ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ว่าจะยังไม่พูดถึงเรื่องพระ ชุด2 แต่เมื่อพี่พันวฤทธิ์บอกมาพอควรแล้ว ก็จะบอกต่อไปว่าในรูปเป็นเพียงต้นแบบที่ไม่มีฐานบัว ทางคณะและพี่ใหญ่เห็นว่ายังไม่บริบูรณ์จึงจะเพิ่มฐานบัวให้สวยงาม ไว้รอติดตามชมภาพที่บริบูรณ์แล้ว คงอีกนานพอสมควร เพราะต้องทำตามฤกษ์และพิธีกรรมต่างๆที่ท่านองค์พระเบื้องบนกำหนดเท่านั้น จึงจะเป็นพิมพ์ที่จะทำการแจกให้กับท่านที่มีความตั้งมั่นในบุญกุศล มีจิตศรัทธากับการช่วยพระศาสนา ช่วยสงฆ์อาพาธ

    พระนี้พี่ใหญ่ บอกกับใครก็จะบอกว่า แจกฟรีให้กับผู้ร่วมทำบุญในทุนนิธิฯเป็นประจำเพื่อเป็นกำลังใจ หรือผู้ที่พี่ใหญ่ให้ว่าสมควรให้ เพราะมีคุณธรรมพอจะได้รับไป แต่ขนาดยังไม่สำเร็จเป็นองค์พระ ก็มีพวกที่พี่ใหญ่อึดอัดมาขอกันมาก บุญก็ไม่ทำ พระก็ไม่ช่วยสร้าง มีแต่จริตอยากได้ของวิเศษแต่อย่างเดียว แถมขอกันทีเป็นช่อๆ แต่ด้วยคุณธรรมและความมีเมตตา ของพี่ใหญ่ท่านก็ว่าจะให้ไป แต่ผู้รับไปผิดเจตนาการสร้างพระครั้งนี้ เพราะเบื้องบนท่านเป็นทิพย์ ท่านทราบดี พระจะทรงความศักดิ์สิทธิ์ ทรงอานุภาพเหมือนเดิมไหม อันนี้ไม่อยากบอกครับ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <TABLE style="BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" height=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=746 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width=757 colSpan=2 height=11></TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13><HR color=#cecece noShade></TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13>ฤกษ์ หมายถึง คราวหรือเวลา ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์ อำนวยความเป็นศิริมงคลแก่ผู้ประกอบการนั้น ๆ
    ฤกษ์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ฤกษ์บนและฤกษ์ล่าง
    </TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13>
    ฤกษ์บน
    เป็นชัยมงคลเบื้องสูง โดยถือตำแหน่งของพระจันทร์และดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ เป็นหลัก คือ กำหนดโดยจันทร์ พระจันทร์ต้องดีไม่เป็นอริ มรณะ และวินาศแก่ผู้ประกอบการ พระจันทร์โคจรให้คุณเช่นจันทร์ครุสุริยา ทางโหราศาสตร์ใด้กำหนดฤกษ์ไว้ 9 ฤกษ์ ได้แก่
    </TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="26%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="17%">ทลิทโทฤกษ์</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="16%">มหัทธโณฤกษ์</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="41%">โจโรฤกษ์</TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="26%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="17%">ภูมิปาโลฤกษ์</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="16%">เทศาตรีฤกษ์</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="41%">เทวีฤกษ์</TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="26%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="17%">เพชฌฆาตฤกษ์</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="16%">ราชาฤกษ์</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="41%">สมโณฤกษ์</TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%" colSpan=4> * ความหมายหรือวิธีการใช้แต่ละฤกษ์ดูด้านล่างนะครับ เพราะแต่ละฤกษ์มีการนำไปใช้เฉพาะเรื่อง
    เช่น การขอแต่งงาน หมั้นสาว ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ ฯลฯ ให้ใช้ ทลิทโทฤกษ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13>
    ฤกษ์ล่าง
    ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยให้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถี ขึ้น แรม และเดือน ปี เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น วันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ และมีดิถี คือ ขึ้น แรม ดิถีธงชัย ดิถีพิฆาต อีกทั้งวันจม วันฟู วันลอย กทิงวัน อัคนิโรธ ทักทิน ยมขันธ์ จัดเป็นฤกษ์ย่อยต่าง ๆ รวมเรียกว่า "ฤกษ์ล่าง" หรือ (ภูมิดล)
    </TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13>
    หมายเหตุ : ฤกษ์ที่ให้ไว้ด้านบน (ฤกษ์มงคลต่างๆ ในเดือนมีนาคม) นั้นคำนวณจากหลักฤกษ์บนและฤกษ์ล่างประกอบกัน</TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13>
    ความหมายและการนำฤกษ์ทั้ง 9 ไปใช้</TD></TR><TR><TD width=757 colSpan=2 height=13><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">1. ทลิทโทฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 1 , 10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง

    ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ
    "ชูชก" มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์" คือฤกษ์ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาทฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    การขอสิ่งต่างๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านขายของชำ ของเก่าชำรุด สมัครงาน ทำการใดๆ ที่ริเริ่มใหม่

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์นี้ใช้สำหรับ ขอผัดผ่อนหนี้ ขอหมั้น ขอแต่งงาน ขอทำงาน ขอสมัครงาน ขอร้อง สู่ขอ ขอคืนดี ขอรี่ไร ขอส่วนแบ่ง ขอกู้เงิน ยืมเงิน ขอผ่อนผัน ขอให้อุปการะ ขอให้ค้ำประกัน ขอซ่อม ขอร้อง ร้องขอ ขอความเป็นธรรม ขอร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ สรุปคือบรรดาการขอ (ขอร้อง) ทุกอย่างให้ใช้ฤกษ์นี้
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">2. มหัทธโนฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 2 , 11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    การมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคล

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    เป็นการกระทำมั่นคงถาวร เช่น สร้างบ้านให้อยู่นานๆ เปิดร้าน เปิดบริษัท เอารถออกจากอู่ ถอยรถใหม่ เปลี่ยนชื่อ อุปสมบท ลาสิกขา และงานมงคลทั้งปวง
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">3. โจโรฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 3 , 12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์" คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยงๆ ในระยะสั้นๆ การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบแบใช้กำลัง

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    โจรจะไปปล้นบ้านใครให้ถือเอาฤกษ์นี้ ฤกษ์แหกคุก ฤกษ์หนีการจับกุม การเอาเปรียบคนอื่น จะไปจับผิดใครให้ใช้ฤกษ์นี้ การปรับทุจริต เป็นฤกษ์ฉกฉวย หรือเป็นการข่มคนอื่น ไปต่อสู้คดี ขึ้นโรงขึ้นศาล คือการทำเพื่อให้ชนะคนอื่น หรือแม้กระทั่งการเอาเปรียบคนอื่น ฤกษ์นี้ยังหมายถึง การท่องเที่ยว การผจญภัย การสอบชิงทุน การแข่งขัน การแข่งกีฬา การข่มขวัญศัตรู การปรับปรุงแก้ไข การปฏิวัติ รวมทั้งเอารถออกจากอู่ (จากการซ่อม) หรือออกจากโชว์รูม (ถอยรถใหม่) ฤกษ์นี้ไม่เหมาะในการลงทุน อาจทำให้ผิดหวังและถูกเบียดเบียนจากคนในเครื่องแบบ
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">4. ภูมิปาโลฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 4 , 13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    การมงคลต่างๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท เปิดอาคารห้างร้าน และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์นี้ที่ใช้ในการทำให้มั่นคงระยะยาว ไม่ใช่ฤกษ์หวังผลในระยะสั้นๆ เช่น สร้างหอพัก สร้างบ้านจัดสรร เพื่อกินกำไรในระยะยาว ให้ความสมบูรณ์พูนสุข ความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่หวังผลรวดเร็ว แต่หวังผลในระยะยาวคือนานๆ (มั่งคงถาวร) ฤกษ์นี้เหมาะสำหรับ ลงเสาเข็ม ตั้งศาลพระภูมิ ก่อสร้างวัตถุที่ถาวร หอพัก การพัฒนาการเกษตร เปิดร้าน เปิดโรงงานอุตสาหกรรม สัญญาซื้อขายที่หวังผลระยะยาว อะไรที่เจราที่หวังผลสำเร็จในระยะยาวและมั่นคงถาวร (ไม่ฉาบฉวย) ให้ใช้ฤกษ์นี้ และงานมงคลทั้งปวง
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">5. เทศาตรีฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 5 , 14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์" หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ ซ่องโสเภณี โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    เป็นฤกษ์ที่ชอบคนเยอะๆ เช่น คนมาเที่ยว รื่นเริง บันเทิง สนุกสนาน เช่น เปิดโรงแรม เปิดสรรพสินค้า เปิดอาบ อบ นวด เปิดสถานบันเทิง เงินแสดงคอนเสิร์ตของนักดนตรี เปิดบู๊ตแสดงสินค้า หรือกิจการที่ต้องการให้คนต่างประเทศมาเที่ยว รวมทั้งการทำอะไรที่สนุกสนาน รื่นเริง ฟุ่มเฟือย (บาร์ ไนต์คลับ โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร โรงแรม ตลาดสด ช๊อปปิ้งเซ็นเตอร์)
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">6. เทวีฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 6 , 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์สู่ขอ หมั้น แต่งงาน ขอความช่วยเหลือจากสตรี (ผู้หญิง) ฤกษ์ที่ใช้ความโอ่อ่า หรูหรา สง่า งาม สวย รวมทั้งศิปละ ออกแบบ ตกแต่ง สวย หรู เช่น โชว์อัญมณี เครื่องประดับ ให้ใช้ฤกษ์นี้
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">7. เพชฌฆาตฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 7 , 16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก" คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่างๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยากๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์แห่งความเด็ดขาด เผด็ดการ งานปราบปราม กำจัดศัตรู ทำพิธี ไสยศาสตร์ ฤกษ์ที่ต้องการใช้ความเด็ดขาด กล้าหาญ การตัดสินใจที่เด็ดขาด จะเลิกกับแฟนให้ใช้ฤกษ์นี้ได้ หรือสามีภรรยาจะหย่ากันให้ใช้ฤกษ์นี้ การผ่าตัด การปลูกเศกของขลัง ใช้ฤกษ์นี้ได้ ฤกษ์นี้สามารถใช้ในการเปลี่ยนชื่อได้ เพราะต้องการความมั่งคง หนักแน่น ไม่ต้องต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">8. ราชาฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 8 , 17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา
    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์สูง ฤกษ์ใหญ่โต เป็นฤกษ์ของบุคคลชั้นสูง มีเกียรติ หรือว่างานนั้นมีผู้ใหญ่ เจ้านายมาร่วมทำพิธีด้วย ฤกษ์นี้ใช้ได้กับงานมงคลทั้งปวง
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="4%"> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="96%">9. สมโณฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 9 , 18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า (สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์" จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต

