พระภิกษุกับสิ่งของส่วนตัว

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย CharnK, 17 มิถุนายน 2013.

  1. CharnK

    CharnK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    444
    ค่าพลัง:
    +1,453
    สมัยนี้ พวกเรามักได้ข่าวที่เป็นโลกวัชชะเกี่ยวกับพระภิกษุในพระศาสนามาก ทำให้พวกที่ไม่รู้หลักธรรมแท้เสื่อมศรัทธาได้ง่าย

    พระบรมศาสดาไม่ได้ให้พระสะสมสมบัติส่วนตัว เพียงมีอัฐบริขารก็พอ แล้วดำเนินการภิกขาจารโปรดสัตว์ไปเรื่อย ๆ เหล่าฆราวาสก็ควรมีความเข้าใจในเรื่องนี้ แล้วถวายเฉพาะสิ่งจำเป็น

    ถ้าจำไม่ผิด ไม่มีกฎหมายบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ถึงเวลาหรือยังที่เราจะมีกฎหมายห้ามพระภิกษุมีทรัพย์สินส่วนตัว คือ ให้รับได้เป็นของสงฆ์เท่านั้น
     
  2. อาโก้

    อาโก้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2013
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +113
  3. มองทุกมุม

    มองทุกมุม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2013
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +1,822
    คลิปนี้รู้สึกจะเป็นเหตุการณ์ตั้งแต่เดือน มราคม 2556 ดูแล้วรู้สึกสลดใจในศรัทธาจริตของคนที่ทุ่มปัจจัยทำบุญมากๆ ก็อยากได้บุญมากๆนั่นแหละ จึงพยามทำบุญกับนักบวชที่ตนคิดว่ามีคุณธรรมสูง จะทำให้ตนได้บุญมากๆ คำถามก็คือว่าการได้บุญมากๆ มีสภาวะเช่นไร?ความรู้สึกของใจต้องเป็นอย่างไร?
     
  4. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a6ja.jpg
      a6ja.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.4 KB
      เปิดดู:
      560
  5. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,940
    พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้นั่นแหละดีที่สุดแล้ว แม้มีกฏหมายก็ไม่ช่วยอะไรพระได้.....เพราะเอาเข้าจริง กิเลสของพระและโยมนั่นเองช่วยกันสร้างความผิดปกติขึ้น...ที่แน่ๆคือทั้งพระและโยมไม่ได้ศึกษาพระธรรมที่แท้ของพระพุทธเจ้า จึงไม่มีปัญญารักษาตนไว้ในทางที่ถูก..มีแต่ศรัทธาที่ไม่มีปัญญากำกับจึงเข้าถึงความหลงงมงาย และความวิบัติด้วยความเสมอกันแห่งธาตุ..
     
  6. มองทุกมุม

    มองทุกมุม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2013
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +1,822
    สามเณรนิโครธ (๑)​
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมครูของเรา ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสอาสวะทั้งปวง ได้เข้าถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ที่ความทุกข์ใดๆ เข้าไปไม่ถึง จึงมีแต่ความสงบเย็น เป็นสุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือปนเลย เป็นเอกันตบรมสุข แต่กว่าที่พระองค์จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดนี้ได้ ก็ต้องสั่งสมบารมีกันมายาวนาน นับภพนับชาติไม่ถ้วน พวกเราซึ่งเป็นชาวพุทธ ก็ต้องเจริญรอยตามพระองค์ ตั้งใจสั่งสมความดีให้เต็มที่ หมั่นเจริญสมาธิภาวนากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน

    มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ว่า

    “ โย ทิสฺวา ภิกฺขุ จรณูปปนฺนํ

    ปุรกฺขิตฺวา ปญฺชลิโก นมสฺสติ

    ทิฏฺเฐว ธมฺเม ลภเต ปสํสํ

    สคฺคญฺจ โส ยาติ สรีรเภทา ฯ

    ผู้ใดเห็นภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะ ให้ท่านยืนอยู่เบื้องหน้า ประคองอัญชลีนมัสการแล้ว ผู้นั้นจะได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติสวรรค์”

