้องการการพัฒนา และพัฒนามาขึ้นขั้นสูงแล้ว ถ้าทำต่อไปก็เชื่อว่าประเทศจะมีความเจริญ

    ความ เจริญจะมาถึงด้วยการใช้ทรัพยากรของประเทศซึ่งมีอยู่ แต่ก่อนไม่เคยนึกว่าจะสามารถทำ ข้าพเจ้าไม่เคยนึกว่าจะทำได้อย่างนี้ แต่นี่ทำได้เพราะว่าประชาชนร่วมมือกัน ทางราชการทุกส่วนได้ร่วมมือกัน ซึ่งมหัศจรรย์จริงๆ ก็เลยอยากจะบอกกับท่านว่า งานที่ท่านทำนั้นดีมาก ที่ท่านร่วมมือกัน แล้วก็จะไม่มีวันถอย ประเทศชาตจิจะเจริญรุ่งเรือง

    ข้าพเจ้า ไม่รู้จะบอกอะไรว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างมหัศจรรย์ ถ้าบอกกันไปแล้วว่า ทุกคนตั้งใจจะทำ ก็ได้ทำให้เกิดขึ้นได้ เกิดขึ้นได้เพราะการร่วมมือของแต่ละคนที่อยู่ในท้องที่ ไม่ใช่ของคน แต่ทุกคนที่ร่วมมือกัน

    ที่ บอกว่ามหัศจรรย์อาจจะดูเกินไป แต่ความจริงเป็นมหัศจรรย์จริงๆ คนที่ไปดูสมัยก่อนว่าเริ่มต้นไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาก็ภายในวันเดียวทุกคนที่อยู่ในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่าต้องช่วย กัน และในระยะนี้เราต้องร่วมมือกัน ถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วก็มีความก้าวหน้านี้นั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก

    หลัก การก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกัน เสียสละเพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าไปได้อย่างไรก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนเคยเห็นว่ากิจการที่ทำก็มีคนกลุ่มหนึ่งทำแล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้ไม่ใช่กลุ่มหนึ่ง ทั้งหมด ร่วมกันทำแล้วก็มีความก้าวหน้าแน่นอน กลุ่มคนที่มีความรู้กลุ่มหนึ่งมาช่วยกันทำ ทั้งนักวิชาการ ทั้งผู้ที่รู้ มาช่วยกันทำด้วยความตั้งใจ ทำให้เกิดผล สิ่งที่ทำนี้จะทำให้บ้านเมืองก้าวหน้า ซึ่งบ้านเมืองทำได้ยากถ้าไม่ช่วยกัน

    สิ่ง ที่เกิดขึ้นมาโดยยาก เพราะว่าข้าพเจ้าได้เห็นมานานแล้วว่า การทำความก้าวหน้านั้นไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากถ้าทำความก้าวหน้าต้องมีคนที่มีความรู้มีคนที่มีทุน เราไม่มีทุนอะไร แต่ถ้าทำได้ ตั้งใจทำ เอาความรู้แต่ละคนนำมาใช้ ทางกระทรวงเกษตรฯ ทางกระทรวงมหาดไทย ทางกระทรวงอื่นๆ ทางประชาชนมาร่วมมือกัน โดยไม่นึกเอาเปรียบกันอันนี้สำคัญที่สุด เชื่อว่าจะทำให้บ้านเมืองก้าวหน้าดี บ้านเมืองจะสามารถพัฒนาขึ้นมาดี

    โดย เฉพาะในระยะนี้บ้านเมืองของเรา คนของเราเรียกว่าบ้านเมืองกำลังล่มจม ไม่รู้ว่าจะไปไหน ไปอย่างไร เราก็รู้สึกเป็นห่วงว่า ประเทศไทยกำลังล่มจม แต่พวกท่านจะทำให้ไม่จมได้ ซึ่งต้องมีการพัฒนาสร้างให้ดีขึ้น การพัฒนาคือการสร้างให้ดีขึ้น สร้างบ้าน เมืองให้ก้าวหน้า ประชาชนมีความเจริญ

