ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    May 31, 2020 การบินไทยชี้แจงกรณีข่าวการเช่าเครื่องบิน

    ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อบางสำนัก และสื่อสังคมออนไลน์ว่าการบินไทยทำสัญญาเช่าเครื่องบินกับนิติบุคคลผู้ให้เช่าเครื่องบินที่ตั้งชื่อภาษาไทย นั้น

    ฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอเรียนชี้แจงว่า ในการนำเครื่องบินเข้ามาสู่ฝูงบินของการบินไทยนั้น บริษัทฯ จะกระทำได้ผ่านสัญญาสองประเภท กล่าวคือสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) กับสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) ซึ่งทั้งสองประเภทเป็นธุรกรรมการเงินในการให้สินเชื่อที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรมการบิน

    ส่วนของสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) นั้น เปรียบเทียบได้กับสัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาเช่า โดยการบินไทยจะต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และเมื่อสัญญาครบกำหนดระยะเวลาการเช่า การบินไทยต้องคืนเครื่องบินให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ตกลงกันไว้ (Redelivery Condition) สัญญาประเภทเช่าดำเนินการนั้น มักจะทำกับบริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบิน แต่ในกรณีที่ผู้ให้เช่าต้องกู้เงินมาซื้อเครื่องบินเพื่อเอามาให้สายการบินเช่านั้น ทางผู้สนับสนุนทางการเงินของผู้ให้เช่าอาจตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle หรือ SPV) ขึ้นมา เพื่อถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินดังกล่าว

    ในกรณีของสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) นั้น สายการบินจะทำสัญญาซื้อ-ขายกับผู้ผลิตเครื่องบิน เช่น Boeing หรือ Airbus และเมื่อถึงวันรับมอบเครื่องบิน สายการบินอาจใช้เงินสดหรือจัดหาเงินกู้มาชำระค่าเครื่องบิน ซึ่งมาจากสถาบันการเงินที่ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยอาจให้องค์การเครดิตเพื่อการส่งออก (Export Credit Agency หรือ ECA) มาเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินนั้นจะเป็นผู้รับโอนสัญญาซื้อขายเครื่องบินระหว่างสายการบินกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน ซึ่งสถาบันการเงินที่นำเงินมาจ่ายค่าเครื่องบินนั้น อาจมีมากกว่าหนึ่งรายและอาจมาจากหลายประเทศ กลุ่มสถาบันการเงินดังกล่าวจึงตั้ง SPV ขึ้น เพื่อร่วมกันถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินดังกล่าว และสายการบินก็จะทำสัญญาเช่าทางการเงินกับ SPV นั้น เมื่อสายการบินชำระเงินกู้ครบถ้วนแล้ว เครื่องบินจะถูกโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของสายการบินต่อไป

    ดังนั้น การที่มี SPV มาเกี่ยวข้องในทั้งสองโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) หรือสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) เป็นธุรกรรมทางการเงินที่สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลกทั่วไปใช้ดำเนินการ เพื่อให้สถาบันการเงินหลายๆ สถาบันที่เป็นผู้ให้กู้ร่วม สามารถถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินผ่าน SPV ดังกล่าวได้ ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใน SPV ดังกล่าวแต่อย่างใด และการตั้งชื่อ SPV เป็นสิทธิของสถาบันการเงิน แต่บางรายขอให้สายการบินเป็นผู้ตั้งให้ ชื่อ SPV ที่ปรากฏจึงมีทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ

    ทั้งนี้ การเช่าเครื่องบินที่ปรากฏเป็นข่าวเป็นเครื่องบินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) ทั้งสิ้น และปัจจุบันบริษัทฯ มีเครื่องบินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) จำนวน 31 ลำ และเครื่องบินภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) จำนวน 39 ลำ

    #การบินไทย #เช่าเครื่องบิน #misterban

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    May 31,2020 ตามคาด!! พ.ร.ก.เงินกู้ 3 ฉบับ 1.9 ล้านล้านบาทผ่านมติสภาแล้ว

    รายงานจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรกรณีพิจารณาลงมติพระราชกำหนดกู้เงิน หรือพ.ร.ก.กู้เงิน ทั้ง 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท ผลปรากฎว่าผ่านทั้ง 3 ฉบับ

    1.พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท มีจำนวนผู้เข้าประชุม 481 คน โดยเห็นด้วย 274 ไม่เห็นด้วย 0 // งดออกเสียง 207 และไม่ลงคะแนนเสียง 0

    2.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท มีจำนวนผู้เข้าประชุม 481 โดยเห็นด้วย 275 // ไม่เห็นด้วย 1 //งดออกเสียง 205 และไม่ลงคะแนนเสียง 0

    3.พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 วงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาท มีจำนวนผู้เข้าประชุม 482 โดยเห็นด้วย 274 //ไม่เห็นด้วย 195
    // งดออกเสียง 12 และไม่ลงคะแนนเสียง 1

    โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะบริหารด้วยโปร่งใส มีเจตนาดี และทำตามกฎหมาย โดยการใช้เงินกู้ดังกล่าวจะต้องดำเนินการเบิกจ่ายเช่นเดียวกับเงินงบประมาณแผ่นดินปกติ
    ส่วนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณใน พ.ร.ก.กู้เงินนั้น เป็นเรื่องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณา

    #พรก #ประชุมสภา
    #misterban

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    May 31,2020 บอร์ดการบินไทยประกาศไม่รับค่าตอบแทนเพื่อช่วยเหลือองค์กร

    เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ ครั้งพิเศษ โดยมี พลอากาศเอกชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทยฯ เป็นประธาน พร้อมด้วยกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายบุญทักษ์ หวังเจริญ และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

    โดยในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมใจช่วยเหลือองค์กรโดยไม่รับค่าตอบแทนรายเดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมใจลดค่าตอบแทนรายเดือนลงร้อยละ 50 ตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา

    นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ และครอบครัว ไม่ได้รับสิทธิบัตรโดยสารฟรี และสิทธิประโยชน์ใดๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ และผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในปี 2557 ให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการของรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

    #การบินไทย #เงินเดือน #misterban

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อินโดฯ อ่วม ติดเชื้อโควิดเพิ่มวันเดียว 700 สิงคโปร์ยอดสะสมทะลุ 3.4 หมื่น
    อินโดนีเซีย-สิงคโปร์ 2 ชาติอาเซียนยังเผชิญโควิด อินโดฯ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่วันเดียว 700 ขณะที่ สิงคโปร์เพิ่มอีกกว่าครึ่งพัน ยอดสะสมเกิน 34,000 รายแล้ว
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐ : รัฐที่ประกาศเคอร์ฟิว และ ประกาศใช้ National Guard ( อัพเดท 30 พค.)