    ความสุขในโลกนี้มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุ เรียกว่าอามิสสุข เป็นความสุขที่เกิดจากตาได้เห็นรูปสวยๆ หูได้ยินเสียงเพราะๆ ได้รับประทานอาหารอร่อยๆ ได้สัมผัสที่นุ่มนวลเป็นต้น เป็นสุขภายนอกที่เห็นกันได้ง่าย ความสุขประการที่ ๒ คือ ความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยวัตถุ เป็นความสุขที่เกิดจากการทำความดี ได้สั่งสมบุญ คือเมื่อได้ทำบุญและสบายใจ ใจปลอดโปร่งเบาสบาย ปราศจากความโลภเข้ามาครอบงำ โดยเฉพาะสุขที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา เป็นความสุขที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง ได้เข้าถึงธรรมภายใน เมื่อเทียบกับความสุขภายนอก เป็นสุขที่เลิศกว่า ประณีตกว่า เปรียบเทียบกันไม่ได้เลย

    ความสุขภายในนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้ที่ยังไม่ลงมือปฏิบัติ ก็จะไม่พบกับความสุขชนิดนี้ ทำให้ไม่รู้จัก แม้อ่านจากตำรับตำราก็ยากที่จะเข้าใจ เช่น พระท่านบอกว่า ผู้ที่รักษาศีลแล้วจะมีความสุข จิตจะร่าเริงแจ่มใส ถ้าคนยังไม่เคยปฏิบัติธรรมก็จะนึกค้านว่า คนรักษาศีลจะร่าเริงได้อย่างไร จะทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็ต้องคอยระวังไปหมด สู้คนไม่มีศีลไม่ได้ จะดื่มจะเที่ยวจะเล่นก็สนุกสนานร่าเริงกว่าการรักษาศีล สนุกกว่าการนั่งหลับตา นั่นเขาคิดเข้าใจไปเอง

    แต่เมื่อใดที่ได้รักษาศีล ได้ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงความสุขชนิดนี้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย และจิตใจ หน้าตาผิวพรรณวรรณะจะผ่องใส จะพูดจาก็ไพเราะ จิตใจก็ร่าเริงเบิกบาน ผู้ที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้คือผู้ที่ประพฤติธรรม เช่นสมณะทั้งหลาย ซึ่งถ้าใครได้เห็นแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจให้ประพฤติธรรม ให้อยากทำความดี อยากให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะได้รับการกระตุ้น ให้ทำความดีจากการได้เห็นสมณะ และเมื่อลงมือสร้างความดีให้เต็มที่ ก็ทำให้เป็นมีสุคติโลกสวรรค์

    สมณะแปลว่า ผู้สงบ หมายถึงบรรพชิตที่ได้บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกฝนอบรมตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญามาแล้วอย่างเต็มที่ จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจ ใสสะอาดบริสุทธิ์ สงบจากบาปอกุศล การได้เห็นสมณะท่านเรียกว่าเป็นอุดมมงคล เพราะเป็นต้นทางที่จะทำให้เราได้ทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อได้เข้าไปหา ได้สนทนาธรรม และฟังธรรม เราก็จะได้รู้จักเส้นทางไปสู่สวรรค์นิพพาน เหมือนดังเรื่องสามเณรนิโครธผู้เป็นสมณะน้อย แต่เป็นผู้จุดชนวนให้พระเจ้าอโศกผู้มีฝ่ามือชุ่มด้วยโลหิต เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา และช่วยยอยกพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน

    เรื่องของสามเณรนิโครธ ผู้เป็นเหล่ากอของสมณะรูปนี้ มีอยู่ว่า หลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๓๐๐ ปี หลังจากที่พระเจ้าอโศกทรงเลิกทำสงคราม ก็คิดจะหาความสงบพระทัย เดิมทีพระองค์ทรงนับถือลัทธินอกพุทธศาสนาอยู่ ๓ ปี ได้ถวายภัตตาหารให้แก่นักบวชในลัทธิต่างๆ วันละหลายแสนคน พอเข้าปีที่ ๔ ก็ได้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เพราะอานุภาพของสามเณรนิโครธ {mospagebreak}{mosimage}

