คิดอย่างไร??ตัดโอกาสความเศร้าหมองสิ้นเชิง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 23 สิงหาคม 2013.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ต้องเดินจงกรม
    หรือไม่ก็นั่งกรรมฐาน
    เท่านั้น!!!

    ขอแค่"อนุสสติ"ควบคุมความคิด
    จะได้ผลไหมคับ??
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    -------------------------------คบสัปบุรุษ ยังให้ ฟังสัทธรรม ยังให้ ศรัทธา ยังให้ โยนิโสมนสิการ ยังให้ สติสัมปชัญญะ ยังให้ อินทรีย์สังวรณ์ ยังให้ สุจริตสาม ยังให้ สติปัฎฐานสี่ ยังให้โพชฌงค์เจ็ด ยังให้ วิชชา และ วิมุติ บริบูรณ์.............
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เรียนว่าทราบดีว่าธรรมอุปการะกัน
    เป็นขั้นๆ แต่ปฏิบัติไม่ได้
    แต่ครั้นจะหนีก็หนีไม่ออก

    ขอตั้งหลักก่อนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2013
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เครดิตเวปจิตใส

    อนุสสติ แปลว่า "ตามระลึกถึง" กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
    มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
    บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน ๔ และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ เมื่อถึง
    กรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใด จะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ก็เหมาะแก่อารมณ์
    ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวด
    ก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปใน
    ราคจริตกองใด
    หมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใด ก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ อนุสสตินี้
    มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    (อนุสสติทั้ง ๖ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)

    ๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
    (อนุสสติ ๒ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)

    ๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคะจริต
    ๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต

    อนุสสติทั้ง ๑๐ นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฏิบัติแต่ละอย่างดังนี้ ขอท่านนักปฏิบัติ
    พึงทราบ และเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยของตน จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ตั้งมั่น รวดเร็ว ไม่ล่าช้า
     
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    มีผู้ใดแย้งบ้างครับ!!!
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    Neoworld ไปถาม telwada เข้าหรือ ทำไม telwada แยกกระทู้ออกไป แล้วบอกว่า neoworld ไปถามเขา
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    หากระทู้ไม่พบ เลยไม่ทราบความเกี่ยวโยง
    เเต่มีถามบ้างที่เป็นเรื่องการคิดอย่างเป็นกุศล
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ตามไปเจอกระทู้เเยกในหลุมดำเเล้ว
    ใช่ครับ ผมไปถามเขาประมาณนี้เลย!?!?
     
  9. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ๑ ปฏิบัติถึงก็ได้เอง ๒ ผู้ปฏิบัติไม่ถึง ต้องทำอย่างไร

    ขออนุญาตครับ

    เห็นท่าน Neoworld เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ เลยอยากจะตอบให้
    ก่อนอื่นขอแยกยกข้อความสำคัญออกมาก่อน

    ขอยกข้อความสำคัญออกมาอีกที

    ขออนุญาต สรุปคำถาม สรุปคำตอบเลยนะครับ

    ๑ ผู้ปฏิบัติถึง ก็ได้เอง ก็รู้เอง ก็เห็นเอง

    ๒ ผู้กำลังปฏิบัติ แต่ยังไม่ถึง แต่ยังไม่ได้ ต้องทำอย่างไร

    ๑ ผู้ปฏิบัติถึง ก็ได้เอง ก็รู้เอง ก็เห็นเอง

    การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น เป็นการสะสม กำลังสติ กำลังสมาธิ ให้เต็มก่อน จึงจะทำอย่างอื่นต่อไปได้

    ถ้า กำลังสติ กำลังสมาธิยังไม่พอ ก็ให้พยายามซ้ำอยู่ตรงนั้น อย่าเพิ่งเดินหน้าต่อไป

    เมื่อกำลังสติ กำลังสมาธิ เต็มแล้ว พอแล้ว จิตจะเริ่มคิด (คิดในตอนที่จิตเป็นสมาธิ)

    เมื่อจิตเริ่มคิด ก็คือ มีคำถามเกิดขึ้นมาในจิต
    เมื่อกำลังสติ กำลังสมาธิ เต็มแล้ว พอแล้ว จิตก็จะมีคำตอบผุดขึ้นตามมา (คำตอบผุดขึ้นในตอนที่จิตเป็นสมาธิ)

