สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529

    ?temp_hash=2d86073a9f4f12664eb8b478c38d3e65.jpg



    ...ทุกข์เหล่านี้ก็เป็นละครของโลก...


    ... “สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เป็นทุกข์จริงๆ นะ ไม่ใช่สุขหรอก สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา เป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่สุขหลอกลวง ทุกข์จริงๆ


    แต่ว่าทุกข์เหล่านี้ไม่เที่ยง ทุกข์เหล่านี้ก็เป็นละครของโลก ชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็เลิกกันไป ลาโรงกันไป เก็บฉากกันไป หายไปหมด ไม่รู้ไปทางไหน ก็เป็นละครโลกนั่นเอง


    ถ้าว่าใครมีปัญญาก็ปล่อยความยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นเสีย ถ้าเป็นคนโง่ก็ไปยึดถือสิ่งที่เป็นทุกข์ไม่เที่ยง มันก็ต้องร้องไห้เศร้าโศกเสียใจไป เข้าใจว่าเป็นของเรา เป็นเราไป นั่นมันโง่นี่ ไม่รู้จริงตามธาตุธรรมเหล่านี้


    ถ้ารู้จริงตามธาตุธรรมเขาปรุงให้เป็นไปต่างหากล่ะ ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาที่ไหน ไม่มีทั้งสิ้น


    เมื่อรู้จักความจริงอันนี้แล้ว ไม่ใช่แต่ธาตุอย่างเดียว ไม่ใช่แต่ธาตุที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่แต่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์นะ ธรรมทั้งหลายก็ยังไม่ใช่ตัวนะ


    รู้จักว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เที่ยวหาตัวกันยุ่ง ทีนี้ใครล่ะเป็นผู้ทุกข์ ใครล่ะเป็นผู้รับทุกข์ ใครล่ะเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จะหากันยุ่ง จะเอาธรรมเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลเสียอีกนะ ท่านก็ยืนยันอีกว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว แต่ว่าธรรมทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัว ปรุงตัวให้เป็นไปอีกนั่นแหละ ถ้าว่าไม่มีธรรม ตัวก็ไม่มี ไม่มีตัว ธรรมก็ไม่มี อาศัยกัน นี่ข้อสำคัญ” ...


    (ธรรมนิยามสูตร ๓๑ มกราคม ๒๔๙๗)



    ***************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    12388078_440750016122822_409981350_n-jpg.jpg

    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการ ปฏิบัติแบบมโนมยิทธิมีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดีๆนะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระ จูฬปันถกเถระ นี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝักกลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลยและท่านสามารถกำหนดได้มากถึง 1,000 องค์ แล้วทั้ง1,000 องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า 62/63 พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    30441014_875045589370156_4179110080743997440_n.jpg


    #อมตวัชรวจีหลวงพ่อภาวนา

    การปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก

    ***********

    การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่าติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ จึงพัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอานิมิต คือสิ่งที่จะนำมาพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตร จึงอธิบายกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชาและมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีตหรืออยู่ห่างไกลลี้ลับได้กว่าอายตนะกายเนื้อ อย่างเช่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนะนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วเหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง ก็เหมือนกับเราผ่านไปทางไหน ก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลาย ตามปกติ ธรรมดา แม้จะเจตนาที่จะพิจารณาดูความเป็นไปในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพาน นั้นมีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร? มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร? ด้วยผลบุญและผลบาปอะไรจึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์?

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย อันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนะนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้งตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาท

    มีปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ ๒๕, ขุททกนิกาย อุทาน, ข้อ ๑๙๘ หน้า ๑๗๕ ว่า...

    ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ(นิพพาน) นั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะ(นิพพาน)นั้น ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะ(นิพพาน)นั้น ว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะ(นิพพาน)นั้น หาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

    และมีปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อุทาน ข้อ ๑๖๐ หน้า ๑๗๖ หน้าว่า...

    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ก็แล เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ.

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง

    ..การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือ มีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมากนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิต ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส ข้ออุปัฏฐาน อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    จึงใคร่จะกล่าวถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้ ว่าเป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐานโดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ คือ มีการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม อยู่ในตัวเสร็จ มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เมื่อยกสภาวธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิสดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด

    และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย

    จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจจะยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าเพิ่งท้อแท้ใจว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้ ด้วยความเพียรพยายามไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผลให้ถูกต้องตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า ระวังอย่าให้เพียรหย่อนเกินไปจนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่า เพียรจัดเกินไปจนกายและใจไม่สงบ อยากเห็นนิมิตจนเกินไปทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือพลอยหงุดหงิดเมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล หรือสะดุ้งตกใจกลัว/ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านหรือเคลื่อนจากสมาธิ และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาสก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น

    ถ้าประสงค์จะได้สิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างสูง ก็ต้องพยายามและสิ่งที่ชั่ว หรือที่เป็นข้าศึกแห่งความดีเหล่านั้นเสีย และพึงเข้าใจว่าธรรมอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงบรรลุได้โดยง่าย แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยของบุคคลที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุได้ ขอแต่ให้ปฏิบัติถูกวิธีด้วยอิทธิบาทธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอน

    พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาทไว้ ความว่า เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว เราไม่มีอำนาจที่จะไปบันดาลให้บรรลุธรรมหรือมรรคผลเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้ อุปมาดั่งชาวนาซึ่งไถคราด เตรียมดิน หว่านพันธุ์ข้าว และปักดำ ไขน้ำเข้านา ดูแลใส่ปุ๋ยดีที่สุดแล้ว ก็ต้องรอให้ข้าวออกรวงเอง ไม่มีใครจะไปบันดาลให้ข้าวออกรวงวันนั้นเวลานั้นได้ ถึงเวลาก็ออกรวงเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ทำไปก็แล้วกัน พยายามให้ดีที่สุด แล้วถึงเวลาก็ได้บรรลุมรรคผลเอง และพึงเข้าใจว่า ในระหว่างเวลาปฏิบัติที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมหรือมรรคผลนั้น ก็ได้ผลดีไปเรื่อยๆอยู่แล้ว ขอแต่ให้หมั่นดูที่เหตุสังเกตที่ผล ดูให้ถ้วนถี่ก็แล้วกัน การปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ให้ผลดีทั้งในทางโลกและในทางธรรมจริงๆ...

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระราชพรหมเถร
    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม
    อดีตรองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    ______________
    ธรรมะบางตอนจากหนังสือ
    "สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น"
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบพระคุณภาพประกอบธรรมะ.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    30713525_1754097661334132_5463101862532087808_n.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    ความดีใจ เสียใจนี่รัายนัก!!!!
    .
    “....ความดีใจ เสียใจนี่ร้ายนัก ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม เห็นธรรมอย่างนี้น่ะ ถึงเวลาเราดีอยู่ อ้ายความดีใจเสียใจนี่แหละที่ทำให้ต้องกระโดดน้ำตาย กินยาตาย ผูกคอตาย ดีใจเสียใจนี่แหละมันเต็มขีด เต็มส่วนของมันบังคับกันอย่างนี้

    เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจเป็นมารร้ายทีเดียว ถ้าว่าใครเข้าไปอยู่ในใจบ่อยเข้าก็หน้าดำคร่ำเครียด ร่างกายไม่สดชื่นล่ะซิเศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก

    เพราะอะไร เพราะดีใจเสียใจบังคับมันมันทำให้เดือดร้อนหน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว บางคนไม่อ้วน ผอมเป็นเกลียวทีเดียว เพราะความดีใจเสียใจ

    ทั้งหมดอยู่ที่มัน ไม่ปล่อยมัน ถ้าว่าทำให้สบายสดชื่นให้ชื่นใจ เย็นอกเย็นใจสบายใจจะมั่งมีดีจนอย่างไรก็ช่าง กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า กายทิพย์ก็ฆ่า กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า ฆ่าทั้งนั้น ทุกกาย

    ความดีใจเสียใจต้องคอยระวังให้ดี ท่านจึงได้สอนเขาว่า ให้ทำความดีใจและเสียใจในโลกเสียให้พินาศ..."

    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ


    30742666_2086259414725108_8729534274799140864_n.jpg

    ******************************************************************


     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    11169880_1644756882421271_5024955614824953283_n.jpg


    คนเช่นเราใช่จะไร้เสียซึ่งปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเองเพราะความปรารถนาลามกทำไม ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น บางคนคงไม่รู้จักคำว่า "ธรรมกาย" มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติชอบ

    เมื่อผู้ไม่รู้ติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะลบก็ลบได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมี ให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ


    ... “พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ


    นั่นแน่กายธรรม กายธรรมละเอียด กายธรรมนั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ


    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตัดธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม


    กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่วาใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ


    ถ้าตัวจริงล่ะก็ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้” ...

    (เขมาเขมสรณาคมน์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗)
    วัดป่าวิสุทธิคุณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี


    30707520_1759775220766376_8741441504691617792_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    ผมมองเห็นรูปนิมิตเป็นรูปพระสีเขียวเข้มจนเกือบดำ ทรงเครื่อง คล้ายทรงเครื่อง ฤดูร้อน อยู่กลางทรงกลม ตอนแรกเห็นทรงกลมสีขาวขุ่น มองนานๆ กลายเป็นแก้วใสติดอยู่นาน จะถือเอาเป็นนิมิตแทนลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?
    ตอบ:
    ได้ครับ ใช้ได้เลย ถ้าเห็นเป็นดวงกลมใส ให้เข้าใจว่าองค์พระอยู่ในดวงกลมนั้น หยุดนิ่งไปกลางดวงกลมใสนั้น หยุดนิ่งถูกส่วนก็จะใสสว่าง ศูนย์กลางขยายออก ประเดี๋ยวองค์พระก็จะปรากฏ
    หรือกายมนุษย์ละเอียดจะปรากฏ เมื่อปรากฏแล้ว ท่านก็นึกเข้าไปเป็นกายละเอียดใหม่ จะเป็นกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระก็แล้วแต่ ให้ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระนั้น ให้ใสสว่างหมดทั้งดวงทั้งกาย จะปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ ตามขั้นตอนของเขา แต่บางทีข้ามขั้นตอนได้ ถ้าจิตละเอียดหนักจริงๆ เห็น จำ คิด รู้ ขยายโตเต็มส่วน เต็มธาตุเต็มธรรม แล้วกายธรรมหรือธรรมกายจะปรากฏขึ้นมา ข้ามขั้นตอน แทนที่จะต้องผ่านกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ พรหม อรูปพรหมก็ข้ามขั้นตอนไปได้ ไม่เป็นไร
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?
    ตอบ:


