รวมคําสอนเรื่องนิพพานของพระผู้ปฎิบัติดี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 25 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>อารมณ์ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี</TD></TR><TR><TD align=left> การทรงจิตในด้านหิริและโอตตัปปะ
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ในตอนก่อนได้พูดถึงจริยาของการปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน แต่ในตอนนั้นรู้สึกว่าจะเป็นพระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุงมากกว่า ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราใช้การพิจารณา
    อันดับแรก พิจารณาถึงความตายเป็นอารมณ์ การนึกถึงความตายนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ต้องถือว่าเป็นจุดสำคัญที่เราจะต้องคิดเป็นปกติ ถ้าลงได้คิดถึงความตายแล้วคนมันก็เลวได้ยาก ที่เลว ๆ นั่นน่ะ โดยมากไม่ได้นึกถึงความตาย จึงได้ทำความชั่วกันทุกอย่าง
    ขาด หิริ และ โอตตัปปะ
    หิริ ได้แก่ ความละอายแก่ความชั่ว
    โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่ว จะทำความเร่าร้อนให้เกิด
    ที่เลวกันมาได้ก็เพราะอาศัยคุณธรรมทั้งสองประการนี้ไม่มีในจิต คนเราถ้าขาดหิริและโอตตัปปะ ก็เป็นอันว่าไม่ใช่มนุษย์เพราะว่า มนุษย์ แปลว่า มีใจสูง ยิ่งเป็นพระภิกษุสามเณรด้วยแล้วก็เลวมากเต็มที
    ฉะนั้นคำสอนแต่ละคราว ทั้งตอนเย็น ตอนเช้า ตอนกลางคืน ตอนดึกก็ตาม มันจะเตือนกันอยู่เสมอว่า ให้นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จะได้ประกอบความดี องค์สมเด็จพระชินสีห์เองก็ได้ทรงตรัสแก้พระอานนท์ว่า
    "อานันทะ ดูด่อนอานนท์ เราเองนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก"
    นี่คนดีอย่างพระพุทธเจ้าเป็นจอมอัจฉริยะ หรือว่าเป็นจอมของสมณะทั้งหมด พระองค์ก็ยังกำหนดจิตจับความตายเป็นอารมณ์ ไม่มีความประมาทในชีวิต เพราะอะไร
    ก็เพราะว่า คนถ้านึกถึงความตาย ก็ต้องมีความรู้สึกว่า ถ้าเราจะอยู่ ก็อยู่อย่างคนดี ถ้าตายเป็นผีเราก็จะเป็นผีดี ถ้าไม่นึกถึงความตาย มันก็ขาดหิริโอตตัปปะ ถ้าอยู่อย่างคนก็เป็นคนเลว ถ้าตายเป็นผีมันก็เป็นผีเลว คือ เป็นผีในนรก เป็นผีประเภทเปรต เป็นผีประเภทอสุรกาย เป็นผีประเภทสัตว์เดรัจฉาน นี่ผลร้ายสำหรับคนที่ไม่นึกถึงความตายและขาดหิริโอตตัปปะ
    ฉะนั้นขอท่านทั้งหลายเมื่อสร้างความดี ก็ทรงจิตไว้ในด้านหิริและโอตตัปปะ ควบกับความรู้สึกตัวว่าเราจะต้องตาย
    ความจริง ความตายนี่มี 2 อย่าง ตายประเภทสิ้นลมปราณ นั่นอย่างหนึ่ง ตายประเภทที่มีลมปราณ นั่นอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น พระนางสามาวดีกับหญิง 500 ถูกนางมาคันธิยาอิจฉาริษยา ในที่สุดถึงกับจ้างให้น้าชาย หรืออา เข้าไปเผาปราสาทนางกับหญิง 500 ให้ตายพร้อมกัน แต่หญิงทั้ง 500 นั้นมีความไม่ประมาทในชีวิต เพราะอารมณ์จิตเป็นพระโสดาบันอยู่แล้ว จึงได้แนะนำกันว่าพวกเราทั้งหลายจงอย่าโกรธในพระนางมาคันธิยา จงอย่าโกรธในมาคันธิยาพราหมณ์ผู้เผาปราสาท จงมีจิตคิดให้อภัยแก่คนทั้งสอง เร่งรัดรวบรวมกำลังใจสร้างความดีให้สูงยิ่งขึ้นไป ในขณะที่ไฟใกล้เข้ามาจวนจะเผาเข้ามาถึงกาย ก็ปรากฏว่าบางคนได้เป็นพระสกิทาคามี บางคนบรรลุอนาคามี
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะรู้ว่าความตายจะเข้ามาถึงในเดี๋ยวนี้ ท่านทั้งหมดทั้ง 500 คนไม่มีความประมาทในชีวิต รวบรวมกำลังจิตปลงขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในที่สุดมันจะต้องตายแล้ว ตายดีตายชั่วมันก็ตาย
    การตายแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ เพราะพระสงฆ์ไปรายงานให้ฟังว่า หญิง 500 มีพระนางสามาวดีเป็นประธานต้องถูกไฟเผาตาย องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงตรัสว่า
    "ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิง 500 ที่ถึงว่าจะตายแล้วก็เหมือนกับคนที่ไม่ตาย"
    เพราะอะไร เพราะว่าเมื่อมีชีวิตอยู่เขาก็สร้างแต่ความดี เมื่อตายไปแล้วก็ไปเป็นผีดี คือ เป็นพระอริยะเจ้าเบื้องสูง เป็นพระสกิทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง
    เป็นอันว่าท่านที่เป็นสกิทาคามีเรื่องอบายภูมิไม่ต้องพูดกัน ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวก็ไปนิพพาน ท่านที่เป็นอนาคามีตายไปเป็นเทวดาแล้วนิพพานบนนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์กล่าวว่าเขาผู้นั้นยังไม่ตาย คือ ไม่ตายจากความดี มีความดีก้าวขึ้นสูงกว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ปกติ
    สำหรับพระนางมาคันธิยา ก็ถูกพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์สั่งประหารชีวิตพร้อมด้วยพวกและญาติ ในฐานะที่เป็นจอมอิจฉาริษยาคนอื่น คือ อิจฉาริษยาพระนางสามาวดีพร้อมด้วยหญิง 500 ที่เป็นบริวาร จนกระทั่งถึงความตาย ในที่สุดพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอก็สั่งให้จับพระนางมาคันธิยากับบรรดาญาติทั้งหลาย โดยเฉพาะญาติทั้งหลายเหล่านั้นให้หลุมฝังลงไปครึ่งตัวแล้วให้เอาฟางสุมให้เลยหัว สั่งเอาไฟจุดแล้วก็ใช้ช้างเทียมไถเหล็กเดินไถพวกนั้นขาดกลางตัว
    สำหรับนางมาคันธิยา จอมอิจฉาริษยาเป็นหัวหน้าคนในด้านทำลายความดีของบุคคลอื่น พระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอให้จับผูกมือสองมือ แขวนเท้าหวิด ๆ กับพื้นให้เอาผ้าม้วน ๆ ยัดใส่ปาก แล้วเชือดเนื้อทีละชิ้น เอามาทอดน้ำมัน ทอดสุกก็บังคับให้นางมาคันธิยากินจนกว่าจะตาย
    การตายแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า นางมาคันธิยาในสมัยที่ยังไม่ตายก็เหมือนกับบุคคลที่ตายแล้ว คือ มีแต่ความชั่วไม่มีความดี ตายจากความเป็นสุข มีแต่ความเร่าร้อน
    นี่การที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นพระโสดาบัน เราก็ต้องนึกถึงความตายเป็นปกติ ถ้าพวกเราเป็นพระโสดาบันไม่ได้ ก็รู้สึกว่าเป็นที่น่าเสียดาย อยู่ในสถานที่เช่นนี้ รับฟังธรรมะกันทุกวัน วันละหลายเวลา ยังจะคบกับความชั่ว คือ ขาดหิริและโอตตัปปะ เข้ามาเป็นประจำ ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในกาลก่อน ก็รู้สึกว่าจะเลวเกินไปสำหรับการเกิดเป็นคน ไม่สมควรจะเอาภาคของมนุษย์เข้ามาสวมกาย เอาใจเข้ามาสิงในภาคของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุสามเณรก็จะเลวมากที่สุด เพราะว่าภิกษุสามเณรจะต้องมี อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
    ฉะนั้น จงพยายามรวบรวมกำลังใจให้ทรงไว้เฉพาะความดี อย่าปล่อยให้ความเลวมันหลั่งไหลเข้ามาสู่ใจอีก เพราะความเลวไม่ให้ผลความสุขแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ มีอย่างเดียวคือ ความทุกข์ ความเร่าร้อน เช่นเดียวกับนางมาคันธิยา จงอย่านึกว่าจะมีใครเขาปรานีในฐานะที่เราเป็นคนเลว มันหาไม่ได้ โลกนี้ทั้งโลกไม่มีใครเขาเมตตาปรานีคนเลว
    ทีนี้การลงโทษ เราก็จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อัตตนา โจทยัตตานัง" จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทก์ตน กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเท่าไหร่ เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม ที่เรายังไปแส่หาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสีเขาบ้าง พูดจากระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้าง นั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว คือ ความเลว มันไม่ได้ขังอยู่เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกาย ไหลออกมาทางวาจา เพราะมันล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่นเขา ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด
    ทีนี้ จิตที่มันจะดีมันดีตรงไหน ก็ดีตรงว่านึกถึงความตาย มีหิริและโอตตัปปะ อายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว ความชั่วมันมีอะไรบ้าง เราก็รู้กันอยู่แล้ว เราต้องเป็นผู้มีศีล ถ้าทำลายความสุขของบุคคลอื่นจะชื่อว่าเราเป็นผู้มีศีลได้ยังไง ทำลายความดีของบุคคลอื่น เราจะเป็นผู้มีศีลได้ยังไง
    จิตของเรานอกจากจะทำอธิศีลสิกขาแล้ว ก็ต้องเป็นอธิจิตสิกขา อธิจิตสิกขา คือ ทรงจิตให้อยู่ในความดีตลอดเวลา มีพรหมวิหาร 4 เป็นเครื่องประจำใจ ถ้าเราอายความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่ว ก็ต้องใช้พรหมวิหาร 4 เข้ามาประคับประคองอารมณ์ของจิตเมื่อพรหมวิหาร 4 คือ
    เมตตา ในคนทั้งหลายและสัตว์ทั้งหมด
    กรุณา มีความสงสารปรารถนาเกื้อกูลจะให้มีความสุข
    มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เมื่อเห็นบุคคลอื่นได้ดีก็พลอยยินดีด้วย
    อุเบกขา วางเฉยในเมื่อกฎของกรรมหรือกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมันเกิดขึ้น มันสุดวิสัยที่จะพึงระงับได้ เราก็วางเฉยไม่ดิ้นรน คือ ไม่ซ้ำเติมเมื่อบุคคลอื่นได้รับความทุกข์
    นี่ถ้าอาการทั้ง 4 อย่างนี้มีอยู่ในใจของเรา ความชั่วมันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ที่เราต้องชั่วกันเพราะว่าขาดหิริและโอตตัปปะ ขาดนึกถึงความตาย ขาดพรหมวิหาร 4 ถ้าขาดสิ่งทั้ง 3 ประการนี้ ศีลเรามันก็ไม่มี จะทรงเพศเป็นพระ จะทรงเพศเป็นเณร จะทรงเพศเป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็สักแต่ว่าพึงมีเพียงเพศเท่านั้น อย่างนี้พระพุทธเจ้าถือว่าเถน เถนแปลว่าหัวขโมย คือขโมยเพศของสมณะมาใช้ แต่น้ำใจจริง ๆ นั้นเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะสัตว์เขาถือว่าเป็นสัตว์อยู่แล้วมันจะรบกวนกันเขาก็เป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิ แต่คนเรามีน้ำใจคล้ายสัตว์ไม่ยอมรับนับถือความดีซึ่งกันและกัน มันก็เลวกว่าสัตว์ นี่ต้องประณามตนอย่างนี้ การประณามตนต้องประณามให้หนัก อย่าประณามเบา อย่ามองในด้านของความดี
    ถ้าจิตของเราทรงอยู่ในพรหมวิหาร 4 แล้วมีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไร เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความดี คือ จิตทรงพรหมวิหาร 4 มีหิริโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็น มีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุข บุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ปากไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่ไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย ๆ มากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าถ้าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันก็ย่อมปรากฏ
    ทีนี้สำหรับวันนี้ขอดูเวลาก่อน พอจะมีเวลาพูดไหม ขอพูดต่อไปว่า เราพูดกันมาถึงด้านพระโสดาบันว่า ประกอบไปด้วยองค์ 4 ประการ คือ
    1. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    2. มีความเคารพในพระธรรม
    3. มีความเคารพในพระสงฆ์
    4. มีศีลบริสุทธิ์
    นี่เป็นองค์ของพระโสดาบัน แต่องค์ทั้งหลายอย่างนี้จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยมรณานุสสติกรรมฐานเป็นเบื้องต้นที่เราคิดว่าเราจะต้องตาย จงอย่าคิดว่าอีกสองวันตาย สามวันตาย จงคิดไว้เสมอว่าเราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ และตายก็จงตายดี ตายอย่างพระนางสามาวดีพร้อมด้วยหญิง 500 อย่าเป็นมีลมปราณแต่ว่ายืนตายจากความดีอย่างเหล่าของนางมาคันธิยา
    ทีนี้สำหรับอนุสติที่จะพึงปฏิบัติในความเป็นพระโสดาบันก็คือ
    1. มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    2. พุทธานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    3. ธัมมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระธรรมเป็นอารมณ์
    4. สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    5. สีลานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของศีลเป็นอารมณ์
    6. พรหมวิหาร 4 อย่างนี้ไม่เรียกว่าอนุสติ ใคร่ครวญในพรหมวิหาร 4 จัดเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเป็นอารมณ์
    7. อุปสมานุสสติ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนา ให้ใช้จิตควบคุมอยู่ตลอดทั้งเวลาลืมตาและหลับตา นี่นักปฏิบัติที่ดีเขาใช้แบบนี้ ไม่ใช่ว่าเวลาหลับตาทำท่าจะเป็นคนดีแต่พอลืมตาขึ้นมาแล้วความอัปรีย์มันก็เกิดแก่จิต อิจฉาริษยาบุคคลอื่น กลั่นแกล้งบุคคลอื่น คิดประทุษร้ายบุคคลอื่น อย่างนี้มันใช้อะไรไม่ได้ ตายแล้วไปสู่อบายภูมิ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย กลับมาเป็นคนมันยังเป็นไม่ได้ เข้าใจจิตตามนี้
    ทีนี้พูดกันไปแล้วในด้านของพระโสดาบัน ขอต่อไปอีกนิดถึงอารมณ์ของ พระสกิทาคามี สำหรับพระสกิทาคามีน่ะ ทำให้จิตละเอียดลงไปกว่านั้น คือ ระงับโลภะ ความโลภ ระงับโทสะ ความโกรธ ระงับโมหะ ความหลง ให้เบาบางลง ยังไม่หมด คือ ความโลภยังมีอยู่ แต่ว่าเพลาลงไป ความโกรธยังมีอยู่ ยับยั้งไว้ได้เร็ว ความหลงยังมีอยู่ มีอาการเพลาตัว เป็นอันว่าทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลงมันบาง บางกว่าพระโสดาบัน ท่านก็ เรียกว่า สกิทาคามี สำหรับสังโยชน์ก็มีความประพฤติเหมือนกัน แต่จิตละเอียดกว่า
    ทีนี้ถ้าหากว่าเราระงับความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ทีละตัวมันก็ลำบาก เราก็มายืนจุดศูนย์กลาง ก็คือ ทรงพรหมวิหาร 4 เคร่งครัด มีความมั่นคงในพรหมวิหาร 4 มากขึ้น มีหิริและโอตตัปปะมากขึ้น นึกถึงความตายเห็นชัด มีอารมณ์ทรงตัวมากขึ้น ทีนี้เมื่อเรามีพรหมวิหาร 4 มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตาย ใจมันก็เลิกโลภ เลิกโลภตรงไหน เพราะมันจะตาย รู้ ทำตะเกียกตะกายเหมือนกับว่าเกินพอดี ถ้าหากว่าหาอาหารหรือหาทรัพย์สินมาด้วยสัมมาอาชีวะ ไม่จัดว่าเป็นความโลภ ต้องเอาอาการเกินพอดี ที่สำคัญคือ อยากจะได้ของบุคคลอื่น แม้ไม่ทำแต่ใจมันก็อยาก อยากจะโกงเขา อยากจะข่มเหงเขา อยากจะอิจฉาริษยาเขา อยากทุกอย่างซึ่งเป็นด้านของความเลว อันนี้ไอ้ตัวอยากตัวนี้เราตัด งดมันเสียได้ด้วยอำนาจของ พรหมวิหาร 4 หิริ และ โอตตัปปะ และ มรณานุสสติกรรมฐาน เอาอารมณ์ 3 ประการเข้าควบคุม คิดว่าจะอยากได้ของเขาไปทำไม ได้มาแล้วมันก็ตาย ไม่ได้มันก็ตาย มีเท่านี้ก็พอกิน หากินแบบนี้ไม่ได้มีได้เท่าไหร่พอใช้พอกิน หากินให้มันรวยกว่านี้ หากินด้วยความสุจริตใจ ไม่มีโทษ เพราะยังเป็นสกิทาคามี
    และอารมณ์อีกอันหนึ่งสำหรับพระอนาคามี ที่มีความสำคัญก็คืออภัยทาน ให้อภัยแก่ผู้ผิด เราเองก็พยายามไม่ทำผิดอยู่เสมอ ทรงอารมณ์ปกติในมรณานุสสติกรรมฐานเคร่งครัด เคารพในคุณพระรัตนตรัยเคร่งครัด มีหิริและโอตตัปปะเคร่งครัด ศีลเคร่งครัด และมีพรหมวิหาร 4 แข็งกร้าวในจิต ไม่ยอมให้จิตตกอยู่ในอำนาจของความเลว นึกถึงการให้ทาน การบริจาคอยู่ตลอดเวลา ตั้งหน้าปรารถนาจะสงเคราะห์คนอื่นให้มีความสุข เป็นอุปสมานุสติ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีจิตใจรักพระนิพพานอย่างยิ่ง
    เพียงเท่านี้จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ภิกษุและสามเณร ถ้าทรงอารมณ์จิตได้อย่างนี้จริง ๆ ท่านก็เป็นสกิทาคามี ซึ่งมันเป็นของไม่ยาก ที่ยากก็เพราะเราอยากเลว ถ้าคนอยากดี พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรยาก สวัสดี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    เรื่องอารมณ์ของพระโสดาบันและอารมณ์ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี นํามาจากหนังสือทางเข้าสู่พระนิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา
     
  3. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>อารมณ์พระโสดาบันและพระสกิทาคามีมรรค (ต่อ)</TD></TR><TR><TD align=left> การอภัยทาน
    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดต่อเมื่อวันวาน แต่การเริ่มต้นก็ขอให้ทุกคนพยายามฝึกฝนอารมณ์ไว้ วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี่เป็นการระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต เราอธิบายกันมามาก พูดกันมามาก ไม่อยากอธิบายซ้ำ ไม่อยากพูดซ้ำ
    สำหรับวันนี้ก็จะได้ปรารภเรื่องพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต่อไป เพราะว่าท่านโสดาบันกับสกิทาคามีละสังโยชน์ได้เสมอกัน แต่ทว่ามีอาการระงับต่างกัน หมายถึงว่าพระสกิทาคามี มีการระงับ หรือการทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง สำหรับพระสกิทาคามีเบื้องต้น เรียกว่า สกิทาคามีมรรค นั่นก็ได้แก่ถือ อภัยทานเป็นสำคัญ อภัยทานที่จะเกิดขึ้นมาได้ก็ อาศัยพรหมวิหาร 4 ถ้ามีอยู่ในใจ ก็มีแต่ความรักความสงสาร ตัดความอิจฉาริษยา มีอารมณ์วางเฉยหรือว่าเฉยในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้ทำลายอารมณ์จิตของเรา วางไว้ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา อันนี้ต้องจำ
    ที่ว่าต้องจำก็เพราะว่าบางทีพวกเราก็มักจะลืมกันเหมือนกัน มักจะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น อันนี้เป็นการไม่สมควร พูดกันมาทุกวัน ระวังให้ดี อย่าไปยุ่ง ความเป็นพระให้มันเป็นพระ อย่าทำตนเป็นพะ เป็นเณรจงเป็นเณร อย่าทำตนเป็นโจร คำว่าโจร หมายความว่า ปล้นความดีของพระพุทธศาสนา ปรับปรุงใจของตนเองเป็นสำคัญ
    ถ้าทุกคนปรับปรุงใจของตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องไปยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่นต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังอยู่ในใจไม่ได้ มันจึงอุตสาห์ไหลมาทางวาจา ไหลมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้วปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้นมีความดีไม่ได้
    ทีนี้สิ่งที่เราจะกันความเลวไม่ให้มันล้นออกมา ก็ต้องอาศัยพรหมวิหาร 4 คือ มีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยยินดีด้วยและมีอารมณ์วางเฉย ยอมรับนับถือกฎของกรรม และพยายามเพ่งโทษโจทก์ความชั่วของตัวอยู่เสมอ อย่าไปโทษโจทก์ความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าใจมันยังโทษโจทก์ความชั่วของบุคคลอื่น แสดงว่ายังเลวอยู่ ยังมีความอิจฉาริษยาคนอื่น ยังเลวอยู่ พูดเสียดสีค่อนแคะบุคคลอื่น ยังเลวอยู่ สร้างกรรมชั่ว ทำชั่ว ทำผิดวินัย มันยังเลวอยู่ นี่พยายามมองความเลวในใจของเราเป็นสำคัญ ถ้าใจของเราไม่เลว เราก็ไม่มีการเพ่งโทษบุคคลอื่น ไม่เสียดสีบุคคลอื่น และอารมณ์แห่งพรหมวิหาร 4 มีอยู่
    เมื่อพรหมวิหาร 4 มีความละเอียดทรงตัวดี มีอารมณ์ละเอียด จึงจะให้อภัยทานได้ อภัยทานนี่มันมีกำลังหนัก คือว่าหนักกว่า พรหมวิหาร 4 ธรรมดา พรหมวิหาร 4 ธรรมดานี่เรามีจิต เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แล้วมีรัก มีสงสาร ไม่อิจฉาริษยาเขา
    สำหรับอภัยทานนี้ต้องใช้อารมณ์สูงไปกว่านั้น เพราะว่าเราต้องให้อภัยกับคนที่สร้างความชั่วให้เกิดขึ้นกับเรา แทนที่เราจะโกรธแทนที่เราจะพยาบาท เรามีจิตคิดให้อภัยในความเลวของเขา โดยมีความรู้สึกนึกคิดว่าบุคคลนี้มีสภาพเป็นทาส ไม่มีความเป็นไท
    คำว่า ทาส เป็นคนชั้นต่ำ เป็นพระนักบวช ก็เป็นนักบวชชั้นต่ำ เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นต่ำ เพราะว่ายังมีจิตเป็นทาสอยู่ ยังไม่เป็นไท อยู่ในเกณฑ์ถูกบังคับบัญชาให้ทำอยู่เสมอ
    ทาสคนยังดี ยังมีโอกาสหาความดีมาใส่ตนได้ ถึงแม้ว่าเป็นทาส นี่ทาสของคน ดูตัวอย่าง นางบุญทาสี เป็นทาสของคหบดี รับใช้เจ้านายอยู่ตลอดเวลา ไม่มีค่าจ้างรางวัล เพราะเป็นทาส แต่ว่านางบุญทาสีก็ยังมีจิตเป็นกุศล ยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระทศพล นายใช้ให้ไปธุระในกิจทางไกล นางก็ทำแป้งจี่ด้วยรำกับปลายข้าว ปิ้งแล้วห่อชายพกไป หวังจะไปกินตามทางในเวลานั้น ปรากฏว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอานนท์เดินผ่านมาพอดี นางบุญทาสีมาคิดในใจว่าเราเป็นทาสเขา บางครั้งเราก็มีศรัทธาเห็นพระแต่ไม่มีอะไรจะถวาย บางครั้งเรามีของจะถวายพระ ก็ไม่เจอพระหาพระยาก วันนี้เราเจอองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอานนท์ เรามีแป้งจี่ทำด้วยรำกับปลายข้าวผสมกัน ห่อชายพกมา เราจะเอาของอันนี้ถวายองค์สมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาใกล้ นางก็นิมนต์ให้หยุด แล้วก็แก้ชายพกเอาแป้งจี่มาใส่ลงไปในบาตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใส่ลงไปแล้วนางก็คิดว่าตามธรรมดาพระพุทธเจ้าย่อมไปฉันในสำนักของพระราชาบ้าง ในสำนักของมหาเศรษฐีบ้าง ฉันแต่ของดี ไอ้ของ ๆ เราน่ะเป็นของเลว พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน แต่ทว่าอาศัยที่เรามีความตั้งใจเป็นกุศลองค์สมเด็จพระทศพลจะฉันหรือไม่ฉันก็ช่าง เราหวังถวายท่านเอาบุญเท่านั้น
    เมื่อนางคิดแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงมองดูหน้าพระอานนท์ นี่เขาคิดน่ะ เขาไม่ได้พูด พระอานนท์รู้ท่าจึงได้ปูผ้าสังฆาฏิลง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประทับที่ตรงนั้น ฉันแป้งจี่ของนางบุญทาสีในขณะนั้น กลางทางนั่นเอง นางบุญทาสีดีใจเกือบตาย นั่งลงยกมือไหว้พนมตลอดเวลาด้วยความปลื้มใจยิ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จก็โมทนา เมื่อโมทนาจบ นางบุญทาสีก็สำเร็จเป็นพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น
    นี่แสดงว่า ความเป็นทาสของคน คนเป็นทาสคน ถึงแม้ว่าจะไม่มีอิสรภาพเป็นตัวของตัวเองก็จริงแหล่ แต่ทว่าใจเป็นอิสระ สามารถจะประกอบความดี จะคิดถึงความดีได้
    แล้วเราก็คิดใหม่ว่า สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม นี่ไม่มีทางจะคืนตัวได้ ความเป็นอยู่ของเขาในปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมองจิต เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปาทานมีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้วไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคน แม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ
    นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของเราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจขันติหรืออุเบกขา นี่อุเบกขาเราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย นอกจากนั้นก็มาคิดปลงอนิจจังว่า พุทโธ่เอ๋ย นี่ตัวเขาเองกว่าจะมาเกิดเป็นคนได้น่ะมันยากแสนยาก คนที่มีจิตใจประเภทนี้ คนที่มีจิตประเภทนี้มาจากนรกก่อน เดิมทีมาจากนรก ตกนรกสิ้นระยะเวลามาหลายแสนกัป กว่าจะผ่านนรกขึ้นมาได้ แล้วก็ต้องมาเป็นเปรต มีทุกขเวทนาอย่างหนัก แล้วก็มาเป็นอสุรกาย มีแต่ความหิวโหย แล้วก็ต้องมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานซึ่งไม่มีอิสรภาพ ใช้เวลานานแสนนานจึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เขาน่าจะรู้สึกตัวว่ากรรมชั่วเก่าของเขาที่ทำไว้ให้โทษอย่างหนัก น่าจะเป็นคนที่มีการกลับใจได้ดี สร้างความดีจากความเป็นคนให้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม แต่ว่าเขามากลับหวนลงนรกอีก แบบนี้เป็นบุคคลที่น่าสงสาร ควรให้อภัย เพราะอะไร เพราะว่าใจของเขาไม่ใช่ใจของคนเสียแล้ว เป็นใจของสัตว์นรก ควรให้อภัยเขา ถ้าเราไปต่อสู้กับเขาต่อล้อต่อเถียงตอบแทนเขาด้วยอาการเช่นเดียวกัน อารมณ์ของเราก็จะทรามเกินไป นี่การให้อภัยทาน เขาให้อภัยกันอย่างนี้
    แล้วก็จำได้ด้วยว่าถ้าบุคคลใด หรือพระองค์ใด เณรองค์ใดปฏิบัติอย่างนั้น ก็พึงรู้ตัวว่า เราจะมานั่งเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐานสักกี่แสนปี มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย กลับจะมีโทษหนัก เพราะการเจริญพระกรรมฐานถ้ามีใจเลวมันกลายเป็น มารยา ล่อลวงบุคคลอื่นให้หลงผิดคิดว่าเราเป็นคนเคร่งครัดมัธยัสถ์ คิดว่าเราเป็นคนดี
    ในอารมณ์ของพระสกิทาคามีเบื้องต้น ถ้าจะกล่าวกันไปอีกทีเรียกว่าสกิทาคามีมรรค ยังไม่ใช่สกิทาคาผล เป็นอันว่าเรากำลังเดินเข้าไปหาความเป็นพระสกิทาคามี อย่าลืม อาการอย่างนี้เป็นพระสกิทาคามีมรรค
    ทวนต้นสักนิดว่า สกิทาคามีมรรคปฏิบัติมาเช่นเดียวกับ พระโสดาบัน คือ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ที่เรียกว่า มรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อรู้ตัวว่าจะตาย ก็มีความไม่ประมาท คิดว่าตายคราวนี้ต้องดีกว่าการเกิดมาคราวนี้ ทั้งนี้เพราะอะไรก็เพราะว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเป็นคนที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่มีสภาวะอย่างนี้ หรือมิฉะนั้นเราก็ควรเป็นเทวดาหรือพรหม
    ฉะนั้นเมื่ออารมณ์ของพระโสดาบัน หรือ โสดาปัตติมรรค คิดอย่างนี้แล้วจึงพยายามรวบรวมกำลังใจ นึกถึงคุณความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ มั่นคงอยู่ในคุณทั้ง 3 ประการ คิดว่าเรามั่นอยู่ในคุณทั้ง 3 ประการนี้ เราตายไม่ลงนรกแน่ แต่ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ เราจะต้องปิดอบายภูมิ ด้วยการรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ อย่างนี้เป็นอารมณ์พระโสดาปัตติมรรค ยังไม่ใช่อารมณ์ของพระโสดาปัตติผล
    พอถึงพระโสดาปัตติผล อันดับแรกพอจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณ ในตอนนี้อารมณ์จะเริ่มเข้าจุดยอมรับนับถือกฎของธรรมดา มันจะแก่ มันจะป่วย มันจะตาย ใจจะรู้สึกว่าเป็นของะรรมดา ไม่มีความหนักใจ ใครเขาจะกล่าวนินทาว่าสรรเสริญ จะเสียดสีอะไรก็ตามรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ใช่จะไม่มีความไม่พอใจ ความไม่พอใจมีขึ้นเหมือนกัน แต่ระงับได้เร็ว ไม่โต้ไม่ตอบ เมื่อไม่โต้ไม่ตอบเขา เราก็ไม่ทำด้วยอาการอย่างนั้น เราไม่ทำ เห็นว่าเป็นอาการเลว เมื่ออารมณ์จับธรรมดาเป็นปกติอย่างนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ เมื่ออารมณ์จับธรรมดาอย่างนี้แล้ว อารมณ์อีกส่วนหนึ่งก็จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่เป็นโคตรภูญาณเบื้องปลาย
    เมื่ออารมณ์จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ถอยหน้าถอยหลังพิจารณาว่า ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เราจะต้องยึดคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดศีลเป็นกำลังสำคัญเพื่อป้องกันอบายภูมิ แล้วจิตใจของเราก็มีความมั่นคงในพระนิพพาน ศีล 5 ประการจะไม่ด่างพร้อย สำหรับฆราวาส สำหรับเณร ศีล 10 ไม่ด่างไม่พร้อย มีอารมณ์รักษาศีลเป็นปกติจนกระทั่งมีอารมณ์ชุ่มชื่นแจ่มใส การปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมไม่ต้องระมัดระวัง มันมีอารทรงอารมณ์ของมันเอง มีอารมณ์รักษาพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า พระโสดาปัตติผล ยังมีความรัก ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงแต่ทว่าไม่ทำ ไม่ละเมิดศีล รักอยู่ในขอบเขตของศีล รวยอยู่ในขอบเขตของศีล โกรธไม่ทำร้ายเขา ไม่ฆ่าเขา เพราะกลัวศีลขาด หลงก็จริงแหล่แต่ทว่าไม่ลืมความตาย ใจมั่นคงอยู่อย่างนี้เรียกว่าพระโสดาปัตติผล
    ทีนี้การเข้าถึงพระสกิทาคามีมรรคก็ยึดพรหมวิหาร 4 เป็นสำคัญ เพราะพรหมวิหาร 4 นี่ต้องมีมาจากพระโสดาบันแล้ว ถ้าไม่มีพรหมวิหาร 4 ศีลไม่บริสุทธิ์ ทีนี้พอมาถึงพระสกิทาคามีมรรค เราก็มาจับอภัยทานเป็นสำคัญ คิดแล้วมาอย่างเมื่อกี้นี้ ถ้าใจเราเลว คิดถึงใจอยู่เสมอ ใจเรา อย่าไปดูใจคนอื่น ไม่ต้องไปช่วยใครเขาขัดเกลาจิตใจของเขา ช่วยตัวเราให้มันรอดก็แล้วกัน ถ้าหากว่าเราดีจริง ๆ แล้ว เราก็ไม่มีการทำให้บุคคลอื่นให้เร่าร้อน คนดีนี่มันไม่มีชั่ว
    เมื่อใจของเราดี ใจทรงพรหมวิหาร 4 ใจมีอภัยทาน มันมีอะไรบ้างในจิตที่เราจะไปคิดประทุษร้ายบุคคลอื่น ทั้งทางกายและวาจาทำเขาให้เร่าร้อน มันก็ไม่มี อาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นสกิทาคามีมรรค ยังไม่ถึงสกิทาคามีผล แล้วเรื่องสกิทาคามีผลนี่จะพูดกันวันหลัง
    ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นํามาจากหนังสือทางเข้าสู่พระนิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา<!-- / message -->
     