    และจะเป็นจิตหนึ่งถาม แล้วจิตหนึ่งจะตอบคำถามนั้น ต่อเนื่องกันไป เป็นลูกโซ่ๆ

    เมื่อกำลังสติ กำลังสมาธิ อ่อนล้าลง เนื่องจาก การใช้กำลังสติ กำลังสมาธิ ไปในการหาคำตอบ

    สมาธิก็จะถอนออกมา ก็ให้กลับไปภาวนา เพื่อเพิ่มกำลังสติ กำลังสมาธิ สะสมขึ้นมาใหม่

    ทำเช่นนี้ สลับกันไปเรื่อยๆ ทุกครั้ง ที่ปฏิบัติสมาธิภาวนา

    เมื่อปฏิบัติมากขึ้นๆ กำลังสติ กำลังสมาธิ ก็จะกล้าแกร่งขึ้น
    แล้ว กำลังสติ กำลังสมาธินั้น ก็จะค่อยๆเข้าครอบครองในจิต มากขึ้นๆ

    ตั้งแต่วันละ สองสามนาที ไปจนถึง ครอบคลุมตลอดเวลาที่ยังตื่นอยู่ (เว้นเวลานอนหลับ)

    ในช่วงที่กำลังสติ กำลังสมาธิ ครอบคลุมจิตอยู่นี้ จิตก็จะคิดแต่เรื่อง กุศล
    เรื่อง อกุศล ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

    เพราะสติ จะตัดออกไปก่อนที่จะเริ่มมีความคิดที่เป็นอกุศล

    ๒ ผู้กำลังปฏิบัติ แต่ยังไม่ถึง แต่ยังไม่ได้ ต้องทำอย่างไร

    ก็ต้องอาศัย สติ ที่มีกำลัง ตามมี ตามเกิด คอยเตือนตนไปก่อน
    ต้องอาศัย ความจำว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล แล้วเลือกปฏิบัติไป
    ตามความเหมาะสม ตามสะภาพแวดล้อม ไปก่อน
    ได้เท่าไร เอาเท่านั้นไปก่อน

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การท่องพระคาถาชินบัญชร เพื่อให้จิต สำรวมระวัง และละอายต่อบาป

    วิธีถัดมาคือ การท่อง กุศลกรรมบทสิบ พร้อมการขอขมาไปด้วย

    วิธีถัดมาคือ การท่อง มรรคองค์ที่ ๖ สัมมาวายาโม (ความเพียร)



    "มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีสติ มีสัมปชัญญะ ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้"

    "เพียรละเลิก อกุศลกรรม อันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น"
    "เพียรละเลิก อกุศลกรรม อันเป็นบาป ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก"
    "เพียรกระทำ กุศลกรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น"
    "เพียรกระทำกุศลกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป"


    วิธีถัดมาก็คือ ท่องมงคล ๓๘ ให้ได้ พร้อมทำความเข้าใจ จะได้เตือนสติของตน

    ทำได้ตามนี้ ก็เหลือกิน เหลือใช้แล้วละครับ

    เรื่องสวดมนต์ แผ่เมตตา คงไม่ต้องบอก เพราะชาวพุทธน่าจะทำเป็นประจำอยู่แล้ว

    สรุป ทางหนึ่งก็ปฏิบัติสมาธิภาวนาไป อีกทางหนึ่ง ก็หมั่นท่อง หมั่นทำความเข้าใจ หมั่นเตือนสติตนเองไป ก็จะดีขึ้นแน่นอน

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ

    ลุงมหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ปฏิบัติแบบนี้ จะเห็นการเกิดของจิตไหม?
     
  11. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ความจริงเราจะเห็นการเกิดของจิต ตั้งแต่ตอน ภาวนา พุทธ-โธ แล้ว

    ขออนุญาตครับ

    การเกิดของจิต จะเห็นเป็นระยะๆ

    ระยะแรกๆ ตั้งแต่จิตเป็นสมาธิใหม่ๆ

    พอจิตเป็นสมาธิ เราก็จะเห็นว่า
    ท่ามกลางความเงียบสงบ มีความเย็นกาย เย็นใจเกิดขึ้น
    ก็จะมองเห็น แสงสว่างขาวนวล เหมือน คืนเดือนเพ็ญ ที่สว่างมากที่สุด