    การปฏิบัติธรรม ณ ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน คือ
    ประการแรก คือ สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) 1 ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) 1 ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) 1 ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) 1 และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) 1
    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด
    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต) สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้ ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้ และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้
    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ” ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน
    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ 40 วิธี รวมเรียกว่า สมถภูมิ 40 วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย 3 ประการขึ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก อุบายวิธีทั้ง 3 นั้นก็คือ พุทธานุสติ อานาปานสติ กับ อาโลกกสิณ กล่าวคือใช้อุบาย
    1. ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ” ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส จำดวงแก้วดวงใส คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น เพื่อให้ธรรมชาติ 4 อย่างของใจนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
      การนึกนิมิต บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    2. ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ, อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    3. กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นจุดที่พักใจอันถาวร คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ณ ที่ตรงนี้ และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ” เพราะเป็นธรรมชาติของใจ เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน และลมหายใจละเอียดเข้าๆ แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น ใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ เรียกว่า “อุคคหนิมิต” อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม ติดตาติดใจ แนบแน่น จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้ นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ” อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง 5 คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้) และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 ให้สิ้นไป
    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา จัดเป็นการเห็นของจริง คือ “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ 7 นั้น ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้ ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย มีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ คือ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สูงขึ้นไปถึงเห็น และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด
    การเห็นกายในกาย และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้ ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ” เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง เหมือนกับการเห็นมนุษย์ เช่นเห็นนาย ก. นาย ข. หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม แต่ยังไม่ได้ “เป็น” เพียงแค่ “เห็น” หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน
    ประการที่ 2 คือ วิปัสสนาภาวนา มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ? (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไร ? ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4 คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา” ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้” เป็นการเห็นปรมัตถธรรม คือธรรมชั้นสูงสุด หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์
    อันที่จริง การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด) กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม(ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน
    กล่าวโดยสรุป
    1. การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง
    2. ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง ไม่ได้คิดเห็น แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว และมีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้ นี้ก็เป็นการเห็นของจริง เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้ ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    3. การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ตอบ:

    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย



    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ


    lphor_tesna_vn.jpg


    31 ตุลาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
    อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา
    อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม
    อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต
    เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต
    เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ
    ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของ พระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุแล้ว ธรรมก็เกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงได้สดับในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุ ของธรรมเหล่านั้น และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้

    นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษา อรรถาธิบายว่า คำว่าเหตุนั้น ในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมี 3 ฝ่ายดีมี 3 ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ, อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีเหตุ 3 ดังนี้ เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้นะ ท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง 5 มี อวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ ดังนี้ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่ ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น เกิดอย่างไรเกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชาเป็นต้น ดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาราอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ดังนั้นเป็นต้น อวิชชาความรู้ไม่จริง มันก็กระวนกระวาย นิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหา ความไม่รู้จริงนั่นแหละ มันก็เกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่ว เข้าไปว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ความรู้เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอา นามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะ 6 เข้าประกอบ อายตนะ 6 เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ 6 เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทานมีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี 4 กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ เกิดด้วยชลาพุชะ อุปปาติกะ อัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ สังเสทชะ เกิด ด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะเกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่ อุปปาติกะนี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชานะเป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิง เป็นชาย เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้

    ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็น แดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุ เกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น

    เมื่อเป็นเหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ ท่านวางหลักไว้อีกว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ มีดับ มีเกิด เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย ความดับนั้น อวิชชาไม่ดับ สังขารก็ดับไม่ได้ สังขารไม่ดับ วิญญาณก็ดับไม่ได้ วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้ นามรูปไม่ดับ อายตนะ 6 ก็ดับไม่ได้ อายตนะ 6 ไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้ ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้ เวทนาไม่ดับ ตัณหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับ ไม่ได้ อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้ ภพไม่ดับ ชาติก็ดับไม่ได้ ชาติเป็นตัวสำคัญ ไม่หมด ชาติ หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้ เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า อวิชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับไปโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาติโน่น ดับกันหมด ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิด ดับหมดทั้งสากลโลก เกิดดับเรื่องนี้ พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดา รับรองทีเดียวตามวาระพระบาลีว่า อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ว่าวิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ เห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ถ้าย่นลงไป แล้วก็มีเกิดและดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความเป็น เหมือนดังของขอยืม เป็นต้น เหมือนเราท่านทั้งหลายบัดนี้ มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรม นามธรรมที่ได้มานี้ มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดังของขอยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืม ทั้งนั้น ผู้เทศน์นี่ก็ต้องคืนให้เขา เราๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้

    เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใด บุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจรดลงตรงนี้นะ ว่าสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริง ไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึก ไว้เรื่อย สังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก้อ สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่ เป็นบุญ อปุญญาภิสังขารสังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูดจิตสังขาร ความ รู้สึกอยู่ในใจเป็นจิตสังขาร สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริงๆ แล้วเอาจรดอยู่ที่ ความไม่เที่ยง ตัวก็เป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมด ปรากฏหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่าย ในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไว้ไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจด วิเศษ ระงับความทุกข์ได้แท้ๆ

    แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อตฺถสนฺตตฺตาทิโต สังขตธรรมทั้งหลายเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเบียดเบียน อยู่ร่ำไป และเป็นสภาพเร่าร้อน เป็นต้น ไม่เยือกเย็น เป็นสภาพที่เร่าร้อน พระคาถาหลัง รับสมอ้างอีกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้ว มันก็ต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุข มันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้ว มันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น

    เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ ความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย อตฺตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จเป็นสภาพว่างเปล่า เราก็ว่างเปล่า เขาว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย ต้นตระกูลเป็นอย่างไร หายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่ คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้า! ใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่า เป็นเจ้าของเบญจขันธ์ เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยัน ว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้นเอาไม่ได้ เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จัก หลักจริงดังนี้ ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

    เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตาม ปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมิใช่ตัว เอ้า! มาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรม ทั้งปวงมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ

    นี่ธรรมละ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่ มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นตัวนะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษยธรรม ที่จะ เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษยธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยทิพยธรรม เป็นกายทิพย์ละเอียด อาศัยทิพยธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็น อรูปพรหมก็อาศัยธรรมของอรูปพรหม คือ อรูปฌาน ถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมนะ เป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน คนละอัน เขาเรียกว่า สังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริง คือ ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะ ค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไรๆ ก็ไปพบดวงธรรม

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักทีเดียว ธรรมดวงนั้นแหละ เราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ไม่ได้ธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละอียด ก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์ ธรรมที่ ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นไปกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว 2 เท่าฟองไข่แดง ของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใส อย่างเดียวกัน 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตขึ้นไปอีก 7 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีก 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    นั่นดวงนั้นเป็นธรรม พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรม นี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่เดินในกลางดวงธรรมนี้ สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไปไม่ได้ ดวงธรรมนี้เป็นธรรม สำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัว ก็ธรรมนั่น แหละทำให้เป็นตัว ตัวอยู่อาศัยธรรมนั่นแหละ ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละ จึงจะมา เกิดได้ ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้น มาเกิดไม่ได้ กายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นได้ด้วยบริสุทธิ์กาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ได้ธรรมดวงนั้น ธรรม ที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไปทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหมละ ได้ด้วยรูปฌานทั้ง 4 ได้สำเร็จรูปฌานแล้ว ให้ สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ได้ด้วย อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงจะได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมขึ้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ดังนี้

    นี่แหละว่า ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริงๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออ! ธรรมทั้งปวง นี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนละ ตัวก็ง่ายๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัว แต่เป็นตัวฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัว กายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝัน ออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็น ตัว แต่ว่าตัวสมมติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมติกันขึ้น เป็นตัวเข้าถึงกายธรรม กายธรรมก็เป็น ตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั่น เข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด นั่นเป็นตัวแท้ๆ ตัวเป็นอริยะ เรียกว่า อริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่กายธรรม โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระตถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรม ที่เป็นโสดา-โสดาละเอียด, สกทาคา-สกทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล 8 จำพวก นั้นเรียกว่า อริยบุคคล

    นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคต ท่านปราฏในโลก แล้วท่านที่ แสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็ต้องจัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลผู้ใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่า พระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชน ลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดีถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย-ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อน เลยทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านก็อนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะ ผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก้อ ที่จะเป็นโคตรภู ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริงๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวก ของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา

    บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้าง ก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริงๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปสักเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็หาความผิดทางกาย วาจาไม่ได้ หรือท่านมี ปรจิตตวิชชา รู้วาระจิตของบุคคลผู้อื่น ให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกาย วาจา ใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่าปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้ว เป็นโคตรภู ทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ว่ายังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกียชนได้ จึงได้ชื่อว่าโคตรภู ระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภู แล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลับมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อน จึงจะเป็นไปได้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้วจะไปเพลิน อะไรกับมันเล่า มันของยืมเขามาหลอกๆ ลวงๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ ปล่อยไม่ได้ ก็เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละ หนทางหมดจด วิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธิ์แท้ๆ วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ ความหมดจด จากกิเลสทั้งหลาย วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ เจตโส โหติ สา สนฺติ ความ หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ความดับจากทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจาก ทุกข์ทั้งหมด นิพฺพานมีติ วุจฺจติ นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับ คือนิพพาน แต่ว่าความ สงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้ บรรลุมรรคผล ไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว จะไปนิพพานได้ ต้องไปทางนี้ มีทางเดียว ทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงได้ยืนยันต่อไปว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนิ่งกันให้หมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ นั่น เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ๆ รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไป ท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ก็ชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน อันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพานนั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงซึ่ง ฝั่งอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามไปถึงฝั่ง นิพพาน นะ แสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย

    พระพุทธเจ้าทรงสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัปป์ 8 อสงไขยแสนกัปป์ 16 อสงไขย แสนกัปป์ จึงจะข้ามวัฏฏสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้าง ก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำรา ไว้เป็นเนติแบบแผนไปเป็นลำดับๆ แต่ว่าในท้ายพระคาถา กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้ เจริญขึ้น เด็ดขาดลงไป เหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิก พอบวชเป็นพระเป็นเณร ขาดจากใจ ความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกัน ชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำ ประพฤติธรรมขาวแท้ๆ

