พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ควันหลงจากทริปงานบุญ 3 วัด ในวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564

    .

    ทริปงานบุญนี้ ผมได้นำคำถามที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนหน้า ที่นำไปขอความรู้ในทางธรรมะ กับ พระสงฆ์

    ที่แต่เดิม ผมใช้การตั้งคำถามที่นั้นเลย

    ผมจะเขียนมาเฉพาะที่ผมลงแล้วจะได้ประโยชน์กับท่านผู้อ่านเป็นสำคัญ

    .

    การสนทนาธรรมะกับพระอาจารย์สวง วัดเขาพระ (จ.ลพบุรี)

    .

    เรื่องแรก คนที่ด่าพ่อแม่คนอื่น

    เมื่อไม่เคยด่าพ่อแม่คนอื่น คนอื่นไม่ด่าพ่อแม่เรา

    เมื่อไม่ต้องการให้ใครมาด่าพ่อแม่เรา เราต้องไม่ไปด่าพ่อแม่ของคนอื่น ถ้าเราทำเป็นปกติ

    ในเรื่องนี้ อยู่ในหลัก มงคลสูตร เมื่อเราไหว้เขาแล้ว เขาจะไหว้เราตอบ , เขาด่าเรา เราก็ด่าตอบ ถ้าในชาติภพปัจจุบัน เราไม่เคยด่าพ่อแม่คนอื่น แสดงว่า ในภพชาติที่ผ่านมา เราเคยไปด่าพ่อแม่คนอื่นไว้ ภพชาติที่แล้วเคยไปกระทำกับเขาไว้ ในชาตินี้เขาก็เลยมาเอาคืน

    แต่ในเมื่อรู้แล้วว่า การกระทำนี้ไม่ดีและไม่ถูกต้อง เราต้องอโหสิกรรม จึงส่งผลให้กรรมอันนั้นหลุดไป แต่ถ้าไม่อโหสิกรรม เหมือนกับการผูกข้อต่อของโซ่ในแต่ละห่วงไว้ และผลนั้นติดตามต่อไปในภพชาติหน้าอีก

    ดังนั้น ต้องตัดโซ่(กรรม)อันนั้นให้ได้

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในเรื่อง อภัยทาน ที่เป็นทานที่มีอนิสงค์สูงที่สุด


    หมายเหตุ มงคลสูตร อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


    มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

    color:black">[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    color:black">
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    color:black">
    [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
    color:black">
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การไม่คบคนพาล ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การคบบัณฑิต ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">พาหุสัจจะ ๑
    16.0pt;font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ศิลป ๑
    font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การบำรุงมารดาบิดา ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ทาน ๑
    font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การประพฤติธรรม ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การสงเคราะห์ญาติ ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การงดการเว้นจากบาป ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความเคารพ ๑
    16.0pt;font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความประพฤติถ่อมตน ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความสันโดษ ๑
    16.0pt;font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความกตัญญู ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    color:black" lang="TH">ความอดทน ๑
    color:black">
    ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ความเพียร ๑
    16.0pt;font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">พรหมจรรย์ ๑
    16.0pt;font-family:"Cordia New",sans-serif;color:black">
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การเห็นอริยสัจ ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ไม่เศร้าโศก ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">ปราศจากธุลี ๑
    "Cordia New",sans-serif;color:black" lang="TH">เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
    color:black">
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ
    จบมงคลสูตร

    ที่มา เว็บไซด์ 84000

    จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน มงคลสูตร (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    .

    เรื่องที่สอง การที่บุคคลที่รู้จักกันในภพชาตินี้ ต้องเคยรู้จักกันในภพชาติที่แล้วเสมอ เพราะผลของกรรมที่เคยได้ร่วมกระทำกันมา เช่น บางคนที่พึ่งเคยเห็นหน้า แต่ไม่ชอบหน้า (ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน) แสดงว่า ในอดีตชาติเคยกระทำกรรมที่ไม่ดีต่อกันมา

    เมื่อพบหน้ากัน จิตเราเกิด ปฎิฆะ (ความไม่ยินดีพอใจ อยู่ใน อนุสัย 7) คือ การกระทบกระทั่งในจิตเรา

    ทุกคนมีสัญญาเก่า (การกระทำต่อกันในอดีตชาติ) และ สัญญาใหม่ (การเกิดใหม่ในภพปัจจุบัน) ขาดจากกัน เนื่องจากต่างภพต่างชาติที่ได้เกิดขึ้นมา แต่สัญญาเก่า (ความกระทบกระทั้งของจิต) ในส่วนลึกยังคงอยู่ในจิต (ที่บันทึกกรรมไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว) เสมอ

    .

    หมายเหตุ อนุสัย 7 อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    อนุสัย 7 คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เหมือนตะกอนนอนอยุ่ที่ก้นภาชนะ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมาทำน้ำให้ขุ่นเพราะมีคนไปกระทบหรือกวนภาชนะฉันใด อนุสัยกิเลสก็เช่นเดียวกัน จะฟุ้งขึ้นมาทำจิตให้ขุ่นมัว ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบเช่นเดียวกันฉันนั้น[1]

    อนุสัย 7 เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกิเลสที่มีในสังโยชน์ อนุสัย 7 นี้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7 ประกอบด้วย

    · ทิฏฐิ การหลงในความเห็น (สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตตปรามาส)

    · วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    · ปฏิฆะ ความไม่ยินดีพอใจ

    · ราคะ ความยินดีพอใจในกาม(กามราคะ)

    · ภวราคะ ความยึดติดในภพ ทั้ง รูปภพ อรูปภพ

    · มานะ ความสำคัญว่าดีกว่า เสมอกัน เลวกว่า ในสิ่งทั้งปวง

    · อวิชชา ความไม่รู้จริง

    ที่มา วิกิพีเดีย

    จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน อนุสัย 7 (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    .

    เรื่องที่สาม การพูดเอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรามีกรรมเป็นผู้นำมามอบให้ เรามีกรรมเป็นผู้นำไปเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์และพวกพ้อง เรานั่นแหละเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น หนีไม่พ้น ขนาดสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น

    หมายเหตุ กรรมของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ท่านต้องรับกรรมในขณะที่พระองค์ท่านเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว โดยพระอาจารย์สวง ท่านนำมาพูดก็คือ เรื่อง ห้ามผู้อื่นดื่มน้ำ ทำให้ต้องอดน้ำ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ชาติปางก่อน เรา เมื่อครั้งเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง ได้เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้ไม่ให้ดื่ม ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา
    มีเรื่องกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพานหลังจากเสวยพระกระยาหารที่นายจุนทกัมมารบุตรจัดถวายแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต(ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด) ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส(กระหายน้ำอย่างมาก) แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาไว้ ตรัสชวนท่านพระอานนท์ ออกเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ระหว่างทางทรงหยุดพักและรับสั่งให้พระเถระนำน้ำดื่มมาถวาย แต่พระอานนท์กราบทูลว่า น้ำในแม่น้ำตรงนั้น มีน้ำน้อยและถูกกองเกวียน ๕๐๐ เล่มเหยียบย่ำไปก่อนหน้านั้นแล้วก็ไม่ไปตักมาถวาย จนพระองค์ต้องรับสั่งในครั้งที่ ๓ พระอานนท์จึงไปตักน้ำนำมาถวายให้พระองค์ได้ทรงดื่ม และน้ำที่พระอานนท์ไปตักนั้น กลับเป็นน้ำใสสะอาด น่าอัศจรรย์ใจมาก

    .

    หมายเหตุ อภิณหปัจจเวกขณ์ อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    ชราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะติโต เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

    พะยาธิธัมโมมหิ พะยาธิง อะนะตีโต เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

    มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

    สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย

    กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์

    กัมมะปะฏิสะระโน ยัง กัมมัง กะริสสามิ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้

    กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม

    ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

    เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.

    จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน อภิณหปัจจเวกขณ์ (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    .

    เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องของคนที่มีอำนาจแล้วใช้อำนาจในการสั่งผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเป็นการเอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา , เรื่องที่คนที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนให้ทำงานให้กับตนเอง โดยผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนต้องใช้เงินและทรัพย์สินของตนเองที่ได้(จากการทำงาน)มาด้วยความสุจริตและบริสุทธิ์ เพื่อให้ทำงานให้กับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบริษัทห้างร้านต่างๆ และเรื่องของการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนและการจ่ายโบนัส ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการ , รัฐวิสาหกิจ และ บริษัทห้างร้านต่างๆ

    บุคคลที่มีอำนาจอยู่ในปัจจุบัน เป็นคนที่บุญเก่าที่ตนเองได้เคยกระทำไว้ได้ส่งผลให้เป็นคนที่มีอำนาจอยู่ แต่หากหมดบุญที่ส่งผลให้อยู่นั้น และผลกรรมชั่วที่ตนเองได้เคยกระทำไว้ในอดีตส่งผลมาแทนที่ คนนั้นก็เหมือนกับหมาขี้เรื้อนตัวนึงเท่านั้น

    .

    คนที่สั่งการในลักษณะนี้ เป็นผู้ที่มี อคติ 4 คือ

    1.มีความลำเอียงเพราะความรักใคร่

    2.มีความลำเอียงเพราะความโกรธ

    3.มีความลำเอียงเพราะความเขลา

    4.มีความลำเอียงเพราะความกลัว

    .

    ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในปัจจุบัน เนื่องจากผลบุญยังคงส่งผลให้อยู่ เหมือนกับน้ำที่พ้นตอไม้(ที่อยู่ใต้น้ำ) แต่เมื่อไหร่ที่ผลบุญที่ส่งผลให้อยู่นั้นหมดลง กรรม(ชั่ว)จะส่งผลให้เมื่อถึงเวลา เปรียบเหมือนกับเวลาที่น้ำลดแล้วตอไม้(ที่เดิมอยู่ใต้น้ำ) โผล่พ้นน้ำมาให้เห็นนั่นเอง

    เปรียบเหมือนกับเวลาที่เดินบนพื้นดิน(ที่ผลบุญส่งผลให้อยู่) พอเดินไปปรากฎว่ากลายเป็นอากาศ ทำให้การเดินนั้นตกลงเหว) นั่งคือผลกรรม(ชั่ว)ส่งผลให้กับบุคคลนั้น เช่น คนที่รุกผืนป่าที่เมื่อก่อนเป็นคนมีอำนาจ แต่เมื่อหมดอำนาจนั้นๆ ส่งผลให้ถูกดำเนินคดี เป็นต้น

    .

    ปัจจุบันบุคคลส่วนใหญ่เห็นเงินเป็นพระเจ้า อำนาจ , เงินตรา , ยศฐา และ ชื่อเสียง เป็น โลกธรรม8 ครอบสัตว์โลกไว้ และ ให้สัตว์โลกเป็นไปตามโลกธรรมนี้

    .

    ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องกระทำในงาน(ที่แจ้งไว้ด้านบน) ส่วนใหญ่เป็นการกระทำเพราะกลัว เช่น กลัวตกงาน , กลัวอำนาจของผู้บังคับบัญชาจะมาทำร้าย เหมือนกับผู้ใต้บังคับบัญชาไป #ต่อตีนโจร ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ทำงาน งานนั้นก็ทำไม่สำเร็จ เช่น โจรจะเข้าไปขโมยของ ถ้าไม่มีบริวารโจรที่คอยช่วยเหลือแล้ว โจรก็ไม่สามารถเข้าไปลักทรัพย์นั้นได้ ในการกระทำนี้เป็นการกระทำให้เกิดกรรมเช่นกัน เมื่อตายไปแล้ว ไปเกิดในภพชาติใหม่ คนที่ต่อตีนโจรต้องกลับไปเป็นบริวารของโจรอีก อีกทั้งผลของกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นคนที่ต่อตีนโจร ได้รับผลเช่นเดียวกันกับผู้บังคับบัญชาเช่นกัน

    แต่หากผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ต้องการไปต่อตีนโจร ก็ต้องฝืน(ไม่ยอม) อะไรจะเกิดขึ้นตามมา ก็ให้เป็นไป (กลัวหรือเปล่าที่ไม่ต่อตีนโจร) เช่น ตกงานก็ยอม เป็นอะไรก็เป็นกัน ต้องไม่เกรงกลัวในอำนาจของผู้บังคับบัญชา เงินไม่มีไม่เป็นไร ไม่มียศฐา ไม่เป็นไร ไม่มีชื่อเสียงไม่เป็นไร

    แต่โลกในยุคปัจจุบันอยู่ได้ด้วยเงิน เมื่อขาดเงินก็ไม่สามารถอยู่ได้

    เรื่องนี้ต้องตัดสินใจเลือกหนทางในเรื่องของ ต่อตีนโจร ให้รอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน

    .