    สืบเนื่องจากพระเจ้าพินทุสารผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอโศก ได้ทรงนับถือพวกพราหมณ์ พระองค์ได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้ให้พวกพราหมณ์ ตาปะขาว และปริพาชก เป็นต้น มีประมาณหกแสนคน พระเจ้าอโศกจึงดำเนินตามพระราชบิดา ในวันหนึ่ง ได้ประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์ ผู้กำลังบริโภคอาหาร ด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวมอินทรีย์ ทั้งไม่ได้รับฝึกหัดกิริยามารยาท จึงทรงดำริว่า “ การที่เราใคร่ครวญเสียก่อนแล้วให้ทานเช่นนี้ ในเขตที่เหมาะสม จึงจะควร” ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอำมาตย์ว่า พวกท่านจงนำสมณะ และพราหมณ์ที่คิดว่าฝึกตัวมาดีแล้ว เข้ามาในพระราชวัง เราอยากถวายทานกับเนื้อนาบุญเช่นนั้น

    พวกอำมาตย์ก็ได้นำนักบวชนอกศาสนา มีตาปะขาว ปริพาชก อาชีวก และนิครนถ์เป็นต้น มารับภัตตาหาร เพราะเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ พวกนักบวชที่มารับทานจากพระองค์ บางพวกนั่งบนตั่ง บางพวกก็นั่งบนแผ่นกระดาน นุ่งห่มก็ไม่เรียบร้อย ไม่มีอาจาระที่น่าเลื่อมใสเลย พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาการนั่งของผู้ที่แสดงตนว่าเป็นพระอรหันต์เหล่านั้นแล้ว ก็ทรงทราบได้ว่า นักบวชเหล่านั้นไม่น่าจะมีธรรมที่เป็นสาระอยู่ภายใน พอถวายภัตตาหารและทรงส่งกลับไป

    มีอยู่วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ ผู้ฝึกฝนตนเองมาดี มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวงพอดี สามเณรนิโครธก็คือหลานของพระเจ้าอโศกนั่นแหละ มารดาของสามเณรคืออดีตน้องสะใภ้ของพระเจ้าอโศก ซึ่งพระองค์ได้ประหารชีวิตพี่น้องร่วมอุทรจนหมด แต่น้องสะใภ้คนนี้สามารถหลบหนีออกนอกเมือง ไปอยู่กับพวกคนจัณฑาล ในขณะที่ยังมีครรภ์แก่

    เมื่อให้กำเนิดโอรสก็ตั้งชื่อว่า นิโครธ ชาวบ้านได้ให้เกียรติ และดูแลพระนางเป็นอย่างดี เคารพนับถือเหมือนพระเทวี นางตั้งใจเลี้ยงดูโอรสเป็นอย่างดี พอเติบโตขึ้นมีอายุได้ ๗ ขวบ พระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อ มหาวรุณ ได้มารับไปบวช เพียงเวลาปลงผมเสร็จเท่านั้น สามเณรก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที

    วันหนึ่งสามเณรนิโครธ ได้นุ่งสบงทรงจีวรออกบิณฑบาต และตั้งใจว่า จะไปเป็นเนื้อนาบุญโปรดโยมมารดาสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากทางลัดไปบ้านโยมมารดา จะต้องเดินผ่านพระราชนิเวศน์ เพราะฉะนั้น พระเจ้าอโศกซึ่งกำลังประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร จึงได้ทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ นุ่งห่มเรียบร้อย มีอินทรีย์สงบ ทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก กำลังเดินผ่านหน้าพระลานหลวง

    ครั้นทอดพระเนตรเห็น ทรงรำพึงว่า พวกพราหมณ์ทั้งหลาย มีจิตฟุ้งซ่านเหมือนมฤคที่วิ่งพล่าน ส่วนกุมารนี้ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน การมองดู การเหลียวดู การเหยียดแขนคู้แขน ช่างสงบเสงี่ยมสง่างามเหลือเกิน ภายในของกุมารนี้ น่าจะมีโลกุตตรธรรมอย่างแน่นอน ยิ่งเพ่งพินิจดูกิริยาอาการ ก็ให้บังเกิดความเลื่อมใสในสามเณรมาก จึงรับสั่งพวกอำมาตย์ให้ไปนิมนต์สามเณรเข้ามาในพระราชมณเฑียร

