ท่านเจ้ามา วัดจักวรรดิราชาวาส เจ้าตำนานพระชัยวัฒน์ล้ม(แล้ว)ลุก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 30 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top>[​IMG]
    [​IMG]พระพุฒาจารย์ เอนกสถานปรีชา ฯ (มา) พระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง
    พระพุฒาจารย์ เดิมชื่อ มา ชื่อ อินทร์สร ในพระพุทธศาสนา เกิดในสกุลอุบาสกใจบุญ โยมผู้ชายชื่อ ทองอยู่ โยมผู้หญิงชื่อ แช่ม พระพุฒาจารย์เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๓๘๐ (รัตนโกสินทร์ศก ๕๖) ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกานพศก (จุลศักราช ๑๑๙๙) ณ ตำบลบ้านเขาแหลม อำเภอสำเพ็ง กรุงเทพฯ
    ครั้นพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ (รัตนโกสินทรศก ๘๐) ตรงกับปีระกา ตรีศก (จุลศักราช ๑๒๒๓) ท่านมีชนมายุได้ ๒๕ ปี จึงอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส พระอาจารย์นอง วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นพระอุปัชฌายะ เจ้าอธิการแบน วัดบางกระสัน เป็น กรรมมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทอง วัดบางกระสัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ต่อมาพระพุทธศักราช ๒๔๑๔ (รัตนโกสินทรศก ๙๐) ตรงกับปีมะเมีย โทศก (จุลศักราช ๑๒๓๒) ท่านมีชนมายุ ๓๕ ปี มีพรรษา ๑๐ พรรษา ได้เป็นปลัดในพระวรญาณมุนี (เสง) พระราชาคณะวัดจักรวรรดิราชาวาส (ซึ่งภายหลังเลื่อนเป็นพระโพธิวงษาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยา ปรินายก)
    วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๒ (รัตนโกสินทรศก ๑๐๘) ตรงกับ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู เอกศก (จุลศักราช ๑๒๕๑) ท่านมีชนมายุ ๕๓ ปี มีพรรษา ๒๘ พรรษา ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรโดย พระบรมมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นพระครูภาวนาวิจารน์ ผู้ช่วยกิจการในวัดจักรวรรดิราชาวาส มีนิตยภัตรเดือนละ ๑ บาท ๒ สลึง
    วันที่ ๑๗ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๕ (รัตนโกสินทรศก ๑๑๑) ตรงกับ ณ วันศุกร์แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง จัตวาศก (จุลศักราช ๑๒๕๔) ท่านมีพระชนมายุ ๕๖ ปี มีพรรษา ๓๑ พรรษา ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรโดยพระบรมมหาบพิตร พระราชสมภารเจ้า พระบรมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพระมงคลทิพมุนี สถิตย์พระพุทธบาท เกาะสีชัง เจ้าคณะใหญ่แขวงเมืองสมุทรปราการ มีนิตยภัตรเดือนละ ๓ บาท ภายหลังได้เพิ่มนิตยภัตรเป็นเดือนละ ๗ บาท ๒ สลึง
    วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระพุทะศักราช ๒๔๕๖ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๒) ตรงกับ ณ วันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู เบญจศก (จุลศักราช ๑๒๗๕) วัน เดือน ปี นี้ ท่านมีชนมายุได้ ๗๗ ปี มีพรรษา ๕๒ พรรษา พระบรมมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องยศทหารปืนใหญ่ เสด็จประทับพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ตั้งสมณศักดิ์ พระราชทานหิรัญบัตร เลื่อนพระมงคลทิพมุนี เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เพิ่มนิตยภัตรเป็นเดือนละ ๘ บาท มีนามตามจารึกในหิรัญบัตร และประกาศตั้ง ดังแจ้งต่อไปนี้
