ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ควรจะประณามคนที่อยู่เบื้องหลัง เหตุการณ์ที่โรฮีนจา มาก่อเหตุรุนแรงก่อนที่พม่าจะใช้วิธีการรุนแรงในการปราบปรามด้วยน่ะครับ

    UN ประณามกองทัพเมียนมา! กวาดล้าง “โรฮิงญา” ด้วยวิธีโหดร้าย Spring Update ต่างประเทศ 27 พฤศจิกายน 2016 เวลา 15:10 น. pimtawan

    UN ประณามกองทัพเมียนมา ที่พยายามกวาดล้างชาวมุสลิมโรฮิงญาด้วยวิธีการที่โหดร้ายและขับไล่ออกจากประเทศ

    วันที่ 27 พ.ย. 59 – องค์การสหประชาชาติประณามกองทัพเมียนมา ที่พยายามกวาดล้างชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยการสังหารหมู่, คุกคามทางเพศ, ไล่เผาบ้านเรือน และขับไล่ออกจากประเทศ ด้วยการบังคับให้ข้ามแดนไปบังกลาเทศ

    นายจอห์น แมคคิสซิก ผู้อำนวยการสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ UNHCR ประจำเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งอยู่ติดพรมแดนเมียนมา เปิดเผยต่อสถานีโทรทัศน์บีบีซี (BBC) ว่า กองทัพพม่ากำลังกวาดล้างชาวมุสลิมโรฮิงญาให้หมดไปจากประเทศด้วยวิธีที่เหี้ยมโหด

    “ทหารบุกสังหารประชาชน ใช้ปืนยิงไม่เลือกหน้า ไม่เว้นกระทั่งเด็กและหญิงตั้งครรภ์ ไม่เพียงเท่านั้น ยังคุกคามทางเพศผู้หญิง, ไล่เผาบ้าน, ปล้นสะดม และบังคับให้ประชาชนลงไปในแม่น้ำ เพื่อข้ามไปยังบังกลาเทศ จนถึงตอนนี้ สหประชาชาติเชื่อว่า มีชาวมุสลิมโรฮิงญากว่า 30,000 คนแล้ว ที่ต้องอพยพออกจากบ้านของตัวเอง”

    ชาวมุสลิมโรฮิงญาคนหนึ่ง เปิดเผยว่า “ในหมู่บ้านของเขาเพียงแห่งเดียว กองทัพเมียนมาได้สังหารประชาชนไม่ต่ำกว่า 300 คนแล้ว คุกคามทางเพศผู้หญิงหลายสิบคน เผาบ้านเรือนหลายร้อยหลัง ไม่เพียงเท่านั้น ทหารยังยิงสังหารภรรยาของเขาที่ตั้งครรภ์ 7 เดือน ส่วนบุตรชายอายุ 2 ขวบ ก็บาดเจ็บจากปลอกกระสุนไรเฟิล”

    ทั้งนี้ รัฐบาลบังกลาเทศพยายามต้านทานกระแสกดดันจากประชาคมโลก ที่เรียกร้องให้เปิดพรมแดนช่วยเหลือชาวโรฮิงญา เพราะเกรงว่าหากเปิดพรมแดนแล้ว จะก่อให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรม เนื่องจากจะทำให้กองทัพเมียนมาพยายามขับไล่ให้ชาวโรฮิงญาเข้ามาในบังกลาเทศมากขึ้น

    ขณะที่ตอนนี้ เชื่อว่ามีชาวโรฮิงญาหลายพันคนที่ปักหลักอยู่บริเวณพรมแดนติดกับบังกลาเทศ เพื่อรอโอกาสลี้ภัยเข้าเมือง ล่าสุด รัฐบาลบังกลาเทศได้เรียกตัวเอกอัครราชทูตเมียนมาเข้าพบ เพื่อแสดงความวิตกต่อวิกฤตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว

    ติดตามสถานการณ์อื่นๆ ผ่าน Official Account Line SpringNews เพิ่มเพื่อน

    UNHCR บังกลาเทศ ยูเอ็น สหประชาชาติ เมียนมา โรฮิงญา

    UN ประณามกองทัพเมียนมา! กวาดล้าง “โรฮิงญา” ด้วยวิธีโหดร้าย « Spring News
    .
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สตง.ออกประกาศเอาผิดคนส่งต่อข้อความ 'ผู้ว่าฯ ' ถูกฟ้องปมรับสินบน เขียนวันที่ วันอาทิตย์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2559 เวลา 15:15 น.เขียนโดยisranews

    สตง.แพร่ประกาศเอาผิดบุคคลส่งต่อข้อความ ผู้ว่าฯ สตง.ถูกฟ้องปมรับสินบน ยันไม่ใช่เรื่องจริง -ใครฝ่าฝืนดำเนินคดีถึงที่สุด

    แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ในช่วงเย็นวันที่ 27 พ.ย.2559 นี้ สตง.จะเผยแพร่ข้อความผ่านทางเว็บไซต์ สตง. เรื่อง ด่วนที่สุด ระบุว่า "ตามที่มีผู้เผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับการฟ้องผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในเรื่องการรับสินบน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ขอเรียนว่า ข้อความที่นำมาลงเผยแพร่นั้นไม่ใช่ข้อความที่เป็นจริง การเผยแพร่ข้อความในลักษณะเช่นนี้ จะทำให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนังานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับความเสียหาย ผู้ที่ได้รับข้อความขอให้หยุดการเผยแพร่ สำหรับผู้ที่เผยแพร่ข้อความต่อไป สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินคดีกับบุคคลนั้นจนถึงที่สุดต่อไป"

    ขณะที่ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา ว่า การเผยแพร่ข้อความดังกล่าว เป็นผลมาจากเจ้าหน้าที่ สตง.รายหนึ่ง ในพื้นที่ภาคใต้ ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับตน โดยกล่าวหาว่า มีการเรียกรับสินบนจากผู้บริหารสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง พร้อมมีคำสั่งห้ามและโยกย้ายตำแหน่งเพื่อไม่ให้เข้าตรวจสอบปัญหาการทุจริตในสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ซึ่งตนขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง

    "ผมไม่เคยมีนโยบายสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบปัญหาการทุจริตของหน่วยงานใด ซึ่งกรณีการตรวจสอบสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ดังกล่าว ยอมรับว่าได้สั่งโยกย้ายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ สตง.รายนี้ จริง เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนการตรวจสอบโครงการต่างๆ ยังคงดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป " ผู้ว่าฯ สตง.ระบุ

    สตง.ออกประกาศเอาผิดคนส่งต่อข้อความ 'ผู้ว่าฯ ' ถูกฟ้องปมรับสินบน
    .
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตะลึง! “ยูกันดา” ประเทศเล็กๆ ในแอฟริกาทิ้งไทยไม่เห็นฝุ่น ตั้งเป้าอีก 5 ปีใช้พลังงานสะอาด 100% เผยแพร่: 27 พ.ย. 2558 13:04:00 ปรับปรุง: 27 พ.ย. 2558 13:16:00 โดย: MGR Online

    แปลและเรียบเรียง : ทีมงาน Data Forsiam

    Godfrey Baluku Kime นายกเทศมนตรีของเมือง Kasese ประเทศยูกันดา ชูวิสัยทัศน์ตั้งเป้าหมายให้ชุมชนได้ใช้พลังงานสะอาด 100% ภายในในปี 2020 เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต และสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นกว่าเดิม

    โครงการพลังงานหมุนเวียนเปิดตัวขึ้นในปี 2012 เพื่อให้บริการด้านพลังงานทั้งในเขตเมือง และชนบท เนื่องจากมีเพียง 10,000 ครัวเรือน จาก 134,000 ครัวเรือน (7.6%) ที่เข้าถึงไฟฟ้า เราจึงต้องการแหล่งพลังงานทดแทนจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นชีวมวล แสงอาทิตย์ น้ำ ลม เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า

    มีการใช้พลังงานจากลมในการผลิตไฟฟ้าสำหรับโคมไฟบนถนนสาธารณะของเมือง Kasese ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะนำไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ความมุ่งมั่นของนายกเทศมนตรีที่ทำให้เกิดการลงมือทำ มีแรงบันดาลใจมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลก

    และที่สำคัญเขาต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อการปรับปรุงมาตรฐานในการดำรงชีวิต และสุขภาพที่ดีขึ้นของประชาชน และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย

    แนวความคิดที่น่าสนใจคือ การเข้าถึงแหล่งพลังงานทดแทน ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาโครงการพื้นฐานสาธารณะ สถาบันการศึกษา ตลาด และศูนย์สุขภาพของประชาชน สภาตำบลได้ออกนโยบายให้ความช่วยเหลือโดยการลดหย่อนภาษี เพื่อจูงใจสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อพลังงานทดแทน

    นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการฝึกงานการติดตั้ง การบำรุงรักษาร่วมกับมหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนา รวมถึงการหาแหล่งเงินกู้ให้แก่ธุรกิจท้องถิ่น สำหรับการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับหมู่บ้านห่างไกลที่อยู่บนภูเขา

    ที่ผ่านมา ประชากรส่วนใหญ่ใช้ถ่าน และฟืนสำหรับการประกอบอาหาร ทำให้เกิดควันพิษที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง ในทำนองเดียวกัน 85% ของชาวบ้านใช้น้ำมันก๊าดสำหรับไฟฟ้าในอาคาร ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาแพง และไม่มีประสิทธิภาพ นับเป็นภาระทางการเงินที่สำคัญสำหรับครอบครัวที่ยากจน

    พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมๆ ของเรา ในการประกอบการลดความเสี่ยงจากน้ำมันก๊าด ช่วยลดมลพิษในอาคาร และที่สำคัญราคาพลังงานที่ถูกลงจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น มีเหลือเพียงพอสำหรับนำไปเป็นค่าอาหาร เสื้อผ้า และการศึกษาของประชาชน

    ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น หมายถึงมีประสิทธิภาพมากพอที่จะจัดการให้มีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นของตัวเอง การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อสื่อสารกับโลกภายนอก และการเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

    เกิดการสร้างงาน สร้างทักษะใหม่ๆ สำหรับชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนธุรกิจในระบบ Green Economy ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 55% ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมนับพันคน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ร่วมเติบโตเพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งมาจากการเข้าถึงแหล่งพลังงานราคาถูก ต้นทุนทุกอย่างต่ำลง

    “พลังงานทดแทน” จึงเป็นโครงการที่มีความสำคัญ สนับสนุนศักยภาพของชุมชนอย่างยั่งยืน ปรับปรุงวิถีชีวิตเดิมๆ และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเมืองอื่นๆ ในแอฟริกาที่จะปฏิบัติตาม รวมถึงประเทศส่วนที่เหลือของโลก

    (http://www.theguardian.com/global-d...yor-my-district-will-be-100-renewable-by-2020)

    หมายเหตุจากผู้แปล
    อ่านวิสัยทัศน์ของนายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆ ของประเทศยูกันดา จากที่เคยคิดว่ายูกันดาล้าหลัง ด้อยพัฒนา คุณภาพชีวิตย่ำแย่ ตอนนี้ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ เมื่อคนของเขากล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

    แต่เมื่อหันกลับมามองประเทศไทย ดูเหมือนเราจะศิวิไลซ์ไปเสียทุกด้าน เทคโนโลยีต่างๆ ไม่เคยน้อยหน้าใคร แต่เหตุใดคนของเราจึงคิดคำนึงถึงแต่ตัวเอง เหตุใดผู้นำ และหน่วยงานรัฐจึงไม่ผลักดันให้เป็นรูปธรรม การกีดกันธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การตั้งกำแพงเงื่อนไขทางการค้า ทางภาษี เมื่อไหร่สิ่งเหล่านี้จะหมดไปจากประเทศของเรา

    ยังมีอีกหลากหลายบทความที่บอกให้เรารู้ถึงทิศทางการเคลื่อนไปข้างหน้าในการใช้พลังงานสะอาด เป็นการตระหนัก และรับผิดชอบโลกใบนี้ร่วมกัน ไม่เพียงเพื่อประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เพื่อโลกของเรา

    เมื่อผีเสื้อขยับปีก ย่อมมีผลกับโลกทั้งใบ

    Manager Online
    .
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พม่าก็เอาจริง ฟิลิปปินส์ ก็เอาจริง

    กองทัพฟิลิปปินส์เอาจริง ขนปืนใหญ่ยิงถล่มกลุ่มติดอาวุธลูกสมุนไอเอส โดย MGR Online 27 พฤศจิกายน 2559 19:36 น.