    ด้วยความเลื่อมใส และไม่ทันใจพระองค์ พระเจ้าอโศกจึงส่งอำมาตย์ชุดใหม่ไปโดยรับสั่งว่า จงรีบนำสามเณรรูปนั้นมาโดยเร็ว ฝ่ายสามเณรก็เดินมาตามปกติของท่านอย่างองอาจสง่างาม เมื่อสามเณรมาถึงแล้ว จะสามารถยกใจพระเจ้าอโศกให้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้หรือไม่อย่างไร เราค่อยมาติดตามศึกษากันต่อ

    เราจะเห็นว่า คนที่มีจิตใจสงบ สามารถสยบผู้ที่มีจิตใจว้าวุ่นได้ โดยเฉพาะผู้ที่ฝึกฝนตนเองมาอย่างดีแล้ว คือเป็นคนสงบกาย วาจา ใจ ผลแห่งการฝึกตัวมาอย่างดีนี้ จะส่งผลดีไปถึงคนรอบข้างที่ได้พบเห็น ใครได้พบเห็นและจะประทับใจ อยากเข้าใกล้ อยากสนทนาปราศรัยด้วย ดังนั้น ให้หมั่นฝึกฝนอบรมตนกันให้ดี ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จะได้ช่วยกันยอยกพระพุทธศาสนา ช่วยกันแนะนำเส้นทางสวรรค์นิพพานให้กับเพื่อนร่วมโลก ที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องโลก และชีวิต และมุ่งทำใจให้ใสบริสุทธิ์อยู่เสมอ ทำใจหยุดใจนิ่งกันเรื่อยไป จนกว่าจะเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในกันทุกคน
    ที่มา...สามเณรนิโครธ (๑)
     
  7. มองทุกมุม

    มองทุกมุม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2013
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +1,822
    สามเณรนิโครธ (๒)​
    ความขยันหมั่นเพียรเป็นทางมาแห่งความสำเร็จ เป็นวิริยบารมีที่นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย ต่างก็ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยเฉพาะความเพียรในการขจัดกิเลสอาสวะออกจากใจ ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของมวลมนุษยชาติ ยิ่งถ้าหากเพียรพยายามชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์มากเพียงใด เราก็จะมีโอกาสหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จากความเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามารได้มากเพียงนั้น

    ดังนั้น เราจึงต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจ สั่งสมบุญ และเพียรพยายามในการนั่งสมาธิเจริญภาวนากันให้มากๆ ให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานกัน
    ความขยันหมั่นเพียรเป็นทางมาแห่งความสำเร็จ เป็นวิริยบารมีที่นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย ต่างก็ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยเฉพาะความเพียรในการขจัดกิเลสอาสวะออกจากใจ ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของมวลมนุษยชาติ ยิ่งถ้าหากเพียรพยายามชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์มากเพียงใด เราก็จะมีโอกาสหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จากความเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามารได้มากเพียงนั้น

    ดังนั้น เราจึงต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจ สั่งสมบุญ และเพียรพยายามในการนั่งสมาธิเจริญภาวนากันให้มากๆ ให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานกัน

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า

    “ หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็นผู้สงบแล้ว ฝึกตนแล้ว เป็นคนเที่ยงตรง เป็นพรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติธรรมสมํ่าเสมอ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นสมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นภิกษุ”

    สมณะคือผู้สงบกาย วาจา ใจ มาตรฐานของสมณะที่ดี ต้องสงบกาย คือ มีความสำรวม ไม่คะนองมือคะนองเท้า ต้องอนูปฆาโต ไม่เข้าไปทำร้ายใคร นอกจากนี้แล้ว สมณะยังต้องคำนึงถึงสมณสารูป คือจะทำอะไรต้องให้ควรแก่สมณวิสัย คำนึงถึงปัณณัตติวัชชะ คือ โทษที่เกิดจากประพฤติผิดพระธรรมวินัย ที่พระบรมศาสดาทรงบัญญัติไว้ และโลกวัชชะ คือ สิ่งที่ชาวโลกติเตียน สิ่งไหนที่ชาวโลกทำ ผิดกฎหมายบ้านเมือง สมณะก็ต้องงดเว้น อย่าไปทำ เนื่องจากแต่ละท้องถิ่น มีวัฒนธรรมหรือข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน ฉะนั้น สมณะต้องศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้ดี