    ที่ เล่าให้ท่านฟังเพราะว่า เราก็มีความหวัง มีความรู้สึกว่า บ้านเมืองจะไม่ล่มจม ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมา รู้สึกว่า บ้านเมืองของเรากำลังล่มจม เพราะว่าต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างแย่งกัน ต่างคนต่างไม่เข้าใจว่าทำอะไร แต่ตอนนี้เข้าใจ เพราะว่าทุกคนกำลังทำ โดยเฉพาะอาศัยผู้มีความรู้อย่างท่านทั้งหลายทีได้มาร่วมมือกัน ท่านก็มีความรู้ต่างๆ กัน

    ขอ ยืนยันว่า ถ้าทุกคนที่มีความรู้ มีความตั้งใจดี สามารถที่จะสร้างบ้านเมืองให้เจริญ เจริญโดยแท้จริง และขอให้ท่านช่วยกันทำ เพราะถ้าท่านไม่ช่วยกันทำ บ้านเมืองก็จะล่มจมจริงๆ อย่างนี้บ้านเมืองไม่ล่มจมแน่ ถ้าตั้งใจทำดีๆ บ้านเมืองจะก้าวหน้า ไม่ล่มจม


     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทุ่งภูเขาทอง ลายมือหมอแกมเฟอร์

    [​IMG]

    ลายเส้นเกือบสี่ร้อยปี อะไรมันจะเหมือนกับปัจจุบันมากมายขนาดนั้น​
    ภาพลายเส้นของหมอแกมเฟอร์ ที่วัดภูเขาทอง

    อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/voranai/2008/01/19/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2009
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ช่องกระจกย่อมุมไม้สิบสองรอบเจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดวรเชษฐ์

    อ้างอิงหนังสือ ความสัมพันธ์ จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ

    สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ



    เขียนโดย ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม
    หน้า ๗๕- ๗๘



    ส่วนที่กรุงศรีอยุธยา วัดวรเชตุเทพบำรุง (ชื่อทางการของวัดวรเชษฐ์)



    [​IMG]


    อยู่นอกเกาะเมืองไปทางตะวันตก คงสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ปรากฏลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปราสาทยอด แสดงถึงการสืบเนื่องรสนิยมจีนที่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ


    ทางสายธาตุไม่มีเครื่อง scan จึงเอารูปมาลงไม่ได้ เป็นรูปขยายส่วนช่องกระจกรอบลานประทักษิณ ตามรูปข้างบนค่ะ ขึ้นจากพื้นระเบียงไปหน่อยจะเป็นลานประทักษิณ ที่มีหลักเตี้ยๆแล้วมีช่องลมเล็กๆรอบๆนะคะ​


    ใต้ภาพที่ขยายส่วนนี้อธิบายไว้ว่า ช่องกระจกอย่างจีน และลายปูนปั้นประดับมุมอย่างจีนเช่นกัน ประดับพนักของลานประทักษิณ เจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดวรเชตุเทพบำรุง พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยาตอนกลาง ราวรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ


    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->
    [​IMG]


    รูปช่องกระจกนั้นหากขยายแล้วจะเป็นรูปย่อมุมไม้สิบสอง​
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ศาลาเก๋งจีนย่อมุมไม้สิบสอง ในสวนหลังวัง พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง

    [​IMG]

    [​IMG]

    เขตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับพักผ่อนของจักรพรรดิ พระมเหสี พระราชมารดา พระราชโอรส พระราชธิดาและนางสนม ประกอบด้วยตำหนักหลัก 3 หลัง คือ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง นอกจากนี้ด้านข้างของตำหนักทั้ง 3 ยังเรียงรายด้วยตำหนักเล็กๆอีกด้านละ 6 หลัง

    เมื่อเทียบกับพระราชฐานชั้นนอกแล้ว พระราชฐานชั้นในมีลักษณะที่ค่อนข้างมิดชิดซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของตำหนักสำหรับการพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีอุทยานและศาลาซึ่งได้รับการออกแบบจัดวางอย่างประณีตบรรจง