    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
    ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์สงบ บวชพระ สึกพระ งานเกี่ยวกับศาสนา งานที่ไม่หวังผลรวดเร็ว ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการช่วงชิงกับผู้อื่น งานการกุศลทั้งปวง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ หรือถาวรวัตถุ งานพุทธาภิเษก หล่อพระ ปฏิบัติธรรม เรียนธรรมะ เปิดสำนักโหรดูดวง เปิดห้องสมุด เปิดสถานที่สาธารณะ ทำบุญต่ออายุ ต่อชะตา ขึ้นบ้านใหม่ เปิดมูลนิธิ เผยแพร่ศาสนา งานการกุศลทั้งหลาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2008
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ฤกษ์กฏเกณฑ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นจากดวงดาวและสถิติ ความเป็น "ทิพย์" เกิดจากการบำเพ็ญตบะบารมีของมนุษย์นับเป็นแสน หรือหลายแสนชาติ จนถึงจุดที่เป็นวิวัฒนาการสูงสุดของมนุษยชาติ และเมื่อละจากความเป็นมนุษย์ไปแล้ว ความเป็น "ทิพย์" ยังติดตัวไป เมื่อ 2 อย่างมาประกอบกันย่อมเกื้อหนุน เกิดเป็นพลังงานเกินความคาดหมาย พระที่ทุนนิธิฯ นี้จัดทำก็หนีไม่พ้นกฏเกณฑ์นี้เช่นกัน
     
  4. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    แจ้งรายละเอียดการโอนเงินร่วมทำบุญครับ


