สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19366099_705410919660083_2856837889111744895_n.jpg

    คัดลอกจากหนังสือ นิตยสารธรรมกาย
    ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๓๘ หน้า ๒๑-๒๔
    โอวาทปิดการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ ๒๙
    เมื่อ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๘
    ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ ป.ธ.๙)
    วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

    คัดลอกมาบางส่วน*

    ท่านผู้เข้าปฏิบัติธรรมทั้งฝ่ายบรรพชิต พระภิกษุ สามเณร และ อุบาสก อุบาสิกา ญาติโยมทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้เข้ามาปฏิบัติพระกัมมัฏฐานที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายในวันนี้ ก็ย่อมประจักษ์ คือเห็นด้วยตนของตนเองว่า การปฏิบัติธรรมจนเกิดความสงบนั้น เป็นอย่างไร และผลที่ปรากฎในการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย สามเณรอายุ ๑๐ ขวบ กับพระที่มีอายุพรรษามาก ก็ปรากฎเหมือนกัน ไม่ได้แตกต่างกัน คือเมื่อถึงความสงบแล้วก็เป็นอย่างเดียวกัน

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย จึงตรัสให้เรารู้ว่า #ธรรมในทางปฏิบัตินั้น เมื่อปรากฎในใจของท่านผู้ใดแล้ว ไม่ได้เป็นเพศหญิง ไม่ได้เป็นเพศชาย ไม่ได้เป็นคนแก่ หรือไม่ใช่เป็นคนหนุ่ม เป็นเด็ก #มีสภาวะเป็นอย่างเดียวกัน
    เมื่อท่านทั้งหลายได้มาปฏิบัติจนกระทั่งเกิดความสงบ ก็จะทราบด้วยตนเองว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องศีล เรื่องสมาธิ และเรื่องปัญญานั้น เป็นความจริงทุกอย่าง และทุกคนสามารถปฏิบัติให้ถึงได้ แต่ว่าบ้านเมืองของเรา ส่วนใหญ่นั้นมีความเคยชินต่อพระศาสนา เมื่อได้ให้ทาน เมื่อได้รักษาศีล ก็ถือว่าพอแล้ว
    ในที่ทั่ว ๆ ไปถึงไม่ค่อยมีการปฏิบัติธรรม #เมื่อไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าจิตที่สงบแล้วเป็นอย่างไร ก็เลยชินอยู่อย่างนั้นแหละ คือชินอยู่แต่เพียงขั้นทาน ชินอยู่แต่เพียงขั้นศีล แต่ไม่ใช่ว่าความชินอยู่แค่นี้ไม่ดี ดีเหมือนกัน แต่ว่าดีในระดับนั้น

    #อย่าเข้าใจผิดนะ ท่านที่มาปฏิบัติธรรมแล้ว อย่าไปพูดให้เข้าใจผิดออกไปว่า #ทานไม่สำคัญ สำคัญที่สมาธิ ทานและศีล นั้นก็สำคัญเหมือนกัน แต่สำคัญในระดับหนึ่ง ส่วนสมาธิก็สำคัญอีกระดับหนึ่ง เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็ทราบเองว่าสำคัญอยู่ในระดับหนึ่ง #แต่ผู้ที่ปฏิบัติจนเกิดความสงบได้สมาธิ เป็นเอกัคคตา คือรวมจิตเป็นหนึ่งเดียวได้ เกิดความปีติชื่นอก ชื่นใจ ก็มักจะพูดว่า นี่แหละสำคัญนัก ดีนัก อย่างอื่นนั้นไม่ได้เรื่องเสียแล้ว มักจะเห็นในลักษณะนี้ ไม่ใช่ทุกคน แต่มักจะเห็นในลักษณะนี้
    #ที่เห็นนั้นไม่ใช่ผิดเสียทีเดียว คือ ดีอกดีใจจนต้องพูดอย่างนั้น เหมือนกับเราได้ข้าว ได้ของที่มองเห็นด้วยตาใน ภายนอกพอได้มาแล้ว เราก็ดีใจ แล้วก็พูดแต่ของนั้นแหละดี ได้แหวนก็แหวนดี แต่ไม่ใช่หมายความว่าสร้อยไม่ดี สร้อยก็ดีเหมือนกัน แต่เวลานั้นเราเห็นเฉพาะแหวน เราว่าแหวนดี ๆ เพราะเราได้แหวน เวลานั้นเลยมองไปไม่เห็นสร้อยคอ
    เป็นอิย่างไร สายตาของคนที่บรรลุธรรมยังไม่ถึงสูงมาก มักจะเห็นอย่างนี้ เหมือนกับคนที่เห็น ดังที่ยกตัวอย่าง เรื่องข้าวของภายนอก ถ้าดวงตาไม่กว้างก็เห็นอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น ท่านที่มาปฏิบัติธรรม แล้วเกิดความสงบ เป็นโชคดี เป็นบุญ เป็นบารมีของท่านแล้วนะ ให้นึกว่าเป็นบุญ เป็นบารมีของเรา ไม่เสียทีที่ได้มาบวช ไม่เสียที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะเราหาไม่ได้จากวิธีอื่นจริง ๆ #นอกจากวิธีปฏิบัติเท่านั้น และคนอื่นก็หยิบยื่นให้ไม่ได้ อาจารย์ที่สอนจะเก่งสักขนาดไหน ก็หยิบให้ไม่ได้ ได้แต่แนะวิธีเท่านั้น จะได้จริง ๆ นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติของตัวเอง จึงขอให้ทุกองค์ที่มาปฏิบัติ ตลอดถึงญาติโยมด้วย หากว่าปฏิบัติแล้วเกิดผล ให้นึกว่าเป็นบุญบารมีของเรา และของนี้ คือ สมาธินี้ เราจะหาไม่ได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ในที่อื่น ๆ ก็ด้วยวิธีปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น ขอให้จำเข้าไว้ และเมื่อจำได้แล้วก็พยายามบอกกันไปว่า ถ้าเรานับถือพระพุทธศาสนาน่ะ ต้องพยายามให้ได้ปฏิบัติด้วย แล้วก็จะดี เราจะได้รู้ว่าเป็นยังไง แต่ไม่ใช่หมายความว่า ผู้นับถือพระพุทธศาสนาคนอื่น ๆ ไม่ดีนะ เขาดีเหมือนกัน แต่ดีอย่างหนึ่ง ระดับหนึ่ง#ในขั้นหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ในขั้นที่เป็นสมาธิ ผู้ที่ได้ถึงขั้นนี้ จึงเป็นบุญ เป็นวาสนาของตัวเอง และที่ท่าน ท่านที่ได้ไปแล้วนะ อย่านึกดีใจอยู่เฉย ๆ ต้องพยายามปฏิบัติไปด้วย ปฏิบัติไว้เรื่อย ๆ จะได้รู้ว่า แม้สมาธินี่แหละ ถ้าเราได้ปฏิบัติอยู่เสมอแล้ว ไม่เสื่อม ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ได้รักษาไว้ด้วยการปฏิบัติก็จะเสื่อม เปลี่ยนแปลงเหมือนเดิม นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก
    และขอให้ท่านทั้งหลายกำหนดให้ดีว่า วิธีปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานนั้น ไม่ใช่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง #ถ้าใครพูดว่าอย่างนี้ผิด อย่างนั้นถูก ก็ไม่ต้องไปเถียง ยึดแต่เพียงอย่างเดียวว่า #เราปฏิบัติแล้วน่ะใจสงบไหมนั่นแหละสำคัญ ถ้าปฏิบัติแล้วใจสงบน่ะใช้ได้ ถ้าปฏิบัติแล้วใจไม่สงบ วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน นั่นแหละ เราต้องคิดแล้วว่าถ้าจะเป็นยังไงอยู่

    วิธีปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานจริง ๆ นั้น มี ๔๐ แต่ว่าเป็นขั้นอรูปฌานเสีย ๔ จึงเหลือเพียง ๓๖ ทุกข้อ ทุกวิธี ล้วนแต่ดีทั้งนั้น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ #จนกระทั่งเทวตานุสสติ ซึ่งคนมักจะไม่ค่อยเชื่อ ระลึกถึงเทวดานะ ก็เป็นกัมมัฏฐานข้อหนึ่ง
    แต่ไม่ใช่หมายถึงว่า นึกไปถึงตัวนะ ในทางการปฏิบัตินั้น หมายถึงการนึกที่จุดคุณธรรม จนกระทั่งคุณธรรมนั้นปรากฏในจิต เป็นความสงบ แต่ละข้อ ๆ ส่งให้ถึงความสงบทั้งนั้น

    นอกจาก ๓๖ วิธีนี้แล้ว ยังมีวิธีอื่นที่ปลีกย่อยออกไปอีก มากมาย นั่นเป็นเรื่องของการปฏิบัติ ที่เมื่อปฏิบัติแล้วถึงความสงบก็ใช้ได้ทั้งนั้น ที่ใช้ไม่ได้ก็มีอยู่อย่างเดียว คือ จิตไม่สงบนั่นแหละ ใช้ไม่ได้แน่
    #ถ้าจิตไม่สงบละเป็นอันใช้ไม่ได้แน่ แต่ถ้าจิตสงบละเป็นอันใช้ได้ ให้ท่านจำไว้ให้ดี อย่าไปเถียงกับใครว่า วิธีนี้ถูก วิธีนั้นผิด เสียเวลาพูดจนฟันหมดปาก ก็ไม่มีประโยชน์ อย่าไปพูดเลย #มาปฏิบัติกันดีกว่าปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ปฏิบัติแล้วให้ใจสงบเถอะ ไม่ว่า แล้วไม่ต้องไปเถียงอะไรกัน อย่างนี้สบายใจดี เพราะเราไม่ต้องไปเถียงกับใคร เรามามุ่งในทางการปฏิบัติแต่เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะคิดกันไปว่า ถ้าเราไม่เถียงก็เขาว่าอยู่ข้างเดียว แล้วเราไม่แย่รึ ถ้าแย่พระพุทธเจ้าก็แย่แล้ว #เพราะคนที่แย้งพระพุทธเจ้าก็มีเยอะ แต่พระพุทธเจ้าของเราก็ทรงสอนของท่านเรื่อยไป ไม่เห็นเป็นไร คำสอนก็เหลืออยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ นั่นแหละพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เราไม่ต้องไปเถียงกันให้ยุ่งยากลำบาก เรามาปฏิบัติกันดีกว่า ใครอยากรู้ก็มาปฏิบัติ ท่านที่มาปฏิบัติแล้วก็พยายามบอกกันไปนะ ว่าที่นี่มีวิธีการปฏิบัติ ท่านสอนปฏิบัติ สนใจก็ไปปฏิบัติได้ ไม่ต้องไประแวงสงสัยว่าคนนั้นว่าดี คนโน้นว่าไม่ดี เรามาปฏิลั้ติด้วยตัวของเราเองก็แล้วกัน
    เมื่อตะกี้นี้ผู้ที่เข้ามารับวุฒิบัติเป็นพระครูสัญญาบัตรก็มี ท่านได้เป็นพระครูสัญญาบัตรแล้ว เป็นพระผู้ใหญ่ ทางคณะสงฆ์ยกย่อง พระราชามาหากษัตริย์ทรงยกย่อง เมื่อได้มีโอกาสมาทดลองการปฏิบัติด้วยวิธีนี้ อีกอย่างหนึ่ง ก็จะบอกแก่คนอื่น ๆ ได้ว่า เป็นวิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้จิตสงบได้ หลังจากที่จิตสงบแล้ว จะฝึกหัดอย่างไร ลึกซึ้งลงไปนั้น อีกอย่างหนึ่ง และจุดมุ่งหมายที่สูงสุดของพระพุทธศาสนา นั้นก็คือ #ไม่อยากให้มีกิเลสติดอยู่ในใจ นั่นแหละสำคัญมาก
    ปฏิบัติถึงความสงบแล้ว เห็นว่าดีจริง ๆ ก็พยายามลด ให้สิ่งที่เรียกว่ากิเลสนั่นแหละ ในใจของเราเอง น้อยลงไป ๆ จนกระทั่งเรารู้สึกว่า เราเป็นผู้เป็นคน ขึ้นมาบ้างแล้ว คือไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส ที่เป็นหลักใหญ่ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    โลภะอย่างแรง เราไม่มีแล้ว นั่นแหละเป็นจุดที่สำคัญ พออย่างแรงไม่มี ก็เรียกว่าอย่างหยาบหมดไป พออย่างหยาบหมดไป เหลือแต่อย่างกลาง เราก็ค่อย ๆ ทำต่อไปอีก พอทำไป ๆ เราแหละก็จะรู้เอง ว่าอ้อ เป็นอย่างนี้เอง เราเดี๋ยวนี้จะทำอะไรก็ไม่ค่อยบาปแล้ว ไม่ค่อยมีบาปแล้ว ไม่เป็นบาปแล้ว ถ้าเป็นบาปแล้ว ไม่อยากจะทำ เห็นอะไรแล้วก็เห็นไปในทางสภาพที่เป็นจริง ไม่ต้องไปวุ่นวาย สะดุ้ง ถกเถียงกัน อย่างนั้น อย่างนี้ แต่ว่าเรารู้สึกว่าใจของเรานี่ ลด โลภะ โทสะ โมหะ ลงไปได้

    ............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19399082_707091112825397_4267919359970569341_n.jpg

