ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ไหนๆก็ได้หยิบยกบทความเก่าบางตอนขึ้นมาเพื่อเตือนความจำและเล่าสู่

    กันฟังใหม่เพื่อกันลืม ต้องขอถือโอกาสแถมด้วยปณิธานและความในใจ

    ของกระทู้นี้อีกสักครั้งนะครับ

    ขออนุญาตยกคำปณิธานในตอนปฐมบทมากล่าวซ้ำอีกครั้ง
    นะครับ

    ขอเชิญชวนทุกท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ไม่ว่าท่านจะได้ทราบหรือไม่ทราบ
    ว่าท่านจะได้เคยเป็นใครหรือไม่ได้เป็นใครในครั้งกระนั้น แต่ท่านมีความเคารพเทิดทูนและจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์และอดีตบูรพกษัตริย์ที่ได้ทรงเสียสละตลอดพระชนม์ชีพเพื่อกอบกู้เอกราชให้กับแผ่นดินไทย ขอเชิญท่านร่วมกันแสดงความจงรักภักดี ด้วยการโพสต์เข้ามาโดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นใดๆ ไม่จำเป็นต้องแจ้งนามจริง ,โทรศัพท์ , e-mail address ใดๆทั้งสิ้น
    เพียงแต่ท่านได้ยอมรับและมีความเข้าใจในกติกาและข้อตกลงพื้นฐานดังต่อไปนี้:

    -เป็นศูนย์รวมสำหรับผู้ที่มีความจงรักภักดีและเคารพเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า
    -ไม่มีวัตถูประสงค์แอบแฝงอื่นใด
    -ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่สุภาพ
    -ข้อความหรือคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขอได้โปรดใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและเทิดทูน
    -เจ้าของกระทู้จะไม่รับผิดชอบข้อความใดๆที่พาดพิงเบื้องสูงและ/สถาบัน
    -ท่านจะต้องปฏิบัติตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างเคร่งครัด
    -จะร่วมกันปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
    -ขอสงวนสิทธิในการที่จะเพิ่มเติมกติกาและข้อตกลงเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

    ๐๐๐ ถ้าสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน สิ้นกษัตริย์

    เห็นสุดจะยืนหยัดอยู่ได้ ๐๐๐
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ดูโทรทัศน์ สทท 11 อยู่ก็มีข่าวว่ามียิงระเบิดเข้าไปในสถานีโทรทัศน์ด้วย มีทหารบาดเจ็บ 3 คน

    เมื่อหัวค่ำมีระเบิดที่ช่อง 5 มีทหารบาดเจ็บ 2 คน ชาวบ้านบาดเจ็บ 2 คน

    กังวลต่อสถานการณ์เหลือเกิน ห่วงสถานการณ์บ้านเมืองเหลือเกิน

    ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมคนไทยด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2010
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    บทความต่อไปนี้ คงจะพอช่วยให้คลายกังวลไปได้บ้างนะครับ ผมขอคัดลอก

    บทความของคุณ เปลว สีเงิน มาเพียงแค่ตอนต้นเท่านั้น ท่านใดอยากทราบ

    รายละเอียดขออย่าได้รีรอ คลิกเข้าไปเลยครับ...

    "สร้าง-ทำลาย"ในความหมายประวัติศาสตร์

    <!-- main-content-block --><!-- 29 มีนาคม 2553 - 00:00 -->
    29 มีนาคม 2553 - 00:00


    สังคมไทยได้ "ก้าวข้าม" เส้นแบ่งอนารยะ-อารยะ "ครั้งประวัติศาสตร์" ของโลกประชาธิปไตยไปแล้วครับ แม้อังกฤษ สหรัฐ ยุโรป อินเดีย ณ วันนี้พูดได้ว่า การเรียนรู้ประชาธิปไตย "ภาคปฏิบัติ" สู้ประเทศไทยเราไม่ได้ การที่ประชาชนส่วนหนึ่งต่อต้านรัฐและระบอบด้วยความรุนแรง แต่ฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐ "อดทน-อดกลั้น" เคารพประชาชน ไม่ปราบปรามประชาชน และในที่สุด แต่ละฝ่ายก็ตรองเห็นประโยชน์ร่วมกันได้ "เพื่อบ้านเมือง" ก็มานั่งโต๊ะพูดจากัน

    มันเป็นความสวยงามที่แตกก้าน สยายกลีบของ "ประชาธิปไตยไทย" ชนิดที่คนทั้งโลกตื่นตะลึง ด้วยคิดไม่ทัน-คาดไม่ถึง ว่าจะมีปรากฏการณ์แห่ง "แผ่นดินสยาม" เกิดขึ้น ณ ยุค "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" ดั่งปาฏิหาริย์? .......


    ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน www.thaipost.net
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความสำคัญของวัดวรเชษฐ์ ประการแรกคือเป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา

    วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ) แต่เดิมนั้นชื่อว่าวัดป่าแก้ว ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอู่ทองผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงสร้างขึ้นในปีพ.ศ. ๑๙๐๐ โดยสร้างพระปรางค์ (รัตนมหาธาตุ)เป็นเจดีย์ประธานของวัด คล้ายกับที่สร้างพระปรางค์(รัตนมหาธาตุ)ไว้ที่วัดพุทไธศวรรย์ โดยสร้างวัดนี้ตามรูปแบบผังของการสร้างวัดสมัยอยุธยาตอนต้นเหมือนกันทั้งสองวัด เมื่อครั้งพระเจ้าอู่ทองมาสร้างกรุงนั้นทรงประทับที่เวียงเล็ก(เวียงเหล็ก)ซึ่งเป็นบริเวณวัดพุทไธศวรรย์เดิม เมื่อทรงย้ายราชธานีเข้ามาในเกาะเมืองแล้วจึงทรงสร้างพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์บนที่ประทับเดิมในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ ต่อมาทรงเริ่มสร้างพระบรมมหาราชวังแล้วจึงสร้างวัดป่าแก้วประจำกรุงศรีอยุธยา โดยวัดป่าแก้วนี้สร้างหลังจากสร้างวัดพุทไธศวรรย์ได้ไม่นาน
    <O:p</O:p
    ลักษณะเด่นของแผนผังการสร้างวัดในสมัยพระเจ้าอู่ทองหรือสมัยอยุธยายุคต้นคือ
    <O:p</O:p
    ๑ พระเจดีย์ประธานของวัดเป็นพระปรางค์ แบบแผนการสร้างวัดในยุคต้นนั้นวางตำแหน่งสิ่งก่อสร้างหลักของวัดไว้โดยระเบียบเด่นชัดคือเจดีย์ประธานซึ่งนิยมสร้างเป็นทรงปรางค์มีระเบียงคตล้อมพื้นที่ และจากบันทึกพงศาวดารกล่าว่า สมเด็จพระรามาธิบดีทรงสร้างพระรัตนมหาธาตุไว้ที่วัดป่าแก้ว คำว่าพระรัตนมหาธาตุอาจเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกรูปแบบพระเจดีย์ทรงพระปรางค์ ซึ่งดูได้จากของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร กรุงสุโขทัย พระปรางค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พระปรางค์ประธานของวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเรียก รัตนมหาธาตุ เช่นเดียวกันหมด

    <O:p</O:p๒ เขตพุทธาวาสทั้งหมดจะตั้งอยู่บนฐานไพที ฐานไพทีนี้เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังการสร้างวัดในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา โดยสร้างรองรับเขตพุทธาวาสทั้งหมด ที่วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ)นั้นเขตพุทธาวาสก็อยู่บนฐานไพทีเช่นเดียวกับที่วัดพุทไธศวรรย์ แต่ที่วัดวรเชษฐาราม(ในเกาะ)มิได้สร้างพระเจดีย์ไว้บนฐานไพที

    <O:p</O:p
    ๓ พระอุโบสถจะอยู่ด้านตะวันตกของพระปรางค์ประธาน โดยแผนผังการสร้างวัดยุคต้นนี้จะมีแบบแผนการสร้างพระวิหารหลวงไว้ตะวันออก ท้ายวิหารหลวงล้ำแนวระเบียงคตเข้ามาในบริเวณของเจดีย์ประธาน ส่วนด้านตะวันตกของระเบียงคตคืออุโบสถด้านหน้าของอุโบสถจึงอยู่ทางตะวันตก และมักก่อขนาดเล็กกว่าวิหารหลวง ทั้งวัดพุทไธศวรรย์และวัดวรเชษฐ์ ต่างมีพระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระปรางค์ประธานทั้งสองวัด ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าสร้างในยุคสมัยเดียวกัน

    <O:p</O:p
    ส่วนเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลนั้น สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์เดิมที่บัดนี้ถูกครอบอยู่ด้วยเจดีย์องค์ใหญ่ทีเห็นอยู่ในปัจจุบัน เจดีย์องค์เล็กด้านในนั้นน่าจะสร้างในสมัยทวารวดี โดยสังเกตุรูปแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัยทวารวดีที่เด่นชัดเห็นได้จาก พระปฐมเจดีย์ ซึ่งสร้างครอบเจดีย์องค์เดิมเช่นกัน เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลจึงไม่น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และสันนิษฐานว่าวัดใหญ่ชัยมงคลมิใช่วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยาที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๑๙๐๐

    <O:p</O:p
    จากการศึกษาของ น ณ. ปากน้ำที่กล่าวว่า

    “ธรรมเนียมการสร้างวัดป่าแก้วที่อยู่ในเขตอรัญญิกนั้นล้วนอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองใหญ่ทั้งสิ้น และสำหรับวัดป่าแก้วเขตอรัญญิกของอยุธยาปัจจุบันทราบกันว่าแท้จริงแล้วว่า คือ วัดหนึ่งที่ถูกปล่อยให้รกร้าง และเรียกว่าวัดประเชด หรือชื่อ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง ด้านวังหลัง ออกไปประมาณ ๔ กิโลเมตร

