สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ถาม ***เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    -----------------------------------------

    ตอบ

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข
    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ
    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด ๑๘ กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา ๑๘ กาย รวมเรียกว่ากายเถา
    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด ๑๘ กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ
    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา
    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ ๘ ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง
    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ ๘ ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้


    --------------------------------------------------------------------------------
    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ ๒๙ ๖ พ.ค. ๒๕๓๘ โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    99825450854_o.jpg?_nc_cat=102&_nc_sid=110474&_nc_ohc=PpbXLa5ijCcAX-dXK8j&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.
    .
    มธุวา มญฺญตี พาโล.....ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
    ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ........อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ.
    .
    #พระพุทธธรรมกายเทพมงคล
    #วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    ภาพ Cr.Saimai Watcheom
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    •ใจมันมีแต่ออกไปนอกตัวอยู่เสมอ
    เลยหยุดไม่เป็น•


    ในระหว่างที่กำลังปฎิบัติธรรมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายนี้ แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้น บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็ให้คุณค่าแก่การดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปอย่างมากมาย คุ้มค่าแก่การปฏิบัติ

    ดังจะขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ เท่าที่จะพอรวบรวมมาได้ดังต่อไปนี้

    ประการที่ 1 ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง

    ตามปกติ จิตใจของคนเรานั้น มีสภาพที่เบา ดิ้นรน กวัดแกว่งง่าย หรือฟุ้งซ่านอยู่เสมอ แต่รักษาให้สงบได้ยาก

    บางครั้ง เจ้าตัวรู้สึกว่า อ่อนเพลียทั้งกายและใจเหลือเกิน แล้วอยากจะให้มันหยุดสงบเสียที เพื่อจะได้พักผ่อนหลับนอนเอาแรงบ้าง มันก็ไม่ยอมหยุด ประเดี๋ยวคิดไปถึงเรื่องนั้น ประเดี๋ยวก็คิดไปถึงเรื่องนี้ ยึดไอ้นู่น เกาะไอ้นี่อยู่รำ่ไป

    ทั้งนี้ เป็นเพราะเหตุอะไร

    เพราะเหตุว่า จิตใจไม่เคยได้รับการฝึกให้หยุดให้นิ่ง ตั้งแต่เกิดมาเลยทีเดียว ใจมันมีแต่ออกไปนอกตัวอยู่เสมอ เลยหยุดไม่เป็น นี่เป็นเหตุข้อที่หนึ่ง

    ที่นี้เหตุข้อที่ 2 ก็เพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ลักษณะของธรรมชาติตามสภาพที่เป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนั้น มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ถ้าใครไปยึดไปเกาะเข้าแล้ว ก็เป็นทุกข์ เพราะมันเพียงแต่ผ่านเข้ามาในวงชีวิตชั่วระยะหนึ่งแล้ว ก็ผ่านไปไม่มีใครเป็นเจ้าของได้เลย

    แต่เมื่อปัญญาจริงๆ มันยังไม่เกิดอย่างแจ้งชัดในจิตใจล่ะก็ ทึกทักเอาเป็นจริงเป็นจังทีเดียว ยึดเกาะไว้แน่น ไม่ยอมปล่อย ยอมวางกันเทียวหละ

    ทั้งๆที่รู้อยู่ว่า ยิ่งยึดยิ่งเกาะ มันยิ่งทุกข์ ก็สลัดไม่ออก เพราะฝึกฝนมาน้อย ปัญญายังไม่ส่องสว่างเพียงพอ ที่จะกำจัดอวิชชาเสียได้

    ก็เฝ้าแต่ครุ่นคิด ฟุ้งซ่าน วิตกกังวลอยู่นั่นแหละ แม้แต่อยากจะนอน ก็นอนไม่หลับ อ่อนเพลียทั้งจิตใจและร่างกาย ดีไม่ดี ก็จะพาลเป็นโรคเส้นประสาทเอาง่ายๆ.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    โทษของการดูหมอ ดูดวง

    ☀️ อะไรขึ้นชื่อว่าเป็นกายทุจริต คือไม่ดีทางกาย เป็นอันให้โทษทั้งหมด เราต้องศึกษาว่า ที่ไม่ดีนั้นมีอะไรบ้าง

    แม้กระทั่งเรามาดูหมอ ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นคนดูละ และก็จะไม่ถามหาด้วย แต่ให้ทราบว่า การมาดูหมอไม่ใช่กิจที่พึงกระทำ ณ สถานที่นี้ และในขณะเช่นนี้ เพราะนั้นไม่ใช่ทางให้หลุดพ้น

    เราจะทำอะไร จะต้องทำเฉพาะในส่วนที่เป็นทางให้หลุดพ้นให้มากที่สุด เท่าที่จะสามารถทำได้ ส่วนผู้ที่มาดู ก็ไม่ได้ผลเป็นความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

    เพราะว่า ถ้าหมอเขาดูว่าชะตาไม่ดี เราก็เสียใจ เป็นห่วงเป็นใยตัวเอง ดีไม่ดีก็ต้องเชื่อหมอว่า ต้องสะเดาะเคราะห์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ถ้าหมอว่าดี จะดี ก็ลิงโลดดีอกดีใจ ประมาทต่อไปอีก

    ที่แท้ คนจะดีหรือไม่ดี ไม่ต้องดูหมอ ถ้าทำไม่ดี ดูหมอ เอาหมอมาเรียงตั้งแต่นี้ไปถึงกรุงเทพ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้าทำดีไม่ต้องมีหมอเลยสักหมอเดียวก็ดี

    แต่บางครั้ง บางท่านอาจจะนึกว่า เอ้ะ! เดี๋ยวนี้ก็ทำดีแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลดี หรือว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ กรรมเก่ายังไงล่ะ กำลังให้ผล หมอก็ช่วยไม่ได้ ถ้าหมอช่วยได้ พระพุทธเจ้าไม่ต้องมาสอนให้เรามาปฏิบัติธรรมกันหรอก