    หมายเหตุ อคติ 4 อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    อคติ 4 ประการ และแนวทางการละอคติ


    อคติ 4 หมายถึง วิถีในทางที่ผิดหรือการดำเนินไปในทางที่ผิด ทั้งนี้ อันเกิดจากทัศนะหรือความคิดเห็นในทางที่ผิด ซึ่งต่อมาจึงใช้คำให้เข้าใจง่ายเป็น ความลำเอียง หรือ ความไม่เที่ยงธรรม ประกอบด้วย 4 ประการ คือ


    1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบพอ
    2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรือชิงชัง
    3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะหลง หรือ ความลำเอียงเพราะความเขลา
    4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัว

    อคติ 4 เป็นธรรมสำหรับปุถุชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือเป็นข้าราชการ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นสัจจะความจริงที่มักเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้ และมีผลอย่างมากต่อการบริหารงาน ต่อการปกครอง และความสงบสุขของสังคม

    ผู้นำ หัวหน้างานหรือฝ่ายปกครองที่ละเว้นจากอคติ 4 ประการนี้ได้ ย่อมทำให้ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือประชาชนเกิดความสุข อันส่งผลต่อความเจริญของสังคม และความสงบสุขของสังคมตามมา

    อคติ มาจากภาษาบาลี คำว่า
    อะ หมายถึง ผิด, ไม่, ไม่ถูกต้อง, ไม่ดีงาม, ไม่สมควร
    คติ หมายถึง วิถี, แนวทาง, สิ่งที่เป็นไป, การดำเนินไป, ความเป็นไป, การตอบสนอง, การแสดงออก

    คติ มีความแตกต่างกับ ทัศนะ คือ
    ทัศนะ หมายถึง ความเห็น, ความคิดเห็น, มุมมอง ส่วน คติ หมายถึง ดังข้างต้น ดังนั้น ทัศนคติ จึงหมายถึง การแสดงออก หรือ วิถีที่ดำเนินไปอันเกิดจากความคิดหรือความเห็น

    ความหมายที่ครอบคลุมของอคติ


    – วิถีในทางที่ผิด
    – แนวทางที่ผิด
    – สิ่งที่เป็นไปในทางที่ไม่ดีงาม
    – การดำเนินไปในทางที่ผิด
    – ความลำเอียง
    – ความไม่เที่ยงธรรม
    – ความไม่เป็นกลาง

    ความหมายของอคติแต่ละประการ


    1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบพอ
    ฉันทาคติ มาจากคำว่า ฉันทะ + อคติ
    ฉันทะ หมายถึง ความชอบใจ หรือ ความพอใจ

    2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรือชิงชัง
    โทสาคติ มาจากคำว่า โทสะ + อคติ
    โทสะ หมายถึง ความโกรธ

    ปัจจัยที่ก่อเกิดความโกรธหรือชิงชังในคัมภีร์ปริวาร
    – โกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
    – โกรธเพราะกำลังทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
    – โกรธเพราะคิดจะทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
    – โกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
    – โกรธเพราะกำลังทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
    – โกรธเพราะคิดจะทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
    – โกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
    – โกรธเพราะกำลังทำซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
    – โกรธเพราะคิดจะทำซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง

    3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะหลง หรือ ความลำเอียงเพราะความเขลา
    โมหาคติ มาจากคำว่า โมหะ + อคติ
    โมหะ หมายถึง ความหลง ความลุ่มหลง

    4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัว
    ภยาคติ มาจากคำว่า ภยะ + อคติ
    ภยะ หมายถึง ความกลัว ความหวาดหวั่น หรือ มักเรียกกลายเป็นศัพท์ว่า ภัย

    แนวทางการละอคติ 4
    1. ไม่คบคนพาล
    2. จักกสูตร 4 ประการ
    – อยู่ในประเทศอันสมควร หมายถึง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นคนดี
    – การคบสัตบุรุษ
    – การตั้งตนไว้ชอบ คือ ยึดมั่นในการประพฤติตนให้เป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอ
    – ความเป็นผู้มีบุญที่ทำไว้ในปางก่อน คือ เชื่อถือในความดีงามที่ทำมาว่าจะเกิดกุศลกรรมที่ดีงามต่อเราในภพนี้ และภพหน้า
    3. สัมมาทิฏฐิ คือ ตั้งมั่นในความเห็นชอบ
    4. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาสภาพจิตของตนเอง
    5. กุศลวิตก 3 คือ การตรึกตรองถึงสิ่งที่เป็นกุศล 3 อย่าง คือ
    – การตรึกตรองที่เว้นจากกาม
    – การตรึกตรองที่เว้นจากพยาบาท
    – การตึกตรองที่เว้นจากการเบียดเบียน
    6. สาราณียธรรม 6
    7. พรหมวิหาร 4

    ที่มา thaihealthlife

    จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน อคติ 4 (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    .

    หมายเหตุ โลกธรรม 8 อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    โลกธรรม ๘

    ภิกษุทั้งหลาย
    โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
    ๘ ประการเป็นไฉน คือ
    มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ แปดอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์ ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา,
    ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้วย่อมเพ่งอยู่ในความแปรปรวน เป็นธรรมดาของโลกธรรมนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย
    ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุข
    ก็ดี ทุกข์ก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
    ภิกษุทั้งหลาย
    ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไรเป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

    ภิกษุทั้งหลาย
    ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ความเสื่อมลาภ ... ยศ ... ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ ...แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ... แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์
    เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ

    ภิกษุทั้งหลาย
    ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัดทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภ ... ยศ ...ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้ แม้ความเสื่อมลาภ ... แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ... แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้ ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย
    นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

    พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง)
    เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๒๓ ข้อที่ ๙๖.
    (บาลี อฏฐก. อํ. ๒๓/๑๕๙/๙๖.)

    ที่มา buddhawajana

    จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน โลกธรรม 8 (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    .

    เรื่องที่ห้า เรื่องของการอโหสิกรรม

    การกระทำกรรมต่อกัน ฝ่ายหนึ่งมีการอโหสิกรรมให้กับบุคคลที่มากระทำกรรมต่อตนเอง แต่อีกฝ่ายไม่อโหสิกรรมให้ เหมือนกับคนที่ส่งของมาให้ทางไปรษณีย์ หากผู้รับ ไม่รับของชิ้นนั้น ของชิ้นนั้นต้องกลับไปยังผู้ส่งเสมอ

    .

    หมายเหตุ อโหสิกรรม อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    อโหสิกรรม แปลว่า ได้มี ได้เป็น

    พระศาสดาใช้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน

    ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต.
    ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศเป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

    ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่สี่) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบากเป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ.
    ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน.

    ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากอทินนาทานแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.
    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สอง เป็นมหาทานรู้จักกันว่า เป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

    ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่ห้า) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข อันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
    ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร.
    ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารแล้วย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอันไม่มีประมาณ.
    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

    ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่หก) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๐๘๔
    (ไทย)อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙.

    ที่มา buddhawajana

    จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน อโหสิกรรม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์สวง ท่านให้ธรรมะมา)

    .