    ตำหนักเฉียนชิงและตำหนักคุนหนิง ต่างตั้งชื่อตามตำหนักในพระราชวังที่เมืองหนันจิง อดีตราชธานีในสมัยราชวงศ์หมิง ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเฉียน หมายถึง สวรรค์ และ คุน หมายถึง แผ่นดิน ดังนั้นจึงมีนัยว่า ตำหนักเฉียนชิงเป็นตำหนักบรรทมของจักรพรรดิ และตำหนักคุนหนิงเป็นตำหนักบรรทมของพระมเหสี

    ตำหนักเฉียนชิง เป็นที่ประทับของจักรพรรดิและปฏิบัติพระราชกรณีกิจส่วนพระองค์ มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงย้ายไปประทับที่ตำหนักหยังซิน ตำหนักเฉียนชิงจึงมีบทบาทในฐานะที่เป็นตำหนักสำหรับว่าราชการและเป็นที่จัดเลี้ยงแทน

    เหนือตำหนักเฉียนชิงขึ้นไปเป็นตำหนักเจียวไท่ สร้างในสมัยหมิง มีลักษณะเป็นทรงเหลี่ยม เนื้อที่ไม่ใหญ่มากนัก ใช้เป็นสถานที่เข้าเฝ้าพระมเหสี ในการถวายพระพรในพิธีการต่างๆ ทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาตราลัญจกรซึ่งใช้ประทับลงหนังสือราชการของจักรพรรดิ ส่วนตำหนักคุนหนิง เป็นที่ประทับพักผ่อนของพระมเหสีในสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงได้ใช้เป็นที่บูชาเทพเจ้า



    ด้านเหนือของตำหนักคุนหนิง เป็นที่ตั้งของอุทยานหลวง สร้างในรัชสมัยหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง ในเวลานั้นเรียกเพียง สวนหลังวัง เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับสวนสามัญชน แต่กว้างขวางโอ่อ่าตามแบบฉบับอุทยานในราชสำนัก มีความยาว 130 กว่าเมตร กว้าง 90 เมตร ภายในสวนประกอบด้วยหอน้อยใหญ่กว่า 20 หอ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่จัดตั้งหันหน้าเข้าหากันเป็นแนว


    ศิลปะย่อมุมไม้สิบสองน่าจะเกิดขึ้นในสมัยพระจักรพรรดิหย่งเล่อผู้สร้างพระราชวังต้องห้ามนี่เอง ทรงเป็นจักรพรรดิราชวงศ์หมิง องค์ที่3 ขึ้นครองราชย์เมื่อมี พ.ศ. 1945

    แต่สมัยพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 1890 ยังไม่น่าจะมีศิลปะย่อมุมไม้สิบสองนี้ ดังนั้น วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) ซึ่งมีศิลปะนี้ประดับตกแต่ง จึงน่าสันนิษฐานได้มั่นคงยิ่งขึ้นว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง หรือกล่าวว่า สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างนั่นเอง ซึ่งเจดีย์ต่างๆที่สร้างขึ้นนี้ สร้างบนบริเวณวัดที่เป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง ต่อมาเฉลิมนามวัดให้เป็น วัดวรเชษฐ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงสมเด็จพระบรมเชษฐาอันเป็นที่เคารพรักยิ่งของพระองค์


    อ้างอิงประวัติ สวนหลังวัง พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่งที่ ETC0031 (3
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขออนุญาตเสริมคุณทางสายธาตุเกี่ยวกับเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเฉพาะในเรื่อง

    ของความงดงามครับ

    [​IMG]

    เจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุม สูง 42 เมตรประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีต่างๆ
    ในรูปเป็นพระมหาเจดีย์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง
    เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 นามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร


    -ช่างงดงามสุดจะพรรณานะครับ คุณทางสายธาตุคงจะมีความลึกซึ้ง
    ทางด้านศิลปะพอสมควรทีเดียว คารวะครับ
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชวังต้องห้าม (กู้กง)

    พระราชวังกู้กง เป็นชื่อของอดีตพระราชวังหลวงของปักกิ่ง เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า The Forbidden City หรือนครต้องห้าม เพราะถึงแม้ว่าเป็นวัง แต่ใหญ่โตกว้างขวางน่าจะเรียกว่าเมืองได้ทีเดียว