    วันที่ 17/3/2551 เวลา 16.58 โอนจาก atm ธ.กรุงเทพ จำนวนเงิน 500


    พร้อมแจ้งเข้าร่วมทำบุญ ณ.โรงพยาบาลสงฆ์ในวันที่ 23 นี้ด้วยครับ ^-^


    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ
     
  5. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ทางคณะทุนนิธิฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ประมาณ 7 โมงเช้าเจอกันที่บริเวณโรงอาหารของโรงพยาบาลสงฆ์ ครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ โมทนาครับ
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <CENTER>[SIZE=+3]รู้จักพระราชวังพญาไท[/SIZE]
    </CENTER><CENTER>[​IMG]
    </CENTER><CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
      • <DD>[SIZE=+3]ย้อน<WBR>อดีต<WBR>[/SIZE]ไปเมื่อ<WBR>ปีพุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๕๑<WBR> พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระจุล<WBR>จอมเกล้า<WBR>เจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR> รัชกาล<WBR>ที่ ๕<WBR> ทรงพระ<WBR>กรุณา<WBR>โปรด<WBR>เกล้าฯ<WBR> ให้จัด<WBR>ซื้อที่<WBR>สวนและ<WBR>นา<WBR>บริเวณ<WBR>ริมคลอง<WBR>สามเสน<WBR>ติดกับ<WBR>ทุ่ง<WBR>พญาไท<WBR> เป็นที่<WBR>แปรพระ<WBR>ราชฐาน<WBR> เพื่อพัก<WBR>ผ่อนพระ<WBR>อิริ<WBR>ยาบท<WBR>และ<WBR>ทดลอง<WBR>ปลูก<WBR>ธัญพืช<WBR>ต่าง ๆ<WBR> โดย<WBR>จัดให้<WBR>สร้าง<WBR>พระ<WBR>ตำหนัก<WBR>ขึ้น<WBR>เป็นที่<WBR>ประทับ<WBR> พระ<WBR>ราชทาน<WBR>นามว่า<WBR> "พระ<WBR>ตำหนัก<WBR>พญา<WBR>ไท<WBR>" ต่อมา<WBR>เมื่อทรง<WBR>โปรดที่<WBR>จะ<WBR>เสด็จ<WBR>ประพาส<WBR>พระ<WBR>ตำหนัก<WBR>แห่งนี้<WBR>บ่อยครั้ง<WBR>ขึ้นจึง<WBR>ได้<WBR>พระ<WBR>ราชทาน<WBR>นามใหม่<WBR>เป็น<WBR> "วัง<WBR>พญา<WBR>ไท<WBR>" <DD>ล่วงมา<WBR>ในรัช<WBR>สมัย<WBR>ของพระ<WBR>บาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระ<WBR>มงกุฎ<WBR>เกล้าเจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR> รัช<WBR>กาลที่<WBR> ๖<WBR> ทรงโปรด<WBR>เสด็จ<WBR>มา<WBR>ประทับ<WBR> ณ วัง<WBR>พญาไท<WBR> แห่งนี้<WBR>เป็น<WBR>ครั้งคราว<WBR> ในกลาง<WBR>ปีพุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๖๓<WBR> ทรงโปรด<WBR>เกล้าฯ<WBR> ให้สร้าง<WBR>พระ<WBR>ตำหนัก<WBR>องค์น้อย<WBR>ขึ้นที่<WBR>ริมคลอง<WBR>พญาไท<WBR> เป็น<WBR>เรือนไม้<WBR>สัก<WBR>สองชั้น<WBR> พระ<WBR>ราชทาน<WBR>นามว่า<WBR> "พระ<WBR>ตำหนัก<WBR>เมขลา<WBR>รูจี<WBR>" เมื่อได้<WBR>ดำเนิก<WBR>การ<WBR>ก่อสร้าง<WBR>แล้วเสร็จ<WBR> ได้มี<WBR>พระราช<WBR>พิธี<WBR>เฉลิม<WBR>พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR> ใน<WBR>วันที่<WBR> ๑๖ - ๑๗<WBR> พฤศ<WBR>จิกายน<WBR> พุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๖๕<WBR> โดย<WBR>โปรดเกล้าฯ<WBR> พระ<WBR>ราชทาน<WBR>นามว่า<WBR> "พระราช<WBR>วัง<WBR>พญาไท<WBR>" พระ<WBR>ราชวัง<WBR>พญาไท<WBR> เป็น<WBR>สถา<WBR>ปัตย<WBR>กรรม<WBR>แบบ<WBR>ยุโรป<WBR> ประกอบ<WBR>ด้วย<WBR> มวลหมู่<WBR>พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR>จำนวน<WBR> ๕ องค์<WBR> ได้แก่<WBR>พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR>ไวกูณ<WBR>ฐเทพ<WBR>สถาน,<WBR> พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR>พิมาน<WBR>จักรี,<WBR> พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR>ศรี<WBR>สุทธ<WBR>วาส,<WBR> พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR>เทวราช<WBR>สภารมย์,<WBR> พระ<WBR>ที่นั่ง<WBR>อุดม<WBR>วราภรณ์<WBR> ในส่วน<WBR>ด้านหลัง<WBR>ของ<WBR>มวลหมู่<WBR>พระที่นั่ง<WBR> เป็นสวน<WBR>แบบ<WBR>สถาปัต<WBR>ยกรรม<WBR>เรอเนาซอง<WBR>เรียกว่า<WBR> "สวน<WBR>โรมัน<WBR>" <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><DD>ที่พระ<WBR>ราชวัง<WBR>พญาไท<WBR>แห่งนี้<WBR>เอง<WBR> พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระมง<WBR>กุฎเกล้า<WBR>เจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR>โปรดเกล้าฯ<WBR> ให้<WBR>สร้างเมือง<WBR> "ดุสิต<WBR>ธานี<WBR>" เพื่อปู<WBR>พื้นฐาน<WBR>การ<WBR>ปกครอง<WBR>ระบอบ<WBR>ประชา<WBR>ธิปไตย<WBR> แก่<WBR>ประชาชน<WBR>ชาว<WBR>สยาม<WBR> ซึ่งได้<WBR>ย้ายมา<WBR>จากพระ<WBR>ราชวัง<WBR>ดุสิต<WBR> มาก่อ<WBR>ตั้งใหม่<WBR>ให้กว้าง<WBR>ขวางขึ้น<WBR> ตั้งแต่<WBR>เดือน<WBR>ธันวา<WBR>คม<WBR> พุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๖๒