    ข้อความจาก การตอบปัญหาธรรม ในอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์
    รุ่นที่ ๒๑ (ระหว่างวันที่ ๑-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๔ )
    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ***คัดลอกมาบางส่วน
    ...........
    ภาคสมถกัมมัฏฐาน การเจริญภาวนาสมาธิตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้จิตสงบระงับจากกิเลศนิวรณ์ได้โดยง่าย เรียกว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุด วิธีนี้ มีอุบายวิธีขั้นสมถะอย่างน้อย ๓ ประการ ร่วมกัน คือ อาโลกกสิณ อานาปานสติ และพุทธานุสติ ร่วมกัน ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ไม่สำเร็จ หรืออย่างน้อย พอช่วยให้ใจสงบได้ ก็นับว่าคนนี้ แม้จะไปปฏิบัติที่ไหน อย่างไร มันก็ไม่สงบหรอก
    เพราะธรรม ๓ ประการนี้ เป็นธรรมคู่แข่งของผู้มีจริตอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ทั้งหมดทุกจริตอัธยาศัย
    เพราะฉะนั้น สำหรับบางท่านอาจจะรู้สึกขัดเขิน ไม่สบาย ไม่คล่อง ไม่ถนัด หรือยังไม่เห็นผลเร็ว ก็หงุดหงิดเสียก่อน เพราะเห็นว่าไม่เหมาะกับจริตอัธยาศัยของตน นับว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะหากคิดว่า คำว่า “เหมาะกับจริตอัธยาศัย” คือ “ถูกใจ” แล้ว คำว่า “ถูกใจ” บางอย่างไม่ค่อยได้ผลหรอก เพียงแต่ว่ามันถูกใจ
    ที่ว่าเหมาะกับจริตอัธยาศัยที่แท้ก็คือ เป็นธรรมคู่แข่ง ที่จะขจัดขัดเกลากิเลสของเราให้ได้ผล นั่นต่างหาก จึงชื่อว่าเหมาะกับจริตอัธยาศัย เช่น บางคนรักสวยรักงาม ถ้าถูกใจนะ ให้ไปอยู่ในที่เพลิดเพลินเจริญใจนั่น ถูกใจเหมาะ กับจริตอัธยาศัย นั่นอย่างหนึ่ง อย่างนี้รับรองว่าจิตไม่สงบ แต่ถ้าคนนั้นเป็นคนกลัวผี ให้ไปพิจารณาอสุภะก็กลัวใหญ่เลย ก็เลยว่านี่ไม่ถูกอัธยาศัย จริง ๆ แล้ว อสุภกัมมัฏฐานั่น เหมาะกับจริตอัธยาศัยของผู้ที่รักสวยรักงาม หรือมีกามฉันทะ คือเป็นธรรมคู่แข่ง ที่ขจัดขัดเกลากันเชียว แต่ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบที่มิให้กลัวผี ปฏิบัติให้ถูกวิธี ก็จะบรรเทากามฉันทนิวรณ์ และละราคะได้
    คำว่า "เหมาะกับจริตอัธยาศัย" นี้ จึงอาจจะถูกใจผู้ปฏิบัติ หรือไม่ถูกใจก็ได้ แต่ผู้มีจริตอัธยาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวนั้น อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง พึงเลือกเอาพระกัมมัฏฐานที่จะสามารถขจัดขัดเกลากิเลสของตน สำหรับปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น ถ้าจะเอาให้ถูกใจผู้มีกามฉันทะ นั่นต้องนั่งฟังซาวด์อะเบาท์ (sound about) กรอกหู รับรองว่าถูกใจเลย อย่างนั้น นั่นแหละถูกใจของผู้มีกามฉันทะ หรือไม่ก็เป็นผู้รักสวยรักงาม สบงจีวรก็ต้องงาม อะไรมันก็ต้องงามไปหมด เนี๊ยบไปหมด เลยติดรูปเลยทีนี้ ไม่ไปไหนหรอก เพราะฉะนั้นจะต้องมีธรรมคู่แข่ง หรืออสุภกัมมัฏฐาน ซึ่งบางคนอาจจะกลัวผี ก็ต้องพิจารณาว่าผีมีจริง หรืออย่างไร จนหมดความกลัว แล้วใช้อสุภกัมมัฏฐาน รับรองว่าเป็นธรรมคู่แข่ง สามารถกำจัดกามฉันทะของผู้นั้นได้เป็นอย่างดี นั่นแหละ ที่บูรพาจารย์ท่านวางไว้อย่างนั้น
    ทีนี้ท่านทั้งหลายเข้าใจแล้วว่า วิชชาธรรมกายในเบื้องต้น เป็นสมถะ ที่มีอุบายวิธี มีประสิทธิภาพมากที่จะทำให้ใจสงบ แม้ว่ายังไม่ได้ผลทันทีเหมือนคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำไปก็เป็นเอง นี่ข้อหนึ่ง
    ............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19366298_706637152870793_4839543045212893019_n.jpg



    คัดลอกบางส่วนจากการตอบปัญหาธรรม
    "คนจน คนรวย เป็นเพราะกรรมเก่า จริงหรือไม่?"

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ข้อความเต็ม อ่านได้ตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ตอบปัญหาธรรม/คนจนคนรวยเป็นเพราะกรรมเก่า-จริงหรือไม่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ทำสมาธิแล้วมืด ไม่เห็นอะไร พยายามนึกดวงแก้ว แต่ก็ไม่เห็น


    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?
    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม

    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)

    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”

    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น

    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย ?


    ดวงนิมิตในศูนย์กลางกายยังไม่ใส แต่เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย จะปฏิบัติอย่างไร ? และนิมิตตัวเราให้เห็นชัดขึ้น เจริญขึ้นอย่างไรบ้าง ?

    -------------------------------------

    ตอบ:


    ที่เห็นนิมิตยังไม่ใส ควรปฏิบัติเช่นนี้

    1. หากใจยังไม่หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ให้หยุดนิ่ง กริ๊กลงไป ให้นึกในใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง นิดเดียว พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จะใสขึ้นมาทันที นี่ข้อที่หนึ่ง

    2. เมื่อศูนย์กลางขยายออก ใสพอสมควร ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ถึงแม้จะยังเห็นไม่ใสก็ไม่เป็นไร มีอุบายวิธีทำอย่างนี้ ละอุปาทาน ละความรู้สึกที่เนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ ไม่สนใจ ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น แม้เห็นไม่ชัด แม้เห็นลางๆ ก็ทำความรู้สึกว่าเป็นกายละเอียดนั้น ใจจะละจากอุปาทานในกายหยาบ เข้าไปเป็นเวทนา จิต ธรรมของกายละเอียด เมื่อใจกำหนดหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ก็จะเห็นดวงธรรมใสสว่างขึ้น กลางของกลาง หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้ใสสว่างขึ้น จะใสสว่างทั้งดวงและทั้งกาย และองค์ฌานแล้วใจก็ หยุดในหยุดเรื่อยไป ดับหยาบไปหาละเอียด หยุดนิ่ง ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายละเอียดอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นมาใหม่ ให้จำไว้เลย ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายละเอียดต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของกลาง ให้ใสสว่างทั้งดวงทั้งกาย และองค์ฌาน

    เราจะเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ที่ผ่องใส สวยงามโตใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับจนถึงธรรมกาย แต่ว่าดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของแต่ละกายในภพ 3 นั้น เนื่องจากยังมีอวิชชานุสัย หุ้ม “ดวงรู้” กามราคานุสัยหุ้ม ” ดวงคิด” ปฏิฆานุสัยหุ้ม “ดวงเห็น” อยู่ เพราะฉะนั้น ดวง เห็น จำ คิด รู้ ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมนั้น จึงยังไม่เบิกบาน คือ ยังไม่ขยายโตเต็มกาย แต่ว่าขยายโตขึ้นในระดับหนึ่ง เช่นของกายมนุษย์จะประมาณฟองไข่แดงของไข่ไก่เท่านี้ สำหรับผู้ที่จะสามารถเจริญกัมมัฏฐานได้ แต่ถ้าใครเห็นดวงเล็กขนาดนิดเดียว เท่าดวงดาว คนนั้นชาตินี้เจริญกัมมัฏฐานสำเร็จได้ยาก บางท่านเห็นดวงโต อย่างโตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ขึ้นอยู่ที่บุญบารมีของแต่ละท่านที่บำเพ็ญมาแล้วไม่เหมือนกัน ของกายทิพย์เป็น สองเท่าของกายมนุษย์ ของกายรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายทิพย์ ของกายอรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายรูปพรหม

    เพราะเหตุไร ?

    เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่หุ้มซ้อนอยู่นั้นค่อยๆ จางหมดไป ด้วยการรวมใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยๆ เราจึงถึงคุณธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่ากันไปตามลำดับ จากมนุษย์ธรรมไปถึงเทวธรรม ถึงพรหมธรรม อรูปพรหมสุดละเอียด ของคุณธรรมของกายในภพ 3 ก็จะถึงธรรมกาย

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี้จึงเบิกบานเต็มที่ เต็มธาตุเต็มธรรม หมายความว่า ดวงธรรม และดวงเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู แม้จะมีขนาดหน้าตักและความสูงเพียง 4 วาครึ่ง แต่เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม และเห็น จำ คิด รู้ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ขยายโตเต็มส่วนเต็มธาตุเต็มธรรม คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย จากธรรมกายโคตรภูไปสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ก็เป็นอย่างนี้.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เวลาเอนกายลงนอน กายในกายคือกายทิพย์ มักจะแยกออกมา เป็นเพราะอะไร ?

    กระผมเคยปฏิบัติตั้งสติกำหนดลมหายใจพุทโธภาวนา เวลานอน เวลาเอนกายลง นอนกายในกายคือกายทิพย์ ตามที่กระผมเข้าใจเอง มักจะแยกออกมา อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ ? หรือกระผมทำผิดครับ ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องกายทิพย์แยกหรือไม่แยก มันมีอยู่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สำหรับผู้ที่จะนอนหลับ กำลังเคลิ้มหลับ จิตดวงเดิมตกศูนย์กลางกายฐานที่ 6 จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมายังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ถึงจะพุทโธๆ ก็ช่วยให้จิตสงบเร็วๆ มันไปสงบที่ไหน ไปสงบที่กลางพระนาภี พร้อมๆ กับเราเอนอยากจะหลับนั่นแหละ อาการของคนจะหลับกับอาการของคนมีสมาธิคล้ายกันมาก ต่างกันอย่างเดียวอาการของคนจะหลับนั้น สติสัมปชัญญะมันลดลงๆๆๆ หายไปเลย แต่คนมีสมาธิสติสัมปชัญญะ มันอยู่คู่กับใจที่ใสปลั่งอยู่เท่านั้นเอง

    ทีนี้ ในอาการ 2 อย่างไปร่วมกันอยู่นั่นแหละ ถ้ากำลังจะเผลอสติ ดวงธรรมดวงเดิมจะตกศูนย์ไป แล้วดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกาย อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั่นแหละ กายทิพย์ปรากฏขึ้นมาด้วย ถ้าเคลิ้มหลับไปก็ฝันล่ะ ไปเห็นโน่นเห็นนี่ ก็มารายงานกายเนื้อ หลับแล้วก็ฝันไป แต่ว่าเวลาเราปฏิบัติภาวนาเราตั้งใจจริงไม่เผลอสติ ถ้าว่าปฏิบัติถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็เห็นกาย ณ ภายในที่สุดละเอียด สุดละเอียด ธรรมในธรรมไปแล้ว ก็เห็นกายในกาย ก็เห็นกันอย่างมีระเบียบ กายในกายก็ตั้งซ้อนกันอยู่ตรงกลางของกลางเข้าไปจนสุดละเอียด ตั้งอยู่ เห็นอยู่ ไม่แยกออกไปไหน ไอ้ที่จะแยกออกไปนั่น ก็เพราะจิตรวมหยุดเป็นจุดเดียวกันไม่สนิท ไม่อยู่กลางของกลาง เพราะสติเผลอ หรือไม่รู้วิธีรวมใจให้หยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะไม่ได้รับการอบรมใจของตนให้เป็นสมาธิไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม

    อันนี้มีพระคุณเจ้าระดับวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเจ้าสำนัก ได้ยินว่าท่านนั่งเจริญภาวนาท่านนั่งไปเอง พุทโธๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นภายนอกกายหยาบ ท่านเห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่งอยู่ภายนอกกายหยาบ ท่านก็เลยเอากายละเอียดพิจารณากายหยาบ เอากายหยาบพิจารณากายละเอียดว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เพียงเท่านั้นแหละ เลยไม่ได้ก้าวหน้าให้ถึงธรรมกาย ท่านก็พิจารณาไตรลักษณ์อยู่แค่นี้ครับ

    กระผมพยายามส่งเอกสารนิตยสารธรรมกายทั้งเทปไปถวาย ไม่ทราบว่าท่านได้ดูหรือเปล่า ถ้าว่าท่านได้ดู ท่านเดินวิธีปฏิบัติตามนิตยสารนั้น แป๊บเดียวท่านก็จะสามารถปฏิบัติถึงธรรมกายและถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมชั้นสูงได้เร็ว เพราะท่านมีพื้นที่ดีอยู่แล้ว กายมนุษย์ละเอียดท่านเห็นอยู่แล้วเป็นประจำ นั่ง พิจารณาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้นเป็นประจำ ไม่ได้ปฏิบัติเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดให้ไปถึงสุดละเอียด หลายท่านก็สอนกันว่านี่เป็นนิมิตหลอกนิมิตลวง ให้ปฏิเสธเสีย เพราะว่าเขาไม่รู้วิธีเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและไปถึงพระนิพพาน ก็เลยนึกว่านี่เป็นนิมิตหลอก ตัดทิ้งซะ ไม่เอาซะเลย เมื่อไม่เอา ก็ไม่มีฐานที่ตั้งของจิตที่มั่นคง จิตไม่มีฐานที่ตั้งที่จะเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคงเพื่อปฏิบัติเข้ากลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ไม่มีฐานอันมั่นคง เมื่อไม่มีฐานมั่นคงก็ไปไม่ถึงธรรมกาย ไม่ถึงพระนิพพาน แต่ว่าคุณธรรมของท่านบรรลุได้ ละกิเลสท่านก็ทำได้ แต่ว่าที่จะถึงธรรมกายไปถึงพระนิพพานท่านยังทำไม่ได้ เพราะท่านเห็นธรรมกายเมื่อไหร่ ก็ปฏิเสธว่าเป็นนิมิต ก็เท่ากับเลื่อยหรือตัดขาเก้าอี้ที่ตนนั่ง

