ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โอบามาซึม! “ทรัมป์” ขู่คว่ำข้อตกลงฟื้นสัมพันธ์ “คิวบา” หากไม่ได้เงื่อนไขที่ดีกว่าเดิม โดย MGR Online 29 พฤศจิกายน 2559 16:32 น.

    รอยเตอร์ - โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ ออกมาขู่วานนี้ (28 พ.ย.) ว่าจะยกเลิก “ข้อตกลง” ต่างๆ ที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ทำไว้กับรัฐคอมมิวนิสต์คิวบา หากไม่สามารถเจรจาต่อรองเงื่อนไขที่ดีกว่าเดิมได้

    ทรัมป์ ซึ่งประกาศจะล้มนโยบายฟื้นสัมพันธ์กับคิวบาที่ โอบามา ได้ปูทางไว้ตั้งแต่ปี 2014 ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์ว่า “ถ้ารัฐบาลคิวบาไม่เต็มใจทำข้อตกลงที่จะดียิ่งกว่าสำหรับชาวคิวบาเอง ผมก็จะยกเลิกข้อตกลงทั้งหมดเสีย”

    ชาวคิวบาต่างหวั่นวิตกว่า ทรัมป์ จะเข้ามาปิดกั้นการค้าและการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างพลเมืองทั้งสองชาติ ซึ่งเริ่มผ่อนคลายไปในทางที่ดีขึ้นในช่วง 2 ปีมานี้ หลังจาก โอบามา และประธานาธิบดี ราอูล คาสโตร ได้บรรลุข้อตกลงยุติความเป็นอริที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และสหรัฐฯ ได้เข้าไปเปิดสถานทูตในกรุงฮาวานาอีกครั้ง

    สายการบินของสหรัฐฯ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินสู่กรุงฮาวานาเป็นครั้งแรกเมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) หลังจากที่ตัดขาดกันมานานกว่า 50 ปี

    คำประกาศของ ทรัมป์ มีขึ้นในขณะที่ชาวคิวบากำลังไว้อาลัยต่อการจากไปของ ฟิเดล คาสโตร ผู้นำการปฏิวัติสังคมนิยมในคิวบาเมื่อปี 1959 และอดีตประธานาธิบดีที่ปกครองเกาะแคริบเบียนแห่งนี้มานานเกือบครึ่งทศวรรษ

    สุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้ คาสโตร ตัดสินใจถ่ายโอนอำนาจให้แก่ ราอูล แบบชั่วคราวในปี 2006 ก่อนจะเปิดทางให้น้องชายก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างสมบูรณ์ในปี 2008

    ระหว่างหาเสียงเพื่อชิงบัลลังก์ทำเนียบขาว ทรัมป์ ได้กล่าวไว้ว่า เขาคิดว่าการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาเป็นเรื่องดี แต่ โอบามา ควรเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้เงื่อนไขที่เป็นประโยชน์มากกว่านี้

    โอบามาซึม! “ทรัมป์” ขู่คว่ำข้อตกลงฟื้นสัมพันธ์ “คิวบา” หากไม่ได้เงื่อนไขที่ดีกว่าเดิม
    ประธานาธิบดี ราอูล คาสโตร แห่งคิวบา ชูมือของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ขึ้น ระหว่างที่การพบปะที่ทำเนียบแห่งการปฏิวัติในกรุงฮาวานา เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2016

    นิตยสารนิวส์วีคได้รายงานว่า บริษัทแห่งหนึ่งของ ทรัมป์ ก็เคยพยายามเข้าไปขยายธุรกิจในคิวบา


    เมื่อการหาเสียงดำเนินมาจนถึงช่วงท้ายๆ ทรัมป์ ยิ่งปลี่ยนจุดยืนต่อคิวบาให้แข็งกร้าวยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อเรียกคะแนนนิยมจากชาวอเมริกันเชื้อสายคิวบาว่าเขานั้นไม่ได้นิยมชมชอบในตัว ฟิเดล คาสโตร หรือ ราอูล ผู้เป็นน้องเลยแม้แต่น้อย

    ทรัมป์ มีถ้อยแถลงเมื่อวันเสาร์ (26) หรือหลังจากที่ ฟิเดล คาสโตร ถึงแก่อสัญกรรมเพียง 1 วันว่า สหรัฐฯ ภายใต้การนำของเขาจะ “ทำทุกวิถีทาง” เพื่อส่งเสริมให้ชาวคิวบาได้มีเสรีภาพและความเจริญรุ่งเรือง หลังจากที่ คาสโตร จากโลกนี้ไปแล้ว

    รัฐบาลคิวบาต่อต้านการใช้อิทธิพลแทรกแซงการเมืองโดยสหรัฐฯ มาตลอด ทว่าจนถึงขณะนี้ ประธานาธิบดี ราอูล ก็ยังคงสงวนท่าทีเรื่อง ทรัมป์ และรอดูว่าคำพูดคุยเขื่องของมหาเศรษฐีผู้นี้จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นนโยบายจริงหรือไม่

    อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณบ่งบอกว่า ทรัมป์ อาจจะทำจริงอย่างที่พูด เพราะทีมงานช่วงเปลี่ยนผ่านของเขานั้นมีชื่อของ เมาริซิโอ เคลเวอร์-คาโรน ซึ่งเป็นหัวหอกสนับสนุนให้อเมริกาคงบทลงโทษทางเศรษฐกิจต่อคิวบาไว้ รวมไปถึง โรเบิร์ต เบลา นักการทูตผู้มีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์แบบสุดลิ่ม และเคยวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคาสโตรอย่างดุเดือดขณะประจำการอยู่ที่กรุงฮาวานาในยุคของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช รวมอยู่ด้วย

    กระนั้นก็ดี ชาวคิวบาส่วนใหญ่ยังมองว่า ปัญหาใหญ่สำหรับพวกเขาก็คือมาตรการปิดกั้นทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั่นเอง

    “เราถูกปิดกั้นมานานถึง 50 ปีแล้ว และคงจะต้องใช้ชีวิตแบบเดิมต่อไป ไม่ว่าจะมี ทรัมป์ หรือไม่ก็ตาม” เทเรซา อัลเมนเตโร คนขายยาสูบวัย 52 ปี ให้สัมภาษณ์ขณะเดินทางมาเคารพศพ ฟิเดล คาสโตร ที่จัตุรัสแห่งการปฏิวัติในกรุงฮาวานา

    “ฉันไม่กลัวเขาหรอก และคนคิวบาก็ไม่มีใครกลัวเขาด้วย”

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    จิ้งจอกเฒ่าสารพัดพิษหางโผล่: แอร์โดกันผายลมกองทัพตุรกีรุกรานซีเรียเพื่อล้มการปกครองของอัสซาด
    -----------

    วันที่ 29 พ.ย.59 RT พาดหัวข่าวว่า "แอร์โดกัน: กองทัพตุรกีในซีเรียเพื่อล้มการปกครองของอัสซาด" (Erdogan: Turkish forces are in Syria to end Assad's rule)

    ประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan แห่งตุรกีได้กล่าว (ตอแหล) ว่ากองทัพตุรกีที่เข้าไปในซีเรียก็เพื่อยุติระบอบการปกครองของประธานาธิบดีบัชชาร์ อัลอัสซาด ซึ่งแอร์โดกันกล่าวหาว่าเป็นขบวนการก่อการร้ายและก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตหลายแสนคน

    "พวกเราได้เข้าไป [ในซีเรีย] เพื่อยุติการปกครองของจอมทรราชอัลอัสซาดซึ่งก่อการร้ายด้วยการก่อวินาศกรรมทั่วประเทศ [พวกเราไม่ได้เข้าไป] เพื่อเหตุผลอื่นเลย" ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวในงาน Inter-Parliamentary Jerusalem Platform Symposium ครั้งแรกที่อิสตันบูล อ้างโดยหนังสือพิมพ์ Hurriyet (ของตุรกี) [ใครเชื่อคำพูดของหมอนี่ระวังจะออกลูกเป็นลิงนะครัชชชช - ผู้แปล]

    นายแอร์โดกันกล่าวว่า ตุรกีไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องอาณาเขตในซีเรีย เพียงแต่ต้องการให้ความช่วยเหลือด้านอำนาจ (อาวุธ) แก่ประชาชนชาวซีเรียเท่านั้น กรุงอังการาต้องการที่จะฟื้นฟู "ความยุติธรรม"

    [ฮ่าๆๆ... ขอกระโถนหน่อยครับท่าน ไอ้หมอนี่มันช่างโครตกระล่อนทองจริงๆ พับผ่าสิ กลุ่มประเทศอียูต่างก็พากันรุมด่ารัฐบาลตุรกีภายใต้การนำของจิ้งจอกเฒ่าตัวนี้ว่าเป็นเผด็จการ สั่งปิดปากสื่อฯฝ่ายค้านจำนวนมาก จับกุมนักการเมืองฝ่ายค้านที่เห็นต่าง ยัดข้อหาก่อการร้ายให้กับชาวเคิร์ดในตุรกี และยัดข้อหาฝ่ายค้านว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการกูเลน นั่นคือตัวอย่างของความยุติธรรมแบบแอร์โดกัน - ผู้แปล]

    แอร์โดกันผายลมต่ออีกว่า "ทำไมพวกเราถึงเข้าไปหนะหรือ? (ก็เพราะว่า) พวกเราไม่ได้ชายตาจ้องแผ่นดินซีเรียเลย [น่าเชื่อถือตายหละ!] กรณีนี้ก็เพื่อมอบที่ดินให้กับเจ้าของที่แท้จริง กล่าวคือพวกเราอยู่ที่นั่นก็เพื่อสร้างความยุติธรรม"

    [ให้ตายสิ! ไม่เคยเห็นใครหน้าด้านหน้าทนเท่ากับหมอนี่มาก่อนเลย ตุรกีมีสิทธิ์อะไรไปแทรกแซงกิจการภายในของซีเรียโดยที่รัฐบาลซีเรียไม่ได้เชิญ? ถ้าอย่างนั้นรัสเซีย จีน อิหร่าน เกาหลีเหนือ หรือประเทศอื่นๆทั่วโลกก็มีสิทธิ์ที่จะยกกองทัพเข้าไปในตุรกีโดยอ้างว่าเพื่อมอบความยุติธรรมและแผ่นดินให้กับเคิร์ดได้เช่นกันนะสิ แอร์โดกันอย่างขัดขวางหละ

    ในที่สุดปธน.แอร์โดกันก็ยอมรับว่าส่งกองทัพของตนเองเข้าไปในซีเรีย ก่อนหน้านี้อ้างว่าเป็นพวกกองกำลังกบฏฝ่ายค้านซีเรียสายกลาง (FSA) จริงๆแล้ว ส่วนมากเป็นทหารรับจ้างที่มาจากตุรกีทั้งนั้น

    ข้ออ้างของพวกนักล่าอาณานิคมเหล่าหละ สมัยก่อนตุรกีก็ส่งกองทัพของตนเองเข้าไปก่อสงครามในไซปรัส แบ่งเกาะไซปรัสออกเป็นสองซีก มีสองรัฐบาล จนป่านนี้ตุรกีก็ยังไม่ยอมถอนกองกำลังของตนเองออกจากไซปรัส อ้างว่าเพื่อปกป้องชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี ถ้ารัสเซียจะส่งกองทัพเข้าไปในซีเรียอ้างว่าเพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวเคิร์ดและชาวตุรกีที่ถูกฝ่ายรัฐบาลแอร์โดกันกดขี่ข่มเหงบ้าง นายแอร์โดกันคงจะไม่ว่าอะไรสินะ?

    สารเลวพวกนี้สามารถยกเหตุผลร้อยแปดพันเก้ามาอ้างในการรุกรานประเทศอื่นได้โดยไม่อายฟ้าอายดิน ตอนที่ตุรกีส่งกองทัพของตนเองเข้าไปในอิรัค แม้ว่ารัฐบาลอิรัคจะคัดค้านและพยายามขับไล่อย่างไรก็ไม่ยอมถอนทัพออกไป ก็อ้างว่าเพื่อปกป้องชาวเคิร์ด แต่ในขณะเดียวกันตุรกีก็ซัดกับเคิร์ดทั้งในซีเรียและตุรกีทุกวัน "งาช้างไม่งอกออกจากปากสุนัข" แอร์โดกันคงจะไม่เคยได้ยินคำนี้มั๊ง - ผู้แปล]

    ป.ล. แปลแค่นี้ก็พอนะครับ แปลมากกว่านี้ไม่ไหว ท้องไส้ปั่นป่วน สะอิดสะเอียนกับคำตอแหลของคนหน้าด้าน นี่คือตัวอย่างของประธานาธิบดีที่น่าภาคภูมิใจของตุรกี

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    30/11/2559
    ------------
    https://www.rt.com/news/368601-erdogan-syria-oust-assad/
    https://sputniknews.com/politics/201611291047980398-turkey-erdogan-syria/
    Turkey entered Syria to end al-Assad’s rule: President Erdoğan - MIDEAST
    The world is bigger than 5 - Beril Dedeoğlu - Daily Sabah
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เออร์โดกันไม่ต้องการประโยชน์จากประเทศซีเรียเลยซักนิดๆ แต่ต้องการเยอะๆๆๆๆๆ.น่ะครัย

    ‘ตุรกี’ต้องการ ‘เขตกันชน’ ใน ‘ซีเรีย’เพื่อสร้าง ‘นิคมชาวอุยกูร์จากจีน’? โดย คริสตินา ลิน19 ตุลาคม 2558 20:51 น. (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times | Covering geo-political news and current affairs across Asia)

    A buffer zone for Erdogan’s Turkic settlements in Syria?
    By Christina Lin
    11/10/2015