        [​IMG] <DD>ท้าว<WBR>หิรัญ<WBR>พนาสูร<WBR> เชื่อว่า<WBR>เป็น<WBR>อสูร<WBR>ผู้มี<WBR>สัมมา<WBR>ทิษฐิ<WBR> และ<WBR>สัมมา<WBR>ปฏิบัติ<WBR>เป็นชาย<WBR>รูปร่าง<WBR>ล่ำสัน<WBR>ใหญ่โต<WBR> คอย<WBR>ติดตาม<WBR>ป้องกัน<WBR>ภยัน<WBR>ตราย<WBR>ทั้งปวง<WBR>ให้กับ<WBR>พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระมง<WBR>กุฎเกล้า<WBR>เจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR> มิให้<WBR>กล้ำกราย<WBR>พระองค์<WBR>และข้า<WBR>ราช<WBR>บริพาร<WBR> ปีพุท<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๖๕<WBR> ได้ทรง<WBR>โปรดเกล้าฯ<WBR> ให้<WBR>ช่างหล่อ<WBR>รูปท้าว<WBR>หิรัญ<WBR>พนาสูร<WBR>ขนาด<WBR>ใหญ่ด้วย<WBR>ทอง<WBR>สัมฤทธิ์<WBR>เป็นศาล<WBR>เทพา<WBR>รักษ์<WBR>ประจำ<WBR>พระราช<WBR>วัง<WBR>พญาไท<WBR> <DD>ในปลาย<WBR>สมัย<WBR>พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระมง<WBR>กุฎเกล้า<WBR>เจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR> พระองค์<WBR>ทรงมี<WBR>พระบรม<WBR>ราโชบาย<WBR>ที่จะ<WBR>เปลี่ยนแปลง<WBR>พระราช<WBR>วัง<WBR>พญาไท<WBR>เป็น<WBR>โรงแรม<WBR> [​IMG]เพื่อพระ<WBR>ราชทาน<WBR>ความ<WBR>สะดวก<WBR>ให้กับ<WBR>ชาวต่าง<WBR>ประเทศ<WBR>ที่เข้า<WBR>มา<WBR>ติดต่อ<WBR>ค้าขาย<WBR>ขณะที่<WBR>จะเริ่ม<WBR>ดำเนิน<WBR>การ<WBR>ดังกล่าว<WBR> พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระมง<WBR>กุฎเกล้า<WBR>เจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR> ทรงพระ<WBR>ประชวร<WBR>แล้ว<WBR>เสด็จ<WBR>สวรรคต<WBR> พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระปก<WBR>เกล้าเจ้า<WBR>อยู่หัว<WBR> รัชกาล<WBR>ที่ ๗<WBR> ได้พระ<WBR>ราชทาน<WBR>พระ<WBR>บรม<WBR>ราชา<WBR>นุญาต<WBR>ให้<WBR>สมเด็จ<WBR>พระเจ้า<WBR>พี่ยาเธอ<WBR> กรมพระ<WBR>กำแพง<WBR>อัคร<WBR>โยธิน<WBR> ดำเนิน<WBR>การ<WBR>ปรับปรุง<WBR>เป็น<WBR>โรงแรม<WBR>ชั้นหนึ่ง<WBR>นามว่า<WBR> "โฮเต็ล<WBR>พญาไท<WBR>" ดำเนิน<WBR>การ<WBR>ได้เพียง<WBR> ๕ ปี<WBR> จึงเลิก<WBR>กิจการ<WBR> ในปี<WBR>พุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๗๓<WBR> ได้เปลี่ยน<WBR>เป็น<WBR>สถานี<WBR>วิทยุ<WBR>กระจาย<WBR>เสียง<WBR> โดยใน<WBR>พิธี<WBR>เปิดซึ่ง<WBR>ตรงกับ<WBR>วันพระ<WBR>ราช<WBR>พิธี<WBR>ฉัตร<WBR>มงคล<WBR> ได้มี<WBR>การ<WBR>อัญเชิญ<WBR>กระแส<WBR>พระราช<WBR>ดำรัส<WBR>ของ<WBR>ล้นเกล้าฯ<WBR> รัชกาล<WBR>ที่ ๗<WBR> ถ่ายทอด<WBR>เข้าเครื่อง<WBR>ส่งที่<WBR>สถานี<WBR>พญาไท<WBR> นับเป็น<WBR>ครั้งแรก<WBR>ที่มี<WBR>การถ่าย<WBR>ทอดสด<WBR>เสียงทาง<WBR>วิทยุ<WBR>ในประ<WBR>เทศไทย<WBR> <DD>ครั้นถึง<WBR>พุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๗๕<WBR> เกิดการ<WBR>เปลี่ยนแปลง<WBR>การ<WBR>ปกครอง <WBR>รัฐบาล<WBR>ได้ย้าย<WBR>สถานี<WBR>วิทยุ<WBR>กลับไป<WBR>ที่<WBR>ศาลา<WBR>แดงและ<WBR>ให้กอง<WBR>เสนา<WBR>รักษ์<WBR>จังหวัด<WBR>ทหาร<WBR>บก<WBR>กรุงเทพฯ<WBR> ซึ่งเป็น<WBR>สถาน<WBR>พยาบาล<WBR>กองทัพ<WBR>บกเข้า<WBR>มาอยู่<WBR>แทน และ<WBR>ได้<WBR>พัฒนา<WBR>เป็น<WBR>โรง<WBR>พยาบาล<WBR>ทหารบก<WBR>ใน<WBR>เวลา<WBR>ต่อมา<WBR> เนื่องจาก<WBR>สถาน<WBR>ที่แห่ง<WBR>นี้ เคย<WBR>เป็นพระ<WBR>ราชวัง<WBR>ของ<WBR>ล้นเกล้าฯ<WBR> รัชกาล<WBR>ที่ ๖<WBR> มา<WBR>แต่เดิม<WBR> และเพื่อ<WBR>เป็นการ<WBR>เฉลิม<WBR>พระเกียรติ<WBR>กอง<WBR>ทัพบก<WBR>จึงขอ<WBR>พระราช<WBR>ทานพระ<WBR>บรม<WBR>ราชา<WBR>นุญาติ<WBR>เปลี่ยน<WBR>ชื่อเป็น<WBR> "โรง<WBR>พยาบาล<WBR>พระมง<WBR>กุฎเกล้า<WBR>" นับ<WBR>ตั้งแต่<WBR>วันที่<WBR> ๒๕<WBR> พฤศ<WBR>จิกายน<WBR> พุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๔๙๕<WBR> เป็น<WBR>ต้นมา<WBR> ปีพุทธ<WBR>ศักราช<WBR> ๒๕๑๒<WBR> โรง<WBR>พยาบาล<WBR>พระมง<WBR>กุฎเกล้า<WBR> ได้ย้าย<WBR>ที่<WBR>ทำการ<WBR>ไปอยู่<WBR> ณ<WBR> อาคาร<WBR>หลังใหม่<WBR> โดยกรม<WBR>แพทย์<WBR>ทหารบก<WBR>ได้<WBR>เข้ามา<WBR>ตั้งกอง<WBR>บัญชา<WBR>การ<WBR>อยู่แทน.<WBR> <CENTER>[​IMG]
        </CENTER><CENTER>[​IMG][​IMG]
        </CENTER></DD>
     