    [​IMG]


    พระราชวังต้องห้ามสร้างโดยยึดหลักขนบธรรมเนียมของระบบศักดินา คือ อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่จักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ดังนั้นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งจึงเน้นความใหญ่โตโอ่อ่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขาม มากกว่าเน้นในด้านประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆรวมถึง 9,999 ห้อง

    ตามหลักสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ ได้กำหนดให้ด้านหน้าเป็นที่ว่าราชการ ด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัย ตำหนักหน้า 3 หลังได้แก่ ตำหนักไท่เหอ ตำหนักจงเหอ และตำหนักเป่าเหอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจที่ยิ่งใหญ่นั้น จึงตั้งตระหง่านเรียงกันตามลำดับ ณ กึ่งกลางอาณาบริเวณส่วนหน้าของพระราชวัง ถัดเข้าไปส่วนด้านหลังเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและมเหสีอีก 3 หลัง ได้แก่ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง

    ก่อนเข้าสู่ตำหนักในส่วนหน้าพระราชวัง จะต้องผ่านประตูสำคัญ ได้แก่ ประตูอู่ และประตูไท่เหอ ประตูอู่ เป็นประตูแรกสุดของพระราชวัง ได้ชื่อตามหลักจักรราศีของจีน เนื่องจากหันหน้าไปทางทิศใต้และยังตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวัง บริเวณด้านหน้าประตูอู่ใช้เป็นที่จัดพิธีเฉลิมฉลองและรับเชลยศึกจากสงคราม และยังใช้เป็นที่ลงโทษข้าราชบริพารที่กระทำผิดด้วย

    [​IMG]
    ลานหน้า ประตูแห่งนี้เคยมีข้าราชบริพารถูกโบยจนตายมาแล้ว เช่นกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง ที่ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนข้าราชบริพารจำนวน 130 คน ในความผิดฐานขัดขวางการเสด็จฯไปคัดเลือกสาวงามทางใต้ ในครั้งนั้นมีคนถูกตีจนเสียชีวิตถึง 11 คน

    ประตูไท่เหอ อยู่ตรงกับประตูอู่ เป็นประตูทางเข้าหลักของตำหนักหน้า ซึ่งเป็นประตูที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดในพระราชวังต้องห้าม มีเอกลักษณ์คือ ที่หน้าประตูประดับด้วยสิงโตซึ่งทำจากทองสำริด 2 ตัว ด้านขวาเป็นสิงโตตัวผู้ด้านซ้ายเป็นสิงโตตัวเมีย ลานด้านหน้าซึ่งอยู่ระหว่างประตูอู่และประตูไท่เหอ เป็นลานที่กว้างที่สุดในพระราชวัง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 25,000 ตร.ม ในสมัยราชวงศ์หมิงใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดินและที่เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นจึงย้ายไปยังลานหน้าประตูเฉียนชิง

    ตำหนัก 3 หลังในเขตพระราชฐานชั้นนอก ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดิน และที่ทรงงานของจักรพรรดิ มี ตำหนักไท่เหอ เป็นตำหนักเอกที่มีความพิเศษที่สุด ดังนั้นจึงมีรูปแบบการก่อสร้างและการตกแต่งที่เป็นสุดยอดของพระราชวังต้อง ห้าม รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางของนครปักกิ่งพอดี
    ตำหนัก ที่สูงตระหง่านที่สุดในพระราชวังแห่งนี้โดดเด่นบนฐานหินอ่อนสีขาว 3 ชั้น ด้านหน้าตำหนักมีการจัดวางนาฬิกาแดดและเจียเลี่ยง ซึ่งเป็นเครื่องมือชั่งตวงวัดชนิดหนึ่งซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงทรงให้ทำเลียน แบบเจียเลี่ยงในสมัยถัง(ค.ศ.618-907) ตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่จัดพิธีสำคัญของราชสำนักตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและ ชิง เช่น พิธีครบรอบพระชันษา พิธีฉลองขึ้นปีใหม่ เป็นต้น