    ประธานาธิบดี เรเซป ไตยิป เออร์โดกัน ของตุรกี กำลังผลักดันให้ฝ่ายตะวันตกยอมรับแผนการจัดตั้ง “เขตกันชน” และ “เขตห้ามบิน” ขึ้นในซีเรีย โดยอ้างว่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและเพื่อช่วยเหลือ “กบฏสายกลาง” ต่อสู้กับพวกไอเอสและรัฐบาลอัสซาด อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นๆ เบื้องหลังข้อเสนอเหล่านี้ เป็นต้นว่า เพื่อให้สะดวกแก่การตั้งรัฐเล็กๆ ในคาถาของอังการาขึ้นในพื้นที่ของซีเรียซึ่งประชิดกับตุรกี จะได้ช่วยดูแลสายท่อก๊าซที่เริ่มต้นจากกาตาร์ผ่านซาอุดีอาระเบียและตุรกี เข้าสู่ยุโรป นอกจากนั้น อังการายังกำลังดำเนินแผนการนำเอาชาวอุยกูร์ที่เป็นพวกหัวรุนแรงจากจีน เข้ามาตั้งนิคมอยู่ในพื้นที่ของรัฐเล็กๆ ในซีเรียดังกล่าวนี้อีกด้วย

    ประธานาธิบดี เรเซป ไตยิป เออร์โดกัน ของตุรกี อยู่ในกรุงบรัสเซลส์ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคมที่ผ่านมา และพยายามผลักดันให้สหภาพยุโรป (อียู) ยอมรับแผนการ 2 เรื่อง ได้แก่ การจัดตั้งเขตพื้นที่กันชนขึ้นมาเขตหนึ่งในซีเรียเพื่อวัตถุประสงค์ในทางมนุษยธรรม และแผนการในการให้ความคุ้มกันทางอากาศเพื่อสนับสนุน “กบฏสายกลาง” ให้เดินทางเข้าซีเรียเพื่อสู้รบกับทั้ง กลุ่ม ISIS (I) และระบอบปกครอง (ของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-) อัสซาด

    ในขณะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่ผู้ลี้ภัยทะลักหลั่งไหลเข้าสู่อียูอย่างฉับพลันในช่วงระยะนี้ เออร์โดกันกล่าวว่า “สาเหตุรากเหง้าของวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยทุกวันนี้ คือสงครามที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในซีเรีย และการกระทำแบบก่อการร้ายที่ได้รับความอุปถัมภ์จากรัฐ ซึ่ง (ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-) อัสซาดกำลังลงมือดำเนินการด้วยตนเอง” จากนั้นเขาก็หยิบยกเสนอประเด็นทั้งเรื่องการจัดตั้ง “เขตพื้นที่ปลอดภัยซึ่งจะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการก่อการร้าย” และ “เขตพื้นที่ห้ามบิน” [1]

    ขณะที่เป็นเรื่องจริงที่ทั้งตุรกี, เลบานอน, และจอร์แดน ต่างคนต่างกำลังแบกรับภาระในการต้อนรับผู้ลี้ภัยจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน แต่แหล่งข่าวต่างๆ หลายหลากก็ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลเพิ่มเติมประการอื่นๆ ซึ่งอาจสามารถใช้อธิบายได้ว่า ทำไมตุรกีจึงกำลังกระตือรือร้นนักในการเสนอให้จัดตั้งเขตห้ามบินขึ้นในซีเรีย

    สร้างรัฐเล็กๆ ของพวกซาลาฟิสต์ขึ้นในซีเรีย เพื่อดูแลสายท่อส่งก๊าซจากกาตาร์-ตุรกีเข้าสู่อียู

    ในบทความชิ้นหนึ่งของวารสาร “อาร์มด์ ฟอร์ซส์ เจอร์นัล (Armed Forces Journal) เมื่อปี 2014 [2] มีการถกเถียงอภิปรายประเด็นที่ว่า สงครามกลางเมืองซีเรียในปัจจุบัน ได้รับแรงขับดันอย่างไรจากผลประโยชน์ของ กาตาร์/ตุรกี/ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกำลังดำเนินการสายท่อส่งก๊าซสายหนึ่งที่จะลำเลียงก๊าซของกาตาร์ ผ่านดินแดนซาอุดีอาระเบีย, ซีเรีย, ตุรกี และเข้าสู่ตลาดอียูที่จะสามารถทำกำไรได้อย่างงาม ทั้งนี้ สายท่อส่งนี้จะวางผ่านพื้นที่จังหวัดอเลปโป (Aleppo) ของซีเรีย ที่ตุรกีเสนอให้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามบินในคราวนี้ [3]

    หากสามารถกำจัดอัสซาดลงไป แล้วแทนที่ด้วยระบอบปกครองของชาวซาลาฟิสต์ (salafist) (II) ซึ่งมีความเป็นมิตรต่อพวกเขา ขึ้นมาในซีเรียแล้ว กลุ่ม 3 ชาตินี้ก็จะสามารถต่อสายเชื่อมเข้าสู่ตลาดพลังงานของอียู ในช่วงเวลาที่ยุโรปกำลังเกิดความตึงเครียดกับเจ้าตลาดพลังงานในอียูรายเดิมอย่างรัสเซีย สืบเนื่องจากปัญหายูเครน พร้อมกันนั้น กลุ่ม 3 ชาตินี้ยังจะมีรายรับไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องซึ่งสามารถนำเข้าสู่กองทุนทำสงครามของพวกเขา เพื่อใช้สนับสนุนขบวนการอิสลามิสต์ในภูมิภาคแถบนี้

    อันที่จริงเมื่อขบคิดพิจารณากันให้ถ่องแท้แล้ว มันก็ดูไม่น่าเป็นไปได้หรอกที่ระบอบปกครองเผด็จการของกาตาร์ และของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งระบอบปกครองที่รวบอำนาจมากขึ้นทุกทีของตุรกี จะกลายเป็นผู้ที่กำลังสู้รบเพื่อสร้างอนาคตที่เป็นประชาธิปไตยขึ้นในซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูจากนักรบต่างชาติจำนวนมากและกลุ่มอิสลามิสต์สุดโต่งซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ใน “กองทัพแห่งชัยชนะ” (อาร์มี ออฟ คองเกวสต์ Army of Conquest) (III) ของพวกเขา ซึ่งปัจจุบันตั้งกองบัญชาการอยู่ในจังหวัดอิดลิบ (Idlib) ทั้งนี้ “กบฏสายกลาง” เหล่านี้ในทางเป็นจริงแล้วกำลังมีพฤติการณ์ทำลายล้างผู้คนต่างเผ่าพันธุ์ต่างศาสนา ด้วยการเข่นฆ่าหรือขับไล่ทั้งชาวคริสต์, พวกดรูซ (Druze) ตลอดจนชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในเวลาเดียวกับที่นำเอากฎหมายอิสลาม หรือ “ชารีอะห์” (sharia) ออกมาบังคับใช้

    สิ่งที่กำลังปรากฏขึ้นมานี้ ยังเป็นการยืนยันสนับสนุนรายงานฉบับหนึ่งเมื่อปี 2012 ของสำนักงานข่าวกรองกลาโหม (Defense Intelligence Agency) ซึ่งแสดงความปรารถนาที่จะจัดตั้งรัฐเล็กๆ ของชาวซาลาฟิสต์ขึ้นมาในซีเรีย ตรงบริเวณด้านตะวันออกของพื้นที่ซึ่งอัสซาดควบคุมอยู่ เพื่อสร้างแรงกดดันต่อระบอบปกครองนี้ (ในรายงานเมื่อปี 2012 นั้น บริเวณที่เสนอกันอยู่ไกลออกไปทางตะวันออก แต่เนื่องจากในปัจจุบันอัสซาดได้สูญเสียพื้นที่ไปเป็นจำนวนมาก รัฐเล็กๆ ที่ว่านี้จึงจะขยับเข้ามาโดยอยู่ประชิดทางตะวันออกของจังหวัดลาตาเกีย (Latakia) ทีเดียว) [4]

    เมื่อสามารถตั้งฐานอยู่ในจังหวัดอิดลิบได้เช่นนี้ เวลานี้พันธมิตรกบฎกลุ่มนี้ก็สามารถเปิดเส้นทางลำเลียงตรงมาจากจังหวัดฮาไต (Hatay) ของตุรกี ซึ่งตั้งอยู่ติดๆ กับอิดลิบ และจะยิ่งแผ่ขยายกว้างขวางออกไปด้วยข้อเสนอใหม่ในเรื่องการจัดตั้งเขตพื้นที่กันชนขึ้นที่จังหวัดอาเลปโป (Aleppo) จังหวัด ฮาไต นั้นตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตรงบริเวณด้านเหนือของลาตาเกีย เดิมทีถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของซีเรีย ทั้งนี้ตามที่ระบุอยู่ใน “อาณัติของฝรั่งเศสสำหรับซีเรียและเลบานอน” (French Mandate for Syria and the Lebanon) (IV) ทว่าตุรกีแสดงความสนใจในพื้นที่นี้ซึ่งมีชุมชนผู้พูดภาษาตุรกีขนาดใหญ่ และถึงปี 1936 ก็ผลักดันให้ ฮาไต “รวมชาติ” กับตุรกี [5] ครั้นถึงปี 1939 ตุรกีได้เข้าผนวก ฮาไต กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนนับแต่นั้น


    ‘ตุรกี’ต้องการ ‘เขตกันชน’ ใน ‘ซีเรีย’เพื่อสร้าง ‘นิคมชาวอุยกูร์จากจีน’?
    จาค็อบ เซนน์ (Jacob Zenn) ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ประเมินสถานการณ์ว่า เวลานี้ “พวกกบฏอาจจะมีทรัพยากรต่างๆ เพียงพอสำหรับการจัดตั้งรัฐในทางพฤตินัยขึ้นมา ในบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย นำโดย เจเอ็น [JN คำย่อของ Jabhat-al-Nusra จาบัต-อัล-นุสรา หรือที่นิยมเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า al-Nusra Front] และสนับสนุนโดยกองกำลังอาวุธชาวเอเชียกลางหลายๆ กลุ่ม” ทั้งนี้พันธมิตรกบฎกลุ่มนี้ มีทั้ง พรรคอิสลามเตอร์กิสถาน (Turkistan Islamic Party ใช้อักษรย่อว่า TIP) กลุ่มก่อการร้ายที่นำโดยชาวอุยกูร์จากจีน, กลุ่มที่มีชาวอุซเบกเป็นผู้นำอย่าง กลุ่มอิหม่าม บุคอรี จามาต (Imam Bukhari Jamaat ) และกลุ่มคาติบัต ตอฮิด วัล ญิฮัด (Katibat Tawhid wal Jihad), ตลอดจนกองกำลังอาวุธชาวเชชเนีย (Chechen) ผสมอยู่ด้วย

    จากรายงานหลายชิ้นในระยะหลังๆ นี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ EXPOSED: The REAL cause of the sudden Syrian migrant crisis into Europe - The Right Scoop) เปิดเผยให้เห็นว่า ตุรกีกำลังเพิ่มประชากรให้แก่รัฐเล็กๆ ในทางพฤตินัยซึ่งตั้งประชิดอยู่ถัดจากจังหวัดฮาไตแห่งนี้ ด้วยการจัดตั้งนิคมของคนพูดภาษาตระกูลเตอคิก (Turkic) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเติร์กอุยกูร์จากจีน

    กระบวนการแปรภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียให้กลายเป็นดินแดนชาวเติร์ก

    ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนกับตุรกีเกิดการโต้เถียงวิวาทกันในเรื่องชาวอุยกูร์ในจีนเดินทางอพยพออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมาย โดยอาศัยหนังสือเดินทางตุรกีจนกลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่ และในที่สุดแล้วพวกเจ้าหน้าที่จีนก็ออกมาระบุอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนในเดือนกรกฎาคมว่า ตุรกีกำลังระดมรับสมัครชาวอุยกูร์จากจีน และจากนั้นก็ขายคนเหล่านี้เพื่อไปเป็น “เหยื่อกระสุน” ให้กลุ่มญิฮัดในซีเรีย [6]

    บทความชิ้นหนึ่งที่นำออกเผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคม ของหนังสือพิมพ์โกลบอลไทมส์ (Global Times กิจการหนึ่งในเครือของเหรินหมินรึเป้า กระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิต์จีน -ผู้แปล) ระบุว่า ตั้งแต่สิ้นปี 2014 เป็นต้นมา มีชาวอุยกูร์ 1,000 คนถูกลักพาตัวเข้าไปในตุรกี และเข้าพำนักอาศัยตามอาคารต่างๆ ของรัฐบาลในเมืองไกเซรี (Kayseri) ซึ่งมีตำรวจท้องถิ่นคอยเฝ้ารักษา [7] นอกจากนั้น บทความของโกลบอลไทมส์ยังอ้างการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนจีนเมื่อปี 2011 ของ มูรัต ซาลิม อีเซนลี (Murat Salim Esenli) เอกอัครราชทูตตุรกีประจำจีน ที่กล่าวว่า ประชากรชาวอุยกูร์ในตุรกีนั้นมีจำนวนราว 300,000 คน ขณะที่ทางการจีนมักระบุตัวเลขอยู่ที่ 100,000 คน

    อย่างไรก็ดี บทความชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อปี 2009 เขียนโดย มัตตี โนโนเยน (Matti Nonojen) และ อีกอร์ ตอร์บาคอฟ (Igor Torbakov) จากสถาบันกิจการระหว่างประเทศของฟินแลนด์ (Finnish Institute of International Affairs) ก็ได้อ้างคำพูดของ บูเลนต์ อาริงค์ (Bulent Arinc) ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค AKP (พรรครัฐบาลตุรกีในปัจจุบัน –ผู้แปล) และขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกล่าวว่า “เรามีความผูกพันทางประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งกับพี่น้องของเราในเขตชาวอุยกูร์” ซึ่งรวมถึงชุมชนชาวอุยกูร์ในตุรกีที่มีประชากรจำนวน 300,000 คนด้วย [8] ดังนั้น ในเมื่อมีชาวอุยกูร์เดินทางอพยพเพิ่มเข้าไปแบบพุ่งพรวดในระยะไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ จำนวนดังกล่าวนี้ในขณะนี้ก็น่าที่จะสูงขึ้นไปอีกสักเล็กน้อยแล้ว

    ย้อนกลับไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อตอนที่กรณีอื้อฉาวหนังสือเดินทางตุรกีได้รับความสนอกสนใจจากสื่อมวลชนนั้น ปีเตอร์ ลี (Peter Lee) แห่งเอเชียไทมส์ ได้สันนิษฐานว่ามีความเป็นไปได้ที่ เออร์โดกัน กำลังใช้กำลังพลชาวอุยกูร์ ให้เป็นทรัพย์สินซึ่งเขาเตรียมเอาไว้สำหรับการแผ่ขยายอำนาจที่ซีเรียในอนาคต [9] ถึงแม้เป็นที่รับรู้รับทราบกันว่า ตุรกีแสดงท่าทีเอาใจใส่ปกป้องผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ และปฏิบัติตามแนวคิดของตนที่จะเป็นผู้พิทักษ์คุ้มครองโลกของประชากรที่พูดภาษาตุรกี แต่จีนน่าจะไม่เห็นดีเห็นงามด้วย ในการที่ตุรกีกำลังพยายามสร้างสายท่อส่งก๊าซ แล้วกระตุ้นส่งเสริมให้ชาวอุยกูร์อพยพออกไปจากแดนมังกร เพื่อเข้าไปเป็นนักรบญิฮัดในซีเรีย และในที่สุดแล้วก็ย้อนกลับมาเป็นนักรบญิฮัดในจีนเองด้วย

    ฝีก “กบฏ” ชาวอุยกูร์ก็เพื่อให้เป็นนักรบญิฮัดในซีเรียและในจีน?