  4. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>การเข้าถึงพระสกิทาคามีมรรค</TD></TR><TR><TD align=left> การเข้าถึงพระสกิทาคามีมรรค
    สำหรับวันนี้จะพูดถึงพระสกิทาคามีมรรคต่อ
    คำว่า พระสกิทาคามีมรรค ก็หมายความถึงว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกิทาคามีผล อันนี้อารมณ์จะต้องเลยพระโสดาบันมาแล้ว เพราะว่าพระโสดาบันทรงคุณธรรม 4 ประการ คือ นึกถึงพระพุทธเจ้า เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลบริสุทธิ์ ส่วนแถมที่เกินก็คือ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่หมายถึงว่ามีความมั่นคงจริง ๆ
    คำว่านับถือพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ก็หมายถึง ว่าเป็นบุคคลที่ไม่ละเมิดคำสั่ง หมายถึงศีล สิ่งใดที่พระองค์ทรงสั่งห้ามตามพระวินัย สิ่งนั้นท่านที่เป็นพระโสดาบันย่อมไม่ปฏิบัติ สิ่งใดที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ทรงแนะนำให้ปฏิบัตินั่นเป็นทางของพระโสดาบัน คือ ความไม่ยาก เฉพาะอาศัยที่มีความเคารพพระพุทธเจ้าจริง ๆ จึงทรงศีลบริสุทธิ์ คำว่าศีลของพระโสดาบันก็ต้องหมายเอาถึงกรรมบถ 10 ด้วย คำว่ากรรมบถ 10เป็นทั้งศีล เป็นทั้งธรรม และมีพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ในขอบเขตของศีลในวงจำกัด
    สำหรับพระสกิทาคามี ถ้าจะกล่าวกันไปก็เป็นแต่เพียงว่า จริยาทั้งหมดเหมือนพระโสดาบัน แต่ว่าระงับความโลภ ระงับความโกรธ ระงับความหลงให้เบาบางลงกว่าพระโสดาบัน ทีนี้เราก็ย้อนไปดูพระโสดาบันว่า มีกรรมฐานอะไรบ้างเป็นอารมณ์ พระโสดาบันมีมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ นึกถึงความตายเป็นปกติ เมื่อรู้ตัวว่าจะตายก็ไม่ยอมตายเลว จะตายอย่างดี ทีนี้ก่อนที่จะตายดี หือเป็นผีดี ก็ต้องเป็นคนดีก่อน คนจะเป็นคนดีได้ก็ต้องอาศัยพุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรมมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน สีลานุสสติกรรมฐาน พรหมวิหาร และอุปสมานุสสติกรรมฐาน ยิ่งกว่านั้นก็มีหิริและโอตตัปปะประจำใจอย่างนี้เป็นพระโสดาบัน นี่พระโสดาบันทรงคุณธรรมได้อย่างนี้
    สำหรับพระสกิทาคามีก็ทรงคุณธรรมเหมือนกัน แต่ว่าสำหรับพระอนาคามีมรรคเบื้องต้น ก็เพิ่ม อภัยทาน ตามที่กล่าวมาแล้วเมื่อคืนนี้ คือ รวบรวมกำลังใจของพรหมวิหาร 4 ให้หนักขึ้น มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น เมื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่บุคคลทำให้เราไม่ถูกใจ เราให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธคนนั้น ถ้าอารมณ์ทรงอยู่ได้อย่างนี้จริง ๆ ก็จัดเป็น ก็จัดว่าเป็น พระสกิทาคามิมรรคอย่างหยาบ ยัง ยังไม่ถึงสกิทาคามีผล
    ทีนี้การปฏิบัติตนให้เข้าถึงพระสกิทาคามีผล ก็ต้องเพิ่มกรรมฐานหรือวิปัสสนาญาณบางอย่างเข้ามาควบคุม เพราะว่า สำหรับวิปัสสนาญาณในด้านของพระโสดาบันนั้น ในด้านสักกายทิฏฐิยังไม่มีการรังเกียจในร่างกาย อารมณ์ยังไม่ละในร่างกายเด็ดขาด เพียงแต่มีความรู้สึกว่าร่างกายมันจะต้องตาย ความพอใจในร่างกายว่าเป็นของสวยสดงดงามของน่ารักน่าชมยังมีอยู่ ทีนี้มาด้านพระสกิทาคามี เราก็มาเพ่งดูตามคำสอน
    ท่านบอกว่า พระสกิทาคามี บรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง อาการที่จะบรรเทาความโลภเขาต้องทำยังไง ก็ต้องเพิ่มกรรมฐานเข้ามาอีกกองหนึ่ง นั่นก็คือ จาคานุสติกรรมฐาน จาคานุสตินี่หมายถึงว่า จิตคิดอยู่เสมอในการที่จะกำจัดความเหนียวแน่น ความตระหนี่หรือความโลภในทรัพย์สิน มีความรู้สึกด้วยอำนาจของปัญญา ว่าคนที่มีความตระหนี่เหนียวแน่น เกาะอยู่ในทรัพย์สินมากเกินไป จนกระทั่งไม่สามารถจะบริจาคทานการสงเคราะห์ ไม่มีการเกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีความสุข ตามที่เราจะพึงช่วยได้ อย่างในสมัยปัจจุบันเขาเรียกว่า ไม่รู้จักลดช่องว่าง แต่ความจริงการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีการสงเคราะห็เกื้อกูลซึ่งกันและกันนี่ พระพุทธเจ้าทรงสอนมานานแล้ว แต่ชาวโลกไม่มีความสนใจ ไม่ปฏิบัติตาม
    ทีนี้การที่จะเป็นพระสกิทาคามีต้องมีจาคานุสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ จาคานุสติกรรมฐานนี่ ความจริงก็มาจากพรหมวิหาร 4 นั่นเอง การที่เราจะสละทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่นใด เพราะทรัพย์สินเราหามาได้โดยยาก เราก็จะให้ได้ด้วยอำนาจเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร ถ้าเราเกลียด ไม่สงสาร เราก็ไม่ให้แน่ หรืออย่างดีที่สุดก็ให้ด้วยความไม่เต็มใจ
    ทีนี้สำหรับพระสกิทาคามีไม่ยังงั้น มีอารมณ์ใจคิดอยู่เสมอว่าทรัพย์สินเป็นของนอกกาย แม้แต่กายของเราเองเรายังควบคุมให้มันดีตลอดสมัยไม่ได้ ห้ามความตายไม่ได้ เราจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกกันว่า เพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้มีความสุขตามฐานะที่เราพึงจะทำได้ และจาคะตัวนี้เป็นการให้ตัดขาด ให้เพื่อสงเคราะห์จริง ๆ ไม่มีความหวังในผลตอบแทน แม้แต่คำสรรเสริญเยินยอจากบุคคลผู้รับก็ไม่ต้องการ ให้ด้วยการมีความหวังว่าคิดจะตัดโลภะ ความโลภในจิตให้มันขาดไป
    แต่ว่าทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ามีเท่าไหร่ให้หมดเท่านั้น การให้ต้องคิดพิจารณาดูก่อนว่าให้แล้วเราจะเดือดร้อนไหม ถ้าให้ถึงกับเราเดือดร้อน พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ
    สำหรับท่านที่เป็นพระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี เป็นคนประกอบไปด้วยศรัทธา ฉะนั้นท่านพวกนี้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงห้ามรบกวน สำหรับบุคคลประเภทนี้ ถ้าขอเข้า ท่านนึกว่ามีความจำเป็นท่านก็ให้ แต่ขอบ่อย ๆ มันเกินวิสัยของสมณะ คนขอเลยไม่ใช่พระ กลายเป็นขอทานไป ฉะนั้นถ้าเราจะพึงรู้ว่าบุคคลใดเขามีศรัทธาก็อย่าอ้าปากขอ ถ้ากิจนั้นไม่จำเป็นถึงที่สุด เช่น ผ้ามันไม่ขาดจนกระทั่งนุ่งไม่ได้ก็อย่าไปขอเขา มันยังใช้ได้ก็จงอย่าขอ มันไม่อดถึงกับจะตาย ก็อย่าไปออกปากขอ อาการขอมันเป็นจริยาของคนเลว ไม่ใช่จริยาของคนดี เพราะว่า คนขอนี่ต้องตัดอารมณ์หน้าด้านออกไป การขอบ่อย ๆ หรือขอเกินจำเป็น ไม่ใช่สมณวิสัย
    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามว่า ตระกูลใดถ้าเป็นพระเสขะห้ามการขอทุกอย่าง เว้นไว้แต่สิ่งนั้นมันถึงที่สุดที่เราไม่สามารถจะทรงตัวได้ จำเป็นที่จะต้องขอก็ขอในสิ่งที่จำเป็น มีค่าไม่สูงนัก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าอารมณ์ของพระโสดาบันสกิทาคา มีพรหมวิหาร 4 ประจำ ย่อมเป็นคนมีใจดีเพราะเกื้อกูล
    ในสมัยพระพุทธเจ้าก็มีผู้ขอในสำนักของพระโสดาสกิทาคามีจนเกินพอดี มีเยอะแยะไป เมื่อเหตุนี้ปรากฏขึ้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงห้ามขอ นี่สำหรับพระเราต้องมีความสำรวมในด้านนี้ให้มาก ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เป็นพระโสดาบัน ก็จงอย่าเอ่ยปากขอ ถ้าไม่มีความจำเป็นจริง ๆ ขอเขามากเกินไป ให้เขามากเกินไป มันจะเป็นการรุ่มร่าม ไม่ใช่วิสัยของพระ จงมัธยัสถ์อาการทุกอย่าง อย่าคิดว่าขอเขาให้ก็ได้ใจ ขอกันหนัก
    นี่สำหรับพระสกิทาคามี มีอารมณ์ในการให้ ไม่มีอารมณ์ในการขอ หรือพระโสดาบันก็เหมือนกัน มีอารมณ์ในการให้ ไม่ใช่มีอารมณ์ในการขอ นี่วัดกำลังใจของเราไว้ การปฏิบัติของเราเข้าถึงพระโสดาปัตติมรรคหรือสกิทาคามีมรรคแล้วหรือยัง
    เป็นอันว่ามีอารมณ์ที่จะให้อยู่เป็นปกติ อาการความโลภมันก็บรรเทาลง การที่จะคิดโกงเขาก็ไม่คิดอยู่แล้ว การตะเกียกตะกายแสวงหาทรัพย์เกินพอดีย่อมไม่มีกับพระสกิทาคามี เพราะจิตเริ่มเป็นสุข มีเท่าไหร่ก็เป็นสุข แต่การหากินต้องหา แต่หาแบบสบาย ๆ อย่างอารมณ์ที่มีความสุข ไม่เบียดเบียนตนจนเกินไป นี่เป็นอันว่าพระสกิทาคามีมรรคเพิ่มจาคานุสติกรรมฐานเข้ามาอีกบทหนึ่ง ทำเป็นฌานสมาบัติให้อารมณ์ทรงตัว คิดไว้เสมอ การคิดไว้เสมอ มีความรู้สึกไว้เสมอ นี่ชื่อว่าเป็นอาการทรงฌาน
    ถ้าท่านนั่งภาวนาตามปกติ โดยเวลาเลิกแล้วจิตไม่ได้คิด จิตมีความเลว อันนี้ไม่ใช่พระสกิทาคามี หรืออนาคามีมันเป็นของสัตว์ในอบายภูมิ จงใคร่ครวญคิดไว้ อย่าไปนั่งภาวนาเฉย ๆ นั่งภาวนาเฉย ๆ นี่อารมณ์ใจมันไม่ดี มันก็ดีอยู่แค่ภาวนา บางทีก็ภาวนากันไปเป็นปกติ แต่เวลาภาวนาจิตก็ซ่านไปโน่นไปนี่ มันใช้ไม่ได้ มันต้องมีปัญญาใคร่ครวญ มีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา ถ้าอาการอย่างนี้มีอยู่ละก็ แดนไหนก็แดนนั้นมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเร่าร้อน
    อันดับที่สอง พระสกิทาคามีระงับความโกรธลงไปได้มากตัวนี้ก็ไม่จำเป็นแล้ว เพราะมีพรหมวิหาร 4 เป็นประจำ แต่ทว่าพระสกิทาคามีก็เพิ่มอารมณ์ที่กล่าวมาแล้ว คือ ให้อภัยทาน นอกจากจะระงับความโกรธ ยับยั้งความโกรธ แต่ความโกรธมันยังมีอยู่
    อย่างพระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ทว่าไม่ทำร้ายเขา คือ โกรธแล้วยังจะพยาบาท คือ อาจจะคิดว่า แหม ไอ้เจ้านี่มันเลวจริง ๆ ไม่คิดจะฆ่า ไม่คิดจะทำร้าย แต่คิดว่ามันเลว ยังเจ็บใจแต่ไม่คิดจะฆ่า ไม่คิดจะทำร้าย แต่ว่าไม่อยากสังคมสมาคมด้วย ยังมีอาการใบหน้าเครียด แต่มาถึงพระสกิทาคามี อาการเครียดของใบหน้าไม่มี โกรธยังมีความโกรธ ไม่ชอบใจ คิดไว้ว่าไม่ชอบใจยังมีอยู่ แต่อารมณ์จิตอีกส่วนหนึ่งก็พยายามหักห้ามความโกรธ หักห้ามความพยาบาท คิดให้อภัยกับบุคคลผู้กระทำความผิด โดยมีความรู้สึกว่าจิตของบุคคลผู้นี้เป็นจิตของสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเป็นทาสของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม เราไม่ควรจะตอบแทนอาการลักษณะเช่นเดียวกัน เมื่อเขาจะเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเรื่องของเขา เราไม่สนใจให้อภัยกับความผิดของเขา นี่เป็นอารมณ์ของพระสกิทาคามีมรรค
    ทีนี้ มาด้านความหลง ตัวนี้ก็มาจับสักกายทิฏฐิเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นที่ว่ามาพิจารณาถึงร่างกายของเรา นอกจากจะตายแล้วก็มามองร่างกายว่ามันเป็นของไม่เที่ยง เป็นอันว่าเพิ่มกายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐานหนักขึ้น โดยมาพิจารณาว่า ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา มันตาย ตายแน่ มาเป็นพระโสดาบันติดอยู่แค่ตาย แต่ยังมีความพอใจในลักษณะของร่างกายและผิวพรรณของร่างกาย ความสวยสดงดงาม การตบแต่งของร่างกาย
    แต่มาในด้านของพระสกิทาคามีนี่ เพิ่มอารมณ์ที่มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันเป็นแต่เพียงธาตุ 4 เข้ามาประชุมกัน แล้วก็มีความสกปรกทุกด้าน เสลดน้ำลายสกปรก เหงื่อไคลสกปรกเลือดและเนื้อสกปรก น้ำเหลืองน้ำหนองสกปรก อุจจาระปัสสาวะสกปรก
    รวมความว่าทุกส่วนของร่างกายนี่มันสกปรกจริง ๆ เมื่อสกปรก ก็รู้สึกว่าเป็นของน่าเบื่อ ไม่น่ารัก แต่ก็ยัง ยังไม่หมด แต่อารมณ์ในการพิจารณาเห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์และของตัวเองมันก็เกิดอาการสลด ว่าร่างกายนี้มีสภาพไม่ต่างอะไรกับส้วมเคลื่อนที่ เพราะจะมองไปดูทุกจุดทุกประการ มันก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ผิวนิดเดียวที่เรามองเห็นกันว่าสวย แต่ทั้ง ๆ ผิวเห็นว่าสวยนั่นแหละ ต้องชำระล้างกันทุกวัน ถ้าปล่อยเกรอะกรัง ไม่อาบน้ำไม่อาบท่า ไม่ชำระล้างกันทุกวัน ถ้าปล่อยเกรอะกรัง ไม่อาบน้ำไม่อาบท่า ไม่ชำระล้างสัก 7 วัน มันก็ทนไม่ไหว ก็แสดงว่าแม้แต่ผิวกายที่เราเห็นว่าสวยมันก็สกปรก ส่วนที่อยู่ในผิวกายลงไปข้างใน ถ้าลอกหนังออกไปนิดเดียวเลือดไหลซึมออกมา เห็นเลือด มีกลิ่นเลือดเหม็นคาว เราก็พากันสะอิดสะเอียนว่าเลือดสกปรก ทีนี้ลอกเนื้อเข้าไปภายใน เห็น ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เต็มไปหมด ตอนนี้ดูไม่ได้ มันสกปรกจริง ๆ อารมณ์เบื่อจากร่างกายที่เห็นว่าสวยสดงดงามเป็นของน่ารัก มันก็เริ่มคลายตัวลงไป ยังไม่หมด กำหนดจิตเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นฌาน ไม่มีความรู้สึกเมามันในร่างกายแต่บางขณะย่อมปรากฎ
    ทีนี้อาการของสักกายทิฏฐิตัวนี้ มันก็เข้าไปพิจารณาด้วย กายคตานุสสติกับ อสุภกรรมฐาน เพื่อตัดความหลงในร่างกาย เห็นว่าร่างกายสกปรกแล้ว ยังเห็นว่าร่างกายมีสภาพจะต้องสลายตัว ยึดถือดึงมันไว้ไม่อยู่ นี่เป็นอารมณ์จิตตรงนี้
    ถ้าเราจะเข้าไปพิจารณาว่า จุดไหนหนอเราจะเป็นพระอนาคามี แต่ว่าเป็นพระสกิทาคามีผล มันมีอารมณ์พอที่จะยังพิจารณาไว้ นั่นก็คืออามรณ์ความรู้สึกกับเพศตรงข้าม คือ เรื่องของเพศมันเริ่มสลายตัวไป ความรู้สึกในใจเรื่องของระหว่างเพศมันมีเหมือนกัน แต่ทว่าน้อยเต็มที ยามปกติมันจะไม่มีความรู้สึกกระสันในเรื่องระหว่างเพศ แต่บางครั้งเห็นคนเดินผ่านไปผ่านมาก็มีความรู้สึกขึ้นมาบ้าง แต่ทว่าด้วยฉับพลันนั้นเอง ในขณะเดียวจิตก็จะสลายซึ่งความพอใจ เพราะอะไร
    เพราะอารมณ์เห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก เห็นผ้าตาทะลุไปถึงหนัง ทะลุหนังเข้าไปถึงเนื้อ ทะลุจากเนื้อถึง ตับ ไต ไส้ ปอด มองเห็นทะลุปรุโปร่งว่าทุกส่วนของร่างกายทั้งคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก และมีความเสื่อมโทรมเป็นปกติ อาการของคนเต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะการต้องบริหารร่างกาย ไม่ให้ร่างกายทรุดโทรมด้วยกฎของธรรมดา และในที่สุดมันก็สลายไป ตัวนี้จะทำให้คลายความพอใจในร่างกายของบุคคลอื่นเสีย แม้แต่ร่างกายของตัวเองก็มีความเบื่อหน่าย ไม่พึงปรารภนา แต่ทว่าอารมณ์ความพอใจในร่างกายยังไม่หมด ยังเหลือบ้าง
    ทีนี้มาด้านความโกรธ ก็ยังมีอยู่ แต่มีเบา ๆ กระทบปัง โกรธปัง เมื่อโกรธแล้วระงับความโกรธด้วยการให้อภัย ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที อารมณ์ก็คลายไป และก็ไม่ติดใจในความผิดของบุคคลอื่น
    มาด้านของความโลภ มีอารมณ์จิตสบาย พอใจตามฐานะที่ทรงอยู่ ยังไง ๆ ก็คิดว่าถ้าเลี้ยงตัวเองรอดเป็นพอ นี่ถ้าอารมณ์จิตของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีอารมณ์เบาในด้านโลภ มีความพอปรากฏขึ้นในจิต คิดว่ามีมากมันก็พอ มีน้อยก็พอ ปีหน้าได้น้อยพอ คือ จิตไม่ดิ้นรนโดยการยอมรับนับถือว่าเหตุที่ได้มามันก็ปรากฏ ตามความสามารถตามกาลสมัย
    ความโกรธระงับเสียได้โดยฉับไว ไม่มีการผูกพันในการพยาบาท อาการของทางกายที่มีความพอใจในระหว่างเพศหรือวัตถุต่าง ๆ ความสวยสดงดงามของวัตถุก็ดี ความสวยสดงดงามของร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มันไหลไปจากใจเกือบหมดสิ้น ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสว่าท่านผู้นั้นเป็น พระสกิทาคามี
    เอาละ สำหรับวันนี้การที่จะแนะนำก็หมดเวลาลงแล้ว ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นํามาจากหนังสือทางเข้าสู่พระนิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา<!-- / message --><!-- / message -->
     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <HR color=#ffcc00 noShade SIZE=2>