    สมณะต้องสงบวาจา คือ อนูปวาโท ไม่นินทาว่าร้ายใคร ไม่ยุยงใส่ร้ายป้ายสีกัน จะเป็นระหว่างพระกับพระ หรือพระกับฆราวาสก็ตาม มีแต่วาจาที่เป็นอรรถเป็นธรรม คุยแต่เรื่องที่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างเดียว

    สมณะต้องสงบใจ คือ ทำใจให้หยุดนิ่งเป็นสุขอยู่ภายใน สงบจากบาปอกุศล ตรึกนึกถึงธรรมเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ทำเป็นสงบแต่เปลือกนอกอย่างเดียว จิตใจของสมณะที่แท้ต้องเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร ให้คุณอย่างเดียวไม่ให้โทษ

    การที่มีความสงบกาย วาจา ใจ ทั้ง ๓ ประการนี้ จะส่งผลให้สมณะ มีความสงบเสงี่ยมสง่างามอยู่ในตัว ถ้าชมชายหนุ่มหญิงสาวทั่วไปท่านใช้คำว่า สวยงาม แต่ถ้าจะชมสมณะ ท่านใช้คำว่า สง่างาม เป็นความงามที่สง่า และยังความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิดขึ้น เห็นแล้วมีความเชื่อมั่นในคุณธรรมที่มีอยู่ในตัว มีความอิ่มเอิบเบิกบานอยู่ในธรรม เป็นต้นบุญต้นแบบของชาวโลก ให้เห็นถึงอานิสงส์ของการประพฤติดีปฏิบัติชอบ สมณะจึงเป็นมาตรฐานทางความประพฤติของชาวโลกทั้งหลาย

    ครั้งนี้เราก็จะได้มาติดตามศึกษาชีวิตสมณะของสามเณรนิโครธ ผู้จุดให้พระเจ้าอโศกมหาราช หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนากันต่อ สืบเนื่องจากครั้งที่แล้ว ที่ได้เล่าถึงตอนที่พระเจ้าอโศกทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ เดินผ่านบริเวณพระราชนิเวศน์ เพียงได้เห็นก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในกิริยาอาการอันสงบสำรวมของสามเณร จึงนิมนต์ให้เข้ามาในพระราชมณเฑียร {mospagebreak}{mosimage}

    พระราชาอยากทราบว่า สามเณรจะเป็นผู้รู้จักที่ๆ ควรนั่งหรือเปล่า จึงตรัสเชื้อเชิญว่า “ ท่านทราบอาสนะที่สมควรแล้ว ก็จงนั่งเถิด” สามเณรแลดูสถานที่อันเหมาะสม และคิดว่า ในที่นี้ ไม่มีภิกษุรูปอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ พระราชาทรงเลื่อมใสในความองอาจของสามเณร จึงนิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์ ทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิดที่เตรียมไว้เพื่อพระองค์แก่สามเณร

    สามเณรรับภัตตาหาร พอยังอัตภาพของตนให้เป็นไปเท่านั้น เมื่อฉันเสร็จ พระราชาก็ตรัสถามว่า พ่อเณรรู้พระโอวาท ที่พระศาสดาทรงประทานแก่พ่อเณรบ้างไหม สามเณรถวายพระพรว่า “ มหาบพิตร อาตมภาพรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่รู้ละเอียดครอบคลุมทั้งหมด เพราะยังเป็นผู้ใหม่อยู่” พระราชาทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ขอจงได้แสดงโอวาทที่พ่อเณรรู้แก่โยมบ้างเถอะ