    ภัยคุกคามนี้ยิ่งดูหนักแน่นเพิ่มขึ้นอีกมากในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อโทรทัศน์ MEMRI TV นำเอาวิดีโอที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วออกมาเผยแพร่ (ดูรายละเอียดได้ที่MEMRI: Uyghur Families Colonize Syrian Village) โดยวิดีโอดังกล่าวมีเนื้อหาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มหัวรุนแรงชาวอุยกูร์จากจีน ของพรรคอิสลามเตอร์กิสถาน (TIP) พร้อมครอบครัวของพวกเขา กำลังจัดตั้งค่ายฝึกอบรมต่างๆ ในจังหวัดอิดลิบ, ซีเรีย ขึ้นมาอย่างไร ขณะเดียวกันก็เผยให้เห็นนิคมแห่งใหม่แห่งหนึ่งที่มีชาวอุยกูร์พำนักอาศัย 3,500 คนตั้งอยู่ใกล้ๆ กับค่ายฝึกเหล่านี้ [10] พรรค TIP เองก็ได้เผยแพร่ภาพถ่ายค่ายของตนในอิดลิบ ตลอดจนค่ายหลายๆ แห่งที่ใช้สำหรับฝึก “ลูกๆ” ของเหล่านักรบญิฮัด [11]

    วิดีโอดังกล่าวเดินเรื่องต่อไป โดยกล่าวว่า “ชาวเตอร์กิสถานในจีนนับหมื่นๆ คน” (thousands of Chinese turkistanis) ที่พากันหลบหนีออกจากจีน ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะในหมู่บ้าน “ซันบัก” (Zanbaq) และกำลังเปลี่ยนแปลงสภาพทางประชากรในซีเรีย โดยที่มีกว่า 20,000 คนกำลังเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยข่าวกรอง MIT ของตุรกีในเมืองอิสตันบุล เพื่อจะได้กลายเป็น “กบฏ” ซึ่งในที่สุดแล้วจะเข้าสู้รบกับอัสซาดในซีเรีย และต่อเนื่องเข้าไปในประเทศจีน

    เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการต่างๆ เหล่านี้ ดูเหมือนว่า เออร์โดกัน อาจจะมีความคิดที่จะเพิ่มลักษณะความเป็น “เตอร์คิก” เข้าไปใน อิดลิบ และ อาเลปโป เพื่อให้กลายเป็น ฮาไต ขึ้นมาอีกพื้นที่หนึ่ง โดยที่เขาวาดหวังกระทำกับดินแดนเหล่านี้แบบ “ไครเมีย” ซึ่งก็คือการเข้าผนวกรวมเอามาเป็นของตุรกีในท้ายที่สุด

    ถึงแม้เรื่องที่มีชาวเติร์กอุยกูร์จำนวนถึง 20,000 คนกำลังเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้กลายเป็นกบฏ ดูน่าจะเป็นตัวเลขที่เกินความเป็นจริง แต่ข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า พรรคอิสลามเตอร์กิสถาน (TIP) กำลังเป็นส่วนหนึ่งของ “กองทัพแห่งชัยชนะ” (Army of Conquest) ของตุรกี จากการที่ TIP ได้เพิ่มทวีการโจมตีแบบผู้ก่อการร้ายขึ้นในแดนมังกรในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งวิวัฒนาการขององค์การนี้ก็มีความละม้ายคล้ายคลึงกับ ISIS นั่นคือจากองค์การก่อการร้ายก็แปรเปลี่ยนมาเป็นกองทัพอาชีพโดยที่มีตุรกีช่วยฝึกฝนอบรม ดังนั้นหากเออร์โดกันยังคงสืบต่อเดินหน้านโยบายเช่นนี้ต่อไป เขาก็น่าจะกลายเป็นผู้กระตุ้นยั่วยุให้จีนต้องเข้าสู่สงครามซีเรีย เพื่อทำหน้าที่ระงับยับยั้งสิ่งที่กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่ออธิปไตยของจีนนี้

    หมายเหตุ

    [1] http://news.yahoo.com/eu-turkey-thrash-refugee-action-plan-122335353.html

    [2] Armed Forces Journal – Pipeline politics in Syria

    [3] Resources – Center for Security Studies | ETH Zurich

    [4] http://levantreport.com/2015/05/19/...-state-in-order-to-isolate-the-syrian-regime/

    [5] Syria’s “Lost Province”: The Hatay Question Returns - Carnegie Middle East Center - Carnegie Endowment for International Peace

    [6] Uyghurs sold as 'cannon fodder' for extremist groups: China | Asia Times

    [7] http://www.globaltimes.cn/content/938731.shtml; Turkish help for Uighur refugees looms over Erdogan visit to Beijing | Reuters

    [8] https://www.opendemocracy.net/article/china-turkey-and-xinjiang-a-frayed-relationship

    [9] Curtain Coming Down on Erdogan’s Excellent Uyghur Adventure?

    [10] MEMRI: Uyghur Families Colonize Syrian Village Syria Now ; [ame=http://www.liveleak.com/view?i=e7c_1443611474]LiveLeak.com - Displacement Of Syrians For Uyghur Terrorists In Syria?[/ame]

    [11] https://news.siteintelgroup.com/Jih...es-photos-of-fighters-camp-for-children.html; https://news.siteintelgroup.com/tag/31.html

    ดร.คริสตินา ลิน เป็นนักวิจัยของศูนย์เพื่อความสัมพันธ์สองฟากฝั่งแอตแลนติก (Center for Transatlantic Relations) วิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ (SAIS) มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เธอเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The New Silk Road: China’s Energy Strategy in the Greater Middle East” (The Washington Institute for Near East Policy) และเป็นอดีตผู้อำนวยการด้านนโยบายจีน อยู่ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

    หมายเหตุผู้แปล
    (I) ISIS ย่อมาจาก Islamic State of Iraq and al-Sham (รัฐอิสลามแห่งอิรักและอัล-ชาม) เป็นชื่อเก่าชื่อหนึ่งของกลุ่มนักรบญิฮัดหัวรุนแรงสุดโต่งกลุ่มนี้ ซึ่งในปัจจุบันได้ประกาศตัวก่อตั้ง “รัฐอิสลาม” ขึ้นตามแบบ “รัฐกาหลิบ” (คอลีฟะห์ ภาษาอังกฤษใช้ว่า Caliphate) ในอาณาบริเวณระหว่างอิรักกับซีเรียซึ่งพวกเขายึดครองอยู่ และเปลี่ยนมาเรียกชื่อกลุ่มตนเองว่า “รัฐอิสลาม” (Islamic State ใช้อักษรย่อว่า IS) อย่างไรก็ตาม หลายๆ ฝ่ายมีความรังเกียจหรือเห็นว่าไม่ถูกต้องที่จะเรียกชื่อกลุ่มนี้ด้วยชื่อใหม่ ดังนั้นจึงยังนิยมเรียกด้วยชื่อเก่า

    ทั้งนี้ ชื่อเก่าของกลุ่มนี้นอกจาก “รัฐอิสลามแห่งอิรักและอัล-ชาม” หรือ ISIS แล้ว ยังมี “รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์” (Islamic State of Iraq and the Levant ใช้อักษรย่อว่า ISIL) สืบเนื่องจาก ดินแดนที่เรียกว่า “อัล-ชาม” ในภาษาอาหรับนั้น ตรงกับดินแดน “เลแวนต์” (Lavant) ในภาษาอังกฤษ

    นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่นิยมเรียกชื่อกลุ่มนี้ว่า Daesh (ดาเอช) อันเป็นชื่อย่อของกลุ่มนี้ในภาษาอาหรับ

    (II) ซาลาฟิสต์ (Salafist) เป็นชื่อขบวนการเคร่งลัทธิอนุรักษนิยมจัดภายในนิกายสุหนี่ของศาสนาอิสลาม ซึ่งอิงอยู่กับหลักคำสอนที่รู้จักกันในชื่อว่า “Salafism” หลักคำสอนดังกล่าวนี้อาจจะสรุปได้ว่า เป็นการใช้วิธีเข้าถึงอิสลามด้วยทัศนะแบบผู้เคร่งจารีตดั้งเดิม (a fundamentalist approach to Islam), การเลียนแบบศาสดามุฮัมมัด และสานุศิษย์รุ่นแรกที่สุดของท่าน Salafism ปฏิเสธนวัตกรรมทางศาสนา และสนับสนุนให้นำเอากฎหมายอิสลาม (ชารีอะห์) มาใช้ ขบวนการซาลาฟิสต์มักถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่ม purists ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด กลุ่มนี้หลีกเลี่ยงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง สำหรับกลุ่มที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 คือ activists เป็นพวกที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กที่สุด คือพวก jihadists

    เมื่อปี 2002 นักวิชาการ ไจลส์ เคเพล (Gilles Kepel) ได้เสนอคำว่า “Salafist jihadists” และ “Jihadist-Salafism” เพื่อใช้บรรยายอุดมการณ์อิสลามิสต์ลูกผสม ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยพวกอาสาสมัครอิสลามิสต์ระหว่างประเทศในสงครามญิฮัดต่อต้านโซเวียตที่อัฟกานิสถาน

    กล่าวได้ว่า Salafist jihadism หรือ Jihadist-Salafism เป็นอุดมการณ์ทางศาสนา-การเมืองแบบข้ามชาติ ซึ่งพื้นฐานคือความเชื่อในเรื่องลัทธิญิฮัดแบบรุนแรง (violent jihadism) และความเชื่อของขบวนการซาลาฟิสต์ในเรื่องการกลับคืนไปสู่ อิสลามสุหนี่ “ที่แท้จริง”

    ในรายชื่อของกลุ่ม Jihadist-Salafist ซึ่งรวบรวมขึ้น ณ ปี 2014 (ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Salafi_jihadism) กลุ่มที่คุ้นหู มีดังเช่น อัลกออิดะห์ (ทั้งกลุ่มที่เป็นแกน และเครือข่ายในหลายๆ ประเทศ รวมทั้ง Jabhat al-Nusra หรือ al-Nusra Front ในซีเรีย ) , กลุ่ม ISIS, กลุ่ม JI ในอินโดนีเซีย, กลุ่มอบู ไซยาฟ ในฟิลิปปินส์, ขบวนการอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก (East Turkestan Islamic Movement ใช้อักษรย่อว่า ETIM) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า พรรคอิสลามเตอร์กิสถาน (Turkistan Islamic Party ใช้อักษรย่อว่า TIP) ในจีน เป็นต้น
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)

    (III) “กองทัพแห่งชัยชนะ” (อาร์มี ออฟ คองเกวสต์ Army of Conquest) เป็นกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิบัติการทางทหารในสงครามกลางเมืองซีเรียซึ่งประกาศจัดตั้งขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2015 สมาชิกในกลุ่มพันธมิตรนี้เป็นกลุ่มกบฏอิสลามิสต์ซีเรียจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่เคลื่อนไหวคึกคักอยู่ในจังหวัดอิดลิบ แต่ก็มีบางกลุ่มเคลื่อนไหวคึกคักในจังหวัดฮามา (Hama) และจังหวัดลาตาเกีย “กองทัพแห่งชัยชนะ” สามารถยึดเมืองอิดลิบ เมืองเอกของจังหวัดอิดลิบ ได้ในวันที่ 28 มีนาคม 2015 จากนั้นในเดือนถัดๆ มาก็เป็นหัวหอกเปิดการรุกโจมตีซึ่งขับไล่กองกำลังรัฐบาลอัสซาดออกไปจากจังหวัดนี้จนเกือบหมดสิ้น หลังจากความสำเร็จนี้แล้ว ได้มีการจัดตั้งสาขาของ “กองทัพแห่งชัยชนะ” เพิ่มขึ้นในส่วนอื่นๆ ของซีเรีย

    กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดใน “กองทัพแห่งชัยชนะ” คือ อาห์ราร์ อัช-ชาม (Ahrar ash-Sham) กลุ่มอิสลามิสต์สำคัญอื่นๆ ซึ่งมีบทบาทสูงในการวางแผนทางยุทธการ ได้แก่ อัล-นุสรา ฟรอนต์ ที่เป็นเครือข่ายของอัลกออิดะห์ในซีเรีย และ กองกำลังผสมแห่งชาม (Sham Legion) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมแห่งซีเรีย (Muslim Brotherhood of Syria) อย่างไรก็ตาม การกำหนดแผนยุทธการนั้นมีการร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ ที่เป็นพวกสายกลาง อย่างเช่น กลุ่ม “อัศวินแห่งกองกำลังยุติธรรม” (Knights of Justice Brigade)
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)

    (IV) “อาณัติของฝรั่งเศสสำหรับซีเรียและเลบานอน” (French Mandate for Syria and the Lebanon) เป็นดินแดนในอาณัติดินแดนหนึ่งของสันนิบาตชาติ (League of Nations องค์การโลกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งล่มสลายไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการจัดตั้งสหประชาชาติขึ้นมาแทนที่ -ผู้แปล) ทั้งนี้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง และจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แพ้สงคราม ได้ถูกตัดแบ่งเฉือนดินแดน โดยดินแดนที่เหลืออยู่กลายเป็นประเทศตุรกีในยุคสมัยใหม่ ส่วนดินแดนอื่นๆ ส่วนใหญ่ถูกฮุบโดยอังกฤษและฝรั่งเศส และสันนิบาตชาติได้จัดทำระบบดินแดนในอาณัติซึ่งเป็นการรับรองการยึดครองนี้กลายๆ โดยที่ฝรั่งเศสได้ดูแลดินแดนที่เรียกกันว่าซีเรียและเลบานอน ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย ซีเรีย, เลบานอน, และจังหวัดฮาไต
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ได้ตั้งใจ!! "สหรัฐฯ" ยอมรับ ผิดพลาดจริง ถล่มฐานทัพซีเรีย เป็นเหตุทหารเสียชีวิตเกือบร้อย 30 พ.ย. 59

    สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รายงานเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่กองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรจากเดนมาร์ก ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ร่วมกันปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเข้าใส่ฐานทัพซีเรียใกล้กับสนามบินเดอีร์ เอส-ซอร์ ที่อยู่ทางตะวันออกของซีเรีย เมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ทหารซีเรียเสียชีวิตราว 90 นาย และได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมากนั้น

    ศูนย์บัญชาการกลาง ( เซนต์คอม ) ภายใต้การควบคุมของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันอังคาร เกี่ยวกับผลการสืบสวนสอบสวนเป็นการภายในที่ใช้เวลาดำเนินการนานถึง 6 สัปดาห์ ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลจาก "การสื่อสารที่ผิดพลาด" "ความบกพร่องของการประสานงานด้านข่าวกรอง" ที่ล่าช้านานถึง 27 นาที และ "ความผิดพลาดของมนุษย์" ส่งผลให้การกำหนดเป้าหมายผิดพลาด อย่างไรก็ตาม เซนต์คอมยืนยันว่า "กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง" เนื่องจากในเวลานั้นทุกฝ่ายเชื่อว่าเป้าหมายนั้นเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มไอเอส

    ขณะที่พล.อ.ต. ริชาร์ด โค ซึ่งได้รับมอบหมายจากเพนตากอนให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานในเรื่องนี้ กล่าวว่าผลการสืบสวนสอบสวนพบผู้เสียชีวิต "เพียง 15 คน" แต่ยอมรับว่าตัวเลขจริงอาจสูงกว่านั้นมาก และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทว่ายังไม่ "ขอโทษ" อย่างเป็นทางการ

    ด้านนายปีเตอร์ คุก โฆษกของเพนตากอน กล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็น "บทเรียนราคาแพง"

    เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์คลิปโดย RT News

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ประชาธิปไตยและเสรีภาพแบบอเมริกัน เอาซักเม็ดไหมครับ?

    [​IMG]

    -----------

    วันที่ 29 พ.ย.59 Sputnik พาดหัวข่าวว่า "จับการเดินขบวนชุมนุม สู้เพื่อ15เหรียญ ซึ่งประท้วงทั่วประเทศสหรัฐ" (Arrests, Rallies as #FightFor15 Organizes Nationwide Strike Across the US)

    รายงานข่าวบอกว่า มีประชาชน (ชาวอเมริกัน) จำนวน 100 กว่าคนถูกจับกุมในช่วงเช้าวันอังคาร เนื่องจากมีประชาชนหยุดงานประท้วงใน 340 เมืองทั่วประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การปฏิรูปเกี่ยวกับผู้อพยพ และสิทธิ์ต่างๆของสหภาพ

    ป.ล. ไม่เห็นมีองค์กรสิทธิมนุษยชนเติมเงินต่างๆ ทั้งจากยูเอ็น อียู หรือแม้กระทั่งในสหรัฐออกมาโวยวายว่าตำรวจมะกันละเมิดสิทธิมนุษยชนเลย พากันอมสากกันหมดหรือไงครับท่านโอบามา?

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    30/11/2559
    ------------
    https://sputniknews.com/us/201611291047983675-arrests-rallies-strikes-fightfor15/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ศาล ปค.สูงสุดยันมีอำนาจรับฟ้อง ขรก. -จนท.รัฐถูก ป.ป.ช.ชี้มูลผิดทางวินัย เขียนวันที่ วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13:44 น.เขียนโดยisranews

    ป.ป.ช. หน้าแตก! ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายันมีอำนาจรับฟ้อง ขรก.-เจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยร้ายแรง-คดีทางปกครอง เหตุไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเหมือน กกต. ขัดหลักสิทธิพื้นฐานของบุคคลตาม รธน.

    ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ให้ยกฟ้องคดีที่ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. เป็นผู้ฟ้องคดี กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้ร้องสอด กรณีถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีการจัดซื้อรถดับเพลิง และเรือดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร โดยเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    ทั้งนี้ ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเห็นว่า พฤติการณ์ของ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีส่วนร่วมกระทำความผิดในทุกขั้นตอนของโครงการจัดซื้อดังกล่าวจริงตามสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถือว่าเป็นการทุจริต ดังนั้นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดถือว่าใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อ พล.ต.ต.อธิลักษณ์

    ต่อมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะผู้ร้องสอด ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองกลาง เป็นไม่รับคำฟ้องของ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ไว้พิจารณาพิพากษา โดยระบุว่า ขณะที่ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ฟ้องคดีนั้น รัฐธรรมนูญปี 2550 ยังมีผลบังคับใช้ โดยมาตรา 223 วรรคสอง บัญญัติว่า อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้มูลขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ

    ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาคดีดังกล่าว โดยมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องสอด (ป.ป.ช.) แต่เพียงว่า การที่ผู้ร้องสอดมีมติวินิจฉัยชี้มูลของผู้ฟ้องคดี (พล.ต.ต.อธิลักษณ์) ว่ามีความผิดทางวินัย เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญปี 2550 และศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาทบทวนได้หรือไม่

    พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การใช้อำนาจของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) การวินิจฉัยของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผลจากการใช้อำนาจยังไม่ถึงกับเป็นที่สุด เพราะถ้าหากรัฐธรรมนูญต้องการให้เป็นที่สุด ก็ควรบัญญัติไว้ทำนองเดียวกับอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 236 วรรคหนึ่ง (5) บัญญัติให้ กกต. มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมาตรา 235 วรรคสอง และมาตรา 239 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว บัญญัติว่า ในกรณีที่ กกต. วินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. ให้คำวินิจฉัยของ กกต. เป็นที่สุด

    แต่การวินิจฉัยของผู้ร้องสอดยังไม่เป็นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการมีมติว่าเป็นความผิดทางวินัย เพราะผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์อุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษได้ หรือในกรณีที่ผู้ร้องสอดมีมติว่าการกระทำของข้าราชการใดมีความผิดทางอาญา แม้จะให้ถือว่ารายงานของผู้ร้องสอดเป็นสำนวนการสอบสวนตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ก็ยังคงเป็นอำนาจของศาลในการวินิจฉัยว่า รายงานการสอบสวนของผู้ร้องสอดได้ทำการสอบสวนโดยชอบหรือไม่ พยานหลักฐานได้มาโดยถูกต้องตามกระบวนการวิธีการรวบรวมพยานหลักฐาน ตลอดจนพยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดจริงหรือไม่

    การวินิจฉัยหรือชี้มูลของผู้ร้องสอดจึงเป็นเพียงการใช้อำนาจของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ผู้ร้องสอดจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 การกระทำของผู้ร้องสอดจึงเป็นการกระทำทางปกครอง สำหรับอำนาจของศาลปกครองแม้ว่าตามมาตรา 223 วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี 2550 จะบัญญัติว่า อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น แต่โดยที่การใช้สิทธิทางศาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 28 วรรคสอง และวรรคสาม ให้การรับรองไว้

    บทบัญญัติในมาตรา 223 วรรคสอง จึงเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิของบุคคลและขอบเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า การใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองนั้น นอกจากจะต้องเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญแล้ว ยังต้องเป็นการใช้อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดอีกด้วย ซึ่งคำว่า “วินิจฉัยชี้ขาด” ย่อมมีความหมายว่า เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา

    เมื่อผู้ร้องสอดเป็นคณะบุคคลที่รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดแต่เพียงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประเภทองค์กรอิสระ และในขณะเดียวกันผู้ร้องสอดเป็นคณะบุคคลซึ่งมีกฎหมายระดับ พ.ร.บ. ให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล จึงมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย เมื่อฐานอำนาจที่นำไปสู่การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องสอดมาจาก พ.ร.บ.ป.ป.ช. ก็บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องสอดในการไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลความผิดของผู้ถูกกล่าวหา และให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจดุลพินิจในการสั่งลงโทษตามฐานความผิดที่ผู้ร้องสอดมีมติ

    สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยก็ถูกจำกัดเพียงว่า จะอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น โดยมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดที่มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลที่ได้รับการรับรองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของบุคคลผู้ถูกลงโทษทางวินัยในการฟ้องคดีต่อศาล

    อีกประการหนึ่ง หากจะถือว่ากระบวนการตั้งแต่การไต่สวนและวินิจฉัยมูลความผิดของผู้ถูกกล่าวหาของผู้ร้องสอด กระทั่งมีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา เป็นกระบวนการที่ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายจากองค์กรใด ๆ แล้ว ย่อมแตกต่างกับกรณีที่ดำเนินการทางวินัยเริ่มขึ้นและแล้วเสร็จโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งกรณีดังกล่าวผู้ถูกลงโทษทางวินัยมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

    อีกทั้งเมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยแต่เพียงว่า เมื่อผู้ร้องสอดได้ไต่สวนและวินิจฉัยแล้วว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่เป็นอันยุติ องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จึงพิจารณาเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัยตามที่ผู้ร้องสอดวินิจฉัยแล้วไม่ได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญมิได้วินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด

    ดังนั้นการที่ผู้ร้องสอดมีมติชี้มูลความผิดของผู้ฟ้องคดีว่า เป็นความผิดทางวินัย จึงเป็นเพียงการชี้มูลความผิดทางวินัยที่จะต้องมีการพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัยต่อไปโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 223 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 2550 และเมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ศาลปกครองจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดจึงฟังไม่ขึ้น

    พิพากษายืน

    ศาล ปค.สูงสุดยันมีอำนาจรับฟ้อง ขรก. -จนท.รัฐถูก ป.ป.ช.ชี้มูลผิดทางวินัย
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มีคนถามพระพุทธองค์ว่า ปฏิบัติธรรมแล้ว สุดท้ายเราจะได้อะไร พระพุทธองค์ตอบว่า...ไม่..?!
    ถ้าเราปฏิบัติธรรม สุดท้ายเราจะได้อะไร

    มีคนถามพระพุทธองค์ว่า ปฏิบัติธรรมแล้ว สุดท้ายเราจะได้อะไร

    พระพุทธองค์ตอบว่าไม่ได้อะไรเลย

    ถามต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร

    พระพุทธองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ตรัสว่า ตถาคตสามารถบอกเธอถึงสิ่งที่หายไป

    นั้นก็คือความโกรธได้หายไป ความหม่นหมองวิตกกังวลก็หายไป ความเศร้าท้อแท้ก็หายไป

    ความกังวลไม่สบายใจได้หายไป

    ความเห็นแก่ตัว โลภะ โทสะ โมหะพิษร้ายทั้งสามก็หายไป

    อวิชาคือความไม่รู้ที่ปิดกั้น ปุถุชนทั้งหลายก็ได้สูญสิ้นไป

    พูดเหมือนง่าย แต่เหตุผลมันลึกซึ้ง

    คนทั้งหลายที่มาสู่โลกนี้ มีเพียงสองเรื่องคือเกิดกับตาย

    เรื่องแรกทำสำเร็จไปแล้ว ส่วนอีกเรื่องจะทุกข์ร้อนไปทำไม

    มีวาสนาก็มา ไม่มีวาสนาก็ไป สิ่งใดที่สมควรแก่เหตุก็มาเอง

    สิ่งใดที่ไม่สมควรแก่เหตุ จะแสวงหาก็ไม่พบ อ้อนวอนก็ไม่สำเร็จ

    มีวาสนาก็ไม่ปฏิเสธ ไร้วาสนาก็ไม่ต้องแสวงหา สิ่งที่เข้ามาหาก็ต้อนรับ สิ่งที่จากไปก็ไม่ต้องอาลัย