    อีกท่านหนึ่งนั่นเป็นระดับลูกศิษย์ในสำนักหนึ่ง นั่งภาวนาทีไรเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป เพราะอาจารย์ท่านสอนไว้ว่านั่นเป็นนิมิต เป็นนิมิตลวง นั่งไปอีกก็เห็นอีก ไม่เอาปฏิเสธเสีย ธรรมจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ไปติดอยู่แค่นั้น

    เพราะฉะนั้น เรื่องจริงๆ ก็มีอยู่นิดเดียวเท่านั้นละครับว่า บางท่านอาจจะถือกันมาผิดๆ จากเจตนาที่พระอาจารย์ท่านสอน จากประสบการณ์ จากที่เคยได้ยินได้ฟังมา พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ท่านได้เห็นดวงกสิณของท่านดวงใหญ่ พอท่านเห็นแล้ว ตอนแรกๆ ท่านก็ตามดูกสิณนั้นไป เห็นเข้าไปเรื่อยๆ ดูตามไปก็เห็นต่างๆ นานา เห็นเหมือนกับระลึกชาติ ไปเห็นชาติเก่าบ้าง ชาติใหม่บ้าง อนาคตบ้าง อะไรบ้าง ท่านก็ดูตามไปๆ เรื่อยๆ เห็นอะไรต่อมิอะไร หนักเข้าๆ ก็เห็นจะไม่ได้เรื่อง ท่านก็เลยบอกว่า โอ! นี่ไม่มีประโยชน์ นิมิตไม่มีประโยชน์ ท่านก็ตัดทิ้ง คือ ท่านปฏิเสธ ฟังให้ดี แปลว่าท่านปฏิเสธนิมิตลวงที่เห็นปรากฏอยู่ข้างนอก ซึ่งถูกต้อง ไม่ผิด ท่านปฏิเสธนิมิตลวง เพราะนั่นยังไม่ใช่ของจริง เพราะไม่ได้เข้ากลางของกลาง ณ ภายใน ต่อเมื่อภายหลังท่านปฏิบัติไปๆ เมื่อท่านได้ทำใจให้หยุดนิ่งสนิทจนใจสงบที่ศูนย์กลางกาย ท่านก็ได้ดวงพุทโธนะ ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” ได้เคยอ่านประวัติท่าน ได้เคยอ่านประวัติ ตอนที่ท่านไปอยู่ป่าเขา ชาวเขาถามท่าน (หลวงพ่อมั่น) ว่า “ตุ๊เจ้าเดินหาอันหยัง ?” เพราะตุ๊เจ้าเดินจงกรมอยู่เรื่อยๆ ท่านตอบว่า “หาดวงพุทโธ” ความจริงท่านก็เดินจงกรม ใจท่านหยุด ท่านก็รู้ พิจารณาไปข้างใน ทีนี้พวกชาวเขาก็ถามท่านว่า แล้วก็อย่างพวกเขานี่ เขาจะหาดวงพุทโธได้ไหม ? ท่านก็บอกว่า ได้ มาซิ แล้วท่านก็แนะนำกัมมัฏฐานให้ แต่จะได้เท่าไหร่ ได้ผลเท่าไรก็ไม่ได้เล่าให้ฟัง นี้เป็นประวัติของท่าน มีอยู่ในหนังสือ ท่านเรียกดวงธรรม ณ ภายในนั้นว่า “ดวงพุทโธ”

    เพราะฉะนั้น บรรดาระดับอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง เมื่อท่านเจริญอานาปานสติ ใจหยุดลมหยุดที่ศูนย์กลางกาย ก็เห็นเป็นดวงใสเหมือนกันหมดไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นท่านจะสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไปว่า ให้เอามาพิจารณา ณ ภายใน อย่าให้อยู่ข้างนอก เหมือนกันหมด ท่านให้เอานิมิตมาพิจารณาข้างในทั้งนั้นนั่นแหละ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะรู้ทางสายกลางไปเอง แต่สำหรับพระอริยเจ้าท่านไม่เอามาพูดมาก ก็เลยขอกราบเรียนพระคุณเจ้าไว้เพียงเท่านี้ว่า ไม่ได้แตกต่างกันหรอก เหมือนกันแหละ ทำไปเถอะ แล้วก็จะไปที่เดียวกันนั้นแหละ ไม่ไปไหนหรอก เพราะทุกคนก็มุ่งนิพพาน ซึ่งในทางปฏิบัติจักต้องผ่านทางสายเอก และทางสายกลาง ตรงกลางของกลางธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ของแต่ละกาย จากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดทั้งสิ้น จะไปไหนรอด พอถึงจุดหนึ่งก็ไปทางเดียวกันนั่นแหละ แต่ทีนี้ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านนี่แหละ ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด ตรงที่ว่า นิมิต(ลวง)ไม่ให้ถือ และยิ่งเมื่อเห็นอะไรเป็นนิมิตไปหมด ก็เลยปฏิเสธหมด เมื่อปฏิเสธหมด ก็ไม่มีฐาน ปฏิเสธนิมิต จิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง เหมือนยิงจรวดไม่มีฐานที่มั่นคง จะไปได้สักเท่าไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสอยู่ในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า


    เมื่อภิกษุไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จะยังสัมมาทิฏฐิ (คือความเห็นชอบ) แห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จะยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลาย (คือหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง) ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้เลย

    ทีนี้ เดี๋ยวพระคุณเจ้าหรือญาติโยมอาจจะสงสัยนิดหนึ่ง ตรงที่ว่า ตรงนี้พระพุทธองค์ ทรงแสดงว่าทำนิพพานให้แจ้งจะต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด นั่นหมายถึงคุณธรรมพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมบอกว่า คนนั่งภาวนาถึงธรรมกาย ถึงนิพพานเห็นนิพพานได้ ? ตรงนี้เป็นวิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลสชั่วคราว และคำว่า “รู้แจ้ง” นั้น ถ้ายังไม่เป็นพระอริยเจ้าก็แจ้งน้อยกว่าพระอริยเจ้า แต่ก็ถึงประตูรู้เส้นทางจะไปแล้ว ได้สัมผัสทั้งสังขารและ วิสังขารแล้ว ว่ามีลักษณะหรือสามัญญลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ก็เพียรปฏิบัติไป เมื่อบารมีเต็มก็หลุดพ้นโดยสิ้นเชิงได้ เรื่องก็เป็นอย่างนี้ การเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายและพระนิพพาน แม้จะยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิงก็หลุดพ้นได้ชั่วคราวด้วย “วิกขัมภนวิมุตติ” การหลุดพ้นมีตั้งหลายระดับ ระดับด้วยการข่มกิเลสทำได้ มีได้ แต่ว่าอวิชชาจะหมดหรือไม่หมดโดยสิ้นเชิง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจิตไม่สังขาร และเมื่อปฏิบัติภาวนาดับหยาบไปหาละเอียด ถูกเครื่องรู้เห็น คือ ทิพพจักษุ ทิพพโสตของกายทิพย์ ละเอียดยิ่งขึ้นไปจนถึงญาณทัสสนะของธรรมกายซึ่งเชื่อมต่อถึงกัน พอให้รู้ พอให้เห็น พอให้ได้สัมผัส พอเข้าใจสภาวะพระนิพพาน ได้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่คำว่ารู้แจ้งหรือ “ทำนิพพานให้แจ้ง” ได้จริงๆ นั้น หมายเอาคุณธรรมพระอรหันต์ ท่านรู้แจ้ง ไม่มีอะไรปิดบังท่านในเรื่องของพระนิพพาน เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ

     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19429763_708072366060605_9140727203383168346_n.jpg

    เรื่อง "การบำเพ็ญบารมี เพื่อความสิ้นกิเลส และกองทุกข์ ถึง มรรค ผล นิพพาน"
    โอวาทแสดงแก่พระภิกษุ สามเณร วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    เมื่อ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔

    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคลโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    บางท่าน ก็อาจจะอยากได้ยิน ได้ฟัง เรื่องการบำเพ็ญบารมี ก็คิดว่าจะเล่าเรื่องการบำเพ็ญบารมีให้ฟังแต่พอสังเขป และก็พอเป็นเค้า ว่า...การบำเพ็ญบารมีนั้น ได้มีการกระทำการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ และผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะถึงซึ่งมรรค ผล นิพพาน อย่างไร พอให้เป็นกำลังใจ และก็เป็นแนวทางแก่พระ เณร ที่มาอยู่ที่นี่ จะได้ใช้ประกอบการประพฤติปฏิบัติตน #ในระหว่างที่ยังพอมีชีวิตอยู่นี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ตนเองให้ดีที่สุด #ก่อนที่เราจะไม่สามารถใช้สังขารร่างกายของเราได้อีกต่อไป แล้วก็บุญบารมีที่เราได้บำเพ็ญไปนั้น ก็จะสะสมแก่กล้าขึ้น เป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นทั้งอุปการะ และเป็นทั้งคุณธรรมที่จะให้สัตว์โลกผู้มีปัญญา ผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ ได้ถึงซึ่งความสุข คือ มรรค ผล นิพพาน นั้น ให้สามารถสำเร็จลงได้

    ก่อนอื่นท่านทั้งหลายพึงเข้าใจ ว่าการบำเพ็ญบารมีนั้น ก็คือ การประกอบกรรมดี ละชั่ว ทำใจให้ใส นั่นแหละ ซึ่งรวมเบ็ดเสร็จก็รวมว่าเป็นคุณความดี เป็นบุญเป็นกุศล ไม่ว่าจะเป็นการละชั่วด้วยการรักษาศีล ด้วยการเว้นอกุศลกรรมบถสิบ เป็นต้น และไม่ว่าจะเป็นการประพฤติดี ประพฤติชอบ ตามธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น ประกอบทานกุศล ด้วยคุณธรรมอื่นทั้งหลาย มีพรหมวิหารธรรมเป็นต้น นี่ก็เป็นความดี และการชำระจิตใจให้ผ่องใสด้วยสมาธิ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา แล้วก็ชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ โดยการพิจารณาสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่าสังขาร ว่าปรุงแต่งอย่างไร แล้วก็มีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร แล้วก็ให้เห็นแจ้งสูงขึ้นไปถึง อริยสัจทั้ง ๔ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันเป็นไปในญาณ ๓ คือ #สัจจญาณ รู้ว่าอริยสัจทั้ง ๔ มีจริงอย่างไร #กิจจญาณ รู้ว่าจะทำอย่างไรกับอริยสัจ ทั้ง ๔ นั้น แล้วก็ #กตญาณ เราได้กระทำบรรลุผลสำเร็จ คือ ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงแล้ว แค่ไหนเพียงไร นี่เป็นลำดับขั้นไป อย่างนั้น
    ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นเรื่องของการกระทำคุณความดีทั้งสิ้น และคุณความดีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส มีสภาวะที่เป็นธรรมชาติเครื่องกำจัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ หรือที่เรียกว่า เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจ ให้หมดสิ้นไป ให้จิตใจ และธาตุธรรมจากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดผ่องใสบริสุทธิ์ ผ่องใสบริสุทธิ์นั้น เพื่อจะได้เข้าถึงธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่บริสุทธิ์ ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เราเรียกว่า "พระรัตนตรัย" คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ซึ่งก็ใช่ว่าอะไรอื่น ก็คือ ธรรมกาย ที่สูงสุดขึ้นไป เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และพระนิพพาน นั้นเอง ขอให้เข้าใจอย่างนั้น ทีนี้การกระทำความดีทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ล้วนแต่จะประทับอยู่ในธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ (ใจ) หรืออีกนัยหนึ่ง สะสมแก่กล้าจากคุณความดี ขั้นหยาบ ๆ จนถึงขั้นละเอียด สูงขึ้นไปเรียกว่า “บุญ”

    บุญนี่ เห็นเป็นความดีชัด ๆ อย่างเช่น เราบริจาคทาน สละขาดไปจากใจ แบ่งปันความรู้ ความสามารถธรรมะ ปัจจัย ๔ เครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อื่น นี้เป็นทั้งอามิสทาน และธรรมทาน และประการสำคัญคือว่า ปฏิบัติตนเพื่อขจัดขัดเกลากิเลสออกจากใจตน #ดำรงตนดำเนินชีวิตตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมทาน ทั้งหมดนี้ เป็นธรรมชาติที่ชำระจิตใจ คือ ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ ยกภูมิธรรมของเราให้สูงขึ้นไป ตั้งแต่ความดีระดับหยาบ ๆ ไปจนถึงละเอียด จาก "บุญ" แก่กล้ามากเข้าเป็น "บารมี" จากบารมีแก่กล้ามากเข้าเป็น "อุปบารมี" จากอุปบารมีแก่กล้ามากเข้าเป็น "ปรมัตถบารมี"

    .................