    Cr : AP
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อินเดีย : คลิปผู้มีรายได้น้อยจากขบวนรถไฟพิเศษ ที่รัฐบาลจัดให้ วิ่งลงมาแย่งของ พวกเขาหิวจากการเดินทางไกล
    #30 พค. รัฐบาลอินเดียประกาศเลื่อนเวลา ล็อคดาวน์ไปถึง 30 มิถุนายน แต่จะคืนพื้นที่ในบางโซน
    อาทิ อนุญาตให้เปิดห้างสรรพสินค้าร้านอาหารโรงแรมและสถานที่ทางศาสนาอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สื่อญี่ปุ่น เผย รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาเปิดรับชาวต่างชาติจาก 4 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ให้เข้าประเทศได้ในช่วงฤดูร้อนนี้ เหตุคุมโควิดได้ชะงัด แต่มีเงื่อนไขต้องทดสอบเชื้อทั้งก่อนออกจากประเทศ และเมื่อมาถึงญี่ปุ่น

    อ่านต่อ >https://news1live.com/detail/9630000056549
    ...........................................
    ● อีกช่องทางติดตาม NEWS1
    Line : http://nav.cx/4tvbDJ8
    Youtube : youtube.com/c/NEWS1VDO

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รองนายกฯ ยัน รบ.ไม่อยากเก็บศพหนี้เสียจากสถาบันการเงินเหมือนปี 40 จำต้องใช้ พ.ร.ก.ดูแลตราสารหนี้เป็นหลังพิง หาก ธปท.ไม่เข้ามา ตลาดเงิน-ทุนอยู่ไม่ได้ โอดเบื่อเต็มทีรับใช้บ้านเมืองมา 10 ปี ต้องสร้างพื้นฐานให้คนรุ่นใหม่ เตรียมพาไทยก้าวกระโดด

    อ่านต่อ >https://news1live.com/detail/9630000056553
    ...........................................
    รองนายกฯ ยัน รบ.ไม่อยากเก็บศพหนี้เสียจากสถาบันการเงินเหมือนปี 40 จำต้องใช้ พ.ร.ก.ดูแลตราสารหนี้เป็นหลังพิง หาก ธปท.ไม่เข้ามา ตลาดเงิน-ทุนอยู่ไม่ได้ โอดเบื่อเต็มทีรับใช้บ้านเมืองมา 10 ปี ต้องสร้างพื้นฐานให้คนรุ่นใหม่ เตรียมพาไทยก้าวกระโดด

    วันนี้ (31 พ.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลและสภาฯยังต้องร่วมกันทำงานอีก เพราะโควิดจะยังอยู่ไปอีกนาน ดังนั้น ข้อเสนอของสภาฯเป็นสิ่งที่ดีซึ่งทุกหน่วยงานจะรับไปพิจารณา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาถ้าเราไม่รีบยุติการระบาดของโควิด-19 จะทำให้สถานการณ์บานปลายจนคุมไม่ได้ จึงมาถึงจุดที่รัฐบาลต้องตัดสินใจให้ทุกคนอยู่บ้าน แน่นอนว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องหยุด รัฐบาลรู้ถึงสถานการณ์นี้ดี เมื่อกดถึงจุดต่ำสุดแล้วก็มาพิจารณาถึงการผ่อนคลาย ที่ผ่านมาประชาชนให้ความร่วมมือ ระหว่างเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีบางอย่างที่ต้องคิดล่วงหน้า คือ การหาเงินเยียวยาในช่วงแรก ทั้งการใช้งบประมาณปกติและการกู้ยืม หลักการเยียวยา คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้นที่ควรได้รับการเยียวยา

    “แต่ประเด็นไม่ได้อยู่แค่นั้น ต่อมาเริ่มอาการจากตลาดตราสารที่มีการไถ่ถอน บางกองทุนเริ่มปิดกองทุน ผมผ่านต้มยำกุ้งมาแล้ว เมื่อไหร่เศรษฐกิจจริงมีปัญหาปัญหาจะพันไปตลาดเงินทันที เวลานี้ตลาดตราสารใหญ่มาก สมัยปี 2540 รัฐบาลต้องตามไปเก็บศพด้วยการไปซื้อหนี้เสียจากธนาคาร ดังนั้น เวลานี้เราจะไม่ทำอย่างนั้น จึงเป็นที่มาของ พ.ร.ก.ดูแลตราสารหนี้ อย่าไปคิดว่าจะเป็นการอุ้มเจ้าสัว แต่มาตรการตาม พ.ร.ก.จึงเป็นสิ่งจำเป็นเป็นหลังพิง การเยียวยา 3 เดือนเงินก็หมดแล้วไม่เกิน ก.ค. เงินหมุนเวียนเศรษฐกิจจะมาจากไหน เราอาศัยการส่งออกและปัจจัยภายนอกอย่างเดียวไม่ได้ ทั่วโลกหนักหนาอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ไม่มีประเทศไหนไม่เดือดร้อน แต่ประเทศไทยโชคดีที่เราทำให้โครงสร้างของประเทศมีความน่าเชื่อถือ ไม่ต้องไปหาไอเอ็มเอฟ เพราะมีหนี้ต่อจีดีพีน้อยมาก นายกฯยืนยันต้องมีการผ่อนคลาย แต่ก็ต้องระวังว่าหากระบาดขึ้นมาอีกจะเอาเงินที่ไหนมาดูแล”

    นายสมคิดกล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่เคยคิดจะเข้ามาแทรกแซง แต่ถ้าครั้งนี้ ธปท.ไม่เข้ามาก็จะทำให้ตลาดเงินตลาดทุนอยู่ไม่ได้ การเอาเงินมาฟื้นฟูนั้นต้องทำแบบเดิมไม่ได้ เพราะอะไรที่ช่วยประชาชนในท้องถิ่นจะต้องเข้าไปช่วยกัน จะใช้เป็นฐานที่เข้มแข็งของประเทศไทย และเพื่อไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง จะให้คนกลางเข้ามากลั่นกรองการใช้เงินโดยรับฟังจากภายนอกด้วย โดยวันที่ 5 มิ.ย.จะเริ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็น

    “การร่วมมือระหว่างสภากับรัฐบาลสำคัญมาก เพราะอีกครึ่งปีนี้จะยังไม่เหมือนเดิมแน่นอน ดังนั้น การใช้เงินต้องมีคุณภาพ ใช้เงินไม่หมดไม่เป็นไร เงินส่วนที่เหลือใช้สำหรับการเยียวยาได้ สถานการณ์โควิดอาจลามถึงปีหน้า ความคิดของเราจึงคิดว่าเศรษฐกิจท้องถิ่นจะต้องเป็นจุดแข็ง งบประมาณปี 2564 ต้องปรับแนวทางใหม่ต้องสร้างให้คนมีงานทำ คนไทยไม่ชอบนั่งรับเงินเพราะอยากมีงานทำ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคิดล่วงหน้าไปด้วยว่าเพื่อพยุงไปให้ได้ ต้องเตรียมความคิดและโครงการ ผมทำงานรับใช้รัฐบาลและบ้านเมืองมา 10 ปีแล้ว เบื่อเต็มที่แล้วอยากสร้างคนใหม่ๆ เข้ามาดูแล แทนคนเก่าคนแก่ที่อายุมากแล้ว ถ้าเราเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้พร้อม เมื่อโควิดผ่านพ้นเราจะก้าวกระโดดทันที และจะมีข้อมูลจำนวนมหาศาล เป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เหตุการณ์ 3 เดือนนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังมีอีกยาวที่ต้องทำงานด้วยกัน ถ้าจะมาตรวจสอบความโปร่งใสย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์เท่าเทียมกัน” นายสมคิดกล่าว

