จิตเดิม มีอยู่จริงหรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โซ, 29 สิงหาคม 2013.

  1. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เห้ออ่านไปอ่านมา แล้วงงสับสนๆ อยากสอบถามความคิดผู้มีความรู้ว่า

    ตกลง ว่า จิตมันเกิดดับตลอดเวลา(พูดถึงจิตนะไม่ใช่เจตสิก) หรือว่า จิตมีแค่ดวงเดียว กันแน่ครับ แบบที่เราๆเคยได้ยินไม่จะเป็นคำว่า จิตเกิดดับตลอดเวลา กับ จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป
    หรือว่า มันเกิดดับๆแล้วสืบเนื่องต่อกันไป จิตเดิมดับแล้วอันใหม่ก็เกิด แบบเหมือนว่าคล้ายๆ copy ข้อมูลทั้งหมดย้ายมา Harddisk อีกลูกๆสืบต่อไป ???
     
  2. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    จิตเดิมที่ผมสงสัยก็คือ สิ่งที่ครูบาร์อาจารย์กล่าวมาหรือเทศสั่งสอนนั่นแหละครับ ที่ผมตั้งกระทู้มันเป็นการต่อยอดของความคิดเห็นสำหรับพี่ๆเพื่อนๆอ่ะครับว่าเขาท่านเหล่านั้นมีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไรบ้าง จริงก็ประมาณอย่างที่พี่ว่าก็ได้ ว่าสิ่งนี้บางทีเราก็ไม่ต้องไปรู้มันมากหรอก แต่ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นพื้นฐานแห่งการอบรมปัญญาได้ เพราะถ้าเราเรียนรู้สภาพสภาวะของจิต ก็จะระลึกนึกได้ว่า ส่วนประกอบหรือองค์ประกอบเหตุปัจจัยใด ที่ก่อให้เกิดความเป็นรูปนามได้ เพราะเราจะสามารถแยกออกว่าเราจะละหรือปล่อยวางในส่วนใด เพราะเราก็ีรู้มาว่า จิตเกิดดับ บางทีเราก็สับสนหรือสงสัยว่าว่าเมื่อจิตเป็นประภัสสร จะเกิดดับได้อย่างไร ซึ่งผมเองก็สงสัยเหมือนกัน แต่ก็ยังว่าครับเราก็น้อมรับเอาว่ามันเป็นธรรมชาติของจิตเป็นธรรมชาติเดิมของมัน ถ้ามันไม่เกิดดับ มันก็ไม่อาจจะเข้าไปสัมผัสรับรู้เอาอวิชชามาเป็นอารมณ์ตัวตนก่อให้เกิดภพชาติในสังสารวัฏหรอก หรืออาจารย์บางท่านกล่าวไว้ว่าจิตไม่ดับสูญมันมีมาแบบนี้อยู่มาแต่ไหนแต่ไร นี่ก็น่าคิดเพราะเดิมของจิตไม่มีความสั้นยาวหรือรูปนามที่จะเจาะจงหรือไปวัดขนาดได้ เป็นสิ่งที่มีอยู่แบบเจาะจงไปว่าอยู่ที่ใดนั้นไม่ได้เลย เมื่อองค์ประกอบเหตุปัจจัยพร้อมที่มีมาอยู่พร้อมกับจิตมากระทบจิตจิตจึงหยั่งเข้าไปรู้แจ้งในอวิชชานั้น ฉนั้นผมเลยมองว่าจิตนั้นเป็นสภาวะที่ไม่หยุดนิ่งอาจจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติที่เกิดขึ้น เมื่อปัจจัยเหตุเหมาะสมจึงหยั่งลงหมายมั่นตั้งอยู่สู่ความเป็นรูปนามในอายตนะ
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............ก็ ทำความเข้าใจว่า จิต มีธรรมชาติรู้ จิตเป็นสังขตะธรรมต้องอาสัยปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อมีเหตุก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา และ ดับไปเป็นธรรมดา.............................................ส่วนถ้าเอาปัญญาของพระอรหันต์มาพูดมาคิด นั้นย่อมไม่เหมาะสมแน่...เพราะยังไม่อาจถึงเวลาเข้าใจของเรา เราก็โยนิโสมนสิการ ตามมรรคไปก่อน...เช่น ความเข้าใจที่ว่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย อะไรทำนองนี้นะครับ ต้องเข้าใจจริงก่อน หรือ ประเภทจิตไม่เกิดไม่ดับ อันนี้ก็คงเหมือนกันครับ..
     