    อุบาสกอุบาสิกล่ะ เมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดีๆ แท้ๆ นะ พอเริ่มเป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็ขาดจากใจ ความชั่วกาย วาจา ใจ ละเด็ดขาด ไม่ทำ ชีวิตดับๆ ไป เอาความ บริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้ อย่างชนิดนี้ ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น นี่พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นสอง ชาติดังนี้ ละธรรมดำจริงๆ เจริญธรรมขาวจริงๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป

    ตามวาระพระบาลีว่าคาถาข้างหลังรับรองไว้ สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวฑฺฒติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สา ตาทิสี สีลวตี อุปาสิกา อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน อุปาสิกาใดเจริญ ด้วยศรัทธา ความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้ว ฝ่ายเดียวแล้ว เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา และเจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยสุตะ นี่ก็ เป็นฝ่ายดี อุบาสิกานั้นชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นใน พระรัตนตรัย อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน ยึดแก่นสารของตนไว้ได้

    ตรงนี้หลักต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้ ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างกายของเราท่านทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรม ไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมด เหมือนกัน หมดเป็นลำดับๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตบุรุษย่อมหาเข้า ถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่ง ความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่เข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ ควร กระทำเถิดซึ่งบุญ ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย สุขาวหานิ อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำ บุญทั้งหลายแล้วนำความสุขมาให้ อจฺเจนฺติ กาลา กาลย่อมผ่านไป ตรยนฺติ รตฺติโย ราตรี ก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลผ่านไป ราตรีย่อมล่วงไป ชั้นของ วัยย่อมละลำดับไป ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็กๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมา เป็นคนโตๆ เป็น ลำดับมา หนุ่มสาวละเป็นลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมา อีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้ มาเรื่อย เหมือนอย่างกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้า ผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่าน ไป วันเวลาวันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏ ฟังเทศน์อยู่นี้เป็น ปัจจุบัน วันที่จะมีมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกว่ากาลเวลาผ่านไปๆ ราตรีล่วงไป วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็กๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็น เฒ่า ก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญา เห็นเหตุนั้น เป็นภัยในความตายทีเดียว ไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับ ไป นั้นเป็นภัยในความตายเทียวนะ ตัวตายทีเดียว ไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัด จริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่บำเพ็ญการกุศลไปที่จะนำความสุขมาให้แท้ๆ ไม่ต้องไป สงสัย เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา ผู้มี ปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตตนที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์ พึง ปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อย ความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก้อ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามาร เป็นบ่าวพญามาร พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้ เราพึงปฏิบัติ ตามเถิด สมกับพบพระบรมศาสดา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    30743073_880618538812861_6480475019615928320_n.jpg




    อย่าละความเพียร

    ก่อนจะถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายเนี่ย จะว่ายากก็ยาก ยากสำหรับคนที่ยังไม่เป็น แต่ว่าผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงแล้วก็รู้สึกว่า อ้อ!เป็นอย่างนี้

    เรื่องนี้ก็อยากจะกราบเรียนเพื่อเป็นกำลังใจของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทุกท่าน อย่าคิดท้อใจ มันเหมือนกับว่าเราจะยึดหลักสำคัญ ไม่ใช่ง่ายครับ ของดีไม่ใช่ง่าย ขึ้นอยู่ที่วาสนาบารมี แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ยังไม่เห็นนี่วาสนาบารมีจะด้อยกว่าคนที่เห็นเร็ว เห็นปานกลางหรือเห็นช้า ข้อนี้ไม่มีประมาณนะครับ ผู้ที่ปรารถนาสูงต้องบำเพ็ญบารมีมามาก และก็ต้องบำเพ็ญบารมีไปอีกมาก บุญบารมีแก่กล้าพอสมควรแก่ภูมิธรรมก็จะเข้าถึงเอง

    กระผมขอยกตัวอย่างก่อน พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ก็ใช่ว่าจะไปนั่งปุ๊บเห็นปั๊บ ไม่ใช่นะครับ ท่านต้องใช้ความเพียรมาก ซึ่งเราพอจะแน่ใจว่าท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์แน่นอน ผู้ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว การศึกษาสัมมาปฏิบัติที่ให้ได้ผลมาถึงระดับที่หลวงพ่อท่านเป็นนี่ ท่านได้ปฏิบัติมานับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้ในภพชาตินี้ก็หลายปี เห็นดวงใสแจ่มแล้วนั่นแหละเป็นการเริ่มต้น ที่ว่าเห็นแล้วสว่างอยู่ ณ ภายใน หลายวัน เป็นปีนะครับ แล้วก็ท่านก็ยังไม่บอกใคร ฉันข้าวอยู่กับครูบาอาจารย์ เพียงแต่เห็นหน้าท่านอิ่มอยู่ แล้วท่านก็คล้ายๆเหมือนอมยิ้มอยู่นิดๆ คนอื่นก็ทักว่าท่านสดนี่มีอะไรดีนะ หน้าตาผ่องใส แล้วก็อิ่มอยู่ท่าทางน่ะ ท่านก็ยิ้มเฉยๆ นี่ฉันข้าวร่วมกัน แล้วต่อมาอีกก็นานพอสมควร ท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานแล้วเล่า ขอพระพุทธเจ้าว่าของจริงในพระพุทธศาสนามีอะไร ขอให้ท่านได้พบผังของจริงของพระพุทธเจ้าของพระพุทธศาสนา นี่เล่าประวัติเลาๆ ที่ได้ยินได้ฟังมานะครับ แล้วก็ฟังเสียงเทปท่านบ้าง จนเมื่อวันหนึ่ง กระผมจำวันเดือนปีไม่ได้ล่ะ จะเป็นที่วัดคูเวียงหรือที่ไหนจำไม่ได้ ท่านบอกว่าอ้าว!วันนี้ถ้าไม่ได้ก็ให้มันตาย ก็ให้มันรู้กัน! อย่างนี้นะครับ เอาอย่างนี้เลยนะ แล้วท่านก็นั่งในอุโบสถ วันนั้นเป็นวันพระ นั่งในอุโบสถ มดมันมี ท่านเรียกมดคี่ ไม่รู้มดยังไงก็ไม่ทราบละ เรียกมดคี่ มันก็มีอยู่ในอุโบสถน่ะยั้วเยี้ยกันบ้าง ท่านก็เอามือจุ่ม สมัยแต่ก่อนมันใช้น้ำมันก๊าซจุดตะเกียง เอามือจุ่มน้ำมันก๊าซ ก็ขีดเป็นวงรอบไว้ ไม่ให้มดมันมาทำอันตรายหรือมาทำให้ท่านต้องลำบาก ท่านก็ตั้งใจสละเต็มที่ ใจก็ปักดิ่งอยู่ที่ดวงใสแจ่มนั่นแหละ แต่ท่านเห็นดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นี่วาสนาบารมี เดี๋ยวจะเล่าตรงนี้ฟังนิดหน่อย แล้วท่านพบธรรมกาย ด้วยใจท่านปักดิ่งนั้นเองท่านพบธรรมกายของจริงในพระพุทธศาสนา ท่านดำเนินไปในวันนั้นเลยนะ ถึงนิพพานน่ะ ที่นี้ล่ะรู้เห็นนรกสวรรค์ไปเลย นี่วาสนาบารมี แล้วก็เมื่อปรากฏขนาดนั้นน่ะ ทิพพจักษุ ทิพพโสต สมันตจักษุ ถึงพุทธจักษุ มันเห็นทั้งจักรวาล เห็นไปถึงพระนิพพาน ท่านจึงตั้งมั่นเลยสอนเลย แล้วก็ประวัติท่านก็เจริญรุ่งเรืองในทางธรรมตลอดมา การแสดงพระธรรมเทศนาท่านก็เรียนทั้งไวยากรณ์ บาลีไวยากรณ์ แล้วก็บาลีโดยอาศัยคัมภีร์โบราณ เรียนบาลีไวยากรณ์ใหญ่ ท่องจำจบหมด แปลได้หมด พระเดชพระคุณวิสุทธิวงศาจารย์ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายปริยัติวัดปากน้ำรองเจ้าอาวาส ท่านบอกว่าหลวงพ่อสามารถสอนได้ถึงเปรียญธรรม 7 ประโยค หมายความว่าสอนคนอื่นได้ ท่านเป็นคนขยันเอาจริงเอาจัง เพราะฉะนั้นท่านทั้งแปลได้ทั้งอะไรได้ ท่านเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ แล้วก็คัมภีร์หลายอย่าง ท่านท่องจำหมดเลย เก่งมาก ประกอบด้วยความเพียร ท่านเจริญวิชชาสูงมาก จนถึงขนาดว่า เท่าที่กระผมทราบประวัติ ท่านเหาะได้นะ อยู่ในอุโบสถน่ะ ลองเหาะดู มีลูกศิษย์ใกล้ชิดเพียงไม่กี่รูปที่อยู่เห็น แต่ว่ามันไม่ได้นานเพราะว่าวิชชายังไม่แก่กล้า ฝนนี่ อยู่ในโบสถ์ท่านก็ให้ฝนตกในโบสถ์นั่นแหละได้ คือวิชชาเกิด อภิญญาเกิดนั้นเองครับ อภิญญา 6 ก็ประกอบด้วย วิปัสสนาญาณ ทิพพจักษุ ทิพพโสต แล้วก็มโนมยิทธิ อิทธิวิธี เจโตปริยญาณ แล้วก็ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณเป็นที่สุด ซึ่งข้อสุดท้ายเป็นของพระอรหันต์ พระอรหันต์ทุกองค์ไม่ว่าจะบำเพ็ญบารมีทางด้านหนักทางด้านปัญญาหย่อนสมาธิ หรือหนักทางด้านสมาธิหย่อนปัญญา บรรลุคุณธรรมด้วยคุณลักษณะเจโตวิมุติหรือปัญญาวิมุตินี่ จะต้องบรรลุอาสวักขยญาณเสมอไปนะครับ อันนี้เป็นภูมิธรรมสุดท้ายที่จะต้องบรรลุทุกองค์ เป็นอภิญญาข้อที่ 6 แต่ก็น้อมพระทัยไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ แล้วก็อาสวักขยญาณ อันนี้พระองค์ทรงบรรลุในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ในยามต้นแห่งราตรี ในยามกลางแห่งราตรี ในยามปรายแห่งราตรี ดังที่กระผมอ่านถวาย

    ที่นี้กล่าวถึงหลวงพ่อเนี่ย ท่านเอาจริงเอาจัง แล้วก็ท่านบอกว่า ของจริงมันต้องอยู่กับคนจริง คนไม่จริงไม่ได้