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีนเผยซากเนินเปลือกหอย อายุเก่าแก่ถึง 8 พันปี
    นักโบราณคดีจีน เผยเนินเปลือกหอย ที่มณฑลเจ้อเจียง มีอายุเก่าแก่ถึง 8,000 ปี เชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐ : ตำรวจนิวยอร์ก vs ม๊อบ
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผู้เสียชีวิตโควิด-19 ทั่วโลกวันอาทิตย์(31 พ.ค)อยู่ที่ 6,075,786 คน เสียชีวิตรวม 369,433 คน สหรัฐฯเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 จำนวน 103,781 คน ติดเชื้อ 1,770
    ,384 คน ล่าสุดผู้นำบราซิล ฌาอีร์ โบลโซนารู ไม่สนใจบราซิลป่วยติดเชื้ออันดับ 2 ของโลก ตายอีกกว่า 2 หมื่นประกาศต้องการให้ฤดูกาลแข่งฟุตบอลกลับมา ด้านองค์การอนามัยโลก WHO ออกคำแนะนำสำหรับการรวมตัวหมู่มากในที่สาธารณะ

    อ่านต่อ >https://news1live.com/detail/9630000056575
    ...........................................
    ● อีกช่องทางติดตาม NEWS1
    Line : http://nav.cx/4tvbDJ8
    Youtube : youtube.com/c/NEWS1VDO

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    May 31,2020 สถานทูตเตือนคนไทยในสหรัฐฯ เลี่ยงพื้นที่ชุมนุม หลังเกิดการประท้วงบานปลายในหลายพื้นที่

    สืบเนื่องจากการเสียชีวิตของ นายจอร์จ ฟลอยด์ ภายหลังการถูกควบคุมตัวโดยตำรวจในเมืองมินนีแอโปลิส รัฐมินนิโซตา เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการประท้วงในหลายเมืองของสหรัฐอเมริกา

    ล่าสุด สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ออกประกาศเตือน ขอให้คนไทย หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วง มีรายละเอียดดังนี้

    ตามที่ขณะนี้ได้มีการชุมนุมประท้วงในหลายเมืองในสหรัฐฯ สืบเนื่องจากเหตุการณ์เสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชาวผิวสี ภายหลังการถูกควบคุมตัวโดยตำรวจในเมืองมินนีแอโปลิส รัฐมินนิโซตา เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดการจลาจลลุกฮือในเมืองต่าง ๆ ทั่วสหรัฐฯ และการชุมนุมประท้วงในหลายเมืองได้บานปลายจนมีการใช้ความรุนแรง การปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและการทำลายทรัพย์สินธุรกิจการค้า นั้น
    สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ขอให้ชุมชนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มีการชุมนุมประท้วงโปรดติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและ ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น พร้อมทั้งใช้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเข้าไปใกล้พื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วงและพื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ โดยไม่จำเป็น
    .
    หากท่านได้รับความเดือดร้อนหรือทราบข่าวว่าคนไทยได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้แจ้งหน่วยงานภาครัฐในท้องที่และแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อทราบที่หมายเลขโทรศัพท์ 202- 999-7690 หรืออีเมล protection@thaiembdc.org
    #อเมริกาประท้วง #ประท้วง #สถานทูตไทย #misterban

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จับตาแผนรับมือเศรษฐกิจสหรัฐรับมือโควิด-19 ระบาดรอบ 2 ขณะที่ "เจอโรม พาวเวล" ประธานเฟด เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (29 พ.ค.) ว่า แนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นในสหรัฐ อาจจะสกัดกั้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาดดังกล่าว
    .
    เมื่อวันศุกร์ (29 พ.ค.) มหานครใหญ่อย่างนิวยอร์ก ประกาศเปิดเศรษฐกิจเฟสแรกวันที่ 8 มิ.ย.นี้ หลังจากที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แตะระดับสูงสุดไปแล้ว แต่ประธานธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) กลับมีถ้อยแถลงที่ชวนให้ตั้งคำถามในใจว่าสหรัฐพร้อมแล้วหรือที่จะเปิดเศรษฐกิจและคลายมาตรการล็อกดาวน์
    .
    "เจอโรม พาวเวล" ประธานเฟด เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (29 พ.ค.) ว่า แนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นในสหรัฐ อาจจะสกัดกั้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาดดังกล่าว แม้เขาได้ระบุย้ำว่า เฟดยืนยันที่จะยังคงเดินหน้าต่อสู้กับวิกฤตดังกล่าวต่อไปก็ตาม
    .
    ที่ผ่านมา เฟด ได้ดำเนินมาตรการทุกทางที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย และจัดหาสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือบริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
    .
    พาวเวลกล่าวในเว็บคาสต์ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันว่า “ผมคิดว่า การระบาดรอบสองของโรคโควิด-19 จะทำลายความเชื่อมั่นของประชาชน และอาจทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า และอ่อนแอ เราจะยังคงดำเนินมาตรการรับมือต่อไปอย่างแน่นอน เราจะไม่มีข้อจำกัดใดๆ แต่ที่ผมวิตกมากกว่าก็คือ การระบาดรอบสองของโรคโควิด-19 จะทำลายความเชื่อมั่น”
    .
    ความเห็นของพาวเวลย้ำเตือนว่า เฟดกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสุขภาพของประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เฟดไม่สามารถควบคุมได้ แต่พาวเวล ก็ย้ำหลายครั้งว่า เฟดจะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัว และอัตราการจ้างงานกลับสู่ระดับที่แข็งแกร่ง โดยเฟดจะประชุมกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 9-10 มิ.ย.นี้
    .
    นอกจากนี้ ประธานเฟด ยังกล่าวด้วยว่า เฟดใกล้ที่จะดำเนินการปล่อยเงินกู้ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในประเทศแล้ว
    .
    อ่านต่อได้ที่: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/883040
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    -------------------------------
    ติดตาม "กรุงเทพธุรกิจ" ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
    Line: https://line.me/R/ti/p/@rvb8351i
    Twitter: https://twitter.com/ktnewsonline
    Website : http://www.bangkokbiznews.com
    Youtube: https://www.youtube.com/user/KrungthepTurakij
    Blockdit : https://www.blockdit.com/bangkokbiznews
    Instagram: https://www.instagram.com/bangkokbiznews