    <CENTER><TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค</TD></TR><TR><TD align=left>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค
    สำหรับวันนี้ ก็จะขออธิบายเรื่องการปฏิบัติถึงการเป็นพระอนาคามีมรรค เป็นการสืบต่อจากวันก่อน ก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทจะศึกษาปฏิบัติ หรือว่าเวลาที่น้อมจิตหรือพิจารณาพระกรรมฐานในด้านการปฏิบัติตามแบบฉบับที่เขาปฏิบัติกันมา
    ในอันดับแรกต้องทวนต้นไว้เสมอ เพื่อทรงอารมณ์ให้เป็นปกติ ผลแห่งการปฏิบัติที่จะมีผลจริง ๆ นี่เราหมายถึงว่าเอาผลกันจริง ๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ นั่นเขาใช้อารมณ์พิจารณาเป็นสำคัญการใช้อารมณ์ภาวนานี่เป็นการยับยั้งจิต ไม่ให้มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเท่านั้นเอง ตอนนั้นการยับยั้งจิต ไม่ให้มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ของฌาน เป็นบันไดที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนาญาณ การทรงจิตเป็นฌานยังไม่ใช่มรรค ไม่ใช่ผล แต่ทว่าเราก็ทิ้งไม่ได้
    นักปฏิบัติต้องประกอบกิจ 3 อย่างพร้อมกัน คือ
    อธิศีลสิกขา มีศีลบริสุทธิ์ คำว่า บริสุทธิ์ นี้ไม่ใช่สักแต่ว่าบริสุทธิ์เฉพาะเวลามานั่งภาวนา ต้องบริสุทธิ์ตลอด 24 ชั่วโมง
    อธิจิตสิกขา ต้องมีสมาธิทรงตัว มีจิตน้อมอยู่ในด้านของกุศลตลอดเวลา คำว่าสมาธิแปลว่าการตั้งใจ ว่าตั้งใจไว้เฉพาะจุดเดียว คือ อารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ที่เป็นกุศลมีมากมายอย่างจะเป็นอะไรก็ช่างตามที่เราต้องการ จุดนั้นเราจะนึกไว้เสมอ
    อธิปัญญาสิกขา พิจารณาตามแบบฉบับในระดับของสังโยชน์ที่เราจะพึงตัด แล้วก็ทรงอารมณ์ที่เป็นกุศลจำเป็นที่ต้องเข้าถึงในขณะนั้น
    ถ้าอารมณ์ทรงตัวแบบนี้หมายความว่า ขณะใดที่จิตคิดอยู่ในด้านของกุศล ขณะนั้นชื่อว่าจิตของเราทรงศีล ทรงสมาธิแล้วถ้ามีปัญญาพิจารณาความเป็นจริงจากขันธ์ 5 ว่า
    ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
    ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
    มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
    โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ รู้จักว่านับตั้งแต่เกิดมาถึงวันตายไม่มีอะไรเป็นสุข
    แล้วทุกข์ตัวนี้มาจากไหน ทุกข์ตัวนี้มาจาก ตัณหา คือความทะยานอยาก จิตติดอยู่ในโลกีย์วิสัย มีอุปาทานเป็นเครื่องยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา หรือว่ามีจิตเรายึดมั่นถือมั่นในร่างกายว่า มันเป็นเราเป็นของเรา ก็เลยลืมความตาย จิตก็ประกอบไปด้วยความชั่วที่เรียกว่า อกุศล คำว่า อกุศลนี่เขาแปลว่าไม่ฉลาด สร้างกรรมที่มันเป็นปัจจัยให้เกิดความเดือดร้อนทั้งเราและบุคคลอื่น อย่างนี้เป็นอกุศล อารมณ์ของเราจะต้องไม่จับอย่างนี้จะต้องทำลายความอยากประเภทนี้เสีย
    ใช้ปัญญาพิจารณาหาความเป็นจริงจากขันธ์ 5 ว่าขันธ์ 5 มันเป็นเราจริงรึ หรือว่าเป็นของเรา ถ้ามันเป็นเราจริง เป็นของเราจริง ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันนี้เราเคยคิดอยากจะตายบ้างไหม เคยคิดอยากจะป่วยบ้างไหม คิดอยากจะให้ร่างกายมันร้อนจัดมีบ้างไหม คิดอยากจะให้ร่างกายมันหนาวจัดมีบ้างไหม และคิดบ้างหรือเปล่าว่า เราต้องการคำกระทบกระทั่งจากคำวาจาของบุคคลอื่นที่เป็นที่ไม่ชอบใจ ของเรามีบ้างไหม หรือว่าเราต้องการการกระทำของบุคคลอื่นที่ไม่ถูกใจเรามีบ้างไหม อาการอย่างนี้จิตเราไม่เคยคิดอยากจะได้ แต่ว่ามันมีบ้างไหมล่ะ อาการอย่างนี้มันปรากฏแก่เราบ้างไหม ถ้ามันปรากฏก็แสดงว่า ร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    นี่ใช้ปัญญากันแบบย่อ ๆ เรียกว่า ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเป็นเครื่องตัดตัวเกิด หรือ การตัดตัวทุกข์ ถ้าตัดตัณหาได้ มันก็ตัดทุกข์ได้ ถ้าตัดตัณหาไม่ได้มันก็ตัดตัวทุกข์ไม่ได้ ตัณหาที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ อยากเกิด ถ้าขณะใดที่มีการอยากเกิด อยากทรงอยู่ ไม่อยากตาย ขณะนั้นไม่มีทาง ยังต้องเกิดรับทุกข์ต่อไป จนกว่าจะมีปัญญาพิจารณาทราบตามความเป็นจริง เรื่องนี้ขอยกไว้
    ทีนี้ก่อนที่เราจะพูดกันถึงพระอนาคามี ย้อนถอยหลังไปอีกนิด ว่าการที่จะทรงอารมณ์เป็นพระโสดาบัน เขาทรงด้วยกรรมฐานอะไรบ้าง กรรมฐานทั้งหมดนี้ไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็ได้ให้จิตมันนึกไว้เสมอ ลืมตาอยู่ทรงอารมณ์อยู่ ให้มันนึกไว้เสมอ เวลาทำงานทำการก็ทำไป จิตอยู่ในการงาน เวลาจะพูดเรื่องอะไรที่เป็นสาระก็ให้จิตอยู่ในเรื่องของการพูด หยุดพูด หยุดทำน้อมจิตคิดถึงอารมณ์ต่อไป
    บุคคลที่จะเป็นพระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิได้เล็กน้อย นั่นก็คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความเมาในชีวิตในร่างกายยังมีอยู่ แต่ไม่ลืมความตาย ยังรักสวย ยังรักงาม แต่ทว่าก็คิดว่าความสวยความงามนี่ในไม่ช้ามันก็พังสลายตัวไป ก็มีอารมณ์ไม่ประมาทในชีวิต คือว่าการตายคราวนี้จะต้องเกิด ถ้ามันจำจะต้องเกิดจริง ๆ ก็ให้มันเกิดดีกว่านี้ แต่เนื้อแท้จริง ๆ แล้ว เราไม่ต้องการเกิด สิ่งที่เราต้องการคือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์จับพระนิพพาน นึกถึงพระนิพพานอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงความตายไว้เป็นปกติ เรียกว่า มรณานุสสติกรรมฐาน
    ทีนี้เมื่อจิตจับพระนิพพานแล้ว เราก็ต้องดูต่อไปว่า คนที่จะก้าวไปสู่พระนิพพานเขาใช้อะไรบ้างเป็นเบื้องต้น อันดับแรกก็นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธานุสสติกรรมฐาน ยอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า ธัมมานุสสติกรรมฐาน ยอมรับคุณสมบัติที่ทรงซึ่งความดีไว้ของพระสงฆ์ เรียกว่า สังฆานุสสติกรรมฐาน และจิตใจของเราก็ตั้งไว้เสมอว่าจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ ว่าถ้าศีลของเราไม่บริสุทธิ์เราก็ต้องมีโอกาสไปอบายภูมิ ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง 4 มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เราไม่ยอมไป เราจะไม่ไปได้ก็เพราะอาศัยมีศีลบริสุทธิ์ มีกำลังใจควบคุมศีลอยู่เป็นปกติ ไม่พลาดจากจิต อย่างนี้ เรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน
    แล้วก็พิจารณาต่อไปว่าศีลจะทรงอยู่ได้ เพราะอาศัยอะไรเป็นเครื่องควบคุม ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร 4 ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4 ศีลไม่บกพร่อง สมาธิก็ทรงตัว อย่างนี้ใช้พรหมวิหาร 4 เป็นกรรมฐานก็เรียกว่า พรหมวิหาร 4 ทรงตัว ทีนี้พรหมวิหาร 4 จะทรงตัวได้ดีจริง ๆ อาศัยอะไรเป็นสำคัญ อาศัยหิริและโอตตัปปะ คือ หิริ ความอายต่อความชั่ว โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้โทษเป็นทุกข์ อาการอย่างนี้ เมื่อจิตทรงได้อย่างนี้จริง ๆ ก็ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน
    นี่ความจริงไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็ได้ ให้จิตมันทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้เป็นปกติ นั่งหลับตา อ่านตำรา ฟังเทศน์ พอเลิกแล้วจิตคิดอยากจะอิจฉาคนโน้น อยากจะด่าคนนี้ อยากจะว่าคนนั้น อยากจะกลั่นแกล้งคนนี้ อย่างนี้หลับตาไปสักกี่แสนชาติ มันก็ลงอบายภูมิทุกชาติ ไม่เกิดประโยชน์ ประโยชน์ที่จะเกิดจริง ๆ ก็คือ อารมณ์จิตที่ทรงตัว
    ทีนี้ถ้าหากว่าจิตจะทำอย่างนี้จะเป็นฌานไหม มันก็ต้องเป็นฌาน ฌานัง เขาแปลว่า การเพ่ง หมายความว่า จิตจับอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทุกอย่างนี่มันอยู่พร้อม ๆ กัน ไม่ใช่ไล่เบี้ยทีละอย่าง จิตมันทรงตัวอยู่เป็นปกติ อารมณ์จะเป็นขนาดไหนก็ตาม เราจะไม่ยอมละเมิดสิ่งทั้งหมดตามที่กล่าวมา จิตมีสภาพทรงตัว คิดอยู่เสมออย่างนี้เขาเรียกว่า ฌาน ฌานนั่งหลับตานั่นไม่ใช่ฌานจริง มันต้องลืมตา หลับตาลืมตามีสภาวะจิตเสมอกัน ถ้าทำกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม อารมณ์จิตมีความเยือกเย็นตามที่กล่าวมาแล้ว อารมณ์ที่กล่าวมาแล้วนี่เป็นอารมณ์แห่งความเยือกเย็น เมื่อทรงตัวได้อย่างนี้เป็นปกติ ท่านก็เรียกว่าพระโสดาบัน ไม่เห็นจะมีอะไรยาก
    คราวนี้สำหรับพระสกิทาคามี มีอารมณ์เช่นเดียวกับพระโสดาบัน ถ้าสกิทาคามีมรรค ก็เพิ่มกำลังรวบรวมกำลังจิตที่เป็นพรหมวิหาร 4 ให้ทรงตัวแข็งกร้าวขึ้น เพราะว่าพระโสดาบันยังมีความรักในเพศ ยังมีความโลภ ยังอยากรวย แต่ไม่ละเมิดศีล ยังมีความโกรธ แต่ฆ่าเขาไม่ได้ เพราะเกรงศีลจะขาด ยังมีความพยาบาทจองล้างจองผลาญ แต่ไม่ทำ ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณ แต่ไม่ลืมความตาย จะเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันไม่มีอะไรมาก เป็นชาวบ้านชั้นดี ทีนี้มาพระสกิทาคามี สกิทาคามีมรรคนะยังไม่ผล สกิทาคามีมรรคก้าวขึ้นมาอันดับแรก จิตก็จะทรงพรหมวิหาร 4 เป็นกรณีพิเศษ นอกจากจะโกรธ ไม่ทำอันตรายเขาในด้านพระโสดาบัน กำลังใจสูงขึ้นเป็นอภัยทาน ใครเขาทำให้เราโกรธ เราโกรธ ไม่ใช่ไม่โกรธ ถ้าสกิทาคามียังมีโกรธ และโกรธแล้วก็คิดจองด้วย ยังมีการผูกโกรธเขาไว้ ทีนี้กำลังใจอีกส่วนหนึ่งมันแทรกสูงขึ้นมา คือ พรหมวิหาร 4 เมื่อเวลาใครเขาทำความไม่ดีให้เราโกรธเป็นที่ไม่ถูกใจ โกรธแล้วมีอารมณ์คลายลง มันก็ช้าหน่อยไม่ได้คลายทันที นึกน้อมลงไปอีกทีว่า อ๋อ…คนที่ทำให้เราโกรธนี่น่าสงสาร และคนที่ทำความชั่วนี่ เป็นเหยื่อของอบายภูมิ เขาต้องตกนรก มันแสนจะลำบาก ร้อนก็ร้อน มันร้อนกว่าไฟธรรมดาหลายล้านเท่า ยังมีสรรพาวุธมาสับฟันอีก นี่เขาต้องมีโทษหนัก ทุกขเวทนาหนัก พ้นจากนรกมาเป็นเปรต แสนจะลำบาก นับด้วยพันด้วยหมื่นด้วยแสนชาติ จนกว่าจะพ้นหมื่นแสนกัปนะไม่ใช่ชาติ แล้วต้องมาเป็นอสุรกาย เต็มไปด้วยความหิวโหย ต้องมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งไม่มีใครให้สิทธิ์ใด ๆ ทั้งหมด อาจถูกเขาปล่อยให้อดตายบ้าง ถูกเขาข่มเหงคะเนงร้ายบ้าง ไม่มีกฎหมายเป็นเครื่องควบคุม จิตคิดอยู่ว่าคนที่มีอารมณ์ชั่วอย่างนี้เป็นคนที่น่าสงสาร ปล่อยเขาตบมือไปข้างเดียว ให้เขาชั่วไปฝ่ายเดียว กรรมใดที่เขาทำ ให้เป็นเครื่องเจ็บใจ กระทบกระเทือนใจเราให้อภัย
    อย่าลืมว่าไอ้ตอนให้อภัยตรงนี้กว่าจะให้ได้ก็ต้องใช้เวลา สองวัน สามวัน หรือสองชั่วโมง สามชั่วโมง แต่เร็วเข้ามา มันยังมีโกรธ ยังมีพยาบาทแต่ก็มีอารมณ์ให้อภัยทาน ไม่ถือโกรธ ไม่เอาผิดกับเขา ให้อภัยเขา แต่อย่าลืมนะว่า ยังมีความโกรธ ยังมีความพยาบาท นี่เป็นสกิทาคามีมรรคเบื้องต้น
    ทีนี้ พระสกิทาคามีมรรคเบื้องปลาย ตามพระบาลีท่านบอกว่า พระสกิทาคามีบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง บรรเทาตรงไหน ทำยังไง
    บรรเทาความโลภ เราก็มี จาคานุสสติกรรมฐาน เป็นกำลังใจแทนที่จะโลภอยากได้ กลับเป็นอยากให้เขา การแสวงอาชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นความโลภ ได้มาอารมณ์ใจคลายในการติดสมบัติ การหามาเพื่อเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงสมาภรรยา มีความจำเป็นต้องหา การหาด้วยสัมมาอาชีวะ เขาจ้างเราให้เงินเดือนถูกให้เงินเดือนแพงให้ทำความดี ไม่ใช่ความโลภ การค้าขายลงทุนน้อย ได้กำไรมามาก มีฐานะสูงขึ้น แต่ว่าเป็นการค้าเต็มไปด้วยความสุจริต ไม่ใช่เอาของเลวมาบอกเป็นของดี การซื้อขายบอกราคากันตามปกติ เขาพอใจ เขาเอาไป ได้กำไรมากได้กำไรน้อยไม่สำคัญ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นความโลภ เป็น สัมมาอาชีวะ
    ทีนี้สำหรับทรัพย์สินที่ได้มา พระโสดาบันยังเกาะมาก แต่ว่ามาถึงพระสกิทาคามีนึกอยู่เสมอว่าชีวิตอยู่จำเป็นจะต้องใช้จะต้องหา แต่อารมณ์หนึ่งก็คิดว่าไอ้มันกับเราไม่ช้าจะต้องจากกัน ไม่ช้าไม่มันก็เราไปกันข้างหนึ่ง(เออ…อนาคามีวันนี้น่ากลัวไม่ถึง) จิตใจมันก็เพลาจากการยึด ไม่ใช่ว่าเพลาจากการหา หาอยู่ตามปกติ แต่ยึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา มันกับเราจะนอนกอดกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ตายจากกัน ไม่พรากจากกัน อันนี้ไม่มี คิดไว้เสมอว่า มันกับเราไม่ช้าก็สลาย ต่างคนต่างไป ก็มีกำลังใจคิดด้วยความไม่ประมาท
    สำหรับความโกรธ พระสกิทาคามีเคร่งครัดในพรหมวิหาร 4 ในด้านอภัยทาน ถ้ามีอภัยทาน มันบรรเทาลงแล้ว ความโกรธบรรเทาลงไม่ใช่หมด
    ด้านความหลงในร่างกายก็พิจารณาแล้วนี่ว่าไอ้ร่างกายนี่มันสวดสดงดงามก็จริง แต่ทว่ามันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ไม่มีการทรงตัว ตอนนี้ก็ต้องใช้กายคตานุสติ กับอสุภกรรมฐานมีอารมณ์เข้มแข็งขึ้น
    เป็นอันว่าพระสกิทาคามีต้องเพิ่มจาคานุสสติกรรมฐานเข้ามา ในด้านสมถภาวนา เพิ่มพรหมวิหาร 4 ให้มีกำลังสูงขึ้นและก็เพิ่มกายาคตานุสติกับอสุภกรรมฐานเข้ามาอีก เป็นกำลังใจเป็นปกติ จิตก็พร้อมที่จะคิดอยู่ว่า อัตตภาพร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกเป็นของไม่เที่ยงเมื่อไม่เที่ยงมันก็เป็นทุกข์ ในที่สุดมันก็ต้องสลายตัว เราจะไม่นั่งมัวเมาในทรัพย์สินยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราอยู่เพื่อประโยชน์อะไร แต่ก็ยังเกาะ แต่ก็ปล่อยง่าย ให้ง่าย สงเคราะห์ง่าย ให้อภัยทานง่าย เห็นร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก แต่บางครั้งมันก็สวย บางครั้งมันก็เป็นที่ปรารถนา แต่ว่าจิตถอยออกมาห่างได้ง่าย ๆ ยังไม่ถึงกับหมดเลย นี่เป็นวิสัยของพระสกิทาคามีเรียกว่า สกิทาคามีผล
    ถ้าจิตทรงได้แบบนี้…..อ้าว เวลามันจะหมดเสียแล้ว เป็นอันว่าเรื่องพระอนาคามีก็เลยยังไม่ต้องพูดกัน แซมไว้สักนิดว่า ถ้าเราปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกิทาคามี นี่ถ้าไต่เต้าขึ้นไปอย่างนี้ละมันไม่ยาก เพราะว่าขึ้นไปทีละขั้น ไปถึงพระอนาคามีเพิ่มอะไร เรามีมาแล้วทั้งหมด
    พระอนาคามีสิ่งที่เพิ่มสำคัญที่สุดในด้านสมถภาวนา สำหรับวิปัสสนาภาวนาต้องเป็นไปตามปกติ คือต้องพิจารณาขันธ์ 5 ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตามที่กล่าวมา ให้จิตมันทรงตัว เมื่อขันธ์ 5ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตัวนี้มีกำลังทรงตัวมากขึ้น อารมณ์ที่เพิ่มเข้ามาพิจารณาอีก นั่นก็คือกายคตานุสติกับอสุภกรรมฐาน ตอนนี้ต้องมีอารมณ์ทรงตัว ทรงตัวมากขึ้นกว่าพระสกิทาคามีเพราะเป็นการตัดกามราคะให้เด็ดขาด ควบกับวิปัสสนาญาณแล้วก็ใช้พรหมวิหารและกสิณ4 เคร่งครัดยิ่งขึ้น คำว่าเคร่งนี้ไม่ใช่ว่ามานั่งหลับตาทั้งวันทั้งคืน อย่างนี้ใช้ไม่ได้ หลับตาทั้งคืนทั้งวันอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องอารมณ์ปกติมันมีความรู้สึกอยู่ คือ อารมณ์ปกติของกายเห็นว่าร่างกายสกปรก มันเป็นชิ้นเป็นท่อนเหมือนกับส้วมเดินได้แล้วก็การโกรธกัน อาการพยาบาทกันไม่มีประโยชน์อะไร คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ควรจะทำมัน เป็นอันว่าเรื่องพระอนาคามีเอาไว้พรุ่งนี้ เวลาพูดหมดแล้ว
    ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจ หายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    .