    รักษาธรรม ธรรมรักษา

    Noom Wangna

    ผู้เขียน ที่ได้เรียบเรียงจากการสนทนาธรรมะกับพระอาจารย์สวง วัดเขาพระ จ.ลพบุรี

    บทความ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

    #พระอาจารย์สวงกิตติสาโร

    #วัดเขาพระ

    #ชมรมพระวังหน้า

    #คณะพระวังหน้า
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่ และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจ และเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี
    พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร
    ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๕
    พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    .
    .
    .
    การที่จะให้งานประสานกันนั้น มีหลักสำคัญอยู่ว่า ทุกฝ่ายจะต้องไม่แบ่งแยกกัน ไม่แย่งประโยชน์ ไม่แย่งความชอบกัน แต่ละฝ่าย แต่ละคน ต้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลสำเร็จในการงานเป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น
    พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
    พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    .
    .
    .
    .
    .
    การอัญเชิญพระบรมราโชวาท ของรัชกาลที่ 9
    ผู้ที่อัญเชิญ ต้องมีความมั่นใจว่า ตนเองก็ต้องทำได้จริง
    ไม่อย่างนั้น จะเป็นเพียงแค่พูดเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น
    .
    ส่วนตัว มั่นใจตนเองได้ว่า ทำดีได้จริงๆ
    .
    ส่วนตัว ทำงานใช้หลักกฎแห่งกรรมเป็นเกณฑ์ นอกเหนือจาก กฎหมาย และ กฎระเบียบ
    .
    ไม่เคยใช้อำนาจไปข่มขู่ใคร
    .
    ไม่เคยสนับสนุนคนที่กระทำไม่ดี โดยใช้ข้ออ้างต่างๆนานา
    .
    ไม่เคยทำงานเอาเปรียบใคร
    เก็บงานไว้ทำเองทั้งหมด ไม่แบ่งงานให้คนอื่นช่วยกันทำงาน
    .
    ไม่เคยทำงานอย่างเห็นแก่ตัว
    .
    เพราะ การกระทำต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำด้วยตนเองทั้งสิ้น
    .
    ไม่เคยมีใครนำปืนไปจ่อหัวให้กระทำ
    .
    ถ้ามีการอัญเชิญพระบรมราโชวาท แต่กระทำไม่ได้ได้จริง
    .
    นั่นคือ No Action Talk Only
    .
    นั่นคือ การกระทำกรรม #มุสาวาท
    .
    ผลของ มุสาวาท ผมเคยลงไปหลายรอบแล้ว
    .
    และเรื่องของ บุพกรรมของพระพุทธเจ้า ผมเคยลงไปหลายรอบเช่นเดียวกัน
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    กัมมุนา วัตตติ โลโก สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
    โพสโดย dhammatharn
    .
    "กัมมุนา วัตตติ โลโก"
    .
    สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
    .
    ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    .
    อุทฺเทส กมฺมปจฺจโย เพราะมีเจตนาตั้งใจเป็นปัจจัย
    .
    กัมมปัจจัย หมายถึงการกระทำของจิตใจที่เป็นเหตุให้เกิดผล หรือให้สำเร็จกิจในหน้าที่ของตนเรียกว่า "กรรม"
    .
    ดังพุทธภาษิตกล่าวไว้ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาตว่า...
    .
    "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา"
    .
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาคือตัวกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำ
    .
    ดังจะเห็นได้ว่าการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ จะเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม ต้องอาศัยเจตนาเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าในการกระทำนั้นๆ ฉะนั้น เจตนาจึงเป็นตัวกรรม หรือเป็นหัวหน้าของสังขารขันธ์ทั้งหลาย
    .
    กัมมปัจจัยที่กล่าวว่า เป็นปัจจัยให้เกิดผล ก็เพราะทำหน้าที่เพาะพืชพันธุ์ให้เกิดผลในอนาคต เรียกว่า พีชนิธานกิจ คือ ทำกิจสั่งสมพืชเชื้อเพื่อให้งอกต่อไปในอนาคต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย
    .
    พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ถือการกระทำเป็นใหญ่ เป็นกรรมนิยม ซึ่งผิดกับศาสนาอื่นที่ถือเทวนิยม เป็นต้น เพราะเข้าใจว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นด้วยการบันดาลของเทพเจ้า
    .
    แต่ส่วนของพระพุทธศาสนาถือว่า สัตว์ทั้งหลายจะดีหรือชั่วย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเอง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้อื่น หรือขึ้นอยู่กับวงศ์ตระกูล เพราะการทำดีทำชั่วต้องทำด้วยตนเอง ไม่ใช่มีผู้อื่นมาทำให้ได้ เหตุนี้สัตว์ทั้งหลายจึงมีกรรมเป็นของตน เรียกว่า...
    .
    กมฺมสฺสโกมฺหิ เมื่อทำกรรมไว้อย่างไร ก็ต้องรับผลของกรรมนั้นตามที่ทำไว้
    .
    กมฺมทายาโท คือเป็นทายาทของกรรมที่ทำแล้ว จึงจำแนกสัตว์ให้ไปเกิดในที่ต่างๆกัน
    .
    กมฺมโยนิ คือมีกรรมเป็นกำเนิด และกรรมที่ทำแล้วยังจะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง จะไม่สูญหายไปใหน
    .
    กมฺมพนฺธู คือมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ แม้พ่อ-แม่ญาติพี่น้อง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่แท้จริง คือชาตินี้เป็นญาติกัน แต่พอตายแล้วก็แยกย้ายกันไป แต่ส่วนกรรมที่ทำแล้วย่อมจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน.
    .
    ถ้าทำกรรมดีก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ดี ญาติดีก็จะอุปถัมภ์ค้ำชูให้มีความสุข ความเจริญ แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ชั่ว ญาติชั่วก็จะติดตามล้างผลาญให้เป็นทุกข์เดือดร้อนเรื่อยไป กรรมจึงเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์โลก
    .
    กมฺมปฏิสรโณ เพราะเมื่อกรรมชั่วให้ผลอยู่ แม้ญาติพ่อ-แม่พี่น้องตลอดจนผู้มีอำนาจราชศักดิ์ ก็ไม่อาจช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ แต่ถ้ากรรมดีให้ผลอยู่ แม้ใครจะคิดร้ายทำลายชีวิตก็ไม่อาจถูกทำลายได้เลย.
    .
    อีกนัยหนึ่ง ท่านเปรียบกรรมคือการทำกุศล อกุศล ส่วนผลคือวิบาก เปรียบเหมือนเงา เมื่อมีคนที่ใหนก็ต้องมีเงาที่นั่น คือมีกรรมก็ต้องมีวิบากรับผล.
    .
    ที่มา oknation
    .
    .
    .
    กฎแห่งกรรม
    .
    พระราชสุทธิญาณมงคล
    .
    P15001
    .
    ปัจจุบันคนเริ่มสงสัยในเรื่องกฎแห่งกรรม และบางคนก็ไม่ยอมเชื่อเรื่องนี้ ถึงกับมีคนเขียนเป็นคำกลอนว่า คนทำดีได้ดีมีที่ไหน คนทำชั่วได้ดีมีถมไป
    .
    ในเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กล่าวถึงอันตรายที่เกิดแก่สัตว์โลก ๕ อย่างคือ
    .
    ๑. กิเสสันตราย อันตรายอันเกิดจากกิเลส
    .
    ๒.กัมมันตราย อันตรายอันเกิดจากความชั่วที่ทำในปัจจุบัน
    .
    ๓. วิปากันตราย อันตรายอันเกิดจากวิบาก คือ ผลของกรรมที่ทำในอดีต
    .
    ๔. ทิษฐันตราย อันตรายอันเกิดจากทิฐิที่ผิด
    .
    ๕. อริยูปวันตราย อันตรายที่เกิดจากการจ้วงจาบพระอริยเจ้า
    .
    พระพุทธศาสนาสอนว่า บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว ได้รับสุขหรือทุกข์ ก็เพราะกรรม หรือการกระทำของตนเองทั้งสิ้น หากเราไม่ดำเนินตาทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ แม้จะสวดมนต์หรือวิงวอนขอร้อง ก็ไม่อาจจะช่วยให้เราพบความดีและความสุขได้ ถ้ามนุษย์จะมีความสุขได้ด้วยความภักดีและวิงวอน มนุษย์เราก็คงไม่ต้องทำอะไร
    .
    ความเชื่อในเรื่องกรรม
    .
    ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรมีศรัทธา ๔ อย่างคือ
    .
    ๑.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคณ และพระมหากรุณาธิคุณ
    .
    ๒. กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม คือเชื่อว่ากรรมมีจริง
    .
    ๓. วิปากสัทธา เชื่อเรื่องผลของกรรม คือเชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมให้ผลเสมอ
    .
    ๔. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่าผลที่เราได้รับ เป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันชาติหรืออดีตชาติ
    .
    จะเห็นได้ว่าความเชื่อหรือศรัทธา ๔ อย่าง เป็นความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับกรรม กฎแห่งกรรมจึงเป็นคำสอนที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ผู้เป็นชาวพุทธทุกคนจึงควรเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ควรพยายามศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ชาวพุทธที่ไม่เชื่อกฎแห่งกรรมหาใช่ชาวพุทธที่แท้จริงไม่ เขาเป็นเพียงชาวพุทธแต่เพียงในนาม ศาสนาพุทธมีประโยชน์แก่เขาเพียงใช้กรอกแบบฟอร์ม เพื่อไม่ให้ถูกว่าเป็นคนไม่มีศาสนาเท่านั้นเอง
    .
    คนที่เชื่อในเรื่องกรรม ย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อ คนที่เชื่อเรื่องกรรมย่อมสามารถอดทนรับความทุกข์ยากลำบาก ความผิดหวัง ความขมขื่น และเคราะห์ร้ายที่เกิดแก่ตนได้ เพราะถือว่าเป็นกรรมที่ทำมาแต่อดีต ไม่ตีโพยตีพายว่าโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม ตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำดีแล้วไม่ได้ดี คนที่เชื่อในเรื่องกรรมจะยึดมั่นอยู่ในการทำความดีต่อไป จะเป็นผู้สามารถให้อภัยแก่ผู้อื่น และจะเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ
    .
    คนที่ประกอบกรรมทำชั่วทั้งกาย วาจา และใจ ส่วนใหญ่เป็นคนไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องบุญและบาป ไม่เชื่อเรื่องตายแล้วเกิด คนพวกนี้เกิดมาจึงมุ่งแสวงหาทรัพย์สมบัติและความสุขสบายให้แก่ตัว โดยไม่คำนึงว่าทรัพย์สมบัติหรือความสนุกสนานที่ตนได้มาถูกหรือผิด และทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อนหรือไม่
    .
    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน กรรมนั้นย่อมเป็นของเราโดยเฉพาะ และเราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น จะโอนให้ผู้อื่นไม่ได้ เช่น เราทำกรรมชั่วอย่างหนึ่ง เราจะต้องรับผลของกรรมชั่วนั้น จะลบล้างหรอโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้ แม้ผู้นั้นจะยินดีรับโอนกรรมชั่วของเราก็ตาม กรรมดีก็เช่นเดียวกัน ผู้ใดทำกรรมดี กรรมดีย่อมเป็นของผู้ทำโดยเฉพาะ จะจ้างหรือวานให้ทำแทนกันหาได้ไม่ เช่นเราจะเอาเงินจ้างผู้อื่นให้ประกอบกรรมดี แล้วขอให้โอนกรรมดีที่ผู้นั้นทำมาให้แก่เราย่อมไม่ได้ หากเราต้องการกรรมดีเป็นของเรา เราก็ต้องประกอบกรรมดีเอง เหมือนกับการรับประทานอาหาร ผู้ใดรับประทานผู้นั้นก็เป็นผู้อิ่ม
    .
    มนุษย์เรามีภาวะความเป็นไปต่าง ๆ กัน เช่น ดีหรือชั่ว รวยหรือจน เจริญหรือเสื่อม สุขหรือทุกข์ ก็เนื่องจากกรรมของตนเองทั้งสิ้น และกรรมใดที่ทำลงไปจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมให้ผลตอบแทนเสมอ และย่อมติดตามผู้ทำเสมือนเงาติดตามตน หรือเหมือนกับล้อเกวียนที่หมุนตามรอยเท้าโคไปฉะนั้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย หากเราทำกรรมดีเราก็ได้รับความสุขความเจริญ กรรมดีจึงเหมือนกัลยาณมิตรที่คอยให้ความอุปการะ และส่งเสริมให้เราประสบแต่ความสุขและความเจริญ แต่ถ้าเราทำกรรมชั่ว กรรมชั่วก็คอยล้างผลาญเราให้ประสบแต่ความทุกข์และความเสื่อม
    .
    ความหมายและชนิดของกรรม
    .
    คนส่วนมากเข้าใจว่ากรรมคือการกระทำ ความเข้าใจนี้ไม่ผิด แต่เป็นความเข้าใจที่ยังไม่รัดกุมและถูกต้องทั้งหมด เพราะมีการกระทำบางอย่างที่ไม่นับว่าเป็นกรรม กรรมแท้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ ผู้ทำมีเจตนา และการกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือเป็นบาป ที่ว่าผู้ทำมีเจตนา มีหลักการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ไว้ใน นิพเพธิกปริยายสูตร ฉักกนิมาต อังคุตตรนิกายว่า
    .
    เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม
    .
    เจตนาก็ได้แก่ ความตั้งใจหรือความรับรู้ ซึ่งแบ่งไว้เป็น ๓ อย่างคือ
    .
    ๑. บุรพเจตนา เจตนาก่อนทำ
    .
    ๒. มุญจนเจตนา เจตนาในเวลาทำ
    .
    ๓. อปราปรเจตนา เจตนาเมื่อได้ทำไปแล้ว
    .
    การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่งถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนา คือใจไม่ได้สั่งให้ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรม เช่นคนเจ็บซึ่งมีไข้สูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำหยาบออกมา เอามือหรือเท้าไปถูกใครเข้าก็ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้พระที่วิกลจริตซึ่งล่วงเกินสิกขาวินัยไม่ต้องอาบัติ ทั้งนี้ก็โดยหลักเกณฑ์ที่ว่า ถ้าผู้ทำไม่มีเจตนา กระทำแล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นกรรม
    .
    ส่วนหลักเกณฑ์ข้อที่ ๒ ที่ว่า การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือเป็นบาป ก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ออกจากการกระทำของปุถุชน เนื่องจากพระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่มีความยึดถือในตัวตน การกระทำเรียกว่า อัพยากฤต ไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว บุญและบาปก็ไม่มี การกระทำของพระอรหันต์จึงไม่เรียกว่า กรรม แต่เรียกว่า กิริยา ส่วนปุถุชนยังมีความยึดมั่นในตัวตนอยู่ จะทำอะไรก็ยังยึดถือว่าตนเป็นผู้กระทำ การกระทำของปุถุชนจึงเป็นกรรม ย่อมจะก่อให้เกิดวิบากหรือผลเสมอ กรรมดีก็ก่อให้เกิดบุญ ส่วนกรรมชั่วก็ก่อให้เกิดบาป
    .
    คนบางคนเข้าใจว่ากรรมหมายถึง สิ่งไม่ดีคู่กับเวร หรือบาป เช่นที่เรียกว่า เวรกรรม หรือ บาปกรรม ตรงกันข้ามกับฝ่ายข้างดีซึ่งเรียกว่าบุญ ทั้งนี้เพราะเราได้ใช้คำว่ากรรมในความหมายที่ไม่ดี เช่นเมื่อเห็นใครต้องประสบเคราะห์ร้ายและถูกลงโทษ เราก็พูดว่ามันเป็นเวรกรรมของเขา หรือเขาต้องรับบาปกรรมที่เขาทำไว้ แต่ความจริงคำว่ากรรมเป็นคำกลาง ๆ หมายถึงการกระทำตามที่กล่าวมาแล้ว จะมุ่งไปในทางดีก็ได้ ทางชั่วก็ได้ ถ้าเป็นกรรมดี เราก็เรียกว่า กุศลกรรม ถ้าเป็นกรรมชั่ว เราก็เรียกว่า อกุศลกรรม
    .
    กรรมอาจจะจำแนกออกได้เป็นหลายประเภท หากแบ่งตามทางที่ทำก็แบ่งเป็น ๓ ทาง ได้แก่
    .
    ๑. กายกรรม กรรมที่ทำทางกาย
    .
    ๒. วจีกรรม กรรมแสดงออกทางวาจา
    .
    ๓. มโนกรรม กรรมทางใจ
    .
    ในกรรมบถ ๑๐ แบ่งกรรม ๓ ทางนั้นเป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล แต่ละฝ่ายมีรายละเอียดของกรรมหรือการกระทำดังนี้
    .
    กายกรรมหรือกรรมทางกาย แบ่งเป็นฝ่ายละ ๓ คือ
    .
    ๑. ฝ่ายอกุศล ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และผิดประเวณี
    .
    ๒. ฝ่ายกุศล คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ และเว้นจากการผิดประเวณี
    .
    วจีกรรม แบ่งเป็นฝ่ายละ ๔ คือ
    .
    ๑. ฝ่ายอกุศล ได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
    .
    ๒. ฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    .
    มโนกรรม แบ่งเป็นฝ่ายละ ๓ คือ
    .
    ๑. ฝ่ายอกุศล ได้แก่ เพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น ปองร้าย และเห็นผิดจากคลองธรรม
    .
    ๒. ฝ่ายกุศล ได้แก่ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น ไม่ปองร้าย และเห็นชอบตามคลองธรรม
    .
    ตามที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าแม้แต่การนึกคิดก็จัดว่าเป็นกรรมแล้ว เช่นเราคิดจะลักทรัพย์หรือทำร้ายคนอื่น แม้จะยังไม่ลงมือทำก็ถือเป็นกรรมชั่วแล้ว ซึ่งจะต้องมีผลตอบแทนแล้ว ผิดกับการลงโทษตามกฎหมายอาญา ซึ่งจะลงโทษได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำ ได้เตรียมการหรือลงมือกระทำแล้วเท่านั้น ลำพังความคิดที่จะกระทำความผิดยังหามีโทษไม่ ตามที่กฎหมายอาญาไม่เอาโทษการคิดที่จะกระทำความผิด ก็เพราะเป็นการยากที่จะพิสูจน์ความนึกคิดของบุคคล และเห็นว่ายังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่หลักของกรรม ถือความคิดชั่วเป็นความผิด ก็เนื่องจากว่าแม้ว่าคนอื่นยังไม่เสียหาย ผู้คิดเองก็เสียหาย ฉะนั้นจึงต้องมีวิบากติดตามมา จะเห็นได้ว่า การสนองผลของกรรมมีขอบเขตกว้างขวางกว่าการลงโทษของกฎหมายบ้านเมืองมาก