    ทุกสิ่งทุกอย่างแล้วแต่วาสนา ให้เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น

    ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่เอาชีวิตไปขึ้นอยู่กับปาก
    และตาของผู้อื่น

    ให้มองเห็นจิตและใจของตนเอง ให้มีสติ รู้จิต ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ดิ้นรนแสวงหาในสิ่งที่หลอกลวงทั้งหลาย

    ไม่ดิ้นรนแสวงหา ใจเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง

    จะร้อนจะหนาว จะลุกจะนั่ง จิตก็มีสติอยู่เสมอ นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม

    เกิดเป็นคน อย่าเป็นคนหลอกลวงไร้สัจจะ ถ้าเป็นคนหลอกลวงจะไม่สามารถเปิดใจต่อผู้อื่นได้

    ความทุกข์ที่สุดของมนุษย์คือใจที่ไร้ที่พึ่ง

    ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ ยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ตาม

    จิตที่ดีงามย่อมไม่มีเรื่องทุกข์ใจ

    จิตที่ประเสริฐ ย่อมไม่มีผู้ที่จะต้องเคียดแค้นชิงชัง

    จิตที่เรียบง่าย ย่อมไม่มีเรื่องว้าวุ่นใจ

    เป็นคนดี กายใจซื่อตรง ย่อมหลับเป็นสุข

    ผู้ประกอบกรรมดี ฟ้าดินย่อมมองเห็น ผีสางเทวดาย่อมสรรเสริญ

    ความสงบที่แท้จริงมิได้เกิดจากการนั่งนิ่งๆหลายชั่วโมง แต่เกิดจากการมองผู้คนและสิ่งทั้งหลายด้วยใจที่สงบ ได้ยินแม้แต่เสียงดอกไม้บาน

    นั่งก็เป็นสมาธิ เดินก็เป็นสมาธิ เหตุเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เหตุเกิดขึ้นแล้วก็ว่างเปล่า

    ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราทุกคน ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของได้ ได้แต่เพียงเกี่ยวข้องแล้วก็ผ่านไป

    พวกเราทุกคนเป็นเพียงแขกผู้ผ่านกาลเวลาเท่านั้น

    วันหนึ่งเราก็ต้องบอกลาทุกสิ่งไป

    ทุกสิ่งที่ปรากฎต่อหน้าควรจะทนุถนอม แต่สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ไม่ต้องอาลัย สิ่งใดที่ควรจะได้ก็จงรับด้วยความยินดี

    ขออวยพรแด่ทุกคนที่มีวาสนาได้เกิดร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน รวมทั้งญาติสนิทมิตรสหาย

    มีความสุข เบิกบานใจทุกวันคืน

    มีคนถามพระพุทธองค์ว่า ปฏิบัติธรรมแล้ว สุดท้ายเราจะได้อะไร พระพุทธองค์ตอบว่า...ไม่..?!

    http://www.pageqq.com/en/content/view/page/str4/0-451771.html
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวที่ว่าทหารพม่าไล่เผาหมู่บ้าน ข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง เป็นเรื่องที่ชาวมุสลิมโรฮิงญาได้นำมาเปิดเผย โดยไม่ได้มีหลักฐานแต่อย่างไร ไม่รู้สึกแปลกอะไรบ้างหรือ ทำไม อองซาน ซูจีถึงไม่ได้ออกมาแสดงบทบาทอะไรเลย ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีผลดีกับตัวเธอ และรัฐบาลพม่าจากพรรคของเธอที่จะลดบาบาทของทหารพม่าลง แต่นี่เธอกลับนิ่งเงียบ ไม่แสดงท่าที หรือแถลงอะไรเกี่ยวกับโรฮิญจาเลย ดูง่ายอย่างที่ประเทศซีเรียก็มีองค์กรหมวกขาว white helmet ที่แสร้งว่าเป็นองค์กรด้านมนุษยชน แต่เนื้อแท้เป็นหนึ่งในกบฎซีเรีย ที่เคยออกคลิปตัดคอเด็ก นำคลิปเพื่อแสดงความโหดร้ายของรัฐบาลซีเรีย แต่โดนจับได้ว่าตัวละครในคลิปก็มีแต่พวกเขาเป็นผู้ร่วมแสดง ดังนั้นการรับข่าวสารเราต้องระมัดระวังในการเสพข่าวน่ะครับ

    "โรฮิงญา" หนีตายเข้าบังกลาเทศ หลังทหารพม่าไล่เผาหมู่บ้าน-ฆ่าข่มขืน

    ชาวมุสลิมโรฮิงญา ลักลอบเข้าบังกลาเทศ หลังทหารพม่าไล่เผาหมู่บ้าน ข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง ด้านตำรวจบังกลาเทศคุมเข้มจุดข้ามแดน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 มีรายงานว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบในรัฐยะไข่ หลังกลุ่มติดอาวุธบุกโจมตีด่านตำรวจใกล้กับพรมแดนติดบังกลาเทศเมื่อต้นเดือนที่แล้ว ส่งผลให้ตำรวจเสียชีวิต 9 นาย เป็นการจุดชนวนให้กองทัพพม่าดำเนินมาตรการกวาดล้างอย่างหนักเพื่อไล่ล่าผู้ก่อเหตุ

    แต่ชาวมุสลิมโรฮิงญา เปิดเผยว่า ทหารพม่าไล่เผาหมู่บ้านของพวกตน ข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง และสังหารชาวโรฮิงญาอย่างเลือดเย็น ทำให้ในตอนนี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 86 ราย ประชาชนต้องหนีตายกว่า 30,000 คน

    ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องลี้ภัยออกจากบ้านของตัวเองมีจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจข้ามพรมแดนไปยังบังกลาเทศ จากรายงานพบว่า มีชาวโรฮิงญาแห่ข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่า 2,000 คน ส่วนใหญ่ลักลอบข้ามแดนในช่วงเวลากลางคืน

    อย่างไรก็ดีเมื่อคืนนี้ มีชาวโรฮิงญาข้ามเข้าไปบังกลาเทศมากถึง 500 คน และตอนนี้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 1,200 คน ที่รอข้ามพรมแดนอยู่ ด้วยเป้าหมายคือ ค่ายที่พักชั่วคราว ที่รัฐบาลบังกลาเทศจัดให้กับชาวมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งปัจจุบันมีผู้อาศัยอยู่อย่างแออัดแล้วมากถึง 32,000 คน

    ทางการบังกลาเทศจึงเพิ่มกำลังตำรวจตรวจคนเข้าเมือง คุมเข้มจุดข้ามแดนต่าง ๆ และจับกุมชาวโรฮิงญาได้กว่า 70 คน รวมถึงผู้หญิงและเด็ก พร้อมส่งตัวกลับไปยังพม่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางการบังกลาเทศจะคุมเข้มพรมแดนอย่างหนัก แต่ยังมีชาวโรฮิงญาจำนวนไม่น้อยที่ยังลักลอบเข้าเมืองได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มลักลอบขนคนเข้าเมือง

    ด้านกองทัพพม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า ไล่เผาหมู่บ้านและสังหารชาวโรฮิงญา โดยยืนกรานว่า เป็นปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธเท่านั้น

    โรฮิงญา หนีตายเข้าบังกลาเทศ หลังทหารพม่าไล่เผาหมู่บ้าน-ฆ่าข่มขืน
    .
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวที่รัฐบาลพม่าฆ่าล้างเผ่าพันธ์มุสลิมโรฮิญจาคงจะไท่จริงแต่ภาพที่ปรากฏคงจะเป็นของจริงเพราะพวกเขาคิดจะไปลี้ภัยอยู่บังกลาเทศอยู่แล้วการที่พวกเขาจะเผาบ้านเรือนตัวเองได้ก็ไม่แปลก จะจากไปถาวรแล้วนี่ จะเก็บบ้านให้คนอื่นทำไม เผาเลย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความจริงคือความวุ่นวายจากปัญหามุสลิมโรฮิญจาในขณะนี้ทวีความรุนแรง และวุ่นวายมาก หาดูได้จากภาพที่สื่อต่างๆ นำมาลงน่ะครับ และอาจจะรุนแรงไปจนถึงกับเหตุการณ์หนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่ยังไงก็ขอให้พม่าผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้น่ะครับ

    การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก
    เป็นส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า

    การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก เป็นความขัดแย้งกันด้วยอาวุธระหว่างรัฐพม่ากับชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจานับแต่ปี พ.ศ. 2490 ความมุ่งหมายทีแรกของพวกเขาในสมัยขบวนการมุญาฮีดีน (2467–2504) คือ การแยกภูมิภาคชายแดนมายู (Mayu) ในรัฐยะไข่ซึ่งมีประชากรโรฮีนจาอาศัยอยู่ออกจากพม่าตะวันตก แล้วผนวกเข้ากับปากีสถานตะวันออกซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่งตั้งใหม่ (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ)[4] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 การก่อการกำเริบของชาวโรฮีนจาปรากฏอีกในช่วงสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในปี พ.ศ. 2514 และเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ ความปรารถนาของกลุ่มติดอาวุธโรฮีนจาตามที่สื่อต่าง ๆ รายงานคือ การจัดตั้งส่วนเหนือของรัฐยะไข่เป็นรัฐเอกราชหรือรัฐปกครองตนเอง[5][6]

    ชาวโรฮีนจามุสลิมอาศัยอยู่ในประเทศพม่าประมาณ 800,000 คน และประมาณ 80% ของจำนวนดังกล่าวอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ส่วนใหญ่ถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธความเป็นพลเมือง[7][8] สหประชาชาติถือว่าโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก[8]

    มุญาฮิดีนในยะไข่ (พ.ศ. 2490–2504) แก้ไข

    การสู้รบของมุญาฮิดีนในยะไข่ แก้ไข
    การต่อสู้เริ่มจากการจัดตั้งพรรคการเมืองญามีอะตุล อูลามาเอ-อิสลาม นำโดยออมราเมียะห์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุลนาร์ โมฮัมหมัด มูซาฮิดข่าน และโมลนาร์ อิบราฮิม ความพยายามของกลุ่มมุญาฮิดีนเพื่อที่จะรวมเขตชายแดนมายู ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในรัฐยะไข่เข้ากับปากีสถานตะวันออก ก่อนการประกาศเอกราชของพม่า มีผู้นำชาวมุสลิมในยะไข่ไปพบมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งปากีสถานเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 เพื่อขอความช่วยเหลือในการผนวกมายูเข้ากับปากีสถาน สองเดือนต่อมา มีการจัดตั้งสันนิบาตมุสลิมยะไข่เหนือในอักยับ (ปัจจุบันคือซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่) เพื่อแสดงความต้องการที่จะรวมเข้ากับปากีสถาน แต่จินนาห์ปฏิเสธข้อเสนอนี้ในที่สุด

    ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลกลางพม่าปฏิเสธที่จะแยกรัฐมุสลิมในเขตมายูซึ่งมีเมืองบูตีดองและเมืองหม่องด่อ ในที่สุด กลุ่มมุสลิมมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือได้ประกาศญิฮาดต่อพม่า กองทัพมุญาฮิดีนได้เริ่มสู้รบในเมืองบูตีดองและหม่องด่อที่อยู่ตามแนวชายแดนระหว่างพม่ากับปากีสถานตะวันออก อับดุล กาเซมเป็นผู้นำกองทัพมุญาฮิดีน ภายในเวลาไม่กี่ปี กลุ่มกบฏมีความก้าวหน้าไปมาก ยึดครองหมู่บ้านในยะไข่ได้หลายหมู่บ้าน ชาวยะไข่ในเมืองทั้งสองถูกบังคับให้ออกจากบ้าน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 การควบคุมของรัฐบาลในเมืองอักยับได้ลดลง ในขณะที่กลุ่มมุญาฮิดีนเข้ามายึดครองยะไข่เหนือ รัฐบาลพม่าได้จับกุมกลุ่มมุญาฮิดีนที่พยายามจะอพยพชาวเบงกอลเข้ามาในรัฐยะไข่อย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากประชากรล้นเกินในปากีสถานตะวันออก

    การต่อต้านมุญาฮิดีนโดยกองทัพพม่า แก้ไข

    มีการประกาศกฎอัยการศึกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เมื่อการกบฏลุกลามขึ้น และกลุ่มกบฏเข้าล้อมเมืองในเขตมายู กองทัพพม่าที่ 5 และกองทัพฉิ่นที่ 2 ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่ กองทัพพม่าได้เริ่มยุทธการเพื่อต่อต้านมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือ ระหว่าง พ.ศ. 2493–2497 ยุทธการแรกเริ่มใช้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ยุทธการที่สองเรียกว่ายุทธการมายูเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2495ในช่วงครึ่งหลังของ พ.ศ. 2497 กลุ่มมุญาฮิดีนได้ฟื้นตัวขึ้นและเข้าโจมตีเมืองบูตีดอง เมืองหม่องด่อ และเมืองยะเตดอง

    ผู้นำมุญาฮิดีนที่ถูกอองจีจับกุมได้เมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
    พระภิกษุชาวยะไข่ได้ออกมาประท้วงในย่างกุ้งเพื่อต่อต้านกลุ่มมุญาฮิดีน ผลของการกดดันทำให้รัฐบาลพม่าออก "ปฏิบัติการมรสุม" ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2497 กลุ่มมูญาอิดีนจำนวนมากถูกจับกุมและหัวหน้ากลุ่มถูกฆ่า ทำให้กิจกรรมของกลุ่มลดลงไปกลายเป็นกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่ก่อการร้ายในภาคเหนือของรัฐยะไข่ ใน พ.ศ. 2500 กลุ่มมุญาฮิดีน 150 คนนำโดยชอร์ มาลุกและซูระห์ ทาน ถูกจับกุม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กลุ่มมุญาฮิดีน 214 คน ในกลุ่มของราชิดถูกจับกุม ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 กลุ่มมุญาฮิดีน 290 คนทางใต้ของหม่องด่อยอมจำนนต่อกองทัพพม่านำโดยอองจี ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเจรจาระหว่างพม่ากับปากีสถานเกี่ยวกับกบฏตามแนวชายแดน ทำให้ความหวังของกบฏลดลง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 กลุ่มกบฏมุญาฮิดีนกลุ่มสุดท้ายในบูตีดองถูกกองทัพพม่านำโดยอองจีจับกุมได้

