ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยายฆ่าหลาน อ้างสายด่วนแนะนำ

    ก่อนหน้านี้ Kan Kwai-fong อายุ 55 ปี ได้ถูกจับกุมหลังฆาตกรรมหลานชายวัย 6 ขวบ ด้วยการรัดคอด้วยสายกระเป๋าสะพายหลังในโรงแรมที่ Wan Chai เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2018

    โดยสัปดาห์ที่แล้ว เธอได้ขึ้นศาลและอ้างว่าเธอได้โทรเข้าสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตาย Samaritan Befrienders 2 วันก่อนก่อเหตุเนื่องจากเธอกังวลกับการเรียนและพฤติกรรมของหลานชาย

    เธอได้บอกกับเจ้าหน้าที่สายด่วนว่า “ฉันอยากกระโดดตึกตายพร้อมกับหลานชาย” แต่เจ้าหน้าที่บอกเธอว่า ให้เธอฆ่าตัวตายได้เลยหรือไม่เช่นนั้นก็ดูแลหลายชายต่อไปจนกว่าจะมีคนอื่นเอาเขาไป

    นอกจากนี้เธอยังเล่าอีกว่าสามีของเธอที่ติดการพนันก็ได้ทิ้งเธอไปกับชู้พร้อมขโมยเงินเธอไป และลูกชายของเธอก็ตายด้วยโรคมะเร็งเมื่อมีอายุ 2 ขวบ

    รวมทั้งเธอยังต้องดูแลหลานสาวอีก 2 คน ด้วยเงินตัวเอง พร้อมๆ กับจ่ายหนี้แทนสามีที่ทิ้งเธอไปด้วย ในส่วนหลานชายเธอเริ่มเลี้ยงดูตอนอายุ 1 ขวบหลังลูกสาวของเธอเลิกกับสามี

    ***ติดตามอัพเดทสรุปประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าในฮ่องกงได้ที่กระทู้ปักหมุด***


    Source : https://www.thestandard.com.hk/sect...nny-tells-of-fateful-call-that-led-to-tragedy

    #ข่าวฮ่องกง #khaohongkong

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jun 8 , 2020 “เทพไท เสนพงศ์”เร่งภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือชาวสวนปาล์ม หลังเจอราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ กระทบต่อรายได้ความเป็นอยู่ในครอบครัว
    .
    นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการร้องเรียนจากเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันว่า นอกจากการได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังประสบปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำอีกด้วย ขณะนี้ราคาขายในท้องตลาดหรือลานเท ราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 3.10บาท ต่ำกว่าราคาประกันรายได้ของรัฐบาลที่กิโลกรัมละ 4 บาท ซึ่งชาวสวนมีความต้องการอยากได้ราคาขายเท่ากับราคาประกันรายได้ หรือสูงกว่า ก็จะทำให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มขายปาล์มได้คุ้มทุน ซึ่งมีต้นทุนอยู่ที่กิโลกรัมละ 3.80 บาท หากราคาปาล์มน้ำมันยางตกต่ำอยู่เช่นนี้ จะกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่อย่างแน่นอน
    .
    ที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มยังชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะเงินเยียวยาเกษตรกรของรัฐบาล 3 เดือน 15,000 บาท เมื่อหมดโครงการนี้แล้ว รายได้ในครัวเรือนจะลดลงทันที จึงอยากจะให้รัฐบาลหามาตรการกระตุ้นราคาปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นกว่าราคาประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาลกิโลกรัมละ 4 บาท เพื่อรัฐบาลจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินส่วนต่าง และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน
    .
    #ชาวสวนปาล์ม #เทพไท #Misterban

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jun 8 , 2020 สศช.เผยหน่วยงานรัฐขอใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาท
    .
    นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลการนำเสนอโครงการเพื่อขอใช้เงินกู้ตาม พรก. ในส่วนของแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 4 แสนล้านบาท ว่า ในวันที่ 5 มิ.ย.2563 มีส่วนราชการและจังหวัดต่างๆ เสนอโครงการมาให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณารวมเบื้องต้นประมาณ 28,425 โครงการ คิดเป็นวงเงินรวมประมาณ 6 แสนล้านบาท
    .
    โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นหน่วยงานที่เสนอขอมามากที่สุดประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะไปกลั่นกรองโครงการอีกครั้ง เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท
    .
    ส่วนกรอบระยะเวลาการทำงานหลังจากนี้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะทำการคัดกรองโครงการจนถึงวันที่ 15 มิ.ย. พร้อมกับเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบโครงการได้ทั้งหมดว่าเห็นด้วยหรือไม่ผ่านเว็บไซต์ สศช.
    .
    หลังจากนั้นจะตรวจสอบโครงการอีกครั้ง หากเห็นว่าเหมาะสมจะเสนอให้ครม.อนุมัติโครงการได้ในต้นเดือนก.ค.นี้ เพื่อให้เงินลงไปในระบบเศรษฐกิจเป็นล็อตแรก หลังจากนั้นในช่วงการทำโครงการก็เปิดให้ประชาชนตรวจสอบโครงการเป็นสาธารณะผ่านระบบ THAIme ของสศช.ด้วย
    .
    ส่วนกรณีมีการอภิปรายถึงการกู้เงิน 4 แสนล้านบาทครั้งนี้ โดยมีการระบุว่าได้รับทราบข้อมูลว่ามีการจัดสรร และแบ่งปันงบประมาณที่จะลงสู่จังหวัดให้กับ ส.ส.คนละ 80 ล้านบาท ขอชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะสศช.มีกลไกตรวจสอบหลายชั้น และยังเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมาคอยตรวจสอบโครงการด้วย และเรื่องนี้กว่าจะอนุมัติโครงการก็ใช้เวลาตรวจสอบ
    .
    #สศช #รัฐบาล #ของบประมาณ #Misterban

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันนี้ ทางรอยเตอร์ ได้มีการรายงานว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี แห่งสหรัฐฯ เคยบอกกับบรรดาที่ปรึกษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าต้องการทหาร 10,000 นายประจำการในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อยับยั้งเหตุจลาจลกรณีตำรวจสังหารชายผิวสี “จอร์จ ฟลอยด์” แต่ปรากฏว่าทั้งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และผู้นำกองทัพไม่เอาด้วย
    .
    ซึ่งข้อเรียกร้องของ ทรัมป์ อยู่ระหว่างการหารือ ที่ห้องทำงานรูปไข่เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว (1 มิ.ย.) โดยเป็นการแสดงให้เห็นว่า ผู้นำสหรัฐฯ มีแน้วโน้มที่จะส่งทหารติดอาวุธปราบม็อบในเมืองต่าง ๆ ในเวลาอีกไม่นาน แม้จะมีเสียงคัดค้านจากผู้นำเพนตากอนก็ตาม
    .
    จากนั้นก็ได้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้ไม่ประสงค์ออกนาม เผยว่า มาร์ก เอสเปอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม , พล.อ. มาร์ก มิลลีย์ ประธานเสนาธิการทหารร่วม และวิลเลียม บาร์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม พยายามเตือน ทรัมป์ ให้ล้มเลิกแนวคิดในการส่งทหารปราบประชาชน และทั้ง 2 ฝ่าย ก็ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก
    .
    หลังจากนั้นมา ทรัมป์ ก็ดูเหมือนจะมีท่าทีลดความต้องการลง และพอใจกับการใช้กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ (National Guard) ควบคุมสถานการณ์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เพนตากอนแนะนำ และเป็นวิธีดั้งเดิมที่สหรัฐฯ เคยใช้จัดการวิกฤตจลาจลในประเทศมาแล้ว
    .
    ซึ่งผู้นำเพนตากอน ก็ได้ติดต่อไปยังผู้ว่าการรัฐต่าง ๆ เพื่อขอให้ส่งกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิเข้ามายังวอชิงตัน และมีการเรียกระดมเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายฝ่ายอื่น ๆ ด้วย แต่มาตรการหลักที่ทำให้ ทรัมป์ พอใจที่สุดน่าจะเป็นคำสั่งของ เอสเปอร์ ที่ให้ทหารจากกองบิน 82 และหน่วยอื่น ๆ ในวอชิงตัน ดี.ซี. อยู่ในภาวะเตรียมพร้อม
    .
    “การมีทหารที่อยู่ในภาวะเตรียมพร้อม แต่ยังไม่ถึงขั้นเข้าประจำการในเมือง คือสิ่งที่เพียงพอสำหรับประธานาธิบดีในตอนนั้น” เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าว
    .
    รัฐมนตรียุติธรรม วิลเลียม บาร์ ได้ออกยืนยันในรายการ Face the Nation ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสเมื่อวานนี้ (7มิ.ย.) ว่าไม่มีทหารประจำการปกติ (active duty troops) ถูกส่งเข้ามาตามท้องถนนในวอชิงตัน แต่มีสารวัตรทหารอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง “เราสั่งให้พวกเขาสแตนด์บาย เผื่อว่ามีความจำเป็นจริง ๆ” บาร์ กล่าว
    .
    โดยความพยายามของ ทรัมป์ ที่จะดึงทหารเข้ามาช่วยยุติการชุมนุมประท้วง ซึ่งมีต้นตอจากปัญหาการเหยียดผิว เรียกเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมาก จากอดีตนายทหารระดับสูงหลายคน รวมถึง เจมส์ แมตทิส อดีตรัฐมนตรีกลาโหม และนายพลสี่ดาววัยเกษียณ ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง
    .
    ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีกลาโหม เอสเปอร์ ก็ได้ออกมาระบุในงานแถลงข่าวเมื่อวันพุธที่แล้ว (3 มิ.ย.) ว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการใช้กฎหมายปราบจลาจล Insurrection Act ซึ่งจะอนุญาตให้มีการระดมทหารประจำการเข้าปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวขัดแย้งกับท่าทีของ ทรัมป์ และผู้ช่วยระดับสูง
    .
    ซึ่งว่ากันว่าผู้นำสหรัฐฯ ถึงขั้นตะคอกใส่ เอสเปอร์ หลังการแถลงข่าวสิ้นสุดลง จากเหตุการณ์นี้ ยังทำให้หลายฝ่ายคาดเดาว่า ทรัมป์ จะสั่งปลด เอสเปอร์ หรือไม่ ซึ่งโฆษกหญิงของทำเนียบขาว เคย์ลีห์ แมคเอนานีย์ ยืนยันว่า ทรัมป์ “ยังมีความเชื่อมั่นในตัวรัฐมนตรี เอสเปอร์”
    .
    โดย เอสเปอร์ ได้ออกบันทึกข้อความไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมเมื่อวันอังคารที่แล้ว (2 มิ.ย.) โดยย้ำเตือนว่า “พวกเรามีหน้าที่ต้องปกป้องสิทธิ์ของชาวอเมริกันในการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และชุมนุมโดยสันติ” ขณะที่ พล.อ. มิลลีย์ ก็ได้แถลงเตือนทหารทุกนายให้จดจำคำสัตย์สาบานที่ให้ไว้ต่อหน้ารัฐธรรมนูญอเมริกันว่าจะปกป้องสิทธิ์ในการชุมนุมอย่างสันติเช่นกัน
    .
    -------------------------------
    แหล่งข่าว