  7. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    อานิสงส์สติปัฏฐาน ๔

    ปัญหา การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

    พระอนุรุทธะตอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  8. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    หนังสือ
    [​IMG]
    โดยคุณ ดังตฤณ
    Download เป็น PDF ไฟล์

    จัดทำโดย ขนิษฐา ทรัพย์ปรีชา

    ที่มา >>ClickHere<<​




    ลองอ่านกันดูนะครับน่าสนใจดีเลยนำมาฝากครับ

    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    น้องโอ๊ต
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    นำมาลงให้ได้คิดกันก่อนวันสงกรานต์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    อ่านแล้วอย่าเครียด ตั้งใจนำฝากสลับฉากกับธรรมะ เพราะนี่คือโลกแห่งความเป็นจริง อยู่ที่ว่าผู้ใดจะใช้ปัญญาอย่างไรพลิกแพลงกับการดำเนินชีวิต แล้วหาเวลาก้าวล่วงเข้าสู่ธรรมะปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อสร้างตบะ เดชะ และบารมีข้ามภพชาติติดตัวไป ถ้าทำได้นับว่าเป็นยอดคน และสมกับเป็นมนุษย์สุดประเสริฐ ประเภท มามืดไปสว่าง หรือมาสว่างไปสว่าง หรือถ้าจะให้ง่ายคือบัวพ้นน้ำนั่นเอง
    คาถาบูชาผัว
    รักผัว ต้องให้ผัว หมดทั้งตัว หมดทั้งใจ
    รักผัว ต้องอ่อนไหวผัวว่าไง ต้องว่าตาม
    รักผัว ต้องเคารพ ต้องประจบ ไม่ลามปาม
    รักผัวต้องคล้อยตาม ไม่วู่วาม คอยเอาใจ
    รักผัว ต้องอดทน ผัวเป็นคน ไม่ยอมใคร
    รักผัวต้องทำใจ ใช่ผัวใคร ก็ผัวเรา
    รักผัว ต้องหมั่นสวย เดี๋ยวจะซวยผัวไม่เอา
    รักผัว ต้องคอยเฝ้า ถึงผัวเมา ก็ตามใจ
    รักผัว ต้องฝึกฝน ผัวเป็นคนชอบของใหม่
    รักผัว ต้องเข้าใจ ผัวไปไหน อย่าห้ามปราม
    รักผัว ต้องแข็งแรงต้องพลิกแพลง ให้วาบหวาม
    รักผัว ต้องทุกยาม ไม่ซักถาม ให้กวนใจ
    รักผัวต้องกล้าเสีย ยกน้องเมีย ให้ผัวไป
    รักผัว ต้องสนใจ ผัวเป็นไงต้องคอยดู
    รักผัว ต้องพูดง่าย ไม่โวยวาย ไม่ลบหลู่
    รักผัว ต้องเฝ้าดู หาอีหนูมาเอาใจ
    รักผัว ต้องเชื่อฟัง ผัวเสียงดัง ต้องทนไหว
    รักผัว ต้องรู้ใจผัวอยากได้ ต้องหามา
    รักผัว ต้องใจเย็น ผัวเป็นเช่น เทวดา
    รักผัว ต้องบูชาผัวมีค่ากว่าสิ่งใด
    รักผัว ต้องรักเดียว อย่าไปเที่ยว รักผัวใคร
    รักผัวต้องแน่ใจ ผัวของใคร ก็ของมัน
    รักผัว ต้องแน่วแน่ ต้องรักแท้ผัวของฉัน
    รักผัว ต้องยึดมั่น ทุกข้อนั้นสำคัญเอย.....<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คาถาบูชาเมีย
    รักเมียต้องอดทนต้องเป็นคนเคารพเมีย
    รักเมียต้องส่งเสียอย่าให้เมียต้องสงสัย
    รักเมียต้องรักเดียวอย่าได้เที่ยวไปรักใคร
    รักเมียต้องทำใจถึงอย่างไรเธอก็เมีย
    รักเมียอย่าขี้เหล้าถ้าเมียเหงาเราจะเสีย
    รักเมียอย่าอ่อนเพลียคนรักเมียต้องเข็งแรง
    รักเมียอย่าเที่ยวดึกจะเกิดคึกผิดสำแดง
    รักเมียอย่ารุนแรง ค่อย ๆ แซงอย่าขับไว
    รักเมียต้องยอมเมียเพราะว่าเมียไม่ยอมใคร<O:p</O:p
    รักเมียต้องยอมเมียเพราะว่าเมียไม่ยอมใคร<O:p</O:p
    รักเมียต้องเข้าใจไม่มีใครใหญ่กว่าเมีย
    รักเมียอย่าเถียงเมียคำพูดเมียใหญ่กว่าใคร
    ชาติหน้ามีฉันใด จงจำไว้อย่ามีเมีย....<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  11. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เมื่อวานทางพี่ใหญ่บอกข่าวดีมาว่า ตอนนี้ศิษย์รุ่นใหญ่ รุ่นแรกๆ ของอาจารย์ประถม ที่ได้เก็บสะสมพระกรุหลวงปู่โลกอุดรไว้เป็นเวลานับสิบปี เป็นพระกรุแรกๆที่ยังไม่มีการปลอมจนเกลื่อน แยกไม่ออกเหมือนปัจจุบัน ได้นำพระดังกล่าวมามอบให้ สำหรับแจกผู้ทำบุญกับทุนนิธิฯ ทางคณะกรรมการจะประชุมและกำหนดหลักเกณฑ์การแจกและจะแจ้งให้ทราบครับ

    โมทนากับคุณลุงใจดีที่นำพระมามอบให้กับพวกเราครับ ถ้าท่านนำไปขายคงได้หลายอยู่ แต่คณะเราไม่ขายพระกิน เพราะได้ไม่คุ้มเสีย แจกฟรีอย่างเดียว ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง พวกข้าได้ ไม่ใช่พวกข้าไม่ให้ ไม่มีกับคณะเรา เสมอภาพครับ นำเฉพาะบุญมาวัดเท่านั้นว่าท่านใดจะได้ครับ



     
  12. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พี่พันวฤทธิ์ นำเรื่องฤกษ์มาโพส ก็จะขอต่อให้อีกนิดว่า การสร้างพระชุดสองของทุนนิธินี้ ได้ประสบกับความมหัศจรรย์แห่งฤกษ์ ที่ไม่น่าเชื่อหลายอย่าง ทั้งการ จูน กันระหว่างตำราฤกษ์ของมนุษย์ และการกำหนดฤกษ์ของเบื้องบนผ่านทางพี่ใหญ่ ที่ตรงกัน อย่างน่าประหลาดใจ ทำให้เป็นพระที่มีอิทธิคุณวิเศษ มีน้อยเต็มทีในแผ่นดินนี้ ที่จะหาพระลักษณะนี้ได้ คงบอกอะไรได้ไม่มากเพราะเป็นความลับของสวรรค์ครับ
     