    .
    กรรม ๑๒ ประเภท
    .
    ในหนังสือวิสุทธิมรรค ซึ่งแต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ พระเถระชาวอินเดีย ได้แบ่งกรรมไว้ ๑๒ ประเภท ตามกาลเวลา ตามหน้าที่ และตามความหนักเบา
    .
    กรรมให้ผลตามเวลา
    .
    ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
    .
    ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
    .
    ๓. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
    .
    ๔. อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล คือให้ผลเสร็จไปแล้ว หรือหมดโอกาสจะให้ผลต่อไป
    .
    กรรมให้ผลตามหน้าที่
    .
    ๕. ชนกกรรม กรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
    .
    ๖. อุปถัมภกกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้ากรรมเดิมหรือชนกกรรมแต่งดี ส่งให้ดียิ่งขึ้น กรรมเดิมแต่งให้ชั่ว ก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
    .
    ๗. ปุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม คอยเบียนชนกกรรม เช่นเดิมแต่งมาดี เบียนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว เบียนให้ดี
    .
    ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับทีเดียวลงเป็นขอทานหรือตายไปเลย หรือเดิมชนกกรรมแต่งไว้เลวมาก กลับทีเดียวเป็นพระราชาหรือมหาเศรษฐีไปเลย
    .
    กรรมให้ผลตามความหนักเบา
    .
    ๙. ครุกรรม กรรมหนัก กรรมฝ่ายดี เช่น ทำสมาธิจนได้ฌาน กรรมฝ่ายชั่ว เช่นทำอนันตริยกรรม มีฆ่าบิดามารดาเป็นต้น เป็นกรรมที่จะให้ผลโดยไม่มีกรรมอื่นมาขวางหรือกั้นได้
    .
    ๑๐. พหุลกรรม กรรมที่ทำจนชิน
    .
    ๑๑. อาสันนกรรม กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย หรือที่เอาจิตใจจดจ่อในเวลาใกล้ตาย อาสันนกรรม ย่อมส่งผลให้ไปสู่ที่ดีหรือชั่วได้ เปรียบเหมือนโคแก่ที่อยู่ปากคอก แม้แรงจะน้อย แต่เมื่อเปิดคอกก็ออกได้ก่อน
    .
    ๑๒. กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือ เจตนาไม่สมบูรณ์ อาจจะทำด้วยความประมาทหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็อาจส่งผลดีร้ายให้ได้เหมือนกัน ในเมื่อไม่มีกรรมอื่นจะให้ผลแล้ว
    .
    เหตุที่คนคิดว่าทำดีไม่ได้ดี
    .
    มีคนบางคนที่ทำกรรมชั่ว แต่กลับปรากฏว่าเป็นคนร่ำรวย มีอำนาจวาสนา มีคนเคารพยกย่อง ส่วนคนบางคนทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันขันแข็ง กลับยากจน มีชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก หรือคนบางคนไม่ค่อยทำงานอะไร คอยประจบสอพลอและรับใช้เจ้านาย กลับได้ดี ได้เลื่อนเงินเดือนและตำแหน่ง ส่วนคนบางคนตั้งใจทำงานแต่ไม่ประจบเจ้านาย ไม่ค่อยรับใช้คุณหญิงคุณนายของเจ้านาย กลับไม่ได้ดี จึงทำให้คนคิดไปว่ากฎแห่งกรรมจะไม่จริง คำสั่งสอนที่ว่า
    .
    กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    .
    คงจะไม่เป็นความจริงเสียแล้ว การที่บางคนเห็นว่าทำดีไม่ได้ดี หรือทำชั่วไม่ได้ชั่ว เนื่องจากไม่เข้าใจ ๒ ประการ
    .
    ประการแรก ไม่เข้าใจในเรื่องการให้ผลของกรรม
    .
    ประการสอง ไม่เข้าใจในความหมายของคำว่าได้ดีและได้ชั่ว
    .
    การให้ผลของกรรม
    .
    การให้ผลของกรรมมีสองชั้น คือ การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดาอย่างหนึ่ง และการให้ผลของกรรมในชั้นศีลธรรมอีกอย่างหนึ่ง การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึงถึงว่าถูกหลังความชอบธรรมหรือไม่ เช่นนาย ก. โกงเงินหลวง หรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็จะได้เงินนั้นมา และถ้านาย ก. ใช้เงินซื้อบ้าน นาย ก. ก็จะได้อยู่บ้านนั้น นี่เป็นการให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา แต่การให้ผลของกรรมหาได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นไม่ กรรมที่ทำลงไปยังจะให้ผลในชั้นศีลธรรมอีก คือ ถ้าทำดีจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน และถ้าทำชั่วก็จะต้องได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น
    .
    กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาติหน้า ที่เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรมกรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ที่เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม
    .
    การปลูกพืชหรือต้นไม้ ไม่ใช่พอวางเมล็ดลงไปในดิน พืชหรือต้นไม้จะขึ้นและให้ผลทันที พืชบางอย่างก็ให้ผลเร็ว พืชบางอย่างก็ให้ผลช้าเป็นปี ๆ เช่นข้าว เพียง ๔-๕ เดือนก็ให้ผล แต่ต้นมะพร้าวหรือทุเรียน กว่าจะให้ผลก็ใช้เวลาถึง ๕ ปี
    .
    การที่คนทำความชั่วยังได้ดีมีสุขอยู่ จึงเป็นเพราะกรรมชั่วยังไม่ให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำยังเป็น อุปัตถัมภกกรรม คอยสนับสนุนอยู่ เมื่อใดที่กรรมดีอ่อนกำลังลง กรรมชั่วก็จะมาเป็น อุปฆาตกรรม ทำให้ผู้นั้นต้องเปลี่ยนสภาพไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเศรษฐีอาจจะต้องเป็นยาจก เคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจวาสนา อาจจะถูกฟ้องร้องต้องโทษจำคุก หรือต้องเที่ยวหลบหนีเร่ร่อนไม่มีแผ่นดินจะอยู่
    .
    คนที่ไม่เชื่อเรื่องของกรรม มักจะมองเห็นผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นผู้มีสายตามืดมัว มองไม่เห็นการให้ผลของกรรมชั้นศีลธรรม บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นคนไม่เชื่อในเรื่องตายแล้วเกิด คิดว่าคนเราเกิดมาเพียงชาตินี้ชาติเดียว ก็สิ้นสุดลง คนพวกนี้เมื่อทำความชั่วและความชั่วยังไม่ให้ผลก็คิดว่าตนเป็นคนฉลาด ดูถูกพวกที่เชื่อเรื่องกรรมว่าเป็นคนโง่ งมงาย คนพวกนี้เหมือนคนที่กินขนมเจือยาพิษ ตราบใดที่ยาพิษยังไม่ให้ผลก็คิดว่าขนมนั้นเอร็ดอร่อย สมตามพุทธภาษิตที่ว่า
    .
    มธุวา มญฺญติ พาโล ยาว ปาปํ น มุจฺจติ คนโง่ย่อมจะเห็นบาปเป็นน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล
    .
    การให้ผลของกรรม อาจแบ่งเป็นการให้ผลทางจิตใจ และการให้ผลทางวัตถุ
    .
    การให้ผลทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ทำโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เมื่อทำไปแล้วก็ได้รับผลทันที คือเมื่อทำกรรมดี ก็จะได้รับความสุขความปีติ แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็จะทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์ ส่วนการให้ผลทางวัตถุเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น จะทำให้ได้ดียากมาก
    .
    คนทำดี จะให้ได้ดีทางวัตถุ ต้องประกอบด้วยหลัก ๔ ประการคือ
    .
    ๑. คติสมบัติ ทำดีให้ถูกสถานที่
    .
    ๒. อุปธิสมบัติ ทำดีให้ถูกตัวบุคคล
    .
    ๓. กาลสมบัติ ทำดีให้ถูกเวลา
    .
    ๔. ปโยคสมบัติ ต้องทำดีให้ติดต่อกันไปเรื่อย ๆ
    .
    การที่คนทำกรรมดีและหวังผลดีในทางด้านวัตถุ เช่น หวังลาภ ยศ และสรรเสริญ แต่ไม่ได้รับผลดีตามต้องการ อาจจะเพราะไม่เข้าตามหลัก ๔ ประการข้างต้น คือ ไปทำความดีกับบุคคลที่ไม่มีความดี เช่น เราทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่เจ้านายของเราเป็นคนคอรัปชั่น การทำความดีของเราย่อมไม่เป็นที่ชื่นชมของเจ้านายของเรา การทำดีกับบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ผิดอะไรกับเอาเมล็ดพืชทิ้งลงไปบนหิน หรือพื้นดินแห้งแล้ง ฉะนั้นการทำความดีเราควรจะหวังผลในทางจิตใจมากกว่าวัตถุ บางคนอาจจะ ทำความดีจริงแต่อาจจะทำไม่ถึงดี คือ ทำดีเพียงเล็กน้อยแล้วก็หวังผลแห่งความดีนั้น เมื่อไม่ได้รับผลตอบแทนก็หมดกำลังใจ แล้วก็บอกว่าทำดีไม่เห็นได้ดี คนพวกนี้เหมือนคนปลูกพืชรดน้ำพรวนดินนิดหน่อย ก็หวังที่จะให้พืชได้ผล
    .
    ความหมายของคำว่าได้ดีและได้ชั่ว ในทางโลกและทางธรรม มีความหมายแตกต่างกัน
    .
    ในทางโลก มักจะมองเห็น การได้ดีและได้ชั่วเป็นเรื่องทางวัตถุ เมื่อกล่าวว่าคนนั้นได้ดีก็มักจะหมายความว่า ผู้นั้นได้ลาภและยศ เช่นได้ทรัพย์สมบัติ ได้อำนาจวาสนา หรือได้ตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านี้ก็เข้าใจว่าไม่ได้ดี
    .
    ในทางธรรม การได้ดีหรือได้ชั่วเป็นเรื่องของจิตใจ การได้ดีหมายถึง การทำให้จิตใจดีขึ้น ทำให้ธาตุแห่งความดีในตัวเองเรามีมากขึ้น ทำให้จิตใจของเราสะอาด สว่าง สงบยิ่งขึ้น ส่วนการได้ชั่ว หมายถึงการทำให้จิตใจต่ำลง เลวลง ทำให้จิตใจมืดมัวยิ่งขึ้น คำว่าได้ดีจึงความถึงความดี และคำว่าได้ชั่ว จึงหมายถึงความชั่ว หากเราจะพูดว่า ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องได้ดีและได้ชั่วดีขึ้น
    .
    บุคคลที่กระทำกรรมอะไรลงไป ย่อมจะได้รับผลในทางจิตใจทันที เมื่อทำกรรมดี เช่น ทำบุญตักบาตร ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ก็จะทำให้จิตใจดีขึ้น มีความปีติ และความสุขในกรรมดีที่ตนทำ ในเมื่อกรรมที่ทำเป็นกุศลกรรมจริง ๆ คือทำด้วยจิตใจที่เป็นกุศล ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่ด้วยความโลภหรือด้วยอกุศลเจตนา หรือหวังผลตอบแทน
    .
    ที่มา และ โพสโดย dhammatharn
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    #ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
    #ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
    #ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
    #แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
    #บุพกรรมพระพุทธเจ้า
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    จากโพสของผมด้านบน
    .
    เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้พบ ได้เจอ ได้เห็น เรื่องราวต่างๆมาเยอะ
    เรื่องที่เห็นได้ชัดเจนมากก็คือ
    .
    การที่นำพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 มาบอกกับผู้ใต้บังคับบัญชา
    แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆแล้ว เรื่องนั้นๆ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ผู้ที่กระทำความดี ได้รับผลที่ดี
    .
    ยกตัวอย่าง
    มีน้องคนนึง ในตอนนั้น ออกไปหาบุคคล(ที่ตนเองมีความสนิทสนมกัน) ที่เป็นเป้าหมายจะให้มาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง แต่เมื่อสถาบันการเงินแห่งนั้น ได้ลูกค้าแล้ว แทนที่ผลงานจะได้กับผู้ที่กระทำงานจริงๆ ผลงานนั้นตกไปอยู่กับอีกคนที่ไม่ได้ทำงานนั้น
    .
    น้องรายเดียวกัน แต่เป็นอีกงาน ก็คือ มีเพื่อนร่วมงาน ได้ไปหาบุคคล(ที่น้องคนนี้มีความสนิทสนม และ น้องคนนี้ก็ได้บอกกับเพื่อนร่วมงานแล้วว่า จะไปหาบุคคลคนนี้ เพื่อสร้างผลงานให้กับตนเอง) แต่มีเพื่อนร่วมงานบางคนไปหาบุคคลคนนี้ก่อนหน้าที่น้องคนนี้ที่ตั้งใจจะไป และการพูดของเพื่อนร่วมงานบางคนที่ไปหาบุคคลคนนี้ก่อน ได้มีการพูดโดยอ้างอิงถึงน้องคนนี้
    สุดท้ายบุคคลคนนี้ ก็มาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งนั้น
    .
    สุดท้ายน้องคนนี้ เวลาที่พิจารณาในการขึ้นเงินเดือน ก็ต่ำสุด และเป็นอย่างนี้มานาน อายุของน้องคนนี้ 50 กว่าปีแล้ว แต่เงินเดือนที่ได้รับแค่ 3 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น
    .
    อีกราย เป็นเรื่องที่สำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินแห่งนั้น ส่งลูกค้าสินเชื่อมาให้หลายคน แต่มีคนที่เห็นแก่ตัว รับงานนั้นไว้หมด โดยไม่มีการแบ่งงานให้กับคนอื่นได้ทำ โดยเจ้านายคนนั้น มีการนำพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 มาพูดในที่ประชุมบ่อยๆ แต่เจ้านายคนนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำได้ตามพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 ได้จริง
    .
    นี่คือ
    การทำงานเอาเปรียบใคร
    การทำงานที่เก็บงานไว้ทำเองทั้งหมด โดยฉกฉวยโอกาส
    ไม่แบ่งงานให้คนอื่นช่วยกันทำงาน
    .
    อีกราย ก็คือ มีบุคคลไปหาลูกค้าสินเชื่อ โดยเจ้านายให้ไปพบเพื่อที่จะได้นำเสนอสินเชื่อ แต่บุคคลคนนี้ ได้นำเสนอประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองภาระหนี้ ลูกค้าไม่ได้แจ้งว่า เจ้านายได้นำเสนอประกันชีวิตฯไปแล้ว อีกทั้งเจ้าหน้าของบุคคลคนนี้ ก็ไม่ได้แจ้งกับบุคคลคนนี้ว่า ได้นำเสนอประกันชีวิตฯไปแล้ว เมื่อลูกค้ารายนี้ ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อพร้อมทั้งอนุมัติวงเงินสินเชื่อประกันชีวิตฯ ทางเจ้านายของบุคคลคนนี้ ก็ได้แจ้งว่า เขาได้นำเสนอประกันชีวิตไปก่อนหน้าแล้ว และยกผลงานให้กับอีกคน
    .
    นี่คือ การทำงานที่เห็นแก่ตัว เอาแต่พวกพ้องของตนเอง
    .
    ตัวอย่างของการทำงานที่มีแต่การสร้างกรรมให้กับตนเอง ถึงแม้ว่า การทำงานนั้น มีข้ออ้างในเรื่องของ กฎระเบียบต่างๆ
    .
    แต่อย่างที่บอก ถึงแม้ว่า จะทำถูกต้องกับ กฎระเบียบต่างๆ และ กฎหมาย (ที่กฎระเบียบและกฎหมายไม่สามารถที่จะดำเนินการเอาผิดได้
    แต่เมื่อผิดหลักกฎแห่งกรรม และหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องไปชดใช้กรรมเสมอ
    .
    ผมเองก็ได้ให้กำลังใจกับหลายๆคน รวมทั้งได้บอกว่า ใครทำกรรมอะไร(ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว)เขาต้องได้รับเช่นนั้นเสมอ ไม่มีใครหนีกรรมพ้น ถ้าเราเคยทำกรรมกับเขาไว้ เราก็ชดใช้กรรมให้หมดกันไป แต่ถ้าเราไม่เคยกระทำกรรมกับเขา ต้องปล่อยให้เขารับกรรมที่ได้กระทำนั้นไปเอง ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวหรืออาฆาตกับคนที่กระทำไม่ดีกับเรา เพราะแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมที่พระองค์ท่านได้เคยกระทำไว้ในอดีตไม่ได้เลย
    .
    ผมนำเรื่องของความดี นำมาลงให้อ่านกัน จะได้เป็นเรื่องเตือนใจในการกระทำของตนเอง ว่า ในทุกการกระทำของตนเอง ต้องปฎิบัติตนตามหลักกฎแห่งกรรม และหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปชดใช้กรรม
    .
    เวลาในปัจจุบันที่เราๆท่านๆ ยังคงมีความสุข เนื่องจากผลบุญที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตได้ส่งผลให้กับผู้กระทำ แต่เมื่อผลบุญที่ส่งผลนั้นหมดลง และถึงเวลาของผลกรรมที่กระทำไม่ดีส่งผลนั้น ทำให้บุคคลนั้นต้องชดใช้ในส่งที่ตนเองกระทำมาในอดีต ที่ประสบกับความลำบากในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิบากในนรก , วิบากในกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน , วิบากในเปรตวิสัย หรือ วิบากในมนุษย์โลก ตามพุทธพจน์เสมอ
    .
    ส่วนตัว มีความกลัวในการสร้างกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอ่านในพระสูตรต่างๆมาเยอะ , ได้เคยคุยกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นฆราวาส อีกทั้งได้เคยไปสนทนาธรรมะกับพระภิกษุผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบมาหลายรูป กรรมชั่วต่างๆ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ไม่ว่าจะมีเงินทอง ชื่อเสียง เกียติยศ มากมายแค่ไหน ทั้งเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลย
    .
    แต่เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นเรื่องของเบื้องต้นที่สามารถให้คนใช้ในทางที่ถูกต้องในการสร้างกรรมดีก็ได้ หรือ สามารถให้คนใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องในการสร้างกรรมชั่วก็ได้
    .
    ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะนำไปใช้ในการสร้าง กรรมดี หรือ กรรมชั่ว
    .
    .
    .---------------------------------------.
    .
    .
    ความดี ที่เป็นความหมายจากพจนานุกรม
    [n.] goodness
    [syn.] คุณความดี,ความดีความชอบ,คุณงามความดี,ความดีงาม
    [ant.] ความชั่ว
    .
    .
    .---------------------------------------.
    .
    .