    ศุภมัสดุ พระพุทะศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๖ พรรษกาลปัตยุบัน จันทรโคจร อุสภสัมพัตสร บุศยมาศ สุกกปักษ์ จตุตถิดิถึ ภุมวาร สุริยคติกาล ธันวาคมมาส ติงสติมสุรทิน โดยกาลนิยม
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช ฯ บรมนารถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า พระมงคลทิพมุนี ประกอบด้วยวิริยอุตสาหในกิจอันเป็นคุณประโยชน์ในพระศาสนา ชำนาญในวิปัสนาธุระ เป็นพระอุปัชฌายะให้อุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นอันมาก มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เป็นทีชอบที่นับถือของชนทั้งหลาย เพราะขวนขวายสงเคราะห์ประชาราษฎร์ อันมีทุกข์ลำบากด้วยพยาธิทุกข์ และมรณภัยให้มีความสะดวกใจทุกสถาน เอาใจใสในการก่อสร้างแลปฏิสังขรณ์อารามวิหาร เป็นผู้รักษาการพระพุทธบาท ได้จัดการทำนุบำรุงให้มีความเจริญยิ่งขึ้น เป็นที่สะดวกสบายแก่สัปบุรุษ ผู้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทตาฤดูกาล และได้ชักชวนผู้มีศรัทธา ให้บริจาคทรัพย์ จัดการปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาท อันชำรุดทรุดโทรมมาแต่ก่อน ให้ดีดังเดิมแล้วเสร็จบริบูรณ์ แล ขวนขวายในการที่จะให้เกิดประโยชน์ บำรุงพระอารามให้รุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก บัดนี้ก็ประกอบด้วยพรรษายุกาลมีวัยวุฒิเป้นพระเถระผู้ใหญ่ สมควรจะพระราชทานเพิ่มสมณศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งอันสูงขึ้นได้ จึงทรงพระกรุณาแรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพระมงคลทิพมุนี เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี มีนามตามจารึกในหิรัญบัตรว่า พระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชาวิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศราธิการ อภิบาลบทวลัญช์ อรัญวาสี สังฆนายก เจ้าคณะอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง สถิต ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีถานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ พระครูปลัดสุวัฒสมณาจารย์ ปรีชาญาณจาริก อรัญญิกสังฆนายกธุระวาหะ ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูศัพทสุนทร ๑ พระครูอมรโกษิต ๑ พระครูธรรมรักขิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๘ รูป
    วันที่ ๒๘ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคลมแน่นเสียด มีแพทย์หลวงและแพทย์เชยศักดิ์หลายนาย ประกอบยารักษาพยาบาล อาการมีแต่ทรงกับทรุด วันปวารณา เป็นวันเคยลงอุโบสถไม่ขาด ถึงกับลงอุโบสถไม่ได้ พระมงคลทิพมุนีครั้งยังเป็นพระธรรมวิหารีเถร พร้อมด้วยพระภิกษุถานาเปรียญที่เลิกจากปวารณาในอุโบสถแล้ว มาปวารณาที่กุฎีพระพุฒาจารย์อีกครั้ง ๑
    ต่อมาวันที่ ๙ ตุลาคม พระพุทะศักราช ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับ ณ วันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) เวลา ๑๐ ทุ่ม ๓๐ นาที ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ มีชนมายุ ๗๘ ปี กับ ๑ เดือน ๒๒ วัน มีพรรษาได้ ๕๒ พรรษา
    รุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงศพ ฝ่ายสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ มีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหาสังฆนายก เสด็จเป็นปราน แล้วมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จภายหลัง กับทั้งบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการอีกมากที่ได้เสด็จและมาในวันนั้น ส่วนศพได้รับพระราชทานโกศ ๘ เหลี่ยม ฉัตร ๕ ชั้น ๔ คัน มีกลองชนะ เครื่องอินทร์ ๕ คู่ ปี่ไฉน ๑ คัน พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมประจำ ๑ สร้าง มีกำหนด ๑ เดือน เป็นเกียรติยศยิ่ง
    ประวัติย่อพอสังเขปเพียงเท่านี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เริ่มสร้างพระเครื่อง
    [​IMG]เมื่อท่านได้สำเร็จวิชาและช่ำชองทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่างๆ แล้ว ได้เดินทางกลับมาวัดสามปลื้ม ได้รับการแต่งตั้งเป็น” พระปลัด “ และ ได้เป็นหัวแรงในการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ที่วัดสามปลื้ม โดยระยะนี้ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปเนื้อโลหะในแบบพระชัยวัฒน์ หรือ พระกริ่ง แต่ไม่มีกริ่งบรรจุในองค์พระ
    ในช่วงชีวิตของท่าน เป็นเรื่องแปลกที่ท่านเจ้ามามักเกี่ยวข้องกับ "พระพุทธบาท" เสมอ ไม่ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเลื่อนชั้นจาก “พระปลัด” โดยสมเด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 ให้เป็น .”พระครูภาวนาวิจารย์ “ ในวันที่13 พฤษภาคม พ.ศ.2432 และ ได้ถูกนิมนต์ให้เป็นผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานที่ "เกาะสีชัง" เมื่อเสร็จงานเรียบร้อย แล้ว ได้รับแต่งตั้งเป็น "พระมงคลทิพยมุนี" เจ้าคณะใหญ่แห่งเมืองสมุทรปราการ และ เป็นผู้รักษาพระพุทธบาทเกาะสีชังด้วย ท่านได้สร้างเหรียญพระพุทธบาทเกาะสีชังและเป็นผู้ปลุกเสกด้วยครับ ต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรักษา "พระพุทธบาทจำลองที่สระบุรี" อีกด้วย จึงเป็นเรื่องประหลาดที่วิถีชีวิตของท่านเจ้ามา มักจะเกี่ยวข้องกับ "รอยพระพุทธบาท" เสมอ แสดงว่า ท่านเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง สมควรแก่การรักษา สิ่งที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ คือ พระพุทธบาท ครับ
    การปลุกเสกและพุทธคุณ
    ท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวของท่านเอง มีคนนำไปใช้พบกับคุณวิเศษนานับประการ ทั้งในด้านคงกะพันชาตรี และ เมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปอย่างมาก
    ขนาดท่านบิดาของท่านเจ้าคุณนร สมัยที่เป็นนายอำเภอที่บางปลาม้า สุพรรณบุรี มีพระท่านเจ้ามาติดตัวองค์เดียว ถูกเสือร้ายชื่อดังยิงด้วยปืน แต่ปืนไม่ลั่น เสียงดังแชะๆ เรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นผู้เล่าให้บรรดาศิษย์ฟังครับ ลองคิดดูกันแล้วกันครับ ว่าถ้าพอมีกำลังควรหามาติดกายบูชาสักองค์หนึ่งไหม
    เนื้อพระ
    ท่านสร้างพระด้วยโลหะผสม มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองผสม บางองค์ออกทองเหลืองประแจจีน ออกแดง ขันลงหิน หรือ แม้แต่เนื้อกลับดำ ก็มี แบบมีประกายเงินในแบบนวโลหะ หรือ ออกแก่ทองคำหรือ แก่เงิน หรือ แก่สำริดก็มีครับ