    เอเอฟพี – กองทัพฟิลิปปินส์ระดมยิงปืนใหญ่ใส่ที่มั่นกลุ่มมุสลิมติดอาวุธที่สวามิภักดิ์ต่อไอเอสทางใต้ของประเทศ หลังกลุ่มดังกล่าวเคยก่อเหตุโจมตีด้วยระเบิดในเมืองดาเวา บ้านเกิดของประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต

    กองทัพแดนตากาล็อกใช้ปืนใหญ่ขนาด 105 มม. โจมตีที่มั่นของกลุ่มมาอูเตในเมืองบูติกที่เกือบกลายเป็นเมืองร้างเมื่อวันอาทิตย์ (27) ถือเป็นการต่อสู้วันที่สอง หลังจากกลุ่มติดอาวุธดังกล่าวที่อ้างว่าสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ได้เข้ายึดศาลาว่าการเมืองนี้ที่ถูกทิ้งร้าง

    ผู้สื่อข่าวในเมืองดังกล่าวรายงานว่า ได้ยินเสียงปืนครกจากระยะไกล ขณะที่มีเฮลิคอปเตอร์เอ็มจี-520 บินอยู่เหนือศีรษะ

    ดิมนาตัง ปันซาร์ นายกเทศมนตรีเมืองบูติกเผยว่า ประชาชนส่วนใหญ่จากทั้งหมด 17,000 คนในเมืองที่ชนกลุ่มใหญ่เป็นชาวมุสลิมแห่งนี้ หนีไปยังศูนย์อพยพในเมืองใกล้เคียงหรือหนีไปอยู่กับญาติที่อื่น หลังกลุ่มมาอูเตบุกเข้าเมืองเมื่อวันเสาร์ (26)

    ปันซาร์เสริมว่า บูติกไม่สามารถต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธนี้ได้เนื่องจากมีตำรวจเพียง 20 นาย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลส่งทหารไปช่วย

    รายงานระบุว่า มีประชาชนจำนวนน้อยมากที่ยังหลบอยู่ในบ้าน ขณะที่ยานยนต์หุ้มเกราะและพลซุ่มยิงเคลื่อนไปตามถนนสายต่างๆ อย่างช้าๆ เพื่อมุ่งหน้าสู่ที่มั่นของมาอูเต

    นายพลจัตวา เรสติตูโต ปาดิลลา เปิดเผยโดยอ้างข้อมูลข่าวกรองว่า กลุ่มคนร้ายถูกสังหาร 11 ราย บาดเจ็บ 5 ราย แต่ยังไม่พบศพ ส่วนทหารบาดเจ็บ 2 นาย

    ผู้สื่อข่าวในบูติกรายงานว่า กองทัพได้รับภาพกลุ่มมาอูเตติดธงสีดำของไอเอสเหนือศาลาว่าการเมืองเก่า อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปใกล้สถานที่ดังกล่าวเพื่อตรวจยืนยันเรื่องนี้

    พันเอก เอ็ดการ์ด อาเรวาโล โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า กองทัพคาดอยู่แล้วว่าต้องมีการดำเนินการเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ เนื่องจากกลุ่มมาอูเตประกาศสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มก่อการร้ายต่างแดนมานานแล้ว และนี่ยังเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของกลุ่มนี้ในการหาผู้สนับสนุนและกระตุ้นให้คนที่มีแนวคิดเดียวกันสนับสนุนไอเอส

    ทั้งนี้ กลุ่มมาอูเตเป็นหนึ่งในองค์กรอิสลามติดอาวุธในมินดาเนา ที่ประกาศสวามิภักดิ์ต่อนักรบไอเอสในซีเรียและอิรัก

    ในอดีต กลุ่มนี้เคยต่อสู้กับกองทัพ และเคยมีภาพนักรบมาอูเตแบกธงไอเอส รวมทั้งเคยพบผ้าพันคอที่มีสัญลักษณ์ของกลุ่มก่อการร้ายนี้ในฐานที่มั่นของมาอูเต

    เดือนที่แล้ว สมาชิกมาอูเต 3 คนถูกจับกุมและถูกกล่าวหาว่า ลอบวางระเบิดเมื่อเดือนกันยายนที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 คนในเมืองดาเวา บ้านเกิดของดูเตอร์เตและยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดบนเกาะมินดาเนา

    นอกจากนั้นกองกำลังของรัฐบาลฟิลิปปินส์ยังเข้ายึดค่ายฝึกของมาอูเตในดาเวาเมื่อเดือนมิถุนายน หลังจากยิงต่อสู้นาน 10 วัน ทำให้ทหาร 4 นายและผู้ก่อการร้ายนับสิบเสียชีวิต ตามรายงานของกองทัพ

    กลุ่มมาอูเตที่ครั้งหนึ่งกองทัพเคยดูแคลนว่า เป็นแค่แก๊งกรรโชกทรัพย์กระจอกงอกง่อย ได้โจมตีค่ายทหารบริเวณพื้นที่ห่างไกลในบูติกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ อันนำไปสู่การปะทะนานหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งกองทัพระบุว่า ทหารเสียชีวิต 6 นาย และกลุ่มติดอาวุธเสียชีวิต 12 คน กลุ่มนี้ยังตัดคอพนักงานโรงเลื่อยท้องถิ่น 2 คนในเดือนเมษายนที่ผ่านมาอีกด้วย

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อ้าวไอซิสมาถึงมาเลเซียแล้วหรือ

    ‘ตร.อิเหนา’จับเพิ่มอีก 2 พวกหัวรุนแรงโยงใยไอเอส วางแผนบึ้ม‘รัฐสภา-สถานทูตพม่า’ เผยแพร่: 27 พ.ย. 2559 23:08:00

    เอเอฟพี/รอยเตอร์ – ตำรวจอินโดนีเซียสามารถจับกุมสมาชิกอีก 2 คนของกลุ่มหัวรุนแรงที่เกี่ยวข้องโยงใยกับไอเอส ซึ่งกำลังวางแผนก่อเหตุระเบิดอาคารสถานที่ของรัฐบาลและสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำกรุงจาการ์ตา ภายหลังรวบมือทำระเบิดได้ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแดนอิเหนาแถลงในวันอาทิตย์ (27 พ.ย.)

    ตำรวจระบุว่า กลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกของกลุ่มย่อยภายในประเทศกลุ่มหนึ่งที่ผูกพันเกี่ยวข้องกับกลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) ได้จัดหารวบรวมวัตถุระเบิดจนเพียงพอที่จะใช้ผลิตระเบิดซึ่งมีอานุภาพรุนแรงยิ่งกว่าที่เคยถูกใช้ในเหตุโจมตีบนเกาะบาหลีเมื่อปี 2002 ที่สังหารชีวิตผู้คนไป 202 ศพเสียอีก

    “พวกเขากำลังช่วยเหลือวางแผนเพื่อใช้ระเบิดเข้าโจมตีอาคารรัฐสภา, กองบัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สถานเอกอัครราชทูตพม่า, และสถานีโทรทัศน์อีกหลายแห่ง” ริควานโต โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลง

    การที่สถานเอกอัครราชทูตพม่าตกเป็นเป้าหมายหนึ่งคราวนี้ บังเกิดขึ้นในขณะที่กำลังเกิดความโกรธเกรี้ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในอินโดนีเซียและอีกหลายๆ ส่วนของโลกมุสลิม ต่อสิ่งซึ่งถูกระบุว่าเป็นพฤติการณ์ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ชาวโรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ด้วยฝีมือของกองทัพพม่า

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันพุธ (23 พ.ย.) ตำรวจหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของอิเหนา สามารถจับกุมตัว ริโอ ปริอัตนา วิโบโว ผู้ต้องสงสัยเป็นมือทำระเบิด รวมทั้งยึดได้วัตถุระเบิดแรงสูงจำนวนมากจากห้องแล็บแห่งหนึ่งทางด้านตะวันตกของเมืองหลวงจาการ์ตา

    โฆษกตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซียบอกว่า การจับกุมดังกล่าวนำไปสู่การรวบผู้ต้องสงสัยอีก 2 คน ได้แก่ บาห์เรน อากัม ซึ่งถูกควบคุมตัวในวันเสาร์ (26) ด้วยข้อหาซื้อวัตถุระเบิด อีกคนหนึ่งคือ ไซฟุล บาห์รี ถูกจับวันอาทิตย์ (27) ในข้อหาช่วยประกอบระเบิด

    ริควานโตกล่าวด้วยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 คนเป็นสมาชิกของกลุ่มจามะอาห์ อันซาร์ ดาอูเลาะห์ องค์กรสุดโต่งท้องถิ่นซึ่งสาบานตนจงรักภักดีต่อกลุ่มไอเอส

    ตำรวจแดนอิเหนาบอกว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้วางแผนเปิดการโจมตีกันอย่างไร แต่วัตถุระเบิดที่พวกเขารวบรวมเอาไว้นั้นมีอานุภาพเป็นกว่าเท่าตัวของระเบิดซึ่งใช้ในการบึ้มสถานบันเทิงยามราตรีบนเกาะบาหลีเมื่อสิบกว่าปีก่อนเสียอีก

    Manager Online
    .
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    InPics : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์แฉ “ตำรวจปักกิ่ง” ส่งซิกศุลกากรฮ่องกง ยึด 9 ลำเลียงรบหุ้มเกราะสิงคโปร์ ลื่อ!!ปักกิ่งส่งสัญญาณแรง “อดทนสั้นเห็นต่างชาติสัมพันธ์ไต้หวัน” ยังไม่แน่ว่าลอดช่องอาจได้ของคืน โดย MGR Online 27 พฤศจิกายน 2559 17:23 น. (แก้ไขล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2559 17:43 น.)

    เอเจนซีส์ - รายงานล่าสุดเปิดเผยเบื้องลึกยานลำเลียงรบหุ้มเกราะ ICV (Terrex Infantry Carrier Vehicles) 9 คันของกองทัพสิงคโปร์ถูกยึด เหตุเพราะตำรวจปักกิ่งแจ้งฮ่องกงมีเรือคาร์โกขนยุทโธปกรณ์ทางทหารต้องสงสัยที่ไม่มีใบอนุญาตรับรองออกจากไต้หวันผ่านเข้ามาเทียบท่าในฮ่องกง หลังแวะจอดในเมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen) มณฑลฝูเจี้ยนของจีน ระหว่างทาง ด้านผู้เชี่ยวชาญต่างชี้ปักกิ่งอาจต้องการทำให้สิงคโปร์ขายหน้า “ไม่อดทนต่อการเห็นต่างชาติมีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับไต้หวัน” ในขณะที่แหล่งข่าวสิงคโปร์ยอมรับ ไม่ง่ายที่จะได้รับกลับคืน รัฐบาลสิงคโปร์ถูกโยกไปติดต่อกับกระทรวงต่างประเทศจีนแทน

    เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ สื่อจีน รายงานวันนี้ (27 พ.ย.) ถึงความคืบหน้าในคดีการยึดยานลำเลียงรบหุ้มเกราะ ICV (Terrex Infantry Carrier Vehicles) 9 คันพร้อมกับยุทโธปกรณ์ทางการทหารอื่นๆ ของกองทัพสิงคโปร์ถูกยึดในวันพุธ (23) หลังจากที่สำนักงานศุลกากรฮ่องกงท่าเรือไควชุง (Kwai Chung)ของได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบตู้คาร์โก 12 ตู้ที่ถูกส่งมาจากไต้หวัน โดยในวันศุกร์ (25) เอเอฟพีรายงานอ้างว่า เป็นการสุมตรวจค้นตามปกติของทางศุลกากรฮ่องกง แต่ล่าสุด เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ชี้ว่า แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจจีนแผ่นดินใหญ่เป็นผู้ชี้เบาะแสให้สำนักงานศุลกากรฮ่องกงเข้ายึด

    โดยพบว่าหลังจากที่เรือคาร์โกซึ่งบรรทุกยานลำเลียงรบหุ้มเกราะ ICV และยุทโธปกรณ์ต่างๆของสิงคโปร์ออกมาจากใต้หวันแล้ว เรือสินค้าลำนี้ได้แวะจอดทอดสมรที่เมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen) มณฑลฝูเจี้ยน ของจีน ในระหว่างทางก่อนที่จะเดินทางต่อมายังฮ่องกง ซึ่งเป็นที่สำนักข่าว FactWire news รายงานในวันเสาร์ (26) ระบุว่า เป็นจุดที่ค้นพบยุทโธปกรณ์ทางทหารเหล่านี้

    โดย FactWire newsได้รายงานโดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของแหล่งข่าวศุลการกรฮ่องกงชี้ว่า ก่อนที่เรือสินค้าจะเดินทางมาถึง ตำรวจจีนแผ่นดินใหญ่ได้ติดต่อเข้ามายังตำรวจฮ่องกงเพื่อแจ้งถึงเรือสินค้าที่บรรทุกอาวุธทางทหารที่น่าสงสัยและไม่มีใบสำแดงอย่างถูกต้อง และเมื่อเรือลำนี้ได้เดินทางมาถึงท่าเรือฮ่องกงแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ทำการตรวจค้นเรือคาร์โกนี้อย่างละเอียดและยึดยานลำเลียงรบหุ้มเกราะทั้ง 9 ลำ และยุทโธปกรณ์ทางทหารอื่นๆทั้งหมด

    เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานต่อว่า เหตุการณ์นี้สร้างความปวดหัวให้กับรัฐบาลสิงคโปร์เป็นอย่างมาก และพยายามเร่งติดตามเพื่อนำยุทโธปกรณ์ของกองทัพทั้งหมดกลับประเทศ โดยตัวแทนของสิงคโปร์ได้เดินทางมาถึงฮ่องกงในคืนวันศุกร์ (25) เพื่อพยายามเร่งกระบวนการในการยกเลิกการอายัด และจำกัดความเสียหายทางการทูตที่เกิดขึ้น

    แต่ทว่าแหล่งข่าวเปิดเผยว่า สิงคโปร์ต้องติดต่อกระทรวงการต่างประเทศของจีนโดยตรงเพื่อนำยานลำเลียงรบหุ้มเกราะทั้งหมดที่ถูกยึดไว้กลับคืน พร้อมกับชี้ว่า ได้มีการรายงานการค้นพบยุทโธปกรณ์เหล่านี้ให้กับปักกิ่งรับทราบแล้ว และดังนั้นการตัดสินใจในการส่งคืนนั้นไม่ได้อยู่ในมือรัฐบาลฮ่องกงอีกต่อไป

    โดยเมื่อวานนี้ (26) กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ได้ออกแถลงการณ์ว่า ยานลำเลียงรบหุ้มเกราะทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายโดยตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความปลอดภัยสูง ที่ได้ถูกเปิดออกโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรฮ่องกงสำหรับการตรวจค้น และได้ถูกนำกลับไปเก็บไว้ภายในคาร์โกเหล่านี้ตามเดิม

    ด้านผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยว่า ปัญหาการยึดยานลำเลียงรบหุ้มเกราะของกองทัพสิงคโปร์นี้อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ทางปักกิ่งส่งออกมา ในการที่ไม่ต้องการเห็นต่างชาติมีความสัมพันธ์ทางการทหารกับไต้หวัน ซึ่งถูกจีนมองเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของปักกิ่ง