    [34] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)
    .
    1. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
    .
    2. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)

    ข้อธรรม 2 อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [1] และ [2] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ 1 ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
    .
    ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี 2 อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.

    M.I.294;
    A.I.87. ม.มู. 12/497/539;
    องฺ.ทุก. 20/371/110.
    ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
    .
    .
    .---------------------------------------.
    .
    .
    [67] กุศลมูล 3 (รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี — whole some roots; roots of good actions)
    .
    1. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ — non greed; generosity)
    .
    2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา — non-hatred; love)
    .
    3. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา — non-delusion; wisdom)
    .
    D.III.275. ที.ปา. 11/394/292.
    ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
    .
    .
    .---------------------------------------.
    .
    .
    [176] วิบัติ 4๒ (ข้อเสีย, จุดอ่อน, ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล, ส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว failure; defect; unfavorable factors affecting the ripening of Karma.)
    .
    1. คติวิบัติ (วิบัติแห่งคติ, คติเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดต่ำทราม หรือที่เกิดอันไร้ความเจริญ
    .
    ในช่วงสั้นหมายถึงที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่องไม่ถูกที่ คือ กรณีนั้น สภาพแวดล้อมนั้น สถานการณ์นั้น ถิ่นนั้น ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย - failure as regards place of birth; unfavorable environment, circumstances or career)
    .
    2. อุปธิวิบัติ (วิบัติแห่งร่างกาย, รูปกายเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงร่างกายวิกล วิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้นหมายถึงสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคมาก - failure as regards the body; deformed or unfortunate body; unfavorable personality, health or physical conditions.)
    .
    3. กาลวิบัติ (วิบัติแห่งกาล, กาลเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่ว บีบคั้นคนดี ในช่วงสั้นหมายถึงทำผิดกาลผิดเวลา - failure as regards time; unfavorable or unfortunate time)
    .
    4. ปโยควิบัติ (วิบัติแห่งการประกอบ, กิจการเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้นหมายถึงเมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจด ใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบความดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่ว หักล้างเสียในระหว่าง - failure as regards undertaking; unfavorable, unfortunate or inadequate undertaking)
    .
    วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบาก นอกจากอาศัยเหตุคือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย กล่าวคือ จะต้องพิจารณา กรรมนิยาม โดยสัมพันธ์กับปัจจัยทั้งหลายที่เป็นไปตามนิยามอื่นๆ ด้วย เพราะนิยาม หรือกฎธรรมชาตินั้นมีหลายอย่าง มิใช่มีแต่กรรมนิยามอย่างเดียว
    .
    ดู [177] สมบัติ 4; [223] นิยาม 5.

    Vbh. 338. อภิ.วิ. 35/840/458.

    ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
    .
    .
    .---------------------------------------.
    .
    .
    #เงินทองชื่อเสียงเกียรติยศ
    #กรรมดี
    #กรรมชั่ว
    #ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
    #ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
    #ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
    #แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
    #บุพกรรมพระพุทธเจ้า
    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    เรื่องหนึ่งที่ผมโพสอยู่บ่อยๆ ก็คือ การละเว้นจากการกระทำชั่วทั้งปวง
    .
    เพราะหากมีการกระทำชั่ว ไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การทำงานที่เห็นแก่ตัว , การทำงานที่เอาประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง , การทำงานที่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน , การพิจารณาการขึ้นเงินเดือนและการจ่ายโบนัสที่ไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องตามหลักกฎแห่งกรรม
    .
    จนถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่น การทุจริตคอร์รับชั่นในทุกระดับ รวมทั้งการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการคอร์รับชั่นไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือ ทางอ้อม ที่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอร์รับชั่นในหน่วยงานราชการ , บริษัทเอกชน จนถึงการคอร์รับชั่นประเทศชาติ เป็นต้น
    .
    เรื่องต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องที่คนได้กระทำด้วยตนเอง เพราะหวังในลาภยศ ชื่อเสียง เงินทอง เกียรติยศ
    .
    อีกเรื่องก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำชั่วในเรื่องใหญ่ๆ หรือ เรื่องเล็กน้อย หากกระทำความชั่วบ่อยๆ เรื่องที่กระทำชั่วนั้นยิ่งฝังรากลึกลงไปในจิตใจของตนเองมากขึ้น การกระทำชั่วใน 1 เรื่อง ผลที่ได้รับก็รับไป 1 เรื่องต่อการกระทำชั่ว 1 ครั้ง ยิ่งกระทำชั่วมากเรื่องเท่าไหร่ ผลที่ได้รับก็มากตามจำนวนในการกระทำของตนเองเสมอ
    .
    เรื่องเหล่านี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำธรรมะมาสอนให้กับเวนัยสัตว์โลก เรื่องที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำมาสอนนั้น ถูกต้องเสมอ ไม่เคยมีคำสอนที่ไม่ถูกต้องเลยแม้แต่เรื่องเดียว
    .
    อีกเรื่องที่นึกถึงก็คือ เรื่องที่ผมได้เคยไปกราบพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่ง ท่านสอนในเรื่อง #ต่อตีนโจร เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ที่ช่วยเหลือคนที่กระทำชั่ว ให้การกระทำความชั่วนั้น บรรลุความสำเร็จในการกระทำชั่ว ในกาลข้างหน้า คนที่ต่อตีนโจร ก็จะไปต่อตีนโจรต่อไปอีกหลายภพหลายชาติ เป็นการร่วมกันกระทำความชั่วกันต่อไป และร่วมกันในการรับกรรมในการกระทำชั่วกันต่อไป
    .
    ผมนำเรื่อง ว่าด้วยเรื่องระยะเวลาในปทุมนรก มาให้อ่านกัน เพื่อเป็นเรื่องเตือนใจว่า การกระทำความชั่วทั้งหลาย ผู้กระทำต้องได้รับผลกรรมนั้นเสมอ ย้ำว่า ไม่ว่าเร็วหรือช้า ผู้กระทำชั่วต้องได้รับผลกรรมนั้นเสมอ ถึงแม้ว่า เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ และ กฎหมาย ก็ตาม แต่หากไม่ถูกต้องตามหลักกฎแห่งกรรมแล้ว ผู้ที่กระทำความชั่วต้องได้รับผลของการกระทำของตนเองเสมอ
    .
    #ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
    #ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
    #ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
    #แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
    #ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
    #ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
    #บุพกรรมพระพุทธเจ้า
    #บุพกรรมพระพุทธองค์
    .
    .
    .
    #ว่าด้วยเรื่องระยะเวลาในปทุมนรก
    .
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    .
    [๓๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเพียงใด พระเจ้าข้า ฯ
    .
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนักการนับประมาณอายุในปทุมนรกนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำได้ง่าย ฯ
    .
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำการเปรียบเทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ฯ
    .
    พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า สามารถ ภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุเปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศล เมื่อล่วงไปได้ร้อยปี พันปี แสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออกทิ้งเมล็ดหนึ่งๆ
    .
    ดูกรภิกษุ เกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศลนั้น จะพึงถึงความสิ้นไปโดยลำดับนี้เร็วเสียกว่า แต่อัพพุทนรกหนึ่งจะไม่พึงถึงความสิ้นไปได้เลย
    .
    ดูกรภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรกเป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรกเป็นหนึ่งอัพพนรก ๒๐ อัพพนรกเป็นหนึ่งอหหนรก ๒๐ อหหนรกเป็นหนึ่งอฏฏนรก ๒๐ อฏฏนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรกเป็นหนึ่งโสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธินรกเป็นหนึ่งอุปลกนรก ๒๐ อุปลกนรกเป็นหนึ่งปุณฑรีกนรก ๒๐ ปุณฑรีกนรกเป็นหนึ่งปทุมนรก อย่างนี้ ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรกเพราะจิตคิดอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ ฯ
    .
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    .
    [๓๘๗] ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็น เหตุตัดรอนตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุพภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การแพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนันเป็นโทษเพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีนี้แล เป็นโทษมากกว่า
    บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้วเป็นผู้ติเตียนพระอริยะเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาลประมาณด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะและ ๔๐ อัพพุทะ ผู้กล่าวคำเท็จย่อมเข้าถึงนรก อนึ่ง ผู้ทำกรรมอันลามกแล้วกล่าวว่าไม่ได้ทำ ก็ย่อมเข้าถึงนรกอย่างเดียวกัน แม้คนทั้งสองนั้นเป็นมนุษย์มีกรรมอันเลวทราม ละไปแล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกเบื้องหน้า ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับมาถึงผู้เป็นพาลนั้นเอง เหมือนธุลีละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น ผู้ที่ประกอบเนืองๆ ในคุณคือความโลภไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความตระหนี่ ประกอบเนืองๆ ในคำส่อเสียด ย่อมบริภาษผู้อื่นด้วยวาจา แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม กล่าวคำอันไม่จริง ผู้ไม่ประเสริฐ ผู้กำจัดความเจริญ ผู้ลามก ผู้กระทำความชั่วผู้เป็นบุรุษในที่สุด มีโทษ เป็นอวชาต ท่านอย่าได้พูดมากในที่นี้ อย่าเป็นสัตว์นรก ท่านย่อมเกลี่ยธุลี คือ กิเลสลงในตนเพื่อกรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ท่านผู้ทำกรรมหยาบยังติเตียนสัตบุรุษ ท่านประพฤติทุจริตเป็นอันมากแล้วย่อมไปสู่มหานรกสิ้นกาลนาน กรรมของใครๆ ย่อมฉิบหายไปไม่ได้เลย บุคคลมาได้รับกรรมนั้นแล เป็นเจ้าของแห่งกรรมนั้น
    .
    (เพราะ) คนเขลาผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ในตนในปรโลก ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึงสถานที่อันนายนิรยบาลนำขอเหล็กมา ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบและย่อมเข้าถึงก้อนเหล็กแดงโชติช่วง เป็นอาหารอันสมควรแก่กรรมที่ตนทำไว้อย่างนั้น สัตว์นรกทั้งหลายจะพูดก็พูดไม่ได้ จะวิ่งหนีก็ไม่ได้ ไม่ได้ที่ต้านทานเลย นายนิรยบาลลากขึ้นภูเขาถ่านเพลิง สัตว์นรกนั้นนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ ย่อมเข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง พวกนายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพัน ตีด้วยฆ้อนเหล็กในที่นั้น สัตว์นรกทั้งหลายย่อมไปสู่โรรุวนรกที่มืดทึบ ความมืดทึบนั้นแผ่ไปเหมือนกลุ่มหมอก
    .
    ฉะนั้น ก็ทีนั้น สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเข้าไปสู่หม้อเหล็กอันไฟลุกโพลง ลอยฟ่องอยู่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้นอันไฟลุกโพลงสิ้นกาลนาน ก็ผู้ทำกรรมหยาบจะไปสู่ทิศใดๆ ก็หมกไหม้อยู่ในหม้อเหล็กอันเปื้อนด้วยหนองและเลือดในทิศนั้นๆ ลำบากอยู่ในหม้อเหล็กนั้น ผู้ทำกรรมหยาบหมกไหม้อยู่ในน้ำอันเป็นที่อยู่ของหมู่หนอน ในหม้อเหล็กนั้นๆ แม้ฝั่งเพื่อจะไปก็ไม่มีเลย เพราะกระทะครอบอยู่โดยรอบมิดชิดในทิศทั้งปวง และยังมีป่าไม้มีใบเป็นดาบคม สัตว์นรกทั้งหลายย่อมเข้าไปสู่ป่าไม้ ถูกดาบใบไม้ตัดหัวขาด พวกนายนิรยบาล เอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นออกแล้ว ย่อมเบียดเบียนด้วยการดึงออกมาๆ ก็ลำดับนั้น สัตว์นรกทั้งหลายย่อมเข้าถึงแม่น้ำด่างอันเป็นหล่ม ย่อมเข้าถึงคมมีดโกนอันคมกริบ สัตว์นรกทั้งหลายผู้กระทำบาป เป็นผู้เขลา ย่อมตกลงไปบนคมมีดโกนนั้นเพราะได้กระทำบาปไว้ ก็สุนัขดำ สุนัขด่าง และสุนัขจิ้งจอก ย่อมรุมกัดกินสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ร้องไห้อยู่ที่นั้น ฝูงกาดำ แร้ง นกตะกรุม และกาไม่ดำ ย่อมรุมกันจิกกิน คนผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความเป็นไปในนรกนี้ยากหนอ
    .
    เพราะฉะนั้น นรชนพึงเป็นผู้ทำกิจที่ควรทำในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ และไม่พึงประมาท เกวียนบรรทุกงา ผู้รู้ทั้งหลายนับแล้วนำเข้าไปเปรียบในปทุมนรก เป็น ๕๑,๒๐๐ โกฏิ นรกเป็นทุกข์
    .
    เรากล่าวแล้วในพระสูตรนี้ เพียงใด สัตว์ทั้งหลายผู้ทำกรรมหยาบ พึงอยู่ในนรกแม้นั้น ตลอดกาลนานเพียงนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงกำหนดรักษาวาจา ใจ ให้เป็นปรกติในผู้สะอาด มีศีลเป็นที่รักและมีคุณดีงามทั้งหลาย ฯ
    จบโกกาลิกสูตรที่ ๑๐
    นาลกสูตรที่ ๑๑
    .
    ที่มา เว็บไซด์ 84000
    .
    .
    .
    .
    วันนี้ ผมได้ทำบุญแล้ว เป็นบุญ 2 วิธี ใน 10 วิธีการทำบุญที่ถูกต้องตามหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ
    .
    ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
    .
    ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)
    .
    โดยการนำประสบการณ์ในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ผ่านมาหลายสิบปีของผมเอง รวมทั้งเรื่องราวต่างๆที่ผมได้เคยนำเรื่องต่างๆที่ได้เคยประสบพบเห็นมาของบุคคลต่างๆ ไปสอบถามในเรื่องของกรรม กับ พระภิกษุสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ รวมทั้งไปสอบถามในเรื่องของกรรมกับครูบาอาจารย์(ที่ท่านเป็นฆราวาส)
    .
    และนำธรรมะใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน
    .
    เพื่อเป็นเรื่องเตือนใจในการละเว้นการกระทำความชั่ว
    .
    ผมนำไปลงในหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊คส่วนตัว , เพจ.หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร & พระวังหน้า (ที่ผมเป็นแอดมิน) ,ไลน์กลุ่ม 15 กลุ่ม , ไทม์ไลน์ส่วนตัว , กระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้ (เว็บไซด์พลังจิต) และ ตั้งกระทู้ การกระทำชั่ว กับ นรก ในเพจ.ใต้ร่มธรรม (ที่ผมเป็นทีมงาน)
    .

    หากมีผู้อ่านเพียง 1 คน ที่อ่านแล้วเข้าใจ อีกทั้งนำไปปฎิบัติ ผมก็มีความสุขใจแล้ว ครับ
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    กรรมที่มีการอโหสิกรรมกันแล้ว นั่นหมายถึง ผลผูกพันระหว่างบุคคล 2 คน ได้ถูกตัดขาดออกจากกัน
    .
    แต่กรรมที่ได้กระทำกันไป ผลยังคงมีอยู่ต่อผู้กระทำ ผู้กระทำยังต้องไปรับผลของกรรมนั้นเสมอ
    .
    เมื่อรับผลของกรรมแล้ว ยังมีบางกรรมที่ยังคงมีเศษของกรรมอยู่ จึงต้องไปรับผลเศษของกรรมนั้นต่ออีกจนหมดกรรม
    .
    เหมือนกับเรื่องที่เคยได้ลงให้อ่านกันใน #บุพกรรมพระพุทธเจ้า
    .
    #ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
    #ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
    #ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
    #แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
    #บุพกรรมพระพุทธเจ้า
    #บุพกรรมพระพุทธองค์
    #ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
    #ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
    .