    แต่โดยทั่วไป เนื้อพระของท่านจะหนักไปทางทองเหลืองหรือทองแดง เพราะ ท่านมีเศษพระบูชาและ พวกโลหะทองเหลือง ทองแดงมากมายที่ได้จากการบูรณะรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี และ ที่วัดนี้ยังมีการหล่อพระบูชาสร้างพระพุทธรูปบูชาอีกด้วย พวกเศษทองเหลืองจึงมีมากครับ
    วัสดุที่มาสร้างเนื้อพระ
    ส่วนสาเหตุที่เนื้อพระบางองค์กลับดำ ประกายเงิน หรือประกายทอง นั้น มีที่มีดังจะกล่าวต่อไปครับ
    ทำไมพระบางองค์จึงกลับดำ มีประกายเงิน หรือ ทอง
    ครั้งหนึ่งไฟได้ไหม้พระมณฑป อันเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี สิ่งของที่มีค่าราคาประเมินไม่ได้ เช่น เสื่อเงิน เสื่อทอง ม่านทอง ผ้าซึ่งประดับเพชรพลอย และ ของมีค่าราคาสูงของกษัตริย์โบราณหลายยุคหลายสมัยที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา ได้สูญสิ้นไปกับเพลิงไหม้ครั้งนั้น
    ท่านได้เก็บเศษเสื่อเงิน เสื่อทอง ที่ไฟไหม้ และ เศษเงิน เศษทอง ที่ไฟไหม้ มาหล่อหลอมขึ้นมาเป็นเส้นทอง และ เส้นเงินใหม่ ในครั้งนั้น บางครั้งเศษเงินและทอง ก็กระเด็นออกจากเบ้าหลอม ท่านได้เก็บเศษโลหะเงินทองเหล่านั้น มาผสมกับเนื้อพระท่าน ทำให้ บางรุ่นเนื้อกลับดำออกประกายเงิน หรือ ประกายทองคำ นี่คือ ต้นกำเนิด พระเครื่องท่านเจ้ามาเนื้อกลับดำ มีประกายเงิน หรือ เนื้อประกายทองแก่ทองหรืออาจแก่เงินครับ
    ราคาค่านิยม
    ถ้าสวยๆ ราคาหลักหมื่นต้นหมดทุกพิมพ์แล้วครับ มีราคาตั้งแต่หลักหมื่นต้นไปถึงทะลุแสนกลาง ขึ้นกับความนิยมของพิมพ์พระ พิมพ์ล้มลุกแบบเนื้อกลับดำ ราคาทะลุแสนกลาง พิมพ์ที่ถือว่า ราคาเบาที่สุดคือ พระพิมพ์ฐานสูง อยู่ในหลักหมื่นถึงสองหมื่นบาท แต่พระที่ไม่สวย ยังพอหาได้ในหลักพันปลายๆ ครับ เพราะ พระเจ้ามามักจะหล่อออกมาได้ไม่สวย ที่สวยๆ หล่อติดเต็มๆ ราคาจะแพงเป็นพิเศษ เพราะ หายากกว่ามาก
    พุทธลักษณะ
    พระมักจะเป็นปางสมาธิ และ มีเพียงพิมพ์เดียวรุ่นเดียว คือพิมพ์บัวฟันปลาที่สร้างในแบบมารวิชัยครับ
    ตลอดชั่วอายุขัยของท่านๆ ได้สร้างพระชัยวัฒน์ไว้หลายพิมพ์ทีเดียว เรามาศึกษาหาคววามรู้กันดีกว่าครับ เริ่มจากพิมพ์แรกเลยครับ คือ

    <TABLE id=table1 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระชัยวัฒน์ล้มลุก

    เนื้อดำ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ล้มลุก
    พิมพ์นี้ชื่อ ดีครับ คำว่า "ล้มลุก" เพราะ องค์พระเหมือนตุ๊กตาล้มลุก ตั้งวางไว้ไม่มีล้ม จะกลิ้งลุกขึ้นมาได้ตลอด องค์พระขัดสมาธิ นั่งบนบัวเล็บช้าง รูปพระคล้ายตุ๊กตาล้มลุก มีหลายเนื้อ ที่หายากและราคาแพงที่สุด คือ เนื้อกลับดำ คือ แก่เงินมากนั่นเอง ราคาอยู่ในหลักเกินแสนกลางขึ้นไปครับ หายากมากทีเดียว ส่วนพิมพ์นี้เนื้ออื่นๆ เช่น น้ำตาลอมแดง เนื้อเหลือง ก็พบแต่ ราคาจะไม่แพงเหมือนเนื้อดำ
    เนื่องจากภาพพระชัยวัฒน์ล้มลุกเนื้อดำ นั้นหาของแท้ยากมาก และ ราคาแพงมากเกินหลักแสนกลางๆ ขึ้นไป ที่เห็นแท้ๆ ดูง่ายก็องค์นี้ครับ ขออนุญาตนำ ภาพพระแท้องค์นี้ซึ่งเป็นของอาจารย์เล็ก รูปหล่อ ผู้เชี่ยวชาญสายพระกริ่งชัยวัฒน์มากที่สุดท่านนึงของวงการครับ
