รวมเรื่องเล่า+ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯตามรอยพระราหุล(ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mature_na, 25 มีนาคม 2012.

  1. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ความสำคัญโดยย่อของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทย(1)

    กัมมัฏฐาน ๓ ยุค

    credit :nathaponson ;http://www.madchima.org



    [​IMG]


    ประณามพจน์ปฐมบทเรื่องของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ
    (ประณาม ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี.)

    บทความนี้เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้บันทึกเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่สุด ในประวัติศาตร์ของชาติสยามในเรื่องพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯที่ผ่านมา เพราะพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯเป็นการดำรงรักษาวิธีการกล่อมเกลา จิตใจเพื่อยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมที่พระเถรานุเถระแต่ครั้งอดีตได้บำเพ็ญ ฝึกฝน เป็นการฝึกจิตระดับเจโตวิมุติที่เพียบพร้อมทั้งสมาธิที่เป็นบาทฐานของอิทธิ ปาฏิหาริย์ที่เหนือปกติธรรมดาและหากน้อมปฏิบัติตามมรรคมีองค์- ๘ ก็จะเห็นแจ้งในสัจธรรมได้ไม่ยากเป็นทางประเสริฐที่อาจทำให้ผู้ก้าวไปบรรลุ สู่ความสงบที่แท้จริง

    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯมีความสำเร็จได้ประโยชน์ในสองส่วน เป็นทั้งการบำเพ็ญเพื่อความหลุดพ้นและได้อิทธิฤทธิ์ ไปพร้อมกัน

    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นได้รวมพุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนด ขั้นตอนทั้งการปฏิบัติสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงพุทธธรรมอื่นๆที่ หลอมรวมกันอย่างลงตัว


    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นเป็นการปฏิบัติจิต ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่ชาวสุวรรณภูมิยึดถือปฏิบัติมาตลอด

    นับ แต่ครั้งกรุง สุโขทัย บรรดาพระอริยะเจ้าและพระเถระในอดีตต่างเคยฝึกฝนอบรมภูมิจิตภูมิธรรมในแนวพระ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น

    ไม่ ว่าจะเป็นพระมหาเถระคันฉ่อง (สมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จสวามีรามคุณูปมาจารย์(ปู)ที่รู้จักกันในนามสมเด็จเจ้าพะโคะ(หลวงปู่ ทวดแห่งสทิงพระ) สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ก็ล้วนแล้วแต่ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบ ลำดับฯ

    แม้พระอมตเถระที่ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ เลื่องลือด้านอิทธิฤทธิ์ที่แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนชาวพุทธ อย่างเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
    พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
    หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร
    หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
    ซึ่งที่กล่าวนามท่านมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเราว่าท่านเหล่านั้นทรงภูมิจิตภูมิธรรมสูงส่งเพียงใดก็ล้วนแล้วแต่
    ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯทั้งสิ้นท่านทราบหรือไม่ครับ


    [​IMG]


    บท ความนี้ไม่อาจจะสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความเมตตาข้อมูลจากท่านพระครู สังฆรักษ์ (วีระ)ฐานวีโร แห่งวัดราชสิทธาราม(พลับ) กทม. ที่ ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆอย่างมิรู้เบื่อหน่ายต่อคำซักไซ้ไล่เรียงของผู้เขียน

    แม้ ท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากกิจทางพระศาสนาเพียงใดก็ตาม ด้วยกำลังใจที่แน่วแน่ของพระคุณเจ้าท่านนี้ที่มุ่งมั่นในการดำรงรักษามรดก ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาชิ้นเอกเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสุวรรณภูมิให้คง อยู่เพื่อลูกหลานอนุชนรุ่นต่อไป เป็นการช่วยการรักษาแก่นธรรมของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตามรอยเท้าบูรพาจารย์ แต่ครั้งอดีตนับล่วงได้ ๑๘๐๐ ปี

    อานิสงส์ประการใดที่ได้จากการรักษา เผยแพร่ มรดกพุทธธรรมอันยอดยิ่งนี้ขอจงสัมฤทธิ์ ผลแก่บูรพาจารย์ บุพพการี ผู้มีบุพกรรมร่วมกันทั้งส่วนกุศลกรรมและอกุศลกรรม เทพยดานับถ้วนทั่วจากภูมิมนุษย์จนพรหมโลกจรดขอบจักรวาล ตลอดจนญาติกัลยาณมิตร
    สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกภพภูมิจงโปรดสำรวมจิตตั้งมั่นในสัมมาทิฎฐิ น้อมใจรำลึกคุณพระบรมศาสดาศรีศากยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปนี้แล้ว

    อนุโมทนาในกุศลเจตนาครั้งนี้จะก่อเกิดเป็นมหากุศล ให้ทุกท่านถึง “ธรรม” ถ้วนทั่วทุกตัวตนเป็นผู้ถึงสุขที่แท้พ้นภัยภายนอกและภายในทุกกาลสมัยเทอญ
     
  2. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]



    กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ นั้นมีวิธีการฝึกและ การปฎิบัติที่เป็นแบบแผนแน่นอน สรุปได้ง่ายๆดังนี้ครับ

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ
    3. เริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์แต่บอก โดยแรกท่านจะให้ ภาวนาว่าพุท-โธ สติตั้งใต้สะดือ2 นิ้ว
    คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็เอาสติไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง

    ทุกครั้งที่นั่งกรรมฐานต้องมีการ ขอขมาพระ และกล่าวคำอาราธนากรรมฐานตามแบบ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับทุกครั้ง และเมื่อนั่งเสร็จต้องแผ่เมตตาก่อนจึงลุกจากที่นั่ง
    4. การเกิดนิมิตรู้เห็นอย่างใดให้แจ้งแก่อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานแต่เพียงผู้เดียวห้ามบอกผู้อื่น และไม่ควรอ่านสภาวะธรรมต่างๆก่อนเพื่อกันอุปาทานและจิตหลอนนั่นเอง

    5. เมื่ออาจารย์ให้ผ่านแล้วก็จะมีการเลื่อนกรรมฐานไปห้องอื่นๆสูงขึ้นไปตามลำดับชั้นของห้องกรรมฐานนั้นๆจนจบกรรมฐาน40 และต่อวิปัสสนากรรมฐานเป็นขั้นๆไปตามลำดับ


    ============================================================================
    ดังที่ว่าไปแล้วในตอนต้นนะครับ ว่าการเริ่มฝึกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้อง

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐานและ
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ

    ในยุคนี้สามารถทำได้ที่ ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด ติดต่อหลวงพ่อวีระ(จิ๋ว)โทร. 084-651-7023



    ============================================================================

    [size=18pt]

    [size=18pt]คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ

    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง




    [​IMG]


    ============================================================================

    [size=18pt]คำนำ​

    [size=18pt]พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
    สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒)ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

    โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

    ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

    ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่ง คัมภีร์อรรถคาถา
    แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึง

    ยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

    ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง

    ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

    ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
    คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
    โทรศัพท์-084-651-7023


    ============================================================================​

    [size=18pt]ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ตอนสมถะภาวนา


    รูปกรรมฐาน ตอน ๑
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

    รูปกรรมฐาน ตอน ๒
    ๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    ๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    ๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    ๘.ห้องปัญจมฌาน

    ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

    อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    ๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    ๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    ๑๓.ห้อง อรูปฌาน

    ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

    (จบสมถะ)

    ============================================================================
    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

    ๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
    ๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

    (จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)
    [/size]

    ================================================

    [size=18pt]เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

    บททำวัตรพระ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)

    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
    พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)

    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)

    อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

    บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔

    ================================================
    **** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไปนะครับ ****

    ================================================[/size]

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน คณะ5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
     
  3. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    [size=18pt]
    สรุปสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด


    ในที่นี้ขอเรียบเรียง สายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เพื่อให้เป็นที่เข้าใจจามหลักฐานที่สืบๆกันมาแต่โบราณครับ

    เนื่องด้วยต้นมาแห่งสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    สืบสานมาแต่พระราหุลเถระเจ้า


    [​IMG]

    ขออนุญาตอัญเชิญพระอริยประวัติพระองค์ท่านในฐานะผู้ทรงธรรมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ และปฏิบัติสมบัติ ๑

    ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศาสดา และเป็นอริยสาวกเจ้าที่มี เอกทัคคะเลิศทางการใฝ่ศึกษา ทรงสร้างสมพระสาวกบารมีมาหลายอสงไขย แสนมหากัปป นับชาติไม่ถ้วน ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา


    ทรงได้รับพระมหากรุณาพุทธิคุณในการอบรมพระกรรมฐาน จาก พระเถระสารีบุตรในฐานะพระพี่เลี้ยง และจากพระมหาเถระอริยะสาวกเจ้าพระองค์อื่นๆ อาทิ พระปิติ ๕ พระยุคล ๖ พระอานาปานสติ ๙ พระกายคตาสติ ๓๒ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๗ พรหมวิหาร ๔ วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๑๐ อรูปญาณ ๔ พระมหาสติปัฏฐาน ๔ พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ พระไตรลักษณ์ ๓ เบญขันธ์และอายตนภายในภายนอกทั้ง ๕ ธาตุ ๔ เป็นต้น



    จนกระทั่ง พระองค์บ่มวิมุติแก่กล้า ด้วยอิริยาบถไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอดช่วงปฏิบัติธรรมก่อนเป็นพระอเสขบุคคล ทรงเผยแพร่พระกรรมฐานมัชฌิมา และบรรลพระอรหันตเจ้า พร้อมด้วยมรรค ๔ ผล ๔ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว กาลต่อมาก็มีกุลบุตรที่ได้รับทราบกิตติศัพท์ ได้เข้ามาเป็นสัทธวิหาริก และอันเตวาสิก ศึกษาตามแบบอย่างในสำนักของพระราหุลเถระเจ้าที่ท่านได้ทรงศึกษามา เพื่อสืบทอดการตั้งความปรารถนาและเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน


    ก่อนที่พระราหุลเถระเจ้าท่านจะเข้าสู่ขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ท่านได้เจริญอิทธิบาทภาวนา อธิษฐานขอจิตนี้กายนี้ ของพระองค์ท่าน แบ่งเป็นสองภาค คือ กายเนื้อเดิม ๑ กับกายทิพย์ใหม่ ๑ เมื่อกายเนื้อแตกดับสู่นิพพาน จึงเหลือแต่กายอธิษฐานทิพย์ คอยดูแลพระบวรพุทธศาสนาไปอีก ๑,๐๐๐ ปี หลังท่านนิพพาน โดยมีพระเถระรุ่นสืบต่อ ๆ กันมา เป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากนั้น กายทิพย์อันเกิดจากการอธิษฐานจิตก็อันตรธานหายไป จึงกล่าวได้ว่า พระราหุลเถระเจ้าท่าน จะมีกายก็ไม่ใช่ จะไม่มีกายก็ไม่ใช่


    ความจากหนังสือประวัติพระราหุลเถระจ้า พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ หน้า ๙-๑๙
    [/size]
     
  4. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ติดต่อเพื่อขอฝึกฝนกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้ที่ หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]


    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    [​IMG]
    [​IMG]
     
  5. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    [​IMG]


    ความเป็นมาของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

    แต่ ครั้งพุทธกาลที่พระบรมศาสดาศรีศากยมุนีสมณโคดมยังทรงพระชนม์ชีพทรง อุตสาหะสั่งสอนให้กุลบุตรทั้งหลายฝึกสมาธิ ตั้งสมาธิ ยังสมาธิอบรมสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา พิจารณาเพื่อความหลุดพ้น ได้มรรคได้ผล อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา


    (ข้อด้านล่างนั้นคัดมาจากข้อมูลเท่าที่ปรากฎและเท่าที่ทราบครับซึ่งหากมีความผิดพลาดประการใดต้องกราบขอขมาพระรัตนตรัยมาณที่นี้ครับ)






    [​IMG]


    การสอนกัมมัฏฐานการบอกกัมมัฏฐานแบ่งออกเป็น ๓ ยุคได้คร่าวๆ

    ๑. ยุคที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่และทรงเริ่มประกาศศาสนา พระองค์ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ คือ กำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มีฐานาฐานญาน เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นปริโยสาน
    ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยประการทั้งปวง
    ดังนั้นการศึกษาพระกัมมัฏฐานตามแบบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติและสั่งสอนสาวกไว้แล้วเท่านั้นจึงสมควร




    (เมื่อ พูดถึงจุดนี้ก็อยากทวนความจำถึงจุดเริ่มต้นของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้ ท่านได้ทราบอีกครั้ง;ในยุคสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

    พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็น จำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบ ตามลำดับขั้นตอน

    จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง)


    ๒. ยุคของพระอสีติมหาสาวก ๘๐ พระองค์ ;พระอรหันตสาวก;พระอริยะ และพระสาวกอื่นๆ

    พระ ภิกษุสงฆ์ทั่วไปและพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเสขบุคคลคือยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผลก็ ล้วนแล้วแต่เรียนศึกษาและปฎิบัติตามพระกรรมฐานแบบลำดับทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าจะ ศึกษากับพระอสีติมหาสาวกพระอรหันตสาวกหรือพระอริยะ องค์ใด พระอาจารย์ทุกท่านล้วนบอกพระกรรมฐานแบบลำดับให้ลูกศิษย์ทั้งสิ้นตามแต่ผู้ใด ไปได้ช้าหรือเร็วประการใด