    จะมองเห็นตัวเองกำลังนั่งสมาธิอยู่ ท่ามกลางความสว่างนั้น

    แล้วเราก็จะเริ่มภาวนา พุทธ (หายใจเข้า) โธ (หายใจออก) ต่อไป
    เพราะเมื่อจิตเป็นสมาธิ ครั้งแรกๆ คำภาวนาจะหายไป
    ภาวนาอย่างไร ก็จะหายไป อยู่อย่างนั้น

    ก็ใ้ห็รวบรวมสติ ให้คุ้นเคยกับ ความเงียบ สงบ เย็นกาย เย็นใจ ให้คุ้นเคยกับความสว่าง นั้น

    สติจะค่อยๆเกิิดขึ้น จนสามารถ ภาวนา ในช่วงที่จิตเป็นสมาธิ นั้นได้ต่อไปได้

    ระยะต่อมา

    เมื่อเราภาวนา ในช่วงที่จิตเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ
    เราก็จะเริ่มมองเห็นจิตตนเอง มองเห็นการเริ่มต้น ภาวนา มองเห็นการสิ้นสุดของการภาวนา ในแต่ละรอบๆ

    เมื่อกำลังสติ กำลังสมาธิ มากขึ้นๆ เราก็จะมองเห็น การเริ่มต้น การเกิดของจิต (การเริ่มต้น ของการคิด)

    แรกๆ เมื่อเห็นการเกิดขึ้น ของจิต(รู้ว่า ความคิดเกิดขึ้น ได้อย่างไร รู้ว่าจิตคิดอะไรอยู่)
    ก็ให้ตามดู ตามรู้ ความคิดนั้นไปเรื่อยๆ
    เมื่อหมดกำลังสติ หมดกำลังสมาธิ ที่ได้สะสมไว้ จิตก็จะถอนออกมาจากการเข้าสมาธิ
    ก็อย่าปล่อยให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นได้ ให้รีบ ภาวนา พุทธ-โธ เพื่อสะสมกำลังสติ สะสมกำลังสมาธิขึ้นมาใหม่

    การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น แรกๆจะมีอาการ ๓ อย่างคือ

    ๑ การรู้ ลมหายใจ คือการรู้ว่า
    เราภาวนาว่า "พุทธ" เราเห็นว่า เรากำลังหายใจเข้า
    แล้วเราก็จะภาวนาว่า "โธ" เราเห็นว่า เรากำลังหายใจออก

    การรู้ลมหายใจในตอนนี้ สมาธิ ยังไม่เกิดขึ้น

    ๒ การรู้ ความคิด คือการรู้ว่า
    ขณะที่เราภาวนา พุทธ-โธ ๆ อยู่นั้น
    บางครั้ง จะหยุดภาวนา เพราะ เกิดมี ความคิดแทรกเข้ามา

    ถ้าความคิดแทรกเข้ามาขณะที่จิิต ยังไม่เป็นสมาธิ เรียกว่า จิตคิดฟุ้งซ่าน
    ก็ให้เรา้รีบกลับไปภาวนา พุทธ-โธ ๆ ต่อไป

    ถ้าความคิด แทรกเข้ามา ขณะที่จิตเป็นสมาธิ แล้ว
    เรียกว่า จิตอิ่มอารมณ์ ของการภาวนา จิตเบื่อ การภาวนา เพราะมันอิ่มแล้ว
    จิตก็อยากจะเดินปัญญา จึงได้มี ความคิดแทรกเข้ามา ในขณะที่จิตยังเป็นสมาธิอยู่
    ก็ให้ตามดู ตามรู้ความคิดนั้นไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปบังคับมัน โดยไม่ต้องไปคิดแข่งกับมัน
    เพราะถ้าไปบังคับมัน ไปคิดแข่งกับมันเมื่อไร สมาธิก็จะถอนออกมา
    ความคิดนั้นก็จะกลายเป็นความฟุ้งซ่านทันที

    เมื่อเราตามดู ตามรู้ ความคิดที่เกิดขึ้นในสมาธินั้น มากเข้าๆ
    จิตก็จะอิ่มอารมณ์ ของการตามดู ตามรู้ ความคิดในสมาธินั้น

    แล้วจิตก็จะ ตั้งคำถามขึ้นมาในจิตนั้น
    เมื่อมีการตั้งคำถามเกิดขึ้น ก็จะมีคำตอบ ผุดขึ้นตามมาในจิตนั้น