    <O:p</O:pและยืนยันความเป็นวัดป่าแก้วเมื่อสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ที่พระยาเพชรบุรี(เรือง)ยกกองทัพเรือออกจากกรุงไปรับศึกพม่าทางน้ำ ยกไปตั้งที่วัดป่าแก้วแสดงว่าวัดป่าแก้วต้องมีอาณาเขตถึงแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือได้สะดวก วัดใหญ่ชัยมงคลไม่มีชัยภูมิติดแม่น้ำเจ้าพระยาแต่วัดวรเชษฐ์นั้นมีทั้งถนนโบราณและชัยภูมิติดแม่น้ำเจ้าพระยา วัดป่าแก้วที่พระยาเพชรบุรี (เรือง) ยกออกมารับศึกพม่านั้นควรจะหมายถึง วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ)

    <O:p</O:pจากหลักฐานด้านเจดีย์ทรงปรางค์ ฐานไพทีและแผนผังการสร้างวัดในยุคต้นกรุงศรีอยุธยาเป็นข้อสนับสนุนความเห็นของ น ณ.ปากน้ำและวัดป่าแก้วที่พระยาเพชรบุรีตั้งทัพเรือรับมือข้าศึก เป็นข้อสนับสนุนได้เป็นอย่างดีว่าวัดวรเชษฐ์เป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความสำคัญประการที่สองคือ เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ความสำคัญที่สองของวัดวรเชษฐ์ก็คือเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างหรืออาจจะทรงซ่อมและสร้างถาวรวัตถุอื่นเพิ่ม (เพื่อเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ในยุคสมัยของการสร้างพระปรางค์ยุคแรกๆนั้นคงใช้เทคนิควิธีเหมือนกัน เช่นวัดมหาธาตุที่สร้างโดยพระราเมศวรในปีพ.ศ. ๑๙๒๗ ยอดพระปรางค์วัดมหาธาตุทะลายลงมาในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๕๕-๒๑๗๑) อายุของพระปราค์ก่อนจะทลายคงราว ๒๒๘ – ๒๔๔ ปี ดังนั้นพระปรางค์วัดวรเชษฐ์ที่สร้างในปี พ.ศ. ๑๙๐๐ ก็มีโอกาศทลายลงได้ในราวปี พ.ศ. ๒๑๒๘- ๒๑๔๔ สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งคงมีงานบูรณะพระเจดีย์เกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือสมเด็จพระเอกาทศรถ เพราะพระปรางค์วัดวรเชษฐ์เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นโดยซุ้มทิศทั้ง ๔ ด้าน เริ่มยื่นออกมาจากเรือนธาตุมากกว่าปรางค์ระยะแรกรูปแบบของพระปรางค์ดังกล่าวน่าจะให้อิทธิพลต่อการก่อสร้างพระปรางค์วัดไชยวัฒนารามซึ่งสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๑๗๓ ในเวลาต่อมา
    <O:p</O:p
    ๑. แนวถนนโบราณนอกพระนครสายเดียวมีปรากฏในแผนที่หมอแกมเฟอร์ซึ่งเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเพทราชา แสดงว่าถนนนี้มีมาก่อนสมัยสมเด็จพระเพทราชา แสดงถึงความสำคัญของวัดวรเชษฐ์ อันอาจจะเป็นถนนเพื่อการเสด็จพระราชดำเนินของกษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยโบราณ
    <O:p</O:p
    ๒. ศิลปปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปราสาทยอดของวัดเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง อันได้แก่ลายกลีบบัวมีไส้ และช่องกระจกย่อมุมไม้สิบสอง โดยเฉพาะช่องกระจกย่อมุมไม้สิบสอง

    [​IMG]

    ศิลปะย่อมุมไม้สิบสองเกิดขึ้นหลังปี พ.ศ. ๒๐๗๘ ที่พระราชวังต้องห้าม ศิลปะการสร้างเก๋งจีนย่อมุมไม้สิบสองในสวนหลังวัง ในพระราชวังหลวงกรุงปักกิ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

    [​IMG]

    คาดว่าการสร้างพระเจดีย์ทรงปราสาทยอดในวัดวรเชษฐ์จะต้องสร้างหลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช หรือหลังปี พ.ศ.๒๐๗๘ ไปแล้วจึงได้นำอิทธิพลรูปแบบการก่อสร้างแบบย่อมุมไม้สิบสองจากจีนมาใช้เป็นลวดลายประดับเจดีย์ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยายุคกลาง หรืออาจจะในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
    <O:p</O:p
    ๓. การสร้างพระปรางค์ประธานได้รับการบูรณะใหม่ และพระเจดีย์ต่างๆในวัดวรเชษฐ์นั้นถูกสร้างและถูกบูรณะในสมัยยุคกลาง แต่แผนผังวัดยังคงเดิมตามแบบแผนของวัดในสมัยยุคต้นที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงและทรงตั้งวัดนี้ให้เป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <center>[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.739395/[/MUSIC]</center><center>ถวายความ ภักดี พระนเรศวรมหาราช<!-- google_ad_section_end --></center><center></center><center></center><center></center>





    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    <object id="WMP7" classid="CLSID:6BF52A52-394A-11d3-B153-00C04F79FAA6" width="330" height="180">ขอ พระมหาบารมี แผ่ไพศาล