    ความตกต่ำของมุญาฮิดีน (พ.ศ. 2505–2513) แก้ไข

    หลังจากรัฐประหารของนายพลเน วินใน พ.ศ. 2505 กิจกรรมของกลุ่มมุญาฮิดีนลดลงและเกือบจะหายไป ซัฟฟาร์เป็นผู้นำมุญาฮิดีนที่เหลือ และมีการต่อต้านแยกกันเป็นแห่ง ๆ ตามแนวชายแดนพม่า-ปากีสถาน

    ขบวนการอิงศาสนาอิสลามโรฮีนจา แก้ไข

    ขบวนการทางทหารที่ใช้ความรุนแรง (พ.ศ. 2514–2531) แก้ไข
    ระหว่างสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในพ.ศ. 2514 โรฮีนจาที่อยู่ใกล้แนวชายแดนได้สะสมอาวุธจากสงคราม ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 หัวหน้ากลุ่มกบฏมูญาฮิดีนที่เหลืออยู่คือซัฟฟาร์ได้จัดตั้งพรรคปลดปล่อยโรฮีนจา (RLP) โดยซัฟฟาร์เป็นประธานพรรค ศูนย์กลางการต่อสู้อยู่ที่บูตีดอง เมื่อกองทัพพม่าเริ่มปราบปราม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517 ซัฟฟาร์ได้หนีไปบังกลาเทศและบทบาทของเขาได้หายไป หลังจากการล้มเหลวของ RLP มูฮัมหมัด จาฟาร์ ฮาบิบ อดีตเลาธิการของ RLP ได้จัดตั้งแนวร่วมโรฮีนจารักชาติ (RPF) ใน พ.ศ. 2517 ต่อมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 รัฐบาลทหารของเนวินได้จัดยุทธการราชามังกรในยะไข่เพื่อตรวจสอบผู้อพยพที่ผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในพม่า ทำให้มีชาวโรฮีนจาถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังกลาเทศ ทำให้มีการลุกฮือของชาวโรฮีนจาตามแนวชายแดน RPF ใช้โอกาสนี้เข้ามาปลุกระดม [9][10][11] ต่อมาในราว พ.ศ. 2523 กลุ่มหัวรุนแรงได้แยกออกจาก RPF และจัดตั้งองค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา (RSO) นำโดยมูฮัมหมัด ยูนุส ซึ่งเคยเป็นผู้นำของ RPF มาก่อน ต่อมาได้เป็นองค์กรหลักของโรฮีนจาตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ RSO ประกาศตนเป็นองค์กรทางศาสนาจึงได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิมรวมทั้ง JeI ในบังกลาเทศและปากีสถาน ฆุลบุดดิน เฮกมัตยัร ฮิซบ์เออิสลามี (HeI) ในอัฟกานิสถาน ฮิซบ์อุลมูญาฮิดีนในรัฐชัมมูและกัศมีร์ (HM) อังกาตัน เบเลีย อิสลาม ซามาเลเซีย (ABIM) และองค์กรยุวชนอิสลามแห่งมาเลเซีย องค์กรทางด้านศาสนาอีกองค์กรหนึ่งของโรฮีนจาคือแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 โดยนูรุล อิสลาม อดีตรองประธาน RPF

    การขยายตัวทางการทหารและการเชื่อมโยงกับฏอลิบานและอัลกออิดะฮ์ (พ.ศ. 2531–2554) แก้ไข

    ค่ายทหารของ RSO ตั้งอยู่ที่เมืองคอกส์บาซาร์ทางใต้ของบังกลาเทศ มีการส่งอาวุธจากฏอลิบานมาให้ตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ บางส่วนได้ส่งทหารไปฝึกในอัฟกานิสถาน[12] การขยายตัวของ RSO ในช่วง พ.ศ. 2533 ทำให้รัฐบาลพม่าเข้ามากวาดล้างตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 ทหารพม่าได้ข้ามพรมแดนไปโจมตีกองทหารในบังกลาเทศซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับบังกลาเทศ และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ชาวโรฮีนจามากกว่า 250,000 คนถูกผลักดันให้ออกจากยะไข่ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกประณามจากซาอุดีอาระเบีย[9][13]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 มีสมาชิก RSO 120 คนเข้าสู่หม่องด่อโดยข้ามแม่น้ำนาฟที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2537 มีระเบิดเกิดขึ้นในเมืองหม่องด่อ 12 แห่ง[14] ต่อมา ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สมาชิก RSO และแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ได้รวมเข้าด้วยกันและจัดตั้งสภาแห่งชาติโรฮีนจา (RNC) และกองทัพแห่งชาติโรฮีนจา (RNA) นอกจากนั้นได้จัดตั้งองค์กรแห่งชาติโรฮีนจาอาระกัน (ARNO) เพื่อจัดการกับกลุ่มโรฮีนจาที่มีความแตกต่างกันเข้ามาเป็นกลุ่มเดียว ซึ่งมีรายงานว่ากลุ่ม ARNO นี้มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะฮ์[15]

    ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีชายชาวโรฮิงญาประมาณ 80-100 คน ในเมืองหม่องด่อตามแนวชายแดนถูกจับกุมโดยกองทัพพม่าที่ประจำตามแนวชายแดนและถูกเชื่อมโยงกับฏอลิบาน[16][17] กองทหารฏอลิบานที่ชื่อว่ามูลีวี ฮารุนได้ตั้งค่ายฝึกและจัดทำระเบิดทางเหนือของหม่องด่อติดกับชายแดนบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 บุคคลต้องสงสัยที่ถูกจับกุม มี 19 คนถูกนำมาศาลก่อนในเดือนมีนาคมและเมษายนปีเดียวกัน.[18] มี 12 คนที่มีความเกี่ยวข้องกับฏอลิบานหรือกองกำลังติดอาวุธอิสลามถูกตัดสินจำคุกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2554[19]

    ความเห็นเกี่ยวกับเหตุรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรฮีนจา แก้ไข

    มอเช เยการ์ นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอลได้กล่าวว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนมุญาฮิดีนในยะไข่เกิดขึ้นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่กดดันต่อชาวมุสลิมโรฮีนจา โดยสาเหตุของปัญหาได้แก่ หลังจากที่พม่าประกาศเอกราช มุสลิมไม่ได้รับการยอมรับในราชการทหาร รัฐบาลพม่าได้รับชาวยะไข่ซึ่งต่อต้านชุมชนมุสลิมเข้ามาเป็นตำรวจและเจ้าหน้าที่แทนชาวมุสลิม มุสลิมถูกทหารและตำรวจจับตามอำเภอใจ การประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่มุสลิมโรฮีนจา ชาวกะเหรี่ยง กะฉิ่น และฉิ่นที่นับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้[20] เยการ์ยังได้กล่าวว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนมุสลิมในยะไข่เกิดขึ้นก่อนพม่าได้รับเอกราช โดยเกิดขึ้นพร้อมกับการขอแยกดินแดนมายูในรัฐยะไข่ และต้องการเป็นรัฐเอกราชของมุสลิม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 มุสลิมในยะไข่ได้เรียกร้องต่อโมฮัมหมัด อาลี จินนาห์เพื่อขอให้ผนวกดินแดนของตนเข้าไปในปากีสถานที่จะตั้งขึ้นใหม่

    อย่างไรก็ตาม กบฏมุญาฮิดีนเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของอูนุซึ่งเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย และชาวมุสลิมยังได้รับการยอมรับจากรัฐบาล การต่อต้านและการกดดันต่อมุสลิมเกิดขึ้นในสมัยนายพลเน วิน นอกจากนั้น ช่วงเวลาในการประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติยังไม่สอดคล้องกันเพราะพม่าประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ในขณะที่กบฏมุญาฮิดีนเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490.[21]

    เอ ชาน นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคันดะได้เสนอว่า ขบวนการมุญาฮิดีนในยะไข่เกิดจากความรุนแรงระดับหมู่บ้านระหว่างชาวโรฮีนจากับชาวยะไข่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2485[22] โดยในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2485 มุสลิมโรฮีนจาจากภาคเหนือของยะไข่ได้ฆ่าชาวพุทธยะไข่ราว 20,000 คน ในเมืองบูตีดองและหม่องด่อ ในช่วงเวลาเดียวกัน มุสลิมโรฮีนจา 5,000 คนในเมืองมีน-บยาและมเยาะอู ถูกชาวยะไข่ฆ่า[23] ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะอังกฤษติดอาวุธให้ชาวมุสลิมทางภาคเหนือของยะไข่เพื่อสร้างเขตกันชนป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น[24] โดยได้สัญญาว่าหากชาวมุสลิมสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร พวกเขาจะได้รับ "พื้นที่แห่งชาติ"[25] อย่างไรก็ตาม กองกำลังของโรฮีนจากลับพยายามที่จะทำลายหมู่บ้านของชาวยะไข่แทนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว ความขัดแย้งระหว่างยะไข่กับโรฮีนจาจึงเกิดขึ้น[22] เมื่อรัฐเอกราชใหม่ของมุสลิมคือปากีสถานกำลังจะได้รับการจัดตั้ง ชาวโรฮีนจาซึ่งขณะนั้นมีกองกำลังติดอาวุธอยู่แล้วจึงต้องการ "พื้นที่แห่งชาติ" ตามที่อังกฤษเคยสัญญาไว้ โดยขอแยกดินแดนมายูออกจากพม่าตะวันตกไปรวมกับปากีสถานตะวันออก มุญาฮิดีนได้ลุกฮือขึ้นในยะไข่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดขึ้นต่อเนื่องมา

    อ้างอิง แก้ไข

    ↑ "Arakan Rohingya National Organization Contacts With Al Qaeda And With Burmese Insurgent Groups On The Thai Border".
    ↑ "Pak Taliban jihadi force of Rohingya Muslims, Bangladeshi, Indonesian nationals training in Burma".
    ↑ 3.0 3.1 3.2 Yegar, Moshe (2002). "Between integration and secession: The Muslim communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar". Lanham (Lexington Books). p. 37,38,44. ISBN 0739103563. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
    ↑ Yegar, Moshe (1972). Muslims of Burma. Wiesbaden: Verlag Otto Harrassowitz. p. 96.
    ↑ "টার্গেট আরাকান ও বাংলাদেশের কয়েকটি জেলা স্বাধীন রাষ্ট্রের স্বপ্ন জঙ্গিদের (Some Arakan and Bangladeshi militants target of Independent State)". Dainik Purbokone Bangladesh. สืบค้นเมื่อ 22 October 2012.
    ↑ "নতুন রাষ্ট্র গঠনে মিয়ানমারের ১১ টি বিচ্ছিন্নতাবাদী গ্রুপ সংগঠিত হচ্ছে (11 secessionist group is organizing to create a new state in Burma)". The Editor, Bangladesh. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ "Myanmar, Bangladesh leaders 'to discuss Rohingya'". Agence France-Presse. 29 June 2012.
    ↑ 8.0 8.1 "The Rohingya: A humanitarian crisis". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014.
    ↑ 9.0 9.1 "Bangladesh Extremist Islamist Consolidation". by Bertil Lintner. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
    ↑ Lintner, Bertil (1999). Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948,. Chiang Mai: Silkworm Books. pp. 317–8.
    ↑ "Bangladesh: Breeding ground for Muslim terror". by Bertil Lintner. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
    ↑ "Rohingyas trained in different Al-Qaeda and Taliban camps in Afghanistan". By William Gomes. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ Selth, Andrew (Nov–Dec 2003). Burma and International Terrorism,. Australian Quarterly, vol. 75, no. 6,. pp. 23–28.
    ↑ "Rohingya Terrorists Plant Bombs, Burn Houses in Maungdaw". สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ "Wikileaks Cables: ARAKAN ROHINGYA NATIONAL ORGANIZATION CONTACTS WITH AL QAEDA AND WITH BURMESE INSURGENT GROUPS ON THE THAI BORDER". Revealed by Wikileaks. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ "Nearly 80 Suspected Taliban Members Arrested in Burma". Narinjara News. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ "Muslims Arrested in Arakan State Accused of Taliban Ties". Irrawaddy News. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ "19 Alleged Members of Taliban Group Brought to Trial". Narinjara News. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ "Twelve Suspected Taliban Sentenced to Jail". Narinjara News. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
    ↑ Lall, Marie (23 November 2009). Ethnic Conflict and the 2010 Elections in Burma. Chatham House.
    ↑ Burmese Encyclopedia. Yangon: Burma Translation Society. 1963. p. 167.
    ↑ 22.0 22.1 Aye Chan (2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)". SOAS. สืบค้นเมื่อ November 1, 2011.
    ↑ Kyaw Zan Tha, MA (July 2008). Background of Rohingya Problem. p. 1.
    ↑ Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942-1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
    ↑ Howard Adelman (2008). Protracted displacement in Asia: no place to call home. Ashgate Publishing, Ltd. p. 86. ISBN 0754672387. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
    Last edited 2 months ago by an anonymous user
    RELATED PAGES
    โรฮีนจา
    เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
    องค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา
    วิกิพีเดีย®

    เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 3.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น
    ความเป็นส่วนตัวคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

    ข่าวจาก
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รอดูแถลงการณ์ของอองซานก่อน!