    เพราะฉะนั้น เรื่องดูหมอนี่ เกือบไม่มีผลเลยในชีวิต ถ้าคนที่มีปัญญา เพราะจะดีหรือชั่วอยู่ที่เราทำ เราทำดี ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล หมอดูทำอะไรไม่ได้ ดูก็ไม่เห็นมีอะไรที่จะต้องไปศักดิ์สิทธิ์อะไร

    เพราะฉะนั้น พูดเรื่องนี้มา ก็วกมาถึงเรื่องที่เรามาศึกษาปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อกระทำคุณความดี ให้เกิดความเจริญและสันติสุข และพ้นทุกข์ เราถามตัวเองก่อนว่า ดูหมอช่วยให้พ้นทุกข์ไหม ทั้งผู้ดูหมายถึงผู้ที่เป็นหมอ และผู้มาขอให้ดูนั่นแหละ ใช่ไหมทางพ้นทุกข์ เพราะคนเราจะทุกข์หรือจะสุข จะดีหรือจะชั่ว ก็อยู่ที่กรรม คือการกระทำของเราเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรอื่น มีเท่านี้แหละ ไม่ต้องไปหาอะไร ทําดีก็สบาย ทำไม่ดีก็ไม่สบาย มีเท่านี้ ให้เรามารู้ตรงนี้ มีหลักตรงนี้แล้วสบาย นี้ ในเรื่องของที่กล่าวว่าการดูหมอ

    แม้กระทั่งไปถึงการใบ้หวย การพนัน เวลาเล่นไปแล้วผีสิงนะ เหมือนผีสิง เล่นอะไรก็ติดไอ้นั่นแหละ เล่นไพ่ติดไพ่ เล่นหวยติดหวย ซื้อลอตเตอรี่ติดลอตเตอรี่ ขณะรู้ๆยังแกะไม่ออกนะ เพราะฉะนั้น เป็นประเภทผีสิงนะ อบายมุขนะ หนักพอๆกันกับยาเสพติด เพราะฉะนั้น ตัดได้เลิกได้..ดี

    แล้วนอกจากนั้น ผู้ใบ้หวยอย่านึกว่าดี ทำให้ผู้อื่นติดอบายมุข ตนเองเป็นเปรตด้วย ไม่ว่าเป็นพระเป็นเณรเป็นเถรเป็นชี ไม่เจริญหรอกชีวิตน่ะ ไม่ว่าใคร กายในกายเป็นเปรต ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม

    _____________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _____________
    ที่มา
    "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ"
    _____________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า.

    ec2vsgwgjz-bj5vmhtxp8rvrtpocpgwdk8wnnbf9x87feufm6izizflty_60esxq5lx7-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    สังวรคาถา


    lphor_tesna_vn-jpg.jpg


    30 กรกฎาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ กุสีตํ หีนวีริยํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลนฺติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในสังวรคาถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภความสำรวม ระวัง เพราะเราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์บรรพชิตทุกท่านถ้วนหน้า เมื่อได้มา ปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ถ้าปราศจากความสำรวมระวังแล้วก็เป็นประพฤติปฏิบัติดีไม่ได้ ถ้าว่าไม่ปราศจากความสำรวมระวังแล้ว เป็นอันประพฤติดีได้ ปฏิบัติดีได้ เหตุนั้นเราท่าน ทั้งหลายควรตั้งอยู่ในความสำรวมระวัง ความสำรวมระวังนี้พระองค์ทรงรับสั่งนัก ตักเตือน อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร ในธรรมวินัย เพื่อจะให้ตรงต่อมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าแม้ว่าปราศจากความสำรวมระวังแล้ว จะไปสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่รู้จักจบจักแล้ว ต้องเวียนว่ายข้องขัดอยู่ในวัฏฏะทั้ง 3 คือ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ พ้นจากวัฏฏะไปไม่ได้ จะไปจากวัฏฏะได้ต้องอาศัยความ สำรวมระวัง ที่พระองค์ทรงรับสั่งตามวาระพระบาลีว่า สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ กุสีตํ หีนวีริยํ ตํ เว ปสหตี มาโร มารย่อมรังควานบุคคลนั้นได้ คือ สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ ผู้เห็นตามซึ่งอารมณ์อันงามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนะการบริโภคอยู่ กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด คือไม่มีศรัทธา เกียจคร้าน หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ เหมือนลมเมื่อพัดมาแต่ เล็กน้อยเท่านั้น ต้นไม้ที่ใกล้จะทลายอยู่แล้ว ไปกระทบลมเข้าจากทิศ ทั้ง 4 ทิศแต่อย่างใด อย่างหนึ่ง ก็โค่นล้มลงไปง่ายๆ เพราะมันใกล้จะล้มอยู่แล้วนั้น อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ โภชนมฺหิ มตฺตญฺญุ ํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํ เว นปฺปสหตี มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ บุคคลผู้เห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ เครื่องใช้สอยกินอยู่บริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร นั้นแหละ มารรังควานไม่ได้ เหมือนลมซึ่งจะพัดภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินให้สะเทือนไม่ได้ จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวม นัยน์ตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ โสเตน สํวโร สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ฆาเนน สํวโร สาธุ สำรวมจมูกได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ ชิวฺหาย สํวโร สำรวมลิ้นได้ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ กาเยน สํวโร สาธุ สำรวมกายได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ วาจาย สํวโร สำรวม วาจาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ มนสา สํวโร สาธุ สำรวมใจได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร สำรวมในทวารทั้ง 6 นั้นได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกษุผู้ สำรวมได้แล้วในทวารทั้งสิ้น สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วย ประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในสังวรคาถาเป็นลำดับๆ ไป เพราะว่าเป็น ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เมื่อไม่มีความสำรวมแล้ว จะเป็นภิกษุที่ดี ไม่ได้ หรือจะเป็นสามเณรที่ดีก็ไม่ได้ หรือจะเป็นอุบาสกที่ดีก็ไม่ได้ เป็นอุบาสิกาที่ดีก็ไม่ได้ เพราะปราศจากความสำรวม ถ้าว่าสำรวมได้เสียแล้วก็เป็นคนดี ภิกษุก็เป็นภิกษุดี สามเณร ก็เป็นสามเณรดี อุบาสกก็เป็นอุบาสกดี อุบาสิกาก็เป็นอุบาสิกาดี เพราะความสำรวมเสียได้