    เรื่อง "การบำเพ็ญบารมี เพื่อความสิ้นกิเลส และกองทุกข์ ถึง มรรค ผล นิพพาน"
    โอวาทแสดงแก่พระภิกษุ สามเณร วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    เมื่อ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔

    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคลโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    บางท่าน ก็อาจจะอยากได้ยิน ได้ฟัง เรื่องการบำเพ็ญบารมี ก็คิดว่าจะเล่าเรื่องการบำเพ็ญบารมีให้ฟังแต่พอสังเขป และก็พอเป็นเค้า ว่า...การบำเพ็ญบารมีนั้น ได้มีการกระทำการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ และผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะถึงซึ่งมรรค ผล นิพพาน อย่างไร พอให้เป็นกำลังใจ และก็เป็นแนวทางแก่พระ เณร ที่มาอยู่ที่นี่ จะได้ใช้ประกอบการประพฤติปฏิบัติตน #ในระหว่างที่ยังพอมีชีวิตอยู่นี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ตนเองให้ดีที่สุด #ก่อนที่เราจะไม่สามารถใช้สังขารร่างกายของเราได้อีกต่อไป แล้วก็บุญบารมีที่เราได้บำเพ็ญไปนั้น ก็จะสะสมแก่กล้าขึ้น เป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นทั้งอุปการะ และเป็นทั้งคุณธรรมที่จะให้สัตว์โลกผู้มีปัญญา ผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ ได้ถึงซึ่งความสุข คือ มรรค ผล นิพพาน นั้น ให้สามารถสำเร็จลงได้

    ก่อนอื่นท่านทั้งหลายพึงเข้าใจ ว่าการบำเพ็ญบารมีนั้น ก็คือ การประกอบกรรมดี ละชั่ว ทำใจให้ใส นั่นแหละ ซึ่งรวมเบ็ดเสร็จก็รวมว่าเป็นคุณความดี เป็นบุญเป็นกุศล ไม่ว่าจะเป็นการละชั่วด้วยการรักษาศีล ด้วยการเว้นอกุศลกรรมบถสิบ เป็นต้น และไม่ว่าจะเป็นการประพฤติดี ประพฤติชอบ ตามธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น ประกอบทานกุศล ด้วยคุณธรรมอื่นทั้งหลาย มีพรหมวิหารธรรมเป็นต้น นี่ก็เป็นความดี และการชำระจิตใจให้ผ่องใสด้วยสมาธิ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา แล้วก็ชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ โดยการพิจารณาสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่าสังขาร ว่าปรุงแต่งอย่างไร แล้วก็มีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร แล้วก็ให้เห็นแจ้งสูงขึ้นไปถึง อริยสัจทั้ง ๔ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันเป็นไปในญาณ ๓ คือ #สัจจญาณ รู้ว่าอริยสัจทั้ง ๔ มีจริงอย่างไร #กิจจญาณ รู้ว่าจะทำอย่างไรกับอริยสัจ ทั้ง ๔ นั้น แล้วก็ #กตญาณ เราได้กระทำบรรลุผลสำเร็จ คือ ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงแล้ว แค่ไหนเพียงไร นี่เป็นลำดับขั้นไป อย่างนั้น
    ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นเรื่องของการกระทำคุณความดีทั้งสิ้น และคุณความดีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส มีสภาวะที่เป็นธรรมชาติเครื่องกำจัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ หรือที่เรียกว่า เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจ ให้หมดสิ้นไป ให้จิตใจ และธาตุธรรมจากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดผ่องใสบริสุทธิ์ ผ่องใสบริสุทธิ์นั้น เพื่อจะได้เข้าถึงธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่บริสุทธิ์ ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เราเรียกว่า "พระรัตนตรัย" คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ซึ่งก็ใช่ว่าอะไรอื่น ก็คือ ธรรมกาย ที่สูงสุดขึ้นไป เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และพระนิพพาน นั้นเอง ขอให้เข้าใจอย่างนั้น ทีนี้การกระทำความดีทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ล้วนแต่จะประทับอยู่ในธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ (ใจ) หรืออีกนัยหนึ่ง สะสมแก่กล้าจากคุณความดี ขั้นหยาบ ๆ จนถึงขั้นละเอียด สูงขึ้นไปเรียกว่า “บุญ”

    บุญนี่ เห็นเป็นความดีชัด ๆ อย่างเช่น เราบริจาคทาน สละขาดไปจากใจ แบ่งปันความรู้ ความสามารถธรรมะ ปัจจัย ๔ เครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อื่น นี้เป็นทั้งอามิสทาน และธรรมทาน และประการสำคัญคือว่า ปฏิบัติตนเพื่อขจัดขัดเกลากิเลสออกจากใจตน #ดำรงตนดำเนินชีวิตตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมทาน ทั้งหมดนี้ เป็นธรรมชาติที่ชำระจิตใจ คือ ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ ยกภูมิธรรมของเราให้สูงขึ้นไป ตั้งแต่ความดีระดับหยาบ ๆ ไปจนถึงละเอียด จาก "บุญ" แก่กล้ามากเข้าเป็น "บารมี" จากบารมีแก่กล้ามากเข้าเป็น "อุปบารมี" จากอุปบารมีแก่กล้ามากเข้าเป็น "ปรมัตถบารมี"

    .................



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    หลวงพ่อสดสยบไสยเวท...วัวธนู, นะหน้าทอง, เล่นแร่แปรธาตุ

    พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นผู้มีอัธยาศัยรักในการศึกษามาก หลังจากบวชแล้ว ท่านก็เอาจริงเอาจังกับการศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ อีกทั้งยังแสวงหาความรู้แทบทุกแขนง กล่าวคือ วิชาไหนที่ใครว่าดี ท่านก็จะไปศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าจะเป็นวิชาแพทย์แผนโบราณ, วิชาโหราศาสตร์, วิชาวิทยาธร, ไสยเวท หรือแม้แต่วิชาเล่นแร่แปรธาตุ ทำทองแดงให้กลายเป็นทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำก็ทำได้ ซึ่งท่านบอกว่า สูตรของท่านเอามาจากพรหมโลก ที่หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวเช่นนี้ เนื่องจากครั้งหนึ่ง มีพระที่เล่นแร่แปรธาตุมาหาท่านแล้วเล่าว่า สมัยของปู่ของปู่ของปู่ ได้ลองเล่นแร่แปรธาตุมาแล้ว แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จสักที จึงสรุปเขียนใส่ไว้ในใบลานว่า “กูชื่อไอ้ทองแดง เท่าปีกริ้น ปีกยุง ยังไงกูก็ไม่เป็นทองคำ” หมายความว่า แม้ทองแดงปริมาณเพียงแค่ขนาดเท่าปีกของตัวริ้น หรือเท่าขนาดปีกของยุง ก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นทองคำได้ ไม่ว่าจะเอามาทำอย่างไร

    เมื่อได้รับฟังเช่นนี้ หลวงปู่วัดปากน้ำก็กล่าวว่า แต่สูตรของท่านนั้น นำมาจากพรหมโลก จากนั้นท่านก็ลองวิชาเล่นแร่แปรธาตุ เปลี่ยนทองแดงให้เป็นทองคำ ผลปรากฏว่าท่านสามารถทำได้จริงๆ จนโยมแผ้วและหลวงพ่อวัดลำพญา (สมัยนั้นเป็นเด็กวัด อายุเพียง 12 ปี) ดูแล้วก็พากันนั่งหัวเราะ หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวว่า “แผ้ว...เอ็งดูนะ หลวงพ่อทำได้แล้ว นี่ถ้าอยู่ทางโลกก็รวยทีเดียว” แต่เมื่อท่านทำได้แล้ว ท่านก็เลิก ทั้งนี้เพราะ ท่านต้องการเพียงพิสูจน์ว่าทำได้เท่านั้น
    สิ่งที่น่าทึ่งมากไปกว่านั้นก็คือ ไม่ว่าหลวงปู่วัดปากน้ำจะศึกษาวิชาใด ท่านก็สามารถไปถึงที่สุดของวิชานั้นได้ ไม่ว่าครูที่สอนท่านจะทำได้แบบไหน หลวงปู่วัดปากน้ำก็สามารถทำได้แบบนั้น แต่สุดท้ายเมื่อท่านค้นพบวิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นวิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็เลิกวิชาเหล่านั้นทั้งหมด

    หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวว่า “วิชาพวกนี้สู้วิชชาของพระพุทธเจ้าไม่ได้เลย เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า วิชาพวกนี้เป็นเดรัจฉานวิชา คือ เรียนแล้วยังติดข้องอยู่ในอบาย”
    หลวงพ่อวัดลำพญาได้เล่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับการแสดงฤทธิ์ทางด้านไสยเวทของหลวงปู่วัดปากน้ำไว้ว่า ในสมัยที่ตัวท่านเป็นเด็กวัด อายุ 12 ปี ท่านมีหน้าที่ช่วยหลวงปู่วัดปากน้ำรับแขก วันหนึ่งมีพระธุดงค์ห่มจีวรสีกรัก 3 รูป เดินออกมาจากป่า มาขอเรียนวิชาไสยเวทจากหลวงปู่วัดปากน้ำ และขอร้องให้ท่านแสดงวิชาให้ดู หลวงปู่วัดปากน้ำจึงปั้นตุ๊กตาดินเหนียว 2 ตัว วางไว้ห่างๆกัน สำหรับวิชานี้ตามปกติแล้ว เมื่อผู้เชี่ยวชาญในวิชาไสยเวททั่วๆไปปั้นตุ๊กตาดินเหนียวเสร็จ จะต้องท่องคาถาหรือเสกก่อนตุ๊กตาจึงจะขยับได้ แต่เมื่อหลวงปู่วัดปากน้ำปั้นตุ๊กตาเสร็จ ท่านก็แค่มองดูเฉยๆโดยไม่ต้องเสกไม่ต้องเป่า แต่จู่ๆตุ๊กตาดินเหนียวนั้นก็วิ่งพุ่งเข้ากันทันที แล้วหลวงปู่วัดปากน้ำก็แสดงวิธีทำ “วัวธนู” ให้ดู โดยเอาตอกจากโรงครัวมาจักสานเป็นวัวธนู ทันทีที่ทำเสร็จ วัวธนูนั้นก็ขยับทำท่าจะบินได้ หลวงปู่วัดปากน้ำบอกว่า ถ้าเป่าพรวดเดียวก็บินไปทันที

    จากนั้น หลวงปู่วัดปากน้ำก็แสดงการทำ “นะหน้าทอง” ซึ่งหลักการของวิชานี้ คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้แผ่นทองคำเปลวเข้าไปอยู่ในร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่ ผู้ที่มีวิชานี้จะเสกทองคำเปลวให้ไปอยู่ที่กระหม่อมและตามส่วนต่างๆของใบหน้า ซึ่งพอเสกเข้าไปแล้ว แผ่นทองคำเปลวนี้จะอยู่ในร่างกายไปจนกระทั่งตาย เชื่อกันว่าเป็นการทำให้มีเมตตามหานิยม กรรมวิธีก็คือ จะเอาแผ่นทองคำเปลวแปะลงบนใบหน้าของผู้ที่ต้องการจะทำซึ่งทาน้ำมันเอาไว้ จากนั้นก็จะร่ายมนต์ เสกคาถา คลึงจนแผ่นทองคำเปลวเข้าไปแปะอยู่ในกะโหลก แต่ถ้าผู้ที่มีอาคมแก่กล้ากว่านั้นหน่อย เวลาแปะแผ่นทองคำเปลวแล้วก็ไม่ต้องคลึง แค่เสกคาถา แผ่นทองคำเปลวก็หายแวบเข้าไปในกะโหลก แต่ถ้าเป็นพวกที่มีอาคมแก่กล้าในระดับสูงๆ ก็แค่เอาแผ่นทองคำเปลวที่ยังไม่ได้นำกระดาษหุ้มออก วางไว้ที่มือตามจำนวนที่ต้องการ แล้วเสกคาถา เป่าพ่วงเดียว แผ่นทองคำเปลวทั้งหมดก็จะเข้าไปในร่างกายทันที หรือถ้าเป็นพวกที่อาคมแก่กล้าระดับแนวหน้า พวกนี้จะสามารถเสกแผ่นทองคำเปลวให้เข้าไปติดที่กระหม่อมของทารกในครรภ์มารดาได้เลย เมื่อเด็กคลอดออกมาก็จะมีทองติดกะโหลกมาตั้งแต่เกิด และจะติดไปจนตาย เวลาเอาศพไปเผา กะโหลกก็จะไม่ไหม้ แต่กลับเป็นสีทองผ่องอำพันอย่างน่าอัศจรรย์

    แต่สำหรับการทำนะหน้าทองของหลวงปู่วัดปากน้ำนั้น ไม่ต้องใช้แผ่นทองคำเปลวเลยสักแผ่น ท่านให้หลวงพ่อวัดลำพญา (ในสมัยนั้นยังเป็นเด็กวัด) ไปเอาผ้าอาบน้ำฝนที่ตากไว้ที่ราวมาให้ จากนั้นท่านก็เอาผ้าอาบน้ำฝนลูบขึ้นไปบนใบหน้าของท่าน พอเอาผ้าออก ปรากฏว่าหน้าของหลวงปู่วัดปากน้ำกลายเป็นทองคำ สุกปลั่งไปทั้งใบหน้า และเมื่อท่านเอาผ้าลูบลง หน้าทองนั้นก็หายไป เมื่อพระธุดงค์ทั้ง 3 รูปเห็นหลวงปู่วัดปากน้ำสามารถทำนะน้าทองได้โดยไม่ต้องใช้แผ่นทองคำเปลวเหมือนบรรดาผู้มีวิชาไสยเวทคนอื่นๆ ก็พากันตกตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ รีบก้มลงกราบหลวงปู่วัดปากน้ำกันยกใหญ่เพื่อขอเรียนวิชา แต่หลวงปู่วัดปากน้ำไม่สอนให้ ท่านกล่าวว่า “อย่าเลย...เรียนแล้วมันไปเพิ่มกิเลส ไม่ใช่วิชชาของพระพุทธเจ้า เรียนแล้วก็ไปนิพพานไม่ได้ แต่สัมมาอะระหัง นี่สิ เป็นทางมรรคผล เพราะไปนิพพานได้”

    อ้างอิง: อานุภาพหลวงปู่...ยุคต้นวิชชา


    2_1_-1-jpg.jpg



    ********************************************


     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    นิยายธรรมะเรื่อง “เส้นทางนักบวช” โดย หลวงตาอู๋
    ตอนที่ 10 เทคนิคใหม่ในการกำหนดศูนย์กลางกาย

    คนที่มาทำบุญที่วัดส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้หญิง ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร หลวงตาแก้วเคยนั่งสังเกตุดูว่าคนที่มาทำบุญนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณว่าเป็นผู้หญิง 3 ส่วน เป็นผู้ชายเพียง 1 ส่วนเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทำไมบนสวรรค์ถึงได้มีเทพธิดานางฟ้ามากกว่าเทวดาเทพบุตรหลายเท่า สงสัยว่าผู้ชายจะไปอยู่ในนรกกันซะเป็นส่วนใหญ่