    ไม่ให้ปราบปรามจราจลโรฮิญจาที่ก่อปัญหา จะให้แผ่นดินพม่าลุกเป็นไฟหรือ ถ้าประเทศไหนรับพวกเขามาอยู่ และพวกเขาก่อเรื่องก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการอะไรได้เลย ทำได้แค่อยู่เฉยๆ ให้พวกเขาอาละวาดให้สมตั้งใจ แล้วพวกเขาอาละวาดเสร็จจะสงบได้เองหรือ ถ้าประเทศไทยไม่มีประสบการณ์จากพฤติกรรมของโรฮิญจาแล้วคนไทยอาจเชื่อ แต่บังเอิญเราพบเห็นธาตุแท้ของคนพวกนี้มากพอแล้ว เลยคิดว่าโรฮิญจามาแรง ต้องเล่นให้แรงกว่าถึงจะเอาโรฮิญจาอยู่

    หน่วยงานสิทธิมนุษยชนเปรียบพม่าปราบปรามโรฮิงญาเข้าข่ายก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
    เผยแพร่: 30 พ.ย. 2559 14:10:00 ปรับปรุง: 30 พ.ย. 2559 17:31:00 โดย: MGR Online

    เอเอฟพี - หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ระบุว่า ชาวโรฮิงญาในพม่าอาจเป็นเหยื่อของการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ขณะที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ นายโคฟี อันนัน เดินทางถึงพม่า เพื่อสรุปสถานการณ์รัฐยะไข่

    กองทัพทหารพม่าได้ดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรงในรัฐยะไข่ ส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมหลายพันคนหลั่งไหลหนีตายข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศตลอดเดือนนี้ ซึ่งมาพร้อมกับเรื่องราวเกี่ยวกับการข่มขืน การทรมาน และสังหาร โดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของพม่า

    ชาวโรฮิงญาราว 30,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นหลบหนีออกจากที่อยู่อาศัยตนเอง และจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมโดยฮิวแมนไรท์วอช ยังพบว่า สิ่งปลูกสร้างหลายร้อยหลังในหมู่บ้านชาวโรฮิงญาถูกเผาวอด

    พม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดสิทธิ โดยระบุว่า กองทัพกำลังค้นหาผู้ก่อการร้ายที่อยู่เบื้อหลังการโจมตีด่านตำรวจเมื่อเดือนก่อน และรัฐบาลยังได้ตำหนิรายงานของสื่อเกี่ยวกับการข่มขืน และสังหาร และยื่นประท้วงเจ้าหน้าที่สหประชาชาติในบังกลาเทศที่กล่าวหาว่า พม่ากำลังดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา

    เมื่อวันอังคาร (29) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ระบุว่า การปฏิบัติของพม่าต่อชาวโรฮิงญาอาจเข้าข่ายเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งตอกย้ำข้อค้นพบในรายงานเมื่อเดือน มิ.ย.

    ชาวโรฮิงญามากกว่า 120,000 คน ใช้ชีวิตในสภาพแออัดภายในค่ายผู้พลัดถิ่น นับตั้งแต่เกิดเหตุความรุนแรงทางศาสนา ในปี 2555 ซึ่งคนเหล่านี้ถูกปฏิเสธสิทธิการเป็นพลเมือง การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และการศึกษา รวมทั้งถูกจำกัดความเคลื่อนไหวอย่างเข้มงวด

    “รัฐบาลพม่าล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ที่จะดำเนินการตามการแนะนำในรายงานของสำนักงานสิทธิมนุษยชนสหรประชาชาติ ที่ยกความเป็นไปได้ว่ารูปแบบของการละเมิดสิทธิชาวโรฮิงญานั้นอาจเทียบได้กับการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ” OHCHR ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

    ท่ามกลางวิกฤตที่ขยายตัวขึ้นนี้ นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เริ่มต้นการเยือนพม่าเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ที่รวมทั้งการเดินทางเยือนรัฐยะไข่

    เมื่อเดือน ส.ค. อองซานซูจี ได้แต่งตั้งนายโคฟี อันนัน ให้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการพิเศษในการสืบสวนเพื่อหาวิธีที่จะแก้ไขความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาที่ทำให้รัฐยะไข่ถูกแบ่งแยก

    นายอันนัน ได้แสดงความรู้สึกวิตกกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ ที่ยังปรากฏให้เห็นชาวมุสลิมหลายพันคนที่เต็มไปด้วยความไม่พอใจโกรธแค้นออกมาชุมนุมประท้วงตามถนนทั่วเอเชีย

    แต่ นายเอ วิน สมาชิกชาวมุสลิมในคณะกรรมการรัฐยะไข่ ได้กล่าวปกป้องการจัดการวิกฤตของซูจี

    “มือของซูจีถูกมัดไว้ เธอไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ แต่สิ่งที่เธอกำลังทำคือ พยายามพูดคุยเจรจาและสร้างความไว้วางใจแก่กองทัพ” เอ วิน กล่าว โดยชี้ไปยังกองทัพที่ยังคงควบคุมการรักษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร.

    Manager Online
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทนแรงกดดันไม่ไหว ทรัมป์เสียงอ่อยจะปล่อยมือจากธุรกิจพุ่งเป้าบริหารประเทศอย่างเดียว โดย MGR Online 30 พฤศจิกายน 2559 22:02 น.

    รอยเตอร์ - โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันให้หลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน เผยในวันพุธ(30พ.ย.) เขาจะปล่อยมือจากอาณาจักรธุรกิจแผ่ไพศาลของตนเองทั้งหมด และมุ่งสมาธิให้กับการบริหารประเทศ โดยมีแผนแถลงข่าวเกี่ยวกับแผนงานของเขาในวันที่ 15 ธันวาคม

    ทรัมป์ โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์แถลงแผนการต่างๆของตนเองหลายครั้ง แต่ยังไม่เคยมีสักครั้งที่จะอธิบายชัดๆว่าเขาจะทำอย่างไรกับสินทรัพย์ของตนเอง

    พวกนักวิจารณ์ทั้งหลายพากันตั้งคำถามว่าเขาจะหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างไร ระหว่างการทำหน้าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯและอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลก

    "ผมจะเปิดแถลงข่าวครั้งสำคัญในนิวยอร์ก ซิตี พร้อมกับลูกๆในวันที่ 15 ธันวาคม เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่ว่าผมจะปล่อยมือจากธุรกิจทั้งหมด เพื่อมุ่งสมาธิทั้งหมดไปที่การบริหารประเทศ เพื่อให้อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง" ทรัมป์กล่าว

    ทรัมป์ บอกว่าไม่มีข้อบังคับทางกฎหมายให้เขาต้องปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์กับธุรกิจของตนเอง แต่ "ผมรู้สึกว่ามันสำคัญยิ่ง ในฐานะประธานาธิบดี ไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจต่างๆของผม" เขากล่าว "เพราะฉะนั้น จะมีการทำเอกสารทางกฎหมายเพื่อให้ผมออกจากการดำเนินงานทางธุรกิจโดยสิ้นเชิง ประธานาธิบดีเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญกว่ามาก"

    ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ มีท่าทีอึกอักในการปล่อยมือจากธุรกิจที่สร้างชื่อให้เขาทั่วโลก โดยโต้แย้งว่าเขาไม่จำเป็นต้องแยกตัวเองออกจากองค์กรทรัมป์ อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่นั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็หนักหน่วงขึ้น

    บทวิเคราะห์หนึ่งในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว ระบุว่าบริษัทต่างๆของทรัมป์ ทำธุรกิจอยู่ในประเทศต่างๆราว 20 ประเทศทั่วโลก ส่วนบทบรรณาธิการของวอลล์สตรีท เจอร์นัล ฉบับเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ระบุว่าทรัมป์ ควรชำระทรัพย์สินของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสของผลประโยชน์ทับซ้อน

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UNเห็นชอบคว่ำบาตรรอบใหม่เกาหลีเหนือ ล็อคเป้าเล่นงานการส่งออก โดย MGR Online 1 ธันวาคม 2559 00:58 น.

    รอยเตอร์ - คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อเกาหลีเหนือในวันพุธ(30พ.ย.) โดยมีเป้าหมายตัดรายได้จากการส่งออกรายปีของชาติคอมมิวนิสต์แห่งนี้ลง 1 ใน 4 เพื่อตอบโต้การทดสอบนิวเคลียร์รอบ 5 ครั้งใหญ่ที่สุดของเปียงยาง ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

    สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ 15 ชาติ ยกมือเป็นเอกฉันท์เห็นชอบมติตัดลดการส่งออกใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือ นั่นคือถ่านหิน ลงราวๆ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยจะถูกจำกัดเพดานที่ 400.9 ล้านดอลลาร์หรือ 7.5 ล้านเมตริกตันต่อปีหรือต่ำกว่านั้น

    ในมติที่ร่างโดยสหรัฐฯนี้ยังห้ามส่งออกทองแดง นิกเกิล และสังกะสี รวมถึงรูปปั้น

    มตินี้ห้ามเปียงยางทำสัญญาประเภทเดียวกับสัญญามูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่เกาหลีเหนือลงนามเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ในชาติแอฟริกาบางแห่ง

    ซาแมนธา พาวเวอร์ ทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติบอกกับที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯหลังเสร็จสิ้นการโหวต ว่าอเมริกาหวังว่ามาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อเกาหลีเหนือจะประสบความสำเร็จ

    "มาตรการที่กำหนดนี้ทำให้รัฐบาลเกาหลีเหนือต้องชดใช้มหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต่อการขัดขืนเสียงเรียกร้องของคณะมนตรีความมั่นคงฯ" เธอกล่าว "โดยรวมแล้ว มาตรการนี้จะตัดลดเงินอย่างน้อยๆ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกาหลีเหนือนำไปใช้เป็นทุนสำหรับโครงการอาวุธที่ถูกห้าม ซึ่งเทียบเท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งโดยทั้งหมดของเกาหลีเหนือ"

    เกาหลีเหนือตกอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี 2006 จากการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธหลายต่อหลายครั้ง โดยการทดสอบนิวเคลียร์หนสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน
    "มาตรการจะมีประสิทธิผลก็เมื่อมีการบังคับใช้จริง" บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติบอกกับคณะมนตรีความมั่นคงฯ "มันเป็นหน้าที่ของรัฐสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมดที่ต้องใช้ทุกความพยายามเพื่อรับประกันว่ามาตรการเหล่านี้จะมีการบังคับใช้อย่างสมบูรณ์"

    จากการเปิดเผยของคณะทูตระบุว่าจีน ซึ่งเชื่อว่าเป็นชาติเดียวที่ซื้อถ่านหินจากเกาหลีเหนือ จะลดการนำเข้าลงราวๆ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2015 ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่

    ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2016 จีนนำเข้าถ่านหินจากเกาหลีเหนือ 18.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเกือบ 13 เปอร์เซ็นต์จาก 1 ปีก่อนหน้านี้ แต่เวลานี้การส่งออกของเกาหลีเหนือจนถึงสิ้นปี 2016 จะถูกจำกัดที่ 1 ล้านเมตริกตัน หรือ 53.5 ล้านดอลลาร์

    จีน บอกว่าพวกเขาต่อต้านการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ แต่ หลิว เจียหยู ทูตปักกิ่งประจำสหประชาชาติ กล่าวหาสหรัฐฯและเกาหลีใต้ กระพือเหตุเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือหนักหน่วงขึ้น ด้วยการยกระดับการซ้อมรบและประจำการทางทหาร

    เขาตำหนิแผนประจำการระบบต่อต้านขีปนาวุธ THAAD ของสหรัฐฯในเกาหลีใต้ ว่าไม่เอื้อต่อเป้าหมายทำให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และไม่ได้ทำนุบำรุงสันติภาพและเสถียรภาพในคาบสมุทรแห่งนี้

    มตินี้เพิ่มรายชื่อบุคคล 11 คนรวมถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตประจำอียิปต์และพม่า ตลอดจนนิติบุคคล 11 แห่งในฐานะเป้าหมายสำหรับการห้ามการเดินทางและอายัดทรัพย์สินจากบทบาทของพวกเขาในโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของโสมแดง

    นอกจากนี้มติดังกล่าวเรียกร้องให้ชาติสมาชิกยูเอ็นลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในภารกิจต่างประเทศของเกาหลีเหนือและจำกัดจำนวนบัญชีธนาคารเหลือ 1 บัญชีต่อหนึ่งภารกิจทางการทูตของเกาหลีเหนือและ 1 บัญชีต่อนักการทูต 1 คนที่ธนาคารในอาณาเขตของตน แสดงให้เห็นถึงความกังวลที่ว่าเกาหลีเหนืออาจใช้นักการทูตและภารกิจต่างประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมาย

    UN
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    อเมริกาดินแดนแห่งเสรีภาพวันนี้! อยากได้เสรีภาพเหรอ? อยากได้ค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ $15 เหรอ? ประท้วงโดยสันติเหรอ? เข้าไปอยู่คุกซะดีๆ! (29 พ.ย.59)
    ---------------
    [ame]https://youtu.be/wp2GjKE6xWU[/ame]

    ประชาธิปไตยและเสรีภาพแบบอเมริกัน เอาซักเม็ดไหมครับ?
    -----------

    วันที่ 29 พ.ย.59 Sputnik พาดหัวข่าวว่า "จับการเดินขบวนชุมนุม สู้เพื่อ15เหรียญ ซึ่งประท้วงทั่วประเทศสหรัฐ" (Arrests, Rallies as #FightFor15 Organizes Nationwide Strike Across the US)

    รายงานข่าวบอกว่า มีประชาชน (ชาวอเมริกัน) จำนวน 100 กว่าคนถูกจับกุมในช่วงเช้าวันอังคาร เนื่องจากมีประชาชนหยุดงานประท้วงใน 340 เมืองทั่วประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การปฏิรูปเกี่ยวกับผู้อพยพ และสิทธิ์ต่างๆของสหภาพ

    ป.ล. ไม่เห็นมีองค์กรสิทธิมนุษยชนเติมเงินต่างๆ ทั้งจากยูเอ็น อียู หรือแม้กระทั่งในสหรัฐออกมาโวยวายว่าตำรวจมะกันละเมิดสิทธิมนุษยชนเลย พากันอมสากกันหมดหรือไงครับท่านโอบามา?