  13. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    ช่วงเช้าวันนี้จะโอนเงิน 200 บาทร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ โอนเงินแล้วจะแจ้งบอกอีกทีครับ โมทนากับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เรื่องการขอบารมีเสกพระตามฤกษ์ข้างต้น อานุภาพรุนแรงมาก ไม่กล้าพูด แต่พระของหลวงปู่ใหญ่ พอไหว หากแจก คงแจกท่านละองค์ คราวนี้ดูงบการจัดส่งก่อนไม่อยากให้กวนน้องๆ อีก เพราะต่อไปรายการแจกฟรี จะเยอะ อาจจะเปิดบัญชีต่างหากไว้ให้ เพราะพวกขอฟรี ทีละ 5-10 องค์ บวกค่าจัดส่งอีก แต่หลังจากนั้นไม่เคยเข้ามาดูกระทู้ ไม่เคยโมทนาคณะกรรมการฯ เห็นว่าครั้งนี้ คงปล่อยให้ท่านเหล่านั้นมาเอาเปรียบ เงินที่จะต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ทุนนิธิฯ ที่ต้องการบริจาคให้ สงฆ์อาพาธมากกว่านี้ไม่ได้ อาจจะรบกวนขอค่าจัดส่งตามราคาจริงเท่านั้น ส่วนพระพิมพ์มูลค่าเท่าใดไม่คิด เพราะแจกฟรีตามคำสั่ง และปณิธานอยู่แล้วครับ เอาไว้ใกล้ๆ จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง ขอย้ำนะครับ ไม่เคยเข้ามาดู ไม่เคยโมทนาบุญให้ผู้ที่เสียสละให้สงฆ์อาพาธ แต่จู่ๆ มาขอพระ คราวนี้ขอใช้สิทธิประธานฯ ครับ ไม่ให้ ส่วนผู้ที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ต้องได้ ครับ ขอยืนยัน เพราะรายชื่อมีพร้อมแล้ว
     
  15. kratium

    kratium เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +3,670
    นำพรดีๆมาฝากกัน ขอให้มีความสุข และเบิกบานใจค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    วันนี้ 19 มีนาคม 2551 เวลา 08:37 น. ได้โอนเงินเข้าบัญชีร่วมทำบุญแล้วครับ 200 บาท
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ความมุ่งหมายของการฟังธรรม
    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)

    ความมุ่งหมายของการฟังธรรมนั้น มีอยู่ 5 ประการ คือ
    ฟังธรรมเอาบุญ
    ฟังธรรมเอาความรู้
    ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย
    ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ
    ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ

    1. ฟังธรรมเอาบุญ หมายความว่า ฟังธรรมแล้วได้บุญ บุญแปลว่า ชำระ คือ ชำระกายวาจาใจให้สะอาด เพราะกายวาจาใจของคนเราเปื้อนบาป จึงจำเป็นต้องชำระด้วยน้ำ คือ บุญ ดุจชำระเสื้อผ้าที่สกปรกด้วยผงซักฟอกฉะนั้น
    บาปนั้นมีอยู่ 3 ขั้น คือ บาปอย่างหยาบ 1 บาปอย่างกลาง 1 บาปอย่างละเอียด 1
    บาปอย่างหยาบ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ล่วงออกมาทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี และล่วงออกมาทางวาจา เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เป็นต้น ต้องชำระด้วยบุญขั้นต้นคือ ศีล
    บาปอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่ กามฉันทะ พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ 1 พยาบาท ใจโกรธ ใจขุ่น 1 ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน 1 อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญ 1 วิจิกิจฉา สงสัยลังเลใจ 1 บาปทั้ง 5 นี้ ต้องชำระด้วยบุญอย่างกลาง คือ สมาธิ
    บาปอย่างละเอียด คือ อนุสัย ได้แก่กิเลสที่นอนดองอยู่ในใจ ดุจขี้ตะกอนอยู่ก้นตุ่มฉะนั้น มีอยู่ 12 ตัว คือโลภะ 8 โทสะ 2 โมหะ 2 อันเป็นส่วนละเอียดติดมาแต่ภพก่อนชาติก่อน ต้องชำระด้วยบุญขั้นละเอียด คือ วิปัสสนาปัญญา
    ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังธรรมอยู่ในขณะนี้ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 ของแต่ละท่านก็บริสุทธิ์เพราะอำนาจแห่งศีล ศีลแปลว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อย ศีลนี่แหละเป็นบุญขั้นต้น เป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นแม่ของคุณงามความดีทั้งหลาย และเป็นประมุขของกุศลธรรมทั้งปวง จะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ตาม ถ้าตั้งใจฟังแล้วได้บุญทั้งนั้น
    เพราะจิตดวงนี้เป็นมหากุศล ถ้าตายลงในขณะนี้ก็มีผลให้ไปมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดสวรรค์ก็ได้ เช่น แม่ไก่ฟังธรรมถูกฆ่าตาย ได้ไปเกิดเป็นพระราชธิดา กบฟังธรรมถูกฆ่าตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่า มัณฑูกเทพบุตร ค้างคาว 500 ตัว ฟังพระอภิธรรม ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ ผลสุดท้ายได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ออกบวชเป็นพระ ได้ฟังพระอภิธรรม ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่า ฟังเอาบุญ
    2. ฟังธรรมเอาความรู้ หมายความว่า ฟังแล้วต้องจำได้ ใครจำได้มากเท่าไร ก็เป็นความรู้ของคนนั้น ถ้าจำไม่ได้ต้องจดไว้ บันทึกไว้ หรืออัดใส่เทปไว้ เปิดฟังบ่อยๆ ฟังจนจำได้ สมดังคำโบราณท่านสอนลูกหลานไว้ว่า