    ที่นี้เรื่องวาสนาบารมี มันอย่างนี้พระเดชพระคุณ เกิดมานี่เราไม่ทราบหรอกครับ ว่าใครบำเพ็ญบารมีด้วยอธิษฐานจิตเพื่อความบรรลุมรรคผลในระดับใด ในเบื้องต้นก็จะไม่รู้หรอกครับ บางคนก็ระดับปกติสาวก ระดับอสีติมหาสาวก พุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา เป็นต้น นี้ ระยะเวลาการบำเพ็ญบารมีก็เป็นแสนกัปป์ ถ้าขึ้นไปเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นอสงไขยกัป ขึ้นไปเป็นปรารถนาพุทธภูมิ ระดับปัญญาธิกโพธิสัตว์ เหมือนกับพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ทรงดำริอยู่ในพระทัยน่ะ 7 อสงไขยแสนกัป นี่กระทำมโนปณิธาน เปล่งพระวาจาออกมาแสดงให้คนรู้ว่าฉันปรารถนาพุทธภูมินะ หรือแสดงกิริยาให้ทราบ ทรงรู้พระองค์ อีก 9 อสงไขยแสนกัป นี่ 16 อสงไขยแล้วนะครับ มาถึงกาลของพระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงพยากรณ์ว่าฤาษีตนนี้ต่อไปอีก 4 อสงไขยแสนกัปก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นี่ทั้งหมดมันก็ 20 อสงไขยนะครับ อสงไขยนี้นับไม่ถ้วน

    แต่ถ้าเป็นศรัทธาธิกโพธิสัตว์ ก็ 2 เท่านะครับ ในแต่ละชั้นๆนี่ 2 เท่า ทำมโนปณิธานก็ 14 อสงไขย วจีปณิธานและมโนปณิธานร่วมด้วยกันนั่นก็ 18 อสงไขย ในตอนสุดท้ายบำเพ็ญครบไตรทวาร คือทั้งกายทั้งวาจาและใจ 8 อสงไขย ไอ้ที่ว่าแสนกัปนั่นน่ะคือส่วนที่เผื่อไว้บางทีไปอบายภูมิระดับตื้นๆ เช่นว่าไปเกิดเป็นพญาช้างบ้าง อะไรบ้าง ประมาณนั้นน่ะ บางทีมันก็พลาดไปได้เหมือนกัน แต่ว่าได้รับพุทธพยากรณ์แล้วเนี่ยมันเที่ยงต่อการตรัสรู้ เป็นนิยตโพธิสัตว์

    ที่นี้ ถ้าเป็นวิริยาธิกโพธิสัตว์ บำเพ็ญเพียรด้วยความเพียรเป็นประธาน 2 เท่าขึ้นไปอีก อย่างพระศรีอริยเมตไตรยองค์นี้

    เพราะฉะนั้น ระยะเวลาการบำเพ็ญบารมี ตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด มาถึงอย่างภพชาตินี้ ก็ไม่ทราบว่าใครบำเพ็ญบารมีโดยตั้งปณิธานจะบำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกว่าอนุพุทธะ หรือจะบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ไม่มีใครทราบ นอกจากตัวเองปฏิบัติไปๆก็จะค่อยๆทราบเอง จะค่อยๆทราบเองเมื่อถึงภูมิธรรมที่พอจะทราบได้

    เพราะฉะนั้น เรื่องบุญบารมี วาสนาบารมี การเห็นเร็ว-เห็นช้า ไม่เป็นประมาณ อย่าได้ไปท้อใจว่าฉันไม่มีบารมีพอ อย่าไปคิดอย่างนั้นครับ แล้วถ้าใครบางทีก็ เหมือนกับคนจะไปรองน้ำฝนน่ะครับ บางคนก็ชามน้อยๆกะละมังแค่นี้ ไปวางเดี๋ยวเดียวก็เต็ม เต็มเร็ว บางคนก็ต้องใช้โอ่งใหญ่หน่อย ก็นานอีกหน่อยถึงจะเต็ม บางคนก็ต้องใช้ภาชนะที่ใหญ่โต ระดับเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ไอ้นั่นก็ยิ่งนานไปใหญ่ รองน้ำฝน นี่เป็นข้อสมมติ

    เพราะฉะนั้น ขณะนี้กระผมใคร่กราบเรียนเพื่อถวายพระเดชพระคุณ เราทราบแล้วว่าสู้ก็ตายไม่สู้ก็ตาย จะสู้หรือไม่สู้ นี่แหละครับ ไอ้ที่ว่าสู้ก็ตายไม่สู้ก็ตายนี่ ยังไงก็เป็นสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง เรียกว่าอุปาทินนกสังขาร มันต้องตายแหง๋ๆอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเราเห็นเหตุตรงนี้ เห็นพฤติกรรมตรงนี้ จึงทรงแสวงหาโมกขธรรมที่ไม่ตาย ที่นี้ เมื่อมีผู้ประพฤติปฏิบัติเข้าถึงรู้เห็นไปถึงอายตนะนิพพาน ปกตินะครับ นิมนต์ตั้งใจปฏิบัติเถอะครับ แม้จะปฏิบัติในสายเดิม ก็เอาใจมาผูกไว้ตรงศูนย์กลางเท่านั้นแหละ ข้อนี้ไม่ว่ากันหรอกถ้ากลับไปแล้ว เพราะว่ามันเคยปฏิบัติยังไงมันก็ติด ก็ไม่ว่ากัน ดีหมด แต่ถ้าผูกใจไว้ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเดี๋ยวมันก็จะปรากฏของดีอยู่ตรงนั้น

    ผู้เคยปฏิบัติยุบพอง ตั้งสติสัมปชัญญะตรงนั้น ที่มาฝึกที่นี่เดี๋ยวเห็นตาม ไม่นานเกินรอ หรือยิ่งพุทโธ ยิ่งสะดวกโยธินเลย เพราะสาวลมหายใจเข้าออก ซึ่งความจริงท่านพระสารีบุตรสอนนะครับ ท่านไม่ใช่ให้สาวไปสาวมาอย่างนี้นะ ท่านเปรียบเหมือนเลื่อยไม้ เราอย่าไปดูเลื่อยไปอย่างนี้ ใจมันฟุ้งซ่าน มันไม่หยุด ดูตรงคมเลื่อยที่มันตัด จุดประเด็นที่ให้ตัดนั่นแหละ การพิจารณาลมหายใจเข้าออกก็เช่นกัน เบื้องต้นอาจจะสาวก่อนให้มันรู้ตื้นลึก แต่ว่าพอใจค่อยๆเป็นสมาธิให้จำไว้เลย มันจะต้องหยุดนิ่ง ณ จุดเดียว จึงเรียกว่าเอกัคคตาจิต เพราะฉะนั้น ปฏิบัติไปพึ่งน้อมเข้าไปสู่หลักของท่านพระสารีบุตรท่านได้แสดงเอาไว้ เหมือนกับคมเลื่อย ถ้าไปมัวดูตัวเลื่อยล่ะก็อยู่อย่างนั้นแหละ จิตไม่หยุด ดูตรงจุดที่เลื่อยมันตัดน่ะ มันอยู่ในหนังสือนั่นแหละครับ นี่พระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นมันไปลงเรื่องเดียวกัน พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ท่านปฏิบัติไปๆก็เป็นดวงใส เห็น ท่านก็พุทโธนะ เห็นเป็นดวงใส แต่เห็นข้างนอก ท่านก็เอาดวงนั้นแหละ พิจารณาในดวงเดี๋ยวก็เห็น มันก็ช่วยทำให้ทิพพจักษุ ทิพพโสตเกิดเหมือนกัน แต่ว่ามันมีเล่ห์ เล่ห์หมายความว่ามันเบี้ยวมันไม่ตรง ท่านก็เริ่มรู้สึกว่าเอ้ะ! แต่ดูระลึกชาติได้อะไรได้นะ ทิพพจักษุเกิด อตีตังสญาณก็พอเกิด อนาคตังสญาณก็เกิด ปัจจุปปันนังสญาณก็เกิด เพราะจิตเป็นสมาธิ ญาณมันก็ค่อยๆพัฒนาขึ้น เพราะตอนหลังต่อมาท่านก็เอาไว้ข้างใน เพราะอะไร เพราะว่าท่านตามไปดู 3 เดือน กระผมเคยอ่านประวัติของท่าน 3 เดือนก็ไม่เห็นได้อะไร ระลึกชาติก็ได้ อะไรก็ได้ แต่มันก็เท่านั้นแหละมันไม่ไปต่อ ที่นี้ต่อเมื่อท่านเอามาไว้ข้างใน แล้วพิจารณา ณ ภายใน ตรงนี้ได้กันเลย เพราะฉะนั้นตรงกลางมันกำเนิดธาตุธรรมเดิมครับ กระผมเคยอ่านในประวัติที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันนี่ ท่านก็ กระผมจำได้ หนังสือเล่มใดก็ไม่ทราบ ท่านก็บอกว่า แต่ท่านสาวลมหายใจเข้าออกนะ ท่านก็เห็นเป็นดวงอยู่ ณ ภายใน นะครับ เหล่านี้เป็นต้น มันลงท้ายมันไปตรงที่เดียวกันนะครับ เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ ด้วยบุญบารมีของท่าน พบโป้ะเช้ะตรงนั้นเลย พอถึงธรรมกายท่านเข้าทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย ปล่อยวางทั้งหมด มันก็เป็นแต่กายธรรมไปสุดละเอียด บริสุทธิ์ผ่องใสเท่ากับอายตนะที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุ ท่านก็เข้าไปเห็นได้ ที่นี้ก็มาสอนคนอื่น ก็ปฏิบัติได้ตาม อภิญญาเกิด วิชชาเกิด ตามสมควรแก่ภูมิธรรม...