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกาออกประกาศเตือน คนไทยในสหรัฐฯ ระวังเหตุจลาจลในหลายเมืองทั่วสหรัฐ ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมนุม/พื้นที่เสี่ยง!
    .
    ตามที่ขณะนี้ได้มีการชุมนุมประท้วงในหลายเมืองในสหรัฐฯ สืบเนื่องจากเหตุการณ์เสียชีวิตของนาย George Floyd ชาวผิวสี ภายหลังการถูกควบคุมตัวโดยตำรวจในเมืองมินนีแอโปลิส รัฐมินนิโซตา เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดการจลาจลลุกฮือในเมืองต่าง ๆ ทั่วสหรัฐฯ และการชุมนุมประท้วงในหลายเมืองได้บานปลายจนมีการใช้ความรุนแรง การปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและการทำลายทรัพย์สินธุรกิจการค้านั้น
    .
    สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ขอให้ชุมชนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วงโปรดติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและ ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น พร้อมทั้งใช้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเข้าไปใกล้พื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วงและพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
    .
    หากท่านได้รับความเดือดร้อนหรือทราบข่าวว่าคนไทยได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้แจ้งหน่วยงานภาครัฐในท้องที่และแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อทราบที่หมายเลขโทรศัพท์ 202- 999-7690 หรืออีเมลprotection@thaiembdc.org
    .
    ข้อแนะนำเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินhttps://thaiembdc.org/th/consularservice/emergency/
    .
    อ่านต่อได้ที่: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/883061
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    -------------------------------

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    COVID-19 จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษของ '4 สงครามทางเศรษฐกิจ'
    31 พฤษภาคม 2563 | โดย พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา | คอลัมน์ รู้โลก รู้เรา

    วิกฤติโควิด-19 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของทศวรรษนี้ก็ว่าได้ ทั้งในแง่ของการดำเนินชีวิตที่นำไปสู่ New Normal รวมถึงแรงสะเทือนถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลก รวมถึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ 4 สงครามทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นแรงส่งถึงระยะถัดไป
    นับเป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วที่โลกต้องเผชิญกับสงครามการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งถือเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายมิติ ไม่เพียงแต่วิถีการดำเนินชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป หรือที่หลายคนเริ่มเรียกกันติดปากว่า New Normal แต่หากมองในภาพใหญ่ของเศรษฐกิจโลกแล้ว COVID-19 ยังกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ 4 สงครามทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและในระยะถัดไป ดังนี้

    สงครามราคา
    ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่หากเกิดขึ้นแล้วมักจะทำให้ผู้เล่นในธุรกิจนั้นๆ เจ็บตัวกันหมด ซึ่งแม้ว่าตลอดทศวรรษที่ผ่านมาจะมีบทเรียนให้เห็นมากมาย แต่หลายธุรกิจก็ยังจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อตอบสนองผู้บริโภคบางกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคาเป็นหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ อาทิ การบิน โรงแรม ค้าปลีก เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม วิกฤติ COVID-19 ในครั้งนี้ ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown และ Social Distancing จนรายได้แทบเป็นศูนย์ ประเด็นดังกล่าวนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้หลายธุรกิจต้องหันมาทบทวนกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคากันอย่างจริงจัง

    เนื่องจากธุรกิจต้องแบกรับต้นทุนการบริหารจัดการ ตลอดจนการรักษามาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร ทั้งธุรกิจบริการที่อาจรับลูกค้าต่อวันได้น้อยลง และภาคการผลิต โดยเฉพาะที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาจผลิตสินค้าต่อวันได้ลดลง เหตุการณ์ข้างต้นเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าการแข่งขันด้านราคาคงไม่ใช่คำตอบหลักสำหรับการดำเนินธุรกิจในระยะถัดไป

    สงครามการค้า
    สงครามการค้าที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี นับตั้งแต่ทรัมป์ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐ ได้กดดันบรรยากาศการค้าการลงทุนของโลกมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมาไพ่ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ถืออยู่ในมือ ดูจะเหนือกว่าทางฝั่งจีนอยู่พอสมควร จากการที่สหรัฐเป็นผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน

    อีกทั้งเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่ผ่านมาก็แข็งแกร่งที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด ทำให้สหรัฐยังสามารถทนต่อแรงเสียดทานจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผ่านการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนได้

    อย่างไรก็ตามหลังจากเกิด COVID-19 จนสหรัฐกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในโลก และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐ ปี 2563 หดตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี ปัจจัยดังกล่าวทำให้ทรัมป์ต้องระมัดระวังมากขึ้นในการใช้นโยบายปกป้องทางการค้าที่จะซ้ำเติมเศรษฐกิจสหรัฐ จนอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทรัมป์แพ้ศึกการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปีได้

    สงครามค่าเงิน
    สงครามค่าเงิน ดูเหมือนจะถูกพูดถึงน้อยลงไปบ้างในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น แต่หลังจากเกิด COVID-19 ที่ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องกลับมาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำติดดินและมาตรการ QE อีกครั้ง ก็อาจเป็นชนวนจุดไฟสงครามค่าเงินได้อีก เนื่องจากหลายประเทศต้องการให้ค่าเงินตนเองอ่อนลง เพื่อกระตุ้นการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 โดยผู้เล่นหลักในครั้งนี้คงหนีไม่พ้นสหรัฐกับจีน

    โดยนับตั้งแต่เกิด COVID-19 เงินดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยผันผวนในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง สวนทางกับเงินหยวนที่อ่อนค่าลง ทำให้ทรัมป์คงไม่พอใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนัก ประจวบเหมาะกับการที่จีนเริ่มทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัล ที่หนุนหลังโดยธนาคารกลางเป็นประเทศแรกของโลกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2563 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดการพึ่งพาการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐของนักลงทุนทั่วโลก ปัจจัยดังกล่าวอาจจะยิ่งเร่งให้สงครามค่าเงินเกิดเร็วขึ้น

    สงครามผู้นำตลาด
    ซึ่งเป็นการต่อสู้กันระหว่างอุตสาหกรรมเก่าและอุตสาหกรรมใหม่ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ตลาดหุ้นสหรัฐ ที่ในช่วงก่อนวิกฤติ Hamburger หุ้นที่นำตลาดจะอยู่ในกลุ่มพลังงาน การเงิน ค้าปลีก เป็นต้น แต่หลังจากเกิดวิกฤติหลายครั้งที่ผ่านมา รวมถึงวิกฤติ COVID-19 ครั้งนี้ สะท้อนได้ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมเก่าเหล่านี้อ่อนไหวต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก

    ตรงกันข้ามกับอุตสาหกรรมใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ดูเหมือนจะทนกับวิกฤติได้ดีกว่า สังเกตได้จากราคาหุ้นกลุ่ม FAANG ซึ่งเป็นตัวย่อของ Facebook, Apple, Amazon, Netflix และ Google ที่ปรับขึ้นสวนทางกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ

    อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่จะสามารถยืนหยัดในภาวะดังกล่าวได้ เพราะหลายธุรกิจที่เคยเป็น Start-up ดาวรุ่งอย่างกลุ่มเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) อาทิ Co-working space, House-sharing หรือ Car-sharing ก็ดูเหมือนจะถูก Disrupt จากพฤติกรรม Social Distancing ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจแห่งอนาคตไม่เพียงแต่ต้องนำไอเดียใหม่ๆ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วย

    สุดท้ายนี้ไม่ว่าสงครามข้างต้นจะออกมาในรูปแบบใด สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคิดไว้ในใจเสมอคือ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ดังนั้น ต้องหมั่นพัฒนาตนเอง หมั่นเช็กสภาพคล่อง พร้อมทั้งเตรียมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและทางหนีทีไล่ให้กับธุรกิจอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้กลายเป็นผู้ชนะไม่ว่าจะเกิดสงครามในรูปแบบใดขึ้นอีกในอนาคต

    [Disclaimer : คอลัมน์นี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของ EXIM]

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อัพเดทสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 สรุปยอด ณ วันที่ 31 พ.ค. 63 เวลา 18.00 น.
    .
    FB_IMG_1590929263466.jpg
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    -------------------------------

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘หนี้ครัวเรือน’ หลอนไม่เลิก ศสช. ห่วงพิษศก.ปมก่อหนี้ซ้ำทำหนี้เน่าพุ่ง
    31 พฤษภาคม 2563 | โดย ปราณี หมื่นแผงวารี

    หนี้ครัวเรือน กำลังจะเป็นโจทย์ใหญ่ให้รัฐบาลไทย รวมถึงตัวประชาชนเจ้าบ้านเจ้าเรือนทั้งหลายตระหนักว่านี่คือปัญหาที่กำลังซ่อนตัวอยู่ในปัญหาอีกทีหนึ่งอย่าง"โรคโควิดระบาด"ที่แม้สถานการณ์การระบาดจะบรรเทาลงแต่ปัญหาอื่นกลับกำลังเร่งแสดงตัวออกมาให้เห็นได้อย่าง
    เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมานายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)แถลงข่าวรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 สาระส่วนหนึ่งเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยพบว่าข้อมูลล่าสุดในไตรมาส4 ปี 2562 สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 79.8% สูงสุดในรอบ 14 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 เป็นต้นมา และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 78.9%

    สำหรับสาเหตุการก่อหนี้ ส่วนใหญ่ 33.7% เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ 32.1% อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 17.9% เพื่อประกอบธุรกิจ และ12.8% ซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์

    นอกจากนี้ ด้านภาพรวมคุณภาพสินเชื่อพบว่าด้อยลง โดยยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 มีมูลค่า 156,227 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.23% ต่อสินเชื่อรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก2.90% ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการชำระหนี้ของสินเชื่อทุกประเภทด้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ

    ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบทางลบอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยว และภาคการเกษตร โดยภาครัฐได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผ่านหลายช่องทาง ในส่วนของปัญหาหนี้สินและสภาพคล่องของประชาชนได้ดำเนินมาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องและบรรเทาภาระค่าครองชีพต่างๆ เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ไม่มีรายได้ประจำ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ที่มีศักยภาพและไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน

    อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นมาตรการระยะสั้นและมุ่งบรรเทาความเดือดร้อนเท่านั้น ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องเร่งเตรียมแผนการดำเนินงานและมาตรการต่างๆ ที่มุ่งเน้นช่วยเหลือฟื้นฟูและยกระดับรายได้ของครัวเรือนอย่างชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินของแต่ละครัวเรือน รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ให้สามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ครัวเรือนได้เพื่อชดเชยรูปแบบหนี้ที่เน้นการอุปโภคบริโภค

    สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเงินของครัวเรือนไทยและความเสี่ยงทางการเงินในปัจจุบันที่พบว่าสถานการณ์ครัวเรือนไทยกำลังเผชิญผลกระทบทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรม โดยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างและความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจและสังคมในระดับครัวเรือนอย่างชัดเจน

    ทั้งนี้ จากผลการศึกษาโครงการสำรวจและศึกษาสาเหตุที่คนไทยก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และบริษัทศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ จำกัด (SAB) ระบุว่า การสะสมความเสี่ยงที่ส่งผลต่อฐานะทางการเงินของครัวเรือนเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1.พฤติกรรมการก่อหนี้ที่เน้นการบริโภค นำไปสู่การสร้างภาระทางการเงินของครัวเรือน และไม่สามารถช่วยยกระดับรายได้ของครัวเรือนให้สูงขึ้นได้ในระยะยาว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายจ่ายมักเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็น ขณะเดียวกันปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เริ่มทำงานใหม่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายจ่ายเพื่อสันทนาการฯ อาทิ ค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/บุหรี่ ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว และค่าการดูแลความสวยงาม รวมถึงทัศนคติที่พร้อมจะใช้จ่ายมากขึ้นเมื่อมีรายได้สูงขึ้น และความคลั่งไคล้ในการชอปปิง

    2.ทัศนคติและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนมีแนวโน้มทำให้เกิดการบริโภคสูง การก่อหนี้ที่นำไปใช้จ่ายผิดประเภท และการเข้าสู่วงจรหนี้ซ้ำ โดยเฉพาะการนำเงินที่ได้จากการกู้เพื่อประกอบอาชีพและเพื่อการศึกษาไปใช้บริโภคแทนการลงทุนและต่อยอดเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระยะยาว และเมื่อไม่สามารถชำระคืนได้จะอาศัยการกู้เงินจากแหล่งอื่นเพื่อนำไปชำระหนี้คืนแทน (การก่อหนี้ซ้ำ)

    และ 3. การเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจทำให้เห็นความเปราะบางของครัวเรือนชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในช่วงสถานการณ์ปกติครัวเรือนไทยก็มีปัญหาทางการเงินในระดับสูง ทั้งการมีเงินออมน้อย มีภาระหนี้สูงและนาน และภูมิคุ้มกันทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ เมื่อต้องเผชิญกับภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวทำให้ผลกระทบต่อครัวเรือนจะมีความรุนแรง และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้าง

    ในปัจจุบันการแก้ไขปัญหาของภาครัฐพยายามเร่งดำเนินการเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของครัวเรือนในช่วงระยะสั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของการแก้ไขปัญหา คือ การแก้ไขปัญหาความเปราะบางทางการเงินในระดับเชิงโครงสร้างของครัวเรือนในระยะยาวอย่างยั่งยืน

    โดย 1. การสร้างกลไกเพื่อบรรเทาภาระหนี้และปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้โดยมีภาครัฐเป็นสื่อกลาง 2. การยกระดับรายได้ของประชาชนให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่และความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และ 2. การส่งเสริมความรู้และสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชนผ่านช่องทางเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