    ความสำคัญตรงนี้พระอาจารย์ได้บอกไว้ว่า

    ขั้นตอนการฝึกพระกรรมฐานแบบลำดับซึ่งฝึกกันเป็นมาตรฐานตั้งแต่พุทธกาลนั้นผู้ฝึกล้วนต้องผ่านการฝึกเป็นขั้นๆแต่สมัยพุทธกาลนั้น
    คนมีบุญบารมีมีมากมาย
    ทำให้จิตผ่านแต่ละลำดับได้อย่างรวดเร็วคือผ่านจาก
    รูปกรรมฐาน
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ

    อย่าง รวดเร็วจนถึงห้องอานาปานสติกรรมฐานและจิตเข้าสู่มรรคผลอย่างรวดเร็วจนทำให้ คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนไป ว่าเริ่มที่อานาปานสติได้เลยแต่จริงๆหาได้เป็นเช่นนั้นไม่เพราะต้องเริ่มที่ ห้องพระปีติทั้ง5 ซึ่งตั้งต้นที่พระขุททะกาปีติ

    โดยเริ่มตั้งองค์ภาวนา ว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ ตั้งใต้นาภีคือสะดือ 2นิ้วมือ เป็นบาทฐาน

    (ส่วนขององค์พระราหุลมหาเถระเจ้าก็ได้ทรงสอนพระกรรมฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐาน มัชฌิมา)และมีศิษย์ของท่านสืบทอดพระกรรมฐานแบบลำดับมาเรื่อยๆ


    ๓. ยุคเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระมหาอสีติสาวกปรินิพพานแล้ว พระภิกษุทั้งหลายจะบอกกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯซึ่งเป็นกรรมฐานแบบมาตรฐาน)เท่านั้น


    อีกทั้งภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้าและพระอสีติมหาสาวกนิพพานแล้ว ท่านเคารพในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ และรู้ประมาณในวิสัยของท่านเอง


    [​IMG]


    ดังนั้น พระกรรมฐานแต่โบราณจึงบอกกัมมัฏฐานแก่ผู้อื่นด้วย"พระกัมมัฏฐานแบบลำดับ"เท่านั้น (พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)
    ผู้เรียนแบบลำดับแล้วจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า กัมมัฏฐานกองไหน
    จะต้องกับ "จริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆ" ของตนเองคือจะขึ้นมาเอง(แต่สำคัญที่ว่าต้องผ่านการเรียน"พระกัมมัฏฐานแบบ ลำดับ"แล้วจากพระอาจารย์ผู้ประกอบด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิคือผู้เป็น กัลยาณมิตรนั่นเอง )





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  6. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760


    กัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)นี้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อ หลังตติยสังคายนาในสมัยพระ เจ้าอโศกมหาราช โดยส่งพระโสณกเถรและพระอุตรเถรมายังสุวรรณภูมิ โดยการเล่าเรียนสืบ ๆ กันมา ยังไม่มีการจดบันทึก

    การเรียนแบบ พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนี้สืบทอดเรื่อยๆ มาจนถึงยุคกรุงสุโขทัย มากรุงศรีอยุธยา และครั้งกรุงสุโขทัยนั้น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีการนำมาเผยแพร่ด้วยโบราณาจารย์กล่าวว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นคัมภีร์ปฏิบัติที่เน้นปริยัติ จึงทำให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานในสมัยนั้นมีความรู้ทั้งทางปฏิบัติและ ปริยัติ ภาคปฏิบัติดี จึงมีความรู้เชี่ยวชาญมาก

    เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ ๑ ได้อาราธนาพระอธิการสุก วัดท่าหอยแขวงกรุงเก่า มากรุงเทพ ฯ
    เมื่อท่านมานั้น ได้นำตำราสมุดข่อยไทยดำบันทึกกัมมัฏฐานแบบลำดับมากรุงเทพฯ ด้วย แล้วรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งท่านให้เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งแบบแผนตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี เป็นพระภิกษุผู้ถือตามโบราณจารย์กัมมัฏฐานแบบลำดับ ด้วยความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์สาวกแต่ปางก่อน

    พระองค์ท่านก็เรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)มาจนครบทุกลำดับ จนท่านได้มรรค ได้ผล
    ฉะนั้น โบราณาจารย์ทางกัมมัฏฐานแต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการ รักษาการเรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับไว้เป็น ๓ คาบว่า
    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา



    ความหมายของส่วนที่ว่า "ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา"

    "อนาค เต ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ : ในกาลภายหน้า ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้"
    ภิกษุที่จัดว่ามียางอาย คือภิกษุที่มีความรู้สึกละอายต่อสิ่งที่พึงละอาย ละอายต่อการที่จะแตะต้องบาปอกุศลธรรม เป็นคนรังเกียจบาป
    ภิกษุ ผู้เป็นลัชชียังมีคุณธรรมอื่นอีก คือ มีความเกรงกลัวบาป มีความเคารพหนักแน่นในหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ยกย่องพระสัทธรรมไว้เหนือตนเอง
    นอกจากจะละอายบาป ยังมีความเอ็นดู อนุเคราะห์ช่วยเหลือ ให้แล้วไม่หวังตอบแทน พูดจริง ไม่กล่าวให้คลาดจากความจริง ไม่สร้างความแตกแยก สมานสามัคคี เจรจาไพเราะ พูดถูกกาลเทศะ พูดจริง พูดเป็นอรรถเป็นธรรม มีที่อ้างอิงประกอบด้วยประโยชน์


    ภิกษุ ที่เป็นลัชชี จะมีความยำเกรง ใคร่ในการศึกษา จะไม่ทำให้เสียแบบแผนเพราะเห็นแก่ความเป็นอยู่ แสดงเฉพาะธรรมและวินัย จะประคองสัตถุศาสน์ไว้อย่างมั่นคง ท่านจะไม่ละหลักการทางวินัย ไม่ละเมิดหลักการทางวินัย จะยืนหยัดมั่นคงในหลักการทางวินัย ตามภาวะของผู้มียางอาย
    ภิกษุลัชชีที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้นี้ เป็นระดับพหูสูตผู้คงแก่เรียน มิใช่ไม่มีการศึกษา เป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เมื่อถูกสอบถามข้อความในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาตอนท้าย หรือตอนต้น ย้อนไปย้อนมา ก็ไม่ทื่อ ไม่หวั่น ชี้แจงได้ว่า เรากล่าวอย่างนี้ อาจารย์ของเราก็กล่าวอย่างนี้ ดุจดังใช้แหนบถอนขนทีละเส้น เป็นผู้ทีทรงจำหลักการในพระไตรปิฎก และข้อวินิจฉัยในอรรถกถาได้อย่างแม่นยำ ไม่มีหมู่ดสิ้น