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ______________
    บางตอนจากเทศนาธรรมเรื่อง

    "อย่าละความเพียร"
    https://youtu.be/YoFgiXDcXzU
    ______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า

    **********************************************************************

     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    การย่อย่นสกลพุทธศาสนา ซึ่งมีมาในโอวาทปาฏิโมกข์


    lphor_tesna_vn.jpg

    [56]
    10 ธันวาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา
    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโขติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย การย่อย่นสกลพุทธศาสนา ซึ่งมีมา ในโอวาทปาฏิโมกข์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสเทศนาว่า การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นสุขนัก การแสดงธรรมของพระองค์ก็เป็นสุข ความพร้อมเพรียงของหมู่ก็เป็นสุข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนของท่านผู้พร้อมเพรียงทั้งหลายก็เป็นสุข อีกเหมือนกัน ทั้ง 4 ข้อนี้เป็นความสำคัญนัก ซึ่งเราท่านทั้งหลายจงตั้งใจจำไว้ให้มั่นคง จะได้ปฏิบัติตามให้ ถูกต้องร่องรอยของพุทธประสงค์ สมเจตนาที่ได้เสียสละเวลามาบวชเป็นภิกษุสามเณร เป็น อุบาสกอุบาสิกาในพระบวรพุทธศาสนา ไม่ให้เสียเวลาล่วงไปเสียเปล่าปราศจากประโยชน์ ทำตนของตนให้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนาเป็นลำดับไป

    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นสุข สุขา สทฺธมฺมเทสนา การแสดงสัทธรรมของพระองค์ก็เป็นสุข สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุขอีก สมคฺคานํ ตโป สุโข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน ของผู้มีความพร้อมเพรียงทั้งหลายเป็นสุข 4 ข้อนี้จะได้ชี้แจงแสดงไปเป็นลำดับๆ ไป

    สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสุข อะไรเป็น พระพุทธเจ้า การบังเกิดขึ้นของมนุษย์นี้เป็นทุกข์ การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสุข อะไร เป็นพระพุทธเจ้า ได้เกิดขึ้นทางไหน เป็นอะไร เกิดอย่างไร นี่เราจะรู้จักดังนี้ ถ้าเป็นแต่ เพียงว่าความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสุข เท่านั้นก็พอฟังได้ แต่ว่าไม่รู้เรื่อง ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าท่านเกิดอย่างไร ต้องรู้จักความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้สักเสวยกษัตริย์ เกิดเป็นพระพุทธเจ้าจริงนะๆ เกิดที่ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ เกิดขึ้นในกายพระสิทธัตถราชกุมาร ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างมนุษย์สามัญธรรมดานี้ มนุษย์สามัญ ธรรมดานี้ มีพ่อมีแม่เป็นแดนเกิด ลูกอาศัยพ่อเป็นเหตุและอาศัยแม่จึงเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่เป็น เช่นนั้นเกิดไม่ได้ แต่พระสิทธัตถราชกุมารอยู่ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ทีเดียว ทำพระพุทธเจ้า ให้เกิดในกายพระสิทธัตถราชกุมารได้ นี่แน่ะ พอเกิดขึ้นแล้วเป็นสุขนักทีเดียว ต่อแต่นี้ตั้งใจ ฟังเป็นลำดับไป

    การเกิดขึ้นของมนุษย์ที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว การเกิดขึ้นของมนุษย์ละเอียดอีก นี่เราเคยเกิดเหมือนกัน เวลาฝันไปจึงเกิด ไม่ฝันไม่เกิดมนุษย์ละเอียดนะ เราฝันเกิดเป็น มนุษย์อีกคนหนึ่ง ไปทำหน้าที่ของใครก็ไปทำ ทำหน้าที่เสร็จแล้วก็ไป กายมนุษย์หยาบก็รับ เอาเรื่องฝันนั้นมาเล่าให้กันฟัง ให้มารดาบิดาฟัง ให้สามีภรรยาฟังกัน เรื่องฝันของตัวที่ เกิดขึ้นนั้น มนุษย์นอนหลับฝันไปแล้วก็เกิดขึ้นเป็นมนุษย์ละเอียด เกิดขึ้นจริงๆ นะ ไม่เกิดขึ้น เล่นๆ เกิดขึ้นปรากฏเป็นเนื้อเป็นตัว ไปจับมือถือแขนกันได้ ไปพูดกันได้ ไปทำไร่ทำนาได้ ทำสวนได้ ค้าขายได้ ปกครองประเทศก็ได้ ทำข้าราชการงานเดือนได้ เพราะอ้ายกายฝัน นั้นแหละ เราก็เคย เอาละ เมื่อเกิดขึ้นทางกายมนุษย์ล่ะ ฝันเกิดขึ้นคนหนึ่งนี่กายมนุษย์ ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเป็นกายทิพย์ นี่เกิดเป็นทิพยกาย ในภพ กายทิพย์ฝันเข้า เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่ากายทิพย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดฝัน เข้าไปอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่ากายรูปพรหม กายรูปพรหมฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่ง เรียกว่ากายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดก็ฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่า กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมหยาบก็ฝันเข้าอีก ก็เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่า กายอรูปพรหมละเอียด

    กายอรูปพรหมละเอียดฝัน ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่งเรียกว่า กายธรรมองค์หนึ่ง ไม่ใช่คน หรอก ทีนี้เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกับกระจก คันฉ่องส่องเงาหน้า นี่แน่ะตัวพระพุทธเจ้า กายอรูปพรหมละเอียดฝัน ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เป็นกายธรรม เรียกว่า พระพุทธเจ้าทีเดียว กายธรรมฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่งเรียกว่า กายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมละเอียดฝันเข้า เกิดขึ้น อีกองค์หนึ่ง เท่ากันนั้น เป็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระโสดาฝันเข้า เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระโสดาละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรม พระสกทาคาฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา กายธรรมพระสกทาคาละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระอนาคา ฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่พระพุทธเจ้าทั้งนั้น กายธรรมพระอนาคาละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้น อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระอรหัตฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอรหัตละเอียด

    นั่นแน่เกิดเป็น 18 องค์ แต่ว่า 8 องค์ข้างต้นน่ะ เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, แปดกายนี้เป็นกายในภพ แต่ว่าฝันก็เกิดได้เหมือนกันแบบเดียวกัน กายธรรมโคตรภู คือ กายอรูปพรหมละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง นั่นกายธรรมโคตรภู-กายธรรมโคตรภูละเอียด, กายธรรมโสดา-กายธรรมโสดาละเอียด, กายธรรมสกทาคา-กายธรรมสกทาคาละเอียด, กายธรรมอนาคา-กายธรรมอนาคาละเอียด, กายธรรมพระอรหัต-กายธรรมพระอรหัตละเอียด, สิบองค์นี่พระพุทธเจ้าทั้งนั้น ถ้าเกิดขึ้นแก่ใครก็เป็นสุขเหลือเกิน ใครได้ใครถึงเป็นสุขเหลือเกิน กายธรรมนี่เกิดขึ้นแก่ใครเป็นสุขนักทีเดียว เป็นสุขทุกคน ถ้าได้มีพระธรรมแท้เกิดขึ้นในตัวของตัวเองน่ะ

    จะแสดงวิธีเกิดของกายธรรมของกายพุทธเจ้า กายในภพแปดกายนั้นเป็นแบบเดียว กัน กายธรรมโคตรภู เมื่อเป็นกายธรรมโคตรภูแล้ว ใจกายธรรมโคตรภูก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมโคตรภู พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงสมาธิ ก็เห็นดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายธรรมละเอียด นี่เกิดอย่างนี้ เกิดเป็นชั้นๆ ไปอย่างนี้ ใจกายธรรมโคตรภู ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรมโคตรภูละเอียด ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมโคตรภูละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว พอถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระอริยบุคคลบังเกิดไปอย่างนี้เป็นลำดับจนตลอด 10 กาย ถึง พระอรหัต นี่ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ นี่ตามข้อปฏิบัติของแท้

    ถ้า ทางปริยัติ เล่า พูดกันไปอีกเรื่องหนึ่ง ตามประวัติพระพุทธเจ้าท่านสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัป, 8 อสงไขยแสนกัป, 16 อสงไขยแสนกัป, สร้างบารมีไป เป็นมนุษย์ก็สร้าง บารมีไป กว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าต้องสร้างบารมีเต็ม 30 ทัศ เมื่อพูดถึงบารมี 30 ทัศ เต็มแล้ว ที่จะเกิดเป็นพระพุทธเจ้าต้องไปบำเพ็ญเพียรเป็นพระสิทธัตถราชกุมารทีเดียว กว่า จะเป็นพระพุทธเจ้า 6 ปี ไปทรมานร่างกาย 6 ปี เมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ที่มหาสถาน 7 แห่งนั้น 49 วัน ครบ 49 วัน ก็ออกโปรดพระปัญจวัคคีย์ นี่ตามหลักของพระปริยัติไปดังนี้ แต่ว่าความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นได้ดังกล่าว แล้วข้างต้นนั้น เป็นความบังเกิดของพระพุทธเจ้า

    เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว สุขไหมล่ะ ถามท่าน เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว ท่าน บอกว่ามันสุขเหลือเกิน อยู่ในมหาสถานทั้ง 7 แห่ง เสวยวิมุตติสุขอยู่แห่งละ 7 วันๆ รวม 49 วัน ได้รับความสุขอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ไม่ได้มีทุกข์เลย เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่มีทุกข์เลย สุขส่วนเดียว ออกโปรดเวไนยสรรพสัตว์ ไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ดำริแต่ในพระทัย ว่าเราจะเดินไปด้วยย่างพระบาท หรือว่าเหาะไปในอากาศ หรือว่าจะดำดินไป ที่เราจะไป โปรดพระปัญจวัคคีย์ ประเพณีของพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน แต่ปางก่อนนั้นไปกันอย่างไร หรือว่าประเพณีของพระพุทธเจ้าในอนาคตจะไปกันอย่างไร ประเพณีของพระพุทธเจ้าใน ปัจจุบันนี้จะไปกันอย่างไร ก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน แล้วก็ปล่อยธรรมกายละเอียด กายพระพุทธเจ้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าเป็นความลับว่าเขาทำกันอย่างไร พระพุทธเจ้า นั้นก็บอกบอกตรงๆ นั่นแหละ ไปทางไหนเป็นประโยชน์ จะเหาะไปเป็นประโยชน์ก็เหาะไป จะทรงดำเนินไปด้วยย่างพระบาทเป็นประโยชน์ก็ทรงดำเนินด้วยย่างพระบาทไป ถ้าจะ ดำดินไปโผล่ขึ้นในที่โน้นเป็นประโยชน์ก็ดำดินไป