    ผู้สำรวมได้-ไม่ได้ เป็นไฉน ผู้เห็นตามอารมณ์ที่งามอยู่ รูปก็น่าจะชอบใจ น่าปลื้มใจ น่าปีติ น่าเลื่อมใส ไปเพลินในรูปเสียแล้ว เสียงเป็นที่ชอบใจก็ชอบใจในเสียง เสียงอันน่า ปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไปเพลินในเสียงเสียแล้ว กลิ่นหอม เป็นที่นิยมชมชอบประกอบด้วยความเอิบอาบ ปลื้มปีติ ปลาบปลื้มในใจด้วยกันทั้งนั้น เอ้า! ไปเพลินในกลิ่นเสียแล้ว รสเป็นที่ชอบใจ ปลื้มปีติในรสนั้น ชอบเพลิดเพลินในรสนั้นๆ เอ้า! ไปเพลินในรสนั้นๆ เสียแล้ว สัมผัสเป็นที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไม่อยากทิ้งไม่อยากขว้าง ไม่อยากห่างไป เหมือนนกกระเรียนตกเปือกตม เพลินอยู่ในสัมผัสนั้น ทิ้งสัมผัสไม่ได้ เพลิดเพลินในสัมผัสเสียแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่เรียกว่า โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิด กับใจ นอนครึ่งคืนค่อนคืนไม่หลับ เพลิดเพลินอารมณ์ที่ล่วงไปเสียแล้วคราวนั้นๆ เพลิด เพลินนึกถึงอารมณ์ก็เพลินไปในเรื่องอารมณ์นั้นๆ อารมณ์ในปัจจุบันละก้อ เพลิดเพลิน เหมือนกัน จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้าเรื่อยทีเดียว จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้า เพลิดเพลิน อีกเหมือนกัน ถ้าไปเพลิดเพลินอารมณ์ดังนั้น ได้ชื่อว่าสำรวมไม่ได้ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้

    เรียกว่าเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ที่ชอบใจ หลงใหลในอารมณ์ที่ชอบใจ คลั่งไคล้ในอารมณ์ ที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจในอารมณ์ที่ชอบใจ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้ เมื่อเพลิดเพลินเสียดังนี้ ละก้อ อินฺทฺริเยสุ อสํวุโต มันก็ไม่ระวังตา ไม่ระวังหู ไม่ระวังจมูก ไม่ระวังลิ้น ไม่ระวังกาย ไม่ระวังใจ ไม่ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 อินทรีย์ทั้ง 6 เป็นตัวศีลสำคัญของพระภิกษุสามเณรทีเดียว ถ้าทอดธุระเสียแล้วก็เหลวไหลทีเดียว ถ้าไม่ทอดธุระละก็ใช้ได้ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนาหาร ไม่รู้จักบริโภคโภชนาหาร ถึงกับเป็นหนี้เป็นข้าเป็นบ่าวเขาเชียวหนา ไม่รู้จักบริโภคในโภชนาหารนะ คือไม่รู้จักประมาณใช้สอย หาเงินเท่าไรก็ใช้ไม่พอ หาเงิน เท่าไรก็หมด ใช้ไม่รู้จักประมาณ บริโภคก็ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักประมาณในวันนี้ พรุ่งนี้ต่อไป ก็ไม่รู้จักประมาณ ต้องกู้หนี้ยืมสินเขาบริโภคใช้สอยไป นี่เพราะไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ในการบริโภค นี่ก็ร้ายกาจนัก หรือบริโภคเข้าไปแล้ว ไฟธาตุย่อยอาหารไม่สำเร็จ เกิดโรคภัย ไข้เจ็บขึ้น ถึงแก่เป็นอันตรายแก่ชีวิตทีเดียว นี่ต้องคอยระแวดระวัง โภชนาอาหารต้องระวัง มากทีเดียว ถ้าระวังไม่มากก็ให้โทษแก่ตัวไม่ใช่น้อย กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึง เกลียด กุสีตํ เขาแปลว่า คนเกียจคร้าน คนไม่มีศรัทธา มาอยู่วัดอยู่วาก็นอนอืด อยู่บ้านก็ นอนอืด ไม่มีศรัทธาไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย เป็นคนปราศจากความศรัทธา เป็นคน เกียจคร้านเช่นนี้แล้วละก็ บัณฑิตเกลียดนัก ท่านถึงได้แปลว่า กุสีตํ ผู้จมอยู่ด้วยอาการอัน บัณฑิตพึงเกลียด คนมีปัญญาเกลียดนักคนเกียจคร้าน แต่ชอบสรรเสริญนิยมคนขยัน คนหมั่น ขยัน คนเพียร คนมีศรัทธาเลื่อมใส นั่นเป็นที่ชอบของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย คนเกียจ คร้านเป็นไม่ชอบ หีนวีริยํ มีความเพียรเลว มีความเพียรเลวทำแต่ชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจต่างๆ ความเพียรใช้ไม่ได้ ถึงจะเพียรทำไปสักเท่าใด ก็ให้โทษแก่ตัว ไม่ได้ประโยชน์ แก่ตัว ในจำพวกเหล่านี้ได้ชื่อว่าไม่พ้นมาร มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามาร มาร จะต้องการอย่างไรก็ได้สมความปรารถนาของมารทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอด ชาติ ไม่ขยันตัว จำศีลภาวนาได้ ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่างๆ ตามใจมาร บังคับให้เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ๆ เหตุนี้แหละ เหมือนต้นไม้ทุพพลภาพ อยู่เต็มทีแล้ว น้ำก็เซาะเข้าไปๆ ใกล้จะพังอยู่เต็มทีแล้ว ร่องแร่งอยู่เต็มทีแล้ว ลมพัดไม่สู้แรง นักหรอก กระพือมาพักหนึ่งค่อยๆ ก็เอนไปแล้ว นั่นฉันใด พวกที่ไม่สำรวมเห็นอารมณ์งาม ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่มีศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน พวกเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระ เป็นลูกศิษย์ของพญามาร มารจูงลากไปเสียตามความ ปรารถนา ฉันนั้น