    </TD></TR></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​

    นํามาจากหนังสือทางเข้าสู่พระนิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    </B>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2008
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top><CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค</TD></TR><TR><TD align=left>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค
    สำหรับวันนี้ ก็จะขออธิบายเรื่องการปฏิบัติถึงการเป็นพระอนาคามีมรรค เป็นการสืบต่อจากวันก่อน ก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทจะศึกษาปฏิบัติ หรือว่าเวลาที่น้อมจิตหรือพิจารณาพระกรรมฐานในด้านการปฏิบัติตามแบบฉบับที่เขาปฏิบัติกันมา
    ในอันดับแรกต้องทวนต้นไว้เสมอ เพื่อทรงอารมณ์ให้เป็นปกติ ผลแห่งการปฏิบัติที่จะมีผลจริง ๆ นี่เราหมายถึงว่าเอาผลกันจริง ๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ นั่นเขาใช้อารมณ์พิจารณาเป็นสำคัญการใช้อารมณ์ภาวนานี่เป็นการยับยั้งจิต ไม่ให้มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเท่านั้นเอง ตอนนั้นการยับยั้งจิต ไม่ให้มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ของฌาน เป็นบันไดที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนาญาณ การทรงจิตเป็นฌานยังไม่ใช่มรรค ไม่ใช่ผล แต่ทว่าเราก็ทิ้งไม่ได้
    นักปฏิบัติต้องประกอบกิจ 3 อย่างพร้อมกัน คือ
    อธิศีลสิกขา มีศีลบริสุทธิ์ คำว่า บริสุทธิ์ นี้ไม่ใช่สักแต่ว่าบริสุทธิ์เฉพาะเวลามานั่งภาวนา ต้องบริสุทธิ์ตลอด 24 ชั่วโมง
    อธิจิตสิกขา ต้องมีสมาธิทรงตัว มีจิตน้อมอยู่ในด้านของกุศลตลอดเวลา คำว่าสมาธิแปลว่าการตั้งใจ ว่าตั้งใจไว้เฉพาะจุดเดียว คือ อารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ที่เป็นกุศลมีมากมายอย่างจะเป็นอะไรก็ช่างตามที่เราต้องการ จุดนั้นเราจะนึกไว้เสมอ
    อธิปัญญาสิกขา พิจารณาตามแบบฉบับในระดับของสังโยชน์ที่เราจะพึงตัด แล้วก็ทรงอารมณ์ที่เป็นกุศลจำเป็นที่ต้องเข้าถึงในขณะนั้น
    ถ้าอารมณ์ทรงตัวแบบนี้หมายความว่า ขณะใดที่จิตคิดอยู่ในด้านของกุศล ขณะนั้นชื่อว่าจิตของเราทรงศีล ทรงสมาธิแล้วถ้ามีปัญญาพิจารณาความเป็นจริงจากขันธ์ 5 ว่า
    ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
    ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
    มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
    โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ รู้จักว่านับตั้งแต่เกิดมาถึงวันตายไม่มีอะไรเป็นสุข
    แล้วทุกข์ตัวนี้มาจากไหน ทุกข์ตัวนี้มาจาก ตัณหา คือความทะยานอยาก จิตติดอยู่ในโลกีย์วิสัย มีอุปาทานเป็นเครื่องยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา หรือว่ามีจิตเรายึดมั่นถือมั่นในร่างกายว่า มันเป็นเราเป็นของเรา ก็เลยลืมความตาย จิตก็ประกอบไปด้วยความชั่วที่เรียกว่า อกุศล คำว่า อกุศลนี่เขาแปลว่าไม่ฉลาด สร้างกรรมที่มันเป็นปัจจัยให้เกิดความเดือดร้อนทั้งเราและบุคคลอื่น อย่างนี้เป็นอกุศล อารมณ์ของเราจะต้องไม่จับอย่างนี้จะต้องทำลายความอยากประเภทนี้เสีย
    ใช้ปัญญาพิจารณาหาความเป็นจริงจากขันธ์ 5 ว่าขันธ์ 5 มันเป็นเราจริงรึ หรือว่าเป็นของเรา ถ้ามันเป็นเราจริง เป็นของเราจริง ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันนี้เราเคยคิดอยากจะตายบ้างไหม เคยคิดอยากจะป่วยบ้างไหม คิดอยากจะให้ร่างกายมันร้อนจัดมีบ้างไหม คิดอยากจะให้ร่างกายมันหนาวจัดมีบ้างไหม และคิดบ้างหรือเปล่าว่า เราต้องการคำกระทบกระทั่งจากคำวาจาของบุคคลอื่นที่เป็นที่ไม่ชอบใจ ของเรามีบ้างไหม หรือว่าเราต้องการการกระทำของบุคคลอื่นที่ไม่ถูกใจเรามีบ้างไหม อาการอย่างนี้จิตเราไม่เคยคิดอยากจะได้ แต่ว่ามันมีบ้างไหมล่ะ อาการอย่างนี้มันปรากฏแก่เราบ้างไหม ถ้ามันปรากฏก็แสดงว่า ร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    นี่ใช้ปัญญากันแบบย่อ ๆ เรียกว่า ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเป็นเครื่องตัดตัวเกิด หรือ การตัดตัวทุกข์ ถ้าตัดตัณหาได้ มันก็ตัดทุกข์ได้ ถ้าตัดตัณหาไม่ได้มันก็ตัดตัวทุกข์ไม่ได้ ตัณหาที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ อยากเกิด ถ้าขณะใดที่มีการอยากเกิด อยากทรงอยู่ ไม่อยากตาย ขณะนั้นไม่มีทาง ยังต้องเกิดรับทุกข์ต่อไป จนกว่าจะมีปัญญาพิจารณาทราบตามความเป็นจริง เรื่องนี้ขอยกไว้
    ทีนี้ก่อนที่เราจะพูดกันถึงพระอนาคามี ย้อนถอยหลังไปอีกนิด ว่าการที่จะทรงอารมณ์เป็นพระโสดาบัน เขาทรงด้วยกรรมฐานอะไรบ้าง กรรมฐานทั้งหมดนี้ไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็ได้ให้จิตมันนึกไว้เสมอ ลืมตาอยู่ทรงอารมณ์อยู่ ให้มันนึกไว้เสมอ เวลาทำงานทำการก็ทำไป จิตอยู่ในการงาน เวลาจะพูดเรื่องอะไรที่เป็นสาระก็ให้จิตอยู่ในเรื่องของการพูด หยุดพูด หยุดทำน้อมจิตคิดถึงอารมณ์ต่อไป
    บุคคลที่จะเป็นพระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิได้เล็กน้อย นั่นก็คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความเมาในชีวิตในร่างกายยังมีอยู่ แต่ไม่ลืมความตาย ยังรักสวย ยังรักงาม แต่ทว่าก็คิดว่าความสวยความงามนี่ในไม่ช้ามันก็พังสลายตัวไป ก็มีอารมณ์ไม่ประมาทในชีวิต คือว่าการตายคราวนี้จะต้องเกิด ถ้ามันจำจะต้องเกิดจริง ๆ ก็ให้มันเกิดดีกว่านี้ แต่เนื้อแท้จริง ๆ แล้ว เราไม่ต้องการเกิด สิ่งที่เราต้องการคือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์จับพระนิพพาน นึกถึงพระนิพพานอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงความตายไว้เป็นปกติ เรียกว่า มรณานุสสติกรรมฐาน
    ทีนี้เมื่อจิตจับพระนิพพานแล้ว เราก็ต้องดูต่อไปว่า คนที่จะก้าวไปสู่พระนิพพานเขาใช้อะไรบ้างเป็นเบื้องต้น อันดับแรกก็นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธานุสสติกรรมฐาน ยอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า ธัมมานุสสติกรรมฐาน ยอมรับคุณสมบัติที่ทรงซึ่งความดีไว้ของพระสงฆ์ เรียกว่า สังฆานุสสติกรรมฐาน และจิตใจของเราก็ตั้งไว้เสมอว่าจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ ว่าถ้าศีลของเราไม่บริสุทธิ์เราก็ต้องมีโอกาสไปอบายภูมิ ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง 4 มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เราไม่ยอมไป เราจะไม่ไปได้ก็เพราะอาศัยมีศีลบริสุทธิ์ มีกำลังใจควบคุมศีลอยู่เป็นปกติ ไม่พลาดจากจิต อย่างนี้ เรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน
    แล้วก็พิจารณาต่อไปว่าศีลจะทรงอยู่ได้ เพราะอาศัยอะไรเป็นเครื่องควบคุม ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร 4 ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4 ศีลไม่บกพร่อง สมาธิก็ทรงตัว อย่างนี้ใช้พรหมวิหาร 4 เป็นกรรมฐานก็เรียกว่า พรหมวิหาร 4 ทรงตัว ทีนี้พรหมวิหาร 4 จะทรงตัวได้ดีจริง ๆ อาศัยอะไรเป็นสำคัญ อาศัยหิริและโอตตัปปะ คือ หิริ ความอายต่อความชั่ว โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้โทษเป็นทุกข์ อาการอย่างนี้ เมื่อจิตทรงได้อย่างนี้จริง ๆ ก็ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน
    นี่ความจริงไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็ได้ ให้จิตมันทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้เป็นปกติ นั่งหลับตา อ่านตำรา ฟังเทศน์ พอเลิกแล้วจิตคิดอยากจะอิจฉาคนโน้น อยากจะด่าคนนี้ อยากจะว่าคนนั้น อยากจะกลั่นแกล้งคนนี้ อย่างนี้หลับตาไปสักกี่แสนชาติ มันก็ลงอบายภูมิทุกชาติ ไม่เกิดประโยชน์ ประโยชน์ที่จะเกิดจริง ๆ ก็คือ อารมณ์จิตที่ทรงตัว
    ทีนี้ถ้าหากว่าจิตจะทำอย่างนี้จะเป็นฌานไหม มันก็ต้องเป็นฌาน ฌานัง เขาแปลว่า การเพ่ง หมายความว่า จิตจับอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทุกอย่างนี่มันอยู่พร้อม ๆ กัน ไม่ใช่ไล่เบี้ยทีละอย่าง จิตมันทรงตัวอยู่เป็นปกติ อารมณ์จะเป็นขนาดไหนก็ตาม เราจะไม่ยอมละเมิดสิ่งทั้งหมดตามที่กล่าวมา จิตมีสภาพทรงตัว คิดอยู่เสมออย่างนี้เขาเรียกว่า ฌาน ฌานนั่งหลับตานั่นไม่ใช่ฌานจริง มันต้องลืมตา หลับตาลืมตามีสภาวะจิตเสมอกัน ถ้าทำกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม อารมณ์จิตมีความเยือกเย็นตามที่กล่าวมาแล้ว อารมณ์ที่กล่าวมาแล้วนี่เป็นอารมณ์แห่งความเยือกเย็น เมื่อทรงตัวได้อย่างนี้เป็นปกติ ท่านก็เรียกว่าพระโสดาบัน ไม่เห็นจะมีอะไรยาก
    คราวนี้สำหรับพระสกิทาคามี มีอารมณ์เช่นเดียวกับพระโสดาบัน ถ้าสกิทาคามีมรรค ก็เพิ่มกำลังรวบรวมกำลังจิตที่เป็นพรหมวิหาร 4 ให้ทรงตัวแข็งกร้าวขึ้น เพราะว่าพระโสดาบันยังมีความรักในเพศ ยังมีความโลภ ยังอยากรวย แต่ไม่ละเมิดศีล ยังมีความโกรธ แต่ฆ่าเขาไม่ได้ เพราะเกรงศีลจะขาด ยังมีความพยาบาทจองล้างจองผลาญ แต่ไม่ทำ ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณ แต่ไม่ลืมความตาย จะเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันไม่มีอะไรมาก เป็นชาวบ้านชั้นดี ทีนี้มาพระสกิทาคามี สกิทาคามีมรรคนะยังไม่ผล สกิทาคามีมรรคก้าวขึ้นมาอันดับแรก จิตก็จะทรงพรหมวิหาร 4 เป็นกรณีพิเศษ นอกจากจะโกรธ ไม่ทำอันตรายเขาในด้านพระโสดาบัน กำลังใจสูงขึ้นเป็นอภัยทาน ใครเขาทำให้เราโกรธ เราโกรธ ไม่ใช่ไม่โกรธ ถ้าสกิทาคามียังมีโกรธ และโกรธแล้วก็คิดจองด้วย ยังมีการผูกโกรธเขาไว้ ทีนี้กำลังใจอีกส่วนหนึ่งมันแทรกสูงขึ้นมา คือ พรหมวิหาร 4 เมื่อเวลาใครเขาทำความไม่ดีให้เราโกรธเป็นที่ไม่ถูกใจ โกรธแล้วมีอารมณ์คลายลง มันก็ช้าหน่อยไม่ได้คลายทันที นึกน้อมลงไปอีกทีว่า อ๋อ…คนที่ทำให้เราโกรธนี่น่าสงสาร และคนที่ทำความชั่วนี่ เป็นเหยื่อของอบายภูมิ เขาต้องตกนรก มันแสนจะลำบาก ร้อนก็ร้อน มันร้อนกว่าไฟธรรมดาหลายล้านเท่า ยังมีสรรพาวุธมาสับฟันอีก นี่เขาต้องมีโทษหนัก ทุกขเวทนาหนัก พ้นจากนรกมาเป็นเปรต แสนจะลำบาก นับด้วยพันด้วยหมื่นด้วยแสนชาติ จนกว่าจะพ้นหมื่นแสนกัปนะไม่ใช่ชาติ แล้วต้องมาเป็นอสุรกาย เต็มไปด้วยความหิวโหย ต้องมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งไม่มีใครให้สิทธิ์ใด ๆ ทั้งหมด อาจถูกเขาปล่อยให้อดตายบ้าง ถูกเขาข่มเหงคะเนงร้ายบ้าง ไม่มีกฎหมายเป็นเครื่องควบคุม จิตคิดอยู่ว่าคนที่มีอารมณ์ชั่วอย่างนี้เป็นคนที่น่าสงสาร ปล่อยเขาตบมือไปข้างเดียว ให้เขาชั่วไปฝ่ายเดียว กรรมใดที่เขาทำ ให้เป็นเครื่องเจ็บใจ กระทบกระเทือนใจเราให้อภัย
    อย่าลืมว่าไอ้ตอนให้อภัยตรงนี้กว่าจะให้ได้ก็ต้องใช้เวลา สองวัน สามวัน หรือสองชั่วโมง สามชั่วโมง แต่เร็วเข้ามา มันยังมีโกรธ ยังมีพยาบาทแต่ก็มีอารมณ์ให้อภัยทาน ไม่ถือโกรธ ไม่เอาผิดกับเขา ให้อภัยเขา แต่อย่าลืมนะว่า ยังมีความโกรธ ยังมีความพยาบาท นี่เป็นสกิทาคามีมรรคเบื้องต้น
    ทีนี้ พระสกิทาคามีมรรคเบื้องปลาย ตามพระบาลีท่านบอกว่า พระสกิทาคามีบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง บรรเทาตรงไหน ทำยังไง
    บรรเทาความโลภ เราก็มี จาคานุสสติกรรมฐาน เป็นกำลังใจแทนที่จะโลภอยากได้ กลับเป็นอยากให้เขา การแสวงอาชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นความโลภ ได้มาอารมณ์ใจคลายในการติดสมบัติ การหามาเพื่อเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงสมาภรรยา มีความจำเป็นต้องหา การหาด้วยสัมมาอาชีวะ เขาจ้างเราให้เงินเดือนถูกให้เงินเดือนแพงให้ทำความดี ไม่ใช่ความโลภ การค้าขายลงทุนน้อย ได้กำไรมามาก มีฐานะสูงขึ้น แต่ว่าเป็นการค้าเต็มไปด้วยความสุจริต ไม่ใช่เอาของเลวมาบอกเป็นของดี การซื้อขายบอกราคากันตามปกติ เขาพอใจ เขาเอาไป ได้กำไรมากได้กำไรน้อยไม่สำคัญ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นความโลภ เป็น สัมมาอาชีวะ
    ทีนี้สำหรับทรัพย์สินที่ได้มา พระโสดาบันยังเกาะมาก แต่ว่ามาถึงพระสกิทาคามีนึกอยู่เสมอว่าชีวิตอยู่จำเป็นจะต้องใช้จะต้องหา แต่อารมณ์หนึ่งก็คิดว่าไอ้มันกับเราไม่ช้าจะต้องจากกัน ไม่ช้าไม่มันก็เราไปกันข้างหนึ่ง(เออ…อนาคามีวันนี้น่ากลัวไม่ถึง) จิตใจมันก็เพลาจากการยึด ไม่ใช่ว่าเพลาจากการหา หาอยู่ตามปกติ แต่ยึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา มันกับเราจะนอนกอดกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ตายจากกัน ไม่พรากจากกัน อันนี้ไม่มี คิดไว้เสมอว่า มันกับเราไม่ช้าก็สลาย ต่างคนต่างไป ก็มีกำลังใจคิดด้วยความไม่ประมาท
    สำหรับความโกรธ พระสกิทาคามีเคร่งครัดในพรหมวิหาร 4 ในด้านอภัยทาน ถ้ามีอภัยทาน มันบรรเทาลงแล้ว ความโกรธบรรเทาลงไม่ใช่หมด
    ด้านความหลงในร่างกายก็พิจารณาแล้วนี่ว่าไอ้ร่างกายนี่มันสวดสดงดงามก็จริง แต่ทว่ามันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ไม่มีการทรงตัว ตอนนี้ก็ต้องใช้กายคตานุสติ กับอสุภกรรมฐานมีอารมณ์เข้มแข็งขึ้น
    เป็นอันว่าพระสกิทาคามีต้องเพิ่มจาคานุสสติกรรมฐานเข้ามา ในด้านสมถภาวนา เพิ่มพรหมวิหาร 4 ให้มีกำลังสูงขึ้นและก็เพิ่มกายาคตานุสติกับอสุภกรรมฐานเข้ามาอีก เป็นกำลังใจเป็นปกติ จิตก็พร้อมที่จะคิดอยู่ว่า อัตตภาพร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกเป็นของไม่เที่ยงเมื่อไม่เที่ยงมันก็เป็นทุกข์ ในที่สุดมันก็ต้องสลายตัว เราจะไม่นั่งมัวเมาในทรัพย์สินยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราอยู่เพื่อประโยชน์อะไร แต่ก็ยังเกาะ แต่ก็ปล่อยง่าย ให้ง่าย สงเคราะห์ง่าย ให้อภัยทานง่าย เห็นร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก แต่บางครั้งมันก็สวย บางครั้งมันก็เป็นที่ปรารถนา แต่ว่าจิตถอยออกมาห่างได้ง่าย ๆ ยังไม่ถึงกับหมดเลย นี่เป็นวิสัยของพระสกิทาคามีเรียกว่า สกิทาคามีผล
    ถ้าจิตทรงได้แบบนี้…..อ้าว เวลามันจะหมดเสียแล้ว เป็นอันว่าเรื่องพระอนาคามีก็เลยยังไม่ต้องพูดกัน แซมไว้สักนิดว่า ถ้าเราปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกิทาคามี นี่ถ้าไต่เต้าขึ้นไปอย่างนี้ละมันไม่ยาก เพราะว่าขึ้นไปทีละขั้น ไปถึงพระอนาคามีเพิ่มอะไร เรามีมาแล้วทั้งหมด
    พระอนาคามีสิ่งที่เพิ่มสำคัญที่สุดในด้านสมถภาวนา สำหรับวิปัสสนาภาวนาต้องเป็นไปตามปกติ คือต้องพิจารณาขันธ์ 5 ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตามที่กล่าวมา ให้จิตมันทรงตัว เมื่อขันธ์ 5ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตัวนี้มีกำลังทรงตัวมากขึ้น อารมณ์ที่เพิ่มเข้ามาพิจารณาอีก นั่นก็คือกายคตานุสติกับอสุภกรรมฐาน ตอนนี้ต้องมีอารมณ์ทรงตัว ทรงตัวมากขึ้นกว่าพระสกิทาคามีเพราะเป็นการตัดกามราคะให้เด็ดขาด ควบกับวิปัสสนาญาณแล้วก็ใช้พรหมวิหารและกสิณ4 เคร่งครัดยิ่งขึ้น คำว่าเคร่งนี้ไม่ใช่ว่ามานั่งหลับตาทั้งวันทั้งคืน อย่างนี้ใช้ไม่ได้ หลับตาทั้งคืนทั้งวันอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องอารมณ์ปกติมันมีความรู้สึกอยู่ คือ อารมณ์ปกติของกายเห็นว่าร่างกายสกปรก มันเป็นชิ้นเป็นท่อนเหมือนกับส้วมเดินได้แล้วก็การโกรธกัน อาการพยาบาทกันไม่มีประโยชน์อะไร คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ควรจะทำมัน เป็นอันว่าเรื่องพระอนาคามีเอาไว้พรุ่งนี้ เวลาพูดหมดแล้ว
    ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจ หายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    นํามาจากหนังสือทางเข้าสู่พระนิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2008
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <HR color=#ffcc00 noShade SIZE=2>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค</TD></TR><TR><TD align=left> การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค
    ตัดกามฉันทะ (ต่อ)
    สำหรับวันนี้ก็จะได้พูดถึงพระอนาคามีมรรคต่อไป เมื่อคืนนี้ได้พูดถึงพระอนาคามีมรรค พอเริ่มต้นได้เล็กน้อยก็จบ วันนี้ขอพูดต่อ
    สำหรับอนาคามีมรรคนี่ ก็มีอาการฝึกในการตัด กามฉันทะ กับตัด พยาบาท หรือว่า ปฏิฆะ เรียกว่า ตัดความโกรธความพยาบาทให้หมดสิ้นไป ฉะนั้น การเจริญอารมณ์ให้เข้าถึงพระอนาคามีมรรค หรือว่าพระอนาคามีผล ก็จำเป็นต้องรวบรวมกำลังสมาธิจิตให้มีความแก่กล้า มีการทรงตัว มีความเข้มแข็ง และถ้าเราจะกล่าวกันไปว่า ถ้าปฏิบัติมาตามลำดับกว่าจะเข้าถึงพระสกิทาคามี สมาธิมันก็เริ่มเข้มแข็งแล้ว เพราะว่าเราก็ปฏิบัติมาตามลำดับ หมายถึงว่าการที่เป็นพระสกิทาคามีได้นั้นก็ต้องบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง ทีนี้การบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลงได้ ก็เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลงยังมีอยู่ แต่เหลือน้อยเต็มที
    ทีนี้มาถึงพระอนาคามี ตอนนี้ถ้ายังไม่ถึงพระอนาคามีผล ยังไม่จบ เรียกว่า อนาคามีมรรค แปลว่าการเดินทางเข้าไปถึงพระอนาคามีผล ส่วนสำคัญอันดับแรกเราจะต้องรวบรวมกำลังสมาธิให้หนัก ควบกับอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ คือ อริยสัจ นั่นได้แก่พิจารณาร่างกาย เรียกว่า "กายคตานุสติ" พิจารณาดูร่างกาย ประกอบไปด้วยอาการ 32 มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อุจาระ ปัสสาวะ อาหรใหม่ อาหารเก่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ น้ำลาย เป็นต้น พิจารณาดูความเป็นจริง ในด้านสมถภาวนาว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรกหรือมันสะอาด ไม่ใช่จะไปนั่งท่อง เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา อันนี้มันเป็นตัวทำให้จิตเป็นสมาธิเฉย ๆ ไม่ใช่ตัวตัด กรรมฐานกองนี้ กายคตานุสติก็ดี หรือว่า อนุสติทั้ง 10 ประการก็ดี อสุภกรรมฐานทั้ง 10 ประการก็ดี เป็นกรรมฐานพิจารณา ไม่ใช่มานั่งภาวนาเป็นนกแก้วนกขุนทอง ทำจิตให้ทรงอารมณ์ว่ามันมีสภาพเป็นอย่างนั้นตามความเป็นจริง
    คำว่า "ทรงฌาน" ในที่นี้หมายความว่า เห็นว่าร่างกายทั้งหมดมันสกปรก ไอ้ความรู้สึกว่าสกปรกนี่ให้มันทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งเวลาหลับตาพิจารณา เวลาลืมตา เวลาเดินไปเดินมาทำอะไรอยู่ ให้จิตจับอารมณ์นี้จนชิน อารมณ์ไม่คลายไปจากจิต เห็นสัตว์ เห็นคน เห็นวัตถุ ไม่มีอะไรสวย เพราะทุกอย่างมันสกปรกหมด หาสะอาดมิได้ ดอกไม้ที่สะพรั่งอยู่ในป่าหรือในสวน มันมีสีสวยสดงดงามแต่พอจะเข้าไปใกล้ก็รู้ว่ามันมีฝุ่น มีละอองแปดเปื้อนอยู่ด้วย มันสกปรกคนและสัตว์มีสภาวะต่าง ๆ เต็มไปด้วยความสกปรก ตัวสกปรกนี่ไม่ต้องอธิบายมาก เพราะมันรู้อยู่แล้ว ถ้าเราไม่รู้มันก็ระยำเต็มที ไม่ใช่ว่าโง่ ของมันเห็นอยู่กับตัวของเราเอง อะไรบ้างที่เราต้องชำระล้างมัน อะไรบ้างที่เรารังเกียจในร่างกายของเรา ที่มันอยู่ในร่างกายของเรา เราทำไม่รู้ไม่เห็น แต่มันหลั่งไหลออกมาแล้วเรารังเกียจ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย เหงื่อไคล เป็นต้น หรือว่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถ้ามันหลั่งไหลออกมา เรารังเกียจว่ามันสกปรก นี่สภาพอย่างนี้เรามองเห็นชัดอยู่แล้ว นอกจากว่าจะเป็นแต่เพียงว่าเราไม่สนใจจึงจะไม่เห็นว่ามันสกปรก
    คำว่าสนใจนี่ไม่ได้สนใจในกรณีพิเศษ สนใจให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริง ไอ้การแสวงหาของจริงนี่ไม่ต้องใช้ปัญญาอะไรมาก แค่สัญญามันก็ใช้ได้ อุจจารที่ถ่ายออกมามันสะอาดหรือสกปรกก็รู้ ร่างกายทั้งตัวเหงื่อไหลออกมามันสะอาดหรือสกปรกก็รู้ น้ำลายอยู่ในปากอมได้ บ้วนออกมามือไม้กล้าแตะ สะอาดหรือสกปรกก็รู้ ในเมื่อรู้แล้วแต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ หรือไม่สนใจ มันก็เป็นวิสัยของสัตว์ในอบายภูมิ เพราะอะไร เพราะไม่หมดกิเลส ไม่หมดตัณหา มีแต่ความทุกข์ตลอดกาล
    ทีนี้เรื่องการพิจารณาในกายคตานุสติควบกับอสุภสัญญา อสุภสัญญา หรือ อสุภกรรมฐานนี่มันอันเดียวกัน อสุภสัญญา แปลว่า จำได้ว่ามันสกปรกอยู่ตลอดเวลา ทุกชิ้น ทุกส่วน ทุกตารางเซ็นต์ของร่างกาย ไม่มีจุดไหนที่มีความสะอาด มันมีแต่ความสกปรกโสมมอยู่ตลอดเวลา หาจุดสะอาดจริง ๆ ไม่ได้ อันนี้มันเป็นเนื้อแท้ของร่างกายจริง ๆ นี่นั่งคิด นั่งพิจารณาใคร่ครวญ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปแกล้งเห็นใช้สัญญา ความจำ มันต้องจำได้ สภาวะที่มันควรจะจำมีเยอะ ไม่ต้องไปนั่งหาไล่เบี้ยมัน มันเป็นของจริง นี่การเจริญกายคตานุสติกับอสุภสัญญาหรือ อสุภกรรมฐานเขาเจริญแบบนี้
    ชั่วขณะใดที่รู้สึกตัวอยู่ เรามีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งของร่างกายหรือวัตถุทั้งหมดมันสกปรก ให้อารมณ์ทรงอย่างนี้แล้ว เห็นว่าร่างกายเราสกปรก ร่างกายสัตว์สกปรก วัตถุธาตุต่าง ๆ ในโลกไม่มีอะไรสะอาด สกปรกทั้งหมด ลองนั่งนึกดูซิว่าอะไรสะอาด บอกมาสักอย่างสิ มีอะไรบ้างที่มันสะอาด ที่ไม่ต้องเช็ดชำระล้าง มันมีไหม มันไม่มี มันมีแต่สิ่งสกปรกทั้งนั้น
    ทีนี้เราต้องการความสะอาดหรือเราต้องการความสกปรก ที่เรามีความรัก เรามีความปรารถนา เรามีความต้องการ เนื้อแท้จริง ๆ เราต้องการของสะอาด หรือว่าต้องการของสกปรก แต่ทว่าเราก็พบกับสิ่งสกปรกเข้า เราต้องการไหม ถ้าอารมณ์จิตของเราต้องการ ก็ประณามมันสักหน่อยได้ไหม ว่า เอ็งอยากเป็นสัตว์นรกหรือยังไง หรืออยากเป็นเปรต หรืออยากเป็นอสุรกาย หรืออยากเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าอารมณ์อย่างนี้ไม่ใช่อารมณ์ของพระอริยเจ้า เป็นอารมณ์ของสัตว์ในอบายภูมิ มีสัญญาจำได้ คือ ความจำ แต่ว่าไม่สร้างความจำให้เกิด มีตา ทำเหมือนว่าไม่มีตา มีหู ทำเหมือนว่าไม่มีหู มีจิตสำหรับจะคิดจะจำ แต่ว่าไม่รู้จักคิดไม่รู้จักจำ อาการอย่างนี้มันไม่ใช่อาการของคน หรือ ว่าไม่ใช่อาการของเทวดาหรือพรหม หรือว่าไม่ใช่อาการของพระอริยเจ้า มันเป็นอารมณ์หรืออาการของสัตว์นรก หรือว่าเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
    ถามใจมันว่าพอใจที่จะลงนรกไหม ที่ยังมัวเมาอยู่ในรูปกายของคนและสัตว์ ความมัวเมาอย่างนี้มันเป็นตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เมื่อยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ของสกปรกเห็นว่าสะอาด ของไม่สวยเห็นว่าสวย ของที่มีสภาพทรุดโทรมเป็นปกติมองไม่เห็นสภาพตามความเป็นจริง คิดว่ามันทรงตัวอาการอย่างนี้มันเป็นสภาวะของจิตที่จะต้องตกไปในอบายภูมิ เพราะว่าไม่มีความผ่องใสของจิต
    ถ้าหลงอยู่ในรูปอย่างนี้ ของเลวเห็นว่าเป็นของดี ของสกปรกเห็นว่าเป็นของสะอาด จิตมันจะเศร้าหมอง จิตเศร้าหมองตายแล้วไปไหน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จิตเต สังกิลกฏเฐ ทุคติ ปาติกังขา เมื่ออารมณ์จิตเศร้าหมอง ตายแล้วก็ไปอบายภูมิ ทำไมจึงว่าเศร้าหมอง เพราะว่าเราคิดว่ามันดีนี่ เวลาใหม่ ๆ มันก็ผ่องใส สดสวยงดงาม แต่ว่าทั้ง ๆ ที่มันผ่องใสอยู่นั่นแหละ มันก็แสดงอาการสกปรกอยู่ตลอดเวลา หาอะไรดีไม่ได้ แต่เราไม่มอง
    ที่ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาอาศัยอะไรเป็นสำคัญ ความโง่ ไม่ใช่โง่อย่างเดียว บ้าด้วย เพราะว่าคนโง่มันก็พอใช้ปัญญาเป็นเครื่องคิด มีสัญญาเป็นเครื่องจำ คนโง่นี่มันไม่โง่ทั้งหมด มันโง่แต่บางอย่างเท่านั้น แต่สิ่งที่ลี้ลับมีความละเอียดคนโง่อาจจะคิดไม่ถึง แล้วก็ร่างกายของคนเราสกปรก มันเป็นของไม่ยากที่คนโง่พอจะมองเห็นได้ว่าสกปรก แต่ติดใจว่าสะอาดนี่ ไม่ใช่คนโง่ มันเป็นคนบ้า เพราะว่าของสกปรกว่าเป็นของสะอาดนี่ คนโง่เขาไม่พูด คนบ้าเท่านั้นถึงจะพูด ถ้าอารมณ์เรามีความบ้าไร้สติสัมปชัญญะ ไม่มองหาตามความเป็นจริง เราก็จงถามมันว่าไปไหน ใจมันเศร้าหมองมันก็ยอมยึดถือ เวลามันทรุดโทรมเข้ามาจริง เราเสียดาย เสียใจ เวลาจะพัง จะสลายตัว เราเสียดาย เสียใจ ไม่อยากให้มันสลายตัว
    ทีนี้กฎธรรมดาของร่างกาย มันมีความเกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีการสลายตัวไปในที่สุด นี่มันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย แต่ว่าคนบ้านี่มีอุปาทาน ยึดมั่นว่า ร่างกายมันจะต้องเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดเวลา จะต้องไม่มีการทรุดโทรม จะต้องสะอาดตลอดเวลา แต่ความจริงมันสกปรก
    ทีนี้มันจะทรงตัวได้ไหม มันก็ทรงไม่ได้ มันเคลื่อนไหวไปหาความเสื่อม ความเสื่อมกลับแก่เข้ามา เกิดไม่สบายใจ ไอ้ที่เราไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนี้ ทำไมถึงเป็นไป เกิดงุ่นง่าน หูฝ้าตาฟาง กำลังไม่ดี ความจำเสื่อม เดือดร้อน เพราะไม่ยอมรับนับถือว่ามันจะแก่ หนัก ๆ เข้า มันแก่ นาน ๆ เข้า อาการชินเกิดขึ้น เอ้าแก่ไม่เป็นไร ขออย่าให้ตายก็แล้วกัน นี่ยังจะถ่วงต่อไปอีก แล้วร่างกายมันจะทรงได้ไหม กฎธรรมดาของมันจะต้องตาย แล้วทำไมจะไปห้ามมัน ห้ามมันก็ห้ามไม่ได้
    คนดีหรือว่าคนโง่เขาไม่คิดอย่างนี้ คนที่คิดแบบนี้ก็คนบ้าเท่านั้น คนบ้ากิเลส บ้าตัณหา บ้าอุปาทาน บ้าอกุศล คือ บ้าทำในความที่ไม่ดีหรืออกุศล หรือคิดในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ตรงตามความเป็นจริง ที่พูดแบบนี้ก็พูดแบบว่า พระพุทธเจ้าบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทก์ความชั่วของตัวไว้เสมอ นี่จำกันไว้นะ อย่าให้มีอะไรมันพลาดเข้ามาอีก นี่พูดกันทั้งปี ภาษิตบทนี้ มองแต่ตัวไม่ต้องมองชาวบ้าน ให้รู้กฎ รู้ระเบียบว่า เราเป็นอะไร เราเป็นสมณะ แปลว่า ผู้สงบ ถ้าจุ้นจ้านมันก็ไม่ใช่สมณะ เป็นสัตว์ในอบายภูมิ เราเป็นพระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ จิตเลว วาจาเลว ใจเลว มันก็ไม่ใช่พระ เป็นสัตว์ในนรกโน่น
    ทีนี้สติสัมปชัญญะของเรามี พิจารณาหาความจริงว่าไอ้นี่ร่างกายมันสกปรก เป็นสมถะ พอคิดว่านอกจากจะสกปรกแล้ว มันก็ไม่มีการทรงตัว ถ้าเป็นคนก็เลี้ยงไม่ได้ เลี้ยงมันไม่เชื่อง เอาอกเอาใจมันทุกอย่าง มันต้องการเปรี้ยว ต้องการเค็ม ต้องการหวาน ต้องการเย็น ต้องการอุ่น ต้องการเครื่องแต่งตัว สวยสดงดงาม หาให้มันทุกอย่าง อยากจะอยู่บ้านแบบไหน จะนอนแบบไหน จะกินแบบไหน บริหารกายแบบไหน หาให้มันทุกอย่าง ขอไม่ให้มันตาย ขอไม่ให้มันป่วย มันยอมรับนับถือไหม มันเชื่อเราหรือเปล่า ก็เปล่า ไม่มีอะไรที่มันจะเชื่อเรา นี่เป็นอันว่าร่างกายนี่มันเป็นเพื่อนรักของเรา เราก็คบไม่ได้ ต้องเลิกคบมานานแล้ว
    ทีนี้ร่างกายนี้ล่ะ เราควรจะคบมันต่อไปไหม มันมีอะไรบ้างในคุณสมบัติ หรือว่า สภาวะของร่างกาย หนึ่ง เห็นว่า สกปรกเป็นปกติ สองเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ ทุกข์ตรงไหน เพราะว่า ต้องเลี้ยงดูตลอดเวลา สาม เลี้ยงแล้วมันก็ไม่จำ ให้มันทรงตัว มันก็ไม่ทรงตัว มันมีการสลายตัวไปในที่สุด
    ทีนี้พิจารณาหาความสกปรก จนกระทั่งเกิดนิพพิทาญาณ ต้องทำให้ถึงนะ ไม่ใช่มานั่งฟังกันเฉย ๆ คำว่านิพพิทาญาณ นี่มีความเบื่อหน่าย เห็นว่าร่างกายสกปรก ร่างกายเราร่างกายคนอื่นเหมือนกันหมด อย่าเอาตาไปติดอยู่ที่เครื่องอาภรณ์ อย่าเอาตาไปติดอยู่แค่ผิวหนัง ตามองไปเจอะอาภรณ์เครื่องประดับ ผ้าผ่อนท่อนสไบ ผิวหนัง ใจนึกล้วงเข้าไปถึงร่างกาย มองเข้าไปหาความจริง ว่ามันสะอาดหรือสกปรก ไปเห็นคนเห็นสัตว์ คิดแบบนี้ แล้วก็นึกถึงตัวเองด้วย ว่ามันมีสภาพเป็นยังไง เมื่อจิตใจเห็นว่ามันมีสภาพสกปรกเป็นปกติ เห็นคนเหมือนกับถุงอุจจาระเคลื่อนที่ นี่มันต้องมีอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติ ไม่ใช่นั่งภาวนากัน นั่งพิจารณา กินอยู่ เดินอยู่ ยืนอยู่ ทำงานอยู่ มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ใช่เอาเวลานั่งหลับตา นั่งหลับตานี่ ถ้าอารมณ์ปกติไม่ตรงตามนี้ หลับตามันก็ไม่ได้อะไร มันหลับส่งเดช ประเดี๋ยวคิดโน่นคิดนี่ พล่านไปหมด มันถึงได้สร้างความยุ่ง สร้างความเดือดร้อน นี่ถ้าดีกันเสียหมด คิดอย่างนี้ทั้งหมด ควบคุมกำลังใจของตนเองทั้งหมด มันไม่ต้องไปบอก ไม่ต้องไปสอนอะไรกัน เพราะมีแต่คนดีทั้งหมด ไอ้ที่เลวนั่นแสดงว่า ไม่มีนิสัยแห่งความเป็นคน มันมีนิสัยเป็นสัตว์นรกอยู่เป็นประจำ
    ทีนี้เมื่อคิดจุดนี้แล้ว เราก็นำวิปัสสนาญาณตัวสำคัญเข้ามาใช้ว่า ความอยากมีร่างกาย อยากได้ร่างกายของบุคคลอื่นมาประคับประคอง การทะนุถนอมร่างกาย อยากได้ร่างกายบุคคลอื่นมาประคับประคอง การทะนุถนอมร่างกายนี่มันเป็นปัจจัยของความสุข หรือเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันสกปรกด้วย มันทุกข์ด้วยหันเข้าไปจับสักกายทิฏฐิ กายคตาตัวนี้ต้องควบกันเลย ทั้งสมถะและวิปัสสนาต้องควบ
    ท่านบอกแล้วนี่ว่า พระอนาคามีต้องมีอธิจิตสิกขา อธิจิตสิกขา คืออารมณ์เป็นฌาน ทรงอารมณ์เห็นสภาวะอย่างนี้ตามความเป็นจริง อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเวลานั่งหลับตา เวลานั่งหลับตาไม่ได้ผลอะไร ทรงจิตอยู่ว่าร่างกายคนและสัตว์สกปรก เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่นึกส่งเดช แล้วก็มาพิจารณาตามสภาวะของวิปัสสนาญาณว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดี มันสกปรก น่ารังเกียจ รังเกียจน่ะ ไม่ใช่น่ารังเกียจ รังเกียจเสียจริง ๆ อารมณ์กามฉันทะถูกกดลงไปด้วยอำนาจของสมถภาวนา เบื่อหน่ายไม่มีความรู้สึกทางเพศ แต่ระวังตอนนี้ยังไม่ถึงขั้น มันโผล่เข้ามาได้
    ทีนี้ก็ประหัตประหารด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ สักายทิฎฐิ ว่าร่างกายนี้นอกจากสกปรกแล้ว มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา มันเป็นแต่เพียงธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่แสนจะสกปรก แล้วไม่มีการทรงตัว มันมีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ทุกอย่าง ไม่ได้เคยน้อมความสุขมาให้ใจเราเลย เมื่อมีร่างกาย นับแต่วันเกิด ถึงวันตายหาความสุขหนึ่งวินาทีมิได้ มันสร้างสรรค์แต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา
    ฉะนั้น นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราจะไม่ต้องการร่างกายแบบนี้อีก จะไม่มัวเมาร่างกายอย่างนี้ต่อไป อาการใด ๆ ที่จะพึงเกิดขึ้นกับร่างกาย เราถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เราจะไม่ทำจิตหวาดหวั่นอารมณ์ใด ๆ ทั้งหมดที่จะพึงเกิดกับร่างกาย หรือว่ามากระทบกับอารมณ์ใด ๆ ทั้งหมดที่จะพึงเกิดกับร่างกาย หรือว่ามากระทบกับอารมณ์ใจ ปล่อยไปตามสภาพ เจ็บป่วยรักษาเพื่อเป็นการบรรเทาเวทนา มันหายก็หาย มันจะตายก็ช่าง เป็นเรื่องของมัน
    นี่เป็นอันว่าถ้าจิตทรงอาการอย่างนี้ได้ มันจะแก่ก็ช่าง มันจะป่วยก็ช่าง มันจะตายก็ช่าง มันจะเป็นลมเป็นแล้ง มียากินก็กิน ไม่มียากินก็นอนมันเฉย ๆ ช่างมัน ไม่สนใจกับมันอีก อย่างนี้ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ แล้วทรงอย่างนี้ให้ได้เด็ดขาด โดยไม่มีการกำเริบกลับมาพอใจในรูปโฉมโนมพรรณของเขาและของเราต่อไป อย่างนี้ท่านเรียกว่า พระอนาคามีมรรคเบื้องต้น เป็นพระอนาคามีมรรคเบื้องต้น คือ ตัดกามฉันทะได้ด้วยอาการอย่างนี้ นี่อย่างที่พูดไปแล้วอย่าไปวางทิ้งกันนะ พูดแล้วปฏิบัติกัน อย่าไปรุ่มร่ามเข้า ถ้ารุ่มร่ามเข้า มันจะไม่มีโทษแต่ในปัจจุบันอเวจีเป็นที่ไปสำหรับเรา
    ต่อจากนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    นํามาจากหนังสือทางเข้าสู่พระนิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา
     