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    30/11/2559
    ------------
    https://sputniknews.com/us/201611291047983675-arrests-rallies-strikes-fightfor15/

    .
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

    กรีซประกาศ ไม่ยอมให้อียูกดดัน:
    อียูกดดันให้กรีซเลิกให้กองเรือรบรัสเซียแวะพักเพื่อเติมน้ำมัน แต่รัฐบาลกรีซไม่ยอม แสดงให้เห็นว่ากรีซเอนเอียงมาทางรัสเซียมากกว่ากลุ่มประเทศอียู แถมยังประกาศอีกว่า 'เราจะไม่อดทนต่อแรงกดดันใดๆ' นอกจากนั้น อียิปต์ก็เป็นอีกประเทศที่หันมาทางรัสเซียค่อนข้างจะเต็มตัว
    ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
    *หมายเหตุ: ถ้าจะแชร์ ไม่ต้องขออนุญาตแต่โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจนและหากจะวิจารณ์ โปรดใช้คำสุภาพเพื่อป้องกันการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ โปรดสะกดใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยด้วย ผมพยายามลบข้อความวิจารณ์ที่หยาบและสะกดผิดออกทุกครั้งที่เห็น ในกรณีที่วิจารณ์ไม่เข้าเรื่อง อ่อนตรรกะหรือหยาบเกินไปบ่อยๆ ผมอาจจะบล็อคไม่ให้วิจารณ์อีกนะครับ
    Greeks Refuse EU Demand to Stop Russian Fuel Tankers
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

    หนทางสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ราบรื่น:
    สถานการณ์ในซีเรียกำลังเข้มข้น ๑.กองทหารรัฐบาลรัสเซียพร้อมพันธมิตรกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายที่อาเลปโปได้ร่ำๆ จะสิ้นซากแล้ว มะกันเสนอขอให้หยุดยิง แต่รัสเซียไม่ฟังเด็กเลี้ยงแกะอีกต่อไปแล้ว เดินหน้าต่ออย่างเดียว ๒.แอร์โดกันพูดนอกสคริปต์ว่า 'ที่เพียรส่งทหารตุรกีเข้าซีเรียก็เพราะอยากไล่ประธานาธิบดีอัสสาดให้พ้นจากตำแหน่ง' รัสเซียต้องการคำอธิบายจากปากแอร์โดกันโดยด่วน มิฉะนั้น...(รัสเซียละไว้ ต้องคอยดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น) คอยดูว่าลีลาพลิกลิ้นของผู้นำเจ้าเล่ห์อย่างแอร์โดกันจะตอบว่าอย่างไร
    ส่วนที่เมืองมะกัน ผู้พิพากษาสั่งมิให้นับคะแนนใหม่ในบางเขตตามที่เครือข่ายผู้สนับสนุนนางฮิลารี คลินตันยื่นขอแล้ว ทางสำหรับก้าวไปสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์จึงสะดวก คราวนี้ ต้องระวังอยู่อย่างเดียวคือระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากการถูกลอบทำร้ายซึ่งอาจจะมีจากผู้ไม่หวังดีได้
    ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
    *หมายเหตุ: ถ้าจะแชร์ ไม่ต้องขออนุญาตแต่โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจนและหากจะวิจารณ์ โปรดใช้คำสุภาพเพื่อป้องกันการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ โปรดสะกดใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยด้วย ผมพยายามลบข้อความวิจารณ์ที่หยาบและสะกดผิดออกทุกครั้งที่เห็น ในกรณีที่วิจารณ์ไม่เข้าเรื่อง อ่อนตรรกะหรือหยาบเกินไปบ่อยๆ ผมอาจจะบล็อคไม่ให้วิจารณ์อีกนะครับ
    Judge rejects Stein's request for hand recount
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ทหารรัสเซียแจกจ่ายอาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนชาวซีเรียที่หลบหนีออกจากอะเลปโปตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ยึดครองของพวกกบฏซีเรียและผู้ก่อการร้าย ในศูนย์สร้างความปรองดองที่ฐานทัพอากาศของรัสเซียในจังหวัดลาตะเกีย เคยเห็นทหารของสหรัฐและอียูหรือพวกลูกพี่ของพวกผู้ก่อการร้ายและพวกกบฏทำแบบนี้กับประชาชนชาวซีเรียบ้างไหม? ข่าวแบบนี้จะไม่มีทางได้ปรากฏในสื่อฯกระแสหลักของตะวันตก

    หลังจากที่กองทัพฝ่ายรัฐบาลซีเรียยึดคืนพื้นที่บางส่วน (40%) ในอะเลปโปตะวันออกจากพวกผู้ก่อการร้ายได้แล้ว รัสเซียก็ส่งหน่วยแพทย์และหน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดประมาณ 200 นาย และ 47 หน่วยเข้าไปในพื้นที่ กลาโหมรัสเซียแถลง (30 พ.ย.59)
    ---------------
    [ame]https://youtu.be/qfuzUFORvzA[/ame]
    [ame]https://youtu.be/-PbiOdOgNVY[/ame]
    .
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ประชาชนเกาหลีใต้หลายแสนคนพากันเดินขบวนประท้วงรอบที่ 5 เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีปาร์ค กึน-เฮ ผู้นำเกาหลีใต้ให้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการคอรัปชั่น (30 พ.ย.59)
    --------------
    [ame]https://youtu.be/EHn2VmmlntI[/ame]
    .
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ส.ว.อาวุโสสหรัฐฯ เล็งแก้กฎหมายเอาผิดซาอุฯ คดี 9/11 ลดโอกาส “มะกัน” ถูกเล่นงานกลับ โดย MGR Online 1 ธันวาคม 2559 09:51 น. (แก้ไขล่าสุด 1 ธันวาคม 2559 13:28 น.)

    รอยเตอร์ - ส.ว.อาวุโสของสหรัฐฯ 2 คนเตรียมเสนอแก้ไขกฎหมายซึ่งเปิดทางให้เหยื่อเหตุวินาศกรรม 9/11 สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ เพื่อกำหนดขอบเขตของการยื่นฟ้องให้แคบลงมา และลดความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะถูกเล่นงานทางกฎหมายเสียเองจากภารกิจในต่างแดน

    ส.ว.ลินด์เซย์ เกรแฮม และ ส.ว.จอห์น แม็กเคน ผู้นำด้านนโยบายต่างประเทศของฝ่ายรีพับลิกันในสภาคองเกรส ระบุเมื่อวันพุธ (30 พ.ย.) ว่าจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ เพื่อกำหนดเงื่อนไขว่ารัฐบาลหนึ่งๆ จะถูกฟ้องได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปเกี่ยวโยงกับองค์กรก่อการร้ายโดย “รู้เท่าทัน” (knowingly)

    “เราจะบอกกับประเทศพันธมิตรทั้งหลายของสหรัฐอเมริกาว่า ท่านจะไม่ถูกฟ้องข้อหาก่อการร้ายในสหรัฐฯ อย่างแน่นอนหาก ท่านไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ และหลักเกณฑ์นี้ก็จะบังคับใช้กับเราในประเทศของท่านด้วย” เกรแฮม แถลงต่อที่ประชุมวุฒิสภา

    เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้มีมติคัดค้านอำนาจวีโตของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต่อร่างกฎหมายความยุติธรรมเพื่อต่อต้านผู้สนับสนุนการก่อการร้าย (Justice Against Sponsors of Terrorism Act - JASTA) ซึ่งทำให้ร่างกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทันที

    อย่างไรก็ตาม บรรดา ส.ส.และ ส.ว.ยอมรับว่ากฎหมายนี้ควรถูกแก้ให้มีขอบเขตแคบลงมาอีก หลังมีข้อกังวลว่าประเทศอื่นๆ อาจใช้มันเป็นเครื่องมือฟ้องร้องสหรัฐฯ และพลเมืองอเมริกันในต่างแดน ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ โอบามา คัดค้านกฎหมายเช่นนี้

    กฎหมาย JASTA กำหนดให้ยกเว้นหลักความคุ้มกันแห่งรัฏฐาธิปัตย์ในคดีก่อการร้ายบนแผ่นดินสหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับเปิดทางให้มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลซาอุฯ ได้ ขณะที่ริยาดก็ยืนกรานมาโดยตลอดว่า ไม่เคยให้ทุนหรือสนับสนุนกลุ่มอัลกออิดะห์ที่ลงมือจี้เครื่องบินโดยสารในสหรัฐฯ เมื่อปี 2001

    อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ว่าข้อเสนอของเกรแฮม และแม็กเคน จะสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากเครือข่ายญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 9/11 ได้ล็อบบี้กฎหมายฉบับนี้อย่างแข็งขัน และปฏิเสธที่จะแก้ไขเนื้อหาให้กฎหมายอ่อนแอลง

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'ซูจี' ให้คำมั่นสร้างปรองดอง ท่ามกลางวิกฤต 'โรฮิงญา' โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 01 ธันวาคม 2559, 14:00

    นางออง ซาน ซูจี ผู้นำเมียนมา ให้คำมั่นจะทำงานเพื่อความสงบสุขและความปรองดองแห่งชาติ ท่ามกลางเสียงตำหนิจากนานาประเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์การปราบปรามนองเลือดของทหารต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา

    อย่างไรก็ตาม นางซูจีกล่าวในเวทีการประชุมทางธุรกิจที่สิงคโปร์ว่า เมียนมามีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ จำเป็นที่จะต้องบรรลุความมีเสถียรภาพเพื่อดึงดูดการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงความรุนแรงในรัฐยะไข่

    นางซูจี เริ่มต้นเยือนสิงคโปร์เป็นเวลา 3 วัน โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมารองจากจีน ท่ามกลางแรงกดดันจากนานาประเทศที่เพิ่มสูงที่ต้องการให้รัฐบาลเมียนมาจัดการวิกฤตโรฮิงญา

    ชาวโรฮิงญา จำนวนมากหลั่งไหลอพยพข้ามแดนเข้าไปในฝั่งบังกลาเทศ พร้อมเปิดเผยเรื่องราวอันน่าตกใจเกี่ยวกับการข่มขืน ทรมาน และสังหาร ด้วยน้ำมือของกองกำลังรักษาความมั่นคงเมียนมา แต่เมียนมาปฏิเสธข้อกล่าวหาการล่วงละเมิดดังกล่าว โดยระบุว่า ทหารกำลังล่าตัวผู้ก่อการร้ายที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด่านชายแดนตำรวจเมื่อเดือนก่อน

    ประชาชนหลายพันคนยังได้หลบหนีเข้าไปในเขตแดนของจีนในเดือนนี้ หลังเกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหาร และกลุ่มกบฎชาติพันธุ์ในรัฐฉาน ทางภาคเหนือของประเทศ

    'ซูจี' ให้คำมั่นสร้างปรองดอง ท่ามกลางวิกฤต 'โรฮิงญา'
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไขคำตอบ? “คนไทย”จ่ายค่าไฟแพง กระทรวงพลังงานคำนวณพลาด!
    วันพฤหัส 1 ธันวาคม 2016 12:47 pm

    นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวที่ใช้ชื่อว่า “Suphakit Nuntavorakarn” เปิดเผยข้อมูลว่าทำไม? คนไทยถึงจ่ายค่าไฟแพง

    นายศุภกิจ ระบุว่า ปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าแพง เพราะพยากรณ์เกิน สร้างโรงไฟฟ้ามากเกิน ตามที่ท่านปลัดกระทรวงพลังงาน และท่านผู้ว่าการ กฟผ. ให้ข่าวว่า การยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นนั้น

    ค่าไฟฟ้าที่แพงอยู่ในปัจจุบัน สาเหตุหลักเป็นเพราะ กระทรวงพลังงาน พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด เกินความจริงมาโดยตลอด ซึ่งในปีนี้ พยากรณ์เกินจริง 599 เมกะวัตต์ เทียบเท่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โรงที่ไม่จำเป็นต้องสร้าง

    การพยากรณ์เกินจริง จึงส่งผลให้มีการสร้างโรงไฟฟ้ามากเกินไป กลายเป็นโรงไฟฟ้าสำรอง ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ร้อยละ 15 และกลายเป็นภาระค่าไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น กับประชาชนทั้งประเทศ ในปี 2559 โรงไฟฟ้าสำรองสูงถึง 7,741 เมกะวัตต์หรือร้อยละ 26 จึงเกินมาตรฐานไปแล้ว 3,298 เมกะวัตต์ เทียบเท่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรงที่ล้นเกินอยู่ โดยคำนวณจากกำลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้แล้ว

    ทั้งนี้ หากคำนวณจากโรงไฟฟ้าทั้งหมด ที่นำมาคิดค่าไฟฟ้ากับประชาชน โรงไฟฟ้าสำรองที่เกินมาตรฐาน จะสูงถึง 6,584 เมกะวัตต์ คิดเป็นภาระค่าไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นอย่างน้อย 2 แสนล้านบาท

    สำหรับค่าไฟฟ้าที่ยังจะแพงขึ้นอีก เพราะกระทรวงพลังงาน ยังจะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกมาก ทั้งที่มีล้นเหลืออยู่แล้ว ขอแยกไปอีกโพสนะครับ

    ไขคำตอบ? "คนไทย"จ่ายค่าไฟแพง กระทรวงพลังงานคำนวณพลาด! - Spring News
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...