    ส่วนลูกศิษย์ของพระอีกพวกหนึ่ง อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เห็นตามอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นว่าไม่งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เหล่านั้นเห็นว่าไม่งาม ไม่งามทั้งนั้น รูปเมื่อมีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วดับไป แปรผันอยู่เนืองนิจ อัตรา แม้จะงามก็ทำกิริยาหลอกลวงทั้งนั้น ตัวจริงไม่มี ตัวจริงของรูปงามไม่มี เสียงไพเราะ ก็ไม่มี เสียงหลอกลวงทั้งนั้น เป็นเสียอย่างนี้ กลิ่นจริงๆ ก็ไม่มี กลิ่นหอมหลอกลวงทั้งนั้น รสจริงๆ ก็ไม่มี รสหลอกลวงทั้งนั้น สัมผัสก็ไม่มี สัมผัสหลอกลวงทั้งนั้น ธรรมารมณ์ก็ไม่มี หลอกลวงทั้งนั้น เมื่อเห็นไม่งามอยู่ดังนี้ละก็ อินฺทฺริเยสุ สํวุโต ก็สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านยืนยันไว้ในท้ายบทนี้ว่าสำรวมนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวม ลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ก็ยังประโยชน์ ให้สำเร็จหนักขึ้นไป นี่เป็นข้อสำคัญ ต้องสำรวมระวังไว้ ถ้าสำรวมระวังไม่ได้มันก็ให้โทษ