    ถัดจากตำหนักไท่เหอ คือ ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักที่จักรพรรดิทรงประทับก่อนที่จะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆที่ ตำหนักไท่เหอ และเป็นที่ทรงงานราชการ ตลอดจนเป็นที่ให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯ

    ตำหนักเป่าเหอ ตำหนักเป่าเหอมีความสำคัญลำดับรองจากตำหนักไท่เหอ มีหลังคาซ้อนสองชั้นเช่นเดียวกับตำหนักไท่เหอ ภายในใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่พยายามลดการใช้เสา ทำให้ภายในตำหนักมีความโปร่งโล่ง
    จักรพรรดิจะทรงเปลี่ยนเครื่อง ทรงที่ตำหนักหลังนี้ก่อนจะเสด็จในการพระราชพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับบรรดาขุนนางที่มีตำแหน่งสูง สมัยราชวงศ์ชิงตำหนักเป่าเหอยังใช้เป็นสนามสอบคัดเลือกขุนนางระดับสูงอีก ด้วย

    สามตำหนักหลัง : เฉียนชิง เจียวไท่ คุนหนิง
    ส่วน ที่แบ่งระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและพระราชฐานชั้นในก็คือ ลานกว้างที่อยู่บริเวณด้านหลังตำหนักเป่าเหอที่มาบรรจบกับประตูเฉียนชิง

    ประตูเฉียนชิง เป็นประตูหลักของพระราชฐานชั้นใน สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นประตูที่มีหลังคาชั้นเดียวปูด้วยกระเบื้องสีเหลืองมันวาวเป็นประกาย ตั้งอยู่บนฐานหิน ที่ด้านหน้าซ้ายขวาของประตูเฉียนชิง มีโอ่งทองสำริด 10 ใบวางเรียงรายอยู่ โอ่งเหล่านี้ใช้สำหรับการประดับตกแต่ง ขณะเดียวกันก็เป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้ดับไฟหากเกิดอัคคีภัย ที่ถูกเรียกว่า‘ทะเลของประตู’หรือแหล่ง(โอ่ง)น้ำสำคัญหน้าประตูนี้ ในอดีตทหารชั้นผู้น้อยในพระราชวังมีหน้าที่คอยตักน้ำใส่โอ่งให้เต็มทุกใบ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดไฟใหม้ ภายในพระราชวังต้องห้ามมีโอ่งทองสำริดและโอ่งเหล็กทั้งสิ้น 308 ใบ โอ่งแต่ละใบมีน้ำหนักกว่า 2,000 กิโลกรัม

    เขตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับพักผ่อนของจักรพรรดิ พระมเหสี พระราชมารดา พระราชโอรส พระราชธิดาและนางสนม ประกอบด้วยตำหนักหลัก 3 หลัง คือ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง นอกจากนี้ด้านข้างของตำหนักทั้ง 3 ยังเรียงรายด้วยตำหนักเล็กๆอีกด้านละ 6 หลัง

    เมื่อเทียบกับพระราชฐานชั้นนอกแล้ว พระราชฐานชั้นในมีลักษณะที่ค่อนข้างมิดชิดซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของ ตำหนักสำหรับการพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีอุทยานและศาลาซึ่งได้รับการออกแบบจัดวางอย่างประณีตบรรจง

    [​IMG]
    ตำ หนักเฉียนชิงและตำหนักคุนหนิง ต่างตั้งชื่อตามตำหนักในพระราชวังที่เมืองหนันจิง อดีตราชธานีในสมัยราชวงศ์หมิง ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน‘เฉียน’ หมายถึง สวรรค์ และ‘คุน’ หมายถึง แผ่นดิน ดังนั้นจึงมีนัยว่า ตำหนักเฉียนชิงเป็นตำหนักบรรทมของจักรพรรดิ และตำหนักคุนหนิงเป็นตำหนักบรรทมของพระมเหสี

    [​IMG]
    ตำหนักเฉียนชิง เป็นที่ประทับของจักรพรรดิและปฏิบัติพระราชกรณีกิจส่วนพระองค์ มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงย้ายไปประทับที่ตำหนักหยังซิน ตำหนักเฉียนชิงจึงมีบทบาทในฐานะที่เป็นตำหนักสำหรับว่าราชการและเป็นที่จัด เลี้ยงแทน