    <TABLE id=table2 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์บัวฟันปลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์บัวฟันปลา
    องค์พระนั่งสมาธิและแบบมารวิชัย หรือ ปางสะดุ้งมาก องค์พระนั่งบนฐานแต่งแบบบัวคว่ำ บัวหงาย หรือ จะเรียก บัวฟันปลาก็ได้ ภายใต้ฐานจะกลวง เป็นพิมพ์หายากไม่แพ้พิมพ์ล้มลุก ส่วนมากเป็นพิมพ์แต่ง เนื้อจะเป็น แบบสำริด พระพิมพ์นี้ใบหูจะสั้น ครับ
    <TABLE id=table3 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์ฐานหกเหลี่ยม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ฐานหกเหลี่ยม
    เป็นพระเครื่องขนาดเล็ก ฐานกว้าง1.5 ซม สูง2.3 ซม องค์พระนั่งขัดสมาธิเพชรบนบัวและมีฐานเรียบๆ หกเหลี่ยม รองรับอีกชั้นหนึ่ง เนื้อพระจะออกสีน้ำตาลเข้ม คล้ายกับ พระชัยวัฒน์ วัดราชบพิธ ปี พศ 2466 เป็นพระพิมพ์นิยมอันดับต้นๆ เช่นกัน ราคาเช่าหาสูงมากทะลุหลักแสนบาทเช่นกัน และ หาของแท้ได้ยากมากครับ เท่าที่เห็นพิมพ์ฐานหกเหลี่ยมจะมีหลายรูปลักษณะ แต่เท่าที่ทราบของแท้ มักไม่ปรากฏในสนามบ่อยนัก ทำให้เหมือนกับเป็นพระในตำนานไปแล้วเช่นกัน
    <TABLE id=table4 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์ ร.ศ. 118

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ร.ศ.118
    เป็นพระนั่งบนฐานบัวสองชั้น มีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีเลขที่ฐานว่า ร.ศ 118 เข้าใจว่าสร้างในปี พ.ศ 2442 เป็นพระเนื้อออกสำริดแดง อมเหลือง องค์พระนั่งสมาธิเพชร พระพิมพ์นี้จะไปคล้ายกับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เข้าใจว่า สองท่านนี้คือ ท่านเจ้ามา และ ปู่บุญ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดทีเดียว ราคาเช่าหาหลักหลายๆ แสน ที่เห็นมักเป็นของปลอมมากกว่าครับ
    <TABLE id=table5 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์คอหนอก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์คอหนอก
    พระนั่งบนฐานบัวสองชั้น องค์พระจะป้อมๆ สังฆาฏิใหญ่ พิมพ์นี้เนื้อพระจะออกสำริดออกแดง พระพิมพ์นี้ก็จะไปคล้ายกับของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วเช่นกัน
    <TABLE id=table6 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์หน้าครุฑ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์หน้าครุฑ
    พิมพ์นี้จะคล้ายพิมพ์คอหนอก แต่ว่าองค์พระจะออกยืด ใบหน้าจะแหงนกว่าปางประทับนั่งขัดสมาธิบนบัวสองชั้น และ มีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ฐานดูสูงกว่าพิมพ์คอหนอก เนื้อพระส่วนมากจะเป็นเนื้อน้ำตาลอมแดง
    <TABLE id=table7 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์หน้ากระบี่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์หน้ากระบี่
    องค์พระนั่งสมาธิบนฐานเขียงแบบเตี้ยๆ บางองค์จะสั้น บางองค์ก็ยาวดูคล้ายชฎาของพระฤาษี เนื้อพระจะออกแดงอมเหลือง พิมพ์นี้จะคล้ายพิมพ์เศียรทุย พระเครื่องพิมพ์นี้ไม่ทราบใครตั้งชื่อให้ แต่ กระบี่ หมายถึง ลิง พระเครื่องพิมพ์นี้เท่าที่ทราบสร้างแจกเมื่อคราวที่วัดมีการละเล่นกระบี่กระบอง
    <TABLE id=table8 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์เศียรทุย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์เศียรทุย