    https://www.reuters.com/article/us-...-in-washington-dc-official-says-idUSKBN23E0DY

    https://mgronline.com/around/detail/9630000059072
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook :
    https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjH

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    8 มิ.ย. 63 - ผู้สื่อข่าวจังหวัดชลบุรีรายงานว่า เมื่อเวลา 21.00 น.ของวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ปัญญา ดำเล็ก ผกก.สภ.สัตหีบ ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่า มีนักท่องเที่ยวมาเช่าบ้านพักตากอากาศแห่งหนึ่ง ริมชายหาดบางเสร่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในจำนวนนี้มีลักษณะผมสั้นคล้ายพระสงฆ์ จึงนำกำลังเข้าตรวจสอบ
    .
    ที่เกิดเหตุเป็นบ้านพักตากอากาศหรู มีสระว่ายน้ำในตัว พบวัยรุ่นชาย-หญิง รวม 21 คน กระจายตัวอยู่ในบ้าน มีกำลังเล่นน้ำ นั่งดูทีวีอยู่ในบ้าน แต่พบบุคคลผมสั้นคล้ายพระสงฆ์ตามที่ได้รับแจ้ง จำนวน 6 คน กำลังตั้งวงสังสรรค์บนโต๊ะมีขวดสุรา และกับแกล้ม อยู่ข้างสระว่ายน้ำ เบื้องต้น ทุกคนให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ แต่เคยเป็นอดีตพระลูกวัดชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.เชียงราย และได้พากันลาสิกขามาได้ประมาณ 1 เดือนแล้ว
    .
    ต่อมา พระครูปิยะกิจวิบูล หรืออาจารย์แก้ว เจ้าคณะตำบลนาจอมเทียน ได้ทำการสอบข้อเท็จจริงอยู่นานกว่า 1 ชั่วโมง นายธนัญชัย นันทะวิชัย อายุ 36 ปี ก็ยอมเปิดปากพูดความจริงรับสารภาพว่า เป็นพระจริง ส่วนอีก 5 รูป เป็นสามเณรชาวไทใหญ่ อายุระหว่าง 16-19 ปี ได้ชักชวนมาเที่ยวด้วยกัน โดยก่อนเดินทางมาท่องเที่ยวที่สัตหีบ ถึงที่พักตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย. ได้ทำการสละผ้าเหลืองกันเอง เปลี่ยนเป็นชุดคนธรรมดา เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นำตัวทั้งหมดไปทำประวัติ แจ้งประสานไปยังเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย และทำการสึกให้ขาดความเป็นสงฆ์ทันที
    .
    ด้าน พ.ต.อ.ปัญญา เปิดเผยว่า หลังได้รับการประสานว่า มีบุคคลลักษณะทรงผมคล้ายพระสงฆ์ มาจัดปาร์ตี้ในบ้านพักตากอากาศ จึงได้ส่งกำลังเข้าตรวจสอบทันที แต่ได้เค้นความจริงอยู่นานนับชั่วโมง จึงยอมเผยตัวตนที่แท้จริง ส่วนทรงผมที่ยังยาวอยู่นั้น เพราะทุกคนไม่ยอมโกน เตรียมใจมาแล้วเพื่อวันนี้ แม้ไม่ผิดต่อระเบียบกฎหมาย แต่ก็ต้องให้ศึกขาดความเป็นสงฆ์ เพื่อไม่ให้พวกเขาเหล่านี้ กลับไปอยู่ในคราบผ้าเหลือง และทำความผิดซ้ำจนเสื่อมเสียต่อพุทธศาสนา.
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    - https://www.thaipost.net/main/detail/68100
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20200608_150009.jpg
    (Jun 8) ฟู้ด เดลิเวอรี่ ที่เฉิงตู ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพราะถูกกว่าเติมน้ำมัน : หลายประเทศกำลังเดินหน้านำพลังงานทดแทนมาใช้มากขึ้น อย่างที่เฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มอเตอร์ไซค์ฟู้ด เดลิเวอรี่ แทบทั้งหมด เปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งไม่เพียงเป็นนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้ใช้เพื่อต้องการลดมลพิษทางอากาศ แต่เป็นการส่งเสริมครบวงจรจนทำให้ราคารถ และการชาร์จแบตเตอรี่แทนการเติมน้ำมัน ราคาถูกกว่า

    สาเหตุที่มอเตอร์ไซค์ฟู้ด เดลิเวอรี่ ในเมืองเฉิงตู เปลี่ยนไปใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า หากดูจากความสะดวกสบาย เปรียบเทียบกับการเติมน้ำมันน่าจะพอๆ กัน ใช้เวลาไม่มาก เนื่องจากเป็นการยกแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมดไฟไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีไฟเต็มที่สถานีชาร์จ ใช้เวลาเพียง 3 วินาทีในการเปลี่ยน ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการชาร์จมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ที่เพิ่งเปิดใช้ได้ประมาณ 1 ปี ปัจจุบันมีสถานีชาร์จนับหมื่นจุด

    ด้วยการลงทุนเริ่มต้น ประมาณ 68 หยวนสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ 30 ครั้ง เมื่อนับเป็นระยะทางในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ประมาณ 50 กิโลเมตร ต่อครั้ง หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 18 สตางค์ต่อกิโลเมตร ซึ่งถูกกว่าการใช้น้ำมัน สำหรับมอเตอร์ไซค์ฟู้ด เดลิเวอรี่ ยังมีโปรโมชัน 299 หยวนต่อเดือน หรือประมาณ 1,200-1,300 บาทต่อเดือน ใช้แบตเตอรี่ได้ไม่จำกัด

    ปัจจุบันนวัตกรรมการเปลี่ยนแบตเตอรี่อย่างที่เฉิงตู เริ่มนำไปใช้ในหลายๆ เมืองในจีน รวมถึงในเมืองโฮจิมินต์ ประเทศเวียดนาม ดูลิงก์ สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ที่เฉิงตู

    เป็นที่ทราบกันดีว่า เหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมมนุษย์ที่มีการใช้พลังงานฟอสซิล อย่างด้านคมนาคมขนส่งที่มีการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันฟอสซิลในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากการสันดาปของเครื่องยนต์ทำให้เกิดควันไอเสีย เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ตัวการทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ

    Source: ผู้จัดการออนไลน์
    https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000058200
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 8) บทความเรื่อง "Reshaping Thailand’s Labor Market Structure: The Unified Forces of Technology and Trade" : เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อมิติต่าง ๆ ในชีวิต รวมถึงรูปแบบการทำงาน ภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไร้การจ้างงานจากการใช้เทคโนโลยี และรูปแบบการค้าระหว่างประเทศที่กำลังเปลี่ยนไป มีนัยถึงความเสี่ยงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานไทย
    FB_IMG_1591603411764.jpg
    บทความนี้ได้ทำการคาดการณ์ผลกระทบของเทคโนโลยีกับความต้องการแรงงานในประเทศ โดยมองทั้งผลกระทบทางตรงของเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computerisation) ต่อแรงงาน และผลกระทบทางอ้อมของเทคโนโลยีต่อแรงงานผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าโลกไม่ว่าจะเป็นการย้ายกลับไปที่ประเทศพัฒนาแล้ว (Reshoring) หรือการย้ายไปฐานการผลิตอื่นที่ค่าแรงยังราคาถูกกว่า (Relocation)

    ทั้งนี้ ยังคาดการณ์ถึงภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไร้การจ้างงาน (Jobless Growth) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย

    คณะผู้วิจัยคาดว่า
    - อาชีพที่จะโดนผลกระทบมากคือกลุ่มพนักงานบริการ พนักงานขาย ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือด้านการเกษตรและประมง และ ผู้ปฏิบัติการด้านเครื่องจักรในโรงงาน
    - โดยในภาพกลุ่มแรงงานชายจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มแรงงานหญิง และ
    - กลุ่มแรงงานที่มีการศึกษาน้อยได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มแรงงานที่มีการศึกษามาก

    อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น ในเรื่องของการคาดการณ์ของคนข้ามอุตสาหกรรมหรืออาชีพโดยสมัครใจ รวมถึงอาจมีอุตสาหกรรมหรืออาชีพที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นหากแรงงานมีการปรับตัวได้เองบ้าง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงอาจจะน้อยกว่าที่คำนวณไว้ในงานวิจัยนี้

    โดย ผศ. ดร.เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และ ผศ. ดร.วรประภา นาควัชระ
    สามารถอ่านบทความวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.pier.or.th/wp-cont…/uploads/…/01/pier_dp_123.pdf หรือ https://www.pier.or.th/wp-content/u...Oy6F-_YV1kgNsYpFxCIA0qsb6dT98v68es42Ku07u7wME

    Source: PIER FB
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สังคมไทย (กำลัง) ไร้เงินสด?
    เขียนวันที่
    วันเสาร์ ที่ 06 มิถุนายน 2563 เวลา 11:27 น.
    เขียนโดย ธนพล กองพาลี หมวดหมู่เวทีทัศน์ TAGSธนพล กองพาลี | less cash | cashless | สังคมไร้เงินสด

    les"e-Payments ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินสดของประชาชน อย่างไรก็ดี เราอาจสรุปได้แค่เพียงว่า สังคมไทยยังไม่ใช่ cashless แต่เป็น less cash หากจะก้าวสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว อาจต้องมีนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของผู้ให้บริการ ตลอดจนประชาชนอยากใช้และมั่นใจในความปลอดภัย"

    bot-pic-cashless.jpg

    "สังคมไร้เงินสด (cashless society)” ได้รับ การกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากระบบการชำระเงินที่พัฒนาขึ้นช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่าย และลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้คนเริ่มพกเงินสดกันน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก

    สำหรับประเทศไทย ข้อมูลชี้ว่าแม้คนไทยจะนิยมใช้ e-Payments ในการชำระเงินมากขึ้นแต่การใช้เงินสดก็ยังถือเป็นสื่อกลางหลักของการชำระเงิน สะท้อนจากสัดส่วน เงินสดที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (currency in circulation: CIC) ต่อ GDP ที่ไม่ได้ปรับลดลง แต่ทรงตัวที่ประมาณร้อยละ 9.0 ขณะที่สัดส่วนมูลค่าการใช้ e-Payments ต่อ GDP กลับเพิ่มขึ้นในระยะหลัง (ภาพที่ 1)

    169_01-pic.jpg (ภาพที่ 1 เงินสดที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และมูลค่าการใช้ e-Payments ต่อ GDP ของไทย)

    อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่ของการเพิ่มขึ้นหรือการเร่งตัวระหว่างการใช้เงินสดและ e-Payments อาจกล่าวได้ว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น สะท้อนจากอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่เติบโตชะลอลงกว่าครึ่งเทียบกับช่วงปี 2004-2013 ในทางกลับกันปริมาณการใช้ e-Payments ของคนไทยกลับเร่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในลักษณะ exponential growth ซึ่งเห็นได้ชัดจาก ความนิยมในการใช้ e-Payments ผ่าน internet-mobile banking (ภาพที่ 2 และ 3)

    169_02-pic.jpg (ภาพที่ 2 ปริมาณเงินความหมายแคบและกว้างของไทย)

    169_03-pic.jpg (ภาพที่ 3 ปริมาณการใช้ e-Payments ของไทย)

    "สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) หรือไม่" จำเป็นต้องเข้าใจบางประเด็นอย่างถ่องแท้ ได้แก่ (1) ประเภทและลักษณะสำคัญของ e-Payments (2) นิยามของปริมาณเงินในความหมายต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องชี้สะท้อนประเภทการใช้จ่ายและระดับของการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด รวมทั้ง (3) ความสัมพันธ์ของ e-Payments และปริมาณเงิน



    1.e-Payments และปริมาณเงินหมายถึงอะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

    1.1 e-Payments คืออะไร มีกี่ประเภท

    การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payments) เป็นช่องทางการชำระเงินที่ประมวลผลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยงานศึกษานี้ขอมุ่งประเด็นไปที่การชำระเงินรายย่อย (retail e-Payments) ซึ่งธุรกรรมส่วนใหญ่ประมวลผลผ่านบัญชีเงินฝากอิเล็กทรอนิกส์ โดย e-Payments ในงานศึกษานี้แบ่งได้ 3 กลุ่มหลักตามประเภทของสื่อการชำระเงิน (instruments) ได้แก่ บัตรเครดิตและบัตรเดบิต (card payment) การโอนและชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ (internet - mobile banking) และเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) [1]

    [1] หมายถึงเงินสดที่อยู่ในรูปของสื่อการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น multi-purpose stored value card e-Purse e-Wallet และ smart card

    1.2 ปริมาณเงินหมายถึงอะไร มีนิยามใดบ้าง

    ธปท. พยายามวัดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจทั้งที่เป็นเงินในกระเป๋าสตางค์ประชาชน เงินที่ฝากไว้กับธนาคาร หรือเงินที่เก็บไว้ในรูปแบบอื่น ๆ จึงได้นิยามปริมาณเงินตามมาตรฐาน MFSM2000 [2] ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ปริมาณเงินตามความหมายแคบ (narrow money) และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (broad money) โดยปริมาณเงินตามความหมายแคบจะรวมสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เงินที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินสดที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (currency in ci rculation: CIC) กว่าร้อยละ 90 ส่วนปริมาณเงินตามความหมายกว้าง จะนับรวมปริมาณเงินตามความหมายแคบรวมเงินฝากหรือตราสารหนี้อื่น ๆ ที่มีสภาพคล่องกึ่งเงินสด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝาก (ภาพที่ 2)

    [2] อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Monetary and Financial Statistics Manual 2000 โดย IMF

    1.3 e-Payments และปริมาณเงินสัมพันธ์กันอย่างไร

    ธุรกรรมส่วนใหญ่ที่ชำระเงินผ่านระบบ e-Payments ประมวลผลผ่านบัญชีเงินฝากอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องถอนเงินสดออกมาชำระค่าสินค้าและบริการ จึงพอสรุปได้ว่าการใช้ e-Payments ส่วนใหญ่เป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกในการชำระเงินและเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน จากที่เคยใช้เหรียญกษาปณ์และธนบัตรเป็นการชำระเงินผ่านการหักธุรกรรมผ่านบัญชีเงินฝากอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น หากจะเชื่อมโยง e-Payments กับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ จะพบว่า e-Payments ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการชำระเงินจากการใช้เหรียญกษาปณ์และธนบัตรเป็นการใช้เงินในบัญชีเงินฝาก ซึ่งจะทำให้ปริมาณเงินในความหมายแคบลดลงเพราะมีสัดส่วนเงินสดมากถึงร้อยละ 90

    2. การชำระเงินผ่าน e-Payments มีส่วนทำให้การใช้เงินสดลดลงมากน้อยเพียงใด

    งานศึกษานี้สนใจว่าการชำระเงินผ่าน e-Payments เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบพฤติกรรมการใช้เงินสดของคนไทยหรือไม่ โดยจะพิจารณาตัวแปรอื่นเพิ่มเติมตามทฤษฎีความต้องการถือเงินของนักเศรษฐศาสตร์สำนัก Keynesian อาทิ (1) ตัวแปรที่สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่สะท้อนจากดัชนีพ้องทางเศรษฐกิจ (coincident economic indicator: CEI) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) (2) ตัวแปรสะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาสของการถือเงินสด (opportunity cost) เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่น

    ทั้งนี้ เพื่อตอบคำถามว่าการชำระเงินผ่าน e-Payments มีส่วนทำให้การใช้เงินสดลดลงมากน้อยเพียงใด ผู้เขียนจึงนำแบบจำลองทางเศรษฐมิติและแนวคิดความต้องการถือเงินดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์ในบริบทของไทย และเลือกใช้ CIC เป็นตัวแปรตามเนื่องจากต้องการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการใช้เงินสด โดยเพิ่มตัวแปรที่สะท้อนการใช้ e-Payments เป็นตัวแปรอิสระ อาทิ มูลค่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payments) ในภาพรวมและแยกย่อยผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การชำระเงินด้วยบัตร (card payment) การโอนและการชำระเงินผ่าน internet - mobile banking ตลอดจนการใช้ e-Money

    การศึกษาใช้วิธี error correction model (ECM) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้เงินสดทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยได้ผลการศึกษาแสดงในตารางที่ 1

    169_t_01-pic.jpg (ตารางที่ 1 สมการ Error Correction Model (ECM))