    พระองค์ก็มาส่องดูประโยชน์ว่าจะไปทางไหน ก็เห็นปรากฏชัดว่า เราดำเนินไปด้วย ย่างพระบาท จะไปพบปัจฉิมสาวกของเรา จะเป็นประโยชน์แก่ปัจฉิมสาวก จะได้เป็นปัจฉิมสาวกในภายหลัง จะเป็นเมื่อไร ก็ปรินิพพานทีเดียว ใกล้นิพพานทีเดียว จะต้องดำเนินไป ด้วยย่างพระบาทอย่างมนุษย์ธรรมดาทีเดียว เมื่อทรงดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ทรงเปล่ง ฉัพพรรณรังสี รัศมี 6 ประการทีเดียว อัศจรรย์นักทีเดียว ดำเนินไปนั่น สว่างไสวรุ่งโรจน์ โชตนาการ เทวดามีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ เปล่งรัศมีมาเท่าใดก็สู้พระจอมไตรไม่ได้ นกใน อากาศล่ะ หยุดเชียว หยุดมอง สรรพสัตว์ทวิบาท จตุบาท 4 เท้า 2 เท้า เดินไปอยู่ใน พื้นแผ่นดินนั้น เห็นพระองค์แล้วตะลึงตามกันไปหมด ลืมเคี้ยวหญ้าทีเดียว หากว่ากวางก็ หันหลังมองอยู่นั่นแหละ นกแขกเต้าก็หันหลังมองกันอยู่นั่นแหละ ไม่ต้องกินอาหารกันละ ดูพระรัศมี ชมพระรัศมี เพลินเชียว มนุษย์คนใดไปเห็นเข้า ตกอกตกใจทีเดียว ปัจฉิมสาวก ของพระองค์ อุปกาชีวกพอเห็นเข้าตะลึงทีเดียว นี่มนุษย์หรือเทวดา หรือเทพยเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ใดๆ หนอ มาปรากฏเช่นนี้ เข้าใกล้เข้าไปแล้ว ไปพบเข้าแล้ว ได้กึ่งทางที่จะไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตกใจ เข้าไปใกล้ถามพระองค์ว่า พระองค์น่ะใครเป็นศาสดาของพระองค์ พระองค์รู้มาอย่างไร ปฏิบัติมาอย่างไรหรือ จึงรัศมีกายได้อย่างนี้ ก็ทรงรับสั่งว่าใครจะเป็น ครูของเรา เราเป็นสัพพัญญู เรารู้ของเรา เราเห็นของเราเอง อุปกาชีวกไม่เชื่อ สั่นหัว แลบลิ้น แล้วก็หลีกไปเสีย ไม่เชื่อ ถึงไม่เชื่อก็เป็นนิสัยติดตัวไปแล้ว จะไปถามพระองค์เมื่อ ใกล้จะปรินิพพาน

    พระองค์ก็ทรงเสด็จเป็นลำดับไป ถึงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เพราะพระรัศมีของท่าน แปลกประหลาดอัศจรรย์ไม่เหมือนแต่ก่อน พระปัญจวัคคีย์นัดกันแล้วว่า ถ้าเห็นแล้วจะไม่ ลุกขึ้นรับ จะไม่ต้อนรับด้วยประการทั้งปวง จะไม่นับถือละ แต่พอพระสิทธัตถราชกุมาร ใกล้เข้าไป ตะลึงกันไปหมด อดไม่ได้ บ้างหยิบขันน้ำ ผ้าเช็ดเท้า ตักน้ำล้างเท้าให้กลุ้มไป เมื่อถวายเสร็จแล้ว พระองค์ก็ประทับนั่งที่สมควร โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 เมื่อยังไม่ได้รับธรรมเทศนา สุขทุกข์เหมือนมนุษย์ธรรมดา เป็นทุกข์มาก เป็นสุขน้อย แต่ว่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มีศีล มีสมาธิมั่นคงอยู่ในขันธสันดานแล้ว พระศาสดาจารย์เมื่อ ไปถึงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 กำลังจะตรัสธรรมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เข้ามาสู่ที่เฝ้า พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็มาพร้อมกัน มาพร้อมแล้วก็ตรัสว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ที่สุดทั้ง 2 บรรพชิตไม่ควรเสพ “กามสุขัลลิกานุโยค” เป็นที่สุดข้างหนึ่ง “อัตตกิลมถานุโยค” เป็นที่สุดอีกข้างหนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยค เป็นของเลว หีโน เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ประกอบด้วยความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ตั้งกำกับอยู่แล้วในกามสุขัลลิกานุโยคนั้น ถ้าไป ประสบกามสุขัลลิกานุโยค ไปประกอบด้วยกามสุขัลลิกานุโยคละก้อ ลงท้ายก็พินาศคือตาย จากกันเหมือนกัน ให้ปรากฏดังนี้ ไม่สุข เป็นทุกข์ทั้งนั้น ส่วนอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตน ให้เนื่องด้วยการให้ความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ และ ประกอบด้วยความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ตั้งกำกับอยู่ด้วยเหมือนกัน ไม่พ้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น กามสุขัลลิกานุโยค ประกอบตนให้เนื่องด้วยกาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่ขาดสาย อัตตกิลมถานุโยคประกอบตนให้ทุกข์ยากลำบาก ทรมานร่างกาย หาบทราย ตากแดด ย่างไฟ เอาไม้เคาะหน้าแข้งเพื่อจะดับความกำหนัดยินดี อยู่ในป่าในดอนในดง กำหนัดขึ้นมาเวลาไร ต้องทำอย่างนั้นเสมอไป นี่ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยคแท้ เดือดร้อนจริงๆ ไม่รับความสุข

    พระองค์ทรงแนะนำพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ไม่ให้ประกอบด้วยกามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค ให้ดำเนินด้วยมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง 2 อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค

    ข้อปฏิบัติเป็นกลางเป็นไฉน เห็นชอบ ดำริชอบ กล่าววาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ ประกอบด้วยอวัยวะ 8 ประการ จัดลงเป็น 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้มั่นอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา พระปัญจวัคคีย์รู้จักดีแล้ว รู้จักสมาธิแล้ว แต่ว่าปัญญาไม่รู้จัก เมื่อยังไม่รู้จักปัญญา พระองค์ทรงแนะนำพระปัญจวัคคีย์ให้รู้จักทาง แสดงสัจธรรมทั้ง 4 อริยสัจธรรมทั้ง 4 ให้ฟังทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับทุกข์ ว่าทุกข์นี่แหละเป็นของทำให้ยาก เหตุเกิดทุกข์นั่นแหละเป็นของทำให้ยาก แต่ว่าเป็นของจริง เหตุเกิดทุกข์นั่นแหละเป็นของทำให้ลำบากก็เป็นของจริง ความดับทุกข์ก็ เป็นของจริง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ก็เป็นของจริง ของจริงเหล่านี้แหละแสดงเป็นส่วนๆ ไป ทุกข์เป็นของจริง ควรกำหนดรู้ และได้กำหนดรู้ไว้แล้ว, เหตุเกิดทุกข์เป็นของจริง ควรละ ได้ละแล้ว, ความดับทุกข์เป็นของจริง ควรกระทำให้แจ้ง ก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว, ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับ ทุกข์ที่เป็นของจริง นั้นควรเจริญ ก็ได้เจริญแล้ว ทรงแสดงธรรมทั้ง 4 โดยสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เช่นนี้ พระปัญจวัคคีย์รู้เข้าใจ ฟังออกทีเดียว เมื่อฟังออกแล้ว เมื่อจบ พระธรรมเทศนาของพระจอมไตรแล้ว พระองค์ทรงเปล่งวาจาว่า อายสฺมโต อญฺญาโกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ความเห็นธรรมปราศจากธุลีและมลทินได้เกิดขึ้นแก่ ผู้มีอายุชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มี ความเกิดขึ้น สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา มีเกิดมีดับอยู่เท่านี้ หมดทั้งสากล โลก เกิดดับทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าสังขาร เกิดดับทั้งนั้น จะเป็นกายสังขารก็เกิดดับ จะเป็นวจีสังขาร ก็เกิดดับ จะเป็นมโนสังขาร จิตตสังขารก็เกิดดับ หรือจะเป็นปุญญาภิสังขารก็เกิดดับ จะเป็น อปุญญาภิสังขารก็เกิดดับ เป็นอเนญชาภิสังขารก็เกิดดับ เห็นจริงไปหมดทั้งสากลโลก มีเกิดดับ เท่านั้น เห็นความเกิดดับตามความเป็นจริงของเรื่องที่จริง พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อเห็นจริง เช่นนี้ก็ได้บรรลุมรรคผล ได้บรรลุถึงธรรมกาย พระอัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรมกายก่อน มีตาเห็นธรรมแล้ว เห็นด้วยตาธรรมกาย ธมฺมจกฺขุ เห็นด้วยตาธรรมกายที่ปราศจากมลทิน เห็นชัดทีเดียว พระองค์ผู้ทราบชัดว่า พระปัญจวัคคีย์อัญญาโกณฑัญญะได้เห็นแล้วพิจารณา เป็นลำดับไป ให้พระปัญจวัคคีย์เข้าเนื้อเข้าใจ พระปัญจวัคคีย์เข้าเนื้อเข้าใจแล้วก็ได้บรรลุเป็น ลำดับขึ้นไป บรรลุโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต เป็นลำดับเหมือนกับพระศาสดา และทั้ง 4 องค์นั้นก็ได้บรรลุเป็นลำดับไป เห็นเหมือนพระจอมไตรหมด เป็นพระอรหันต์ 6 องค์ ซึ่งเป็น เช่นเดียวกับพระศาสดา เห็นเป็นเหมือนกันหมด

    นี้ พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเห็นธรรมเหมือนพระศาสดาแล้ว สุขเหมือนพระศาสดา แบบเดียวกัน สุขแบบเดียวกันทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อน ทั้ง 5 องค์เป็นสุขเหมือนกันหมด ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเหมือนพระศาสดาจารย์ เมื่อพระองค์ ปลุกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ตื่นขึ้นเหมือนพระองค์แล้ว พระปัญจวัคคีย์ที่ได้รับความสุขเช่นนี้ เพราะอะไร เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เป็นสุขเหมือนพระองค์เหมือนกันแบบ เดียวกัน นี่ สุขา ธมฺมเทสนา ทางสงบสุข ได้เข้าถึงซึ่งความสงบ เป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหานเช่นนี้ได้ เมื่อได้ถึงซึ่งความสุข สุขได้เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดานี้ ตรงกับบาลีว่า สุขา ธมฺมเทสนา การแสดงธรรม การได้สดับธรรม หรือแสดงธรรมเช่นนี้ เป็นสุข พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม พระปัญจวัคคีย์ได้สดับธรรม ได้บรรลุมรรคผลสมมาด ปรารถนา จึงได้เป็นเหมือนพระบรมศาสดาเรียกว่า สุขา สทฺธมฺมเทสนา