    ดังจะชักตัวอย่าง สำรวมตาไม่ได้ ชอบดู ชอบไปดูโน่นดูนี่ ในการไปดูเป็นอย่างไร บ้าง เป็นอันตราย รถชนก็มี ไปดูไฟไหม้เหยียบกันเหลวแหลกตายก็มี นี่เพราะอะไร ชอบดู ละซิ ชอบดูนั่น ร้ายนักหละ ในกลางค่ำกลางคืนเขาประหารซึ่งกันและกัน พลาดเนื้อพลาดตัว ถึงกับเขายิงตาย ฟันตาย แทงตายกันอเนกอนันต์สุดซึ้งจะพรรณา มีทุกบ้านทุกช่องไป นี่ เพราะระวังการดูไว้ไม่ได้ อยากดูอยากฟัง นี่เป็นข้อสำคัญอยู่ ให้สำรวมระวังไว้เถอะ ไม่ไร้ โทษนัก ต้องคอยระแวดระวังทีเดียว เพราะการดูเป็นคุณก็มี โทษก็มี ภิกฺขูนํ ทสฺสนาย ดูแลพระภิกษุไม่เป็นโทษ ดูแลหมู่พระภิกษุให้เล่าเรียนศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ดูแลเหมือนอย่างกับพ่อแม่ดูแลลูกนั้น อย่างนี้ไม่เป็นโทษ หรือพ่อแม่ดูแลลูกให้เล่าเรียน ศึกษาทำความดีต่อไป อย่างนี้ไม่มีโทษ การดูแลอย่างอื่น ดูแลมหรสพต่างๆ เสียเงินด้วย เสียเวลาด้วย ด้วยประการทั้งปวง เหตุนี้ต้องระแวดระวังทีเดียว ต้องสำรวมระวังรักษาทีเดียว ถ้าว่าระวังนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ระวังหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวัง จมูกได้อย่างเดียว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวัง กายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวังใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทีเดียว อินฺทฺริเยสุ สํวุโต สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย โภชนมฺหิ มตฺตญฺญุ ํ รู้จักประมาณในการบริโภคพอดี เรื่องนี้ ครั้งพุทธกาลก็ดี หลังพุทธกาลก็ดี แข่งขันกันนักในเรื่องรู้จักประมาณในการบริโภค บาง ท่านตวงเอาเครื่องตวงมาตวงบ้าง เอาแล่งตวงบ้าง หรือไม่เช่นนั้นก็วัดกำหนดอาหาร เท่านั้นเท่านี้บ้าง กำหนดด้วยข้าวสารบ้าง ด้วยข้าวสุกบ้าง บริโภคพอในเขตที่สำรวมของ ตนๆ ไม่ให้พ้นความสำรวมไปได้ ระวังอยู่ดังนี้ บางท่านเอาท้องเป็นประมาณ กุจฺฉิปฺปมาณํ ประมาณท้องอิ่มแล้วเป็นหยุดทีเดียว ไม่ให้เกินอิ่มไป สักคำเดียวก็ไม่ให้เกิน หรือ หย่อนอิ่มไว้สักคำ เผื่อน้ำไว้เล็กน้อยให้ท้องไม่อืด ให้ท้องไม่เฟ้อ ประสงค์ให้ธาตุย่อยง่ายๆ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักสำรวม เช่นนี้แล้วก็รู้จักสำรวม ไม่สำรวมพอดีพอร้าย ของนี่เคยบริโภค ไหม เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแค่ไหน บริโภคเข้าไปแล้วเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ให้ความ สุขแก่ร่างกายไหม ถ้าสิ่งใดให้ความสุขแก่ร่างกายก็รับสิ่งนั้นพออิ่มเท่านั้น สิ่งใดให้โทษทุกข์ แก่ร่างกายก็ไม่รับสิ่งนั้นเด็ดขาด ห้ามสิ่งนั้นทีเดียว เพราะกลัวจะไปประทุษร้ายร่างกาย สิ่งใดที่ให้โทษร่างกายก็งดสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดให้ประโยชน์แก่ร่างกายก็บริโภคสิ่งนั้น การบริโภค ไม่ใช่บริโภคทั่วไป ไม่ใช่ดีเสมอไป แม้ชอบใจแล้ว ไปวันหลัง เดือนหลัง ปีหลัง ก็ชอบใจก็ได้ เป็นอย่างคนแก่ชอบมะระ เด็กๆ ไม่ชอบ บอกว่าขม คนแก่ชอบมะระ ขมนี่ มันไม่เหมือนกัน อย่างนี้ มันต่างกันอย่างนี้ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง บางท่านชอบอย่างนั้นอย่างนี้ นี่สังกัดหรือ จำกัดมิได้ แล้วแต่ธาตุธรรมของตนซึ่งจะเป็นไปอย่างไร เมื่อสะดวกแก่ร่างกายด้วยประการ ใดแล้ว ก็ให้สำรวมวิถี ให้รู้จักประมาณในการใช้นั้น ให้สมควรแก่ร่างกายนั้นๆ ให้ได้รับความ สุขพอสมควรแก่ร่างกายของตนๆ อันนี้แหละได้ชื่อว่ารู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่ใช่ใช้สอย แต่อาหารอย่างเดียวนะ ผ้าสำหรับใช้สอยก็ต้องรู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ต้องรู้จักเปลือง รู้จักเก่า รู้จักเสียหาย ถ้าไม่รู้จักก็จักเป็นหนี้เป็นบ่าวเขาทีเดียวนะ เพราะเหตุว่าใช้ผ้านุ่งห่ม ไม่เป็น ไม่ใช่แต่ผ้านุ่งเท่านั้น ไม่ใช่ผ้านุ่ง อาหารเลี้ยงท้องเท่านั้น อื่นอีกที่จะใช้สอยต่อไป เสนาสนะที่นั่งนอน บ้านเรือนของตนด้วย เมื่อทรุดโทรมเข้าแล้ว ไม่ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ หรือใช้ให้ทำลาย ของถูกน้ำอย่าเอาน้ำไปราดไปทำเข้า ของนั้นก็ผุเสียหายไป ที่ผุเสียหาย ต้องแก้ทีเดียว ถ้าปล่อยให้ผุเสียหายเสียเงินต้องซ่อมแซมปฏิสังขรณ์อีก บ้านสำหรับอยู่พัก อาศัยก็ต้องดูแลและฉลาดในการใช้สอยบ้านช่องของตนนั้นๆ หยูกยารักษาไข้ก็เช่นเดียวกัน จะใช้ก็ใช้ในเวลาเป็นไข้ เมื่อไม่เป็นไข้แล้วไปใช้ยาก็ลงโทษ เสียค่ายา เสียยาเปล่า ไม่รู้จัก ประโยชน์ นี่ไม่รู้จักประมาณทั้งนั้น พวกรู้จักประมาณและก็ใช้ถูกกาลเวลาเสมอไปในผ้า สำหรับนุ่งห่มและเครื่องเลี้ยงท้อง เสนาสนะบ้านช่องสำหรับพักอาศัย หยูกยาสำหรับ รักษาไข้ ปัจจัย 4 สำรวมระวังเป็นอันอย่างชนิดนี้ ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สำรวม รู้จักใช้สอย รู้จักประมาณกาล ควรหรือไม่ควร ศรัทธา ความเชื่อ เมื่อประพฤติถูกเช่นนี้ เชื่อแน่ก็ได้รับ ความสุขแท้ๆ ไม่ต้องไปสงสัย เชื่อมั่นลงไปทีเดียว เชื่อมั่นลงไปเช่นนั้นละก้อ การประพฤติ ปฏิบัติในพระธรรมวินัยของพระศาสดาเล่าเชื่อมั่นทีเดียว เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริงอยู่ พระ ธรรมมีจริงอยู่ พระสงฆ์มีจริงอยู่ เราเข้ายังไม่ถึง หรือ เราเข้าถึงแล้ว จักรักษาให้มั่น อย่าให้ ฟั่นเฟือนต่อไป อย่าให้มัวหมอง ให้ผ่องใสหนักขึ้น ให้เข้าถึงจุดหมายปลายทางที่พระพุทธเจ้า ไปแค่ไหนก็ไปให้ถึงแค่นั้น หรือ เมื่อรู้จักทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้ว ตั้งใจให้ แน่วแน่ๆ ไม่ให้คลาดเคลื่อน รักษาไว้ นั่งนอนยืนเดินให้เห็นเสมอไป ให้รู้แน่ว่าเราตายจาก มนุษย์ชาตินี้ ต้องไปเกิดที่นี่ ที่อยู่เป็นดังนี้ๆ เห็นปรากฏ ผู้ที่เขาตายไปแล้วก็เห็นปรากฏ ผู้ที่เขาเกิดมาแล้ว มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ เพราะทำสิ่งอันใด เมื่อรู้ชัดดังนั้นก็ทำแต่ สิ่งที่ดี ชอบดีก็ทำแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ชั่วก็ไม่ทำต่อไป ดังนี้ได้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยศรัทธา ความเชื่อ อารทฺธวิริโย ปรารภความเพียรอยู่เนืองนิจอัตรา ไม่ละเมินเหินห่างจากความ เพียร เมื่อรักษาศีล ก็เพียรรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่คลาดเคลื่อน เมื่อทำสมาธิก็เพียรทำสมาธิ ให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อประกอบปัญญาก็ทำปัญญาให้รุ่งเรืองหนักขึ้นไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน ประกอบ ด้วยความเพียรอันนี้ หรือว่าเพียรต่ำลงไปกว่านั้น เพียรเลี้ยงอัตภาพร่างกายให้เป็นไปได้ สะดวก หรือเพียรแก้ไขใจ ให้เป็นไปได้โดยสะดวก ให้ถูกต้องร่องรอยทางไปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ ดังนี้ก็ได้ชื่อว่า อารทฺธวีริโย ผู้ปรารภความเพียร ปรารภความเพียรอย่างนี้ใช้ได้ เมื่อทำได้ขนาดนี้ ท่านก็เชื่อชี้ว่ามารย่อมรังควานเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นผู้ตั้งอยู่ในความ มั่นคง เป็นเชื้อสายของพระสมณโคดม เป็นเชื้อสายของพระพุทธศาสนาทีเดียว ได้ชื่อว่า เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์ของพระยามาร มารรังควานไม่ได้ ทำอะไร ไม่ได้ ท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ จกฺขุนา สํวโร สาธุ สาธุ โสเตน สํวโร ฆาเนน สํวโร สาธุ ชิวฺหาย สาธุ สํวโร กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ มนสา สํวโร สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ เมื่อสำรวมระวังดีได้เช่นนี้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้รู้หลัก พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้แล้ว เราจะต้องตั้งใจให้แน่แน่วบัดนี้ เป็นภิกษุก็ต้องตั้งอยู่ในศีล อยู่ในกรอบพระวินัย เป็นอุบาสก ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ สมาทาน ศีล ตั้งอยู่ในกรอบพระวินัยเหมือนกัน ศีล 5 ก็ต้องสำรวมระวังศีล 5 ให้ถูกร่องรอยเป็น อันดี ศีล 8 ก็ต้องสำรวมระวังศีล 8 ให้ถูกต้องร่องรอยเป็นอันดี ไม่ฉลาด ก็ต้องศึกษา เล่าเรียนให้เข้าเนื้อเข้าใจ ถ้าว่าศีล 10 ก็สำรวมระวังศีล 10 ให้ดี ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้อง ศึกษาให้เข้าเนื้อเข้าใจ ถ้าศีล 227 หรือเรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีล ก็ตั้งอยู่ในศีลนั้น สำรวมระวังศีลให้ดี อย่าให้คลาดเคลื่อนจากศีล สำรวมระวัง