    Dependent variable คือ currency in circulation

    หมายเหตุ : 1/Long-run equation ใช้รูปแบบเดียวกันในทุกแบบจำลอง

    ***,**,* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 0.01 0.05 และ 0.10 ตามลำดับ ,ประมาณค่าความสัมพันธ์ด้วย Error Correction Model (ECM) approach โดยใช้ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่ ม.ค. 2010 - พ.ย. 2019 ,ตัวแปรที่ใช้อยู่ในรูป log ใน long-run equation และอยู่ในรูป log with first-difference ใน short-run equation เพื่อขจัดปัญหา non-stationary data และได้ทดสอบ unit root และ cointegration แล้ว

    ที่มา : คำนวณโดยผู้เขียน


    แบบจำลอง full-sample estimation (ม.ค. 2010 ถึง พ.ย. 2019) ในสมการความสัมพันธ์ระยะสั้น (Short-run equation) ชี้ว่าความต้องการถือเงินสดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ตัวแปรต้นทุนค่าเสียโอกาสของการถือเงินสดมีส่วนอธิบายเพียงเล็กน้อย สำหรับตัวแปร e-Payments โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการถือเงินสดอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนว่าการใช้ e-Payments มีส่วนทำให้คนลดการใช้เงินสดลง แต่ยังมีบทบาทน้อยกว่าตัวแปรทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับหลายงานศึกษาในไทย อาทิ ประภัสสรและบัณฑิต (2006) และ Hataiseree and Bancheun (2010)


    3.ความนิยมของการใช้ e-Payments ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด (exponential growth) มีอิทธิพลต่อการใช้เงินสดของคนไทยมากขึ้นหรือไม่

    อัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้ e-Payments เพิ่มขึ้นมากจากอดีต โดยในเดือนพฤศจิกายน 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 จากระยะเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโต ณ สิ้นปี 2014 ที่ร้อยละ 17 และมีลักษณะ exponential growth ในช่วงหลัง จึงตั้งข้อสังเกตสำหรับการประมาณผลจากแบบจำลองว่า full-sample estimation อาจไม่สามารถวัดผลกระทบของการใช้ e-Payments ต่อการใช้เงินสดได้ดีนักสำหรับช่วงที่เริ่มมีการใช้ e-Payments แบบ exponential ผู้เขียนจึงทดสอบสมมติฐานดังกล่าวโดยใช้วิธีทางเศรษฐมิติซึ่งใช้ตัวแปรดังตารางที่ 1 เช่นเดิม แต่ปรับช่วงเวลาที่ใช้ในการประมาณค่า จากวิธี full-sample estimation เป็น rolling-window estimation ครั้งละ 3 ปีเพื่อทดสอบว่าผลของการใช้ e-Payments ต่อพฤติกรรมการใช้เงินสดเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาหรือไม่

    จากการประมาณผลแบบ rolling-window ได้ข้อสรุปว่า ตัวแปร e-Payments มีผลทดแทนการใช้เงินสดมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต สะท้อนจากค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าการใช้ e-Payments ต่อการใช้เงินสดของไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 (ตารางที่ 2) สอดคล้องกับช่วงเวลาที่การเติบโตของการใช้ e-Payments เริ่มมีลักษณะ exponential growth โดยพบว่าค่าความยืดหยุ่นติดลบมากขึ้นอยู่ที่ -0.03 ในปี 2019 จาก -0.01 ในปี 2016 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า อย่างไรก็ดี บทบาทของ e-Payments ยังน้อยกว่าตัวแปรกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากค่าความยืดหยุ่นที่น้อยกว่า

    ทั้งนี้ เมื่อประมาณค่าด้วยวิธีดังกล่าวแต่จำแนกรายประเภทของสื่อการชำระเงินของ e-Payments ได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า การใช้ internet-mobile banking มีความสำคัญมากขึ้นทำให้คนใช้เงินสดลดลงในระยะหลัง ขณะที่การชำระเงินผ่าน e-Payments ช่องทางอื่นไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เงินสดของคนไทยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

    169_t_02-pic.jpg (ตารางที่ 2 ค่าความยืดหยุ่น (elasticity) ของการใช้ e-Payments ต่อการใช้เงินสดของไทยในแต่ละช่วงเวลา)

    หมายเหตุ : ประมาณค่าความสัมพันธ์ด้วย Error Correction Model (ECM) approach ดังตารางที่ 1 โดยใช้ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่ ม.ค. 2010 - พ.ย. 2019 และ rolling-window estimation ทีละ 3 ปี ตัวแปรที่ใช้อยู่ในรูป log ใน long-run equation และอยู่ในรูป log with first-difference ใน short-run equation เพื่อขจัดปัญหา non-stationary data และได้ทดสอบ unit root แล้ว

    ที่มา : คำนวณโดยผู้เขียน


    ทั้งนี้ มีข้อสันนิษฐานหลายประการที่อธิบายสาเหตุที่ผลของ internet-mobile banking มีมากขึ้น (ค่าความยืดหยุ่นเป็นลบมากขึ้น) ได้แก่

    (1) นโยบายลดค่าธรรมเนียมของบริการการโอนและชำระค่าสินค้าและบริการ ในเดือนมีนาคม 2018 ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งประกาศไม่คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินและชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ โดยช่องทางที่นิยมใช้กันคือ internet-mobile banking ทำให้จำนวนธุรกรรมการโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคารผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจาก 56 ล้านรายการในเดือนมีนาคม 2018 เป็น 167 ล้านรายการในเดือนมีนาคม 2019 (เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว)

    (2) นโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้ประชาชนลงทะเบียนพร้อมเพย์และรับเงินโอนจากภาครัฐผ่านบัญชีธนาคารโดยตรง กรมสรรพากรให้ประชาชนรับคืนภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์ โดยในปี 2017 มีผู้ขอคืนภาษีผ่านบริการพร้อมเพย์กว่าร้อยละ 62 ของผู้รับคืนเงินภาษีทั้งหมดและเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 100 ในปี 2019 [3] นอกจากนี้ ภาครัฐยังให้ประชาชนรับสวัสดิการต่าง ๆ ผ่านช่องทางนี้

    [3] อณิยา ฉิมน้อย และอรรถเวช อาภาศรีกุล (2561), เข้าใจ“พร้อมเพย์”บริการโอนเงินและชำระเงินทางเลือกใหม่

    (3) ความนิยมในการใช้ quick response code (QR code) เพิ่มขึ้น ซึ่งการโอนและชำระสินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้จัดอยู่ในรูปแบบ internet-mobile banking โดย QR code เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในปลายปี 2017 และความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งจากการเพิ่มจุดติดตั้ง Thai QR code ที่ในปัจจุบันมีมากถึง 5 ล้านจุด

    (4) ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ๆ สถาบันการเงินออกผลิตภัณฑ์ที่ทำธุรกรรมผ่านช่องทางนี้มากขึ้น

    ในขณะเดียวกันความสำคัญของการชำระเงินผ่านบัตรพลาสติกต่อการใช้เงินสดทยอยลดลง สะท้อนจากค่าความยืดหยุ่นที่เป็นลบน้อยลง โดยคาดว่ามาจากหลายสาเหตุ ได้แก่

    (1) พฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยหันมารับชำระเงินด้วย QR code แทนบัตรเดบิต/บัตรเครดิต เนื่องจากไม่มีค่าติดตั้ง merchant discount rate (MDR) ตามที่ ธปท. มีนโยบายส่งเสริมการรับชำระเงินด้วย QR code โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถรับเงินได้จากทุกธนาคารและเงินเข้าบัญชีร้านค้าทันที

    (2) ผู้ใช้บริการลดการถือบัตรพลาสติกและเปลี่ยนมาใช้ฟังก์ชันบน mobile banking มากขึ้น เช่น การลงทะเบียนบัตรเครดิตบนมือถือแล้วสแกนเพื่อชำระเงิน และกดเงินสดผ่านแอปพลิเคชั่นโดยไม่ต้องใช้บัตรเดบิต

    (3) โครงการภาครัฐที่ส่งเสริมการใช้บัตรเดบิตหมดลง โดยในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2017 ถึง 31 พฤษภาคม 2018 ภาครัฐดำเนินโครงการแจกโชคลุ้นล้านผ่านบัตรเดบิต เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านช่องทางนี้

    สำหรับ e-Money ไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เงินสดของคนไทยอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าความยืดหยุ่นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมูลค่าการชำระเงินผ่านช่องทางนี้ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ๆ โดย ณ เดือน พฤศจิกายน 2019 อยู่ที่ประมาณ 23,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.07 ของ e-Payments โดยรวม

    จากผลการศึกษาเบื้องต้น นำมาสู่คำถามสำคัญว่า สังคมไทยในปัจจุบันเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) แล้วหรือไม่ จากงานศึกษาของ Thomas (2013) แบ่งการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. inception 2. tipping point 3. transition และ 4. advanced โดยใช้เกณฑ์การวัดที่หลากหลาย อาทิ สัดส่วนการใช้เงินสดในการทำธุรกรรมเทียบกับธุรกรรมที่ไม่ใช่เงินสด และการเติบโตของ cashless payments โดยระยะที่ 4 (advanced) เป็นระยะที่ถือว่าเป็นสังคมไร้เงินสดเต็มตัว ซึ่งประชากรในประเทศเหล่านี้มีบัตรเดบิตแทบทุกคน รวมทั้งร้านค้าเกือบทุกร้านรับชำระค่าสินค้าด้วยบัตร อาทิ สวีเดน และแคนาดา ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนเงินสดต่อ GDP ต่ำมากอยู่ที่ราวร้อยละ 1 เท่านั้น