    สามเณรได้กล่าวหัวข้อธรรม เรื่องความไม่ประมาทให้พระราชาได้สดับว่า อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย จากนั้นก็เทศน์ด้วยสำเนียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง นี่ขนาดถ่อมตนว่ารู้น้อยแล้ว แต่เทศน์ได้ยอดเยี่ยมมาก ไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย พระราชาพอได้สดับแล้ว ก็ปลื้มปีติในธรรมที่สามเณรน้อยได้แสดง ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะขอบูชากัณฑ์เทศน์ด้วยการถวายภัตรประจำแก่พ่อเณรวันละ ๘ สำรับ

    สามเณรถวายพระพรว่า “ มหาบพิตร อาตมภาพ จะถวายธุวภัตรเหล่านั้นแก่พระอุปัชฌาย์” พระราชาตรัสถามว่า “ พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌาย์ของท่านคือใคร” สามเณรถวายพระพรว่า “ มหาบพิตร ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่ แล้วคอยตักเตือน และให้ระลึกไม่ให้ทำบาปอกุศล ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์”

    พระราชาทรงรับสั่งว่า “ พ่อเณร งั้นโยมจะถวายภัตรเพิ่มอีก ๘ สำหรับ แก่พ่อเณร” สามเณรก็ถวายพระพรว่า “ มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตรเหล่านั้นแก่พระอาจารย์” พระราชาตรัสถามว่า “ พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้คือใคร” สามเณรถวายพระพรว่า “ มหาบพิตร ผู้ที่ให้อันเตวาสิก และสัทธิวิหาริก ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษาในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์”

    พระราชาทรงรับสั่งว่า “ ดีละ พ่อเณร โยมมีจิตศรัทธาจะถวายภัตร เพิ่มอีก ๘ สำหรับเพื่อพระอาจารย์ของสามเณรด้วย” สามเณรเป็นคนรักในการให้ทานเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว ก็ถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตรเหล่านั้นแก่พระภิกษุสงฆ์” พระราชาทรงสงสัยในคำที่สามเณรนำมากล่าว เลยตรัสถามว่า “ พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าภิกษุสงฆ์นี้ คือบุคคลเช่นไร” สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร บรรพชา และอุปสมบทของอาจารย์ และอุปัชฌาย์ของอาตมภาพ และบรรพชาของอาตมภาพ อาศัยหมู่ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้น ชื่อว่าภิกษุสงฆ์

    พระราชาทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงรับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะถวายภัตรเพิ่มอีก ๘ สำรับสำหรับภิกษุสงฆ์ สามเณรจึงทูลรับว่า ขออนุโมทนากับมหาบพิตรด้วย ในวันรุ่งขึ้นสามเณรจึงได้ไปอาราธนาภิกษุ ๓๒ รูป เข้าไปภายในพระราชวัง เพื่อรับภัตตาหารจากพระราชา

    พระราชาเห็นหมู่ภิกษุสงฆ์และเลื่อมใส จึงนิมนต์มาเพิ่มอีก ๓๒ รูป ให้มาฉันภัตตาหารในพระราชวัง จากนั้นก็ทรงให้เพิ่มภิกษุมากขึ้นทุกวันๆ จาก ๓๒ รูป เป็น ๖๔ รูป จาก ๖๔ รูป เป็น ๑๒๘ รูป เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น ๒๕๖ รูป ยิ่งเห็นภิกษุสงฆ์มาเป็นเนื้อนาบุญมาก ก็ยิ่งปีติในมหาทานที่ได้ทำไป ได้ทรงตัดภัตรของพวกนักบวชนอกศาสนาออก แล้วได้ทรงตั้งนิตยภัตรไว้สำหรับภิกษุหกแสนรูป ภายในพระราชนิเวศน์ เพราะความเลื่อมใสที่มีต่อสามเณรนิโครธนั่นเอง ฝ่ายสามเณรนิโครธได้แนะนำให้พระราชาพร้อมทั้งเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริพาร ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ และให้สมาทานศีล ๕ ท่านได้เข้าไปเทศน์สอนธรรมะ แนะนำการทำสมาธิภาวนาในพระราชวังเป็นประจำ ให้ทุกคนดำรงมั่นอยู่ในพระรัตนตรัย เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ สามเณรนิโครธก็ได้บวชเป็นพระภิกษุผู้เป็นสมณะแท้อย่างแท้จริง