    ภิกษุแม้จะ เป็นพหูสูต ผู้คงแก่เรียน แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มียางอาย เป็นผู้เห็นแก่ได้ ก็มักจะทำให้แบบแผู้นคลาดเคลื่อน แสดงหลักคำสอนของพระศาสดานอกธรรมนอกวินัย สร้างความมัวหมู่องอย่างมหันต์ขึ้นในพระศาสนา ก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง
    ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้น ที่จะปกป้องพระสัทธรรม ยอมสละตนเพื่อรักษาธรรม ส่วนภิกษุอลัชชี มักจะสละธรรมเพื่อรักษาตนและพวกพ้องของตน ยอมสละหลักการแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อลาภสักการะ




    ที่ กล่าวมานี้ คือระบุถึงบุคคลผู้ที่รักษาพระสัทธรรมไว้ แต่การจะรักษาไว้ได้นั้น ก็มีขั้นตอนกระบวนการอยู่ คือต้องรู้ว่า อะไรเป็นแก่นแท้ที่เป็นพระสัทธรรม ภิกษุที่รู้สึกว่า ตนก็เป็นผู้มียางอาย หวงแหนปกป้องพระศาสนา แต่ถ้าไม่รู้จักพระศาสนา หรือพระสัทธรรมที่แท้ ก็อาจจะรักษาสัทธรรมปฏิรูปไว้ก็ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้พระสัทธรรมแท้ให้เข้าใจ ในเรื่องนี้ ก็ต้องอาศัยพระพุทธพจน์ที่พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก
    การที่ พระสัทธรรมจะเสื่อมสลายหายสูญไป มิใช่ว่า เพราะไม่มีผู้รักษา มีผู้รักษา แต่อาจจะรักษาไว้แต่ที่พิรุธคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ เหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า :-
    ภิกษุ ทั้งหลาย เหตุ ๒ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ บทพยัญชนะ (หมู่ายถึงพระพุทธวจนะ) ที่จำมาผิด (หรือคัดลอกมาผิด) และเข้าใจเนื้อความไม่ถูกต้อง เมื่อจำบทพยัญชนะมาผิด ก็ย่อมจะเข้าใจเนื้อความผิดไปด้วย
    อีกแห่งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายไปไว้ว่า [​IMG]


    เหตุ ๔ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ

    ๑. ภิกษุทั้งหลาย ศึกษาเล่าเรียนสุตตันตะที่เรียนกันมาผิดลำดับ ตามบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด ก็ทำให้เข้าใจผิดกันไปด้วย

    ๒. ภิกษุทั้งหลาย เป็นคนที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยไม่อดทน ไม่รับฟังคำสอนโดยเคารพ

    ๓. บรรดาภิกษุที่เป็นพหูสูต คล่องปริยัติทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่ตั้งใจถ่ายทอดสุตตันตะแก่ผู้อื่น เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สุตตันตะก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย (ไม่มีที่อ้างอิง)

    ๔. บรรดาภิกษุระดับเถระ เป็นพระมักมาก เป็นพระย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางคลายความเพียร ละทิ้งวิเวก ไม่ระดมความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภิกษุรุ่นหลังก็พากันเอาเยี่ยงอย่าง


    เหตุ ๔ ประการนี้ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป


    ที่ กล่าวมานี้ คือตัวสาเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสูญสลายหายไป ในข้อความที่กล่าวมานั้น มีถ้อยคำที่ควรทำความเข้าใจ เช่นคำว่า "บทพยัญชนะที่จำมาผิด" (ทุนฺนิกฺขิตฺตํ ปทพฺยญฺชนํ) นั้น หมายถึงตัวอักษรที่ส่องให้รู้เนื้อความจำกันมาคลาดเคลื่อนไป

    เมื่อบท พยัญชนะพิรุธคลาดเคลื่อน การกำหนดความหมายเฉพาะบทย่อมคลาดเคลื่อนไปด้วย เช่นคำว่า "สุวิชาโน ปราภโว : คนเสื่อม (ชั่ว) ก็รู้ได้ง่าย" จำกันมาคลาดเคลื่อนไปว่า "ทุวิชาโน ปราภโว" ก็เลยตีความคลาดเคลื่อนไปแปลกันว่า "ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม" จึงเกิดความสงสัยกันว่า พระพุทธองค์ก็ทรงทราบเรื่องชั่วที่เรียกว่า อกุศลธรรม เป็นธรรมที่ต้องละ เรียกว่า ปหาตัพพธรรม พระองค์ก็มิได้มีความเสื่อมเสียอะไร


    ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงลักษณะผู้ที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้
     
  7. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760


    [​IMG]

    ภาพพานกรรมฐานเวลากราบขอขึ้นครูเรียนกรรมฐานมัชฌิมา

    หลวง ปู่สุก(ไก่เถื่อน)ท่านก็นับเป็นพระลัชชีรูปหนึ่งที่รักษาแบบแผน ประเพณีกัมมัฏฐานแบบลำดับจนถึงสมัยปลายรัชการที่สอง ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ ปรากฏว่ามีผู้ตั้งตัวเป็นผู้บอกกัมมัฏฐานกันมากแต่ไม่มีการรักษาแบบแผน รักษาวงศ์ รักษาประเพณี ของพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)ไว้สอนตามคติของตัวเอง ไม่เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อริยสาวกแต่ปางก่อน

    ซึ่งหากพิเคราะห์ดูก็ปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบันอยู่ดาษดื่น บางรายเป็นเด็กยังไม่เดียงสาก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์บอกกัมมัฏฐาน ซ้ำร้ายยังอวด ฤทธิ อวดเดชที่ไม่เหมาะสมกับจริยวัตรของนักปฏิบัติที่จะไม่แพร่งพรายหรืออวดอ้าง ผลการปฏิบัติ

    เพราะจะเป็น อุปกิเลสทำให้ผลปฏิบัติที่ได้เสื่อมถอนและไม่ก้าวหน้า เป็นธรรมจริยะที่เหล่าผู้ฝึกฝนปฏิบัติต้องเคร่งครัดนับแต่โบราณที่อนุญาตให้ แสดงผลการปฏิบัติได้เฉพาะกับผู้เป็นอาจารย์เท่านั้น


    ผู้ที่หลงเลื่อมใสอาจารย์กัมมัฏฐานประเภทรู้เอง-คิดเอง-เดาเอาเหมาเข้าข้าง ตัวเช่นนี้เป็นผู้น่าสงสารที่ลูบคลำพระพุทธศาสนาอย่างผิดทาง จึงไม่อาจรับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่


    ใน ขณะนั้น ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ) ไว้เป็นหมวดหมู่ซึ่งต่อมาได้เผยแพร่สืบต่อกันมาเรื่อยๆอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย


    ต้นที่มา โดยรวมของเรื่อง

    หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]

    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    ขอบคุณภาพจากhttp://www.ounamilit.com/,http://www.bloggang.com/,http://www.rmutphysics.com/,
    [/QUOTE]





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/257[/QUOTE]
     