    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข จะเป็นคฤหัสถ์ก็เป็นสุข จะเป็นภิกษุสามเณรก็เป็นสุข อาศัยความพร้อมเพรียงของหมู่ภิกษุสามเณรเป็นสุข อาศัย ความพร้อมเพรียงของหมู่คฤหัสถ์เป็นสุข อุบาสกอุบาสิกาพร้อมเพรียงกันเป็นสุข เป็นสุขนัก ถ้าว่าไม่พร้อมเพรียงกันไม่เป็นสุข หาสุขที่ไหนไม่ได้ หมดทั้งประเทศชาติ หมดทั้งศาสนา สุขที่ความพร้อมเพรียงกัน เหมือนมนุษย์หญิงชายหมดทั้งประเทศไทยพร้อมเพรียงกัน เชื่อฟังตามผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านได้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างไร ก็ตามผู้ใหญ่ไป ตามหัวหน้าไป ก็เป็นสุขซิ จะไปทางไหนก็เหมือนฝูงนก หัวหน้าฝูงบินนำหน้าไปอย่างไร แล้วก็ลูกน้องก็ตาม แถวเป็นฝูง ฝูงใหญ่ ใหญ่เท่าไรก็เป็นสุข เมื่อเป็นฝูงใหญ่เช่นนั้นปราศจากอันตราย พร้อม เพรียงอย่างนั้นปราศจากอันตราย เพราะมันพร้อมกัน เรื่องพร้อมกันแล้วเมืองไทยมันพร้อม กันอยู่แล้ว ก็สามัคคีพร้อมเพรียงกันดีแล้ว ข้าศึกตีไม่แตก จะไปแย่งเอาเมืองนั้นไม่ได้เหมือน กัน หมู่ภิกษุพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ไม่แตกหมู่กันอยู่แล้ว ศึกเสือเหนือใต้ทำอะไรไม่ได้ อุบาสกอุบาสิกาพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ใครทำอะไรไม่แตก หัวรานไม่ได้ ข่มเหงกันไม่ได้ เพราะหมู่ไม่แตกจากกัน

    ในเรื่องนี้ เมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีปกครองอยู่มาก มากนัก เพราะพร้อมเพรียงกันจริงๆ พระเจ้าอชาตศัตรูพยายามไปรบเมืองเวสาลีจะเอามาเป็นเมืองขึ้นของตน ไปตีถึง 11 ครั้ง ไม่แตกสักทีหนึ่ง ไม่เป็นอันตราย ไม่แพ้พระเจ้าอชาตศัตรู มีชัยเสมอไป พระเจ้าอชาตศัตรู เห็นว่าเมืองเวสาลีมีความพร้อมเพรียงนัก เราไปรบสู้ไม่ได้ ทำอย่างไรหนอ เราถึงจะสู้ได้ ไปทูลถามพระบรมศาสดาว่า พระพุทธเจ้าข้า เมืองเวสาลีน่ะเขาพร้อมเพรียงกันนั้น ข้าพระพุทธเจ้ายกกองทัพไปตีถึง 11 ครั้งแล้วไม่เป็นอันตราย ไม่ได้ชัยชนะเสียที จะได้ ชัยชนะด้วยวิธีใดพระเจ้าข้า เอาซิ ไปถามพระศาสดาเข้าตรงอย่างนี้ ถ้าพระศาสดาทรงรับสั่ง ออกไป เมืองเขาก็แตก เป็นโทษต่อพระองค์ละซี ก็ไม่ทรงรับสั่งอะไรออกไป รับสั่งเป็นกลาง เมืองไหนหมู่ไหนพวกไหนเขาสามัคคีกลมเกลียวกันอยู่แล้ว เมืองนั้นหมู่นั้นพวกนั้นเขาก็มี กำลังมาก ทำอะไรเขาก็ไม่ได้ พอพระองค์ทรงรับสั่งเท่านั้น ปล่อยวัสสการพราหมณ์เข้าไป ทีเดียว ให้วัสสการพราหมณ์เข้าไปเป็นหนอนบ่อนไส้ ไม่ได้ปล่อยเข้าไปเป็นธรรมดานะ ตีวัสสการพราหมณ์เสียหลังเป็นกะพรุนเชียว บวมทั้งเนื้อทั้งตัว หลังเป็นกะพรุน วัสสการพราหมณ์ก็ร้องไห้งั่กเชียว เจ้านายเขาไล่ส่ง เขาไม่เลี้ยงแล้ว เขาตีเสียป่นปี้หมด ไปให้เจ้าลิจฉวี รักษา เจ้าลิจฉวี เออ! นี่มันทำลายกันจริง ไม่คบกันจริง ตีกันจริง เอาไปรักษาหายเรียบร้อย แล้ว เจ้าลิจฉวีถึงเวลาเข้าประชุมกันแล้ววัสสการพราหมณ์ก็ไปด้วย แต่ว่าไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง คะเนพร้อมกันดีแล้ว วัสสการพราหมณ์ก็เข้าไปพูดกับหูเจ้าองค์โน้นบ้าง องค์นี้บ้าง แกเป็นมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่ เจ้าลิจฉวีทางโน้นเห็นว่าวัสสการพราหมณ์พูดเช่นนั้น แล้วก็ สงสัยว่าจะพูดเรื่องอะไรกัน วัสสการพราหมณ์ที่ไปพูดกับท่านน่ะพูดเรื่องอะไรกัน เจ้าลิจฉวี ก็ว่าเปล่านี่ ไม่ได้พูดเรื่องอะไรกัน ก็เข้าไปพูดกับหู ได้ยินนี่ แต่ว่าอยู่คนละทาง ที่นั้นเป็น วงใหญ่ พูดอย่างนั้นแล้ว เอ้า! ก็สงสัยตะหงิดใจอยู่แล้ว ทีหลังวัสสการพราหมณ์ไปทาง โน้นอีก ทางนี้ก็ถามว่า ทางนี้พูดอย่างนู้นเหมือนกัน ก็เปล่าอีกนั่นแหละ รอบๆ ไป หนักเข้า ก็กินใจกัน เจ้าน่ะพอกินใจก็เกิดแตกสามัคคีกัน พอแตกสามัคคีกันดี วัสสการพราหมณ์ ก็ถือหนังสือลับ ถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ยกทัพได้แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพเข้าไปคราวนี้ ก็ลอยชายเข้าเมือง เจ้าเหล่านั้นไม่เอาหูนาตาใส่แล้วในการรักษาดูแลปกครองอำนาจ แตกสามัคคีกันเสียหมดแล้ว

    นี่ภิกษุสามเณรหมู่เดียวกันพวกเดียวกันไม่ลงรอยกัน หมู่นั้นพวกนั้นไม่เจริญต่อไป อุบาสกอุบาสิกาอยู่วัดเดียวกันพวกเดียวกัน ประพฤติปฏิบัติไม่ลงรอยกัน แก่งแย่งกันอยู่ คนละทางสองทาง หมู่อุบาสิกาพวกนั้นไม่มีความเจริญต่อไป จะมีความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ก็ว่าสามัคคีนั้นเองเป็นตัวสำคัญ ถ้าไม่มีสามัคคีแล้วละก็ แตกแยก เป็นแน่ ไม่ต้องสงสัย ไม่เจริญแท้ทีเดียว ถ้าต้องการความเจริญแล้ว บ้านเรือนก็ดี หมู่ธนบดี หมู่เศรษฐีก็ดี ต้องมีสามัคคี ถ้าในหมู่เศรษฐีไม่ลงรอยกันแล้วละก็ ไม่ช้าเศรษฐีนี้จะเตียนไป หมด หรือหมู่บ้านเรือน ในท้องไร่ท้องนาก็ดี ในสวนก็ดี ในข้าราชการก็ดี หมู่ไหนบ้านไหน ไม่ลงรอยกันอยู่ พ่อแม่ไม่ลงรอยกับลูก ลูกไม่ลงรอยกับพ่อแม่ ข้าทาสบริษัทบริวารไม่ลง รอยกันแล้วละก็ ไม่ช้าละบ้านนั้นต้องร้าง ไม่ร้างก็ต้องแตกสลาย ต้องฉิบหาย ต้องป่นปี้ เพราะมันแตกสามัคคีกันเสียแล้ว ไม่เป็นสามัคคีกัน ข้อนี้เป็นสำคัญนะ ไปดูก็ได้ ถ้าบ้านไหน ทะเลาะกัน ระหองระแหงกันอยู่แล้วละก็ อ้ายบ้านนี้ต้องทะลาย อุบาทว์เกิดขึ้นแล้ว อ้าย ความไม่รวมสามัคคี ไม่ลงรอยกันนั่นแหละ อุบาทว์เกิดขึ้นแล้ว มันต้องร้างแน่ มันจะต้องแยก ทะลายกันแน่ ผัวเมียสองคนก็พยากรณ์ได้ ลงไม่ลงรอยกันแล้วก็บ้านนี้ไม่ต้องอยู่ด้วยกันละ แตกทะลายแน่ เพราะไม่ลงรอยแล้วนี่ แตกสามัคคีแล้วนี่ นี่เป็นข้อสำคัญนะจำไว้

    ถ้าจะมองหาความเจริญ มุ่งความเจริญละก้อ ต้องมั่นสามัคคี สร้างสามัคคีไว้ ถ้าว่า ทำลายสามัคคีแล้วละก็ เป็นอันแตกทะลายแน่ ต้องแยกจากกัน ลูกเต้าก็ต้องแยกไป พี่น้อง วงศาคณาญาติอยู่รวมกันไม่ได้ อัตคัตขัดสนขึ้นอีก เพราะความไม่สามัคคีนั้นมันฆ่าเสียแล้ว ทำลายเสียแล้ว นี่แหละตัวอุบาทว์จำไว้เถอะ ที่เขาเรียกว่า บาตรแตกเข้าบ้านละ นี่แหละ บาตรแตกเข้าบ้านละ หรือเรียกว่ากาลกิณีอยู่บ้านนี้แหละ อ้ายแตกสามัคคีนั่นแหละเป็น ตัวกาลกิณี ให้จำไว้เป็นตำรับตำรา ถ้าต้องการความเจริญต้องพร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน น้ำหนึ่งใจเดียวกันนั่นแหละจึงจะเจริญได้ เมื่อเมืองเจ้าลิจฉวีถูกพระเจ้าอชาตศัตรูลอยชาย เข้าเมืองปกครองเสียแล้ว แตกไปเช่นนี้ เพราะแตกสามัคคี ตามที่พระศาสดาทรงรับสั่งว่า บ้านไหน เมืองไหน หมู่ใดพวกใด เขายังมีความสามัคคีกันอยู่ ตราบนั้นเขาก็มีกำลังวังชามาก ทำอันตรายเขาไม่ได้ นี่ต้องอยู่ในความสามัคคีนี้ จำไว้นะ จำไว้เป็นตำรับตำราดังนี้ ไม่งั้น ต้องเวียนว่ายตายเกิด มันจะต้องไปบ้านโน้นบ้านนี้ อยู่บ้านโน้นบ้านนี้มา บ้านไหนถ้าแตก สามัคคีกันแล้วละก็ มันจะทะลายอยู่แล้ว เดี๋ยวก็ไปทีเดียว ถ้าบ้านไหนสามัคคีกลมเกลียว กันดี มีผู้หลักผู้ใหญ่เกรงกันอยู่ ไม่เป็นไร บ้านนี้ยังเจริญอยู่ ให้จำหลักอย่างนี้นะ วัดก็ เหมือนกัน จะไปอยู่วัดใดวัดหนึ่ง ถ้าวัดนั้นไม่สามัคคี อย่าเข้าไปนะ อย่าไป ถ้าไปเป็นได้รับทุกข์ ถ้าสามัคคีกันอยู่ พร้อมเพรียงกันอยู่ละก้อ เข้าไปเถอะเป็นสุขทีเดียว ให้รู้จักหลักดังนี้ สุขา สงฆสฺส สามคฺคีความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข ถ้าว่าไม่พร้อมเพรียงของหมู่เป็นอย่างไร ถ้าเราไปอยู่ซิ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ทั้งนั้น