    โดย ลี ชีห์-ฮอง (Lee Chih-hong) นักวิจัยประจำสถาบันลองกัสสำหรับยุทธวิธีและการพัฒนา( Longus Institute for Development and Strategy) ของฮ่องกงได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า *** “จีนอาจจงใจให้มีการยึดเกิดขึ้นในฮ่องกงเพื่อตั้งใจฉีกหน้ารัฐบาลสิงคโปร์ ในขณะที่พยายามทำให้ความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นลดลง นี่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปักกิ่งต้องการที่จะทำให้สิงคโปร์ได้รับความอับอาย แต่ปักกิ่งยังคงไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่อความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของทั้งสองชาติ ดังนั้นจึงเลือกปล่อยให้ฮ่องกงเป็นผู้จัดการแทน”*** ลีให้ความเห็น และกล่าวต่อว่า “บางทีปักกิ่งอาจจะต้องการเพิ่มความกดดันให้กับสิงคโปร์ในจุดยืนเรื่องทะเลจีนใต้”

    เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานเพิ่มเติมว่า และหากเหตุการณ์ในวันพุธ (27) นั้นมีปักกิ่งอยู่เบื้องหลังจริง อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการวางแผนจากปักกิ่งในความพยายามที่ต้องการทำให้ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างไต้หวันและสิงคโปร์เกิดความร้าวฉาวอย่างรุนแรง ซึ่งแดนลอดช่องนั้น สื่อจีนชี้ว่า ถูกปักกิ่งมองเป็นเสมือนศัตรูมากขึ้นจากจุดยืนในการที่ประเทศเกาะเล็กๆ นี้ปฏิเสธไม่ยอมอยู่ใต้อิทธิพลของจีนอย่างเต็มตัว

    ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการทหารออกมาระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นดัชนีชี้วัดถึงความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้นของปักกิ่ง ในการส่งสัญญาณความพร้อมการเผชิญหน้าทางการทหารออกมา ต่อพันธมิตรทางความมั่นคงที่ปักกิ่งไม่สบอารมณ์ และโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของโดนัลด์ ทรัมป์ได้ส่งสัญญาณออกมาว่าสหรัฐฯ จะเริ่มถอยห่างจากภูมิภาคนี้

    โดย หนี ลีเซียง (Ni Lexiong) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารที่มีฐานอยู่ในเซียงไฮ้ ได้ให้ความเห็นกับสื่อเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ว่า “ถือเป็นปกติที่สิงคโปร์และไต้หวันมีการแลกเปลี่ยนซ้อมรบประจำปีมานานหลายปี และยังไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดถูกพบในอดีตก่อนหน้านี้”

    และเสริมต่อว่า “และดังนั้นในครั้งนี้จึงเป็นการยากที่จะไม่คิดไปว่า มีการวางแผนทางยุทธศาสตร์มาก่อนหน้านี้” หนีให้ความเห็นโยงไปถึงการเข้ารับตำแหน่งใหม่ของว่าที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ว่า ***“ถือเป็นช่วงเวลาที่อ่อนไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามาจะต้องหมดสมัยลง และรัฐบาลสหรัฐฯชุดใหม่ที่ยังไม่ได้อยู่ในอำนาจ ถือเป็นช่องว่างทางอำนาจในระหว่างนี้” ***

    หนี ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารยังให้ความเห็นอีกว่า ***“ในขณะนี้ปักกิ่งว่างสำหรับการจัดการต่อยานลำเลียงรบหุ้มเกราะของกองทัพสิงคโปร์อย่างที่ทางปักกิ่งต้องการ…ไม่ว่าจะเป็นตัวเลือกที่จะส่งกลับคืน หรือเลือกที่จะยึดไว้ หรือแม้แต่เลือกที่จะลงโทษสิงคโปร์หรือไต้หวันก็ตาม” ***ซึ่งเจ้าหน้าที่การทูตและการทหารประจำในฮ่องกงล้วนเป็นคนของปักกิ่ง

    เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานต่อว่า เชื่อว่ายานลำเลียงรบหุ้มเกราะที่ถูกยึดนี้เข้าร่วมในโครงการซ้อมรบร่วม “สตาร์ไลต์”( Project Starlight)ที่ถูกริเริ่มโดยอดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี กวน ยู และอดีตผู้ก่อตั้งไต้หวัน เจียง ไคเช็ก ในปี 1974 ออกแบบสำหรับการฝึกฝนทหารสิงคโปร์ในต่างแดน เนื่องมาจากปัญหาพื้นที่จำกัดของสิงคโปร์ โดยในขณะนั้นจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงอ่อนแอ และไต้หวันยังไม่ประกาศยกเลิกอย่างเป็นทางการในการกล่าวอ้างต่อจีนแผ่นดินใหญ่

    และจากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญทางการทหารประจำเกาะมาเก๊า แอนโธนี หว่อง ดอง (Antony Wong Dong) ได้ระบุว่า ยานลำเลียงรบหุ้มเกราะสิงคโปร์เจ้าปัญหาคือ รุ่น Terrex AV-81 ซึ่งถือเป็นรุ่นทันสมัยที่สุดในกองทัพแดนลอดช่อง

    InPics :
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    InClip: “ปธน.ฮาดี” บินด่วนออกจากที่ลี้ภัยในซาอุฯ เข้าเยี่ยมทุกข์สุขประชาชนเยเมนในเมืองท่าเอเดน
    โดย MGR Online 27 พฤศจิกายน 2559 14:13 น. (แก้ไขล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2559 17:40 น.)

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGR ออนไลน์ - ประธานาธิบดีเยเมน อับดุล รับบูห์ มานซูร์ ฮาดี ที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัย เดินทางมาถึงเมืองเอเดนของเยเมนในวันเสาร์ (26 พ.ย.) เพื่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนเยเมน หลังจากที่ฮาดีต้องลี้ภัยอยู่ในซาอุดีอาระเบียหลังจากถูกกลุ่มกบฏฮูตีขับไล่

    [ame]https://youtu.be/zzp8zlgdLeU[/ame]

    รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (26 พ.ย.) ว่า ผู้นำเยเมนที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัย เดินทางจากซาอุดีอาระเบีย และมาถึงเมืองท่าเอเดนในวันเสาร์ (26) เพื่อเยี่ยมประชาชนชาวเยเมนที่ทุกข์ยากของเขา พร้อมกับคำร้องเรียนในเรื่องระบบบริการต่างๆ ของเยเมนที่เสื่อมทราม และปัญหาการจ่ายเงินเดือนล่าช้า แหล่งข่าวทหารและความมั่นคงเยเมนชี้

    ทั้งนี้ ประธานาธิบดีเยเมน อับดุล รับบูห์ มานซูร์ ฮาดี ที่ได้รับการหนุนหลังจากปฏิบัติการพันธมิตรที่มีแดนเศรษฐีน้ำมันเป็นชาติผู้นำพยายามจะรุกคืบคืนจากกบฏฮูตีที่มีอิหร่านคอยสนับสนุน ได้ขับไล่เขาออกจากทำเนียบประธานาธิบดีเยเมนในปี 2014

    โดยฮาดีพยายามจะสถาปนาอำนาจประธานาธิบดีของตัวเองให้กลับคืนอีกครั้ง คาดว่าการมาเยือนเมืองเอเดนครั้งนี้ของผู้นำที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัยของเยเมนจะกินเวลานานหลายวัน รอยเตอร์รายงานต่อ

    ทั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผู้นำเยเมนเดินทางกลับมาเมืองท่าเอเดนที่อยู่ทางใต้ของประเทศ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของการลี้ภัย ฮาดีได้เดินทางกลับมาเยือนเอเดน สื่อฝรั่งเศส ฟรานซ์ 24 รายงาน และในเดือนมกราคม ต้นปีนี้ พบว่าฮาดีได้เดินทางกลับมายังเมืองท่าแห่งนี้อีกครั้ง โดยเขาได้เยี่ยมเมืองเอเดนพร้อมกับ ไอดารุส อัล ซูเบดี (Aidarus al-Zubaidi) ผู้ว่าการเมืองเอเดน

    ในระหว่างสงครามกลางเมืองเยเมนระยะเวลา 20 เดือน พบว่ามีผู้ที่ต้องจบชีวิตไปแล้วเพราะความขัดแย้งไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ส่งผลทำให้เกิดวิกฤตทางมนุษยธรรมขึ้นอย่างร้ายแรงในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอาหรับ

    โดยเมื่อวานนี้ (26 พ.ย.) แหล่งข่าวชาวเมืองเอเดน และแหล่งข่าวของสื่อได้เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 12 คนในเหตุการณ์โจมตีทางอากาศปฏิบัติการจากชาติพันธมิตรที่มีซาอุฯ เป็นแกนนำในเมืองโฮเดดา (Hodaida)

    นอกจากนี้ มีรายงานว่ามีหญิงจำนวน 2 รายเสียชีวิตในเมืองทาอิซ (Taiz) จากปืนใหญ่ที่ถูกยิงออกมาจากบริเวณพื้นที่การควบคุมของกบฏฮูตี และตกลงไปบนบ้านพักของคนทั้งคู่ แหล่งข่าวชาวเมืองในพื้นที่เปิดเผยกับรอยเตอร์

    InClip:
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทีมงานคลินตันร่วมแจมนับคะแนนใหม่ ทรัมป์โวยบอกพวกนี้มีแผนการร้าย

    เอเจนซีส์ – ทีมหาเสียงคลินตันเผยพร้อมเข้าร่วมในการเรียกร้องให้มีการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหลายรัฐ ด้านว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์อ้างว่า ประชาชนได้ออกเสียงและการเลือกตั้งก็เสร็จสิ้นแล้ว แถมอ้างอิงคำประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ของคู่แข่งจากเดโมแครตในคืนเลือกตั้งว่า “เราต้องยอมรับผลการเลือกตั้งนี้และมองไปข้างหน้า”

    เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (16) มาร์ก เอเลียส ที่ปรึกษาทั่วไปของทีมหาเสียง ฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครต โพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ว่า แม้ไม่พบหลักฐานว่ามีการบ่อนทำลาย แต่ทีมหาเสียงรู้สึกว่าจะต้องรับผิดชอบชาวอเมริกันกว่า 64 ล้านคนที่ลงคะแนนให้คลินตัน โดยการทำให้แน่ใจว่ามีการนับคะแนนเสียงทุกคะแนนอย่างเหมาะสม

    ด้านว่าที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่า ประชาชนได้ออกเสียงและการเลือกตั้งก็เสร็จสิ้นแล้ว ดังเช่นที่คลินตันกล่าวไว้ในคืนวันเลือกตั้งว่า “เราต้องยอมรับผลการเลือกตั้งนี้และมองไปข้างหน้า”

    อย่างไรก็ตาม รัฐวิสคอนซินเริ่มนับคะแนนใหม่เมื่อวันศุกร์ (25) หลังได้รับการร้องเรียนจาก จิล สไตน์ ผู้สมัครจากพรรคกรีน ที่อ้างว่ามีความไม่ชอบมาพากลในผลการนับคะแนนที่วิสคอนซินประกาศออกมา รวมถึงรัฐมิชิแกน , รัฐเพนซิลเวเนีย ที่เธอเตรียมร้องขอให้นับคะแนนใหม่ในสัปดาห์นี้ สไตน์ยังระดมทุนจากผู้สนับสนุนเพื่อทำการเคลื่อนไหวเรื่องนี้นับล้านดอลลาร์

    ทรัมป์วิจารณ์ความพยายามของสไตน์ว่าเป็น “แผนการร้าย” และการระดมเงินนั้นเข้ากระเป๋าตัวเองเป็นส่วนใหญ่ พร้อมย้ำว่า “เราควรเคารพผลการเลือกตั้งนี้แทนที่จะท้าทายและล่วงละเมิดแบบที่สไตน์กำลังทำอยู่”

    ทั้งนี้ ทรัมป์เฉือนเอาชนะคลินตันใน 3 รัฐดังกล่าวอย่างหวุดหวิด จนสามารถเข้าสู่ทำเนียบขาวได้สำเร็จ ท่ามกลางความประหลาดใจอย่างมากในหมู่สำนักสำรวจความคิดเห็น

    นอกจากนั้นชัยชนะของทรัมป์ยังตามมาด้วยคำเตือนจากหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ ว่ารัสเซียพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งของอเมริกา คนนับพันที่ต่อต้านทรัมป์จึงพากันโจมตีว่าอาจมีความช่วยเหลือจากต่างชาติ

    คำร้องของสไตน์ต่อรัฐวิสคอนซิน ซึ่งหนังสือพิมพ์ "เดอะ การ์เดียน" ของอังกฤษได้รับสำเนามา มุ่งเน้นข้อกังวลที่ว่าบุคคลต่างชาติอาจคัดลอกฐานข้อมูลการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงของรัฐ และปลอมแปลงบัตรเลือกตั้งของผู้ที่ไม่สามารถไปลงคะแนนที่คูหาได้ โดยไม่มีการอ้างอิงหลักฐานสนับสนุนโดยตรงแต่อย่างใด

    ในการร้องขอให้นับคะแนนใหม่ สไตน์ดำเนินการในนามกลุ่มพันธมิตรนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเลือกตั้งที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ โดยคำร้องที่ยื่นต่อวิสคอนซินประกอบด้วยบันทึกคำให้การของเจ อเล็กซ์ ฮัลเดอร์แมน ผู้อำนวยการเซ็นเตอร์ ฟอร์ คอมพิวเตอร์ ซีเคียวริตี้ แอนด์ โซไซตี้ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ตีแผ่รายละเอียดความเสี่ยงของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐฯ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