    นี่จึงเป็นการเริ่มต้นของปัญญา ที่เกิดขึ้นในจิต
    เราก็ตามดู ตามรู้ไปเรื่อยๆ

    เมื่อหมด กำลังสติ หมดกำลังสมาธิ ที่สะสมเอาไว้ จิตก็จะถอนออกจากสมาธิ
    เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิ เมื่อมีคำถามเกิดขึ้น และ หรือ มีคำตอบเกิดขึ้น
    ก็จะกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ขึ้นมาอีก

    ก็ให้กลับไป ภาวนา พุทธ-โธ ๆ ๆ เพื่อสะสมกำลังสติ สะสมกำลังสมาธิ ขึ้นมาใหม่

    ๓ การรู้ความว่าง ก็คือการรู้ว่า

    เมื่อเราภาวนา พุทธ-โธ ๆ ๆ ไป เมื่อสมาธิเกิดขึ้นใหม่ๆ กำลังสติของเรายังไม่พอ เราก็จะตกเข้าไปในความว่าง

    แรกๆที่เราตกเข้าไปในความว่างก็คือ การหลับขณะนั่งภาวนา

    มีสาเหตุเพราะ ยังไม่คุ้นเคยกับความว่างนั้น หรือ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงาน จิตก็จะหลบ ไปพักผ่อน อยู่ในความว่างนั้น

    ท่านนักปฏิบัติใหม่ๆ จะเห็นว่า ท่านนึกว่าท่านนั่งภาวนาแค่ ๕ นาที
    แต่ความเป็นจริง เวลาจริงได้ผ่านไปมากแล้ว ส่วนมากการตกไปในความว่างจะประมาณ ๒๕ นาที

    การตกอยู่ในความว่างนี้ สามารถเกิดได้ในขณะ เดินจงกลมได้ด้วย
    เพียงแต่การเกิดขณะเดินจงกลม เรียกว่า "เพลิดเพลินในธรรม"
    เพราะถ้าไม่มีสติ จะเดินจงกลมไม่ได้ เพราะถ้า จิตหลับ จะเดินจงกลมไม่ได้

    ซึ่งเป็นข้อดี ของการเดินจงกลมคือ ๑ สมาธิตั้งอยู่ได้นาน ๒ สะสมกำลังสติ ได้มากกว่า การนั่งสมาธิ

    ทุกครั้งที่จิตรับรู้ ในอาการต่างๆ เช่น รู้ลมหายใจ รู้ความคิด รู้ความว่าง ล้วนเกิดจากการที่ยังมีสติ มีกำลังสติ ทั้งสิ้น

    หมดกำลังสติเมื่อไร สมาธิคือ ความว่างจะเข้ามาแทรกทันที
    เมื่อจิต อิ่มอารมณ์ในความว่างนั้น เพราะจิต สะสมกำลังสมาธิจนพอเพียงแล้ว
    จิตก็จะถอนออกมาจาก ความว่างคือ ถอนออกมาจากสมาธินั้น
    เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิ ก็คือการมีสติเกิดขึ้น

    การปฏิบัติสมาธิภาวนา ที่ถูกต้อง ที่ได้ผลเร็วก็คือ การมีทั้งสติ การมีทั้งสมาธิ เกิดขึ้นพร้อมๆกัน

    ถ้ากำลังสมาธิ อ่อนกว่า กำลังสติ จิตก็จะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    ถ้ากำลังสติ อ่อนกว่า กำลังสมาธิ จิตก็จะตกอยู่ในความว่างนาน

    เมื่อเราปฏิบัติ สมาธิภาวนาไปๆ ก็จะเกิดอาการ รู้ลมหายใจ รู้ความคิด รู้ความว่าง สลับกันไป
    เพื่อเป็นการ สะสมกำลังสติ สะสมกำลังสมาธิ ให้เกิดความสมดุล ให้เหมาะแก่การพิจารณาธรรมต่อไป

    โดยทั่วไป "การเกิดขึ้นของจิต" มักจะหมายถึง "การรับรู้การผุดขึ้นของความคิด อย่างกระจ่างชัด"
    บางครั้งเรียกว่า "การเห็นจิต" เมื่อเริ่ม"เห็นจิต" แล้ว เราก็จะสามารถ ตามดู ตามรู้ "อาการคิดของจิต"นั้น
    ที่เรียกตามสติปัจฐาน๔ ว่า "จิตตานุปัสสนา สติปัจฐาน"