    ตอนนี้สามเณรวันปีก็ได้มาอยู่ในความดูแลของหลวงตาแก้ว สามเณรก็เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มแถมยังมีรูปร่างหน้าตาหล่อเหลาเสียด้วย หลวงตาแก้วจึงต้องหมั่นเฝ้าดูพฤติกรรมของหลานรักและก็ต้องคอยกันท่าสาวๆ ที่จะเข้ามาพูดคุยสร้างความสนิทสนม เพราะในวัดคนที่มาทำบุญส่วนใหญ่ก็เป็นสาวๆ ทั้งนั้น ในพระไตรปิฎกที่ท่านพระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าเมื่อต้องเจอกับผู้หญิงเราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านได้วางแนวทางไว้ว่า 1.ไม่เห็นสตรีได้เป็นการดี 2.ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย 3.ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วย ก็ต้องพูดอย่างมีสติคอยระมัดระวัง ดูๆ ไปแล้วผู้หญิงนี่ก็คือศัตรูหมายเลขหนึ่งของทั้งพระและเณรเลยทีเดียว

    ในตอนนี้ทั้งหลวงตาแก้วและสามเณรวันปีต่างก็พอจะเห็นดวงแก้วกันแล้ว รอแต่ว่าใครจะได้เห็นดวงธรรมก่อนกันเท่านั้น หลังจากที่สามเณรวันปีได้ดวงแก้วแล้วประมาณ 7 วัน ก็เริ่มสงสัยว่าจะมีวิธีใดที่เราจะกำหนดจุดศูนย์กลางกายให้ได้เร็วขึ้น เพราะเมื่อเห็นดวงแก้วแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าดวงแก้วนั้นจะอยู่ที่จุดศูนย์กลางกายหรือไม่ หรือว่าดวงแก้วมันจะลอยออกไปอยู่นอกตัวข้างหน้า เพราะเมื่อหลับตาลงไปแล้วก็ไม่อาจจะคาดคะเนได้ว่าตรงไหนคือตรงไหน ความไม่แน่ใจนี้แหละที่เป็นตัวทำให้สมาธิไม่ก้าวหน้า เหมือนที่ทางพระเขาเรียกว่าวิจิกิจฉาคือความลังเลสงสัยนั่นเอง

    สามเณรวันปี: หลวงตาครับ นอกจากวิธีที่หลวงตาเคยสอนผมแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่ง่ายกว่านั้นไหมครับ
    หลวงตาแก้ว: มันก็พอมีนะ เป็นวิธีใหม่ที่หลวงตายังไม่เคยบอกใครมาก่อนแต่ก็เป็นวิธีที่หลวงตากำลังใช้อยู่ มันได้ผลดีทีเดียวแหละ
    สามเณรวันปี: เอาวิธีที่ง่ายๆ นะครับ
    หลวงตาแก้ว: แน่นอนซิลูกเณร มันง่ายและได้ผลดีทีเดียว คือตอนที่เราเพ่งมองลูกแก้ว ปกติเมื่อเราจำได้แล้วเราก็จะหลับตาลงใช่ไหมทำให้เราคาดคะเนตำแหน่งกลางท้องได้ยาก ดังนั้นเราก็อย่าเพิ่งรีบหลับตาให้เราเพียงแค่หรี่ตาลงเท่านั้น คือจะหลับก็ไม่หลับจะลืมตาก็ไม่ลืมตาซะทีเดียว เราจึงพอจะเห็นตัวเรารางๆ แล้วเราก็นึกเอาลูกแก้วเข้าไปตั้งไว้อยู่ที่ในท้องไง รอจนเรามั่นใจว่าสามารถจดจำจุดกลางท้องได้แล้วจึงค่อยๆ หลับตาลง พอมันเคลื่อนไปก็หรี่ตาทำใหม่
    สามเณรวันปี: ฟังดูแล้วมันก็ไม่ยากนะครับหลวงตา ผมเองก็เคยรู้สึกว่าก่อนที่จะหลับตาลงมันกำหนดจุดศูนย์กลางกายได้ง่ายกว่าตอนหลับตาจริงๆ ครับ เดี๋ยวผมจะลองเอาเทคนิคใหม่นี้ไปทดลองใช้ดูครับ
    หลวงตาแก้ว: แต่เทคนิคนี้จะใช้ได้ผลสิ่งแรกก็คือเราต้องตั้งกายให้ตรง แล้วก็อย่าก้มหน้า ให้ตั้งคอให้ตรงแบบจะแหงนหน้าเล็กน้อยก็ได้ เพื่อช่วยให้ใจของเราไม่ออกไปอยู่นอกตัวนะลูกเณร

    แต่เดิมหลวงตาแก้วก็ยังไม่อยากบอกเทคนิคนี้แก่สามเณรวันปี เพราะตั้งใจว่าจะเก็บเอาไว้เป็นความลับเพื่อเอาไว้ใช้เองโดยจะพยายามนั่งให้เห็นดวงธรรมก่อนสามเณรวันปีให้ได้ เหมือนกับการแข่งขันที่ใครๆ ก็อยากจะเป็นฝ่ายชนะ แต่เมื่อลูกเณรถามมาก็อดที่จะบอกไม่ได้เพราะด้วยความรักและความเอ็นดูที่มีต่อหลานรักผู้นี้ เมื่อสามเณรวันปีได้เทคนิคใหม่นี้ไปแล้วก็มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติอย่างเต็มที่ ไม่ต้องรอให้หลวงตาคอยเตือนคอยบอกอีกเลย.....

    ปล. หลวงตาแก้วไม่ใช่หลวงตาอู๋นะครับเป็นคนละคนกันอยู่กันคนละประเทศ อายุและรูปร่างหน้าตาก็ไม่เหมือนกัน นิยายเรื่องนี้สมมติแต่งขึ้นมาเอง ตัวละครทุกตัวและสถานที่ต่างๆ ไม่มีตัวตนอยู่จริงและไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัดใดๆ หรือพระภิกษุองค์ไหนในประเทศไทยเลย เป็นเพียงการจินตนาการขึ้นมาและผูกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศทิเบติราชให้อ่านกันเพื่อความบันเทิง โดยมีการแทรกข้อคิดและความรู้ทางธรรมะไว้ ผู้แต่งจะค่อยๆ ทยอยเขียนเรื่องตอนต่างๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อนำท่านผู้อ่านให้ร่วมเดินทางและมีประสบการณ์ไปพร้อมกันบน “เส้นทางนักบวช” นี้
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19665590_712557088945466_2531027357708491209_n.jpg

    พระธรรมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    เทศนาธรรม เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๙๘

    ***คัดลอกบางส่วน
    เนื้อความเต็มสามารถอ่านได้ตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ...........
    เริ่มต้นแห่งปฐมเทศนาว่า เอวมฺเม สุตํ นี่เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เอามากล่าวปฏิญาณตน เพื่อให้พ้นจากความเป็นสัพพัญญูว่าตัวไม่ได้รู้เอง เพราะได้ยินได้ฟังมาจากสำนักของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้
    เอกํ สมยํ ในสมัย ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงประทับสำราญอิริยาบถ ณ สำนักมิคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ครั้งนั้นพระองค์ทรงรับสั่งหาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ มารับสั่งว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค การประกอบตน ให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ใด หีโน เป็นของต่ำทราม คมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้าน เรือน โปถุชฺชนิโก เป็นคนมีกิเลสหนา อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ อนตฺถสญฺหิโต ไม่เป็นประโยชน์ นี่คืออย่างหนึ่ง โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต การประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่านี้ใด กลับเป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบด้วย ไม่ไปจาก ข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง เป็น ๒ อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค นี่เป็นตัวกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทีเดียว

    เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ซึ่งที่สุดทั้ง ๒ อย่างนี้นั้น อัน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง และทำความเห็นให้เป็นปกติ เรียกว่า จกฺขุกรณี ญาณกรณี ย่อมเป็นไปพร้อม อุปสมาย เพื่อความเข้าไปสงบระงับ อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม นิพฺพานาย เพื่อความดับสนิท กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้นที่พระตถาคต เจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค หนทางมีองค์ ๘ ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ เสยฺยถีทํ คือ สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ สมฺมาสติ ระลึกชอบ สมฺมาสมาธิ ตั้งใจชอบ นี่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำความเห็นให้เป็นปกติ กระทำความรู้ให้เป็น ปกติ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อมเพื่อพระนิพพาน

    นี้หลักประธานปฐมเทศนา ทรงรับสั่งใจความพระพุทธศาสนาบอกพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ โดยตรง ๆ ไม่มีวกไปทางใดทางหนึ่งเลย บอกตรง ๆ ทีเดียว แต่ว่าผู้ฟังพอเป็นนิสัยใจคอ เป็นฝ่าย ขิปฺปาภิญฺญา เท่านี้ก็เข้าใจแล้วว่าธรรมของพระศาสดานี้ลึกจริง ถ้าว่าไม่เป็น ขิปฺปาภิญฺญา เป็น ทนฺธาภิญฺญา จะต้องชี้แจงแสดงขยายออกไปอีก จึงจะเข้าใจปฐมเทศนา พระองค์ทรงรับสั่งบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ว่าที่สุดทั้ง ๒ อย่างนั่นนั้น อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด ๒ อย่างน่ะอะไร

    เอาใจไปจรดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ที่ชอบใจนั้นแหละ หรือ ยินดีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้นแล ตัวกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าว่าเอาไปจรดรูปนั้นเข้าแล้ว จะเป็นอย่างไร ทุกฺโข เป็นทุกข์แก่ผู้เอาใจไปจรดนั้น หีโน ถ้าเอาใจไปจรดเข้ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้น ใจต่ำ ไม่สูง ใจต่ำทีเดียว ใจมืดทีเดียว ไม่สว่างเพราะเอาไปจรดกับ อ้ายที่ชอบใจ ที่มัวซัวเช่นนั้น ถ้าไปจรดที่มืดมันก็แสวงหาที่มืดทีเดียว ไม่ไปทางสว่างละ นั่นน่ะจับตัวได้ เอาใจเข้าจรดกับรูป เสียง กลิ่น สัมผัส ที่ชอบใจ ชวนไปทางมืดเสียแล้ว ไม่ชวนไปทางสว่าง ปิดทางสว่างเสียแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านจึงได้ยืนยัน หีโน ต่ำทราม ไม่ไปทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไปทางโลก ไปทางปุถุชนคนพาลเสียแล้ว หีโน ต่ำทราม ลงไปอย่างนี้ คมฺโม ถ้าไปจรดมันเข้าไม่สะดวก ทำให้ต้องปลูกบ้านปลูกเรือนให้เหมาะเจาะ มีฝารอบขอบชิดให้ดีจึงจะสมความปรารถนานั้น ไปเสียทางโน้นอีกแล้ว นั้นใจมันชักชวน เสียไปทางนั้นแล้วนั้น โปถุชฺชนิโก ก็หมักหมมสั่งสมกิเลสให้หนาขึ้นทุกที ไม่บางสักทีหนึ่ง นั่นแหละรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เข้ามา ๆ ๆ เป็นตึกร้านบ้านเรือนกันยกใหญ่เชียวคราวนี้ แน่นหนากันยกใหญ่เชียว อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่หลุดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่หลุดจากความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่นั่นเอง พระองค์ทรงรับสั่ง ว่า นี่ๆ พวกนี้ กามสุขัลลิกานุโยค ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไปไม่ได้ทีเดียว อนตฺถสญฺหิโต แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ไม่มีประโยชน์เลย ถามคนแก่ดูก็ได้ที่ครอบครองเรือนมาแล้ว ที่ติดอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาแล้ว ติดจนกระทั่งถึงแก่เฒ่าชรา ไปถามเถอะ ร้อยคนพันคน มายืนยัน บอกตรงทุกคน ทำไมจึงบอกตรงล่ะ แกวางก้ามเสียแล้วนะ บอกตรงซิ ถ้ายังไม่วาง ก้าม ยังกระมิดกระเมี้ยนอยู่ ยังจะนิยมชมชื่นอยู่ นั่นพระองค์ทรงรับสั่งว่า กามสุขัลลิกานุโยค ไม่มีประโยชน์อะไร อย่าเข้าไปติด ถ้าเข้าไปติดแล้วไปไม่ได้

    .........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19702345_714330998768075_5551170469512987833_n.jpg

    เรื่อง "วิธีปฏิบัติธรรมให้เกิดสมาธิ และผลดีของสมาธิ"
    ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๓๑ หน้า ๒๕-๒๗

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    เจริญพร ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมทุกท่าน
    วันนี้จะได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเจริญภาวนาสมาธิ ในเบื้องต้นพึงทราบเสียก่อนว่า การเจริญภาวนานี้ เป็นกิจทางใจ โดยอาศัยสติสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัวพร้อม ก่อนและขณะปฏิบัติ ว่าปฏิบัติภาวนาเพื่ออะไร

    คำว่า "ใจ" นี้ประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง คือ ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เพราะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบเข้ากับอารมณ์ที่ถูกใจ หรือไม่ถูกใจ ธรรมชาติส่วนนี้เรียกว่า "เวทนา" จริงแล้วเป็นดวงกลมใส ธรรมชาตินี้มีธาตุเห็น เป็นธาตุละเอียดอยู่ตรงกลาง หลวงพ่อท่านก็เลยเรียกตามธาตุละเอียดที่ซ้อนอยู่ตรงกลาง หรือเป็นต้นของดวงเวทนา ท่านเรียกว่า "ดวงเห็น" เพราะว่าอันนี้เป็นต้นของความเห็นด้วยใจ ซึ่งกลางดวงเห็นเป็นดวงคิด คิดจะทำหน้าที่นึกไปโน่นนี่ ใจจะสอดแทรกไปได้ทุกแห่ง หลวงพ่อท่านว่า ถ้าใจละเอียดก็สอดไปรู้เห็น ในสิ่งที่ละเอียดได้ ใจหยาบก็เห็นได้แต่ส่วนหยาบ ใจรู้กว้างก็เห็นได้กว้าง รู้แคบก็เห็นได้แคบ สังขารเป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบชัง
    จาก "ดวงเห็น" ก่อน จะถึง "ดวงคิด" หรือจิตที่น้อมไปสู่อารมณ์ จะอยู่ตรงกลางระหว่างนั้น เป็นดวงใสเหมือนกัน เรียกว่า "ดวงจำ" ถ้าดวงเห็นไปเห็น และคิดไป เห็นแล้วก็จำได้ว่าเป็นอะไร ก็จะประทับอยู่ในใจ ซึ่งสำคัญนัก ทั้งเห็น จำ และคิด แล้วรับรู้
    ดวงที่ ๔ หรือธรรมชาติดวงที่ ๔ คือ "ดวงรู้" รู้ว่าเป็นอะไร เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้ เป็นธรรมชาติของใจ หรือเรียกว่า "นามธรรม" ส่วนกาย เป็น "รูปธรรม"