    พฤติกรรมการใช้จ่ายเป็นเหตุแห่งการก่อหนี้ แต่หากประเมินจากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ พบว่า ปัญหารายได้น้อยหรือไม่มีรายได้กำลังทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนกลายเป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่อาจฉุดรั่งการเติบโต ขณะเดียวกันก็อาจมีผลต่อเนื่องเชิงสังคม ดังนั้น การช่วยกันทั้งภาครัฐและประชาชนทุกคนเพื่อแก้ไขปัญหานี้เชิงโครงสร้างจึงเป็นสิ่งสำคัญให้หลุดพ้นจากปัญหา”หนี้ครัวเรือน”ให้ได้เร็วที่สุด

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'สงครามข่าว' สหรัฐ-จีน : คำเตือนก่อนศึกการค้าปะทุ
    31 พฤษภาคม 2563 | โดย ปราณี หมื่นแผงวารี

    หากใครก็ตามถูกกล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุของความเสียหายระดับโลก คงไม่มีใครอยู่นิ่งได้ เรากำลังพูดถึง สหรัฐ-จีนที่กำลังทำสงครามการค้า สงครามข้อมูลข่าวสาร ว่าด้วยการ “เช็คบิล” หาต้นตอวิกฤติโควิดที่ร้ายแรงระดับโลกนี้

    หากใครก็ตามถูกกล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุของความเสียหายระดับโลก คงไม่มีใครอยู่นิ่งได้ แม้ข้อมูลและความเป็นไปได้ ค่อนข้างจะชี้ไปในทางที่สอดคล้องกับข้อกล่าวหา หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ เกิดกระแส “เช็คบิล” ต้นตอวิกฤติร้ายแรงระดับโลกนี้

    เรากำลังพูดถึงสถานการณ์ที่จีนกำลังเผชิญหน้ากับสหรัฐ ที่กำลังเรียกร้องหาสาเหตุของโรคโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมไปทั่่วโลก

    แน่นอนใครเป็นจีนก็ไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงต้องส่งกลับข้อมูลว่า"จีนไม่ใช่ต้นเหตุแห่งปัญหาแม้จีนอาจอยู่ในฐานะฟังไม่ขึ้นเพราะ พฤติกรรมปกปิด บิดเบือนข้อมูลก่อนหน้านี้ แต่พูดมากดีกว่าพูดน้อย พูดบ่อยดีกว่านิ่งเฉย น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ของจีนที่จะนำมาใช้ ซึ่งจะได้ผลหรือไม่อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป แต่สงครามข่าวสารกำลังตอบโต้กันไปมาอย่างน่าจับตามอง

    ผลกระทบจากความกินแหนง แคลงใจกันระหว่างสหรัฐและจีน กำลังนำไปสู่ความกังวลที่ว่า “สงครามการค้า” กำลังจะปะทุขึ้นมาอีกระลอก และแน่นอน ผลพวงจากสองยักษ์ปะทะกัน ย่อมสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม

    สถานการณ์ที่ย้ำแย่อยู่แล้วอาจยิ่งต่ำลงไปอีก แต่ประเทศต้องการศัตรูเพื่อรวมใจเป็นหนึ่ง สหรัฐกำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วประเทศเพื่อสรรหาประธานาธิบดีหลังผู้นำคนปัจจุบันกำลังจะหมดวาระ ในพ.ย.นี้

    ทรัมป์ สมัยสอง ยังมีลุ้นเพราะท่ามกลางความหงุ่นง่านการแก้ปัญหาโรคระบาด การสร้างศัตรูของชาติเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า Work ที่เดียว ขณะที่เหตุผลที่ไม่ใช่การเมือง กำลังทำให้การขยับขับเคลื่อนทางการค้าและการลงทุนถึงจุด Turning point อีกครั้ง

    การลงทุนจะไปต่อ คือลุยลงทุนในจีนต่อไปอีก หรือทบทวนเพื่อถอดบทเรียนหลังอู่ฮั่น ปิดเมืองหลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก แม้เงื่อนไขนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้วแต่ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดอีก และยังมีความท้าทายจากศึกการค้าที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกระลอก ทุนสหรัฐ หรือแม้แต่ชาติอื่นๆ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ต้องถามตัวเองว่า

    “จีนยังหอมหวนสำหรับการลงทุนหรือไม่ ตลาดขนาดใหญ่ของจีน น่าสนใจก็จริง แต่การถูกล้อมด้วยเงื่อนไขกีดกันทางการค้าต่างๆ มันคุ้มค่ากันหรือไม่”

    จบจากศึกไวรัสตัวร้าย แล้ว ก็เป็นศึกการค้า ที่ต้องสู้กันอีกยก แต่ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลป้องกันคนในชาติพ้นจากโรคร้าย หรือเหตุผลเคลือบแฝงอะไรก็ตาม ขอให้ตั้งสติ พิจารณาจากรายงานของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติUNDP เผยแพร่รายงานThe Social and Economic Impact of COVID-19 in the Asia-Pacific Region สาระส่วนหนึ่งเผยถึงสมมติฐานเศรษฐกิจหลังโควิดว่าจะมีแนวโน้มอย่างไร บางสมมติฐานดีและบางสมมติฐานแย่ ซึ่งข้อมูลนี้อาจช่วยให้คาดการณ์ทิศทางการลงทุนในอนาคตได้

    โดยสมมติฐานที่ 1 : ฟื้นเร็วแบบวีเชฟ จะต้องมีลักษณะ : จีนและเอเชียคุมได้เต็มรูปแบบ ส่วนประเทศอื่นๆยุติแค่ระบาดขั้นสูงสุด(peak)ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุด : ต้นพ.ค. นี้โดยมีวัคซีน กลางปี 2564 ส่วนผลต่อการลงทุน : เคลื่อนย้ายสินค้าและบริการครึ่งหลังปี2563 ได้แก่ การค้าและการลงทุนมีความยืดหยุ่น,เงื่อนไขทางการค้าเช่น greener supply chains,วิจัยและพัฒนาทางการแพทย์และวัคซีน,มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น

    สมมติฐานที่ 2 : การฟื้นตัวแบบมีเงื่อนไข จะมีลักษณะ : จีนและเอเชียคุมได้ต้นพ.ค. มีติดเชื้อข้ามประเทศ ทำให้สถานการณ์จะสิ้นสุด ส.ค. 2563มีวัคซีนกลางปี2564 ส่วนผลต่อการลงทุนคือ มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น,การว่างงาน-ยากจน,ต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น

    สมมติฐานที่ 3 : ความล่มสลายของโลกาภิวัฒน์ และdeglobalization ประกอบด้วยลักษณะหลายประเทศไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ สถานการณ์ยังไม่จบและอาจมีการระบาดระลอก 2 จะมีวัคซีนและค่ารักษามีราคาสูง ส่วนผลต่อการลทุน คือผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ล่มสลาย