    ปกป้อง คุ้มครองผืนแผ่นดินไทยนี้

    ให้กลับมา สงบสุข และ ร่มเย็นด้วยเทอญ

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
    </object>
    เพลง พระนเรศวรมหาราช

    กัญญนัทธ์ ศิริ เนื้อร้อง/ทำนอง/ ขับร้อง

    สงวนลิขสิทธ์ มีนาคม 2552

    สงวนสิทธ์ ในการนำไปใช้ในการประกอบผลทางธุรกิจ หรือหาผลประโยชน์ส่วนตน
    <!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end -->






    <fieldset class="fieldset"><legend>ไฟล์แนบข้อ ความ</legend><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td>พระ นเรศวร[1]...mp3 (4.35 MB, 4473 views)</td></tr></tbody></table></fieldset>หากพวกเราชาวไทย หลายๆ คน ได้รำลึกและสำนึกในพระมหาบารมี ของพระองค์

    ความรำลึกและสำนึกได้ในพระมหากรุณาธิคุณนี้

    จะส่งผลให้พระบารมี ของพระองค์แผ่ไพศาล

    พลังบารมีนี้ จะปกคุ้มไปทั่วทุกอณูของผืนแผ่นดินไทย

    พลังบารมี ของพระองค์จะ ดลบันดาลให้ผืนแผ่นดินไทยนี้ กลับเข้ามา สงบสุขอีกครั้งหนึ่ง

    ขอให้ประเทศไทย จงพ้นภัย ด้วยพระบารมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2010
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอพระสยามเทวาธิราชปกป้องคุ้มครองบ้านเมืองของเราด้วยเทอญ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    รอให้บ้านเมืองไม่ร้อนแรง จะนำเรื่องจิ้มก้องในรัชสมัยต่างๆมาเขียนต่อค่ะ

    ปีที่แล้วก็ไปวัดวรเชษฐ์เพื่อไปฎีกากับพระสยามเทวาธิราชเพราะมีเสื้อสีหนึ่งปิดสนามบิน เหนือความคาดหมาย จนไม่ดูข่าวการเมืองเลยเพราะรับไม่ได้ จนได้เข้ามาเวปนี้เพราะว่าไปวัดวรเชษฐ์มาเหมือนได้ไปไหว้พระสยามเทวาธิราชมา

    พอเมษาปีที่แล้ว เสื้ออีกสีหนึ่งก็มาปล้นความสุขของคนไทยไปในเทศกาลสงกรานต์ที่น่าจะมีแต่ความรื่นเริง ทำให้รู้สึกว่าต้องพึ่งพระพึ่งเจ้า

    พอมาปีนี้ เสื้อสีเดิมเดือนเมษาปีที่แล้ว มาปล้นความสุขคนกรุงเทพฯและคนไทยทั้งประเทศอีกแล้ว ไม่มีทีท่าว่าจะจบอย่างไร

    ดังนั้น ช่วงนี้ขอส่งใจเอาใจช่วยประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตให้ได้ มาอธิษฐานร่วมกันนะคะ
     
  9. อุกามณี

    อุกามณี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +73
    หายไปนาน...เพิ่งกลับมา คิดถึง..ทุกท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02845.JPG
      DSC02845.JPG
      ขนาดไฟล์:
      584 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSC02858.JPG
      DSC02858.JPG
      ขนาดไฟล์:
      578.2 KB
      เปิดดู:
      40
  10. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ท่านอุกามณีไปปฏิบัติธรรมที่ไหนมาน่ะครับ?
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดเชษฐารามไม่ใช่ที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวร เพราะ?