    ความพร้อมเพรียงของหมู่ เมื่อสาวกของพระบรมศาสดาได้บรรลุพระอรหัต ตัดกิเลส เป็นสมุจเฉทปหานแล้ว แค่พระอรหันต์ท่านปรองดองกันอยู่ในพวกพระอรหันต์ แค่พระ อนาคามรรคผล ท่านก็ปรองดองกันอยู่ในเรื่องพระอนาคามรรคผล แค่พระสกทาคามรรคผล ท่านก็ปรองดองกันอยู่ในเรื่องพระสกทาคามรรคผล แค่พระโสดามรรคผล ท่านก็ปรองดอง กันอยู่ในเรื่องพระโสดามรรคผล ท่านเหล่านี้ไม่เถียงไม่แก่งแย่งกัน มีความเห็นร่วมกันเสมอกัน หมด พระองค์จึงได้ทรงรับสั่งว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่แหละเป็นสาวกของพระตถาคตเจ้า ตั้งแต่พระโสดามรรคผลขึ้นจนถึงพระอรหันต์เป็นพวกของพระตถาคตเจ้า พวกที่ยังแก่งแย่ง กันอยู่ ไม่ใช่พวกของพระตถาคตเจ้า เลิกแก่งแย่งแล้วเป็นพวกของพระตถาคตเจ้าทีเดียว หมู่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาต้องการความสุขก็ให้สามัคคีกลมเกลียวกันไว้ อย่าแตกแยก จากกันและกัน ถ้าแตกแยกจากกันและกันแล้วละก็ เป็นทุกข์ ถ้าไม่แตกแยกจากกันแล้ว ก็เป็นสุขทีเดียว นี่ สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นสุข

    สมคฺคานํ ตโป สุโข แปลว่า ตโป ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน สมคฺคานํ แห่งผู้พร้อมเพรียงทั้งหลาย สุโข เป็นสุข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนของผู้พร้อม เพรียงทั้งหลาย เมื่อพร้อมเพรียงกันแล้วเป็นอย่างไร ก็ประพฤติทำลายกิเลสกันทั้งนั้น ไม่ทำ อะไร ประพฤติทำลายกิเลสเหมือนกันหมด ทำลายกิเลสมีความเพียรเหมือนกัน ถ้าว่าเพียร ตั้งต้นแต่ศีลไป ทำศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน เข้าถึงสมาธิก็ทำสมาธิให้บริสุทธิ์เหมือนกัน เข้าถึงปัญญาก็ทำปัญญาให้บริสุทธิ์ใสเป็นเพชร เป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าอยู่ร่ำไป หรือ เข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ให้บริสุทธิ์เหมือนกัน เมื่อบริสุทธิ์เหมือนกันเช่นนี้แล้ว รักความบริสุทธิ์เหมือนกันเช่นนี้แล้ว รักความบริสุทธิ์เสมอกันไม่ให้ขาดตกบกพร่องกว่ากัน และกัน ใครบริสุทธิ์แค่ไหนก็รักษาแค่นั้นไป ที่ยังไม่ได้ยังไม่เห็น ก็ทำความบริสุทธิ์ไป ให้เข้า ถึงบริสุทธิ์เหมือนเขาไป ไม่แก่งแย่ง ไม่ก้าวร้าว เกะกะ

    ดังอุบาสกอุบาสิกาในวัดเช่นนี้ เขาทำธรรมกายกันให้มีให้เป็นขึ้น ทำศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ กัน โน่นไปเอาเจ้าทรงผีสิงมาเล่นอีกแล้ว เอาเจ้าทรงผีสิง มาใส่ในหมู่เข้าแล้ว ไปบนเจ้าบนผีเข้าอีกแล้ว เอาอีกแล้ว พวกนี้แหละพวกแก่งแย่งละ ความ เห็นแตกต่างออกไปแล้ว จะทำลายหมู่สามัคคีให้ทะลายไปแล้ว เอาเรื่องผีเรื่องเจ้าเข้ามาอีกแล้ว ก็นี่คนนอกเรื่อง มันคนของมารเขาส่งมาในหมู่ ไม่ให้ความพร้อมเพรียงเกิดขึ้น ถ้าพร้อมเพรียง เกิดขึ้นมันก็จะเป็นสุขเสีย ไม่ให้มีไม่ให้เพียรถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ไป ให้ไปทางเหลวไหลเสีย ให้ไปทางเพลงของโลกไป อย่างนี้เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นทุกข์แต่ เท่านั้น นั่นเขาทำลายทางมรรคผลกัน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เอ้า! ไพล่ไปขอหวยขอโปกันเข้าแล้ว จะเอาเบอร์หนึ่งสักทีเถอะ เราจะได้เลิกยาก เลิกจนกันเสียทีหนึ่ง เอาละซี ทีนี้พวกนั่งสมาธิทำทางมรรคผล ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เลยไปมองดูลอตเตอรี่เข้า แล้ว อ้ายนี่เอาอีกแล้ว เดือดร้อนอีกแล้ว จะทำลายสามัคคีแล้ว ทำลายสามัคคีอีกแล้ว พวกนี้ พวกพญามารขวางเข้ามาอีกแล้ว ให้รู้จักหลักอย่างนี้นะ สมคฺคานํ ตโป สุโข ความเพียร เครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนของผู้มีความพร้อมเพรียง จบไปในเพลงเดียวกันนะ สุโข เป็นสุขนัก เมื่อรู้จักหลักนี้ จำไว้เป็นหลักเป็นประธาน

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก





    ......................................................



    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน

    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า

    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ

    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ

    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย

    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง

    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา

    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    •อุปกิเลสเหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •



    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    ?temp_hash=69c9765adf8a0084ff39f7cd42801e98.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,722
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,529
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ได้เพียรเจริญภาวนาธรรมในลักษณะ"อาโลกกสิณ" คือการกำหนดแสงสว่างและรูปมาก่อน

    พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุ เพื่อช่วยในการเจริญภาวนาธรรมได้ผลดี ดังปรากฏอยู่ใน"อุปกิเลสสูตร" ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า....

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า"ปราจีนวังสทายวัน" แขวงเมืองโกสัมพี ณ ที่นั้น ภิกษุ 3 รูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระพุทธองค์ว่า...

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้นเห็นอยู่ไม่นานก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใร"

    พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า...

    อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียก"อนุรุทธะ"เป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา") แม้เราเองครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่าอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป อุปกิเลสเหล่านี้คือ...

    1. #วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. #อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. #ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลือบเคลิ้มง่วงนอน

    4. #ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. #อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. #ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. #อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. #อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. #อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. #นานัตตะสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. #รูปานัง_อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปก็หายไป ฉะนั้นเราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉา เป็นต้น เหล่านี้เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า...

    อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใดสมาธิของเราน้อย ขณะนั้นจักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย ขณะใดสมาธิของเรามาก ขณะนั้นจักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง

    ยังมีปรากฏในพระสูตรที่ 11 ในอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต หน้า 311 ข้อ 161 อีกด้วยว่า ในสมัยที่พระผู้มีพระภาค ได้เสด็จประทับอยู่ที่ตำบล"คยาสีสะ" ใกล้แม่น้ำ"คยา" ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเล่าเรื่องที่พระองค์ได้ทรงรู้เรื่องเทวดาด้วยการเห็นแสงสว่างภายใน ในสมัยที่พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ และยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ให้พระภิกษุทั้งหลายฟังว่า...

    ภิกษุทั้งหลาย ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะพึงกำหนดเห็นแสงสว่างด้วย เห็นรูปทั้งหลายด้วย ได้เจรจาไต่ถามกับเทวดาเหล่านั้นด้วย และรู้ด้วยว่าเทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นๆ... จุติจากที่นี้แล้ว ไปอุบัติในที่นั้นด้วยวิบากของกรรมนั้นๆ... รู้ว่าเทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยทุกข์และสุขอย่างนี้... รู้ว่าเทวดาเหล่านี้มีอายุยืนเท่านี้ ดำรงอยู่นานเท่านี้... รู้ว่าเราเคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้หรือไม่ ดังนี้แล้ว ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา (ฉะนั้น) สมัยต่อมา เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่ก็รู้ได้ตลอดถึงเรื่องราวเหล่านี้

    ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ญาณทัศนะอันรอบรู้ในเรื่องเทวดา ซึ่งมีปริวัฏแปดอย่างนี้ของเรายังไม่บริสุทธิ์ดีแล้ว ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกนี้ ในเทวโลก ในมารโลก และพรหมโลก ในหมู่สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

    และญาณทัศนะได้เกิดขึ้นแก่เราด้วยว่า ความหลุดพ้นแห่งจิตของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ต่อไปนี้ภพใหม่เป็นไม่มีอีก

    กล่าวโดยสรุป

    พระพุทธองค์ได้ทรงปรารภถึงความไม่ประมาท และมีความเพียรเจริญภาวนาธรรมโดยการกำหนดทั้งแสงสว่างและรูป ในลักษณะอาโลกกสิณ เพื่อให้เกิดญาณทัศนะ และสามารถรู้เห็นเรื่องราวของเทวดามาตั้งแต่ที่พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ และได้ทรงทราบถึงอุปกิเลสของสมาธิ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสตอบแก่พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ที่ได้ทูลถามพระพุทธองค์ ในขณะที่ได้เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองโกสัมพี ดังกล่าว...

    _____________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _____________
    ที่มา
    บางตอนจากหนังสือ
    "ธรรมสู่สันติ เล่ม 1"
    _____________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบพระคุณภาพประกอบธรรมะ.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...