    หลักการปฏิบัตินั้น ได้อันไหน เอาเลย ไม่ต้องไปสนใจขั้นตอนใดๆ
    เพราะผมถามหลายๆท่านว่า "ปฏิบัติถึงไหน"
    มักจะได้คำตอบว่า "ยังไม่ผ่านอสุภะ"บ้าง "ยังไม่ผ่านเวทนา"บ้าง
    ผมก็เลยพูดไม่ออก บอกไม่ถูก

    เพราะความจริง เราเป็นฆราวาส ไม่ใช่พระ ไม่มีความจำเป็นต้อง พิจารณา อสุภะ
    เพราะความจริง เวทนา ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกๆคน

    เพราะความจริง ธรรม ไม่มีลำดับ ไม่มีขั้น ไม่มีตอน

    การรู้ธรรม เห็นธรรม มักเกิดจากผลการปฏิบัติสะสมมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติ ด้วย

    ขอโมทนา ขออนุโมทนา

    ลุงมหา
     
  12. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    กรณี ของลุงมหานั้น..เป็นการ ตังคประหาร ไปทีละอย่างๆ ทีละอย่างครับ
    เขาเรียกใช้สมาธิตัด กิเลส..ให้สงบระงับเป็นเรื่องๆไป
    เมื่อจิตคิด พิจราณาในข้อธรรมที่ยกขึ้นมาพิจราณา จนจิต-เข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยกำลังของความคิดที่มีสมาธิรองรับ หรือเราเรียกว่า วิปัสสนา
    ความคิดจะดิ่งนิ่งเข้าสู่เขต สมาธิเองหรือเรียกอีกอย่างว่า ปัญญานำสมาธิ จิตเขาจะเข้าใจ สงบระงับ เชื่อง จนเข็ด กับกิเลสนั้นๆหากขบปัญหาธรรมที่ยกขึ้นมาพิจราณาในขณะนั้นได้ขาด..และเราสังเกตุยืนยันกับตัวเองได้เลยครับเพราะปฏิเวธจะเกิด จะมีอาการจิตดังที่กล่าวข้างบน คือ เข็ด-กลัว-เชื่อง สงบระงับทันที เกิดปิติสังเวชน้ำตาไหลเพราะเข้าใจในธรรมที่ตนเองพิจราณา ครับ..
    ..สภาวะจิตสงบจะเกิดปฏิเวธตรงนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    ..ท่านแมว ผมมีสัมมาคารวะกับผู้สนทนา หรือผูมาใหม่เสมอ หากไม่มาด่าผมก่อน ผมไม่ยุ่งเลยครับ อีกอย่างผมพอรู้ว่าท่านมาดีและเป็นใคร ท่านแมว อย่ากังวลครับ
    ..ภาพพจน์ผม ไม่ค่อยดีเพราะมีกลุ่มคน ตั้งแก๊งค์มากำจัด-ร้องเรียน แต่หากคุณไล่ดูจะเกิดจาก..ผมถูกกระทำก่อนเสมอ ไม่เคยด่า-ว่าใครก่อนมีแต่โต้กลับ ผมมีสัมมาคารวะยังไงคัรบ
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    คำตอบจากสุงมหา ตอบโจทย์ซะอย่างเเจ่มเเจ้ง
    โดยลุงมหาได้กรุณายกวิธีประพฤติปฏิบัติมาโดย
    ละเอียดทีเดียว เป็นคำอธิบายที่ตอบโจทย์กระทู้นี้
    ว่าคิดอย่างไรตัดความเศร้าหมองสิ้นเชิง
    นั่นคือต้องพยายามไม่นำเครื่องเศร้าหมอง(กิเลส)
    เข้ามาสู่จิตใจ ด้วยการประพฤติปฏิบัติด้วยความเพียร
    ที่ปิดกั้นอกุศลกรรมด้วยกุศลกรรมต่างๆ สุดท้ายของ
    คำตอบคือการเจริญสติภาวนา ด้วยการนั่งสมาธิหรือเดินจงกรม
    เช่นเดียวกับที่ท่านpaetrix ได้เเสดงไว้อย่างสังเขป
    ขอขอบพระคุณเเละโมทนาบุญกับท่านทั้ง 2 ท่านครับ!?!?
     
  15. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    จิตตานุปัสสนา สำคัญที่อะไร?

    ที่การเกิดดับของจิต หรือเนื้อหาของสิ่งที่เกิดดับ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...