  4. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    จิตเดิมมันไม่ใช่จิตในความหมายที่เราเข้าใจนะ มันก็คือความว่างนั้นเอง ที่นี้จิตที่เราเข้าใจมันก็เกิดมาจากการสั่นไหวของความว่างตัวนี้นี่แหละ

    ว่างนี้ไม่ได้หมายถึงไม่มีหรือมีนะ แต่หมายถึงภาวะเดิมแท้ของธรรมชาติที่ไปพ้นภาษาไปเรียกว่าเป็นก ข ค เป็น จิต เป็นวัตถุอะไร ดั้งนั้นจะบอกว่ามีตัวตนก็ไม่ได้ไม่มีตัวตนก็ไม่ได้ เพราะพวกนี้มันเป็นเรามาเรียกมันว่าเป็นนั้นเป็นนี่ทีหลัง ธรรมมันไม่รู้ไม่ชี้กับเรา

    ตัวความว่างนี้มันสั่นไหว เพราะมีการกระทบ เหมือนน้ำมันสั่นเพราะเอานิ้วไปจิ้มมันมีคลื่นขึ้นมา คลื่นไม่ได้แยกขาดจากน้ำใช่ไหมล่ะแต่คลื่นก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกับน้ำ จิตก็เหมือนกับคลื่นตัวนี้ เพราะอยาตนะภายนอกกะในมากระทบกัน เกิดวิญญาณหรือจิตไปรับรู้ขึ้น ก่อนหน้านี้จิตมันไม่มี มันมีเพราะมีผัสสะเกิดขึ้นมาแล้วเกิดการรับรู้ขึ้น แล้วก็ดับไปตามเหตุปัจจัย ถ้ามีเหตุปัจจัยใหม่มันก็เกิดใหม่เป็นกระแสสืบต่อ ตามปัจจัยที่มาประกอบ

    แค่นี้เอง จิตเดิืมแท้จึ่งไม่ใช่จิตในความหมายที่เราเข้าใจ หมายถึงภาวะเดิมแท้ที่เหมือนความว่าง ที่มันบริสุทธิ์ของมันอยู่นั้นเองโดยธรรมชาติพ้นไปจากบัญญัติทั้งปวง เพียงแต่คนสอนเขาไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร เขาก็เลยเรียกจิตเดิม คือภาวะเดิมแท้ของสิ่งต่างๆๆ
    พูดเป็นบาลี จิตเดิมแท้มันก็คืออสังขตธรรมนั้นเอง แต่บางที่บางถิ่นเขาไม่ใช้คำนี้เขาไปใช้คำว่า จิตเดิมแท้เรียกแทนก็ไม่ว่ากันสักแต่ว่าเป็นอุบายธรรม ธรรมชาติเดิมแท้ก่อนจะมีอะไรมาปรุงแต่มัน ถ้ามีการปรุงแต่งเป็นจิตเป็นวัตถุ อะไรขึ้นมาตามปัจจัย นี่ก็เป็นสังขตธรรม