    เราจะเห็นว่า อานุภาพของผู้ได้ชื่อว่าเป็นสมณะแท้นั้น สามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจผู้ไม่ได้เลื่อมใสในพระศาสนา ให้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก ผู้ที่ได้ชื่อว่าสมณะนั้น จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่ เอาผ้าเหลืองมาห่มคลุมกายเพียงอย่างเดียว แต่ข้องเกี่ยวไปถึงจิตใจ ที่สะอาดบริสุทธิ์สงบนิ่งอยู่ภายในด้วย

    สมณะคือบุคคลต้นแบบในอุดมคติของชาวโลก คนดี และความดีหากมีอยู่ในที่ใด ย่อมทำให้ที่แห่งนั้นมีความสุข ไม่เพียงแต่เท่านั้น เรื่องราวของความดี และวิถีชีวิตของคนดี ยังสามารถเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการทำความดี อย่างกว้างขวางต่อเนื่องไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนอย่างชีวิตของสามเณรนิโครธที่นึกถึงคราใดก็ปลื้มใจทุกครั้ง เพราะท่านเป็นต้นเหตุให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาถึงยุคของพวกเรา ดังนั้น เราต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ยิ่งด้วยชีวิต และตั้งใจปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในให้ได้ จะได้เป็นอายุพระพุทธศาสนากันทุกคน
    ที่มา...สามเณรนิโครธ (๒)
     
  8. มองทุกมุม

    มองทุกมุม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2013
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +1,822
    มงคลที่ ๒๙ การได้เห็นสมณะ

    ๏ การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ

    แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา

    หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา

    ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี.

    คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย ๓ อย่างคือ

    ๑.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม

    ๒.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี

    ๓.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา

    การได้เห็นสมณะมีอยู่ดังนี้คือ

    ๑.เห็นด้วยตา ความหมายก็ตรงตัวคือการเห็นจากการสัมผัสด้วยสายตาของตนเอง แล้วมีความประทับใจในความสำรวมในกาย

    ๒.เห็นด้วยใจ เนื่องจากความสำรวมกาย วาจา ใจของสมณะจะช่วยโนัมน้าวจิตใจของเราให้โอนอ่อนผ่อนตาม และรับฟังหลักคำสอนด้วยใจที่ยินดี ซึ่งนั่นก็หมายถึงการเปิดใจเราให้สมณะได้ชี้นำนั่นเอง

    ๓.เห็นด้วยปัญญา หมายความถึงการรู้โดยการใช้ปัญญาใคร่ครวญ พิจารณาในการสัมผัส และเข้าถึงและรับรู้ถึงคำสอนของสมณะผู้นั้น และรู้ว่าท่านเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอย่างแท้จริง

    เมื่อเห็นแล้วก็ต้องทำอย่างนี้คือ

    ๑.ต้องเข้าไปหา คือเข้าไปขอคำแนะนำ ชี้แนะจากท่าน หรือให้ความเคารพท่าน

    ๒.ต้องเข้าไปบำรุงช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือท่านในโอกาสอันควร เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน

    ๓.ต้องเข้าไปฟัง คือการรับฟังคุณธรรม หลักคำสอนของท่านมาไว้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิต

    ๔.หมั่นระลึกถึงท่าน คือการระลึกถึงความดีที่ท่านมีแล้วนำมาเป็นตัวอย่างกับตัวเราเอง

    ๕.รับฟังรับปฏิบัติ คือการรับคำแนะนำของท่านมาปฏิบัติทำตามเพื่อให้เกิดผล ครั้นเมื่อติดขัดก็ใคร่แก้ไขเพื่อให้รู้จริงเห็นจริงตามนั้น


    ที่มา...http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem29.php

    การได้เห็นสมณแท้ จะทำให้เรารู้สึกชุ่มชื่นใจอย่างบอกไม่ถูก แต่ก็หายากหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีเสียเลยทีเดียว ส่วนคนเทียมสมณะนั้นมีอยู่ทั่วไปเห็นแล้วไม่สบายใจ แต่ก็ต้องทำใจเพราะกรรมใดใครก่อ...ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...