    สำหรับกรณีของไทยยังอยู่ในระยะที่ 1 (inception) เช่นเดียวกับหลายประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เช่น อินเดีย ไต้หวัน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศกลุ่มนี้ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ยังทำธุรกรรมด้วยเงินสด สอดคล้องกับสัดส่วนเงินสดที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจต่อ GDP ที่ค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีการใช้จ่ายไร้เงินสดที่ยังไม่มาก อย่างไรก็ดี สัดส่วนเงินสดต่อ GDP ของไทยล่าสุดในปี 2019 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ซึ่งคอนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศในกลุ่ม inception และค่อนข้างใกล้เคียงกับจีนซึ่งอยู่ในระยะถัดไป (ภาพที่ 4)

    169_04-pic.jpg (ภาพที่ 4 ระยะของการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดและสัดส่วน CIC ต่อ GDP ในปี 2018 ของแต่ละประเทศ)

    จึงเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่าไทยมีการพัฒนาทางด้านการชำระเงินและประชาชนเปิดรับ cashless payments อย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้ในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีส่วนทำให้การใช้เงินสดลดลงได้เช่นกันเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามต่อไปว่าปัจจัยนี้จะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนชั่วคราวหรือถาวร ขณะเดียวกันหน่วยงานด้านสาธารณสุขหลายแห่ง อาทิ องค์กรอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) แนะนำให้ประชาชนเปลี่ยนไปใช้ cashless payments และใช้เงินสดเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการเท่าที่จำเป็นเพื่อลดการแพร่ระบาด

    นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีส่วนสำคัญที่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน โดยทำให้ประชาชนหันมาซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์และชำระเงินผ่านระบบ e-Payments มากขึ้น จึงเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนหนึ่งที่ทำให้การใช้เงินสดลดลงได้เช่นกัน

    บทสรุป

    หลายปีที่ผ่านมา e-Payments ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่าย และลดต้นทุนการทำธุรกรรมการโอนเงินของคนไทย โดยมีส่วนช่วยให้การใช้เงินสด (เหรียญ/ธนบัตร) ลดลง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่การใช้ e-Payments เติบโตในอัตราที่ก้าวกระโดด ยิ่งทำให้ประชาชนใช้เงินสดลดลงมากขึ้น อย่างไรก็ดี เราอาจจะสรุปได้เพียงว่า "ในปัจจุบันสังคมไทยอาจไม่ใช่ cashless แต่เป็น less cash" ในระยะข้างหน้า ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวสู่สังคมไร้เงินสดได้โดยเฉพาะหากมีนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ e-Payments ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ของผู้ให้บริการซึ่งตอบโจทย์ความต้องการทำให้ประชาชนอยากใช้และมั่นใจในความปลอดภัย



    โดย ธนพล กองพาลี 5 มิถุนายน 2563

    https://www.isranews.org/article/isranews-article/89378-lesscash.html
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 7)ชักเย่อเศรษฐกิจโลก ร่วมใจเอาชัยโควิด-19 : สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ที่กำลังก่อตัวเป็นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกนั้น นับเป็นกรณีพิเศษที่แตกต่างจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแต่ละรอบในอดีต เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008-2009 ซึ่งมีตัวจุดชนวนสำคัญคือ ความร้อนแรงในภาคการเงินผ่านการ
    ถือครองสินทรัพย์เสี่ยงทั้งในตลาดหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ความเปราะบางของภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น ผู้ได้รับผลกระทบหลักจึงเริ่มต้นจากนักธุรกิจการเงินที่อยู่ในภาคธุรกิจใหญ่และได้รับผลกระทบโดยตรง ก่อนที่จะลามมาสู่ภาคเศรษฐกิจจริงในวงกว้าง
    PSX_20200608_151837.jpg
    สำหรับวิกฤตการณ์โควิดในรอบนี้เกิดจากการสะดุดตัวในภาคเศรษฐกิจจริงที่ต้องหยุดชะงักลง ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบหลักกลายเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ขณะที่ภาคการเงินเองยังมีเกราะกำบังจากความเข้มแข็งมาแต่เดิม จึงยังคงรับมือกับระยะเริ่มต้นของวิกฤตได้ ในวันนี้จึงขอเชิญทุกท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความไม่สอดคล้องระหว่างภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจจริง

    ขอเริ่มด้วยการหยิบยกถ้อยคำให้สัมภาษณ์ที่เผยแพร่ในวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมาของJerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจต้องใช้เวลาจนถึงสิ้นปีหน้าจึงจะฟื้นตัวได้เต็มที่ โดยปัจจัยชี้ขาดสำคัญคือ ความเชื่อมั่นของภาคประชาชนในระหว่างที่รอการมาถึงของวัคซีน ซึ่ง Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มบริษัท Allianz วิพากษ์ว่า Powell พูดเรื่องเก่าที่ตลาดรับทราบอยู่แล้ว แท้จริงแล้วภาวะการเงินโลกกำลังแกว่งไกวไปมาตามแรงส่งของความคาดหวังที่นักลงทุนมีต่อนโยบายเศรษฐกิจที่ชักเย่ออยู่กับแรงต้านของปัจจัยพื้นฐานในการแพร่ระบาด ดังนั้น ตลาดการเงินจึงคาดหวังข่าวดีจากผู้ดำเนินนโยบายมากกว่าการอธิบายสถานการณ์

    เมื่อพิจารณาตามความเห็นของ Mohamed แล้ว จะพบว่าปัจจัยหลักที่ยังสนับสนุนภาวะการเงินโลกคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งหากเรามองภาพความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเงินและเศรษฐกิจจริงผ่าน

    การเทียบเคียงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ S&P 500 ของสหรัฐ เทียบเคียงกับตัวเลข GDP แล้ว จะพบว่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจส่วนใหญ่ในรอบเกือบ 30 ปีนี้ เกิดปัญหาในภาวะการเงินควบคู่ไปกับการถดถอยของภาคเศรษฐกิจจริง

    ต่างจากสถานการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจครั้งล่าสุดตั้งแต่ปีที่แล้ว ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัวลงแต่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์กลับพุ่งทะยานสวนทางกับเศรษฐกิจจริง จนกระทั่งวิกฤตโควิดฉุดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ย่อตัวลง แต่ความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจยังสร้างแรงหนุนให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เด้งกลับสวนทางกับตัวเลข GDP ในไตรมาสแรกของปี

    สำหรับในกรณีของประเทศไทยแล้ว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยดิ่งลงแรงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2019 แต่น่าสังเกตว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนล่าสุดเกิดสภาพการณ์เด้งกลับ คล้ายคลึงกับดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ ไม่สอดคล้องกับตัวเลข GDP ไตรมาสแรกที่ประกาศในวันที่ 18 พ.ค. และการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์สำนักต่าง ๆ ว่า เศรษฐกิจไทยทั้งปีจะหดตัวระหว่างร้อยละ 5-10

    ซึ่งเมื่อมองย้อนไปแล้วจะพบว่า สถานการณ์ความไม่สอดคล้องระหว่างภาวะการเงินกับภาคเศรษฐกิจจริงของไทย เคยเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ที่เรียกว่า stock market sell off ระหว่างปี 2015-2016 ซึ่งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทิ้งตัวแรงตามดัชนตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ภายใต้หลายปัจจัยทั้งการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน การร่วงลงของราคาน้ำมัน ปัญหาวิกฤตหนี้ประเทศกรีซ ผลกระทบหลังการยุติมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐ จนมาถึง Brexit

    ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ GDP สหรัฐชะลอตัวควบคู่กับการย่อตัวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และส่งผลมากระทบตลาดหลักทรัพย์ไทย สะท้อนความเชื่อมโยงระหว่างตลาดหลักทรัพย์ของไทย และตลาดหลักทรัพย์ของโลก ดังนั้น การชักเย่อระหว่างภาคการเงินและเศรษฐกิจจริงคงกำลังเกิดขึ้นในไทยเช่นเดียวกับโลก แน่นอนว่าการชักเย่อระหว่างภาคการเงินและเศรษฐกิจจริงเป็นเพียงการถ่วงเวลาเพื่อรอให้กรรมการสำคัญคือ การค้นพบวัคซีนมาเป่านกหวีดยุติศึก

    ดังนั้น ในระหว่างที่ศึกชักเย่อยังดำเนินต่อไปนั้น จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าภาวะเศรษฐกิจต่อไปจะเป็นอย่างไร กรณีที่ดีที่สุดคือ รูปตัว V เมื่อเศรษฐกิจฟื้นฟูกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว กรณีรูปตัว U เมื่อห้วงเวลาที่เศรษฐกิจซบเซายังอยู่นานก่อนฟื้นตัว หรือกรณีเลวร้ายในรูปตัว L คือเศรษฐกิจฟุบยาวและไม่อาจพลิกตัวได้

    ซึ่งภายใต้สถานการณ์ในการชักเย่อแล้ว มีความเป็นไปได้มากว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นรูปตัว W คือเศรษฐกิจมีความผันผวน มีการถดถอยและปรับดีขึ้นหลังการเปิดเมือง แต่ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีน การกลับมาแพร่ระบาดของโควิดในบางประเทศจะยังเป็นปัจจัยถ่วงเศรษฐกิจโลก และเมื่อใดที่ความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจถูกบั่นทอน เศรษฐกิจ ก็อาจปรับลดลงไปอีก หรือ double-dip ก่อนกลับเข้าสู่ภาวะปกติใหม่ หรือnew normal หลังวัคซีนถูกค้นพบ