    วัดเชษฐาราม (วรเชษฐาราม) ไม่ใช่วัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างและจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เพราะเหตุผลดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. วัดเชษฐาราม (วรเชษฐาราม)มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบไม่มีซุ้มทิศปรากฏว่ามีการก่อสร้างเป็นเจดีย์รายองค์หนึ่งด้านหลังวัดมหาธาตุซึ่งน่าจะเป็นงานก่อสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองคราวปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุในปีพ.ศ. ๒๑๗๖
    <O:p</O:p
    ๒.ฐานเจดีย์คู่หน้าวัดเชษฐาราม (วรเชษฐาราม)นั้นใช้ศิลปขาสิงห์ซึ่งเป็นศิลปที่นิยมหลังจากการก่อสร้างวัดไชยวัฒนารามในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง วัดเชษฐาราม(วรเชษฐาราม) จึงน่าจะเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสร้างเพื่อถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    <O:p</O:p
    ๓.วัดเชษฐาราม(วรเชษฐาราม)นี้สร้างอยู่ใกล้วัดวรโพธิ์ ซึ่งคือวัดระฆังเดิมที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงผนวชอยู่หลายปีจนได้สมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรม อาจจะเพราะเหตุนี้จึงมาสร้างใกล้วัดวรโพธิ์นี้ พระเจ้าทรงธรรมเป็นพระบิดาของพระเชษฐาธิราช ซึ่งหากพระเจ้าปราสาททองจะสร้างวัดให้พระเชษฐาธิราชแล้วไซร้ สถานที่ใกล้วัดวรโพธิ์ก็ดูจะเหมาะดี
    <O:p</O:p
    ๔.วัดเชษฐาราม(วรเชษฐาราม)นี้เป็นวัดเล็กกว้าง ๖๒ เมตร ยาว ๖๒ เมตร ไม่เหมาะแก่งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เพราะไม่มีพื้นที่พอที่จะตั้งกระบวนอัญเชิญพระโกศพระบรมศพ และไม่มีลานประทักษิณใหญ่พอให้สำหรับกระบวนพระราชพิธีทำการเวียนประทักษิณรอบพระเมรุ
    <O:p</O:p
    ๕.พระบรมศพ พระศพ และศพที่สวรรคต สิ้นพระชนม์ หรือเสียชีวิตนอกพระนครนั้น ตามธรรมเนียมยึดถือของคนโบราณจะไม่นำเข้าพระนคร จึงไม่น่าจะใช้วัดเชษฐาราม (วรเชษฐาราม)ในการถวายงานการพระบรมศพในครั้งนั้น
    <O:p</O:p
    มองอย่างง่ายๆ ก็คือ วัดวรเชษฐ์สร้างก่อนวัดเชษฐาราม(วรเชษฐาราม) โดยมีวัดไชยวัฒนารามเป็นเส้นแบ่งเวลาของศิลปะการก่อสร้างของทั้งสองวัดที่สับสนกันอยู่นั่นเอง โดยวัดวรเชษฐ์สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง วัดเชษฐาราม(วรเชษฐาราม)สร้างขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
    <O:p</O:p
    เหตุที่พระเจ้าปราสาททองสร้างเจดีย์วัดเชษฐาราม เพราะว่าพระองค์ท่านได้ปราบดาภิเษกจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช จึงสร้างเจดีย์ถวายแต่สร้างหลังจากที่สร้างวัดไชยวัฒนารามในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ และวัดชุมพลนิกายาราม ปี พ.ศ. ๒๑๗๕ จึงมาสร้างให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช ปี พ.ศ. ๒๑๗๖ พร้อมๆกับการซ่อมพระปรางค์วัดมหาธาตุในปีเดียวกันนั้น
    <O:p</O:p
    ศิลปลายปูนปั้นประดับที่วัดวรเชษฐ์ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมจีนอาทิ ช่องกระจกย่อมุมไม้สิบสอง ลายกลีบบัวมีไส้ ซึ่งลวดลายแบบนี้เป็นที่นิยมกันมาในรัชสมัยว่านลี่ พระจักรพรรดิเสินจง ครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๑๑๖-๒๑๖๒
    <O:p</O:p
    ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ยังมีศิลปการสร้างพระเจดีย์ที่โดดเด่นอีกรูปลักษณะหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรรมจีน นั่นคือเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่วัดภูเขาทอง เป็นรูปทรงเจดีย์สี่เหลี่ยมที่มีการเพิ่มมุมอีกมุมละ ๓ หยัก(เป็นหยักที่มีสมมาตรและมุมใหญ่) รวมเป็น ๑๒ หยักหรือเรียกว่า ๑๒ มุม ศิลปกรรมนี้มีสร้างเป็นเก๋งจีนในสวนหลังวังของพระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง โดยเก๋งจีนนี้แรกสร้างในสมัยพระจักรพรรดิหมิงองค์ที่ ๑๑ ในปี พ.ศ. ๒๐๗๘ ศิลปกรรมชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยาโดยคนจีนที่เข้ามาค้าขายในสมัยนั้น

    ป.ล. ลอกข้อมูลมาจากส่วนสรุปเรื่องของบันทึกที่ถวายพระอาจารย์สิงห์ทนไปค่ะ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2010
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     
  13. อุกามณี

    อุกามณี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +73
    ได้ไปท่องบุญหลายที่..แต่ ที่น่าประทับใจ..อยากจะบอก..ในค่ำคืนวันมาฆบูชา.28 กพ. 2553.ที่มีพระจันทร์เต็มดวง...ใหญ่สุกสกาว..เขาบอกว่า..เป็นวันที่พระจันทร์ อยู่ใก้ลโลกมากที่สุด...ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม..ณ.ลานป่าเขาพนมรุ้ง..บรรยากาศ ดังในภาพ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04197.JPG
      DSC04197.JPG
      ขนาดไฟล์:
      482.1 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC04199.JPG
      DSC04199.JPG
      ขนาดไฟล์:
      493.1 KB
      เปิดดู:
      28
    • DSC04202.JPG
      DSC04202.JPG
      ขนาดไฟล์:
      445.8 KB
      เปิดดู:
      23
    • DSC04203.JPG
      DSC04203.JPG
      ขนาดไฟล์:
      487.4 KB
      เปิดดู:
      31
    • DSC04210.JPG
      DSC04210.JPG
      ขนาดไฟล์:
      468.7 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSC04222.JPG
      DSC04222.JPG
      ขนาดไฟล์:
      392.9 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC04207.JPG
      DSC04207.JPG
      ขนาดไฟล์:
      469 KB
      เปิดดู:
      27
    • DSC04216.JPG
      DSC04216.JPG
      ขนาดไฟล์:
      439 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSC04184.JPG
      DSC04184.JPG
      ขนาดไฟล์:
      448 KB
      เปิดดู:
      37
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  14. อุกามณี