    การเข้าสู่เข้าสู่deglobalization,กำแพงภาษีและค่าใช้จ่ายทางการค้าสูงขึ้น,ห่วงโซ่อุปทานโลกฝืด,ผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ล่มสลาย

    จากคาดการณ์เศรษฐกิจโลกหลังโควิด แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจจากนี้จะรอดหรือจะร่วง แต่มากกว่าโรคระบาดคือ ความร่วมมือกัน ไม่สร้างความชัดเย้งทางการค้า เศรษฐกิจและสังคมเพิ่มก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญทีทำให้เศรษฐกิจจากนี้ฟื้นตัว หายจากอาการป่วยได้

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กำไรของ 'บริษัทจดทะเบียน' ยังน่ากังวล
    31 พฤษภาคม 2563 | โดย ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ | คอลัมน์ ทาลิส โฟกัส

    จากตัวเลข GDP ของไทยในช่วงไตรมาสหนึ่งที่ต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 อย่างหนักหน่วง ทำให้ตัวเลขติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี กลุ่มธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในหลายคลัสเตอร์ต้องประสบปัญหาการขาดทุน ซึ่งในภาวะแบบนี้นักลงทุนควรจะทำอย่างไร?

    GDP ในไตรมาส 1 ของไทยประกาศออกมาที่ -1.8% เป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 6 ปี แม้ว่าจะดีกว่าตัวเลขที่คาดไว้ -4% จากการบริโภคภาคเอกชนที่ยังเติบโต 3% yoy จากแรงกักตุนซื้อสินค้าก่อนการ Lock down และการส่งออกเติบโต 2% yoy ซึ่งหลักๆ มาจากการส่งออกทองคำและอาวุธ

    ในขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ติดลบค่อนข้างมาก การบริการซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากโรค COVID-19 -29.8% yoy การลงทุนของเอกชน -5.5% yoy จากการหดตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง การลงทุนของภาครัฐ -9.3% yoy จากความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณ ส่วนภาคการผลิตการเกษตร -5.7% yoy จากภาวะภัยแล้ง

    ตัวเลขกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยในไตรมาสที่ 1 ออกมาเติบโต -52.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปีที่แล้ว และบ -42.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยกลุ่มที่พลิกจากกำไรเป็นขาดทุน คือกลุ่มพลังงาน ที่ถูกบันทึกขาดทุนจากมูลค่าสินค้าคงคลัง จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงแรงในเดือนมีนาคม กลุ่มที่กำไรสูงสุดหดตัวรองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจในภาคบริการ กำไรหดตัว -46.0% yoy และ -45.5% qoq

    โดยกลุ่มท่องเที่ยวและสันทนาการ และกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ (ไม่รวม THAI และ NOK ที่เลื่อนการประกาศงบการเงิน) พลิกเป็นขาดทุน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 1 ที่เหลือเพียง 6.7 ล้านคน คิดเป็น -38% yoy โดยนักท่องเที่ยวจีนลดลงประมาณ 60% yoy จากการปิดเมืองหลายเมืองในประเทศจีน และมาตรการ Lock down ของไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้การเดินทางทั้งทางบกและทางอากาศหยุดชะงัก

    กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน กำไรหดตัว -43.7% yoy และ -36.1% qoq จากผลกระทบต่อเนื่องของมาตรการควบคุม LTV ของ ธปท.ในปีที่แล้ว ผนวกกับกำลังซื้อในประเทศอ่อนตัว และผู้ประกอบการมีการออกโครงการใหม่ๆ น้อยลง

    กลุ่มธนาคารพาณิชย์กำไรหดตัว -10% yoy จากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น เนื่องจากความอ่อนแอของคุณภาพสินทรัพย์ รวมถึงการบันทึกขาดทุนทางบัญชีจำนวนมาก จากราคาสินทรัพย์ทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนที่ธนาคารเข้าไปลงทุนปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ในช่วงตลาดการเงินโลกผันผวนในเดือนมีนาคม

    ส่วนกลุ่มโรงพยาบาลก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน กำไรเติบโตลดลง -54.7% yoy หลักๆ มาจากกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ลูกค้าต่างชาติหายไป ในขณะที่โรงพยาบาลขนาดกลาง-เล็ก มีเคสผู้ป่วยลดลงเช่นกัน เนื่องจากประชาชนหลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

    แม้แต่กลุ่มโรงไฟฟ้าที่ค่อนข้าง Defensive ก็ประกาศกำไรหดตัวเช่นกัน หลักๆ มาจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทที่อ่อนค่า เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่มีหนี้ต่างประเทศ

    ส่วนกลุ่มที่กำไรยังเติบโต ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เติบโต 8.7% yoy จากอานิสงส์ของเงินบาทอ่อนค่า และคำสั่งซื้อที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักในช่วงต้นปี กลุ่มอาหารกำไรยังเติบโตได้ดีจากราคาหมูและไก่ในต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และได้รับอานิสงส์จากเงินบาทอ่อนค่าเช่นกัน

    จะเห็นว่าในไตรมาส 1 นั้นแม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เพียง 1 เดือนโดยประมาณ แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนหดตัวค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นในไตรมาสที่ 2 กำไรจึงมีแนวโน้มหดตัวสูงกว่าในไตรมาสแรก โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่จะได้รับผลกระทบทางลบโดยตรงจากเศรษฐกิจหดตัว ทำให้อาจต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น

    อีกทั้งส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะลดลงมาก จากการลดดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.อีกครั้งในวันที่ 20 พฤษภาคม ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยปัจจุบันอยู่ที่ 0.50% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สายการบิน สนามบิน กำไรจะหดตัวลงจากไตรมาส 1 เช่นกัน เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังไม่มีแนวโน้มที่จะกลับมาเดินทางในระยะเวลาอันใกล้ อีกทั้งการท่องเที่ยวในประเทศยังไม่อาจทดแทนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ทั้งหมด

    ทว่า SET Index ปรับตัวขึ้นในลักษณะ V-Shape สวนทางกับกำไร โดยกำไรสุทธิต่อหุ้นของตลาดในปี 2020 ล่าสุดถูกปรับลดลงมาอยู่ที่ 65.1 ทำให้ระดับดัชนีที่บริเวณ 1,320 จุด คิดเป็นค่าพีอีสูงถึง 20.3 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 14-15 เท่า ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว การเติบโตของ GDP ในปีนี้อาจติดลบกว่า -5% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 ยังมีแนวโน้มหดตัว ทำให้อาจมีแรงขายทำกำไรค่อนข้างมาก หากดัชนีปรับตัวขึ้นสูง