    จะสำรวมระวังอย่างไร

    สำรวมศีล ใจต้องอยู่ศูนย์กลางกายที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นแหละที่ตั้งของศีล ที่เกิดของศีลนั้น จะต้องอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นอยู่กลาง กายมนุษย์ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มตรึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มตรึง ตรงกลางเส้นด้ายกลุ่มนั้นจรดกัน กลางกั๊กที่ตัดกันนั่นเรียกว่า “กลางกั๊ก” ตรงดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เอาใจไปหยุดอยู่ตรงนั้น เอาใจหยุด ตรงนั้น ถ้าหยุดตรงนั้นไม่ได้ละก้อ ไม่ถูกความสำรวมหละ สำรวมไม่ถูกเสียแล้ว อยู่ตรง นั้นได้ ใจหยุดเสีย เอ้า! ตากระทบรูปฉาดเข้าให้ ใจก็หยุดเสีย พอตากระทบรูปฉาดเข้าให้ มันก็แลบแปลบเข้ามาถึงใจ หยุดนั่นเชียว ที่ใจหยุดนั่นเทียว บอกว่าเอาไม่เอาละ สวยยิ่ง เหลือเกิน ถ้าใจหยุดล่ะ อ้ายนี่เป็นพิษแก่ข้า ข้าไม่เอา หยุดเสียอย่างเก่า ไม่ขยับเขยื้อน ทีเดียว นี่สำรวมอย่างนี้ วิธีสำรวม หูกระทบเสียงแปลบเข้า อ้า! เป็นที่ปลาบปลื้มของใจจริง อย่างไร เอาหรือไม่เอา ไม่ได้ๆๆๆๆ ไปรักมันเข้าละก้อ มันเป็นอภิชฌา เดี๋ยวก็ไปเพ่งมัน เดี๋ยวก็เป็นโทมนัส เดี๋ยวก็ดีใจเสียใจกับเสียงหละ ไม่ได้การ ใจหยุดกึกเสีย ไม่เป็นไปตาม ความปลื้มใจ อิ่มในเสียงนั้น กลิ่นกระทบจมูกชาบเข้าให้ แล่นเข้าใจแปลบเข้าไปอีกเหมือนกัน อย่างไร กลิ่นนี้มันหอมชื่นใจนัก จะเอาหรือไม่เอา ใจก็หยุดกึกเสีย ไม่ได้อ้ายนี่ ถ้าว่าปล่อย ให้ อภิชฌา โทมนัส ถ้าไปติดมันเดี๋ยวก็ดีใจเสียใจหละ อ้ายนี่ ทำให้ดีใจเสียใจของเราให้ต่ำ ให้หยุดเสียให้ได้ อ้ายนี่เป็นข้าศึกต่อเราตรงๆ ไม่ใช่เป็นสภาคแก่เรา เป็นวิสภาค แก่เราแท้ๆ ใจก็หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่ง กระทบรสฉาดเข้าไปอีก แหม! เป็นที่ชอบใจเสียจริงๆ อ้ายรสนี่สำคัญแท้ๆ ใจก็นิ่งเสียอีกไม่ข้องแวะ ไม่เหลียวแล ไม่ระวังระไว มันเป็นโทษแก่เรา ถ้าว่าขืนไปรักอ้ายรสนี้ละก็ เดี๋ยวความดีใจเสียใจมันต้อง ประทุษร้ายเรา ใจก็จะนิ่งอยู่ไม่ได้ มันก็จะฆ่าเราเสียเท่านั้น ไม่ได้ เราก็ไม่ไป นิ่งเสียอีก ใจนิ่ง อยู่นั้น เหมือนกันครานี้ ต่อไปสัมผัสกระทบร่างกาย เย็นร้อนอ่อนแข็ง เอ้า! ชอบใจหรือไม่ ชอบใจเล่า ที่ปลาบปลื้ม ที่เย็นใจ ที่สบายกายหละ ถูกเข้ามันนิ่มนวลชวนปลาบปลื้มทีเดียว ไม่ได้ ไปยุ่งกับอ้ายความสัมผัสไม่ได้ อ้ายนี่เข้ายุ่งกับมันเข้าประเดี๋ยวเถอะ พาโทมนัสมา ประทุษร้ายใจเรา ใจเราหยุดไม่ได้ เดี๋ยวเสียภูมิ ใจของเรานักปราชญ์ จะเป็นใจของคนพาล เสีย ก็ไม่ไป หยุดนิ่งเสียอีกเหมือนกัน เมื่อหยุดนิ่งเช่นนั้น ทั้ง 5 อย่างมารวมกันเป็นกลุ่ม กึ๊กเข้าให้อีก มากระทบอีกแล้ว ทั้งดีทั้งชั่วนั้นแหละ ไม่เข้าใจหละ ข้าไม่เป็นไปกับเจ้า ข้าใจ หยุดนิ่ง หยุดหนักเข้า หยุดในหยุดหนักเข้าไป ให้เลยเข้ามานี้ไม่ได้ ถ้าเลยเข้ามานี้ได้ ก็ขาดความสำรวม ถ้าขาดความสำรวมก็เป็นโทษ ใจก็เป็นโทษ เป็นโทษเป็นอย่างไร อภิชฌา เขาก็บังคับใจ เดี๋ยวก็ดีใจเสียใจ ถ้าหากว่าญาติพี่น้องวงศาลูกตายหรือเมียตาย ก็จะต้อง ร้องไห้โร่ไปเท่านั้นแหละ อภิชฌา โทมนัสบังคับเสียแล้ว ถ้าจะให้อภิชฌา โทมนัส บังคับไม่ได้ ก็จงทำใจให้หยุดเสีย ตายเราก็ตายเหมือนกัน เขาก็ตายเหมือนกันหมดทั้งสากลโลก ไม่เหลือ แต่คนเดียว ตายหมดกัน ถ้านิ่งอยู่ที่เดียวก็เห็นจริงอยู่อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงมันก็ไม่ร้องไห้ ไม่เสียใจ ไม่โทมนัส ไม่ดีใจไม่เสียใจ เพราะสำรวมระวังไว้ได้ ถ้าสำรวมระวังไว้ไม่ได้ มันก็ เสียใจเท่านั้น ที่กระทบตัว ฆ่าตัวเองตาย อย่างนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำรวมไม่ได้ เพราะ นิดเดียวเท่านั้นแหละ มีพระดาบสคนหนึ่งแกอยู่ในป่าช้า ป่าชัฏทีเดียว อยู่มาหลายสิบปี วันหนึ่ง โลณมฺพิลเสวนตฺถาย ต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยวเข้ามาแล้ว เข้าไปอยู่ในบ้าน ใกล้เคียงบ้านเขา