    สัตว์ที่มีชีวิตและมีใจ คือ เห็น จำ คิด รู้ แต่บางทีท่านเรียกว่า มีแต่วิญญาณ แต่ความจริงวิญญาณก็เป็นธรรมชาติที่สุดละเอียด ซึ่งมีเห็น จำ คิด รู้ ซ้อนอยู่นั่นเอง นามธรรม และรูปธรรมนี้ หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า "นามรูป" ในทางพระบางทีเรียก "ขันธ์ ๕" แปลว่า กองหรือส่วน หรือภาค ส่วนรูปก็เรียก "รูปขันธ์"
    ส่วน "นามขันธ์" แยกออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนที่เสวยอารมณ์ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ ไม่สุข เรียกว่า เวทนาขันธ์
    ส่วนที่จดจำอารมณ์ เรียกว่า สัญญาขันธ์
    ส่วนที่น้อมไปสู่อารมณ์ เรียกว่า จิต หรือสังขารขันธ์
    ส่วนรู้ เรียกว่า วิญญาณขันธ์

    เห็น จำ คิด รู้ หรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อีก ๔ ขันธ์ ๔ กอง รวมเป็น ๕ ขันธ์ แต่ขันธ์แรกเป็น#รูปขันธ์ เป็นส่วนหยาบ เห็นได้ง่าย แตะต้องได้ง่าย และสัมผัสได้ แต่นามขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ อย่าง ที่รวมเรียกว่า "ใจ" สำคัญหมดทุกขันธ์ แต่ขันธ์ที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ สัมผัสทุกเรื่อง ไม่ว่าโดยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า วิญญาณธาตุ หรือ วิญญาณขันธ์ เป็นตัวสุดท้ายที่รับรู้

    ในการทำสมาธิ มีวัตถุประสงค์ก็คือ #พยายามทำใจให้หยุดให้นิ่ง ไม่เนื่อง ไม่เชื่อม ไม่สัมผัสอยู่ด้วยแม้แต่กาย ที่ทำเช่นนั้นก็เพราะเหตุว่า ใจนั้น ถ้าเนื่องด้วยกายมากเพียงใด ภาษาพระเรียกว่า "อุปาทาน" เป็นความยึด เห็น จำ คิด รู้ #เป็นตัวยึดเพราะขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด แล้วเจริญเติบโตเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ ยึดเรา เขา ของเรา ของเขา ทำให้เกิดตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขานั้น เมื่อยึดแล้วใจก็จะออกไปรับอารมณ์ ไปสร้างอารมณ์ภายนอก กิเลสเป็นอีกธรรมชาติหนึ่งเกิดพร้อมกับอกุศลจิตที่ไม่ดี จะพลอยเกิดมาเรื่อย ๆ กิเลสนี้ มาจากการทำบ่อย ๆ เข้าเป็นอนุสัยนอนเนื่องในจิตสันดาน เป็นธาตุละเอียดอยู่ที่สุดละเอียด คอยฟุ้งขึ้นมาเรื่อย กิเลสนี้ถ้าใจอยู่นิ่ง ๆ จะฟุ้งไม่ได้ มันฟุ้งมาได้เมื่อเผลอ
    ใจของเราออกไปรับอารมณ์ข้างนอก แล้วสร้างอารมณ์ภายนอก พร้อมกันนั้นก็ยึดมั่น ถือมั่นในตัวเราบ้าง ตัวเขาบ้าง เกิดรัก โกรธ เกลียด ชอบชัง ความคิดอ่านเป็นไปตามอารมณ์ เป็นไปตามกิเลสที่ขึ้นมากับใจด้วย เป็นหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ทำให้คิดผิด เห็นผิด รู้ผิด ทำผิด เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าคิดถูก เห็นถูก รู้ถูก ตามธรรมของพระพุทธเจ้า จะปฏิบัติไปในทางที่ดีที่ถูกต้อง ให้เกิดความสุข ความเจริญ

    แต่ใจนั้นมีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง ชอบเลื้อยลงต่ำ เหมือนไส้เดือน วางอยู่บนพาน บนหิ้งสูงเพียงไร เลื้อยลงทุกที ธรรมชาติของใจ ของสัตว์โลกก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน มีแนวโน้มที่จะไปสู่กามคุณ คือ ความยินดี พอใจ ยึดติดในรูปเสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่เคยกระทำติดอกติดใจ มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เมื่อเห็นที่ถูกใจ ก็ถูกใจติดเข้ามากไปอีก นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เกิดตัณหาอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เกิดภพเกิดชาติ ภพจะเกิดที่ไหน ภพเกิดที่ธาตุธรรมที่สุดละเอียดที่ศูนย์กลางของเรานั้น เรียกว่า "ภพเป็น" เกิดตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม หรืออีกอย่างหนึ่ง คือ เกิดทันที เมื่อใจชั่ว ปากชั่ว ทำชั่ว ระดับจิตตกทันที ด้วยอำนาจบาปอกุศล ตัณหา อุปาทาน ภพชาติเกิดทันที อยู่ตรงกลางกายนั้นเอง เรียกว่าภพเป็น เป็นทุคติไปทันที กายในกาย ณ ภายในขุ่นมัว เศร้าหมอง ธาตุธรรมตรงกลางอันเป็นที่รองรับ เรียกว่า ภพเป็นของกายละเอียดนั้น ก็เป็นทุคติไปแล้วทันที รอว่ากายเนื้อแตกสลายเมื่อใด จะทำหน้าที่ทันที ไปเกิดในทุคติภูมิตามส่วน
    แต่ถ้าทำดี ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของเดิมที่ไม่ดี ก็ดับตกศูนย์ ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ที่ใสสะอาดใหม่จะลอยเด่นขึ้นมา พร้อมกับภายในกาย ธรรมในธรรม ภพเป็นจะเป็นสุคติภพ เกิดดับ เกิดดับ ตรงนี้เรียกว่าภพเป็น
    ภพเป็นนี้ ถ้าประทับสิ่งไม่ดีไว้มาก ก่อนตายก็จะแสดงให้เห็น จิตก็เกาะทันที

    .............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    19748820_715334578667717_3675187947817254307_n.jpg






    จากหนังสือ นิตยสารธรรมกาย
    เรื่อง "วิธีปฏิบัติธรรมให้เกิดสมาธิ และผลดีของสมาธิ"
    ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๓๑ หน้า ๒๘-๒๙

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    .......

    มีข้อควรเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า วัตถุประสงค์ของสมาธิ ต้องการให้ใจหยุด ไม่เนื่องด้วยกายเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นการฝึกให้เกิดความรู้สึกสัมผัสที่เป็นความเยือกเย็น ความสันติสุข

    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ #สุขอื่นยิ่งกว่าใจสงบนิ่งไม่มี

    เมื่อสัมผัสแล้วเราทำบ่อย ๆ เนื่อง ๆ เข้า กิเลสก็ไม่เข้ามา เป็นเหตุผลข้อที่ ๒ กิเลสไม่เข้ามาบ่อยเข้าต้องเพิ่มสติสัมปชัญญะ เฝ้าดูใจของเรามีกิเลสหรือไม่
    ดังนั้นอาตมาจึงเน้นอยู่เสมอว่า การมาปฏิบัติธรรม ไม่ใช่มานั่งหลับตาเฉยๆ ต้องรู้เรื่องและมาปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลส ไม่ใช่มาปฏิบัติธรรมแลัวกลับไปบ้านกลับยิ่งยุ่ง มีอะไรนิดหน่อยก็เป็นปัญหามากมาย ทำให้คนเขาว่าเอาได้ว่า ไปเพียงนั่งหลับตา มาปฏิบัติธรรมแล้วต้องทำใจเราให้ดีสงบหยุดนิ่ง เพื่อสมาชิกในครัวเรือนจะได้เห็นดีด้วยแล้วมาปฏิบัติธรรมบ้างก็จะเป็นการให้ธรรมเป็นทาน

    การปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ก็เพื่อกำจัดกิเลสให้ใจสงบ เป็นแต่ความดี บุญกุศล ซึ่งเมื่อดีแล้วในครอบครัว และวงงานก็จะดีก่อนอื่น เมื่อเราดีแล้ว คนอื่นไม่ดีก็เป็นกรรมของเขา ก็แผ่เมตตาให้เขาไป ขออย่าให้เขาได้พบสิ่งเดือดร้อน เมื่อเขามากระทบเรา ก็ตั้งจิตแผ่กรุณาพรหมวิหารให้เขา หรือเมื่อเห็นเขามีความสุข หรืออยากให้เขามีความสุข ก็แผ่ให้เขามีความสุข ความเจริญ การทำอย่างนี้ ก็จะทำให้ใจสงบมากเข้าๆ เมื่อมีใครมากระทบเราเข้าก็เหมือนเอากำปั้นไปกระแทกหินหรือกำแพงไปเอง

    โดยสรุปก็คือ นั่งเจริญภาวนา พึงมีสติรู้ว่านั่งเพื่อละกิเลส แล้วต้องกำหนดใจเราอย่าไปยึดติด แม้แต่ตัวเอง ปล่อยวางใจให้หมด เมื่อวางใจได้นามขันธ์ก็ขาดจากกายหรือรูปขันธ์ และถ้าวางใจกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมได้ ดวงะรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ซึ่งมีใจที่ใส สะอาด บริสุทธิ์ซ้อนอยู่ก็จะลอยปลั่งมาให้เห็นเอง เมื่อบุญเต็มที่บางทีเดินๆ ก็เห็นได้ เมื่อรู้วัตถุประสงค์การปฏิบัติธรรมแล้ว ให้ดีตลอด วางให้ตลอด มีหน้าที่อะไรทำตามหน้าที่ของตัวให้เต็มความสามารถแต่วางคือการวางอารมณ์ ไม่ยินดียินร้าย เราทำดีที่สุดก็แล้วพอ อย่านึกห่วงกังวลมากเกินไป มีปัญหาทางใดก็แก้ปัญหา การไม่ยึดติดฝึกบ่อยๆ แล้วจะสบาย สิ่งเหล่านี้แหละคือ ผลของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องซึ่งจะนำความสันติสุขมาให้

    กระทู้อื่นที่เกี่ยวเนื่องตามลิ้งก์
    https://www.facebook.com/RakangdhamDhammakaya/posts/714330998768075:0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เรื่อง "วัตถุประสงค์ การเจริญมหาสติปัฏฐานสี่"
    ธรรมบรรยายถวายพระสงฆ์ที่รับการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ ๙
    เมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๘
    ในสมัยที่เป็น อาจารย์มงคลบุตร (เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์)

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    ...........

    ความสงบระงับนี้ เป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นของหลักการเจริญมหาสติปัฏฐานสี่ ธรรมปฏิบัติเพื่อความสงบดังกล่าวนี้ ก็คือการมีศีลสังวร หรือสีลานุสสติ พิจารณาความบริสุทธิ์ ความสมบูรณ์ของศีล ที่รักษามิให้ด่างพร้อย ทางกาย วาจา ซึ่งจะมีผลต่อความบริสุทธิ์ใจ เจตนา ความคิดอ่านทั้งหลาย นี่เป็นบาทเบื้องต้น
    เมื่อกาย วาจา และใจ ค่อยสงบลงแล้ว ก็อบรมใจด้วยสมาธิภาวนา ทำใจให้หยุดนิ่ง เป็นเอกัคคตารมณ์ ยกระดับจิตขึ้นสู่อารมณ์วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ เพราะวิตก วิจาร ความตรึกตรองประคองนิมิตใสอยู่เสมอนั้น เป็นธรรม เครื่องปหานถีนมิทธะ และวิจิกิจฉา สังเกตดูเถิดครับ พระสงฆ์ สามเณรรูปใด ตรึกนึกเห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางดวงแก้วกลมใสนั้น ให้เห็นใสสว่างอยู่ได้ ความง่วงเหงาซึมเซาจะหมดไป จิตใจจะใสสว่างกระปรี้กระเปร่า และความลังเลสงสัยในเบื้องต้นที่ว่า "นี้เป็นทางทำให้สงบระงับทุกข์ได้ จริงไหม?" นั้นหมดไป เบื้องต้นหมดไปเลย ขอให้เห็นใสแจ่ม ความสุขจะเกิด นี่เป็นอย่างนี้นะครับ
    ทีนี้เมื่ออารมณ์วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตเป็นผลให้เห็นดวงธรรมใสละเอียดอยู่อย่างนั้น ความโกรธ ความพยาบาทใด ไม่มี ให้สังเกตให้เห็นอีกข้อหนึ่งว่า ผู้มีธรรม มีธรรมอันนี้ไม่ใช่ธรรมเฉพาะที่พูด ต้องทำที่ใจ ถึงธรรมที่ใจ ความพยาบาทไม่มี ไม่มีครับ
    ถ้าหากเมื่อใดความพยาบาทแสดงออกมา แสดงว่าจิตท่านไม่เป็นสมาธิ ไม่ถึงธรรมที่ควรถึง ความพยาบาทจะเกิด แต่ถ้าธรรมมีอยู่ ความพยาบาทจะหมดไป และไม่แต่เพียงเท่านั้น ความฟุ้งซ่านแห่งจิตใจ วิตกกังวลใด ๆ ก็หมดไป เป็นการละความวิตกกังวล ความยึดติดในอารมณ์ภายนอกได้มาก ความสบายอกสบายใจ ใจก็จดจ่อนิ่งอยู่ ไม่ไปไหน มีผลให้จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ก็ให้สังเกตอีกข้อหนึ่ง ดังกระผมได้เรียนไปเมื่อสักครู่นี้ เมื่อจิตประสบกับความใสละเอียดโปร่งเบา ประการแรก ตื่นเต้ยินดีนี้คือปีติ อารมณ์ปีติเกิดซึ่งเป็นธรรมเครื่องกำจัดพยาบาท เมื่อจิตละเอียดหนักเข้ากลางของกลาง หยุดนิ่งละเอียดหนักเข้า อารมณ์สุขจะเกิด จิตก็รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันยิ่งขึ้น ความฟุ้งซ่านก็หมดไป หยุดในหยุด กลางของหยุดจนจิตเป็นอุเบกขานิ่งอยู่ นิ่งอยู่ที่กลางของกลางดวง จิตก็ไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอก ถ้าใสละเอียดชัดเจนละก็ ท่านนิ่ง ไม่เกาะ ไม่เมือยละ ข้าวก็ไม่หิว มีหลายท่านมาปรารภกับกระผม นั่นท่านเดินทางถูกแล้ว เดินทางถูกแล้ว ท่านบอกว่าเห็นดวงใสแจ่มอยู่แล้ว ฉันข้าวมื้อเดียวสบาย ไม่หิว เสมือนหนึ่งว่าไม่ฉันเลยก็ได้ มีธรรมเป็นปีติ เป็นสุขอยู่ครับ ใสละเอียดอยู่ ความยึดติด อย่างท่านที่เคยติดบุหรี่ ท่านที่เคยหิวกระหาย อยากโน่น อยากนี่ เจริญภาวนาให้เป็นเอกัคคตารมณ์ไว้เรื่อย การละสิ่งที่ยึดติดนั้นเป็นไปโดยง่าย เป็นไปโดยง่ายครับ นี่เป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้น เพื่อให้ใจใสสะอาดบริสุทธิ์นะครับ ของการเจริญมหาสติปัฏฐานสี่

    .........
    20031990_719439908257184_3040165070503873232_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    พระธรรมเทศนา “อาทิตตปริยายสูตร"
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    เทศนา เมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๙๖

    ***คัดลอกบางส่วน

    เนื้อความเต็มสามารถอ่านได้ตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/อาทิตตปริยายสูตร

    .......