    ดังนั้น สำหรับการเข้าลงทุนในระยะนี้ นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงหุ้นในกลุ่มที่ผลประกอบการขาดทุน หรือกำไรหดตัวแรง และเน้นเลือกลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบน้อย และมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วหากสถานการณ์เริ่มกลับสู่ภาวะปรกติ และใช้ความระมัดระวังในการลงทุนครับ

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20200531_201450.jpg

    (May 31) เมืองใหญ่ทั่วสหรัฐฯ ประกาศเคอร์ฟิว! หลังการประท้วงลุกลามรุนแรง : เมืองใหญ่หลายแห่งในสหรัฐฯ รวมทั้ง มินนีแอโปลิส ซีแอตเติล ลอสแอนเจลีส ฟิลาเดลเฟีย และแอตแลนต้า ประกาศมาตรการเคอร์ฟิวในวันเสาร์ตามเวลาในสหรัฐฯ หลังจากเกิดการประท้วงทั่วประเทศ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่ตำรวจผิวขาว 4 นายใช้กำลังจับกุมชายอเมริกันเชื้อสายอาฟริกัน จอร์จ ฟลอยด์ จนเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตามรายงานของเอ็นบีซี

    นครมินนีแอโปลิส

    มาตรการเคอร์ฟิวเริ่มมีผลบังคับใช้อีกครั้งในคืนวันเสาร์เวลา 20.00 น. เป็นคืนที่สองติดต่อกันหลังจากที่การประท้วงยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่นายกเทศมนตรี เจค็อบ เฟรย์ กล่าวว่า ผู้ว่าการรัฐมินนีโซต้าได้เรียกกองกำลังเนชั่นแนลการ์ดให้ช่วยเข้าควบคุมสถานการณ์ความวุ่นวายแล้ว โดยผู้ฝ่าฝืนเคอร์ฟิวอาจถูกปรับ 1,000 ดอลลาร์ และจำคุก 90 วัน

    นครชิคาโก

    นายกเทศมนตรี ลอรี ไลท์ฟุต ระบุว่ามาตรการเคอร์ฟิวมีผลบังคับใช้ในคืนวันเสาร์ระหว่าง 21.00 น. ถึง 6.00 น. ของเช้าวันอาทิตย์ หลังจากที่มีประชาชนหลายพันคนเดินขบวนใจกลางนครชิคาโกในวันเสาร์ โดยก่อนหน้านี้มีผู้ประท้วงถูกจับกุมเมื่อคืนวันศุกร์มากกว่า 100 คนนครลอสแอนเจลีสนายกเทศมนตรี เอริค การ์เซ็ตติ ประกาศมาตรการเคอร์ฟิวระหว่างเวลา 20.00 น. - 5.30 น. ของวันอาทิตย์ โดยบอกว่าเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ทั้งผู้ประท้วง ตำรวจ และประชาชนทั่วไปการประท้วงในแอลเอลุกลามไปเป็นความรุนแรงในวันเสาร์ มีการยึดรถโดยสารและเผาทำลายรถตำรวจหลายคัน

    นครแอตแลนต้า

    นายกเทศมนตรี เคย์ชา แลนช์ ระบุว่ามาตรการเคอร์ฟิวเป็นผลจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วเมือง โดยจะมีผลบังคับใช้ในคืนวันเสาร์ระหว่าง 21.00 น. ถึงช่วงเช้าวันอาทิตย์

    เมื่อวันศุกร์ เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ในแอตแลนต้า มีการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ โดยผู้ประท้วงส่วนหนึ่งได้เผารถตำรวจและทำลายทรัพย์สินที่สำนักงานใหญ่ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

    นครเดนเวอร์

    นายกเทศมนตรี ไมเคิล แฮนค็อก ประกาศเคอร์ฟิวระหว่าง 20.00 น. - 5.00 น. โดยจะใช้ต่อเนื่องไปถึงคืนวันอาทิตย์ด้วย โดยขณะนี้มีผู้ประท้วงในเดนเวอร์ถูกจับกุมไปแล้ว 34 ราย

    นครฟิลาเดลเฟียและนครพิตต์เบิร์ก

    นายกเทศมนตรีของทั้งสองเมืองใหญ่ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิว หลังจากมีการเดินขบวนประท้วงของประชาชนหลายพันคน และมีการเผาทำลายและปล้นร้านค้าบางแห่ง

    นครซีแอตเติล

    นายกเทศมนตรี เจนนี เดอร์คาน เริ่มใช้มาตรการเคอร์ฟิวตั้งแต่ 17.00 น. วันเสาร์ หลังจากเกิดไฟไหม้หลายจุดในย่านใจกลางเมือง

    เมืองคลีฟแลนด์และเมืองโคลัมบัส

    สองเมืองใหญ่ในรัฐโอไฮโอประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวตั้งแต่ 20.00 น. - 8.00 น. วันอาทิตย์ ต่อเนื่องไปถึงคืนวันอาทิตย์ โดยได้มีคำสั่งให้กองกำลังเนชันแนลการ์ดเข้าควบคุมสถานการณ์ด้วย

    เมืองพอร์ตแลนด์

    นายกเทศมนตรี เท็ด วีลเลอร์ ประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวเป็นคืนที่สองติดต่อกัน ระหว่างเวลา 20.00 น. - 6.00 น. หลังจากเพิ่งประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อเช้าวันเสาร์

    นครไมอามี

    เกิดการเดินขบวนประท้วงใหญ่ทั่วนครไมอามีในวันเสาร์ และมีการปะทะกันในบางจุด ทำให้นายกเทศมนตรี คาร์ลอส จิเมเนซ ต้องตัดสินใจประกาศเคอร์ฟิวเช่นกัน

    Source: VOA Thai

    https://www.voathai.com/a/us-cities-curfew-during-protests/5442806.html

    เพิ่มเติม

    -'I can't breathe' protests heat up as curfews imposed in several U.S. cities
    https://www.reuters.com/article/us-...s-imposed-in-several-u-s-cities-idUSKBN2360FV

    - รัฐใช้กำลังเสริม-ประกาศเคอร์ฟิว! หลังประท้วงลุกลาม เหตุชายผิวสีตายระหว่างถูกจับกุม: https://www.voathai.com/a/minneapolic-george-floyd-protest-police-violence/5442155.html

    - ตำรวจสหรัฐกวาดจับม็อบ 1,400 คนใน 17 เมือง : https://www.dailynews.co.th/foreign/777425

    - "ทรัมป์"ชี้ม็อบทั่วสหรัฐ ไม่เกี่ยวกับเรื่องสีผิวอีกต่อไป : https://www.dailynews.co.th/foreign/777402

    - มิคสัญญีทั่วสหรัฐฯ!! “จอร์จ ฟลอยด์” ต้องไม่ตายฟรี ใกล้โรงแรมเก่าแก่ติดทำเนียบขาวถูกจุดไฟเผา 25 เมืองใหญ่ทั่วสหรัฐฯสั่งเคอร์ฟิว: https://mgronline.com/around/detail/9630000056473
     

แชร์หน้านี้

Loading...