    โดยสรุปแล้วความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจเป็นเครื่องค้ำจุนสำคัญให้นักลงทุนยังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่มีประสิทธิผล ทำได้เร็ว ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึงจึงมีความสำคัญยิ่ง

    อย่างไรก็ดี ผู้เล่นสำคัญที่จะเป็นกำลังหลักในศึกชักเย่อนี้คือ ประชาชน และภาคธุรกิจ ซึ่งต้องร่วมหาหนทางรับมือทั้งการปรับตัวประคองธุรกิจในระยะสั้น และการปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะปกติใหม่หลังศึกโควิดยุติลง เพื่อให้การฟื้นตัวทั้งในภาคการเงินและเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเข้มแข็งและยกระดับศักยภาพการเติบโตของประเทศได้อย่างยั่งยืน

    คอลัมน์ ร่วมด้วยช่วยคิด
    ดร.ดอน นาครทรรพ, ดร.นครินทร์ อมเรศ, พรชนก เทพขาม
    สายนโยบายการเงิน ธปท.
    Don Nakornthab

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

    https://www.prachachat.net/columns/news-473996
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 7) เช็กเครื่องจักรท่องเที่ยวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จะฟื้นแบบไหนหลังจบศึกโควิด-19 : ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดที่แถลงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ทุบสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในหลายมิติ มิติหนึ่งคือภาคการท่องเที่ยวที่หดตัว 100% ในเดือนเมษายน หรือพูดง่ายๆ ก็คือจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยเท่ากับศูนย์คนถ้วน จากที่ปกติจะเข้ามาเฉลี่ยเดือนละ 3 ล้านกว่าคน และคาดว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยอีกสักระยะจากมาตรการปิดประเทศห้ามการเดินทางเข้าประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม

    ในภาวะปกติ รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้สำคัญของเศรษฐกิจไทย จากสถิตินักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมา ในแต่ละวันโดยเฉลี่ยจะมีนักทั้งท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งหากวัดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วจะเปรียบเสมือนกับการมีคนไทยเพิ่มขึ้นถึง 13 ล้านคน เพราะนักท่องเที่ยวใช้จ่ายในแต่ละวันมากกว่าการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของคนไทยถึง 13 เท่า

    คำถามคือจะเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทยเมื่อภาคการท่องเที่ยวที่เคยเป็นหัวจักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อยู่ๆ ก็เครื่องดับสนิทเพราะผลพวงของการแพร่ระบาดของโควิด-19

    อย่าว่าแต่วิกฤตครั้งนี้แตกต่างจากในทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา เพราะวิกฤตโควิด 19 ส่งผลให้พฤติกรรมมนุษย์และมุมมองต่อการเดินทางท่องเที่ยวเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง การเดินทางท่องเที่ยวกลายเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการติดโรค กฎกติกาการจัดระเบียบใหม่ของการเดินทางและการรักษาระยะห่างทางสังคม ย่อมทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเปลี่ยนไป และส่งผลกระทบต่อรายรับและเพิ่มต้นทุนให้กับอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวที่กำลังเผชิญปัญหาความอยู่รอดของธุรกิจอยู่ในตอนนี้ อีกทั้งการตัดสินใจเปิดพรมแดนให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้อย่างเสรีก็คงจะเกิดขึ้นเป็นลำดับท้ายๆ หลังจากที่เปิดเศรษฐกิจในประเทศไปแล้ว ทำให้ยากจะคาดหวังว่าการท่องเที่ยวไทยจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ในเร็ววัน

    แต่ท่ามกลางวิกฤตที่ทุกอย่างหยุดนิ่งนี่เอง จริงๆ แล้วอาจเป็นโอกาสทองที่เราคนไทยควรได้จะกลับมาคิดทบทวนว่าที่ผ่านมาเราพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวมากเกินไปหรือไม่ และยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเราเดินมาถูกทางแล้วจริงหรือ

    ปริมาณอย่างเดียวอาจไม่พอเพียง
    ไม่ผิดอะไรที่ประเทศเราจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวมากมายมหาศาล จากการที่ประเทศเรามีของดี มีธรรมชาติที่สวยงาม มีวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าน่าค้นหา คนไทยมีมิตรไมตรีจิต ทำให้คนต่างชาติยกให้ไทยเป็นอันดับต้นๆ ของจุดหมายปลายทางของการเดินทางท่องเที่ยว

    แต่เราเน้นการเติบโตเชิงปริมาณมากเกินไปหรือไม่ ในทุกๆ ปีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการตลาดจะมีการตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยว โดยในแผนนำเสนอทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวล่าสุดก่อนที่จะเจอโควิด-19 ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องเพิ่มขึ้นจาก 39.8 ล้านคนในปีที่แล้วเป็น 40.8 ล้านคนในปีนี้ และรายได้จากการท่องเที่ยวจะต้องเพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน ถึงแม้จะมีกล่าวถึงแนวทางชูการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ แต่มิได้มีเป้าหมายที่ชี้วัดในเชิงคุณภาพ นอกเหนือไปจากเป้าหมายจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวอยู่ดี

    ประเทศไทยมีสัดส่วนรายได้การท่องเที่ยวต่อ GDP สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติคิดเป็นประมาณกว่า 18% ของ GDP สูงเป็นอันดับ 4 ของโลกในปี 2560 ในแง่หนึ่ง ตัวเลขนี้อาจเป็นความภาคภูมิใจของฝ่ายนโยบายที่ต้องการจะครองตำแหน่งนี้ให้ได้ในทุกปี แต่หากมองในมุมกลับแล้ว นี่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจนัก เพราะนั่นหมายถึงการที่ประเทศไทยไม่มีตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ เหลืออยู่เลย ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวต่อรายได้ประชาชาติโดยรวมเป็นสัดส่วนสูงลิ่ว ในขณะที่เศรษฐกิจไทยโตได้อย่างสูงเพียงปีละ 3-4% ซึ่งต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

    การที่ตั้งเป้าหมายว่าภาคการท่องเที่ยวจะโตได้ปีละ 10% ในขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมโตต่ำกว่ามาก หมายถึงภาคส่วนอื่นของประเทศต้องตกอยู่ในภาวะถดถอย อีกทั้งยังหมายถึงทรัพยากรของประเทศจะต้องถูกเทไปยังภาคการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จำนวนโรงแรมที่พักในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ยปีละ 10% (ยังไม่นับรวมที่พักที่ไม่ได้จดทะเบียนประกอบกิจการโรงแรมที่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก เช่น โฮมสเตย์ หรือ Airbnb) จำนวนแรงงานที่ไหลเข้าสู่ภาคที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นปีละ 4% โดยเฉลี่ยทุกปี

    นอกจากนี้ การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวไทยที่เป็นฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจยังกระจุกตัวในหลายมิติ นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือ การกระจุกตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวในหัวเมืองหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี และเชียงใหม่ รวมๆ แล้วคิดเป็นเกือบ 70% ของรายได้ท่องเที่ยวทั้งประเทศ การเติบโตที่อ่อนความสมดุลเช่นนี้สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ที่นับวันจะถ่างออกจากกันเรื่อยๆ

    ต้นทุนที่คนทำไม่ได้แบกรับ
    ไม่ใช่เพียงแต่ทรัพยากรที่ดิน เงินทุน และแรงงานที่ระดมไปกองอยู่ในภาคการท่องเที่ยวเท่านั้น ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังทรุดโทรมอย่างรวดเร็วจากการท่องเที่ยวที่แทบไม่มีขอบเขตและเน้นปริมาณ ต้องไม่ลืมว่า นอกจากตัวเงินแล้ว นักท่องเที่ยวแต่ละคนล้วนต้องใช้ทรัพยากรของประเทศ และอาจสร้างขยะ สร้างมลพิษ สร้างความแออัดต่อชุมชนหรือความชำรุดทรุดโทรมต่อแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งนั้น รวมเป็นผลกระทบภายนอกเชิงลบ (Externalities) ที่ล้วนอยู่นอกกระดานคำนวณต้นทุนของทั้งผู้ประกอบการและผู้วางนโยบายจัดสรรทรัพยากรของประเทศ

    นี่เองอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้แม้ความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวโดยรวมของไทยติดอันดับต้นๆ ของโลก คือลำดับที่ 31 จาก 140 ประเทศ แต่ดัชนีชี้วัดการท่องเที่ยวด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมของไทยกลับอยู่ในลำดับที่ 130 เรียกได้ว่าแทบจะรั้งท้ายเลยทีเดียว

    ปัญหานักท่องเที่ยวล้นเกินขีดความสามารถในการรองรับ หรือ ‘Overtourism’ ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และต้องแบกรับต้นทุนในการกำจัดขยะมลพิษเท่านั้น แต่โดยปริยายยังเป็นการผลักให้นักท่องเที่ยวคุณภาพดี ที่ต้องการความสงบในการพักผ่อน หรือต้องการมาดูดซับธรรมชาติและวิถีชีวิตของวัฒนธรรมพื้นเมือง ไม่รู้สึกดึงดูดที่จะมาไทยอีกด้วย จนท้ายที่สุดเราอาจจะโตได้แต่เชิงปริมาณอย่างเดียวจริงๆ