    จอห์น โบนิฟาซ หนึ่งในผู้นำกลุ่มพันธมิตรนี้และเป็นผู้ก่อตั้ง เนชันแนล โวตติ้ง ไรต์ส อินสติติวท์ แสดงความไม่พอใจที่มีการกล่าวหาว่า สไตน์ใช้ประโยชน์จากความผิดหวังต่อผลการเลือกตั้งของประชาชนมาหาเงินและรวบรวบรายละเอียดการติดต่อจากนักเคลื่อนไหวเสรีนิยม พร้อมยืนยันว่า การดำเนินการนี้ขับเคลื่อนโดยกลุ่มที่อยากได้การเลือกตั้งที่สมบูรณ์และไม่ฝักใฝ่พรรคใด

    โบนิฟาซยังปกป้องการตัดสินใจของสไตน์ในการขอระดมทุนเพิ่มจากเป้าหมายเริ่มแรกที่ 2.5 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรว่าจ้าง เอเมอรี เซลลี บริงเคอร์ฮอฟฟต์ แอนด์ อะเบดี้ บริษัทกฎหมายในนิวยอร์กที่เชี่ยวชาญด้านข้อพิพาทในการเลือกตั้งด้วยงบประมาณ 7 ล้านดอลลาร์ นอกเหนือจากนั้นยังมีค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้องในแต่ละรัฐ รวมทั้งการฟ้องร้องหากมีการคัดค้านการนับคะแนนใหม่

    เอเลียสจากทีมหาเสียงของคลินตันระบุว่า เนื่องจากไม่ได้รับหลักฐานการแฮ็กระบบหรือความพยายามจากภายนอก ในการดัดแปลงเทคโนโลยีการลงคะแนน เดิมทีทีมงานจึงไม่มีแผนร้องเรียนให้มีการนับคะแนนใหม่

    “แต่ตอนนี้มีการนับคะแนนใหม่ที่วิสคอนเซิน เราจึงตั้งใจจะเข้าร่วมด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการนี้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” เอเลียส กล่าว

    ทรัมป์นั้นได้คะแนนเสียงจากประชาชนทั่วประเทศน้อยกว่าคลินตัน 2 ล้านคะแนน แต่ชนะการเลือกตั้งจากคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง ขณะที่ชาวอเมริกันกว่า 7 ล้านคนโหวตให้ผู้สมัครอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสไตน์และแกรี่ จอห์นสัน ซึ่งผลที่วิสคอนซิน ทรัมป์ชนะคลินตันแค่ 27,257 คะแนน

    เอเลียสยังโพสต์ว่า ถ้าจิลร้องเรียนให้มีการนับคะแนนใหม่ในเพนซิลเวเนียและมิชิแกนตามที่ประกาศ ทีมหาเสียงของคลินตันจะร่วมด้วย

    “เรารู้ว่า คะแนนของทรัมป์และฮิลลารีในมิชิแกนสูสีที่สุด โดยรีพับลิกันนำเพียง 10,704 คะแนน และจะมีการรับรองผลการนับคะแนนในวันจันทร์ (28)”

    เอเลียสทิ้งท้ายว่า นอกจากแนวโน้มที่อาจทำให้ผลการเลือกตั้งในรัฐใดๆ เหล่านี้เปลี่ยนแปลง ทีมหาเสียงของคลินตันรู้สึกว่า จำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่า ทีมเป็นตัวแทนของประชาชนในกระบวนการในศาลและในการตรวจสอบกระบวนการนับคะแนนใหม่

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai

    ... "ทรัมป์ บอก ฟิเดล คาสโตร เป็นเผด็จการที่ป่าเถื่อน หลังคาสโตรเสียชีวิต สัมพันธ์กับคิวบาจะร้าวฉานมากกว่าเดิม"

    ... หลังจากการประกาศการเสียชีวิตอย่างเป็นทางการในวัย 90 ปี ของนาย "ฟิเดล คาลโตร" รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของ "คิวบา" ที่ต่อต้านและต่อสู้กับจักรวรรดิ "อเมริกา" มาตลอดชีวิต เมื่อ 25 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น นาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกาก็ออกมาบอกว่าเขาเป็น "ผู้นำเผด็จการที่ป่าเถื่อน" ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น

    ... โดยทรัมป์หวังว่า "คิวบา" จะเป็นเสรีมากขึ้นในอนาคต

    ... "ฟิเดล คาสโตร" นั้นร่วมกันกับ "เชกูวาร่า" และ "ราอูล คาสโตร" น้องชายร่วมกันรัฐประหารโค่นล้มเผด็จการ "ฟุลเจนซิโอ บาติสต้า" เผด็จการที่มี "อเมริกา" ให้ท้ายอยู่ ในปี 1959 และเปลี่ยนประเทศเป็นระบอบ "คอมมิวนิสต์" ในช่วง "สงครามเย็น" ดังนั้นการที่ ฟิเดล คาสโตรล้มบาติสต้า ทำให้อเมริกาไม่พอใจ ถึงกับแบนการส่งสินค้าทุกอย่างไปที่คิวบา ในสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์

    ... "ฟุลเจนซิโอ บาติสต้า" ช่วงแรกก็รัฐประหารล้มนาย Gerardo Machado ผู้นำเผด็จการคนเดิมออกจากตำแหน่ง ในปี 1934 ที่มีการช่วยวางแผนช่วยเหลือโดย "อเมริกา" จากนั้นปี 1940 ก็มีการเขียนรัฐธรรมนูญกำมะลอ เพื่อให้ภาพลักษณ์ดูดีมีประชาธิปไตยมีการเลือกตั้ง จนครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมาจีนถึงปี 1944 ช่วงนั้นเขาเป็นหุ่นเชิดของ "อเมริกา" ต่อมาประชาชน "คิวบา" ต่อต้านเขามากขึ้น จนดูท่าจะเแพ้การเลือกตัังในปี 1952 แต่สุดท้ายเขาเองก็ไม่ยอมและยึดเอาอำนาจมาครอบครองต่อ ในรูปแบบ "เผด็จการเต็มตัว" ซึ่ง "อเมริกา" ก็ไม่สนใจว่าบาติสต้า จะเป็นเผด็จการตราบใดที่เขาปกป้องผลประโยชน์ของอเมริกา ในช่วงปี 1952 ถึง 1959 ที่สุดท้าย "ฟิเดล คาสโตร" และเพื่อนๆ รับประหารล้มล้างในที่สุด

    ... และในปี 1959 เดียวกันนั้นเอง "ซีไอเอ" ของอเมริกา ก็วางแผนจะลอบสังหาร คาสโตร ในหลายโอกาศแต่ก็ล้มเหลวตลอดมา และจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศก็ขาดสะบั้นลงทันที

    ... "ทรัมป์" นั้นเรียกเกาะ "คิวบา" ว่าเป็น เกาะแห่งเผด็จการ และบอกว่า ประชาชนชาวคิวบาสมควรจะได้รับอิสระเสรีมากขึ้น ความมั่งคั่งมากกว่านี้ และหลุดพ้นจากความน่าสะพรึงกลัวของระบบเผด็จการ

    ... และดูเหมือนว่านโยบายของเขาจะแข็งข้อและหนักหนากับคิวบามากกว่าสมัยโอบาม่า ในปี 2015 เป็นต้นมา ที่พยายามจะไม่ประนามคิวบา โดยมีการไปเยือนคิวบาเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี เพื่อจะดึงคิวบาออกจากอ้อมกอดของ "รัสเซีย" และที่สำคัญพยายามจะขัดขวางการมาตั้งฐานทัพเรือของรัสเซียในคิวบา ที่เหมือนการเอาปืนมาจ่อคอหอยของตัวเอง , ทั้งให้ "สันตะปาปา" แห่งวาติกันไปช่วยกล่อมก็แล้ว แต่คิวบาก็ไม่ใจอ่อน ตอนนั้น ฟิเดล คาสโตร ไม่ได้ให้โอบาม่าเข้าพบด้วย ยังดีที่ราอูลให้เข้าพบ แต่ก็ไม่ยอมให้กอดออกสื่อแต่อย่างใด ทำเอาโอบาม่าอับอายขายหน้าไปทั่วโลก

    ... แต่แม้ว่าราอูลจะไม่ยอมกอดกับโอบาม่า แต่แนวโน้มความสัมพันธ์ก็ดูท่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ และมีแผนการณ์จะเพิ่มและยกระดับมากขึ้นทีละนิด

    ... "ทรัมป์" ได้ออกมาวิจารณ์นโยบายของ "โอบาม่า" ในระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงคำกล่าวของเขาที่ว่าถ้าได้เป็นประธานาธิบดีจะทำทุกวิถีทางที่จะทำให้คิวบามั่งคั่งและเป็นเสรีนิยม หรือไม่ ในวิธีการอย่างไร

    ... ขณะที่ "โอบาม่า" ก็บอกว่า ประวัติศาสตร์จะบันทึกไว้ว่า ในสมัยของเขานั้น เขาได้พยายามที่จะสานสัมพันธ์และพยายามคืนดีกับ "คิวบา" แล้ว แม้ว่าจะไม่เห็นผลทันตาก็ตาม

    ... "ฟิเดล คาสโตร" นั้นได้วางมือจากการบริหารในปี 2006 และให้น้องชายผู้ร่วมการรัฐประหาร บาติสต้า สมุน "อเมริกา" ร่วมกันมาสืบตำแหน่งแทน จนเสียชีวิตในสิบปีต่อมา เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2016

    ... การที่ "ทรัมป์" ได้ออกมาวิจารณ์รัฐบุรุษประเทศอื่นว่าเป็น "เผด็จการที่ป่าเถื่อน" ในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากอสัญกรรม ขณะที่ประชาชนคิวบาออกมาเสียใจกันทั้งประเทศนั้น ก็เป็นสัญญาณแล้วว่า ความสัมพันธ์ของท้องสองชาติจะแย่กว่าสมัยโอบาม่าอย่างแน่นอน

    .
    Donald Trump calls Fidel Castro 'brutal dictator' - BBC News
    https://en.wikipedia.org/wiki/Fulgencio_Batista
    https://en.wikipedia.org/wiki/Fidel_Castro
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “ซูจี”หารือ“ลี เซียน ลุง”สัปดาห์นี้
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559, 06:00

    นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา เดินทางเยือนสิงคโปร์ในสัปดาห์นี้ แต่ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการยังไม่ได้ระบุวันเดินทางที่แน่นอน

    สำนักข่าวซินหัว รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว่า การเดินทางเยือนครั้งนี้ เป็นไปตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง ของสิงคโปร์ ซึ่งคาดว่า วันเดินทางจะเป็นวันที่ 1 ธันวาคมนี้

    ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเมียนมาและสิงคโปร์เปิดศักราชใหม่ หลังจากที่นายลี ได้เดินทางเยือนเมียนมาเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นผู้นำคนแรกของเอเชีย ที่ได้เดินทางเยือน ภายหลังจากที่รัฐบาลนางซูจี ภายใต้การนำของพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี ได้เข้าทำหน้าที่เมื่อวันที่ 1 เม.ย.

    ระหว่างการเดินทางเยือนเมียนมาของนายลีนั้น ทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงยกเว้นวีซ่าสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางแบบสามัญเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้

    สิงคโปร์ เป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเมียนมา รองจากจีน ด้วยเงินลงทุนสะสม 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ นับจนถึงเดือนต.ค. ปี 2559

    การเยือนสิงคโปร์ ของนางซูจี มีขึ้นในช่วงที่เธอถูกวิจารณ์จากหลายฝ่าย ในฐานะที่ยังคงปิดปากเงียบ กรณีกองทัพเมียนมากำลังใช้ข้ออ้างกรณีกลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่งโจมตีฐานรักษาการชายแดนที่เมืองหม่องดอ รัฐยะไข่ เมื่อเดือนที่แล้ว ทำการกวาดล้างชาวมุสลิมโรฮิงญา

    ล่าสุด เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ ระบุว่า ปฏิบัติการด้านความมั่นคงของเมียนมา เข้าข่ายเป็นความพยายามกำจัดชาติพันธุ์โรฮิงญา ด้วยการบีบบังคับให้พวกเขาต้องหลบหนีออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือบังกลาเทศ

    “ซูจี”หารือ“ลี เซียน ลุง”สัปดาห์นี้
    .
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐส่ง'ซูเปอร์แทงเกอร์'ช่วยดับไฟป่าอิสราเอล
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2559, 17:05

    สหรัฐส่งเครื่องบินบรรทุกน้ำช่วยอิสราเอลดังไฟป่าใกล้ทางหลวงเชื่อมนครเยรูซาเลมและกรุงเทลอาวีฟ ขณะที่หลายประเทศให้ความช่วยเหลือดับไฟเช่นกัน

    สหรัฐส่งเครื่องบินบรรทุกน้ำโบอิง 747-400 ซูเปอร์แทงเกอร์ (Supertanker) เข้าช่วยอิสราเอลดับไฟป่า โดยปฏิบัติภารกิจแรกขนส่งน้ำไปดับไฟในพื้นที่ใกล้กับทางหลวงเชื่อมต่อกับเยรูซาเลม และเมืองเทลอาวีฟ โดยสถานการณ์ไฟป่าล่าสุดในอิสราเอลนั้น แม้จะควบคุมไฟได้ในหลายพื้นที่แล้ว แต่ก็ยังเกิดจุดใหม่ปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากสหรัฐแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศส่งคณะเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยดับเพลิงในครั้งนี้ด้วย

    สหรัฐส่ง'ซูเปอร์แทงเกอร์'ช่วยดับไฟป่าอิสราเอล
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไม่สนใจโรฮิญจาเลย

    “ซูจี” ร้องกลุ่มติดอาวุธในรัฐชานร่วมลงนามข้อตกลงหยุดยิง โดย MGR Online 28 พฤศจิกายน 2559 13:30 น. (แก้ไขล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2559 17:45 น.)

    อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และประธานศูนย์สันติภาพและความปรองดองแห่งชาติ เรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่ต่อสู้กับกองกำลังของรัฐในรัฐชาน ทางภาคเหนือของประเทศ เข้าร่วมลงนามข้อตกลงหยุดยิงสันติภาพทั่วประเทศ. -- Agence France-Presse/Aung Htet.

    ซินหวา - นางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของพม่า เรียกร้องกลุ่มติดอาวุธให้เข้าร่วมกระบวนการสันติภาพของรัฐบาลด้วยการลงนามข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA)

    ซูจี ที่มีตำแหน่งเป็นประธานศูนย์สันติภาพและความปรองดองแห่งชาติด้วยนั้น ได้แสดงความเห็นดังกล่าวลงในประกาศที่กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในรัฐชาน โดยระบุว่า รู้สึกเสียใจและผิดหวังต่อเหตุปะทะกันที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ และแสดงความเสียใจและอาลัยต่อเหยื่อที่เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ

    ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ยังร้องขอให้กลุ่มติดอาวุธทำงานร่วมกันกับประชาสังคมเพื่อหาหนทางและวิธีการที่จะเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง และมุ่งมั่นทำงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายสันติภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมปางโหลงแห่งศตวรรษที่ 21 ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือน ก.พ.2560

    ความขัดแย้งทางทหารปะทุขึ้นในพื้นที่ชายแดนของรัฐชาน ทางภาคเหนือของประเทศ และในเช้าของวันอาทิตย์ (27) กลุ่มพันธมิตรของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม คือ กองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) และกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) ได้เปิดฉากโจมตีใส่ฐานทหาร และสถานีตำรวจในเมืองมูเซะ และเมืองกุ๊ตกาย รวมทั้งเขตการค้าชายแดนในเมืองมูเซะ.

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    InClip: ทรัมป์บ้าเลือด ทวีตอ้าง!!ลงคะแนนเถื่อนนับล้านใน 3 รัฐใหญ่ให้ฮิลลารี แต่มือเปล่าไร้ใบเสร็จประกอบ โดย MGR Online 28 พฤศจิกายน 2559 13:13 น.

    เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - วิบากกรรมยังมีต่อเนื่อง ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาอาละวาดผ่านทางทวิตเตอร์ตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์( (27 พ.ย) ต่อไปจนถึงวันนี้(28 พ.ย) ในเวลา 7.31 น. อ้างแบบไร้หลักฐานประกอบ ชี้มีการลงคะแนนแบบผิดกฎหมายใน 3 รัฐใหญ่ ได้แก่ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ รัฐเวอร์จิเนีย และรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่สื่อสหรัฐฯปิดตาไม่ยอมตรวจสอบ แถมยืนกราน “ชนะอิเลกทรอรัลโหวด” แบบแลนด์สไลด์เห็นๆ เชื่อชนะคะแนนป็อปปูลาร์โหวต หากตัดเสียงโกงหลายล้านออกไป

    เอเอฟพีรายงานวันนี้(28 พ.ย)ว่า หนทางไปสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์ที่เคยดูแจ่มใจกลับดูตีบตันไปชั่วขณะหลังจาก เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์อเมริกันจากพรรครีพับลิกันพบว่า คะแนนป็อปปูลาร์โหวตของตัวเองนั้นต้องพ่ายแก่คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ฮิลลารี คลินตัน โดยคลินตันได้ไป 2.2 ล้านเสียง

    และสถานการณ์ยิ่งพลิกผันเมื่อตัวแทนจากพรรคกรีนสหรัฐฯ จิล สไตน์(Jill Stein) ออกมาเรียกร้องให้มีการนับผลคะแนนรวมในรัฐคีย์สเตทใหม่อีกรอบ และยิ่งทำให้ว่าที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ หงุดหงิดม่ากขึ้นเมื่อทีมเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯของคลินตันได้ออกมายืนยันการสนับสนุนการขอนับคะแนนเสียงใหม่ในรัฐวิสคอนซิน

    เอเอฟพีรายงานว่า ในแถลงการณ์ล่าสุด ทั้งทรัมป์และผู้ช่วยต่างออกมาต่อต้านต่อเสียงเรียกร้องการนับคะแนนผลรวมใหม่ โดยในช่วงค่ำวันอาทิตย์(27 พ.ย) ซึ่งยังคงเป็นสุดสัปดาห์แห่งวันขอบคุณพระเจ้า เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์อเมริกันได้ระบายความอึดอัดใจด้วยการทวีตถึง 6 ข้อความติดต่อกันในเรื่องการยอมรับในผลการตัดสินเลือกตั้งที่ออกมาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

    โดยทรัมป์เริ่มต้นการทวีตตั้งแต่เวลา 19.55 น.ของเมื่อวานนี้(27 พ.ย) จากการรายงานของสื่อสหรัฐฯ NBC NEWS ว่า “คำตอบของฮิลลารีในช่วงดีเบตว่าถึงความล่าช้านั้น โดยเธอกว่าว่า “มันช่างน่าสะพรึงกลัว นี่ไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยของพวกเราที่เคยปฎิบัติมา ซึ่งยืนยาวนานมาร่วม 240 ปี พวกเรามีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ...”

    และในข้อความทวีตที่ 2 ทรัมป์ได้ยกคำพูดของฮิลลารีต่อว่า “และเธอกล่าวต่อว่า “และยุติธรรมมาโดยตลอด พวกเราต่างยอมรับในผลก่ารเลือกตั้งที่ออกมา..ไม่ว่าพวกเราจะยินดีต่อมันหรือไม่ และสิ่งนี้ถือเป็นมาตรฐานที่จะได้เห็นจากผู้ลงชิงตำแหน่งการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ”

    เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์อเมริกันยังทวีตข้อความที่ 3 ในเวลา 20.08 น.ว่า “และดิฉัน จากสิ่งหนึ่ง จะรู้สึกไม่พอใจมากหากว่ามีตัวแทนจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคของประเทศของเรา จะเลือกที่จะกระทำ”

    ส่วนข้อความที่ 4 ทรัมป์กล่าวถึงคำพูดคลินตันอีกว่า “และในอีกข้อคววามที่ไม่ต่อเนื่อง ฮิลลารี คลินตัยได้กล่าวว่า “ชายผู้นี้ได้กล่าวในสิ่งที่ดูน่ากลัว...เขาประกาศที่จะไม่ยอมรับในผลการตัดสินของ..”

    และในข้อความที่ 5 ทรัมป์ทวีตต่อว่า “การเลือกตั้ง ซึ่งนี่ถือเป็นภัยโดยตรงต่อระบบประชาธิปไตยของพวกเรา” และเธอกล่าวต่ออีกว่า “พวกเราต้องยอมรับในผลการเลือกตั้งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และมองออกไปข้างหน้า ซึ่งโดนัลด์..”

    ส่วนข้อความที่ 6 ซึ่งเป็นทวิตเตอร์สุดท้ายของวันก่อนที่เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์อเมริกันจะตื่นในเวลาตี 3 ของวันจันทร์(28 พ.ย)ทวีตต่อนั้น ทรัมป์ได้ปักหมุดถึงจุดยืนในเรื่องการยอมรับผลการเลือกตั้งสหรัฐฯของคลินตันว่า “..ทรัมป์ จะกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯของพวกเราทุกคน พวกเราเป็นหนี้เขาในความเป็นคนเปิดกว้าง และโอกาสในการที่จะนำพาประเทศ” และทรัมป์ยังได้แสดงความเห็นในทวีตเตอร์ชิ้นนี้ว่า “เงินและเวลาที่ต้องเสียไป แต่ผลนั้นเหมือนเดิม น่าเศร้า!!”

    ซึ่งในทวีตข้อความสุดท้าย ทรัมป์อาจจะต้องการโยงไปถึงการที่ต้องออกมานับผลคะแนนรวมใหม่ ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอย่างน้อย 3 รัฐนั้นเสียทั้งเงินและเวลา แต่ผลการเลือกตั้งออกมาเหมือนเดิม

    เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมว่า และในข้อความชุดใหม่ไม่นานหลังจากนั้น ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้อ้างว่า เขาอาจจะชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯในส่วนของผลการเลือกตั้งป็อปปูลาร์โหวต หรือจำนวนเสียงประชาชนชาวอเมริกันที่ได้หย่อนบัตรเลือกผู้นำสหรัฐฯ เขาชนะอย่างแน่นอนหากว่า “สามารถนำคะแนนเสียงนับล้านที่โหวตลงคะแนนแบบผิดกฏหมายออกไป”

    โดยการประกาศอ้างแบบไร้ใบเสร็จเป็นหลักฐานแนบประกอบของทรัมป์ในครั้งนี้เริ่มต้นอีกครั้งตั้งแต่เวลา 3.30 น. หรือที่รู้จักในเวลาราว ตี 3 ครึ่งของวันจันทร์(28 พ.ย) NBC NEWS ชี้ว่า ทรัมป์ได้เริ่มต้นประกาศ โดยกล่าวต่อว่า “ในการที่จะสามารถชนะการเลือกตั้งอิเลกทรอรัลโหวตแบบถล่มทะลายนั้น ผมได้ชนะในส่วนของคะแนนป็อปปูลาร์โหวต หากว่าสามารถนำคะแนนเสียงนับล้านที่โหวตแบบผิดกฎหมายออกไปได้”

    และข้อความที่ 2 ของทรัมป์เกิดขึ่นในเวลา 7.31 น. มีใจความต่อเนื่องว่า “มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงผิดกฎหมายจำนวนมากในรัฐเวอร์จิเนีย รัฐนิวป์แฮมเชียร์ และรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ทำไมไม่เห็นพวกสื่อสหรัฐฯรายงานเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ลำเอียงอย่างแท้จริง และนั่นเป็นปัญหา!!”

    เอเอฟพีชี้ว่า ทั้งทรัมป์และผู้ช่วยไม่ได้แสดงหลักฐานเพื่อรอวงรับคำประกาศอ้างในเรื่องการโกงลงคะแนนเสียงเลื้อกตั้งในหลายรัฐทั่วอเมริกา และอีกทั้งทรัมป์ไม่ได้ออกมาอธิบายด้วยตัวเองเพิ่มเติมว่า เหตุใดตัวเขาจึงเลือกที่จะต่อต้านการนับผลคะแนนรวมในรัฐวิสคอนซินใหม่..หากว่าการโกงการเลือกตั้งเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างที่เขากล่าวอ้างจริง

    ในขณะที่ NBCNEW ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าในช่วงคืนวันอาทิตย์(28 พ.ย)นั้นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีที่มาในการแสดงความคิดเห็นเหล่านี้จากที่ใด หรือเหตุใดจึงต้องรอให้การเรียกร้องของสไตน์ในเรื่องการยื่นขอนับผลคะแนนรวมใหม่เป็นปัญหาใหญ่

    อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญการเลือกตั้งสหรัฐฯส่วนใหญ่ได้ให้ความเห็นกับสื่อเอเอฟพีว่า เกือบที่จะไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นผลการเลือกตั้งสหรัฐฯถูกพลิก เนื่องมาจากว่าคลินตัน คู่แข่งตามหลังทรัมป์ในเกือบทุกรัฐโดยมีคะแนนห่างไม่กี่แสนเสียง

    นอกจากนี้ยังพบว่า ทรัมป์ชนะในรัฐมิชิแกน รัฐเพนซิลเวเนีย และรัฐวิสคอนซิน ด้วยตัวเลขคะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 100,000 เสียง ที่ถึงแม้ว่าเขาจะมีคะแนนชนะอิเลกทรอรัลโหวตเกินไปกว่าขั้นต่ำ 270เสียงในการเอาชนะฮิลลารี คลินตันก็ตาม

    ทั้งนี้พรรครีพับลิกันต่างยืนกรานมานานแล้วว่า คนเข้าเมืองผิดกฎหมายอเมริกาสวมสิทธิ์ลงคะแนนผิดกฎหมายในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยสื่อการเมืองสหรัฐฯ โพลิติแฟกต์( politifact) รายงานล่าสุดในวันที่ 18 พ.ย อ้างถึงการขึ้นหัวข่าวของ อินโฟวอร์ส (InfoWars) สื่อปีกขวาจัดเต็มไปด้วยทฟษฎีสมรู้ร่วมคิดของอเล็กซ์ โจน์ส( Alex Jones)ระบุว่า "3 ล้านเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปีนี้มาจากพวกต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย"

    และความเชื่อเรื่องการที่คนต่างด้าวเข้าอเมริกา (ที่อาจได้รับการสนับสนุนทางอ้อมจากพรรคเดโมแครตที่มีฐานเสียงเป็นชนกลุ่มน้อยในอเมริกา และยังมีนโยบายเข้าเมืองอเมริกา กฎหมายดรีมแอ็ก ให้สิทธิความเป็นผู้มีสิทธิ์อาศัยในอเมริกาถูกต้องแก่คนเข้าเมืองผิดกฎหมายที่เดินทางเข้าอเมริกามาแต่อายุน้อย และเติบดตในสภาพแวดล้อมอเมริกา )มีอิทธิพลต่อการเมืองอเมริกา โดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดูเหมือนจะฝังหัวทางฝั่่งพรรครีพับลิกันที่อาจย้อนไปล่าสุดตั้งแต่ยุค มิตต์ รอมนีย์ เ้ป็นตัวแทนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2012

    โดยจากการรายงานของหนังสือพิมพ์สหรัฐฯ วอชิงตันโพสต์ ในวันที่ 24 ต.ค ล่าสุด ผลการสำรวจของโพลฟิชระบุว่า มีผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันถึง 60% ที่เชื่อว่า ต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายใช้สิทธิ์การเลือกตั้ง และอีก43% เชื่อว่ามีการสวมสิทธิ์คนตายเกิดขึ้น

    และเป็นที่น่าตกใจเมื่อพบว่า ความคิดเรื่องอาจการมีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้นในโลกเสรีเช่น อเมริกา โดยวอชิงตันโพสต์ ในขณะนั้นชี้ว่า ผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันถึง 84% เชื่อว่า มีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้นในการเลือกตั้งอเมริกา ในขณะที่ฝ่ายออกเสียงอิสระถึง 75% เชื่อว่ามีการโกงเช่นเดียวกัน และในตัวเลข 52% ของผู้สนับสนุนจากพรรคเดโมแครตเชื่อว่า อาจมีการโกงในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ทางวอชิงตันโพสต์ระบุว่า ที่ผ่านมายังไม่มีประเด็นการตรวจพบการโกงแบบโจ่งแจ้งเกิดขึ้นก็ตาม

    [ame]https://youtu.be/-s59A0ghYks[/ame]
    [ame]https://youtu.be/zieN6Xlnj9o[/ame]
    ซึ่งในการสำรวจความคิดเห็นของโพลฟิชออกมาในช่วงที่ทรัมป์ ได้ออกมาประกาศว่า กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯมีปัญหา และเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนของเขาออกไปเฝ้าและจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะมีความโปร่งใสทุกขั้นตอน แต่สื่อวอชิงตันโพสต์รายงานว่า แถลงการณ์เรียกร้องครั้งนี้ถูกตีความไปได้ว่า เป็นความพยายามในการข่มขู่ผู้มีสิทธิ์ชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ผิวสี ผิวน้ำตาล และเอชียในอเมริกาแทน

    InClip:
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชาวอินเดียหลายหมื่นชุมนุมประท้วงรัฐเลิกใช้แบงก์ “500-1,000 รูปี” โดย MGR Online 28 พฤศจิกายน 2559 16:56 น. (แก้ไขล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2559 17:25 น.)