  8. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ นั้นมีวิธีการฝึกและ การปฎิบัติที่เป็นแบบแผนแน่นอน สรุปได้ง่ายๆดังนี้ครับ

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ
    3. เริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอก โดยแรกท่านจะให้ ภาวนาว่าพุท-โธ สติตั้งใต้สะดือ2 นิ้ว
    คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็เอาสติไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง

    ทุก ครั้งที่นั่งกรรมฐานต้องมีการ ขอขมาพระ และกล่าวคำอาราธนากรรมฐานตามแบบ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับทุกครั้ง และเมื่อนั่งเสร็จต้องแผ่เมตตาก่อนจึงลุกจากที่นั่ง
    4. การเกิดนิมิตรู้เห็นอย่างใดให้แจ้งแก่อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานแต่เพียงผู้เดียว ห้ามบอกผู้อื่น และไม่ควรอ่านสภาวะธรรมต่างๆก่อนเพื่อกันอุปาทานและจิตหลอนนั่นเอง

    5. เมื่ออาจารย์ให้ผ่านแล้วก็จะมีการเลื่อนกรรมฐานไปห้องอื่นๆสูงขึ้นไปตาม ลำดับชั้นของห้องกรรมฐานนั้นๆจนจบกรรมฐาน40 และต่อวิปัสสนากรรมฐานเป็นขั้นๆไปตามลำดับ



    [​IMG]




    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน

    http://somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  9. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    วีดีโอกรรมฐานมัชฌิมาแนะนำควรดูก่อนไปครับ
    [URLI="http://www.youtube.com/v/a_q00e8kIgs"]
    http://www.youtube.com/v/a_q00e8kIgs[/URLI]



    http://www.youtube.com/v/udIZLdBGXw4
     
  10. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ

    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง



    [​IMG]

    ============================================================================

    คำนำ​

    พระ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
    สม ดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒)ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระ กรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

    โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

    ต่อ มาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

    ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่ง คัมภีร์อรรถคาถา
    แต่ การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึง

    ยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

    ใน ยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง

    ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

    ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
    คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
    โทรศัพท์-084-651-7023

    ==========================================
    ==================================

    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    http://www.somdechsuk.org



    ติดต่อได้ที่ หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]


    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    [​IMG]
    [​IMG]

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด




    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/257
     
  11. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ============================================================================​

    ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ตอนสมถะภาวนา


    รูปกรรมฐาน ตอน ๑
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    พระ กรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

    รูปกรรมฐาน ตอน ๒
    ๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    ๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    ๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    ๘.ห้องปัญจมฌาน

    ห้อง พระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    พระ โยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

    อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    ๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    ๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    ๑๓.ห้อง อรูปฌาน

    ตั้งแต่ ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

    (จบสมถะ)

    ============================================================================
    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

    ๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
    ๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

    (จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)

    =============================================
    ===============================



    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  12. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน
    มัชฌิมาแบบ ลำดับ


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    ดังที่ว่าไปแล้วในตอนต้นนะครับ ว่าการเริ่มฝึกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้อง

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐานและ
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ

    ในยุคนี้สามารถทำได้ที่ ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด ติดต่อหลวงพ่อวีระ(จิ๋ว)โทร. 084-651-7023

    ================================================

    เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


    เมื่อ จะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

    บททำวัตรพระ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)

    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
    พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯ จะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)

    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯ จะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯ ขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)

    อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

    บท ทำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔

    ================================================
    **** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไปนะครับ ****

    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  13. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760


    สายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ



    สรุปสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 1

    ใน ที่นี้ขอเรียบเรียง สายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เพื่อให้เป็นที่เข้าใจจามหลักฐานที่สืบๆกันมาแต่โบราณครับ

    เนื่องด้วยต้นมาแห่งสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    สืบสานมาแต่สมัยพุทธกาลพระราหุลเถระเจ้าทรงรวบรวมคำสอนของพระบรมศาสดาาเป็นหมวดหมู่ตามลำดับ


    [​IMG]

    ขออนุญาตอัญเชิญพระอริยประวัติพระองค์ท่านในฐานะผู้ทรงธรรมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ และปฏิบัติสมบัติ ๑

    ทรง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศาสดา และเป็นอริยสาวกเจ้าที่มี เอกทัคคะเลิศทางการใฝ่ศึกษา ทรงสร้างสมพระสาวกบารมีมาหลายอสงไขย แสนมหากัปป นับชาติไม่ถ้วน ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา


    ทรงได้รับพระมหากรุณา พุทธิคุณในการอบรมพระกรรมฐาน จาก พระเถระสารีบุตรในฐานะพระพี่เลี้ยง และจากพระมหาเถระอริยะสาวกเจ้าพระองค์อื่นๆ อาทิ พระปิติ ๕ พระยุคล ๖ พระอานาปานสติ ๙ พระกายคตาสติ ๓๒ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๗ พรหมวิหาร ๔ วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๑๐ อรูปญาณ ๔ พระมหาสติปัฏฐาน ๔ พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ พระไตรลักษณ์ ๓ เบญขันธ์และอายตนภายในภายนอกทั้ง ๕ ธาตุ ๔ เป็นต้น



    จน กระทั่ง พระองค์บ่มวิมุติแก่กล้า ด้วยอิริยาบถไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอดช่วงปฏิบัติธรรมก่อนเป็นพระอเสข บุคคล ทรงเผยแพร่พระกรรมฐานมัชฌิมา และบรรลพระอรหันตเจ้า พร้อมด้วยมรรค ๔ ผล ๔ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว กาลต่อมาก็มีกุลบุตรที่ได้รับทราบกิตติศัพท์ ได้เข้ามาเป็นสัทธวิหาริก และอันเตวาสิก ศึกษาตามแบบอย่างในสำนักของพระราหุลเถระเจ้าที่ท่านได้ทรงศึกษามา เพื่อสืบทอดการตั้งความปรารถนาและเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน


    ก่อน ที่พระราหุลเถระเจ้าท่านจะเข้าสู่ขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ท่านได้เจริญอิทธิบาทภาวนา อธิษฐานขอจิตนี้กายนี้ ของพระองค์ท่าน แบ่งเป็นสองภาค คือ กายเนื้อเดิม ๑ กับกายทิพย์ใหม่ ๑ เมื่อกายเนื้อแตกดับสู่นิพพาน จึงเหลือแต่กายอธิษฐานทิพย์ คอยดูแลพระบวรพุทธศาสนาไปอีก ๑,๐๐๐ ปี หลังท่านนิพพาน โดยมีพระเถระรุ่นสืบต่อ ๆ กันมา เป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากนั้น กายทิพย์อันเกิดจากการอธิษฐานจิตก็อันตรธานหายไป จึงกล่าวได้ว่า พระราหุลเถระเจ้าท่าน จะมีกายก็ไม่ใช่ จะไม่มีกายก็ไม่ใช่