    เห็นแล้วจดไว้
    ทำให้แม่นยำ
    เหมือนทราบแล้วจำ
    ไว้ได้ทั้งมวล
    เมื่อหลงลืมไป
    จักได้สอบสวน
    คงไม่แปรปรวน
    จากที่จดลง
    3. ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย หมายความว่า ในขณะที่ฟังอยู่นั้น ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง มีเสียงอื่นรบกวน ทำให้หนวกหูบ้าง ง่วงนอนบ้าง กำลังทำกิจอย่างอื่น เช่น ล้างถ้วยล้างชามบ้าง โขลกหมากบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นบุญอยู่ ตัวอย่าง ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ งูเหลือมตัวหนึ่งได้ยินเสียงพระนักอภิธรรมกำลังท่องอายตนะกถาอยู่ ถือเอานิมิตในเสียงนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระพุทธเจ้าของเราปรินิพพานแล้ว ได้มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ออกบวชเป็นอาชีวกชื่อว่า ชนะโสณะ ได้ฟังธรรมย่อๆในหัวข้อว่า "อายตนะ" จากพระอุปคุตตเถระ ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างแก่กล้า ขอบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เรียนพระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์
    4. ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ หมายความได้ 2 อย่าง คือ ฟังแล้วจำไว้ มีโอกาสเมื่อใดก็นำไปปฏิบัติได้เมื่อนั้น นี้อย่างหนึ่ง ถ้าเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนา สามารถฟังไปปฏิบัติไปพร้อมกันได้เลย เพราะในขณะที่ได้ยินเสียงพระแสดงธรรมอยู่นั้น ขันธ์ 5 เกิดแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาเกิดแล้ว คือเสียงกับหูเป็นรูปขันธ์ ได้ยินเสียงธรรมะแล้วสบายใจ เป็นเวทนาขันธ์ จำได้เป็นสัญญาขันธ์ แต่งให้เห็นว่าดีหรือไม่ดีเป็นสังขารขันธ์ ได้ยินเป็นวิญญาณขันธ์ ย่อให้สั้นๆก็ได้แก่รูปกับนาม รูปนามนี้แหละเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ดังนั้น นักปฏิบัติวิปัสสนาจึงลงมือปฏิบัติได้ทันที โดยตั้งสติไว้ที่หู ตัวอย่าง พาหิยะทารุจีริยะ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า "ได้ยินก็สักว่าแค่ได้ยิน" ไม่ช้าท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    5. ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ หมายความว่า เราตั้งใจฟังธรรมได้บุญแล้ว ก็อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ บิดามารดา ครู อาจารย์ ท่านผู้มีบุญคุณ ท่านผู้มีพระคุณ

    พระธรรมเทศนา อริยธนกถา โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร 2524 อนุสรณ์....คุณหญิงเจือ นครราชเสนี
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    งานทำบุญที่ รพ.สงฆ์วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2551 คณะกรรมการฯ ขอแจ้งการประมาณการงบค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับกิจกรรมในเดือนนี้ ดังนี้

    1. บริจาคสำหรับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์สำหรับสงฆ์อาพาธของ รพ. ซึ่งเป็น การบริจาคเข้าส่วนกลางของ รพ. จำนวนเงิน 7,500.- บาท

    2. บริจาคซื้อเลือดสำหรับสงฆ์อาพาธที่ต้องใช้เลือดในการบำบัดรักษา จำนวนเงิน 7,500.- บาท

    3. บริจาคเป็นค่าภัตตาหารเช้าแบบกล่อง สำหรับพระจำนวน 200 รูป (เดิม 120 รูป แต่ทาง รพ.แจ้งว่าช่วงนี้มีพระสงฆ์อาพาธมากขึ้น) เป็นสังฆทานอาหาร สำหรับฉันเช้า จำนวนเงิน 5,000.- บาท

    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,000.- บาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เบิกเงินจากบัญชีทุนนิธิฯ ไว้เรียบร้อยแล้ว และจะได้นำใบอนุโมทนา และรูปภาพการดำเนินกิจกรรม post ไว้หน้ากระทู้ให้ได้ทราบต่อไป

    เนื่องจากจำนวนพระที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก ราว 80 รูป ดังนั้น หากใครมีเวลาพอ คณะกรรมการฯ จึงใคร่ขอแรงทุกท่านที่สนใจไปช่วยกันประเคนสังฆทานซึ่งเป็นภัตตาหารมื้อเช้าและรับโมทนาบุญจากท่านด้วยครับ โดยเจอกันที่โรงอาหารด้านขวามือทางเข้าของ รพ. ช่วงเวลา 7.00 น.- 7.30 น. หรือท่านจะพาครอบครัวไปด้วยก็ยิ่งดีครับ

    พันวฤทธิ์
    19/3/51
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2008
  19. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญครับ *เดือนนี้เป็นเดือนเกิดของคุณพ่อ*ผมและครอบครัวจะส่งเงินร่วมทำบุญด้วย แล้วจะใอนเงินให้ครับ
     
  20. teerins

    teerins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +1,796
    วันนี้เวลา 19.36 น. ผมโอนเงินไปร่วมทำบุญจำนวน 209 บาทครับ
    สำหรับวันอาทิตย์นี้เข้ากรุงเทพฯ ถ้าไม่ติดอะไร จะไปร่วมถวายประเคน
    ภัตตาหารด้วยคนครับ

    อนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...