     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สวัสดียามเย็น ในวันเสาร์สุขสันต์
    .
    มาชมพระที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย (อายุพระประมาณ 3 - 400 ปี)
    .
    พิมพ์นี้ เป็นพิมพ์พระพุทธประทับบนสัตว์
    .
    ทางวังหน้า และ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค นำพิมพ์ไปใช้ในการสร้างพระของท่าน
    #หลวงพ่อปานวัดบางนมโค
    .
    ตามลิงค์ ครับ

    .

    .
    .
    .
    .
    รูปสงวนลิขสิทธิ์
    .
    ผมอนุญาตเฉพาะการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
    .
    ผมไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการซื้อขายพระวังหน้า , พระสมเด็จวังหลวง , พระสมเด็จวัดระฆัง และ ซื้อขายพระเครื่องต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเด็ดขาด
    .
    ผมไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปใช้เพื่อโชว์ว่า ตนเองเป็นกูรู ทั้งๆที่เป็น #กูรูเก๊
    .
    ผมไม่อนุญาตให้คัดลอกด้วยวิธีการต่างๆ และไม่อนุญาตให้แชร์ไปยังสื่อออนไลน์ทุกประเภท
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ⭐ ⭐ ⭐ ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ⭐ ⭐ ⭐
    .
    ⭐ ก่อสร้างส่วนองค์เจดีย์เหนืออุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม ⭐
    .
    ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้สิทธิ์ผู้ที่จองและชำระเงินก่อน
    .
    รับวัตถุมงคลที่ระลึก ได้วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔
    .
    ตามลิงค์ ด้านล่าง ครับ
    .

    .
    สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 0.png สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 1.jpg สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 2.jpg สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 3.jpg สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 4.jpg สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 5.jpg สร้างองค์เจดีย์เหนือพระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม 6.jpg
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ จากการที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ) ในสายที่ 8 จาก 9 สายของคณะพระธรรมทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ข้อมูลจาก หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    .
    หมายเหตุ ในหนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร เขียนคำว่า สุวัณณภูมิ แต่ในที่นี้ ผมขอใช้คำว่า สุวรรณภูมิ แทน เนื่องจากน่าจะเข้าใจกันได้ง่ายกว่า)
    .
    พระอุปัชฌาย์ของคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ คือ พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร ที่ท่านเป็นผู้เลือกคณะโสณะอุตตระ มาเป็นคณะพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
    (พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า)
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 428)
    .
    คณะคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ เดินทางมาโดยทางเรือ มาถึงถิ่นสุวรรณภูมิที่เมืองทอง (ไม่ทราบว่า อยู่ในจังหวัดไหน) เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ ปีพุทธกาล 235 (ปีไทยฉลู) โดยอยู่ที่วัดปุณณาราม
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 439)
    .
    พระโสณะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีพุทธกาล 264
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีพุทธกาล 264
    มีการเก็บธาตุ ด้านหน้าพระพุทธรูป ที่ พระอุโบสถ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 497)
    .
    พระฌาณียะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีพุทธกาล 278
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปีพุทธกาล 278
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 506 - 507)
    .
    พระอุตตระเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 ปีพุทธกาล 287
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 1 ปีพุทธกาล 288
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 510)
    หมายเหตุ ปีพุทธกาล 288 ผมนับจากวันที่พระอุตตระเถระเจ้า ท่านมรณภาพ(นิพพาน) คือ อยู่ในเดือน 1 ครับ
    .
    พระภูริยะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีพุทธกาล 295
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 295
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 511)
    .
    พระมูนียะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 298
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีพุทธกาล 298
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 511)
    .
    พระโสณะเถระเจ้า ได้บวชให้กับ พระญาณจรเถระเจ้า (ดี หรือ ทองดี) ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปี 236 โดยมี พระโสณะเถระเจ้า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุตตระเถระเจ้า เป็นผู้สวดญัตติจตุุถกัมวาจา และ พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นผู้สอนอนุสาสน
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 440)
    .
    พระญาณจรเถระเจ้า (ดี หรือ ทองดี) (ธัมมปาโมกขสังฆราช) ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 313
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีพุทธกาล 314
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 539)
    .
    ชื่อ พระญาณจรเถระเจ้า (ดี หรือ ทองดี)
    ญาณจรโณ ดี (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 440)
    ญาณจรโณ ทองดี (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 539)
    .
    ชื่อ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    โลกกนลว เมืองสุวัณณภูมิ ผู้โปรสเห้าหม่อมเมีย(ก้านตาเทวี) เป็นผู้ให้สร้างวัดศรีมหาธาตุแดนลว้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 238
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 443-444)
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ จากการที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ) ข้อมูลจาก หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
    .
    พระอุตรเถระเจ้า
    รูปร่างสันทัดผิวกายค่อนข้างดำคล้ำ มีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์เจ้า บรรลุอภิญญาหก และปฎิสัมภิทาญาณ ใจดีประกอบด้วยเมตตา มีอารมณ์ขัน มีสภาวะจิตที่รวดเร็วมาก มีความเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์และเภสัชกรรม เป็นพี่ชายของพระโสณะเถระเจ้า
    .
    พระโสณะเถระเจ้า
    รูปกายสูงใหญ่ผิวดำ ทรงคุณสมบัติเหมือนกับ พระอุตรเถระเจ้า เว้นวิชาแพทย์ ใจดี เยือกเย็น ประกอบด้วยเมตตาธรรม ชอบผาดโผนเหินฟ้านภาลัยโขดเขินเนินไศลเป็นที่สัญจร และเป็นน้องชายของพระอุตรเถระจ้า
    .
    พระมูนียะเถระเจ้า
    มีบุคลิกภาพสง่างาม มีความเชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบเจริญอสุภกรรมฐาน 10 (ภาพในนิมิตร มักจะปรากฎเส้นเกสายาวจรดเอว)
    .
    พระฌาณียะเถระเจ้า
    มีรูปกายค่อยข้างสูงใหญ่ ขนตาดกยาว มีอำนาจ แต่ขี้เล่นใจดี
    .
    พระภูริยะเถระเจ้า
    สำเร็จปรอท ล่องหนย่นระยะทางเก่ง
    .
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 23 - 25)
    .
    คณะคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ เดินทางมาโดยทางเรือ มาถึงถิ่นสุวรรณภูมิ โดยได้มาพักที่ วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) เมื่อวันขึ้น 14 คำ เดือน 1 พุทธศักราช 235
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 10)
    .
    พระอุตรเถระเจ้า เป็นพี่ชายของพระโสณะเถระเจ้า
    พระโสณะเถระเจ้า เป็นน้องชายของพระอุตรเถระจ้า
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 11)
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
    .
    .
    .
    .
    .
    ผม Sithiphong (Noom Wangna) ขอนำเรื่องราวของ หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ จากการที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ)
    .
    มายืนยันว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ ที่ประกอบด้วยแกนหลัก คือ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า) ได้มรณภาพกันไปทั้งหมดแล้ว และกายที่ท่านมีในปัจจุบันคือ อทิสมานกาย ไม่มีตัวตนที่แท้จริง แต่เนื่องจากการที่คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร มีการฝึกฤทธิ์มามาก ส่งผลให้สามารถทำให้อทิสมานกาย ปรากฎเป็นกายเนื้อได้
    .
    อีกเรื่องก็คือ ปัจจุบันมีรูป พระภิกษุที่เป็นรูปโครงกระดูก ที่ระบุเป็นรูปของหลวงปู่เดินหน (พระมูนียะเถระเจ้า) โครงกระดูกที่ปรากฎนั้น เป็นสิ่งที่หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า ท่านทำให้ปรากฎขึ้น เพื่อให้คนทั้งหลายที่ได้เห็น จะได้ระลึกถึงเรื่อง อสุภกรรมฐาน ส่วนกายของหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า ได้มีการประชุมเพลิง(ฌาปนกิจ) ไปเมื่อปีพุทธกาล 298 (ตามข้อมูลด้านบนที่ผมนำมาให้อ่าน) แล้ว
    .
    ขอกราบในพระคุณของหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ ที่ประกอบด้วยแกนหลัก คือ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า) ที่ทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก ที่ทำให้ผู้คนได้มีหลักปฎิบัติตามหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความหลุดพ้นในวัฏสงสาร มุ่งสู่แดนพระนิพพาน
    .
    โลกุตตะโร ปัญจะมหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ
    .
    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
    Sithiphong (Noom Wangna)
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
    .
    #พระเจ้าอโศกมหาราช
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สำหรับ วาระงานบุญอาศรมศรีชัยรัตนโคตร
    .
    เท่าที่ทราบ ในวันนี้มี #งานกฐินที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
    .
    ขออนุญาต มาเรียนกับทุกท่านว่า
    .
    หากมีวาระงานบุญที่ #อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
    .
    ถ้า #พี่แอ๊ว หรือ #หลวงพี่นิล ท่านแจ้งมาให้ผมทราบถึงงานบุญนั้นๆ
    .
    ผมจะร่วมทำบุญ และ บอกบุญในงานบุญนั้นๆ
    .
    แต่ถ้าพี่แอ๊ว หรือ หลวงพี่นิล ท่านไม่ได้แจ้งมาให้ผมทราบถึงงานบุญนั้นๆ
    .
    ถึงแม้ว่า ผมจะทราบถึงงานบุญจากช่องทางอื่นๆ ผมถือว่า ผมไม่รับทราบในวาระงานบุญนั้น
    และไม่ร่วมทำบุญและบอกบุญในวาระงานบุญนั้นๆ
    .
    ผมกับ หลวงพี่นิล ไม่ได้มีประเด็นปัญหาอะไรกัน
    ผมยังให้ความเคารพหลวงพี่นิลท่านเหมือนเดิม
    .
    แต่ถ้าในงานบุญที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตรนั้น
    ถ้ามีพระสงฆ์ ( ที่เคยบอกว่า #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรมีชีวิตอยู่เป็นพันปี เนื่องจากท่าน #เจริญอิทธิบาท4 ) มาร่วมงาน
    .
    ผมไม่ไปร่วมงานด้วย แน่นอน (และอาจจะไม่มีการบอกบุญและร่วมทำบุญด้วย)
    .
    เพราะว่า การเจริญอิทธิบาท 4 ไม่สามารถที่จะทำให้มีชีวิตยืนยาวเป็นพันปีได้แน่นอน
    ต้องไปหาอ่านเรื่อง การเจริญ #อิทธิบาท4 ใหม่
    .
    ที่สำคัญก็คือ
    เหตุ หากมีการสอน(หรือบอกกล่าว)ที่ไม่ถูกต้อง
    ผล คือ มุสาวาท
    .
    แต่ เหตุ ถ้ามีการสอน(หรือบอกกล่าว) โดยอ้างว่า รู้ได้จาก #ฌาน หรือ #ญาณ
    ผล คือ อาจจะถึง #ปาราชิก (#อวดอุตริมนุสธรรม)
    .
    อีกประการหนึ่งที่สำคัญมาก ก็คือ พระสงฆ์ที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องไม่เก่งกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างแน่นอน
    .
    ผมไม่ยินยอมในการ #ต่อตีนโจร แน่นอน
    .
    เรื่องของ ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร ในเรื่องของอายุของคณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตระ มีบอกไว้ทั้งหมด รวมถึงวันที่มรณภาพ โดยอยู่ในหนังสือ พุทธศาสนสุวรรณภูมิปกรณ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย
    .
    หมายเหตุ ความหมายของ #การต่อตีนโจร หมายถึง การที่โจรจะเข้าปล้นบ้าน แต่บ้านหลังนั้น ยากต่อการปล้น คนภายในบ้านจึงเข้าช่วยเหลือโจร ในการที่โจรเข้าปล้นบ้าน ทำให้โจรปล้นบ้านหลังนั้นได้สำเร็จ
    .
    หมายเหตุ เรื่อง อิทธิบาท 4
    .
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    ที่มา เว็บไซด์ 84000
    .
    [213] อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - path of accomplishment; basis for success)
    .
    1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)
    .
    2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
    .
    3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)
    .
    4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)
    .
    หมายเหตุ ตัวอย่างในเรื่อง อวดอุตริมนุสธรรม
    .
    อรรถกถา
    จตุตถปาราชิกสิกขาบท
    สิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์
    [สวิภงฺคสิกฺขาปทวณฺณนา]
    .
    ที่มา เว็บไซด์ 84000
    .
    บทว่า อนภิชานํ ได้แก่ ไม่รู้เฉพาะ. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ไม่รู้จริง กล่าวอวดอยู่, อุตริมนุสธรรมนั้นไม่เกิดขึ้นในสันดานของเธอ ทั้งเธอก็มิได้ทำให้แจ้งด้วยญาณ จึงชื่อว่าไม่มีจริง; เพราะฉะนั้นในวาระแจกบทว่า อนภิชานํ นั้น ท่านพระอุบาลีกล่าวว่า (อุตริมนุสธรรม) ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง หาไม่ได้แล้ว จึงกล่าวว่า (ภิกษุ) ไม่รู้อยู่ ดังนี้.
    .
    บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ แปลว่า ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่งคือท่านผู้ได้ฌาน และพระอริยเจ้าทั้งหลาย.
    .
    บทว่า อตฺตูปนายิกํ มีอรรถวิเคราะห์ว่า ภิกษุย่อมน้อมอุตริมนุสธรรมนั้นเข้ามาในตน หรือว่า ย่อมน้อมตนเข้าไปในอุตริมนุสธรรมนั้น; เพราะเหตุนั้น อุตริมนุสธรรมนั้นจึงชื่อว่า อัตตูปนายิกะ. (ภิกษุกล่าวอวด) อุตริมนุสธรรมนั้น เป็นที่น้อมเข้ามาในตน หรือว่าเป็นที่น้อมตนเข้าไปหา. เชื่อมความว่า ภิกษุทำอย่างนี้กล่าวอวด แต่ในวาระแจกบท เพราะเหตุที่ท่านพระอุบาลีกล่าวธรรมหลายประการมีฌานเป็นต้นไว้ อย่างนี้ว่า ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ (การยังมรรคให้เจริญ การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความที่จิตปราศจากนิวรณ์) ความยินดียิ่งในเรือนว่างเปล่า ชื่อว่าอุตริมนุสธรรม ดังนี้; เพราะฉะนั้น เมื่อท่านจะแสดงความที่อุตริมนุสธรรมนั้นเป็นธรรมที่น้อมเข้ามาในตน ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านั้นทั้งหมด จึงได้กระทำนิเทศเป็นพหุวจนะว่า ภิกษุย่อมน้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้ามาในตนก็ดี.
    .
    ในบรรดาการน้อม ๒ อย่างนั้น เมื่อภิกษุอวดว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมปรากฏในข้าพเจ้า พึงทราบว่า ชื่อว่าน้อม (ธรรมเหล่านั้น) เข้ามาในตน, เมื่ออวดว่า ข้าพเจ้าย่อมปรากฏในธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าน้อมตนเข้าไปในธรรมเหล่านั้น.
    .
    พึงทราบตามเชื่อมอรรถแห่งบทในคำว่า อลมริยญาณทสฺสนํ นี้อย่างนี้ คือปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้, ชื่อว่าทัสสนะ เพราะอรรถว่าเห็น เพราะกระทำซึ่งธรรมให้เป็นประดุจเห็นด้วยจักษุ; เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าญาณทัสสนะ. ญาณทัสสนะอย่างประเสริฐ คืออย่างบริสุทธิ์อย่างสูงสุด; เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอริยญาณทัสสนะ. ญาณทัสสนะอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ คือแกล้วกล้า สามารถกำจัดกิเลสมีอยู่ในอุตริมนุสธรรมต่างประเภทมีฌานเป็นต้นนี้ หรือว่าญาณทัสสนะอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ เป็นของแห่งอุตริมนุสธรรมนั้น; เพราะเหตุนั้น อุตริมนุสธรรมนั้นจึงชื่อว่ามีความรู้เห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ. ภิกษุไม่รู้จริง กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันมีความรู้เห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถนั้น.
    .
    ในบทภาชนะนั้น อุตริมนุสธรรมนั้น ท่านเรียกว่า อลมริยญาณทัสสนา ด้วยญาณทัสสนะใด, เพื่อแสดงญาณทัสสนะนั้นนั่นแล ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวบทภาชนะ ด้วยวิชชาเป็นใหญ่ว่า ญาณ นั้นได้แก่ วิชชา ๓, ทัสสนะนั้น คือญาณอันใด ทัสสนะก็อันนั้น ทัสสนะอันใด ญาณก็อันนั้น. แต่ในบทว่า ญาณํ นี้ ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นมหัคคตและโลกุตระ พึงทราบว่า ญาณ.
    .
    บทว่า สมุทาจเรยยฺ ความว่า พึงอวดอุตริมนุสธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ทำให้น้อมเข้ามาในตน. ส่วนบทว่า อิตฺถิยา ว่า เป็นต้น ชี้ถึงบุคคลที่ภิกษุจะพึงอวด. จริงอยู่ เมื่ออวดอุตริมนุสธรรมแก่บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นอันอวด. เมื่ออวดแก่เทวดา มาร พรหมหรือแม้แก่เปรต ยักษ์และสัตว์ดิรัจฉาน หาเป็นอันอวดไม่แล.
    .
    คำว่า อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามิ นี้แสดงอาการอวด. แต่ในบทภาชนะแห่งบทว่า อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามิ นั้น คำว่า ข้าพเจ้ารู้ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านี้ นี้แสดงถึงความเป็นไปแห่งความรู้และความเห็นในธรรมมีฌานเป็นต้นเหล่านั้น. คำว่า และธรรมเหล่านี้มีแก่ข้าพเจ้าเป็นต้น แสดงความน้อมเข้ามาในตน.
    .
    คำว่า โดยสมัยอื่นแต่สมัยนั้น นี้แสดงถึงสมัยที่ปฏิญญาว่าเป็นอาบัติ. แต่ภิกษุนี้ต้องปาราชิกในขณะที่อวดทีเดียว. และเธอต้องอาบัติแล้ว ถูกภิกษุอื่นโจทก็ตาม ไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมปฏิญญา; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เธออันผู้ใดผู้หนึ่ง เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม.
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #พระเจ้าอโศกมหาราช
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    .
    ผมน่าจะดูผิด และ จำผิดวัน
    .
    วันงาน #กฐินที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
    ที่ถูกต้อง เป็นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ครับ
    .
    จึงแจ้งมาเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
    .
    .
    .
    .
    .
    ผมน่าจะดูผิด และ จำผิดวัน
    .
    วันงาน #กฐินที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
    ที่ถูกต้อง เป็นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ครับ
    .
    จึงแจ้งมาเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2563 ทางชมรมพระวังหน้า , สมาชิกชมรมพระวังหน้า , สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้า ได้ร่วมกันจัดทำป้าย(สแตนเลส) ประวัติของหลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า และ ประวัติหลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า และนำไปถวายไว้ที๋วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร บริเวณที่ประดิษฐาน รูปหล่อองค์หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า และ รูปหล่อองค์หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า
    .
    ปัจจุบันนี้ ผมกำลังจะดำเนินเตรียมการจัดทำป้าย(สแตนเลส) ประวัติของหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า เพื่อนำไปตั้งไว้ที่ วัดบ่อเงินบ่อทอง (ต.หนองแหน ตำบล หนองแหน อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา 24120 เดิมชื่อ สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง) จำนวน 2 ป้าย
    .
    ป้ายแรก จะนำไปตั้งไว้ที่ศาลาสวดมนต์ ที่จะมีรูปหล่อลอยองค์หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า (หลวงปู่เทพโลกอุดรนั่งบัลลังก์พญานาคคู่ ที่หลวงพ่อแผน ท่านทำหนังสือขอไปที่วัดป่าภัทรปิยาราม และหลวงพ่อแผน ท่านจะเดินทางไปอัญเชิญรูปหล่อลอยองค์หลวงปู่ฯ กลับไปตั้งบูชาในศาลาสวดมนต์ที่วัดบ่อเงินบ่อทอง )
    .
    ป้ายที่สอง จะนำไปตั้งไว้บริเวณที่รูปปั้นองค์หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า ที่วัดบ่อเงินบ่อทอง กำลังดำเนินการสร้างอยู่ในเวลานี้
    .
    ประวัติของหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า ที่กำลังจะดำเนินการสร้างขึ้น จะมีลักษณะเดียวกันกับ ป้าย(สแตนเลส) ประวัติของหลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า และ ประวัติหลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า ครับ
    .
    .
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #พระอาจารย์ณริชธันร์ #วัดป่าภัทรปิยาราม
    #หลวงปู่เทพโลกอุดรนั่งบัลลังก์พญานาคคู่
    .
    #หลวงพ่อแผน #วัดบ่อเงินบ่อทอง #สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ผมนำประวัติหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร นำมาลงให้อ่านกันอีกรอบ
    ที่มา https://www.facebook.com/1503999719890625/posts/3068881583402423/
    .
    สามารถไปอ่านตามลิงค์ด้านบนที่ผมลงไว้ได้ ครับ
    .
    ผมเคยขออนุญาตท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร นำมาลงในกระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... เว็บไซด์พลังจิต และ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ท่านได้อนุญาตแล้ว
    .
    ผมได้ขออนุญาตพี่จิ๋ว นำมาลงในไลน์กลุ่มพระวังหน้า และ ไลน์กลุ่มพระวังหน้าโลกอุดร และ ในเฟสบุ๊คหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร & พระวังหน้า และพี่จิ๋วได้อนุญาตแล้วเช่นกัน
    .
    หนังสือประวัติหลวงปู่พระเทพโลกอุดร ลิขสิทธิ์ของพี่จิ๋ว
    (เดิม เป็นลิขสิทธิ์ของท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ที่ท่านเป็นผู้เขียน)
    .
    .
    .
    คณะหลวงปู่ฯ ท่านเป็นผู้มีพระคุณเป็นอย่างมากที่เป็นคณะพระธรรมทูต นำพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม สมณโคดม มาเผยแพร่ในสุวรรณภูมิ ครับ
    .
    ขอกราบคณะหลวงปู่ฯด้วยความเคารพยิ่ง ครับ
    .
    .
    .
    หมายเหตุ รูปและเนื้อหา สงวนลิขสิทธิ์
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #พระเจ้าอโศกมหาราช
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สวัสดียามบ่าย วันอาทิตย์หรรษา
    .
    ที่มา
    .
    .
    วันนี้มาชมของที่หาได้ยากมาก
    .
    หาได้ยากกว่า พระสมเด็จ(วังหน้า)เนื้อทองคำ
    หาได้ยากว่า พระกริ่งปวเรศ(ที่ องค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ อธิษฐานจิตในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่) ทุกรุ่น
    .
    นั่นคือ รูปแกะเป็นรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    .
    ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตไว้ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
    .
    ครูบาอาจารย์ผมที่ท่านเคยตรวจดูทั้ง รูป (เนื้อหาทรงพิมพ์) และ นาม (พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต)
    ท่านบอกกับผมมาว่า ให้นำพระสมเด็จทุกองค์ (ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตไว้ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่) รวมกัน ไว้ด้านข้างด้านหนึ่ง และ นำรูปแกะนี้ ไว้อีกด้านหนึ่ง
    รูปแกะรูปนี้ ดีกว่า พระสมเด็จทุกองค์ฯรวมกัน ครับ
    .
    ผมแจ้งรายละเอียดเพียงเท่านี้
    .
    รูปสงวนลิขสิทธิ์
    .