    อุกามณี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +73
    เก็บภาพมาฝาก...บรรยากาศ การปฎิบัติธรรม..หลังกุฎิพระอาจารสิงห์ทน ถูกวางเพลิงไม่กี่วัน...ในโบสถ์วัดป่าแก้ว...(วัดวรเชษฐ์)... เมื่อ 5/05/2552...ยังคงประทับอยู่ในจิต....สวดมนต์ทั้งคืน..ประสานเสียงไพเราะมาก....ทีมบุญประมาณ15 คน โบสถ์ไม่มีหลังคา..มองเห็นดาวเดือน..เต็มท้องฟ้า..ในโบสถ์ไม่มีไฟฟ้า..ดูบทสวดมนต์ จากแสงเทียน...มีน้องหมาน่ารัก.....คอยดูแล..ปกป้อง..อารักขา..นำทางไปห้องน้ำ..ยามค่ำคืน..แม้ว่าจะได้นอนนิดเดียว..แต่..ก็หลับมีพลัง..ไม่เหนื่อยเลย
    ลุกแต่เช้า..เตรียมอาหารตักบาตร..ทุกคนพอใจ..ประทับใจ..อยากมาอีก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02546.JPG
      DSC02546.JPG
      ขนาดไฟล์:
      585.8 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSC02449.JPG
      DSC02449.JPG
      ขนาดไฟล์:
      568.9 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSC02412.JPG
      DSC02412.JPG
      ขนาดไฟล์:
      572 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC02419.JPG
      DSC02419.JPG
      ขนาดไฟล์:
      616.7 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSC02482.JPG
      DSC02482.JPG
      ขนาดไฟล์:
      495.2 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSC02483.JPG
      DSC02483.JPG
      ขนาดไฟล์:
      552 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC02484.JPG
      DSC02484.JPG
      ขนาดไฟล์:
      436.8 KB
      เปิดดู:
      29
    • DSC02487.JPG
      DSC02487.JPG
      ขนาดไฟล์:
      640.5 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC02511.JPG
      DSC02511.JPG
      ขนาดไฟล์:
      691.3 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSC02512.JPG
      DSC02512.JPG
      ขนาดไฟล์:
      472 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSC02519.JPG
      DSC02519.JPG
      ขนาดไฟล์:
      440.1 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSC02521.JPG
      DSC02521.JPG
      ขนาดไฟล์:
      445 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC02524.JPG
      DSC02524.JPG
      ขนาดไฟล์:
      413.2 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSC02539.JPG
      DSC02539.JPG
      ขนาดไฟล์:
      485.7 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC02782.JPG
      DSC02782.JPG
      ขนาดไฟล์:
      583.9 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC02783.JPG
      DSC02783.JPG
      ขนาดไฟล์:
      602.7 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSC02784.JPG
      DSC02784.JPG
      ขนาดไฟล์:
      608.7 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSC02777.JPG
      DSC02777.JPG
      ขนาดไฟล์:
      619.8 KB
      เปิดดู:
      40
    • DSC02544.JPG
      DSC02544.JPG
      ขนาดไฟล์:
      586.2 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSC02534.JPG
      DSC02534.JPG
      ขนาดไฟล์:
      459.9 KB
      เปิดดู:
      37
    • DSC02543.JPG
      DSC02543.JPG
      ขนาดไฟล์:
      551.1 KB
      เปิดดู:
      38
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  15. อุกามณี

    อุกามณี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +73
    เมื่อ09/08/2552....ได้ร่วมบุญงานบวชกายทิพย์...ณ.วัดเจ้าชาย (วัดพระเอกาทศรถ) ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดวรเชษฐ์มากนัก..อยู่กลางทุ่งนา..ทางเข้าเดินเข้าตามคันนา...แต่หลังจากที่...ทีมบุญไปร่วมช่วยกันสวดมนต์...ตอนนี้..ได้รับงบประมาณ ทำทางเข้าถึงแล้ว..เก็บภาพมาฝากอีกแล้วค่ะ..ความจริงแล้วไม่อยากจะเก็บข้อมูลไว้คนเดียวเลย..เพียงแต่ว่า..ใช้คอมฯไม่ค่อยเป็น......ขอสารภาพ..ครั้งแรกที่ไปเห็น..วัดเจ้าชาย..เห็นสภาพต่างๆ..แล้วน้ำตาไหล..ไม่มีเหตุผล.........ยากลำบาก..ขนาดไหน..ก็จะมาให้ทัน..พิธีนี้....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02802.JPG
      DSC02802.JPG
      ขนาดไฟล์:
      574.2 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSC02806.JPG
      DSC02806.JPG
      ขนาดไฟล์:
      611.4 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSC02787.JPG
      DSC02787.JPG
      ขนาดไฟล์:
      548.3 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC02796.JPG
      DSC02796.JPG
      ขนาดไฟล์:
      615.6 KB
      เปิดดู:
      27
    • DSC02798.JPG
      DSC02798.JPG
      ขนาดไฟล์:
      603.7 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSC02800.JPG
      DSC02800.JPG
      ขนาดไฟล์:
      563.2 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC02846.JPG
      DSC02846.JPG
      ขนาดไฟล์:
      575 KB
      เปิดดู:
      27
    • DSC02855.JPG
      DSC02855.JPG
      ขนาดไฟล์:
      604.1 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSC02849.JPG
      DSC02849.JPG
      ขนาดไฟล์:
      580.8 KB
      เปิดดู:
      30
    • DSC02811.JPG
      DSC02811.JPG
      ขนาดไฟล์:
      622.6 KB
      เปิดดู:
      37
    • DSC02836.JPG
      DSC02836.JPG
      ขนาดไฟล์:
      578.9 KB
      เปิดดู:
      32
    • DSC02845.JPG
      DSC02845.JPG
      ขนาดไฟล์:
      584 KB
      เปิดดู:
      28
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  16. อุกามณี