    เพราะฉะนั้นเราได้ฟังอาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยของร้อนในเวลาวันนี้ เป็นธรรมอันพระองค์ใช้ดับของร้อน ของร้อนต้องดับของร้อนมันจึงจะถูกเงื่อนถูกสายกัน ดับของร้อนได้อย่างไร ความร้อนน่ะ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ ดังนี้เป็นผล

    ร้อนด้วยไฟคือราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูปบ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะ ทั้ง ๖ นั้น ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่าย ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในความรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊ก ใสเหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว

    .........




    20106453_719950844872757_4020937517199827632_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เรื่อง "ปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส และระงับเวรภัย"

    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคลโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    ......

    อาตมาได้พบพระพุทธพจน์ว่าด้วย #เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ซึ่งเป็นเรื่องเก่าที่เราได้ยินได้ฟังมาตลอด แล้วก็พูดกันง่าย เข้าใจไม่ยาก แต่ว่า อาตมาประทับใจในพระพุทธพจน์นี้ ก็คือในส่วนที่ว่า#เราจะละเวรอย่างไร เวรมันเกิดขึ้นได้หลายอย่างแต่เวรที่เรารู้จักโดยทั่วไป มันเกิดได้จากการจองเวร เพราะประทุษร้ายกัน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี และเป็นไปด้วยใจ จนถึงประทุษร้ายกันได้
    การประทุษร้ายกันด้วยกาย ด้วยวาจา ซึ่งเป็นไปด้วยใจ คือ เจตนาความคิดอ่านที่จะประทุษร้ายกัน ด้วยประการใดก็ดี ถ้าว่าไม่รู้จักละเวรภัยอันนี้แล้วก็ มันผูกต่อเนื่องกันไปนุงนังเลยทีเดียว มีเรื่องในพระธรรมบทว่า

    พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงเรื่องเวรของภรรยาน้อย ภรรยาหลวง ว่าภรรยาหลวงนั้น ความที่ตนเองเป็นหมันไม่มีลูก ก็พยายามไปหาภรรยาน้อยมาให้ เพื่อสามีจะได้ไม่ทอดทิ้งตน เมื่อได้ภรรยาน้อยมาแล้ว ก็ตีสนิทชิดเชื้อ เสมือนหนึ่งรักใคร่กันดี จนกระทั่งภรรยาน้อยตายใจ จึงยอมมีลูก และด้วยความอิจฉาของภรรยาหลวงกลัวว่า เมื่อภรรยาน้อยมีลูกแล้ว ทรัพย์สมบัติ ก็จะตกเป็นของภรรยาน้อย และลูก ส่วนตนเองจะต้องกลับเป็นผู้รับใช้ และปรนนิบัติภรรยาน้อยและลูกนั้น
    เมื่อความอิจฉาเกิดขึ้น จึงหาทางที่จะกำจัดลูกที่จะเกิดขึ้น ด้วยการวางยาพิษให้ภรรยาน้อยแท้งลูก ครั้งแล้วครั้งเล่า จนครั้งสุดท้ายภรรยาน้อยจะถึงซึ่งความตาย แต่ก็มารู้สึกตัวทีหลังว่า ที่ภรรยาหลวงมาสนิทชิดเชื้อนั้น เป็นเพียงกลอุบายเท่านั้น จึงผูกใจเจ็บต่อภรรยาหลวง ก็มีเวรต่อกัน
    เมื่อตายไปแล้ว ฝ่ายภรรยาน้อยก็ไปเกิดเป็นแมว ภรรยาหลวงไปเกิดเป็นไก่ พอไก่ออกไข่มา แมวก็กินไข่หมดด้วยเวรนั้น ไก่ก็ผูกเวรอีก เมื่อตายไปไก่ก็ไปเกิดเป็นเสือเหลือง ส่วนแมวก็กลับไปเกิดเป็นนางเนื้อ คือเก้ง เสือเหลืองก็กินเก้งอีก ก็ผูกเวรกันต่อไปอีก สุดท้ายตายไป ฝ่ายเก้งก็ไปเกิดเป็นนางยักษินี ส่วนเสือเหลืองไปเกิดเป็นกุลธิดา มีลูก นางยักษ์ก็ไล่กินลูกนางกุลธิดา ตามแล้ว ตามเล่า
    สุดท้ายนางกุลธิดาต้องพาลูกไปถวายไว้แทบพระบาทพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเมื่อนางยักษ์มาถึงจึงได้ตรัสสอนว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จะมาผูกเวรกันทำไม ซึ่งเรื่องนี้เราก็ได้ยินกันมามากพอสมควร แต่ประเด็นที่อาตมาจะพูดนั้น เป็นคำอธิบายพระพุทธพจน์ของพระอรรถกถาจารย์ แสดงถึงวิธีที่ไม่ผูกเวรทำอย่างไร

    อาตมาซาบซึ่งในคำว่า "อมนสิการ" นี่พูดกันภาษาธรรม คือ #ด้วยการไม่ทำใจไว้ คือเมื่อเรามีเรื่องกระทบกระทั่งบาดหมางใจกับใคร หรือใครประทุษร้ายเราก็ดี หรือญาติพี่น้องของเรา หรือทรัพย์สินเราก็ดี ถูกประทุษร้ายแล้ว เราจะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าต้อง "ทำอมนสิการ" คือ ไม่ใส่ใจ ปล่อยวางเสีย มันแล้วไปแล้ว การทำสมาธิทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ และนำพระพุทธพจน์มาใช้ ถ้าเราไม่ใส่ใจเรื่องก็จะไม่มี ถ้าเราใส่ใจก็จะทำให้ใจขุ่นอยู่นั่นแหละ นี่คือการผูกเวร #กระดิกใจถึงเมื่อไรผูกเวรเมื่อนั้น เมื่อยาวนานไปเท่าไร จะผูกพันจิตใจเราไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นด้วย "อมนสิการ" ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่ผูกใจคิดถึง นึกอย่างเดียวว่าตัวใครตัวมัน ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี้มาช่วยประกอบคำว่า อมนสิการ ต้องพิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา เราไม่เอาใจจรดนึกถึงก็ไม่มีอะไร ใครพูดว่าเรา ตำหนิติฉินเรา ตาบใดที่เราตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว คนที่ว่าเรานั้น เหมือนซัดธุลีทวนลม ตกโดนเขาเอง แต่ถ้าเราเปิดใจรับเต็มที่ เวรก็มาผูกพันกัน ต้องฝึกทำบ่อย ๆ #มาปฏิบัติธรรมต้องตัดเวรภัย ด้วยการไม่ผูกเวร ณ ภายในจิตใจของเราด้วยอมนสิการ ถ้าตัดไม่ออกต้องใช้สติสัมปชัญญะว่าเราไม่สนใจ ไม่มีประโยชน์ต่อเรา นี่เป็นเวร และสำคัญที่สุดคือ ตัวใครตัวมัน และจะเจริญขึ้นด้วยปัญญาอันรู้แจ้งในสังขารธรรม ว่าเป็นอนัตตา เห็นอนัตตาแจ้งชัดเท่าไรก็ละได้เร็วเท่านั้น นี่...ศีล สมาธิ ปัญญา นะ #ถ้าว่าปัญญาไม่แจ้งละไม่ได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งด้วยสมาธิ ปัญญา หนักเข้าก็จะคิดประทุษร้ายคนอื่น เป็นอย่างน้อยที่สุด ถ้าเป็นการแสดงอาการออกมาด้วยกาย วาจา ก็จะทำให้เวรนั้นผูกพันกันมากยิ่งขึ้น รุนแรงมากขึ้น

    พระพุทธเจ้าได้สอนว่า อย่าได้กล่าว อย่าได้แสดง#สารัมภกถา คือ วาจาเป็นเครื่องกล่าวให้แข่งดีกัน พูดอย่างง่าย ๆ ใครมีคำคมที่จะให้อีกฝ่ายเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ขนมาใส่กัน นั่นแหละเรียกว่า ทิ่มแทงกันด้วยหอก คือ ปาก นี่เป็นตัวเร่งเวรภัย สร้างโทสะ อาฆาตพยาบาท ให้เกิดขึ้นในกันและกันมาก เวรนั้นผูกพันแม้เพียงด่ากัน หรือตั้งใจประทุษร้ายกันด้วยวาจา ด้วยกาย วิธีป้องกันแก้ไขกำจัดเวร คือ อมนสิการ อย่าตรึกนึก หรือใส่ใจถึง ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้เท่าทันว่าเป็นโทษ เป็นเวรภัย ต้องสอนใจตัวเองตลอด และให้เห็นว่าลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเสื่อมลาภ นินทาว่าร้าย ความเสื่อมโภคยทรัพย์ และความทุกข์ทั้งปวง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ให้นึกถึงพุทธพจน์อีกข้อหนึ่ง คือ ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว เราไม่ผูกเวร และไม่สร้างเวรกับใคร นั้นคำว่าสารัมภกถา วาจาเครื่องกล่าวเป็นเครื่องยังให้เกิดความแข่งดีกัน กระทบกระทั่งกัน ถ้าเงียบได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ถ้าเงียบสงบได้ นั่นคือ นิพพาน



    ?temp_hash=85a7fd9a1036a89d47cc893bedc0696e.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เรื่อง "โรคจิต กับกรรมฐาน เชิงประสบการณ์"

    ในสมัยที่เป็นพระอาจารย์เสริมชัย ชยมงฺคโล
    บรรยาย ณ อาคารธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๑

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    ขอกราบนมัสการพระคุณเจ้าทุกท่าน ขอเจริญพรท่านผู้ฟังทุกท่าน อาตมภาพได้รับอาราธนาจากท่านศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ซึ่งรู้จักกันทั่วไป ให้มาบรรยายในหัวข้อเรื่องที่ว่า "โรคจิต กับกรรมฐานในเชิงประสบการณ์" ซึ่งในเรื่องที่อาตมาจะได้กล่าวถึงนี้ ก็จะวางแนวในการบรรยายเป็นหัวข้อย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ โดยจะสรุปผลไว้ก่อนเลยในเบื้องต้น เพื่อจะได้กล่าวถึงประสบการณ์ในรายละเอียดจนกว่าจะหมดเวลา และถ้ามีเวลาพอ อาจเปิดโอกาสให้ท่านที่สนใจ ซักถามเท่าที่อาตมาภาพจะตอบให้ได้

    กล่าวโดยสรุปในเรื่องของโรคจิต กับกรรมฐาน
    ประการแรก การฝึกปฏิบัติพระกัมมัฎฐานที่ถูกต้องตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายเอา ถูกต้องทั้งในหลักการที่ภาษาพระเรียกว่า หลักปริยัติ และตามวิธีการปฏิบัติ ให้ได้ผลดี มีแต่ให้ผลเป็นความเจริญรุ่งเรือง และสันติสุข คือความสงบใจ แก่ผู้ปฏบัติแต่ฝ่ายเดียว ไม่ให้มีโทษแต่ประการใดเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังมีลักษณะที่เป็นธรรมโอสถ รักษาแก้ไข ส่งเสริมจิตใจของผู้อบรม และปฏิบัติธรรมนั้น ให้มีสุขภาพจิตดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย ไม่มีว่าจะให้โทษ ให้ทุกข์ หรือเป็นเหตุให้เกิดโรคจิตแม้แต่น้อย นี่กล่าวโดยว่าธรรมปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชชา และถูกต้องตามกระบวนการ หรือวิธีการปฏิบัติ ตามขั้นตอนที่จะให้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นสมถะ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งอาตมาจะได้กล่าวต่อไป