    ความจากหนังสือประวัติพระราหุลเถระจ้า พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ หน้า ๙-๑๙
     
  14. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760


    ประมาณ ปีพระพุทธศักราช๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราชส่ง คณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทศวรรคเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือไทย พม่าลาว เขมร ในปัจจุบันนี้พระสงฆ์ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยสืบกันเรื่อยมา
    [​IMG]

    จวบ จนถึงปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้านเรียกว่าพระสงฆ์คามวาสีพระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่า เรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสีและวัดอรัญวาสีต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฏิบัติควบคู่กันไปไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษาว่าจะศึกษาทางไหนก่อนหลัง แต่ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติพระกรรมฐานเจริญภาวนาในยุคต่างๆ เช่น

    ยุคสุวรรณภูมิ สำนักกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่คือวัดท้าวอู่ทองเมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถรพระอุตรเถรเป็นเจ้าสำนักและเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคสุวรรณภูมิ

    ยุคกรุงศรีทวาราวดี สำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่คือวัดแสนท้าวโคตรกรุงศรีทวาราวดีมี พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้าเป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุค อาณาจักรศรีทวาราวดีสำนักเล็กคือวัดพญารามศรีทวาราวดีวัดสุวรรณารามกรุงศรี ทวาราวดีฯยุคศรีทวาราวดีพระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือพระราชสามีรามมหาเถร เจ้า(เพชร)

    ยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่คือวัดป่าแก้วมีพระวันรัตมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรสุโขทัยสำนักพระกรรมฐาน เล็กในยุคสุโขทัยเช่นวัดป่ารัตนาพระครูญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนักวัดสุทธาวาส พระครูญาณสิทธิเป็นเจ้าสำนักฯ ยุคสุโขทัยพระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือพระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

    ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้วหรือเรียกกันอีกอย่างว่าวัดเจ้าพญาไทเป็นสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่พระพนรัตนพระสังฆราชฝ่ายซ้ายเป็นพระอาจารย์ใหญ่เป็นเจ้า สำนักเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรอยุธยามีสำนักพระกรรมฐานเล็กๆ สิบกว่าวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น
    วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถรเป็นเจ้าสำนัก๑วัดโบสถ์ราชเดชะพระพุทธาจารย์เป็นเจ้าสำนัก ๑
    วัดโรงธรรม พระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก๑วัดกุฎพระอุบาลีเป็นเจ้าสำนัก๑
    วัดเจ้ามอน พระญาณโพธิเป็นเจ้าสำนัก๑วัดประดู่พระธรรมโกษาเป็นเจ้าสำนัก๑
    วัดกุฎีดาวพระเทพมุนีเป็นเจ้าสำนัก๑วัดสมณะโกฎพระเทพโมฬีเป็นเจ้าสำนัก๑
    วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติเป็นเจ้าสำนัก๑ฯ
    นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐานมากเปรียบเทียบได้ว่ามีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก

    ยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคคือพระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่าพระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี


    [​IMG]

    ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่๑วัดคือวัดราชสิทธา ราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนักเป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำกรุงรัตนโกสินทร์วัดราชสิทธารามจึง เป็นศูนย์กลางของกรรมฐานมัชฌิมาประจำกรุงรัตนโกสินทร์มีสำนักเล็กคือวัดราชา ธิวาส
    พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนักยุครัตนโกสินทร์

    พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะนั้น คือ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก ไก่เถื่อน)

    จึง นับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนาเพียง๒ แห่ง สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้นเมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณะภาพลงแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับก็เสื่อมลงเรื่อยๆซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้วมีแบบแผน ใหม่เข้ามาแทนที่เนื่องจากอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า(ฝั่งกรุงเทพฯ) ด้วยความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็วและไม่มีการบำรุงรักษาแบบแผนเดิมไว้

    ต่อ มาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ) เพียงวัดเดียวที่รักษาแบบแผนและความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่สำนักพระกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลัก แทนสำนักเดิม ๆ คือ วัดแสนท้าวโคตรยุคทวาราวดีแทนวัดป่าแก้วยุคสุโขทัยแทนวัดป่าแก้วยุคกรุง ศรีอยุธยาไว้ได้ยาวนานที่สุด

    ความจากหนังสือประวัติสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เกื่อน หน้า ๒๕ – ๒๖

    ********************************************************************************************





    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ด้วยเศียรเกล้าฯของข้าฯ


    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระอริยสงฆ์เจ้าองค์ต้น พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระราหุลเถรเจ้า ขอนอบน้อม พระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระโกลิกเถรเจ้า พระมัลลิกเถรเจ้า พระโมคคัลลีบุตรเถรเจ้า พระโสณเถรเจ้าพระอุตรเถรเจ้า แห่งดินแดนชมพูทวีป


    และ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร) ยุคทวาราวดีพระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์) ยุคสุโขทัยพระพนรัต(รอด) หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ยุคกรุงศรีอยุธยาและสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) ยุคกรุงรัตนโกสินทร์แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ


    ข้าพเจ้าขอพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับจงตั้งอยู่นานตราบเท่าพุทธกาล ด้วยเทอญฯ
    [/QUOTE]
     
  15. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ภาพการไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมา.




    การขึ้น ครูกรรมฐาน เป็นธรรมเนียมพิธีมีมาแต่โบราณ อุบายเพื่อกำหนดจิตน้อมเหนี่ยวขมาพระรัตนตรัยทั้ง ๓ คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ เป็นองค์คุณ และ บูชาพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ให้การสั่งสอนอบรมวิชชา บนถาดเครื่องนมัสการ ประกอบด้วย เทียน ๕ ข้าวตอก ๕ และดอกไม้บูชา ๕ เพื่อความเจริญก้าวหน้าแห่งธรรมปัญญาญาณ



    (กราบอนุโมนา สาธุการ คณะศิษย์ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทุก ๆ ท่านที่ได้เอื้อเฟื้อภาพประกอบ)


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]






    credits :คุณบุญญสิกขา เว็บพลังจิต




    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/257
     
  16. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    การอบรมกรรมฐานแนวปฏิบัติ สลับการบรรยายธรรมจาก พระพี่เลี้ยง
    พระพี่เลี้ยง เสมือนผู้คอยรดน้ำพรวนดิน ช่วยปรับสภาพพื้นฐานการตั้งสภาวะจิต เตรียมพร้อมตั้งมั่น อบอุ่นใจ
    (บรรดาพระพี่เลี้ยง คือ พระผู้หมั่นฝึกเพียรประสบการณ์ พร้อมเป็น ผู้เอื้อ)


    (กราบอนุโมนา สาธุการ คณะศิษย์ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทุก ๆ ท่านที่ได้เอื้อเฟื้อภาพประกอบ)