    อุกามณี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +73
    02/04/2552
    ตอนเช้า..ทีมเราไปร่วมบุญที่วัดวรเชษฐ์
    ตอนบ่าย..ร่วมทำบุญใหญ่ที่วัดชุมพลกานิยาราม ..ในเกาะบางปะอินซึ่งเป็นวัดที่ไม่ถูกพม่าเผา..(พม่าคงมองไม่เห็น.).วัดนี้สร้างโดย พระเจ้าปราสาททอง..มีเจดีย์บรรจุ..พระอัฐิบุคคลสำคัญอยู่ที่วัดนี้ด้วย.........โปรดสังเกตุสามสาว...แต่ละคนสวมสร้อย.."อุกามณี" และปริศนาภาพบนเสาสี่ต้น..
    ในโบสถ์วัดชุมพลกานิยาราม ...คุณทางสายธาตุ..เข้าใจความหมายดีที่สุด...ใช่ไหมค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02293.JPG
      DSC02293.JPG
      ขนาดไฟล์:
      456.7 KB
      เปิดดู:
      46
    • DSC02294.JPG
      DSC02294.JPG
      ขนาดไฟล์:
      567.2 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC02295.JPG
      DSC02295.JPG
      ขนาดไฟล์:
      552.2 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC02308.JPG
      DSC02308.JPG
      ขนาดไฟล์:
      590.3 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSC02309.JPG
      DSC02309.JPG
      ขนาดไฟล์:
      609.5 KB
      เปิดดู:
      59
    • DSC02310.JPG
      DSC02310.JPG
      ขนาดไฟล์:
      545.7 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSC02312.JPG
      DSC02312.JPG
      ขนาดไฟล์:
      495.5 KB
      เปิดดู:
      66
    • DSC02317.JPG
      DSC02317.JPG
      ขนาดไฟล์:
      488.9 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSC02319.JPG
      DSC02319.JPG
      ขนาดไฟล์:
      466.1 KB
      เปิดดู:
      60
    • DSC02323.JPG
      DSC02323.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.4 KB
      เปิดดู:
      45
    • DSC02333.JPG
      DSC02333.JPG
      ขนาดไฟล์:
      474.9 KB
      เปิดดู:
      49
    • DSC02335.JPG
      DSC02335.JPG
      ขนาดไฟล์:
      594.7 KB
      เปิดดู:
      40
    • DSC02355.JPG
      DSC02355.JPG
      ขนาดไฟล์:
      579.1 KB
      เปิดดู:
      56
    • DSC02356.JPG
      DSC02356.JPG
      ขนาดไฟล์:
      575.6 KB
      เปิดดู:
      46
    • DSC02357.JPG
      DSC02357.JPG
      ขนาดไฟล์:
      487.4 KB
      เปิดดู:
      40
    • DSC02384.JPG
      DSC02384.JPG
      ขนาดไฟล์:
      585.3 KB
      เปิดดู:
      52
    • DSC02398.JPG
      DSC02398.JPG
      ขนาดไฟล์:
      506.8 KB
      เปิดดู:
      43
    • DSC02400.JPG
      DSC02400.JPG
      ขนาดไฟล์:
      496.8 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSC02405.JPG
      DSC02405.JPG
      ขนาดไฟล์:
      566.8 KB
      เปิดดู:
      44
    • DSC02406.JPG
      DSC02406.JPG
      ขนาดไฟล์:
      569.1 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSC02407.JPG
      DSC02407.JPG
      ขนาดไฟล์:
      583.4 KB
      เปิดดู:
      39
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=775 bgColor=#993300 border=0><TBODY><TR><TD background=../freebg/bg/b230.gif bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="75%" border=0><TBODY><TR><TD>วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD>ประวัติ ความเป็นมา</TD></TR><TR><TD vAlign=top background=../freebg/bg/b230.gif bgColor=#ffffff>