ไปแสวงหาอาหารบาตรเหมือนพระบิณฑบาตดังนั้นแหละ ชาวบ้านเขาก็ ใส่แกงเหี้ยมาให้ถ้วยหนึ่ง ดาบสคนนั้น มหาโคธาเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่งปฏิบัติแกดีอยู่ ด้วยว่า เป็นเหี้ยโพธิสัตว์ พอแกได้ฉันแกงเหี้ยไปถ้วยหนึ่ง รสมันดีเหลือเกิน กลับมาถามเจ้าของ ใน วันรุ่งขึ้นว่า แกงที่ให้ไปนั้นเป็นแกงอะไร รสมันอร่อยนัก ผู้เจ้าของที่เขาใส่แกงไปให้ เขาบอก ว่าแกงเหี้ยละซิ พระคุณเจ้า โอ้! นึกในใจ อ้ายเหี้ยมันมีรสชาติดีขนาดนี้เชียวหรือ อ้ายเหี้ย ที่ปฏิบัติเราอยู่ตัวหนึ่ง มันคงจะกินได้หลายวัน เราจะฆ่าอ้ายเหี้ยตัวใหญ่เสียเถอะ เราจะไม่ เอาไว้หละ นั่นแน่สำรวมไม่ได้หละ นี่มันสำรวมไม่ได้ มันติดรสเสียแล้วหละ ติดรสถึงกับ จะฆ่าไอ้เหี้ยเสียนั่นแน่ะ ไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ ไอ้ที่ฆ่าฟันกันตายอยู่โครมๆ นี้แหละ ฆ่าตัวเอง ตายบ้าง ฆ่าคนอื่นตายบ้าง ฟันแทงกันตายบ้าง เกิดรบรากันนะ ติดรสทั้งนั้นนะ ไม่ติดรส ก็ติดสัมผัส ไม่ติดสัมผัสก็ติดรูป ไม่ติดรูปก็ติดเสียง ไม่ติดเสียงก็ติดกลิ่น ไม่ติดกลิ่นก็ติดรส นี่แหละติดเหล่านี้ทั้งนั้น ที่ฆ่ากันตายร้ายนักทีเดียว ถ้าสำรวมไม่ได้ ร้ายนักทุกสิ่งทุกอย่าง หละ เป็นภัยหนักทีเดียว เหตุนี้ต้องตั้งอยู่ในความสำรวม แต่ว่าวิธีสำรวมบอกไว้แล้วนั้น ใจต้องหยุดอยู่กลางนั่นนะ หยุดนิ่งทีเดียว ต้องคอยระวังรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสใดๆ หรือ ธัมมารมณ์ใดๆ มันเล็ดลอดเข้าไปถึงที่ใจหยุดละก้อ มีรสมีชาติ รู้จักทุกคนแล้วว่ารสชาติ มันเป็นอย่างไร พอเวลามันเข้าไปเป็นอย่างไรล่ะ ไอ้รสชอบใจ รูปเป็นอย่างไรเล่า ก็เคยชอบ ใจรูปด้วยกันทุกคนนะ รสมันอย่างไรก็รู้จักกันทั้งนั้นแหละ นั่นแหละ มันเข้าไปเสียดแทงใจ ไอ้เสียงที่ชอบใจละ ไอ้เสียงที่ชอบใจก็รู้จักรสกันทุกคนแล้วว่าเป็นรสมันเป็นอย่างไร รู้จัก ทั้งนั้นแหละ เคยชอบใจเสียง ชอบใจกลิ่นละ ก็รู้จักด้วยใจทั้งนั้น ใจรู้กันทั้งนั้นแหละ เรียนแล้วด้วยกันทั้งนั้นแหละ เรียนอยู่เสมอแหละ กลิ่นรสนะ สัมผัสละ ก็รู้แล้วเหมือนกัน นี่รู้แล้วด้วยกันทั้งนั้น และถูกสัมผัสอยู่เสมอ นี่ธัมมารมณ์ที่เกิดกับใจก็นอนนิ่งอยู่ในมุ้ง คืน ยังรุ่ง ไม่หลับไม่นอน ก็คิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ผ่านไปแล้วบ้าง ที่ในปัจจุบันบ้าง ที่จะมาข้างหน้าบ้าง ไปนอนตรึกตรองอยู่นั่นนะ ความยินดีหละ ไม่ให้ความยินดีเข้าไปประทุษ ร้ายใจหยุดนิ่งเสีย ให้ใจหยุดเสีย หยุดนั้นแหละถูกต้องร่องรอยความประสงค์พระพุทธศาสนา ที่ได้แนะนำไว้ในครั้งก่อนๆ แล้วว่า อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา พระอริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้กระทำการสละปล่อยอารมณ์ รูปารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ ปล่อยหมดทีเดียว ลภติ สมาธึ ได้สมาธิแล้วใจหยุดนิ่ง นั่นแน่เราจะทำ การปล่อยอารมณ์เสีย อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา อริยสาวกในธรรมวินัยของ พระตถาคตเจ้านี้กระทำปล่อยอารมณ์ สละอารมณ์เสียได้แล้ว ลภติ สมาธึ จิตไม่เกี่ยวกับ อารมณ์ ใจไม่เกี่ยวกับอารมณ์ หยุดนิ่งทีเดียว ได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกกฺคตํ นิ่งหนักเข้า พอได้หนักเข้า แน่นหนาเข้าทุกที ก็ได้เอกัคคตาจิต นี่ต้องสำรวมอย่างนี้นะ จึงจะถูกต้องความ ประสงค์ใจดำของพระพุทธศาสนา สำรวมได้เช่นนี้จะเอาตัวรอดได้ เข้าถึงซึ่งสมาธิ เมื่อเข้าถึง ซึ่งสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับได้ ก็จะได้บรรลุมรรคผลสมมาดปรารถนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในสังวรคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ ต้นจนอวสานนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า บรรดามาสโมสรเพื่อทำสวนกิจในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควร แก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525