    [​IMG]

    http://www.somdechsuk.org;

    http://www.somdechsuk.com

    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐานhttp://www.somdechsuk.org/node/312
     
  17. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760

    ท่ามกลางการฝึกฝนอบรมพระกรรมฐานภาวนา ดวงจิตของนักปฏิบัติจะได้รับการตะล่อมกลอม และเกิดปรากฎการณ์รูปแบบต่างๆ นานา เป็นปกติ

    โบราณกาลท่านจึงวางแนวการอบรมเคร่งครัดว่า " นักปฏิบัติ " ควรอยู่ในความดูแลรักษาอารมณ์ใจจาก ครูบาอาจารย์ผู้มีภูมิจิต ภูมิธรรม สัมมาทิฐิ ด้วย
    "การบอก หรือ แจ้งสอบอารมณ์พระกรรมฐาน"
    [​IMG]




    เหตุที่ว่า การเรียนกรรมฐานต้องมีครูอาจารย์ เพราะ สภาวธรรม ต้องรู้ทีหลัง ห้ามรู้ก่อนเกิด

    ถ้ารู้ก่อนแล้ว จะเกิดอุปาทาน ทำให้จิตไม่ได้สภาวธรรมที่แท้จริง จึงให้ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน อยากให้เป็น ก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็น ก็ไม่เป็น ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง กรรมฐานไม่ว่าที่ไหนต้องเดินสายกลาง จึงเป็นสัมมาทิฎฐิ

    เหตุที่ต้องมี การสอบอารมณ์ เพราะ ต้องการรู้อารมณ์ สภาวธรรม ของผู้ฝึก ว่าถึงที่ และถูกต้องหรือยัง ว่าสมควรจะได้เลื่อน อารมณ์ใหม่ได้หรือยัง เพื่อที่จะทำให้จิตปราณีตขึ้นไปเรื่อยๆ

    อารมณ์กรรมฐาน เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล จึงจะบอกกันก่อนไม่ได้
    เพราะถ้าบอกก่อน บุคคลจะเกิด - ติดอุปาทาน และไม่ได้สภาวธรรมที่แท้จริง
    จึงต้องมีการสอบอารมณ์รูปกรรมฐาน สอบนิมิต อรูปกรรมฐานสอบ สภาวธรรม
    นี่เป็นฝ่ายสมถะ

    และ ถ้าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน สอบสภาวธรรม อย่างเดียว

    (กราบอนุโมนา สาธุการ คณะศิษย์ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทุก ๆ ท่านที่ได้เอื้อเฟื้อภาพประกอบ)



    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
  18. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะแนวทางแห่งการหลุดพ้น
    ค่อย ๆ ศึกษา ค่อย ๆ หมั่นเพียร
    จึงเป็นหน้าที่ของกุลบุตร กุลธิดา[​IMG]


    สมัยพุทธกาลนั้น
    สถาน ปฏิบัติจะต้องมี สัปปายะ คือ เป็นที่อยู่อาศัยสบาย เช่น ในป่า โคนต้นไม้ เรือนว่างเป็นที่สงบ สนับสนุนเหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย

    ๑. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ)
    ๒. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้าน หรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป)
    ๓. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูดแต่พอประมาณ)
    ๔. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ)
    ๕. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ )
    ๖. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น)
    ๗. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี)

    ที่มาข้อมูล :


    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  19. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    ด้วย พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติสืบ ๆต่อ ๆ กันมาช้านานนับแต่ครั้งพุทธกาล โดยพระราหุลเถรเจ้าท่านทรงเป็นต้นสาย ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้าสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยพระโสณะเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระบวรพระพุทธศาสนา พร้อมพระสมถะ – วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมา จนถึงยุคศรีทวาราวดี

    การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต่อมาจนถึงยุคศรีทวาราวดี ยุคสุโขทัย ยุคศรีอยุธยา และยุคศรีกรุงรัตนโกสินทร์ และในยุคกรุงศรีรัตนโกสินทร์นี้เอง สายวิชชานี้ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ออกนอกลู่ นอกทางจากต้นแบบแผนก่อนเก่า คือ ไม่ปฏิบัติเป็นขั้นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติเสื่อมถอยลง

    จนปัจจุบัน จากความรู้ไม่ทั่วถึง จึงสมควรที่สาธุพุทธศาสนิกชนจะมาช่วยกันฟื้นฟู ผดุงรักษา แบบอย่างคำสอนแต่โบราณมิให้ถอยหาย เสื่อมสูญไป





    ขั้น ตอนของการปฏิบัติ สายวิชชามัชฌิมากรรมฐาน แบบลำดับ จะรวมทั้งลำดับหมวดสมถะกรรมฐาน และลำดับหมวดวิปัสสนากรรมฐานเข้าไว้ด้วยกัน อย่างต่อเนื่อง

    โดยเริ่ม ผู้มีจิตศรัทราในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    เมื่อ แรกเรียน จิตยังไม่ตั้งมั่น เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย แรกเรียนใหม่ๆ จะต้องได้รับฝึกฝนให้เรียนเอายังพระกรรมฐานที่มีอานุภาพเล็กน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีอารมณ์แคบสั้น เป็นอนุสติ เป็นราก เป็นเง้า เป็นเค้า เป็นมูล ของพระกรรมฐานที่จะเปิดบานประตูไปสู่พระกรรมฐานอื่นๆ ได้ง่าย

    ผู้ ปฏิบัติจะต้องได้รับการฝึกฝนเริ่มจากลำดับสมถะ ( ซึ่งจะประกอบไปด้วยพระกรรมฐาน จำนวน ๓ ห้องพระกรรมฐาน ) เป็นการฝึกฝนตั้งกำลังสมาธิ เป็นพระกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง ของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด จนสมาธิเต็มขั้น หรือรูปเทียมของปฐมญาณ เพื่อจะยังอารมณ์ใจเข้าถึงองค์ปิติธรรม ซึ่งแต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน เพื่อเป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล เป็นบาทฐานสมาธิเบื้องสูงต่อ ๆ ไป


    ลำดับแห่งการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ



    “ กัลยาณมิตร ” คือ ผู้เป็นมิตรที่ดีฝ่ายเจริญ ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาจารย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ ... ดูกรอานนท์จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยเราเป็น กัลยาณมิตรแล้วย่อมพ้นจากความเกิดได้, พระพุทธเจ้าถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวงจึงรับเอาพระกรรมฐานในสำนักของพระผู้มี พระภาคเจ้าเท่านั้นดีที่สุดเมื่อพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้วรับเอาพระ กรรมฐานในสำนักพระมหาสาวก๘๐พระองค์ถ้าพระมหาสาวกทั้ง๘๐ปรินิพพานแล้วและเสาะ หาจนได้กัลยาณมิตรแล้วให้ทำดังนี้ …”

    การมอบตัวต่อพระรัตน์ไตร นำเครื่องสักการะนอบน้อมบูชาพระรัตนไตร อันประกอบไปด้วย ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ ๕ กระทง กล่าวคำบูชาพระรัตนไตร นิยมนำมาในวันพฤหัสบดี ทำวัตรจบแล้ว พระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน เทศขึ้นธรรม (เทศขึ้นพระกรรมฐาน ตามพระคัมภีร์เทศของเก่า) ๑ จบ ตามแบบอย่างโบราณที่เคยประพฤติปฎิบัติมา เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน และทำความเข้าใจ มีใจความย่อๆ ดังนี้ !