    พระเครื่องพิมพ์นี้ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แม้ในหนังสือ เพชร พระเครื่อง เมื่อ ยี่สิบปีก่อน ก็ได้ลงรูปใหญ่ไว้ว่า เป็นพิมพ์นิยม มากและ ราคาเช่าหาก็สูงมาตั้งนานแล้วเช่นกันครับ ขนาดองค์พระไม่เล็ก ไม่ใหญ่ องค์พระนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานเขียง เนื้อพระจะออกอมแดงแบบเนื้อทองแดงเถื่อน ที่พบเนื้อทองเหลืองก็มีแต่จะแก่ไปทางสำริดเช่นกัน แต่พระพิมพ์นี้ต้องดูให้ดี เพราะ ศิษย์ท่านคือ พระครูสอน ได้สร้างขึ้นที่วัดมักกะสันในปี พ.ศ. 2480 ด้วย เนื้อพระจะเป็นแบบทองเหลือง ต่างกับของเจ้ามา ที่เนื้อจะออกทองแดง และ แบบทองเหลืองผสมจนแก่ทางสำริด ศิลปะของเจ้ามาดูโบราณกว่าด้วย พระที่หล่อออกมาได้สวยราคาเช่าหาสูงในหลักหมื่นกลางขึ้นไปถึงแสนบาทครับ
    <TABLE id=table9 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์แม่ค้า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์แม่ค้า
    พิมพ์นี้เล็กที่สุด องค์พระนั่งขัดสมาธิบนฐานเขียง เนื่องจากขนาดเล็กจึงเหมาะกับผู้หญิง โดยเฉพาะแม่ค้าที่ไปร่วมทำบุญมักได้รับพระเครื่อง พิมพ์นี้กันมาก เนื้อพระออกเหลืองกว่าพิมพ์เศียรทุยและหน้ากระบี่
    <TABLE id=table10 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์ฐานสูง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ฐานสูง
    องค์พระนั่งสมาธิบนฐานบัวและ มีฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ดูแล้วฐานจะสูง จึงเรียก พิมพ์นี้ว่า พิมพ์ฐานสูง กล่าวกันว่าท่านสร้างพระพิมพ์นี้ในช่วงท้ายสุด ในช่วงปี พ.ศ.2455-57 ก่อนท่านมรณภาพไม่นานนัก พระพิมพ์นี้เคยมีผู้พบเป็นช่อไม่ได้ตัด พระพิมพ์นี้ผู้ได้รับตกทอดท่านสุดท้ายนำออกมาให้บูชาในปี พ.ศ 2510 ปัจจุบันเริ่มหายากขึ้นและ ราคาแพงขึ้นทุกขณะทีเดียวครับ โดยทั่วไป พระที่หล่อได้ติดเต็มๆ ทั้งหน้าหลังและสวยงาม ราคาหลักหมื่นขึ้นหมดมานานแล้วครับ แต่พระที่หล่อได้ไม่สวยหลักพันกลางถึงปลายพอหาได้ครับ
    พิมพ์สิงหเสนี
    เป็นพระเครื่องเนื้อออกดำและแก่เงิน เหมือนพิมพ์ล้มลุก เป็นพระที่ท่านสร้างให้คนตระกูลนี้ เพราะ ได้ช่วยเหลือบำรุงวัดมานาน มีส่วนผสมอันประกอบไปด้วยตะกรุดโทนที่จารแล้ว และ แผ่นยันต์ต่างๆ มากมายมาหลอม จึงมีทั้งแก่เงิน และ แบบกลับดำ
    แต่เนื่องด้วยความหายาก ผมไม่สามารถหาภาพมาได้ครับ เพียงแต่อยากให้เพื่อนๆ ทราบไว้เท่านั้น เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา
    ค่านิยม
    พระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา ถือ เป็นสุดยอดพระชัยวัฒน์อันดับหนึ่งของวงการ และ ถูกจัดให้อยู่ในทำเนียบเบญจภาคีชัยวัฒน์ อันประกอบไปด้วย พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิ พระชัยวฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พระชัยวัฒน์สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และ สุดท้ายพระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ( แจ้)
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk-home-hist-index-page.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...