    ชาวอินเดียในเมืองไฮเดอราบัดจุดไฟเผาหุ่นนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ด้วยความโกรธแค้นที่รัฐบาลสั่งยกเลิกธนบัตรชนิด 500 และ 1,000 รูปี วันนี้ (28 พ.ย.)

    เอเอฟพี - ชาวอินเดียหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมประท้วงทั่วประเทศวันนี้ (28 พ.ย.) เพื่อแสดงความไม่พอใจที่รัฐบาลยกเลิกธนบัตรชนิด 500 และ 1,000 รูปี จนฉุดประเทศดำดิ่งลงสู่ “ภาวะฉุกเฉินทางการเงิน”

    วิถีชีวิตของคนอินเดียยังคงปั่นป่วนหนัก หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ประกาศคำสั่งยกเลิกธนบัตรมูลค่าสูง คิดเป็นร้อยละ 86 ของธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในประเทศ จนก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนเงินตราในสังคมภารตะซึ่งซื้อขายสินค้าด้วยเงินสดเป็นหลัก

    ผู้ประท้วงราว 25,000 คนได้ออกมาเดินขบวนตามท้องถนนในเมืองกัลกัตตา เมืองเอกของรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งโดย มามาตา บาเนอร์จี มุขมนตรีหญิงหัวซ้าย ได้กล่าวเตือนว่าอาจเกิด “จลาจลและโรคระบาด” หากรัฐบาลกลางยังขืนใช้คำสั่งยกเลิกธนบัตรมูลค่าสูงต่อไป

    ตำรวจแถลงว่า ที่นครมุมไบซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจทางฝั่งตะวันตกของอินเดียก็มีประชาชนรวมกลุ่มประท้วงราวๆ 6,000 คน

    อย่างไรก็ดี ชาวอินเดียที่หาเช้ากินค่ำหลายคนบอกว่ารู้สึกพอใจมาตรการของรัฐบาล ซึ่งบีบให้พวกเศรษฐีต้องนำรายได้ที่ไม่เคยเปิดเผยมาแจ้ง ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีเป็นธรรมมากขึ้น และมีประชาชนเพียงไม่กี่รัฐเท่านั้นที่ตอบสนองข้อเรียกร้องให้ออกมาชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ

    มานิศ ติวารี สมาชิกพรรคคองเกรสซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ระบุว่า “พวกเรากำลังประท้วงภาวะฉุกเฉินทางการเงินที่รัฐบาลก่อขึ้น และประท้วงความยากลำบากของคนทั้งประเทศ ซึ่งเกิดจากคำสั่งที่ผิดกฎหมายของรัฐบาล”

    “รัฐบาลยกเลิกธนบัตรมูลค่าสูงโดยปราศจากอำนาจและกฎหมายรองรับ และนี่คือการกระทำที่ผิดกฎหมายแน่นอน”

    ประชาชนที่มีธนบัตรชนิด 500 และ 1,000 รูปีมีเวลาจนถึงสิ้นปีนี้ที่จะนำธนบัตรไปฝากธนาคาร และหากจะแลกโดยตรงก็สามารถแลกได้เพียงจำนวนน้อย

    อย่างไรก็ตาม ทางการอินเดียเองก็ไม่สามารถพิมพ์ธนบัตรใหม่ออกมาทดแทนได้ทัน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ก็เตือนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้อาจกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้

    อดีตนายกรัฐมนตรี มาน โมฮัน ซิงห์ จากพรรคคองเกรสซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ได้กล่าวเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า มาตรฐานยกเลิกธนบัตรจะบั่นทอนการขยายตัวของจีดีพีลงถึง 2% หลังจากที่เคยเติบโตได้ถึง 7% ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน

    “ผมไม่ได้คัดค้านวัตถุประสงค์ของมาตรการนี้ แต่นี่คือกรณีตัวอย่างของการบริหารจัดการที่ผิดพลาดร้ายแรง” ซิงห์ แถลงต่อรัฐสภา

    “วิธีการยกเลิกธนบัตรที่รัฐบาลทำอยู่จะบั่นทอนการเติบโตของภาคการเกษตร และส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ”

    ธุรกรรมการเงินในอินเดียกว่าร้อยละ 90 ถูกกระทำผ่านเงินสด และประชาชนที่มีฐานะยากจนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารได้

    คนอินเดียจำนวนมากไม่มีเงินซื้ออาหารหรือสิ่งของจำเป็น ชาวนาก็ไม่มีเงินไปซื้อเมล็ดพันธุ์มาเพาะปลูก ขณะที่พวกผู้ค้ารายย่อยก็พลอยขาดทุนอย่างหนักไปด้วย

    แม้จะถูกวิจารณ์อย่างมาก แต่นายกรัฐมนตรีโมดีก็ยังยืนกรานจะเดินหน้ามาตรการนี้ต่อไป พร้อมอ้างว่ากระแสต่อต้านมาจากพวกที่ต้องการเลี่ยงภาษี และขอให้ประชาชนเปลี่ยนไปทำธุรกรรมแบบไม่ใช้เงินสดแทน

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มีการเปิดเผยไล่หลังตามมาว่าจิลล์ สไตน์ได้รับการสนับสนุนจากจอร์จ โซรอส แสดงว่าเป็นแผนป่วนโดนัลด์

    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

    แผนหยุดโดนัลด์ ทรัมป์:
    ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง บารัค โอบามาด่ารัสเซียหลายอาทิตย์ว่าจะแฮ็คข้อมูลการเลือกตั้ง ในอเมริกา ส่วนฮิลารี คลินตันก็กล่าวหารัสเซียว่าเป็นคนแฮ็คข้อมูลมาให้จูเลียน อัสสังค์ ผู้ก่อตั้งวิกิหลีกแฉ ตอนนี้ ชัดแล้ว ๑.จูเลียน อัสสังค์ออกมาแจงว่าข้อมูลที่เขาได้ไม่เกี่ยวกับรัสเซียใดๆ ๒.ไม่กี่วันก่อน บารัค โอบามาออกมาบอกว่า 'ที่บอกว่ารัสเซียจะแฮ็คข้อมูลเลือกตั้งนั้น ตนแค่พูดเล่นๆ!'
    หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งไป ฮิลารี คลินตันก็หายหน้าหายตาไปจากสื่อไปมากแล้ว มาโผล่ขึ้นมาตามหน้าหนังสือพิมพ์อีกครั้งเพื่อเรียกร้องให้มีการนับคะแนนการเลือกตั้งในบางรัฐใหม่ ผู้ริเริ่มจุดชนวนให้มีการนับคือจิลล์ สไตน์ (Jill Stein) แต่มีการเปิดเผยไล่หลังตามมาว่าจิลล์ สไตน์ได้รับการสนับสนุนจากจอร์จ โซรอส แสดงว่าเป็นแผนป่วนโดนัลด์ ทรัมป์มิให้เป็นประธานาธิบดีโดยง่ายนั่นเอง
    ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
    *หมายเหตุ: ถ้าจะแชร์ ไม่ต้องขออนุญาตแต่โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจนและหากจะวิจารณ์ โปรดใช้คำสุภาพเพื่อป้องกันการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ โปรดสะกดใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยด้วย ผมพยายามลบข้อความวิจารณ์ที่หยาบและสะกดผิดออกทุกครั้งที่เห็น ในกรณีที่วิจารณ์ไม่เข้าเรื่อง อ่อนตรรกะหรือหยาบเกินไปบ่อยๆ ผมอาจจะบล็อคไม่ให้วิจารณ์อีกนะครับ
    https://conservativedailypost.com/a...institute-vote-takeover-in-election-reversal/.
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “ทรัมป์” พูดลอยๆ หลายรัฐ “โกงสะบัด” โอ่ชนะป๊อปปูลาร์โหวตถ้าเลือกตั้งใส โดย MGR Online 28 พฤศจิกายน 2559 21:03 น. (แก้ไขล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2559 21:36 น.)

    เอเจนซีส์ - โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาลอยๆ ในวันอาทิตย์ (27 พ.ย.) ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีการโกงกันอย่างร้ายแรง โดยมีคนนับล้านๆ ลงคะแนนเสียงกันอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งถ้าหักคะแนนเหล่านั้น ตนก็จะชนะ ฮิลลารี คลินตัน ในป๊อปปูลาร์โหวตด้วย ทั้งนี้ เขาออกมาพูดเช่นนี้ หลังจากทีมรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครพรรคเดโมแครตประกาศว่า อาจร่วมเรียกร้องให้นับคะแนนใหม่ในหลายรัฐ ขณะเดียวกัน ที่ปรึกษาคนสำคัญของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณว่า ถ้าเดโมแครตผลักดันการนับคะแนนใหม่ออกนอกหน้า ทรัมป์อาจไม่ระงับแผนการเช็คบิลคดีอีเมลฉาวของคลินตัน

    ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา แบบช็อกสายตาคนดูทั่วโลก โดยได้คะแนนเสียงจริงๆ จากประชาชน หรือ ป๊อปปูลาร์โหวต แพ้คลินตันราว 2.2 ล้านเสียง ทว่า เขาได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง หรือ อิเล็กเทอรัลโหวต ซึ่งเป็นตัวชี้ขาดว่าใครจะได้เป็นประมุขคนใหม่ของอเมริกา เกินกว่าครึ่งหนึ่ง ทำให้ตัวคลินตันเองประกาศยอมแพ้ในวันที่ 9 พ.ย. ถึงแม้การนับคะแนนในหลายมลรัฐยังไม่เสร็จสิ้น

    ในวันอาทิตย์ (27) ที่ผ่านมา ทรัมป์ ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรครีพับลิกัน ได้กระหน่ำโพสต์ทวิตเตอร์ตั้งแต่ช่วงเช้าและบางโพสต์พาดพิงถึงคลินตัน ว่า ควรเคารพกระบวนการเลือกตั้ง และเมื่อถึงช่วงค่ำ ว่าที่ประมุขทำเนียบขาวเริ่มมีน้ำเสียงตีรวนมากขึ้นโดยโพสต์ ว่า นอกจากชนะคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งถล่มทลายแล้ว ตนอาจชนะป็อปปูลาร์โหวตด้วย หากหักคะแนนจากพวกที่ลงคะแนนผิดกฎหมายนับล้านๆ คนออก

    เท่านั้นยังไม่พอ ทรัมป์ ยังโพสต์ในคืนวันอาทิตย์ ว่า มีการโกงเลือกตั้งอย่างร้ายแรงในรัฐเวอร์จิเนีย นิวแฮมป์เชียร์ และแคลิฟอร์เนีย ที่คลินตันชนะทั้ง 3 รัฐ พร้อมกล่าวหาสื่อว่า อคติที่ไม่ยอมรายงานเรื่องนี้

    ทรัมป์และผู้ช่วยไม่ได้แสดงหลักฐานประกอบข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ รวมทั้งไม่ได้ให้ความกระจ่างว่า จะคัดค้านการนับคะแนนที่รัฐวิสคอนซินหรือไม่ หากมีปัญหาการโกงการเลือกตั้งรุนแรงจริง นอกจากนั้นจวบจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งใดๆ เลย ออกมาระบุว่า มีการโกงการเลือกตั้งกว้างขวางอย่างที่ทรัมป์กล่าวหา

    “ทรัมป์” พูดลอยๆ หลายรัฐ “โกงสะบัด” โอ่ชนะป๊อปปูลาร์โหวตถ้าเลือกตั้งใส
    ตำรวจนิวยอร์ก ตรวจถุงหิ้วและกระเป๋าบริเวณด้านหน้าอาคารทรัมป์ ทาวเวอร์ ในนิวยอร์ก ที่พำนักของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์

    ถึงแม้ทรัมป์ออกมาพูดไม่ขาดปากก่อนการเลือกตั้ง ว่า ผลการเลือกตั้งอาจถูกบิดเบือน แต่เขาก็ไม่เคยร้องเรียนเรื่องนี้เลยหลังจากตัวเองเป็นฝ่ายชนะชนิดหักปากกาเซียน จนกระทั่งตอนนี้ที่ จิลล์ สไตน์ ผู้สมัครจากพรรคกรีน เรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ในรัฐวิสคอนซิน และ มาร์ก อิริก เอเลียส นักกฎหมายด้านการเลือกตั้งของคลินตันประกาศบนเว็บไซต์ Medium.com เมื่อวันเสาร์ (26) ว่า ทีมหาเสียงของแคนดิเดตจากเดโมแครตอาจร่วมเคลื่อนไหวในการเรียกร้องให้นับคะแนนใหม่ในรัฐมิชิแกนและ เพนซิลเวเนีย