    เมื่อ กล่าวถึงการสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วเกิดปีติ เกิดความสงบ(ยุคล) เป็นสุข มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นต้น การตั้งสมาธิ สำหรับพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผู้ไม่เคยเจริญสมาธิมาก่อนเลย ท่านให้เจริญภาวนา พระกรรมฐาน ที่มีอานุภาพน้อย(ปริตตารมณ์) ทำให้จิตสามารถยกขึ้นตั้งลงสู่สมาธิได้โดยง่าย เป็นขั้นๆไป

    ท่านให้ เจริญภาวนาในห้องพระพุทธคุณอันมีใน พระปีติทั้ง ๕ ประการ พระยุคลธรรม ๖ ประการ พระสุขสมาธิ ๒ ประการ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเบื้องต้นดีแล้ว จึงเจริญภาวนาสมาธิเบื้องสูงต่อไป การเจริญภาวนาสมาธิเบื้องสูง ตั้งจิตหาประมาณมิได้ ท่านให้เจริญพระกรรมฐานทีมี ปฏิภาคนิมิตร เรียงลำดับดังนี้ !
    ท่านให้เจริญภาวนา พระอานาปานสติกายคตาสติ กสิณสิบประการ และอสุภสิบประการการขึ้นองค์ฌาน ทำให้จิตเป็นมหิทตารมณ์ ท่านให้ขึ้นองค์ฌานต่อจากอสุภกรรมฐาน เพราะอสุภกรรมฐาน องค์แห่งวิตกมีกำลังมาก จิตสามารถยกขึ้นสู่องค์ฌานได้โดยง่าย และท่านให้เจริญเอายัง ฌานปัญจกนัย คือฌานห้าประการ ฌานนี้ใช้สำหรับฝึกผู้ที่ยังไม่ชำนาญในองค์ฌาน จะได้กำหนดองค์ฌานแต่ละฌานได้ เมื่อชำนาญแล้ว จึงทำฌานปัญจกนัย ให้เป็นฌานจตุกนัย คือฌาน ๔ (จบรูปกรรมฐาน)

    ก่อนขึ้นห้องวิปัสสนา กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ท่านกำหนดให้เรียนเอายังอรูปกรรมฐานก่อนคือ อนุสสติ ๖ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ เพื่อให้จิตชำนาญแคล่วคล่องอยู่กับสภาวธรรม เมื่อยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาภูมิแล้ว วิปัสสนาปัญญาญาณ จะแก่กล้าการขึ้นสู่วิปัสสนาภูมิ ให้เจริญภาวนาเอายัง พระวิสุทธิ ๗ ประการ พระวิปัสสนาญาณสิบประการ ต่อด้วย พระโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการ ต่อด้วยออกบัวบานพรหมวิหาร หรือเรียกว่า เมตตาเจโตวิมุตติ จบวิธี และขั้นตอน การเจริญกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของดั้งเดิม ถ้าเหตุ ปัจจัยพร้อม การประพฤติปฎิบัติก็จะไปได้เร็ว แม้แต่บุคคลผู้มีอายุเพียงแปดขวบ

    คัดความจาก หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) ยุคกรุงรัตนโกสินทร์
    วัดราชสิทธารามวรวิหาร (วัดพลับ) อิสรภาพ ๒๓ กทม. ๑๐๖๐๐


    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  20. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760

    พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์
    [​IMG]




    พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์


    มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ


    พระ คาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่งทางธรรมจะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์

    โบรา ณจารย์พระกรรมฐานมัชฌิมา ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อนอาราธนาองค์พระกรรมฐาน เมื่อนำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม (บาปอกุศล ๑๔)




    ที่มาแห่งการแพร่พระคาถาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

    เมื่อ พรรษาที่ ๑๗ คืนหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์สุก (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน) ทรงเข้าที่เจริญสมณะธรรมตามปรกติ ทรงทราบในนิมิตสมาธิว่า มีพระอริยเถราจารย์ ชั้นสุทธาวาส มาบอกว่า ให้ไปพบท่านที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ท่านจะสำเร็จสมประสงค์สูงสุดทุกอย่าง ตามที่ท่านต้องการ ให้ไปที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย แล้วความประสงค์ ของท่านจะสำเร็จ และจะได้เกื้อกูล ชนทั้งหลายในภายหน้าด้วย

    ต่อมาพระองค์ท่านพระอาจารย์สุก ก็สัญจรไป ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย ทรงไปด้วยอิทธวิธญาณเมื่อพระองค์ท่าน ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย กรุงเก่า พระองค์ท่านก็ทรงพบพระอริยเถราจารย์อยู่ในร่างกายทิพย์ ที่สำเร็จด้วย การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา พระองค์ท่านก็ทรงเข้าไปกราบนมัสการ พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ก็กล่าวว่า พรุ่งนี้ให้ท่านเดินทางไป ในทางนั่นพร้อมกับชี้มือไปทางนั้นด้วย จะพบของดี ของวิเศษ แต่คืนนี้ให้ท่านพักปักกลด บำเพ็ญสมณะธรรม ณ ที่ป่าดงพญาเย็น (คนละแห่ง กับที่เมืองอุตรดิตถ์) นี้ก่อน

    ภายหลังพระอาจารย์สุก ได้ทรงทราบเถรประวัติ ของพระอริยเถราจารย์พระองค์นี้ว่า ท่านเคยบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าดงพญาเย็น แขวงเมืองสุโขทัยนี้ประชาชนทั้งหลายสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า พระฤาษีกัณทหะ (กัณทา) ต่อมาภายหลัง ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชา-อุปสมบท ได้นามทางพระพุทธศาสนาว่า วิสุทโธ

    เพลาสายของวัน นั้น พระอาจารย์สุก ออกเดินทางไป ตามที่พระอริยเถราจารย์ ผู้ทรงร่างอยู่ด้วยกายทิพย์ ไปถึงป่าใหญ่แห่งนั้น ใกล้เชิงเขา ทรงทอดพระเนตรเห็น ก้อนหินก้อนหนึ่ง จารึกเป็นอักษรขอม โบราณว่า


    มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ

    [​IMG]



    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     

แชร์หน้านี้

Loading...