    ประการที่สอง จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พบเห็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคจิตแทบทั้งสิ้น เป็นบุคคลที่มีปัญหาชีวิตอยู่แล้ว และก็แก้ไม่ตกด้วยตนเอง หรือมีเชื้อของโรคจิต มีจิตใจอันฟุ้งซ่านระงับไม่ได้ ด้วยไม่ทราบวิธีการอันถูกต้องอยู่แล้ว แล้วก็ร่อนเร่ไปหาบุคคล หรือสำนักทั้งใน และนอกพระพุทธศาสนาให้ช่วยแก้ปัญหาให้ ซึ่งก็ได้ผ่านมาตามสำนักปฏิบัติพระกัมมัฏฐานต่าง ๆ นี่ประเภทหนึ่ง อีกประเภทหนึ่ง เป็นผู้ปฏิบัติธรรมจากความรู้ ความเข้าใจ ที่ศึกษาเอาเอง เพราะสติปัญญาของคน ไม่เท่ากัน จับประเด็นของธรรมะได้ ไม่ถูกต้อง ตรงจุด ตรงประเด็น ได้เท่าเที่ยมกัน ก็ทำให้ผู้ที่ยังมีความเข้าใจในธรรมปฏิบัติไม่แจ่มแจ้งตามควร ทดลองฝึกปฏิบัติเองโดยไม่มีครูผู้ทรงคุณวุฒิคอยแนะนำ จึงปฏิบัติเปะปะ หลงทางไป แล้วก็เป็นโรคจิต ตั้งแต่อ่อน ๆ ไปจนถึงเป็นมากเอง และบางรายที่เห็นท่าจะไม่ดี ก็ได้มาสู่สำนักปฏิบัติพระกัมมัฏฐานให้แก้ไขให้ อย่างนี้ก็เห็นมีมาก และก็มีอยู่บ้าง ที่ผู้มีปัญาหาได้รับคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ที่ขาดตกบกพร่อง หรือผิดเพี้ยนไป จากธรรมปฏิบัติที่ถูกต้อง

    คำว่า "ถูกต้อง" นี่ยากที่ใครจะเป็นผู้ตัดสิน เพราะแต่ละคนที่เป็นผู้ให้คำแนะนำก็ดี หรือผู้วิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายก็ดี ส่วนมากแล้วก็ยังเป็น #เสขบุคคลคือ บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่ แถมมีอยู่ไม่น้อยเลย ที่เป็น #ปุถุชนผู้ที่ยังหนาด้วยกิเลส และยังไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ดีพอ เพียงแต่อ่านทำความเข้าใจเอาเอง จากตำรับตำรา แล้วคาดคะเนไปตามความรู้ ความเข้าใจของตน ในธรรมปฏิบัติ ที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ยังไม่รู้จริง แล้วก็ยังไม่เคยปฏิบัติให้เข้าถึงได้ อีกด้วย ย่อมเป็นอันตรายแก่ทั้งตัวผู้วิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ข้อชี้แนะนั้นเองด้วย และแก่ทั้งผู้รับฟังคำวิจารณ์ หรือคำชี้แนะเช่นนั้นด้วย นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ที่ชักนำให้ผู้ที่จะไปศึกษาปฏิบัติธรรมเกิดความลังเลสงสัย แล้วก็คว้าอะไรไป ตามที่ตนชอบ หรือไม่ก็ปฏิบัติผิดทางไปได้ และก็การปฏิบัติผิดทางจากการที่มีผู้ไม่รู้จริง แล้ววิพากษ์วิจารณ์ หรือชี้แนะที่ผิด ๆ เช่นนี้แหละ #ที่มีส่วนเป็นเชื้อของความฟุ้งซ่าน และสติไม่ดี เมื่อประกอบด้วยอำนาจวิบากกรรมเดิมที่เคยมีอยู่แล้ว ก็ยิ่งจะช่วยให้อาการของโรคจิตนั้นกำเริบ เป็นรุนแรงขึ้นได้ จนไม่อาจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ข้อนี้ก็เห็นมีอยู่ เพราะฉะนั้น บางคราวที่เราได้ยินข่าวที่ออกมาคลุม ๆ ไม่แจ้งชัด ถ้าจะว่าโดยหลักวิชาการ สถิติและวิจัยแล้ว เห็นว่าผิดหลักการ การออกข่าวคลุม ๆ มาในเชิงว่า กัมมัฏฐาน หรือสำนักกัมมัฏฐานที่เกิดมีมากขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลในยุคปัจจุบันเป็นโรคจิตมากขึ้น แม้ข้อมูลเช่นนี้ ก็ยังเป็นข้อมูลที่ยังความเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนให้เกิดแก่หมู่ชนที่ไม่รู้แจ้ง ที่ยังไม่ซาบซึ่งในวิธีปฏิบัติ ทั้งในหลักวิชา และในผลของการปฏิบัติดีพอ ให้หลงเข้าใจผิดไปตามนั้นได้ ทั้ง ๆ ที่ เหตุปัจจัยของผู้ที่เป็นโรคจิตนั้น มีมากมายหลายประเด็น



    ?temp_hash=c2d47481dd77c7e595663c8e4e79a30e.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    "โรคจิต กับกรรมฐาน เชิงประสบการณ์"

    ***คัดลอกมาบางส่วน
    (ข้อความต่อเนื่องจากกระทู้เมื่อวาน)

    ......
    และแม้ตัวเลขที่แสดงออกมาว่า มีจำนวนมากขึ้น ก็มิได้หมายความว่า อัตราของผู้ป่วยเป็นโรคจิตมากขึ้น หรือสูงขึ้นจริงหรือเปล่า เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ในแต่ละระยะเวลา (อดีตกับปัจจุบัน) ตรงนี้ขอเน้นนิดหนึ่งว่า นักวิจัย นักสถิติที่แท้จริง บัดนี้อาตมามีเพื่อนอยู่ บังเอิญพบกันขณะนี้ เป็นนักสถิติตัวยงคนหนึ่ง นั่น พันเอก(พิเศษ)นิพนธ์ พลพัฒน์พิจารณ์ นั่งอยู่นั่น การออกข่าวบอกจำนวนมาเฉย ๆ ผิดหลักการสถิติและวิจัย เพราะว่ามีใครบ้างที่ได้ข้อมูลที่รวบยอดที่แท้จริง หมดทั่้วทั้งประเทศ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยเทียบอัตราส่วนจริง ๆ ระหว่างจำนวนผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคจติ และกับจำนวนประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ มีใครได้ทำบ้าง? ถ้ายังไม่ได้ทำ พูดไม่ได้นะ ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคจิตในปัจจุบันจะมากกว่าในอดีต ก็มิได้หมายความว่าอัตราส่วนของผู้ป่วยด้วยโรคจติในปัจจุบัน จะสูงกว่าในอดีตเสมอไป เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในอดีตกับปัจจุบัน การแสดงข้อมูลออกเช่นนั้น นับเป็น misledading นำทางผิด ให้เข้าใจผิด ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลนั้นอาจถูกต้อง แต่ก็ถูกโดยประการว่า เป็นจำนวนจำเพาะผู้ที่มาเข้ารับการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ผู้ป่วยด้วยโรคจิตที่เสียสติด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ นา ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ไม่ได้มารายงานตัวที่โรงพยาบาลมีเท่าไหร่? มีใครพิสูจน์หรือยัง และมีใครพิสูจน์แยกแยะข้อมูลต่อไปอีกว่า ผู้ที่มาปฏิบัติพระกัมมัฏฐานกับผู้ที่ไม่ได้มาปฏิบัติแล้วเป็นโรคจิต อันใดเป็นสาเหตุที่แท้จริง หรือสาเหตุหลักของโรคจิตเหล่านี้เป็นต้น การออกข่าวที่ผิดหลักวิชาสถิติและวิจัยเช่นนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
    ซึ่งความจริงจากประสบการณ์ของอาตมา ผู้ที่เข้ามาศึกษา และปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องโดยหลักปริยัติ เพียบพร้อมด้วยวิธีปฏิบัติทั้งทางสมถะ และวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างถูกวิธี กล่าวคือ ให้เจริญปัญญา รู้แจ้งในสภาวะธรรม และในสัจจธรรมตามที่เป็นจริง จากการที่ได้ทั้งรู้ และทั้งเห็น ที่พระพุทธองค์ได้บรรลุคุณธรรมข้อนี้มาก่อนว่า
    จกฺขุํอุทปาทิ ญาณํอุทปาทิ ปญฺญาอุทปาทิ วิชฺชาอุทปาทิ อาโลโกอุทปาทิ
    ซึ่งรวมเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้น ถ้าทำถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาอย่างนี้ละก็ ถึงแม้จะปฏิบัติได้เพียงเศษธุลีของพระพุทธเจ้านี้ ก็จะมีแต่ให้ได้ผลดี ไม่มีผลเสียเลย

    อาตมภาพจึงขอชี้แจงข้อสรุปอีกประการหนึ่งว่า ถ้าหากจะมีผู้สนใจในการศึกษาปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองสันติสุขสำหรับชีวิตของตนจริง ๆ และเพื่อความพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เมื่อจะเข้าศึกษาปฏิบัติธรรม พึงพิจารณาเลือกสำนัก พิจารณาเลือกครู พิจารณาเลือกวิธีปฏิบัติที่ตรง ทั้งหลักปริยัติหรือหลักวิชา ที่ให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทั้งสมาธิ หรือเรียกว่าสมถะกัมมัฏฐาน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญ และทั้งวิปัสสนา ก็จะยังปัญญาบริสุทธิ์ให้เกิดและเจริญขึ้นด้วยจากการที่ได้ ทั้งรู้ และทั้งเห็น สภาวะของธรรมชาติ ตามที่เป็นจริง ให้พึงพิจารณาเลือกสำนักครูบาอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตรที่แท้ เป็นผู้เสียสละให้แก่ลูกศิษย์ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาการความรู้ อย่างสุดหัวใจ โดยไม่คำนึงถึงว่าลูกศิษย์จะบรรลุคุณธรรมที่สูง หรือจะดีเด่นกว่าตน และสามารถที่จะชี้แจงแถลงข้อธรรมที่ลึกล้ำ และลึกซึ้งได้มาก พอสมควรแก่ภูมิธรรมของลูกศิษย์ นี่สำคัญ และประการสุดท้ายพึงเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงวิชชา และจรณะให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และวิชชานั้น #ไม่เป็นเพียงโลกียวิชชา แต่พึงจะต้องเป็นผู้ทรง และดำเนินไปเพื่อ #โลกุตตรวิชชา ธรรมเครื่องกำจัดอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด ให้สามารถกำจัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป นี่แหละ พึงไปสู่สำนักเช่นนั้น สำนักใดก็ได้ที่มีคุณธรรมเช่นนี้

    ทีนี้อาตมาจะยกตัวอย่างพฤติกรรมของผู้ที่เป็นโรคจิตให้เห็นสัก ๒-๓ ตัวอย่างจากประสบการณ์ ที่เคยได้พบ แต่ไม่ขอระบุชื่อบุคคลผู้ป่วย
    ตัวอย่างที่ ๑ เป็นเด็กหนุ่ม ๒ พี่น้อง มีบ้านอยู่ข้างหลักงสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี นี้เอง ได้ไปฝึกปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง ขอไม่ระบุชื่อสำนัก แล้วคงจะเข้าใจความตั้งใจดีของครูผู้ฝึก แนะนำว่าให้ทำให้เต็มที่ ทำให้หนัก ทำให้มาก อย่างน้อยก็ให้ได้ใกล้ ๆ กับพระพุทธองค์ คือว่า ถ้าไม่บรรลุก็ไม่ลุกจากที่ วิธีการปฏิบัติเช่นนี้ อาจจะเหมาะกับจริตอัธยาศัยของบุคคลที่มีบุญบารมีอันสมควรแล้ว ก็สามารถทำได้ แต่ผู้ที่บุญบารมียังไม่แก่กล้าพอ กลับจะทำให้การปฏิบัตินั้นไร้ผล เพราะเพียรจัดเกินพอดีไป เป็นอัตตกิลมถานุโยค แทนที่จิตจะรวมลง และสงบ กลับฟุ้งซ่านหนักขึ้น เพราะอยากรู้ อยากเห็น อยากได้นิมิตจนเกินไป เป็นอุปกิเลสของสมาธิ แต่ลงท้ายยิ่งเครียดหนักเข้า ก็ฟุ้งซ่านจิตใจออกนอกตัว จนควบคุมสติ และรักษาใจตนเองไม่อยู่ แม้จะหยุดยืนอยู่เพียง ๕ นาที ก็ไม่ได้ รู้ตัวอยู่ว่าตัวเองคุมสติไม่อยู่ แต่ก็ทนไม่ได้ ต้องเดินไปเรื่อย ๆ ตัวก็สั่น ๆ บอกว่ากลัว โดยไม่รู้สาเหตุว่ากลัวอะไร และก็ฟุ้งซ่านไปเรื่อย ได้มาขอให้อาตมาช่วยแนะนำ และแก้ ประมาณ ๒-๓ ครั้ง ปรากฏว่า ในระยะ ๓ ปี ที่ผ่านมาแล้วก็หายไป นี่รายที่หนึ่ง มีสองคนพี่น้อง สรุปก็คือว่า อยากเห็นนิมิตเกินไป จึงเพียรจัดเกินไป เป็นอัตตกิลมถานุโยค ปฏิบัติผิดวิธี

    วิธีปฏิบัติภาวนาให้ได้ผลดีไม่มีโทษ ก็คือ #ให้อาศัยอิทธิบาทธรรม (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา) เข้าช่วยประกอบการเจริญภาวนาธรรม และพึงพิจารณาทั้งเหตุ สังเกตทั้งผล ให้ได้ตามที่ครูผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำไว้ มิให้เพียรจัดเกินไป และมิให้ย่อหย่อนเกินไป และพยายามรวมใจให้สงบระงับอยู่ ณ ภายใน แม้การพิจารณาสภาวธรรม (วิปัสสนา) ก็พึงกระทำ ณ ภายใน #อย่าส่งใจออกนอกตัว

    .......

    กระทู้เกี่ยวเนื่อง สำหรับ เรื่อง "โรคจิต กับกรรมฐาน เชิงประสบการณ์"
    ข้อความหน้า ๙๗-๙๙ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตามลิ้งก์
    https://www.facebook.com/RakangdhamDhammakaya/posts/720627278138447:0




    ?temp_hash=832de6891c71d1075c08cb20c3a0df07.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...