    ทั้ง 3 รัฐที่สไตน์ทำเรื่องร้องเรียนนี้เป็นรัฐที่เคยเทคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งก่อนๆ แต่หนนี้กลับลงคะแนนให้ทรัมป์ชนะแบบฉิวเฉียด วิสคอนซินนั้นมีคะแนนผู้เลือกตั้ง 10 เสียง, มิชิแกน 16 เสียง และเพนซิลวาเนีย 20 เสียง ขณะที่ในเวลานี้เมื่อรวมเอา 3 รัฐนี้เข้าไว้ด้วยทรัมป์จะมีคะแนนอีเล็กเทอรัลโหวต 306 เสียง ส่วนคลินตันมี 232 เสียง เมื่อเป็นเช่นนี้หมายความว่า หากผลการนับคะแนนใหม่ออกมาว่า คลินตันเป็นผู้ชนะทั้งหมด เธอก็จะกลับกลายเป็นผู้ได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งเกินครึ่ง และจะได้เป็นประธานาธิบดีแทน ถึงแม้พวกผู้เชี่ยวชาญยังคงมองว่าเป็นไปได้ยากมากที่เธอจะกลับพลิกมีชัยได้ในทั้ง 3 มลรัฐเช่นนี้ ตามผลที่ออกมาในขณะนี้นั้น ทั้ง 3 รัฐทางคลินตันตามหลังทรัมป์อยู่ในระดับหลักหมื่น และรวม 3 รัฐแล้วเธอได้ห่างจากทรัมป์ราวแสนคะแนนเศษ

    ในวันอาทิตย์ (27) เช่นกัน เคลลี่ แอนน์ คอนเวย์ ผู้ช่วยระดับสูงของทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า หากทีมคลินตันผลักดันเรื่องการนับคะแนนใหม่ในวิสคอนซินออกนอกหน้าเกินไป ว่าที่ประธานาธิบดีอาจทบทวนคำประกาศก่อนหน้านี้ที่ว่า จะไม่ดำเนินคดีอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งกรณีการใช้เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ

    คอนเวย์บอกกับเครือข่ายเอบีซีว่า แม้ทรัมป์ “เอื้อเฟื้อ” ต่อคลินตัน แต่คลินตันกลับแสดงท่าทีว่า ต้องการให้ที่ปรึกษาเดินหน้าให้มีการนับคะแนนใหม่

    นอกจากปัญหาเรื่องการนับคะแนนใหม่แล้ว ช่วงเปลี่ยนผ่านของทรัมป์ยังเต็มไปด้วยขวากหนามอีกทั้งปรากฏสัญญาณความขัดแย้งภายในในการเลือกรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งบางคนในทีมสนับสนุน มิตต์ รอมนีย์ ตัวแทนพรรครีพับลิกันในศึกชิงทำเนียบขาวปี 2012 ขณะที่กลุ่มกระแสหลักชู รูดี จูเลียนี อดีตนายกเทศมนตรีนิวยอร์ก

    ความตึงเครียดภายในทีมทรัมป์ฟ้องออกมาชัดเจนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่คอนเวย์ทวิตว่า มีผู้แสดงความกังวลเข้ามา “ท่วมท้น” เกี่ยวกับรอมนีย์

    เมื่อเครือข่ายเอ็นบีซีสอบถามเรื่องนี้ในวันอาทิตย์ คอนเวย์ ยืนยันว่า ไม่ได้ต่อต้านรอมนีย์ แต่ประหลาดใจที่มีเสียงเตือนหลั่งไหลเข้ามาเกี่ยวกับการเสนอชื่อรอมนีย์ที่เคยเป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจเก่าในพรรครีพับลิกันวิจารณ์ทรัมป์อย่างไม่ไว้หน้ามาก่อน

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประเทศไทยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี!

    วิถีทุนสามานย์!! "โดนัลด์ ทรัมป์" ไปไม่รอด ถูกถอดถอน พ้นตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ เพราะผลประโยชน์ทับซ้อน

    อินดิเพนเดนท์ ได้รายงานข่าว ว่า นีลล์ เฟอร์กูสัน แห่งสถาบันฮูเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เคยคาดหมายเมื่อเดือนมิถุนายน ว่าทรัมป์ มีโอกาสดีที่จะชนะศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มากกว่าที่เหล่านักสังเกตการณ์ทั้งหลายบ่งชี้ อย่างไรก็ตามในคำทำนายล่าสุด เฟอร์กูสัน บอกว่าภูมิหลังนักธุรกิจของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้เขาก้าวเข้าสู่ทำเนียบขาว ท้ายที่สุดแล้วจะกลายมาเป็นบ่อนทำลายตัวเขาเสียเอง

    บทความที่เขียนลงในซันเดย์ไทม์ส เฟอร์กูัน ระบุว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชูนโยบายหาเสียงในฐานะคนนอกแวดวงการเมืองและเน้นย้ำไหวพริบทางธุรกิจของเขาในการเรียกคะแนนจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียง แต่เวลานี้ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งสัญญาณต่างๆของการเอาผลประโยชน์ทางธุรกิจมาผสมปนเปกับหน้าที่ทางราชการ แม้เคยอ้างว่าเป้าหมายแรกคือบริหารประเทศและจะไม่สนใจในธุรกิจของตนเองก็ตาม

    โดนัลด์ ทรัมป์ มีกิจการการค้ามากมายอยู่ทั่วโลก ด้วยหลายประเทศเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของอเมริกา ขณะที่เขาและครอบครัว ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับทีมเปลี่ยนผ่านและบริหารอาณาจักรทรัมป์ ได้พบปะกับเหล่าพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างประเทศทันทีหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้ง ธุรกิจบางอย่างก่อความกังวลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตุรกี ประเทศซึ่งมีความสำคัญใหญ่หลวงในภูมิภาค ขณะที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ปกป้องความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดี เรเซป เทอยิบ เออร์โดกัน ที่ปราบปรามฝ่ายต่อต้านอย่างโหดเหี้ยม หลังมีความพยายามก่อรัฐประหารแต่ล้มเหลว

    เฟอร์กูสัน บอกว่า ว่าที่ประธานาธิบดีไม่มีพันธะทางกฎหมายในการส่งมอบธุรกิจให้ผู้อื่นดูแลทำให้เสียงเรียกร้องให้เขาทำแบบนั้นก็ดูจะไร้ความหมาย อย่างไรก็ตาม เฟอร์กูสัน ตั้งข้อสังเกตว่าโดยทั่วไปพวกนักธุรกิจมักเป็นนักการเมืองที่เลวเนื่องจากการจัดเก็บภาษีมันเป็นอะไรที่ง่ายดายกว่าการทำเงินจากธุรกิจ "มันคือช่วงเวลากลืนไม่เข้าคายไม่ออก คณะผู้ปกครองแยกตัวออกจากชีวิตของประชาชนทั่วไป ท้ายที่สุดพวกเขาก็จะถูกกำจัด" เขากล่าว "ในอเมริกา เรียกกันว่าการถอดถอน เดโมแครตเหลือเวลาแค่ 2 ปีในการหาทางทวงคืนเสียงข้างมากในรัฐสภา ตามคำทำนาย หากพวกเขาทำสำเร็จ วันเวลาของการเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ ก็จะลดน้อยถอยลง"

    เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์ภาพโดย CBSNews

    วิถีทุนสามานย์!! "โดนัลด์ ทรัมป์" ไปไม่รอด ถูกถอดถอน พ้นตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ เพราะผลประโยชน์
    .
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไม่อยากถูกกดดันเรื่องโรฮิงญา

    ไม่กล้าสู้หน้าชาวโลก!! "อองซาน ซูจี" เลื่อนเยือน "อินโดนีเซีย" ไม่มีกำหนด หลังถูกแรงกดดันจากทั่วโลก กรณีโรฮิงญา

    สำนักข่าวเอเอฟพี ได้รายงาน ว่ากระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ว่า กำหนดเดินทางเยือนอินโดนีเซียของ นางอองซานซูจี ผู้นำเมียนมา จะถูกเลื่อนออกไปก่อน หลังจากที่มีการชุมนุมประท้วงเกี่ยวกับเหตุปราบปรามชาวมุสลิมโรฮิงญาของเมียนมา และการวางแผนระเบิดโจมตีสถานทูตเมียนมา ในกรุงจาการ์ตา ที่ตำรวจเพิ่งจะรวบตัวผู้ต้องสงสัยไปเมื่อไม่นานนี้ ชาวโรฮิงญาหลายพันคนได้หลั่งไหลอพยพข้ามพรมแดนจากรัฐยะไข่ ของเมียนมา เข้าไปในเขตแดนบังกลาเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมกับเรื่องราวที่อ้างว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าก่อเหตุข่มขืน ทรมาน และสังหารผู้คน

    นางอองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากสิ่งที่เจ้าหน้าที่สหประชาชาติกล่าวว่าเป็นการเริ่มต้นของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รัฐบาลของเธอ ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านั้น โดยระบุว่ากองทัพกำลังตามล่าผู้ก่อการร้ายที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีรุนแรงกับด่านชายแดนตำรวจเมื่อเดือนก่อน ผู้สื่อข่าวต่างชาติและผู้สืบสวนอิสระไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ติดชายแดนบังกลาเทศ

    ผู้ชุมนุมประท้วงหลายร้อยคนออกมาชุมนุมตามท้องถนนในอินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เรียกร้องให้รัฐบาลตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับเมียนมา และเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจอินโดนีเซียระบุว่าสามารถจับกุมตัวสมาชิกกลุ่มหัวรุนแรงที่เกี่ยวข้องโยงใยกับไอเอสได้เป็นรายที่ 3 ที่ถูกกล่าวหาว่าช่วยวางแผนวางระเบิดสถานทูตเมียนมา ในกรุงจาการ์ตา นางอองซาน ซูจี มีกำหนดเดินทางเยือนอินโดนีเซียหลังเสร็จสิ้นการเยือนสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. ถึงวันที่ 2 ธ.ค. แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ระบุว่ากำหนดเยือนดังกล่าวจะถูกเลื่อนออกไป เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จิลล์ สไตน์ พรรคกรีนได้รับการสนับสนุน จาก จอร์จ โซรอส ผู้ให้เงินสนับสนุนฮิลลารี่เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ

    ไม่จบง่ายๆ!พรรคกรีนยื่นขอนับคะแนนใหม่เพิ่มในเพนซิลเวเนีย ทำทุกทางสกัดทรัมป์เป็นปธน.สหรัฐฯ
    โดย MGR Online 29 พฤศจิกายน 2559 04:02 น. (แก้ไขล่าสุด 29 พฤศจิกายน 2559 05:02 น.)

    รอยเตอร์/เอเจนซี - ผู้สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯจากพรรคกรีน เมื่อวันจันทร์(28พ.ย.) ยื่นขอนับคะแนนใหม่ในรัฐเพนซิลเวเนีย ความเคลื่อนไหวที่อาจขัดขวางเส้นทางสู่เก้าอี้ผู้นำของโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะเดียวกันทำเนียขาวก็ออกมาตอบโต้คำกล่าวหาของมหาเศรษฐีนิวยอร์กรายนี้ที่บอกว่ามีการโกงเลือกตั้งกันอย่างร้ายแรง

    จิลล์ สไตน์ ผู้สมัครจากพรรคกรีนได้ยื่นขอนับคะแนนใหม่ในเขตเลือกตั้งต่างๆมากกว่า 100 เขตในรัฐเพนซินเวเนีย หลังจากก่อนหน้านี้เธอก็เพิ่งยื่นขอนับคะแนนในรัฐอื่นๆ 2 รัฐ ได้แก่วิสคอนซิลและมิชิแกน

    การยื่นขอนับคะแนนใหม่ของสไตน์ มีขึ้นในขณะที่คณะกรรมการเลือกตั้งของรัฐวิสคอนซิน เห็นพ้องนับคะแนนใหม่ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี หลังทรัมป์ ได้รับชัยชนะอย่างฉิวเฉียดในรัฐแห่งนี้

    คาดหมายว่ากระบวนการนับคะแนน ซึ่งจะใช้วิธีการนับมือบัตรเลือกตั้งเกือบ 3 ล้านในในวิสคอนซิล จะเริ่มต้นในช่วงปลายสัปดาห์หน้า และทางรัฐเผชิญกับเส้นตายต้องนับคะแนนใหม่ทั้งหมด 72 เขตให้แล้วเสร็จในวันที่ 13 ธันวาคม

    สไตน์ ได้รณรงค์ขอเงินสนับสนุนผ่านทางออนไลน์ เป็นค่าใช้จ่ายในกระบวนการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ โดยเธอเผยว่าจนถึงตอนนี้สามารถระดมเงินจากผู้บริจาคได้แล้วอย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เธอเคลื่อนไหวเมื่อวันพุธที่แล้ว(23พ.ย.) เพื่อขอนับคะแนนใหม่ในวิสคอนซิน มิชิแกนและเพนซิลเวเนีย ขณะที่ ไสตน์ วางเป้าหมายระดมเงินให้ได้ถึง 7 ล้านดอลลาร์ สำหรับค่าใช้จ่ายทางกฎหมายและค่าธรรมเนียมต่างๆ

    ทั้ง 3 รัฐเป็นสมรภูมิเลือกตั้งที่ ทรัมป์ เฉือนชนะ ฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครจากเดโมแครตอย่างหวุดหวิด