    หลายประเทศที่เจอกับปัญหา Mass Tourism ได้เริ่มหาทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมไปแล้ว ตัวอย่างเช่น เมืองเวนิสที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาถึงปีละ 25 ล้านคน ในขณะที่ประชากรท้องถิ่นมีเพียง 260,000 คน เมื่อปีที่แล้วนี้เองเริ่มมีการใช้มาตรการภาษีเป็นกลไกในการคัดกรองนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยเก็บภาษีเข้าเมืองเพิ่มขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวไปเช้าเย็นกลับ และนำเงินภาษีที่ได้ไปใช้ในการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม ถึงแม้อัตราภาษีจะไม่ได้สูงอะไรมาก (อัตราสูงสุดที่ 10 ยูโร) แต่ผลลัพธ์คือทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่มีความอ่อนไหวต่อราคามาก เลือกที่จะไม่แวะเวนิส ในประเทศอื่นๆ เช่น เมืองบาร์เซโลนา บาหลี อัมสเตอร์ดัม ก็มีมาตรการที่คล้ายคลึงกันในการรับมือกับปัญหาลักษณะนี้

    ฟื้นมาแกร่งกว่าเดิม

    จริงอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวสร้างงานจำนวนมาก สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ แต่ถ้าเราจะเติบโตต่อไปแบบที่ผ่านๆ มาโดยมุ่งแต่จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างเดียว เราคงไม่สามารถคาดหวังให้การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืนหรือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในประเทศในระยะยาวได้

    โดยเฉพาะในระยะข้างหน้าที่การแข่งขันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา พม่า ยิ่งทำให้ไทยเราต้องวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและมีวิสัยทัศน์ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันโดยคำนึงถึงความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อม และการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทย ไม่เน้นเพียงแข่งขันด้านราคา การใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วยในการออกแบบรูปแบบการท่องเที่ยว การวางแผน การวิเคราะห์และติดตามผล ก็จะยิ่งสร้างจุดแข็งให้กับการท่องเที่ยวไทยได้อีกมาก

    การหยุดชะงักของภาคการท่องเที่ยวในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มองในแง่ดีคือทำให้ภาคท่องเที่ยวไทยได้มีการเว้นวรรค ให้ธรรมชาติได้ฟื้นฟู เราเองในฐานะเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวก็มีเวลาหยุดคิดทบทวน ไตร่ตรองว่าในวันที่การท่องเที่ยวกลับมา เราอยากจะฟื้นท่าไหน

    หากจะเน้นตัวเลขปริมาณเหมือนเดิมก็คงน่าเสียดายโอกาสทองของประเทศในภาวะเช่นนี้ จะดีกว่าหรือเปล่าที่เราจะมองความยั่งยืนมากกว่าเป้าหมายปีต่อปี โดยเฉพาะภาครัฐเองที่อาจต้องเริ่มลดความกระจุกตัวของทรัพยากรในภาคใดภาคหนึ่งมากเกินไป สร้างความแข็งแกร่งจากภายในให้กับเศรษฐกิจ สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอื่นๆ โดยยังมีมาตรการสร้างงานและโอกาสทางธุรกิจรองรับผู้คนและธุรกิจที่เคยอยู่ในภาคการท่องเที่ยวให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

    ความไม่แน่นอนยังมีอีกมากในเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าโลกหลังโควิด-19 จะเป็น ‘New Normal’ หรือกลับไปสู่ ‘Old Normal’ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เราไม่ควรปล่อยให้บทเรียนจากวิกฤตเช่นนี้ผ่านไปอย่างเสียเปล่า ควรใช้ห้วงเวลานี้ในการคิดใหม่ ทำใหม่ ไม่ฟื้นแบบเปราะบางและไร้ทิศทาง
    เพราะนั่นย่อมหมายถึงการรอวันสะดุดล้มลงอีกรอบอย่างน่าเสียดาย

    โดย: ณชา อนันต์โชติกุล
    ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์
    กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
    Bo Nasha

    Source: The Standard
    https://thestandard.co/tourism-and-the-thai-economy-after-covid-19/

    PSX_20200608_151852.jpg
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หากจีนพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ประสบความสำเร็จและพร้อมใช้งานเมื่อใด เมื่อนั้นวัคซีนจะเป็นสินค้าสาธารณะของโลก
    .
    1/ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน แถลงล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสโควิด-19
    .
    2/ จีนมองว่า ควรเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาและทดลองการใช้วัคซีนโควิด-19 ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
    .
    3/ วัคซีนที่พัฒนา จะต้องให้ความสำคัญต่อการรับรองความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และประชาชนต้องเข้าถึงได้
    .
    4/ ด้วยเหตุนี้ หากจีนวิจัย พัฒนาและทดลองจนประสบความสำเร็จและพร้อมใช้งานเมื่อใด เมื่อนั้น ‘วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสโควิด-19 จะเป็นสินค้าสาธารณะของโลก’
    .
    5/ ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนของจีน สำนักงานข้อมูลข่าวสารแห่งคณะรัฐมนตรีจีนเผยแพร่ล่าสุดลงในสมุดปกขาว ‘การต่อสู้โรคโควิด-19 : ปฏิบัติการของจีน, Fighting Covid-19 : China in Action’
    .
    6/ ในสมุดปกขาวระบุว่า จีนอนุมัติการทดลองทางคลินิกของวัคซีนชนิดเนื้อตาย 4 รายการและวัคซีนชนิดใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา อีก 1 รายการ
    .
    7/ สมุดปกขาวของรัฐบาลจีนรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนในการต่อสู้กับวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 มีทั้งข้อมูล การต่อสู้กับโรค มาตรการป้องกัน การตรวจสอบ ความร่วมมือทั้งในและระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันยับยั้งโรค
    .
    8/ สมุดปกขาวมีข้อมูลสถิติจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า จำนวนผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ในจีนแผ่นดินใหญ่รวม 83,017 คน เสียชีวิต 4,634 คน ได้รับการรักษาหาย 78,307 คน คิดเป็นอัตราการหายป่วย 94.3%
    .
    9/ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรักษาโรคโควิด-19 ดำเนินไปได้ด้วยดีคือ การก่อสร้างโรงพยาบาลสนาม โดยเฉพาะในเมืองอู่ฮั่นที่เป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาด มีโรงพยาบาลสนาม 16 แห่ง มีความสามารถในการรักษาผู้ป่วย 14,000 เตียง
    .
    10/ รัฐบาลจีนระบุถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลเต็มใจรับผิดชอบ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นการตรวจและรักษาโรคโควิด-19 ให้กับผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงทุกคน
    .
    11/ สถิติจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม รัฐบาลจีนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายไปแล้ว 58,000 คน คิดเป็นงบประมาณราว 1,350 ล้านหยวน ประมาณ 6 พันล้านบาท (เฉลี่ยต่อคน ประมาณ 102,270 บาท)
    .
    12/ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า รัฐบาลรับผิดชอบดูแลทั้งหมดเช่นกัน ด้วยค่าใช้จ่ายต่อคนอยู่ที่ 150,000 ถึง 1 ล้านหยวน (ราวๆ 666,973 ถึง 4.45 ล้านบาท)
    .
    13/ สถิติจำนวนผู้ป่วยในจีนแผ่นดินใหญ่ พบที่มณฑลหูเป่ย (เมืองเอกคือ อู่ฮั่น) มากที่สุด อายุ 80 ปีขึ้นไป มีมากกว่า 3,000 คน และอายุเกิน 100 ปี จำนวน 7 คน
    .
    14/ ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศนั้น รัฐบาลจีนมอบความช่วยเหลือให้มากกว่า 150 ประเทศ มีการส่งบุคลากร เครื่องมือทางการแพทย์และเวชภัณฑ์จำเป็นไปให้ 27 ประเทศ และประสานความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศอีกอย่างน้อย 4 แห่ง
    .
    15. สำหรับประเด็น การปกปิดข้อมูลและต้นตอของไวรัส คณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติของจีนยืนยันว่า รัฐบาลจีนไม่มีการปิดบังข้อมูล ไม่มีแผนการชะลอการเปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม
    .
    16/ ส่วนแหล่งที่มาของเชื้อไวรัส ต้นกำเนิดของโรคโควิด-19 นั้น ทุกฝ่ายต้องร่วมกันตรวจสอบ เช่นเดียวกับการยกระดับความร่วมมือในการพัฒนายารักษาและวัคซีนป้องกันโรค
    .
    ขอบคุณภาพจาก...http://www.xinhuanet.com/english/2020-02/15/c_138786986.htm
    .