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    วันที่ระลึกมหาจักรี หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าวันจักรี นั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธี ทรงหล่อพระบรมรูปลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น
    ต่อมาทรงพระราชดำริว่า พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคม สักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาท ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง ๕ รัชกาล พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาท พระเทพบิดร โดยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงมีพระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเชิญ พระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท มาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑ อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอันเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดีซึ่งบรรจุพระบรมทนต์(ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาลครั้นถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ (สมัยนั้นขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศพระบรมราชโองการให้มีการกราบ ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเป็นการ ประจำปีกำหนดใน วันที่ ๖ เมษายน เป็นประเพณีสืบไป
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีประดิษฐาน พระบรมรูปที่ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนิน มาทรงบรรจุพระบรมทนต์พระสุพรรณบัฎจารึก พระปรมาภิไธยและดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูป เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐
    ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า ในปี ๒๔๗๕ อายุพระนครจะบรรจบครบ ๑๕๐ ปี สมควรมีการสมโภชและสร้างสิ่งสำคัญ เป็นอนุสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฎแก่อารยชนในนานาประเทศ ว่าชาวไทยมีความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษ ที่ได้สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีแล้วบำรุงรักษาประเทศ ให้เป็นอิสระสืบมาทรงปรึกษาพระราชปรารภ แก่อภิรัฐมนตรีและเสนาบดี ซึ่งเห็นชอบด้วยพระราชดำริว่า ควรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์มี ๒ สิ่งประกอบกัน คือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมกษัตริย์ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครธนบุรี พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ให้ศาสตรจารย์ศิลปพีระศรี ปั้นหุ่นหล่อ ส่วนสะพานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน อำนวยการสร้าง และพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า เงินที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วน ๑ รัฐบาลจ่ายเงินแผ่นดินส่วน ๑ อีกส่วน ๑ ทรงพระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกระบวนพยุหยาตรา เมื่อ วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันครบ ๑๕๐ ปี และมีการพระราชพิธี เฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร
    ครั้นถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพตามขัตติยราชประเพณีแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ที่โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๓ เมษายนพ.ศ. ๒๕๐๒ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุเส้นพระเจ้า(เส้นผม) พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงเสวยราชย์ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุพระกรัณฑ์ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งพระบรมรูป และในพระราชพิธีนี้ได้ทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงเสวยราชย์ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยาแล้วทรงบรรจุ ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
    การถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดรเป็นราชประเพณีประจำปี ตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑ เป็นต้นมา ครั้นได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐาน ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื่องในการเฉลิมพระนครบรรจบครบ ๑๕๐ ปีแล้ว ในปีต่อมาทางราชการได้ประกาศให้ถือวันที่ ๖ เมษายน เป็นวันที่ระลึกมหาจักรีและเป็นวันสำคัญของชาติวันหนึ่ง กำหนดให้หยุดราชการและให้ ชักธงชาติ และได้กำหนดให้มี การถวายบังคมพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ปฐมราชานุสรณ์ สำนักพระราชวัง ได้ออกหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายสักการะพระบรมรูปที่ปฐมบรมราชานุสรณ์ และถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร
    การถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา เป็นการเสด็จของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินถวาย พวงมาลาเป็นราชสักการะ ภายหลังจากนั้นทรงมีพระราชปรารถพระราชทาน พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)เลขาธิการพระราชวัง ว่าการวางพวงมาลาตามคตินิยมของชาวไทย ใช้สำหรับการไว้อาลัยแก่ชีวิตของผู้ที่จากไป แต่วันที่ระลึกมหาจักรี ๖ เมษายนนั้น เป็นมงคลดิถีคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี การถวายพวงมาลาจึงไม่เป็นการงดงามเหมาะสม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สำนักพระราชวังได้เปลี่ยนเป็น จัดพานพุ่มดอกไม้สดทูลเกล้าฯ ถวายเป็นเครื่องราชสักการะอนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สาธุชนเข้าถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา จนถึงเวลา ๑๘ นาฬิกา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แหล่งที่มา www.google.co.th</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  18. จมื่นราชฯ

    จมื่นราชฯ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +57
     
  19. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ขออนุโมทนา กับทุกท่านค่ะ

    วัดวรเชษฐ์ นอกเกาะ จะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง เพราะพระบารมี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สิ่งศักดิ์สิทธ์ และทวยเทพทั้งหลาย

    วัดวรเชษฐ์ คือ อีกหนึ่่งพลังของผืนแผ่นดินนี้

    เมื่อถึงเวลา ก็ไม่น่าจะมีสิ่งไหน ที่จะลบเลือน ความจริงได้



    ขอเชิญท่านทั้งหลาย ที่เชื่อและศรัทธา เร่ง ภาวนา ด้วยนะคะ
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อาจจะด้วยอำนาจแห่งเทพ ให้ทางสายธาตุเข้าใจความหมายของเสาสี่ต้น คิดว่าตัวทางสายธาตุเองอาจจะเคยรับใช้งานเจ้านายอยู่ที่เกาะแห่งนี้ ดังนั้นข้อมูลส่วนนี้ได้เขียนสรุปไว้ในสรุปเรื่องที่นำถวายพระอาจารย์สิงห์ทนด้วย

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2552 ที่ไปกันทั้งหมด 16 คนนั้น พระจันทร์ทรงกรด 3 ชั้น สวยงามมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...