    ความพยายามของ สไตน์ อาจมอบรังสีแห่งความหวังแก่เหล่าผู้สนับสนุนคลินตัน แต่โอกาสที่จะล้มผลโดยรวมของศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนนั้นมองว่ามีแค่เล็กน้อย แม้ทั้ง 3 รัฐจะตกลงเดินหน้านับคะแนนใหม่ก็ตาม

    ผู้สมัครจากพรรคกรีนรายนี้ ซึ่งมีคะแนนป็อบปูลาร์โหวตทั่วประเทศเกิน 1 เปอร์เซ็นต์แค่เล็กน้อย อ้างว่าเธอกำลังหาหนทางตรวจสอบความซื่อตรงของระบบเลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ได้ต้องการโค่นล้มชัยชนะของทรัมป์แต่อย่างใด

    สไตน์ บอกว่าแม้ไม่พบหลักฐานการเข้ายุ่งเกี่ยวหรือความผิดพลาดใดๆของการโหวต แต่การทบทวนผลการเลือกตั้งจากทั้ง 3 รัฐอย่างละเอียด จะช่วยสร้างความอุ่นใจแก่อเมริกันชน "การเลือกตั้งถูกเจาะโดยมือแฮกเกอร์" เธอบอกกับซีเอ็นเอ็น อ้างถึงกรณีที่มีการโจมตีทางไซเบอร์ต่างๆนานา ต่อองค์กรทางการเมืองและบัญชีอีเมลส่วนตัวของบุคคลต่างๆ ก่อนวันเลือกตั้ง และรายงานของสื่อมวลชนที่อ้างความกังวลของเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

    ตัวแทนของพรรคกรีนบอกว่าพวกผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้ตรวจสอบใน 3 รัฐเป็นพิเศษ เพราะมองว่ามีระบบการเลือกตั้งที่ค่อนข้างอ่อนแอ โดยพวกเขาตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติว่าทำไมฮิลลารีได้คะแนนแย่ในเขตที่ใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับการใช้บัตรกาคะแนนและเครื่องสแกนนับคะแนน
    รวมถึงความแตกต่างอย่างมากระหว่างโพลก่อนเลือกตั้งกับผลคะแนนอย่างเป็นทางการ

    ในวันอาทิตย์ (27) ที่ผ่านมา ทรัมป์ ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรครีพับลิกัน ได้กระหน่ำโพสต์ทวิตเตอร์ตั้งแต่ช่วงเช้าและบางโพสต์พาดพิงถึงคลินตัน ว่า ควรเคารพกระบวนการเลือกตั้ง และเมื่อถึงช่วงค่ำ ว่าที่ประมุขทำเนียบขาวเริ่มมีน้ำเสียงตีรวนมากขึ้นโดยโพสต์ ว่า นอกจากชนะคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งถล่มทลายแล้ว ตนอาจชนะป็อปปูลาร์โหวตด้วย หากหักคะแนนจากพวกที่ลงคะแนนผิดกฎหมายนับล้านๆ คนออก

    เท่านั้นยังไม่พอ ทรัมป์ ยังโพสต์ในคืนวันอาทิตย์ ว่า มีการโกงเลือกตั้งอย่างร้ายแรงในรัฐเวอร์จิเนีย นิวแฮมป์เชียร์ และแคลิฟอร์เนีย ที่คลินตันชนะทั้ง 3 รัฐ พร้อมกล่าวหาสื่อว่า อคติที่ไม่ยอมรายงานเรื่องนี้

    ในวันจันทร์(28พ.ย.) ทำเนียบขาวออกมาตอบโต้ทรัมป์ โดยระบุว่าไม่พบหลักฐานโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวางในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีและทั้ง 3 รัฐก็ปฏิเสธคำกล่าวหาของทรัมป์

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โพล CNN/ORC พบอเมริกัน 8 ใน 10 เห็นว่าสหรัฐแตกแยกแบบร้าวลึกหลังเลือกตั้ง-ไม่พอใจระบบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ Last updated: 28 พฤศจิกายน 2559 | 15:22

    [​IMG]

    ผลสำรวจ CNN คนอเมริกัน 8 ใน 10 คนเห็นว่าหลังการเลือกตั้งสังคมอเมริกันแตกแยกอย่างร้าวลึกในหลายประเด็น รวมทั้ง 51 % เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญจัดระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐใหม่ไม่เอา Electoral College ทั้งทรัมพ์และฮิลลารีได้รับความนิยมน้อยลง มากกว่า 50 % ไม่พอใจระบบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่
    เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2016 โพลสำนักข่าว CNN/ORC ที่จัดทำระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายนและนำเสนอวันที่ 27 พฤศจิกายนด้วยการสำรวจสุ่มตัวอย่าง 1,003 ผู้ใหญ่ทั่วประเทศ โพลเสีย +/- 3 % และรายงานโดย เจนนิเฟอร์ อะกีสต้า ผู้อำนวยการโพลของสำนักข่าว CNN

    รายงานระบุว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2016 ซึ่งผู้แทนของ 2 พรรคที่คนชอบน้อยที่สุดลงชิงชัยกันพบจากการสำรวจว่าคนอเมริกัน 8 ใน 10 คนเห็นว่าสหรัฐเกิดความแตกแยกอย่างร้าวลึก ( more deeply divided )ในปัญหาใหญ่ๆของประเทศมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งมากกว่า 50 % ไม่พอใจระบบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในสหรัฐ

    แม้กระทั่งในหัวข้อที่ว่าพรรคการเมืองเดียว (รีพับลิกัน)สามารถควบคุมได้ทั้งทำเนียบขาวและสภาคองเกรสนั้นถือว่าดีหรือไม่ดีสำหรับประเทศ โดย 49 % ของทั้งสองพรรคมีคำถามเช่นกัน

    คนอเมริกัน 8 ใน 10 คนยังเห็นว่าพรรครีพับลิกันสมควรที่จะนำนโยบายของพรรคเดโมแครตเข้าไปร่วมด้วยก่อนที่จะผ่านร่างกฎหมายใดๆในสภาคองเกรสไม่ใช่นำนโยบายของพรรครีพับลิกันเพียงพรรคเดียวไปออกเป็นกฎหมาย

    ความเห็นต่อการนำนโยบายมาร่วมมือกัน

    โพลต้องการเห็นกลุ่มใหม่ๆที่สนับสนุนนายดอนัลด์ ทรัมพ์ มากกว่ากลุ่มที่สนับสนุนอยู่แล้ว สาเหตุเพราะแม้นายทรัมพ์จะคว้าชัย Electoral College แต่เขาก็พ่ายแพ้ใน Popular votes

    ในจำนวนนี้น้อยกว่า 40 % เห็นว่าชัยชนะของนายทรัมพ์จะทำให้เขานำนโยบายที่หาเสียงไว้มาดำเนินการตามที่ผู้ลงคะแนนเสียงให้เขาช่วงรณรงค์หาเสียง 53 % เห็นว่าเมื่อเขาไม่ชนะใน Popular votes ควรที่จะเก็บบางนโยบายไว้เพื่อขอรับการสนับสนุนจากผู้ลงคะแนนเสียงกลุ่มใหม่ที่จะให้การสนับสนุนเขา

    เมื่อถามว่าควรนำนโยบายของพรรคเดโมแครตมาร่วมด้วยเหมือนคราวที่พรรคเดโมแครตชนะในปี 2008 ทั้งเข้าไปควบคุมทำเนียบขาวและสภาคองเกรสหรือไม่ คนรีพับลิกัน 55 % เห็นด้วย ในปี 2008 คนพรรคเดโมแครตเห็นด้วย 74 % ที่จะนำนโยบายของพรรครีพับลิกันมารวมด้วย

    ระบบประชาธิปไตยในสหรัฐ

    ในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผลการเลือกตั้งสร้างความประหลาดใจไปทั่ว(เพราะนายทรัมพ์ชนะ) คนพรรคเดโมแครตไม่พอใจในระบบประชาธิปไตยของสหรัฐที่เป็นอยู่ (เดโมแครต 63 % ไม่พอใจ ,รีพับลิกันไม่พอใจ 47 %) ขณะที่แกนนำพรรครีพับลิกันไม่พอใจประชาธิปไตยมากกว่าคนของ GOP โดยรวม

    เมื่อสอบถามไปถึงชาวคริสต์ผิวขาว( white evangelicals ) 60 % ไม่พอใจ ขณะที่ 62 % ของคนอเมริกันในชนบทก็ไม่พอใจ 60% สำหรับคนผิวขาวที่ไม่ได้เรียนระดับคอลเลจ(กลุ่มสนับสนุนนายทรัมพ์) 61 % ไม่พอใจขระที่กลุ่มที่เรียนจบปริญญา 52 % ไม่พอใจ

    สังคมอเมริกันแตกแยกมาก

    เมื่อสอบถามถึงความเห็นของสังคมอเมริกันเรื่องความแตกแยกและเห็นต่างกันในปัญหาต่างๆนั้นเฉลี่ย 85 % ของการสำรวจทั้งหมดมองว่าประเทศแตกแยกมากขึ้น โดยแยกเป็นกลุ่มๆดังนี้

    86 % ของกลุ่มอิสระไม่สังกัดพรรคเห็นว่าสังคมแตกแยกมากขึ้น

    85 % ของคนพรรครีพับลิกันเห็นว่าสังคมแตกแยกมากขึ้น

    84 % ของคนพรรคเดโมแครตเห็นว่าสังคมแตกแยกมากขึ้น

    ความเห็นดังกล่าวมากกว่าผลการเลือกตั้งปี 2000 (ที่จอร์จ บุช ชนะ อัล กอร์)โดยบุชชนะ Electoral College แต่ก็พ่ายแพ้ใน Popular votes ซึ่งในปีนั้น 64 % เห็นว่าสังคมอเมริกันแตกแยกกันมาก

    คนอเมริกัน 8 ใน 10 คนที่เห็นว่าสังคมแตกแยกนั้นเป็นทั้งกลุ่มคนแต่ละเพศ,เชื้อชาติ,อายุและการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถามถึงอุดมคติ 91 % ของกลุ่มเสรีนิยมเห็นว่าสังคมแตกแยก ในขณะที่กลุ่มอนุรักษ์นิยม 80 % เห็นเหมือนกัน

    ความเห็นต่อผู้นำรีพับลิกันในสภาคองเกรส

    เมื่สอบถามความเห็นของผู้นำพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสว่านิยมหรือไม่นิยม

    นายพอล ไรอัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้รับความนิยม 47 % ไม่ได้รับความนิยม 35 %

    นายมิทช์ แมคคอนแนล ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภา ได้รับความนิยม 25 % ไม่ได้รับความนิยม 39 %

    แต่เมื่อถามเฉพาะคนของพรรครีพับลิกันนายพอล ไรอัน ได้มากกว่านายแมคคอนเแนล 8 % คือ 48 % ต่อ 40 %

    ขณะที่โพลก่อนหน้านี้ 1 สัปดาห์ พบว่านายดอนัลด์ ทรัมพ์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐได้รับความนิยม 47 % ไม่ได้รับความนิยม 50 %

    การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐ

    เมื่อสอบถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐเพื่อจัดระบบเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ 51 % เห็นว่าควรแก้ไข ส่วนอีก 44 เห็นว่าควรคงระบบเดิมไว้ (การเลือกตั้งโดยทั่วไปของสหรัฐใช้ระบบ Popular votes ยกเว้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมี Electoral votes เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รัฐที่ผู้สมัครคนใดได้ชัยชนะก็จะรับ Electoral votes ไปทั้งหมดเรียกว่า winner-take-all)

    การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี 2000 ที่นายจอร์จ บุช ชนะนายอัล กอร์ ก็มีคำถามจากโพลเช่นกันหลังจากที่นายกอร์ชนะป๊อบปูลา โหวต โดยผู้ตอบคำถามเห็นว่าควรเปลี่ยนระบบ 59 % ส่วน 37 % เห็นว่าควรคงระบบเลือกตั้ง Electoral votes ไว้

    สอบถามความเห็นกรณีที่นางฮิลลารี คลินตัน ชนะป๊อบปูลา โหวตในปี 2016 พบดังนี้ โดยเฉลี่ย 40 % ให้การสนับสนุนฮิลลารี 57 % ไม่สนับสนุนเธอ เมื่อสอบถามถึงคนเดโมแครตให้การสนับสนุนเธอ 79 % หรือลดลงจาก 86 % ที่ให้การสนับสนุนเมื่อเดือนตุลาคม

    สังคมอเมริกันในช่วงของการหาเสียงที่ผ่านมาทั้งนายดอนัลด์ ทรัมพ์ และนางฮิลลารี คลินตัน มีความแตกต่างกันจนทำให้สังคมอเมริกันแตกแยกมากขึ้นทั้งปัญหาที่ตำรวจถูกประท้วงเมื่อเข้าไปยิงคนผิวดำเสียชีวิตเกิดขจึ้นหลายระลอก,กลุ่มขวาจัดที่เรียกว่า alt-right groups ได้รับความนิยมมากขึ้น,การเสนอให้คนมุสลิมในสหรัฐลงทะเบียน,การจำกัดจำนวนไม่ให้คนอพยพเข้าสู่สหรัฐ,การปราบปรามผู้อยู่อย่างผิดกฎหมาย ฯลฯ

    รายละเอียดเพิ่มเติมผลการสำรวจความเห็นทั้งหมดทุกหัวข้อเข้าไปดูได้ที่

    http://i2.cdn.turner.com/cnn/2016/images/11/27/poll.divided.pdf

    First posted: 28 พฤศจิกายน 2559 | 12:05

    โพล CNN/ORC พบอเมริกัน 8 ใน 10 เห็นว่าสหรัฐแตกแยกแบบร้าวลึกหลังเลือกตั้ง-ไม่พอใจระบบประชาธิปไต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.6 KB
      เปิดดู:
      590

แชร์หน้านี้

Loading...