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    พระอนาคามีมรรค
    ตัดกามฉันทะ (ต่อ)
    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ก็เป็นโอกาสที่จะสดับคำแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน สำหรับวันนี้ก็จะได้พูดถึงพระอนาคามีมรรคต่อ
    เมื่อวานนี้เราได้พูดถึงการระงับอารมณ์ของราคะ หรือ กามฉันทะ ได้แก่ความพอใจในกาม การที่จะทำลายกามฉันทะได้ก็ต้องอาศัยเหตุสองประการร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของสมถภาวนา ก็ต้องใช้ กายคตานุสติ พิจารณาร่างกายคือ อาการ 32 บวกกับ อสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มีแต่ความสกปรก เป็นของไม่น่ารัก เป็นที่น่ารังเกียจ นี่เป็นด้านสมถภาวนา
    ในด้านวิปัสสนาภาวนาก็บวกเข้ามา เห็นว่าร่างกายนอกจากจะเป็นของสกปรก เป็นของไม่น่ารัก เป็นของที่น่ารังเกียจแล้ว มันก็เป็นปัจจัยแห่งความไม่เที่ยง คือ ตัวมันไม่เที่ยง เพราะ อะไร มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็เสื่อมไป แปรปรวนไปเป็นปกติอยู่เสมอ ร่อยหรอไปทุกวัน แล้วในที่สุดก็มีการสลายตัว
    การที่เอาจิตเข้าไปยึดว่าร่างกายเป็นของสะอาด ร่างกายเป็นของสวย ร่างกายเป็นของเรา เป็นปัจจัยของความทุกข์ เพราะว่า สภาวะของร่างกายมันสกปรก สภาวะของร่างกายเป็นของไม่เที่ยง สภาวะของร่างกายมีการสลายตัวไปในที่สุด มันหาสภาพที่เป็นเรา เป็นของเราไม่ได้
    ร่างกายคือธาตุ 4 ได้แก่ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ รวมกันเข้าเป็นตัว แล้วก็มีอากาศธาตุบรรจุช่องว่าง มี วิญญาณธาตุ รับรู้ในการสัมผัส เป็นเรือนร่างที่อาศัยของจิต จิตอาศัยการทรงอยู่ ขณะใดที่การทรงอยู่ขณะนั้นจิตก็ยังอาศัยอยู่ และจิตเป็นผู้บัญชาการทางด้านประสาท ให้ร่างกายพูด ตามกำลังของจิตที่สั่ง เมื่อร่างกายพังไปแล้ว จิตก็ต้องหาชาติภพเป็นที่เกิดต่อไป ถ้ายังไม่สิ้นกิเลส
    ทีนี้การหาชาติหาภพเป็นที่เกิดใหม่ หรือเกิดมาแล้วก็ดี ไม่มีอะไรเป็นสุข มันเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ถ้าความผูกพันในร่างกายมีมากเพียงใด เราก็มีความทุกข์มากเพียงนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามักจะเอาจิตเข้าไปยึดกายเป็นกำลัง ถ้าหากเราเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สภาวะร่างกายเป็นของสกปรกจิตก็ตก จิตก็ตัดจากกามฉันทะ ความพอใจในเพศเสียได้ นี่เราพูดกันแต่เพียงคำแนะนำเป็นแนวทางเท่านั้น ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าถึงความจริง อย่าสักแต่ว่าฟัง ๆ แล้วก็ปล่อยให้เลยไป
    จิตของเราที่ยุ่ง วาจาของเราที่เสีย กายของเราที่ไม่สำรวม ก็เพราะอาศัยจิตไม่ดี ไม่ใช้ปัญญา ไม่ใช้สัญญา สัญญาจำไว้แค่นี้ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ปัญญามันเกิด ปัญญาก็พิจารณาเห็น เห็นคนเมื่อไร เห็นสัตว์เมื่อไร มีความรู้สึกทันที ว่าร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก ความผูกพัน ความกระสันอยากจะได้ปรารถนาจะสัมผัส ไม่มีในจิต ให้จิตมันทรงสภาพเช่นนี้ เห็นคนเหมือนกับเห็นซากศพ เห็นคนเหมือนกับเห็นของเน่าเปื่อย เห็นคนเหมือนกับว่าสิ่งที่เขาบรรจุอุจจาระ ปัสสาวะไว้เต็ม เท่านี้จิตก็จะมีความรังเกียจ
    เมื่อมันเป็นของสกปรก มันก็เป็นของไม่เที่ยง มีอนัตตา คือ สลายตัวไปในที่สุด จิตก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ผูกพันในรูปกายใด ๆ ทั้งหมด จะเป็นที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม เห็นว่าไม่เป็นสาระ หรือว่าไม่เป็นแก่นสาร มันมีแต่ความสกปรก เครื่องประดับที่แต่งกายเป็นของหลอกลวง ไม่มีอะไรดี ผ้าผ่อนท่อนสไบหามาแล้วอย่างดี สีสดสวยเดี๋ยวก็ทรุดโทรม ความจริงนึกว่าสะอาด มันก็สกปรก ก่อนที่จะใช้จะสวมกายก็ต้องชำระล้าง สวมแล้วก็เก็บ จะใช้ใหม่ก็ต้องซักฟอก นี่แสดงว่ามันสกปรกอยู่เสมอ ทีนี้อะไรมันเป็นของสะอาด เป็นอันว่าวัตถุก็ดี สิ่งที่มีชีวิตก็ดี มันก็ของไม่สะอาดทั้งหมด จิตคิดอย่างนี้ให้มันเป็นปกติ จิตก็จะตัดความรักเสียได้
    ความรักที่มันเกิด เราเข้าใจว่ามันสวย เข้าใจว่ามันสะอาด อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของตัณหา ดึงไปอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี่พระทุกองค์ เณรทุกองค์ ฆราวาสทุกท่าน จงทำจิตอย่างนี้เป็นปกติ จะสังเกตไว้ ว่าใครสนใจหรือไม่สนใจ คนที่เขาสนใจเขาไม่สร้างความเดือดร้อนให้เกิดกับบุคคลอื่น เพราะอะไร เพราะต้องดูตัวไว้เสมอว่าเรามีจุดบกพร่องขนาดไหน อย่าปล่อยให้กิเลสมันล้นจากใจ ถ้าจะเลวอยู่แค่ในใจ ความรักจะพึงเกิดขึ้นในเพศก็อยู่แค่ใจ อย่าให้มันไหลมาทางตา อย่าให้มันไหลมาทางปาก อย่าให้มันไหลมาทางกายอย่างนี้ เขาเรียกว่าขังรัก เป็นแค่กำลังของสมาธิ เป็นสมถภาวนา แต่ทำลายอารมณ์รักภายในใจเสียได้ นี่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เขาทำกันยังงี้นะ มีอารมณ์ให้ทรงอยู่เป็นปกติ
    ความมีระเบียบวินัยเป็นสำคัญ คนที่เลวย่อมไม่รักษาระเบียบวินัย ไม่จำคำสั่งและคำสอน คือ คนใดก็ตามต้องมีอาการเตือนกันอยู่เสมอ ๆ นั่นจงรู้ว่าเลวเกินไปสำหรับการที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะการเป็นมนุษย์เรามาจากความดี มาจากทานมาจากศีล มาจากภาวนา ถ้ามาถึงความเป็นมนุษย์แล้วทำเป็นคนไร้ศีล ไร้ทาน ไร้ภาวนา คือการเจริญปัญญา ก็แสดงว่าเรากลับเป็นสัตว์ของอบายภูมิใหม่ กายเป็นคน แต่ใจเป็นสัตว์ กายเป็นคน แต่ใจเป็นเปรต นี่เป็นวิสัยของคนที่ไม่รักดี ไม่รักงาม นี่เราฟังธรรมกันมาถึงขั้นความเป็นพระอริยะ แต่ว่าจิตใจของเรายังตกเป็นทาสของอบายภูมิอยู่ก็รู้สึกว่าจะเลวมากเกินไป
    ที่กล่าวอย่างนี้ไม่ใช่การด่า เป็นการแนะนำตามที่เขาปฏิบัติกันมา เขาทำกันอย่างนี้ อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองไว้เสมอ อารมณ์ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่ง (วันนี้เราพูดกันถึงกามราคะ) เขาจะประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็ รู้สึกว่าใจของเรามันเลวเสียแล้วรึ นี่แค่เขาตำหนิตัวเข้าแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคลอื่น ไปแสดงอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ไปแสดงอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน นั่นแสดงว่ากิเลส มันไหลออกมาทางกายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจ มันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่เราต้องประฌานอย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติ อย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา
    เรื่องราวต่าง ๆ ที่มันมีความทุกข์ มีความเดือดร้อนก็เพราะ ว่าความเลวของจิต เราขาดการสำรวม เราขาดการระมัดระวัง การที่ทำความชั่วให้เกิด ทำความเดือดร้อนให้เกิด ประเภทนี้มันเป็นวิสัยของท่าน โลลุทายี หรือว่า เทวทัต ไม่ใช่ของคนปกติธรรมดา หรือไม่ใช่ของพระศากยบุตรพุทธชิโนรส อันนี้ต้องรำพึงจำไว้เสมอ จำแล้วก็จงอย่าทำความเลว จงอย่าคิดความเลว นี่เป็นเรื่องของอนาคามีมรรคข้อแรก
    มาถึงอนาคามีมรรคข้อที่สอง ตรงนี้ท่านบอกว่า ตัดปฏิฆะ คำว่าปฏิฆะ ไม่ได้หมายถึงความโกรธ ความพยาบาท เรื่องความโกรธ ความพยาบาท มันเป็นเรื่องของพระสกิทาคามี ที่บรรเทาความโกรธ บรรเทาความพยาบาท คิดให้อภัยทาน ความโกรธเกิดขึ้น ความพยาบาทจองล้างจองผลาญ จองเวรจองกรรมเกิดขึ้น รู้สึกตัวขึ้นมา คิดให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำความผิด ให้อภัยบุคคลที่ว่าเราให้อภัยบุคคลที่ด่าเรา ให้อภัยบุคคลที่กลั่นแกล้งเรา อารมณ์จิตก็มีความสุข สำหรับพระอนาคามี พระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสว่า ตัดความโกรธกับความพยาบาท ให้ตัด ปฏิฆะ
    ปฏิฆะคืออารมณ์ที่ไม่พอใจเข้ามากระทบจิต อารมณ์ใดก็ตามที่คนเขาหาทางกลั่นแกล้งด้วยทางกายบ้าง แสดงโดยทางวาจาบ้าง แสดงโดยทางนิมิตบ้าง อันเป็นที่ไม่ชอบใจของเรา ทางวาจาก็ได้แก่ การนินทาว่าร้าย เสียดสีต่าง ๆ ทางกายก็ได้แก่การประทุษร้ายร่างกายบ้าง แสดงอาการออกทางร่างกายบ้างว่าเราเลว หรือว่า แสดงนิมิตต่าง ๆ ได้แก่การเขียนหนังสือ ทำรูปลักษณะเปรียบเทียบอย่างนี้เป็นต้น เป็นที่ไม่ชอบใจเรา คำว่าไม่ชอบ อาการทั้งหมดนิดหนึ่งในอารมณ์ของพระอนาคามีจะไม่มีเลย ไม่ถึงกับโกรธ ไม่ใช่ถึงกับโกรธ
    พระอนาคามีตัดอารมณ์ที่ไม่พอใจ อารมณ์ที่ไม่พอใจในของด้านกิเลส แต่ว่าไม่พอใจโดยธรรมไม่มี หมายความว่า พระองค์นี้ เณรองค์นี้ ฆราวาสคนนั้น ไม่ปฏิบัติอยู่ในศีลาจารวัตร ไม่เป็นที่ถูกต้อง อย่างนี้ไม่พอใจ ไม่สมาคมด้วย อย่างนี้เป็นการสมควร ไม่ถือว่าเป็นปฏิฆะข้อนี้ รู้ว่าพระภิกษุสามเณรไม่มีศีลาจารวัตร ก็เป็นสัตว์ในนรกเสียนี่ เรื่องอะไรที่เราเป็นผู้มีศีลาจารวัตรจะไปคบหาสมาคมด้วย นี่ไม่ใช่อำนาจความโกรธความพยาบาท เพราะอาศัยความเคารพในธรรม
    ทีนี้สำหรับพระอนาคามี ตัวปฏิฆะ คือ อารมณ์ที่เข้ามากระทบจิต กระทบเพื่อความไม่พอใจ ตัวแรกนั่นตัดกามฉันทะ อารมณ์ที่พอใจ อยากจะได้เข้ามา ตัวปฏิฆะ อารมณ์ที่ไม่พอใจเข้ามากระทบทำให้เร่าร้อน
    ทีนี้การที่จะตัดปฏิฆะทำยังไง เราก็รวบรวมกำลังพรหมวิหาร 4 ก็อภัยทานนั่นเอง ความจริงพรหมวิหาร 4 นี่เรามีกันมาตั้งแต่ เริ่มต้นเจริญพระกรรมฐานก่อน การที่นักปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานจะมีความดีทรงตัวอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร 4 นักปฏิบัติจริง ๆ ขั้นเลวสุดเขามีพรหมวิหาร 4
    ทีนี้พวกเรามีใครบ้างไหม ในอดีตใกล้ก็ดี ไกลก็ดี ที่ขาดพรหมวิหาร 4 มีอารมณ์คิดเป็นศัตรูกับคนอื่น คิดทำลายล้างบุคคลอื่น คิดอิจฉาริษยาบุคคลอื่น คิดลงโทษ คิดซ้ำเติมในความผิดของบุคคลอื่น มีบ้างไหม ในอดีตเริ่มตั้งแต่ย่างเข้ามาสู่สำนักนี้ อารมณ์จุดไหนมีบ้าง ถ้ามีอยู่ไม่รู้ตัวนี่เลวมาก หมายถึงว่าเป็นที่ไปแห่งอเวจีมหานรก ถ้าขณะใดเรารู้อยู่ว่ามี ในกาลนั้นพึงรู้ว่านี่เราเป็นสัตว์นรกเสียแล้ว ไม่ใช่แดนของอริยะ หรือไม่ใช่แดนของสมณะ ไม่ใช่แดนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา นี่ความจริงพรหมวิหาร 4นี่ เราศึกษากันมาตั้งแต่ต้น ถ้าไม่มีในใจ ก็แสดงว่าเลวเกินไปสำหรับความเป็นมนุษย์ และก็เลวเกินไปที่จะต้องเกิดเป็นสัตว์ เป็นอสุรกาย หือเป็นเปรต ช่วงที่อยู่คือ อเวจีมหานรก เตือนใจเตือนตัวให้รู้ไว้ ความเลวประเภทนี้ไม่มีสังคมใดเขาต้องการ นี่ความรู้สึกอย่างนี้ต้องมีกับเราเสมอ
    ถ้าเรามีอารมณ์แค่พรหมวิหาร 4 เราก็จงทราบว่านี่เราเลวมากเกินไป เพราะอะไร พรหมวิหาร 4 อันดับต่ำเราก็มีสิทธิแค่เกิดเป็นมนุษย์เท่านั้น ถ้าพรหมวิหาร 4 อันดับกลาง หมายความว่า มีอารมณ์จิตทรงตัว มีความมั่นคงกระชับในความรักคนและสัตว์เสมอด้วยเรา ถ้าเรารักเขา เราไม่สามารถจะไปว่าเขา จะไปติเขา จะไปเสียดสีเขา จะไปกลั่นแกล้งเขา อันนี้ไม่มี คนที่เรารักเราก็มีกรุณา ความสงสาร เมื่อเราไม่กลั่นแกล้ง ไม่เสียดสี ไม่คิดทำลายมีความรัก ก็มีจิตเกื้อกูลจะสงเคราะห์ให้มีความสุข อารมณ์ใดที่มีความบกพร่องอยู่ กิจใดที่เขาบกพร่องเราเกื้อกูลให้เต็มขึ้นมา ไม่ใช่กล่าววาจาเสียดสี เป็นอาการไม่ดี
    วงกับข้าวกับปลา วงไหนอาหารไม่สมบูรณ์ บกพร่องไปเราเกื้อกูลด้วยอาหาร อาการอย่างใดที่เขาบกพร่อง กิจการใดที่เขาบกพร่อง ไม่สามารถจะทำได้ เราช่วยในกิจการนั้น ความรู้ใดที่เขาบกพร่องไม่สามารถจะทำได้ เราช่วยในกิจการนั้น ความรู้ใดที่เขาบกพร่องไม่สามารถจะมีได้ เราแนะนำด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เอาอารมณ์ความเลวทราม ความข่มขู่เข้าไปใช้
    แล้วก็มีอุเบกขา ความวางเฉยในอาการที่ปรากฏขึ้นกับจิตอันเป็นโทษแห่งความทุกข์ หมายความว่าใครเขาด่า เขาว่า เขาติเตียน ถือว่า ช่างมัน อารมณ์สบาย อารมณ์อย่างนี้ยังไม่ใช่ปัจจัยของพระอนาคามี ถ้าลงคำว่า ช่างมันได้ ก็เป็นปัจจัยของพรหมโลก
    นี่พรหมวิหาร 4 ที่เราจะทรงกันแต่เล็กแต่น้อย แต่เริ่มต้น ถ้ามีความมั่นคงอย่างนี้ จิตมีความรัก มีความเมตตาปราณี จิตครุ่นคิดในความสงสาร ปรารถนาในการสงเคราะห์ ไม่อิจฉาริษยาใคร วางเฉยในเมื่อกฎของกรรมเข้ามาถึง การกระทบกระทั่งเข้ามาถึง อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพรหมวิหาร และถ้าจะกล่าวกันไปก็อยู่ในขั้นของพระโสดาบัน
    มีพรหมวิหาร 4 ที่มีอารมณ์ละเอียดยิ่งกว่านี้ ก็ได้แก่มีความรักมากขึ้น สงสารมากขึ้น หวังดีมากขึ้น มีอารมณ์วางเฉยไม่หวั่นไหวมากขึ้น เป็นอภัยทาน ใครทำความผิดใด ๆ ก็มีความโกรธเกิดขึ้นกระทบกระทั่งจิตใจ รู้สึกตัวขึ้นได้ว่า อ๋อ นี่ควรให้อภัยเขา เขาทำไปด้วยอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมบังคับ เราไม่น่าจะโกรธ ให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำความผิด นี่เป็นปัจจัยของพระสกิทาคามี
    ทีนี้ พระอนาคามีทำยังไง เร่งรัดพรหมวิหาร 4 ทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุเบกขาญาณ วิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย มีอารมณ์ร่วมกัน สังขารุเปกขาญาณ มีความวางเฉยในขันธ์ 5 หมายความว่าขันธ์ 5 มันมีสภาพยังไงรู้อยู่แล้ว ว่ามันมีความเกิดขึ้น มันมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอนัตตา มีการสลายตัวเข้าไปในที่สุด พัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา โลกธรรมทั้งหมด ความมีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ รู้ตัวอยู่เสมอว่าช่างมัน มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน มันจะแก่ก็เชิญแก่ซี มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย ของที่ชาวบ้านเขารัก เขาหวงแหน มันพังสลายตัวลง ญาติตาย พ่อตาย แม่ตาย พี่ตาย น้องตาย คนรักตาย ของที่รักสูญหาย ชาวบ้านเขาก็เสียใจ เราเฉย ถือว่านี่มันเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องแก้ไขกันได้ ห้ามปรามกันได้ แก้ไขไม่ได้ เรื่องอะไรจะต้องไปเสียใจกระทบใจ มีอารมณ์วางเฉย มีจิตสดชื่นเป็นปกติ ถือว่านี่เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแล้ว ตรงที่พระพุทธเจ้าสอนว่าของจริงมันเป็นไปตามนี้
    อารมณ์วาจาที่เขากล่าวให้ไม่เป็นที่พอใจ นินทาเกิดขึ้นเราถือว่าเป็นเรื่องเล็ก นายอยากจะปากเสียก็เสียไป ถือว่าถ้อยคำประเภทนี้เขาหลอกให้เราเป็นทาส เราไม่เอา หรือไม่โกรธ ไม่โกรธทั้งคนสรรเสริญและไม่โกรธคนนินทา แล้วก็ไม่ดีใจในคำสรรเสริญ ถือว่าเป็นเรื่องเหลวไหล
    ลาภเกิดขึ้นถือว่าไม่ช้ามันก็หมด คนที่ร่ำรวยมาก ๆ ตายแล้วเอาไปไหนไม่ได้ ลาภเสื่อมสลายตัวไป มันสูญไป เพราะว่าเราต้องใช้ต้องสอย มีเหตุใด ๆ เกิดขึ้นก็ตาม ถือเป็นเรื่องธรรมดา ชาวบ้านเขาหมดมา เราเคยหมดไปแล้ว เคยหามาได้มากกว่านี้ หมดมากกว่านี้ ก็ไม่เห็นจะเป็นไร ชาวบ้านเขาหมดมากว่าเราก็มีเยอะแยะไป มันของปกติธรรมดา เราก็เฉย
    รวมความว่าใช้สังขารุเปกขาญาณ เฉยทั้งอาการที่เข้ามากระทบกระทั่งจิตในด้านของโลกีย์วิสัย เฉยทั้งคำชม เฉยทั้งคำนินทา เฉยทั้งได้มา เฉยทั้งทั้งเสื่อมไป เฉยหมด ไม่มีอะไรสนใจ คำนินทาว่าร้าย เกิดขึ้นกระทบใจแผล็บ ปล่อยหลุดไปเลย ช่างมัน ฉันไม่ยุ่ง อารมณ์อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จะป่วยไข้ไม่สบาย มันจะแก่ มันจะตายก็ช่างมัน แต่การรักษาพยาบาล การบริหารร่างกายเป็นธรรมดา ถือว่าทำตามปกติ
    ถ้าเขาจะถามว่า ถ้าทำจิตได้ยังงี้ ยังสูบบุหรี่ไหม ยังกินหมากไหม ยังจะต้องใช้ของที่เคยใช้กับร่างกายไหม ก็ต้องตอบว่าใช้ตามปกติ เขาไม่ได้ติด แต่ร่างกายต้องการ เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่เป็นพระพุทธเจ้า แล้วยังฉันภัตตาหาร เรื่องอะไรที่ประสาทต้องการ เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องบำรุงโดยประสาท เพื่อเราจะเอาไว้ใช้เป็นประโยชน์ เหมือนกับคนที่ลงเรือรั่วเพื่อหวังจะข้ามฟาก ถ้าขณะใดที่ยังอาศัยเรืออยู่ เมื่อน้ำมันรั่วขึ้นมาเราก็ต้องอุด มันผุตรงไหน ก็ต้องทำนุบำรุงซ่อมแซม ไม่ใช่ปล่อยให้มันรั่วให้มันพังไปจนกว่าเราจะขึ้นฝั่งได้
    นี่อารมณ์ใจแค่นี้กิเลสมันยังไม่หมด ปรากฏว่ามันหมดไปเพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เพราะว่าอันนี้ถ้าทำได้ทั้งหมด ตัดกามฉันทะได้เด็ดขาด ตัดปฏิฆะได้เด็ดขาด จึงจะเป็นอนาคามีผล ยังไม่ถึงอรหัตผล ขอให้ท่านทั้งหลายจงทบทวนกำลังใจไว้ให้ดี มันเป็นของไม่ยาก ต่อไปนี้ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
     