    ...............สู้ ก็ตาย ไม่สู้ ก็ตาย

    ยังไง ร่างกายที่อาศัยอีกภพชาตินี้ต้องแตกดับแน่นอนอยู่แล้ว จงสู้ให้เป็นกำลังสะสม
    ให้เข้าใกล้พระนิพพานไปอีกหลายๆก้าว............................
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    วันบรรลุธรรม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐


    เมื่อ ๑๐๓ ปีก่อน ในวันเสาร์ ที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ณ อุโบสถวัดโบสถ์บนบางคูเวียง จ.นนทบุรี ภิกษุสด จนฺทสโร (พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี) ได้บรรลุธรรม ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ศึกษาสัมมาปฏิบัติไตรสิกขาพึงทราบ และพึงศึกษาปฏิปทาของพระสุปฏิปันโนผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้บันทึกเหตุการณ์ในวันที่ท่านบรรลุไว้ในอัตชีวประวัติของท่านว่า...


    ... “ในพรรษาที่ ๑๑ เมื่อหยุดต่อการเรียนปริยัติแล้วก็เริ่มทำจริงจังในทางปฏิบัติ ก็คิดว่า ในวัดพระเชตุพนนี้ในอุโบสถก็ดี มีบริเวณกว้างขวางดีมาก เป็นสถานที่ที่ควรทำภาวนามาก


    แต่มาหวนระลึกถึงอุปการคุณของวัดบางคูเวียง (คือวัดโบสถ์บนบางคูเวียง) ในคลองบางกอกน้อย เจ้าอธิการชุ่มได้ถวายมูลกัจจายน์และคัมภีร์พระธรรมบทให้ ในตอนเล่าเรียนปริยัตินั้น ก็มีอุปการคุณอยู่มากควรไปจำพรรษา แล้วจะได้แสดงธรรมแจกแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เป็นบรรณาการต่ออุปการคุณแก่วัดนั้น จึงได้กราบลาเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ไปจำพรรษาวัดบางคูเวียงในพรรษาที่ ๑๒


    แต่พอได้กึ่งพรรษาก็มาหวนระลึกขึ้นว่า ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวชจำเดิมอายุ ๑๙ เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้เราตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง ๑๕ พรรษา ย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว


    บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง เมื่อตกลงใจได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน ๑๐ ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถแต่เวลาเย็น ตั้งสัจจาธิษฐานแน่นอนลงไปว่า ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการเป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต


    เมื่อตั้งจิตมั่นลงไปแล้วก็เริ่มปรารภนั่ง จึงได้แสดงความอ้อนวอนแต่พระพุทธเจ้าว่า ขอพระองค์ได้ทรงกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแด่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแด่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์จนตลอดชีวิต


    แต่พออ้อนวอนเสร็จแล้วก็เริ่มปรารภเข้าที่นั่งสมาธิต่อไป มานึกถึงมดคี่ที่ตามช่องของแผ่นหินที่ยาวๆ แลบนแผ่นหินบ้าง ไต่ไปมาอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก จึงหยิบเอาขวดน้ำมันก๊าดมา เอานิ้วจุกเข้าที่ปากขวดแล้วตะแคงขวดให้เปียกนิ้วเข้า แล้วเอามาลากเป็นทางให้รอบตัว จะได้กันไม่ให้มาทำอันตรายในเวลานั่งลงไปแล้ว


    แต่พอทางนิ้วที่เปียกน้ำมันนั้นไม่ทันถึงครึ่งของวงตัวที่นั่ง ความคิดอันหนึ่งเกิดขึ้นมาว่า ชีวิตสละได้ แต่ทำไมยังกลัวมดคี่อยู่เล่า ก็นึกอายตัวเองขึ้นมา เลยวางขวดน้ำมันเข้าที่เลยในเดี๋ยวนั้น


    ประมาณครึ่งหรือค่อนคืน ไม่มีนาฬิกาไม่แน่ ก็เห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่ในหนังสือธรรมกาย ที่คุณพระทิพย์ปริญญาเรียบเรียงพิมพ์แจกไปแล้วนั้น ในขณะนั้นก็มาปริวิตกว่า คมฺภีโร จายํ ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด


    ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย นี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด” ...


    [อัตชีวประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ]

    pOzrqaYAo0FwlWDjuhWEBnF3TzG0wfA_yNY0ipC9HZnL&_nc_ohc=7NWPXYt2pKcAX_6w4CU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    PmfyD91IYkh21huQRWKiANIrFNsQaRjgQjDctiSMZso7&_nc_ohc=98m92VdyRvcAX8AlhZU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ?temp_hash=7db8f95c596ec653e96c717b9450c577.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...