    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #พระเจ้าอโศกมหาราช
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
    #รูปแกะเป็นรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    #รูปแกะสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    วันนี้ (วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565) ทางผม , ผู้บัญชาการที่บ้าน , สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้า , สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้าโลกอุดร และ สมาชิกชมรมพระวังหน้า
    .
    ได้ร่วมกันทำบุญ ในวาระงานบุญ 2 งาน
    .
    .
    .
    งานแรก ร่วมทำบุญในการจัดสร้างป้ายสแตนเลสประวัติหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า จำนวน 2 ป้าย
    ถวายหลวงพ่อแผน วัดบ่อเงินบ่อทอง จ.ฉะเชิงเทรา
    .
    เพื่อให้ผู้ที่ไปทำบุญ รวมทั้ง พระสงฆ์ และ สามเณร ที่วัด จะได้ทราบถึงประวัติ(ที่ถูกต้อง)โดยย่อขององค์หลวงปู่ฯ
    .
    ค่าจัดทำป้ายฯ จำนวน 44,800 บาท
    .
    .
    .
    งานบุญที่สอง ร่วมกันทำบุญกับกลุ่ม บ้านแสงแห่งธรรม จ.พิษณุโลก
    ร่วมทำบุญทั้งหมด 41,229.02 บาท
    .
    ตามรายละเอียดดังนี้
    .
    รายละเอียดงานบุญของบ้านแสงแห่งธรรม
    .
    ขอเชิญพี่น้องบ้านแสงฯ ที่เกิด เดือน กย. ร่วมเป็นเจ้าภาพงานบุญคนเกิดเดือน กย ที่บ้านแสงแห่งธรรม. มีกิจกรรม ตักบาตร พระ 100 รูป แจกทานข้าวสารพร้อมชุด 100 ชุด เลี้ยงเพล เณร 200รู ปที่วัดตากฟ้าพระอารามหลวง บวชพระ 2 รูปที่วัดน้ำหนาว เริ่มงาน 17 -20 ก.ย. นี้
    .
    17 ก.ย.65 แจกทาน 100 ชุดที่สำนักขุนไผ่
    .
    18 ก.ย.65 ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ 100 รูปที่บ้านแสงแห่งธรรม
    .
    19 ก.ย.65 ถวายอาหารเพลพระ,เณร 300 รูปที่วัดตากฟ้า
    .
    20-21 ก.ย.65 รวมกำลังบุญบวชพระ 2 รูปส่งบุญให้เจ้ากรรมนายเวรเลย จบกำลังบุญอันยิ่งใหญในครั้งนี้
    .
    .
    .
    ขอโมทนาบุญกับทุกท่าน
    .
    มาโมทนาบุญร่วมกัน บุญเสมอกัน ครับ
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #บ้านแสงแห่งธรรม
    #บ้านแสงแห่งธรรมทุ่งนาผางาม
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สำหรับรายละเอียดของป้ายสแตนเลสประวัติหลวงปู่อิเกสาโร ที่จะดำเนินการจัดทำขึ้นฯ จำนวน 2 ป้าย
    และ นำไปถวาย หลวงพ่อแผน ที่วัดบ่อเงินบ่อทอง ต.หนองแหน อ.มหาสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    .
    รายละเอียดในป้าย จะมีลักษณะนี้
    เพียงแต่ป้ายแรกที่ดำเนินการจัดทำนั้น รายละเอียดตามรูป
    ส่วนอีกป้าย รายละเอียดจะแตกต่างกันตรงบทสวดเท่านั้น ครับ
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์
    .
    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #พระเจ้าอโศกมหาราช
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
    หมายเหตุ ท่านสามารถนำรูปไปใช้ได้ โดยห้ามไม่ให้แต่งเติมเรื่องใดๆลงในรูป
    รูปที่นำไปใช้ ต้องเป็นรุปเดิมๆเท่านั้น
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    .
    .
    เมื่อวานนี้ (วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2565)
    ไปงานบุญที่ #วัดบ่อเงินบ่อทอง
    .
    #หลวงพ่อโสธร ที่ #วัดโสธรวรารามวรวิหาร
    .
    หลังจากนั้น ผมเดินทางต่อไปที่ วัดบ่อเงินบ่อทอง
    .
    ไปทำบุญหลายงานบุญ
    .
    - ถวายเพลพระภิกษุสงฆ์ และ สามเณร
    .
    - ถวายป้าย(สแตนเลส)ประวัติหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า จำนวน 2 ป้าย
    .
    - ถวายปัจจัยร่วมงาน #กฐินสามัคคีของวัดบ่อเงินบ่อทอง
    เพื่อซื้อที่ดินถวายให้แก่วัด ถวายให้“เป็นที่ธรณีสงฆ์”
    .
    - ถวายปัจจัยร่วมสร้างรูปหล่อหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า
    .
    - ถวายปัจจัยสำหรับใช้ในการจัดซื้อภัตตาหาร , อาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด หรือ อาหารแห้ง
    เพื่อถวายเป็นภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่วัดบ่อเงินบ่อทอง
    .
    - ถวายพระวังหน้า และ พระใหม่ (ที่บรรจุในกล่องสแตนเลส) เพื่อบรรจุไว้ที่วัดบ่อเงินบ่อทอง
    .
    การทำบุญทั้งหมด เป็นการร่วมทำบุญของ สมาชิกชมรมพระวังหน้า , สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้า และ สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้าโลกอุดร
    .
    ขอโมทนาบุญกับทุกท่าน
    มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ
    .
    .
    .
    หากต้องการทราบประวัติ(โดยย่อ)หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อคือ หลวงปู่เดินหน
    .
    ไปอ่านได้ที่วัดบ่อเงินบ่อทอง
    .
    ผม , สมาชิกชมรมพระวังหน้า , สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้า และ สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้าโลกอุดร เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น และ เมื่อวานนี้ได้นำไปถวายหลวงพ่อแผน ที่วัดบ่อเงินบ่อทองเรียบร้อยแล้ว
    .
    เดิมข้อความทั้งสองป้ายที่ไม่เหมือนกันคือ ชื่อหลวงปู่ฯ และ คำไหว้
    แต่ไม่ทราบจากสาเหตุใด
    ผู้ดำเนินการจัดทำป้ายฯ ทำข้อความมาเหมือนกันทั้งสองป้ายฯ ครับ
    .
    อยากทราบว่า เหมือนกันอย่างไร ต้องไปเห็นกับตาตนเอง ครับ
    .
    .
    .
    หมายเหตุ ผมเคยบอกบุญในเรื่องการจัดสร้างป้าย(สแตนเลส)ประวัติหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หากมีเงินเหลือจากการจัดสร้างป้ายฯ ผมจะโอนไปร่วมทำบุญกับกลุ่มบ้านแสงแห่งธรรม โดยผมนำวัตถุมงคลที่เป็นทั้งพระวังหน้า และวัตถุมงคลอื่นๆ ไปมอบให้ผู้ร่วมทำบุญ (โดยผมบอกบุญไปประมาณ 4 ครั้ง) อีกทั้งมีหลายท่านที่ร่วมทำบุญโดยไม่รับพระวังหน้าและวัตถุมงคล
    .
    เมื่อบอกบุญไปแล้ว มีผู้ร่วมทำบุญมาหลายท่าน รวมเงิน 86,029.02 บาท
    ผมโอนเงินไปเป็นค่าจัดสร้างป้าย(สแตนเลส)ประวัติหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า จำนวน 44,800 บาท
    ส่วนที่เหลือ ผมโอนไปทำบุญกับกลุ่มบ้านแสงแห่งธรรม จำนวน 41,229.02 บาท
    .
    งานบุญที่กลุ่มบ้านแสงแห่งธรรม ไปทำบุญ มีรายละเอียด(แบบคร่าวๆ) ดังนี้
    .
    - เลี้ยงพระสงฆ์และสามเณร..วัดตากฟ้าพระอารามหลวง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
    - รอบแรก แจกลูกชิ้นปิ้ง 300 ชุดที่ รพ.เนินมะปราง
    และ รอบสองเป็นข้าวกับผัดไทย (ผัดไทย 200 กล่อง , ข้าวผัดหมูยอทอด100 กล่อง รวม 300 กล่อง)
    - บวชพระภิกษุ 1 รูป และ สามเณร 1 รูป
    เป็นต้น
    .
    ขอโมทนาบุญกับทุกท่าน
    มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ
    .
    .
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ว่า #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการที่ผมพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #หลวงปู่แจ้งฌาณ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
    รูปสงวนลิขสิทธิ์
    .
    .
    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    พระธรรมทูต องค์ที่ 4 ในคณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ
    ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ปี พุทธศักราช 235
    .
    นั่นคือ
    .
    หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า (หรืออีกชื่อ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จ.ลพบุรี)
    .
    ไม้เท้าที่ผมลงให้ชม เป็นไม้เท้าที่มีท่านที่ให้จัดสร้างขึ้น แล้วนำไปถวายหลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า
    หลังจากนั้น หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า ได้นำไม้เท้าอันนี้ วางไว้บนตักของท่านเอง
    ปัจจุบัน ไม้เท้าอันนี้ อยู่ที่บ้านผม ครับ
    .
    .
    .
    พระฌาณียะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีพุทธกาล 278
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปีพุทธกาล 278
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 506 - 507)
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    .
    พระฌาณียะเถระเจ้า
    มีรูปกายค่อยข้างสูงใหญ่ ขนตาดกยาว มีอำนาจ แต่ขี้เล่นใจดี
    .
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 23 - 25)
    .