  9. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>สรุปการปฏิบัติเพื่ออนาคามีผล</TD></TR><TR><TD align=left> สรุปการปฏิบัติเพื่ออนาคามีผล
    อันดับต่อไปนี้จะขอพูดสรุปในการปฏิบัติของพระอนาคามีมรรคเพื่อให้เข้าถึงอนาคามีผล
    สำหรับพระอนาคามีตัดสังโยชน์ 2 คือ กามฉันทะ กับ ปฏิฆะ
    กามฉันทะ เรา ใช้สมถะควบด้วยกายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน ให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในรูปร่างของคนและสัตว์และวัตถุประเภทใดที่จะมีความสะอาด สวยสดงดงาม มีการทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างกายของคน สัตว์เต็มไปด้วยความสกปรก มีมูตรและการีต คือ มูตรและคูถเต็มไปหมด มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองเต็มไปหมด พิจารณากรรมฐานกองนี้ให้เกิดนิพพิทาญาณ คือ ใช้อารมณ์จิตให้เข้มแข็ง การใช้กำลังจิตให้เข้มแข็งน่ะ ไม่ใช่นั่งหลับตาปี๋ทรงฌาน การทำอย่างนั้นเป็นการฝึกจิตให้ทรงตัว อารมณ์จิตที่เข้มแข็งจริง ๆ ก็มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่ามีสภาพตามที่กล่าวมาแล้ว
    นอกจากนั้น ก็พิจารณาไปด้วยว่า รูปของคนและสัตว์ ที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5 นอกจากว่ามันจะมีความสกปรกแล้ว มันยังไม่เที่ยง คือ มีความเสื่อมไปเป็นปกติ ในที่สุดมันก็ถึงการสลายตัว ถ้าเราเอาจิตไปยึดไปถือในกามารมณ์ หรือ กามฉันทะ พอใจในความสวยของรูป พอใจในความหอมของกลิ่น พอใจในความเพราะของเสียง พอใจในรสอร่อยของการสัมผัส อย่างนี้เป็นต้น ก็ชื่อว่าเราโง่เกินไป ไม่ได้พิจารณาหาความเป็นจริง รู้แล้วว่าทั้งหมดนี่ รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัสก็ดี มีความสกปรกน่าสะอิดสะเอียน แล้วก็มีการทำลายตัวเองอยู่เป็นปกติไม่มีการทรงตัว
    สำหรับ ปฏิฆะ เราก็ใช้พรหมวิหาร 4 ให้เข้าถึงจุด คือ จับอยู่ในระดับอภัยทาน นี่เป็นเรื่องของสกิทาคามี
    สำหรับอนาคามี ไม่ทำให้ปฏิฆะเกิดขึ้นเลย คำว่าปฏิฆะนี่การกระทบกระทั่งอารมณ์ของจิต ถ้าจะกล่าวไปอีกที ยังไม่ถึงกับโกรธหรือโกรธจัด หรือไม่ถึงกับผูกโกรธเข้าไว้ สิ่งที่กระทบอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่มีสำหรับเราซึ่งเป็นพระอนาคามี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเรามีความรู้สึกอยู่ว่า ถ้อยคำของคนหรือจริยาของคนไม่ได้สร้างความดี หรือ สร้างความเลวให้เกิดขึ้นกับเรา เราจะดีหรือว่า เราจะเลวมันอยู่ที่การปฏิบัติของตัวเราโดยเฉพาะ
    ฉะนั้น ถ้อยคำของบุคคลต่าง ๆ ที่จะชมก็ดี สรรเสริญก็ดี ไม่สนใจ เราไม่เป็นทาสของการนินทาและสรรเสริญ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลก โดยมีความรู้สึกว่าคนที่สร้างความเร่าร้อนในทางวาจา หรือทางกาย มันเกิดขึ้นกับเรา เพราะคนประเภทนี้เขาไม่มีอิสระในตัว มีปกติในความเป็นทาส อย่างนี้เราจะต้องมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า คนพวกนี้เขาเป็นทาส เขาไม่ได้เป็นไท
    คำว่า ไท ก็หมายถึงอิสรภาพ ความเป็นอิสระของตัวเอง คำว่า ทาส ในที่นี้ก็เป็นทาสของกิเลส ความเศร้าหมองของจิตปล่อยให้จิตสกปรกไปด้วยอำนาจของอกุศลกรรม มีความเลวทรามหมุนไปด้วยอำนาจของตัณหา
    เมื่อจิตมีความเศร้าหมองด้วยอำนาจของอกุศลกรรม จิตดวงนั้นก็มีสภาวะเป็นจิตสกปรก หรือเป็นจิตที่เต็มไปด้วยความโง่ ปราศจากความผ่องใสในการรู้จริง เหมือนกับนัยน์ตาของเราที่ถูกเอาของดำเข้ามาผูก ยังไม่ทราบความเป็นจริงว่าอะไรดี อะไรชั่ว
    ฉะนั้น คนที่ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน คือ ความยึดมั่น คิดว่าตัวจะไม่ตาย ตัวจะไม่แก่ คิดว่าความชั่วที่ทำไปมันเป็นผลของความดี เป็นผลของความสุข แต่เนื้อแท้ที่จริงมันเป็นผลทำให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นภายหลัง คนประเภทนี้เป็นคนที่น่าสงสาร
    ในเมื่อเขาทำชั่วขึ้นมาแทนที่เราจะโกรธ กลับมีความเมตตาว่า น่าเสียดาย ที่คนประเภทนี้กว่าจะเกิดมาเป็นคนได้ก็แสนลำบาก พยายามตะเกียกตะกายขึ้นมาจากนรก จากนรกมาเป็นเปรต จากเปรตมาเป็นอสุรกาย จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน จากสัตว์เดรัจฉานกว่าจะมาเป็นคนได้ก็ยากแสนจะยาก พอเกิดขึ้นมาเป็นคนได้แล้วกลับมาสร้างความชั่ว ไม่สำรวมกาย ไม่สำรวมวาจา ไม่สำรวมจิต คิดไว้แต่ในด้านอิจฉาริษยาบุคคลอื่น หวังทำลายบุคคลอื่นให้เสื่อมจากความดี คนประเภทนี้เรารู้อยู่แล้วว่ามีความชั่วล้นจากใจ เข้ามาถึงกายและวาจา
    ถ้าจะเทียบกับเราซึ่งทรงจิตอยู่ในระดับของความดี ก็เป็นอันว่าคนประเภทนี้ถ้าจะเปรียบกันไป จะเปรียบกับสัตว์เดรัจฉานกับคนก็ยังเข้าไม่ได้ เพราะว่าสภาวะที่เขาทำ มันเป็นสภาวะของสัตว์นรก เราไม่ถือโทษโกรธเขา เราไม่คิดจะทำร้ายเขา แทนที่เราจะคิดยังงั้นเรากลับสงสาร ว่าเขาช่างโง่เง่าเต่าตุ่นอะไรอย่างนี้ มาเป็นคนได้นิดเดียวใช้เวลาไม่กี่ปี ก็ตั้งหน้าตั้งตาเดินทางลงไปสู่นรกใหม่ นี่ทำกำลังใจของเราให้เกิดความรู้สึก แทนที่จะโกรธกลับมีความเมตตาปราณี กลับสงสาร ถ้าโอกาสมีพอจะเกื้อกูลให้มีความสุขและเราจะไม่อิจฉาริษยาเขา ถ้าเขาจะได้ดีพลอยยินดีด้วย เราไม่ซ้ำเติม ในเมื่อเขาทำความชั่ว คือ เขาทำความชั่วแล้ว แทนที่จะยั่วให้เขาชั่วมากขึ้น เราเฉยเสีย เราไม่ยอมรับปล่อยมันไป นี่เรียกว่า พระอนาคามี
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เป็นผู้หนักอยู่ใน อธิจิตสิกขา หมายความว่า มีอารมณ์ทรงตัว อธิจิตสิกขานี่ก็ต้องอย่าลืม เพราะเราพูดกันเสมอ ก็ได้แก่มีสมาธิมั่นคง มีสมาธิมั่นคงนั่น ไม่ใช่ยามที่เราจะนั่งสมาธิหลับตา กำหนดรู้เฉพาะให้จิตมันทรงตัวอยู่อย่างนี้เป็นอารมณ์ ขณะใดที่มีความรู้สึกอยู่ เรารังเกียจในรูปคนและรูปสัตว์ รังเกียจในเสียงของคนและสัตว์ รังเกียจในกลิ่นต่าง ๆ รังเกียจในรส รังเกียจในสัมผัส จิตไม่มั่วสุมในกามารมณ์ เห็นว่ากามารมณ์เป็นปัจจัยของความสกปรกโสมม เป็นของน่าเกลียด กามารมณ์เป็นเครื่องถ่วงให้เราเกิดแก่เจ็บตายอยู่ตลอดเวลา เราจะมีแต่ความลำบากยากแค้น หาความสุขที่แน่นอนไม่ได้
    ใจคิดไว้อย่างนี้ไว้เป็นปกติ สิ่งที่เราจะพึงหวังนั่นก็คือ พระนิพพาน ตั้งใจไว้ว่าเราพยายามทำลายกามารมณ์ไม่ให้เกิดขึ้นกับจิตของเรา ก็เพื่อเป็นการสร้างความเบาให้เข้าถึงพระนิพพาน เราไม่ยอมรับคำนินทาและสรรเสริญใด ๆ ที่มีอารมณ์มากระทบจิต พระอนาคามีนี่ไม่ทำจิตให้โกรธ คำว่าโกรธไม่มี เป็นแต่เพียงว่า อารมณ์ใด ๆ เข้ามากระทบปั๊บให้มันร่วงหล่นไปทันที จิตไม่หวั่นไหวไปตามนั้น
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำถ้อยคำขององค์สมเด็จพระภควันต์ที่ สุปิยปริพาชก กับ นันทมานพ ลุงกับหลานมีความเห็นเป็นข้าศึกซึ่งกันและกัน สำหรับท่านลุงนินทาพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตลอดคืนยันรุ่ง ไม่ได้หลับไม่ได้นอน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเห็นว่าองค์สมเด็จพระชินวร และบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลาย มีความสงบเสงี่ยม น่ารัก น่าเคารพ แต่บรรดาลูกศิษย์ของตนเกลื่อนกล่นแสดงอาการรุกรี้รุกรน เล่นหัวกัน หยอกล้อกัน ไม่มีอาการสำรวม แทนที่เขาจะเห็นความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์ กลับมีอารมณ์อิจฉาริษยาพระพุทะเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย เป็นอันว่าเขาก็เลยนั่งนินทาพระพุทะเจ้าด้วย นั่งนินทาพระสงฆ์ด้วย ตลอดคืน สำหรับนันทมานพผู้เป็นหลานชายกลับมีคติเห็นตรงกันข้ามกับท่านลุง เห็นว่าพระพุทธเจ้าดี เห็นว่า พระสงฆ์ดี มีระเบียบเรียบร้อยดี กลับนั่งสรรเสริญองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดคืน ลุงนินทาพระรัตนตรัย หลานสรรเสริญพระรัตนตรัย อยู่ในที่เดียวกัน คนสองคนมีถ้อยคำเป็นข้าศึกซึ่งกันและกัน
    มาในตอนเช้าบรรดาพระสงฆ์ไปบิณฑบาตรทราบข่าว จึงเข้ามาเฝ้าองค์สมเด็จพระภควันต์ กราบทูลให้ทรงทราบ
    ตอนนี้ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา แนะนำบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายว่า "ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นินทา ปสังสา ท่านถือว่าการนินทาเป็นธรรมดาของโลก คนเกิดมาในโลกทั้งหมดจะพ้นการนินทาไม่มี ตามพระบาลีว่า นัตถิ โลเก อนินทิโต คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก
    ฉะนั้นพวกเธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกับคำสรรเสริญและคำนินทา เราจะชั่วในเมื่อเราทำความดี มีชาวบ้านเขานินทา เราก็จะไม่ชั่วไปตามคำเขาว่า ถ้าเราเลว เขาจะสรรเสริญเราเพียงใดก็ดี เราก็จะไม่ดีไปตามคำสรรเสริญนั้น ขอเธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกับคำนินทาและสรรเสริญ ถือว่าธรรมดาของสัตว์ที่เกิดมาในโลก ต้องมีสภาวะกระทบกระทั่งแบบนี้ทั้งหมด
    แล้วองค์สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงแนะนำให้บรรดาภิกษุทั้งหลายทรงอารมณ์จิต ไม่ยอมรับถ้อยคำทั้งสองประการ ทั้งคำนินทาและสรรเสริญ คำว่า ไม่ยอมรับ ก็คือไม่สนใจ นินทาก็ช่าง สรรเสริญก็ช่าง ตั้งหน้าตั้งตาทำความดีเข้าไว้ นี่เป็นอันว่าเราเพ่งในด้านเห็นคนอื่น เห็นว่าเขาเลว
    รวมความว่าเราจะไม่ยอมเอาทองเข้าไปเสียดสีกับอุจจาระ หรือว่าโบราณบอกว่า ไม่ยอมเอาพิมเสนไปแลกเกลือ เอาเนื้อไปแลกหนัง พิมเสนค่ามันสูงกว่าเกลือ เนื้อค่ามันสูงกว่าหนัง
    ทีนี้เมื่อเราทรงอารมณ์ในด้านความดี เห็นคนอื่นเขาทำความชั่ว เราก็ปล่อยให้เขาชั่วไปแต่ฝ่ายเดียว เราไม่ยอมชั่วด้วย ในขณะที่เราไม่ยอมชั่วด้วย จิตเราก็ไม่สนใจในความชั่วของเขา เขาจะเต้นแร้งเต้นกาเป็นประการใด ก็คิดว่าเขาจะไปนรกก็ช่างเขาเถอะ เราไม่ไปกับเขา ใจเราสาบ นี่เพราะว่าเรามีอารมณ์จิตสบายแบบนี้ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าจิตของเราเป็นสุข
    ความสวยสดงดงามของรูปโฉมโนมพรรณต่าง ๆ เห็นปั๊บ ความรู้สึกเกิดขึ้นทันที ว่าสภาพของรูปนี้มันเป็นอสุภสัญญา ก็หมายความว่ามันเป็นของสกปรก ต้องมีสติสัมปชัญญะควบคุมตามปกติ และก็ตัดอารมณ์คำว่าสวยสดงดงามออกได้จริง ๆ โดยพิจารณาเห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์ แม้แต่ของเราก็ตาม มันไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา มันไม่ได้เป็นทรัพย์สินของเรา มันไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีอำนาจที่ควบคุมมัน
    ร่างกายของคนทุกคนต้องการความสะอาด พยายามชำระล้างร่างกายนอกคือผิว แต่แล้วมันก็สกปรกไปด้วยเหงื่อไคล ต้องชำระล้างกันตลอดวัน โดยเฉพาะเหงื่อไคลที่มันสกปรกนี่มันมาจากไหน มันมาจากภายในของร่างกาย เพราะในร่างกายเต็มไปด้วยส่วนสกปรกทั้งหมด หาอะไรสะอาดมิได้เลย นี่ทำความรู้สึกให้เข้าใจ ตามความเป็นจริง นอกจากสกปรกแล้วมันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และมีความแปรปรวนเสื่อมตัวไปท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด
    ในเมื่อมันพัง เรายึดถือร่างกายของเราว่าเป็นเราเป็นของเราก็ดี ไปพยายามรักร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ในที่สุดร่างกายทั้งสองประเภทนี้ไม่สามารถจะควบคุมไว้ได้ มันสลายตัว ในที่สุดก็ไม่ใช่สมบัติของเราสักอย่างหนึ่ง เป็นอันว่ามันเป็นสมบัติของโลก จิตเป็นผู้อาศัยร่างกายชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นเราจะมีความสุขหรือความทุกข์ก็ได้ อาศัยการชำระจิต ถ้าจิตของเราสกปรกยังมีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณต่าง ๆ เป็นต้นก็ดี จิตของเรายังรับทราบ ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางจิต แล้วในด้านความดี คือ ความสรรเสริญ ในด้านความชั่วคือ การนินทา ก็เชื่อว่าจิตของเราเลวมากเกินไป จิตใจของเราน้อมไปในอบายภูมิ นี่เราต้องพยายามรู้ตัวอยู่เสมอ พยายามประณามจิตของเราไว้ ดูจิตของเราอย่าไปดูจิตของคนอื่น คนทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ พระทุกองค์ เณรทุกองค์ เราพูดกันในตอนเย็นทุกวัน ว่ามีพรหมวิหาร 4 เว้นอคติ 4 ทรงอิทธิบาท 4 นี่พูดกันอย่างนี้ตลอดวัน มีทุกวัน แล้วยังมีอารมณ์เลว ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าท่านทั้งหลายจะต้องกลับไปสู่นรกใหม่
    ฉะนั้น จึงมีความรู้สึกใจ ประณามใจไว้เป็นปกติ อย่าทนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าเรารู้สึกว่าเราดีเมื่อไหร่ นั่นจงทราบว่าเราเลวมากเกินไปสำหรับคนอื่นที่เขาจะยอมรับนับถือว่าเราเป็นคนดีอยู่บ้าง คำว่าดีอยู่บ้าง ไม่มีสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวดี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะคำว่า รู้สึกว่าตัวดี น่ะมันเป็นมานะกิเลส แล้วมันก็แบกความชั่วเข้าไว้ทั้งหมด อมความชั่วเข้าไว้ทั้งหมด ประคับประคองความชั่วเข้าไว้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเราไม่มองตัวเลว เพราะว่า รัดรึงเอาความเลวเข้าไว้เต็มใจ เป็นอารมณ์ของใจ
    ในเมื่อมีความรู้สึกตัวว่าดี แต่ไม่มองความชั่วของตัว ก็เที่ยวเสียดสีชาวบ้าน แคะไค้ชาวบ้าน ทำลายความสุขของชาวบ้านและอาการอย่างนี้จงทราบว่านี่กิเลสมันล้นใจ ก็จงภาวนาไว้ว่า นรกเป็นที่อยู่ของเรา และอีกนานแสนกัปจนกว่าจะกลับมาเกิดเป็นคนได้ ถ้าเรามีความพอใจก็จงสร้างความเลวอย่างนั้นไว้เป็นปกติ สังคมแห่งคนดีเขาไม่ยอมรับ สักวันหนึ่งข้างหน้าเขาจะไล่เราออกไปจากสังคมนั้น เพราะไม่มีใครเขาปรารถนา นอกจากเขาจะไล่เราไป ก่อนที่เขาจะไล่เราก็มีแต่ความร้อนใจ ในเมื่อบุคคลใดก็ตามเขาพูดถึงความเลวขึ้นมาเมื่อไรเราก็สะเทือนใจเมื่อนั้น คิดว่าเขาด่าเรา ความจริงไม่มีใครเขาด่า เขาประณามว่าความเลว มันเป็นของไม่ดี เรามีสภาพเหมือนวัวสันหลังหวะ พอเขาพูดเข้ามากระทบนิดก็เข้าใจว่าเขาด่าเรา นี่อารมณ์อย่างนี้มันเป็นความเลวของเรา ความเลวนี้จะนำเราลงนรก ต้องเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน กว่าจะมาเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ สัมมาทิฏฐิเป็นของยาก น่าเสียดายกาลเวลาที่เราพยายามทำความดีเข้ามาเกิดเป็นคน นี่จงประณามตนไว้เป็นปกติ อย่าชมตัวเองและก็จงรู้ตัวเองรู้ตัวไว้เสมอ ว่าเราเลวอยู่เสมอ เราจะระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้น จะทำลายมันเสีย จะทรงไว้แต่ความดี
    จุดแห่งพระอนาคามีก็คุมจิตไว้ว่าเราจะไม่เห็นรูปใด ๆ เป็นของสวย ไม่มีความรู้สึกว่าเสียงใด ๆ มีความไพเราะจับใจ จนลืมไม่ลง จะไม่ติดใจอยู่ในกลิ่นใด ๆ หรือว่าสภาพอันสลายตัวง่าย จะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรส เพราะรสไม่มีความหมาย ผ่านลิ้นแล้วก็หายไป จะไม่มีความสัมผัสใด ๆ ในระหว่าเพศ เพราะร่างกายของแต่ละคนสกปรก เราไม่ต้องการ เพราะร่างกายทุกร่างกายของแต่ละคนสกปรก เราไม่ต้องการ เพราะร่างกายทุกร่างกาย ร่างกายเราก็ดี มีสภาพเหมือนถุงใส่อุจจาระ แล้วถุงมันก็บางแสนบาง กลิ่นไอความซึบซาบของอุจจาระมันซึมออกมานอกถุง แสดงว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ตัดอารมณ์นี้เสียให้ได้ด้วยอำนาจสมถะ คือ กายคตานุสสติกรรมฐาน และก็ตัดอารมณ์มีความต้องการเสียด้วยสักกายทิฏฐิ เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา มันเป็นเรือนอาศัยของจิตชั่วคราวเท่านั้น ชำระจิตให้ผ่องใส
    ถ้าจิตใจของเรารักษาอารมณ์อย่างนี้ได้เป็นเอกกัคคตารมณ์โดยไม่ต้องระมัดระวัง และรักษาอารมณ์ความโกรธความพยาบาท ความไม่พอใจในถ้อยคำใดที่เกิดขึ้นกับเรา โดยจิตมีความสุข รับฟังคำสรรเสริญก็ไม่สนใจ รับฟังคำนินทาว่าร้ายเสียดสีก็ไม่สนใจ อารมณ์สบาย มีความสุข มีศีลบริสุทธิ์ มีความเคารพในพระรัตนตรัย มีกำลังใจไม่ติดอยู่ในความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นอารมณ์หยาบ มีกำลังใจไม่สนใจกับรูปโฉมโนมพรรณ ไม่มีความพอใจในระหว่างเพศ จิตใจเราไม่หาเหตุในการกระทบจิต คือ ไม่มีความหวั่นไหว เป็นสังขารุเปกขาญาณ คือ มีความวางเฉยเป็นปกติ อย่างนี้ต้องถือว่าเป็นปกติ ไม่ใช่ขณะใดขณะหนึ่งมันเกิดขึ้น เมื่อทรงอารมณ์อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่า เราเป็น พระอนาคามีผล เป็นพระอริยบุคคลที่ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ตายจากคนเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วก็พระนิพพานบนนั้น
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ธรรมใดที่พึงกล่าวต่อไปก็หมดเวลาเสียแล้ว ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>อนุโลมและปฏิโลม</TD></TR><TR><TD align=left> อนุโลมและปฏิโลม
    สำหรับเวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดเรื่องอนุโลมและปฏิโลม เพราะว่าย้อนถอยหลังไปตั้งแต่ต้นถึงอนาคามีเพื่อเป็นการสำรวมจิต การปฏิบัติพระกรรมฐานเขาต้องปฏิบัติกันแบบนี้ เพราะว่าสำหรับวันนี้หรือขณะนี้เราทำถึงอะไร วันต่อไปที่จะทำต่อก็ต้องตรวจจิตเสียก่อนว่าอารมณ์เดิมที่เราปฏิบัติมันทรงอยู่หรือเปล่า หรือว่าการปฏิบัติก้าวสูงขึ้นไป ก็ต้องกลับหลังมาดูใหม่ ถอยหน้าถอยหลัง สำรวจอารมณ์จิต ว่าจิตที่เราปฏิบัติมาแล้วมันมีความบริสุทธิ์ตามสมควรหรือไม่ หรือว่ามีข้อใดข้อหนึ่ง จุดใดจุดหนึ่ง ที่เรายังบกพร่องอยู่ จะได้ปรับปรุงอารมณ์จิตให้มันดี ให้สะอาดสม่ำเสมอ ควรแก่ผลที่จะพึงได้
    เมื่อคืนที่แล้วเราได้พูดถึงอนาคามีผล ตอนนี้ก็กลับมาย้อนทวนต้น ว่ากำลังจิตของเราที่จะปฏิบัติเข้าถึงมรรคผล อันดับต้นเราก็มาดูโสดาปัตติผลกันก่อน นี่ต้องย้อนหลังขึ้นมาดูเสมอ ๆ วิธีที่เขาปฏิบัติกันได้ดีจริง ๆ ถ้าปฏิบัติขึ้นไปถึงไหนก็ตามแม้แต่ฌานโลกีย์ อันดับแรกเขาต้องคุมอารมณ์ตั้งแต่ต้นเข้าไปถึงระดับปลายอย่างเช่น เราปฏิบัติมาถึงฌาน 4 เวลาเข้าสมาธิจริง ๆ เขาจับทีละฌาน 1 2 3 4 ตามลำดับ เมื่อฌาน 4 ทรงได้ตามปกติ ถ้าเราจะปฏิบัติในอรูปฌานก็ต่อจากจุดนั้นเข้าไป ไม่ใช่อยู่ ๆ มาจับปลายมือกันเลยทีเดียว ดีไม่ดีปลายก็ไม่ได้ ต้นก็เสีย ปลายก็ไม่ได้ นี่ต้องถอยหน้าถอยหลังกันเป็นปกติ
    วันที่แล้วเราพูดกันมาฟังกันมาถึงอารมณ์ของอนาคามี ความจริงก็ฟังกันมาหลานวันจนกว่าจะถึงจุดนี้ วันนี้เราก็มาฟังตอนต้น สำรวจจิตดูว่าเรายังมีอารมณ์บกพร่องในอันดับไหน สำหรับพระโสดาปัตติผล พระพุทธเจ้าบอกว่าต้องตัดสังโยชน์ได้ 3 สำหรับสังโยชน์ข้อ 1 ได้แค่เล็กน้อย คือ สักกายทิฏฐิ หมายถึงว่าพิจารณาเห็นว่าสภาพร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อารมณ์ที่จะทรงจุดนี้ได้จริง ๆ ก็คือ พระอรหันต์ สำหรับพระโสดาบันยังมีความรู้สึก
    ท่านบอกว่าพระโสดาบันนี่มีสมาธิเล็กน้อย และมีปัญญาเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มาก แต่ว่าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีอยู่ในขอบเขตของ อธิศีลสิกขา จำไว้ให้ดี หมายความว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล ฉะนั้นในฐานะที่เป็นผู้บริบูรณ์ไปด้วยศีล จะเห็นว่าสมาธิไม่หนักหนานัก ปัญญาก็จะไม่ก้าวมากเกินไป เป็นแต่เพียงว่ารู้ว่าจะต้องตาย ความตายมีแน่ พระโสดามีความยึดมั่นไม่แปรผัน มีความรู้สึกตัวอยู่ว่า เราจะต้องตานแน่ ฉะนั้นในเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องตาย จะไม่มีความประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายได้เราตายไปแล้วความสุขจะพึงมี ก็อาศัย พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน มีความยึดมั่น ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ อย่างจริงจัง ในเมื่อนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว ก็ต้องปฏิบัติตนเพื่อกันอบายภูมิ นั่นคือ ทรงศีลห้าบริสุทธิ์สำหรับฆราวาส สำหรับพระภิกษุสามเณรก็มีศีลของตัว ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ ไม่ปรารภเรื่องการแสดงอาบัติ คือ เป็นผู้ไม่มีอาบัติจะแสดง และก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    การที่จะมีศีลบริสุทธิ์ได้ การมีศีลบริสุทธิ์คือควบคุมศีลเป็นอารมณ์เรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน การที่จะมีศีลบริสุทธิ์ได้จริง ๆ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมารักษาศีลกันเฉย ๆ มาสมาทานกันเฉย ๆ ไม่มี กำลังธรรมะส่วนอื่นเข้ามาควบคุม ศีลทรงตัวอยู่ไม่ได้ ทีนี้ธรรมะที่จะมาควบคุม ศีลให้ทรงตัวอยู่ไม่ได้ ทีนี้ธรรมะที่จะควบศีลได้จริง ๆ ก็คือพรหมวิหาร 4 นี่เราต้องพิจารณาว่า พรหมวิหาร 4 ของเรามีครบถ้วนไหม ถ้ามีพรหมวิหาร 4 ครบถ้วน ศีลเราก็บริสุทธิ์ สมาธิก็ทรงตัว นี่ศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติจริง ๆ เพื่อให้ศีลทรงตัว สมาธิทรงตัว อยู่ที่พรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร 4 เป็นสมถะอันดับหนึ่งที่จะต้องทรงอยู่เป็นประจำ
    นอกจากนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พรหมวิหาร 4 ของเราบกพร่อง เราก็ต้องใช้ เทวตานุสสติกรรมฐาน เข้าควบคุมกำลังใจอีกจุดหนึ่ง นั่นก็คือ หิริ และ โอตตัปปะ หิริ ความอายต่อความชั่ว โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่ว อันนี้เรียกว่า เทวตานุสสติ
    การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ คิดว่าตัวตายไปแล้ว หรือว่าความดีที่เราทำทั้งหมด เราไม่หวังผลตอบแทน ในชาติปัจจุบัน ไม่หวังผลในการเกิดเป็นเทวดา ไม่หวังผลในการเกิดเป็นพรหม สิ่งที่เราต้องการ คือ พระนิพพาน อันนี้เรียกว่า อุปสมานุสติ
    ทีนี้เราก็ลองนั่งนึกถอยหลังว่าเราศึกษากันมาถึงพระอนาคามี แต่ความจริงสำนักนี้สอนถึงอรหัตผลมาตั้งแต่ปีที่แล้ว วันนี้เรามาทวนกันใหม่ ทวนสายสุขวิปัสสโกชัด มานั่งคิดพิจารณาดูจิตของเรา ว่า มรณานุสสติกรรมฐานนี่เรากำหนดคิดไว้เสมอหรือเปล่า หรือว่าลืมไป หลาย ๆ วันจึงมีความรู้สึกสักทีว่าเราอาจจะตาย ความจริง มรณานุสติ ที่ท่านแนะนำให้มีความรู้สึกไว้เสมอว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่คิดว่าจะตายวันหน้า วันโน้น ไม่ใช่อย่างนั้น คิดว่าเวลานี้เราอาจจะตาย หายใจเข้าแล้ว เราอาจจะไม่ได้หายใจออก หายใจออกแล้วอาจจะไม่ได้หายใจเข้า ความตายมันไม่มีนิมิตเครื่องหมาย จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายเมื่อเป็นเด็ก ตายเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตายเมื่อแก่ เอาแน่ไม่ได้