    ปล.ควรอ่านหนังสือสูตรเว่ยหลาง กะฮวงโป ที่ท่านพุทธทาสแปลก็จะเข้าใจเอง ว่าอ.บางพวกท่านเอามาใช้ในความหมายนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,556
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้อคิดเห็น ในที่นี้จะไม่เขียนแบบใช้คำศัพท์หรือสำนวนแบบเดิมที่มีในตำรา เพราะข้าพเจ้าเคยอ่าน เนื่องเพราะมีผู้ถาม เรื่อง "ชวนะจิต" แต่ข้าพเจ้าไม่รู้ ก็เลยศึกษาหาความรู้ ก็พบว่า คำว่า
    "จิตเดิม"ในทางพุทธศาสนานั้น หมายถึง จิตที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง หรือ จิตที่ยังไม่ได้รับการสัมผัสและรับรู้อารมณ์ใดใด นั่นคือ จิตเดิม สภาวะของจิตสงบนิ่ง ไม่คิดสิ่งใด ไม่ฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ นั่นคือ จิตเดิม ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัส ทางอายตนะ จึงเกิดการทำงานตามระบบการทำงานของร่างกาย(วิถีจิต) เป็นขั้นเป็นตอนไป หากบุคคลไม่มีประสบการณ์ ความจำ สมาธิมีน้อย ขาดการปรุงแต่ง(ในที่นี้หมายถึง ปฏิภาณไหวพริบ) จิตก็จะไม่แสดงอารมณ์รับรู้ที่ชัดเจน พอเกิดขึ้น รับรู้ แล้วก็ดับไป ไม่แสดงความรับรู้จนถึงที่สุด เช่น ถ้าเราเห็นแสงไฟจากไฟฉาย ถ้าเรามีความรู้ และความจำ ระบบการทำงานของร่างกายก็จะสั่งการให้รับรู้ว่าที่เราเห็นนั้นคือแสงไฟจากไฟฉาย แต่ ถ้าไม่มีความรู้ ไม่มีความจำ ระบบการทำงานของร่างกาย ก็จะหยุดอยู่ที่ได้มองเห็นแสงสว่าง แต่ไม่รู้ว่า คือ แสงอะไร อย่างนี้เป็นต้น
    ระบบการทำงานของร่างกาย ที่ได้รับการสัมผัสทางอายตนะ จะทำให้รับรู้อารมณ์ที่ได้รับการสัมผัส ก็จะเป็นไปตามกลไกของร่างกาย คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่น ตา มอง เห็น แล้วเคลื่อนที่ไปยังก้านสมอง แล้วเคลื่อนไปยังข้อมูลในสมอง แล้วเคลื่อนกลับไปยังหัวใจ แล้วเคลื่อนกลับไปยังสมองทำให้ได้รู้ตามข้อมูลในสมองว่า สิ่งที่มองเห็นคืออะไร อย่างนี้เป็นต้น
    ที่คุณกล่าวมาว่า จิตไม่มีสั้น ไม่มียาว นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ จิตมีสั้น มียาว ที่ว่ามีสั้นมียาว หมายความว่า จิตมีสั้น คือ เคลื่อนที่สั้นๆ แล้วดับไป ที่ว่า จิตมียาว คือ เคลื่อนที่ยาวๆไปจนถึงที่สุดแล้วจึงดับไป แต่การดับไปของจิตเหล่านั้น มิใช่ดับสูญไป บางสิ่งบางอย่างบางเรื่อง ยังคงถูกเก็บไว้ในสมอง อันเป็นเหตุให้รู้ ให้จำ ให้ระลึกนึกถึง
    เช่นกัน บุคคลจะรู้แจ้งในอวิชชา และ วิชชา ทั้งหลาย ก็ต้อง รู้จักเรียนรู้เพื่อให้เกิดการจดจำ จนสามารถนำเอาความรู้ คือ วิชชา ทั้งหลายเหล่านั้น ขจัด อวิชชา ได้ ที่กล่าวไปทั้งหมด เป็นเพียงสังเขป เพราะหากจะอธิบายแบบละเอียด ต้องถามข้อสงสัยเป็นอย่างๆ ถามยาวก็ตอบยาก ถามพอดี พอดี ก็ตอบง่ายอธิบายได้ชัดเจน คงจะเกิดความเข้าใจ ในเรื่องของคำว่า "จิตเดิม" ไม่มากก็น้อยนะขอรับ
    ขอให้เจริญในธรรม ขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...