    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
    .
    .
    .
    พระอุปัชฌาย์ของคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ คือ พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร ที่ท่านเป็นผู้เลือกคณะโสณะอุตตระ มาเป็นคณะพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
    (พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า)
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 428)
    .
    คณะคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ เดินทางมาโดยทางเรือ มาถึงถิ่นสุวรรณภูมิที่เมืองทอง (ไม่ทราบว่า อยู่ในจังหวัดไหน) เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ ปีพุทธกาล 235 (ปีไทยฉลู) โดยอยู่ที่วัดปุณณาราม
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 439)
    .
    .
    .
    ประวัติโดยย่อ หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า (หรืออีกชื่อ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จ.ลพบุรี)
    .
    พระธรรมทูต องค์ที่ 4 ในคณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ
    ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ปี พุทธศักราช 235
    .
    https://m.facebook.com/story.php?st...rYKB79WGsl&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
    .
    .
    ประวัติ(บางส่วน) ของ หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    ที่มา
    .
    ประวัติ (บางส่วน) ของ คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ
    ที่มา https://m.facebook.com/story.php?st...5QtTWjJHel&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
    ประวัติ พระมหากัสสปะ (ไม่ใช่หลวงปู่เทพโลกอุดร หรือ คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตระ)
    https://m.facebook.com/story.php?st...mvsZH6FZil&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
    .
    .
    .

    รูปสงวนลิขสิทธิ์

    .

    .

    .

    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ

    .

    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต

    .

    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมพิมพ์ว่า #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)

    .

    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)

    .

    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ

    .

    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์

    .

    #หลวงปู่เทพโลกอุดร

    .

    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร

    .

    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ

    .

    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี

    .

    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

    .

    #พระเจ้าอโศกมหาราช

    .

    #ชมรมพระวังหน้า

    .

    #พระวังหน้า

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    .
    พระธรรมทูต องค์ที่ 5 ในคณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ
    ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ปี พุทธศักราช 235
    .
    นั่นคือ
    .
    หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า ( หรืออีกชื่อ หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ หลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี กรุงเทพ )
    .
    .
    .
    พระภูริยะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีพุทธกาล 295
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 295
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 511)
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    .
    พระภูริยะเถระเจ้า
    สำเร็จปรอท ล่องหนย่นระยะทางเก่ง
    .
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 23 - 25)
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
    .
    .
    .
    พระอุปัชฌาย์ของคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ คือ พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร ที่ท่านเป็นผู้เลือกคณะโสณะอุตตระ มาเป็นคณะพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
    (พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า)
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 428)
    .
    คณะคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ เดินทางมาโดยทางเรือ มาถึงถิ่นสุวรรณภูมิที่เมืองทอง (ไม่ทราบว่า อยู่ในจังหวัดไหน) เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ ปีพุทธกาล 235 (ปีไทยฉลู) โดยอยู่ที่วัดปุณณาราม
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 439)
    .
    .
    .
    ประวัติโดยย่อ หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า ( หรืออีกชื่อ หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ หลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี กรุงเทพ )
    .
    พระธรรมทูต องค์ที่ 5 ในคณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ
    ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ปี พุทธศักราช 235
    .
    https://m.facebook.com/story.php?st...7kkDDQn7Kl&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
    .
    .
    ประวัติ(บางส่วน) ของ หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    ที่มา https://www.facebook.com/1503999719890625/posts/3068881583402423/
    .
    ประวัติ (บางส่วน) ของ คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ
    ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02TkVbLQPvJGjuZvQeTb2p4JWygvxqpdECNRNnKpfuaFjdtQMTPbnFPfw5QtTWjJHel&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
    ประวัติ พระมหากัสสปะ (ไม่ใช่หลวงปู่เทพโลกอุดร หรือ คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตระ)
    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid031WS19qPt2A8UFpzmUTPVCfyJ4obLQamvcV7FajrYKJG4Q9cQaBByiLTmvsZH6FZil&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
    .
    .
    .
    รูปสงวนลิขสิทธิ์
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมพิมพ์ว่า #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #พระเจ้าอโศกมหาราช
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
    #ต่อตีนโจร
    .

    .

    .

    .

    #ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ

    #การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น

    .

    .

    .

    #กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี

    #กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ

    .

    .

    .

    #ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก

    #ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก

    #ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก

    #ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น

    .

    .

    .

    #ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน

    #ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด

    #ไม่มีใครหนีกรรมพ้น

    #แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น

    .

    .

    .

    #ต่อให้ใหญ่แค่ไหน

    #ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด

    #ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น

    #แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม

    #บุพกรรมพระพุทธเจ้า

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ผม Sithiphong (Noom Wangna) ขอนำเรื่องราวของ พระมูนียะเถระเจ้า นำมาให้อ่านกันอีกครั้ง
    ผมเองเคยนำลงไปแล้วในการนำเรื่องราวของ คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ มาลงให้อ่านกัน
    แต่ในครั้งนี้ ผมจะนำเรื่องราวเฉพาะองค์หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า นำมาลงให้อ่านกันอีกครั้ง ครับ
    .
    มายืนยันว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ ที่ประกอบด้วยแกนหลัก คือ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า) ได้มรณภาพกันไปทั้งหมดแล้ว และกายที่ท่านมีในปัจจุบันคือ อทิสมานกาย ไม่มีตัวตนที่แท้จริง แต่เนื่องจากการที่คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร มีการฝึกฤทธิ์มามาก ส่งผลให้สามารถทำให้อทิสมานกาย ปรากฎเป็นกายเนื้อได้
    .
    อีกเรื่องก็คือ ปัจจุบันมีรูป พระภิกษุที่เป็นรูปโครงกระดูก ที่ระบุเป็นรูปของหลวงปู่เดินหน (พระมูนียะเถระเจ้า) โครงกระดูกที่ปรากฎนั้น เป็นสิ่งที่หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า ท่านทำให้ปรากฎขึ้น เพื่อให้คนทั้งหลายที่ได้เห็น จะได้ระลึกถึงเรื่อง อสุภกรรมฐาน ส่วนกายของหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า ได้มีการประชุมเพลิง(ฌาปนกิจ) ไปเมื่อปีพุทธกาล 298 (ตามข้อมูลด้านล่างที่ผมนำมาให้อ่านกันอีกครั้ง) ครับ
    .
    ขอกราบในพระคุณของหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตตระ ที่ประกอบด้วยแกนหลัก คือ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า) ที่ทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก ที่ทำให้ผู้คนได้มีหลักปฎิบัติตามหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความหลุดพ้นในวัฏสงสาร มุ่งสู่แดนพระนิพพาน
    .
    โลกุตตะโร ปัญจะมหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ
    .
    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
    Sithiphong (Noom Wangna)
    .
    .
    หมายเหตุ ให้ระวังเรื่องของการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของการกระทำกรรม "มุสาวาท" ที่เป็นกรรมที่ไม่สามารถแก้ไขได้บนโลกออนไลน์ เพราะว่า จะไม่ทราบได้เลยว่า เรื่องที่นำเสนอที่เป็นเรื่องมุสาวาท มีใครเชื่อและเผยแพร่กันต่อๆไป และการนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเรื่องมุสาวาท จะเป็นเรื่องของการ "ต่อตีนโจร" ที่ผมเคยนำมาลงให้อ่านกันแล้ว ครับ
    .
    #ต่อตีนโจร
    #มุสาวาท
    .
    .
    .
    .
    .
    หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ จากการที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ) ในสายที่ 8 จาก 9 สายของคณะพระธรรมทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ข้อมูลจาก หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    .
    หมายเหตุ ในหนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร เขียนคำว่า สุวัณณภูมิ แต่ในที่นี้ ผมขอใช้คำว่า สุวรรณภูมิ แทน เนื่องจากน่าจะเข้าใจกันได้ง่ายกว่า)
    .
    .
    พระอุปัชฌาย์ของคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ คือ พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร ที่ท่านเป็นผู้เลือกคณะโสณะอุตตระ มาเป็นคณะพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
    (พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระโสณะเถระเจ้า , พระอุตตระเถระเจ้า , พระมูนียะเถระเจ้า , พระฌาณียะเถระเจ้า และ พระภูริยะเถระเจ้า)
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 428)
    .
    คณะคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ เดินทางมาโดยทางเรือ มาถึงถิ่นสุวรรณภูมิที่เมืองทอง (ไม่ทราบว่า อยู่ในจังหวัดไหน) เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ ปีพุทธกาล 235 (ปีไทยฉลู) โดยอยู่ที่วัดปุณณาราม
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 439)
    .
    .
    พระมูนียะเถระเจ้า ท่านมรณภาพ (นิพพาน) วันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 298
    เข้าชุมไฟ (การประชุมเพลิง) วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีพุทธกาล 298
    มีการเก็บธาตุ ที่ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 511)
    .
    .
    ชื่อ วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า
    โลกกนลว เมืองสุวัณณภูมิ ผู้โปรสเห้าหม่อมเมีย(ก้านตาเทวี) เป็นผู้ให้สร้างวัดศรีมหาธาตุแดนลว้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีพุทธกาล 238
    (หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย หน้าที่ 443-444)
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมมทตโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ( คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ ที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ จากการที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ) ข้อมูลจาก หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
    .
    .
    พระมูนียะเถระเจ้า
    มีบุคลิกภาพสง่างาม มีความเชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบเจริญอสุภกรรมฐาน 10 (ภาพในนิมิตร มักจะปรากฎเส้นเกสายาวจรดเอว)
    .
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 23 - 25)
    .
    .
    คณะคณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตตระ เดินทางมาโดยทางเรือ มาถึงถิ่นสุวรรณภูมิ โดยได้มาพักที่ วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) เมื่อวันขึ้น 14 คำ เดือน 1 พุทธศักราช 235
    (หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร หน้าที่ 10)
    .
    .
    Sithiphong (Noom Wangna) ผู้เรียบเรียง โดยเรียบเรียงมาจากหนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
    .
    .
    .
    #หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
    .
    #หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
    .
    #หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมพิมพ์ว่า #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
    .

    #หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
    .
    #หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
    .
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร
    .
    #หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    .
    #คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
    .
    #สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
    .
    #หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
    .
    #ชมรมพระวังหน้า
    .
    #พระวังหน้า
    .
    .
    https://m.facebook.com/story.php?st...iEeDAUGVKl&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...