    เหนือตำหนักเฉียนชิงขึ้นไปเป็นตำหนักเจียวไท่ สร้างในสมัยหมิง มีลักษณะเป็นทรงเหลี่ยม เนื้อที่ไม่ใหญ่มากนัก ใช้เป็นสถานที่เข้าเฝ้าพระมเหสี ในการถวายพระพรในพิธีการต่างๆ ทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาตราลัญจกรซึ่งใช้ประทับลงหนังสือราชการของจักรพรรดิ ส่วนตำหนักคุนหนิง เป็นที่ประทับพักผ่อนของพระมเหสีในสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงได้ใช้เป็นที่บูชาเทพเจ้า

    [​IMG]
    ด้านเหนือของตำหนักคุนหนิง เป็นที่ตั้งของอุทยานหลวง สร้างในรัชสมัยหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง ในเวลานั้นเรียกเพียง ‘สวนหลังวัง’ เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับสวนสามัญชน แต่กว้างขวางโอ่อ่าตามแบบฉบับอุทยานในราชสำนัก มีความยาว 130 กว่าเมตร กว้าง 90 เมตร ภายในสวนประกอบด้วยหอน้อยใหญ่กว่า 20 หอ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่จัดตั้งหันหน้าเข้าหากันเป็นแนว

    [​IMG]
    ตำหนัก ที่สำคัญมากอีกตำหนักหนึ่งของพระราชวังต้องห้าม เพราะเป็นห้องบรรทมของจักรพรรดิหย่งเจิ้งและจักรพรรดิองค์ต่อๆมาในราชวงศ์ ชิง ตั้งอยู่เป็นเอกเทศจากตำหนักอื่นๆ ทางด้านใต้ของทางเดินด้านตะวันตกภายในพระราชวัง นั่นคือ ตำหนักหยังซิน

    [​IMG]
    ตำหนักหยังซิน สร้างขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1522-1566) มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ(I) โดยส่วนหน้ากับส่วนหลังเชื่อมถึงกัน ส่วนหน้าเป็นที่ทรงงาน ส่วนหลังเป็นที่บรรทม มีระเบียงล้อมรอบ

    ใน ปีที่จักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิงเสด็จสวรรคต พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกตั้งไว้ที่ตำหนักหยังซิน จักรพรรดิองค์ต่อมาคือ จักรพรรดิหย่งเจิ้งพระราชโอรสได้ทรงไว้ทุกข์ให้พระราชบิดาที่นี่ หลังเสร็จสิ้นการไว้ทุกข์ ตำหนักแห่งนี้ก็กลายเป็นห้องบรรทมและห้องทรงงานของพระองค์ในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง ที่ตั้งของตำหนักหยังซินนั้นใกล้กับกองกำลังทหารมาก จึงเป็นการสะดวกหากพระองค์ต้องการปรึกษาข้อราชการกับเหล่าแม่ทัพนายกอง

    ตำหนัก แห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ในรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อและจักรพรรดิกวงสู่แห่งราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาและพระนางฉืออันโปรดให้เหล่าขุนนางเข้าเฝ้าและกราบทูลข้อ ราชการต่อพระนาง โดยมีม่านสีเหลืองเป็นฉากกั้นระหว่างกลาง ดังที่มีคำเรียกขานกันว่า 'ว่าราชการหลังม่าน' ที่พระที่นั่งในตำหนักหยังซินด้วย

    นอกจากนี้ เมื่อปีค.ศ. 1842 และปี 1860 ราชสำนักชิงกับกองทัพต่างชาติได้มาลงนามใน ‘สนธิสัญญานานกิง ’และ ‘สนธิสัญญาปักกิ่ง’ ณ ตำหนักแห่งนี้เช่นกัน

    หลัง จากผ่านกระแสธารแห่งประวัติศาสตร์มาหลายยุคหลายสมัย วันนี้พระราชวังต้องห้ามยังคงเด่นเป็นสง่าใจกลางนครปักกิ่ง และเป็นตัวแทนเล่าขานเหตุการณ์ในอดีตในฐานะพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ งดงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก


    ข้อมูล
    มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปีค.ศ.1987
    ที่ตั้ง : ถนนฉางอัน ใจกลางกรุงปักกิ่ง
    สร้างในปี : ค.ศ.1406 -1420
    อาณาเขต : เนื้อที่ทั้งสิ้น 720,000 ตารางเมตร

    จากสมมุติฐานที่ทางสายธาตุตามศิลปะย่อมุมไม้สิบสองมาตั้งแต่กลางปี ได้พบแล้วว่าเป็นศิลปการก่อสร้างที่มีไว้สำหรับชนชั้นสูงในพระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง โดยเฉพาะก่อสร้างไว้ในเขตพระราชฐานชั้นใน ก็เป็นความจริงว่าเป็นศิลปะสำหรับใช้ในพระราชสำนัก สมัยราชวงศ์หมิง สวนหลังวังนี้อยู่ด้านทิศเหนือของพระราชวัง เพราะพระราชวังหลวงหันหน้าไปทางทิศใต้ และอยู่ใกล้ภูเขาจิ่งซาน ซึ่งเป็นภูเขาที่คนสร้างขึ้นให้พระราชวังหลวงมีลักษณะถูกต้องตามหลักเฟิงซุ่ย (ฮวงจุ้ย) ภายหลังเป็นที่ผูกพระศอของพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงด้วย ทรงไปผูกพระศอที่ต้นไม้บนเขาจิ่งซานนี้

    หากได้รู้ถึงชื่อภาษาจีนที่ใช้เรียกศิลปะชนิดนี้ คงจะรู้รายละเอียดอื่นมากกว่านี้ แต่ตอนนี้ทางสายธาตุยังไม่รู้ว่าเรียกเป็นภาษาจีนว่าอย่างไร ซึ่งคงหาได้ยากยิ่งเพราะทางสายธาตุรู้ภาษาจีนเฉพาะคำที่ง่ายและใช้ในชีวิตประจำวันไม่กี่คำ คงหาเองไม่ได้แล้วค่ะ

    The Forbidden City หรือนครต้องห้าม - วิชาสังคมศึกษา - พูดคุยการเรียน - เว็บวัยรุ่น เพื่อวัยรุ่น - Powered by Discuz!
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    เจดีย์ นี้เป็นย่อมุมไม้ยี่สิบค่ะ คือมี 5 มุม รวม 4 ชุด = 20

    เจดีย์ ย่อมุมไม้สิบสอง คือ มี 3 มุม รวม 4 ชุด = 12

    เช่น เจดีย์พระศรีสุริโยทัย

    [​IMG]

    ค่ะพี่จงรักภักดี

    สังเกตว่าเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองของพระเจ้าปราสาททองจะต้องอ้วนป้อม เป็นสมมาตรอยู่ภายในสี่เหลี่ยมจตุรัสค่ะ

    พระราชนิกูลฝ่ายในแห่งราชสำนักสยาม ทรงมีพระนามขึ้นต้นด้วย ส.เสือ เป็นส่วนใหญ่

    สมเด็จพระศรีสุริโยทัย (จากพระนาม สุริโยทัย)
    สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา
    สมเด็จพระนางเจ้าสุวัฒน์มณีรัตนา พระอัครมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    สมเด็จพระนางเจ้าสวัสดี พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเอกาทศรถ
    ท้าวสมศักดิ์วงศามหาธาตรี หรือเจ้าแม่วัดดุสิต หรือเจ้าแม่ผู้เฒ่า

    เป็นข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆว่า อักษร ส นี้น่าจะเป็นมงคลค่ะ

    วันนี้ของดฉายซี่รี่ย์จิ้มก้อง เพราะบังเอิญไปได้ศิลปย่อมุมไม้สิบสองที่หามานาน จะว่าไปแล้วจิ้มก้องก็มีส่วนช่วยให้หาเจอ เพราะทางสายธาตุพยายามหาภาพมาประกอบเรื่องราว จึงได้เจอ สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...