    นี่เราคิดถึงความตายกันละกี่ครั้ง ถ้าเราเผลอข้อนี้ ก็จงประณามใจของเราว่ามันชั่วเกินไป ที่ไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ความตายเป็นของธรรมดา เราเห็นกันเป็นปกติ คนตายให้เห็นสัตว์ตายให้เห็น แต่ว่าเราไม่มีความรู้สึกว่าเราจะตาย อย่างนี้ก็แปลว่าเลวเกินไป นี่ใคร่ครวญพิจารณาจิตของตน
    แล้วก็มาใคร่ครวญถึงพุทธานุสติ ธีมมานุสติ สังฆานุสติ ว่าเราใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์บ้างหรือเปล่า และความดีที่ท่านปฏิบัติกันได้มานั้น เรานำส่วนใดส่วนหนึ่งมาประพฤติ ปฏิบัติบ้างหรือเปล่า ถ้าเราไม่คิดถึงข้อนี้ก็จงประณามใจไว้อีกว่า เราเลวเกินไป จะเป็นทาสของอบายภูมิ
    ต่อมาก็พิจารณา ศีล ว่าเราบกพร่องบ้างหรือเปล่า ถ้าเราบกพร่องก็ชื่อว่าเราเลวเกินไปแล้ว อันนี้เรามีนรกเป็นที่ไปแน่นอน ถ้าบกพร่องในศีล
    ทีนี้ก็มองไปดู พรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นจุดหมาย จุดกลาง ที่ทำให้ทุกอย่างทรงตัว ว่าเรามีอาการทรงพรหมวิหาร 4 บ้างหรือเปล่า จิตของเรามีความรู้สึกว่าเรารักคนและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เหมือนกับเรารักเราเอง เพราะในฐานะที่เขาทั้งหมด เป็นเพื่อนเกิด แก่เจ็บตายเหมือนกัน การประพฤติพลั้งพลาด ไปบ้างเป็นของธรรมดา ของปุถุชน ถึงแม้ว่าพระอนาคามี ก็ยังมีพลั้งพลาด แต่เป็นอนุสัย เมื่ออาการอย่างนี้เกิดกับเพื่อนของเรา เราเคยมีจิตคิดให้อภัยเพราะความรักบ้างหรือเปล่า หรือให้อภัยเพราะการสงสารเขา ในฐานะที่เขายังเป็นผู้มีความรู้น้อย มีสติไม่มั่นคง มีปัญญาไม่รอบคอบ
    แล้วเราเคยคิดอิจฉาริษยาบุคคลอื่นบ้างไหม เคยว่ากล่าวเสียดสี เพ่งโทษ เรียกว่า ทำให้เขาไม่มีความสุข มีในตัวเราบ้างหรือเปล่า กรรมใดที่เป็นเหตุเกินวิสัยที่ชาวโลกจะพึงหนีได้ เกิดขึ้นกับเราก็ดี เกิดขึ้นกับคนอื่นก็ดี เราคลายอารมณ์หวั่นไหวได้บ้างหรือเปล่า ทำจิตวางเฉยได้ไหม ในเมื่อกรรมเหล่านั้นมันหลีกเลี่ยงไม่ได้
    มาพิจารณาดูตัวเราว่าอาการ 4 ประการนี้มีครบถ้วนหรือว่าบกพร่อง คนเราทุกคนที่มีความเดือดร้อน ก็เพราะว่าขาดพรหมขาดพรหมวิหาร 4 นี่เป็นอันดับต้น ถ้าหากว่าจิตเราครบถ้วนในพรหมวิหาร 4 อยู่ที่ไหนก็ตามมันมีแต่ความเยือกเย็น มันมีแต่ความสุข สุขทั้งเรา และก็สุขทั้งบุคคลที่เนื่องกับเรา ในเมื่อเราพิจารณาถึงพรหมวิหาร 4 ว่ามันอาจจะมีบ้าง หรืออาจจะไม่มีบ้าง ครบหรือไม่ครบ
    เราก็ไปดูเทวตานุสสติกรรมฐาน ว่า หิริ และ โอตตัปปะ ความอายบาป ความเกรงกลัวบาป บาปคือ ความชั่ว ชั่วทางกาย ชั่วทางวาจา ชั่วทางใจ กายมันไม่ดีพยายามประทุษร้ายบุคคลอื่นเขา ลักทรัพย์เขา ละเมิดในกามารมณ์ วาจามันไม่ดีประเภทนี้ กรรมไม่ดี ทุกอย่าง กำลังใจก็เหมือนกัน คอยคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นตลอดเวลา
    เป็นอันว่าอาการที่กล่าวมาแล้วนี้ถ้ามันมี ก็แสดงว่าเราไม่รู้จักความชั่ว ไม่ละอายความชั่ว ถ้าเราอายความชั่ว ถ้าเราอายความชั่วเราก็ไม่ทำ กลัวว่าผลของความชั่วจะสนองให้เรามีความทุกข์ เราก็ไม่พูด นี่อาการทั้งหลายเหล่านี้มีในจิตของเราบ้างหรือเปล่า
    และอารมณ์หยั่งถึงพระนิพพานมีบ้างหรือเปล่า คิดถึงพระนิพพานวันละกี่ครั้ง นี่เป็นการทบทวนกำลังจิตอันดับต่ำ ถ้าทำได้อย่างนี้ถือว่าต่ำที่สุด ในของเขตของพระพุทธศาสนา เรานึกถึงความตาย เป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ มีศีล 5 บริสุทธิ์ สำหรับฆราวาส พระเณรก็ศีลของตัว ทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ มีหิริโอตตัปปะประจำใจ และมีอุปสมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเราอารมณ์ทรงได้ขนาดนี้เป็นปกติ ท่านเรียกว่า พระโสดาปัตติผล เป็นอารมณ์ที่มีอารมณ์ต่ำที่สุดในด้านของความดีในเขตของพระพุทธศาสนา
    ใคร่ครวญว่าเราทุกคนใครบกพร่องจุดไหนบ้าง อันนี้ต้องจำไว้นะ แค่นี้มันต่ำสุด ถ้าเลวกว่านี้เป็นเรื่องของสัตว์ในอบายภูมิ ถ้าเรามีร่างกายเป็นคนก็พึงคิดว่าเราเป็นคนเทียบได้กับสัตว์นรก ตายแล้วก็เป็นสัตว์นรกไป ไปกลับเป็นคนใหม่ไม่ได้ ใจของเราต้องประณามไว้เสมอ อย่าทะนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ คนไหนมีความรู้สึกตัวว่าเป็นผู้ฉลาดบุคคลนั้นก็คือเป็นคนที่โง่บัดซบ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าบุคคลใดรู้ตัวว่าเป็นพาล พาลนี่เขาแปลว่าโง่ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นบัณฑิต เพราะเป็นผู้รู้
    คนที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาลมันจับความชั่วของตัวไว้เสมอ จ้องดูจิตว่าอารมณ์ชั่วมันจะเกิดเมื่อไร ในเมื่อความชั่วมันจะเกิดขึ้นมาในด้านไหน หาทางตัด นี่บัณฑิตมีความรู้สึกอย่างนี้ ไม่เคยมีความรู้สึกตัวว่าเป็นคนดี มองหาความชั่วของตัวให้พบ เมื่อหาชั่วพบ ทำลายความชั่วได้แล้วมันก็ดีเอง นี่จัดว่าเป็นความดีอันดับต้นสำหรับคนที่เข้าถึงพระพุทธศาสนา เพราะเราเรียนกันอันดับสูง นี่เราไม่ได้เรียนเปะ ๆ ปะ ๆ ตายแล้วจะไปไหนก็ช่าง อันนี้เราไม่ใช้ อย่างเลวที่สุดตายแล้วเราไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม และมีชาติเกิดจำกัด 1 ชาติ 3 ชาติ 7 ชาติ เป็นอย่างมาก แล้วไม่ลงอบายภูมิ นี่ศูนย์แห่งการศึกษาเป็นอย่างนี้
    ในอันดับต่อไป ขยับกำลังใจขึ้นไปอีกนิดว่า สำหรับโลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง พระโสดาบันยังมีอยู่ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล เราทำลายความโลภ ด้วยจิตเมตตา กรุณา สงสาร คือ มีการให้ทานเป็นปกติ เป็นการตัดความตระหนี่ในจิต ความโลภของเราเบาบางลง ความโกรธทำลายลงไปด้วยอำนาจของพรหมวิหาร 4 เบาบางลงไปบ้างไหม เรามีจิตเคยคิดให้อภัยกับกับบุคคลผู้มีความผิดที่เราเรียกกันว่า อภัยทาน ไม่ถือโทษโกรธเขา และไม่มีความรู้สึกขึ้นว่าเราโกรธ เราอาฆาต แต่พอยับยั้งชั่งใจ ทรงใจได้ เราก็ให้อภัยไม่ถือโทษโกรธต่อไป อันนี้มีแก่เราหรือเปล่า
    และความหลง คือ ปัญหาสูงขึ้น คิดว่าร่างกายนอกจากจะตายแล้วมันก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ ร่างกายไม่ใช่เป็นปัจจัยแห่งความสุข มันเป็นสมุฎฐานแห่งความทุกข์ที่จะพึงมี ถ้าเราหลงใหล ใฝ่ฝันว่าต้องการร่างกายนี้อีกเราก็จะพบกับความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องหนีร่างกาย คือ ต้องไปพระนิพพาน เพื่อให้จากวัฏฏะ อารมณ์อย่างนี้ของเรามีหรือเปล่า นี่เราเรียนผ่านกันมาแล้ว ถ้าไม่มีก็แสดงว่าจิตของเราเลวไป ถ้ามีได้อย่างนี้ทรงเป็นปกติ ก็แสดงว่าเราเข้าถึงความเป็นพระสกิทาคามี
    ต่อไปเราก็พิจารณาอีกทีว่า เราศึกษากันมาถึงพระอนาคามี พระอนาคามีต้องมีอารมณ์จิตเข้มแข็ง พระพุทธเจ้ากล่าวเป็น อธิจิตสิกขา คือมีอารมณ์จิตเข้มแข็งมาก ไม่ใช่อ่อนแอ คือ ว่าอารมณ์จิตของเราทรงอยู่ในกายคตานุสสติกรรมฐาน กับ อสุภกรรมฐานเห็นคนสัตว์ วัตถุ มีสภาพสกปรกทั้งหมด ไม่มีอะไรน่ารัก นอกจากสกปรกแล้วอัตภาพร่างกายนี้เป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่มีการทรงตัว เป็นเรือนร่างที่จิตจะเข้าอาศัยชั่วคราวเท่านั้น มันทำลายตัวมันอยู่ตลอดเวลา ไม่ช้ามันก็สลายตัว เราตัดความมัวเมาในเพศเสียให้หมด ไม่มีความรู้สึกในเพศ อันนี้มีในจิตของเราแล้วหรือยัง เรายังบกพร่องข้อไหน
    ประการที่สอง เราตัดปฏิฆะ นี่คือ อารมณ์เข้ามากระทบจิต ไม่ใช่ความโลภ ไม่ใช่ความโกรธ ความพยาบาท ปฏิฆะนี่คือ อารมณ์เข้ามากระทบจิต ไม่ใช่ความโลภ ไม่ใช่ความโกรธ ความพยาบาท ปฏิฆะยังไม่ทันจะโกรธ ยังไม่ทันจะพยาบาท พอวาจาเขาเข้ามาปะทะจิต อาการกายเขาแสดงเข้ามาปะทะจิตว่าแสดงถึงความเป็นศัตรู หรือ กลั่นแกล้งเรา เราไม่ยอมรับอารมณ์นั้นทันที ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชาวโลก
    เมื่อเกิดมาในโลกมันจะต้องกระทบอารมณ์นั้นทันที ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชาวโลก
    เมื่อเกิดมาในโลกมันจะต้องกระทบอารมณ์ 2 อย่าง คือ นินทา กับสรรเสริญ ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา นินทาเราก็ไม่รับ เฉย ไม่มีความรู้สึก สรรเสริญเราก็ไม่รับ ไม่พึงปรารถนา จะถูกนินทา หรือ ถูกสรรเสริญมีจิตสบาย มีจิตสบายคือ ทรงตัวเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่รับทั้งสองอย่าง เห็นคำนินทาว่าร้ายเป็นปกติธรรมดา ผ่านไป ได้ฟังคำสรรเสริญก็พึงนึกว่า นี่เขาต้องการให้เราเป็นทาส เขาจึงสรรเสริญยกย่องเรา มันเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ เราจะดี เราจะชั่ว ไม่ใช่อยู่ที่คำนินทาและสรรเสริญ มันอยู่ที่เรารวบรวมกำลังใจเราให้เป็นสุข ตอนนี้อารมณ์ของเราจะทรงตัวทั้งเวลาหลับตาและลืมตา เห็นคน สัตว์ และ วัตถุที่สวยสดงกงามเราก็เบือนหน้าหนี รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรก มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และก็มีจิตไม่สนใจ ไม่รับสัมผัสใด ๆ จากคำนินทาและสรรเสริญ
    อารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์ก็ดี อิฏฐารมณ์ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนาชอบใจ อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่มีอยู่ในใจของเรา มีอารมณ์จิตเป็นสุข อารมณ์อย่างนี้ถ้าทรงตัวถือว่าเราเป็นพระอนาคามี นี่เป็นการอนุโลมและปฏิโลม ในการปฏิบัติพระกรรมฐานเขาต้องทำแบบนี้ ฟังแล้วก็นำไปคิดใคร่ครวญพิจารณา ให้จิตมันทรงตัวตลอดวัน ทั้งเวลาลืมตาและหลับตา จึงจะใช้ได้ และพิจารณาว่าใจของเราทรงได้อันดับไหน เราทรงพระโสดาบันได้แล้วหรือยัง เป็นพระสกิทาคามีแล้วหรือยัง เป็นพระอนาคามีได้แล้วหรือยัง ถ้าโสดาบันยังไม่ได้ จงตั้งใจไปนรกตามความประสงค์
    ต่อจากนี้ไปขอท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>ทบทวนวิธีการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD align=left> ทบทวนวิธีการปฏิบัติ
    สำหรับวันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปขอได้โปรดตั้งใจศึกษาธรรมะปฏิบัติเพื่อความสุขของจิตต่อไป
    สำหรับการที่จะศึกษาต่อก็ขอทบทวนต้น เป็นการแนะนำตามวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง เพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานจริง ๆ เขาทำกันได้เมื่อเริ่มใหม่ ๆ เขาจะทวนจากของเก่าไปก่อน พยายามทรงอารมณ์ของเดิที่ได้แล้วตามลำดับไปถึงที่สุดที่เราพึงได้แล้วจึงจะทำต่อ
    สำหรับวันนี้ก็จะขอเตือนให้ท่านทั้งหลายตามนึกถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอันดับแรกที่เราพึงปฏิบัติในเบื้องต้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า "จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจออก" นี่หมายถึงว่า ทรงสั่งสอนให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ สติ แปลว่า การระลึกนึกได้ ว่าเวลานี้เรามีภาวะเป็นอะไร นึกว่าเราจะทำอะไร สัมปชัญญะ ทราบดีว่ากิจนั้นเราทำแล้วหรือยัง เมื่ออารมณ์จิตคิดว่าเราจะทำอะไร การนั้นที่เราทำมันควรไม่ควร เราจะรู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะจะบอกได้เลยว่า ไอ้นี่เป็นกรรมที่เป็น กุศล หรือเป็นกรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นความดีหรือความชั่ว ทำตนให้ไม่ลืมสติสัมปะชัญยะ นึกไว้ในด้านของความดี ระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์ไม่ให้บกพร่องในด้านความดี พยายามริดรอนความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นกับจิต หรือว่าจริยาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ของจิต ทั้งวาจาและกาย เราจะต้องระมัดระวัง คือ ใช้สติสัมปชัญญะ ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง พวกเราระมัดระวังกันหรือเปล่า
    ประการที่สอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำว่า "เราจงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์" ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้บุคคลอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    ประการที่สาม ทรงแนะนำให้ระงับนิวรณ์ทั้ง 5 ประการ
    ประการที่สี่ ทำจิตให้ เข้าถึงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ
    อารมณ์อย่างนี้ที่เราจะพึงเข้าถึง พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นการเข้าถึง เปลือกของพระพุทธศาสนา อาการอย่างนี้จิตของเราพร้อมบริบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็ปรับปรุงใจเสียให้พร้อม แต่ความจริงศึกษากันมานาน ถ้าอาการอย่างนี้ยังไม่พร้อม ชาตินี้ก็เห็นจะไม่แคล้วอเวจีกันแน่
    อันดับแรกที่มีความสำคัญคือ สติสัมปชัญญะ ถ้าอาการอย่างนี้ยังไม่พร้อม ก็แสดงว่าพวกเรายังไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าศึกษากันมาขนาดนี้ไม่มีสติสัมปชัญญะ การรับฟังวันละหลายเวลา จะกลายเป็นเอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกะทะ ตากระทู้นี้มันมองอะไรไม่เห็น หูกะทะฟังอะไรไม่ได้ยิน ก็รู้สึกว่าจะไม่ทันแก่ความดีเสียแล้ว ผลที่มันจะติดตามเข้ามาคือ อารมณ์ที่เป็นอกุศลบกพร่องในสติสัมปชัญญะ นี่ควรจะต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา
    ประการต่อไป องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่ามรรคต้นที่บุคคลเราจะเข้าถึงเป็นของง่าย นั่นก็คือ มรณานุสสติกรรมฐาน มีประจำใจหรือเปล่า พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติกรรมฐาน สีลานุสติกรรมฐาน เทวตานุสติกรรมฐาน หิริและโอตตัปปะ และ อุปสมานุสติกรรมฐาน ก็คือ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง ศึกษากันมานาน ถ้ายังไม่รู้สึกว่าแย่ แก้ตัวไม่ทัน นี่ต้องทบทวนจิตไว้เสมอ ว่าอะไรที่เราพึงจะปฏิบัติประการต่อไป องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์แนะนำให้ใช้พรหมวิหาร 4 ให้เข้มข้นจนถึงอภัยทาน
    ที่ท่านกล่าวมาเมื่อกี้นี้ เป็นอาการของพระโสดาปัตติผล เมื่อทำจิตของตนให้เป็นอภัยทาน ความโกรธ ความพยาบาทเกิดขึ้น มีความรู้สึกตัว ไม่ถือโทษโกรธต่อไป ให้อภัยแก่คนผิด ให้อภัยแก่บุคคลผู้คิดประทุษร้าย ไม่ถือโทษโกรธเขา แล้วพยายามกำจัดความโลภด้วย จาคานุสติกรรมฐาน พยายามกำจัดความโกรธด้วยอาศัย พรหมวิหาร 4 มีความเข้มข้น พยายามกำจัดความหลงให้ยิ่งกว่าพระโสดาบัน คือ นอกจากจะนึกถึงความตายแล้วก็คิดว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สภาวะของร่างกายมีการสลายตัวไปในที่สุด ชีวิตไม่สามารถจะคงทนตลอดกาลตลอดสมัยไปได้ ถ้าเราจะตายก็ตายอย่างคนดี เมื่อยู่ก็เป็นคนดี เมื่อตายแล้วก็เป็นผีเป็นผีดี อย่างนี้เป็นอาการพระสกิทาคามีผล
    อย่างนี้บรรดาท่านทั้งหลายทุกท่านทำได้แล้วหรือยัง หรือได้ระดับไหน วัดกำลังใจของเราดูไว้ คือ ต้องทบทวนกันไว้เป็นปกติ ไม่ใช่ก้าวไปข้างหน้าแล้วลืมข้างหลัง อาการของพวกเรามันมีอยู่ ที่ศึกษาไปไกลแต่ว่าจริยาที่ทำไม่ได้อะไรเลย อันนี้มีอยู่ พึงรู้ตัวไว้ มีหลายท่านด้วยกัน ยังไม่ได้อะไรเลย แม้แต่สติสัมปชัญญะขั้นต้นก็ยังไม่ได้ บางทีเรานึกครึ้ม ๆ ศึกษากันมานานคงจะไปสรรค์ไปพรหม ไปนิพพาน แต่ถ้ายังไร้อาการสติสัมปชัญญะละก็อย่าหวังเลย การเกิดเป็นมนุษย์มันก็ไม่มีทางจะเกิดเมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้ ตามที่กล่าวมาเป็นด้านของสกิทาคามี
    สำหรับพระโสดาบันก็ดี หรือว่า สกิทาคามีก็ดี พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นด้าน อธิศีลสิกขา เป็นผู้มีศีลยิ่ง บรรเทาความโกรธความพยาบาทบ้างตามสมควร แล้วมาถึงอนาคามีผล อารมณ์ทรงตัวในด้านสมาธิ คำว่าทรงตัวนี่ไม่ใช่นั่งหลับตาเป๋ง ลืมตาอยู่อารมณ์ความดีทรงตัวเป็นปกติ และก็มีความเข้มข้น คือ ทรงอารมณ์เป็นฌาน มีการหนักหน่วงในการทรงจิต นั่นก็คือมีความคิดเห็นตามความเป็นจริงในด้านสักกายทิฏฐิ และอสุภกรรมฐาน เห็นว่าสภาวะร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมด และวัตถุทั้งหมด เต็มไปด้วยความสกปรก ร่วมกับวิปัสสนาญาณ เห็นว่าสกปรกแล้วก็รู้สึกว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ของเขาก็ดี เป็นแต่เพียงธาตุ 4 เข้ามาทรงกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด มีความรังเกียจในร่างกายที่เรียกกันว่า นิพพิทาญาณ
    แล้วมีอารมณ์เฉยในด้านกามารมณ์ทั้งหมด ที่เรียกกันว่า สังขารุเปกขาญาณ มีอารมณ์ทรงตัว ไม่มีความรู้สึกในเพศ ไม่มีความกระสันในเพศ และก็ไม่ติดใจพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส แม้แต่ไม่ใช่คน เป็นวัตถุก็ตาม สีสันวรรณะที่เห็นส่าสวย เราเห็นเป็นของธรรมดาไป กลิ่นที่เรียกว่า หอม เราก็ไม่มีความรู้สึกในการติดใจ รสสัมผัสใด ๆ ที่พึงเป็นที่พอใจของปุถุชนคนธรรมดาเรางดเว้นได้ อารมณ์ไม่มีความรู้สึกในความต้องการ
    สำหรับความโกรธความพยาบาทนั้นไม่เกิดกับจิต แม้แต่ปฏิฆะ อารมณ์ที่ไม่พอใจ คือกำลังใจที่จะสร้างความสะดุ้งให้เกิด ความไม่พอใจกับวาจาหรือจริยาของบุคคลอื่นที่ทำต่อเรา อันนี้ไม่มี เพราะอาศัยมีพรหมวิหาร 4 เต็มภาคภูมิ
    สักกายทิฏฐิมายุว่า มีความรู้สึกว่าอัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อารมณ์ใจที่ทำให้เกิดความไม่พอใจกับบุคคลอื่น หรือที่บุคคลอื่นทำให้เกิดกับเรา รู้สึกว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ของทาส มันเป็นอารมณ์ของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม ทำใจให้มีความปรอดโปร่งตามอารมณ์อย่างนี้ อารมณ์จิตสบาย
    เป็นอันว่าตัดกามฉันทะกับปฏิฆะได้เด็ดขาด มีอารมณ์จิตเป็นสุข เป็นสุขอย่างมากเท่าที่เราไม่เคยจะพบกัน อารมณ์สบาย จะมีอารมณ์ความหนักอยู่บ้างก็นิดหน่อย เหมือนกับเราเคยแบกช้างมาแล้วช้างมันหนัก ทีนี้กลับมาใหม่ กลับมาแบกเศษกระดาษ เศษกระดาษก็เป็นเศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ แค่กระดาษฟุลสแก๊ป ลองพิจารณากันดู ช้างกับกระดาษฟุลสแก๊ปหนึ่งแผ่นนี่มันหนักเท่ากันไหม ความรู้สึกของพระโยคาวจรในระดับนี้จะมีความเบา จะมีความสบาย
    ก็ลองพิจารณากันไปว่า ความทุกข์ใหญ่ของเรานี่มันมีทุกข์ อะไรเป็นสำคัญ ที่เราทุกข์กันจริง ๆ ก็ทุกข์เพราะ ความยึดมั่นถือมั่น มั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นเรา มันเป็นของเรา แล้วเราก็ไม่อยากให้มันเสื่อมโทรมไป ไม่อยากให้มันสลายตัวไป คือ พลัดพรากจากกัน แต่อารมณ์ในตอนนี้นั้น อารมณ์จิตมันมีความรู้สึกว่าทุกอย่างเป็นธรรมดาไปหมด เห็นอาการของความเกิดของเราก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดีเป็นของธรรมดา ความเสื่อมโทรมของร่างกายของคนและสัตว์ ของวัตถุถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา การจะสลายไปของวัตถุถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา การจะสลายไปของวัตถุของร่างกายของคนอื่นและของเราเป็นของธรรมดา
    ตอนนี้มาในด้านโลกธรรม ความมีลาภ ลาภเกิดขึ้น ก็มีความรู้สึกว่าลาภนี้มันสลายตัวแน่ มันไม่สามารถจะทรงอยู่คู่กับเราไปได้ เมื่อลาภสลายตัวไปก็ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีการสะเทือนใจ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าได้ยศมาก็ไม่มีความเมายศ มีความรู้สึกว่าคนที่ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ที่สูงลิ่ว ที่ศักดิ์ศรีสูง แต่ภายในไม่ช้า ไม่นานยศนั้นก็สลายไป เพราะการทำลายของตนเอง หรือว่าคนอื่นถอดถอนขึ้น บางทีคนทรงยศใหญ่ เมื่อตายแล้วก็สิ้นสภาพของความเป็นผู้มียศ เห็นว่าการได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความสำคัญของชีวิต ไม่มีจิตผูกพันในยศ ไม่ถือว่ามีความสำคัญ เห็นว่ายศมีความสำคัญแล้วก็เมื่อเวลายศจะต้องถูกถอดไปหรือต้องสลายไปด้วยประการใดประการหนึ่ง ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นที่น่าสะเทือนใจ ได้ยศหรือไม่ได้ยศเราก็มีสภาพเท่าเดิม แก่ลงทุกวัน มีอาการทรุดโทรมริดรอนทุกวัน และมีความตายไปในที่สุด
    และอารมณ์ของโลกธรรม ได้แก่ สรรเสริญ และ นินทา ฟังคำสรรเสริญของคนไม่มีความรู้สึกดีใจ รู้สึกเป็นอาการปกติว่านี่เรื่องธรรมดาของโลก มันก็ต้องมีการสรรเสริญกัน เมื่อมีคนสรรเสริญได้ก็ต้องมีคนนินทาได้ บางทีบุคคลคนเดียวกันบางครั้งสรรเสริญเยินยอเราเสียเกือบตาย แต่บางโอกาสเขาก็ทำลายคำสรรเสริญด้วยการนินทาเข้ามาแทน จงถือว่าการสรรเสริญและนินทานั้น เป็นธรรมดาของชาวโลกที่เกิดมาจะต้องกระทบกระทั่งอย่างนั้น อันนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาไม่ถือเอาเป็นสาระสำคัญ โดยทรงแนะนำว่า การนินทาและสรรเสริญไม่ได้ทำให้คนดีหรือคนชั่ว ถ้าคนเราทำความดีแล้วใครเขาจะนินทาว่ายังไงก็ตามที เราก็ไม่เลวไปด้วย เมื่อเป็นคนเลวเขาสรรเสริญว่าเราดียังไงก็ตาม เราก็ไม่ดีไปตามคำเขาว่า
    ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามเราว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าให้ทรงรักษากำลังใจเป็นสำคัญว่า ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันก็จะดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราจะต้องดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริยนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว
    ทีนี้ความสุขความทุกข์ของโลก มีความร้อนเกินไป ความหนาวเกินไป มีความหิว มีความกระหาย มีความป่วยไข้ไม่สบาย กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ความแก่เข้ามาถึง ความตายจะเข้ามาถึง ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจจะเข้ามาถึง อาการทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นกฎธรรมดาที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความสบายใจมันเกิด อารมณ์จิตเกิดสุขนี่อารมณ์ของพระอนาคามี มีความสุขใจแบบนี้ ไม่มีอะไรเป็นที่รับสัมผัสแห่งความทุกข์ มีอารมณ์จิตสบาย
    แล้วตัวสำคัญที่ร้ายที่สุดที่สร้างความสุขความทุกข์ก็คือ อารมณ์ความรักในกามารมณ์ นี่ตัวสำคัญ เป็นตัวสร้างเหตุร้ายให้เกิดขึ้นกับจิต หรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับกาย อาศัยความรักเป็นสำคัญที่เราจะต้องเศร้าโศกเสียใจ เพราะอาศัยของรักพลัดพรากไป ภัยอันตรายจะเกิดขึ้นกับเรา โทสะ ความพยาบาทมันจะเกิดขึ้น จะต้องประทุษร้ายซึ่งกันและกันก็เพราะว่าสิ่งที่เรารัก ความรักที่เนื่องด้วยกามารมณ์ไม่มีสำหรับเราแล้ว มันจะมีภัยอันตรายมาจากไหน จะมีความเศร้าโศกเสียใจมาจากไหน ตอนนี้เป็นอันว่ากิเลสหยาบหมดไป ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรว่า อันนี้เป็นอธิจิตสิกขา ก็หมายความว่าต้องทรงอารมณ์ในด้านความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ มีความเข้มแข็งพอที่จะไม่ทำลายความดีส่วนนี้ไปจากจิต มันจะทรงอยู่ได้ทุกขณะจิตที่ชีวิตเราทรงอยู่ต่อไป ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครูต่อไป นี่เราทบทวนความจำกันว่าสิ่งที่เราศึกษากันมาถึงอนาคามีน่ะ ความจริง เนื้อแท้จริง ๆ เราถึงไหนกันแน่ ข้อวัตรปฏิบัติที่เราปฏิบัติอยู่เวลานี้มันถึงไหน