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เซินเจิ้นประเดิมใช้งาน ‘ถังขยะใต้ดิน’ ในวันสิ่งแวดล้อมโลก
    .
    1/ วันนี้ ศุกร์ที่ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก สิ่งที่ชาวโลกช่วยโลกได้คือ ทิ้งขยะอย่างรับผิดชอบด้วยการแยะขยะ ทิ้งขยะให้ถูกถังถูกประเภท เท่านี้ก็น่ารักแล้วครับ
    .
    2/ และเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ชุมชนอี๋จิ่ง ในเขตหลัวหู ของนครเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน เปิดใช้งาน ‘ถังขยะใต้ดิน’ แห่งแรกของชุมชน
    .
    3/ ดูจากรูปแล้วก็เหมือนถังขยะทั่วๆไป แต่ไม่ใช่ครับ มันมีความพิเศษกว่านั้น เพราะที่ทิ้งจะอยู่บนดิน แค่ใช้เท้าเหยียบที่เหยียบ ฝาถังก็จะเปิดขึ้น
    .
    4/ แต่ที่เก็บขยะจริงๆอยู่ลึกลงไปใต้ดินครับ ถังขยะใต้ดินแต่ละถังรองรับปริมาณขยะได้ถึง 660 ลิตร เพียงพอปริมาณขยะต่อวันของคนในชุมชนอี๋จิ่ง 1,500 คนได้อย่างสบายๆ
    .
    5/ ถังขยะใต้ดินมีข้อดีที่ ไม่มีแมลงรบกวน ลดเชื้อโรค กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทำให้สภาพแวดล้อมของชุมชนน่าอยู่
    .
    6/ การจัดการขยะ เจ้าหน้าที่ก็ทำได้ง่ายๆครับ เพียงแค่กดปุ่มให้ระบบไฮโดรลิกทำงาน ก็จะเลื่อนถังขยะที่อยู่ใต้ดินขึ้นมา แล้วเข็นออกไปได้เลยครับ
    .
    ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊คแฟนเพจ China Xinhua News และ www.news.cn ครับ
    .

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นวัตกรรม เครื่องกำเนิดแรงดันลบ 3 อิน 1 เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์

    นวัตกรรม เครื่องกำเนิดแรงดันลบ 3 อิน 1 ฝีมือคนไทย เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์จากโควิด-19 ท่ามกลางวิกฤตการณ์โรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และยากที่จะคาดเดาว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

    บุคลากรทางการแพทย์ คือ กำลังสำคัญที่ช่วยยับยั้งและเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับภัยครั้งนี้ ดังนั้นสิ่งที่จะเป็นโล่กำบังและปกป้องแนวหน้าของเราในการต่อสู้ครั้งนี้จึงมีความสำคัญยิ่ง จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อตัวร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากอนามัย ชุดป้องกัน และอื่นๆ เพื่อเสริมให้ด่านหน้าของเรามีความแข็งแกร่ง พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ

    เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบ นวัตกรรมนี้เป็นผลงานจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ รวมทั้งพันธมิตร คือ บริษัท เอ.ไอ. เทคโนโลยี จำกัด โดยได้นำต้นแบบ (Prototype) เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบที่สร้างขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และนำมาต่อยอดและเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นโดยใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรม มาพัฒนาให้สามารถทำงานได้ถึง 3 หน้าที่ในเครื่องเดียว นั่นคือ สร้างแรงดันลบ กรองอนุภาค และฆ่าเชื้อโรค

    หมอชนะ แอปพลิเคชัน ช่วยหมอ ช่วยตนเอง ให้ห่างจากโควิด 19

    นวัตกรรมการแพทย์นี้ ด้านบนของเตียงมีลักษณะเป็นแคปซูล ส่วนด้านล่างจะมีกล่องเครื่องกำเนิดแรงดันลบ ซึ่งปรับความดันอากาศที่ดูดเข้าไปภายในแคปซูลให้ต่ำกว่าอากาศภายนอก 5-10 ปาสกาล เมื่อความดันภายในเป็นลบ อากาศจึงไม่ไหลออกสู่ภายนอกที่มีความดันสูงกว่า จึงช่วยไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกภายนอก ตัวเครื่องติดตั้งแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA Filter) ที่สามารถกรองอนุภาค ระดับ 0.3 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ 100 เท่า ได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ และหลอดไฟแสงอัลตราไวโอเลตซี (UV-C) ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค จึงทำให้อากาศที่ปล่อยกลับสู่ภายนอกนั้นมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงให้กับบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ โดยตัวเครื่องที่กล่าวมาข้างต้นได้ผ่านการทดสอบจากบุคลากรทางการแพทย์ผู้ใช้งานจริง และพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    นอกจากนี้ ปตท.สผ. และบริษัทพันธมิตรยังได้พัฒนาเครื่องกำเนิดแรงดันลบแบบเคลื่อนที่ขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งด้วยหลักการเดียวกัน ซึ่งเมื่อนำไปติดตั้งร่วมกับกล่องทำหัตถการ จะช่วยให้การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยติดเชื้อเป็นไปอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สะดวกต่อการใช้งานและเคลื่อนย้าย ตัวเครื่องกำเนิดแรงดันลบ สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 6-7 ชั่วโมง ด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ และยังสามารถใช้งานด้วยระบบไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ห่างไกล และที่สำคัญคือ ช่วยทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

    เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ ที่สั่งมาจากต่างประเทศ มีราคาสูงถึง 400,000 – 600,000 บาท โรงพยาบาลไทยจำนวนมากจึงขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นนี้ และในสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ต้องใช้เวลานานในการสั่งซื้อและนำเข้ามาในประเทศ แต่ด้วย นวัตกรรม ฝีมือคนไทย ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ามาก และยังได้รับการออกแบบให้สามารถผลิตในจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้

    นอกจากนี้ นวัตกรรมการแพทย์ เตียงชนิดนี้ ยังสามารถใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น วัณโรค จึงนับเป็นการเสริมความพร้อมของโรงพยาบาลไทยในการดูแลทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ในระยะยาวอีกด้วย

    นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ. ให้ความสำคัญต่อการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 และชื่นชมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่อุทิศตนในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่ง ปตท.สผ. และพันธมิตรของเราขอเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสซึ่งเป็นภารกิจอันยากลำบากของประเทศไทยและของโลกในขณะนี้ บริษัทยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เราใช้ในการค้นหาพลังงานมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือสังคม เช่น การพัฒนาเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบ ที่มีความพิเศษครั้งนี้ที่จะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับเชื้อโควิด-19 ให้สำเร็จ

    ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรคพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันเป็นการสู้รบในสงครามโควิด-19 ซึ่งถ้าเพลี่ยงพล้ำเมื่อไหร่ก็อาจเกิดปัญหาบุคลากรในระบบสาธารณสุขติดเชื้อ ทำให้กำลังในการรบครั้งนี้ของเราหายไปอย่างรวดเร็วอย่างที่เกิดขึ้นในหลายโรงพยาบาลในภูมิภาค อุปกรณ์เหล่านี้จึงมีความสำคัญและจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับโรงพยาบาล ขอขอบคุณ ปตท.สผ. บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส และ บริษัท เอ.ไอ. เทคโนโลยี ที่พัฒนาอุปกรณ์เหล่านี้ให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ

    ล่าสุด ปตท.สผ. ร่วมกับพันธมิตร ได้ผลิตเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดแรงดันลบนี้ จำนวน 100 เตียง และกล่องทำหัตถการที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดแรงดันลบ จำนวน 90 ชุด รวมมูลค่า 14,500,000 บาท โดยส่งมอบให้กับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อใช้งานและจัดสรรให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศที่ขาดแคลน และอีกส่วนหนึ่งจะมอบให้โรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท.สผ.

    The post นวัตกรรม เครื่องกำเนิดแรงดันลบ 3 อิน 1 เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ appeared first on SpringNews.

    Source : #Springnews #สปริงนิวส์

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    "จักรกฤศฏิ์" เชื่อพนักงาน "การบินไทย" ยอมเซ็นปรับลดเงินเดือน เพราะรักบริษัท
    "จักรกฤศฏิ์" ดีดีบินไทย เชื่อพนักงาน "การบินไทย" ทุกรายมีสปิริตยอมเซ็นปรับลดเงินเดือน เพราะรักบริษัท ยืนยันสภาพคล่องที่เป็นเงินสดยังมีอยู่
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    4 ข้อห้าม ฮวงจุ้ยบ้าน ต้องระวัง
    ฮวงจุ้ยหน้าบ้าน อ.มาศ เคหาสน์ธรรม ดูดวง 2563 ดูดวงไทยรัฐ 4 ฮวงจุ้ยหน้าบ้าน ห้ามทำ
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐอเมริกา - น้ำท่วมรุนแรงในอ่าวเซนต์หลุยส์, มิสซิสซิปปีบ่ายนี้หลังจากพายุโซนร้อนCristóbalถล่ม ในวันที่ 7 มิถุนายน

    ESTADOS UNIDOS - Severas inundaciones en Bay St. Louis, Mississippi, esta tarde, tras tocar tierra la tormenta tropical Cristóbal, 7 de Junio .

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โปแลนด์ - พายุทอร์นาโดผ่านเมืองKaniówใกล้ Czechowice-Dziedzice ในภูมิภาค Bielsko Biała โปแลนด์ ทำให้เกิดความเสียหาย ในวันที่ 7 มิถุนายน

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โปแลนด์ - ความเสียหายจากพายุทอร์นาโดในKaniów ในภูมิภาค Bielsko Biała ประเทศโปแลนด์ ในวันที่ 7 มิถุนายน

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โปแลนด์ - จับช่วงเวลาแห่งพายุทอร์นาโด ผ่านเมือง Kaniów ใกล้ Czechowice-Dziedzice ในภูมิภาค Bielsko Biała ประเทศโปแลนด์ ในวันที่ 7 มิถุนายน

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีน - น้ำท่วมหนักในกวางสี เมืองหยางซู ในวันที่ 7 มิถุนายน

     

แชร์หน้านี้

Loading...