    ทีนี้ต่อไปอีกสักนิดหนึ่ง ว่าถึงการก้าวเข้าไปสู่ความเป็นอรหัตผลค่อย ๆ ไป อย่าไปให้มันแรงนัก ไปแรงนักขาบิ่น ดีไม่ดีก็แพลงตกถนน
    มาดูสังโยชน์ตัวที่ 6 กับสังโยชน์ ตัวที่ 7 รูปราคะ อรูปราคะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าพระอรหัตมรรค นี่เป็นพระอนาคามีผลแล้วนะ เข้าถึงอรหัตมรรคก็มานั่งพิจารณาดู รูปฌาน และ อรูปฌาน เพราะ ว่าพระอนาคามีนี่เคร่งครัดมัธยัสถ์ในรูปฌาน และ อรูปฌานอย่างยิ่ง รวมความว่ามีจิตเกาะฌานแจเป็นสำคัญ ไม่ยอมให้ฌานคลาดจากจิต คำว่าฌานนี่ก็คืออารมณ์ที่เป็นกุศล เกาะหนักหน่วงมากไม่อยากให้มันคลายอารมณ์ อารมณ์หนัก ไม่ใช่อารมณ์เบา
    ทีนี้เราก็มานั่งพิจารณาต่อไปว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะเป็นอรหันต์แล้วละก็ พึงทำความรู้สึกว่ารูปฌานและอรูปฌานนี่เป็นบันไดสำหรับก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นอรหันต์เท่านั้นเป็นกำลังที่จะส่งให้เราสูงขึ้นไป อย่าติดอยู่แค่นี้
    ตอนนี้ก็เป็นของไม่ยาก มันเป็นด้านอนุสัย ความจริงจะว่าไม่ยากก็ไม่ใช่ ถ้ายังโง่อยู่มันก็ติด ถ้าเลิกโง่มันก็ไปง่าย ๆ เพราะตอนนี้เป็นของง่ายแล้ว เพียงรักษากำลังใจ ทรงรูปฌานหรืออรูปฌานให้ทรงตัว แล้วก็มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะไม่ยับยั้งอยู่เพียงแค่นี้ เราจะแสวงหาความดีต่อไป เพราะความดียิ่งกว่านี้มีอยู่ แต่เราก็จะรักษาความดีที่องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำไว้ในขั้นต้น คือรูปฌานและอรูปฌาน ทรงอารมณ์ไว้เป็นปกติ แต่ก็ไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน คิดว่าความดีจากนี้มีอยู่ ที่องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำไว้ว่าต้องทำลายอวิชชา <ฝb> ความโง่ให้ได้ แต่การก้าวเข้าไปที่จะทำลายอวิชชานั้น จะต้องค่อย ๆ ทำไปตามลำดับ จับอันดับปลายทีเดียว เดี๋ยวอารมณ์จะเฝือ นั่นก็คือก้าวเข้าไปสู่การจับมานะ ความถือตัวถือตน ที่องค์สมเด็จพระทศพลว่าเป็นกิเลสที่เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ามานะ ความถือตัวถือตนนี่เป็นความลำบาก องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้วางภาระ คือ การถือตัวถือตนเสีย แต่ว่าอาการอย่างนี้จะกล่าวไปก็ไม่มีเวลา เพราะกาลเวลาที่จะพูดหมดแล้ว
    ต่อไปนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายรวบรวมกำลังใจให้ทรงตัว พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ตัวรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเวลาฝึกนี่ เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ ฉะนั้นเวลาที่เราจะทำงานทำการใดก็ดี ต้องใช้อารมณ์นี้ ไม่ใช่ไปนั่งนับลมหายใจว่าเราจะทำอะไร นึกไว้ว่าเราจะทำ ขณะที่ทำไปแล้ว ก็รู้ตัวว่าเราทำแล้ว นี่การฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกก็เพื่อผลงาน งานที่เราจะทำเป็นงานควรหรือไม่ควร ที่ทำไปแล้วมันดีหรือมันเลว รู้ตัว นี่ทรงตลอดวันแบบนี้ ไม่ใช่มานั่งฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกกันแล้ว เวลาเลิกไปแล้วก็ทำความระยำทุกอย่าง สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ก็ทำดะ นี่มันก็หมายถึงว่าการฝึกไม่มีผล ฝึกไปฝึกมาไปอยู่กับเทวทัตหมด ไม่มีใครเหลือ
    ต่อไปนี้ขอท่านทั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>ทบทวนความรู้เดิม</TD></TR><TR><TD align=left> ทบทวนความรู้เดิม
    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว วันนี้เราก็มาทบทวนความรู้เดิมกันอีกและก็จะต่อไปถึงอรหันตมรรคเบื้องต้น
    สำหรับการศึกษาเดิม ในอันดับแรกเราศึกษาเพื่อให้อารมณ์เป็นสมาธิ คือ พื้นฐานเดิมมีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เพราะว่า อานาปานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ละเอียด แล้วก็เป็นพื้นฐานใหญ่สำหรับกรรมฐานทั้งหมด อันนี้เราสามารถทรงได้กี่นาที จิตจะทรงอยู่ได้ตามลำดับ ต้องทบทวนต้นไว้เสมอ
    ประการที่สอง องค์แห่งพระโสดาบัน คือ พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์เป็นสำคัญ และมีความเคารพในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่เป็นองค์จุดใหญ่ของพระโสดาบัน เราทำได้แล้วหรือยัง อารมณ์ทรงอยู่ได้แล้วหรือยัง
    ทีนี้สำหรับพระโสดาบันถ้าจะกล่าวโดยจริยาก็ หนึ่ง มีมรณานุสติกรรมฐานนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ทรงได้ไหม ประการที่สอง มีพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ เทวตานุสติ มีพรหมวิหาร 4 และก็มีหิริโอตตัปปะ มีอุปสมานุสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ อันนี้เราทรงได้แค่ไหน ทรงได้ครบถ้วนหรือไม่
    นี่ทวนกำลังใจอยู่เสมอ อย่าทำใจให้มันลอย และอย่าปล่อยอารมณ์ฟุ้งซ่านน้อมไปในด้านของอกุศล จงคิดว่า ถ้าเราไม่สามารถจะทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ได้ เตือนใจไว้เสมอว่าเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วก็เสียชีวิตชีวิตเกิด เพราะว่าเราจะต้องทุกขเวทนาไปอีกนับกัปไม่ถ้วน ถ้าทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ได้เราก้จะมีการเกิดเพียงแค่มนุษย์กับเทวดา หรือ พรหม เป็นแดนของความสุขและก็เป็นมนุษย์โดยการจำกัดชาติ ไม่ช้าก็เป็นอรหัตผล นี่ถ้าเราทรงอารมณ์ได้อย่างนี้
    ต่อไปก็คลำความเป็นพระสกิทาคามี สกิทาคามีมีจริตทั้งหมดเหมือนกับพระโสดาบัน แต่ทว่าระงับความโลภด้วยการมีจาคานุสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ แล้วปฏิบัติด้วย และก็ระงับความโกรธ โดยการทรงพรหมวิหาร 4 เข้มข้นจนถึงขั้นอภัยทาน คือ ให้อภัยกับคนที่มีความผิด ไม่ถือโทษโกรธเคือง ไม่ดึงเอาไว้นาน ๆ เรียกว่า ไม่มีความพยาบาท ไม่จองล้างจองผลาญบุคคลนั้น บรรเทาความหลงไว้ได้มากกว่าพระโสดาบัน นอกจากว่าจะนึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว ก็เห็นโทษของการเกิด เห็นโทษของการมีขันธ์ 5 ว่ามันเป็นปัจจัยของความทุกข์ นี่เป็นอาการของพระสกิทาคามี เราทำได้แล้วหรือยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์พระนิพพานเรามีความจับแน่นหนาขึ้น
    ทีนี้ต่อไป สำหรับพระอนาคามีเราศึกษากันมาแล้ว พระอนาคามีตัดสังโยชน์ได้อีก 2 ตัดได้เด็ดขาด นั่นก็คือ กามฉันทะ เห็นโทษของกามคุณ อาการเสวยกามคุณเป็นไปด้วยความทุกข์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ซึ่งเราจะเห็นได้ง่าย ๆ ที่คนแต่งงานเขาไม่มีอะไรเป็นสุข อยู่คนเดียวเป็นสุขดีกว่า ครองคู่เข้ามาต้องเอาใจคนอีกพวกหนึ่ง ถ้ามีลูกมีหลานมีเหลนขึ้นมา ก็ทุกข์มากหนึกขึ้น และกามคุณไม่ได้ให้คุณแต่ประการใด ดึงมาซึ่งความทุกข์อยู่ตลอดเวลา มีความใคร่ไม่มีที่สิ้นสุด เราคนเดียวมีความปรารถนาวัตถุชิ้นเดียว ถ้าอยู่สองคนครองคู่ปรารถนามากขึ้น ต้องลำบากมากขึ้น เป็นปัจจัยของความทุกข์
    นี่เราพิจารณาแล้วก็เพิ่มกายคตานุสติกับอสุภสัญญา คือ อสุภกรรมฐานมากขึ้น จนกระทั่งจิตตัดกามารมณ์ได้เด็ดขาด โดยมาเทียบกับร่างกาย ว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายเขาก็ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา มันเป็นเรือนร่างที่จิตอาศัยชั่วคราว ระงับหรือว่าตัดกำหนัดในเพศ หรือ ว่าในสีสันวรรณะเสียให้หมด ไม่มีความหลง ไม่มีความปรารถนาในสีสันวรรณะและเพศใด ๆ จนกระทั่งความรู้สึกในกามารมณ์หายไป เหือดแห้งสนิท
    สังโยชน์ข้อที่ 2 คือ ปฏิฆะ สำหรับพระอนาคามีมีความโกรธเบาบาง ความโกรธเกิดขึ้นให้อภัย นี่แสดงว่าความโกรธเบา สำหรับพระอนาคามีไม่โกรธเลย ตัดอารมณ์ปฏิฆะ คือ การกระทบใจหายไป มีแต่ความเมตตาปราณีเข้าสู่ใจ สำหรับพระสกิทาคามีเกิดเป็นคนอีกหนเดียวก็ไปพระนิพพาน พระอนาคามีตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วนิพพานบนนั้น นี่ความรู้เดิม เราศึกษากันมาได้ถึงเพียงนี้เราทำได้แค่ไหน วัดกำลังใจให้เป็นปกติ ทีนี้สำหรับพระอรหันต์ ความจริงถ้าเป็นพระอนาคามีแล้วเป็นพระอรหันต์ไม่ยาก เพราะว่ากิเลสหยาบทั้งหมดเราทำลายลงไปเสียแล้วจากพระอนาคามี สำหรับพระอรหันต์ก็ หนึ่ง เราไม่เมาในรูปฌาน สอง เราไม่เมาในอรูปฌาน นี่หมายความว่าเราพอใจในรูปฌานและอรูปฌานเหมือนกัน ต้องทรงไว้เป็นปกติแต่จิตของเราไม่ยับยั้งไว้เพียงนี้ ว่ารูปฌานดี หรืออรูปฌานดี ดีเกินไปกว่าที่เรา ไม่ต้องการอย่างอื่น มีความรู้สึกอยู่เสมอว่ารูปฌานและอรูปฌาน เป็นกำลังใหญ่สำหรับจิต ที่จะกดกิเลสให้มันจมไปแต่มันยังฆ่าไม่ตาย ทำใจให้มั่นคง มีอารมณ์หนัก อารมณ์ตอนนี้ยังหนักอยู่ มีความมั่นคง จับจิตแน่น เราจะสังเกตได้ ท่าที่ทรงอยู่แค่นี้หรือต่ำไปกว่านี้ จะพูดน้อย เคลื่อนไหวน้อย ระมัดระวังตัวมาก
    ทีนี้เมื่อเห็นว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นของดีก็จริงแหล่ แต่ทว่ายังไม่ถึงที่สิ้นสุดที่เราจะต้องปฏิบัติ เราก็ไม่มีความประมาท ก้าวต่อไปตอนนี้ความจริงระวังตัวนะ เราอาจจะเผลอว่าเราเป็นอรหันต์ไปเสียก็ได้ เพราะอารมณ์ของเรามันอยากอยู่แล้ว ในเมื่อเราทำลายความหยาบของจิตได้ จิตมันเบามีความปลอดโปร่งมีความเป็นสุข เพราะอารมณ์แห่งการรักในเพศ รักสีสันวรรณะไม่มี อารมณ์แห่งความโกรธไม่มี เราไม่มีความประมาทในชีวิต เราอาจจะคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์ แต่ยัง นี่เราต้องพิจารณาต่อไปว่าการไม่เมาในรูปฌานและอรูปฌานนี้เป็นของไม่ยาก เป็นแต่เพียงใช้กำลังจิตก้าวไปหน่อยเดียวก็ใช้ได้ ว่าเราไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าตอนนี้ยังดีไม่พอ
    ทีนี้สำหรับการก้าวต่อไปนี่เป็นของหนัก นั้นก็คือ การตัดมานะ ความถือตัวถือตน การที่จะเข้าไปตัดมานะ เขาตัดกันตรงไหน ความจริงกิเลสทั้งหมดตัดตัวเดียวที่สักกายทิฏฐิ เห็นว่าอัตภาพร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเสียอย่างเดียว เราก็หมดความรู้สึกที่จะถือตัวถือตน เราถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขาบ้าง เราเสมอเขาบ้าง เราเลวกว่าเขาบ้าง เอาอะไรมาเป็นเครื่องวัด เอาฐานะ เอาศักดิ์ศรี เอาวิชาความรู้ เอาสภาวะที่คงอยู่เป็นเครื่องเหยียดหยามกันอย่างงั้นรึ มันก็ผิดทั้งนั้น อะไรมันจะดี ขันธ์ 5 ของเรากับขันธ์ 5 ของเขาน่ะ ดูซิว่าอะไรมันจะดีกว่ากัน เขามีอาการ 32 เราก็มีอาการ 32 มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นเหมือนกัน มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลางเหมือนกัน ก็มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน นี่เป็นจุดแรกที่เราจะพึงมองเห็น
    แล้วเราก็ลองไปนั่งดูวัดดูว่า เราดีกว่าเขา ชั่วกว่าเขา มันตรงไหน เอาเงินเอาทองที่มีมากกว่ากันมาเป็นเครื่องวัดยังงั้นรึ แล้วเงินทองห้ามความแก่ ความป่วย ความตาย ห้ามทุกข์ได้ไหม มันก็ไม่ได้ เป็นอันว่าเราจะมีทรัพย์สินสักเท่าใดก็ตามที เราก็ต้องแก่ ต้องป่วย ต้องตาย มีทุกข์เหมือนชาวบ้าน แล้วเอาอะไรมาดีกว่าเขาล่ะ
    ทีนี้หากเราจะว่ามียศฐาบรรดาศักดิ์ ไอ้ยศฐาบรรดาศักดิ์มันช่วยอะไรให้เราดีขึ้นบ้าง ช่วยไม่ให้เราแก่ได้ไหม ช่วยไม่ให้เราตายได้ไหม ช่วยไม่ให้เราป่วยได้ไหม ช่วยไม่ให้เรากระทบกระทั่งกับกฎของธรรมดา คือ โลกธรรมได้หรือเปล่า ไม่มี ไม่ได้อีก มันห้ามไม่ได้
    ทีนี้เอาตระกูลมาเป็นเครื่องวัด เราเกิดเป็นตระกูลของเศรษฐีบ้าง เกิดเป็นตระกูลของคหบดีบ้าง เกิดเป็นตระกูลของกษัตริย์บ้าง เกิดเป็นตระกูลของขุนนางผู้ใหญ่บ้าง แล้วต้นตระกูลของเราดีกว่าชาวบ้านอย่างงั้นรึ ต้นตระกูลของชาวบ้านเขาตายเป็นแถว ๆ ต้นตระกูลของเราตายบ้างหรือเปล่า ต้นตระกูลของชาวบ้านเขามีความป่วยไข้ไม่สบาย ต้นตระกูลของเราความป่วยไข้ไม่สบายไหม ต้นตระกูลของเขาแก่ ต้นตระกูลของเราแก่ไหม มันก็เหมือนกันอีก
    ในเมื่อสภาวะมันเหมือนกัน ก็มองเข้าไปดูอีกที ว่าจิตที่เกาะขันธ์ 5 จิตที่มีมานะทิฐิเป็นสำคัญ ถือว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาน่ะ มันเป็นจิตดีหรือจิตทราม เราก็จะเห็นว่าไอ้การมานะตัวนี้สร้างอารมณ์จิตให้เป็นทุกข์ ถ้าเราคิดว่าเราดีกว่าเขา เราก็มีเพื่อนน้อย แล้วเพราะอะไร เพราะคนที่เราเห็นว่าเขาเลวกว่าเรา ต่ำต้อยกว่าเรา เราก็คบเขาไม่ได้ ในเมื่อมีคนประเภทนั้นเขามาใจเราก็เกิดความไม่สบาย ไอ้การไม่สบายแบบนี้ เพราะรังเกียจเขา จิตมันเป็นสุขหรือ เป็นอันว่าเราหาเพื่อนยาก เมื่อมีเพื่อนน้อยความทุกข์มันก็มาก ความชื่นอกชื่นใจมันก็ไม่มีในเมื่อเวลาเข้าไปสัมผัสกับเพื่อน
    ทีนี้ถ้าเราเห็นว่าเราเสมอเขา เราเท่ากับเขา มันเท่ากันตรงไหน ไอ้คนเท่ากันจริง ๆ น่ะมันจะต้องเกิดเสมอกัน แก่ด้วยกันพร้อม ๆ กัน ป่วยพร้อม ๆ กัน หิวพร้อม ๆ กัน ตายพร้อม ๆ แล้วความรู้สึกต่าง ๆ มันต้องมีความสม่ำเสมอกันหมด เขาสุขเราสุข เขาทุกข์เราทุกข์ แต่อาการอย่างนี้มันมีสำหรับเรา มีกับเขาสม่ำเสมอกันไหม ไม่มี ต่างตนต่างมีความรู้สึก ต่างคนต่างปรากฏทางกายเสื่อมโทรมไม่เสมอกัน เกิดวันเดียวกัน เดือนเดียวกัน ปีเดียวกัน แต่ทว่าเรากับเขามีสภาวะต่างกัน เราหิวเขายังไม่หิว เราป่วย เขายังไม่ป่วย เรามีความทุกข์ เขายังมีความสุข นี่มันไม่เสมอกัน แล้วเราจะไปตั้งหน้าตั้งตาคิดว่าเราเสมอเขาได้ยังไง
    นี่ตัวการที่คิดว่าเราเสมอกับเขา มันเป็นตัวทะเยอทะยาน การที่คิดว่าเราดีกว่าเขา เป็นการข่มขู่ ทะเยอทะยาน คิดทะนงตนว่าตนเป็นใหญ่ ถ้าเราคิดว่าเราเสมอเขา มันก็เสียอีก เพราะ บางคนเขามีจริยาเลว เราคิดว่าเรากับเขาเสมอกัน ก็ต้องพยายามเลวตามเขา ความเลวมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ใช่ปัจจัยของความสุข
    ทีนี้ถ้าหากว่าเขาดีกว่าเรา เราดีไม่เท่าเขา แต่เราคิดว่าเราดีเท่าเขา ก็เกิดความประมาท ประมาทคืออะไร การทะเยอทะยานคิดว่าเราดี ก็เป็นการทำลายความดีที่เราจะพึงแสวงหาต่อไป เป็นอันว่าการที่คิดว่าเราเสมอเขา มันก็เป็นส่วนแห่งความเลว ทีนี้ต่อมาอีกข้อหนึ่ง เราคิดว่าเราเลวกว่าเขา ตอนนี้ก็เป็นการทำลายความดีของตนเอง จิตใจมันก็มีความสุขไม่ได้
    เป็นอันว่า การถือตัวถือตนว่าเราเสมอเขาก็ดี เราดีกว่าเขาก็ดี เราเลวกว่าเขาก็ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์
    ทีนี้ เราจะวางใจยังไงถึงจะสบาย อาการที่เราจะวางใจในตอนนี้ ก็วางใจแต่เพียงว่า "ชราปิ ทุกขา" ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัส สุปายาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วการเกิดนี่มันมาจากไหน การเกิดมาจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เป็นอันว่า วางใจเป็นกลาง ใครจะดีใครจะชั่วยังไงก็ช่าง เราทำใจไว้เสมอ เห็นคนใดเขาดี ก็ยินดีกับเขา เห็นคนใดเขามีความสม่ำเสมอกับเราโดยธรรมเราก็พอใจ เห็นใครเขาเลวกว่าเรา เราก็แสดงธรรมสังเวช ว่าเขาไม่น่าจะประมาทในชีวิต ควรจะปรับปรุงตัว ควรจะคิดปรับปรุงใจให้มีความดี เป็นอันว่าเราจะไม่เหยียดหยามใคร เราจะไม่ตีเสมอใคร เราจะไม่ข่มขู่ใคร รักษากำลังใจของเราให้เป็นสุข
    ถ้าอารมณ์อย่างนี้ไม่มี มีอารมณ์อย่างเดียว ที่เราเรียกกันว่า อุเบกขา วางเฉย เขาเรียกกันว่า อัพยากฤต คำว่า อุเบกขา วางเฉยตัวนี้ มันไม่ไปเกี่ยวข้องกับความสุข แลไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ มันเฉยเป็นธรรมดา ใครเขาจะยังไงก็ช่าง ปรับปรุงใจของเราให้มีความสุข เห็นคนดีเข้ามา เห็นคนเสมอเรามา เห็นใจของเราให้มีความสุข เห็นคนดีเข้ามา เห็นคนเสมอเรามา เห็นคนเลวเข้ามา เราก็มีจิตใจชื่นบานตลอดเวลา ไม่เหยียด ไม่หยาม ไม่ตีเสมอ ไม่ข่มขู่ ทำใจสบายเป็นกลาง ๆ ถ้าทำใจอย่างนี้ ตัวมานะทิฐิมันก็ไม่มี
    มานะทิฐินี้เป็นปัจจัยของความทุกข์ ระวังหใดี มันจะดึงเราให้จมไปในอบายภูมิได้ แต่หากว่าเป็นพระอนาคามีแล้ว ตัวมานะทิฐิมันนิดเดียว ยังมีความรู้สึกอยู่ว่า แหม นี่เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าจิตยังประกอบไปด้วยความเมตตาปราณีมาก การทะนงตนเหมือนคนที่มีกิเลสหนาไม่มี นี่เป็นอันว่าพระอนาคามีมีมานะ อยู่นิดหนึ่งไม่ใช่หยาบ
    อย่างที่พูดเมื่อตะกี้นี้ ที่พูดมาแล้วเมื่อสักครู่นี้ก็หมายความว่าเป็นมานะของคนที่มีกิเลสหนาของคนเป็นปุถุชน สำหรับพระอนาคามีมีพรหมวิหาร 4 ครบถ้วนแล้ว เวลานี้เราก้าวไปสู่ความเป็นพระอรหัตมรรค ทีนี้ตัวมานะ ถือตัวถือตนนั้นมันมีอยู่นิดเดียว ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าเราเป็นกษัตริย์ มีความรู้สึกว่าเป็นขุนนางผู้ใหญ่ มีความรู้สึกอยู่ว่าเรามีฐานะดี มีฐานะจนอยู่ในเพศอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าอารมณ์อย่างนี้มันมีนิด ๆ หน่อย ๆ เป็นเพียงแค่ อนุสัยเท่านั้น ไม่มีปัจจัยถึงให้เกิดโทษ ไม่มีปัจจัยถึงให้เกิดทุกข์หนัก แต่ว่ามันก็เป็นอารมณ์ว่าง ยังไม่สามารถให้เราก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานในชาตินี้ได้
    ฉะนั้นจึงวางอารมณ์เสีย ใครเขาจะยังไงก็ช่าง เขาจะดีเขาจะชั่ว เขาจะเลว เขาจะยังไงก็ตามเถอะ ไม่สนใจ เห็นหน้าคน เราคิดไว้เสมอว่าเป็นคนที่เราควรแก่การปราณี เห็นหน้าสัตว์ก็คิดว่าเป็นสัตว์ควรแก่การปราณี พยายามไม่ถือตน คนและสัตว์ก็ตาม ถือว่าเป็นธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เสมอกัน มีอาการ 32 เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน สร้างอารมณ์ให้เป็นสังขารุเปกขาญาณ ในวิปัสสนาญาณ อย่างนี้ การระงับการถือตัวถือตนย่อมเป็นของไม่ยาก
    อย่ามองคนด้วยฐานะ อย่ามองคนด้วยศักดิ์ศรี อย่ามองคนด้วยความรู้ความสามารถ มองคนแต่เพียงว่าสภาพของเขาเป็นวัตถุเหมือนสภาพของเรา จิตใจของเราพร้อมในการเมตตาปราณี ไม่ถือตน เขาจะมาในฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด การกำหนดอารมณ์อย่างนี้ เราสามารถจะกำจัดตัวมานะถือตัวถือตนเสียได้ อย่างนี้เรียกว่า อรหัตมรรค
    ตอนนี้ อรหัตมรรคนี่มันยังไม่หมดอุทธัจจะตัวสำคัญ คำว่า อุทธัจจะ แปลว่า อารมณ์ฟุ้งซ่าน ยังมีความต้องการนอกเหนือไปจากพระนิพพาน นั่นก็หมายความว่า รู้สึกว่ามีอารมณ์เป็นสุข มีอารมณ์นี่บางครั้งมันเกิดความพอใจ คิดว่านี่เราจะทำไปทำไม ดิ้นรนไปทำไม ในเมื่อเราเป็นพระอนาคามีแล้ว ตายเป็นเทวดา หรือพรหมเราก็นิพพานบนนั้น บางครั้งอารมณ์ประมาทอยู่นิดหนึ่ง แต่ว่าไม่ได้ประมาทในด้านของอกุศล ประมาทในการยับยั้งชั่งจิตของตนว่า ทำไปก็เหนื่อยหน่ายเปล่า ๆ ใจเราก็สบายแล้ว เราตายเป็นพรหม เป็นเทวดา แล้วก็ไปพระนิพพาน เรายับยั้งความดีไว้แค่นี้ดีกระมัง บางครั้งมันมีความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา ถ้าหากจะกล่าวว่าเป็นโทษรึ ไอ้โทษทัณฑ์น่ะไม่เป็น แต่ว่าเป็นการกักตัวเองไว้ในชั่วขณะหนึ่ง
    ทีนี้ ทำยังไง เราก็ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ รักษาอารมณ์อุปสมานุสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ว่า เราต้องการพระนิพพานในชาตินี้ โดยสรุปตัวท้ายเสียทันที คือ ตัดอวิชชา ความโง่ มานั่งใคร่ครวญว่า มนุษย์โลก ก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี เป็นดินแดนที่ไม่พ้นความทุกข์ ความทุกข์มันมีกับเราได้ทุกขณะจิต เราเป็นมนุษย์เต็มไปด้วยความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย ความปวด ความเมื่อย ป่วยไข้ มีความไม่สบาย มีความตายไปในที่สุด มีการกระทบกระทั่งกับอารมณ์ของชาวโลก เรื่องโลกมนุษย์ไม่ดี เทวโลกกับพรหมโลกก็พักความดีอยู่ชั่วคราว ไม่มีความหมาย ใจเราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ถ้าจิตถึงตอนนี้ละบรรดาท่านพุทธบริษัท จิตจะเบามาก เหมือนกับมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้อะไรเลย จิตมันสบาย ๆ กำลังฌานที่เราเคยมั่นคง กดอารมณ์นิ่ง มีความหนัก มันจะสลายตัวไป แต่ว่าจิตใจของเรามีความสุข จะกระทบกระทั่งอาการอย่างใด อย่างหนึ่งก็ตามที ไม่มีความรู้สึกว่ามันจะมีความลำบาก ไม่มีอะไรที่จะมีความหนัก ไม่มีอะไรที่จะทำจิตใจของเราให้เร่าร้อน ได้ยินเสียงคนด่าก็สบายใจ คิดว่าเขาไม่น่าจะทำความชั่ว เป็นปัจจัยของความทุกข์ เห็นใครเขาสรรเสริญเรา ก็ไม่มีความสุขใด ๆ ไม่สั่นคลอน รู้สึกว่าความสรรเสริญไม่มีความหมาย เราดีขึ้นมาได้ไม่ใช่อาศัยการสรรเสริญ หรือว่าถ้าเราไม่ดี ก็ไม่ใช่อาศัยการแช่งด่าของบุคคลใด ความดีจะมีขึ้นมาได้ หรือ ความไม่ดีจะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยเราปฏิบัติเท่านั้น ถ้าจิตใจของบรรดาท่าพุทธบริษัททรงได้อย่างนี้ เรียกว่า อรหัตผล
    เอาละ บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ต่อจากนี้ไปกาลเวลาก็สมควรแล้ว ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>.</B>
     
  13. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    เขียนเสร็จเรียบร้อยแล้วทางเข้าสู้พระนิพพาน

    ลองปฎิบัติดูนะครับ ดีมากๆๆเลย

    จากลูกวัดท่าซุง
     
  14. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ


    .
     
  15. sean2738

    sean2738 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2008
    โพสต์:
    797
    ค่าพลัง:
    +1,754
    สร้างสมเด็จองค์ปฐมหน้าตัก 10 วา
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=65729


    ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ "สมเด็จองค์ปฐม" ก้บวัดธรรมยาน

    http://palungjit.org/showthread.php?t=119095
    <!-- google_ad_section_end -->
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  16. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้นะครับ
    คนหลงเงา
    ...................................
    ปัจจุบันสำคัญที่สุด
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,465
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    อ่านไปขนลุกไป ตื้นตันใจด้วย อนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณมากค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...